H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย :

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 316 หัวเรื่อง
The United States and Middle East:
By Stephen R. Shalom
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)

(บทความนี้ยาวประมาณ 8 หน้า)
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาแจ้งให้ทราบที่
midnightuniv(at)yahoo.com

121046
release date
R
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
Wisdom is the ability to use your experience and knowledge to make sensible decision and judgements
ภาพประกอบดัดแปลง เพื่อใช้ประกอบบทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นโยบายและปฏิบัติการต่างๆของสหรัฐอเมริกาในตะวันออกกลางมากว่ากึ่งศตวรรษ ได้สร้างความไม่พอใจต่างๆขึ้นมา ความไม่พอใจเหล่านี้ มันได้ไปกระตุ้นคนเหล่านั้นที่ได้โจมตีอย่างน่ากลัวและไม่ถูกต้องในวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือไม่, จริงๆแล้ว อันนี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจรู้ได้. แต่ความไม่พอใจดังกล่าว แน่นอน ได้ช่วยสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ไปช่วยแพร่ขยายลัทธิการก่อการร้ายที่ต่อต้านอเมริกันขึ้นมา(The United States and Middle East: สหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง Why Do "They" Hate Us? (revised, 12 Dec. 2001) By Stephen R. Shalom )
1980-88: สงครามระหว่างอิรักและอิหร่าน. เมื่ออิรักบุกเข้าไปในอิหร่าน สหรัฐฯคัดค้านและไม่เห็นด้วยต่อการกระทำใดๆของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะประณามการรุกรานครั้งนี้. ในไม่ช้า สหรัฐฯก็ได้ถอนรายชื่อของอิรักออกจากรายชื่อประเทศต่างๆที่ใหการสนับสนุนต่อลัทธิการก่อการร้ายของตน และยินยอมให้อาวุธยุทธภัณฑ์ของสหรัฐถูกเคลื่อนย้ายไปสู่อิรัก. ในเวลาเดียวกัน สหรัฐก็ยอมให้อิสราเอลจัดหาอาวุธต่างๆให้กับอิหร่าน และในปี 1985 สหรัฐอเมริกาได้จัดหาอาวุธให้กับอิหร่านโดยตรง(แม้ว่าจะกระทำไปอย่างเป็นความลับ).
สหรัฐฯจัดหาข้อมูลทางทหารของฝ่ายศัตรูให้กับอิรัก. อิรักได้ใช้อาวุธเคมีต่างๆในปี ค.ศ.1984; สหรัฐฯฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการฑูตกับอิรัก. ในปี 1987 สหรัฐอเมริกาได้ส่งนาวิกโยธินของตนเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย และอยู่ฝ่ายของอิรัก; ความก้าวร้าวรุนแรงครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ เรือรบสหรัฐฯได้ยิงสายการบินพลเรือนของอิหร่านตก ซึ่งครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 290 คน
(ข้อความตัดมาบางส่วนจากบทความ)

The United States and Middle East
สหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง

Why Do "They" Hate Us?
By Stephen R. Shalom
(revised, 12 Dec. 2001- ปรับปรุงใหม่ วันที่ 12 ธันวาคม 2001)

ทำไมพวกเขาจึงเกลียดเรา?
แปลและเรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม
http://www.zmag.org/shalomhate.htm

รายการที่ระบุปีข้างล่างนี้ เป็นการนำเสนอเหตุการณ์เฉพาะบางอย่างเกี่ยวกับนโยบายสหรัฐอเมริกาในตะวันออกกลาง. รายการที่ระบุปีดังกล่าว ได้พยายามลดความไม่พอใจที่มีต่อสหรัฐฯในภูมิภาคนี้ลงให้มากที่สุด เพราะได้มีการกันเอานโยบายต่างๆในระยะยาวที่มีลักษณะคลุมๆออกไป อย่างเช่น การที่สหรัฐฯได้หนุนหลังระบอบอำนาจเผด็จการต่างๆ (เช่น การติดอาวุธให้ซาอุดิ อาราเบีย, การฝึกฝนตำรวจลับในอิหร่านภายใต้การปกครองของชาห์, จัดหาอาวุธต่างๆและให้ความช่วยเหลือตุรกีโจมตีหมู่บ้านต่างๆของเคอร์ดิชอย่างไร้ความปรานี เป็นต้น). นอกจากนี้ รายการที่ระบุปีข้างล่างยังแยกการปฏิบัติการต่างๆของอิสราเอล ซึ่งสหรัฐได้ถูกนำเข้าไปเกี่ยวพันโดยทางอ้อมออกไปด้วย เนื่องจากกำลังทหาร, การหนุนหลังทางการฑูต และเศรษฐกิจที่ให้กับอิสราเอล

