ความแตกต่างของคำว่า
deconstruction ในความคิดของ
Heidegger และ Derrida
ในการมาพิจารณาหรือคิดกันถึงความแตกต่างระหว่างความคิดของ Heidegger และ Derrida
เกี่ยวกับคำว่า deconstruction, ขอให้มาลองดูตัวอย่างอันนี้:
ข้าพเจ้าได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องของชุมชน. ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบมันซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งข้าพเจ้ารู้สึกพอใจในสิ่งที่ตนทำ. แต่คำว่า"ทำ"ในที่นี้หมายถึงอะไร ? มันไม่ได้หมายถึง"พูดทุกอย่างที่ข้าพเจ้าต้องการพูด"ใช่ไหม ? และอะไรล่ะที่ข้าพเจ้าต้องการพูด ? คำตอบคือ "ทุกสิ่งทุกอย่าง".
ทุกสิ่งทุกอย่าง, นั่นคือ อะไรที่หมายถึงการเป็นชุมชน. แน่นอน, มันอาจจะมีนี่หรือนั่น อันเป็นประเด็นรองๆที่ข้าพเจ้าอาจละเลยหรือมองข้ามไปอย่างไม่มีผลกระทบใดๆ, ตราบเท่าที่บางสิ่งบางอย่างที่มีความสำคัญ ยังคงได้ถูกนำมากล่าวในหัวข้อนี้ของข้าพเจ้า หรือตราบเท่าที่ความเชื่อมโยงของประเด็นสำคัญได้ถูกทำให้ชัดเจนพอ. ด้วยเหตุนี้, เมื่อข้าพเจ้าทำ ข้าพเจ้าจะทำบางสิ่งบางอย่างที่อ้างว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับความสำคัญต่อหัวข้องของข้าพเจ้า; ซึ่งข้าพเจ้าได้เขียนหนังสือนั้นในหัวข้อของข้าพเจ้า แสดงนัยะในการมีอยู่ของมันในฐานะที่เป็นหนังสือเล่มหนึ่ง, แม้ว่าข้าพเจ้าจะสอดแทรกหมายเหตุ และคำขอโทษต่างๆ และปฏิเสธในทางตรงข้าม.
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้าพเจ้าได้เขียนหนังสือเล่มนี้จบลงและมีสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งรับจะตีพิมพ์มันขึ้นมา, อะไรคือสิ่งซึ่งข้าพเจ้าควรจะทำเป็นอย่างแรก ? ข้าพเจ้าจะเขียนคำนำขึ้นมาอันหนึ่ง. แต่คำนำต่างๆล้วนเป็นสิ่งที่ประหลาด. ถ้าเผื่อว่ามันสามารถบอกได้ว่าหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงอะไร, ถ้าเช่นนั้น อะไรล่ะซึ่งเป็นที่ต้องการให้อยู่ที่นั่น สำหรับหนังสือเล่มนี้ ? แต่ถ้ามันไม่สามารถทำอย่างนั้นได้, แล้วอะไรล่ะซึ่งเป็นที่ต้องการให้อยู่ที่นั่นสำหรับคำนำ ?
บางครั้งบางคราว คำนำมันทำหน้าที่คล้ายๆกับสิ่งที่เจริญอาหาร, หรือสิ่งต่างๆซึ่งออกแบบขึ้นมาเพื่อทำให้ผู้คนอยากอ่านหนังสือเล่มนี้(หรืออย่างน้อยที่สุดก็ซื้อหามัน). แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนมากแล้ว คำนำจะเป็นเรื่องราวสั้นๆเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น, มันเป็นการสำรวจทั่วๆไปอันหนึ่ง. มันตั้งประเด็นปัญหาในบริบทหรือท้องเรื่อง, มันจะแสดงให้ผู้อ่านทั้งหลายเห็นว่า ความสำคัญของปัญหาและการแก้ปัญหาคืออะไร ?, มันจะให้ข้อมูลเหตุผลในรูปแบบของความเข้าใจที่ง่ายๆ. คำนำส่วนใหญ่ซึ่งผนวกเข้ามาในหนังสือ มันถูกเพิ่มเติมเข้ามาก็เพื่อปรับปรุงให้หนังสือดีขึ้น,เพื่อเสริมแต่งผลงานนั้นๆ.
ด้วยเหตุนี้, แม้ว่าโดยนัยะหนังสือดังกล่าวอ้างว่า ได้พูดถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการ, ดังในส่วนที่ผนวกเข้ามา, คำนำจะทำหน้าที่กล่าวถึง"สิ่งๆหนึ่งเพิ่มเติมขึ้น"หรือ"สิ่งเดียวกันอย่างสั้นๆ", การ deconstructing (รื้อโครงสร้าง)คำอ้างของหนังสือเล่มนั้น ก็เพื่อสร้างความสมบูรณ์และความครอบคลุมเพียงพอของตัวเองขึ้นมา.
ในการ deconstructing หนังสือนี้, ไม่ใช่เพื่อแสดงให้เห็นว่า คำนำไม่ได้แสดงให้เราเห็นถึงความไม่สอดคล้องของหนังสือดังกล่าว. มันไม่ได้แสดงให้เราเห็นว่า หนังสือเล่มนี้ไร้ความหมาย. มันไม่ได้แสดงให้เราเห็นถึงการตีความใดๆเกี่ยวกับหนังสือที่จะทำขึ้นมา. อันที่จริงการ deconstructing แสดงให้เราเห็นว่า หนังสือเล่มนี้อ้างอะไรที่มันสามารถถ่ายทอด, มันมีบางสิ่งบางอย่างที่ตกไป แม้ว่ามันจะอ้างว่าสมบูรณ์ก็ตาม.
ข้าพเจ้านำเอาตัวอย่างข้างต้น มาเป็นความหมายทั่วๆไปเกี่ยวกับคำว่า deconstruction ดังที่ Derrida ใช้มัน: ไม่เพียงใช้คำและแนวคิดต่างๆของเราค้านกับตัวของมันเอง, แต่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ถูกลืม หรือขาดไป หรือมองข้ามไป, ซึ่งการละเลยนั้นมันมีต่อโครงสร้างของตำรา - และนั่นเราสามารถที่จะค้นหาการละเลยต่างๆเหล่านั้นในโครงสร้างของตำรา - โดยไม่จำเป็นต้องสามารถระบุถึงสิ่งที่ถูกละเลยหรือข้ามไป.
แต่อย่างไรก็ตาม ให้สังเกตุมันอีกครั้ง, โดยวิธีการ deconstruction, เราได้เห็นถึงบางสิ่งบางอย่างที่ได้ถูกหลงลืมไป, เราไม่สามารถที่จะย้อนกลับไปได้, หรือสอดแทรกชิ้นส่วนที่ขาดหายไป. การละเลยเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. เหตุผลที่ว่าทำไมจึงไม่ยุ่งยากที่จะมองเห็น. เหตุผลข้อหนึ่งก็คือ ไม่มีใครสามารถที่จะพูดทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งใดๆก็ตามได้นั่นเอง ; สิ่งต่างๆมันไม่เคยเป็นอะไรที่ง่ายๆอย่างนั้น.
การไม่สามารถที่จะพูดถึงทุกสิ่งทุกอย่างได้นั้น มิใช่ความล้มเหลวของภาษาแต่อย่างใด, แต่มีบางสิ่งที่เหนือกว่านั้น. มันไม่ใช่ประเด็นเกี่ยวกับความเหลวไหลของยุคใหม่ และก็ไม่ใช่มนต์วิเศษของยุคเก่าเช่นกัน แต่มันเป็นหนึ่งในคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ. ถ้าหากว่าข้าพเจ้ายกวัตถุชิ้นหนึ่งขึ้นมาต่อหน้าคนๆหนึ่ง และขอให้เขาบอกกับข้าพเจ้าถึงสิ่งที่เขาเห็น, เขาคนนั้นก็สามารถที่จะรายงานเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆของสิ่งๆนั้นออกมาได้. ถ้าเขาอกระทำเช่นนั้นอย่างละเอียด เขาสามารถที่จะทำเป็นรายการออกมาได้อย่างยืดยาวทีเดียว. มันอาจจะถึงกับเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะเพิ่มเติมอะไรเข้าไปในรายการนั้นได้อีก, แต่อันที่จริง มันไม่มีวันจบสิ้นในสิ่งที่เขาสามารถจะกล่าวถึงความจริงเกี่ยวกับวัตถุชิ้นนั้นได้.
ยกตัวอย่างเช่น เขาสามารถที่จะบรรยายถึงความสัมพันธ์ของมันกับอีกสิ่งหนึ่งในจักรวาลได้เสมอ หรือแม้กระทั่งสัมพันธ์กับรายการที่เขากำลังทำอยู่. แม้ว่าไม่บ่อยนักที่เราจะมีเหตุผลให้กระทำเช่นนั้น และดำเนินไปในหนทางดังกล่าว. ในหลักการแล้ว มันไม่มีจุดจบของความยาวเกี่ยวกับคำอธิบาย ซึ่งคนๆหนึ่งสามารถที่จะให้หรือแจงเกี่ยวกับวัตถุธรรมดาชิ้นหนึ่ง. ด้วยเหตุผลข้างต้น, มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะพูดถึงทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับวัตถุชิ้นหนึ่ง, ไม่ว่าจะเป็นวัตถุหรือสิ่งใดๆก็ตาม.
