มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
สอบตามหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดของ UNHCR ตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้ร้องขอให้ UNHCR เข้ามาช่วยเหลือดำเนินการ จะเห็นว่า UNHCR ออกหนังสือ POC ให้กับนักศึกษาจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับนักศึกษาพม่าจำนวนมากที่หนีภัยการปราบปรามจากกองทัพทหารพม่า
จะเห็นว่า การให้ข่าวของนายกรัฐมนตรีขาดการตรวจสอบ และบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ UNHCR จะเข้ามาดำเนินการใด โดยปราศจากการร้องขอจากรัฐบาลไทย ในทางการเมืองระหว่างประเทศ ถือเป็นแนวปฏิบัติโดยทั่วไปว่า ข้อตกลงใด ๆที่องค์การระหว่างประเทศได้ทำไว้กับรัฐบาลหนึ่ง มีผลผูกพันธ์กับทุกรัฐบาล ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนพรรคการเมืองที่เข้ามาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล จึงเป็นการบิดเบือนอย่างมากที่รัฐบาลไทยไปกล่าวโทษ UNHCR ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือ ผ่อนหนักผ่อนเบาภาระต่าง ๆของประเทศในสถานการณ์ที่มีชาวพม่าจำนวนมากหลบหลีกหนีภัยการเมืองมาพึ่งหาความสงบร่มเย็นในแผ่นดินไทย
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) ซึ่งประกอบด้วยนักสิทธิ มนุษยชน ทนายความ นักวิชาการ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทย ทำงานและออกนโยบายต่าง ๆบนพื้นฐานของการมีวิจารณญาณของประชาธิปไตย และรักษาความมีมนุษยธรรมที่ประชาชนคนไทยได้รับการยกย่องเชิดชูมาโดยตลอด
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า
(กรพ.)
1 กรกฎาคม 2546
หมายเหตุ หนังสือ Person of Concern (POC) เป็นหนังสือแสดงตน ที่ UNHCR ออกให้ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัย ซึ่งหมายถึง บุคคลที่อยู่นอกอาณาเขตแห่งรัฐตน และมีความกลัวอันสมควรแก่เหตุต่อภัยประหัตประหาร (หมายถึง ชีวิต/เสรีภาพที่ถูกคุกคาม ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างรุนแรง) อันเนื่องมาจากเหตุแห่ง เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา และความคิดเห็นทางการเมือง (คำนิยามนี้ ปรากฏอยู่ในอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย 1951 )
นโยบายต่างประเทศของไทยต่อพม่า
และการจัดระเบียบนักศึกษาพม่า
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า
(กรพ.)
Thai Action Committee for Democracy in Burma (TACDB)
ที่ กรพ.พิเศษ/2546
4 กรกฎาคม 2546
เรื่อง นโยบายต่างประเทศของไทยต่อพม่า
และการจัดระเบียบนักศึกษาพม่า
เรียน ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2532 ประกอบด้วย นักสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ ทนายความ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้สังคมไทยมีความเข้าใจต่อสภาพปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า และเข้ามีส่วนร่วมในการรณรงค์เรียกร้องให้เกิดประชาธิปไตยในพม่า ด้วยเห็นว่า ความสงบสันติมิอาจเกิดขึ้นได้ในภูมิภาคนี้ และโดยเฉพาะในบริเวณชายแดนไทยเขตติดต่อกับพม่า ตราบใดที่ระบอบประชาธิปไตย และการเคารพในหลักสิทธิมนุษยชน อันเป็นวิถีการเมืองและหลักการที่เป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก ไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในพม่า
กรพ. ได้ติดตามนโยบายต่างประเทศของไทยต่อพม่า และการเคลื่อนไหวของรัฐบาลไทยโดย เฉพาะต่อนโยบายการควบคุมการรณรงค์เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า ไม่ว่าจะเป็นการกดดันมิให้นักศึกษาพม่ามีโอกาสแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ด้วยสันติวิธี การควบคุมให้นักศึกษาอยู่ในค่ายกักกัน ตลอดจนการผลักดันให้นักศึกษาพม่าไปประเทศที่สาม
