บทสนทนาวัฒนธรรมตะวันออก กระบวนวิชาปรัชญาศิลปะ ในส่วนของ "หัวข้อที่น่าสนใจ"(interesting issue)โดยนักศึกษากลุ่มที่ 9 ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2545 /วจศ.
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 214 ประจำเดือนกันยายน ๒๕๔๕

ผลงานวิชาการ : ปรัชญาศิลปะ - สุนทรียศาสตร์(ตะวันออก) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
N
home

ช่วงเวลาตลอดที่กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลเรืองอำนาจอยู่ในอินเดีย ก็ทำให้ชาวอินเดียเดิมที่เสื่อมล้าแล้ว ต้องแตกกระจัดกระจาย กระสานซ่านเซน เป็นราชา เป็นกลุ่มเล็กๆ อันนี้ก็ยังไม่ยับเยินเท่าไหร่

แต่เมื่อบริษัทค้าขายอินเดียตะวันออกของอังกฤษเข้ามา ในคริสตศักราชที่ 18 ตอนแรกก็เข้ามาค้าขายเฉยๆ มาตั้งสำนักงาน มาสร้างเป็นออฟฟิตเพื่อจะค้าขาย แถบเมืองท่าคือ กัลกัตตา บอมเบย์ แต่ต่อมา ประธานหรือผู้จัดการใหญ่ของบริษัท เห็นว่าถ้าไม่สามารถที่จะครอบงำคนอินเดียได้ ก็ทำธุรกิจยาก เพราะฉะนั้นสุดท้ายบริษัทการค้านี้จึงกลายมาเป็นผู้ปกครองอินเดียโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวในเวลาต่อมา

R
150945
random
ในอินเดียเสียอีก ขณะที่มีกระบวนการซึ่ง ในภาษาของนักสังคมวิทยาอินเดียพูดถึง westernization ก็มีคำว่า Sanskritization คู่กันมาตลอดเวลา คือทำอย่างไรในขณะที่มีการแย่งชิง ชาวตะวันตกพยายามทำให้คนอื่นเป็นตะวันตก(western) ก็มีชาวอินเดียกลุ่มหนึ่งมาแย่งชิงให้เป็นสันสกฤต(Sanskrit) เพื่อจะเป็นสัญลักษณ์ในตอนต้น
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : ทางเลือกอุดมศึกษาเพื่อความเป็นไท - หากสมาชิกและนักศึกษาประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

QUOTATION
ชาวอังกฤษที่ว่านี้เห็นว่าวัฒนธรรมอินเดียเป็นอุปสรรคต่อการทำมาค้าขายและการแสวงหากำไร จึงพยายามเปลี่ยนแปลงให้พวกเขาเกิดความคิดความรู้สึกว่า อินเดียต้องเปลี่ยนให้เป็นอังกฤษหรือตะวันตกให้ได้ กระบวนการทำให้เป็นตะวันตก ได้เข้าไปทำลายสิ่งที่เรียกว่าระบบความเชื่อเดิมของอินเดียอย่างรุนแรงและมากมาย

ที่ใช้คำว่าอย่างรุนแรงและมากมาย หมายความว่า ทำให้ชาวอินเดียเกิดกระแสหรือค่านิยมที่ดูหมิ่นดูแคลนความเป็นอินเดียเอง ซึ่งเป็นความชาญฉลาดของชาวอังกฤษที่เขาได้จัดระบบการศึกษา ซึ่งทำให้คนชั้นสูงของอินเดียหันมาเรียนหนังสือแบบอังกฤษ และเมื่อคนเหล่านี้มาเรียนหนังสือแบบอังกฤษ ก็ได้รับการตอบแทนด้วยการให้มีฐานะตำแหน่งทางสังคมที่สูงขึ้น เพราะฉะนั้น คนที่มีฐานะทางสังคมก็ส่งลูกส่งหลานมาเรียนหนังสือในโรงแรียนแบบอังกฤษ หรือไม่ก็ส่งไปเรียนที่อังกฤษ ภายหลังก็กลับมาเป็นผู้นำทางสังคม. กระบวนการทำให้เป็นตะวันตกที่ว่านี้ ทำให้วัฒนธรรมอินเดียตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว ต่ำลงหมายความว่ามีราคา มีความรู้สึกว่าสูงส่งลดน้อยลง

 

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

สำหรับผู้ที่ต้องการดูหน้า Home page ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนที่ผ่านไป กรุณาคลิกที่นี่
(บทความขึ้นปก "ผ่าระบบโครงสร้างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ : สังคมกำลังแปรโรคต่างๆให้เป็นสินค้า)

แนวคิด Lyotard และคนดังหลังสมัยใหม่
อีกเรื่องที่น่าสนใจของบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

 

(มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 213)

การเข้าทำประโยชน์ของเกษตรกรหลายอำเภอในจังหวัดลำพูน ในที่ดินที่เคยเป็นที่สาธารณะซึ่งใช้ประโยชน์ร่วมกันมาของชุมชน แต่ได้ถูกดำเนินการทางกฎหมายจากบุคคลบางกลุ่มที่อ้างสิทธิโดยอาศัยเอกสารทางราชการ เช่น โฉนด นส.3 ก เป็นให้เกษตรกรจำนวนมากต้องถูกจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกอยู่ในขณะนี้ เป็นภาพสะท้อนปัญหาในเชิงโครงสร้างที่สำคัญ 2 ประการ คือ

