มหาวิทยาลัยที่ไม่ให้ปริญญาผู้เรียน
แต่จะให้ปริญญาผู้รู้
มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม
กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง- เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง เที่ยงคืนคือจุดที่มืดสุดแต่จะสว่างขึ้น

หมายแจ้งข่าว


ข่าวสด : วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2546 ปีที่ 12 ฉบับที่ 4483
ปากมูลชุมนุม"วันหยุดเขื่อนโลก"

เมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้าน สหกรณ์ปากมูล จำกัด จ.อุบลราชธานี มีการจัดกิจกรรมสัปดาห์วันหยุดเขื่อนโลก ในหัวข้อ "แผ่นดินนี้ของเรา" โดนมีการจัดกิจกรรมเวทีเสวนาทางวิชาการ นิทรรศการและลงพื้นที่ศึกษาดูงาน และเปลี่ยนประสบการณ์การต่อสู้ระหว่างประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการของรัฐและเครือข่ายพันธมิตร โดยมีผู้เข้าร่วมงานเกือบ 1 พันคน

เวลา 19.00 น. มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ บทเรียน ความคิด และมุมมองในการแก้ปัญหา และแนวทางตลอดจนการแก้ปัญหาของขบวนการเคลื่อนไหวฝ่ายประชาชน ได้แก่ ท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย อ.จะนะ จ.สงขลา โรงไฟฟ้าบ่อนอก-หินกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ์ เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี เขื่อนราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ที่ดินลำพูน และเหมืองแร่โพแทช จ.อุดรธานี

นายทองเจริญ สีหาธรรม ตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล กล่าวว่า ทุกวันนี้มีคำถามว่า ทำไมพวกเราจึงชุมนุมกันไม่เลิก ก็เพราะแผ่นดินนี้ยังไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม แม่น้ำมูลยังไม่เป็นปกติ จึงยังไม่เลิก ทั้งยังมีคำถามว่า ทำไมไม่เลิกชุมนุม ตนอยากบอกความจริงว่า เขาเอาของปลอมมาให้ เขายัดเยียดมาให้โดยที่เราจำเป็นต้องรับมา ที่ผ่านมาเราต่อสู้เรียกร้องมา 13 ปี ได้รับอะไรบ้าง ความจริงเราเคยอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ความรัก การพึ่งพาแม่น้ำมูล เมื่อเขื่อนมาก็ทำลายชีวิต และความเอื้ออาทรที่มีต่อกัน

ด้านนายนิธิ เอียวศรีวงศ์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กล่าวว่า คุณูปการของขบวนการประชาชน 3 ประเด็น ที่เกิดขึ้น กระบวนการที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์ พยายามที่จะนำเอาสินทรัพย์ที่เรียกว่าทรัพยากรเข้าสู่ตลาด เป็นสินทรัพย์สาธารณะ ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง โดยเฉพาะสินทรัพย์ที่เหลืออยู่จำนวนมากและมีมูลค่าอย่างมโหฬารกำลังดึงเข้าสู่ตลาดเช่น แม่น้ำมูลซึ่งเป็นทรัพยากรสาธารณะที่มีคนใช้จำนวนมาก เขามาสร้างเขื่อนปากมูลเพื่อเอาไฟฟ้าจำนวน 40 เมกะวัตต์มาขาย เอาส่วนหนึ่งของแม่น้ำมูลเข้าไปสู่ตลาดเพื่อจะซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ ขณะที่ชาวบ้านจับปลากันอยู่ แต่นับเป็นจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับการแลกเปลี่ยน และการนำมาบริโภค ซึ่งถือว่าเข้าสู่ตลาดไม่เต็มที่ แต่หากนำมาทำเป็นเขื่อนก็จะเข้าสู่ตลาดได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ด้วยการแปรจากแม่น้ำมูลธรรมดาให้กลายเป็นไฟฟ้าเสียก่อน

