มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
[email protected]

การศึกษาเรื่องวัฒนธรรมทางสายตา
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
Studying Visual culture เขียนโดย Irit Rogoff
(ความยาวประมาณ 12 หน้ากระดาษ A4)
ต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้มาจาก The Visual Culture Reader - by Routledge 1998-1999 ตั้งแต่หน้า 14-22

เมื่อผมเงยหน้าขึ้นมา ทันใดนั้นผมก็ได้เห็นอเมริกา
(Newt Gingrich, New York Times, 19 April 1995)

สายตาที่เต็มไปด้วยอารมณ์โกรธของเขา จ้องมองตรงมายังหัวใจที่สั่นระรัวของฉัน
(Barbara Cartland, The Pirate's Return, 1987)

เราสามารถอธิบายคุณลักษณะของความรู้"วัฒนธรรมทางสายตา"(visual culture)ที่ปรากฎขึ้นมาได้อย่างไร? เพื่อเริ่มต้นตอบคำถามนี้ เราจะต้องยืนยันว่า ความรู้ในเรื่องดังกล่าว มันตีวงไปรอบๆอะไรที่มากกว่าการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับภาพเท่านั้น ขอบเขตความรู้นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่กว้างขวางมาก และเป็นการศึกษาเกี่ยวกับภาพที่ข้ามศาสตร์กันไปมา

ในระดับหนึ่ง เราจะโฟกัสตรงๆลงไปยังใจกลางของภาพที่เห็นและโลกของภาพทางสายตา(visual world)ในการผลิตความหมายต่างๆขึ้นมา ซึ่งได้สร้างและธำรงรักษาคุณค่าต่างๆทางสุนทรีย์เอาไว้ รวมถึงทัศนคติที่ตายตัวเกี่ยวกับเพศ และความสัมพันธ์เชิงอำนาจในวัฒนธรรม

ในอีกระดับหนึ่ง เรายอมรับว่า เป็นการเปิดเผยความรู้เกี่ยวกับภาพที่เห็นในฐานะที่เป็นพื้นที่หนึ่ง ซึ่งความหมายทางวัฒนธรรมได้รับการก่อตัวขึ้นมา และมันได้ทอดสมอลงไปพร้อมๆกันกับลำดับการที่ละเอียดถี่ถ้วนของการวิเคราะห์และการตีความเกี่ยวกับเสียง, พื้นที่, และเกี่ยวกับพลวัตทางจิตใจของผู้ดูหรือผู้พบเห็น

ด้วยเหตุนี้ วัฒนธรรมทางสายตาจึงเปิดตัวให้กับโลกของความสัมพันธ์ระหว่างงานภาพขีดเขียน ซึ่งภาพต่างๆ, เสียง และโครงร่างแผนภูมิพื้นที่ต่างๆ ได้ถูกอ่านผ่านกันและกัน มันเป็นการพอกพูนขึ้นมาของชั้นต่างๆของความหมาย และเกี่ยวกับการขานรับและโต้ตอบในลักษณะอัตวิสัยกับการเผชิญหน้ากับภาพแต่ละอย่าง ที่เราอาจจะมีกับภาพยนตร์, โทรทัศน์, การโฆษณา, ผลงานศิลปะ, อาคารสิ่งก่อสร้าง หรือสภาพแวดล้อมของเมือง

ในด้านหนึ่ง เราได้สร้างขอบเขตความรู้เกี่ยวกับภาพขึ้นมา

ในส่วนที่เกี่ยวกับแนวความคิดของ Derrida ในเรื่อง difference และความสัมฤทธิผลของมัน มีผลสองประการ กล่าวคือ
ประการแรก เป็นเรื่องในส่วนของ "โครงสร้างต่างๆของความหมาย และการตีความ"
ประการที่สอง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "โครงร่างทางญานวิทยา(ความรู้)และเกี่ยวกับสถาบัน" ที่พยายามจะสร้างพวกมันขึ้นมาเป็นระบบ

การทำให้เป็นแนวคิดขึ้นมาของ Derrida เกี่ยวกับ difference ได้นำเอารูปแบบของการวิจารณ์อันหนึ่งมาใช้ มันเป็นการวิจารณ์เกี่ยวกับตรรกะที่มีอยู่สองด้าน(binary logic) ซึ่งแก่นแท้ของการสร้างความหมายได้ถูกล็อคสู่การบ่งชี้(signification)ในความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ (อันนี้คือ มรดกอันหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องภาษาศาสตร์ของ Saussurian ที่ยืนยันถึงภาษาในฐานะที่เป็นระบบเกี่ยวกับความแตกต่างในเชิงลบ - negative differentiation)

สิ่งที่เริ่มเปิดเผยออกมาคือ บทบาทที่มีความเป็นอิสระเกี่ยวกับตัวบ่งชี้(signifer) อิสรภาพอันหนึ่งที่จะเข้าใจความหมายในความสัมพันธ์กับภาพต่างๆ, เสียง หรือ พื้นที่ว่าง ซึ่งไม่จำเป็นต้องรับรู้แบบตรงไปตรงมา (เช่น เห็น"ลูกกุญแจ" มันอาจไม่ได้หมายถึงการ"ไขประตู" แต่มันหมายถึง"การมีคำตอบ")

ถ้าหากว่างานเขียนในแนวรื้อสร้าง(deconstructive writing) ของบรรดานักเรียกร้องสิทธิสตรี ได้เข้าครอบครองพื้นที่งานเขียนมาเป็นเวลายาวนาน ในฐานะการเข้าช่วงชิงพื้นที่ของความหมายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าเป็นเช่นนั้น วัฒนธรรมทางสายตาก็จะจัดหาการนำเสนอภาพที่พูดออกมาชัดถ้อยชัดคำเกี่ยวกับการเข้าแทนที่อย่างต่อเนื่องของความหมาย ในขอบเขตของภาพและสิ่งที่มองเห็นได้

การยืนยันอันนี้บนสิ่งที่ไม่คาดหมายมาก่อน เช่น ความเป็นอัตวิสัย และภาวะการผลิตซ้ำเกี่ยวกับความหมายอย่างต่อเนื่องในขอบเขตความรู้ภาพทางสายตา เป็นสิ่งซึ่งมีนัยสำคัญสำหรับสถาบันหรือสาขาวิชาทางด้านนี้อย่างเสมอหน้ากัน