ประการแรก ปัญหาการไม่มีที่ดินทำกินของเกษตรกร เป็นที่ชัดเจนว่าในปัจจุบันมีเกษตรกรเป็นจำนวนมากที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง รายงานการวิจัยหลายชิ้นได้แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรไม่ต่ำกว่า 5 แสนครอบครัวไม่มีที่ดินทำกินเพียงพอ พร้อมๆ กับที่มีที่ดินรกร้างว่างเปล่าเป็นจำนวนมากถูกทอดทิ้งไว้ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร แม้จะเป็นที่ดินซึ่งได้มีเอกสารสิทธิแล้วก็ตาม ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่าปรากฏการณ์ที่จังหวัดลำพูนเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ อันหนึ่งของปัญหาที่ดินที่หมักหมมมาเป็นเวลานาน ซึ่งควรต้องได้รับการแก้ไขอย่างรีบเร่งในปัจจุบัน

ประการที่สอง การฉ้อฉลในการออกเอกสารสิทธิที่ดิน กระบวนการออกเอกสารสิทธิในที่ดินซึ่งอยู่ในมือรัฐโดยปราศจากการควบคุม ตรวจสอบ หรือมีส่วนร่วมจากสาธารณะ เป็นผลให้บุคคลบางกลุ่มที่สามารถเข้าถึงและสมคบกับกลไกรัฐ จนสามารถออกเอกสารสิทธิเหนือที่ดิน แม้จะเป็นวิธีการที่ไม่ชอบต่อกฎหมายก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชนท้องถิ่น

กรณีจังหวัดลำพูนได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิสูจน์ถึงกระบวนการได้มาของเอกสารสิทธิในหลายพื้นที่ ซึ่งก็ได้พบว่ามีการออกเอกสารสิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายพื้นที่ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการเพิกถอนเอกสารเหล่านี้แต่อย่างใด

การจับกุมและดำเนินคดีกับเกษตรกรในจังหวัดลำพูน จึงเป็นการปิดกั้นโอกาสในการเรียนรู้ถึงปัญหาร่วมกันของสังคมไทย ในการแก้ไขปัญหาเรื่องความไม่เป็นธรรมและการฉ้อฉลในการถือครองที่ดิน อันเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทย ซึ่งจะบั่นทอนศักยภาพของสังคมในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

สมัชชานักวิชาการเพื่อคนจน และองค์กรพันธมิตรต้องการให้สังคมได้ร่วมกันสร้างสรรค์ความเป็นธรรม และแสวงหาแนวทางในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม ดังนั้นพวกเราจึงได้ร่วมกันประกันตัวชาวบ้านเพื่อที่จะได้มีโอกาสต่อสู้คดี อันเป็นหนทางที่ทำให้สังคมได้เรียนรู้ร่วมกันในการที่จะแก้ไขปัญหาใหญ่ของสังคมไทย และขอเรียกร้องให้สังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขความไม่เป็นธรรม และการฉ้อฉลในการครอบครองที่ดินด้วยการเร่งออกกฎหมายปฏิรูปที่ดินอย่างแท้จริงโดยเร็ว

สมัชชานักวิชาการเพื่อคนจน

รายชื่อผู้ร่วมสนับสนุนการปฏิรูปที่ดินในสังคมไทย

ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน - ดร.กนกศักดิ์ แก้วเทพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - อ.วัลลภ แม่นยำ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน - อ.สุชาดา จักษ์พิสุทธิ์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน - อ.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ดร.จิตราภรณ์ ตันรันตกุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - อ.ชัชวาล บุญปัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - อ.ไพสิฐ พาณิชย์กุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - อ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - อ.นัทมน คงเจริญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - อ.ทรงวุฒิ จารขจรกุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - อ.วาทิศ โสตธิพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - อ.ศักดิ์ชาย จินะวงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - อ.บุญชู ณ ป้อมเพ็ชร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - อ.พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ดร.วนารักษ์ ไซพันธุ์แก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ทพ. วิชัย วิวัฒน์คุณูปการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ศ.ดร.ยศ สันตะสมบัติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - รศ.วิระดา สมสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ดร.ชูศักดิ์ วิทยภัค มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - อ. อรศรี งามวิทยาพงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ดร.อำพล วงศ์จำรัส มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - คุณอรณิชา ตั้งนโม มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน - คุณวรัญญา เตียวกุล สภาพัฒน์ฯ - อ.อุทิศ อะติมานะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - อ. ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - อ.ชัชวาล นิลสกุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยมหิดล - อ. สมพร เตชะอธิก มหาวิทยาลัยขอนแก่น - อ.สัมพันธ์ เตชะอธิก มหาวิทยาลัยขอนแก่น - ผศ. อนันต์ ลิขิตประเสริฐ สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์ - อ. สกล วงศ์กาฬสินธ์ สถาบันราชภัฎนครราชสีมา - คุณมานะ นาคำ - คุณวิเชียร แสงโชติ - อาจารย์ปรีชา เปี่ยมพงษ์ศานต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ฉันทนา บรรพศิริโชติ-หวันแก้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.สุชาย ตรีรัตน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ดร.สุริชัย หวันแก้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - อาจารย์เวียงรัฐ เนติโพธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - อาจารย์นฤมล ทับจุมพล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ดร.นิรมล อรุโณทัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - คุณราณี หัสสรังษี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต มหาวิทยาลัยเกริก - ดร.สมศักดิ์ สามัคคีธรรม มหาวิทยาลัยเกริก - อาจารย์เชษฐา พวงหัตถุ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - อาจารย์บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - อาจารย์ณรงค์ บุญสวยขวัญ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ - อาจารย์ฐิรวุฒิ เสนาคำ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ - อาจารย์ปรีชา ธรรมวินทร สถาบันราชภัฎ - อาจารย์สพสันติ์ เพชรคำ สถาบันราชภัฎ - ดร.ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา - รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ผศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ผศ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ สถาบันราชภัฎนครราชสีมา - รศ.ดร.ปรีชา อุยตระกูล สถาบันราชภัฎนครราชสีมา

