มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
ปรัชญาของโสกราตีส The
Philosophy
of Socrates ต้นฉบับของบทความชิ้นนี้
ในภาษาอังกฤษ หาอ่านได้ที่ http://radical academy.com/ philsocrates.htm
เช่นดั่งในกรณีปัญหาเกี่ยวกับความรู้ โดยการปกปักษ์รักษาแนวคิดแบบสัมพัทธนิยม พวกเขาพากันยุติความขี้สงสัย รวมไปถึงข้อกังขาเกี่ยวกับปัญหาหรือคำถามที่มีต่อศีลธรรมด้วย และด้วยการมีอคติเกี่ยวกับเรื่องของอัตวิสัย(subjective) พวกเขาได้ยุติแนวคิดอรรถประโยชน์นิยม(utilitarianism - การถือเอาประโยชน์เป็นสำคัญ)และสุขนิยม(hedonism)ลงด้วย ทั้งนี้เพราะ นั่นคือสิ่งที่ดีซึ่งสนองความพึงพอใจระดับสัญชาตญานและกิเลสของคน
ความเชื่อในหลักการต่างๆอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับจริยาศาสตร์ ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นมาในหมู่ชนชาวกรีกนั้น บรรดาพวกโซฟิสท์ทั้งหลายถือว่าเป็นอคติอย่างหนึ่ง และบ่อยครั้งเป็นการขัดขวางหน่วงเหนี่ยวชีวิตด้วย ซึ่งมันเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องขจัดออกไป
บรรดาโซฟิสท์ทั้งหลายยังเห็นว่า "ความดี" เช่นที่แสดงให้เห็นผ่านประสบการณ์ เกิดจากความมั่นคงของตนเองที่ได้มีการสั่งสม เป็นเจ้าของในเชิงปริมาณมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่ต้องพิจารณาถึงเรื่องวิธีการที่นำมาใช้เพื่อให้ได้สิ่งเหล่านั้นมา สำหรับความดีเหล่านี้สามารถให้ความพอใจกับสัญชาตญานต่างๆและกิเลสตัณหา ซึ่งเป็นอย่างเดียวกับความสุข
ความพยายามหรือมุ่งมั่นเพื่อที่จะเพิ่มความเข้มแข็งแก่บุคลิกภาพของคนๆหนึ่งให้มากขึ้น เพื่อที่จะไปพ้นหรืออยู่เหนือคนอื่นๆในเรื่องของความรุนแรง, และในการแข่งขันหรือต่อสู้ดิ้นรนสำหรับความดีแบบทางโลก - อันนี้คืออุดมคติทางศีลธรรมของพวกโซฟิสท์
บรรดาพวกโซฟิสท์ทั้งหลายยังโจมตีความเชื่อตามจารีตเกี่ยวกับ"สิทธิอันชอบธรรม"อย่างรุนแรงด้วย - ซึ่งเป็นสิ่งที่สืบทอดมาจากหลักการต่างๆที่ตั้งอยู่บนฐานของ"ความยุติธรรม" - และพวกเขาได้ทดแทนแนวคิดดังกล่าวด้วย"อำนาจ"สำหรับความยุติธรรมอันนั้น
จากช่วงขณะของการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมของผู้คนในพลังประชาธิปไตย ได้เริ่มก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายขึ้นเป็นจำนวนมาก บรรดาโซฟิสท์ได้ประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งไม่เพียงทำให้"สิทธิอันชอบธรรม"ทางการเมืองและ"ความถูกต้องชอบธรรมอื่นๆ"ขาดความน่าเชื่อถือลงไปเท่านั้น แต่ยังทำให้"สิทธิโดยธรรมชาติ"ได้ประโยชน์ด้วย
พวกโซฟิสท์ปกป้อง"สิทธิตามธรรมชาติ" แต่สิทธิตามธรรมชาติอันนี้ พวกเขาไม่ได้หมายถึงส่วนที่เป็นเรื่องของ"เหตุผล"ของมนุษย์ อันที่จริงแล้วพวกเขาหมายถึง"สัญชาตญาน"และ"กิเลสตัณหา"ของคน. ด้วยเหตุดังนั้นสำหรับพวกเขา "สิทธิ"คือสิ่งซึ่งที่ได้มาโดยการเรียกร้องตัวมันเองโดยผ่านการใช้อำนาจ หรือการบังคับเอาโดยได้รับการสถาปนาขึ้นมาจากอำนาจบังคับและความรุนแรง
มนุษย์โดยธรรมชาติแล้วไม่เท่าเทียมกัน มันมีทั้งคนที่เข้มแข็งและคนที่อ่อนแอ และสิทธิชั่วคราว(the moment right)เกิดจากอำนาจ มันกลายเป็นภาระหน้าที่ของผู้ที่เข้มแข็งกว่าที่เป็นคนออกคำสั่งและสร้างกฎหมายขึ้นมา; และผู้ที่อ่อนแอจะต้องเชื่อฟัง
Thrasymachus โซฟิสท์คนหนึ่ง,
ในหนังสือเล่มที่หนึ่งของ Republic ของเพลโต ยึดมั่นใน"กฎธรรมชาติคือสิทธิอันชอบธรรมของผู้ที่เข้มแข็งกว่า".
คนที่เข้มแข็งนั้น ดูถูกกฎหมายทั้งหมดที่ได้รับการเสนอขึ้นมาโดยคนที่อ่อนแอในนามของความยุติธรรม
และยัดเยียดเจตจำนงของเขาให้กลายเป็นสิทธิอันชอบธรรม เช่นดัง Callicles ยืนยันไว้ในเรื่อง
Gorgias ของเพลโต
ในที่นี้เรากำลังอยู่ในแนวคิดสุดขั้ว ที่ได้บ่งชี้ถึงคำสอนหรือทฤษฎีทั้งหมดของพวกโซฟิสท์.