ประเด็นที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ วัตถุต่างๆในตัวของมันเองนั้น ได้แสดงให้เห็นว่ามันยังคงมีอะไรมากกว่าสิ่งที่พูดออกมา. วัตถุทุกชิ้นได้แสดงให้เห็นว่าตัวของมันเองเป็นชุดหนึ่งของความเป็นไปได้ต่างๆ, ไม่ใช่เพียงเป็นสิ่งๆหนึ่งที่กำหนดลงไปได้แน่นอน. การมองดูวัตถุชิ้นใดชิ้นหนึ่งโดยเฉพาะก็คือ การมองดูมันในเทอมต่างๆของความเป็นไปได้ต่างๆ. ตัวอย่างเช่น การเห็นถึงความเป็นไปได้ในการมองวัตถุชิ้นหนึ่งจากมุมมองอีกมุมหนึ่ง โดยไม่รู้ว่ามุมมองนั้น อาจจะเป็นได้ หรืออะไรที่ข้าพเจ้าอาจจะเห็นจากมุมมองอื่นๆ.
การมองดูด้านหนึ่งของแปรงลบกระดาน จะต้องรู้ว่า(แม้ว่าปกติแล้วจะเป็นไปในลักษณะนัยะเท่านั้น)มันมีอีกด้านหนึ่ง. ด้วยเหตุนี้ มันมีอะไรที่มากกว่าที่เราเห็นและที่เราพูด ซึ่งไม่เพียงข้อสรุปหรือการวินิจฉัยที่ข้าพเจ้าทำเมื่อข้าพเจ้ามองเห็นมันจากด้านนี้เท่านั้น; อีกด้านหนึ่งไม่ใช่บางสิ่งบางอย่างที่ข้าพเจ้าลงความเห็นหรือสรุปจากการมองทางด้านนี้.
ข้อเท็จจริงก็คือว่า มันมีอะไรที่มากกว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าเห็น ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งและพื้นที่หนึ่งของการมองวัตถุชิ้นหนึ่งทั้งหมด. สำหรับข้าพเจ้า ไม่ได้มองเห็นระนาบและผิวหน้าต่างๆ และถัดจากนั้นก็สรุปว่า พวกมันคือวัตถุต่างๆไปเสียแล้ว. ข้าพเจ้าเห็นวัตถุต่างๆจากด้านหนึ่ง และวัตถุต่างๆมันมีแง่มุมที่ไม่ได้มากระทบกับดวงตา, แง่มุมต่างๆอย่าง ด้านอื่นๆ หรือภาวะอื่นๆของพวกมันที่ข้าพเจ้าจะค้นพบได้ ถึงความแน่นอนของมันก็แต่เพียงการสำรวจตรวจค้นเท่านั้น. สิ่งที่ข้าพเจ้าเห็น มันมักจะมีอะไรที่มากกว่าการที่ข้าพเจ้าสามารถเอ่ยออกมาได้.
Kant อาจจะเรียกข้อเท็จริงดังกล่าว เกี่ยวกับคุณลักษณะที่มากกว่าปกติอันนี้ของมุมมองว่า เป็นหนึ่งในเงื่อนไขต่างๆสำหรับความเป็นไปได้เกี่ยวกับการมีประสบการณ์อันหนึ่งอย่างทั่วถ้วน. การรับรู้วัตถุชิ้นหนึ่งก็คือ การรู้โดยทันทีว่า มันมีอะไรมากเกินกว่าที่ถูกพูดออกมาเสมอ. ประสบการณ์ทั้งหมดคือประสบการณ์ของสิ่งที่มีมากกว่า, ของความเป็นไปได้.
ส่วนใหญ่แล้ว ข้อเท็จจริงเหล่านี้มันเกี่ยวข้องกับการอธิบายสิ่งต่างๆ ซึ่งไม่ค่อยจะตรงประเด็นเท่าไรนัก. สำหรับวัตถุประสงค์ที่แท้จริง ข้าพเจ้าต้องการที่จะพูดถึงอะไรที่ต้องการจะพูด, ไม่ใช่ทุกๆสิ่ง. สมมุติว่า ข้าพเจ้าได้เขียนหนังสือขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์และผู้อ่านคนหนึ่ง. มันเป็นเรื่องยากถ้าไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้ที่จะทำอีกอย่างหนึ่ง. แม้ว่าการกระทำอีกอย่างหนึ่งมันเป็นไปได้, บ่อยครั้ง มันก็ไม่ใช่ไอเดียที่ดีแต่อย่างใด. การยกเรื่องนี้มา ข้าพเจ้าต้องการที่จะโน้มน้าวพวกเราให้ไปสู่หนทางต่างๆที่เราคิดถึงชุมชน, มันไม่มีอะไรผิดพลาดเลย ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนของข้าพเจ้า วัตถุประสงค์ หรือผู้อ่าน. ข้าพเจ้าควรจะทำเช่นนั้นและอย่างนั้น.
หลังจากที่ข้าพเจ้าได้เขียนหนังสือขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะ และเพื่อผู้อ่านกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ, ใครบางคนสามารถที่จะตีความลงไปตรงๆอันหนึ่งเกี่ยวกับมัน ด้วยวัตถุประสงค์และผู้อ่านนั้นในใจ. ถ้าหากว่าข้าพเจ้าได้ทำงานชิ้นนั้นออกมาดี, มันก็จะมีการยอมรับทั่วๆไปเกี่ยวกับสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กล่าวออกมากับผู้อ่านเพื่อวัตถุประสงค์อันนั้น. แต่อย่างไรก็ตาม, เมื่อข้าพเจ้าได้ตีพิมพ์งานชิ้นนี้เป็นหนังสือ, มันก็จะไม่ใช่ของข้าพเจ้าอีกต่อไปแล้ว. มันอาจถูกหยิบยกขึ้นมาโดยผู้อ่านคนอื่นๆ หรือถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น.
หรือใครบางคนสามารถที่จะถามเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับงานเขียนของข้าพเจ้า สำหรับวัตถุประสงค์และผู้อ่านของข้าพเจ้า: การทำเช่นนั้นได้ทอดทิ้งหรือละเลยคนบางคนไปไหม ? ใครบางคนผู้ซึ่ง บางที ไม่ควรที่จะตกไป ? ในการพูดถึงวัตถุประสงค์และผู้อ่านของข้าพเจ้า, ทำให้หนังสือเล่มนี้ขาดการพูดถึงหัวข้ออันหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าควรที่จะ หรือสามารถที่จะพูดออกไปใช่ไหม ? ตำราเล่มนี้ได้กระทำบางสิ่งซึ่งข้าพเจ้า, บางที, ไม่เคยตั้งใจที่จะทำมันเลยใช่ไหม ? มันมีความเกี่ยวพันในทางการเมืองและจริยธรรม เกี่ยวกับสิ่งซึ่งข้าพเจ้าได้เขียนที่ข้าพเจ้าอาจมองไม่เห็น แต่อย่างไรก็ตาม นั่นควรจะถูกนำมาพิจารณาด้วยใช่หรือไม่ ? มีบางสิ่งบางอย่างหรือบางคนได้ถูกกันออกไปโดยโครงสร้างที่แท้จริงของกิจกรรมอันนี้, ไม่ว่ากิจกรรมอันนั้นมันเกี่ยวกับการเขียนหนังสือ หรือเกี่ยวกับปรัชญาของข้าพเจ้า ใช่ไหม ? เหล่านี้คือคำถามที่อาจมีขึ้นมาได้เสมอๆ .
ช่องทางอันหนึ่งที่จะพูดถึงคำถามต่างๆเหล่านี้ก็คือ จะต้องเขียนหนังสือหรือบทความขึ้นมาอีกชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับหนังสือของข้าพเจ้า เพื่อวิจารณ์มันว่า มันไม่ได้ทำในสิ่งที่ควรจะทำอะไรบ้าง. คริสเตียน, มาร์กซิสท์, เฟมินิสท์(feminist) และการวิจารณ์ทางศีลธรรม บ่อยครั้ง ยึดเอารูปแบบอันนี้เอาไว้. ส่วนอีกช่องทางหนึ่งก็คือ เขียนหนังสือขึ้นมาอีกเล่มหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องชุมชน ซึ่งได้แก้ไขความผิดพลาดเกี่ยวกับหนังสือของข้าพเจ้าให้กระจ่างขึ้นมา ทั้งโดยนัยะและความชัดเจน. อันที่จริงแล้ว, หนังสือของข้าพเจ้าเป็นเพียงหนังสือเล่มหนึ่งเท่านั้น. ข้าพเจ้าเขียนมันขึ้นมาจากไอเดีย ความคิด และหนังสือก่อนหน้านั้นในใจ, หนังสือและไอเดียดังกล่าวที่ข้าพเจ้าคิดมันทำก่อความผิดพลาดเอาไว้. แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่หนทางของการตอบโต้กับหนังสือของข้าพเจ้าที่มีเพียงเท่านั้น. อีกวิธีหนึ่งในการตอบโต้หรือขานรับกับหนังสือที่ข้าพเจ้าเขียนก็คือ วิธีการที่เรียกว่า deconstruction (และ deconstruction สามารถที่จะมารับใช้เป้าหมายต่างๆของการวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการวิจารณ์ในแนวคริสเตียน, มาร์กซิสท์ เฟมินิสท์, ศีลธรรม, และอื่นๆ ฯลฯ).