ถ้าหากเราไม่หมุนกลับไปสู่ความหมายที่ให้เหตุผลเอาไว้แต่เพียงผู้เดียวโดยผู้เขียน หรือไม่ก็กลับไปสู่ทิศทางอันเป็นเงื่อนไขและลักษณะเฉพาะทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสร้างมันขึ้นมา, หรือไม่หวนคืนกลับไปยังการเมืองเกี่ยวกับชุมชนสังคมของผู้เขียน, หากเป็นเช่นนั้น เราก็ได้ถอนตัวหรือโยกย้ายวัตถุของการศึกษา(object of study)ไปจากรูปแบบของสาขาวิชา และรูปแบบอื่นๆของความรู้ที่ทำให้เป็นอาณาบริเวณไปแล้ว

ดังนั้น บางทีเรากำลังเข้าใกล้หรือประชิดกับคำอรรถาธิบายของ Roland Barthes ที่มีมายาวนานเกี่ยวกับความเป็นสหวิทยาการ หรือ interdisciplinarity ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่อยู่รายรอบเรื่องราวอันหนึ่ง แต่ค่อนข้างจะเป็นการสร้างเรื่องราวใหม่เกี่ยวกับความรู้อันหนึ่งขึ้นมา

บทความสั้นๆชิ้นนี้ พยายามที่จะผูกพันอยู่กับพื้นที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา ซึ่งจะสัมผัสกับแนวเรื่องข้างต้นบางอย่าง เช่นเดียวกับที่มันจะไปเกี่ยวข้องกับ"การเมือง"ที่ยุ่งเหยิงซับซ้อนที่มีลักษณะเฉพาะทางประวัติศาสตร์ นั่นคือ ผลประโยชน์หรือข้อได้เปรียบของมัน, ข้อจำกัดต่างๆของมัน, รวมถึงอันตรายและอิสรภาพซึ่งมีอยู่แต่เดิมในความพยายามที่จะเคลื่อนออกจากความเชื่อมโยงทางด้านขนบประเพณี และความสอดคล้องกันภายใน และแบบจำลองเกี่ยวกับสิ่งที่มันมีความหมายเป็นการเฉพาะในประวัติศาสตร์

ภาพทางสายตาในฐานะที่เป็นการวิจารณ์(วิเคราะห์และประเมินอย่างละเอียด) (Vision as critique)
ความหมายของโลกในทุกวันนี้ นอกเหนือจากความหมายของโลกที่แพร่กระจายไปในทิศทางของคำพูดและภาษาตัวหนังสือแล้ว มันได้แพร่กระจายไปในทิศทางของภาพทางสายตาด้วย. ภาพต่างๆทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูล สามารถสร้างความพึงพอใจและความไม่พอใจขึ้นมาได้ นอกจากนี้มันยังมีอิทธิพลต่อสไตล์ การกำหนดการบริโภค และเป็นสื่อกลางความสัมพันธ์เชิงอำนาจต่างๆ

เราอาจตั้งคำถามกว้างๆขึ้นมาถึงผลของภาพทางสายตาในทุกวันนี้ได้ เช่น
- ใครคือคนที่เราพบเห็น และใครคือคนที่เราไม่เคยพานพบมาก่อน?
- ใครคือผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษหรือข้อได้เปรียบภายในระบบภาพเงาอันนี้?
- ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แง่มุมแบบไหนของภาพที่เป็นตัวแทนภาพทางสายตาได้แพร่กระจายอยู่ และแง่มมุมใดบ้าง ที่มันได้หดหายไป?
- ความคิดเพ้อฝันแบบไหนที่ถูกป้อนโดยภาพทางสายตา?

เหล่านี้คือคำถามบางอย่าง ซึ่งเรายกขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องของภาพและการแพร่กระจายหรือการไหลเวียนของสิ่งที่ปรากฎกับตารอบๆตัวเรา

จำนวนมากของปฏิบัติการเกี่ยวกับงานทางด้านสติปัญญาภายในกรอบโครงร่างปัญหาทางวัฒนธรรม เกี่ยวข้องกับความสามารถที่จะตั้งคำถามใหม่ๆ หรือคำถามที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งขึ้นมา มากกว่าการผลิตซ้ำความรู้เก่าๆโดยการตั้งคำถามในแบบเก่าๆ

บ่อยครั้งในชั้นเรียน บรรดานักศึกษาทั้งหลายมักจะบ่นกันว่า ภาษาเกี่ยวกับการค้นคว้าในเชิงทฤษฎีเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก นั่น"มันไม่ใช่ภาษา". พวกเขาค่อนข้างต้องการชักจูงว่า ใครๆก็ไม่สามารถตั้งคำถามใหม่ๆได้ในภาษาเก่าๆได้ แต่ในท้ายที่สุด ความตื่นเต้นที่มีอยู่ของพวกเขา เกือบทั้งหมดมักจะไปสดุดหยุดลงตรงที่ความคิดบางประการเกี่ยวกับการมีชัยชนะ และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 3 เดือน(1 ภาคการศึกษา) บางคนได้สร้างข้อคิดเห็นที่เป็นกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างมั่นคงขึ้นมาอย่างสมบูรณ์เกี่ยวกับการสาธยาย ถึงการเป็นตัวแทนและความหมาย ซึ่งได้รับการสาธยายตามๆกัน, โดยอาจมีการชะงักงันชั่วคราวด้วยความสงสัย, แต่ก็ให้การยอมรับในที่สุด. พวกเขาเพิ่งจะกล่าวถึงบางสิ่งบางอย่างที่"แตกต่าง"ไปอย่างสิ้นเชิงกับอดีตนั่นเอง

โดยการโฟกัสลงไปที่"ขอบเขตความรู้"เรื่องภาพและเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา ซึ่งปฏิบัติการอยู่ภายใน เราได้สร้างสังเวียนสำหรับการพูดคุยออกมาอย่างชัดเจนเกี่ยวกับคำถามบางอย่าง เช่น: อะไรคือ"รหัส"หรือ"หลักเกณฑ์"ต่างๆของภาพที่เห็น ซึ่งภาพบางภาพได้รับการอนุญาตให้มอง ส่วนบางภาพอาจต้องแอบมองหรือต้องพบกับอุปสรรคการมอง และบางภาพนั้น ยังคงถูกห้ามไม่ให้มองมันแม้เพียงแค่แวบเดียว?

