มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
หรือหน้าสารบัญ ซึ่งมีอยู่ 2 หน้า
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 342 หัวเรื่อง
สุนทรียศาสตร์หลังอาณานิคม
สมเกียรติ
ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(บทความนี้ยาวประมาณ
13 หน้า)
หากนักศึกษาหรือสมาชิก
ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้
บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์
กรุณาแจ้งให้ทราบที่
midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
บทความเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์นอกกระแส
แนวคิดสุนทรียศาสตร์และศิลปะนอกกระแส
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความนี้ยาวประมาณ 13 หน้ากระดาษ A4
เผยแพร่ครั้งแรกบทเว็ปมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ 12 มกราคม 2547
หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้ ได้ตัดตอนมาบางส่วนจากบท Narrativizing Visul Culture : Toward a polycentric aesthetics ของ Ella Shahat and Robert Stam ในส่วนที่เกี่ยวกับหัวข้อ "Carnivalesque subversions"บางส่วน จนกระทั่งถึงหัวข้อ "Modernist anthropophagy" หน้า 34 - 41 ของหนังสือ The Visual Culture Reader โดยมี Nicholas Mirzoeff เป็นบรรณาธิการ
สำหรับการแปลและเรียบเรียงนี้ ได้มีการจัดลำดับหัวข้อขึ้นมาเพิ่มเติม เพื่อง่ายแก่การอ่านและการทำความเข้าใจ อีกทั้งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้อ่าน สำหรับการค้นคว้าและการอ้างอิงในภายหลัง จึงได้แยกหัวข้อตามลำดับดังต่อไปนี้
1. สุนทรียภาพแบบคาร์นิวาล
2. สุนทรียภาพแบบการกินเนื้อคนของสมัยใหม่
3. สรุปและข้อเสนอแนะ
1.
สุนทรียภาพแบบคาร์นิวาล
ลัทธิสัจนิยมน่าเกลียดวิตถาร(grotesque realism)ของ"เทศกาลคาร์นิวาล" ได้พลิกผันสุนทรียศาสตร์แบบจารีตบนส่วนหัวของมันไป
ทั้งนี้เพื่อจะติดตั้งความงามชนิดใหม่อันหนึ่งของประชาชนขึ้นมา ซึ่งมีลักษณะกบฎ
และบิดเบี้ยว: อันหนึ่งนั้นคือ กล้าที่จะท้าทายและเผยให้เห็นถึงความวิปริตผิดปกติของความงามที่ทรงพลัง
และความงามที่ซ่อนเร้นของความหยาบคาย ต่ำช้า(vulgar)
ในสุนทรียภาพแบบคาร์นิวาล, ทุกๆสิ่งคือการตั้งครรภ์หรือความเป็นไปได้ด้วยลักษณะที่ตรงกันข้ามของมัน, ภายใต้ตรรกะทางเลือกอันหนึ่งของความขัดแย้งที่ถาวร และความตรงข้ามที่ไม่มีลักษณะเฉพาะหรือผูกขาด(nonexclusive opposites) ซึ่งละเมิดหรือฝ่าฝืนตรรกะเชิงเดี่ยว(monologic) อันเป็นแบบแผนความคิดในแบบถูกผิด(true or false)ของลัทธิเหตุผลเชิงปฏิฐานประเภทหนึ่ง
งานเทศกาลคาร์นิวาล ยังเสนอแนวความคิดที่ต่างออกไปมากอันหนึ่งด้วยเกี่ยวกับเรื่องของร่างกาย. แทนที่ความดุเดือดที่เป็นนามธรรมอันหนึ่งซึ่งต่อต้านเกี่ยวกับเรื่องของเรือนร่าง - ซึ่ง Nicholas Mirzoeff มองมันในฐานะที่เป็นความเป็นปรปักษ์ในเชิงระหัสที่มีต่อร่างกายในตัวของมันเอง - เทศกาลคาร์นิวาล ได้เสนอร่างกายในลักษณะที่บิดเบือนอย่างร่าเริง เกี่ยวกับสัดส่วนต่างๆที่ประหลาดพิกลขึ้นมาแทน
ร่างกายในงานเทศกาลคาร์นิวาลเป็นเรื่องที่ยังไม่ถูกทำให้สำเร็จ(unfinished) หรือสมบูรณ์, มีลักษณะยืดหยุ่น, ดัดแปลงแก้ไขได้; มันเจริญเติบโตเร็วมากในตัวของมันเอง, ละเมิดหรือฝ่าฝืนข้อจำกัดต่างๆของตัวมันเองและคิดคำนึงถึงรูปกายใหม่ๆ. มันต่อต้านหรือสวนทางกันกับลักษณะที่สถิตหรือหยุดนิ่ง การตกอยู่ภายใต้กรอบประเพณี, ความงามแบบคลาสสิค, ความงามแบบเสร็จสิ้นสมบูรณ์ของประติมากรรมโบราณ
คาร์นิวาลเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามในลักษณะของเรือนร่างที่ผันแปรและเปลี่ยนแปลงได้, มันคือการเปลี่ยนผ่านของรูปแบบหนึ่งไปสู่รูปอีกรูปแบบหนึ่ง, อันนี้เป็นการสะท้อนถึงอัตลักษณ์ที่ไม่เคยสมบูรณ์ของชีวิต
โดยการเรียกร้องความสนใจสู่ความดึงดูดในเชิงประติทรรศน์หรือขัดกับความรู้สึกของคนทั่วไปเกี่ยวกับเรือนร่าง ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะที่วิปริตผิดปกติ(grotesque body), คาร์นิวาลปฏิเสธสิ่งที่อาจได้รับการเรียกขานว่า"ลัทธิเผด็จการของความงาม"(fascism of beauty), ซึ่งได้สร้างแบบแผนอุดมคติอันหนึ่งขึ้นมา หรือภาษาเกี่ยวกับความงาม ในความสัมพันธ์กับแบบแผนอื่นๆที่ได้รับการมองว่าด้อยกว่า
นี่คือความหลากหลายในเชิงวิภาษวิธีหรือขัดแย้ง
สำหรับในบทความชิ้นนี้ ไม่ใช่ที่ทางเกี่ยวกับการสำรวจถึงคลังมหาสมบัติขนาดใหญ่ของคาร์นิวาลทางด้านภาพยนตร์. แต่พอจะกล่าวได้ว่า ลักษณะคาร์นิวาลนั้น ได้ยึดครองรูปแบบที่หลายหลากเอาไว้มาก. มีภาพยนตร์ต่างๆซึ่งเสนอแนวทางออกมาในลักษณะคาร์นิวาลอย่างแท้จริง (Black Orpheus, A Propos de Nice, Xica da Silva); ภาพยนตร์ต่างๆนั้นได้ทำให้การจัดลำดับชั้นในลักษณะสูงต่ำในเชิงสถาบัน เกิดความสับสนอลหม่านขึ้น (Born in Flames)
