แปลและเรียบเรียงจาก The Return of Grand Theory in Human Science. edited by Quentin Skinner, Professor of Political Science , University of Cambridge
first published 1985
Chapter 5 : Thomas Kuhn by Barry Barnes, p.83-100
สนใจสมัครเป็นสมาชิก กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page เพื่อช่วยกันสร้างสังคมไทย ในกระแสทางเลือก
ความไว้วางใจต่อกระบวนทัศน์ของนักวิทยาศาสตร์
โดยไม่ต้องกล่าว, คำอธิบายของ normal science เท่าที่เป็นมาได้นำเสนอ สิ่งซึ่งยังไม่สมบูรณ์มาตั้งแต่ต้น และได้ก่อให้เกิดคำถามหรือข้อสงสัยต่างๆต่อมามากมาย. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเราต้องการรู้ว่า นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ได้มอบความไว้วางใจต่อกระบวนทัศน์ต่างๆของพวกเขากันอย่างไร ? และการมอบความไว้วางใจนั้นได้รับการธำรงรักษาเอาไว้อย่างไร
สิ่งสำคัญคือว่า บรรดานักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในจารีตประเพณีอันหนึ่งของการวิจัย และการวิจัยเป็นกิจกรรมที่มีคุณลักษณะโดยเฉพาะของวัฒนธรรมรองที่นำพาขนบประเพณี. กระบวนทัศน์ต่างๆจึงปรากฏออกมาในฐานะที่เป็นความรู้ที่มีอยู่แต่แรกของนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย: พวกมันถูกยอมรับจากบรรพบุรุษในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการวิจัย, การพัฒนา และการวางแผนอย่างประณีตในแนวทางของการวิจัยอันนั้น, และดำเนินไปในพัฒนาการของตัวมันและรูปแบบต่างๆที่ซับซ้อน ในฐานะที่เป็นความรู้ซึ่งได้รับการยอมรับของคนรุ่นต่อมา
ในคำอธิบายนี้, กระบวนทัศน์ต่างๆซึ่งเป็นแกนกลางทางวัฒนธรรมของวิทยาศาสตร์ จึงถูกส่งผ่านและได้รับการค้ำจุนเท่าๆกันกับวัฒนธรรมทั่วๆไป บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายยอมรับมันและมอบความไว้วางใจให้กับมันในฐานะที่เป็นผลลัพธ์ของการฝึกฝนและการทำให้เป็นสังคม และความไว้วางใจดังกล่าวได้รับการธำรงรักษาเอาไว้โดยระบบของการพัฒนาอันหนึ่งเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคม
หลายต่อหลายปีที่ยาวนาน ในการที่เราได้เข้าไปเกี่ยวพันกับการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ มันได้ถูกทำให้เป็นเรื่องของความเชี่ยวชาญ โดยสาระสำคัญแล้ว ช่วงเวลาดังกล่าวหากเรายังจำกันได้ พวกเราถูกทำให้เหมือนกับเป็นเด็กฝึกงานหรือผู้ที่จะต้องเรียนรู้. ในช่วงนั้น อำนาจอันใหญ่โตและมีพลังของครูและตำรา, ซึ่งได้รับการหนุนหลังโดยการสาธิตต่างๆในห้องทดลองอย่างระมัดระวัง ได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อประสิทธิภาพของการเรียนการสอน อันนี้ไม่เพียงสนับสนุนให้ได้มาซึ่งขบวนการอันเป็นยอมรับกันและการตีความต่างๆที่แพร่หลายเท่านั้น แต่ยังเรียกร้องให้มีการเอาใจใส่อย่างใจจดใจจ่อกับคุณสมบัติเฉพาะของมันด้วย
แน่นอน, Kuhn ทราบเป็นอย่างดีว่า คำอธิบายอันนี้เกี่ยวกับการฝึกฝนทางด้านวิทยาศาสตร์ได้ปะทะกันอย่างรุนแรงกับปัญญาหรือความฉลาดรอบคอบที่ได้รับการยอมรับ แต่แทนที่จะค้นหาการประนีประนอมหรือความปรองดองตามที่ควรจะเป็น เขาเลือกที่จะเน้นและเติมความเข้มข้นให้กับจุดสำคัญของการไม่เห็นพ้องต้องกันอันนี้
เป็นที่ชัดเจน เขาได้ล้มเลิกจากการวิเคราะห์อันจืดชืดของเขา ด้วยการอ้างอิงถึงการเข้ายึดครองของ"ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์"(scientific method)ทั่วๆไปอันหนึ่ง, หรืออ้างถึงการบ่มเพาะเกี่ยวกับพลังอำนาจทั่วไปของเหตุผล. และเขาไม่เคยยอมรับว่า ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกสอนอย่างลังเลและอย่างมีเงื่อนไข, หรือเหลือช่องทางให้กับความสงสัย รวมทั้งการเปิดใจ. สิ่งเหล่านี้ไม่เคยได้รับการบ่มเพาะขึ้นอย่างจริงจังโดยครูบาอาจารย์ทั้งหลายเลย หรือด้วยความตั้งใจที่จะทำให้เกิดความมั่นใจว่า นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายควรจะต้องยืดหยุ่น และสามารถที่จะเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆได้อย่างเต็มที่
เขาอ้างว่า การฝึกฝนนั้นปกติแล้ว มีลักษณะเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จและลักษณะดื้อรั้น ดันทุรังแบบไม่มีข้อพิสูจน์, แน่นอน เพื่อที่จะสร้างความไว้วางใจในระดับสูงสุดต่อกระบวนทัศน์ต่างๆ และความโน้มเอียงที่เป็นไปได้น้อยที่สุดที่จะคิดหรือกระทำอะไรที่นอกเหนือไปจากมัน "แม้กระทั่งการตรวจสอบอย่างคร่าวๆเกี่ยวกับหน้าที่หรืองานของครูสอนวิทยาศาสตร์", เขาได้บอกกับเราด้วยข้อสังเกตุอันดังกระฉ่อนมากของเขาที่ว่า ...
"มันเป็นไปได้มากทีเดียวที่การเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ จะเหนี่ยวนำความเข้มงวดเข้ามาในสาขาวิชา มากกว่าการศึกษาในขอบเขตความรู้หรือสาขาวิชาอื่นๆ, เว้นแต่ว่าบางทีที่เป็นไปได้, อาจจะน้อยกว่าวิชาเทววิทยาที่เป็นระบบอยู่บ้างเล็กน้อยเท่านั้น (Thomas Kuhn ใน The Function of Dogma in Scientific Research, in Scientific Change, ed. A.C. Crombie (London) 1963, หน้า 350)
ด้วยเหตุนี้ Kuhn จึงอธิบายถึงความมั่นคงและการมอบความไว้วางใจต่อวิทยาศาสตร์ในเชิงสังคมวิทยา ในเทอมของประสบการณ์เกี่ยวกับลัทธิกลไกอันทรงพลังอำนาจ ที่ได้ทำให้เป็นสังคมและการควบคุมทางสังคม. โดยเหตุนั้น ในความเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว เขาจึงทำอีกอย่างหนึ่งที่แหลมคมยิ่งกว่า
อันที่จริงเขาได้ตั้งคำถามว่า "ถ้ากระบวนทัศน์เป็นวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบทอดมาของวิทยาศาสตร์ และเป็นที่น่าประทับใจ อีกทั้งยังก่อให้เกิดการปฏิบัติการไปตามนั้น, แล้วทำไมพวกมันจึงถูกแทนที่และถูกทิ้งไปในบางครั้งบางคราวได้อย่างไร ? ยกตัวอย่างเช่น ทำไมดาราศาสตร์แบบ Ptolemaic จึงถูกแทนที่โดยระบบของ Copernicus, หรือกลศาสตร์ของ Newton ในท้ายที่สุดจึงหลีกทางให้กับกลศาสตร์ของ Einstein และ Heisenberg อันนี้มันเป็นไปได้อย่างไร ? การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ต่างๆจะถูกทำความเข้าใจและอธิบายได้อย่างไร ?