แนวคิดสุดขั้วดังกล่าว กลายเป็นสิ่งที่น่ายินดีสำหรับคนหนุ่มสาวของเอเธนส์ในช่วงเวลาของ
Pericles (รัฐบุรุษแห่งเอเธนส์ 495-429 BC.) คนหนุมสาวทั้งหมดต่างกระวนกระวายที่จะได้รับหน้าที่หรือตำแหน่ง
ซึ่งจะประกันความมั่งคั่งและความสุขใจให้กับพวกเขา คำสอนของโซฟิสท์ โดยความดีที่เหนือกว่าระเบียบแบบแผนทั้งหมดของจริยศาสตร์และความยุติธรรม
ได้เปิดโอกาสให้กับคนหนุ่มให้มีหนทางอันหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ และให้เหตุผลต่อการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับความหลอกลวงหรือเล่ห์เพทุบายทั้งหมด
และกิเลสอันรุนแรงอย่างถึงที่สุด
ด้วยเหตุดังที่ได้อธิบาย ผู้คนทั้งหลายจึงชื่นชอบและมักจะห้อมล้อมพวกโซฟิสท์บางคน อย่างเช่น Protagoras ผู้ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างผู้มีชัยชนะและอย่างรื่นเริงบันเทิงใจ ในฐานะแขกคนหนึ่งในบ้านของชาวเอเธนส์ที่มีชื่อเสียงต่างๆโดยทั่วไป
โดยเหตุดังนั้น อย่างที่ได้อธิบายมาแล้วเช่นกัน ในฐานะที่เป็นภารกิจอันสูงส่งของโสกราตีส ผู้ซึ่งได้มาฟื้นฟูคุณค่าต่างๆของความมีศีลธรรมที่ศักดิ์สิทธิ์และไม่อาจล่วงละเมิดได้ เพราะมันตั้งอยู่บนพื้นฐานของ"เหตุผล"และไม่ใช่เรื่องของ"กิเลสตัณหา"อันไม่อาจควบคุมได้ โสกราตีสได้ใช้ชีวิตที่มีอยู่ทั้งหมด และดำเนินไปอย่างไม่ไร้ประโยชน์เพื่อการนี้
2. ความคิดเห็นโดยทั่วไป
II. General Notions
บรรดาพวกโซฟิสท์ได้โยกย้ายความสนใจของพวกเขามาอยู่ที่มนุษย์ แต่พวกเขาก็หยุดมัน
ณ ความประทับใจต่างๆอันอ่อนไหว ที่เป็นข้อมูลเชิงประสบการณ์(empirical data)
โดยตรรกะแล้วพวกเขามาจบลงตรงที่ความขี้สงสัย
ส่วนโสกราตีส ได้ขับเคลื่อนต่อไปบนระนาบเดียวกันเช่นเดียวกับพวกโซฟิสท์ ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ และยกเอาคติพจน์ของ Delphic ขึ้นมาคือ "จงรู้จักตัวของท่านเอง"(Know thyself)มาใช้ในฐานะที่เป็นมาตรฐานการสอนของเขา. เขามิได้หยุดลงที่เรื่องของความรู้สึกต่างๆ(sensations), ณ ความรู้ในลักษณะความคิดเห็น(opinionative knowledge); การสืบสวนของเขาโน้มเอียงไปสู่การพินิจพิเคราะห์และการตรวจสอบอย่างละเอียด ในเหตุผลของเขา ในส่วนลึกซึ้งและเป็นแก่นแท้มากกว่าของมนุษย์ ที่ซึ่งมนุษย์คือมนุษย์
มันเป็นความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุผลอย่างถึงแก่นอันนี้ ที่ทำให้เขาค้นพบความรู้ขึ้นมาอันหนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะต่างๆของความเป็นสากลและความจำเป็น: นั่นคือแนวความคิด(concept). ข้อสังเกต การค้นพบของโสกราตีสอันยิ่งใหญ่นี้ ทำให้ปรัชญาได้พบกับวิถีทางของมัน และต่อมาภายหลังได้มาถึงความเป็นระบบต่างๆอันยิ่งใหญ่ ซึ่งความคิดจิตใจของมนุษย์สามารถสร้างขึ้นมาได้
โสกราตีส ก็คล้ายๆกับพวกโซฟิสท์ ไม่ค่อยให้ความสนใจกับเรื่องของเมตาฟิสิกส์, และสร้างข้อแก้ตัวให้กับตัวเองโดยกล่าวว่า ธรรมชาติทุกสิ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของเทพเจ้าต่างๆ. เขาเพ่งความสนใจของตัวเองทั้งหมดลงยังการแสวงหาแนวคิดหรือมโนคติเกี่ยวกับเรื่องของศีลธรรมต่างๆ; เขาถูกทำให้เชื่อมมั่นว่าปฏิบัติการทางศีลธรรมจะต้องนำหน้ามาก่อนสิ่งอื่นโดยแนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม และเป็นปรปักษ์ต่อความคิดเกี่ยวกับการทำลาย ซึ่งเป็นพื้นฐานเกี่ยวกับคำสอนของพวกโซฟิสท์
ภายหลังจากการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของโสกราตีส บรรดาพวกโซฟิสท์มิได้หายสาบสูญไปแต่อย่างใด เราได้พบพวกเขาในช่วงระหว่างวันเวลาของอริสโตเติลด้วย แต่พวกเขาได้สูญเสียความมีอิทธิพลและความสำคัญของพวกตนไปจนหมดสิ้น
3. ชีวิตของโสกราตีส
III. Life of Socrates
โสกราตีสถือกำเนิดในปี 470 หรือ 469 B.C.E., ในกรุงเอเธนส์ เป็นบุตรของ Sophroniscus,
