Midnight University
by Barry Barnes
illustrator : Maurice Sendak
แปลและเรียบเรียงโดย : สมเกียรติ ตั้งนโม
ความยาวประมาณ 17 หน้ากระดาษ A4
หากประสบปัญหา ภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน
โปรดลดขนาด font ลงมา
content page
member page
back to home
webboard
Thomas Kuhn is one of the few historians of science whose work is well known to outsiders. His book, The Structure of Scientific Revolution, published in 1962 has become a classic, a routine point of reference for discussion and debate throughtout western culture generally.
Introduction
1

แปลและเรียบเรียงจาก The Return of Grand Theory in Human Science. edited by Quentin Skinner, Professor of Political Science , University of Cambridge

first published 1985
Chapter 5 : Thomas Kuhn by Barry Barnes, p.83-100

non-fiction
scientific philosophy
Thomas Kuhn เป็นหนึ่งในนักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์เพียงไม่กี่คน ซึ่งงานของเขานั้นเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีต่อคนภายนอกทั้งหลาย. หนังสือของเขา "The Structure of Scientific Revolutions(โครงสร้างเกี่ยวกับการปฏิวัติวิทยาศาสตร์), ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ขึ้นมาใน ค.ศ.1962 กลายเป็นหนังสือคลาสสิคเล่มหนึ่ง, และได้รับการอ้างอิงถึงเป็นประจำ สำหรับการสนทนาและถกเถียงกันทั่วไปในวัฒนธรรมตะวันตก. โดยไม่ต้องกล่าวว่า หนังสือเล่มนี้มันเป็นอะไรที่มากยิ่งกว่าการเล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์. เพราะได้อาศัยการค้นคว้าวิจัยทางประวัติศาตร์ ในฐานะที่เป็นการปลุกเร้าให้เกิดความตื่นเต้นเกี่ยวกับเรื่องราวเดิมๆของธรรมชาติทั่วไปของความรู้ทางวิทยาศาสตร์. อันนี้ได้ทำให้หนังสือที่กำลังพูดถึงมีนัยสำคัญทางปรัชญาอย่างลึกซึ้ง, อย่างน้อยที่สุดในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษ ที่ซึ่งวิทยาศาสตร์มักจะครอบครองตำแหน่งพิเศษอันหนึ่งเอาไว้เสมอในความคิดทางปรัชญา

บทคัดย่อของผู้แปลและเรียบเรียง

เราเคยได้ยินคนพูดไหม ในทำนองว่า "ความคิดของคุณฟังดูไม่เป็นวิทยาศาสตร์" แล้วเรารู้สึกกันอย่างไร ในโลกที่ยอมรับกันทั่วไปว่า การคิดอย่างเป็นวิทยาาสตร์เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด และมีเหตุผลมากที่สุด

เรื่องราวซึ่งเราจะอ่านต่อไปนี้ Thomas Kuhn กำลังจะบอกกับเราว่า... ความจริงแล้ว บรรดานักวิทยาศาสตร์นั้นกลับทำอะไรที่ไม่เป็นไปในหนทางที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด มีเหตุผลมากที่สุด แต่ที่สำคัญมันกลับทำให้เราเชื่อมั่นที่สุด ทั้งนี้เพราะสิ่งที่พวกเขาทำนั้น โดยมากเป็นความเชื่อและการยึดมั่น โดยไม่มีการตั้งคำถามกับหลักการที่ทำให้ได้มาซึ่งความรู้ของพวกเขานั่นเอง

แต่ญานวิทยาของสังคมตะวันตกสมัยใหม่ ได้ความรู้ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาเป็นกระบวนทัศน์ทางความรู้ "กระบวนทัศน์"คำนี้มาจากคำว่า "paradigm"ซึ่งในที่นี้หมายถึง โลกทัศน์อันหนึ่งที่อยู่ภายใต้กรอบทฤษฎีต่างๆหรือระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์. และกรอบดังกล่าวมาจากลัทธิเหตุผลนิยม ซึ่งลัทธิเหตุผลนิยมนี้ได้มาเป็นฐานให้กับวิทยาศาสตร์และการเมืองสมัยใหม่

เมื่อเราต่างยึดถือเหตุผลกันมากๆ ทำให้เราขาดหรือมากยิ่งไปกว่านั้น เราละเลยที่จะตั้งคำถามอย่างมีเหตุผลกับลัทธิเหตุผลนิยม จนมันกลายเป็นมายาคติอันหนึ่งของสังคมเราขึ้นมา คล้ายกับปกรณัมโบราณที่คนในยุคดึกดำบรรพ์ต่างก็เชื่อกันว่า เรื่องเล่าตำนานอันนั้นเป็นจริง ถูกต้อง โดยไม่มีการตรวจสอบ

บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายและพวกเราต่างยึดมั่นถือมั่นในตัวกระบวนทัศน์วิทยาศาสตร์ว่าเป็นสิ่งที่มีเหตุผล ถูกต้อง เป็นที่น่าเชื่อถือ และต้องยอมรับ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงทำให้เกิดมายาคติขึ้นมา และมันทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์(dogma) ซึ่งได้ไปคล้ายคลึงกันกับศาสนาต่างๆ

อันนี้ต้องถือว่าเป็นจุดอ่อนของลัทธิเหตุผลนิยม และจุดอ่อนอันนี้มันเริ่มต้นขึ้นมาจากทฤษฎีความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง. จุดอ่อนของลัทธิเหตุผลนั้น อันที่จริงมันมีที่มาซึ่งยากจะตำหนิเช่นกัน กล่าวคือ มันเป็นความสำเร็จในการวิจัยโดยอาศัยกระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนหน้า ที่ทำสำเร็จ มันสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นในเรื่องของเหตุผล พวกเขาได้ให้สถานภาพกับมันในฐานะแบบจำลองที่มีอำนาจ ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์หลังๆต่อมาจึงพากันดำเนินการวิจัยของพวกเขาไปตามนั้น ด้วยความไว้วางใจอย่างมากจนมากเกินไป กระทั่งหลงลืมและละเลยกับการตั้งคำถาม

งานวิจัยที่มีพื้นฐานอยู่บนความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์มาแล้วครั้งหนึ่งหรือมากกว่านั้นในอดีต ความสำเร็จต่างๆที่ชุมชนทางวิทยาศาสตร์บางแห่งโดยเฉพาะยอมรับช่วงเวลาหนึ่ง ในฐานะที่เป็นตัวเสริมรากฐานสำหรับปฏิบัติการครั้งต่อไป งานวิจัยเหล่านี้ Kuhn เรียกมันว่า normal science หรือ normal research

จุดอ่อนของ normal science คือ มันตั้งต้นมาจากความสำเร็จของการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีลักษณะที่จำเพาะอันใดอันหนึ่ง และมันได้ประสบความสำเร็จ จากนั้นก็ยึดถือว่า หลักหรือวิธีการนั้น มันนำไปใช้ได้กับการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างอื่นๆ

ด้วยเหตุนี้ จากลักษณะของการเหมารวมดังกล่าว มันจึงก่อให้เกิดความผิดพลาดขึ้นตามมาเป็นระยะๆ จนกระทั่ง เมื่อผ่านกาลเวลาอันยาวนานอยู่ช่วงหนึ่ง ปรากฎว่า ความผิดพลาดต่างๆได้สะสมเพิ่มพูนตัวของมันเองขึ้นมาเป็นกองใหญ่ และแล้ว ความตายของมันจึงปรากฎตัวขึ้นมา

ดังนั้น Kuhn จึงเตือนว่า นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายไม่ควรเห็นด้วยเกี่ยวกับการตีความ หรือยึดถือความถูกต้องของความรู้ที่มีอยู่ก่อนแล้ว อันนี้เทียบกับการพิพากษาต่างๆ ที่ไม่ควรเห็นด้วยกับบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับการตีความที่ถูกต้องของกฎหมายที่มีอยู่ก่อนแล้วเช่นกัน. แต่โดยทั่วไป บรรดานักวิทยาศาสตร์ไม่เห็นด้วยกับมายาคติเกี่ยวกับความถูกต้องอันนี้น้อยกว่าผู้พิพากษาทั้งหลายเสียอีก

เมื่อการสิ้นสุดของกระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ได้มาถึง การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์จะเกิดขึ้นมาแทนที่. การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์นั้น จริงๆแล้ว ไม่ได้เป็นไปในลักษณะของตรรกะล้วนๆ แต่มันมีเรื่องของอคติ และแรงกดดันต่างๆ เป็นเรื่องของความบังเอิญปนเข้าไปด้วยในบางครั้ง รวมไปถึงขนบประเพณีบางอย่างของสังคมของเราก็เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย(ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ สังคมมีการกลั่นกรองข้อมูลบางอย่างอยู่ตลอดเวลา มันตัดเอาบางอย่างออกไป และเพิ่มเติมบางอย่างเข้ามา ดังนั้นความรู้จึงเป็นเรื่องของชุมชนด้วย เพราะชุมชนต้องใช้มันร่วมกัน)