Kuhn ได้ให้คำอธิบายที่น่าสนใจอย่างมาก เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปอย่างถึงรากเหล่านี้ของปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร. อีกครั้งที่เขาได้หันไปสู่ความชำนาญและความคุ้นเคยของเขาเกี่ยวกับฉากประวัติศาสตร์โดยเฉพาะ.
เขาเริ่มต้นด้วยข้ออ้างที่ว่า กลุ่มของนักวิยาศาสตร์ที่ผูกพันอยู่ใน normal science คือนักค้นคว้าที่อ่อนไหวมากต่อความผิดปกติเพียงเล็กน้อย. แน่นอน เพราะกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ดังกล่าวได้มอบความไว้วางใจอย่างมากต่อกระบวนทัศน์ดังกล่าวนั่นเอง และมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความถูกต้องของมันมาก ผลลัพธ์ใดๆก็ตามและการสังเกตุการณ์ทั้งหลาย ซึ่งต่อต้านหรือขัดกับกระบวนการขั้นตอนของมัน จะกลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษและมีความสำคัญขึ้นมา
ส่วนใหญ่ของผลลัพธ์ต่างๆที่ผิดปกติเหล่านี้ อันที่จริง ได้รับการอธิบายอย่างน่าพอใจในฐานะที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นปกติ นั่นคือ พวกเขาอาจไม่รู้สึกฉงนสนเท่ห์ ในฐานะที่กระบวนทัศน์ต่างๆที่ได้ถูกวางแผนเอาไว้อย่างละเอียดและประณีต และได้ให้การตีความต่างๆออกมาในเชิงพัฒนา
พวกเขาอาจพิสูจน์ว่ามันเป็นปรากฎการณ์ต่างๆที่เป็นปกติในสภาวะแวดล้อมต่างๆที่ไม่เป็นปกติ หรือพวกเขาอาจแสดงผลมันออกมาเป็นสิ่งปลอมปนอย่างง่ายๆ แต่สิ่งที่เหลือรอดต่อมาของความผิดปกติอันนี้ อย่างไรก็ตาม อาจยืนหยัดและสะสมพอกพูนขึ้นไปเรื่อยๆ. สิ่งที่ตกค้างอันนั้น, มันเจริญขึ้นและใหญ่ขึ้นๆข้ามกาลเวลา และเติบโตขึ้นอย่างน่ากลัว ดังที่มันได้มาคัดค้านความพยายาม หลังจากที่ได้พยายามจะดูดซับมันแล้ว และในท้ายที่สุด อาจกระตุ้นความสงสัยของพวกเขาว่า มันมีบางสิ่งบางอย่างผิดพลาดเกี่ยวกับกระบวนทัศน์ที่ยอมรับกันทั่วไป และเริ่มตระหนักถึง"ความตาย"หรือ"การสิ้นสุดลง"ของกระบวนทัศน์ว่า มันได้มาถึงแล้ว
กระบวนทัศน์ ไม่เคยถูกทอดทิ้งเลยในช่วงเวลานั้น เพราะการทอดทิ้งกระบวนทัศน์จะเท่ากับเป็นการละทิ้งการวิจัย เป็นการสลัดละทิ้งเรื่องของเหตุผลและข้อพิสูจน์ของชุมชนวิทยาศาสตร์. แน่นอนทีเดียว ชุมชนดังกล่าวจะกลายเป็นชุมชนที่เป็นการคาดเดามากขึ้นและผันแปรแตกต่างกันไปมากมายในการวิจัยของพวกเขา. พวกเขาอดทนมากขึ้นเกี่ยวกับความผิดปกติ และข้อเสนอต่างๆที่ขาดการเชื่อมต่อกับขนบประเพณี
แต่ในท้ายที่สุด อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อความตายหรือการสิ้นสุดของกระบวนทัศน์หนึ่งเกิดขึ้นมา พวกเขาก็จะแสวงหากระบวนทัศน์อันใหม่อีกอันหนึ่ง มันเป็นสัมฤทธิผลใหม่ทางวิทยาศาสตร์อีกอย่าง ซึ่งสามารถที่จะยอมรับได้เข้ามา. เมื่อเป็นเช่นนั้น เนื้อแท้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความวิปริตผิดปกติที่พอกพูนสะสมขึ้นมานับแต่บรรพบุรุษ ก็จะยุติลงได้ และกระบวนทัศน์ใหม่ก็จะเข้ามาเป็นแบบจำลองที่เป็นรูปธรรมอันหนึ่งสำหรับงานในอนาคต
โดยการมาถึงของทางเลือกใหม่อันนี้ ความไว้วางใจจะกลายมาเป็นเส้นทางเดียวกันอีกครั้ง, ปฏิบัติการที่กระทำอย่างละเอียดของการวิจัยจะเคลื่อนคล้อยไปตามหนทางดังกล่าว. Normal science (อันใหม่)จะถูกฟื้นฟูและสร้างขึ้นใหม่รายรอบแบบจำลองล่าสุดอีกอันหนึ่ง และกลายเป็นกระบวนทัศน์ดังก่อน, ในท้ายที่สุดมันก็จะไม่ต้องถูกปฏิเสธ หรือต้องยุติลง
มันมีแง่มุมที่มีนัยสำคัญต่างๆมากมายต่อเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิวัติวิทยาศาสตร์อันนี้ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ การไม่มีการอ้างเหตุผลในเชิงตรรกใดๆสำหรับการเปลี่ยนผ่าน. Kuhn ยืนยันว่า การเปลี่ยนแปลงของกระบวนทัศน์ จะเข้าใจได้ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับจิตวิทยาสังคมของกลุ่มก้อนทางวิทยาศาสตร์, ไม่ใช่ในเทอมของข้อพิจารณาต่างๆในเชิงตรรกะอันบริสุทธิ์
ในการเปลี่ยนแปลงหรือการย้ายกระบวนทัศน์นั้น ในส่วนของกระบวนทัศน์เองก็มีการแข่งขันกันด้วย ตัวกระบวนทัศน์เองไม่ใช่เรื่องของความบริสุทธิ์หรือเป็นเรื่องเหตุผลล้วนๆ อันที่จริงแล้ว มันเป็นเรื่องที่มีอคติปนอยู่ด้วย และแม้กระทั่งเป็นเรื่องของความบังเอิญในสภาพแวดล้อมที่ทำการทดสอบ ดังนั้น มันจึงไม่ใช่เรื่องของตรรกะอันบริสุทธิ์
สำหรับข้ออ้างซึ่ง Kuhn หวังจะพิสูจน์หรือยืนยัน โดยการอ้างอิงเกี่ยวกับตัวอย่างต่างๆในประวัติศาสตร์ แต่มันก็ไม่ได้โอบเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาต้องการพูดเอาไว้. Kuhn ต้องการที่จะยืนยันว่า มันใช่แค่ทางเลือกระหว่างกระบวนทัศน์ที่แข่งขันกันเท่านั้น และมันไม่ได้ถูกกำหนดหรือตัดสินโดยข้อพิจารณาทางตรรกอันบริสุทธิ์ เท่าๆกับที่ตรรกะไม่สามารถที่จะบีบบังคับการยอมรับเกี่ยวกับกระบวนทัศน์อันใดอันหนึ่งได้
เขาต้องการที่จะถกว่า... ดังนั้น ตรรกะจึงไม่อาจไปบังคับผลักดันการแทนที่ใดๆได้. ในประเด็นนี้, เขาไปเกี่ยวพันอยู่กับการสลัดทิ้งอาณาเขตของประวัติศาสตร์และเอาตัวเองเข้าไปพัวพันงกับข้อถกเถียงต่างๆที่เป็นนามธรรมมากขึ้น
ลักษณะที่สำคัญสองประการของ normal science
Kuhn ได้เน้นประเด็นที่สำคัญทั่วๆไปสองประการเกี่ยวกับ normal science ในฐานะที่เป็นกิจกรรมอันหนึ่ง.
