Development as we know it, is
another name for economic imperialism
การพัฒนาอย่างที่เรารู้จักกันนั้น มันคืออีกชื่อหนึ่งของ จักรวรรดิ์นิยมทางเศรษฐกิจนั่นเอง
Andrew Mclaughlin เป็นผู้บรรยายทางปรัชญาที่
Lehman College, Bronx, New York
End of Development
Andrew
Mclaughlin
จุดจบของการพัฒนา
จับโกหก"การพัฒนาที่ยั่งยืน"
ปลายแสงแห่งการพัฒนา
"การพัฒนา"อย่างที่เรารู้จักกันนั้น ที่จริง มันคืออีกชื่อหนึ่งของ"จักรวรรดิ์นิยมทางเศรษฐกิจ"
"ในสมัยก่อน,
มนุษย์ได้ถูกทำให้เป็นทาส ภายใต้การบีบบังคับทางร่างกาย; แต่ปัจจุบัน พวกเขาได้ถูกทำให้ตกเป็นทาส
โดยความยั่วยวนใจของเงินและความฟุ่มเฟือยที่เงินทองสามารถซื้อหามาได้"
Mahatma Gandhi
ในเดือนพฤษภาคม วันที่ 1 ปี ค.ศ.1992, B.D. Sharma ได้เดินทางออกจากหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่งในประเทศอินเดีย, เพื่อไปพูดให้กับสมาชิก the Earth Summit ที่ข้ามผ่านเส้นแบ่งทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ไปแล้ว. เขาได้อยู่ในท่ามกลางคนเหล่านั้น, ดังที่เขากล่าว, ซึ่งได้ข้าม"แม่น้ำ Rubicon ของลัทธิบริโภคนิยม" (Rubicon of consumerism).
การผ่านข้ามเส้นแบ่งดังกล่าว เกิดขึ้นมาหลายต่อหลายทศวรรษแล้ว; แต่สำหรับบางคน มันเพิ่งจะเกิดขึ้น ณ วันนี้. Sharma และคนของเขา ไม่ได้ข้ามเส้นแบ่งนี้ไป และได้ส่งเสียงพูดมาจากภายนอกของโลกแห่งการพัฒนา. แม่น้ำสายนั้น คือเส้นแบ่งเบื้องต้นในความเป็นมนุษย์. (หมายเหตุ : Rubicon คือชื่อแม่น้ำสายหนึ่ง ซึ่งซีซาร์ยกกองทัพข้ามไปสู้รบกับปอมเป, เป็นเส้นแบ่งระหว่างความลังเลกับการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว).
พวกเรา ผู้ซึ่งได้ผ่านข้ามแม่น้ำสายนั้นมาแล้ว ได้ยืนอยู่บนพื้นที่บางแห่งที่ใกล้กับจุดจบของประวัติศาสตร์ยุคหนึ่ง. ลัทธิทุนนิยมได้เปลี่ยนแปลงเกือบทุกสิ่งไปเป็นสินค้า และแปรเปลี่ยนเกือบทุกๆที่ไปเป็นสถานที่ที่ทำการผลิต. แม้กระทั่งที่ดินซึ่งรกร้างว่างเปล่า หรือทะเลทรายก็ยังกลายเป็นสินค้าไปได้, โดยจุดประสงค์ของการทำให้มันเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา.
คำตอบหรือหนทางในการแก้ปัญหาทางการเมือง ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เรื่องที่ทำได้. วาทกรรมทางการเมืองเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นของคนผิวสีใด, ต่างยอมรับในคุณค่าของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในฐานะที่เป็นทางออกของความทุกข์ยากของมวลมนุษย์. การแสวงหาความมั่งคั่งทางวัตถุ เป็นแนวทางขั้นต้นอันหนึ่งของวิกฤตการณ์โลกของพวกเรา.
ลัทธิอุตสาหกรรมนิยมที่แผ่ขยายกว้างออกไป เกี่ยวพันกับการเพิ่มขึ้นและความลึกลงไป ที่มนุษย์ได้เข้าไปแทรกแซง และก้าวก่ายต่อระบบต่างๆภายในของธรรมชาติ ซึ่งชีวิตได้วิวัฒนาการขึ้นมา. ความพยายามที่จะเป็นนายเหนือธรรมชาติ ก่อให้เกิดผลลัพธ์ต่างๆในหลายสิ่งหลายอย่าง โดยไม่มีใครขัดขวาง, การกระทำเช่นนั้น มันได้ไปเพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น, โดยไม่อาจคาดการณ์ได้ และไม่น่าพอใจต่อผลข้างเคียงที่จะตามมา. ไม่ว่าจะเป็น ฝนกรด, ความเปลี่ยนแปลงของสภาพบรรยากาศโลก, มลภาวะทางน้ำ และมลพิษทางอากาศ, รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อร่างกายของคนเรา ซึ่งที่กล่าวมานี้ มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของรายการที่จะตามมาอีกยืดยาว ที่ส่งผลต่อมนุษย์และธรรมชาติ. จะเห็นได้ว่า บ่อเกิดทั้งมวลเหล่านี้ที่มนุษย์ได้พึ่งพาอาศัยในการดำรงอยู่ ได้ตกอยู่ภายใต้การคุกคาม.