ผู้พ่อซึ่งมีอาชีพเป็นประติมากร และ Phaenarete ผู้เป็นแม่ซึ่งเป็นหมอตำแย. ในช่วงแรกเขาได้ร่ำเรียนศิลปะจากพ่อของเขา
แต่ต่อมาภายหลังได้อุทิศตัวเองให้กับการทำสมาธิและการสอนปรัชญาโดยปราศจากค่าตอบแทน
โดยไม่คำนึงถึงความยากจนข้นแค้นของตัวเอง
ความสำนึกเกี่ยวกับงานอาชีพของเขา ซึ่งเขาพิจารณาว่ามันเป็นภารกิจแห่งสวรรค์ เขาไม่ยอมให้ตัวเองถูกทำให้ไข้วเขวโดยความกังวลใจเกี่ยวกับบ้านและความสนใจต่างๆทางการเมือง. โสกราตีสได้แต่งงานกับผู้หญิงชาวเอเธนส์คนหนึ่ง นามว่า Xanthippe ซึ่งเป็นคนที่มีคุณลักษณะทางอารมณ์ที่ปรวนแปรและแปลกประหลาดเอามากๆ. แน่นอน Xanthippe ไม่ใช่ภรรยาในอุดมคติ แต่จะต้องยอมรับด้วยเช่นกันว่า โสกราตีสก็ไม่ใช่สามีในอุดมคติเช่นเดียวกัน เขาลืมหน้าที่ต่างๆในบ้านของเขา เพราะมันอยู่นอกเหนือความสนใจอย่างสุดขั้วของเขาในเรื่องปรัชญานั่นเอง
โสกราตีสไม่ได้อุทิศตัวให้กับเรื่องทางการเมืองอย่างแข็งขัน แม้ว่าในช่วงวัยหนุ่ม เขาจะเป็นทหารก็ตาม และได้ช่วยชีวิต Alcibiades (นายพลและนักการเมืองชาวเอเธนส์)ในการศึกแห่ง Mantinea. เขาเชื่อว่า มันจะเป็นการดีกว่าที่จะรับใช้ประเทศของเขา โดยการอุทิศตัวเองในฐานะที่เป็นตัวอย่างหนึ่งของคนที่สมบูรณ์แบบที่สุด เชื่อฟังกฎหมายต่างๆ แม้กระทั่งจะต้องบูชายัญหรือสังเวยชีวิตของตัวเองก็ตาม และนอกจากนี้ การอุทิศตัวของเขายังจะเป็นการเตรียมคนหนุ่มให้มีความเฉลียวฉลาดขึ้น ในทางที่ตรงข้ามกับคนหนุ่มที่เห็นแก่ตัวและบ้าอำนาจซึ่งบรรดาพวกโซฟิสท์สร้างขึ้น ซึ่งได้เบี่ยงเบนไปและทำให้ประเทศชาติหย่อนยาน
แต่ทัศนคติและท่าทีในเชิงวิพากษ์และเหน็บแนมประชดประชันของโสกราตีส และการศึกษาที่ตามมาที่ถูกเสี้ยมสอนโดยเขา ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจโดยทั่วไปและความเป็นปรปักษ์ของผู้คน รวมไปถึงความเป็นอริส่วนตัวที่หลายๆคนมีต่อเขา ทั้งนี้โดยไม่คำนึงถึงความซื่อตรงหรือความตรงไปตรงมาของเขา
โสกราตีสเป็นที่ประจักษ์ในฐานะผู้นำของปัญญาชนชั้นสูงคนหนึ่ง ที่อยู่ด้านตรงข้ามกับทรราชย์หรือผู้ปกครองที่กดขี่ประชาชน และเป็นกระทั่งตัวกลั่นที่แท้จริงของพวกปฏิกริยา. สภาวการณ์ทางความคิดอันนี้ที่เป็นปรปักษ์ต่อโสกราตีส ซึ่งมันได้ตกผลึกและมีการนำเอารูปธรรมทางกฎหมายมาใช้เพื่อกล่าวโทษและประณามเขาอย่างรุนแรงโดย Meletus, Anytus, และ Lycon ในข้อหาคนหนุ่มที่ชั่วช้า ทุจริตคิดมิชอบ ปฏิเสธเทพเจ้าต่างๆของชาติ และได้นำเสนอเทพเจ้าองค์ใหม่ๆขึ้นมาแทน
โสกราตีสดูถูกเหยียดหยามการที่จะปกป้องตัวเอง และด้วยเหตุดังนั้น เขาจึงยินยอมให้กับความหยิ่งทะนงและความยโสอันไร้สาระของบรรดาผู้พิพากษาซึ่งได้ลบหลู่ตัวเขาให้ได้อายต่อหน้าผู้คน โดยบอกให้เขากล่าวขอโทษต่อการกระทำของตัวเขาไม่มากก็น้อย
ต่อสายตาของจิตวิญญานของตัวเอง เขาไม่ยอมพ้นโทษเพื่อชีวิตทางโลก เพราะเขาเชื่อว่า สิ่งที่มากไปกว่านั้นคือการตัดสินอันเป็นนิรันดร์ของเหตุผล ซึ่งมันจะเป็นอมตะและไม่มีวันตาย. เขาเลือกที่จะตาย. เขาถูกประกาศว่ากระทำความผิดโดยคะแนนเสียงข้างมากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เขายืนขึ้นด้วยจิตวิญญานอันไม่อาจเอาชนะได้ และอย่างไม่ย่อท้อต่อหน้าศาลสถิตยุติธรรม และถูกตัดสินว่ามีความผิดให้ต้องตาย
โสกราตีสถูกบังคับให้อยู่ในคุกเป็นเวลาหนึ่งเดือนก่อนการประหาร (ทั้งนี้เพราะ กฎหมายห้ามให้มีการดำเนินการลงโทษประหารในช่วงระหว่างที่เรือศักดิ์สิทธิ์ไม่อยู่ เพราะต้องออกเดินทางไปที่ Delos ซึ่งเป็นเกาะแห่งหนึ่งของกรีกปีละครั้ง) Crito สานุศิษย์ของโสกราตีสได้เข้ามาเยี่ยมเยือนเขาในคุก และวางแผนการหนีให้กับอาจารย์ของเขา แต่อย่างไรก็ตาม โสกราตีสปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น และประกาศว่า ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เขาไม่ปรารถนาที่จะทอดทิ้งการเชื่อฟังต่อกฎหมายต่างๆของประเทศของตน