ประการแรก รูปแบบใดก็ตามของ normal science ที่เป็นการวิจัยเข้าไปในคุณลักษณ์โดยเฉพาะต่างๆของโลกที่เรารู้อย่างไม่สมบูรณ์ มันจะไปขุดหรือเปิดให้เห็นถึงปรากฎการณ์ต่างๆที่พอจะอธิบายได้ และปรากฏการณ์ต่างๆที่ไม่อาจอธิบายได้มากนัก และเรื่องนี้เป็นสิ่งซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
มันแทบจะไม่สามารถได้รับการพิจารณาในตัวมันเองอย่างน่าพอใจ และปรากฎการณ์ที่ไม่อาจอธิบายได้เท่าที่เป็นมาในจารีตประเพณีของ normal science ต่างก็เป็นความผิดปกติที่เด่นชัดของมัน
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่มีทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ใดๆเคยเผชิญหน้ากับตัวอย่างในทางตรงข้ามของมัน. ด้วยเหตุนี้ normal research ใดก็ตาม, ที่วางพื้นฐานอยู่บนกระบวนทัศน์ใดก็แล้วแต่ ที่เป็นความเห็นสอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์กับสิ่งที่ถูกรู้เกี่ยวกับโลกที่เป็นจริง ข้อมูลดังกล่าวมักจะสามารถถูกอธิบายในหนทางหนึ่งซึ่งทำให้มันเข้ากันได้กับการตั้งสมมุติฐานเอาไว้ก่อนนั้นเสมอ ของขนบจารีตของงานวิจัย
ประการที่สอง Kuhn นั้นค่อนข้างที่จะรุนแรงมาก เขาชี้ว่า ตามข้อเท็จจริง มันเป็นสิ่งที่ยุ่งยากที่จะทำการแบ่งแยกกันอย่างเด็ดขาดระหว่าง "กิจกรรมของการวิจัย" กับ "ข้อมูลที่เป็นอิสระ" ซึ่งยืนยันตามข้อสันนิษฐาน หรือคัดค้านต่อข้อสันนิษฐานอันนั้น อันก่อให้เกิดข้อสงสัยในสมมุติฐานต่างๆที่มีมาก่อนของมัน
ข้อมูลคือผลผลิตต่างๆของกิจกรรม สิ่งประดิษฐ์ต่างๆของวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ และสมมุติฐานที่ตั้งเอาไว้ล่วงหน้าของวัฒนธรรมอันนั้น ต่างก็เกี่ยวพันอยู่กับผลผลิตของมันอย่างกระตือรือร้น
กระบวนทัศน์ ที่เป็นหัวใจของ normal science โดยทั่วไปแล้ว ได้ถูกยืนยันรับรอง และมักจะเชื่อกันว่ามันเป็นไปอย่างถูกต้องเสมอ. การได้รับการยืนยันหรือรับรอง โดยการปฏิบัติ ซึ่งทึกทักว่าเป็นความถูกต้องของมัน อันที่จริงมันได้น้อมนำไปสู่การเป็นสิ่งที่เรียกว่า dogma (ความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์เช่นเดียวกับศาสนา) แต่ Normal Science ในขอบเขตที่กว้างขวาง จริงๆแล้ว มันจะต้องมีเหตุผลในตัวของมันเอง หรือเชื่อถือได้ นั่นคือ มันได้สร้างโลกใบหนึ่งขึ้นมาซึ่งมันเป็นจริง
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ใช่อะไรง่ายๆที่ประสบการณ์จะสามารถได้รับการสร้างขึ้นมา
โดยปราศจากความยุ่งยากทางตรรกะ ดังที่ลงรอยกันกับสมมุติฐานล่วงหน้าและการปฏิบัติการต่างๆของ
Normal science
(หมายเหตุ : ดังที่เคยกล่าวไว้แล้วก่อนหน้า
"ความไม่สำเร็จผลของกระบวนทัศน์ เพียงบ่งชี้ถึง การไร้ความสามารถของนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น,
หรือความไม่เพียงพอต่างๆเกี่ยวกับเครื่องมือ, หรือสิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ของต้นตอที่ยังไม่รู้บางประการ
ซึ่งได้มามารบกวนเงื่อนไขต่างๆของการสังเกตการณ์หรือการทดลอง")
ในท้ายที่สุด Kuhn ได้เสนอข้อถกเถียงที่กองอยู่ในสำนวนภาษาทางปรัชญาอย่างชัดเจน. แทนที่จะวิเคราะห์การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นการเปลี่ยนผ่านจากแบบจำลองอันหนึ่งของการกระทำไปสู่แบบจำลองอีกอันหนึ่ง เขาได้ปฏิบัติกับมันในฐานะที่เป็นการโยกย้ายจากทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์อันหนึ่งไปยังอีกอันหนึ่ง. และได้พิจารณาทฤษฎีต่างๆอย่างเป็นทางการ ในฐานะระบบของถ้อยแถลงต่างๆ เท่าๆกับที่บรรดานักญานวิทยาแบบเหตุผลนิยมส่วนใหญ่ทำกันอย่างแพร่หลาย
โดยการยอมรับนี้ Kuhn ดำเนินการต่อไปเพื่อแสดงให้เห็นว่า การประเมินคุณค่าในเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆที่แข่งขันกัน ยังคงเป็นปัญหาที่ยากจะควบคุมได้. ทั้งนี้เพราะ ไม่มีมาตรวัดร่วมกันสำหรับคุณความดีของทฤษฎีต่างๆที่แข่งขันกันเหล่านี้, ไม่มีพื้นฐานที่ชัดเจนและรากฐานที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งจะมาทำให้เกิดทางเลือกที่มีเหตุมีผลอันหนึ่งขึ้นมาในระหว่างพวกมัน
ความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาจึงทำไม่ได้ เพราะนับแต่ที่มนุษย์ที่มีเหตุผลสามารถจะแตกต่างกันได้ในสิ่งที่ถือว่าเป็นปัญหาหนึ่ง. ความสำเร็จในการอธิบายเชิงทฤษฎีจึงทำไม่ได้ เมื่อมนุษย์มักจะไม่เห็นพ้องต้องกัน. อันนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นภายในวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกันกับศาสตร์สาขาวิชาอื่นๆ...
