มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เรื่องมูลนิธิอโชก้านี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ

เรื่องพิเศษมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 419 หัวเรื่อง
การมอบทุนของมูลนิธิอโชก้า
รางวัลโครงการสร้างฐานชุมชน
ครั้งที่ 7 ประจำปี 2547
Citizen Base Awards 2004

 

R
relate topic
100747
release date
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบเรื่องพิเศษบริการฟรีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
H
การมอบรางวัลโครงสร้างฐานชุมชนครั้งที่ 7 ปี 2547 ส่งโครงการก่อน 30 กค.47
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ


การมอบรางวัลให้กับองค์กรพัฒนาเอกชน
มูลนิธิอโชก้า กับ รางวัลโครงสร้างฐานชุมชน
มูลนิธิอโชก้า ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสังคม
(ประเทศไทย)

รางวัลโครงการสร้างฐานชุมชน
ครั้งที่ 7 ประจำปี 2547
Citizen Base Awards 2004
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 7 หน้ากระดาษ A4)

 

อโชก้า: ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสังคม (ASHOKA: INNOVATORS FOR THE PUBLIC)
อโชก้า เป็นองค์กรประชาสังคม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2523 มีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ภารกิจหลักของอโชก้าคือ การค้นหาและสนับสนุนบุคคลที่ทำงานเพื่อสังคมที่มีลักษณะเป็น ผู้ประกอบการทางสังคม (Social Entrepreneurs) คือมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ชัดเจน มีความมุ่งมั่นในการหาวิธีการใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและยืนหยัดในการปฏิบัติจนเกิดผล

อโชก้าพิจารณาจะทำการคัดเลือกบุคคลเหล่านี้เป็น อโชก้าเฟลโลว์ (Ashoka Fellows) โดยให้ทุนสนับสนุนค่าครองชีพในระยะหนึ่งถึงสามปีแรก ให้บริการทางด้านวิชาการ ตลอดจนสร้างเครือข่ายอโชก้าเฟลโลว์ทั่วโลก เพื่อสนับสนุนให้อโชก้าเฟลโลว์ประสานงานและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสังคม โดยไม่จำกัดความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมหรือประเด็นในการทำงาน

จนถึงขณะนี้(ปี 2547) มีบุคคลที่ได้รับคัดเลือกเป็นอโชก้าเฟลโลว์แล้วกว่า 1,400 คน ใน 47 ประเทศทุกทวีปทั่วโลก ในจำนวนนี้เป็นอโชก้าเฟลโลว์ชาวไทย 69 คน

โครงการสร้างฐานชุมชน (Citizen Base Initiative)
อโชก้าได้ริเริ่ม โครงการสร้างฐานชุมชน ขึ้นเมื่อปี 2539 เพื่อสนับสนุนให้องค์กรประชาสังคม สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว โดยพัฒนากลยุทธใหม่ๆ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชน องค์กรภาครัฐ และเอกชนในการทำงานเพื่อสังคม เน้นการระดมทรัพยากรซึ่งหมายรวมถึง การระดมเงินทุน สิ่งของ อาสาสมัคร ข้อมูลข่าวสาร และพัฒนาฐานผู้สนับสนุนภายในประเทศไปพร้อมๆกัน

ปัจจุบันอโชก้าสนับสนุน โครงการสร้างฐานชุมชนในประเทศไทย อินเดีย บังคลาเทศ บราซิล อาร์เจนตินาร์ ชิลี อุรุกวัย อาฟริกาใต้ และสเปน และหากสนใจ ท่านสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของอโชก้าสากล และโครงการสร้างฐานชุมชน ได้ที่
www.ashoka.org www.citizenbase.org และ www.changemakers.net

องค์กรร่วมจัดงาน: มูลนิธิกองทุนไทย
โครงการสร้างฐานชุมชน ได้รับความร่วมมืออย่างต่อเนื่องจาก มูลนิธิกองทุนไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2543 โดยมีภารกิจหลัก ในการประสานแหล่งทรัพยากรและกลุ่มพลังต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อรณรงค์และเอื้ออำนวยให้เกิดการประสานแหล่งทุน การระดมทุน และการกระจายทุน ไปสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ปฏิบัติงานในระดับชุมชนฐานราก รวมทั้งพัฒนาศักยภาพขององค์กรดังกล่าวให้สามารถระดมทุนและทรัพยากรได้ด้วยตนเอง ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิกองทุนไทยได้ที่ www.tff.or.th

องค์ประกอบที่สำคัญของโครงการสร้างฐานชุมชน

1. การมอบรางวัลโครงการสร้างฐานชุมชน
มอบแก่องค์กรที่มีกลยุทธใหม่และสร้างสรรค์ในการระดมทรัพยากรภายในประเทศ โดยอโชก้าจะ
มอบเงินสมทบค่าครองชีพสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการระดมทุน จำนวน 12,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 ปี หรือ 24 เดือน เพื่อให้องค์กรมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการระดมทุนเต็มเวลา