เขาใช้เวลาผ่านไปโดยการเตรียมตัวสำหรับความตาย โดยการสนทนากับสานุศิษย์ทั้งหลายของเขาเกี่ยวกับเรื่องของจิตวิญญาน. และที่มีชื่อเสียงเหนือกว่าเรื่องใดของเขาก็คือ "การสนทนาในเรื่องความเป็นอมตะของวิญญาน"(dialogue on the immortality of the soul) ซึ่งมันเกิดขึ้นช่วงเวลาสั้นๆก่อนการตายของเขา และเรื่องนี้ได้รับการสาธยายใหม่อีกครั้ง ด้วยศิลปะอันหาที่เปรียบมิได้โดยเพลโตในเรื่อง Phaedo
คำพูดสุดท้ายของโสกราตีสที่มีต่อบรรดาสานุศิษย์ของเขา ภายหลังจากความเงียบสงัดเมื่อเขาได้ดื่มยาพิษ(hemlock - เป็นพืชมีพิษชนิดหนึ่ง)ลงไปแล้ว คือ "ฉันเป็นหนี้ Aesculapius ด้วยไก่ตัวหนึ่ง" (Aesculapius คือเทพเจ้าทางด้านแพทยศาสตร์) ซึ่งได้เป็นผู้ส่งตัวเขาจากความชั่วร้ายของชีวิตด้วยของขวัญคือความตาย. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นปี 399 B.C.E., รวมอายุของโสกราตีสได้ 71 ปี
4. คำสอนของโสกราตีส:
แนวความคิดต่างๆ IV. The Doctrine of Socrates: Concepts
หลักคำสอนของโสกราตีส สามารถที่จะได้รับการสรุปลงได้ด้วยคำเพียงสองคำคือ แนวความคิดต่างๆ(concepts),
ศีลธรรม(morality) - หรือที่ดีกว่า ควรจะเป็น แนวความคิดต่างๆทางศีลธรรม
สำหรับโสกราตีส แนวความคิดคือสิ่งซึ่งเกี่ยวกับความคิดทั้งหมด เมื่อพวกเขาได้พูดถึงสิ่งๆหนึ่ง กล่าวคือ ในส่วนที่เป็นเรื่องของเหตุผลของคนทุกๆคน มันมีความนึกคิดต่างๆดำรงอยู่ ซึ่งต่างมีอยู่ร่วมกันทั้งหมด และด้วยเหตุนี้จึงมีความพอใจและความเพลิดเพลินอย่างเป็นสากลและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และแนวความคิดนั้น มันเป็นรูปแบบอันเป็นรากฐานของความเข้าใจหรือความรู้ที่แท้จริง(For Socrates, the concept is that of which all think when they speak of a thing. In the rational part of every man there exist some notions which are common to all and hence enjoy universality and necessity, and which form the substratum of true understanding or knowledge).
แนวความคิดเกี่ยวกับสิ่งซึ่งบรรดาโซฟิสท์ทั้งหลายพูดคุยกันนั้น มันเป็นเพียงความคิดเห็นเท่านั้น(an opinion) หรือเป็นเพียงความรู้ชั่วแล่น(a fleeting instant of knowledge). โสกราตีสไม่ได้ประเมินคุณค่าความรู้นี้ว่าต่ำแต่อย่างใด แต่ก็ไม่ได้พิจารณามันว่าเป็นความรู้ที่สมบูรณ์; สำหรับความรู้ที่แท้นั้น ควรจะดีพอที่จะสถาปนาขึ้นมาเพื่อรับใช้ในฐานะที่เป็นรากฐานของศาสตร์
ศาสตร์ที่แท้(true science)เป็นสิ่งสากล; นั่นคือ มันเป็นของร่วมกันหรือสาธารณะกับมนุษย์ทุกคนและเป็นเช่นนั้นตลอดเวลา; มันเป็นเรื่องของภาววิสัย(objective), ไม่ใช่เรื่องของอัตวิสัย(subjective)ที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามชะตากรรม. ศาสตร์ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากความเข้าใจโดยผ่านแนวความคิดต่างๆ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่เป็นสากลเช่นเดียวกันกับศาสตร์ในตัวมันเอง
เพื่อเข้าถึงความเข้าใจเกี่ยวกับแนวความคิดต่างๆเหล่านั้น โสกราตีสได้ใช้วิธีการสนทนาแบบอุปนัย(inductive method - เป็นวิธีการพิสูจน์โดยอ้างประสบการณ์เฉพาะหน่วยที่แน่ใจแล้ว สนับสนุนข้อความทั่วไปที่ยังไม่แน่ใจให้มีความแน่ใจมากขึ้น) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวิธีการของโสกราตีส(Socratic method), ส่วนประกอบที่สำคัญของมัน มีอยู่สองส่วนคือ การเหน็บแนม(irony), และการซักถามที่เป็นการสืบสวน(maieutics). โดยทั่วไปแล้ว กระบวนการดังกล่าวมีลักษณะเป็นดังต่อไปนี้:
- อันดับแรก โสกราตีสจะยกคำถามขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น "อะไรคือความยุติธรรม?" เมื่อเขากล่าวออกมาเช่นนั้น เป็นเพราะตัวเขาเองไม่รู้ว่าความยุติธรรมมันเป็นอย่างไรกันแน่(อันนี้คือ การไม่รู้ของโสกราตีส - Socratic ignorance), เขาจะถามนักเรียนของเขาถึงสิ่งที่พวกเขาคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม
- บรรดานักเรียนทั้งหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกโซฟิสท์จะตอบคำถามไปตามวิธีการของพวกโซฟิสท์ โดยอ้างอิงตัวอย่างต่างๆมากมาย ยกตัวอย่างเช่น "เทพเจ้าซีอุสคือความยุติธรรม"; "เทพเจ้าต่างๆล้วนคือความยุติธรรม" ฯลฯ. (อันนี้ยกเป็นตัวอย่าง). "โอ้, จำนวนความยุติธรรม!" โสกราตีสร้องทัก. "ฉันถามว่าอะไรคือความยุติธรรม แต่พวกเธอกลับตอบฉันถึงความยุติธรรมจำนวนมาก"
- ด้วยเหตุนี้ เขาได้ผ่านไปสู่การวิจารณ์(เหน็บแนม)เกี่ยวกับตัวอย่างต่างๆที่อ้างขึ้นมา โดยการที่เขามีความชัดเจนต่อความคิดต่างๆที่มีอคติของบรรดาสานุศิษย์ของเขา และความคิดที่ผิดพลาดเกี่ยวกับคำถามที่นำมาถาม
- จากการใช้วิธีการเหน็บแนม(irony) เขาจะผ่านไปสู่การตั้งคำถามในเชิงสืบสวน(maieutics) - ศิลปะซึ่งโสกราตีสใช้พูด เขาได้เรียนรู้มาจากแม่ของเขา ซึ่งเธอได้ช่วยเหลือในส่วนของร่างกาย ส่วนเขาได้ทำในส่วนที่เกี่ยวกับจิตวิญญานให้สมบูรณ์ขึ้น. (คำว่า maieutics นี้ได้รับการสืบทอดมาจากคำศัพท์ภาษากรีก" maieutikos," ซึ่งเป็นเรื่องของการผดุงครรภ์ หรือการคลอด). วิธีการตั้งคำถามในเชิงสืบสวน(maieutic)เป็นวิถีทางของโสกราตีสในการทำให้ความคิดต่างๆที่แฝงเร้นอยู่ในจิตใจได้เผยตัวหรือคลอดออกมา
- การตั้งคำถามแบบสืบค้นเป็นส่วนของข้อสรุปของการสนทนา ซึ่งโสกราตีสพยายามที่จะทำให้สานุศิษย์ของเขามองเห็นว่ามันเป็นอย่างไร โดยการสะท้อนความคิดและการไตร่ตรองตัวของพวกเขาเอง พวกเขาสามารถสังเกตเห็นการมีอยู่ของธาตุแท้บางอย่างที่มีอยู่ร่วมกัน และจำเป็นต่อความยุติธรรมทั้งหมด (แนวความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม)
- ธาตุแท้เหล่านั้นมีลักษณะที่เป็นรูปธรรมในการนิยาม ซึ่งสรุปได้ด้วยคำต่างๆเพียงไม่กี่คำที่เป็นคุณลักษณ์เฉพาะที่ถูกวินิจฉัยว่า จำเป็นต่อแนวความคิดเกี่ยวกับคำถามที่ยกขึ้นมา
ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่า การสนทนาของโสกราตีสไม่ได้ประสบผลสำเร็จในการนิยาม หรือทำให้นิยามความหมายมีความคงที่เสมอไป. ในหลายๆกรณี สิ่งที่เรียกว่า การไม่รู้ของโสกราตีส(Socratic ignorance) ซึ่งโสกราตีสได้สารภาพออกมานับจากเริ่มต้นของการตั้งคำถาม ไม่ใช่การโกหก. ดังนั้นการสนทนาจึงเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง กระทำโดยการช่วยเหลือของนักเรียนทั้งหลายเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว ถ้าเป็นไปได้ว่า มันก็จะนำพาไปสู่แนวความคิดหนึ่งได้ - นั่นคือความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับคำถามที่เสนอขึ้นมา
5. คำสอนของโสกราตีส:
จริยศาสตร์ V. The Doctrine of Socrates: Ethics
ในเรื่องของจริยศาสตร์ โสกราตีสไม่ได้ไปพ้นจากการมีอคติของลัทธิปัญญาชนของกรีก
ซึ่งทำให้การปฏิบัติต่างๆเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับทฤษฎีอย่างสมบูรณ์. มันเพียงพอแล้วที่จะรู้จักคุณความดี(virtue)เพื่อที่จะทรงไว้ซึ่งความดี
ทุกๆคนปรารถนาในความสุข. ถ้าเผื่อเขาไม่บรรลุถึงความสุข ก็เป็นเพราะเขาไม่รู้จักหนทางที่น้อมนำไปสู่ความสุขนั่นเอง. ผลที่ตามมา คนที่ได้รับการเรียกว่า"คนชั่ว"นั้น ความจริงแล้วเป็นคนที่ไม่รู้(ignorant)เท่านั้น; ความชั่ว(evil)ได้ถูกลดทอนลงสู่ความผิดพลาด(error). อย่างคำว่า"ความชั่วร้าย"(vice)เป็นคำที่พ้องกับคำว่า อวิชชา(ความไม่รู้-ignorance) ดังนั้น ความรู้เกี่ยวกับความดี(good)จึงเป็นคำที่พ้องกันกับคำว่า คุณงามความดี(virtue)