Deconstruction แตกต่างไปจากวิธีการอื่นๆของการตั้งคำถามต่างๆเกี่ยวกับงานชิ้นหนึ่งอันนั้น, มันมีอะไรซึ่งมากไปกว่าการเปรียบเทียบผลงานดังกล่าวกับมาตรฐานภายนอก สำหรับอะไรที่ควรจะถูกทำ(อย่างเช่น มาตรฐานทางศีลธรรม, มาตรฐานทางวิทยาศาสตร์, หรืออดุมการณ์ทางการเมือง), มันจะค้นหาช่องทางหรือวิธีการที่หนังสือเล่มนั้น ในตัวของมันเอง ได้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่มันได้มองข้ามไป.
Deconstruction เป็นรูปแบบหนึ่งของสิ่งที่ได้รับการเรียกว่า imminent critique . ยกตัวอย่างเช่น Derrida ได้เขียนเกี่ยวกับหมายเหตุข้างใต้อันหนึ่งในงานเรื่อง Being and Time ของ Heidegger เพื่อแสดงให้เห็นว่า -- ขณะที่อ่านหมายเหตุข้างใต้อย่างระมัดระวัง มันจะแสดงให้เห็นในเชิงความหมายและวัตถุประสงค์ - ข้ออ้างต่างๆของหนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งซึ่งสร้างปัญหาให้ชวนสงสัย. ในข้อเท็จจริง, Derrida ให้เหตุผลว่า ผลงานของ Heidegger ได้กัดเซาะตัวของมันเอง.
แต่อย่างไรก็ตาม Deconstruction ของ Derrida เป็นสิ่งที่แตกต่างไปจากการวิจารณ์ในเชิงอุดมคติและศีลธรรม. Derrida ไม่ได้รื้อ(deconstruct)ผลงานของ Heidegger เพื่อแสดงให้เห็นว่า Heidegger ควรที่จะเขียนหนังสือเล่มดังกล่าวให้ดีกว่านี้. อันนี้ไม่เหมือนกับนักวิจารณ์หนังสือที่ดี, Derrida ไม่ได้ทำหน้าที่ซ่อมแซมงานของ Heidegger เพื่อเขา, ซึ่งเข้าใจกันเอาเองว่า ด้วยการแก้ไขเหล่านี้, อย่างน้อยที่สุดโดยหลักการ เราจะมีงานที่ดีกว่าขึ้นมาชิ้นหนึ่ง.
การวิจารณ์แบบ Deconstructive criticism มิได้เจตนาหรือมีความตั้งใจที่จะเสนอแนะวิธีการอันหนึ่ง ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว จะทำให้หนังสือเล่มนี้สมบูรณ์ขึ้น, เปล่าเลย, แต่กลับเป็นการแสดงให้เห็นถึง ความจำเป็นของมันในความไม่สมบูรณ์ ต่างหาก. Deconstruction ได้ถูกนำมาใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่า ผลงานชิ้นหนึ่งไม่ได้พูดถึงบางสิ่งบางอย่าง อย่างครอบคลุมเพียงพอ, ไม่ใช่ว่ามันควรจะมี. (Deconstructive criticism is not intended to suggest a way to make the book finally complete, but to show its necessary incompleteness. Deconstruction is used to show that a work does not adequately address something, not that it should have.)
Deconstruction ไม่ได้ทึกทักว่า, ภารกิจของมันที่กระทำลงไปทุกอย่าง จะถูกนำรวมเข้าไว้ด้วยกัน. นั่นเป็นไปไม่ได้. มันไม่ได้คาดว่า งานของมันจะมีผลในการรวมเข้าไปในอะไรที่มากกว่าสิ่งซึ่งได้ถูกรวมเอาไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว; มันไม่ได้นึกว่า งานของมันจะทำให้สิ่งต่างๆดีขึ้น. ในสาระสำคัญ, Deconstruction ไม่สันนิษฐานว่ามันเป็น เป้าหมายอันหนึ่งต่อผลงานของ deconstruction, แม้ว่าจะเป็นเพียงในหลักการก็ตาม.
ประเด็นของ deconstruction ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า ที่ไหนบ้าง ซึ่งบางสิ่งบางอย่างได้ถูกละเลยหรือถูกมองข้ามไป, ไม่ใช่เนื่องมาจากความมืดบอดของตัวผู้เขียน, ไม่ใช่เพราะนักวิจารณ์ฉลาดกว่าหรือดีกว่า, แต่เพราะว่านั่นเป็นหนทางที่สิ่งต่างๆเป็นไป. มันมักจะมีสิ่งต่างๆที่ข้าพเจ้าไม่รู้เสมอๆ, แม้ว่าในความเป็นจริงโดยสัจจริงแล้วนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้ว่ามันเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ข้าพเจ้ารู้.
Derrida รู้สึกหลงใหลใน "nonknowledge" อันนี้ และผลงานของเขาก็เวียนวนอยู่กับมันอันนี้:
ไม่ใช่ว่าข้าพเจ้ารักใน nonknowledge สำหรับตัวของมันเอง, ในทางตรงข้าม, ข้าพเจ้าพร้อมที่จะคิดเหมือนกับชนชาวมุสลิมทั้งหลายที่ว่า"น้ำหมึกของการเรียนรู้ มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าเลือดของผู้ยอมรับความทุกข์ทรมานเพื่อศาสนาจนตัวตาย(เป็นการยอมรับความทุกข์ มากกว่าการละทิ้งศาสนา)", แต่ความศักดิ์สิทธิ์, แน่นอน, โดยผ่านบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างไปจากความรู้, et cum amant beatam uitam, quod non est aliud quam de ueritate guadium, utique amant etiam ueritatem nec amarent, nisi esset aliqua notitia eius in memoria eorum ["Circumfession" 141-42 (my bold), in Geoffrey Bennington and Jacques Derrida, Jacques Derrida. (Chicago: U of Chicago, 1993). The Latin is a quotation from Augustine's Confessions (X, xxiii, 33): "For they love (truth), also since they do not wish to be deceived. And, when they love the happy life, which is nothing other than joy arising from truth, they certainly love truth, also. Nor would they love it, unless some knowledge of it were in their memory."]
สิ่งซึ่งเราอ่านหรือเขียนอาจเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์, แต่สิ่งที่ทำให้มันศักดิ์สิทธิ์คือบางสิ่งบางอย่างที่นอกเหนือไปจากตัวของมันเอง, บางสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกตำรับตำราหรือหนังสือ, บางสิ่งที่ตำราหรือหนังสือเรียกร้องให้เราจดจำขณะที่, ในเวลาเดียวกันนั้น, ได้กันมันออกไปโดยข้ออ้างที่แสดงนัยะของมันต่อข้อสรุปตอนท้าย.
หนังสือตำรับตำราต่างๆมุ่งมันที่จะพูดถึงสิ่งนี้ นอกเหนือจากสิ่งซึ่งมันชี้ แต่การชี้ชัดหรือเป้าหมายของมันไม่เคยบรรลุหรือไปถึงได้เลย; พวกมันจะพูดถึงสิ่งที่ ในท้ายที่สุด มักจะถูกละเลยหรือหลงลืมเสมอโดยตำรา, ทั้งๆที่เป็นเจตนาหรือความตั้งใจของผู้เขียน. เป้าหมายของเจตนาของมันได้เล็ดลอดไปจากความตั้งใจ. ปัญหาอยู่ตรงนั้น, แม้ว่าตัวของมันเอง, หนังสือหรือตำราจะอ้างว่าไม่ได้ทิ้งอะไรไว้ข้างนอกตัวของมันเอง, เพื่อกู้คืนสิ่งที่มันเรียกร้องให้เราจดจำ, หนังสือหรือตำราแถลงว่า ได้เคลื่อนย้ายสิ่งที่ต้องการให้ได้รับการจดจำจากความหลงลืมมาสู่ความฉับพลันทันทีในการรับรู้, ซึ่งทำให้ความทรงจำไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป.
เพราะ Derrida สนใจในความสัมพันธ์กันอันนี้ระหว่างตำรับตำรา กับ สิ่งที่ตำรับตำราประสงค์ที่จะพูดเกี่ยวกับสิ่งนั้น แต่กลับไม่สามารถพูดได้, บางคนจึงเปรียบเทียบงานของเขากับเทววิยาในเชิงนิเสธ(negative theology). ภายหลังจากความลังเลใจที่เกิดขึ้นมา, Derrida ตัวของเขาเองได้ทำการเปรียบเทียบ, แม้ว่ามันจะเป็นข้อผิดพลาดอันหนึ่งที่กล่าวว่า ผลงานของเขาแสดงออกถึงแนวทางในลักษณะเทววิทยาเชิงนิเสธ.
