มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

R
ภาพประกอบบทความเรื่อง'"บนเส้นทางของความน่าเกลียด": ว่าด้วยเรื่องของสุนทรียศาสตร์, ผลงานจิตรกรรมของ Jenny Saville ชื่อภาพ Prop.ี 1993 เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ
relate
release date
120246

QUOTATION

เวลาที่นักปรัชญาพูดถึง"ความน่าเกลียด" ทำให้คนทั่วไปอย่างเรารู้สึกว่า "ความน่าเกลียด ไม่ใช่อะไรอย่างที่เราเข้าใจเสียแล้ว" เป็นเพราะพวกเขาพิจารณามันอย่างรอบคอบและถกเถียงกันมานานในประวัติศาสตร์

ความน่าเกลียด"ไม่เคยมีอยู่เลยในธรรมชาติ เพราะมันถูกสร้างขึ้นโดยพระผู้เป็นเจ้าซึ่งพระองค์คือองค์แห่งสัมบูรณภาพ, แต่มันมีอยู่ในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพราะมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่สมบูรณ์...
(ตัดมาบางส่วนจากบทความ)

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 241 เดือนกุมภาพันธ์ 2546 "บนเส้นทางของความน่าเกลียด" ว่าด้วยเรื่องของสุนทรียศาสตร์
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง, (กระบวนวิชาปรัชญาศิลปะ และ ศิลปวิจารณ์) คณะวิจิตรศิลป์ มช.


Midnight University Chiangmai Thailand

Jerome Stolnitz
ประวัติศาสตร์ความน่าเกลียดในสุนทรียศาสตร์
บนเส้นทางของความน่าเกลียด : ว่าด้วยเรื่องของสุนทรียศาสตร์
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
(บทความนี้ยาวประมาณ 13 หน้ากระดาษ A4)

...เวลาที่นักปรัชญาพูดถึง"ความน่าเกลียด"
ทำให้คนทั่วไปอย่างเรารู้สึกว่า "ความน่าเกลียด ไม่ใช่อะไรอย่างที่เราเข้าใจเสียแล้ว"
เป็นเพราะพวกเขาพิจารณามันอย่างรอบคอบและถกเถียงกันมานานในประวัติศาสตร์...

...ความน่าเกลียด"ไม่เคยมีอยู่เลยในธรรมชาติ
เพราะมันถูกสร้างขึ้นโดยพระผู้เป็นเจ้าซึ่งพระองค์คือองค์แห่งสัมบูรณภาพ,
แต่มันมีอยู่ในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพราะมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่สมบูรณ์...

บทนำ เรื่องความน่าเกลียด
สุนทรียศาสตร์บ่อยครั้งได้รับการอธิบายว่าเป็นการศึกษาทางด้านปรัชญาเกี่ยวกับเรื่องของความงาม แต่ในความเป็นจริง มันยังศึกษาถึงความน่าเกลียดด้วย อันนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญนับตั้งแต่เริ่มต้นเลยทีเดียว ซึ่งเราจะมาดูถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องในนิยามความหมายอันคุ้นเคยนี้

สำหรับการก่อรูปก่อร่างเป็นทัศนะอันหนึ่งขึ้นมา เกี่ยวกับ"ความน่าเกลียด" กล่าวได้ว่ามันมีบทบาทบทบาทสำคัญไม่น้อยในทฤษฎีสุนทรียภาพ ในบทความชิ้นนี้ถือว่า"ความน่าเกลียด"เป็นต้นตอสำคัญของการต่อสู้ในข้อโต้แย้งต่างๆทางประวัติศาสตร์ในปรัชญาศิลปะ ซึ่งสิ่งแรกที่เราควรบันทึกเอาไว้เกี่ยวกับทัศนะอันนี้ในสุนทรียศาสตร์ก็คือ "ความน่าเกลียด"จัดเป็นเรื่องที่น่าสนใจประเภทหนึ่งที่บรรจุอยู่ในทฤษฎีสุนทรียภาพ เพราะ"ความน่าเกลียด"เป็นการระบุถึง"คุณค่าเชิงลบของสุนทรียภาพ"(aesthetic disvalue) เช่นดังที่ความงามเป็นการระบุถึงคุณค่าสุนทรียภาพในเชิงบวก
(หมายเหตุ : คำว่า disvalue คำนี้เกิดขึ้นมาใช้กันในปี ค.ศ.1603 แปลว่า undervalue, to consider of little value, a negative value)

ด้วยเหตุนี้ ทั้งความน่าเกลียดและความงามจึงเป็นขั้วตรงข้ามทางด้านคุณค่าอันหนึ่งซึ่งอุปมาแล้วเหมือนกับ"ถูก"และ"ผิด"ในทางจริยธรรม หรือ"จริง"และ"ไม่จริง"(truth and falsehood)ในญานวิทยานั่นเอง

ท่ามกลางวัตถุต่างๆที่มีการรับรู้, มันมีบางสิ่งบางอย่างอันเป็นคุณค่าเชิงสุนทรีย์ในเชิงลบ. อันนี้มิได้หมายความว่าวัตถุสิ่งของเหล่านั้น ขาดเสียซึ่งอัตลักษณ์ต่างๆอย่างง่ายๆ โดยคุณความดีของสิ่งนั้นๆที่เป็นเรื่องความงาม แต่มันหมายความว่า สิ่งซึ่งพวกมันครอบครองเอาไว้เป็นคุณสมบัติต่างๆ มันเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกันกับสิ่งซึ่งพบได้ในวัตถุสิ่งของต่างๆที่มีความงาม

ความสัมพันธ์ระหว่างความงามและความน่าเกลียด
ความสัมพันธ์ระหว่าง"ความงาม"และ"ความน่าเกลียด" ได้ถูกรับหรือรู้เข้าใจร่วมกันในเทอมต่างๆของพวก"สุขนิยม"(hedonistic terms), นั่นคือ, ขณะที่วัตถุที่มีความงามอันหนึ่งเป็นแหล่งต้นตอที่มาของความพึงพอใจในตัวผู้ดู, วัตถุที่น่าเกลียดได้ปลุกหรือกระตุ้นสิ่งที่เป็นไปในทางตรงข้าม, นั่นคือความเจ็บปวด

ในตัวอย่างของวัตถุหรือสิ่งของซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก, เพลโตได้นำเอาเรื่อง"ความงาม"มาเป็นเรื่องของ"ความพึงพอใจ"เป็นประจำ(Hippias Major 297-299, Philebus 50-52, Laws II). ในส่วนของอริสโตเติลก็เช่นกัน เขาได้กระทำกับทัศนะอันนี้อยู่ตลอด, และในการศึกษาของเขาเกี่ยวกับรูปแบบต่างๆทางศิลปะโดยเฉพาะ (ที่เด่นๆคือ โศกนาฏกรรม) เขาถือว่า มันคือบทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมเกี่ยวกับรูปแบบต่างๆเหล่านี้ที่ได้สร้างสรรค์ความพึงพอใจขึ้นมา