มันคือภาพยนตร์ที่ได้วางสถานะของร่างกายอันต่ำต้อยมาไว้ข้างหน้า(ตามความเชื่อของคริสเตียน "ร่างกาย"ได้รับการมองว่าต่ำกว่า"จิตวิญญาน") หรือทำให้มันโดดเด่นขึ้นมา (George Kuchar, John Waters); ภาพยนตร์ที่นิยมชมชอบลัทธิสัจนิยมวิตถาร (Macunaima) และต่อต้านกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ (Bruce Conner, Rogerio Sganzerla); ภาพยนตร์ต่างๆที่ให้การยกย่องสรรเสริญการพลิกกลับทางสังคมและเชื้อชาติ (The Last Supper ของ Alea)
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพยนตร์บราซิล มักจะได้รับการปฏิสนธิและตั้งครรภ์ขึ้นมาเสมอ จากคุณค่าต่างๆทางวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับเทศกาลคาร์นิวาล. The "chanchadas" หรือ filmes carnavalescos (ภาพยนตร์ในแบบคาร์นิวาล), ภาพยนตร์ตลกเบาสมองและมีดนตรีประกอบซึ่งนิยมกันมากในช่วงทศวรรษ 1930s จนถึง 1950s, ไม่เพียงที่เผยแพร่ออกมาในช่วงเทศกาลคาร์นิวาลเท่านั้น แต่มันยังเจตนาที่จะส่งเสริมสนับสนุนเพลงในงานเทศกาลคาร์นิวาลจำนวนมากที่ร้องรำกันเป็นประจำทุกปี
หนึ่งใน chanchada, (ภาพยนตร์ในแบบคาร์นิวาล) คือเรื่อง Carnaval Atlantida (1952) นำเสนอแบบจำลองอันหนึ่งของภาพยนตร์ที่มีพื้นฐานอยู่บนความเสเพล การปล่อยเนื้อปล่อยตัวและความมึนเมาอย่างสุดๆ และการเหน็บแนมเสียดสีของเทศกาลคาร์นิวาล (อันนี้เป็นปฏิกริยาสะท้อนกลับเกี่ยวกับสมัยใหม่ ไม่ใช่เป็นการปกปักรักษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชนชั้นสูงเอาไว้เป็นพิเศษ; มันสามารถทำให้วัฒนธรรมป๊อปปิวล่าร์และวัฒนธรรมสื่อสารมวลชนสำแดงถึงลักษณะพิเศษออกมาได้ด้วย)
ภาพยนตร์เหล่านี้ได้โคจรไปรอบๆผู้กำกับภาพยนตร์เชื้อสายยูโร-บราซิเลียนคนหนึ่ง, Cecilio B. De Milho (Cecil B. De Corn) ซึ่งในท้ายที่สุดได้ละทิ้งแผนการของเขา สำหรับการผลิตผลงานในลักษณะมหากาพย์เกี่ยวกับเรื่องราวของ Helen of Troy.
มาตรฐานแบบเผด็จการของฮอล์ลีวูด ที่ De Milho ค้นพบ ด้วยชุดการแสดงออกในลักษณะโอ้อวดของจอมบงการเหล่านี้ และคำพังเพยที่หล่อหลอมหรือประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นพันๆ เป็นสิ่งที่ไม่อาจกระทำได้หรือเป็นไปได้สำหรับคนจนๆในประเทศโลกที่สาม
สวนกระแสกับความหลอกลวงและเลยเถิดนี้, คุณลักษณ์ที่พิเศษอื่นๆได้โต้เถียงเพื่อผู้คนที่มากกว่า, De Milho มีการปรับตัวให้ดูสูงส่งน้อยมาก, และกล่าวกันว่า ผู้กำกับคนนี้ได้ทอดทิ้งมหากาพย์ที่ตั้งใจจะทำเอาไว้ และได้หันไปให้การสนับสนุนภาพยนตร์แบบคาร์นิวาล
ในฉากหนึ่งของภาพยนตร์, De Milho ได้อธิบายถึงแนวความคิดของเขาเกี่ยวกับเรื่อง Helen of Troy. บรรดาชนชั้นสูงต่างๆของเขาในเรื่อง, ภาพลักษณ์ที่สง่างามได้ถูกทำให้ตรงข้ามและขัดแย้งกับความคิดเห็นและสายตาของผู้ควบคุมสตูดิโอเชื้อสายแอฟโฟร-บราซิเลียน และคนเขียนบท (Cole และ Grande Otelo)
"ฉาก"ของ De Milho ได้เคลื่อนไปสู่ฉากดังที่จินตนาการเอาไว้: นักร้องที่เป็นคนผิวดำ Blecaute ได้ปรากฎตัวในเครื่องแต่งกายของกรีก, ร้องเพลง Dona Cegonha, ซึ่งเป็นดนตรีแซมบ้าในแบบคาร์นิวาล ซึ่งเขียนขึ้นมาสำหรับการเฉลิมฉลองในปีนั้น. ด้วยเหตุนี้ แนวเรื่องต่างๆของชาวยุโรป จึงได้ถูกยักย้ายเข้าไปสู่บริบทของคาร์นิวาลแบบบราซิเลียนในลักษณะล้อเลียน
"เรื่อง Helen of Troy ไม่ได้เรื่องเลย", De Milho ได้รับการบอกเช่นนั้น, "ผู้คนต้องการเต้นรำและเคลื่อนไหว". แบบจำลองของฮอล์ลีวูด / กรีก ได้ถูกลดระดับลงมาโดยไปนิยมหรือให้การสนับสนุนวัฒนธรรมป๊อปปิวล่าร์แบบแอฟริกันแทน
คาร์นิวาลชื่นชอบสุนทรียภาพอันหนึ่งเกี่ยวกับความผิดพลาด, สิ่งที่ Rabelais เรียกว่า a gramatica Jocosa (Laughing grammar - ไวยากรณ์ของความขบขันและน่าหัวเราะ) ซึ่งภาษาทางด้านศิลปะอีกด้านหนึ่งได้รับการปลดปล่อยออกมา จากบรรทัดฐานที่บีบรัดจนหายใจหายคอแทบไม่ออกต่างๆเกี่ยวกับความถูกต้อง
ดังนั้น ศิลปะแบบคาร์นิวาลจึงเป็นการต่อต้านแบบแผนมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับ(anti-canonical), มันได้รื้อสร้าง(deconstructs)ไม่เพียงระเบียบวินัยหรือหลักการต่างๆเท่านั้น แต่ยังรวมถึงลักษณะทางด้านไวยากรณ์ด้วย
แนวคิดเกี่ยวกับ"ไวยากรณ์ของการหัวเราะ" ได้เตือนเราเกี่ยวกับ บรรดานักดนตรีที่เป็นคนผิวดำ ที่ได้พลิกผันเรื่องของวัตถุต่างๆที่ต่ำกว่าในเชิงประวัติศาสตร์ (กระดานซักผ้า [washboard], อ่างอาบน้ำ, กลองที่ทำมาจากถังน้ำมัน)ไปสู่ความเป็นดนตรีที่ก้องกังวาน, หรือศิลปินแจ๊สได้ยืดขยายสมรรถนะหรือความสามารถที่ธรรมดาต่างๆของเครื่องดนตรียุโรปออกไป โดยการเล่นทรัมเป็ตได้สูงกว่าที่มันได้รับการคาดหวังเอาไว้ให้เป็นไปได้, โดยการกดคีย์สองคีย์, กดคีย์ต่างๆผิดๆ (คล้ายดังที่ Monk ได้ทำ), โน๊ตที่ลวกๆและงุ่มง่าม สำหรับต่อสู้กับอุปกรณ์และเครื่องมืออันนั้น
