มีคำบางคำซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของตัวมันเอง. คำว่า Deconstruction ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น(หมายเหตุ : ีผู้เรียบเรียงแปลคำนี้ว่า"การรื้อโครงสร้าง"). เหมือนกับคำว่า Existentialism, special, liberal, conservative และคำว่า postmodern, คำต่างๆเหล่านี้ ความหมายของตัวมันเอง บ่อยครั้ง ค่อนข้างที่จะคลุมเครือจนใช้การไม่ได้.
สำหรับการประดิษฐ์คิดคำว่า deconstruction ขึ้นมาโดยปรัชญาเมธีร่วมสมัยชาวฝรั่งเศส Jacques Derrida เริ่มชีวิตของตัวมันเองขึ้นมาในช่วงปลายทศวรรษที่ 60, แต่มันได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของศัพท์บัญญัติอเมริกัน ในช่วงสิบปีให้หลังมานี้เอง หรือน้อยกว่านั้น. อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าว มันได้เคลื่อนคล้อยตัวมันเองจากศัพท์ทางเทคนิคด้านปรัชญา และถูกนำไปใช้โดยบรรดานักวิจารณ์ทางวรรณกรรม ในลักษณะที่สัมพันธ์กับคำๆนี้ ซึ่งผุดขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน นอกจากนี้ คำดังกล่าวยังถูกนำเอาไปใช้กว้างไกลออกไป นับตั้งแต่บรรดานักพฤกษศาสตร์ไปจนกระทั่งถึงพวกพระ. ความหมายแต่เดิมของมันไม่ว่าจะหมายความว่าอะไรก็ตาม แต่พอมาถึง ณ ปัจจุบันนี้ ซึ่งได้มีการนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งคำว่า deconstruction ได้กลายมามีความหมายว่า"การฉีกทึ้ง-การรื้อ" หรือ"การทำลาย" (ปกติแล้ว ใช้กับสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ[the object is nonmaterial]).
การนำคำดังกล่าวมาใช้เป็นไปอย่างกว้างไกลในเกือบทุกๆสาขา. ในวงการวรรณกรรม ได้มีการใช้คำๆนี้, ทั้งทางด้านบวกและลบ, เพื่อหมายถึงบางสิ่งบางอย่างคล้ายๆกับ"การเล่นกับตำรับตำราที่แสดงให้เห็นว่า มันไม่มีความหมาย"(playing with texts to show that they have no meaning). ศัพท์คำนี้ได้ถูกนำมาใช้โดยนักวิชาการแองโกลอเมริกันอย่างกว้างขวาง และในขอบเขตที่แคบกว่าของนักวิชาการในทวีปยุโรป, ผลที่ตามมาคือว่า ใครก็ตามที่พูดถึงคำว่า deconstruction ในเชิงบวก บ่อยครั้งกระทำเช่นนั้นในหนทางที่ง่ายจนเกินไป และใครก็ตามที่วิพากษ์วิจารณ์คำๆนี้ ก็กลายเป็นคนที่โง่เง่าต่อคำว่า deconstruction. พวกหนึ่งได้สร้างหุ่นฟางขึ้นมา ส่วนอีกพวกหนึ่งได้เผามันเสีย, แต่ทั้งสองพวก อันที่จริงแล้ว ก็ไม่ได้ไปถึงจุดหมายปลายทางของการอธิบายเกี่ยวกับคำว่า deconstruction.
และนอกจากนี้ มันก็ไม่ใช่ คำที่นำมาใช้กันเป็นประจำในฐานะที่เป็นคำพ้องของคำว่า "การทำลาย"(destruction) ซึ่งช่วยให้มันเลี่ยงไปจากชื่อเสียงที่เสียหาย. ทุกวันนี้ จะให้ดีที่สุด การใช้คำว่า to decontruct บางสิ่งบางอย่าง ก็คือ ฉีก(รื้อ)มันออกมา (to tear it apart). ส่วนในทางที่เลวร้าย มันคือ"การไม่เคารพยำเกรง และการไม่มีความนับถือเอาเลย".
ในการเผชิญหน้ากับการโจมตีเหล่านี้ต่อคำว่า deconstruction, ข้าพเข้ามั่นใจว่ามันสายเกินไปแล้วที่จะรักษาคำๆนี้เอาไว้ ้จากชะตากรรมของการไร้ความหมาย หรือการเป็นคำที่พ้องกับคำว่า destruction (การทำลาย). ในอีกด้านหนึ่ง มันอาจจะไม่เป็นการสายจนเกินไปที่จะพูดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับว่า คำๆนี้มันเริ่มต้นชีวิตของมันขึ้นมาอย่างไร และสิ่งที่ปรัชญาเรียกว่า deconstruction นั่น มันเกี่ยวข้องกับอะไร. นั่นอาจจะไม่ช่วยรักษาคำๆนี้ให้ปลอดภัย แต่นั่นควรจะสร้างความประหลาดใจให้กับเรา.