กระนั้นก็ตามเป็นที่ชัดเจน ในงานคลาสสิคของเขาในเรื่อง Poetics เขาต้องประสบกับปัญหาโดยดูเหมือนว่า มีความขัดแย้งระหว่างทัศนะอันนี้เกี่ยวกับ"ศิลปะ" กับ "ข้อเท็จจริงในเชิงประจักษ์"ที่ว่า ผลงานต่างๆทางศิลปะ บ่อยครั้ง เป็นตัวแทนวัตถุสิ่งของ และเหตุการณ์ต่างๆที่เป็นสิ่งที่น่าเกลียด

อันดับแรก อริสโตเติลได้ยกคำถามขึ้นมาในการพิจารณาเกี่ยวกับแบบฉบับของทัศนศิลป์ที่เขียนภาพสิ่งต่างๆ "ซึ่งในตัวของมันเองนั้น เรามองดูมันด้วยความปวดร้าว"(IV). แต่อย่างไรก็ตาม, เขาไม่ได้สงสัยว่า จิตรกรรมในตัวของมันเองได้กระตุ้นความพึงพอใจ, มันเป็นปรากฏการณ์อันหนึ่งที่ได้ถูกอธิบาย โดการยกระตุ้นความสนใจทางด้านสิติปัญญาของเราและทำให้เราเกิดการจำได้หมายรู้เกี่ยวกับวัตถุหรือเนื้อหาอันนั้น(V)

เมื่อเราลองมาพิจารณาถึง"หัสนาฏกรรม"(comedy) เราจะเห็นว่า"หัสนาฏกรรม"เป็นการเลียนแบบมนุษย์ที่เป็นพวกไพร่,ต่ำช้า และด้วยเหตุนี้ จึงเป็นสิ่งที่น่าเย้ยหยัน; และแม้ว่าอันนี้จะเป็นชนิดหนึ่งของความน่าเกลียด, แต่หัสนาฏกรรม, สำหรับเหตุผลต่างๆนั้น แม้ว่าอริสโตเติลไม่ได้ระบุลงไป, แต่มันก็ได้เก็บรักษาตัวของมันเอาไว้ไกลห่างจากเรื่องของความเจ็บปวด

มาดูกันที่โศกนาฏกรรม(tragedy)บ้าง แนวเรื่องของโศกนาฏกรรมนั้น แม้ว่าตัวละครตัวสำคัญจะเป็นคนดี ซึ่งต้องประสบกับความทุกข์ยากลำบาก, แต่ในท้ายที่สุด ส่วนใหญ่แล้วตัวละครหลักนั้นก็จะประสบผลสำเร็จ. ด้วยเหตุนี้ โศกนาฏกรรมจึงเป็นเพียงการช็อคหรือสร้างความตกอกตกใจให้กับอารมณ์เท่านั้น (XIII)

อริสโตเติลได้ริเริ่มให้เหตุผลข้อโต้แย้งในสิ่งที่ขัดกับทัศนคติของคนทั่วไปเกี่ยวกับโศกนาฏกรรม(paradox of tragedy) ซึ่งยังคงหลงเหลือมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ดังที่ได้แสดงให้เห็นแล้ว นั่นคือ ข้อสรุปที่ฟังดูขัดๆ(paradox)อันนี้ ไม่ใช่กรณีตัวอย่างอันเดียวของปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง"ความน่าเกลียด"ในงานศิลปะ, แต่มันได้พูดถึงปัญหาได้อย่างแหลมคมที่สุด, เป็นเพราะ โศกนาฏกรรมเกือบจะเป็นเพียงลักษณาการทางศิลปะ ที่ซึ่งเนื้อหาสาระของมันเป็นเรื่องของความเศร้าโศกเสียใจอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หรือชวนให้เกิดความสงสาร แต่กลับสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ชม คำถามก็คือว่า "ทำไมพวกเราจึงพึงพอใจและยกย่องสรรเสริญเรื่องเล่า หรือคำบรรยายเกี่ยวกับความชั่วร้ายและความทุกข์ทรมานเหล่านี้ ?"

คุณค่าต่างๆในเชิงกวีเกี่ยวกับวรรณกรรรมโศกนาฏกรรม, ความกล้าหาญอันสูงส่งของบรรดาวีรบุรุษ, ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง, และปัญญาญาน, สิ่งต่างๆเหล่านี้ผู้อ่านวรรณกรรมล้วนสามารถสัมผัสถึงมันได้ - เพราะสิ่งเหล่านี้ดำรงอยู่ท่ามกลางทางออกหรือการแก้ปัญหาอันเป็นปกติของข้อสรุปที่ฟังดูขัดกัน(paradox). ผู้อ่านได้มีการพิจารณาเรื่อง"ความน่าเกลียด"ในฐานะที่เป็นเพียงแง่มุมอันหนึ่งของผลงานทางด้านศิลปะ, สำหรับพวกเขาทั้งมวลยอมรับและแสดงให้เห็นว่า, "ความน่าเกลียด"ทั้งหมดภายในผลงานนั้น, ด้วยเหตุผลบางประการ, มันได้ถูกทำให้อยู่เหนือขึ้นไป(transcended).

ขอให้เรามาพิจารณาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสมมุติฐานซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วอันหนึ่งคือ "เนื้อหา" อย่างเช่น แบบจำลองของพล๊อทเรื่องโศกนาฏกรรมคือ"ความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน". "ความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน"นั้น อันที่จริงมันเทียบได้กับ"ความน่าเกลียด"

ความน่าเกลียดเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ ทัศนะของออกัสติน
ตลอดประวัติศาสตร์ทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ตะวันตก, "ความน่าเกลียด"ได้ถูกนำมาสนทนากันส่วนใหญ่โดยบรรดานักปรัชญาทั้งหลาย ผู้ซึ่งปฏิเสธเกี่ยวกับสมมุติฐานอันนี้อย่างชัดถ้อยชัดคำ. พวกเขาปรารถนาที่จะยึดถือว่า "ความน่าเกลียด"มิได้ดำรงอยู่หรือมีอยู่, และเมื่อข้อสรุปของพวกเขาสวนทางกันกับความเชื่อดั้งเดิม, พวกเขาจึงถูกบังคับให้พิสูจน์และแสดงเหตุผล

ในความคิดของนักบุญออกัสติน, ความไม่เป็นจริงของ"ความน่าเกลียด"ได้ถูกกำชับโดยหลักคำสอนต่างๆในทางปรัชญาพื้นฐานส่วนใหญ่ของเขา. ดังถ้อยแถลงในทางเทววิทยาที่ว่า...

โลกและทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้ ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยพระผู้เป็นเจ้าอันดีงามอย่างหาที่สุดมิได้ ในฐานะที่เป็นการแสดงออกอันหนึ่งของความงามสง่าและคุณความดีของพระองค์...
(หมายเหตุ : ถ้อยแถลงทางด้านเมตาฟิสิกส์ข้างต้น, แสดงให้เห็นว่า การดำรงอยู่ไม่ใช่เรื่องเป็นกลางๆด้วยการเคารพนับถือคุณค่าและการไร้คุณค่าอะไรบางอย่าง, แต่ค่อนข้างจะเป็นการปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอันหนึ่ง, จากหัวจรดท้ายโดยตลอด, ของคุณค่าในเชิงบวก)

ในโลกทัศน์เช่นว่านั้น, การมีอยู่ที่ปรากฏขึ้นมาเกี่ยวกับ"ความชั่ว"หรืออะไรก็ตามแต่ เป็นการกำหนดหรือตั้งคำถามขึ้นมาอันหนึ่ง, และนักบุญออกัสตินพิจารณาบาปต่างๆและความมืดบอดว่าเป็นปัญหาต่างๆอันนั้น

แต่"การไร้คุณค่าทางสุนทรีย์"เป็นประเด็นที่เฉพาะประเด็นหนึ่งสำหรับเขา ทั้งนี้เพราะแนวความคิดของเขาเกี่ยวกับ"ความจริงหรือสัจธรรม" เป็นเรื่อง"สุนทรียภาพ"อย่างเด่นชัด. ทุกสรรพสิ่งคือภาพลักษณ์ต่างๆของความคิดเกี่ยวกับแบบและความกลมกลืน(All things are images of the ideas of form and harmony)ที่ดำรงอยู่ในพระจิตของพระผู้เป็นเจ้า และมันไดหลอมรวมเข้าด้วยกัน พวกมันได้สร้างเอกภาพอันเป็นระบบระเบียบภายในอันหนึ่งขึ้นมา

จะเห็นได้ว่า ขอบเขตหรือปริมณฑลต่างๆของทฤษฎีสุนทรียศาสตร์แบบกรีก ได้ถูกนำมาเขียนเอาไว้ส่วนใหญ่ในเมตาฟิสิกส์ของนักบุญออกัสติน ดังเช่นอีกตอนหนึ่งซึ่งเขาบันทึกเอาไว้ว่า :

ที่กล่าวว่า สิ่งๆหนึ่งสามารถจะมีอยู่ได้นั้นก็เพียงแต่ว่ามันได้ครอบครองรูปลักษณ์เอาไว้, และอันที่จริง, การดำรงอยู่ของมันนั้น ไม่สามารถถูกรับรู้ได้นอกเหนือไปจากรูปที่ปรากฏ ซึ่งมีนัยะหรือความหมาย

อันนี้เป็นคำอธิบายปัญหาของนักบุญออกัสติน วัตถุสิ่งของต่างๆเป็นสิ่งที่สวยงามโดยคุณงามความดีของรูปลักษณ์ของพวกมัน, ซึ่งถ้าหากว่ามันเป็นเช่นนี้, ด้วยเหตุดังนั้น ความน่าเกลียดจึงไม่มีอยู่, และโดยเหตุผลทำนองเดียวกัน"ความไร้รูป"(formlessness - คำนี้ยังแปลได้ว่า "การขาดเสียซึ่งระบบระเบียบ) อย่างสมบูรณ์จึงไม่สามารถดำรงอยู่ได้

จะเห็นได้ว่าในที่นี้ "ความตรงข้ามกับความงาม"(ความน่าเกลียด)จึงมิใช่ความจริงแต่อย่างใด, แต่เป็นเพียง"การไม่มีอยู่"(absence) หรือ"การขาดแคลน"คุณค่าเชิงบวก(privation of positive value)ไปเท่านั้น

ปัจจุบัน ข้อถกเถียงอันนี้ดูเหมือนว่าได้มีการพิสูจน์กันจนเกือบจะเรียกว่ามากเกินพอแล้ว, สำหรับข้อความข้างต้นที่ปรากฏว่าเป็นการปฏิเสธความเป็นไปได้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆ - นั่นคือ, "วัตถุสิ่งของที่น่าเกลียด"ซึ่งได้ก่อเกิดมาในเบื้องต้น. แต่อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นว่า ออกัสตินได้ใช้ความคิดเห็นอันนี้เกี่ยวกับ"ระดับหรือดีกรี"ของคุณค่าอัตลักษณ์ของ"การมองโลกในแง่ดี"ทางเมตาฟิสิกส์และอุดมคตินิยมมากมายเพียงใด ซึ่งคงจะรับรู้กันแล้ว

วัตถุชิ้นหนึ่งอาจ ไม่มีรูปลักษณ์ที่เหมาะสม(หรือสมบูรณ์เท่า)กับสิ่งต่างๆประเภทเดียวกันกับมัน, แต่การขาดแคลนอันนี้ ได้ก่อให้เกิดความไม่สมบูรณ์ที่สัมพันธ์อันหนึ่งซึ่งเชื่อมโยงกับความงาม, ไม่ใช่เป็นเรื่องของความน่าเกลียด. ยิ่งไปกว่านั้น, วัตถุดังกล่าวจะต้องได้รับการมองดูมิใช่ในการแยกออกจากบริบทของพื้นที่และเวลาออกไปอย่างโดดๆ แต่จะต้องได้รับการมองดูในฐานะที่เป็นส่วนต่างๆขององค์ประกอบที่เป็นทั้งหมด

...ในความสัมพันธ์กันแบบคู่ประกอบ ดูเหมือนว่า เมื่อความน่าเกลียดได้เริ่มต้นขึ้น ด้วยเหตุนี้ มันจึงช่วยเพิ่มความงามของโลกมากขึ้นในเชิงสัมพัทธ์...

ออกัสตินได้ใช้ข้อถกเถียงอย่างเดียวกันนี้ในกรณีของวัตถุต่างๆ, อย่างเช่นสัตว์ ที่มีอันตรายต่างๆ, ซึ่งไม่ใช่ในหนทางที่กระจ่างชัดเกี่ยวกับการขาดเสียซึ่งรูปลักษณ์, แต่ได้ถูกพิจารณาว่า"น่าเกลียด"เพราะพวกมัน"ไม่เป็นที่น่าพอใจ"(displeasing) หรือ"ทำให้รู้สึกขุ่นเคืองต่อสายตา"มากกว่า. (ความน่าเกลียด เท่ากันกับ ความไม่น่าพอใจ - ทำให้ขุ่นเคืองต่อสายตา)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ"รูปลักษณ์"(form)ได้รับการอธิบายให้กว้างน้อยลงมาโดยนักบุญออกัสติน, การอธิบายนั้นก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อจำแนกความแตกต่างระหว่าง"ความงาม"จาก"ความน่าเกลียด"ที่แท้จริง
(หมายเหตุ : นักบุญออกัสติน : Saint Augustine of Hippo (354-430) Early Christian church father and philosopher มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคมืดหรือสมัยกลางของยุโรป)

คริสตศตวรรษที่ 16-17, ความเรียงและตำรับตำราทางศิลปะ
ในช่วงระหว่างคริสตศตวรรษที่ 16-17, ความเรียงและตำรับตำราเป็นจำนวนมากได้ถูกอุทิศให้กับศิลปะต่างๆ, โดยเฉพาะ, บนแบบจำลองของ Poetics(กวีนิพนธ์). คุณสมบัติต่างๆของรูปแบบ(form)ที่ผลงานชิ้นหนึ่งจะต้องยึดครอง เพื่อที่จะบรรลุถึงความงาม ได้รับการกำหนดหรือระบุลงไปอย่างกระชับและแคบเข้า. สิ่งเหล่านี้รวมถึง"เอกภาพต่างๆ"ในเรื่องของการละคร(Cornaille) และ"ความถูกต้อง"เกี่ยวกับสัดส่วนต่างๆทางด้านกายวิภาคในงานทางด้านทัศนศิลป์ด้วย(Durer)