ความพยายามอันล้มเหลวที่จะควบคุม, เมื่อมาเชื่อมโยงกันกับความรู้ที่ยังไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับผลพวงต่างๆของการเข้าไปก้าวก่ายต่อธรรมชาติ, ได้ผลักให้เราไปสู่ความเสี่ยงต่างๆมากยิ่งขึ้น. ภายในบริบทอันนี้, การยอมรับเกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์ของความรู้ ได้มาตักเตือนเราต่อการที่จะดำเนินรอยตามความเป็นนายเหนือธรรมชาติ. แต่ในข้อเท็จจริง การตอบโต้หรือไหวตัวทั้งมวลของพวกเราต้องใช้ความพยายามเป็นสี่เท่าในการควบคุม. ดังเช่นที่ เทคโนโลยีชีวภาพได้รับปฏิบัติ ด้วยความกระฉับเฉงที่เพิ่มขึ้นอยู่เวลานี้.
เพื่อที่จะปฏิเสธเป้าหมายต่างๆของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการควบคุมธรรมชาติ หมายความว่า เราจะต้องยุติกระบวนการการพัฒนาทางเศรษฐกิจลงเสีย. แต่การนึกคิดหรือจินตนาการถึงจุดจบของการพัฒนา ได้ไปคุกคามต่ออัตลักษณ์หรือวิญญานของยุคสมัยใหม่อย่างลึกซึ้ง, ทั้งนี้เพราะ ความคิดเรื่องการพัฒนา เป็นปราการด่านสุดท้ายของความหวังในศตวรรษเก่าในเรื่องของความก้าวหน้า.
ณ จุดที่ใกล้จะสิ้นสุดหรือปิดตัวลงของศตวรรษที่ 20, กับสงครามหลายครั้ง และค่ายกักกัน รวมทั้งโรคระบาด และช่องโหว่ของโอโซน, มันไม่เหลือศรัทธาใดๆที่มีต่อความก้าวหน้าที่จะนำพาความเชื่อมั่นได้อีกแล้ว. ชิ้นส่วนที่ยังคงหลงเหลืออย่างสุดท้ายของยุคสว่าง หรือ the Enlightenment สำหรับการบรรลุถึงเสรีภาพ, สันติภาพ และความยุติธรรมโดยผ่านการใช้เหตุผล, ก็คือความหวังของการพัฒนาการทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง. บางที เหตุผลที่เราต่างยึดถือกันอย่างเหนียวแน่น เกี่ยวกับความคิดเรื่องการพัฒนา สำหรับเราแล้ว ก็คือว่า พวกเราจะต้องเชื่อในการพัฒนา เพื่อขจัดปัดเป่าความสิ้นหวังและลมปากทั้งหลายทิ้งไป. เว้นแต่การตีความบางอย่างเท่านั้น ที่พยายามจะมาอธิบายถึง การควรจะยืนหยัดเกี่ยวกับหลักคำสอนเรื่องการพัฒนาต่อไป ทั้งๆที่เราต่างเผชิญหน้ากับพยานหลักฐานที่ขัดแย้งกันมากมายเพิ่มขึ้นทุกวัน.
ภาษาของการพัฒนา
ภาษาของการพัฒนา
เต็มไปด้วยความหลอกลวง, มันได้ซ่อนเร้นความน่ากลัวเอาไว้ภายใต้วลีที่เมตตาต่างๆ.
แนวความคิดของการพัฒนา ดูเหมือนไปด้วยกันกับความห่วงใยและความรัก. ในรากความหมายของมัน,
การพัฒนาเกี่ยวพันกับการคลี่คลายอย่างค่อยเป็นค่อยไป, ความมีอิสระของบางสิ่งบางอย่างที่สับสน
หรือถูกวางกับดักโดยการบีบบังคับต่างๆภายนอก. มันมีนัยะของการเคลื่อนย้ายข้อจำกัดควบคุมภายนอกออกไป
และความงอกงามของศักยภาพต่างๆภายใน.
ความคิดเกี่ยวกับการพัฒนา มีสมมุติฐานว่า คนแต่ละคน จะมีอิสระจากข้อจำกัดภายนอก, เพื่อไปถึงคุณความดีของตัวมันเอง - นั่นคือ ได้พัฒนา. เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับมนุษย์, แนวความคิดนี้ได้ทึกทักเอาว่า ผู้คนทั้งหลายและสังคมของพวกเขา ต่างมีศักยภาพที่แท้จริงของตัวมันเอง, และความงองกงามของพวกเขานั้น ได้รับการทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ในศักยภาพต่างๆเหล่านั้น. มันเป็นท่าทีอันหนึ่งของ ความรักที่บรรดาพ่อแม่มีต่อพวกลูกๆ. การเข้าใจในแนวทางนี้, ใครล่ะจะต่อต้านหรือไม่เห็นด้วยกับการพัฒนา ?