แต่อย่างไรก็ตาม ในที่สุด มันก็จะก่อให้เกิด normal science อันใหม่ขึ้นมา แล้วชุมชนวิทยาศาสตร์ก็จะยึดถือมันเป็นแบบจำลองที่มีพลังอำนาจ และดำเนินรอยตามบนหนทางนั้นอีกครั้งๆ และอีกครั้งไปเรื่อยๆ

ทั้งหมดนี้ เป็นการตั้งข้อสังเกตุของ Kuhn เกี่ยวกับความรู้ของเรา ที่วางอยู่บนความเชื่อมั่นในความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ของเราอย่างถึงแก่น

สมเกียรติ ตั้งนโม / มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Thomas Kuhn

Thomas Kuhn เป็นหนึ่งในนักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์เพียงไม่กี่คน ซึ่งงานของเขานั้นเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีต่อคนภายนอกทั้งหลาย. หนังสือของเขา "The Structure of Scientific Revolutions(โครงสร้างของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ขึ้นมาใน ค.ศ.1962 กลายเป็นหนังสือคลาสสิคเล่มหนึ่ง และได้รับการอ้างอิงถึงเป็นประจำสำหรับการสนทนนาและถกเถียงกันทั่วไปในวัฒนธรรมตะวันตก.

โดยไม่ต้องกล่าวว่า หนังสือเล่มนี้มันเป็นอะไรที่มากยิ่งกว่าการเล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เพราะมันได้อาศัยการค้นคว้าวิจัยทางประวัติศาตร์มาปลุกเร้าให้เกิดความตื่นเต้นเกี่ยวกับเรื่องราวเดิมๆของธรรมชาติทั่วไปของความรู้ทางวิทยาศาสตร์. อันนี้ได้ทำให้หนังสือที่กำลังพูดถึงมีนัยสำคัญทางปรัชญาอย่างลึกซึ้ง อย่างน้อยที่สุดก็ในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษ ที่ซึ่งวิทยาศาสตร์มักจะครอบครองตำแหน่งพิเศษอันหนึ่งเอาไว้เสมอในความคิดทางปรัชญา

พวกเราไม่เคยให้การยอมรับอย่างจริงใจเลย ต่อวิธีการเข้าถึงด้วยการเก็งความจริงของบรรดานักปรัชญาภาคพื้นทวีป หรือทฤษฎีอภิปรัชญาอันยิ่งใหญ่ต่างๆของท่านเหล่านั้น. ในปรัชญาของ แองโกล-แซกซัน เรามักจะย่างเหยียบรอยเท้าของเราลงบนพื้นดินที่มั่นคง และปฏิเสธที่จะให้การยอมรับเรื่องใดๆ แม้แต่ข้ออ้างที่ยอมรับกันอย่างแน่นเหนียวแล้วส่วนใหญ่

รูปแบบต่างๆของแบบจำลองของเราเกี่ยวกับการอภิปราย เป็นเรื่องของภาษาธรรมดาพื้นๆที่เข้าใจมันได้ทันที และเป็นภาษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ที่มีความถูกต้องแม่นยำและมีมาตรฐานที่เป็นระบบระเบียบของความมีเหตุมีผล. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในญานวิทยา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้มารับใช้ในฐานะที่เป็น"กระบวนทัศน์"ทางความรู้ ซึ่งหมายความว่า คำอธิบายที่สำคัญทั้งหมดเกี่ยวกับการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ ได้เข้ามายึดกุมญานวิทยา ในเวลาเดียวกันก็มีความคล้องจองกับประวัติศาสตร์. โดยเหตุนี้ หนังสือของ Kuhn จึงมีความน่าสนใจทางปรัชญาค่อนข้างมาก และได้สร้างความสำคัญของตัวเขาขึ้นมา.
[หมายเหตุ] "กระบวนทัศน์"คำนี้มาจากคำว่า "paradigm"ในที่นี้หมายถึง โลกทัศน์อันหนึ่งที่อยู่ภายใต้กรอบทฤษฎีต่างๆหรือระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์

Kuhn ได้ทำให้เกิดการรวมตัวกันอย่างมีเอกภาพของ"ความเป็นผู้มีความรู้"กับ"การทำลายความเชื่อถือศรัทธา"เข้าด้วยกัน. ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมีใครยอมรับมาแต่ต้น ต่อปฏิบัติการทางปรัชญาที่ไม่มีลักษณะยึดติดแบบเดิมๆอย่างถึงรากของวิทยาศาสตร์ แต่มันก็ควรได้รับความเคารพ เนื่องมาจากความสามารถซึ่งเป็นที่ยอมรับเกี่ยวกับผลงานทางด้านประวัติศาสตร์ ที่มันได้รับการวางพื้นฐานอยู่บนนั้น.