ผลงานทางด้านศิลปะชิ้นใดก็ตามที่ขาดเสียซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น งานทางด้านละครหรือประติมากรรม, ด้วยเหตุนี้ จึงมีองค์ระบบบางอย่างหรือโครงสร้างอันนั้น ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ความบกพร่องหรือการขาดความงามเฉยๆ แต่มันเป็น"ความน่าเกลียด"จริงๆด้วย. (ศิลปะที่"ขาดคุณสมบัติอันมีแบบแผน" เป็น"ความน่าเกลียด")

อย่างไรก็ตาม, วิธีการที่ไม่คลุมเครือและแสดงออกซึ่งความมั่นใจอันนี้ เกี่ยวกับ"ความน่าเกลียด"ที่เด่นชัด ต่อมามันได้รับการทักท้วง โดยการกบฎต่อ"กฎเกณฑ์ต่างๆ"ของรูปแบบที่ได้รับการดำเนินการหรือปฏิบัติการมาโดยตลอดศตวรรษที่ 18 กฎเกณฑ์ต่างๆอันนี้ได้ถูกค้นพบในเฉพาะบางที่บางแห่งที่แคบๆและวงจำกัดมาก

กระนั้นก็ตาม ความแตกต่างระหว่าง"ความงาม"กับ"ความน่าเกลียด"ก็ยังคงได้รับการพรรณาหรือวาดขึ้นมา, โดยการอ้างอิงถึงประสบการณ์ทางความรู้สึก มากกว่าทางด้านวัตถุ หากว่าทฤษฎีทางด้าน"สุขนิยม"เกี่ยวกับคุณค่ายังคงได้รับการธำรงรักษาเอาไว้อย่างมั่นคงและเหนียวแน่น

แต่การตรวจสอบเกี่ยวกับประสบการณ์ทางสุนทรีย์(ของการทำให้สูงส่งขึ้นหรือการระเหิด - the sublime)ได้เผยให้เห็นว่า มันได้ก่อให้เกิดความรู้สึกต่างๆซึ่งเกี่ยวดองเป็นพี่น้องกันกับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน(akin to pain).

เนื้อหา หรือวัตถุที่ทำให้สูงส่งขึ้น(ระเหิด) (sublime objects)เป็นสิ่งที่ครอบงำ, มีชัยชนะ, บางครั้งเป็นอันตราย, ดื้อด้านต่อความเข้าใจและควบคุม. และประสบการณ์อันนั้น, เนื่องจากพวกมันก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง พวกมันจึงมีคุณค่าอันยิ่งใหญ่

ทั้ง"สุขนิยม"และ"รูปแบบนิยม"(hedonism and formalism), โดยขนบประเพณีได้ค้ำจุนและสนับสนุนความเป็นทวิลักษณ์(duality)ของ"ความงาม"และ"ความน่าเกลียด", ซึ่งได้รับการประณามหรือตำหนิ

คริสตศตวรรษที่ 18 กับการสถาปนาสุนทรียศาสตร์
ภาพชัดซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่กระจ่างมากยิ่งไปกว่านั้นก็คือ, ในคริสตศตวรรษที่ 18, อันดับแรก ได้มีการสถาปนา"สุนทรียศาสตร์"ขึ้นมาในฐานะที่เป็นศาสตร์ซึ่งมีความอิสระในตนเองและมีระบบระเบียบ. คำถามคือว่า "อะไรที่นับว่าเป็นปรากฎการณ์ต่างๆทางสุนทรีย์ที่เหมาะสม ?" ซึ่งคำถามอันนี้ได้รับการหยิบยกขึ้นมาถามอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรก

คำตอบต่อคำถามนี้, ดังที่เราได้เห็น, ได้กำหนดตัดสินลงไปอย่างถึงแก่นว่า "ความน่าเกลียด"คือปริมณฑลอันหนึ่งของคุณค่าเชิงลบ(disvalue - a negative value).

ในวิธีการเหล่านี้ทั้งหมด คริสตศตวรรษที่ 18 จึงถือได้ว่าเป็นช่วงที่ได้มีการนำเสนอแรงดลใจและทิศทางสู่การดำเนินการอย่างแข็งขันในด้านความคิดเมื่อไม่นานมานี้ เกี่ยวกับสิ่งซึ่งได้รับการเรียกขานกันในเบื้องต้นว่า(ซึ่งใกล้เคียงกับศตวรรษนั้น) "ทฤษฎีของความน่าเกลียด"(theory of ugliness) (Friedrich von Schlegel, 1797)

ตามความเห็นของทั้งสองข้อข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นคำตอบที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อคำถามที่ยกขึ้นมาว่า, สุนทรียภาพจะถูกพบได้ในที่ใด? คำตอบคือ :

(1) เมื่อไรก็ตามที่"สาระสำคัญทางแนวคิด"บางอย่าง"ได้รับการทำให้ปรากฏเป็นรูปเป็นร่าง"ขึ้นมาในรูปของวัตถุ ซึ่งสามารถที่จะจับคว้าเอาไว้ได้โดยประสาทสัมผัสและจินตนาการ หรือ
(2) เมื่อไรก็ตามที่"โครงสร้างทางความรู้สึก"บางประการ "ได้แสดงออกมาสู่ผู้พบเห็น" นั่นคือ คุณสมบัติทางความรู้สึกอันโดดเด่นของมัน

วัตถุหรือสิ่งซึ่งเป็นรูปธรรมข้างต้นทั้งสองประการนี้ ได้รับการกล่าวว่าครอบครอง"ความงาม"

ตามขนบประเพณีแล้ว "ความน่าเกลียด" เป็นสิ่งที่"ตรงกันข้ามกับคุณค่าทางสุนทรีย์"(opposite of aesthetic value). แต่อะไรล่ะ ที่เป็นสิ่งซึ่งตรงข้ามกับแนวความคิดเกี่ยวกับสุนทรียภาพของทั้งสองเหล่านี้ ?