ความแตกต่างของมนุษย์จึงเป็นที่มาของความไม่เห็นพ้องต้องกัน ดังนั้นการคัดค้านต่อคำโต้แย้งจึงทำไม่ได้และยังมีประเด็นต่อมาคือ มนุษย์ที่มีเหตุผล ต่างไม่เห็นพ้องต้องกันในความสำคัญเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับความสำเร็จในการแก้ปัญหา, ความสำเร็จในการอธิบาย. ด้วยเหตุนี้ ข้อสรุปที่ไม่อาจโต้เถียงได้ จึงไม่ใช่ทฤษฎีต่างๆทางวิทยาศาสตร์
นอกจากนี้ ความสำเร็จเป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถที่จะได้รับการนำไปเปรียบเทียบและเรียงลำดับได้ ทั้งนี้เพราะมันไม่มีสเกลตามธรรมชาติสำหรับการเรียงลำดับนั่นเอง มันไม่มีมาตรวัดร่วมกันซึ่งมนุษย์ที่มีเหตุผลทุกคนเห็นพ้องกันที่จะใช้และมีความเห็นลงรอยกันว่าจะใช้มันอย่างไร ? อันนี้เป็นข้อเสนอหรือการวินิจฉัยอันโด่งดังของ Kuhn เกี่ยวกับการไม่สามารถที่จะนำมาวัดหรือเปรียบเทียบกันได้ เกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆทางวิทยาศาสตร์ (incommensurability of scientific theories)
ดังที่เขาชี้แจงกับตัวเอง มันเป็นข้อสรุปอันหนึ่งซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นมาที่จะจัดหาคำอธิบายที่น่าพึงใจในเชิงตรรกเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ หรือเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการปฏิวัติในปริมณฑลทาง"วิทยาศาสตร์" กับ ปริมณฑลทาง"การเมือง"
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นโดยการเปลี่ยนผ่านจากทฤษฎีหนึ่งไปยังอีกทฤษฎีหนึ่งที่เหนือกว่า. อันนี้ คล้ายกับทางเลือกระหว่างสถาบันต่างๆทางการเมืองที่แข่งขันกัน หรือระหว่างกระบวนทัศน์ที่แข่งขันกัน ซึ่งได้พิสูจน์ว่าเป็นทางเลือกหนึ่งระหว่าง แบบหรือวิธีการที่ตรงข้ามกันของชีวิตชุมชน (kuhn 1970: 94)
เป็นที่ชัดเจนในปัจจุบันที่ผลงานของ Kuhn ได้ไปขุดเซาะอย่างไม่ประนีประนอมและอย่างกว้างขวางต่อคำอธิบายในลัทธิเหตุผลของวิทยาศาสตร์. มันเป็นการบอกปัดอำนาจเกี่ยวกับเหตุผลของปัจเจกที่เป็นอิสระ; กล่าวคือ มันปฏิเสธคำอธิบายในลักษณะส่วนตัวของการวิจัย และไม่ยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์เป็นความก้าวหน้าที่วิวัฒนาการขึ้นมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ในการให้การยอมรับทั่วๆไปเกี่ยวกับแบบจำลองหรือวิธีการทางความคิดในลัทธิเหตุผลแบบเสรีภายในสังคมเรา เราไม่ได้รู้สึกประหลาดใจแต่อย่างใดเลยต่องานของ Kuhn ที่ได้รับการตีความในบางครั้งคราว ในฐานะที่เป็นการโต้เถียงที่คัดค้านต่อต้านวิทยาศาสตร์ และนั่นมันได้ทำให้เขาบรรลุถึงความโด่งดังและความมีชื่อเสียงขึ้นมาท่ามกลางนักวิจารณ์ที่รุนแรงทั้งหลายทางวิทยาศาสตร์ เมื่อคำวิจารณ์ของเขาได้ปรากฏตัวขึ้นมาเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1960s
แน่นอน ในข้อเท็จจริง Kuhn เพียงสำรวจตรวจตราสิ่งที่เขาถือว่าเป็นความสำเร็จในทางสติปัญญาที่เยี่ยมยอดที่สุดของมนุษย์เท่านั้น. มันไกลห่างจากการโจมตีวิทยาศาสตร์สำหรับความล้มเหลวของมัน เพื่อเผชิญกับมาตรฐานของลัทธิเหตุผลนิยม เขาได้ทำลายความเชื่อถือหรือความเลื่อมใสต่อมายาคติของลัทธิเหตุผลนิยมโดยการเผยให้เห็นความไม่สอดคล้องกันของมันกับวิทยาศาสตร์: นั่นคือ วิทยาศาสตร์ ตัวของมันเองนั้นยังคงรักษาฐานหรือเสาหลักของมันเอาไว้อย่างมั่นคง
ความคิดเชิงอนุรักษ์นิยมของ Kuhn
ได้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า Kuhn อาจเข้าใจผิด เพราะจุดยืนทั่วๆไปซึ่งเขาเขียนขึ้นมานั้น เป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคยกับเรา แง่มุมต่างๆมากมายเกี่ยวกับวิธีการศึกษาของ Kuhn มีลักษณะไม่น่าดมหรือน่าสัมผัส เพราะมันมีลักษณะของความคิดอนุรักษ์นิยม กล่าวคือ พวกมันนำเสนอถึงความเชื่อมโยงกันอันหนึ่งกับขนบธรรมเนียมอันยาวนานของลักษณะที่เป็นองค์รวม ลัทธิอนุรักษ์นิยมแบบหยั่งรู้หรือสหัชญาน(intuitive conservatism) ซึ่งตัวมันได้ดำเนินรอยตามวิธีการในศตวรรษที่ 19 อย่างดีเยี่ยม
แต่สิ่งนี้ได้ถูกนำมาใช้ในศตวรรษนี้โดยบรรดานักเขียน อย่างเช่น Michael Oakeshott หรือ หากระบุลงไปชัดๆคือ ในบริบททางวิทยาศาสตร์ของ Michael Polanyi ที่ซึ่งมายาคติของ"ลัทธิเหตุผลนิยม"ได้พูดถึงเหตุผลและปัจเจกบุคคล และมันได้พูดถึงขนบธรรมเนียมและชุมชน ซึ่งไม่ได้เป็นไปเพื่อขุดเซาะทำลายและประณาม แต่เป็นไปเพื่อการสนับสนุนและการยกย่อง
อันที่จริง Kuhn ได้อธิบายวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นประเพณีอันหนึ่ง และปฏิบัติการของมันเป็นกิจกรรมในเชิงขนบประเพณีต่างๆ. จริงๆแล้ว เขายืนยันว่า ความรู้วิทยาศาสตร์จะต้องได้รับการวางอยู่บนพื้นฐานของหน้าที่ ที่ได้สืบทอดมาจากฉันทามติหรือความเห็นสอดคล้องกันของชุมชน. แต่คำอธิบายนี้ไม่ได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า วิทยาศาสตร์ได้ขาดเสียซึ่งการดำรงอยู่หรือภาวะความรู้ที่แท้มากเพียงใด. ในทางตรงข้าม, มันได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า วิทยาศาสตร์ได้บรรลุถึงสถานะอันนั้นอย่างไร. หนังสือเรื่อง The Structure of Scientific Revolutions เป็นหนังสือที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงเลยทีเดียว
ไม่ว่าเหตุผลข้อพิสูจน์ของ Kuhn เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์จะได้รับการวางพื้นเอาไว้และสร้างความมั่นใจได้เป็นอย่างด ี(ในฐานะที่เป็นประเด็นหนึ่งที่ใหญ่มากและค่อนข้างมีความแน่ชัดที่ไปผูกมัดกับประเด็นนี้), แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สามารถนำมาพูดได้ในที่นี้ก็คือ วิธีการศึกษาของเขามีความเป็นไปได้และเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ อันที่จริง คำอธิบายของเขาไม่มีสิ่งใดแตกต่างจาก "การวิจารณ์สถานภาพของความรู้วิทยาศาสตร์"
แต่แน่นอน Kuhn เป็นนักวิจารณ์คนหนึ่งของมาตรฐานแบบลัทธิเหตุผลนิยมในตัวมันเอง เขาค้นหาเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า ไม่มีใครที่มีความรู้ตามคำเล่าลือ ซึ่งเป็นไปได้ที่จะไปบรรจบกับมาตรฐานอันนั้นและวิวัฒนาการต่างๆทางญานวิทยา ที่ได้รับการวางพื้นฐานอยู่บนข้อพิจารณาดังกล่าว
เขาเสนอว่า การเห็นพ้องต้องกันของชุมชนที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างเหมาะสม ตัวมันเอง อาจมารับใช้ในฐานะที่เป็นบรรทัดฐานอันหนึ่งของสิ่งที่ได้รับการเรียกขานว่า"ความรู้อย่างถูกต้อง". มันคือหลักฐานหรือพยานอันหนึ่งของการยึดที่มั่นเอาไว้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับวิธีการคิดแบบเหตุผลนิยม ซึ่งแง่มุมอันนี้เกี่ยวกับข้อถกเถียงของ Kuhn บ่อยครั้ง ได้ถูกมองข้ามไป หรือไม่ก็เข้าใจกันอย่างผิดๆ
ความเชื่อได้รับการสร้างขึ้นจากขนบธรรมเนียม
Kuhn เสนอว่า ระบบของความเชื่อต่างๆอาจได้รับการสร้างขึ้น โดยคำนึงถึงขนบธรรมเนียม
ยกตัวอย่างเช่น ลองมาพิจารณากันถึงความเข้าใจกันจนชินชาของเราเกี่ยวกับ"การรับรู้ทางสายตา" กล่าวคือ การรับรู้ทางสายตาของเรานั้น โดยทั่วไป มันได้รับการยอมรับว่า "การรับรู้ต่างๆได้ทำหน้าที่ตระเตรียมหรือจัดหาข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งแท้จริงแล้ว พวกมันคือตัวแทนของธรรมชาติ"
ปัจจุบัน การศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับการรับรู้ได้เผยให้เห็นถึงกลไกในการทำงานอันหนึ่งที่ประณีตซับซ้อน เมื่อเราเห็น"แมวตัวหนึ่งนอนอยู่บนพรม" มันมีอะไรที่มากไปกว่าเรื่องของแมวเฉยๆ. นั่นคือ, แสงสว่างจากแมว และสำนึกรู้ธรรมดาของเราเกี่ยวกับแสงสว่าง เลนส์แก้วตาที่ทำหน้าที่โฟกัสแสงดังกล่าว: มันเป็นเลนส์ที่มีการเปลี่ยนรูปร่างได้ ภายใต้การควบคุมของกล้ามเนื้อและความสามารถเกี่ยวกับลำดับการณ์อันหนึ่งของผลของการโฟกัสให้เป็นไปตามที่มันถูกควบคุม
ยิ่งไปกว่านั้น เลนส์ดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบสายตา ซึ่งแปรเปลี่ยนจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งในผลหรืออิทธิพลของมัน. มันเป็นระบบสายตาที่ควบคุมแสง มิใช่เพียงด้วยม่านกระจกสำหรับการมองดูโดยประสาทตาเท่านั้น แต่โดยกรวยหรือกระบอกของเรตินา ที่ซึ่งแสงได้ถูกแปรเปลี่ยนไปสู่แรงกระตุ้นต่อระบบประสาทที่ถูกส่งผ่าน หลังจากกระบวนการอันประณีตซับซ้อน สู่ด้านหลังของสมอง
ระหว่างเลนส์ของดวงตาและด้านหลังของสมอง บรรดานักจิตวิทยาและนักสรีรวิทยาบอกกับเราว่า ข้อมูลแรกสุดที่เราได้รับ จะทำหน้าที่ดัดแปรงและแปรเปลี่ยนไปอย่างสลับซับซ้อน; ข้อมูลเป็นจำนวนมากได้สูญหายไปและข้อมูลเป็นจำนวนมากได้รับการเพิ่มเติมเข้ามา มันเป็นไปโดยผ่านปฏิบัติการของทั้งกระบวนการภายในและการเรียนรู้หรือกระบวนการที่ได้รับการเรียนรู้จากภายนอก ท้ายที่สุด สมองได้ทำหน้าที่ปรับปรุงแก้ไขโดยตัวของมันเอง มีการกำหนดเงื่อนไขโดยความทรงจำและแบบแผนที่รับมาก่อนหน้านั้น และในที่สุด เราก็มองเห็นแมว
ดังนั้น เมื่อมองไปที่พื้นพรม, โดยทั่วไป เราเชื่อว่า อันที่จริง แมวอยู่ตรงนั้น. เราคิดว่ามันมีเหตุผลที่ปัจเจกชนควรจะเชื่อว่าอย่างนั้น บนพื้นฐานเกี่ยวกับการรับรู้. และเราคิดว่ามันสมควรที่จะเรียกการรับรู้ดังกล่าวว่าเป็นพื้นฐานของ"ความเชื่อ", ในบางความหมาย มันคือตัวแทนอันหนึ่งของ"ความจริง"(reality)
สำนึกรู้ของเราเกี่ยวกับกลไกอันประณีตซับซ้อนของการรับรู้นี้ มันไม่ใช่เพียงแค่ "แมว" ที่เป็นมูลเหตุการรับรู้เกี่ยวกับแมวตัวนั้น, กระนั้นก็ตาม สิ่งที่ถูกรับรู้ก็คือ"แมว"ตัวนั้นนั่นเอง(ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกตัดทิ้งหรือหลงลืมไป). มันไม่ใช่เพียงแมวที่อยู่บนพรม ซึ่งได้มาปลุกหรือกระตุ้นความเชื่อว่ามันอยู่บนพรม, กระนั้นก็ตาม นั่นคือสิ่งเดียวเพียงลำพังที่ถูกเชื่อ และเชื่อกันอย่างนั้นจริงๆ
คำอธิบายของ Kuhn เกี่ยวกับการสร้างหรือการผลิตความรู้ อาจจะดูคล้ายคลึงกับคำอธิบายของการสร้างความเชื่อของปัจเจกชนขึ้นมา. กลไกของร่างกาย ดังที่บรรดานักจิตวิทยาและนักสรีรวิทยาทั้งหลายพูด ถูกนำไปพัวพันอย่างลึกซึ้งกับสิ่งอื่นๆมากมาย ในการผลิตความเชื่อต่างๆขึ้นมา ดังนั้น ความเชื่อต่างๆที่ได้รับการสร้างขึ้น มันจึงเป็นเรื่องที่ไปเกี่ยวพันกับธรรมชาติภายนอกด้วย