เนื่องจากความเรียงเรื่องนี้เป็นเรื่องทางปรัชญา
ซึ่งอาจทำความเข้าใจได้ยากกว่างานวรรณกรรมทั่วไป ดังนั้น
ขอแนะนำให้นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน
ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการอ่านปรัชญา ลองใช้กฎดังต่อไปนี้
กฎของการอ่านปรัชญา เพื่อความเข้าใจ ซึ่งผู้เรียบเรียงเห็นด้วยคือ
1.อย่าอ่านนานเกินกว่าครึ่งชั่วโมง เพราะจะทำให้เบื่อหน่าย
2.ข้ามสิ่งที่ไม่รู้เรื่องไปก่อน อย่าพยายามทำความเข้าใจทั้งที่ยังไม่เข้าใจ
3.จดสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญเอาไว้เพื่อทบทวนทีหลัง
4.หากมีคนให้คำปรึกษา ก็จะช่วยให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
(เพิ่มเติม : ถ้าไม่คุ้นเคยกับการอ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ให้ copy ลงบนแผ่นกระดาษ
และอ่านไปตาม ปกติ)
สมเกียรติ ตั้งนโม / เรียบเรียง
1.ประวัติความเป็นมาของคำว่า
Deconstruction
2.ความแตกต่างของคำว่า deconstruction ในความคิดของ Heidegger และ Derrida
3.ไม่มีใครสามารถที่จะพูดทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งใดๆได้ครบถ้วน
4.บทบาทและหน้าที่ของ Deconstruction และ Deconstructive Criticism
5.Derrida เปรียบเทียบงานของตัวเองกับเทววิทยาเชิงนิเสธ
6. คำตอบการสัมภาษณ์ตัวของ Jacques Derrida
7. บทสรุป
ปกติแล้ว ปีศาจร้ายมักจะได้คำดีๆทั้งหมดไปครอบครอง. ซึ่งนั่นอาจจะไม่ทำให้เรารู้สึกแปลกใจนัก, แต่บางทีการรู้ถึงบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับคำๆนี้ และที่ว่า Derrida มีเจตนาให้มันมีความหมาย หมายถึงอะไร อาจจะช่วยให้เราเข้าใจว่ามันหมายความว่าอย่างไร, ในฐานะที่เป็นศัพท์ทางปรัชญา และขบวนการความเคลื่อนไหวทีเรียกว่า deconstruction มันหมายถึงอะไร หรือเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ?
Derrida ได้นำเอาคำว่า deconstruction มาจากงานของ Martin Heidegger. ในช่วงภาคเรียนฤดูร้อนของปี 1927 Martin Heidegger ได้เสนอคำบรรยายชุดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบัน ได้รับการพิมพ์ขึ้นมาภายใต้ชื่อ Basic Problems of Phenomenology (ปัญหาพื้นฐานต่างๆเกี่ยวกับปรากฎการณ์วิทยา)[phenomenology = a philosophical approach concentrating on the study of consciousness and the objects of direct experience.](วิธีการทางปรัชญา ที่ให้ความสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับความสำนึกและวัตถุต่างๆของประสบการณ์ตรง). ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวกับคำบรรยายของเขาที่เตรียมขึ้นมานั้น, Heidegger ได้เริ่มต้นมันขึ้นมาอย่างเหมาะสมด้วยการพูดคุยกันถึงธรรมชาติของปรัชญา, โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางปรัชญาที่เรียกว่า phenomenology (ปรากฎการณ์วิทยา).
การหยิบยืมอย่างสร้างสรรค์มาจากครูของเขา, Edmund Husserl, Heidegger กล่าวว่า ปรากฎการณ์วิทยาเป็นชื่อของวิธีการอันหนึ่งของการทำงานของปรัชญา; เขากล่าวว่า วิธีการดังกล่าวมีขั้นตอนอยู่ 3 ขั้นด้วยกันคือ - การลดทอน, การสร้าง, และการทำลาย (reduction, construction, and destruction) - และเขาได้อธิบายว่า กระบวนการ 3 ขั้นตอน มีความเกี่ยวข้องกันและกัน. "การสร้าง"(construction)มีความจำเป็นที่จะต้องเกี่ยวพันกับ"การทำลาย"(destruction), เขากล่าว, ต่อจากนั้นก็ได้ทำการวิเคราะห์"การทำลาย"(destruction)ด้วย"การรื้อโครงสร้าง"(deconstruction = abbau), Heidegger อธิบายสิ่งที่เขาหมายถึง"การทำลายทางปรัชญา" โดยการใช้คำในภาษาเยอรมันเดิม ซึ่งเราอาจแปลมันตามตัวอักษรว่า"unbuild".