ขอให้เรามาลองทำความเข้าใจกับ"เทววิทยาเชิงนิเสธ"(negative
theology)กันดู. สำหรับเทวิทยาเชิงนิเสธอาจแบ่งทำความเข้าใจออกได้เป็น 2 ช่วงดังนี้.
ช่วงที่หนึ่ง, คือการค้นพบและกล่าวออกมาอย่างเที่ยงตรงเท่าที่จะเป็นไปได้ถึงชื่อ
และคำอธิบายที่ถูกต้องของพระผู้เป็นเจ้า(Divine). แต่แสดงออกมาในเชิงประติทรรศน์(หรือขัดแย้งกับความรู้สึกทั่วๆไป),
ช่วงที่สอง, คือการแสดงให้เห็นว่า ชื่อต่างๆเหล่านี้มันไม่มีความสามารถครอบคลุมเพียงพอที่จะกล่าวออกมาได้อย่างหมดถ้วน.
ยกตัวอย่างเช่น, ใครสักคนกล่าวว่า "พระผู้เป็นเจ้าคือความเที่ยงธรรม"(God is
just), มันเป็นการสบประมาทที่จะพูดอะไรที่นอกเหนือไปจากนี้. แต่อย่างไรก็ตาม,
เมื่อคำพูดอันนั้นได้รับการสถาปนาขึ้นมา, มันจึงเป็นจริงด้วยที่ว่า ประโยคดังกล่าวมันยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ.
(อันนี้ขอให้เรามาทำความเข้าใจกันเพิ่มขึ้นดังนี้)
สำหรับพวกเราแล้วนั้น รู้เพียงว่า อะไรคือความยุติธรรม โดยการใช้ความยุติธรรมของตัวเราเอง(ของมนุษย์)ในฐานะที่เป็นข้ออ้างอิงในประเด็นนี้. แต่อย่างไรก็ตาม, ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า(God's justice)นั้นเหนือขึ้นไปกว่าของเรามาก, ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มันไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะใช้ชื่อเดียวกันสำหรับสิ่งๆนี้. ดังนั้น การที่ใครคนหนึ่งกล่าวด้วยว่า "พระผู้เป็นเจ้าไม่มีความเที่ยงทำ"(God is not just) - บรรดาผู้อ่านทั้งหลายจะต้องเอาใจใส่ว่าพวกเขาอ่านกันอย่างไร กับสิ่งที่ดูเหมือนการปฏิเสธที่ชัดแจ้งอันหนึ่งเกี่ยวกับความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า.
นักเทวศาสตร์ในเชิงนิเสธยอมรับถึงความจำเป็นที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการพูดถึงพระผู้เป็นเจ้า. แต่อย่างไรก็ตาม, พวกเขาก็มีความกังวลว่า เทววิทยาของเราอาจทำให้เรารู้สึกว่า เราได้ถูกทำให้คิดถึงพระผู้เป็นเจ้าในทางที่ถูกต้องครบถ้วนแล้ว; อย่างน้อยที่สุดโดยนัยะ เราอาจเชื่อว่าความรู้ของพวกเราได้ครอบคลุมความไร้ขอบเขตอันไม่สิ้นสุดนั้นแล้ว. ดังนั้น นักเทววิทยาเชิงนิเสธจึงเตือนเราทั้งหลายเกี่ยวกับความไร้ขอบเขตของพระผู้เป็นเจ้า โดยแสดงให้เราเห็นความล้มเหลวของ"เทววิทยาในลักษณะยืนยัน"(affirmative theology)ของพวกเรา.
ประเด็นคือ ไม่ใช่ว่าไม่มีพระเจ้า หรือพระเจ้าคือใคร, ในความหมายตรงๆ, ไม่ใช่เช่นนั้น, แต่เราจะต้องพูดถึงพระผู้เป็นเจ้าต่อไป, ยกย่องสรรเสริญพระองค์, มีข้อกังขาหรือสงสัยเกี่ยวกับความยุติธรรมของพระองค์. เพราะมันทำให้เกิดความเป็นไปได้ในความต่อเนื่องเกี่ยวกับเนื้อแท้ อันนี้เป็นประการแรก. ประการที่สอง "เทววิทยาเชิงนิเสธ", ไม่ใช่การปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง, แต่มันเป็นเรื่องของการยกย่องสรรเสริญมากๆเหมือนกับประการแรกนั่นเอง. สำหรับนักเทววิทยาเชิงนิเสธ, เทววิทยาที่แท้จริงไม่ได้มาจาก"เทววิทยาในลักษณะยืนยัน"โดยตัวของมันเอง และก็ไม่ได้มาจาก"เทววิทยาเชิงนิเสธ"โดยลำพัง, แต่มันมาจาก"ทางที่สาม"(third way), การยกย่องกันอย่างต่อเนื่องนั้น ได้ถูกเปิดไปสู่ความตรงข้ามระหว่างทั้งสองทางข้างต้น(นั่นคือ affirmative theology และ negative theology).
สมมุติฐานร่วมกันของ deconstruction(การรื้อโครงสร้าง) และ negative theology (เทววิทยาเชิงนิเสธ) ก็คือ "ภาษา", ซึ่งในตัวมันเองมีข้อจำกัดและความจำเป็นที่จะประสบกับ"ความล้มเหลว" ในการที่จะพูดถึงทุกสิ่งทุกอย่างออกมาได้, ที่จะจดจำทุกสิ่งทุกอย่างได้, แต่อย่างไรก็ตาม มันได้พูดบางสิ่งบางอย่างออกมาเช่นกัน, แม้แต่บางสิ่งเกี่ยวกับสิ่งซึ่งมันล้มเหลวที่จะพูดด้วย. ถ้าหากว่าเราวางอันนี้ลงในเทอมต่างๆของเจตนา, เราสามารถที่จะกล่าวได้ว่า เจตนาของเราล้มเหลวที่จะไปถึงเป้าหมายของมัน, แต่อย่างไรก็ตาม มันได้ชี้ไปสู่บางสิ่งบางอย่าง. สิ่งที่ตำรับตำราได้กันออกไป ได้แสดงตัวของมันเองในร่องรอยหลายๆอย่าง ภายในตำรับตำราต่างๆมากมายที่หลงลืมไป. Derrida ได้สนใจในตรรกะอันนี้เกี่ยวกับสิ่งที่พูดและไม่ได้พูด, เกี่ยวกับสิ่งที่รวมเข้าไว้และที่กันออกไป, เกี่ยวกับการมีอยู่และไม่มีอยู่, เกี่ยวกับที่พูดออกมาให้ได้ยินและสิ่งที่เงียบเฉย, เกี่ยวกับความทรงจำและความหลงลืม.
บ่อยครั้งสิ่งที่ไม่ได้รับการพูดออกมาเป็นสาระสำคัญของความหมาย. แต่อย่างไรก็ตาม บ่อยทีเดียว มันไม่เพียงแต่เป็นสาระสำคัญอันหนึ่งของความหมายเท่านั้น. Deconstruction สามารถเป็นสาระสำคัญอันหนึ่งของการแสดงเห็นว่า ตำรานั้นได้ละเลยอะไรไป, ได้มองข้าม หรือหลงลืมอะไรบางอย่าง. มันมีสิ่งอื่นๆอีกหลายหลากซึ่งเราอาจจะลืมไป, บางครั้ง เราไม่ได้ระลึกถึงพระเจ้า, และสำหรับกับคนบางคนนั้น มีความคาดหวังต่างๆต่อคำว่าพระเจ้าอย่างมาก. Derrida ได้ให้ความสนใจ สำหรับประเด็นของเรื่องนี้
"ณ ที่นี้ ข้าพเจ้ากำลังพูดกับตัวเองถึงพระผู้เป็นเจ้า, เพียงสิ่งเดียวที่ข้าพเจ้านำมาในฐานะที่เป็นพยานอันหนึ่ง โดยที่ยังคงไม่รู้ว่า คำที่สูงส่งบริสุทธิ์เหล่านี้หมายถึงอะไร, (- I am addressing myself here to God, the only one I take as a witness, without yet knowing what these sublime words mean -) และไวยากรณ์เหล่านี้, to, witness, god, take, นำพระผู้เป็นเจ้ามา, และไม่เพียงข้าพเจ้าสวดอธิษฐานเท่านั้น ดังที่ข้าพเจ้าไม่เคยที่จะหยุดกระทำเช่นนั้นเลยในตลอดชีวิตของข้าพเจ้า, และสวดอธิษฐานถึงพระองค์, แต่ข้าพเจ้าได้นำพระองค์มาในที่นี้ และน้อมนำพระองค์มาในฐานะพยานของข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าได้ให้กับตัวเองในสิ่งที่พระองค์ทรงให้กับข้าพเจ้า, i.e. the i.e. อุทิศเวลาเพื่อน้อมนำพระผู้เป็นเจ้ามาในฐานะที่เป็นพยาน" (จาก Circumfession 56-8).