ความไม่พอใจเหล่านี้ มันได้ไปกระตุ้นคนเหล่านั้นที่ได้โจมตีอย่างน่ากลัวและไม่ถูกต้องในวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือไม่, จริงๆแล้ว อันนี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจรู้ได้. แต่ความไม่พอใจดังกล่าว แน่นอน ได้ช่วยสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ไปช่วยแพร่ขยายลัทธิการก่อการร้ายที่ต่อต้านอเมริกันขึ้นมา

1947-48: สหรัฐอเมริกาให้การหนุนหลังแผนการแบ่งแยกปาเลสไตน์. อิสราเอลทำให้สหรัฐฯยินยอมที่จะไม่กดดันอิสราเอลให้ยอมรับปาเลสติเนียนที่ถูกขับไล่ออกไป ได้ห้หวนคืนกลับมา

1949: CIA ให้การหนุนหลังการรัฐประหารทางทหารเพื่อขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของซีเรียออกไป (Douglas Little, "Cold War and Covert Action: The United States and Syria, 1945-1958," Middle East Journal, vol. 44, no. 1, Winter 1990, pp. 55-57)

1953: CIA ช่วยโค่นล้มรัฐบาล Mossadeg ที่มาจากการเลือกตั้งโดยระบอบประชาธิปไตยในอิหร่าน (ซึ่งได้ทำให้บริษัทน้ำมันอังกฤษ(the British oil company)เป็นของชาติ) อันนี้ได้น้อมนำไปสู่การปกครองแบบเผด็จการและการกดขี่ยาวนานถึง 25 ปี(quarter century)โดยกษัตริย์ Shah, Mohammed Reza Pahlevi แห่งอิหร่าน

1956: สหรัฐฯได้ตัดเงินช่วยเหลือที่ให้สัญญาไว้แก่เขื่อน Aswan ของอิยิปต์ หลังจากที่อิยิปต์ได้รับอาวุธยุทธภัณฑ์จากกลุ่มสมาชิกตะวันออก

1956: อิสราเอล, อังกฤษ, และฝรั่งเศส รุกรานอิยิปต์. สหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้การสนับสนุนการรุกราน แต่ความเกี่ยวพันกับพันธมิตร NATO ได้ไปลดความมีชื่อเสียงของวอชิงตันลงอย่างรุนแรงในภูมิภาคแถบนี้

1958: ทหารสหรัฐได้ตั้งมั่นในเลบานอนเพื่อรักษา"ความมั่นคง"

1960s: ช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 สหรัฐฯ ประสบกับความล้มเหลวในการพยายามที่จะลอบฆ่าผู้นำอิรัก Abdul Karim Qassim (Thomas Powers, The Man Who Kept the Secrets: Richard Helms and the CIA, New York: Knopf, 1979, p. 130)

1963: สหรัฐฯให้การสนับสนุนพรรค Ba'ath ของอิรักในการทำรัฐประหาร (ในไม่ช้า ผู้ที่มารั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรคก็คือ Saddam Hussein) (Andrew Cockburn and Patrick Cockburn, Out of the Ashes: The Resurrection of Saddam Hussein, New York: Harperperennial. 1999, p. 74; Edith and E. F. Penrose, Iraq: International Relations and National Development, Boulder: Westview, 1978, p. 288; Hanna Batatu, The Old Social Classes and the Revolutionary Movements of Iraq, Princeton: Princeton UP, 1978, pp. 985-86)

1967-: สหรัฐได้กีดกันความพยายามทั้งหมดของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะบังคับใช้มติ 242(SC Resolution 242) ที่เรียกร้องให้อิสราเอลถอนตัวจากดินแดนที่ได้เข้าไปยึดครองในช่วงสงครามปี 1967

1970: เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นระหว่างจอร์แดนและองค์กร PLO(Palestine Liberation Organization). อิสราเอลและสหรัฐอเมริกาได้พูดคุยกันเพื่อเข้าแทรกแซงในฝ่ายของจอร์แดน ถ้าเผื่อว่าซีเรียให้การหนุนหลัง PLO