ความเชื่อมโยงของคำศัพท์และประวัติศาสตร์ระหว่างคำว่า deconstruction กับ destruction เป็นเรื่องที่ชัดเจน, แต่ Heidegger ไม่ได้ให้คำว่า abbau หมายถึงสิ่งที่เราหมายถึง destruction (การทำลาย)หรือ disassembly (ถอดออกเป็นชิ้นๆ). เขาใช้คำว่า abbau เพื่อแสดงให้เห็นว่า ในวิธีการของเขา คำว่า destruction ไม่ได้หมายถึงสิ่งที่หมายความถึงอย่างนั้นกันบ่อยๆ. เขาได้อธิบายสิ่งที่เขาหมายถึง abbau ว่า deconstruction - เพื่อให้ความกระจ่างมากขึ้นว่า เขาไม่ได้ต้องการให้หมายความถึง"taking things apart"(ถอดสิ่งต่างๆออก)จริงๆ.
ดังที่ Heidegger ได้คิดคำว่า deconstruction ขึ้นมา, มันเป็นคำตอบหนึ่งต่อปัญหาทางปรัชญา: การพูดคุยกันเกี่ยวกับปรัชญา, แม้แต่ความพยายามอย่างยิ่งที่จะเริ่มต้นใหม่อีกครั้งทั้งหมด, อันนี้ได้ถูกแผ่คลุมไปทั่วโดยแนวคิดแบบจารีตประเพณีต่างๆ และด้วยขอบเขตแห่งจารีตและในมุมมองของขนบประเพณีของการเข้าถึง.
แต่อย่างไรก็ตาม, โชคไม่ดีที่เราสามารถสันนิษฐานต่อไปว่า แนวความคิดเหล่านี้, ขอบเขต, และวิธีการ คือสิ่งที่ดีที่สุดในการเกี่ยวพันกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาอธิบายได้อย่างน่าเชื่อถือทั่วๆไป. มันเป็นโลก"out there"(ที่อยู่ภายนอก). ปัญหาของเราก็คือว่า เพียงช่องทางเกี่ยวกับเหตุผลของเราเท่านั้น(our rational access)ที่เข้าสู่โลกนั้นได้ คือ ภาษาศาสตร์(linguistic), ซึ่งอาจทำให้เรามีความเชื่ออย่างผิดๆว่า ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับโลก มักจะเป็นกิ่งก้านสาขาจากภาษาของเรา.
ถ้าเราเพิ่มข้อสงสัยของเราต่อประเด็นของ Heidegger ซึ่งเรารับทอดสืบช่วงแนวความคิดและคำต่างๆของเรามาจากคนอื่น ซึ่งตัวของพวกเขาเองนั้น ต้องทำงานด้วยแนวความคิดและคำต่างๆที่สืบทอดมาอีกทอดหนึ่ง หากเป็นดังว่านั้น เราก็ต้องตั้งคำถามขึ้นมาโดยพลันว่า : ถ้าเป็นเช่นนั้น เราสามารถที่จะคิดถึงเกี่ยวกับโลกอย่างมีประสิทธิภาพ ได้อย่างไร ? เราสามารถหลีกเลี่ยงการลดทอนความเข้าใจต่อบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งสัมพันธ์กับภาษาและประวัติศาสตร์โดยเฉพาะได้อย่างไร ?
ก็คล้ายๆกันกับนักปรัชญาคนอื่นๆในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19-20, Heidegger ไม่เชื่อว่ามันมีเครื่องมืออัตโนมัติที่เรียกว่า"เหตุผล" ซึ่งเรานำมาใช้โดยไม่คำนึงถึงภาษา, เวลา, สถานการณ์, สภาพแวดล้อมของเรา, หรือความสนใจต่างๆ, เพื่อวิจารณ์ไอเดียหรือความคิดต่างๆ. ด้วยเหตุดังนั้น, เมื่อเราดูเหมือนว่าจะไม่สามารถเริ่มต้นมาจากศูนย์ หรือจุดตั้งต้นของเหตุผลอันนั้น, เป็นอิสระจากแนวความคิดต่างๆที่มีอยู่แล้ว, ศัพท์แสงต่างๆ, หรือวิธีการเข้าถึงทั้งหลาย, มันจึงปรากฎออกมาว่า เราได้ถูกบีบบังคับให้ทำซ้ำอดีตและความผิดพลาดของมัน.