 

(บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 215)
จดหมายเปิดผนึก
เรื่อง ขอให้จับตาการล้างผลาญงบประมาณแผ่นดิน
โดยการผลักดันให้สร้าง เขื่อนแก่งเสือเต้น

เรียน พี่น้องประชาชนผู้รักความเป็นธรรมทุกท่าน
สิ่งที่ส่งมาด้วย :

1. ทางออก ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ลุ่มน้ำยม โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
2. เหตุผล 12 ประการที่ไม่ควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

จากสถานการณ์ภัยน้ำท่วมกว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ ในขณะนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า มีพรรคการเมืองบางพรรค โดยเฉพาะพรรคชาติไทย ที่หัวหน้าพรรค ออกมาล้วงลูก สั่งรัฐมนตรีในสังกัดเร่งรัดผลักดันโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น จังหวัดแพร่ โดยมีอธิบดีกรมชลประทานสนับสนุนอย่างเข้มแข็ง ซึ่งโครงการแก่งเสือเต้นเขื่อนเดียว ต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 12,000 ล้าน (หนึ่งหมื่นสองพันล้านบาท) ทั้งที่อุทกภัยได้เกิดขึ้นทั่วประเทศ

ทั้งที่ การศึกษาของ FAO. ได้มีข้อสรุปออกมาแล้วว่า เขื่อนแก่งเสือเต้น สามารถป้องกันน้ำท่วมได้เพียง 8 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น แต่ พรรคการเมือง นักการเมือง รัฐมนตรี บางคน กลับหลับหูหลับตา ไม่ยอมรับรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริง กลับจกฉวยสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อเร่งรัดโครงการเพื่อผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง

อีกทั้งผลการศึกษา การวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ออกมา ก็มีความชัดเจนแล้วว่าไม่สมควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น อาทิ

1. จากการศึกษาของ องค์การอนามัยโลก (FAO.) ด้วยเหตุผลเรื่องการป้องกันน้ำท่วม กรณีเขื่อนแก่งเสือเต้น สามารถ เยียวยาปัญหาน้ำท่วมได้ เพียง 8 เปอร์เซ็นต์

2. จากการศึกษาของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย (TDRI.) ด้วยเหตุผลทาง เศรษฐศาสตร์ ได้ข้อสรุปว่า เขื่อนแก่งเสือเต้นไม่คุ้มทุน

3. จากการศึกษาของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด้วยเหตุผลทางนิเวศวิทยา ที่มีข้อสรุปว่าหากสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะกระทบต่อระบบนิเวศน์ของอุทยานแห่งชาติแม่ยมเป็นอย่างมาก หากเก็บผืนป่าที่จะถูกน้ำท่วมไว้จะมีมูลค่าต่อระบบนิเวศน์ และชุมชนอย่างมาก

4. จากการศึกษาของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเหตุผลทางด้าน ป่าไม้ สัตว์ป่า ที่มีข้อสรุปว่า พื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นทั้งอุทยานแห่งชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ อีกทั้งยังเป็นแหล่งป่าสักทองธรรมชาติ ผืนเดียวที่เหลืออยู่ ดังนั้น ควรเก็บรักษาไว้ เพื่ออนาคตของประชาชนไทย และมวลมนุษยชาติ

5. จากการศึกษาของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ด้วยเหตุผลในการจัดการน้ำ ยังมีทางออก และทางเลือกอื่น ๆ อีกหลายวิธีการ ที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

เครือข่ายพิทักษ์แม่น้ำยม สมัชชาคนจน ขอประณามการฉ้อฉล ฉกฉวย สถานการณ์น้ำท่วม มาผลักดันโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เพื่อผลประโยชน์ของตน และพวกพ้อง ทั้งที่ข้อมูล เหตุผล ล้วนเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าไม่สมควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