"ชุมชน" ดังที่ Kuhn กล่าว, ได้ถูกนำเข้าไปเกี่ยวพันอย่างลึกล้ำกับ"การผลิตความรู้" กระนั้นก็ตาม ความรู้อาจได้รับการกล่าวว่าเป็นความรู้ทางธรรมชาติเช่นกัน
มโนคติของเราเกี่ยวกับความเชื่อที่มีน้ำหนักหรือมีหลักฐานอย่างดี มันยินยอมให้กับประสาทสัมผัสอันมากมายซึ่งเป็นความนึกคิดหรือสิ่งสร้างของปัจเจกชนคนหนึ่ง. ในหนทางเดียวกัน มโนคติของเราเกี่ยวกับความรู้ ก็สามารถยอมให้กับประสาทสัมผัสอันมากมาย ซึ่งมันเป็นความนึกคิดหรือสิ่งสร้างของชุมชนหนึ่ง. "ความรู้ทางวิทยาศาสตร์, ก็คล้ายๆกับภาษา, อันเป็นสมบัติร่วมกันภายในของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง..."(Kuhn 1970: 210)
อาจกล่าวได้ว่า โดยเหตุนี้ ความคล้ายคลึงกันดังกล่าวจึงช่วยให้ความสว่างกับวิธีการศึกษาของ Kuhn ต่อปัญหาเกี่ยวกับความรู้ และในเวลาเดียวกันมันยังเผยให้เห็นสิ่งซึ่งเป็นความผิดพลาดเกี่ยวกับวิธีการศึกษานั้นด้วย
ถ้าปัจเจกชนครอบครองเครื่องไม้เครื่องมืออันประณีตซับซ้อน สำหรับข้อมูลในลักษณะที่เป็นกระบวนการและการรับรู้ที่เกิดขึ้นมา ถ้าเช่นนั้น มีเครื่องมืออะไรที่ควรจะเพิ่มเข้ามาสำหรับความต้องการที่เป็นไปได้ดังล่าวไหม ? ทำไมชุมชนหนึ่งควรจะกลั่นกรองข้อมูลบางส่วนออกไปเป็นประจำ, และยัดเยียดแบบแผนและโครงสร้างตามขนบประเพณีของมันเองเข้ามาในสิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ ?
คำตอบในที่นี้คือว่า ความรู้เป็นสมบัติสาธารณะ เป็นสิ่งซึ่งครอบครองโดยสาธารณชน และจะต้องมีรูปแบบทั่วๆไปในลักษณะเดียวกัน สำหรับผู้ใช้มันทั้งหมด กล่าวคือ มันจะต้องมาบริการในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการสื่อสารต่างๆท่ามคนเหล่านั้นผู้มีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากมัน ทำให้สะดวกง่ายขึ้นต่อการปฏิสัมพันธ์ของพวกเขา ทำให้เป็นไปได้ที่จะกระทำในลักษณะร่วมไม้ร่วมมือกัน ในสภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนและสังคม
Kuhn เยี่ยมยอดมากในปฏิบัติการเกี่ยวกับประเด็นต่างๆเหล่านี้. อีกครั้งที่เขาได้เน้นว่า ไม่ใช่เหตุผลเชิงตรรก และไม่ใช่ปัจเจกชน ที่จะสร้างความสอดคล้องต้องกันและทำให้เป็นมาตรฐานที่จำเป็นให้กับความรู้ขึ้นมา. อันที่จริง เขาได้รุกเร้าประเด็นปัญหานี้มากยิ่งขึ้นไป และชี้แจงว่า อะไรคือสิ่งที่มีอยู่มาแต่กำเนิดในปัจเจกชน นั่นคือสิ่งที่ไม่เพียงพอที่จะสร้างเครื่องไม้เครื่องมือ ที่จะผลิตการรับรู้และความเชื่อขึ้นมา
สำหรับนักวิทยาศาสตร์ซึ่งมีความชำนาญหรือประสบการณ์, เขากล่าว, การสร้างเครื่องมืออันนี้ ได้รับการวางเงื่อนไขเอาไว้อย่างลึกซึ้งโดยการฝึกฝนทางด้านวิทยาศาสตร์ ดังนั้น ปฏิบัติการที่เป็นสาธารณะมันจึงซึมแทรกผ่านประสบการณ์ส่วนตัว และปัจเจกชนมีแนวโน้มที่จะเห็น หรือไม่เห็น, จดจำได้หรือหลงลืมไป, เชื่อหรือถอนความเชื่อ, ในความกลมกลืนกับสมาชิกคนอื่นๆของชุมชนของเขา
สรุป
คำอธิบายเกี่ยวกับความรู้ของ Kuhn เดิมทีเดียว มันปรากฏออกมาในลักษณะที่นอกลู่นอกทางและออกจะดันทุรังอยู่บ่อยๆ แต่ในข้อเท็จจริง คำอธิบายเกี่ยวกับความรู้นั้นไม่ได้วางข้อเรียกร้องในใจที่เกินเลยไป เท่าๆกับความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีหรือหลักการพื้นฐานของมันที่เกี่ยวข้อง: อันที่จริง, เมื่อสิ่งเหล่านี้ได้ถูกสำรวจอย่างถี่ถ้วน ดูเหมือนว่า พวกมันก็คือ"ความเป็นปกติอย่างสมบูรณ์"และ"พุ่งตรง"
เมื่อลองมาพิจารณากันถึงทางเลือกในเชิงยุทธศาสตร์หลักๆเหล่านั้น หากว่าวิทยาศาสตร์ต้องการที่จะเจริญก้าวหน้าและรุ่งเรืองต่อไป, Kuhn ตั้งคำถามว่า : "อะไรคือบรรทัดฐานที่ดีกว่าการตัดสินใจของกลุ่มวิทยาศาสตร์ที่เป็นอยู่ ?". ข้อคิดเห็นที่บรรจุเอาไว้อย่างเรียบร้อยในญานวิทยาของ Kuhn, ญานวิทยาที่เราได้อ้างถึงมาแล้วข้างต้น, สมควรได้รับการสะท้อนด้วยความจริงจังอย่างเต็มที่
ในเวลาเดียวกัน, ข้อสังเกตดังกล่าวได้ชี้ว่า ทำไมทัศนะทางญานวิทยาของ Kuhn บ่อยทีเดียวกลับไม่ได้รับการยอมรับ ? ทั้งนี้เพราะ มันได้แสดงให้เห็นนัยะที่ว่า ชุมชนทางวิทยาศาสตร์หนึ่งใดก็ตาม ต่างก็มีจินตนาการความนึกฝัน เพื่อยืนยันโดยข้อเท็จจริงในตัวของมันเอง ว่าจะต้องได้รับการยอมรับ, และดังที่เป็นมา บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายสามารถหยิบและเลือกว่า อะไรที่นับว่าเป็นความรู้
โดยไม่จำเป็นต้องกล่าว, อันนี้ไม่ใช่ทัศนะของ Kuhn เลย. Kuhn ไม่ได้กำลังเสนอแนะว่า บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้ถูกให้อำนาจในกระบวนการรับรู้เพื่อปฏิบัติการได้เท่าๆกันกับที่เขาตั้งใจ. แต่อันที่จริง เขากำลังพูดว่า เป็นเพราะชุมชนทางวิทยาศาสตร์ได้รับการฝึกฝนและได้ถูกตระเตรียมในหนทางที่พิเศษอันหนึ่ง และแนวโน้มต่างๆโดยคุณความดีเกี่ยวกับสิ่งที่มันได้รับการสถาปนาเพื่อปฏิบัติการในหนทางนั้น การตัดสินต่างๆของมันคือบรรทัดฐานที่ใช้ได้และดีที่สุดของพวกเราในการยึดถือ ในฐานะที่เป็นสิ่งซึ่งนับว่าเป็นความรู้