"ผมคิดว่ากรณีของโครงการท่อก๊าซที่จะนะก็เหมือนประมงชายฝั่งส่วนหนึ่งเข้าสู่ตลาดอย่างไม่เต็มที่ แต่ถ้าแปรประมงชายฝั่งโดยเฉพาะตรงที่จะนะให้กลายเป็นการวางท่อก๊าซ ก๊าซก็จะถูกนำไปทำเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมไฟฟ้า เป็นการแปลงสินค้าของประมงชายฝั่งเพื่อเข้าสู่ตลาดเต็มที่ ทุกกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าบ่อนอก บ้านกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ์ โครงการบ่อบำบัดคลองด่าน ที่ดินลำพูน เขื่อนปากมูล เหมืองแร่โพแทช จ.อุดรธานี หากวิเคราะห์จะเห็นว่าเป็นความพยายามที่จะแปลงทรัพยากรสาธารณะ หรือสินทรัพย์ส่วนกลางให้เป็นทุนของคนบางคน บางกลุ่มอยู่ตลอด" นายนิธิกล่าว

นายนิธิ กล่าวอีกว่า กระบวนการนี้ได้ละทิ้งหรือมันถีบคนที่ใช้ทรัพยากรกลางเหล่านี้ให้หลุดออกไป กรณีของแม่น้ำมูลชัดเจน ใครที่หาปลาอยู่มันก็ถีบกระเด็นออกไป เพราะมันต้องการเขื่อน กระบวนการนี้มันเกิดขึ้นทั่วโลกก็จะมีคนที่จนเพราะการพัฒนาแบบนี้ มันพรากเอาทรัพย์สินของเขาไปเป็นสินค้า องค์กรใหญ่ๆ ธนาคารโลก ไอเอ็มเอฟ มองเห็นว่ายุ่งเหมือนกันในการทำให้คนจำนวนมาก ซึ่งเคยได้ประโยชน์จากทรัพย์สินสาธารณะเหล่านี้ต้องถูกถีบออกไป เพราะที่สุดจะเกิดความปั่นป่วนวุ่นวายขึ้น

นายนิธิ กล่าวต่อว่า คุณูปการอีกเรื่องคือด้านการเมือง ต้องยอมรับว่าเวลานี้เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุดที่เราเคยมีมา จะมีความหมายต่อเมื่อมันถูกนำมาปฏิบัติจริง และไม่มีวันที่ผู้มีอำนาจอยู่จะเคารพเชื่อฟังรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เกือบจะพูดได้ว่า ไม่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนอื่นมากเท่ากลุ่มประชาชนระดับล่างในการเคลื่อนไหวให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความหมายปฏิบัติได้จริง เพราะการเคลื่อนไหวของประชาชนอ้างรัฐธรรมนูญมาตลอด ขณะเดียวกันเราขยายความรัฐธรรมนูญให้มีความหมายเชิงปฏิบัติจริงได้ อาจพูดได้ว่ามองกลับไปที่คนชั้นกลางใช้รัฐธรรมนูญน้อยมาก การเคลื่อนไหวของประชาชนมีส่วนต่อการสถาปนาสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญให้เป็นจริง และเชิงปฏิบัติให้กว้างขวาง

สุดท้ายคือ การเคลื่อนไหวของประชาชนปรับแนวทางการพัฒนา จากที่เคยถูกครอบงำความคิดว่าการสร้างถนน เขื่อน ไฟฟ้า บ้าๆ บอๆ การพัฒนาแบบนั้นไม่เคยนับเอาวิถีชีวิตของคนเข้าไปคำนวณในการวางแผนพัฒนาหรือในการดำเนินการพัฒนา ซึ่งการเคลื่อนไหวของประชาชนเป็นครั้งแรกทำให้วิถีชีวิตของประชาชนถูกนำไปคำนวณถูกนำไปคิด ในการวางแผนปฏิบัติเพื่อการพัฒนา คนเริ่มเข้าใจมากกว่า การอนุรักษ์ตามวิถีประชาชนนั้นส่วนหนึ่งคือการพัฒนาด้วย แต่เป็นการพัฒนาอีกแนวทางหนึ่ง