ด้วยเหตุนี้ จึงง่ายที่จะเห็นว่า ทำไมโสกราตีส ผู้ซึ่งมีเจตนาและความตั้งใจที่สร้างเยาวชนคนหนุ่มสาวที่มีคุณความดีขึ้นมา และจำกัดการสอนของเขาลงมาสู่การแสวงหาเกี่ยวกับแนวความคิดต่างๆในเรื่องของศีลธรรม(moral concepts) สำหรับตรงนี้ควรจะได้รับการหมายเหตุลงไปว่า ลัทธิปัญญาชนทางศีลธรรมเป็นสิ่งที่นำเสนอมาโดยตลอดความคิดกรีกทั้งหมด โดยไม่มีข้อยกเว้นในระบบต่างๆทางด้านจริยศาสตร์ของเพลโต และอริสโตเติล
6. สกุลความคิดรองของโสกราตีส
VI. Minor Socratic Schools
คำสอนของโสกราตีสมีประเด็นหลักๆอยู่ 2 ประเด็นด้วยกันคือ อันแรกเป็นเรื่องของแนวความคิด
ส่วนอันที่สองคือเรื่องของศีลธรรมหรือจริยธรรม. แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าลูกศิษย์ของโสกราตีสทั้งหมดจะบรรลุถึงความเข้าใจในความล้ำลึกเกี่ยวกับคำสอนของปรมาจารย์ของพวกเขา
สานุศิษย์เป็นจำนวนมาก แรกเริ่มเดิมทีได้ร่ำเรียนกันมาจากบรรดาพวกโซฟิสท์ หรือไม่ก็มาจากสำนัก Eleatics, และพวกเขาไม่ประสบความสำเร็จในการเอาชนะ หรือดำรงตำแหน่งสถานะทางสังคมในช่วงเริ่มต้นของพวกเขา และในการเข้าใจและรู้ซึ้งความหมายเกี่ยวกับแนวความคิดของโสกราตีสในความบริสุทธิ์ของมัน พวกเขาเชื่อว่า แนวความคิดของโสกราตีสไม่ได้แตกต่างไปจาก Protagoras มากนัก ซึ่งกล่าวว่า "มนุษย์คือมาตรวัดของสรรพสิ่ง"( man -- measure-of-all-things) และในเรื่องคำสอนเกี่ยวกับ"ความดี"ก็เป็นอย่างเดียวกันกับคำสอนเรื่องนี้ของ Parmenides
ทายาทหรือผู้สืบทอดมรดกทางจิตวิญญานของ"โสกราตีส"คือ"เพลโต" ผู้ซึ่งอยู่ในอคาเดมีและได้นำพาคำสอนของปรมาจารย์ไปสู่การพัฒนาจนถึงขีดสูงสุดของมัน
คนอื่นๆ ภายหลังจากที่โสกราตีสถึงแก่กรรม ได้หวนกลับไปยังบ้านเกิดของตนเอง และได้เปิดสำนักความรู้ต่างๆขึ้นมา โดยการสอนสิ่งซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงการหวนกลับไปสู่คำสอนของพวกโซฟิสท์หรือเอเลียติค(Eleatic). สำนักความรู้เหล่านี้ถูกเรียกว่าสำนักความคิดรองของโสกราตีส(Minor Socratic Schools) ที่เรียกว่า Socratic ก็เพราะว่า หลังจากตัวอย่างต่างๆของโสกราตีส พวกเขาได้ให้ความสนใจในความรู้เกี่ยวกับศีลธรรม; และที่เรียกว่า Minor ก็เพราะ ความคิดของโสกราตีสไม่ได้รับการอธิบายเพื่อคุณความดีของตัวมันเอง แต่โดยการที่เอียงไปสู่ตำแหน่งเดิมต่างๆนั่นเอง
สำนักความคิดชั้นรองมีอยู่ด้วยกัน 4 สำนักคิดคือ
1. The Megarian, ก่อตั้งขึ้นมาโดย Euclid แห่ง Megara
2. The Elian, ก่อตั้งขึ้นมาโดย Phaedo
3. The Cynic; และ
4. The Cyrenaic
ในที่นี้เราจะมาอธิบายถึงหลักการต่างๆของสำนักคิดสองสำนักคิดสุดท้าย ซึ่งทั้งสองสำนักนี้ได้ยึดครองความสำคัญที่แท้จริงมา นับตั้งแต่ที่มันได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นบรรพบุรุษทางประวัติศาสตร์และคำสอนที่เป็นอนุสาวรีย์ทางความคิดอื่นอีกสองสำนักความคิด แห่ง Grecian ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมาก - นั่นคือ stoicism และ Epicureanism.
สำนักความคิดไซนิค The
Cynic School.
สำนักความคิดนี้ได้รับการเปิดสอนขึ้นมาโดย Antisthenes, ผู้ซึ่งเป็นสานุศิษย์คนแรกของ
Gorgias และภายหลังได้มาเป็นสานุศิษย์ของโสกราตีส. เขาได้สอนอยู่ที่ Cynosarges
แห่งเอเธนส์ ด้วยเหตุดังนั้นมันจึงได้ชื่อว่า Cynic
Antisthenes สอนว่า ความรู้(knowledge - [cognition การรับรู้]ไม่อาจไปพ้นจากข้อมูลของผัสสะต่างๆ และในเมื่อ"ประสาทสัมผัส"ต่างๆเป็นเรื่องของ"ปัจเจก" เขาจึงสรุปว่า "มีเพียงปัจเจกเท่านั้นที่เป็นจริง" ยิ่งไปกว่านั้น ดังเช่นที่ปัจเจกชนทุกคนมีแก่นแท้ของตัวเองและไม่มีอื่นอีก Antisthenes จึงลงความเห็นว่า ความผิดพลาดจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และในท้ายที่สุด ทุกนิยามความหมายจึงเป็นไปไม่ได้(Antisthenes inferred that error is impossible and finally every definition is impossible.)