จริงๆแล้ว เราสามารถที่จะมีส่วนร่วมในความพึงพอใจ และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับภาพต่างๆที่ได้รับการผลิตขึ้นมาโดยกลุ่มวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะบางอย่าง ซึ่งเราไม่ได้สังกัดหรือเป็นส่วนหนึ่งของมันได้หรือไม่? เหล่านี้คือคำถามต่างๆ ซึ่งเราจะต้องพูดถึงเรือนร่างที่ใหญ่โตกว้างขวางเกี่ยวกับภาพทางสายตาที่มันรายล้อมตัวเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

ยิ่งไปกว่านั้น เราต้องการทำความเข้าใจว่า เรามีปฏิกริยาอย่างกระตือรือร้นกับภาพต่างๆ จากพื้นที่หรือสังเวียนทั้งหมดของมันอย่างไร เพื่อสร้างโลกขึ้นมาใหม่อีกครั้งในรูปร่างของความคิดและจินตนาการต่างๆของเรา และความปรารถนา หรือเพื่อบรรยายเรื่องราวซึ่งเรานำมันมาฝังอยู่ในตัวเราด้วย

ในสังเวียนหรือสมรภูมิของวัฒนธรรมทางสายตา ชิ้นส่วนของภาพๆหนึ่งมันเชื่อมโยงกับความต่อเนื่องกันของภาพที่ปรากฎตัวต่างๆทั่วไป เช่น กับภาพยนตร์ หรือสัมพันธ์กันกับมุมหนึ่งของป้ายโฆษณา(billboard) หรือหน้าต่างแสดงสินค้าของร้านค้าที่เราเดินผ่าน และสำหรับการผลิตคำบรรยายใหม่ๆอันหนึ่งขึ้นมา ปรากฎว่ามันได้ก่อรูปก่อร่างของตัวมันขึ้นมานอกเหนือไปจากประสบการณ์ของเรา ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว

ภาพต่างๆไม่ได้พักพิงอยู่กับขอบเขตความรู้สาขาวิชาต่างๆที่แยกๆกันอยู่ อย่างเช่น ความรู้เกี่ยวกับ"ภาพยนตร์สารคดี"โดยเฉพาะ หรือความรู้เกี่ยวกับงานจิตรกรรมเรอเนสซองค์", ทั้งนี้เพราะปฏิบัติการทางสายตาและจิตใจต่างๆ มันไม่ได้กระทำการเหล่านี้ขึ้นมาโดยการแบ่งแยก หรือรับรู้ในลักษณะที่แตกออกเป็นเสี่ยงๆ

พวกมันได้ให้โอกาสเราสำหรับวิธีการอันหนึ่งขึ้นมาแทน เกี่ยวกับงานเขียนใหม่ๆทางด้านวัฒนธรรมที่น่าตื่นเต้น กับการตัดข้าหรือไขว้กันไปมาของความเป็นอัตวิสัยและความเป็นภววิสัย

ในวัฒนธรรมการวิจารณ์ ซึ่งเรากำลังพยายามที่จะพรากการเป็นตัวแทนของมันออกไปจากการครอบงำของปิตาธิปไตย(patriarchal), ศูนย์กลางความเป็นยุโรป(Eurocentric) และการทำให้การมีเพศสัมพันธ์กับต่างเพศเป็นบรรทัดฐาน(heterosexist), วัฒนธรรมทางสายตาจะจัดหาโอกาสต่างๆที่ใหญ่โตกว้างขวางกว่าให้ สำหรับการเขียนวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่ โดยผ่านความเอาใจใส่หรือความผูกพัน และวิถีทางต่างๆของเรา

การปรากฎตัวขึ้นมาของวัฒนธรรมทางสายตาในฐานะที่เป็นการข้ามผ่านสาขาวิชา และขอบเขตวิธีการศึกษาที่ตัดข้ามกันของการค้นคว้า ไม่มีอะไรน้อยหรือมากเกินไปกว่าการเปิดโอกาสความเป็นไปได้อันหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับการพิจารณาใหม่อีกครั้ง มันเป็นการนำเสนอปัญหาต่างๆที่ยุ่งเหยิงซับซ้อนที่สุดของวัฒนธรรมจากอีกมุมมองหนึ่งนั่นเอง

ในกฎเกณฑ์เกี่ยวกับวัตถุต่างๆของการค้นคว้า และเกี่ยวกับกระบวนวิธีการของมัน ได้สะท้อนถึงขณะปัจจุบันในพื้นที่ของการศึกษาทางด้านวัฒนธรรม(cultural studies)ในความสลับซับซ้อนทั้งหมดนี้ คำถามคือว่า งานชิ้นนั้นๆได้มีการจัดแบ่งหมวดหมู่ขณะปัจจุบันอย่างไร? คำตอบคือ…

จากทัศนียภาพที่มีอยู่ ดูเหมือนจะสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอันหนึ่งจากขั้นตอนของกิจกรรมการวิเคราะห์อย่างเข้มข้น ที่เราได้ดำเนินการไปในช่วงระหว่างปลายทศวรรษที่ 1970s และ 1980s, เมื่อเราได้รวบรวมสิ่งที่คัดสรรอย่างกว้างๆอันหนึ่งเกี่ยวกับเครื่องไม้เครื่องมือในการวิเคราะห์ ไปสู่ช่วงขณะหนึ่งซึ่งเรื่องราวทางวัฒนธรรมใหม่ๆ ต่างได้รับการผลิตขึ้นมาอย่างเป็นจริงเป็นจัง

ขณะที่ลึกลงไปนั้น มันได้หยั่งรากอยู่ในความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของญานวิทยาหรือทฤษฎีความรู้ที่ไม่เป็นธรรมชาติของการจัดแยกหมวดหมู่และวิชาต่างๆที่สืบทอดกันมา ซึ่งเปิดเผยผ่านแบบจำลองทางการวิเคราะห์ของความคิดโครงสร้างนิยม(structuralist) และหลังโครงสร้างนิยม(poststructuralist) และบทนำที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆของความแตกต่างทางด้านเพศและวัฒนธรรม

วัตถุใหม่ๆเหล่านี้เกี่ยวกับการค้นคว้า มันไปพ้นจากการวิเคราะห์ สู่การคิดภาษาใหม่ที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งขึ้น ซึ่งได้สะท้อนถึงความรู้สึกรู้ทราบร่วมสมัย ซึ่งพวกเราทั้งหลายครองชีวิตเราอยู่รอดมา หนึ่งในประเด็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในการศึกษาทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งรับมาก็คือ มันเป็นการเตรียมการส่งต่อความสนใจเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางญานวิทยาหรือทฤษฎีความรู้ ซึ่ง Gayatri Spivak ได้อธิบายเอาไว้ดังนี้:

"มันคือคำถามต่างๆที่พวกเราถามกัน ซึ่งได้สร้างขอบเขตของการค้นคว้าขึ้นมา และมันไม่มีเรือนร่างบางอย่างของเนื้อหา ที่จะมากำหนดสิ่งที่คำถามต่างๆต้องการได้รับการตั้งขึ้นมาสำหรับมัน"