2. การเสริมสร้างศักยภาพ
สนับสนุนให้องค์กรที่ได้รับรางวัล สามารถนำแนวความคิดในการระดมทรัพยากรไปปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น โดยช่วยประสานกับบุคคลและองค์กรอื่น ๆ เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการระดมทรัพยากร เช่น การฝึกอบรมด้านการระดมทุน การประชาสัมพันธ์และการตลาดเพื่อสังคม รวมทั้งการให้คำปรึกษาในพื้นที่โครงการ เป็นต้น

3. การเผยแพร่ผลงาน
เผยแพร่ประวัติและผลงานขององค์กรที่ได้รับรางวัลในพิธีประกาศเกียรติคุณและในงานอื่นๆ ที่
อโชก้าจะจัดให้มีขึ้น ในรูปนิทรรศการ สิ่งตีพิมพ์ รวมทั้งบนเว็บไซท์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานได้เห็นแนวความคิดและกลยุทธใหม่ ๆ ในการระดมทรัพยากร ขณะเดียวกันสาธารณชนก็เห็นผลงานและความคิดสร้างสรรค์ขององค์กร ทำให้อยากเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนมากยิ่งขึ้น

องค์กรที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ
องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน องค์กรประชาสังคม ในประเทศไทย ที่ทำงานพัฒนาเป็นหลัก ไม่ใช่หน่วยงานรัฐ องค์กรธุรกิจ สถาบันการศึกษา หรือส่วนบุคคล และไม่เคยได้รับรางวัลโครงการสร้างฐานชุมชนมาก่อน นอกจากนี้จะต้องเป็นองค์กรที่เล็งเห็นความสำคัญของงานระดมทรัพยากร โดยมีบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านนี้เต็มเวลา รวมทั้งจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่องานระดมทรัพยากรโดยเฉพาะ

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาโครงการปี 2547
โครงการที่จะได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการ ต้องเป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อการระดมทุนหรือทรัพยากรภายในประเทศเป็นสำคัญ ไม่ใช่กิจกรรมปกติ ที่ดำเนินการอยู่เป็นประจำตามภารกิจหลักขององค์กร หลังจากผ่านหลักเกณฑ์ข้างต้นแล้ว คณะกรรมการจึงจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดทรัพยากรเพิ่มเติมแก่องค์กร ในรูปตัวเงิน สิ่งของ อาสาสมัคร ข้อมูลข่าวสาร และหรือใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิมอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. เป็นโครงการที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และกลยุทธใหม่ในการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาสังคม

3. เป็นโครงการที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจหลักขององค์กร

4. เป็นโครงการที่มีแผนงานที่เป็นจริง มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ

5. กลยุทธของโครงการสามารถนำไปปฏิบัติซ้ำหรือปรับใช้กับองค์กรอื่น ๆ ได้

โครงการที่ไม่เข้าข่ายการพิจารณา ได้แก่

- การปฏิบัติงานตามโครงการปกติขององค์กร
- การศึกษาวิจัย การจัดประชุมสัมมนา
- การให้ทุนการศึกษา ทุนการฝึกอบรม
- การสร้างถาวรวัตถุ

คณะกรรมการพิจารณาโครงการ
ประกอบด้วยผู้แทนจากองค์การอโชก้า มูลนิธิกองทุนไทย เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อม (SVN Asia/Thailand) รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา ธุรกิจเอกชน และสื่อมวลชน

กระบวนการในการพิจารณาโครงการ

1. การแนะนำโครงการในพื้นที่ต่าง ๆ ช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2547
2. การเปิดรับโครงการ ตั้งแต่บัดนี้ - ศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2547
3. การประขุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ผู้แทนโครงการที่เข้ารอบสุดท้ายชี้แจงต่อคณะกรรมการ เสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2547
4. การประกาศผลโครงการที่ได้รับรางวัล ศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2547

อโชก้า จะแจ้งผลเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังโครงการที่ได้รับรางวัลเท่านั้นและจะประกาศผล บนเว็บไซท์ของมูลนิธิกองทุนไทยที่ www.tff.or.th

แนวทางการเขียนโครงการ
โครงการที่เสนอมาควรมีความยาว ไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 โดยสรุปเฉพาะสาระสำคัญดังนี้:

1. แนะนำองค์กร ไม่เกิน 2 หน้า
- วิสัยทัศน์และภารกิจหลักขององค์กร
- โครงสร้างการบริหารงาน ( กรุณาเขียนแผนผังประกอบ โดยระบุว่าโครงการที่เสนอมาอยู่ในส่วนใดของโครงสร้าง)
- โครงการสำคัญที่เคยทำมาแล้ว โดยเฉพาะโครงการระดมทรัพยากร

2. แนะนำโครงการระดมทรัพยากร ไม่เกิน 2 หน้า
- องค์กรได้วางโครงการระดมทรัพยากรไว้อย่างไรบ้างในรอบระยะเวลา 3 ปี (2547-2549)
- โครงการนั้น มีวัตถุประสงค์อย่างไร
- โครงการใช้กลยุทธใหม่และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างไร
- สามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้อย่างไร ร่วมมือกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ อะไรบ้าง
- สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจหลักขององค์กรอย่างไร