ในกรณีต่างๆที่กล่าวมานี้ การละเมิดหรือฝ่าฝืนสมบัติผู้ดีทางสุนทรีย์และจรรยาบรรณทางความงาม ได้จับมือไปด้วยกันกับบทวิจารณ์ที่มีนัยะเกี่ยวกับการเรียงลำดับชั้นสูงต่ำทางสังคมและการเมืองแบบจารีต
Arthur Jafa (ผู้กำกับภาพของ Daughters of the Dust) พูดถึงความเป็นไปได้ต่างๆของภาพยนตร์เกี่ยวกับลักษณะหรือ"ท่วงทำนองภาพทางสายตาของคนดำ"(black visual intonation), ที่ซึ่งลักษณะอันไม่แน่นอน, อัตราความเร็วของกล้องที่ไม่สม่ำเสมอ และการก๊อปปี้ภาพต่างๆ ความเคลื่อนไหวของฟิล์มแบบฉับพลัน เพื่อปฏิบัติการในลักษณะที่เลียนแบบคล้ายๆท่วงทำนองและสำเนียงของคนดำ, ซึ่งได้หลอมรวมสิ่งที่มีค่าเท่ากันทางด้านภาพยนตร์ เกี่ยวกับแนวโน้มในดนตรีคนดำ ที่ปฏิบัติกับโน๊ตเพลงในฐานะที่ไม่แน่นอน คลุมเครือเอาไว้, ความถี่เสียงที่ไม่มีเสถียรภาพหรือความไม่แน่นอนซึ่งมีอยู่แต่กำเนิด มากกว่าปรากฎการณ์ต่างๆที่กำหนดแน่นอนตายตัวลงไป
ความเป็นไปได้ต่างๆเกี่ยวกับสุนทรียภาพของความผิดพลาดต่างๆ(หรือ aesthetic of mistakes) ได้ถูกปลุกเร้าขึ้นในเชิงเสนอแนะในผลงานของผู้สร้างภาพยนตร์แอฟริกัน-อเมริกันรุ่นบุกเบิก William Greaves. ในปฏิกริยาสะท้อนกลับของเขาเรื่อง Symbiopsycho Taxiplasm - Take one (ถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ในปี ค.ศ.1967 แต่ยังคงมีการจำหน่ายอยู่) ผู้สร้างภาพยนตร์ในภาพยนตร์เรื่องนั้นกลายเป็นตัวเร่งปฏิกริยา ด้วยการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิ์ของเขา(ในฐานะผู้กำกับ) เขาได้ยุยงและปลุกปั่นให้มีการปฏิวัติตรงๆ (อันนี้เป็นความปรารถนาโดยความเชื่อและความศรัทธาของผู้กำกับเอง) ในส่วนของบรรดานักแสดงและลูกมือต่างๆของเขา
โดยการถ่ายทำเกี่ยวกับฉาก"Over the Cliff"(บนหน้าผา)ที่ Central Park - ประกอบด้วยการถ่ายฉากเดียวกันที่ยังไม่เสร็จสิ้น เกี่ยวกับการลงเอยในความสัมพันธ์ของการแต่งงาน - ในฐานะตัวล่อ(เพื่อยุยง-ปลุกปั่น), ผู้กำกับได้กระตุ้นให้บรรดาลูกมือของเขาให้ช่วยกันสร้างและวางแผนเกี่ยวกับภาพยนตร์ด้วยตัวของพวกเขาเอง โดยเปิดให้มีการถกเถียง และปฏิเสธการจัดการของผู้กำกับแต่เพียงผู้เดียวในการกำกับฉากนั้น
In a Silent Way ของ Miles Davis ในซาวน์ดแทร็ค, ภาพยนตร์ได้รับการสร้างขึ้นมา คล้ายกับเพลงแจ๊สในตัวของมันเอง, นั่นคือ มันถูกสร้างขึ้นมาบนความ"ผิดพลาด"ที่มีนัยสำคัญ: เช่น ฟิล์มหมด, กล้องก็ติดขัด, บรรดานักแสดงกระสับกระส่าย หงุดหงิด, และรู้สึกฉุนเฉียว
ภาพยนตร์มีลักษณะอุปมาอุปมัยถึงความสัมพันธ์ของดนตรีแจ๊ส กับ ภาพยนตร์กระแสหลักของยุโรป โดยเปิดให้มีการวิจารณ์การแสดงภาพยนตร์ ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมภาพยนตร์ที่มีบทบาทสำคัญ และปลุกเร้าอย่างเฉียบแหลมในการแสดงที่ประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากทักษะที่สูง(tour de force) เกี่ยวกับการด้นสด(improvisation), อันนี้ได้แสดงถึงการต่อต้านต่างๆและพลังงานที่บังคับไม่อยู่ ซึ่งสวนกระแสกันกับการกดขี่และลัทธิเผด็จการอย่างหลากหลาย
2. สุนทรียภาพแบบการกินเนื้อคนของสมัยใหม่
กระบวนการทางสุนทรีย์ที่สำคัญอีกอันหนึ่งจากแหล่งที่ตั้งซึ่งไม่ใช่ของชาวยุโรป,
และนั่นได้ก่อให้เกิดข้อสงสัยมากขึ้นในการเล่าเรื่องแบบเส้นตรง ซึ่งไม่เป็นไปตามธรรมชาติเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางศิลปะ
คือขบวนการการกินเนื้อคนจากบราซิล
"การกินเนื้อคน"เป็นขบวนการอันหนึ่งซึ่งเป็นการเลือกตัวเองหรือระบุตัวเองเป็น"สมัยใหม่" ที่คาดการณ์ถึงแง่มุมต่างๆของหลังสมัยใหม่และหลังอาณานิคม
การสนทนาตามสมัยนิยมในปัจจุบันเกี่ยวกับ"ความเป็นลูกผสม"(hybridity) และ"การรวมกันอย่างกลมกลืน"(syncretism), ปกติแล้ว สัมพันธ์กับทฤษฎีหลังอาณานิคม(postcolonial theory), ซึ่งได้มองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่า"ศิลปิน / ปัญญาชน"ในบราซิล(และแคลิบเบียน) กำลังสร้างทฤษฎีการเป็นลูกผสมขึ้นมากว่าครึ่งศตวรรษแล้วก่อนหน้านี้
ข้อเท็จจริงที่ว่า ความสำเร็จของบรรดาศิลปินบราซิเลียน อย่าง Oswald de Andrade และ Mario de Andrade ทั้งสองคนนี้ กลับไม่ได้เป็นคนที่มีชื่อเสียงเท่ากับบุคคลเหล่านั้น อย่างเช่น James Joyce หรือ Alfred Jarry, ซึ่งทั้งสองคนหลัง มีความเกี่ยวข้องกับ"ความคิดริเริ่ม" หรือเกี่ยวกับการสอดแทรกของพวกเขาน้อยกว่า การเกี่ยวข้องกับการแบ่งสรรปันส่วนที่ไม่เสมอภาคนักของเกียรติยศทางศิลปะไปทั่วโลก, ที่ซึ่งบางส่วนของชื่อเสียงเกียรติคุณทางวัฒนธรรมขึ้นอยู่กับพลังอำนาจของประเทศหนึ่ง และการแพร่กระจายเกี่ยวกับภาษาของประเทศนั้น