ถ้าหากว่าเราจะต้องใช้แนวความคิดต่างๆที่เราได้รับการสืบทอดมาจากคนอื่นในการกระทำทางปรัชญา(หรือสิ่งอื่นๆ), เราจะสามารถได้อะไรใหม่ๆขึ้นมาได้อย่างไร ? เราจะสามารถไปพ้นจากสิ่งที่เป็นความผิดพลาดต่างๆในทางปรัชญา ซึ่งบรรพบุรุษทางด้านสติปัญญาของเราได้สร้างขึ้นมาได้อย่างไร ? เราไม่ได้กำลังประณามต่อลัทธิประวัติศาสตร์และสัมพัทธนิยมวัฒนธรรม(historicism and cultural relativism)หรอกหรือ ?
ในทางตรงข้าม, การสนทนาถกเถียงกันอย่างมากมายเกี่ยวกับผลงานของ Heidegger และผลงานที่ได้รับช่วงสืบทอดมาจากงานของเขา, คำตอบของ Heidegger ก็คือ, "ไม่. เราสามารถที่จะใช้แนวความคิดเหล่านี้ได้, ในขอบเขตต่างๆ และวิธีการที่สวนกับตัวของมันเอง เพื่อค้นหาหรือเปิดเผยให้เห็นสิ่งที่สร้างมันขึ้นมา. ยกตัวอย่างเช่น เราอาจคิดถึงการอภิปรายของ Aristotle เกี่ยวกับเรื่อง"แบบและสสาร"(form and matter), โดยใช้ศัพท์ต่างๆเหล่านั้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่ครอบคลุม่เพียงพอของมัน. ท้ายที่สุด อะไรคือสสาร ? คำตอบใดๆที่ข้าพเจ้าให้ อยู่ในศัพท์ต่างๆของอีกรูปหนึ่งมากกว่าในศัพท์ต่างๆของสสาร. คำถามต่างๆอย่างเช่น: "โต๊ะตัวนั้นทำขึ้นมาจากอะไร ?, วัสดุของมันคืออะไร ?" คำตอบคือ "ไม้". แต่ศัพท์คำว่า"ไม้"มันได้ให้รูปลักษณ์อันหนึ่งกับเรา, ซึ่งไม่ใช่สสาร. ข้าพเจ้าอาจตั้งคำถามขึ้นมาว่า, "แล้วไม้นั้น มันทำขึ้นมาจากอะไร ?"
แน่นอน ข้าพเจ้าอาจให้คำตอบที่มีเหตุผลอันหนึ่ง, แม้ว่ามันยังคงอยู่ในรูปศัพท์ต่างๆของแบบ(in term of form). ดังที่เราใช้ศัพท์คำว่า"สสาร"และ"แบบ"(matter and form), สิ่งที่เริ่มต้น ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นคำถามที่มีเหตุผลสมบูรณ์ กลับกลายเป็นปัญหา. โดยการทำให้เป็นปัญหาความแตกต่าง, อย่างน้อยที่สุด เราเริ่มที่จะสะดุดใจขึ้นมาแวบหนึ่งเกี่ยวกับปัญหาซึ่ง Aristotle กำลังโต้ตอบ. บางที เราเริ่มด้วยข้อสงสัย - คิด - ในลักษณะเดียวกันกับที่เขาคิด. ถ้าเราทำเช่นนั้น, บางทีเรากำลังเริ่มกระทำหรือขบปัญหาทางปรัชญา โดยพิจารณาคำถามต่างๆของ Aristotle มากกว่าจะทำซ้ำในลักษณะการอธิบายทางวิชาการเกี่ยวกับปรัชญาของ Aristotle.
Derrida อาจจะพูดถึงตัวอย่างอันนี้ว่า เราสามารถที่จะ deconstruct (รื้อ)ไอเดียเกี่ยวกับเรื่อง"แบบและสสาร"(form and matter)ได้. แต่สิ่งที่เขาหมายถึง deconstruct แตกต่างไปจากสิ่งซึ่ง Heidegger หมายถึง มากกว่าจะเป็นเรื่องของวิธีการหรือส่วนหนึ่งของวิธีการ, สำหรับ Derrida คำว่า deconstruction เป็นท่าทีอันหนึ่ง, ในความหมายระดับรากของคำๆนั้นเลยทีเดียว. มันคือตำแหน่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับบางสิ่งบางอย่าง.
ต่อหัวข้อเรื่อง "ความแตกต่างของคำว่า Deconstruction ในความคิกของ Heidegger และ Derrida"