โดยเบื้องต้นแล้ว แนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาจะมีลักษณะที่คลุมเครืออยู่สองนัยะ ซึ่งซ่อนเร้นทฤษฎีที่แตกต่างกันอย่างแหลมคม 2 ทฤษฎีเอาไว้ เกี่ยวกับศักยภาพของการพัฒนา. กล่าวคือ...
นัยะแรก, เป็นเรื่องของทิศทางการเจริญเติบโตทางด้านศักยภาพของผู้คน ที่เป็นการกำหนดตัดสินใจโดยตัวของพวกเขาเอง. ในขณะที่... นัยะที่สอง, ศักยภาพของผู้คน ได้ถูกกำหนดมาล่วงหน้า หรือมีอยู่ก่อนแล้วจากภายนอก ของการพัฒนา ?
สำเนียงแรกของการพัฒนา(หรือกาพัฒนาตามนัยะแรก) บ่งถึงวิสัยทัศน์อันหนึ่งเกี่ยวกับความงอกงามของมนุษย์และความหลากหลาย, ที่ซึ่งผู้คนและสังคม ได้รับอิสระจากข้อจำกัดภายนอก และได้ค้นพบศักยภาพต่างๆด้วยตัวตนของพวกเขาเอง. อันนี้เป็นเสียงของ Sharma.
ส่วนสำเนียงที่สองของการพัฒนาชี้ไปในทิศทางตรงข้าม, กล่าวคือ มองเห็นหรือต้องเผชิญหน้ากับธรรมชาติที่อยู่รูปแบบเดียวเท่านั้น สำหรับสังคมทั้งหมด(ไม่มีความหลากหลาย).
ทั้งสองสำเนียงข้างต้นเกี่ยวกับการพัฒนา ได้นำไปสู่วิสัยทัศน์ที่แตกต่างกันอย่างถึงรากเกี่ยวกับความดีงามของมนุษย์. สำเนียงแรก ชี้ไปยังทิศทางของ"ความเป็นป่า"(ไม่มีการควบคุม หรือถูกจำกัด) ที่ที่ผู้คนและสังคมงอกงามขึ้นมาตามวิถีทางของพวกเขาเองโดยเฉพาะ.
ส่วนสำเนียงที่สอง ชี้ไปที่ลัทธิอุตสาหกรรมนิยมที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกัน และเป็นโลกาภิวัตน์ ซึ่งผู้คนทั้งหมดและทุกๆหนแห่ง ต่างเดินตามขบวนแห่ไปตามคนตีกลองเพียงคนเดียว.
เมื่อไอเดียเกี่ยวกับการพัฒนาได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมต่างๆ, สำเนียงแบบที่สองได้เข้ามามีอิทธิพลครอบงำเหนือกว่าสำเนียงอื่น. ความเป็นจริงเกี่ยวกับพัฒนาการทางสังคม และเศรษฐกิจ เป็นประวัติศาสตร์ของความรุนแรงอันหนึ่ง ซึ่งได้แพร่หลายมานับเป็นร้อยๆปี, การพิชิตและการปล้นชิงของมันถูกสวมหน้ากากที่เคลือบคลุมด้วยความเมตตา. มันเป็นความต่อเนื่องกันมาแต่แรกอันหนึ่งของโครงการจักรวรรดิ์(imperial project), แม้ว่าชื่อต่างๆของมันจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม. ลัทธิอาณานิคม กลายเป็นลัทธิอาณานิคมใหม่(neo-colonialism), บรรดาประเทศที่ยากจนของโลก กลายเป็นประเทศ"ด้อยพัฒนา"(underdeveloped), และถัดมาก็คือ ประเทศที่"กำลังพัฒนา"(developing), แล้วก็ประเทศ"โลกที่สาม"(the Third World), และประเทศ"ทางใต้"(the South). มาถึงปัจจุบัน มันคือชื่อ "การพัฒนาอย่างยั่งยืน"(sustainably developed).
สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยก็คือ บรรดาประเทศที่ร่ำรวยทั้งหลายก็ยังคงร่ำรวยมากขึ้น, ช่องว่างระหว่างความรวยและความจน ได้ถ่างออกไปมากขึ้น, และเกือบทุกสังคมได้รับการนำเข้าไปพัวพันหรือติดแน่นอยู่กับข่ายใยของลัทธิอุตสาหกรรมนิยม.