1972: สหรัฐฯได้กีดกันผู้นำอิยิปต์ ในความพยายามของประธานาธิบดี Anwar Sadat ที่จะบรรลุถึงข้อตกลงสันติภาพกับอิสราเอล

1973: มีการขนส่งกำลังทหารสหรัฐฯทางอากาศ เพื่อเข้าไปช่วยเหลืออิสราเอลให้สามารถพลิกผันวิกฤตการณ์กลับมา ในสงครามอิสราเอลกับซีเรียและอิยิปต์

1973-75: สหรัฐฯได้ให้การสนับสนุนชาวเคอร์ดิชก่อกบฎในอิรัก. เมื่ออิหร่านได้บรรลุข้อตกลงกับอิรักในปี ค.ศ.1975 และทำการปิดกั้นพรมแดน, อิรักได้เข่นฆ่าเคอร์ดอย่างทารุณ และสหรัฐฯปฏิเสธที่จะให้สถานที่หลบภัยให้กับบรรดาผู้หนีตายเหล่านี้. คิสซิงเจอร์อธิบายอย่างลับๆว่า "ปฏิบัติการในลักษณะที่แอบแฝงไม่ควรถูกปฏิเสธ โดยการทำงานของมิสชั่นนารี" (U.S. House of Representatives, Select Committee on Intelligence, 19 Jan. 1976 (Pike Report) in Village Voice, 16 Feb. 1976. The Pike Report attributes the quote only to a "senior official"; William Safire (Safire's Washington, New York: Times Books, 1980, p. 333) identifies the official as Kissinger)

1975: สหรัฐอเมริกาวีโต้หรือยับยั้งมติของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการประณามอิสราเอล ซึ่งโจมตีต่อค่ายผู้อพยพชาวปาเลสไตน์ในเลบานอน (UN Doc. # S/11898, session # 1862. For a full list of U.S. vetoes in the Security Council on Middle East issues, along with full text of the draft resolutions, see the compilation by David Paul at http://www.salam.org/policy/veto.html)

1978-79: ชาวอิหร่านเริ่มเดินขบวนประท้วงพระเจ้าชาห์. สหรัฐฯบอกกับชาห์ว่า ตนให้การสนับสนุนชาห์"โดยไม่มีเงื่อนไข" และกระตุ้นผลักดันชาห์กระทำการอย่างเด็ดเดี่ยว. จนกระทั่งนาทีสุดท้าย สหรัฐฯพยายามที่จะให้มีการรัฐประหารโดยกำลังทหาร ทั้งนี้เพื่อปกป้องชาห์เอาไว้ แต่ไม่มีประโยชน์ใดๆ (Zbigniew Brzezinski, Power and Principle: Memoirs of the National Security Adviser, 1977-1981 (New York: Farrar Straus Giroux, 1983), pp. 364-64, 375, 378-79; Gary Sick, All Fall Down: America's Tragic Encounter with Iran (New York: Penguin, 1986), pp. 147-48, 167, 179)

1979-88: สหรัฐอเมริกาเริ่มให้ความช่วยเหลืออย่างลับๆ แก่"ขบวนการมูจาฮีดีน"(Mujahideen)ในอัฟกานิสถาน 6 เดือน ก่อนการรุกรานของรัสเซียในเดือนธันวาคม ค.ศ.1979. จนถึงทศวรรษต่อมา สหรัฐฯได้เป็นธุระจัดหาและฝึกฝนทางด้านอาวุธให้กับขบวนการนี้ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือในวงเงินมากกว่า 3 พันล้านเหรียญ (Interview with Zbigniew Brzezinski, Le Nouvel Observateur (France), Jan 15-21, 1998, p. 76)