ด้วยเหตุนี้ อะไรคือแนวคิดต่างๆที่โสกราตีสได้สนทนาถึง ? คำตอบง่ายๆก็คือ คำนามต่างๆ(nouns). Antisthenes คือผู้อาศัยประสบการณ์และการสังเกต และสำหรับเรื่องราวที่เกี่ยวกับเขานั้นได้รับการเล่าขานว่า เขาได้มีการปะทะคารมกับเพลโตครั้งหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องแนวความคิดต่างๆ เขากล่าวว่า:
"โอ้! เพลโต ฉันเห็นม้าตัวหนึ่ง แต่ความเป็นม้า(horseness) ฉันมองไม่เห็นมัน"
เพลโตตอบว่า: "ท่านมิได้เห็นความเป็นม้า เพราะท่านไม่มีอะไรเลย เว้นแต่ลูกตาเฉยๆที่ติดมากับร่างกาย"
ในทางจริยศาสตร์ คุณงามความดี(virtue)มิใช่หนทางที่ทำให้บรรลุถึงสิ่งที่ดี(good) แต่มันคือสิ่งที่ดีในตัวของมันเอง. ในเมื่อคุณงามความดีคือสิ่งที่ดี ดังนั้นความชั่วร้าย(vice)จึงเป็นสิ่งที่ชั่ว(evil)ในตัวมันเองด้วย. ทว่าคุณงามความดีมันเกิดขึ้นมาจากอะไร? ในความคิดแบบเอกาธิปไตย(autarchy) ยกตัวอย่างเช่น ในการครอบครองเหตุผลของคนๆหนึ่ง ซึ่งบอกกับเราถึงความพึงพอใจต่างๆ ความร่ำรวย และทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกเรียกว่าอารยธรรมของคนๆหนึ่งคือสิ่งชั่วร้าย ที่มันเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายเพราะ มันทำให้รู้สึกถึงความต้องการเหล่านั้น.
โดยเหตุนี้ แนวคิดของไซนิค จึงแยกตัวออกไปต่างหากจากสังคม และดำรงอยู่อย่างมนุษย์ในยุคบุพกาลด้วยสิ่งของที่จำเป็นเพียงไม่กี่อย่าง และสิ่งที่ไม่กี่อย่างเหล่านี้มันได้มาจากธรรมชาตินั่นเอง ระหว่างธรรมชาติกับสังคมอย่างที่เรารู้กัน โดยความสุขสบายทั้งหมดของชีวิต มันมีความแตกต่างเช่นเดียวกันกับเรื่องระหว่างคุณงามความดี และความชั่วร้าย. การดำรงชีวิตอยู่โดยความเข้าใจธรรมชาติ นั่นคือ แบบจำลองของชีวิตแบบไซนิค
บุคคลซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของสำนักความคิดไซนิคคือ Diogenes แห่ง Sinope. ลัทธิไซนิคเป็นปฏิกริยาอันหนึ่งระหว่างชนชั้นที่ยากจนกับชนชั้นสูงที่ตรงข้ามกัน; โดยที่ปฏิกริยาดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาในนามของธรรมชาติ
สำนักความคิดไซเรนเนียค
The Cyrenaic School.
สำนักความคิดนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาที่เมือง Cyrene, ซึ่งในช่วงวันเวลานั้นมันเป็นส่วนหนึ่งของลิเบีย(อยู่ทางแอฟริกาตอนเหนือ)
ก่อตั้งขึ้นมาโดย Aristippus ซึ่งก่อนหน้าที่จะมาเป็นสานุศิษย์ของโสกราตีส เขาได้เคยฟังการบรรยายของ
Protagoras.