รอยมลทินที่สัมพันธ์กันสองรอยในอุดมคติของการพัฒนา ได้มีการสบคบกันที่จะให้เหตุผลเกี่ยวกับโครงการจักรวรรดิ์. รอยมลทินแรก, คือ สังคมอุดมคติในแบบเดียวกันได้ถูกสร้างขึ้นมาเป็นจินตนาการ ในฐานะที่เป็นมาตรฐานของความเจริญงอกงามของสังคมมนุษย์ทุกๆสังคม. อุดมคติแบบยูโธเปียที่มีลักษณะเดียวกันนี้ ได้ให้อำนาจการเข้าไปแทรกแซงหรือก้าวก่ายต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์และสังคมต่างๆ ในนาม "เพื่อความดีงามของพวกเขา". รอยมลทินอันแรกนี้ ได้ถูกเพิ่มเติมหรือเสริมแต่งโดย การลดทอนอุดมคติยูโธเปียลงมาสู่โปรแกรมทางเศรษฐกิจอันหนึ่ง. เมื่ออันนี้ได้ถูกกระทำขึ้น, ระดับของ"การพัฒนา"ก็จะสามารถวัดได้ในเทอมต่างๆของเศรษฐกิจ, และความเป็นมนุษย์ สามารถที่จะได้รับการจัดลำดับได้ในระดับสูงต่ำให้เป็นโลกที่หนึ่ง โลกที่สอง และโลกที่สาม, ของแกนและกรอบแห่งความรวยกว่าและยากจนกว่า ของการพัฒนาแล้ว และด้อยพัฒนากว่า. และ สำหรับคนเหล่านั้นที่มีเงินน้อย พวกเขา"ต้อง"ได้รับการพัฒนา.
ลองมาคิดถึง นักล่าสัตว์ที่รวมตัวกันในเขตป่าฝน, ชาวเกาะต่างๆในแปซิฟิคตอนใต้, ผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ในเทือกเขา Alps ในสวิสเซอร์แลนด์, ชาวอินเดียน Quechua ในเทือกเขา Andes, ผู้อยู่อาศัยในกรุงโตเกียว, ชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทราย และผู้คนในประเทศคิวบา ต่างก็มีสังคมที่ดีงามอย่างเดียวกัน, พวกเขาต่างถูกกระตุ้นให้ต้องการความเป็นนามธรรมที่ประหลาดๆอันหนึ่ง ที่ออกจะสร้างความงุนงงบางอย่างให้กับชีวิตของพวกเขา ในฐานะที่มันเป็นการดำรงอยู่ที่แท้จริงบางอย่าง. บางที นี่อาจจะเป็นภาพที่ชัดเจนที่สุด เมื่อประยุกต์ใช้กับผู้คน ซึ่งต่างมีกำเนิดกันแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไป.
Marshall Sahlins ได้สร้างศัพท์คำว่า "ความมั่งคั่งในยุคดึกดำบรรพ์"(primitive affuence)ขึ้นมา ซึ่งจะยึดถือชีวิตอันอุดมสมบูรณ์ของการล่าที่มีอยู่อย่างมากมาย และสังคมที่รวมตัวกัน, ชีวิตที่ได้ตั้งข้อสงสัยต่อคำมั่นสัญญาในทางอุตสาหกรรม. คนป่า Kung เป็นตัวอย่าง พวกเขาทำงานเพียงวันละสองสามชั่วโมงเท่านั้นเพื่อการยังชีพ, และเพียง 60 เปอร์เซนต์ของพวกเขาเเหล่านี้ ได้รับการคาดหวังให้ทำงาน. การดำรงอยู่ของพวกเขา ถูกทำให้มีชีวิตอยู่ภายใต้เงื่อนไขของความเสมอภาคกันมาก. การสะสมทรัพย์สิน เงินทอง, เป้าหมายอันหนึ่งที่แสวงหากันอย่างล่อแหลม โดยผู้คนในแวดวงอุตสาหกรรม, เป็นภาระหนักอันหนึ่งที่ต้องแบกหามสำหรับผู้คนที่เร่ร่อนทั้งหลายเลยทีเดียว.
ลักษณะนัยะในอุดมคติของการพัฒนา ก็คือ ภาพอันหนึ่งเกี่ยวกับความก้าวหน้าของมนุษย์. ถ้าในบางรูปแบบของสังคมอุตสาหกรรม ถูกมองในฐานะที่เป็นแนวหน้าของความก้าวหน้า, จากนั้น นำการพัฒนาไปสู่สังคมที่มีลักษณะเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่น้อยกว่า สร้างสำนึกทางศีลธรรมขึ้น. สังคมที่เจริญรุ่งเรืองที่สุด, ที่ได้รับการวัดโดยดัชนีทางเศรษฐกิจ, ก็จะกลายเป็นปลายทางซึ่งทุกๆสังคมควรมุ่งมาดปรารถนา. ด้วยเหตุนั้น การพัฒนา จึงเป็นอุดมคติอันหนึ่งซึ่งยึดถือยูโธเปียแบบเดียวกันของลัทธิอุตสาหกรรมนิยม.
แต่เส้นทางที่ทำให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมขึ้นมานั้น คือการสะสมอย่างบ้าคลั่ง และการบริโภคที่บ้าระห่ำ, มันเป็นเส้นทางซึ่งไม่ยินยอมให้มีความพึงพอใจใดๆเกิดขึ้น หรือความสุขทางจิตวิญญานได้เล็ดลอดออกมา, ตรงข้าม มันสร้างความไม่พึงพอใจแบบเรื้อรังของผู้บริโภคขึ้น และกระตุ้นความต้องการมากขึ้นๆเรื่อยๆ ตามลำดับ.