1980-88: สงครามระหว่างอิรักและอิหร่าน. เมื่ออิรักบุกเข้าไปในอิหร่าน สหรัฐฯคัดค้านและไม่เห็นด้วยต่อการกระทำใดๆของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะประณามการรุกรานครั้งนี้. ในไม่ช้า สหรัฐฯก็ได้ถอนรายชื่อของอิรักออกจากรายชื่อประเทศต่างๆที่ใหการสนับสนุนต่อลัทธิการก่อการร้ายของตน และยินยอมให้อาวุธยุทธภัณฑ์ของสหรัฐถูกเคลื่อนย้ายไปสู่อิรัก. ในเวลาเดียวกัน สหรัฐก็ยอมให้อิสราเอลจัดหาอาวุธต่างๆให้กับอิหร่าน และในปี 1985 สหรัฐอเมริกาได้จัดหาอาวุธให้กับอิหร่านโดยตรง(แม้ว่าจะกระทำไปอย่างเป็นความลับ). สหรัฐฯจัดหาข้อมูลทางทหารของฝ่ายศัตรูให้กับอิรัก. อิรักได้ใช้อาวุธเคมีต่างๆในปี ค.ศ.1984; สหรัฐฯฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการฑูตกับอิรัก. ในปี 1987 สหรัฐอเมริกาได้ส่งนาวิกโยธินของตนเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย และอยู่ฝ่ายของอิรัก; ความก้าวร้าวรุนแรงครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ เรือรบสหรัฐฯได้ยิงสายการบินพลเรือนของอิหร่านตก ซึ่งครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 290 คน

1981, 1986: ทหารของสหรัฐฯได้ทำการซ้อมรบนอกชายฝั่งประเทศลิเบียในน่านน้ำต่างๆ อันนี้ได้รับการอ้างโดยลิเบีย ด้วยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนที่จะทำการยุแหย่กัดดาฟี(Qaddafi). ในปี 1981 เครื่องบินลำหนึ่งของลิเบียได้ยิงขีปนาวุธ และสหรัฐได้ยิงเครื่องบินของลิเบียตกไปสองลำ. ในปี 1986 ลิเบียได้ยิงขีปนาวุธหลายลูกลงไปยังพื้นที่ที่ห่างไกลจากเป้าหมายใดๆ และสหรัฐฯได้โจมตีเรือลาดตระเวณของลิเบียไปหลายลำ รวมทั้งกองบัญชาการชายฝั่ง การโจมตีครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 72 คน. เมื่อระเบิดลูกหนึ่งได้ระเบิดขึ้นในไนท์คลับแห่งหนึ่งในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งทำให้คนตายไป 3 คน สหรัฐฯได้กล่าวหาว่ากัดดาฟีอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ครั้งนี้(เป็นไปได้ว่าข้อมูลนี้เป็นความจริง) และได้ปฏิบัติการทิ้งระเบิดระลอกใหญ่ทันทีในประเทศลิเบีย ซึ่งได้ฆ่าพลเรือนไปหลายโหล รวมถึงลูกสาวบุญธรรมของกัดดาฟีด้วย (See the sources in Stephen R. Shalom, Imperial Alibis (Boston: South End Press, 1993, chapter 7)

1982: สหรัฐอเมริกาได้ให้ไฟเขียวกับอิสราเอลในการบุกเข้าไปในเลบานอน เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ชีวิตพลเรือนถูกสังเวยราว 17,000 คน. สหรัฐฯเลือกที่จะไม่ปลุกเอากฎหมายต่างๆขึ้นมา ในการห้ามอิสราเอลใช้อาวุธต่างๆของสหรัฐ เว้นแต่เพื่อป้องกันตนเอง. สหรัฐฯทำการวีโต้มติต่างๆของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการประณามการรุกรานครั้งนี้ (Robert Fisk, "The Awesome Cruelty of a Doomed Poeple," Independent, 12 Sept. 2001, p. 6. Fisk is one of the most knowledgeable Westerners reporting on Lebanon)

1983: กองกำลังทหารสหรัฐฯถูกส่งไปยังเลบานอน ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังรักษาสันติภาพนานาชาติ(a multinational peacekeeping force); ในการนี้ได้เข้าแทรกแซงอยู่ฝ่ายข้างหนึ่งของสงครามกลางเมือง, รวมถึงการทิ้งลูกระเบิดโดย USS New Jersey. กองกำลังทหารสหรัฐได้มีการถอนตัวภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ระเบิดพลีชีพในค่ายทหารต่างๆของนาวิกโยธิน

1984: สหรัฐฯให้การหนุนหลังกบฎต่างๆในอัฟกานิสถานที่ได้ยิงสายการบินพลเรือน (UPI, "Afghan Airliner Lands After Rebel Fire Hits It," NYT, 26 Sept. 1984, p. A9)

1987-92: อาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆของสหรัฐฯถูกใช้โดยอิสราเอลในการปราบปรามขบวนการอินติฟาดา(Intifada)ของปาเลสติเนียนครั้งแรก. สหรัฐฯวีโต้มติของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาติในการประณามการปราบปรามและบดขยี้ของอิสราเอล

