สมชาย ปรีชาศิลปกุล สาขานิติศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ มช.

ใคร่ย้ำไว้ ณ ที่นี้ว่าไม่ได้ต้องการเรียกร้องให้เกิด "คนเดือนพฤษภา" ขึ้นแต่ต้องการย้ำให้เห็นว่า คำอธิบายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬที่ ไม่เปิดพื้นที่ให้กับคนกลุ่มอื่นนอกเหนือชนชั้นกลาง คนเดือนตุลา เป็นการสร้างความหมายที่แฝงไว้ด้วยความรุนแรงรูปแบบหนึ่ง ดังจะเห็นได้ว่าคนที่ถูกลืมเลือนไป มีใครรู้บ้างว่าทุกวันนี้ฐานะความเป็นอยู่ ความรู้สึก ของบุคคลเหล่านี้ว่ามีสภาพอย่างไร

อาจนับเป็นข้อดีของโศกนาฏกรรมประการหนึ่ง ที่การเรียกร้องเรื่องการค้นหาศพของวีรชน (ผู้เสียชีวิต?) เดือนพฤษภายังไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์... การเคลื่อนไหวนี้ในด้านหนึ่งแล้ว ก็เท่ากับเป็นการช่วยตอกย้ำให้คนในสังคมได้ระลึกอยู่ว่า พฤษภาทมิฬมิใช่เป็นเพียงเรื่องของคนเดือนตุลาเท่านั้น หากยังมีบุคคลกลุ่มอื่นๆ เข้าร่วมอยู่ด้วยและเป็นผู้ที่แบกรับความสูญเสียไว้ไม่น้อยเช่นกัน

110545
release date
N
home
คนที่หายไปในเดือนพฤษภา : อิทธิพลของคำอธิบายเรื่องม็อบมือถือ ทำให้กลุ่มคนอีกเป็นจำนวนมากที่มีบทบาท และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ถูกมองข้าม บางกลุ่มก็แทบจะถูกลืมเลือนไปอย่างสิ้นเชิงภายหลังเดือนพฤษภา เช่น กลุ่มญาติธรรมของ พล.ต.จำลอง ที่เคยถูกประเมินจากกรุงเทพธรุกิจรายสัปดาห์ว่า เป็น 1 ใน 4 กลุ่มสำคัญของการชุมนุมทั้งด้านการเป็นแหล่งทุน และสวัสดิการ เมื่อนึกถึงพฤษภาในวันนี้ มีใครยังพอจำได้ถึงคนกลุ่มนี้ รวมถึงอีกหลายคนที่ต้องตกอยู่ในสถานะแบบเดียวกัน
ภาพประกอบดัดแปลง จากภาพ Old Man with a Dead Maiden : Odd Nerdrum ปรับปรุงมาจากนิตยสาร Art in America ฉบับ เดือนมีนาคม 1998 หน้า 12 ใช้เพื่อประกอบบทความบริการวิชาการฟรี ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน / หากประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้
Midnight
No. 178
บทความลำดับที่ 178 ของ หาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกอุดมศึกษาเพื่อความไท : ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ กรุณาอ้างอิงตามสมควร

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

ชื่อต้นฉบับบทความ"เงาคนเดือนตุลาในพฤษภาทมิฬ" ความยาวประมาณ 9 หน้ากระดาษ A4

ปริศนาแห่งตุลาคมและพฤษภาคม
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 เป็นห้วงระยะเวลาครบครอบ 10 ปี ของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ สามารถกล่าวได้ว่านับตั้งแต่ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว การเคลื่อนไหวเดือนพฤษภาได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย ในฐานะเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญเหตุการณ์หนึ่ง

โดยเฉพาะในแง่มุมการเคลื่อนไหวของประชาชนเพื่อต่อต้านกับอำนาจเผด็จการที่ไม่ชอบธรรม ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อมีการเอ่ยถึงการเคลื่อนไหวของประชาชนครั้งสำคัญ ที่เดิมมีการกล่าวถึงเฉพาะเพียงเหตุการณ์เดือนตุลา แต่ปัจจุบันหากต้องการกล่าวถึงการเคลื่อนไหวของประชาชนก็ต้องเรียงลำดับจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519 และไล่เรียงมาถึงพฤษภาทมิฬ 2535 ดังการตีพิมพ์หนังสือสารคดีฉบับพิเศษ รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย ซึ่งเป็นรวบรวมเหตุการณ์ทั้งสามไว้ในหนังสือฉบับเดียวกัน โดยได้มีคำโปรยว่าเป็นการ "รวมเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย" (กรุงเทพ: โรงพิมพ์กรุงเทพ, 2541) หรือในวิดีโอ ซีดี "บันทึกเมืองไทย" (บริษัท บีเคพี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผลิตและจัดจำหน่าย วันที่ผลิต ตุลาคม 2544) ที่มีคำบรรยายหน้าปกว่า "บันทีกจากเหตุการณ์จริง 14 ตุลา สงครามปัญญาชน" ก็ได้มีคำบรรยายรายละเอียดเพิ่มขึ้นว่า "14 ตุลา 2516, 6 ตุลา 2519, พฤษภาทมิฬ 2535 ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2500-2535" (อ่านรายละเอียด)

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด หรือ Ctrl + A
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V จะได้ข้อมูลมา ซึ่งยอหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ


 

 

enter
นักวิชาการเพื่อคนจนคืออะไร? คุณต้องย้อนกลับไปดูว่า ความรู้ที่เราผลิตขึ้นในสังคมไทย จะรับมาหรือสร้างขึ้นเองก็แล้วแต่
เป็นความรู้ที่เอื้อต่อประโยชน์ของคนที่ไม่จนทั้งนั้น และความรู้มันเป็นอำนาจ
ถ้าคุณสร้างความรู้ที่เอื้อประโยชน์ต่อคนจน คุณให้อำนาจแก่เขา...
...อย่านึกว่าความรู้มันเป็นกลาง มันไม่เป็นกลางหรอก คุณสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ รวมทั้งคลองส่งน้ำ
คุณริบอำนาจการตัดสินใจในไร่นาจากชาวบ้านไปเลย เพราะชาวบ้านจะปลูกพืชอะไร ปลูกเมื่อไหร่
ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะส่งน้ำมาอย่างไร? การตัดสินใจว่าจะปลูกอะไรไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวชาวบ้านอีกแล้ว แต่อยู่ที่กรมชลประทาน