ทั้งนี้ เครือข่ายพิทักษ์แม่น้ำยม สมัชชาคนจน ใคร่ขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมลุ่มน้ำยม โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยย่อ ดังนี้

1. การจัดการโดยใช้แนวทางทางภูมินิเวศวิทยา การจัดการน้ำแบบใหม่ และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมองภาพรวมการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำทั้งระบบ

2. การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การฟื้นฟูป่าไม้ การอนุรักษ์ป่า การปลูกป่าเสริม การปกป้อง พิทักษ์ รักษา และการจัดการป่า โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม (การประกาศป่าชุมชน ป่าอนุรักษ์ ปลูกป่า ฯลฯ) นับเป็นแนวทางหนึ่งที่จะฟื้นฟูเสถียรภาพของระบบนิเวศน์ ให้กลับคืนมาสู่สมดุล อย่างยั่งยืน

3. การขุดลอกตะกอนแม่น้ำ อันจะสามารถฟื้นฟูแม่น้ำให้กลับมาทำหน้าที่แม่น้ำตามธรรมชาติได้ การทำทางเบี่ยงน้ำเพื่อระบายออกนอกเขตชุมชน การสร้างเครือข่ายทางน้ำเพื่อกระจายน้ำไปยังนอกเขตชุมชน ฯลฯ

4. การฟื้นฟูที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สามารถทำได้โดย ขุดลอกคูคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำกับหนองบึง การยกถนนให้สูงขึ้น หรือเจาะถนนไม่ให้กีดขวางทางน้ำ การสร้างบ้านเรือนให้อย่างน้อยชั้นล่างสุดต้องสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุด การแนะนำให้เกษตรกรการปลูกพืชอายุสั้น พันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การกำหนดให้เป็นเขตเสี่ยงภัยจากน้ำท่วม การหยุดยั้งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ขวางทางน้ำในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำยม การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น เป็นที่ท่องเที่ยว เป็นแหล่งประมง เขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ ยังสามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ทางตอนล่างลงมาตลอดจนถึงกรุงเทพฯ ได้ เนื่องจากที่ราบลุ่มแม่น้ำยมเป็นที่พักน้ำ ที่สามารถพักน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมกันถึง 500-1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร (ซึ่งมากกว่าแก่งเสือเต้นเสียอีก)

5. การจัดการทางด้านความต้องการ ในปัจจุบันลุ่มแม่น้ำยมมีระบบชลประทานขนาดใหญ่ และขนาดกลาง 24 แห่ง ระบบชลประทานขนาดเล็ก 220 แห่ง บ่อน้ำตื้น 240 บ่อ และระบบสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้าของกรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน 26 แห่ง รวมพื้นที่ชลประทาน 1,117,465 ไร่ ระบบชลประทานเหล่านี้ล้วนแต่มีประสิทธิภาพต่ำ กล่าวคือ ประสิทธิภาพเฉลี่ยระบบชลประทานของกรมชลประทานมีเพียง 35% ส่วนระบบสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้ามีประสิทธิภาพเฉลี่ย 57% ขณะที่ประสิทธิภาพระบบชลประทานทั่วโลกเฉลี่ย 64% การจัดการด้วย DSM โดยการซ่อมบำรุงระบบชลประทานที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนให้เกิดกลุ่มผู้ใช้น้ำ การให้ความรู้แก่ผู้ใช้น้ำจะสามารถทำให้เหลือน้ำจำนวนมาก เฉพาะระบบของกรมชลประทานถ้าใช้ระบบ DSM จะเหลือน้ำถึง 101 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบเท่ากับปริมาณในการอุปโภคบริโภคของคนในลุ่มแม่น้ำยมถึง 7.6 ล้านคน

6. การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มแม่น้ำยม สามารถดำเนินการได้โดยการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กตามที่มีรายละเอียดในแผนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งจัดทำโดย กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย แผนดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้โดยใช้งบประมาณเฉลี่ยแล้วหมู่บ้านละประมาณ 3 ล้านบาทเท่านั้น

7. การพัฒนาระบบประปา การขาดแคลนน้ำในเมืองใหญ่ ๆ โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่ความต้องการน้ำมีสูง ไม่ได้เกิดจาก การขาดน้ำดิบเท่านั้น แต่เกิดจากระบบการผลิตน้ำประปาของการประปาภูมิภาคไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น เมืองสุโขทัยขาดแคลนน้ำประปาในฤดูแล้ง เพราะระบบการผลิตน้ำประปามีความสามารถในการผลิตน้ำประปาเพียง 60 % ของความต้องการน้ำประปาสูงสุดในฤดูแล้ง การขยายระบบการผลิตน้ำประปาจะสามารถช่วยในการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ในเมืองใหญ่ได้อย่างไรก็ตามการรณรงค์ให้มีการประหยัดน้ำในฤดูแล้งก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น