ในการกระทำดังกล่าว เราได้ไปกระทบกับการเปลี่ยนแปลงอันหนึ่ง จากโลกของการรับรู้ที่เป็นไปในแนวตรรกศาสตร์เชิงบวก สู่พื้นที่ที่ค่อนข้างร่วมสมัยกว่าอันหนึ่งของการเป็นตัวแทน และเกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับการตั้งมั่น

การปรากฎตัวขึ้นมาของพื้นที่ซึ่งค่อนข้างใหม่ อย่าง "วัฒนธรรมทางสายตา" ได้ตระเตรียมความเป็นไปได้เกี่ยวกับการสนทนาต่างๆที่ปราศจากกรอบหรือข้อจำกัด ซึ่งเราทั้งหลายต่างถูกผูกมัดในเรื่องการมีอยู่หรือไม่มีอยู่, การมองเห็นและการมองไม่เห็น, ทัศนคติตายตัว, ความปรารถนา, การทำให้ปรากฎเป็นรูปร่าง และทำให้เป็นรูปธรรมขึ้นมาจากขอบเขตสาขาวิชาต่างๆ - เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ, การศึกษาเกี่ยวกับภาพยนตร์, สื่อสารมวลชนและการสื่อสารต่างๆ

การเชื่อมต่อต่างๆในทางทฤษฎีเกี่ยวกับภาพทางสายตา, ภาวะของผู้ชม และความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีชีวิตชีวาขึ้นมา ซึ่งเราเรียกว่า "ขอบเขตความรู้เกี่ยวกับภาพทางสายตา"(the field of vision) - ซึ่งสิ่งที่เชื่อมต่อสถานะของพวกมันเป็นอันดับแรกคือ ตัวภาษากับวัตถุต่างๆ

ด้วยเหตุดังนั้น จึงไม่ได้มีการใส่กรอบพวกมันเอาไว้โดยหนีห่างไปจากคุณค่าตามจารีตชุดหนึ่งในฐานะสิ่งที่มีคุณค่าสูง หรือทำให้มันไปอยู่ชายขอบหรือภายนอกขอบเขตของภาพที่ถูกลงโทษอย่างรุนแรงไปพร้อมกัน

เท่าๆกัน พวกมันไม่ได้ถูกใส่กรอบจากประวัติศาสตร์ของการกระทำของมันโดยเฉพาะ และแบบจำลองวิธีการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้มารับใช้การทำลายล้างตัวของพวกมันมากขึ้น

ขอบเขตความรู้ที่ข้าพเจ้าทำงาน ซึ่งได้ลงแรงไปไม่น้อยและเป็นเรื่องที่หนักหัวมากภายใต้ชื่อเรื่องของ"ทฤษฎีวิพากษ์เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา" มันไม่ได้ทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลป์ หรือการศึกษาเกี่ยวกับภาพยนตร์ หรือสื่อสารมวลชนแต่อย่างใด… แต่ที่ชัดเจนคือมันได้ถูกให้ข้อมูลโดยทั้งหมดเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ และตัดข้ามไขว้กันไปมา

มันไม่ได้เป็นการให้ความหมายทางประวัติศาสตร์แก่วัตถุทางศิลปะหรือภาพทางสายตาใดๆ และมันก็ไม่ได้จัดหาประวัติศาสตร์ที่แคบๆในทางศิลปะ หรือไม่ได้เป็นการสืบค้นเรื่องราวอย่างกว้างขวางในโลกของพัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมเกี่ยวกับมันด้วยเช่นกัน

อันนี้ไม่ได้ทึกทักว่า ถ้าเราให้ความรู้เกี่ยวกับภาพมากจนล้นเกินด้วยข้อมูลตรงข้ามที่มาช่วยเติมเต็มมากกว่าที่เคย เราจะบรรลุถึงความเข้าใจอย่างประจักษ์แจ้งมากขึ้นเกี่ยวกับมัน

เมื่อตอนที่ข้าพเจ้ากำลังได้รับการฝึกฝนในฐานะนักประวัติศาสตร์ศิลปะคนหนึ่ง พวกเราถูกสอนให้เริ่มต้นที่ภาพต่างๆ สมมุติฐานคือว่า ด้วยการจ้องมองภาพเหล่านั้นอย่างหนักขึ้น และหนักขึ้นเรื่อยๆ ภาพเหล่านั้นจะค่อยๆถูกเปิดเผยออกมาทีละน้อยๆ

นั่นเป็นหลักการที่เข้มงวดข้อหนึ่ง, แม่นยำ เที่ยงตรง และการจ้องมองที่ถูกให้ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ จะเผยให้เห็นความมั่งคั่งอันหนึ่งของความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ ความเชื่ออันนี้ได้ผลิตกระบวนการใหม่อันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า"สายตาที่ดี"(the good eye)

แต่ต่อมาภายหลัง ในการสอนในภาควิชาประวัติศาสต์ศิลป์ เมื่อไหร่ก็ตามที่ข้าพเจ้าบ่นเรื่องเกี่ยวกับ"การขาดเสียซึ่งความอยากรู้อยากเห็นในเชิงสติปัญญา"ของนักศึกษาบางคน, เกี่ยวกับการรับรู้ตามตัวหนังสือมากเกินไปของพวกเขา เกี่ยวกับขอบเขตของการศึกษาหรือเกี่ยวกับความเข้าใจที่คับแคบเกินไปของพวกเขาในเรื่องวัฒนธรรม ในฐานะที่เป็นชุดหนึ่งของเรื่องราวที่ปล่อยรังสีหรือเรื่องราวที่ส่องสว่างออกมา บางคนในคณะฯ มักจะขานรับการบ่นของข้าพเจ้านี้โดยการพูดว่า "โอ้! แต่พวกเขาก็มีสายตาที่ดีไม่ใช่หรือ?"