ความฝันของการพัฒนา
ความฝันของการพัฒนาค่อยๆเลือนลง เมื่อปัญหาทางนิเวศวิทยาได้ถูกเพ่งความสนใจ.
มันเป็นรายงานที่ยืดยาว, ซึ่งเป็นที่คุ้นเคย และมีนำเสนออย่างมีสติ. สำหรับบางคน,
ความห่วงใยในนิเวศวิทยาเหล่านี้ ได้มาลบล้างความฝันของการพัฒนาลงไป, มันมีเหตุผลต่างๆที่จะต้องฟื้นฟูระบบนิเวศขึ้นมา
! ในที่นี้ มีการเสนอเรื่องของ"การพัฒนาที่ยั่งยืน".
ครั้งหนึ่ง เคยมีเรื่องเล่าขานในทำนองว่า "การพัฒนาจะช่วยรักษาหรือมาเยียวยาความจนได้, ดังนั้น การพัฒนาจึงเป็นหนทางที่นำไปสู่ความยุติธรรมของโลก." ประโยคที่เขียนขึ้นมานี้ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปในปี 1987 ในรายงาน Brundtland Report และปี 1992 ในการประชุมขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา. ด้วยการเล่นกลที่เต็มไปด้วยชั้นเชิง, ความยากจน มาถึงตอนนี้ ได้รับการพรรณาออกมา ในฐานะที่เป็นสาเหตุหลักอันหนึ่งของวิกฤตทางนิเวศวิทยา, ที่จะต้องได้รับการบำบัดโดยผ่านการพัฒนาที่มากยิ่งขึ้น.
ดังที่ the Brundtland Report เสนอ: "มันเป็นสาระสำคัญที่ว่า ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโลกจะต้องได้รับการฟื้นฟูหรือเติมพลังขึ้นมาใหม่อีกครั้ง. ในทางปฏิบัติ อันนี้หมายถึงการเร่งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้เร็วขึ้น ทั้งในประเทศอุตสาหกรรมและประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย... เศรษฐกิจนานาชาติ จะต้องเร่งการเจริญเติบโตของโลกขึ้นมา ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมด้วย... มันเป็นยุคใหม่ของความเจริญเติบโตในเศรษฐกิจโลก ซึ่งสามารถขยายกว้างออกไปยังทางเลือกที่ใช้ได้กับประเทศต่างๆที่กำลังพัฒนา.
อันนี้เป็นการผลิกผัน และบิดประเด็นไปอย่างชาญฉลาด.
ในการเผชิญหน้ากับมัน, โลกของความยากจนจะต้องยืนขึ้นมาเพื่อพิสูจน์ถึงความไม่จริงใจและหักล้างโครงการการพัฒนาให้สะบั้นลง, กล่าวคือ การพัฒนานั้น มันมีแต่จะสร้างความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจให้เพิ่มขึ้นมาเท่านั้น.
Paul Bairroch ให้ข้อมูลว่า. ในปี ค.ศ.1750 รายได้ต่อหัว ของสิ่งที่ในทุกวันนี้เรียกว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่ด้อยพัฒนาทั้งหลายจะค่อนข้างเท่าๆกัน. แต่ในปี 1930 รายได้ต่อหัวของประเทศที่พัฒนาแล้ว กลับเปลี่ยนแปลงไป โดยมีรายได้มากกว่าผู้คนใประเทศด้อยพัฒนาถึง 4 เท่า. และพอมาถึงปี 1980 มันกลับกลายเป็นสูงกว่าถึง 7 เท่า.
แนวโน้มอันนี้มันยังดำเนินต่อไปในอัตราที่สูงขึ้น. กล่าวคือ ในปี ค.ศ.1989 คน 5 เปอร์เซนต์ที่รวยที่สุดของโลกบริโภคสิ่งต่างๆ คิดแล้วมากถึง 83 เปอร์เซนต์ของ GNP ของโลก, ในขณะที่คน 5 เปอร์เซนต์ที่ยากจนที่สุด มีโอกาสบริโภคสิ่งต่างๆเพียง 1.4 เปอร์เซนต์เท่านั้น. ตัวเลขนี้ในปี 1991 ได้ปรับไปเป็น 84.2 เปอร์เซนต์ สำหรับคน 5 เปอร์เซนต์ที่อยู่บนสุด แต่สำหรับคนที่อยู่ต่ำสุด 5 เปอร์เซนต์ เหลือการบริโภคเพียง 0.9 เปอร์เซนต์เท่านั้น.
อันนี้เป็นโอกาสที่เราควรจะมาคิดทบทวนกันใหม่เกี่ยวกับอุดมการณ์ของการพัฒนา เพราะมาถึงตอนนี้ ความยากจนที่เกิดขึ้น เป็นเหตุผลอันหนึ่งซึ่งเราควรจะตั้งคำถามกันว่า เราจะดำเนินรอยตามอุดมการณ์เช่นนี้ต่อไปหรือไม่ ? ถึงเวลานี้, คำมั่นสัญญาเก่าๆมันได้ลอยจากเราไปเสียแล้ว, ต่อไป มันจะต้องเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน.