ในเรื่องของการรับรู้ สำหรับ Aristippus แล้ว เพียงประสาทสัมผัสต่างๆส่วนตัวเท่านั้นจึงเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้; อันนี้เป็นการแสดงนัยะว่า ขอบเขตของความรู้นั้น ได้ถูกจำกัดอยู่ที่การรับรู้(cognition)ของสภาวะหนึ่งภายหลังอีกสภาวะหนึ่ง ซึ่งตัวตน(ตัวรับ)ได้สังเกตตัวของตัวเองในฐานะประสาทสัมผัสต่างๆ ดังนั้นพวกเราจึงเป็นอายตนะนิยมอันบริสุทธิ์(pure sensism) ตามสิ่งซึ่งความจริงเป็น แต่ก็เป็นความต่อเนื่องของปรากฎการณ์อัตวิสัย โดยไม่มีความสัมพันธ์อะไรเลยกับวัตถุภายนอกใดๆ
สำหรับ Aristippus ไม่มีเรื่องของเมตาฟิสิกส์หรือสิ่งที่เหนือจากความจริงทางกายภาพ ในเมื่อตัวตนยังคงแนบชิดอยู่กับเรื่องประสาทสัมผัสต่างๆ
เกี่ยวกับเรื่องของจริยศาสตร์ บรรดานักคิดสำนักไซเรนเนียน ค่อนข้างจะตรงข้ามกับพวกไซนิค นั่นคือ พวกเขายืนยันว่า คุณงามความดีมีไว้เพื่อความพึงพอใจ ส่วนความชั่วร้ายดำรงอยู่ในความเจ็บปวด. ตามหลักตรรกะอันนี้ของพวกเขา คุณงามความดีจึงเป็นผัสสะที่ให้ความพึงพอใจ และความชั่วร้ายเป็นผัสสะที่เกี่ยวกับความเจ็บปวด
บรรดานักคิดไซเรนเนียนมีทฤษฎีของพวกเขาเกี่ยวกับประสาทสัมผัสอันหนึ่ง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. สิ่งที่ให้ความพอใจ(pleasant)
2. สิ่งที่ให้ความเจ็บปวด(painful) และ
3. เฉยๆ(indifferent)
คนฉลาดจะพยายามแสวงหาหนทางที่ไกลห่างจากสิ่งที่ให้ความเจ็บปวด หรือพยายามลดมันลงมาให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ขณะที่เขาจะเปลี่ยนความเป็นกลางหรือความรู้สึกเฉยๆไปสู่ผัสสะของความพึงพอใจต่างๆ
ในด้านหนึ่งนั้น คุณงามความดีมีไว้เพื่อน้อมนำให้ตัวเองไปสู่สภาวะทางอารมณ์ต่างๆที่สุภาพอ่อนโยนมากเท่าที่จะเป็นไปได้. เนื่องจากเหตุนี้ มันจึงไม่ใช่สภาวะของการยอมจำนนหรือเป็นฝ่ายรับ(passive) ผัสสะที่น่าพอใจซึ่งมีคุณงามความดีประกอบอยู่ แต่ในทางสูงสุดมันพยายามที่จะปกป้องตัวเองให้ปลอดภัยและดำรงอยู่กับความพึงพอใจในระดับสูงสุด (อันนี้ได้รับการเรียกขานว่า ลัทธิสุขนิยมพลวัต - dynamic hedonism)
คนฉลาดจะต้องพยายามธำรงความเป็นนายให้อยู่เหนือตัวของเขาเอง ขณะเดียวกันก็จะต้องดำรงอยู่ในแก่นกลางของความพึงพอใจ. เขาจักต้องครอบครองมันแต่จะต้องไม่ถูกมันยึดครอง ดังที่ Horace ได้กล่าวเอาไว้เช่นนั้น. ในสภาวะที่เลิศสุด นักคิดไซเรนเนียนที่เฉลียวฉลาดจะเป็นคนที่มีความสุข ซึ่งได้ค้นพบข้อจำกัดหนึ่งเพียงในเรื่องของเหตุผลเท่านั้น
บรรดาสานุศิษย์ของ Aristippus ได้พัฒนาสิ่งกระตุ้นในเรื่องของเหตุผลไปไกลเกินกว่าความพึงพอใจทีรับรู้ได้อย่างฉับพลัน และถูกทำให้สิ้นสุดลงโดยการสรุปของ Theodore ผู้ไม่เชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้า(Atheist) ว่า "ไม่มีอะไรที่ดำรงอยู่เลย เว้นแต่ความพึงพอใจ". ส่วนคนอื่นๆ อย่างเช่น Hegesias, ผู้เชื้อเชิญความตาย ได้มาสู่ข้อสรุปที่ว่า "ชีวิตเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่โดยไม่มีราคาค่างวดอะไรเลย ถ้าเผื่อว่ามันขาดแคลนซึ่งความพึงพอใจ"
นั่นคือสองตัวอย่างของสำนักทางความคิดรองแบบโสกราตีส(Minor Socratic Schools) ส่วนสำนักทางความคิดแบบโสกราตีสที่ยิ่งใหญ่สุดนั้น หรืออ้างถึงสำนักทางความคิดหลักแบบโสกราตีส(Major Socratic School) ก็คือ"อคาเดมี"ของเพลโต(the Academy of Plato) ซึ่งความคิดหลักต่างๆได้ดำรงอยู่อย่างใกล้ชิดมากกับเจตนาดั้งเดิมของคำสอนของโสกราตีส
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
( The Philosophy of Socrates ต้นฉบับของบทความชิ้นนี้ในภาษาอังกฤษ หาอ่านได้ที่
http://radicalacademy.com/philsocrates.htm)
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)
โสกราตีส
รากเหง้าเหตุผลและศีลธรรมตะวันตก
( ปรัชญาของโสกราตีส - The Philosophy of Socrates)
ต้นฉบับของบทความชิ้นนี้ในภาษาอังกฤษ หาอ่านได้ที่
http://radicalacademy.com/philsocrates.htm
(ความยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4)
TABLE OF CONTENTS
1. บทนำ 2. ความคิดโดยทั่วไป 3. ชีวิตของโสกราตีส 4. คำสอนของโสกราตีส:
แนวความคิดต่างๆ 5. คำสอนของโสกราตีส: จริยธรรม 6. สกุลความคิดรองของโสกราตีส
I. Introduction (บทนำ)
ความเชื่อตามจารีตของชนชาวกรีกโบราณ พวกเขาเชื่อว่า บ้านเมืองต่างๆของพวกเขานั้นได้รับกฎเกณฑ์ต่างๆมาจากเทพเจ้าทั้งหลาย
ซึ่งเป็นผู้ปกป้องบ้านเมือง และความสุขหรือความดีที่เกิดขึ้น มาจากการดำเนินชีวิตไปตามกฎเกณฑ์เหล่านั้น
และต่างยอมรับหลักการของมันเช่นเดียวกับการยอมรับเทพเจ้าและเป็นเช่นนั้นชั่วนิรันดร์
แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาพวกโซฟิสท์ทั้งหลายกลับมีความสงสัยต่อศรัทธาอันนี้อย่างถึงราก