ขอบเขตความรู้นี้ไม่ได้ทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของศิลปะการวิจารณ์(หรือการวิพากษ์สิ่งประดิษฐ์ภาพทางสายตาใดๆ. มันไม่ได้รับใช้เป้าหมายเกี่ยวกับการประเมินคุณค่าโครงการใดโครงการหนึ่ง, ไม่ได้มีเป้าหมายเกี่ยวกับการเติมเต็ม หรือการตำหนิประณามใดๆ หรือเกี่ยวกับการทึกทักความคิดบางอย่างของคุณภาพที่เป็นสากล ซึ่งสามารถถูกนำไปประยุกต์ใช้กับทั้งหมดและอะไรอื่นๆอีกอย่างหลากหลาย

ยิ่งไปกว่านั้น มันไม่ได้มีเป้าหมายที่จะทำบัญชีรายชื่อหรือแคทาล็อคการทำความผิด และการแก้ไขปรับปรุงดุลยภาพต่างๆ, มันไม่ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการระบุว่าใครที่อยู่ภายใน และใครที่อยู่ภายนอก เกี่ยวกับอะไรที่ถูกเลือกและอะไรที่ไม่ถูกเลือกหรือจะต้องทิ้งไป

สิ่งเหล่านี้คือส่วนที่สำคัญอันหนึ่งของโครงการในช่วงต้นๆ ซึ่งมีการกันบางสิ่งบางอย่างออกไปอย่างชัดแจ้ง การลบออกและการบิดเบือนต่างๆเกี่ยวกับรูปแบบทุกอย่างของความเป็นอื่น - เช่น ผู้หญิง, พวกโฮโมเซ็กซ์ชวล, และคนที่ไม่ใช่ยุโรเปียน ซึ่งได้มีการกล่าวถึงในหมวดเล็กๆหมวดหนึ่ง - ได้ถูกจัดวางและตั้งชื่อ และการตัดสินได้ถูกผ่านไปบนเงื่อนไขต่างๆของการกีดกันสิ่งเหล่านี้ออกไปตั้งแต่แรก…

ตามข้อเท็จจริง ทัศนียภาพที่ข้าพเจ้าปรารถนา และพยายามที่จะแสดงให้เห็นก็คือ การวิเคราะห์เชิงวิพากษ์(critical analysis)เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา กล่าวคือ ข้าพเจ้าต้องการจะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างหลีกพ้นไปจากวาทกรรม(discourse)ชุดหนึ่ง ซึ่งการรับรู้เกี่ยวกับมันนั้นเป็นเพียงแค่"การพูดเกี่ยวกับ"(speaking about) และเปลี่ยนไปสู่เรื่องของ"การพูดถึง"(speaking to)เท่านั้น

ในคำพูดของ Trinh T. Min-ha, "เรื่องเล่า"(Tale), บอกเล่า(told), ถูกเล่า(to be told) / คุณพูดจริงไหม?(are you truthful?), อันนี้เป็นการยอมรับความสลับซับซ้อนที่มีอยู่ในคำพูดต่างๆที่แสดงออกมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องหมายความถึงการแย่งชิง(taking away) หรือประนีประนอมกับคุณภาพต่างๆเกี่ยวกับเรื่องราวที่ดีเรื่องหนึ่ง

ใครเป็นคนพูด? พูดอะไร? คำถามนี้ถูกแสดงนัยะ และทำหน้าที่บอก, แต่ตัวคนๆเดียวไม่เคยมีอิทธิพลครอบงำ และเรื่องนั้นก็เลื่อนไหลไปโดยปราศจากการทำให้เป็นธรรมชาติในสุ้มเสียงของมัน. เขาคนที่พูด, ได้พูดถึงเรื่องราว ดังที่เขาเริ่มต้นเล่าเรื่อง และเล่ามันซ้ำอีก. เขาไม่ได้พูดเกี่ยวกับมัน.

โดยปราศจากการเข้ามาแทนที่ใดๆ "การพูดเกี่ยวกับ"(speaking about)เพียงมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ระบบต่างๆของความเป็นคู่ตรงข้ามเอาไว้เท่านั้น(subject / object I / it, we / they)ซึ่งทำให้กลายเป็นดินแดนที่ความรู้ต้องพึ่งพา

Trinh เสนอในที่นี้ไม่เพียงว่า ในการอ่าน/การดู ที่เราเขียนใหม่อีกครั้ง(rewrite)(พูดเกี่ยวกับ-speaking about)ตัวหนังสือ(the text). ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นเธอยอมรับว่า ในการอ้างและเล่าซ้ำเรื่องราวต่างๆ(narratives)(การพูดถึง-speaking to) เราได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างต่างๆที่แท้จริงไป ซึ่งเราสร้างให้เป็นระบบ และอาศัยอยู่ในวัฒนธรรม

ในการตั้งคำถามนี้เกี่ยวกับวิธีการต่างๆซึ่งเราพำนักพักพิงอยู่ และด้วยเหตุดังนั้น จึงสร้างและสร้างใหม่ในวัฒนธรรมของเราเองอยู่เสมอ ซึ่งได้ให้ข้อมูลถึงพื้นที่ของวัฒนรรมทางสายตา มันเป็นความเข้าใจหนึ่งที่ว่าขอบเขตความรู้นี้ถูกสร้างขึ้นมา อย่างน้อยที่สุด โดยเกี่ยวกับองค์ประกอบที่แตกต่างกันสามส่วน

ส่วนแรก, มันคือภาพต่างๆที่เกิดขึ้นมา และถูกอ้างโดยผู้คนหลายหลาก และบ่อยครั้งมีการโต้แย้งกันในประวัติศาสตร์
ส่วนที่สอง, มันเป็นเรื่องของเครื่องมือต่างๆในการมอง ที่เรามีในการจัดการของเรา ซึ่งถูกนำทางโดยแบบจำลองต่างๆทางวัฒนธรรม เช่น การบรรยาย(narrative)หรือเทคโนโลยี
ส่วนที่สาม, มันเป็นเรื่องของความเป็นอัตวิสัยเกี่ยวกับการจำแนกแยกแยะ หรือปรารถนา หรือรู้สึกสังเวช ซึ่งเรามองจาก และที่ซึ่งเราให้ข้อมูลสิ่งที่เราเห็น

ขณะที่ข้าพเจ้าจะโฟกัสให้ชัดๆ ณ ที่นี้ในเรื่องของภาครับ(reception) มากกว่าภาคการผลิตภาพและวัตถุหรือสภาพแวดล้อมต่างๆขึ้นมา มันเป็นที่ชัดเจนว่า นี่คือแง่มุมที่น่าสนใจมากที่สุดแง่มุมหนึ่งของวัฒนธรรมทางสายตา ซึ่งเส้นพรมแดนระหว่างการสร้าง, การทำให้เป็นทฤษฎีและการทำให้เป็นประวัติศาสตร์ได้รับการกัดกร่อนอย่างมาก และไม่มีอยู่ในความแตกต่างที่เป็นการเฉพาะอีกต่อไปแล้วจากอีกอันหนึ่ง

สำหรับหลายปีที่ข้าพเจ้ารู้สึกสงสัยในเรื่องการก่อตัวขึ้นมาเกี่ยวกับความตรงข้ามกันอันหนึ่ง ในตำแหน่งมุมมอง กับเปลือกแข็งของประวัติศาสตร์ศิลป์เก่าๆ นั่นคือ "สายตาที่ดี"(the good eye). เรากำลังพัฒนาวิธีการมอง, สายตาที่ระแวงระวัง, และสงสัยขึ้นมาใช่ไหม?