ในประการแรก, ความตรงข้ามกับแนวคิดเกี่ยวกับสุนทรียภาพ จะถูกค้นพบได้ในการนำเสนอ"ความรู้สึกบางอย่างที่ขาดหรือไร้ซึ่งนัยสำคัญทางสติปัญญา"(some sensory presentation devoid of intellectual significance). อีกประการหนึ่ง, ซึ่งเป็นแนวคิดอย่างบริสุทธิ์, อย่างเช่น สิ่งที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และปรัชญาบางอย่างพวกนั้น, อันเป็นสิ่งซึ่งพ้นไปจากจินตนาการ. แต่อย่างไรก็ตาม เนื้อหาเหล่านั้นไม่ใช่ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นคุณค่าในเชิงนิเสธของสุนทรียภาพ(do not exemplify aesthetic disvalue), แต่พวกมันทั้งหมดจัดว่าอยู่นอกเหนือไปจากขอบเขตของสุนทรียภาพมากกว่า ดังที่มันได้รับการนิยามไปตามทฤษฎีนี้

ในประการที่สอง, ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกัน, "สิ่งๆหนึ่งขาดเสียซึ่งท่วงทำนองทางอารมณ์ใดๆอย่างสมบูรณ์"(a thing compleately lacking any emotional tone) - ถ้าหากว่าสิ่งนั้นๆมีอยู่ - มันก็เป็น nonaesthetic หรือไม่ใช่สุนทรียภาพเท่านั้น

แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปอันนี้ล้มเหลวหรือละเลยที่จะพิจารณาถึงความน่าเกลียดในความรู้สึกแบบปกติๆ - นั่นคือ, สิ่งที่เราสัมผัสรับรู้นั้นกำลังทำให้เราไม่พอใจหรือเราเกิดความรู้สึกน่าขยะแขยง

 

W.T.Stace, คือผู้อธิบายเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับทฤษฎีแรกที่ได้รับการกล่าวมาแล้วข้างต้น, ซึ่งความคิดนี้เขาได้รับมาจาก Hegel, ที่ได้เสนอว่า สิ่งซึ่งได้รับการแยกออกมาจากสุนทรียภาพควรจะถูกเรียกขานว่า "the unbeautiful" หรือ "ไม่งดงาม" - เป็นเพียงการไม่มีอยู่ที่เป็นไปในเชิงลบของความงามเท่านั้น (the mere negative absence of beauty) - มากกว่าจะเป็น"ความน่าเกลียด"

"ความน่าเกลียด"โดยตัวของมันเองนั้น เป็นสายพันธุ์อันหนึ่งของความงาม
"ความน่าเกลียด"โดยตัวของมันเองนั้น เป็นสายพันธุ์อันหนึ่งของความงาม ที่ได้ถูกนำเสนอขึ้นมา นับตั้งแต่แนวความคิดต่างๆเหล่านั้นที่เป็นเรื่อง"ความชั่ว"และ"ความหายนะ"ได้เข้ามาสู่วัตถุหรือเนื้อหาทางสุนทรีย์(ugliness itself is a "species" of beauty that is present whenever such concepts as evil and disaster enter into the aesthetic object).

"ความเจ็บปวด"ซึ่งแนวความคิดนั้นๆกระตุ้นปลุกเร้าในตัวเราเป็นเรื่อง"ศีลธรรม", ไม่ใช่"สุนทรียภาพ", และปกติแล้ว มันถูกครอบงำโดยความพึงพอใจทางสุนทรีย์ที่เราได้รับจากวัตถุหรือเรื่องราวนั้น

Bernard Bosanquet ได้พัฒนาทฤษฎีที่สองขึ้นมา, ซึ่งรับมาจาก Benedetto Croce, โดยได้แสดงเหตุผลว่า... ปกติส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่ถูกพบว่าเป็น"สิ่งน่าเกลียด" ได้รับความเข้าใจเช่นนั้นก็เพราะ"ความอ่อนแอของผู้ดู"นั่นเอง(the weakness of the spectator)

อย่างใดอย่างหนึ่ง ผลงานทางด้านศิลปะ อันที่จริงแล้วมันเรียกร้องอย่างมากต่อความสามารถต่างๆทางด้านอารมณ์ความรู้สึกของผู้ดู หรืออย่างเช่น ในหัสนาฏกรรมในเชิงล้อเลียนและการเย้ยหยัน, มันได้ล่วงละเมิดความเชื่อทั้งหลายทางศีลธรรมของผู้ดู: แต่อย่างไรก็ตาม, "ความอ่อนแอ"เป็นสิ่งซึ่งเยียวยาแก้ไขได้. ด้วยเหตุนี้ ผลงานทางด้านศิลปะจึงค่อนข้างเหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาให้เป็นตัวอย่างอันหนึ่งของ"difficult beauty" หรือ "ความงามที่ขัดสน" มากกว่า "ความน่าเกลียด"(ugliness).

มีวัตถุอันใดไหม ที่อยู่ในขอบเขตของสุนทรียภาพ และเป็น"สิ่งที่น่าเกลียดจริงๆ"(หรืออย่างที่ Bosanquet กล่าวว่า"invincibly"[อย่างคงกระพัน]) ? Bosanquet ได้ถูกโน้มน้าวให้คิดว่า มันไม่มี"ความน่าเกลียด"อย่างนั้น. ในทัศนะของเขา เรื่องของการแสดงออกเป็นเรื่องของสุนทรียภาพ และด้วยเหตุดังนั้น "รูปลักษณ์ทุกอย่างที่แสดงออก"(every form express)จึงมีความงาม. อันนี้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากที่จะมองว่าจะมีวัตถุอย่างนั้นได้อย่างไร?

แต่อย่างไรก็ตาม เขาถือว่า"ความน่าเกลียด"ดำรงอยู่ในสิ่งซึ่งเป็นเพียงการแสดงออกช่วงเริ่มต้นและไม่สมบูรณ์(บางส่วน), นั่นคือ, ในผลงานทางด้านศิลปะนั้นได้นำเสนอความรู้สึกบางอย่าง แต่ทว่ามันไม่ประณีตละเอียดอ่อนหรือเป็นไปอย่างสอดคล้อง และไม่บรรลุถึงการนำเสนอ, เช่นดั่งในงานศิลปะแบบ sentimental art (ศิลปะที่ทำให้หวนระลึกถึง อย่างเช่น เพลงวันคริสต์มาส หรือเพลงที่เปิดในวันวาเลนไทน์) และ affected art (ศิลปะที่เสแสร้งให้กระทบกระเทือนใจ)

ลักษณะที่เป็นขั้วตรงข้ามของ"ความงาม"กับ"ความน่าเกลียด" ลักษณะที่เป็นขั้วตรงข้ามในเชิงขนบประเพณีเกี่ยวกับ"ความงาม"และ"ความน่าเกลียด" ได้เป็นเครื่องหมายความแตกต่างระหว่าง value และ disvalue (คุณค่าและการไร้คุณค่า[คุณค่าเชิงลบ])ทางสุนทรีย์ขึ้นมา. ทฤษฎีข้างต้นทั้งของ Stace และ Bosanquet มีความเข้าใจสุนทรียภาพในหนทางหนึ่งซึ่งได้เหลือเอาไว้เพียงเล็กน้อย หรือเกือบไม่มีห้องว่างเลยสำหรับ disvalue (คุณค่าเชิงลบ). กระนั้นก็ตาม Stace และ Bosanquet เห็นว่าประสบการณ์ทางสุนทรีย์เป็นเรื่องของความพึงพอใจ

ในเวลาเดียวกัน, พวกเขาก็ต้องการที่จะสร้างห้องขึ้นมาสำหรับศิลปะ นั่นคือ เรื่องของความเศร้าโศก, เรื่องของความชั่วช้าและโหดร้าย(demonic), เรื่องของ"การขัดสน"(difficult). (Stace, เป็นตัวอย่าง, ได้อ้างถึงผลงานทางประติมากรรมของ Jacob Epstein). ด้วยเหตุนี้ ดังที่ได้แสดงให้เห็นแล้ว พวกเขาแสวงหาหนทางในการปรองดองและประนีประนอมเรื่องของความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานของศิลปะอันนั้น ด้วยคุณค่าเชิงปฏิฐาน(positive value - คุณค่าเชิงบวก)ซึ่งมันได้ครอบครองอยู่ ในฐานะที่เป็นวัตถุทางสุนทรีย์