อันนี้อาจดูแล้วเป็นการใส่ความหรือกล่าวร้ายความน่าไว้วางใจที่ถูกทำให้เป็นหลักทั่วๆไปต่อชุมชนทางวิทยาศาสตร์ หรือต่อเครื่องมือที่ทำหน้าที่ในทางวิทยาศาสตร์
มันควรที่จะถูกบันทึกลงไปด้วยว่า ในการนำเสนอญานวิทยาเชิงสังคมของเขา Kuhn ไม่ได้แสร้งว่ากำลังให้ทางออกต่อปัญหาเกี่ยวกับพื้นฐานของความรู้ของพวกเราเลย. เขาเพียงเสนอวิธีการเริ่มต้นขึ้นมาอันหนึ่ง, มันเป็นจุดสต๊าร์ทสำหรับความคิด. ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่ได้แสวงหาหนทางเพื่อที่จะขัดขวางคำถามเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของโลกธรรมชาติ: กล่าวคือ "ไม่ใช่ว่าชุมชนวิทยาศาสตร์นั้นจะต้องเป็นสิ่งพิเศษเท่านั้น. โลกของสิ่งซึ่งชุมชนดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่ง จะต้องครอบครองลักษณะเฉพาะพิเศษต่างๆด้วย
และชัดเจน เขายอมรับว่า มันเป็นไปได้มากทีเดียวที่จะกล่าวถึงลักษณะเฉพาะพิเศษของชุมชนต่างๆทางวิทยาศาสตร์ และพูดถึงนัยสำคัญทางญานวิทยาของมัน. แน่นอน อันนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง. แม้ว่ากรณีที่ มันไม่มีบรรทัดฐานทางญานวิทยาที่อยู่เหนือกว่าขึ้นไปอันนั้น เกี่ยวกับการตัดสินที่ปรากฏเป็นจริงของกลุ่มวิทยาศาสตร์
อย่างชัดเจน บรรทัดฐานอันนี้มันไม่เพียงพอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการประเมินคุณค่าของบรรดานักวิทยาศาสตร์โดยตัวของมันเอง ดังที่พวกเขา(หมายถึงนักวิทยาศาสตร์)เริ่มไปเกี่ยวข้องกับการสถาปนาหลักฐานรับรองต่างๆซึ่งเกี่ยวกับข้ออ้างความรู้. ชุมชนการวิจัย ที่ซึ่งบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้ใช้สิ่งนี้ และเพียงบรรทัดฐานนี้ของการประเมิน จะเป็นเหมือนกับตลาดหุ้น ที่ที่ผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดต่างก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่มีการประนีประนอมกัน: อันนี้คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
มันเป็นการสูญเสียในทางปรัชญาและในเวลาเดียวกันก็เป็นการได้มาในทางประวัติศาสตร์ไปพร้อมๆกัน ซึ่งเพียงแค่เมื่อทศวรรษที่ 1960s เท่านั้น Kuhn ได้หวนกลับไปสู่คำถามต่างๆทางญานวิทยาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาโดยงานของเขา. แต่สำหรับสเกลทั้งหมดและความล้ำลึกเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของเขา kuhn มักจะรู้สึกกระสับกระส่ายบางครั้ง ในบทบาทเกี่ยวกับนักคาดการณ์คนหนึ่ง, และรังเกียจมากต่อท่าทีในเชิงอภิปรัชญา
เขาได้ถูกทำให้ซาบซึ้งเอามากๆกับคำเตือนทางญานวิทยาซึ่งเจาะทะลุจารีตทางปรัชญาของ Anglo-Saxon และบรรลุถึงระดับที่สูงสุดของเขาเกี่ยวกับความเข้าใจอย่างถ่องแท้และความเฉียบแหลม เมื่อเขาได้วิเคราะห์เรื่องราวต่างๆที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะ ในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์
อันที่จริง ในหลายๆทาง มันมีลักษณะที่บูดเบี้ยวและบิดงอที่ว่า การสนทนากันเกี่ยวกับงานของ Kuhn ควรที่จะปรากฏออกมาในฐานะที่เป็นหัวข้อเรื่องๆหนึ่งของหนังสือ The Return of Grand Theory. จิตใจที่เป็นสากลของเขาอาจไม่ค่อยไกลห่างจาก Althuser, หรือกระทั่ง Habermas. แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ชัดเจนว่า อันนี้คือเหตุผลที่ว่าทำไม Kuhn จึงสมควรได้มีพื้นที่ของเขาในหนังสือเล่มนี้
เขาได้เปิดโปงข้อบกพร่องของ"ลัทธิเหตุผลนิยมในส่วนที่ยอมรับกันถึงบุคคลเหล่านั้น ผู้ซึ่งยึดถือมัน หรือปกป้องมัน. และด้วยเหตุนี้ ในสังคมต่างๆอย่างสังคมของเรา, ที่ซึ่ง"มายาคติของลัทธิเหตุผลนิยม"ได้ซึมแทรกอย่างถ้วนทั่วเข้ามาในนิสัยหรือความเคยชินเกี่ยวกับความคิดในทุกๆวัน งานของเขาได้มีส่วนอย่างสำคัญในการปัดกวาดเส้นทางสำหรับแนวทางต่างๆอันเต็มไปด้วยความหวังทางความคิดของเราให้สะอาดขึ้น
ในด้านขนบประเพณี เราแสวงหาเพื่อความเข้าใจในความก้าวหน้าเกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างบริสุทธิ์ ในเทอมต่างๆของเหตุผลและประสบการณ์ - ในเทอมต่างๆของปฏิบัติทางตรรกทั่วๆไป ซึ่งใครก็ได้อาจดำเนินการ และการสังเกตการณ์ในเชิงประจักษ์เช่นนั้น
มาถึงตอนนี้ เราได้มาอยู่บนเส้นทางที่นำไปสู่การสลัดหรือละทิ้งทัศนะอันคับแคบอันสุดที่จะทนนี้ลงเสีย และตระหนักว่า เพื่อเข้าใจความรู้ของพวกเรา และอคติต่างๆ เราจะต้องบรรลุถึงความเข้าใจในตนเองให้กว้างขวางครอบคลุมมากขึ้น. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราต้องการเพื่อจะเข้าใจตัวเราเอง มิใช่ในฐานะสิ่งที่มีชีวิต แต่ในฐานะที่เป็นชุมชน
อันนี้เพราะว่าความรู้ ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของมัน เป็นการสร้างสรรค์ร่วมกัน มันไม่ได้สร้างขึ้นมาบนการตัดสินเพียงลำพังโดดเดี่ยว แต่มันสร้างขึ้นมาบนการประเมินต่างๆ ซึ่งเราต่างทำร่วมกันในสถานการณ์ต่างๆทางสังคม เป็นไปตามขนบประเพณีและสิ่งที่มีมาก่อน และในความสัมพันธ์กับเป้าหมายต่างๆเกี่ยวกับชุมชนของเรา