ท้ายนี้ เครือข่ายพิทักษ์แม่น้ำยม สมัชชาคนจน ขอให้พี่น้องประชาชนผู้รักความเป็นธรรมทุกท่าน ร่วมกันติดตาม ตรวจสอบ พฤติกรรม ฉ้อฉล และ ฉกฉวยสถานการณ์ ของ พรรคการเมือง นักการเมือง ข้าราชการบางคน ที่เร่งรัด ผลักดันเขื่อนแก่งเสือเต้น ทั้งที่เขื่อนแก่งเสือเต้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้

ขอแสดงความนับถือ
เครือข่ายพิทักษ์แม่น้ำยม สมัชชาคนจน

หมายเหตุ : ท่านสามารถพิจารณาเหตุผล 12 ประการ ที่ไม่ควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นได้ที่ http://thai.to/yomriver
หรือ http://www.thai.to/yomriver/kst12.htm
Assembly of the Poor. THAILAND. 99, 3 Floor Nakorn Sawan Rd. Pomprab Bangkok Thailand. 10100. T:F ; 662 2811916 , 2812595, Mo 09-9273556 Mail : [email protected] : CC [email protected]
http://www.thai.to/aop , http://www.thai.to/munriver , http://www.thai.to/yomriver

 

(บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 216)

น้ำท่วม
จะแก้ปัญหาโดยเทคโนโลยีหรือใช้วิธีการจัดการทางสังคม
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

โดยไม่มีสถิติอยู่ในมือ ผมได้แต่รู้สึกว่าน้ำท่วมเมืองไทยปีนี้ไม่ได้เกิดเพราะน้ำมาก แต่เกิดเพราะพายุแต่ละระลอกที่นำฝนเข้ามานั้นมากันถี่เหลือเกิน ลูกนี้ยังไม่ทันซา ลูกใหม่ก็พาฝนมาอีกแล้ว จนกระทั่งห้วยหนองคลองบึงและแม่น้ำ ระบายน้ำไม่ทัน เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่ง ทำให้ฝนที่ตกลงมาก็ระบายออกไปไม่ได้เหมือนกัน

ถ้าจริงดังความรู้สึกของผม ก็แปลว่าภาวะน้ำท่วมเมืองไทยอย่างที่เราเห็นในปีนี้ อาจเกิดขึ้นบ่อยกว่าที่เคย ไม่ใช่จะเกิดเฉพาะในปีน้ำมากเท่านั้น

ความเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศกำลังมาถึงจุดที่ทำให้ชีวิตเราดำเนินไปยากลำบากมากขึ้นๆ ตามลำดับแล้ว

น้ำท่วมทุกครั้งก็จะปลุกให้นักการเมืองและข้าราชการคิดถึงเทคโนโลยีทุกที ไม่เฉพาะแต่ว่าการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีหมายถึงเงินหลายพันล้านเท่านั้น แต่ที่น่าตระหนกกว่านั้นก็คือในระบบความคิดของไทย โดยเฉพาะในหมู่นักการเมืองและข้าราชการ เทคโนโลยีเป็นคำตอบอย่างเดียวสำหรับปัญหาทุกอย่าง

ผมขอยกตัวอย่างวิธีคิดที่เอาเทคโนโลยีเป็นตัวตั้งของนักการเมืองสักสองกรณี

นักการเมืองโบราณอย่าง นายบรรหาร ศิลปอาชา ใช้โอกาสนี้ในการลำเลิกเขื่อนแก่งเสือเต้น มติ ครม.สมัยที่ตัวเขาเป็นนายกฯ-ได้อนุมัติให้ทำการศึกษาเพื่อก่อสร้างไปแล้ว แต่ไม่มีเสียงสนับสนุนในสังคมเพียงพอ จึงทำให้โครงการนี้เป็นหมันไป

ในทรรศนะของนายบรรหาร ชื่อแก่งเสือเต้นอาจจะดุเกินไป ฉะนั้นจึงควรรื้อโครงการมาสร้างใหม่โดยเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ (ซึ่งผมขอเสนอว่าเป็น แก่งม้าเต้น แล้วกัน)

นอกจากนี้ นายบรรหารยังพูดถึงการลงทุนสร้างพนังกั้นแม่น้ำในเขตเมืองอีกด้วย

เทคโนโลยีที่เป็นคำตอบก็มักเป็นเทคโนโลยีง่ายๆ ที่ขาดข้อมูล ดังกรณีนี้ เรายังไม่รู้เลยว่าปริมาณน้ำที่ไหลท่วมเมืองสุโขทัยและพิจิตรจนถึงนครสวรรค์นั้นมาจากไหนกันบ้างและเท่าไร ใช่ว่าเมื่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นแล้ว จะไม่มีน้ำจากที่อื่นไหลลงแม่น้ำยมท้ายเขื่อนอีกเลยก็หาไม่

ส่วนเทคโนโลยีเขื่อนเองก็ใช่ว่าเป็นคำตอบแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ชะงัดนัก

ในปีนี้เมืองจำนวนมากจมน้ำเพราะเขื่อนต้องปล่อยน้ำอย่างรวดเร็วก็ปรากฏอยู่ไม่น้อย

นับตั้งแต่ขอนแก่นยันเถินและชัยนาท เป็นต้น ถึงในปีอื่นๆ ก็ได้ยินข่าวเขื่อนปล่อยน้ำลงท่วมเมืองหรือชุมชนอยู่เป็นประจำ ยังไม่พูดถึงเขื่อนแตกซึ่งก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