อย่างไรก็ตาม, ในกรณีของ Bosanquet คำถามควรจะถูกหยิบยกขึ้นมาว่า การแสดงออกของความรู้สึกได้ถูกนำไปคลุกเคล้ากับความพึงพอใจอย่างไร? ในประวัติศาสตร์, แนวความคิดเกี่ยวกับการแสดงออกมีแนวโน้มที่จะปรองดองกันกับอารมณ์ความรู้สึกทุกๆชนิดในงานศิลปะ แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง, การฝ่าฝืน หรือทำลาย, ซึ่งก็คือ"ความชั่วร้าย"(darkest)ก็ตาม

การแสดงออกทาง"ศิลปะที่ประสบความสำเร็จ" หมายถึง"งานศิลปะที่สามารถกระทำการกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้สัมผัสกับศิลปะอันนั้นได้มาก, ไม่ใช่ได้น้อย, รุนแรงและเจ็บปวด, และถ้าหากว่าผู้ดูได้รับการกระตุ้นซึ่งความพึงพอใจ ได้รับการปฏิบัติในลักษณะที่เป็นเอกภาพ และมีพลังเกี่ยวกับแนวความคิดของศิลปิน, ตามทฤษฎีของ Bosanquet, ถือว่าเป็นงานศิลปะที่ประสบความสำเร็จ". แต่อย่างไรก็ตาม มันมีวัตถุต่างๆทางสุนทรีย์ที่ไร้ศิลปะเป็นจำนวนมาก ที่แสดงออกมาอย่างเข้มข้น และสำหรับอันนั้น คำอธิบายนี้ไม่ได้ครอบคลุมถึง

เมื่อมันไม่มีความจำเป็นหรือความเชื่อมโยงในทางตรรกระหว่าง"การแสดงออก"และ"ความพึงพอใจ", มันจะต้องได้รับการตัดสินในเชิงประจักษ์(empirically), แม้กระทั่งว่า เมื่อ"ความอ่อนแอของผู้ดู"เป็นฝ่ายแพ้พ่ายหรือหมดกำลัง. โดยสรุปแล้วจะเห็นว่า ประสบการณ์ของเขาเกี่ยวกับวัตถุที่แสดงออกมานั้น มีท่วงทำนอง"สุขนิยม"ที่เป็นไปในเชิงบวก

ความเจ็บปวดเป็นเรื่องของศีลธรรมหรือสุนทรียภาพ
ทัศนะของ Stace นั้นที่ว่า "ความเจ็บปวด"เกี่ยวกับแนวเรื่องสาระสำคัญของผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งเป็นเรื่องของ"ศีลธรรม", ไม่ใช่เรื่อง"สนุทรียภาพ", ดูเหมือนจะคล้ายเรื่องการนิยามทางกฏหมาย มากกว่าความเข้าใจอย่างแท้จริงอันหนึ่งในประสบการณ์ทางสุนทรีย์. ความสลับซับซ้อนทางศีลธรรม และความไม่สมประสงค์ คือส่วนสำคัญที่จำเป็นต่อศิลปะอันนั้นในฐานะที่เป็นโศกนาฏกรรม, และความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ซึ่งมันได้เข้ามาสู่การรับรู้ของเราทั้งหมดเกี่ยวกับผลงานทางด้านศิลปะอันนั้น

ทัศนะของ Stace, ด้วยเช่นกัน, เป็นการพิทักษ์ปกป้องเกี่ยวกับสุขนิยม. กระนั้นก็ตาม มันไม่มีเหตุผลที่จะถือเรื่องสุขนิยมเอาไว้ในสุนทรียศาสตร์, และอันที่จริง ความยุ่งยากเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดข้อสงสัยต่อทฤษฎีดังกล่าวขึ้นมาด้วย

ศัพท์คำว่า"ความน่าเกลียด"ในความหมายของสิ่งซึ่งเป็นเรื่อง"ความเจ็บปวด", อาจยังถูกนำมาใช้เพื่อระบุชี้ชัดชนิดหนึ่งของวัตถุทางสุนทรีย์ โดยปราศจากความเกี่ยวข้องกับการไม่มีคุณค่า(disvalue)

การพิจารณาอย่างเช่น, "X เป็นสิ่งน่าเกลียด แต่ในเชิงสุนทรียภาพ มันดี" มิได้มีความขัดแย้งในตัวเอง และอันที่จริง อาจเป็นบางสิ่งบางอย่างซึ่งเราต้องการ และอยากที่จะกล่าว. บรรดาศิลปินสมัยใหม่หรือศิลปินในยุคโมเดิร์นหลายคน ผู้ซึ่งเลิกลาและทอดทิ้งความพึงพอใจเกี่ยวกับความงามไปโดยตั้งใจ ในฐานะที่เป็นเป้าหมายของความพยายามในเชิงสร้างสรรค์ของพวกเขา ศิลปินเหล่านี้ได้สร้างคำพูดดังกล่าวขึ้นมา("X เป็นสิ่งน่าเกลียด แต่ในเชิงสุนทรียภาพ มันดี") ซึ่งยากจะไม่เชื่อถือเช่นดังที่เคยเป็นมา

ความน่าเกลียด กับ ความไร้ประประโยชน์
คำถามพื้นฐานมากๆและมีความสำคัญอย่างจริงจังเกี่ยวกับ"ความน่าเกลียด", ในความหมายกว้างๆเกี่ยวกับคุณค่าทางสุนทรีย์ในเชิงลบ(negative aesthetic value), สำหรับทฤษฎีทางสุนทรียภาพ, ก็คือ เรื่อง"ความไร้ประโยชน์"(otiose - โอ-ฌิโอซ)

อันนี้ไม่ต้องสงสัยเลยว่า, บางครั้ง เราต้องการที่จะกล่าวว่า ผลงานศิลปะชิ้นนั้นมันเลวหรือแย่. แต่อย่างไรก็ตาม, อย่างน้อยที่สุด Bosanquet ได้หยิบเอา"ความน่าเกลียด"จริงๆมาเป็นเรื่องของการแสดงออกบางส่วน, และถ้าหากว่าเราดำเนินรอยตามการนำอันนี้, "ความเลว"(badness)จะต้องได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็น "ภาวะของการขาดแคลนหรือระดับที่ค่อนข้างเบาบางเกี่ยวกับความดีทางสุนทรียภาพ"(deficiency or relatively slight degree of aesthetic goodness)

กล่าวคือ ผลงานศิลปะชิ้นนั้นสัมฤิทธิผลน้อยกว่าที่มันสัญญาเอาไว้; วัตถุที่ไม่มีศิลปะ คือ วัตถุที่ขาดเสียซึ่งพลังชีวิตหรือเสน่ห์(lacking of vitality or charm). ดังนั้น ตามทัศนะนี้, มันจึงไม่มีสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคุณค่าทางสุนทรีย์, มันเป็นแต่เพียง อย่างที่นักบุญออกัสตินพูด, การขาดแคลนเชิงสุนทรีย์อันหนึ่งเท่านั้น