แม้แต่ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ ก็จะต้องถูกมองในฐานะตัวอย่างต่างๆของพฤติกรรมที่เป็นไปตามขนบธรรมเนียม และจะไม่ถูกพิจารณาหรือปฏิบัติอย่างบริสุทธิ์ในฐานะการแสดงออกเกี่ยวกับเหตุผลอันเป็นสากลของปัจเจกบุคคล
มันไม่ใช่เช่นกันที่ว่า ขนบประเพณีจะต้องเข้ามาแทนที่เหตุผลในความคิดของเรา, ดังที่เหตุผลในตัวของมันเองนั้น จะต้องถูกมองในฐานะที่เป็นกิจกรรมตามประเพณีอันลึกซึ่งอย่างหนึ่ง. ตราบกระทั่งมาถึงตรงนี้ แนวความคิดที่มี"คุณภาพเลว"ของเราเกี่ยวกับเหตุผลจะต้องได้รับการขยายหรือเพิ่มเติมให้เห็นชัดกันมากขึ้น
ถูกต้องทีเดียว อันนี้คือเป้าหมายแม้ว่าจะไม่บรรลุผลสมบูรณ์ก็ตาม เกี่ยวกับทฤษฎีอันยิ่งใหญ่ของบรรดานักปรัชญาภาคพื้นทวีปยุโรป. มันจะเป็นการดี หากว่าจะหมายเหตุลงไปถึงความสนใจที่เพิ่มมากขึ้นอันหนึ่งในบรรดานักเขียนเหล่านี้ ในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษ และความเข้าใจที่งอกงามขึ้นเกี่ยวกับเป้าหมายต่างๆของพวกเขา
ทั้งหมดของผลลัพธ์ดังกล่าวจะต้องเป็นความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาอันหนึ่งเกี่ยวกับความคิดของพวกเราเอง...
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
ความคิดในทางปรัชญาและสังคมวิทยาทั่วๆไปส่วนใหญ่ของ Kuhn จะค้นพบได้ใน The Structure of Scientific Revolution (1970) และใน The Essential Tension (1977), เป็นการรวบรวมบทความต่างๆในช่วงระยะเวลาหนึ่งเกือบๆสองทศวรรษ
ส่วนผลงานในเชิงประวัติศาสตร์ที่ทำขึ้นมาอย่างละเอียด ซึ่งสัมพันธ์กันกับเนื้อหาอันนี้ ควรจะได้รับการนำมาพิจารณาและประเมิน ซึ่งรวมอยู่ในหนังสือขนาดยาวสองเล่มในเชิงการศึกษาที่มีพร้อมแล้วคือ The Copernican Revolution (1957) และ Black Body Theory (1978)
สำหรับงานของ Kuhn ในเรื่องประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ thermodynamics ก็เป็นเรื่องที่ควรสนใจและน่าจะได้รับการใคร่ครวญเช่นกัน แม้ว่าเป็นไปได้ที่ว่า มันจะยากมากในการเข้าถึง และในปัจจุบันมีการอ้างถึงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น: อันนี้อาจจะศึกษาได้โดยผ่าน "Sadi Carnot and the Cagnard Engine, Isis,52,367-74 (kuhn -1961), หรือ T.S.Kuhn and Social Science (Barnes - 1982) (London)
ยังมีเนื้อหาที่กว้างขวางเกี่ยวกับข้อคิดเห็นและคำวิจารณ์ที่เกี่ยวข้องกับไอเดียทั่วๆไปต่างๆของ Kuhn. บางทีข้อเขียนซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดของงานประเภทนี้คืองานที่ได้รับการรวมรวมขึ้นมาของ Lakatos and Musgrave (1970) ในเรื่อง Criticism and the Growth of Knowledge (Cambridge). ส่วนเรื่อง Paradigm and Revolution: Appraisals and Application of Thomas Kuhn 's Philosophy of Science ของ Gutting, G.1980 งานชิ้นนี้เป็นการรวบรวมข้อคิดเห็นต่างๆเมื่อไม่นานมานี้
และหากเราต้องการที่จะทำความเข้าใจอย่างซาบซึ้งมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับนัยสำคัญในงานของ Kuhn ขอแนะนำให้อ่าน Stegmuller 1976 ในเรื่อง The Structure and Dynamics of Theories และงานของ Barnes 1982 ใน T.S.Kuhn and Social Science. สำหรับ Stegmuller ได้ประเมินความสำคัญทางปรัชญาของ Kuhn ในหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งแม้ว่าจะอ่านยาก แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่มากมายทีเดียว; ส่วนงานของ Barnes จะเอาใจใส่อยู่กับประเด็นต่างๆทางสังคมวิทยา
งานทบทวน แสดงความคิดเห็น และบทวิจารณ์ที่กว้างขวางและน่ารับรู้เกี่ยวกับต้นตอต่างๆมากมายเกี่ยวกับแรงบันดาลใจของ Kuhn, อิทธิพลต่างๆต่อความคิดของเขา เราอาจจะต้องกล่าวถึงงานของ Cadarbaum 1983 เรื่อง "Paradigm", Studies in the History and Philosophy of Science 14:3, 173-213 ซึ่งควรจะได้รับการอ้างอิงถึง
งานของ Fleck 1979 เรื่อง Entstehung und Entwicklung einer Wissenschaftliche Tatsache (1935) trans. F.Bradley and T.J. Trenn as Genesis and Development of Scientific Fact (Chicago 1979) ได้เสนอสิ่งที่ในปัจจุบัน เป็น แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจมากที่สุด; ซึ่งได้พิมพ์ขึ้นนานมาแล้วเป็นต้นฉบับภาษาเยอรมัน, งานชิ้นนี้ปัจจุบันได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และยังคงเป็นงานเขียนอันโดดเด่นชิ้นหนึ่ง. Fleck ได้พูดถึงความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างงานของ Kuhn กับ สังคมวิทยายูโรเปียนเกี่ยวกับขนบประเพณีของความรู้
เพื่อที่จะประเมินข้อเสนอที่ผลงานของ Kuhn ที่อาจพูดถึงขนบประเพณีอันหนึ่งเกี่ยวกับความคิดอนุรักษ์นิยม โดยแก่นๆแล้ว จะต้องอ้างถึงงานของ Mannheim 1953 ในเรื่อง Conservative Thought, in Essay on Sociology and Social Psychology (London)
ทั้งหมดนี้ หากเราสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ ก็จะทำให้เราเข้า kuhn และความคิดอันซับซ้อนของเขามากยิ่งขึ้น
กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com