1988: Saddam Hussein ได้คร่าชีวิตประชากรเคอร์ดิชของตนหลายพันคนลง และมีการใช้อาวุธเคมีต่างๆกับผู้คนเหล่านี้ ในขณะที่สหรัฐอเมริกาได้เพิ่มเติมความผูกพันทางเศรษฐกิจมากขึ้นกับอิรัก

1988: สหรัฐฯวีโต้มติของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 3 ฉบับ เกี่ยวกับการประณามการที่อิสราเอลได้เข้าครอบครองและปราบปรามผู้คนในเลบานอน

1990-91: สหรัฐฯปฏิเสธการแก้ปัญหาใดๆทางการฑูตเกี่ยวกับการรุกรานของอิรักเข้าไปในคูเวต (ยกตัวอย่างเช่น การบอกปัดความพยายามใดๆที่จะเชื่อมโยงการครอบครองในภูมิภาคทั้งสอง เกี่ยวกับคูเวตและเกี่ยวกับปาเลสไตน์). สหรัฐฯเป็นผู้นำเกี่ยวกับความร่วมมือนานาชาติในการทำสงครามกับอิรัก. โครงสร้างพื้นฐานทางพลเรือนคือเป้าหมาย. ( See, for example, Barton Gellman, "Allied Air War Struck Broadly in Iraq; Officials Acknowledge Strategy Went Beyond Purely Military Targets," Washington Post, 23 June 1991, p. A1. See also Thomas J. Nagy, "The Secret Behind the Sanctions," Progressive, Sept. 2001). เพื่อส่งเสริม"ความมั่นคงและมีเสถียรภาพ" สหรัฐฯปฏิเสธการช่วยเหลือการจลาจลต่างๆหลังสงครามโดยชาวมุสลิมชีอะ(Shiites)ทางตอนใต้ และเคอร์ดทางตอนเหนือ ปฏิเสธการกบฎต่างๆที่เข้าไปยึดอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆของอิรัก และปฏิเสธที่จะห้ามปรามเฮลิคอปเตอร์ของอิรักขึ้นบิน

1991-: การแซงชั่นหรือการลงโทษทางเศรษฐกิจในลักษณะล้างผลาญได้ถูกกำหนดต่ออิรัก. สหรัฐฯและอังกฤษได้กีดกันความพยายามทั้งหมดที่จะเพิกถอนเรื่องนี้แก่พวกเขา. มีผู้คนล้มตายนับแสนคน. แม้ว่าสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะแถลงว่า การแซงชั่นต่างๆดังกล่าวได้ไปช่วยสนับสนุนโครงการต่างๆของประธานาธิบดี Saddam Hussein เกี่ยวกับการพัฒนาอาวุธทำลายล้างสูงให้สิ้นสุดลงก็ตาม, แต่วอชิงตันรู้ดีว่า การลงโทษทางเศรษฐกิจนั้นจะยังคงทำให้ประธานาธิบดีซัดดัมคงอยู่ในอำนาจอีกนานเท่านาน. โดยข้อเท็จจริง การแซงชั่นต่างๆ ทำให้ฐานะตำแหน่งของซัดดัมเข้มแข็งขึ้น. ข้อซักถามเกี่ยวกับผลที่ตามมา ซึ่งมีผลต่อประชาชนอย่างน่ากลัวเกี่ยวกับการลงโทษทางเศรษฐกิจอันนี้ นางแมดเดอลิน อัลไบร์ท(Madeleine Albright) ฑูตของสหรัฐประจำองค์การสหประชาชาติและต่อมาภายหลังเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ)ประกาศว่า "สิ่งที่ทำลงไปนั้น คุ้มกับราคาแล้ว" (Cockburn and Cockburn, Out of the Ashes: The Resurrection of Saddam Hussein, chap. 5. Albright quote is from CBS News, 60 Minutes, 12 May 1996)

1991-: กองกำลังของสหรัฐฯได้ตั้งฐานอย่างถาวรในซาอุดิ อาราเบีย

1993-: สหรัฐฯได้ยิงขีปนาวุธโจมตีอิรัก, โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการป้องกันตนเองต่อข้ออ้างที่ว่ามีความพยายามลอบสังหารประธานาธิบดีบุชผู้พ่อก่อนหน้านั้นสองเดือน (On the dubious nature of the evidence, see Seymour Hersh, New Yorker, Nov. 1, 1993)