การพัฒนาที่ยั่งยืน
ประเด็นหลัก 4 ข้อของการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งควรจะต้องเน้นในที่นี้ก็คือ.
ข้อแรก, แนวคิดต้มตุ๋นโดยความเอาใจใส่อย่างผิดๆต่อเงื่อนไขของความยั่งยืน. ใครจะปฏิเสธคุณความดีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่เหนือกว่าการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ? และใครจะปฏิเสธความเร่งด่วนของวิกฤตการณ์ทางนิเวศวิทยา ? พื้นฐานความหลอกลวง มิได้ดำรงอยู่ในความคิดเกี่ยวกับความยั่งยืน, แต่มันนอนเนื่องอยู่ในอุดมการณ์ของการพัฒนาในตัวมันเอง. การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ใช้เรื่อง ความเร่งด่วนของวิกฤตการ์ทางนิเวศวิทยา มาเร่งรัดอดีต ซึ่งมีการวิพากษ์เกี่ยวกับการพัฒนา.
ข้อที่สอง, ไอเดียเกี่ยวกับความยั่งยืน โดยรากแล้ว ได้ปิดบังอำพรางภาพที่แตกต่างกันเกี่ยวกับอนาคตอันเป็นที่ปรารถนาเอาไว้. Wolfgang Sachs ได้ตั้งคำถามที่สำคัญอย่างยิ่งว่า "ความยั่งยืนหรือ, ใช่ แต่ทว่า ยั่งยืนระดับไหนล่ะ ?... ในระดับของชุมชนหมู่บ้าน, ของประเทศ , หรือของดาวเคราะห์ดวงนี้ทั้งหมด ?"
ถ้าความยั่งยืนเป็นบรรทัดฐานอันหนึ่ง ที่ได้รับการหยิบขึ้นมาประยุกต์ใช้ในระดับชุมชนท้องถิ่น ถ้าอย่างนั้น ก็จะต้องสนับสนุนอนาคตของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและนิเวศวิทยา, ที่ซึ่งลักษณะแตกต่างอย่างกว้างขวางอันหนึ่ง และการปรับตัวของมนุษย์ให้เข้ากับสถานที่ของพวกเขา จะได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้งอกงาม.
อุดมคติเกี่ยวกับความยั่งยืนของท้องถิ่นหรือภูมิภาค
จะส่งเสริมชุมชนต่างๆของมนุษย์ในขอบเขตของท้องถิ่น, โดยผลผลิตในชุมชนซึ่งทำขึ้นมานั้น
จะเป็นไปตามความต้องการของชุมชนเอง. นั่นคือวิสัยทัศน์อันหนึ่ง ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่าง
มันคือสิ่งที่เรียกว่า bioregionalism, ที่ซึ่งการตั้งถิ่นฐานและการดำรงชีวิตของมนุษย์
ในสถานที่อันหลากหลายของพวกเขา จะมีความเป็นอยู่ภายในขอบเขตของพื้นที่ตัวเอง
มีการพัฒนาที่หลากหลายขึ้นมา ซึ่งเกี่ยวพันกันรูปแบบต่างๆของชีวิตทางสังคม. อันนี้คือสำเนียงแรกของการพัฒนา.
(หมายเหตุ : bioregionalism
เป็นความเชื่อที่ว่า กิจกรรมของมนุษย์ ควรจะถูกจำกัดโดยลักษณะทางนิเวศวิทยา หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์
มากกว่าลักษณะทางการเมือง)
วิสัยทัศน์อันนั้นเกี่ยวกับความหลากหลายของอนาคต มันไกลห่างไปจากเป้าหมายของบรรดานักพัฒนาแนวทางยั่งยืนทั้งหลาย. สำหรับนักพัฒนาในแนวทางความยั่งยืนนั้น พวกเขานึกเห็น"โลก ที่เป็นโลกเดียวกัน" โลกทีได้รับการบูรณาการหรือรวมกันเป็นหนึ่งเดียว โดยผ่านกระบวนการของเศรษฐกิจโลกา. ดังที่ Sachs ได้ชี้แจง, ถ้าหากว่าความยั่งยืนได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับดาวเคราะห์ดวงนี้ทั้งหมด, หากเป็นเช่นนั้น ความยั่งยืนก็จะกลายเป็นโครงการหนึ่งที่ต้องการบรรดานักจัดการ"ทางนิเวศวิทยา"โลก เพื่อควบคุมดาวเคราะห์ดวงนี้ทั้งหมด. นี่เป็นวิสัยทัศน์ที่แตกต่างอย่างถึงรากเกี่ยวกับอนาคตของมนุษย์เลยทีเดียว.