3. แนะนำผู้รับผิดชอบโครงการ ไม่เกิน 2 หน้า
ประวัติ และผลงานของผู้รับผิดชอบโครงการ โดยเฉพาะในด้านการระดมทรัพยากร

4. แผนการดำเนินงานและงบประมาณ ไม่เกิน 3 หน้า
อธิบายให้เห็นชัดเจนว่าในรอบระยะเวลา 3 ปี (2547-2549) โครงการจะมีวิธีดำเนินงานอย่างไร ต้องใช้บุคลากรและทรัพยากรอะไรบ้างเพื่อให้แผนงานประสบความสำเร็จ โดยระบุตารางเวลาการทำงาน จำนวนบุคลากร และงบประมาณ ระบุแหล่งที่มาของงบประมาณว่าเป็นส่วนที่องค์กรจัดหามาเองเท่าใด ได้มาจากแหล่งอื่น ๆ เท่าใด

5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ไม่เกิน 1 หน้า
ระบุผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งผลทางตรงในรูปตัวเงิน สิ่งของ อาสาสมัคร ข้อมูล ฯลฯ และผลทางอ้อม

การส่งโครงการ
กรุณาส่งโครงการ พร้อม ใบนำส่งโครงการ ที่กรอกรายละเอียดครบถ้วนแล้ว มายัง

โครงการสร้างฐานชุมชน
มูลนิธิอโชก้า ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสังคม (ประเทศไทย)
65/1 ชั้น 3 ถนนสุขุมวิท 55
แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-8610 โทรสาร: 0-2712-8611
ภายในวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2547 เป็นวันสุดท้าย

เชิญสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิไล ตระกูลสิน
ผู้อำนวยการโครงการสร้างฐานชุมชน โทร. 09-741-6904


ใบนำส่งโครงการ

ชื่อโครงการ (ควรสั้น กระกระชับและสร้างสรรค์)
ภาษาไทย…..………………………………………………………………………………………….
ภาษาอังกฤษ………………………………………………………………………..………………..
สรุปแนวความคิดใหม่/กลยุทธใหม่ในการระดมทรัพยากรของโครงการ (ไม่เกิน 8 บรรทัด)

....................................................................................................................................

ชื่อองค์กรที่เสนอโครงการ……………..…..………………………...วันที่ก่อตั้ง………….…….……...............
ผู้รับผิดชอบโครงการ (ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าองค์กร และสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้)
ชื่อ………………………………………………ตำแหน่งในองค์กร…………………………..……….
ที่อยู่ เลขที่…… …………….……หมู่ที่…………..…………….…ซอย…….………………………..
ถนน……………… …………… ตำบล…………… ……………อำเภอ…………………………… จังหวัด…………………...………..........
รหัสไปรษณีย์…………...…..…โทรศัพท์………..…………..……โทรสาร……………..………..……มือถือ………….……………..
E-mail……………….……………website……………………………………………………………
รายชื่อผู้อ้างอิงที่รู้จักและเข้าใจโครงการของท่านเป็นอย่างดี(อ้างอิงได้มากกว่าหนึ่งท่าน) กรุณาระบุที่ติดต่อด้วย……………………………………………………………….…………………………….
…………………………………………………………………………………………………..………………………………


เพื่อความสะดวกในการติดต่อ กรุณาแนบแผนที่ตั้งองค์กรของท่านมาด้วย
ท่านทราบข่าวการมอบรางวัลโครงการสร้างฐานชุมชนครั้งนี้ จาก
( ) บุคคล ระบุ…………………..………..… ( ) หน่วยงาน ระบุ…….………………………
( ) สื่อ ระบุ……………………………..…… ( ) อื่นๆ ระบุ..........………….………………...
ข้าพเจ้าได้อ่านและทำความเข้าใจในเอกสารแนะนำโครงการสร้างฐานชุมชนแล้ว และขอยืนยันความถูกต้องของข้อมูลทั้งหมดที่ได้เสนอมา

ลงนาม……......……………..…….............ผู้รับผิดขอบโครงการ

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 400 เรื่อง หนากว่า 4500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




มูลนิธิอโชก้าจะมีการมอบรางวัลโครงสร้างฐานชุมชนให้กับองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้สนใจให้ส่งโครงการก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 นี้

 

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง
จะแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com

อโชก้า: ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสังคม ( ASHOKA : INNOVATORS FOR THE PUBLIC) อโชก้า เป็นองค์กรประชาสังคม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2523 มีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ภารกิจหลักของอโชก้าคือ การค้นหาและสนับสนุนบุคคลที่ทำงานเพื่อสังคมที่มีลักษณะเป็น ผู้ประกอบการทางสังคม (Social Entrepreneurs) คือมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ชัดเจน มีความมุ่งมั่นในการหาวิธีการใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและยืนหยัดในการปฏิบัติจนเกิดผล