1998: สหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ทิ้งระเบิดใส่อิรัก บนประเด็นเกี่ยวกับการตรวจสอบเรื่องอาวุธ ถึงแม้ว่าสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพิ่งจะมีการพบปะเพื่อเจรจากันเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ตาม

1998: สหรัฐฯได้ทำลายโรงงานทางด้านเภสัชกรรมประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศซูดาน โดยข้ออ้างที่ว่าเพื่อเป็นการตอบโต้สำหรับการโจมตีสถานฑูตต่างๆของสหรัฐฯในแทนซาเนียและเคนย่า และโรงงานเหล่านั้นได้ถูกนำไปพัวพันกับสงครามเคมี. พยานหลักฐานสำหรับสงครามเคมีได้เป็นเงื่อนไขที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง (See Seymour Hersh, New Yorker, Oct. 12, 1998)

2000-: อิสราเอลได้ใช้อาวุธต่างๆของสหรัฐฯในการพยายามที่จะบดขยี้การกบฎของปาเลสติเนียน ในการนี้ได้ฆ่าพลเรือนไปนับร้อย

Notes

1. Douglas Little, "Cold War and Covert Action: The United States and Syria, 1945-1958," Middle East Journal, vol. 44, no. 1, Winter 1990, pp. 55-57.

2. Thomas Powers, The Man Who Kept the Secrets: Richard Helms and the CIA, New York: Knopf, 1979, p. 130.

3. Andrew Cockburn and Patrick Cockburn, Out of the Ashes: The Resurrection of Saddam Hussein, New York: Harperperennial. 1999, p. 74; Edith and E. F. Penrose, Iraq: International Relations and National Development, Boulder: Westview, 1978, p. 288; Hanna Batatu, The Old Social Classes and the Revolutionary Movements of Iraq, Princeton: Princeton UP, 1978, pp. 985-86.

4. U.S. House of Representatives, Select Committee on Intelligence, 19 Jan. 1976 (Pike Report) in Village Voice, 16 Feb. 1976. The Pike Report attributes the quote only to a "senior official"; William Safire (Safire's Washington, New York: Times Books, 1980, p. 333) identifies the official as Kissinger.

5. UN Doc. # S/11898, session # 1862. For a full list of U.S. vetoes in the Security Council on Middle East issues, along with full text of the draft resolutions, see the compilation by David Paul at http://www.salam.org/policy/veto.html.

6. Zbigniew Brzezinski, Power and Principle: Memoirs of the National Security Adviser, 1977-1981 (New York: Farrar Straus Giroux, 1983), pp. 364-64, 375, 378-79; Gary Sick, All Fall Down: America's Tragic Encounter with Iran (New York: Penguin, 1986), pp. 147-48, 167, 179.

7. Interview with Zbigniew Brzezinski, Le Nouvel Observateur (France), Jan 15-21, 1998, p. 76.

8. See the sources in Stephen R. Shalom, Imperial Alibis (Boston: South End Press, 1993, chapter 7.

9. Ze'ev Schiff, "Green Light, Lebanon," Foreign Policy, Spring 1983.

10. Robert Fisk, "The Awesome Cruelty of a Doomed Poeple," Independent, 12 Sept. 2001, p. 6. Fisk is one of the most knowledgeable Westerners reporting on Lebanon.

11. UPI, "Afghan Airliner Lands After Rebel Fire Hits It," NYT, 26 Sept. 1984, p. A9.

12. See, for example, Barton Gellman, "Allied Air War Struck Broadly in Iraq; Officials Acknowledge Strategy Went Beyond Purely Military Targets," Washington Post, 23 June 1991, p. A1. See also Thomas J. Nagy, "The Secret Behind the Sanctions," Progressive, Sept. 2001.

13. Cockburn and Cockburn, Out of the Ashes: The Resurrection of Saddam Hussein, chap. 1.

14. Cockburn and Cockburn, Out of the Ashes: The Resurrection of Saddam Hussein, chap. 5. Albright quote is from CBS News, 60 Minutes, 12 May 1996.

15. On the dubious nature of the evidence, see Seymour Hersh, New Yorker, Nov. 1, 1993.

16. See Seymour Hersh, New Yorker, Oct. 12, 1998.

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)