Kuhn ได้เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วในฐานะทนายแก้ต่างที่ฉลาดหลักแหลมคหนึ่ง, เขาเป็นนักวิจารณ์ที่น่ากลัวและเอาชนะได้ยากมาก เกี่ยวกับปัญญาญานทางปรัชญาที่ได้รับการยอมรับกันแล้ว. และถ้าหากว่าเราต้องการเข้าใจความสำคัญอย่างเต็มที่เกี่ยวกับงานของ Kuhn อันดับแรก เราจะต้องมองเข้าไปใน"ปัญญาญาน"ที่ได้รับการยอมรับแล้วอันนี้.

มันไม่ใช่เพียงแค่เรื่องปรัชญาที่เป็นนามธรรมเท่านั้นที่ Kuhn เรียกร้องให้ตั้งคำถามหรือข้อสงสัย. มากไปกว่านั้น เขายังเรียกร้องให้ตั้งข้อกังขากับสิ่งที่ไปเชื่อมโยงกันกับแบบแผนและวิวัฒนาการของความคิดด้วย ซึ่งได้ร่วมกันสร้างกุญแจสำคัญขึ้นมาดอกหนึ่ง อันเป็นส่วนประกอบของโลกทัศน์สมัยใหม่ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันของพวกเรา

แบบแผนของความคิดดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีความสลับซับซ้อนมาก มันคือแก่นแท้ต่างๆที่รวมเข้าด้วยกันของ "ลัทธิเหตุผลนิยม"(rationalism), "ลัทธิปัจเจกชนนิยม และ"ความศรัทธาในเสรีนิยม" ในความก้าวหน้าที่วิวัฒนาการมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งข้าพเจ้าขอเรียกมันอย่างง่ายว่า "มายาคติของลัทธิเหตุผลนิยม"(myth of rationalis).

หลักการของเหตุผลนิยม

หลักการของ"เหตุผลนิยม" เน้นในพลังอำนาจเกี่ยวกับสมรรถภาพของเหตุผล ซึ่งปัจเจกชนทุกคนครอบครองอยู่. คำอธิบายแบบเหตุผลนิยมของวิทยาศาสตร์ มองความเจริญงอกงามของมันในฐานะเป็นผลิตผลเกี่ยวกับการกระทำของปัจเจกที่เกี่ยวพันกันกับเหตุผล. โดยการอนุมานหรือการสรุปเชิงตรรกะบนพื้นฐานเกี่ยวกับประสบการณ์ และบรรดานักวิทยาศาสตร์แต่ละคนต่างให้การสนับสนุนต่อความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ ต่อพัฒนาการซึ่งสั่งสมขึ้นมาในความรู้วิทยาศาสตร์ รวมไปถึงความสอดคล้องที่ลงรอยกันเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความจริง(reality)ที่มันได้อธิบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป. ถ้าหากว่า ปัจเจกชนแต่ละคนยุติหรือละเลิกการใช้เหตุผล ความก้าวหน้าก็จะถูกคุกคาม. การเลิกใช้เหตุผลในที่นี้ "อันตรายก็คือสังคม".

พวกเราต่างทราบกันดีว่า ความกดดันทางสังคม, ตัณหาทางการเมือง, ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ, อาจเป็นที่มาของอคติในการตัดสินของปัจเจกชน และด้วยอคติต่างๆเหล่านี้ อาจแปรรูปความคิดไปสู่อุดมการณ์ทางการเมืองหรือคำสอนศาสนาที่ไม่ต้องมีการพิสูจน์. อันที่จริงแล้ว สิ่งเหล่านี้จะต้องถูกขจัด หรือทำให้มันไม่ยังผลใดๆ ถ้าเผื่อว่าเรายังต้องการที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติ และปรารถนาที่จะทำให้ความรู้ของเราก้าวหน้าต่อไป, หรือสนับสนุนต่อการกระทำทางด้านวิทยาศาสตร์.

เรื่องราวความมีเหตุมีผลที่มีลักษณะมูลฐานมากๆอันนี้ ได้ถูกยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงในด้านปรัชญาเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสังคมส่วนใหญ่ด้วย. หมายเหตุในที่นี้ ความมีเหตุมีผลมันได้คลุกเคล้าเข้ากับคุณค่าทางการเมืองที่เป็นแกนกลางของสังคมเสรีประชาธิปไตยสมัยใหม่ของพวกเรา เท่าๆกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ. หากจะเปรียบเทียบแล้ว ความมีเหตุมีผลมันได้วางผู้คนให้อยู่ต่อหน้าธรรมชาติ เท่าเทียมกันกับที่ความมีเหตุมีผลได้ยืนอยู่ต่อหน้ากฎหมายของเรา อย่างเสมอกัน.