อันนี้คล้ายกับว่า บรรดาศิลปินสมัยใหม่เชื้อสายบราซิเลียนของทศวรรษที่ 1920s ได้เขียนเรื่องราวต่างๆออกมาจากสถานที่หรือที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ผิด และเขียนออกมาด้วยภาษาที่ผิด
The "Modern Art Week" ที่ออกในเซา เปาโล ในเดือนกุมภาพันธ์ 1922 เป็นความพยายามครั้งหนึ่งโดยบรรดากวีชาวบราซิล, บรรดานักดนตรี, และศิลปินทางด้านทัศนศิลป์ ที่จะตัดขาดลัทธิวิชาการของยุโรป(Europhile academicism)ของห้วงเวลานั้น. ขบวนการ"การกินเนื้อคน"ได้ผสมปนเปความเคารพและจงรักภักดีที่มีต่อวัฒนธรรมท้องถิ่น เข้ากับสุนทรียภาพของลัทธิสมัยใหม่
ในระดับหนึ่งนั้น บรรดาศิลปินอย่างเช่น Oswald de Andrade และ Mario de Andrade มีคุณสมบัติในฐานะที่เป็นตัวแทน หรือเป็นตัวอย่างต่างๆในช่วงแรกๆของ "ลัทธิเหนือจริงแบบชาติพันธุ์"(ethnographic surrealism) ของ James Clifford, ด้วยเสน่ห์ตรึงใจอันชวนหลงไหลของมันกับลักษณะที่เป็นของยุคบุพกาล, กับความแตกต่างที่บรรดาศิลปินสมัยใหม่บราซิเลียนซึ่งมีอยู่ภายใน มากกว่าเกี่ยวกับเรื่องของวัฒนธรรมต่างๆที่พวกเขากำลังสำรวจและสืบค้นอยู่
งานวิจัยทางด้านดนตรีและมานุษยวิทยาของ Mario de Andrade เป็นตัวอย่าง กลายเป็นหนทางหนึ่งของการทดสอบหรือพิสูจน์, ด้วยการมีอัตลักษณ์และระยะห่างที่ผสมปนเปกัน, รากเหง้าต่างๆของเขาเองในฐานะที่เป็นศิลปินคนหนึ่งของท้องถิ่น, แอฟริกัน, และบรรพบุรุษชาวยุโรป
ขบวนการเคลื่อนไหวทางศิลปะของบราซิเลียน ไม่เพียงเรียกตัวเองว่าลัทธิสมัยใหม่(modernismo)เท่านั้น แต่ยังมองตัวเองในฐานะที่เป็นพันธมิตรและขนานในเชิงความคิดกับขบวนการศิลปะแนวหน้าของยุโรปด้วย คล้ายกับพวก futurism (futurism - ลัทธิศิลปะที่ปฏิบัติการในอิตาลีในช่วงปี ค.ศ.1909 ซึ่งได้ปฏิเสธรูปแบบจารีตนิยมอย่างแข็งขัน และอ้าแขนรับพลังความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีในยุคสมัยใหม่), Dada และ surealism.
ในคำประกาศหรือแถลงการณ์ 2 ฉบับ - "Manifesto of Brazilwood Poetry"(1924) และ "Cannibalist Manifesto"(1928) - Oswald de Andrade ได้ชี้ให้เห็นถึง วิธีการปฏิบัติในทางศิลปะในช่วงเดียวกับพวกลัทธิชาตินิยม(nationalist)และพวกสากลนิยม(cosmopolitan), พวกลัทธิพื้นถิ่น(nativist)และพวกสมัยใหม่(modern). ในหนังสือช่วงแรกๆ, de Andrade เรียกร้องบทกวีที่มีลักษณะ"คุณภาพส่งออก"(export-quality) ที่จะไม่หยิบยืมแบบจำลองของชาวยุโรปที่มีอยู่แล้วเหมือนเครื่องกระป๋องซึ่งนำเข้ามา แต่จะค้นหารากเหง้าต่างๆของตัวเองในชีวิตประจำวันและวัฒนธรรมของผู้คน
ที่ซึ่งวาทกรรมแบบอาณานิคมได้ตั้งสมมุติฐาน Carib (ชนพื้นเมือง-อเมริกันอินเดียน ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาใต้)ในฐานะที่เป็นพวกที่กินเนื้อคนที่โหดเหี้ยมดุร้าย, ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่แตกต่างกับยุโรป - เกี่ยวกับความเหนือกว่าทางด้านศิลธรรมของยุโรป, Oswald เรียกว่า "Cannibalist Manifesto"(คำประกาศของลัทธิกินคน) เพื่อการปฏิวัติอันหนึ่งอย่างไม่สิ้นสุด ซึ่ง"ยิ่งใหญ่เหนือกว่าการปฏิวัติฝรั่งเศส" กล่าวคือ มันเป็น"การปฏิวัติของชาวคาริบ"(Carib revolution), ที่"ยุโรปไม่เคยมีมาก่อน คำประกาศที่ขาดเสียซึ่งเรื่องเกี่ยวกับสิทธิต่างๆของมนุษย์
การอุปมาอุปมัยเกี่ยวกับลัทธิกินคน ยังแพร่หลายและวนเวียนอยู่ในท่ามกลางศิลปินแนวหน้าของยุโรปด้วย; แต่ลัทธิกินคน(cannibalism)ในยุโรป, ดังที่ Augusto de Campos ชี้แจง, ไม่เคยสร้างหรือสถาปนาขบวนการทางวัฒนธรรมอันหนึ่งขึ้นมาเลย, มันไม่เคยกำหนดนิยามระบบคิด, และไม่เคยพออกพอใจกับเสียงสะท้อนอันลึกซึ้งภายใน ดังวัฒนธรรมที่เป็นเช่นนั้นในบราซิล
แม้ว่า Alfred Jarry ในเรื่อง Anthropophagie ของเขา (1902) ได้พูดถึง "branche trop negligee de l' anthropophagie และ "L' Almanach du Pere Ubu" ที่กล่าวถึงตัวของเขาเอง "amateurs cannibals"(มนุษย์กินคนสมัครเล่น - อ่อนประสบการณ์), และแม้ว่าบรรดาศิลปิน Dada จะได้ตั้งชื่อหนึ่งในกระบอกเสียงหรือนิตยสารต่างๆของพวกเขาว่า Cannibale และในปี ค.ศ.1920 Francis Picabia ได้ตีพิมพ์ "the Manifeste Cannibale Dada"ออกมา, ลัทธิสุญนิยมของ Dada (nihilism of Dada)[nihilism = เป็นลัทธิที่เห็นว่าโลกเรานี้เลว สมควรถูกทำลายลง] มีความเกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อยกับสิ่งซึ่ง Campos เรียกว่า "generous ideological utopia"(ยูโธเปียในเชิงอุดมคติที่สมบูรณ์)ของลัทธิกินคนบราซิเลียน หรือ Brazilian anthropophagy.