"สายตาที่วิพากษ์"เป็นสิ่งหนึ่งที่คอยพิทักษ์ ปกป้อง และพรักพร้อม ซึ่งตรงข้ามกับความพึงพอใจใช่ไหม? ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น, ถ้าหากว่าเราผูกมัดกับการสร้าง ซึ่งเป็นความเพ้อฝันต่างๆที่ให้ข้อมูลการมองแบบอัตวิสัย

ในขณะนี้ และดำเนินรอยตามผลงานชิ้นหลังๆของ Laura Mulvey ในทฤษฎีภาพยนตร์เฟมินิสท์ ข้าพเจ้าได้ตั้งหลักอยู่บนความนึกคิดเกี่ยวกับ"สายตาที่อยากรู้อยากเห็น"(the curious eye) ซึ่งตรงข้ามกับ"สายตาที่ดี"(the good eye)ของความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ

"ความอยากรู้อยากเห็น" มีนัยะของความไม่แน่นอน(unsettling) หรือไม่ได้มีการลงหลักปักฐานใดๆ; มันเป็นความนึกคิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆภายนอกขอบเขตปริมณฑลของความรู้, เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่ยังไม่เข้าใจเสียทีเดียวหรือยังไม่แน่ชัดลงไป; ความพึงพอใจเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือสิ่งที่ซ่อนเร้น หรือไม่ได้มีการคิดถึง; มันเป็นการมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับการค้นพบบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีใครรู้ หรือสามารถนึกคิดไปถึงมาก่อน. สิ่งเหล่านี้มันดำรงอยู่ในจิตวิญญานของ"สายตาที่อยากรู้อยากเห็น"(curious eye) ซึ่งข้าพเจ้าต้องการที่จะเปิดมิติบางอย่างของขอบเขตความรู้อันนี้ขึ้นมาในเรื่องเกี่ยวกับ"การมอง"

ความเป็นผู้ดูในขอบเขตความรู้ของภาพทางสายตา (Spectatorship in the field of vision)
พื้นที่การสำรวจที่มีอยู่นี้ เป็นขอบเขตความรู้เกี่ยวกับภาพทางสายตา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กว้างกว่าอาณาบริเวณของการไหลเวียนของภาพ หรือคำถามต่างๆเกี่ยวกับธรรมชาติของการเป็นตัวแทน. พื้นที่อันนี้ หรือขอบเขตความรู้ภาพทางสายตา เริ่มต้นด้วยพื้นที่ที่กว้างใหญ่เหนือการกำหนดของอันใดอันหนึ่ง

ในโลกตะวันตกได้แบกรับภาระอันหนักอึ้งเกี่ยวกับวาทกรรมทางปรัชญาและวิทยาศาสตร์หลังยุคสว่าง(post-Enlightenment) ในเรื่องความเป็นศูนย์กลางของภาพทางสายตาเอาไว้ และมันได้มากำหนดตัดสินเชิงประสบการณ์เกี่ยวกับโลกในฐานะสิ่งที่สามารถรับรู้ได้

ในการวิเคราะห์นี้ เราค้นพบคำอรรถาธิบายที่น่าจับใจ ในฐานะที่เป็นเครื่องมืออันหนึ่งของการค้นคว้า, สืบสวน, การพิสูจน์ความจริง, การตรวจตรา และการรับรู้ ซึ่งได้มารับใช้เพื่อธำรงขนบประเพณีของความเป็นวิทยาศาสตร์ของตะวันตกหลังยุคสว่าง และเทคโนโลยีต่างๆสมัยใหม่ในช่วงต้นๆเอาไว้

ข้อจำกัดทั้งหลายทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับขอบเขตความรู้ภาพทางสายตาถือเป็นศูนย์กลางต่อโครงการยุคสว่างของตะวันตกอย่างต่อเนื่อง (อย่างเช่น หนังสือที่ให้ความรู้ข้อมูลเมื่อเร็วๆนี้และมีความพิเศษทางวิชาการของ Martin Jay เมื่อไม่นานที่ผ่านมาในเรื่อง Downcast Eyes - ดวงตาที่หดหู่) นั่นคือ มันได้มีการยกเลิกเพิกถอนเกี่ยวกับพลวัตทางการเมือง หรือแบบจำลองต่างๆเกี่ยวกับความเป็นอัตวิสัยทิ้งไป

มันกลายเป็นขอบเขตความรู้ที่เป็นกลางอันหนึ่ง ซึ่งสายตาที่เป็นภววิสัยบางสายตา ได้รับการแปรเปลี่ยนหรือจัดการอย่างเหมาะสมโดยผู้ดูที่ไม่มีฐานะของความเป็นคนหนึ่ง. ด้วยเหตุนี้ การมองซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกลงโทษ และต่อมาได้รับการทำให้ถูกต้องโดยกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ หรือการควบคุมทางกฎหมาย ซึ่งอ้างความจำเป็นของมันผ่านการสถาปนาในเรื่องของความสุภาพ ผ่านรากเหง้าที่พ้นไปจากความเป็นอาชญากร มาถึงตอนนี้ สามารถถูกทำความเข้าใจได้โดยผ่านคำถามต่างๆเกี่ยวกับว่า ใครได้รับการยินยอมให้มอง และมีวัตถุประสงค์อะไร และวาทกรรมของรัฐและทางวิชาการใดที่มันได้รับการทำให้ถูกต้อง?

งานเขียนจำนวนมากเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับ"ภาพทางสายตา"(vision) ดังที่ปรากฎตัวออกมาในวาทกรรมการเรียนรู้มากมายเป็นไปในลักษณะตรงข้ามกันเลยกับสิ่งที่"วัฒนธรรมทางสายตา"เริ่มต้นขึ้นมา. มันเป็นการผลิตซ้ำงานเขียนขนาดใหญ่และมีลักษณะจารีตเกี่ยวกับความรู้ ซึ่งได้บอกกับเราว่า นักปรัชญาและนักคิดที่ยิ่งใหญ่แต่ละคนมองแนวความคิดเกี่ยวกับภาพทางสายตากันอย่างไรในกระบวนทัศน์ทางปรัชญาที่ปราศจากการโต้เถียง และในกระบวนทัศน์อื่นๆ