ในหลายๆปีหลัง อย่างน้อยที่สุดก็บางส่วน เนื่องมาจากความเข้าใจผิดมากมายเกี่ยวกับงานของเขา, Derrida ได้เปิดเผยเกี่ยวกับการโฟกัสลงไปบนการไม่มีอยู่และการละเลยอันนี้ ในฐานะที่เป็นโฟกัสทางจริยธรรมอันหนึ่ง. คล้ายๆกับเทววิทยาเชิงนิเสธ, ผลงานของเขามิใช่เป็นไปในทางทำลาย หรือเพียงแต่เป็นการล้อเล่นเท่านั้น. มันไม่ใช่เพียงเป็นการทดลองวิธีการวิจารณ์ทางวรรณกรรมชนิดใหม่ชนิดหนึ่ง (แม้ว่ามันอาจจะมีความเกี่ยวพันกับการวิจารณ์วรรณกรรม). ท้ายที่สุดแล้ว, ผลงานของ Derrida เป็นเรื่องของจริยธรรม. จุดสำคัญของ deconstruction ก็คือเพื่อช่วยให้เราระลึกถึงสิ่งที่ตำราเรียกร้องให้เราจดจำ แต่นั่นกลับทำให้หลงลืมธรรมชาติที่แท้ของมันไป.
Deconstruction เรียกร้องเราสู่ปฏิบัติการเกี่ยวกับ ความทรงจำ, ความสงสัย, และการยกย่อง และความสัมพันธ์เกี่ยวกับความทรงจำอันหนึ่งกับสิ่งที่เราหลงลืมไป, มากกว่ากับการอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เราหลงลืมไปต่างๆ.
Deconstruction จะขัดจังหวะความราบรื่นไร้ร่องรอย(seamlessness)ที่เด่นชัดของตำรับตำราต่างๆและปฏิบัติการต่างๆ. ดังนั้น เราจึงมีโอกาสบางอย่างเกี่ยวกับการสังเกตุถึงสิ่งที่ทำให้ตำรับตำราและปฏิบัติการเหล่านั้นเป็นไปได้, แม้ว่าเราสามารถเพียงแต่สังเกตุ"มัน"ในร่องรอยหรือกลิ่นที่มันได้ทิ้งไว้เบื้องหลัง. มันอาจจะเป็นไปไม่ได้โดยง่ายที่จะระลึกถึงสิ่งที่เราหลงลืมไป, แต่ deconstruction เรียกร้องให้เรา อย่างน้อยที่สุด ระลึกถึงความหลงลืมของเรา.
ดังที่ Derrida ได้กล่าวเอาไว้ใน Circumfession. "สิ่งที่เราได้พูดถึงเกี่ยวกับงานเขียน และการตามรอยอันนั้น ได้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีรถคันใดที่ปราศจากร่องรอยของมันเองที่ต่างๆไปจากรถคันอื่น, ไม่มีสิ่งภายในอันใดที่ปราศจากความสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก ซึ่งไม่อาจที่จะเป็นเพียงสิ่งภายนอกเฉยๆโดยไม่บ่งตัวมันเองกับสิ่งภายในได้(47-48). และในทางตรงข้ามกับผู้คนเหล่านั้น ที่มองว่าตัวเขาเป็นผู้ให้การสนับสนุนอนาธิปไตย หรือสัมพัทธนิยมธรรมดา: "กฎที่ใครคนหนึ่งได้ให้กับตนเอง จะธำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันไม่เสื่อมคลายกับกฎที่รับมาก่อนกฎนั้น".("The law one gives oneself retains an irreducible relation to the law received before the law" (48).
Deconstruction มิได้ไร้เดียงสา หรือง่ายๆซื่อๆเกี่ยวกับสิ่งที่มันเปิดเผยกับเรา, เกี่ยวกับสิ่งที่มันเรียกคืนความทรงจำของเรากลับมา. การเปรียบเทียบกับเทววิทยาในเชิงนิเสธเป็นสิ่งที่ชัดเจน แข็งแรง: เทียบกับ deconstruction ของ Derrida มันไม่ได้เป็นการไปซ่อมหรือปรับปรุงตำราของ Heidegger, เขาไม่เชื่อว่า deconstruction สามารถกระทำเช่นนั้นได้ โดยแสดงให้เราเห็นถึงเรื่องเกี่ยวกับจริยธรรมของพวกเราและการละเลยในอย่างอื่นๆ, ทำให้มันเป็นไปได้ที่จะไม่มีอะไรหลุดรอดไปได้.
ดังที่ Derrida ได้อธิบาย, ความมีมิตรจิตมิตรใจอันบริสุทธิ์, ที่ครอบคลุมถึงทุกๆคนนั้นเป็นไปไม่ได้. ความมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จริงๆแล้วนั้น ต้องการการตัดสินใจ, และการจำแนก. การจำแนกแยกแยะ, มักจะเป็นข้อจำกัดอันหนึ่งของความมีมิตรจิตมิตรใจ, ในเรื่องความครอบคลุม, ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอันจะขาดเสียมิได้. ประเด็นไม่ได้อยู่ที่การลงเอยเกี่ยวกับการกันออกไปและการลืม, แต่อยู่ที่ความคิดของเราเกี่ยวกับพวกเขา. ประเด็นสำหรับเราก็คือเผชิญหน้ากับการละเลยและการกันออกไปเหล่านั้น, ผ่านการเผชิญหน้า, และมาหวนคิดใหม่ถึงสิ่งที่อยู่รอบๆเรา. แต่ Derrida ไม่ไร้เดียงสาที่จะปักใจเชื่อว่า การหวนคิดใดๆก็ตาม จะนำไปสู่การลงเอยที่จะกันออกไป. เขาไม่ใช่ Hegel หรือ Marx. ภาษาจะไม่สามารถเข้าไปจับหรือคว้าเอาเป้าหมายหรือความประสงค์ต่างๆได้อย่างสมบูรณ์ เพราะสิ่งต่างๆที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นคำพูด, วัตถุที่จับต้อง ผู้คน, ความสัมพันธ์ของมนุษย์ หรือพระผู้เป็นเจ้า ไม่สามารถที่จะถูกจับต้องได้อย่างเต็มที่ - และนั่นเป็นเพราะคิดว่า บางสิ่งบางอย่างสามารถที่จะถูกจับต้องได้อย่างสมบูรณ์ ก็คือการคิดว่ามันเป็นสิ่งที่หยุดนิ่งอยู่กับที่, โดยที่มันเป็นไปไม่ได้ เช่นดังความตายในความรู้สึกที่แน่นอนที่สุด.
ถึงแม้ว่าประโยค, คำ, และตำราต่างๆจะเป็นสิ่งจำเป็น, แต่ทว่ามันไม่ได้มีความจำเป็นอย่างเดียวกันในฐานะที่ทำให้รู้สึกประหลาดใจ, ยกย่อง, และเคารพนับถือ. ในความนบนอบต่อความน่าเคารพบูชานั้น, ตำรับตำราต่างๆของเราจะจัดหาสิ่งที่เราต้องการขึ้นมา ด้วยช่วงแรกเกี่ยวกับเทววิทยาเชิงนิเสธ(negative theology)ของ Derrida, การยืนยันรับรอง; deconstruction จะจัดหาสิ่งที่เราต้องการด้วยช่วงที่สอง, การปฏิเสธซึ่งได้ดึงเรากลับไปสู่ความรู้สึกชวนสงสัยและการยกย่อง, ต่อบางสิ่งที่แตกต่างไปจากการยืนยันหรือการปฏิเสธ.
Deconstruction เป็นปรัชญาในลักษณะวิพากษ์, เป็นการใช้คำ ในลักษณะวิเคราะหวิจารณ์ ในความหมายหรือเหตุผลเชิงปรัชญาของมัน: มันแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดต่างๆของหนังสือตำราหรือการปฏิบัติที่เรากำลังตรวจสอบ เพื่อว่าเราสามารถที่จะมองเห็นผลต่างๆของข้อจำกัดเหล่านั้น. บางครั้งความหมายต่างๆได้ถูกกระทบกระเทือน. บางครั้ง ความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้าก็เป็นอย่างนั้น. บางคราวเราอาจไม่มั่นใจเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกทำให้เกิดผล แม้ว่าเราจะแน่ใจว่ามันเป็นผลต่างๆอันนั้น.
ผลอันเนื่องมาจาก Deconstruction, เราอาจจะหวนคิดถึงจุดมุ่งหมายต่างๆของเรา ต่อเนื่องไปถึงบางสิ่งอย่าง เช่น สภาพการณ์ที่เป็นอยู่. (ลักษณะคู่ขนานกับเทววิยาเชิงนิเสธก็คือว่า เราอาจต่อเนื่องไปพูดถึงสิ่งเดียวกันเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า). เราอาจจะ, เลือกบางสิ่งที่ใหม่ขึ้นมาแทน(เราอาจสร้างเทววิทยาใหม่ๆขึ้น), แต่ถ้าหากว่าเราทำเช่นนั้น ก็จะต้องรู้ต่อไปด้วยว่า ผลที่ตามมานั้น เราอาจจะละเลยหรือกีดกันกลุ่มหรือผู้คนต่างๆ, หรือไอเดีย, หรือ.อะไรอื่นๆ.. ออกไป.