เพียงเฉพาะในบราซิล ลัทธิกินคนกลายเป็นคำเปรียบเปรยที่สำคัญคำหนึ่ง ในขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่มีมาอย่างยาวนาน, เรียงลำดับจากนิตยสารฉบับแรก"Cannibalistic Review"ที่ออกมาในช่วงทศวรรษที่ 1920s, ด้วยการงอกออกมาในลักษณะที่หลากหลายของมัน, โดยผ่านการคาดเดาต่างๆของ Oswald de Andrade ในปีทศวรรษที่ 1950s ในเรื่องลัทธิกินคน(anthropophagy) ในฐานะที่เป็นปรัชญาเกี่ยวกับยุคบุพกาลที่ทำให้เป็นเรื่องเทคนิค"(technicized primitive), สู่กระบวนการย้อนกลับมาใช้ใหม่แนวป๊อป(pop-recyclings)เกี่ยวกับการอุปมาอุปมัย ในขบวนการเคลื่อนไหวของเมืองร้อน(tropicalist movement)ในช่วงปลายทศวรรษ 1960s
แน่นอน มันเป็นพลังแห่งความกระตือรือร้นในกันและกัน ระหว่างศิลปะแนวหน้าของบราซิเลียนและยูโรเปียน. Blaise Cendrars, Le Corbusier, Marinetti, และ Benjamin Oeret ทั้งหมดนี้ต่างไปยังประเทศบราซิล, เท่าๆกันกับ Oswald de Andrade, Sergio Millet, Paulo Prado และ คนสำคัญคนอื่นๆในขบวนการสมัยใหม่ของบราซิล ที่มักจะท่องไปในยุโรปกันอยู่บ่อยๆ
จิตรกรบราซิเลียนสมัยใหม่ Tarsila do Amaral ได้ศึกษากับ Fernand Leger, ตัวเธอและสามี Oswald นับเอา Leger, Brancusi, Satie, Cocteau, Breton, Stravinsky และ Milhaud ในท่ามกลางคนเหล่านี้, ต่างเป็นเพื่อนสนิทกัน
Oswald de Andrade ได้ให้ความเคารพต่อ surrealism, ในฐานะที่ลัทธิดังกล่าวได้ให้การอุปถัมภ์(แบบไม่จริงจังมากนักและไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ), และในฐานะ หนึ่งในกระบวนการต่างๆของลัทธิที่"เกิดก่อนลัทธิคนกินคน"(pre-anthropophagic movements)ที่อุดมสมบูรณ์. แม้ว่าลัทธิคนกินคนจะ"วางท่าทีและหน้าตาของตัวมันในลักษณะที่สวนทางกับ "Occident" (พวกอัศดงคต-ประเทศตะวันตก หมายถึงยุโรปและอเมริกา), แต่ตามความคิดของ Andrade, มันค่อนข้างจะอ้าแขนรับและโอบกอดชาวยุโรปที่ถูกทำให้ไม่พอใจ, ชาวยุโรปที่รู้สึกคลื่นเหียนและรังเกียจกับเรื่องตลกหรือไร้สาระของยุโรปเองอย่างอบอุ่น
การอุปมาอุปมัยแบบแปลกๆจากต่างแดน(exotic)ของศิลปินแนวหน้ายุโรป มีวิธีการประหลาดๆอยู่อันหนึ่งเกี่ยวกับ"taking flesh"(กินเนื้อ)ในบริบทของลาตินอเมริกัน, ผลลัพธ์ชนิดหนึ่งของผลสะท้อนในเชิงเหน็บแนม เสียดสี ระหว่างลัทธิสมัยใหม่ของชาวยุโรปกับชาวลาตินอเมริกัน. เมื่อสิ่งเหล่านี้ส่งกลับไปในบราซิลอีกครั้ง ทั้งหมดนี้กลายเป็นสิ่งที่ค่อนข้างเป็นรูปธรรมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น "ความไม่สนใจหรือเอาใจใส่กิ่งก้านสาขาของลัทธิคนกินคน"ของ Jarry ในบราซิล จึงกลายมาเป็นการอ้างถึง "ลัทธิการกินเนื้อคน" ที่แท้จริงตามคำเล่าลือ(putatively real cannibalism)ของชนพื้นเมืองในแถบลุ่มน้ำอเมซอน Tupinamba, และ"การเขียน ขณะที่ตกอยู่ในภวังค์"(trance writing)ของพวกลัทธิเหนือจริง ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่กลุ่มของการเข้าฌานหรือตกอยู่ในภวังค์ในทางศาสนาของพวก Afro-Brazilian คล้ายๆกับ candomble (ซึ่งเป็นนิกายหนึ่งของลัทธิศาสนา macumba ซึ่งนับถือปฏิบัติกันในหมู่คนดำของบราซิล โดยใช้การเต้นรำ, เครื่องรางของขลัง, และเวทมนตร์คาถา)
ความคุ้นเคยของชาวบราซิลกับ"ความบ้า"(madness)ของเทศกาลคาร์นิวาล, กับศาสนาต่างๆเกี่ยวกับการเข้าทรง(trance)ที่รับมาจากแอฟริกัน, ทำให้มันง่ายต่อบรรดาศิลปินบราซิเลียนที่จะดูดซับหรือเอาอย่าง และแปรเปลี่ยนขบวนการหรือปฏิบัติการทางศิลปะ ซึ่งในยุโรปเป็นตัวแทนการนำเสนอความปลาบปลื้มอันน่าตื่นเต้นมากกว่าอันหนึ่ง กับคุณค่าต่างๆที่แวดล้อมและขนบจารีตต่างๆทางจิตวิญญาน
ศิลปินสมัยใหม่ชาวบราซิลได้สร้างคำเปรียบเปรยเกี่ยวกับลัทธิกินคน(cannibalism)ขึ้นมา เพื่อเป็นพื้นฐานของสุนทรียภาพในแนวกบฎหรือต่อต้าน(insurgent aesthetic), เพื่อเรียกร้องต้องการ การสังเคราะห์ในเชิงสร้างสรรค์อันหนึ่งของ"ลัทธิศิลปะแนวหน้าของชาวยุโรป" กับ "ลัทธิกินคนของชาวบราซิล" และปลุกเร้าการสวาปามเนื้อคน(anthropophagic devouring)ทางเทคนิคและข่าวสารข้อมูลของประเทศที่พัฒนาถึงที่สุดแล้วต่างๆ(super developed countries) เพื่อดิ้นรนต่อสู่กับการครอบงำได้ดีขึ้น
เทียบกับชาวพื้นเมืองอินเดียน Tupinamba ดั้งเดิม ซึ่งได้กลืนกินบรรดาศัตรูของพวกเขาเพื่อแย่งชิงพลังอำนาจของศัตรูมา. บรรดานักคิดลัทธิสมัยใหม่ได้ให้เหตุผลว่า, ศิลปินบราซิเลียนทั้งหลาย และบรรดาปัญญาชนควรจะย่อยผลผลิตต่างๆทางวัฒนธรรมที่ได้รับการนำเข้ามา และตักตวงประโยชน์จากพวกมันในฐานะที่เป็นวัตถุดิบสำหรับการนำมาสังเคราะห์ใหม่ ด้วยเหตุนี้จึงหันเห บ่ายเบนวัฒนธรรรมที่ถูกบังคับยัดเยียดกลับไป, แปรเปลี่ยนสวนกระแสกับพวกเจ้าอาณานิคม