เช่นเดียวกับพนังกั้นน้ำ ป้องกันได้แต่น้ำในแม่น้ำล้นตลิ่ง แต่หากน้ำมาจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่แม่น้ำก็ไม่อาจป้องกันน้ำท่วมเมืองได้อยู่นั่นเอง ซ้ำร้ายยังต้องสิ้นเปลืองพลังงานในการสูบน้ำออกตลอดเวลา แม้ฝนตกธรรมดาก็ยุ่งเสียแล้ว

ท่านนายกฯไม่ได้เสนอให้สร้างเขื่อน แต่เสนอให้สร้างอ่างเก็บน้ำกระจายไปในลุ่มน้ำที่มีปัญหาเช่นลุ่มน้ำยม ข้อเสนอของท่านฟังดูดีกว่ากันมาก เพราะที่จริงแล้วภาวะน้ำท่วมของหลายลุ่มน้ำในปัจจุบันเกิดขึ้นจากการทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นระบบนิเวศที่สำคัญในแถบภาคเหนือตอนล่างหรือภาคกลางตอนบน

พื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านี้ถูกบุกรุกเข้าไปยึดครอง จนกระทั่งบางแห่งหายสาบสูญไปเลย

บางแห่งก็ลดขนาดลงเหลือไม่ถึงครึ่งของอาณาบริเวณที่มีอยู่เดิม อีกหลายแห่งถูกผลของการ "พัฒนา" กลายเป็นบึงเทียมขนาดใหญ่ซึ่งไม่อาจขยายพื้นที่ในหน้าน้ำได้

พื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาตินั้นยืดได้หดได้ ในหน้าน้ำก็ยืด หน้าแล้งก็หด การยืดหดนี้เป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศ เพราะทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ อีกทั้งเป็นแหล่งพืชและสัตว์ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ประชาชนใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศเช่นนี้ในหลายลักษณะ ทั้งเก็บเกี่ยวพืชและสัตว์มาเป็นอาหารและยารักษาโรคโดยตรง หรือใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกเป็นฤดูกาล ดังเช่นป่าบุ่งป่าทามของภาคอีสาน ซึ่งไม่มีใครสามารถจับจองพื้นที่เหล่านี้เป็นการถาวรแต่คนเดียวได้

ในภาคกลาง มีการตั้งชุมชนตามชายขอบของพื้นที่ชุ่มน้ำบ้าง แต่ก็เป็นชุมชนที่มีสภาพสัณฐานสำหรับการอยู่ร่วมกับระบบนิเวศที่แปรเปลี่ยนไปในฤดูน้ำหลาก และฤดูแล้ง เช่นสร้างบ้านยกพื้นสูง, มีพาหนะเรือแพพร้อม, มีอาชีพประมงมากบ้างน้อยบ้างตามกรณี และอาจทำพืชไร่ฤดูสั้นสำหรับใช้แลกข้าวกับชุมชนอื่น เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ไม่อาจทดแทนได้ด้วยอ่างเก็บน้ำ หรือแม้พยายามดึงให้สังคมกลับไปอยู่อย่างเดิมอีกก็เป็นไปไม่ได้ แต่การฟื้นฟูสภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำให้เต็มบริบูรณ์ดังเก่าก็ยังทำได้

เพียงแต่ว่าไม่อาจทำได้ด้วยการทุ่มเทคโนโลยีลงไป หากต้องอาศัยการจัดการทางสังคม และการจัดการทางสังคมนี่แหละคือสิ่งที่นักการเมืองและข้าราชการไม่ค่อยนึกถึง

เพราะพื้นที่ชุ่มน้ำและหน้าที่ในระบบนิเวศของพื้นที่เหล่านี้จะกลับคืนมาอีกได้ ก็โดยการปรับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วของคนไทยเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติต่างหาก

ทำอย่างไรคนและราชการเองจึงจะสร้างอาคารเสาสูงในพื้นที่ซึ่งควรปล่อยให้น้ำหลากในบางฤดู

จะแก้ปัญหาที่มีกับชีวิตสมัยใหม่ในฤดูน้ำหลากอย่างไร เช่นมีพื้นที่กลางสำหรับการจอดรถยนต์หรือรถไถ เป็นต้น จะต้องปฏิรูปกฎหมายที่ดินอย่างไร เพื่อให้เกิดกรรมสิทธิ์หลากหลายชนิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งแตกต่างกันในเชิงระบบนิเวศ เช่นคนที่มีที่ดินในพื้นที่ซึ่งต้องปล่อยให้น้ำหลากลงห้วยหนองคลองบึง จะถมที่สูงกั้นทางน้ำหลากไม่ได้

จะบริหารจัดการพื้นที่ส่วนกลางซึ่งต้องเตรียมไว้สำหรับฤดูน้ำหลากกันอย่างไร

การแก้ปัญหาแบบเคารพระบบนิเวศ ไม่ใช่เอาเทคโนโลยีไปทุ่มใส่เพื่อบิดผันธรรมชาติไปตามกิเลสของตัวนั้น ต้องอาศัยการจัดการทางสังคมอย่างมาก