ที่น่าอับอายหรือน่าอัปยศที่สุดคือ ทฤษฎีต่างๆของเฟมินิสท์ อย่างเช่นของ Luce Irigaray (ในงานเขียนของพวกเธอ ได้ปลดเปลื้องหรือลบล้างดินแดนเกี่ยวกับความรู้ที่มีลำดับชั้นสูงต่ำและเป็นเส้นตรงทิ้งไป) โดยได้มีการเขียนในแนวทางนี้ในรูปแบบที่เข้าใจผิดบางอย่างเกี่ยวกับการสรรเสริญต่อลัทธิเฟมินิสม์ โดยผ่านการเหมารวมหรือรวบยอดอยู่ในบันทึทุกลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับความคิดของโลกตะวันตก

ในทางที่ขัดแย้งกัน วงสนทนาที่มีลักษณะคู่ขนานอันหนึ่งในเรื่องวัฒนธรรมทางสายตา เสี่ยงที่จะตั้งคำถามว่า เรือนร่างต่างๆของความรู้ได้ผลิตความนึกคิดเกี่ยวกับภาพทางสายตาขึ้นมาอย่างไร ในการรับใช้เกี่ยวกับการเมืองและอุดมคติที่เฉพาะอันหนึ่ง และสร้างมันด้วยภาพต่างๆที่เลือกสรรขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งมองผ่านเครื่องมือที่เจาะจงบางอย่าง และรับใช้ความต้องการต่างๆของลักษณะอัตวิสัยที่แตกต่าง

การสนทนาเกี่ยวกับความเป็นผู้ดูในเรื่องความแตกต่างทางเพศและวัฒนธรรม เริ่มต้นขึ้นในทฤษฎีภาพยนตร์เฟมินิสท์ และได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยคำอธิบายต่างๆในเชิงวิพากษ์ของพวกชนกลุ่มน้อยและวัฒนธรรมที่ไม่ใช่กระแสหลักซึ่งปรากฏตัวขึ้นมา และตัวมันเองได้เอาใจใส่โดยการเพ่งมองลงไปที่ความปรารถนาที่ได้แบ่งแยกความเป็นผู้ดู ไปสู่พื้นที่เกี่ยวกับเรื่องราวของความปรารถนาและวัตถุของความปรารถนา

ปัจจุบัน การแบ่งแยกเป็นคู่นี้ ได้รับการบรรเทาเบาบางลงมามากขึ้น โดยการเลื่อนไหลกันไปมาระหว่างพรมแดนที่ถูกกัดเซาะของความเป็นเรื่องที่ผูกขาด หรือความเป็นอัตวิสัย. ณ ปัจจุบัน พวกเราได้มาถึงความเข้าใจอันหนึ่งที่อัตลักษณ์ทางเชื้อชาติ และเรื่องเพศ ซึ่งแต่เดิมในขอบเขตความรู้ของภาพทางสายตาได้รับการสร้างตัวขึ้นมา โดยผ่านกระบวนการเกี่ยวกับความแตกต่างกันในเชิงลบ(negative differentiation): อย่างเช่น

ความเป็นคนขาวต้องการให้ความเป็นคนดำสร้างตัวของมันเองขึ้นมาในฐานะของความเป็นคนขาว; ความเป็นชายต้องการให้ความเป็นหญิง (หรือความเป็นชายที่เป็นหญิง) สร้างความเป็นชายในตัวมันขึ้นมา โดยการยอมรับแบบจำลองมาตรฐานต่างๆ(normative modes); ความนับถือในมารยาท ความสุภาพ และความเป็นชนชั้นกลาง ต้องการให้คนอื่นที่แข็งขืน ซึ่งมีทันคติที่ต่างออกไป - เช่น ความเป็นชนกลุ่มน้อยทางวัฒนธรรม หรือ บรรทัดฐานที่เป็นมายาภาพที่ถูกวางตำแหน่งภายนอกใดๆ - ได้สร้างพฤติกรรมให้เป็นที่ยอมรับขึ้นมาเหมือนกับชนชั้นกลาง

แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลาเดียวกันเราเข้าใจว่า ทั้งหมดเหล่านี้มันได้ถูกก่อตัวขึ้นมาหรือสร้างขึ้นมาทางสังคม, "เป็นการแสดง"(performative)มากกว่า"เป็นคุณสมบัติประจำตัว"(attributived) และด้วยเหตุนี้ มันจึงไม่มั่นคงมากนักโดยแก่นของมัน

ดังนั้น ขอบเขตความรู้ภาพทางสายตาจึงกลายเป็นพื้นฐานอันหนึ่งสำหรับความขัดแย้ง ซึ่งบรรทัดฐานหรือมาตรฐานที่ไม่มีเสถียรภาพ พยายามอยู่เสมอและเร่าร้อนที่จะค้ำยันตัวมันเองขึ้น

ความเป็นผู้ดูในฐานะขอบเขตความรู้เกี่ยวกับการค้นคว้าสืบสวนเข้าใจว่า สิ่งที่สายตาเห็นอย่างมีความหมาย มันได้ถูกบงการโดยความเชื่อแท้ๆและความปรารถนาต่างๆชุดหนึ่ง และโดยภาษาที่มีระหัสหรือกฎเกณฑ์ชุดหนึ่ง และเครื่องมือต่างๆทั่วๆไป

ท้ายที่สุด ขอบเขตความรู้เกี่ยวกับภาพทางสายตาได้รับการสนับสนุนค้ำจุนโดยผ่านมายาการอันหนึ่งของพื้นที่ที่เปิดเผย. อันนี้คือมายาภาพของความโปร่งใส ซึ่งถูกอ้างในข้อความของ Newt Gingrich ซึ่งบทความชิ้นนี้ได้จั่วหัวมาตั้งแต่เริ่มต้นว่า "เมื่อผมเงยหน้าขึ้นมา ทันใดนั้นผมก็ได้เห็นอเมริกา". ในฉากนี้ เขามีความสามารถในการมอง

อเมริกา - ในเอกภาพที่ทึกทักเอาเองทั้งหมดของมัน และความเป็นเนื้อเดียวกัน - อยู่ที่นั่น เท่าที่มีในคลองสายตาของเขา; มันสามารถที่จะได้รับการมองดูโดยเขา และพื้นที่ระหว่างสิ่งเหล่านั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงโดยเปิดเผยอันหนึ่ง ซึ่งไม่มีความคลุมเครือที่มาเป็นอุปสรรค ความตรงไปตรงมาและความชัดเจนของคลองสายตาของเขา

ในทางการเมืองและในทางปรัชญา เงื่อนไขหรือสภาพการณ์เช่นนี้ได้รับการสร้างขึ้นมาเป็นทฤษฎีได้ดีมากโดย Henri Lefebvre ใน The production of Space(1991) เมื่อเขากล่าวว่า:

…พื้นที่ตรงนี้ปรากฏตัวส่องสว่างขึ้นมา เป็นที่เข้าใจได้ และปลดปล่อยการกระทำอันนั้นออกจากบังเหียนการควบคุม. สิ่งที่บังเกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ได้ให้คุณภาพอันน่าอัศจรรย์อันหนึ่งทางความคิด ซึ่งกลายมาเป็นสิ่งที่เป็นตัวตนขึ้นมาโดยอาศัยการออกแบบอันหนึ่ง

การออกแบบมารับใช้ในฐานะที่เป็นตัวไกล่เกลี่ยหรือปรองดองอันหนึ่ง - ความซื่อสัตย์ จงรักภักดีที่ยิ่งใหญ่ของตัวมันเอง - ระหว่างกิจกรรมทางปัญญา(การประดิษฐ์) กับ กิจกรรมทางสังคม(การทำให้เป็นจริง); และมันได้รับการปรับใช้หรือจัดการให้เหมาะสมในพื้นที่

มายาภาพดังกล่าวเกี่ยวกับการเปิดเผย โปร่งใส ได้คล้องแขนไปด้วยกันกับการมองดูพื้นที่นั้นอย่างไร้เดียงสา ในฐานะที่เป็นอิสระจากกับดักหรือหลุมพรางใดๆ หรือสถานที่ที่เป็นความลับ

สิ่งใดก็ตามที่ซ่อนเร้นหรืออำพราง - และเป็นอันตราย - ถือเป็นสิ่งซึ่งเป็นศัตรูกับความโปร่งใสเปิดเผย. ภายใต้อิทธิพลของความโปร่งใส ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถได้รับการยอมรับได้โดยการเหลือบมองเพียงครั้งเดียวจากสายตาที่มีสติปัญญา ซึ่งได้ให้ความสว่างต่ออะไรก็ตามที่มันใคร่ครวญ…

ในบางขอบเขต โครงการเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตาได้พยายามที่จะ และสร้างใหม่เกี่ยวกับอุปสรรคทั้งมวล และภาพที่ไม่เป็นที่รู้จักทั้งหมด ซึ่งมายาการเกี่ยวกับความโปร่งใสได้ถอดสลักมันออกมา. พื้นที่ ดังที่เราเข้าใจ มักจะถูกทำให้แตกต่าง: มันมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเพศและเชื้อชาติ; มันมักจะได้รับการก่อตัวขึ้นภายนอกสิ่งที่สำคัญที่แพร่กระจายอยู่; และมันมักจะอยู่ในเส้นเขตแดนที่ไม่ปรากฎ ที่กำหนดสิ่งที่รวมอยู่ในและนอกเส้นเขตแดนนั้น. สิ่งที่สำคัญสุดก็คือ มันมักจะได้รับการสร้างขึ้นมาโดยอุปสรรคต่างๆอันไม่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งไม่เคยยอมให้เราได้เห็นมันจริงๆว่า อะไรอยู่ข้างนอกนั่น ซึ่งพ้นไปจากสิ่งที่เราคาดหวังว่าจะพบ

เพื่อตั้งรกรากให้กับพื้นที่นี้กันใหม่ ดังที่เราเรียนรู้เพื่อยอมรับพวกมันและระบุถึงมัน จะต้องเข้าใจว่า มันยากเย็นเพียงใดกับการที่เราพยายามที่จะมอง และมันมีความสลับซับซ้อนอย่างไรสำหรับภารกิจเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม : ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 (ครบรอบ 3 ปี)
release date
070846

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 295 หัวเรื่อง
การศึกษาเรื่องวัฒนธรรมทางสายตา
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

ภาพประกอบดัดแปลง เพื่อใช้ประกอบบทความฟรี ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เรื่อง Studying Visual culture เขียนโดย Irit Rogoff (หากนักศึกษาประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลงจะแก้ปัญหาได้)
ความเป็นคนขาวต้องการให้ความเป็นคนดำสร้างตัวของมันเองขึ้นมาในฐานะของความเป็นคนขาว; ความเป็นชายต้องการให้ความเป็นหญิง (หรือความเป็นชายที่เป็นหญิง) สร้างความเป็นชายในตัวมันขึ้นมา โดยการยอมรับแบบจำลองมาตรฐานต่างๆ(normative modes); ความนับถือในมารยาท ความสุภาพ และความเป็นชนชั้นกลาง ต้องการให้คนอื่นที่แข็งขืน ซึ่งมีทันคติที่ต่างออกไป - เช่น ความเป็นชนกลุ่มน้อยทางวัฒนธรรม หรือ บรรทัดฐานที่เป็นมายาภาพที่ถูกวางตำแหน่งภายนอกใดๆ - ได้สร้างพฤติกรรมให้เป็นที่ยอมรับขึ้นมา เหมือนกับชนชั้นกลาง (ข้อความตัดมาบางส่วนจากบทความ)
R
relate

ความหมายของโลกในทุกวันนี้ นอกเหนือจากความหมายของโลกที่แพร่กระจายไปในทิศทางของคำพูดและภาษาตัวหนังสือแล้ว มันได้แพร่กระจายไปในทิศทางของภาพทางสายตาด้วย. ภาพต่างๆทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูล สามารถสร้างความพึงพอใจและความไม่พอใจขึ้นมาได้ นอกจากนี้มันยังมีอิทธิพลต่อสไตล์ การกำหนดการบริโภค และเป็นสื่อกลางความสัมพันธ์เชิงอำนาจต่างๆ

เราอาจตั้งคำถามกว้างๆขึ้นมาถึงผลของภาพทางสายตาในทุกวันนี้ได้ เช่น - ใครคือคนที่เราพบเห็น และใครคือคนที่เราไม่เคยพานพบมาก่อน? - ใครคือผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษหรือข้อได้เปรียบภายในระบบภาพเงาอันนี้? - ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แง่มุมแบบไหนของภาพที่เป็นตัวแทนภาพทางสายตาได้แพร่กระจายอยู่ และแง่มมุมใดบ้าง ที่มันได้หดหายไป? - ความคิดเพ้อฝันแบบไหนที่ถูกป้อนโดยภาพทางสายตา? เหล่านี้คือคำถามบางอย่าง ซึ่งเรายกขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องของภาพและการแพร่กระจายหรือการไหลเวียนของสิ่งที่ปรากฎกับตารอบๆตัวเรา

"Studying Visual culture" by Irit Rogoff : The Visual Culture Reader - by Routledge 1998-1999
บทความทางวิชาการนี้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ ประโยชน์ทางวิชาการ