บรรดานักคิดลัทธิสมัยใหม่ยังเรียกร้องเพื่อ de-Vespucciazation of Americas (การอ้างอิงถึง Amerigo Vespuucci - ซึ่งเป็นนักเดินเรือชาวฟลอเรนท์ อิตาลี ซึ่งได้มาสำรวจชายฝั่งทะเลอเมริกาใต้ และได้มีการตั้งชื่อดินแดนแถบนี้ว่า"อเมริกา"เพื่อให้เกียรติกับเขา) และ de-Cabralization of Brazil (เป็นการอ้างอิงถึง Pedro Cabral, นักเดินเรือค้นหาชาวโปรตุเกส ซึ่งไปค้นพบบราซิล ราว ค.ศ.1500). The Revista de Anthropofagia (Cannibalist Review)ได้แสดงความโศกเศร้าว่า ชาวบราซิลยังคงตกเป็นทาสอย่างต่อเนื่อง ต่อ"วัฒนธรรมที่เน่าเปื่อยผุพังของชาวยุโรป" และยังตกเป็นทาสของจิตสำนึกอาณานิคม(colonial mentality)ด้วย
ในเวลาเดียวกันนั้น, ความคิดความเชื่อเกี่ยวกับ"ลัทธิกินคน" ยังยึดครองสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนกันทางวัฒนธรรมระหว่าง"ศูนย์กลาง"และ"ชายขอบ", และความเป็นไปไม่ได้ที่ตามมาของการคิดถึงอดีตที่จะหวนคืนกลับไปสู่ความบริสุทธิ์เดิมๆ นับจากการที่มันไม่สามารถหวนคืนกลับไปสู่ต้นตอกำเนิดชาติที่เรียบง่าย ซึ่งไม่ถูกทำให้เกิดรอยมลทินโดยอิทธิพลของคนต่างด้าวได้อีกแล้ว
ศิลปินซึ่งตกอยู่ในวัฒนธรรมที่มาครอบงำ ไม่ควรจะเมินเฉยหรือละเลยความเอาใจใส่ต่อการมีอยู่ของต่างชาติ แต่จะต้องกลืนกินมันเข้าไป, ทำให้มันเป็นคาร์นิวาลหรือเรื่องสนุกสนาน, นำมันกลับมาใหม่เพื่อจุดหมายปลายทางของชาติ, จากตำแหน่งอันหนึ่งของความเชื่อมั่นทางวัฒนธรรมของตนเองเสมอ. ลัทธิกินคนในความหมายนี้ เป็นอีกชื่อหนึ่งเท่านั้น ของความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาที่ข้ามผ่านทางวัฒนธรรม, ช่วงเวลานี้อยู่ในบริบทของความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่อสมมาตร(asymmetrical power relations)
ดังที่ถูกใช้ประโยชน์โดยศิลปินสมัยใหม่ชาวบราซิล, การอุปมาอุปมัย"ลัทธิกินคน"ขึ้นมามีลักษณะที่เป็นทั้งขั้วบวกและขั้วลบ
ในด้านลบ คือมันได้แปรขบวนหรือปรับเปลี่ยนลัทธิกินคนอย่างเหมาะสม เพื่อเผยให้เห็นถึงลัทธิดราวินที่มีลักษณะตักตวงประโยชน์ทางสังคมของสังคมชนชั้น และในด้านบวก มันค่อนข้างชวนให้นึกถึงมากขึ้นเกี่ยวกับ การทำให้การกำหนดคุณค่าของยุคสว่าง(the Enlightenment)มีลักษณะเป็นเรื่องสุดขั้ว เกี่ยวกับอิสรภาพของอเมริกันอินเดียน(Amerindian)[เป็นศัพท์อีกคำหนึ่งของ American indian ซึ่งใช้มากทางด้านมานุษยวิทยาและภาษาศาสตร์]ที่เป็นคนท้องถิ่น, มันได้เน้นลักษณะ"มาตาธิปไตยดั้งเดิม"และ"ลัทธิชุมชนนิยม"ให้เด่นชัดขึ้นมา ในฐานะที่เป็นแบบจำลองของยูโธเปียอันหนึ่ง
De Andrade ต้องการที่จะปลดปล่อยวัฒนธรรมให้เป็นอิสระจากอุปสรรคกีดขวางทางศาสนาและลัทธิประโยชน์นิยมของทุนนิยม. ความเข้าใจถ่องแท้ในลักษณะสังเคราะห์ของ Montaigne, Nietzsche, Marx, และ Freud, พร้อมกับสิ่งที่เขารู้เกี่ยวกับสังคมพื้นถิ่นต่างๆของชาวบราซิล, เขาได้พรรณาหรือวาดภาพวัฒนธรรมท้องถิ่นในฐานะที่เป็น การนำเสนอแบบจำลองทางสังคมอันหนึ่ง ที่เหมาะสมมากกว่าวัฒนธรรมของชาวยุโรป, แบบจำลองซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความสนุกสนานอย่างเต็มที่ของการมีเวลาว่าง
การเล่นกับคำในภาษาโปรตุเกส "negocio" - "business", แต่ตามตัวอักษร "neg-ocio", หรือ the negation of leisure(การปฏิเสธเวลาว่าง), de Andrade ได้เสนอคำว่า proto-Marcusean ซึ่งเป็นคำที่แสดงออกอย่างเป็นทางการในเชิงยกย่องต่อ "sacer-docio" หรือ "sacred leisure"(เวลาว่างอันศักดิ์สิทธิ์)
อีกครั้งในที่นี้ เราค้นพบถ้อยคำเกี่ยวกับการอุปมาอุปมัยของลัทธิแนวหน้าของชาวยุโรป(European avant-garde). พวกศิลปิน Dada ด้วยเช่นกัน ได้เรียกร้อง"การว่างงานเพิ่มขึ้น"(progressive unemployment) และ"กฎระเบียบต่างๆ"ของลัทธิเหนือจริง ของ Breton ห้ามหรือปฏิเสธงานประจำ
แต่อย่างไรก็ตาม ปัญญาชนศิลปินชาวบราซิลมีข้อได้เปรียบเกี่ยวกับความสามารถที่จะชี้ให้เห็นถึงสังคมท้องถิ่นต่างๆที่มีอยู่ ซึ่งเป็นอิสระจากงาน, ในความหมายของตะวันตกเกี่ยวกับงานที่ได้รับเงินเดือน, และจากอำนาจที่มาบีบบังคับ. และสังคมเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในความยากจน แต่อยู่ในความอุดมสมบูรณ์ทางด้านวัตถุ