ก็คล้ายๆกับเทววิทยาเชิงนิเสธ, Derrida ไม่จำเป็นต้องถกเถียงหรือให้เหตุผลสำหรับระบบหรือวิธีการใหม่ต่อปัญหาทางปรัชญา, จริยศาสตร์, หรือวรรกรรม. ประเด็นสำคัญมิได้อยู่ที่การไปแทนที่เทววิทยาโบราณที่มีอยู่แล้วด้วยเทววิทยาใหม่ที่ได้เอาชนะข้อผิดพลาดต่างๆเกี่ยวกับเทววิทยาฉบับเก่า. ไม่เลย, เขาไม่ได้กำลังโต้เถียงกับระบบหรือวิธีการใหม่ด้วยเช่นกัน. อันที่จริง เขาต้องการให้เรามองเห็นถึงการละเลยข้ามไป(omissions), การกันออกไป(exclusions), และ"ความล้มเหลว" เพื่อว่าเราจะได้สามารถคิดได้โดยผ่านพวกมันและตัดสินใจ, เพื่อเราจะสามารถกระทำการขานรับหรือโต้ตอบกับมันในหลักจริยธรรม.
ผลงานของ Derrida เป็นผลงานแห่งการยกย่องและแสดงความคารวะต่อคนอื่นๆ - โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นับแต่, กับบรรดานักคิด อย่าง Emmanuel L vinas, Derrida เชื่อว่า บุคคลอื่นๆ, อย่างพระผู้เป็นเจ้า, มักจะหลุดรอดการยึดฉวยและความเข้าใจของข้าพเจ้าไปได้เสมอ. คนอื่นๆก็มักจะขาดหายไปเสมอ จากระบบเหตุผลบริสุทธิ์ทุกๆอย่าง, ถ้าหากว่าไม่มีเหตุผลอื่นใดมากไปกว่านั้นแล้ว สิ่งที่รวมตัวเป็นรูปเป็นร่าง, ภาวะของวัตถุ, โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตๆหนึ่ง, ได้หลุดรอดไปจากความเป็นเหตุผลอย่างสมบูรณ์.
ด้วยเหตุนี้ สำหรับ Derrida แล้ว, แม้ว่า deconstruction จะเกี่ยวพันกันกับหนังสือ ตำรับตำราต่างๆ, แต่มันก็ไม่ใช่ระเบียบวิธีอันหนึ่งในการวิจารณ์จับผิดหนังสือตำราแต่อย่างใด, ไม่ว่าจะเป็นการเขียน, สังคม, หรืออื่นๆ. อันที่จริงแล้วDeconstruction เป็นท่าทีอันหนึ่ง, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่าทีในเชิงจริยธรรม(ใช้คำนั้นในความหมายที่ L vinus ใช้มัน, เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์โดยพื้นฐาน, ไม่จำเป็นต้องควบคุมหรือชี้ขาดสำหรับชีวิตความเป็นอยู่ในความสัมพันธ์ต่างๆเหล่านั้น). มันเป็นท่าทีอันหนึ่งที่พึ่งพาอาศัยสิ่งซึ่ง ใครคนหนึ่งฉีดเอาความถ่อมตนในทางทฤษฎีและจริยา กลับเข้าไปสู่ข้ออ้างต่างๆของตำรับตาและการวิเคราะห์. มันเป็นท่าทีของความต่อเนื่องกับความทรงจำ(re-member), ของความต่อเนื่องต่อการยกย่อง.
ในเทอมต่างๆของ Aristotle, deconstruction คือท่าทีอันหนึ่งเกี่ยวกับความสงสัยที่ต่อเนื่อง(continued wonder). ส่วนในเทอมต่างๆของ Socrates, มันเป็นช่วงของความไม่รู้(อวิชชา), ของสิ่งที่ในสมัยกลางต่อมาเรียกว่า"ความไม่รู้ที่ได้รับการเรียนรู้"(learned ignorance). Deconstruction เป็นช่วงขณะหนึ่งในความต่อเนื่องของปรัชญา(is one moment in the continuation of philosophy).
สไตล์ของ Derrida ได้ผลัดผ่อน หรือเลื่อนกระเถิบผู้อ่านออกไป. บางสิ่งที่เขาพูดในที่บางแห่ง อย่างเช่น Memoires for Paul DeMan ได้เสนอว่า, เนื่องจากผลของมันในการวิจารณ์วรรณกรรมอเมริกัน, Derrida เริ่มที่จะคิดทบทวนใหม่เกี่ยวกับวิธีการเขียนของเขา. แต่สไตล์ที่สนุกสนานหรือทีเล่นทีจริงของเขา ไม่ใช้ผลลัพธ์อันหนึ่งของความวิปริตผิดปกติทางวรรณกรรม.
ความเรียง, หรือบางทีบทวิจารณ์หนังสือเล่มหนึ่ง, กล่าวว่า, "ตำราตรงๆเล่มนี้ได้ละเลยบางสิ่งซึ่งข้าพเจ้าสามารถแสดงให้คุณเห็นได้อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่มีการอ้อมค้อม". ด้วยเหตุนี้ การโต้ตอบโดยตรงมิได้แสดงการยอมรับความจำเป็นของการละเลยดังกล่าว. มันยืนหยัดในฐานะที่เป็นการกล่าวหาหรือตำหนิเกี่ยวกับตำราเล่มนั้น ในแง่ของการตั้งคำถาม มากกว่าในฐานะที่เป็นการรื้อโครงสร้าง(deconstruction)เกี่ยวกับมัน. การกล่าวหาหรือตำหนิอันนั้นคือบางสิ่งบางอย่างที่จำเป็น. ผู้คนต่างกระทำ, ซึ่งในท้ายที่สุด, ก็ทำให้เกิดความผิดพลาด. และพวกเขาก็ก่ออาชญากรรมหรือได้ทำสิ่งซึ่งเป็นบาปขึ้นมา.
การตำหนิประณามสามารถที่จะเป็นการขานรับที่เหมาะสมได้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, แต่เพราะพวกมันเป็นสิ่งที่พอจะเปรียบเทียบได้กับความจำเป็นในช่วงแรกของเทววิทยาเชิงนิเสธ(negative theology), ในอีกคำพูดหนึ่งถึงชั่วขณะหนึ่งในเทววิทยาในเชิงยืนยัน(affirmative theology), การกล่าวโทษต่างๆไม่ใช่การรื้อโครงสร้าง(accusations are not deconstructions)(และการรื้อโครงสร้างก็ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับการตำหนิประณาม เช่นกัน). โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในงานช่วงต้นๆของเขา, Derrida เล่นกับวาทศิลป์หรือโวหารเกี่ยวกับการโต้ตอบ และไอเดียเกี่ยวกับการโต้ตอบโดยปราศจากการตำหนิหรือประณาม, มุ่งที่จะโต้ตอบกับปัญหาต่างๆของตำราหรือหนังสือทั้งหลายที่เขาได้ตรวจสอบในวิธีการที่เหมาะสมกับทฤษฎีของเขา และ, ในเวลาเดียวกันนั้น ก็มุ่งหมายที่จะยืดขยายผู้อ่านออกไป.
ข้อความที่ยกมาต่อไปนี้, ได้ทำให้สิ่งที่มันอธิบายการก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้น, Derrida กล่าวถึงงานเขียนของเขาเองว่า : "ข้าพเจ้าจำได้ว่าได้ไปนอน หลังจากที่ยังคงรู้สึกโกรธแกมเย้ยหยัน ซึ่งมีต่อประโยคหนึ่งของ Proust's...ที่กล่าวว่า: "ผลงานชิ้นหนึ่งซึ่งมันเป็นทฤษฎีต่างๆ ก็เหมือนๆกันกับวัตถุชิ้นหนึ่งซึ่งใครคนหนึ่งได้ทิ้งป้ายราคาไป", และข้าพเจ้าไม่เจอะเจออะไรที่หยาบคายมากไปกว่า สมบัติผู้ดีแบบ"ฝรั่ง-อังกฤษ"นี้ (Franco-Britannic decorum)... ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าได้เขียนเกี่ยวกับราคาอันนั้น, ข้าพเจ้าแสดง, เพื่อว่าราคาดังกล่าวจะได้อ่านได้ง่ายสำหรับคนที่มาเห็นคนแรก, เพื่อตัวเอง และเพื่อคนชั้นสูงโดยไม่มีการแยกแยะ, ด้วยเหตุดังนั้น จึงปราศจากความหยาบคาย, เพื่อประชาธิปไตย ความเสมอภาคของแรงกดดันบีบคั้นต่อราคาที่สูงที่สุด, คุณจะต้องจ่ายด้วยราคานั้นเพื่ออ่านราคาดังกล่าวที่ถูกแสดง" (Circumfession 62-3).