เหตุผล, ได้ถูกครอบครองเป็นเจ้าของโดยทุกๆคน ทั้งหมดนั้นเป็นที่ต้องการเพื่อสืบทอดความรู้จากประสบการณ์ คนทุกคนสามารถทำมันได้เหมือนๆกัน. นั่นเป็นลักษณะปัจเจกที่เข้มแข็งประการหนึ่ง ซึ่งเน้นในเรื่องราวของเหตุผล

ความก้าวหน้าได้ไหลเลื่อนจากการตัดสินใจต่างๆของปัจเจกชนโดยไม่ถูกจำกัด เท่าๆกันกับที่ถูกอ้างโดยทฤษฎีที่มีอยู่ทั่วไปของบรรดานักเศรษฐศาสตร์การคลังทั้งหลายของเรา แต่อย่างไรก็ตาม การแทรกแซงทางสังคมได้ก่อให้เกิดความเบี่ยงเบนอันไม่พึงปรารถนาต่างๆเข้าสู่ระบบ

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ก็ยืนหยัดอยู่ในแง่มุมอันนี้ ในฐานะที่เป็นข้อคล้ายคลึงกันอันหนึ่งของก้าวย่างทางสังคม. อันนี้คือสาเหตุที่ว่า ทำไมข้าพเจ้าจึงพูดถึงมายาคติของลัทธิเหตุผลมาตั้งแต่ต้น; ไม่ใช่เพื่อแสดงนัยะง่ายๆว่า ลัทธิเหตุผลนิยมเป็นสิ่งที่ผิดพลาด, แต่เพื่อบอกเป็นนัยว่า โดยทั่วไปแล้ว มันได้รับการเชื่อว่า มายาคติอันหนึ่งถูกเชื่อถือ เนื่องมาจากความสอดคล้องลงรอยกันอย่างน่าพอใจกับแบบแผนอื่นๆเกี่ยวกับความคิดและการกระทำนั่นเอง

โดยไม่ต้องกล่าวว่า บรรดานักปรัชญาทั้งหลายต่างไม่ได้รู้สึกพึงใจที่จะยึดถือหรือพัฒนาข้อคิดเห็นทางด้านลัทธิเหตุผลดังกล่าว พวกเขาได้วิเคราะห์มันมาโดยตลอด แสวงหาและขุดเอาความอ่อนแอและความไม่สมบูรณ์เพียงพอของมันขึ้นมา. ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการคัดค้านต่อลัทธิเหตุผลที่มีพลังมากที่สุดบางอย่าง ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากตัวของบรรดานักปรัชญาลัทธิเหตุผลนั่นเอง

สิ่งสำคัญที่สุดเกี่ยวกับข้อถกเถียงเหล่านี้, จุดอ่อนที่ข้อเท้าของ Achilles ที่ยอมรับกันของลัทธิเหตุผลนิยม, มันสืบทอดมาจากลักษณะเฉพาะทางด้านทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์.
*[หมายเหตุ]: Achilles เป็นวีรบุรุษในปกรณัมกรีกโบราณในเรื่อง Illiad ของ Homer; Achilles เป็นนักรบกรีกที่สำคัญที่สุดซึ่งได้โจมตีเมือง Troy; เมื่อตอนที่เขายังเป็นเด็ก แม่ของเขาพยายามที่จะทำให้เขาเป็นอมตะ โดยการนำตัวเขาลงไปจุมลงในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ แต่ข้อเท้าที่เธอใช้ยึดร่างของเขาไว้ ไม่ได้ถูกจุ่มลงไปด้วย ดังนั้น ส่วนนี้ของร่างกายจึงเป็นจุดอ่อนที่สามารถได้รับบาดเจ็บและมีอันตรายได้ - เรียกว่า"Achilles' heel"

จุดอ่อนของลัทธิเหตุผลนิยม

บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายยังคงอธิบายและขยายความปรากฎการณ์ต่างๆในเทอมของทฤษฎีที่เป็นการเฉพาะอันหนึ่ง ซึ่งพวกเขาได้ประดิษฐ์มันขึ้นมา. พูดกันอย่างเป็นทางการ, ทฤษฎีต่างๆจำนวนนับไม่ถ้วนนั้น ต่างก็ได้รับการสร้างขึ้นมาให้มีความมั่นคงสอดคล้องกับเรือนร่างที่มีลักษณะเฉพาะอันหนึ่งของข้อมูล เท่าๆกันกับเส้นโค้งต่างๆอันนับไม่ถ้วนซึ่งสามารถได้รับการเขียนขึ้นมาพาดผ่านจุดต่างๆจำนวนหนึ่ง.