ต่อมาอีกนานพอสมควร ขบวนการเคลื่อนไหวลัทธิสมัยใหม่ได้ทำให้ภาพยนตร์ของชาวบราซิลติดเชื้อ โดยผ่านขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่เรียกว่า"ลัทธิเขตร้อน"(tropicalism) ซึ่งปรากฎตัวขึ้นในบราซิลในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960s. อันที่จริง นักประวัติศาสตร์ศิลป์ที่เซา เปาโลคนหนึ่ง ได้หมุนเวียนนำเอาคำเปรียบเปรยลัทธิกินคน(cannibalist trope)มาใช้ใหม่ โดยเสนอว่า ลัทธิกินคน(anthropophagy)ยังคงเพิ่มพลังให้กับศิลปินอย่างต่อเนื่อง: "ศิลปะของชาวบราซิลแห่งคริสตศตวรรษที่ 20 เป็นงานเลี้ยงเครื่องหมายของเผ่า(totemic banquet)(totem - คือเครื่องหมายซึ่งเป็นรูปพืชหรือสัตว์ที่ได้รับความเชื่อโดยกลุ่มของ ชุมชน เผ่า หรือสังคม ว่ามีอำนาจทางจิตวิญญาน และรับเอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม ซึ่งอาจจำหลักอยู่บนเสา) ซึ่งพ่อ-ชาวยุโรป(Father-European)กำลังถูกกลืนกินอย่างตระกละตระกราม
เหมือนๆกับศิลปินสมัยใหม่ชาวบราซิล(แต่ไม่เหมือนศิลปินสมัยใหม่ชาวยุโรป), ลัทธิเขตร้อนได้ละลายลัทธิชาตินิยมทางการเมืองด้วยลัทธินานาชาติทางสุนทรียภาพ(aesthetic internationalism). ในที่นี้เราจะอ้างถึงภาพยนตร์เพียง 3 เรื่องเท่านั้นอย่างสั้นๆในท่ามกลางภาพยนตร์จำนวนมาก ซึ่งได้รับอิทธิพลทั้งจากลัทธิสมัยใหม่และลัทธิเขตร้อน
เรื่องแรก คือ Macunaima (1969) ของ Joaquim Pedro de Andrade, ที่มีพื้นฐานอยู่บนความคลาสสิคสมัยใหม่ของ Mario de Andrade, ซึ่งได้ผันเปลี่ยนแนวเรื่องเกี่ยวกับลัทธิกินคนไปสู่การเป็นกระดานสปริง(springboard) สำหรับการวิจารณ์เกี่ยวกับการปกครองแบบกดขี่และบีบบังคับของเผด็จการทหาร และเกี่ยวกับแบบจำลองทุนนิยมที่มีลักษณะเป็นการล่าเหยื่อหรือตักตวงผลประโยชน์จากคนอื่น(predatory capitalsit model) และท้ายสุด เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของบราซิเลียนที่เพียงเกิดขึ้นชั่วระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น
เรื่องที่สอง คือ How Tasty Was My Frenchman (1971) ของ Nelson Pereira dos Santos ที่ได้ล้มล้างเอกลักษณ์ในเชิงขนบจารีตลงโดยตัวชูโรงหรือพระเอกชาวยุโรป เกี่ยวกับคำบรรยายที่ชวนหลงใหลและผูกมัดใจด้วยการธำรงรักษาท่าทีที่เป็นกลาง และทัศนคติในเชิงเยาะเย้ย ถากถางต่อกระบวนการกลืนกินคนฝรั่งเศสที่มียศถาบรรดาศักดิ์ โดยชนเผ่า Tupinamba
เรื่องที่สาม Triste Tropico (1974) ของ Arthur Omar, ในท้ายที่สุด ได้ดึงเอารากแก้วของลัทธิคนกินคน(anthropophagy)ขึ้นมาใช้. อันนี้เป็นการให้คำนิยามที่ดีที่สุดในฐานะสารคดีเกี่ยวกับลัทธิกินคนเชิงจินตนาการ. ชื่อเรื่องภาพยนตร์ ได้พาดพิงอย่างเปิดเผยถึงบันทึกความทรงจำและประสบการณ์ทางชาติพันธุ์วรรณาของ Levi-Strauss เกี่ยวกับบราซิล, ซึ่งได้ไปกระตุ้นสายโซ่ให้สั่นสะเทือนและได้ไปปลุกความสัมพันธ์ต่างๆทางวัฒนธรรมขึ้นมา. ขณะที่ Levi-Strauss ได้ออกจากยุโรปมุ่งสู่บราซิล เพียงเพื่อที่จะค้นหาความมีอคติทางด้านชาติพันธุ์ต่างๆ(ethnocentric prejudices)ของยุโรป, ส่วนตัวเอกในเรื่อง Triste Tropico ได้ไปยังยุโรป - และในที่นี้เส้นทางโคจรของเขา มันขนานกันไปกับบรรดาปัญญาชนบราซิเลียนจำนวนมากเหล่านั้น - เพียงเพื่อค้นหาบราซิลให้พบ
ดังนั้น ภาพยนตร์เรื่องที่สามนี้จึงได้สอดแทรกตัวของมันเองเข้าสู่การสนทนาที่ดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมที่มีปัญหากับยุโรป, การสนทนาอันหนึ่งที่ได้ประสบกับความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับธรรมเนียมสมบัติผู้ดี: "ลัทธิอินเดียน"(indianism), ลัทธิชาตินิยม(nationalism), ลัทธิสมัยใหม่(modernism), และลัทธิเขตร้อน(tropicalism)
ภาพซึ่งเป็นการเปิดตัวของภาพยนตร์เรื่อง Triste Tropico - เป็นภาพการจราจรในเมืองเซา เปาโล, อัลบัมภาพถ่ายครอบครัวที่เก่าแก่ - ได้น้อมนำเราให้คาดหวังถึงสารคดีตามธรรมเนียมอย่างตรงไปตรงมาอันหนึ่ง. ผู้บรรยายนอกจอได้พูดออกมาในลักษณะถ้อยคำที่ฟังดูครึกโครม ซึ่งสารคดีต่างๆที่เป็นที่ยอมรับทั่วๆไปได้ทำให้เรารู้สึกคุ้นชินกับวิธีการแบบนั้น, ผู้บรรยายได้บอกกับเราเกี่ยวกับคนๆหนึ่งที่ชื่อ Arthur Alvaro de Noronha ถูกรู้จักในฐานะ Dr. Artur, ซึ่งได้หวนกลับมาจากการศึกษาที่ปารีส เพื่อเป็นแพทย์ในบราซิล
ภาพยนตร์ถ่ายทำกันเองในครอบครัวได้แสดงให้เห็นถึงชายคนหนึ่งกับครอบครัวของเขา; เราอนุมานหรือสรุปได้ว่า ชายคนนั้นก็คือ Dr. Artur. ในปารีส, เราได้รับการบอกเล่าว่า ด็อกเตอร์คนดังกล่าวกลายเป็นเพื่อนกับ Andre Breton, Paul Eluard, และ Max Ernst (สามคนนี้เกี่ยวข้องกับ surrealism). อันนี้คือเงื่อนงำแรกของเราที่บอกใบ้ถึงชีวประวัติเหนือจริงอันหนึ่งกำลังรอเราอยู่อย่างชัดแจ้ง