วิสัยทัศน์แบบ"โลกที่เป็นหนึ่งเดียว"นี้
เรียกร้องต้องการ, ตามรายงานของ the Brundtland Report, "การร่วมมือกันในระดับนานาชาติ
และระบบกฎเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกันเพื่อการดูแลควบคุม, การพัฒนา, และการจัดการในผลประโยชน์ร่วมกัน".
มันคือพื้นฐานที่มีเหตุผลที่เชื่อว่า พวกเราสามารถจะประดิษฐ์ระบบโลกขึ้นมาได้
ซึ่งระบบการปกครองดังกล่าว จะปฏิบัติการภายใต้"ผลประโยชน์ร่วมกัน", โดยการมอบบันทึกที่เรียกว่า
track record ของเราใช่ไหม ? ใครจะมาเป็นผู้กำหนดว่า อะไรคือ"ผลประโยชน์ร่วมกัน"?
อันที่จริงแล้ว มันต้องการที่จะกล่าวว่า มันเป็นเสียงของพลังอำนาจ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
บรรษัทข้ามชาติเหล่านั้น, IMF, ธนาคารโลก, และองค์กรการค้าโลก, ซึ่งจะเป็นผู้ที่มาให้นิยามสิ่งที่เรียกว่า"ผลประโยชน์ร่วมกัน"
ใช่ไหม ?
(หมายเหตุ : track
record หมายถึง บันทึกประวัติที่จะนำมาใช้เป็นตัวชี้ถึงปฏิบัติการในอนาคต)
ข้อที่สาม, ก็คือ ทั้งหมดของการพูดคุยเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน สันนิษฐานว่า นี่คือโครงการสำหรับอนาคต. มันปิดกั้นโดยไม่ให้มีการปริปากเกี่ยวกับสมมุติฐานที่ว่า พวกเราได้ไปพ้นจากประเด็นของความยั่งยืนนั่นแล้ว. มันคือเหตุผลอันหนึ่ง และความเป็นไปได้ที่รบกวนจิตใจที่ว่า มนุษย์ได้เจริญงอกงามแล้ว เหนือกว่าการสร้างความสึกกร่อนใดๆให้กับโลก. ถ้าเผื่อว่ามันเป็นความจริงเช่นนั้น, เส้นทางของ"การพัฒนาที่ยั่งยืน"ก็น่าจะยุติได้แล้ว, และหมุนกลับ, พร้อมทั้งก้าวไปในทิศทางใหม่อันหนึ่ง.
การพูดถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ในฐานะที่เป็นโครงการสำหรับอนาคต มันได้ซ่อนเร้นความเป็นไปได้อันนี้ ในผลประโยชน์เกี่ยวกับความต่อเนื่องของความฝันการพัฒนาเอาไว้. อันที่จริง การพัฒนาที่ยั่งยืน ก็คือ ลัทธิอุตสาหกรรมนิยมโลกที่มาในรูปของหน้ากากสีเขียวนั่นเอง.
ข้อสุดท้าย, อะไรที่ถูกทำให้ยั่งยืน ? ในการสนทนากันถึงเรื่องของความยั่งยืน ตลอดเวลามันมักจะนำพาเอาอคติที่ไม่ให้การยอมรับมาด้วยเสมอๆ. เพียงมนุษย์และสังคมของมนุษย์เท่านั้นที่ถูกทำให้ยั่งยืน. โครงการเกี่ยวกับความยั่งยืนจะต้องเป็นสิ่งที่กว้างขวางและครอบคลุมกว่านี้. รูปแบบอื่นๆอีกเป็นจำนวนมากของชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงนี้ มีข้ออ้าง หรือสิทธิบางประการ สำหรับการพิจารณาถึง. ทำไม มนุษย์จึงถูกนับให้อยู่ในความยั่งยืนเท่านั้นเล่า ? อะไรคือมูลเหตุของความห่วงใยอันคับแคบ และมีข้อจำกัดให้อยู่แค่เพียงความยั่งยืนของลำดับความหลากหลายของชีวิตที่เหลือน้อยมากอันนี้ ?
การปฏิเสธความนึกคิดที่"มองมนุษย์เป็นศูนย์กลาง"(antropocentric)ของสรรพสิ่ง เราจะต้องทำความเข้าใจเสียใหม่ เกี่ยวกับความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม ระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่เหลืออยู่ทั้งหมดในธรรมชาติ. ถ้าหากว่าเรายึดถือบรรทัดฐานทางศีลธรรม ซึ่งเป็นอุดมคติของความประสานสอดคล้องอย่างมีบูรณาการร่วมกัน กับสิ่งที่เหลือทั้งหมดของวงวานชีวิต หรือ biosphere, เราก็จะมาถึงวิสัยทัศน์ใหม่อันหนึ่งของความก้าวหน้า, ซึ่งจะให้คำปรึกษาแก่ตัวแทนรัฐบาล ในแบบแผนหรือโครงการต่างๆ ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อถิ่นที่อยู่อาศัยและการดำรงชีวิตในเชิงนิเวศวิทยา, อย่างเช่นที่ได้รับการคิดพิจารณาโดยขบวนการเคลื่อนไหวทางนิเวศวิทยาเชิงลึก และ bioregional movement.