ในทางตรรก, ความนึกคิดเกี่ยวกับความถูกต้องโดดๆ หรือทฤษฎีที่นำมาสนับสนุนได้เป็นอย่างดี อย่างน้อย มันมีลักษณะอันชวนสงสัย. แต่ในประวัติศาสตร์ ทฤษฎีเหล่านั้นเป็นสิ่งซึ่งบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายนำมาใช้เป็นประจำและใช้มันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอันที่จริงโดยสาระแล้วก็คือ พวกเขาได้นำมาใช้ในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์นั่นเอง.

ปัญหาของการตกอยู่ภายใต้การกำหนดหรือการตัดสินทางตรรกะของทฤษฎีต่างๆทางด้านวิทยาศาสตร์ ไม่ได้ถูกปฏิเสธโดยบรรดานักปรัชญาเหตุผลนิยมทั้งหลาย แต่ที่สำคัญคือ บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้ทรยศต่อตัวพวกเขาเองในวิธีการที่พวกเขากระทำกับมัน. พวกเขานึกเอาว่า ลัทธิเหตุผลนิยมจะต้องเป็นสิ่งถูกต้อง(เพียงอย่างเดียว) และนั่นคือปัญหาที่พวกเขาเผชิญหน้าอยู่

การตั้งคำถามของ Kuhn และการตรวจสอบในเชิงประวัติศาสตร์

ทัศนคติของ Kuhn ต่อความยุ่งยากอย่างเดียวกันนี้อาจไม่แตกต่างไปมากนัก. ก็เหมือนๆกันกับนักเหตุผลนิยมคนอื่นๆ เขาไม่สามารถเห็นหรือเข้าใจได้ว่า นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายคิดอย่างมีเหตุผลจากข้อมูลไปสู่ทฤษฎีที่ถูกต้องได้อย่างไร ? และอันนี้ได้น้อมนำเขาไปสู่การตั้งคำถามต่อทฤษฎีว่า มันอาจ"ไม่ได้รับการยอมรับ"บนพื้นฐานอื่นๆบางอย่างได้หรือไม่ ? และเพื่อที่จะตรวจสอบเรื่องนี้ เขาได้หันไปสำรวจการปฏิบัติการจริงของบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว มันได้เริ่มต้นขึ้นและถูกบันทึกเอาไว้ในเนื้อหาทางประวัติศาสตร์

Kuhn ได้สืบค้นสิ่งที่งานวิจัย, โดยแบบแผนแล้ว(ในห้วงเวลาที่ผ่านมาส่วนใหญ่) มีลักษณะเหมือนๆกัน ในขอบเขตความรู้ที่ถูกยอมรับกันอย่างดี และมีความเป็นวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์

เขาสรุปว่า, ส่วนใหญ่ของงานวิจัย ได้อุทิศให้กับการวางแผนอย่างละเอียดและการแผ่ขยายออกไปของความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับกันอย่างเป็นรูปธรรม. ความสำเร็จอันนั้นก็คือ การแก้ปัญหาอย่างค่อยเป็นค่อยไปเกี่ยวกับปัญหาวิทยาศาสตร์ที่มีลักษณะเฉพาะ. มันได้ทำให้ทั้งทฤษฎีและเทคนิคปรากฎเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา และแสดงให้เห็นโดยตัวอย่างว่า พวกมันควรได้รับการนำมาใช้อย่างไร

ยกตัวอย่างเช่น กรณีผลงานของ Mendel เกี่ยวกับพืชตระกูลถั่ว, หรือในเรื่องเกี่ยวกับสเปคตรัมของไฮโดรเจนอันเป็นผลงานของ Bohr. ความสำเร็จซึ่งเป็นที่ยอมรับอันหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องราวประเภทนี้อาจแก้ปัญหาหรืออธิบายได้แต่ปัญหาวิทยาศาสตร์ที่มีลักษณะเฉพาะเรื่องราวหนึ่งโดดๆเท่านั้น

เสน่ห์ดึงดูดใจอันนั้นของความสำเร็จ อันที่จริงคือ มันสามารถมารับใช้ในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับงานวิจัยครั้งต่อไป. บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้ให้มันมีสถานภาพเป็นแบบจำลองที่มีอำนาจอันหนึ่ง(an authoritative model) - หรือเป็น"กระบวนทัศน์วิทยาศาสตร์อันหนึ่ง"(a scientific paradigm), ดังที่ Kuhn พูดเอาไว้ - และพวกเขาได้พัฒนางานวิจัยของพวกเขาไปรายรอบๆมัน และในความคล้ายคลึงกับมัน