ในอีกด้านหนึ่ง, อันนี้อาจถูกคิดว่าเป็นการอ่านที่ผิดพลาดเกี่ยวกับคุณสมบัติดังกล่าวโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งโดยทั่วไปถูกถือว่าสร้าง"ความน่าเกลียด"ขึ้นมา หรือสิ่งซึ่งได้รับการอ้างอิง ในฐานะที่เป็นเหตุผลต่างๆสำหรับการตัดสินสิ่งหนึ่งว่า"น่าเกลียด"... เช่น วงออร์เคสตร้าที่บรรเลงดนตรีออกมาในลักษณะที่คลุมๆเครือๆ(ขุ่นมัว) หรือโครงสร้างพล๊อตเรื่องที่ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างมีเอกภาพ

อย่างมีนัยสำคัญ, อันนี้คือความตรงกันข้ามกับวงออร์เคสตร้าที่ชัดเจน หรือพล๊อตเรื่องที่มีเอกภาพ, และในเชิงเปรียบเทียบ พวกมันเป็นจริงและถูกรับรู้เท่าๆกัน. สำหรับการไม่มีอยู่ของคุณความดีซึ่งจะมาชดเชยหรือทดแทนอันนี้, จึงทำให้สาระต่างๆซึ่งมันครอบครองอยู่ต่างก็"เลวอย่างไม่ต้องสงสัย"(positively bad).

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม, ในท้ายที่สุด การปฏิเสธเรื่องคุณค่าในเชิงลบหรือเชิงนิเสธ(negative value)ควรจะได้รับการอดทน, มันยุติธรรมที่จะกล่าวว่า การปฏิเสธอันนี้มันน่ารำคาญในทางสุนทรียศาสตร์น้อยกว่าในเรื่องจริยศาสตร์หรือญานวิทยา. โดยส่วนใหญ่แล้ว คำอรรถาธิบาย มันนอนอยู่ในความคิดเห็นของ Bosanquet เกี่ยวกับ"ความอ่อนแอของผู้ดู"(the weakness of the spectator)

สรุป
บนเส้นทางของประวัติศาสตร์ศิลป์ตะวันตกกว่า 2400 ปี นับจาก Plato นักปรัชญากรีกเป็นต้นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เราจะเห็นถึงการกำหนดเรื่องของ"ความงาม"และ"ความน่าเกลียด"มาตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ความน่าเกลียด"ได้มีการให้นิยามแตกต่างกันไปมากมาย

"ความงาม"และ"ความน่าเกลียด" คุณค่าเชิงบวกและลบในสุนทรียภาพ ตามที่ Jerome Stolnitz อรรถาธิบายในงานของเขาชิ้นนี้ เขาได้ไล่เลียงให้เราเห็นภาพเกี่ยวกับทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปนับจากต้นตออารยธรรมตะวันตกเป็นต้นมา โดยเริ่มจาก Plato ที่มักจะนำเอาเรื่องของ"ความงาม"ไปผูกพันกับเรื่องของ"ความพึงพอใจ" และเมื่อมองจากแนวคิดสุขนิยม จะเห็นว่า

1. "ความงาม" เป็นเรื่องของความพึงพอใจ และ
2. "ความน่าเกลียด" เป็นเรื่องของความเจ็บปวด

ในส่วนของ"ความน่าเกลียด"ที่อ้างถึงเป็นคู่ขนานกับ"ความเจ็บปวด" W.T.Stace กลับมองว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องของสุนทรียภาพ "ความเจ็บปวด"อันที่จริงแล้ว น่าจะผูกมัดกับท่าทีหรือทัศนคติต่างๆซึ่งส่งผลต่อเราในเรื่อง"คุณค่าทางศีลธรรม"มากกว่า

ในส่วนของ Aristotle กล่าวว่า ในผลงานทางด้านทัศนศิลป์บางชิ้น บางครั้งเรามองดูมันด้วย"ความรู้สึกปวดร้าว" แต่มันก็ให้"ความรู้สึกพึงพอใจอยู่ภายใน" เช่น เรื่อง"โศกนาฏกรรม"ต่างๆ. ส่วน"หัสนาฏกรรม" เป็นการนำเสนอเรื่องของไพร่ และชนชั้นต่ำ เป็นเรื่องตลก, เสียดสี, ความรู้สึกที่น่าเย้ยหยัน, ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นชนิดหนึ่งของ"ความน่าเกลียด" แต่ความน่าเกลียดดังกล่าวมันไกลห่างจากเรื่องของความเจ็บปวด

ต่อมาในสมัยกลาง, นักบุญออกัสตินกล่าวในทำนองว่า "ความน่าเกลียด"เป็นสิ่งที่มิได้ดำรงอยู่ เพราะทุกสรรพสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างสรรค์ขึ้นมานั้น ล้วนเป็นเรื่องของความงามและแบบแห่งความกลมกลืนทั้งสิ้น

ถ้อยแถลงในทางเทววิทยาที่ว่า...
โลกและทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้ ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยพระผู้เป็นเจ้าอันดีงามอย่างหาที่สุดมิได้ ในฐานะที่เป็นการแสดงออกอันหนึ่งของความงามสง่า และความคุณความดีของพระองค์... -(และนอกจากนี้เขายังกล่าวอีกว่า)- ...ทุกสรรพสิ่งคือภาพลักษณ์ต่างๆของความคิดเกี่ยวกับแบบและความกลมกลืนที่ดำรงอยู่ในพระจิตของพระผู้เป็นเจ้า และการรวมเข้าด้วยกัน พวกมันได้สร้างเอกภาพอันเป็นระบบระเบียบภายในอันหนึ่งขึ้นมา

จะเห็นได้ว่า ขอบเขตหรือปริมณฑลต่างๆของทฤษฎีสุนทรียศาสตร์แบบกรีก ได้ถูกนำมาเขียนเอาไว้ส่วนใหญ่ในเมตาฟิสิกส์ของนักบุญออกัสติน

เราไม่อาจทราบได้ว่า ในยุคฟื้นฟู หรือ Renaissance มีความคิดเกี่ยวกับ"ความงาม"และ"ความน่าเกลียด"เช่นใด ทั้งนี้เพราะ Jerome Stolnitz ได้ข้ามผ่านยุคสมัยดังกล่าวไป แม้ว่าภาพผลงานศิลปะที่เราพบเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมในยุคนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพเชิงสุนทรียอันยิ่งใหญ่ของยุโรปในคริสตศตวรรษที่ 14-16 ซึ่งในทางที่กลับกัน เราควรจะได้รู้ว่าพวกเขาเหล่านี้มีทัศนคติอย่างไรต่อ"ความน่าเกลียด"

ในคริสตศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งถือว่าเป็นช่วงปลายของยุค Renaissance นับว่าเป็นช่วงที่ความเรียง และตำรับตำราทางศิลปะได้ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ในวันเวลาดังกล่าวพิจารณาว่า ศิลปะที่ขาดคุณสมบัติอันมีแบบแผน, ขาดเอกภาพ, และความถูกต้องของสัดส่วน ถือเป็นเรื่องของ"ความน่าเกลียด". ดูเหมือนว่าในช่วง 2 ศตวรรษดังกล่าว ไม่มากก็น้อย ได้บ่งถึงนัยสำคัญอะไรบางอย่างของยุคสมัย Renaissance ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่นั่นแต่ไม่ถูกพูดถึง ซึ่งพอจะจับความได้ถึงท่าทีและทัศนคติที่มีต่อเรื่องของ"ความงามและ"ความน่าเกลียด"พอสมควร

คริสตศตวรรษที่ 18 เป็นครั้งแรกที่ได้มีการสถาปนาสุนทรียศาสตร์ขึ้นมาในฐานะที่เป็นสิ่งซึ่งมีความอิสระในตนเองและมีระบบระเบียบ. "ความน่าเกลียด"ถูกมองว่าคือ"คุณค่าเชิงลบ"(a negative value) และในช่วงเวลาดังกล่าว "ทฤษฎีความน่าเกลียด"หรือ Theory of Ugliness ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น

ตาม"ทฤษฎีความน่าเกลียด"หรือ Theory of Ugliness ได้ระบุว่า "ความน่าเกลียด"เป็นเรื่องของ"ความรู้สึกบางอย่างที่ขาดเสียซึ่งนัยสำคัญทางสติปัญญา" และนอกจากนี้"ความน่าเกลียด"ยังถูกพูดถึงว่า เป็นเรื่องของ"สิ่งซึ่งขาดท่วงทำนองทางอารมณ์อย่างสมบูรณ์"

Bernard Bosanquet (1848-1923) ถือเป็นนักปรัชญาคนสำคัญต่อมา เขามีเชื้อสายอังกฤษจากอ็อกฟอร์ด และได้อิทธิพลทางความคิดด้านจริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์จาก Hegel. Bosanquet กล่าวว่า "ความน่าเกลียด"ดำรงอยู่ในการแสดงออกในช่วงเริ่มต้นและไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้มันยังหมายรวมถึง การที่ยังไม่บรรลุผลถึงการนำเสนอของผู้สร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะ

นอกจากนี้ Bosanquet ยังกล่าวอีกว่า "ความเลวของศิลปะคือ การขาดแคลนเสียซึ่งความดีทางสุนทรียภาพ: นั่นคือ มันสัมฤทธิผลน้อยกว่าที่มันสัญญา ไร้พลังชีวิต และขาดเสน่ห์. แต่หากเรามาพิจารณากันถึงศิลปะในยุคโมเดิร์น เราจะพบว่า ศิลปินต่างๆในยุคโมเดิร์นหลายคน ต่างตั้งใจทอดทิ้งความงามไปอย่างแข็งขัน ทั้งนี้พวกเขาได้ให้ความสนใจและหันมาเน้นในเรื่องของการสร้างสรรค์และการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก มากกว่ารูปแบบอันงดงาม

สิ่งที่น่าพิจารณาในกรอบสุดท้ายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปและรสนิยม แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องที่สำคัญที่สุดของความเรียงชิ้นนี้ก็ตาม แต่ใคร่จะถามก็คือ

งานศิลปะแบบ sentimental art (ศิลปะที่ทำให้หวนระลึกถึง อย่างเช่น เพลงวันคริสต์มาส หรือเพลงที่เปิดในวันวาเลนไทน์ ซึ่งเปิดกันส่วนใหญ่ในห้างสรรพสินค้า) และ affected art (ศิลปะที่เสแสร้งให้กระทบกระเทือนใจ ซึ่งมักจะปรากฎในละครวิทยุและโทรทัศน์) สิ่งเหล่านี้ ปรารถนาให้ผู้อ่านพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่า ศิลปะประเภทนี้เป็นเรื่องของ"ความงาม"หรือ"ความน่าเกลียด"กันแน่

เรียบเรียงจาก
1. Jerome Stolnitz; หัวเรื่อง Ugliness, จาก The Encyclopedia of Philosophy, Paul Edwards : Editor in Chief The Macmillan Company & The Free Press, New York COLLIER - MACMILLAN LIMITED, LONDON และ

2. Webster's New Biographical Dictionary, A Merriam-Webster INC., Springfield, Messachusetts

แปลและเรียบเรียงครั้งแรก 30 กรกฎาคม 2542 ปรับปรุงและเรียบเรียงเพิ่มเติม 10 กุมภาพันธ์ 2546
(ส่วนหนึ่งของเอกสารการสอน ประกอบกระบวนวิชาศิลปวิจารณ์)

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)


 

 

หากผู้อ่านหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพ และตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาด font ลง จะแก้ปัญหาได้

นักบุญออกัสตินกล่าวว่า "โลกและทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้ ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยพระผู้เป็นเจ้าอันดีงามอย่างหาที่สุดมิได้ ในฐานะที่เป็นการแสดงออกอันหนึ่งของความสง่างามและความดีของพระองค์..."

แนวความคิดของเขาเกี่ยวกับความจริงหรือสัจธรรม เป็นเรื่องสุนทรียภาพอย่างเด่นชัด. ทุกสรรพสิ่งคือภาพลักษณ์ต่างๆของความคิดเกี่ยวกับแบบและความกลมกลืน(All things are images of the ideas of form and harmony)ที่ดำรงอยู่ในพระจิตของพระผู้เป็นเจ้า และการรวมเข้าด้วยกัน พวกมันได้สร้างเอกภาพอันเป็นระบบระเบียบภายในอันหนึ่งขึ้นมา จะเห็นได้ว่า ขอบเขตหรือปริมณฑลต่างๆของทฤษฎีสุนทรียศาสตร์แบบกรีก ได้ถูกนำมาเขียนเอาไว้ส่วนใหญ่ในเมตาฟิสิกส์ของเขา

ให้พวกเรามาลองพิจารณาถึงตรรกะ อย่างเช่น, "X เป็นสิ่งน่าเกลียด แต่ในเชิงสุนทรียภาพ มันดี" มิได้มีความขัดแย้งในตัวเอง และอันที่จริง อาจเป็นบางสิ่งบางอย่างซึ่งเราต้องการ และอยากที่จะกล่าว

บรรดาศิลปินสมัยใหม่หรือศิลปินในยุคโมเดิร์นเหล่านั้น ผู้ซึ่งเลิกลาและทอดทิ้งความพึงพอใจเกี่ยวกับความงามไปโดยตั้งใจ ในฐานะที่เป็นเป้าหมายของความพยายามในเชิงสร้างสรรค์ของพวกเขา มันได้สร้างหนทางเกี่ยวกับเสียงพูดอันนี้ขึ้นมา ซึ่งยากจะไม่เชื่อถือเช่นดังที่เคยเป็นมา (ตัดมาบางส่วนจากบทความ)
Ugliness : by Jerome Stolnitz; จาก The Encyclopedia of Philosophy
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน 241 หัวเรื่องปรัชญาศิลป: ว่าด้วยเรื่อง "ความงาม"และ"ความน่าเกลียด"
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรมสำหรับสังคมไทย : บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันอังคารที่ 12 ก.พ..2546
H

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90