ผู้คนจำนวนมากที่อ่านงานของ Derrida โดยผู้คนดังกล่าวกระทำเช่นนั้นโดยไม่ยอมจ่ายตามป้ายราคา. พวกเขาไม่ต้องการที่จะอ่านมันอย่างลึกซึ้งและกว้างขวางจากขนบประเพณีต่างๆของชาวยุโรป. พวกเขาไม่ต้องการที่จะเรียนรู้ภาษาอื่นๆ. พวกเขาไม่ต้องการเริ่มงาน deconstructive work ด้วยเบื้องหลังของความเป็นผู้คงแก่เรียนที่เต็มไปด้วยความระมัดระวัง. พวกเขาขี้เกียจ, พวกเขาต้องการที่จะโดดข้ามช่วงแรก(ต้นฉบับ) และต้องการจะเกี่ยวพันเพียงอันที่สอง(ซึ่งนั่นเป็นไปไม่ได้). คนอื่นๆต่างขี้เกียจ เพราะ พวกเขาพึ่งพาอาศัยคำอธิบายของคนอีกคนหนึ่งเกี่ยวกับงานของ Derrida (อย่างเช่น งานชิ้นนี้ เป็นต้น) หรือเพราะว่า พวกเขายังคงกระทำต่ออุดมคติของยุคสว่าง(Enlightenment ideal)เกี่ยวกับความสมบูรณ์, การอธิบายด้วยเหตุผล โดยปราศจากการเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการเข้าไปพัวพันอันนั้น. ในอีกกรณีหนึ่ง, ผู้คนเหล่านั้นไม่สามารถที่จะอ่านป้ายราคา(หมายถึงทฤษฎี)เกี่ยวกับผลงานชิ้นนั้นได้.
แต่อย่างไรก็ตาม สไตล์ของ Derrida ไม่เพียงเป็นผลอันเนื่องมาจากการเขียนงานเกี่ยวกับ deconstruction ไปตามความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีของเขา. มันยังเป็นผลลัพธ์อันหนึ่งของอัตลักษณ์ที่มีมากเกินปกติของสิ่งต่างๆในตัวมันเองด้วย. อัตลักษณ์ที่มากเกินไปของภาวะที่เป็นอยู่ - ซึ่งภาวะที่เป็นอยู่ คือ การเป็นอยู่ที่เชื่อมต่อ หรือการเกี่ยวเนื่องของความเป็นไปได้ต่างๆ มากกว่าคุณสมบัติที่แน่นอนตายตัว
ตำราที่พูดตรงไปตรงมาไม่สามารถเป็นไปได้ แต่มันจะมีการแสดงบางอย่างออกมาในนั้น. ไม่มีตำรับตำราเล่มใด, แม้แต่ตำราเกี่ยวกับ deconstruction จะสามารถหลีกเลี่ยงมันได้. ภาษาก็เหมือนกัน; สิ่งต่างๆในตัวของมันเองก็เหมือนกันอย่างนี้เช่นกัน. หลังจากเรื่อง Speech and Phenomena, ตำราต่างๆในช่วงต้นๆของ Derrida ต่างๆก็อุทิศให้กับการทำให้เห็นเกี่ยวกับการแสดงออกอันนั้น... หนังสือหลายเล่มในช่วงแรกๆของ Derrida ได้ให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับการล้อเล่นอย่างแจ่มชัด.
โชคไม่ดี, อย่างไรก็ตาม ใครคนหนึ่งอธิบายสไตล์ของ Derrida ว่า, ผลของสไตล์ดังกล่าวที่เป็นอย่างนั้นเพราะ บางคนเชื่อว่า งานของเขาเป็นสาระอันหนึ่งของการล้อเล่นเท่านั้น, มันเป้นเพียงสารอันหนึ่งของการกระทำอะไรบางอย่าง ที่คนๆหนึ่งปรารถนาที่จะทำกับตำรับตำรา และด้วยเหตุดังนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างจึงเป็นเพียงแต่สาระอันหนึ่งของการยกย่องและความรู้สึกกังขา. ท่ามกลางคนเหล่านั้นที่เชื่อในสิ่งนี้, บางคนจึงถือว่ามันเป็นเครื่องหมายของอัจฉริยภาพของเขา และบางคนถือว่ามันเป็นเครื่องหมายของความยุ่งเหยิงของเขา.
ทั้งคู่ต่างผิดถนัด. อย่างไรก็ตาม ความขี้เล่น มันอาจเพียงปรากฎขึ้นมาเมื่อชำเลืองมองครั้งแรกเท่านั้น, deconstruction ไม่สามารถที่จะเป็นแค่เพียงการเล่นซุกซน. เพียงความขี้เล่นจะไม่แสดงให้เราเห็นถึงร่องรอยต่างๆในหนังสือตำราเล่มหนึ่ง เกี่ยวกับสิ่งที่ หรืออะไรอีกอย่างที่ไม่ปรากฏอยู่ในนั้น. ในข้อเท็จจริง, เพียงการเล่นสนุกสนานจะแสดงให้เราเห็นแต่เพียงความว่างเปล่าเท่านั้น มากกว่าที่จะแสดงให้เราเห็นถึงร่องรอยของการไม่มีอยู่ของความหมายต่างๆ, บุคคล, และพระเจ้า, มากกว่า"ความล้มเหลว"ของหนังสือตำราต่างๆของเรา. มากไปกว่าเรียกร้องเราให้รำลึกถึงความทรงจำ, เพียงการเล่นสนุกสนานเสนอว่า มันไม่มีอะไรที่มีค่าควรแก่การจดจำ.
เพียงความสนุกสนาน มันก็คล้ายๆกับความเชื่อว่าไม่มีพระเจ้า(atheism) มากกว่าจะเป็นเรื่องของเทววิยาเชิงนิเสธ(nagative theology). เหมือนกันกับเทววิทยาเชิงนิเสธ และแตกต่างไปจากการเล่นสนุก, deconstruction มักจะเป็นสาระอันหนึ่งของจุดมุ่งหมายที่จริงจัง และความเอาใจใส่อย่างระมัดระวังต่อหนังสือตำรา หรือสารัตถะในความสงสัยที่ตั้งคำถามขึ้นมาด้วย. ดังนั้น, มันจึงไม่พอที่จะคัดค้านสไตล์ของ Derrida ในฐานะที่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความว้าวุ่นใจ.
มันอาจเป็นสิ่งที่คลุมเครือ ไม่โปร่งใส ในลักษณะที่ตั้งใจอย่างนั้นด้วย. แต่อย่างไรก็ตาม ความทึบตันไม่โปร่งใสอันนั้นคือสาระอันหนึ่งของความรุ่มรวยและความบริบูรณ์, การสะท้อนถ่ายออกมาอันหนึ่งของความอุดมสมบูรณ์และความเต็มเปี่ยมของสิ่งซึ่งมันพยายามที่จะอ้างอิงถึง. (แน่นนอน ไม่ใช่เพียงนักกวีและนักการศาสนาเท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ไม่ถูกทำให้ผูกพันกับไอเดียที่ว่า ภาษาทั้งหมดควรที่จะชัดเจนและแจ่มแจ้งในการนำเสนอ. ข้าพเจ้าสงสัยว่า แม้แต่นักวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์จำนวนมากก็จะไม่ผูกมัดอย่างนั้น). ถ้าใครคนหนึ่งคัดค้านต่อ Derrida, ใครคนนั้นจะต้องคัดค้านต่อทฤษฎีเกี่ยวกับสไตล์ของเขาด้วย, ทฤษฎีซึ่งอุดมอยู่ในสิ่งที่มีมาก่อนและความเกี่ยวพันต่างๆ. การไม่พิจารณาหรือละเลยจึงไม่อาจกระทำได้.
บางคนจะเกิดข้อสงสัยขึ้นมาถึงสิ่งที่ข้าพเจ้าพูดเกี่ยวกับ deconstruction. "ฉันไม่เคยได้ยินอะไรอย่างนี้มาก่อนเลย", พวกเขาอาจเอ่ยออกมาเช่นนั้น, หรือ "นั่นไม่ใช่สิ่งที่ฉันเรียนรู้เกี่ยวกับ deconstruction". มันกำลังยั่วเย้าให้โต้ตอบหรือขานรับโดยการแสดงคุณสมบัติต่างๆของฉันออกมาอย่างไม่รีบร้อน". อย่างไรก็ตาม, การทำเช่นนั้น เป็นการเชื้อเชิญการเปรียบเทียบเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆของข้าพเจ้ากับคนอื่นๆ, และบางคนที่พูดแบบไม่ได้ให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับ deconstruction ซึ่งอย่างไรก็ตาม ก็พรรณาได้ดีในหลายๆแง่มุมเหนือกว่าข้าพเจ้า. ข้าพเจ้าไม่สามารถเอาชนะการแจกแจงอันนั้นได้. ดังนั้น ขอให้เรามาพิจารณากันถึงคำที่ยกมา ณ ที่นี่กันดูแทน, ซึ่งได้มาจากการสัมภาษณ์ตัวของ Jacques Derrida เอง :
"ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากครูของข้าพเจ้าหลายคน.... การสั่งสอนนี้เป็นไปอย่างหนักหน่วงและเหนื่อยยากมาก, เรียกร้องมากให้เป็นไปตามบรรทัดฐานแบบคลาสสิค. ข้าพเจ้าได้รับการฝึกฝนในแนวแห่งบรรทัดฐานที่คลาสสิคอันนั้น. และเป็นไปได้ที่ผู้คนทั้งหลายที่อ่านงานข้าพเจ้า และคิดว่าข้าพเจ้ากำลังเล่นกับ หรือละเมิดต่อบรรทัดฐานต่างๆ - แน่นอน, ข้าพเจ้าทำเช่นนั้น - ซึ่งปกติแล้วพวกเขาเหล่านั้นไม่รู้สิ่งที่ข้าพเจ้ารู้: ทั้งหมดอันนี้นั้น ไม่ใช่เพียงแค่ทำให้เกิดความเป็นไปได้เท่านั้น แต่ที่แน่ๆคือการเชื่อมต่อกับความเป็นคลาสสิค ความเข้มงวด การเรียกร้องเกี่ยวกับวินัยในงานเขียน.... ซึ่งในข้อเท็จจริง ข้าพเจ้ายืนอยู่ ณ ระดับที่เป็นจริงบางอย่าง ต่อการสอนแบบคลาสสิคที่มีแก่นสาร....