ในการเปลี่ยนแปลงโฟกัสอันนี้, มันมีความเป็นไปได้ของการอยู่ร่วมกันอยางสันติ, อันที่จริงมันมีลักษณะของ symbiosis หรือการอยู่ร่วมกันโดยยังประโยชน์แก่กันและกัน. การทำความเข้าใจตัวของเราเอง ในฐานะที่เป็นมวลหมู่สมาชิกของชุมชนธรรมชาติขนาดใหญ่กว่า ทำให้เรามีความเป็นไปได้ที่จะมีความสัมพันธ์ร่วมกันอย่างเป็นสุขมากขึ้น ระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่เหลือทั้งหมดในธรรมชาติ. ถ้าสังคมต่างๆ ได้พัฒนาไปสู่แบบแผนของการดำรงชีวิตในที่ทางของพวกเขา, หากเป็นเช่นนั้น ความหลากหลายของมนุษย์ก็สามารถที่จะเบ่งบานขึ้นมาได้, สำหรับสถานที่ที่แตกต่างก็จะอุ้มชูแบบแผนที่แตกต่างของความงอกงามของมนุษย์ขึ้นมา.
มันเป็นความผิดพลาดที่สำคัญ ในการอิงแอบอยู่ภายในแกนของความเจริญทางเศรษฐกิจและการพัฒนา, สำหรับมุมมองทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้รวมเอาลำดับขั้นต่างๆอันสลับซับซ้อนมากมายมารวมกันไว้ สิ่งเหล่านี้ได้มาบังตาเรา และนำเสนอสิ่งที่ผิดพลาดต่างๆภายใต้อุดมการณ์เกี่ยวกับการพัฒนา. เมื่อผู้คนได้ข้ามผ่านแม่น้ำ Rubicon ซึ่งเป็นเส้นแบ่งของลัทธิบริโภคนิยม, พวกเขาก็ได้ทอดทิ้งชีวิตที่เกี่ยวพันกับชุมชนท้องถิ่นเอาไว้เบื้องหลัง และมีความเชื่อว่า วัตถุนิยม และบริโภคนิยม สามารถสร้างสรรค์ความสุขขึ้นมาได้.
นี่คือมายาภาพที่ทรงพลานุภาพและมายาการที่แผ่ซ่านไปทั่ว ณ แกนกลางการสนทนากันในทางเศรษฐกิจ. แน่นอน, เราต้องการอาหารและที่อยู่อาศัย แต่ที่จริง เราต้องการสิ่งเหล่านี้เพียงจำนวนน้อยมาก เพื่อพอยังชีพสำหรับเรา. ความมั่งคั่งทางวัตถุ อันที่จริง มันได้มากีดขวางความงอกงามของมนุษย์ที่แท้จริง. การยึดถือแนวทางการพัฒนา และความอยุติธรรมเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคของโลก สุ่มเสี่ยงต่อการรับเอาความคิดบางอย่างมาอย่างเงียบๆ ที่ว่า ความอุดมสมบูรณ์ทางวัตถุจะยังผลให้เกิดความสุขขึ้นมาได้.
มันเป็นความผิดพลาดอันหนึ่งซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยง. สิ่งที่เราต้องการที่จะทำ กำลังได้รับการพูดโดยสำเนียงแรกของการพัฒนา - เสียงซึ่งพูดโดยสำนึกหรือตระหนักถึงความหลากหลาย และเสียงที่พูดถึงความงอกงามเกี่ยวกับศักยภาพของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างมากมาย.
สำเนียงแรกของการพัฒนา ได้คุกคามต่อโครงการเกี่ยวกับการควบคุมที่มีลักษณะจักรวรรดิ์(imperial control). มันกระตุ้นให้ผู้คนทั้งหลายและสถานที่หลายแห่ง อิงอยู่ด้วยกันกับแบบแผนของการก่อเกิดขึ้นมาโดยตัวของพวกเขากันเอง. การทำเช่นนี้, พวกเขาจะมีความเป็นอิสระที่จะกลายเป็นอะไรก็ตามใจที่พวกเขาปรารถนา. ดังที่ Thoreau กล่าวเอาไว้ว่า : "ในความเป็นป่า เป็นการปกปักรักษาโลกของเรานี้เอาไว้".
ถ้าเผื่อว่าสำเนียงแรกได้มีอิทธิพลครอบงำ, หากเป็นเช่นนั้นจริง เราทั้งหลายก็จะจินตนาการได้ถึงโลกป่า ที่ซึ่งแต่ละคน ต่างทำให้ศักยภาพของตนเป็นจริงขึ้นมาได้. โดยเหตุนั้น การพัฒนาก็จะกลายเป็นเป้าหมายอันทรงคุณค่า
Andrew McLaughlin is a Philosophy lecturer at Lehman College, Bronx, New York. He is the author of Regarding Nature: Industrialism and Deep Ecology. (จากนิตยสาร Resurgence ฉบับที่ 189 / กรกฎาคม-สิงหาคม 1998)
กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com