Kuhn เรียกงานวิจัยประเภทนี้ว่า"normal science"
[หมายเหตุ] "normal science" หมายถึง งานวิจัยที่มีพื้นฐานอยู่บนความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์มาแล้วครั้งหนึ่งหรือมากกว่านั้นในอดีต, ความสำเร็จต่างๆที่ชุมชนทางวิทยาศาสตร์บางแห่งโดยเฉพาะยอมรับช่วงเวลาหนึ่งในฐานะที่เป็นตัวเสริมรากฐานสำหรับปฏิบัติการครั้งต่อไปของมัน. (Thomas Kuhn)

Normal Science - โลกทัศน์ภายใต้กรอบวิธีการวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว

สัมฤทธิผลของกระบวนทัศน์... ส่วนใหญ่นับตั้งแต่เริ่มต้นทีเดียว คำมั่นสัญญาเกี่ยวกับความสำเร็จ สามารถค้นพบได้ในตัวอย่างที่ได้รับการคัดเลือก. Normal science ประกอบด้วยความเป็นจริงของคำมั่นสัญญาอันนี้, การทำให้ปรากฏเป็นจริงขึ้นมาอันหนึ่งที่สัมฤทธิผลโดยการแผ่ขยายความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงเหล่านั้น ซึ่งกระบวนทัศน์ได้แสดงออกมาในฐานะที่เป็นการเปิดเผยซึ่งมีลักษณะเฉพาะ, โดยการเพิ่มขอบเขตของความเข้าคู่กันระหว่างข้อเท็จจริงเหล่านั้น กับ การทำนายต่างๆของกระบวนทัศน์, และโดยการเชื่อมต่อของกระบวนทัศน์เองต่อๆกันไป

Kuhn เน้นว่า ในกระบวนทัศน์ normal science มันไม่เคยได้รับการยอมรับนอกเหนือไปจากข้อพิจารณาต่างๆในทางตรรก. ตรรกะคือพยานหลักฐานซึ่งมาสนับสนุนมัน และพยานหลักฐานนั้นก็ได้รับการทักท้วงหรือตั้งคำถาม เกิดข้อถกเถียง และโต้แย้งกัน. กระบวนทัศน์ normal science ได้ถูกนำมาใช้ในการวิจัยโดยการตกลงกัน มากกว่าที่จะเป็นเพราะความมีเหตุมีผลต่างๆของมัน. และการวิจัยหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งมันถูกนำมาใช้สันนิษฐาน ก็ไม่เคยพยายามทำการพิสูจน์มันเลย

ใน normal science กระบวนทัศน์ไม่ได้ถูกวินิจฉัยหรือทดสอบ: นั่นคือ ตัวมันเอง มันเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสิน. ความสำเร็จของกระบวนทัศน์ได้เพิ่มเติมความรู้ของเราเกี่ยวกับธรรมชาติ. ส่วนความล้มเหลวของกระบวนทัศน์ มันเพียงบ่งชี้ถึงความไม่สมบูรณ์ของนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น, หรือความไม่เพียงพอของเครื่องมือ, หรือความไม่รู้เกี่ยวกับการมีอยู่ของต้นตอหรือข้อมูลที่ไม่คาดหมายบางประการ ซึ่งมารบกวนเงื่อนไขต่างๆของการสังเกตุการณ์หรือการทดลอง. ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า ได้มีความวางใจในเรื่องของกระบวนทัศน์มากเพียงใด และมันได้ถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นพื้นฐานเชิงขนบประเพณีสำหรับการประเมินงานวิจัย กล่าวคือ normal science วางใจลงบนความเห็นที่สอดคล้องกันอันนี้มาก

อันที่จริง, ดังที่ Kuhn เน้นอย่างเจ็บปวด, ลักษณะของความเห็นสอดคล้องหรือฉันทามติเกี่ยวกับ normal science ยังคงถลำลึกยิ่งไปกว่านี้. แม้ว่ากระบวนทัศน์จะมารับใช้ในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการประเมินงานวิจัย, แต่มันไม่ได้มีการกำหนดและตัดสินว่าจะใช้วิธีการใด(ที่เหมาะสม)ก่อน เกี่ยวกับการใช้มันเพื่อภารกิจอันนี้. ต้องจำไว้ว่า, กระบวนทัศน์เป็นความสัมฤทธิผลทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะอันหนึ่ง, ไม่ใช่คำสอนที่ไม่มีรูรั่วสำหรับการสร้างหรือการประเมินความสัมฤทธิผลต่อๆไป