การดำเนินการของรัฐบาลไทยดังกล่าว นอกจากจะเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่พึงมีตามระบอบประชาธิปไตยแล้ว ยังเห็นได้ว่าเป็นการพยายามเอาใจเผด็จการทหารพม่า ที่เรียกตัวเองว่า SPDC (State of Peace and Development Council) ซึ่งกำลังถูกนานาชาติกดดันและบอยคอต เพิกถอนการให้ความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ SPDC ถูกตรวจสอบมิให้วีซ่าเดินทางเข้าประเทศ ทรัพย์สินเงินทองที่ SPDC ฝากไว้ในนานาประเทศเหล่านี้ถูกยึด และถอดถอน ฯลฯ ทั้งนี้ ด้วยนานาชาติ ได้เห็นแล้วว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา SPDC ไม่ได้มีความตั้งใจใด ๆในอันที่จะดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดกระบวนการเจรจาที่นำไปสู่ประชาธิปไตยในพม่าอย่างสันติวิธี โดยเฉพาะการใช้ผลการเลือกตั้งที่ประชาชนพม่ากว่า 80% ของประเทศ ลงคะแนนเสียงเลือกให้พรรค NLD (National League of Democracy) ที่มีนางออง ซาน ซู จี เป็นผู้นำพรรค ขึ้นมาเป็นผู้บริหารปกครองประเทศ
ผลการเลือกตั้งดังกล่าว ชี้ว่า SPDC ไม่มีความชอบธรรมใด ๆในการปกครองประเทศ และไม่มีสถานะใด ๆที่จะเป็นตัวแทนของประชาชนพม่าในการดำเนินการใด ๆ นโยบายการเอาอกเอาใจของรัฐบาลไทย ต่อ SPDC จึงถือเป็นความผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะที่รัฐบาลไทยเองเป็นรัฐบาลที่มาจากการ เลือกตั้ง และเคารพในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่ง ที่จะสนับสนุนการ ปกครองด้วยเผด็จการทหารในประเทศเพื่อนบ้าน การสนับสนุนเผด็จการทหารในประเทศเพื่อนบ้าน มีแต่จะนำมาซึ่งความวุ่นวายตามบริเวณชายแดน ส่งผลต่อความไม่มั่นคงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศในระยะยาว
บทบาทของรัฐบาลไทยและ ASEAN ในฐานะองค์การของรัฐบาลประเทศในภูมิภาคนี้ จึงควรเป็นไปเพื่อให้เกิดกระบวนการที่นำไปสู่ระบอบที่สะท้อน และตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในพม่าอย่างแท้จริง ดังนั้น บนฐานคิดที่ว่าไม่มีประเทศใดจะสามารถอยู่ได้โดดเดี่ยวโดยปราศจากการพึ่งพาของประเทศอื่น ไม่มีประชาชนในชนชาติ เชื้อชาติ ภาษาใด อยู่โดยไม่สัมพันธ์กับประชาชนชนชาติ เชื้อชาติ ภาษาอื่น จึงเป็นหน้าที่ของเพื่อนมนุษย์ที่มีมิตรภาพต่อกัน จำต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และหาหนทางที่จะนำมาซึ่งความ มั่นคง และสันติสุขที่แท้จริงร่วมกัน
กลุ่มนักศึกษาพม่า ที่เข้ามาทำงานเรียกร้องประชาธิปไตย เป็นกลุ่มหนุ่มสาวที่ถูกเผด็จการทหารพม่าปราบปรามจนต้องหลบหนีเอาชีวิตรอดเข้ามาประเทศไทย กลุ่มนักศึกษาเหล่านี้ ล้วนเป็นปัญญาชนและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศพม่าในอนาคต การควบคุมกดดันเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของกลุ่มนักศึกษาเหล่านี้ นอกจากจะเป็นการขัดแย้งกับพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ ลงนามให้สัตยาบันกับนานาประเทศแล้ว ยังเป็นการใช้อำนาจอย่างเผด็จการสวนทางกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในพม่า
กรพ. จึงเรียนมาเพื่อขอให้คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนอันชอบธรรมที่มาจากการเลือกตั้ง ได้ดำเนินการให้มีการทบทวนนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อประเทศพม่าและต่อนักศึกษาพม่า ดังนี้
1. กำหนดมาตราการที่จะเป็นการผลักดันเร่งรัดให้ SPDC ดำเนินการคืนอำนาจให้ประชาชน พม่า เพื่อให้สถานการณ์ในพม่าคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว หาก SPDC ยังคงดึงดันต้องการรักษาอำนาจผลประโยชน์ ให้ตนเองและพวกพ้อง รัฐบาลไทย และ ASEAN ควรมีมาตรการไม่รับรอง SPDC ในการเป็นตัวแทนที่ชอบธรรมของประชาชนพม่า เลิกคบหาสมาคมและยุติความสัมพันธ์ทางการค้ากับ SPDC
2. เปิดโอกาสให้นักศึกษาพม่ามีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และเรียกร้อง ประชาธิปไตยในพม่าด้วยสันติวิธี ภายใต้กฎหมายไทย
3. สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มนักศึกษาพม่า ในอันที่จะพัฒนาศักยภาพ ความรู้ ความสามารถที่มีอยู่ เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในพม่าต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ผลเป็นประการใด กรุณาแจ้งให้ทราบด้วย จักขอบคุณยิ่ง
ขอแสดงความนับถือ
(ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์)
ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.)