การจัดการทางสังคมเป็นความอ่อนแอที่สุดของประเทศไทยก็ว่าได้ เนื่องจากนับตั้งแต่เรามีรัฐสมัยใหม่เกิดขึ้น เราก็อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการในรูปแบบต่างๆ สืบเนื่องมานาน

เราทั้งนักการเมือง, ข้าราชการ, ชนชั้นนำ, หรือแม้แต่ราษฎรทั่วไปต่างถนัดแต่การใช้อำนาจเป็นเครื่องมือในการจัดการสิ่งต่างๆ

อยากให้อะไรเกิดก็ใช้อำนาจสั่ง ไม่อยากให้อะไรเกิดก็ใช้อำนาจสั่ง เพราะไม่มีแบบอย่างของการใช้เครื่องมืออื่นๆ โดยเฉพาะการจัดการทางสังคม

นี่แหละครับคนดีคนไม่ดีในเมืองไทยจึงล้วนอยากมีตำแหน่งกันทั้งนั้น เพราะตำแหน่งเป็นทางมาของอำนาจ คนดีก็อยากเอาอำนาจไปทำดี คนไม่ดีก็อยากเอาอำนาจไปทำไม่ดี

เทคโนโลยีเป็นทั้งอำนาจและความชอบธรรมของอำนาจ เทคโนโลยีสามารถให้พลังหักดิบกับอะไรต่อมิอะไรได้หมด คนที่สมาทานเทคโนโลยีเชื่อว่ามีเหนือพลังธรรมชาติด้วยซ้ำ

จะบังคับธรรมชาติยังไงก็ได้ตามใจชอบ ส่วนเป็นความชอบธรรมก็อย่างที่เห็นๆ กันอยู่ว่า ชนชั้นนำทางการเมืองไทยอ้างเสมอมาว่าตัวมีความรู้ทางเทคโนโลยีสูงกว่าคนอื่นๆ จึงควรมีอำนาจกว่าคนอื่นๆ จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีนั้นเหมาะกับอำนาจนิยมในทุกทาง

ตรงกันข้ามกับเทคโนโลยี การจัดการทางสังคมคือการยอมรับอำนาจของผู้อื่นว่ามีเสมอกับตัว ฉะนั้นจึงไม่มีอำนาจดิบสำหรับไปหักหาญน้ำใจใคร เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน มองปัญหาร่วมกัน และแก้ปัญหาร่วมกัน ใช้ระบบชักจูง โน้มนำ หรือกีดกันโดยความเห็นพ้องต้องกันของทุกฝ่าย อาจออกมาในรูปของระบบภาษี, ระบบเกียรติยศ, ระบบสิทธิที่มีความหลากหลายซับซ้อน ฯลฯ แต่ต้องล้วนเป็นระบบที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือร่วมใจกันทั้งสังคมในการสร้างขึ้น

และเพราะเราอ่อนแอทางด้านจัดการทางสังคมนี่เอง เราจึงแก้ปัญหาอะไรไม่ค่อยได้สักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจราจร, ฝนแล้ง, น้ำท่วม, โสเภณี, เอดส์ ฯลฯ เพราะปัญหาในสังคมปัจจุบันนั้น ไม่อาจแก้ได้ด้วยเทคโนโลยีล้วนๆ หากต้องอาศัยการจัดการทางสังคมเป็นหลักทั้งนั้น

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)

 

 

ทัศนียวิทยาวัฒนธรรมอินเดีย
สีในวัฒนธรรมอินเดีย

ดร.ประมวล เพ็งจันทร์
ภาควิชาปรัชญาศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กระบวนวิชาปรัชญาศิลปะ ในส่วนของ "หัวข้อที่น่าสนใจ"(interesting issue)
จัดทำโดยนักศึกษากลุ่มที่ 9 ชั้นปีที่ 4 / 2545 คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ควบคุมกระบวนวิชาโดย รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม

นักศึกษา : ใคร่เรียนถามอาจารย์ประมวลถึงความสำคัญของ"สี" กับเรื่อง"วรรณะ"ในอินเดียว่าเป็นอย่างไร? เท่าที่เห็นในวัฒนธรรมอินเดียค่อนข้างมีความสลับซับซ้อนมาก แต่ในคำถามแรกนี้อยากจะเจาะประเด็นเรื่องของสีและวรรณะว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรครับ

ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ : ความจริงคำถามเรื่อง"สี"กับ"วรรณะ"เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะเหตุว่า"วรรณะ"ก็แปลว่า"สี" และมิติที่เกี่ยวกับสีในวัฒนธรรมอินเดีย ก็เริ่มต้นขึ้นมาจากการที่มีระบบ"วรรณะ" สิ่งที่มันมีประเด็นทางความหมายของสี เริ่มต้นขึ้นมาจากระบบวรรณะ วรรณะที่หมายถึงสีก็คือ"สีผิว" เนื่องจากมีคนสองกลุ่มเข้ามาอยู่ในประเทศอินเดีย คือคนที่อยู่เดิมคือพวกทราวิด(Dravidian) ซึ่งเป็นคนผิวสีดำ แล้วพวกที่เข้ามาใหม่คือพวกอารยัน หรืออินโดยูโรเปียน ที่มีผิวสีขาว