กระบวนทัศน์ไม่ใช่ algorithm (หรือระบบกฎเกณฑ์ในการแก้ปัญหาของจำนวนที่แน่นอนทางคณิตศาสตร์…): มันไม่ได้เตรียมหรือจัดหากฎเกณฑ์ต่างๆให้กับบรรดานักวิทยาศาสตร์ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆโดยเฉพาะ แต่มันคือ"กฎเกณฑ์"ซึ่งนักวิทยาศาสตรทั้งหลาย สามารถดำเนินรอยตามเหมือนดั่งจักรกลอัตโนมัติของเหตุผล. ทั้งหมดที่มันเตรียมหรือหามาให้คือ"ตัวของมันเอง" นั่นคือ ตัวอย่างอันหนึ่งของการปฏิบัติการที่ดี, ซึ่งจะต้องนำมาใช้โดยตรงในฐานะที่เป็นแบบจำลองที่เป็นรูปธรรมอันหนึ่งของงานที่อาศัยความรู้และความสามารถ. และบรรดานักวิทยาศาสตร์จะต้องตัดสินใจด้วยตัวของพวกเขาเองว่า แบบจำลองอันนั้นจะได้รับการนำมาใช้ กับชิ้นงานทางวิทยาศาสตร์เฉพาะอันนั้นที่ยืนอยู่ในข้อคล้ายคลึงเหมาะสมกันกับมัน

ด้วยเหตุดังนั้น นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายจึงปฏิบัติกับ normal science ไม่เพียงต้องเห็นด้วยกับสิ่งซึ่งควรมารับใช้ในฐานะที่เป็นพื้นฐานของผลงานของพวกเขา แต่พวกเขายังต้องเห็นพ้องกันว่า มันควรมารับใช้วัตถุประสงค์อันนั้น โดยเฉพาะในทุกๆกรณีด้วย

พวกเขาถูกบีบบังคับหรือถูกผูกมัดกับการใช้กระบวนทัศน์อันหนึ่ง มากเท่ากับผู้พิพากษาคนหนึ่งที่ต้องตัดสินคดีไปตามหลักการหรือกฎหมายซึ่งเป็นที่ยอมรับ, หลักการหรือกฎหมายอันนั้นมันเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้วสำหรับการกระทำ(ความผิด ?) และผู้พิพากษาจะต้องตัดสินคดีต่างๆในอนาคตด้วยหลักการหรือกฎหมายนี้เช่นกัน ซึ่งปัจจัยหรือตัวกำหนดอันหนึ่งของการกระทำต่างๆในอนาคต มันอาจไม่เข้ากับหลักการหรือกฎหมายเหล่านั้นเลยก็ได้

ในทัศนะของนักเหตุผลนิยม งานวิทยาศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นงานประจำ เป็นแก่นสารอันหนึ่งของความเชื่อฟังแบบยอมตามต่อกฎเกณฑ์ทั้งหลาย ซึ่งในคำอธิบายของ Kuhn มันเกี่ยวพันกับการวางแผนอย่างละเอียดของขนบธรรมเนียมและจารีตที่มีอยู่

ดังนั้น สำหรับ Kuhn, นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายไม่ควรเห็นด้วยเกี่ยวกับการตีความ ความถูกต้องของความรู้ที่มีอยู่ก่อนแล้ว อันนี้เทียบกับการพิพากษาต่างๆที่ไม่ควรเห็นด้วยกับบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับการตีความที่ถูกต้องของกฎหมายต่างๆที่มีอยู่ก่อนแล้วเช่นกัน

โดยทั่วไป บรรดานักวิทยาศาสตร์ไม่เห็นด้วยน้อยกว่าผู้พิพากษาทั้งหลายเสียอีก นั่นมันไม่ใช่บางสิ่งซึ่ง Kuhn พยายามที่จะอธิบาย: เขาเพียงบันทึกลงไปในฐานะที่เป็นข้อเท็จจริงเท่านั้น

ปฏิบัติการของ normal science ขึ้นอยู่กับความสามารถ, ได้มาจากแบบอย่างต่างๆ, ที่ได้รวมกลุ่มวัตถุปัจจัยทั้งหลายและสถานการณ์มาสู่ชุดของความคล้ายคลึงกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่มีลักษณะดึกดำบรรพ์ในความรู้สึกที่ว่า การรวมกลุ่มนั้นถูกกระทำขึ้นโดยปราศจากคำตอบต่อคำถามดังกล่าว คือ "ความคล้ายคลึงกับแง่มุมหรือประเด็นอะไร ?" 000000000 [หมายเหตุ] สำหรับการสนทนามากกว่านี้เกี่ยวกับความยุ่งยากดังกล่าว แต่เป็นประเด็นสำคัญ ให้ดูงานของ Kuhn (1970) ในเรื่อง The Structure of Scientific Revolution ในบทที่ 5. และเรื่อง T.S.Kuhn and Social Science ของ Barnes, B. 1982

อ่านต่อ โปรดคลิกไปหน้าถัดไป

กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com