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)
แถลงการณ์ กรณีการจัดระเบียบนักศึกษาพม่าในประเทศไทย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) ซึ่งทำงานกับกลุ่มองค์กร นักศึกษาพม่ามานาน ได้ติดตามกระแสการรณรงค์ของรัฐบาลไทยเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า โดยเฉพาะนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การปะทะที่ตอนเหนือของพม่าเมื่อวันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม ที่ผ่านมาจนเป็นเหตุให้มีประชาชนพม่าเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย และทำให้นาง ออง ซาน ซู จี ผู้นำ พรรค NLD (National League for Democracy) ซึ่งเป็นพรรคที่ชนะการเลือกตั้งครั้งล่าสุด และมีความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล ถูกจับกุมคุมขัง โดยไม่ได้รับอนุญาตให้เยี่ยมเยียน
กรพ. เห็นว่าท่าทีของรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นสมาชิกของประชาคมโลกที่ถือว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ถูกต้อง รัฐบาลต้องมาจากการเลือกตั้ง กลับมีท่าทีความสัมพันธ์ใกล้ชิดโอนอ่อนผ่อนตาม SPDC (State of Peace and Development Council) ซึ่งเป็นกองทัพทหารพม่าที่ได้ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศพม่า ด้วยการออกมาตราการต่าง ๆเพื่อมาระงับกิจกรรมที่จะเป็นการกดดัน SPDC และเรียกร้องให้มีประชาธิปไตยในพม่า
รัฐบาลไทย ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้กำหนดนโยบาย ต่าง ๆโดยมิได้มีวิจารณญาณบนพื้นฐานของประชาธิปไตย กล่าวอ้างการทำงานของนักศึกษาพม่าเพื่อประชาธิปไตยว่าเป็นการก่อความวุ่นวาย ทั้ง ๆที่ตลอดเวลาที่ผ่านมา นักศึกษาพม่าที่รณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ด้วยหวังว่าสักวันหนึ่งจะได้กลับประเทศและพัฒนาประเทศของตนตามวิถีของอารยชนเยี่ยงอย่างประชาคมโลกทั้งหลาย ล้วนทำงานในกรอบของกฎหมายไทย ด้วยสันติวิธี แม้นในอดีตนานมาแล้ว จะมีบางกรณีที่ออกนอกกรอบอยู่บ้าง แต่พวกที่ออกนอกกรอบได้รับการจับกุมลงโทษ บรรดานักศึกษาพม่าเองได้สรุปบทเรียนและต่างสำนึกในบุญคุณที่แผ่นดินไทยได้เป็นที่พึ่งมานานนับสิบปี ต่างตระหนักถึงระเบียบและเคารพในกฎหมายไทย และไม่กระทำการใด ๆที่จะเป็นการล่วงละเมิดสิทธิของคนไทย
นักศึกษาพม่าที่ได้รับการรับรองด้วยหนังสือ Person of Concern (POC)* จากองค์การข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (UNHCR) ตามที่ปรากฏเป็นข่าว เป็นผู้นำนักศึกษา หากเทียบกับกรณีของประเทศไทย คือผู้นำนักศึกษาไทยในยุคเหตุการณ์ 14 ตุลา 6 ตุลา ที่ได้รับการตรวจ