Deconstruction จะตั้งคำถามกับข้อสรุป, ใจความสาระสำคัญ ความมีตำแหน่งแหล่งที่ของทุกสิ่งทุกอย่าง.... เราต้องศึกษาแบบจำลองต่างๆและประวัติศาสตร์ของแบบจำลองทั้งหลาย หลังจากนั้น ไม่พยายามที่จะล้มล้างพวกมันเพื่อวัตถุประสงค์ของการทำลายล้างพวกมัน แต่เพื่อเปลี่ยนแปลงแบบจำลองต่างๆ และคิดค้นหนทางใหม่ของการเขียน - ซึ่งไม่ใช่ในฐานะของการท้าทายที่เป็นทางการ, แต่เพื่อหลักจริยธรรม, เหตุผลต่างๆทางการเมือง.
ข้าพเจ้าจะไม่เห็นด้วยกับการโยนตำรับตำราต่างๆไปสู่ความยุ่งเหยิงสับสน. อันดับแรก, วาทกรรมหรือคำอธิบายในทางวิชาการของมืออาชีพเกี่ยวกับ deconstruction ไม่ได้หมายถึงการทำลายบรรทัดฐานต่างๆ หรือผลักไสบรรทัดฐานเหล่านี้ไปสู่ความไร้ระเบียบแบบสุดๆ(utter chaos). ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยหรือสนับสนุนความสับสนอลหม่าน.
ข้าพเจ้าจะเริ่มต้นด้วยจารีตประเพณี. ถ้าหากว่าคุณไม่ได้รับการฝึกฝนมาแบบจารีต, ถ้าเป็นเช่นนั้น Deconstruiction ก็ไม่มีความหมายอะไร. มันเป็นสิ่งที่ไม่มีอะไรเลยจริงๆ. ข้าพเจ้าคิดว่า ถ้าสิ่งที่ถูกเรียกว่า "deconstruction" ได้ผลิตสิ่งที่เป็นความไม่เอาใจใส่เกี่ยวกับผู้เขียนงานคลาสสิคทั้งหลาย, ตำรับตำราเกี่ยวกับวินัยหรือกฎเกณฑ์ และอื่นๆ, เราควรจะต่อสู้กับมัน.... ข้าพเจ้าสนับสนุนเกี่ยวกับวินัยหรือกฎเกณฑ์, แต่ข้าพเจ้าจะไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น. ข้าพเจ้าคิดว่า บรรดานักศึกษาทั้งหลาย ควรจะอ่านสิ่งที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นตำรับตำราอันยิ่งใหญ่ในขนบประเพณีของเรา.... บรรดานักศึกษาสามารถที่จะพัฒนา, กล่าวคือ, ปฏิบัติการเกี่ยวกับ deconstruction ขึ้นมา - แต่เพียงในขอบเขตที่พวกเขา"รู้"ถึงสิ่งที่พวกเขากำลัง "deconstructing": มันคือเครือข่ายอันมากมายของคำถามหรือข้อสงสัยอื่นๆ.
ข้าพเจ้าสนับสนุนเรื่องของจารีตประเพณี. ข้าพเจ้ายอมรับนับถือและเป็นคนรักคนหนึ่งของขนบประเพณี. มันไม่มี deconstruction โดยปราศจากความทรงจำเกี่ยวกับขนบประเพณี. ข้าพเจ้าไม่อาจจินตนาการได้ถึงมหาวิทยาลัยที่จะเป็นไปโดยไม่อ้างอิงถึงขนบประเพณีได้, เว้นแต่ขนบประเพณีอันหนึ่งที่มันมีความรุ่มรวยเท่าที่จะเป็นไปได้ และนั่นได้เปิดไปสู่จารีตประเพณีอื่นๆ, และอะไรทำนองนั้น.
Logocentrism (หรือ ความยึดถือที่ว่าภาษาและคำ เป็นการแสดงออกเบื้องต้นของโลกแห่งความเป็นจริงภายนอก) เช่นนี้, ไม่มีที่ไหนเลยเว้นแต่พวกชนชาวกรีก. ทุกหนทุกแห่ง ที่วัฒนธรรมของชนชาวกรีกได้สืบทอดเป็นมรดกตกทอดมาที่สำคัญ ที่นั่นจะยึดถือ logocentrism. ข้าพเจ้าจะไม่ดึงมาเป็นข้อสรุปอันหนึ่ง, หรือลากมาเป็นผลที่ตามมาของเรื่องอันนี้, ซึ่งเราควรจะทิ้งมันเอาไว้เบื้องหลังเลย.
ข้าพเจ้าคิดว่า ผู้คนซึ่งพยายามที่จะเป็นตัวแทนสิ่งที่ข้าพเจ้ากำลังทำ หรือสิ่งที่เรียกขานกันว่า "deconstruction" กำลังทำ, ในด้านหนึ่งนั้น พยายามที่จะทำลายวัฒนธรรม หรือในอีกด้านหนึ่งนั้น เพื่อลดมันลงมาสู่ชนิดหนึ่งของการปฏิเสธ(nagativity), ลดมันลงมาสู่ชนิดหนึ่งของความตาย, ผู้คนเหล่านี้ต่างก็เป็นตัวแทน deconstruction ที่ผิดๆ.
Deconstruction โดยสาระแล้ว เป็นเรื่องของการยืนยัน. มันให้การสนับสนุนของการยืนยันอีกครั้งเกี่ยวกับความทรงจำ, แต่การยืนยันซ้ำสองอันนี้เกี่ยวกับความทรงจำได้ถามไถ่ถึงข้อสงสัยที่สุ่มเสี่ยงมาก และอันตรายอย่างสุดๆเกี่ยวกับจารีตประเพณีของเรา, เกี่ยวกับสถาบันต่างๆของเรา, เกี่ยวกับวิถีการสอนของเรา และอื่นๆ...."
ข้อความต่างๆที่ยกมาอ้างข้างต้นและตัวอย่างทั้งหลายจากผลงานของ Derrida เสนอแนะว่า deconstruction ได้ถูกเข้าใจผิดกันอย่างมาก. และ Derrida เอง ไม่เคยอธิบายตัวของเขาเองได้ดีเลย.
ในข้อเท็จจริง, แม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่ใช่ Derridean, ข้าพเจ้าคิดว่า กับสิ่งต่างๆในใจกลางหรือความคิดเกี่ยวกับผลงานของ Derrida ได้เปลี่ยนอัตลักษณ์ของมันไป, เคลื่อนจากการเล่น, ความรู้สึกฉุนเฉียว, เป็นเรื่องเล่นๆ กวนประสาท ไปสู่การเรียกร้องต้องการ และบางครั้งกลายไปเป็นหนังสือตำราที่ลึกซึ้ง. ด้วยรายการอันยืดยาวของที่มีมาก่อนในประวัติศาสตร์คริสเตียนและปรัชญาคริสเตียน, Derrida มองงานเขียนในฐานะที่เป็นการช่วยเหลือต่อความทรงจำ: วัตถุประสงค์ของมันก็คือ ช่วยให้เราจดจำในสิ่งที่มักจะลืมเลือนเสมอๆ ไม่ว่าสิ่งที่เราหลงลืม มันจะคือสิ่งที่เรามุ่งหมาย, เช่น บุคคลเหล่านั้นซึ่งเราอยู่ด้วย, หรือพระผู้เป็นเจ้า.
Derrida เขียนเพื่อที่จะกระตุ้นเราให้จดจำ. เหมือนดังตำราต่างๆของความทรงจำ, ผลงานของ Derrida เคลื่อนจากฐานะอันหนึ่ง ในฐานะตำราต่างๆที่อยู่ชายขอบของการวิจารณ์วรรณกรรมและความสนใจต่างๆในเชิงปรัชญา สู่ตำราต่างๆที่ไถ่ถามถึงชายขอบต่างๆของเรา, เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ภายนอกเหล่านั้น, เกี่ยวกับสิ่งที่เราได้หลงลืมไป และบางที ถามถึงภัยอันตราย สิ่งที่ไม่ได้ให้ความสนใจ หรือสิ่งที่ถูกละเลยไป.