เมื่อพวกผิวสีขาวเข้ามาสู่อินเดียนั้น ก็ได้เข้ามาแย่งชิงพื้นที่ แล้วก็มีการต่อสู้กันทางวัฒนธรรม รวมทั้งการต่อสู่กันทางยุทธวิธี ยุทโธปกรณ์ด้วย เมื่อเขาหรือผู้มาใหม่ผิวสีขาวชนะ ก็ได้พยายามสถาปนาสิ่งที่เรียกว่าวรรณะหรือสีผิวขึ้นมา ให้มีกรอบกำหนดเพื่อแสดงชัยชนะ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่สมัยที่อารยันเข้ามาสู่อินเดีย จึงทำให้"ผิวสีขาว"ถูกทำให้มีความหมายเหนือกว่า"ผิวสีดำ" นั่นหมายความว่า ผิวสีดำจะกลายเป็นความต่ำต้อย (รายละเอียด)

บทความวิชาการนี้ยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4

ข่าวประจำวันที่ 21 กันยายน 2545
02061 - ชาวแม่อายได้เฮผลพิสูจน์ดีเอ็นเอชี้ชัดคนไทยถูกถอนสัญชาติ - teerayut - [21 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new
02060 - อักษะอเมริกา-อิสราเอล-ตุรกี: ระเบียบใหม่ในตะวันออกกลาง - เกษียร เตชะพีระ - [21 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new
02059 - ผู้ว่าอุบลฯหยุดบิดเบือนสร้างภาพ แก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรม - สมัชชาคนจน - [21 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new
02058 - เอ็นจีโอประณามรัฐบาล จี้เอาผิดคนสั่งสลายม็อบปากมูล
- Friends of the People - [21 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new
02057 - แฉใช้ อส. เมาเหล้า สลายม็อบ'ปากมูล' ข่าวสด - กลุ่มเพื่อนประชาชน FOP - [21 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new
02056 - ปรากฏการณ์ที่น่าชื่นชมมาก ๆ คนไทยยังรักกันแม้จะอยู่คนละภาค - ทีมงานไทยเอ็นจีโอ - [21 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new
02055 - สู้ต่อไป น้องรัก...สังคมที่ถูกครอบงำด้วยทัศนะชายเป็นใหญ่ - วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ - [21 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new
02054 - สนับสนุนมติชน และ ข่าวสด ปกป้องศักดิ์ศรีของผู้หญิง - สมัชชาคนจน - [21 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new

ข่าวประจำวันที่ 20 กันยายน 2545
02053 - โศกนาฏกรรมชาวท่าตอน (๒)… ถูกยัดเยียดให้เป็นพม่า !!! - ธีรยุทธ บุญแผ่ผล รายงาน (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน) - [20 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new -
02052 - Police used force yesterday to disperse protesting villagers who laid siege to the provincial hall. - Assembly of the Poor ส่งถึง (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน) - [20 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new
02051 - ลุยดุม็อบปากมูลขับพ้นศาลากลาง (ข่าวสด) - Assembly of the Poor ส่งถึง (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน) - [20 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new -
02050 - แถลงการณ์ กรณีเขื่อนปากมูล หยุดปราบปรามข่มเหงคนจนด้วยความรุนแรง - สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ - [20 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new


ข่าวประจำวันที่ 19 กันยายน 2545
02049 - อิรักระบุว่าการเข้ามาตรวจสอบอาวุธไม่สามารถยุติความตึงเครียดได้ - ข่าวสารสิทธิมนุษยชน ส่งถึง (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน) - [19 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new
02048 - โศกนาฎกรรมชาวท่าตอน (๑) ….เขาถูกปล้นสัญชาติ? - ธีรยุทธ บุญแผ่ผล ส่งถึง (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน) - [19 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new
02047 - ข้อสังเกต “ทำไมไม่มีค่ายผู้ลี้ภัยชาวไทยใหญ่” - [email protected] ส่งถึง (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน) - [19 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new
02046 - หยุดใช้อำนาจรัฐเผด็จการตามมติเมตตาทัณฑ์ ด้วยความรุนแรง ปราบปรามการชุมนุมของคนจน - เครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน) - [19 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new
02045 - เหตุการณ์การปราบปรามสมัชชาคนจนที่ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี - สมัชชาคนจน ส่งถึง (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน) - [19 ก.ย. 2545] - (0 / 0) new
02044 - ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บิดเบือนข้อเท็จจริง - กลุ่มวัชพืช (กลุ่มวัชพืช) - [18 ก.ย. 2545] - (14 / 1) new update hot

สนใจหน้ากระดานข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกอ่านรายละเอียดได้จากที่นี่

 

อยู่ที่หน้ากระดานข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นักศึกษา สมาชิก สามารถคลิกอ่านได้จากที่นี่