ดังที่ภาพยนตร์ได้ดำเนินต่อไป, การบรรยายกลายเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้มากขึ้น และเพ้อฝันเกินความจริง. ด็อกเตอร์คนนี้ได้กล้ำกลายไปเกี่ยวพันกับชาวอินเดียนต่างๆ, โดยเขาได้ทำการรวบรวมปฏิทินอันหนึ่งเกี่ยวกับยารักษาโรคทางด้านสมุนไพรขึ้น, และเขาได้กลายเป็นผู้มาโปรด(Messiah)คนพื้นเมือง, และในท้ายที่สุด ตกต่ำลงกลายเป็นพวกชอบสังวาสทางทวารหนัก(sodomy)และพวกลัทธิกินคน
ด้วยเหตุนี้ กล่าวโดยสรุป มันเป็นเส้นทางหรือวิถีของเรือนร่างที่แน่ชัดอันหนึ่งเกี่ยวกับวรรณกรรมอาณานิคม. การสืบสายของเรื่องราวดังกล่าวสู่ลักษณะบราซิเลียนนี้ Heart of Darkness สอดคล้องลงรอยกับการสืบสายของเราเองสู่ป่าดงดิบอันยุ่งเหยิงเกี่ยวกับความสับสนทางด้านภาพยนตร์
สำหรับภาพต่างๆที่ดำเนินไปของภาพยนตร์เรื่องนี้ ค่อยๆถอนตัวของมันเองออกจากการบรรยาย, กลายเป็นภาพประกอบที่มีการอธิบายน้อยลงๆ และมีความสับสนอลหม่านเพิ่มขึ้นๆในเชิงที่ขัดแย้ง. เราเริ่มสงสัยว่า เราเป็นคนที่ถูกหลอกด้วยเรื่องตลกขนานใหญ่, ราวกับว่า Borges ได้เขียน Conrad ขึ้นมาใหม่อย่างมีเล่ห์เหลี่ยม และภาพของ Dr. Artur เป็นเพียงเรื่องราวที่กุขึ้นมาเกี่ยวกับจินตนาการของผู้กำกับ, ชื่อของเขา, เราอาจยังจำกันได้, นั่นคือ เขาชื่อ Artur ด้วย
การดำเนินเรื่องที่เป็นแกนกลางของ Triste Tropico คือการเสริมเติมการบรรยายแบบเส้นตรงที่ไร้จุดด่างพร้อย(แม้จะเหลวไหล ไร้สาระ)บนเสียงและภาพที่ขาดความต่อเนื่องอย่างสุดๆ. ขณะที่การบรรยายนอกจอเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงสอดคล้องกัน(ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆของความเป็นไปไม่ได้), ในส่วนของร่องรอยอื่นทั้งหมด, ภาพ, ดนตรี, เสียงรบกวน, ชื่อเรื่อง - ได้สร้างความสับสนอลหม่านชุดหนึ่งขึ้นมา, มันเป็นความเพ้อที่ถูกรวบรวมขึ้นมาอันหนึ่งของเนื้อหาต่างๆที่ไม่สอดคล้องกันเลย: นั่นคือ มันประกอบด้วยภาพยนตร์สมัครเล่น, ภาพยนตร์ท่องเที่ยวของชาวยุโรป, ช็อตต่างๆเกี่ยวกับงานเทศกาลคาร์นิวาลของ Rio, ฉากต่างๆเกี่ยวกับการแสดงบนเวที, คลังข้อมูล, ตัดมาจากภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ, ภาพพิมพ์ร่องลึก, ปกหนังสือ, ภาพประกอบจากหนังสือบันทึกเหตุการณ์ประจำปี(almanac) และอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก
ภายใต้การสร้างขึ้นมาจากข้อมูลอันหลากหลาย ทั้งภาพและเสียง เราได้เผชิญหน้ากับความตรงข้ามที่ประกอบกันขึ้นมาต่างๆ: จากภาพยนตร์ที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษบางเรื่อง(เช่นภาพยนตร์สีและขาวดำ; ภาพยนตร์ทั้งเก่าและใหม่) และวัฒนธรรมบางอย่างอย่างกว้างขวาง: ชายฝั่งทะเล และวัฒนธรรมภายในท้องถิ่น, การกินแบบดิบๆของบราซิลและการปรุงอาหารของยุโรป; ระเบียบแบบแผนที่สุขุม รอบคอบแบบเทพอพอลโล และความบ้าระห่ำแบบเทพไดโอนิซุส(apollonian order and Dionesian frenzy); la pensee sauvage และ la pansee civilisee, เหล่านี้ได้รับการนำเสนอในหนทางอันหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวกับการให้สิ่งที่ปัจจุบันได้รับการเรียกขานว่า "หลังสมัยใหม่"(postmodern) มารับหน้าที่ต่อจาก "ลัทธิโครงสร้างนิยม"(structuralism)
3. สรุปและข้อเสนอแนะ
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้อย่างสั้นๆ คือภาพต่างๆที่ทำให้เราเห็นถึงแนวคิดสุนทรียศาสตร์ของลาตินอเมริกัน
ซึ่งแตกต่างไปจากสุนทรียศาสตร์ของชาวยุโรปที่ได้รับการอุปโลกน์ขึ้นมา ในฐานะที่เป็นสุนทรียศาสตร์สากล
สุนทรียศาสตร์ของบราซิลเลียน ไม่ว่าจะเป็น คาร์นิวาล(ที่เน้นในเรื่องของความสนุกสนาน การให้ความสำคัญทางด้านร่างกาย), สุนทรียศาสตร์ที่ผิดพลาด, ลัทธิกินคน(ที่สนใจหวนกลับไปสู่ขนบจารีตในเชิงสัญลักษณ์ ในการกลืนกินวัฒนธรรมของคนอื่นหรือศัตรู เพื่อมาเพิ่มพลังให้กับวัฒนธรรมของตน), ลัทธิเขตร้อน, ล้วนเป็นการอุปมาอุปมัยขึ้นในเชิงเทคนิคในลักษณะที่ต่อต้าน หรือทวนกระแสกับฐานคิดสุนทรียภาพของตะวันตกที่มักอ้างตนว่าเป็นศูนย์กลาง และมองคนอื่นว่าด้อยกว่า
ในส่วนของสุนทรียศาสตร์ของบราซิเลียนนั้น กลับเป็นการตามหาความเป็นตัวของตัวเอง และมีลักษณะของการสร้างวัฒนธรรมของท้องถิ่นขึ้นมา เพื่อย้อนกลับสู่อัตลักษณ์อย่างมีสำนึก อย่างไรก็ตาม เพียงบทความขนาดสั้นชิ้นนี้ อาจยังไม่สามารถเพิ่มพูนความเข้าใจของพวกเราในการทำความรู้จักกับสุนทรียศาสตร์และศิลปะนอกกระแสได้เพียงพอ ดังนั้น จึงขอแนะนำท่านทั้งหลายให้อ่านเรื่อง ศิลปะและสุนทรียศาสตร์เกี่ยวกับขยะ เป็นการเพิ่มเติม ซึ่งเป็นบทความลำดับที่ 366 ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)