"โครงการพัฒนาทั้งหลายจะต้องนึกถึงวิถีชีวิตของประชาชนด้วย เมื่อไม่นึกถึงก็จะมีปัญหาเรื้อรังตามมา เช่น กรณีเขื่อนปากมูล ตอนที่สร้างเขามองไม่เห็นปลาเลยจริงๆ คนที่สร้างเขื่อนมองไม่เห็นด้วยซ้ำว่ามีคนจับปลาอยู่ในภาคอีสาน มองเพียงว่าชีวิตของคนอีสานคือชาวนา การพัฒนาและการศึกษาที่ผ่านมาทั้งหมดนั้น ไม่ได้สอนให้เรามองมายังวิถีชีวิตของผู้คน ขอฝากว่าที่สุดแล้วเหมือนกับเรามีทางเลือกที่จะทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่โดยส่วนตัวผมคิดว่าเราไม่มีทางเลือก ไม่ว่าเขาจะตัดสินใจว่าจะปิดเขื่อนปากมูลแล้วไม่ต้องมากดดันฉันอีก เพราะถึงอย่างไรฉันก็จะปิดเขื่อน ผมอยากถามว่าแล้วคนที่อยู่ริมเขื่อนมีวิถีชีวิตในการจับปลาริมเขื่อน มีทางเลือกอื่นหรือไม่ในการไม่กดดันต่อไป คิดว่าไม่มี ซึ่งเมื่อขบวนการประชาชนเริ่มขึ้นแล้วผมว่ามันหยุดไม่ได้ หากท่านไม่สู้ก็จะถูกไล่ไปจนตรอกและตกเวทีไปเลย" นายนิธิกล่าว

 

กิจกรรมสัปดาห์วันหยุดเขื่อนโลก

1. "แผ่นดินนี้ของเรา" 8-9 มีนาคม 2546 ณ ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้าน สหกรณ์ปากมูล จำกัด อ.พิบูลฯ จ.อุบลฯ
2. ไม่มีเขื่อน ไม่มีสงคราม 13-14 มี.ค. 2546 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หน้า UN - อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
3."วันหยุดเขื่อนโลก" วันที่ 14 - 15 มีนาคม 2546 ณ ดอนโจด อ.ราษีไศล จ.ศรีษะเกษ
4. ค่ายเยาวชนพิทักษ์ป่าสักทอง: พิธีสืบชะตาแม่น้ำยม 15-17 มีาคม 2546
บ้านดอนชัย - ผาอิง ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่

กำหนดการ
1."แผ่นดินนี้ของเรา"

ณ ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้าน สหกรณ์ปากมูล จำกัด
๘ - ๙ มีนาคม ๒๕๔๖ อ.พิบูลย์มังษาหาร จ.อุบลราชธานี

(สำหรับผู้สื่อข่าว สำรองที่นั่ง เดินทางโดยรถตู้ ออกวันที่ 7 เวลา 18.00 น. ที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ
ติดต่อ หาญณรงค์ 09-9226706 , น้อย 09-9273556 ไม่เสียค่าใช้จ่าย นอนบ้านชาวบ้าน)

ศุกร์ ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
๑๔.๐๐ น.
รวมกองผ้าป่าจากทุกสาย ณ แก่งสะพือ อ.พิบูลมังสาหาร สักการะไหว้พระละงุมให้ท่านคุ้มครอง
๑๖.๐๐ น. แห่ขบวนรถผ้าป่า รถแห่ตุ้ม - ลาน - เครื่องมือหาปลา ไปยังสหกรณ์ปากมูล จำกัด
เวทีวัฒนธรรมสมโภชกลางคืน พบกับ วงดนตรีสะเลเต, หมอลำตังหวาย มนฤดี พรมจักร, หมอลำ อ.บันเทิงศิลป์ และศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน

เสาร์ ๘ มีนาคม ๒๕๔๖
๐๙.๐๐ น. เวทีวิชาการ
เวทีที่ ๑ ถอดสรุปประสบการณ์ บทเรียน รวมถึงแก่นความคิด มุมมองในการแก้ปัญหา และแนวทางตลอดจนวิธีการแก้ไขปัญหาของขบวนการเคลื่อนไหวฝ่ายประชาชน มองผ่าน ๖ กรณี
: ท่อก๊าซ, บ่อนอก-หินกรูด, ปากมูน-ราษีไศล, ที่ดินลำพูน, คลองด่าน และเหมืองแร่โปรแตส จ.อุดรธานี

เวทีที่ ๒ ขบวนการต่อสู้ภาคประชาชน : คุณูปการต่อสังคมไทย
ผู้ร่วมขบคิด :

อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
อ.เริงชัย ตันสกุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
อ.ชลธิรา สัตยาวัฒนา วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต
อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ สถาบันราชภัฏนครราชสีมา
อ.ฉันทนา บรรพศิริโชค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๓.๐๐ น. ลงศึกษาพื้นและหมู่บ้านและแลกเปลี่ยนประสบการณ์นักต่อสู้ชาวบ้าน
กลุ่มที่ ๑ พื้นที่หาปลา (บ้านของปลา - วังปลา - ร่วมกันลงแขกหาปลาในลำมูน)
วิทยากรหลัก : อ.ศรีศักร วัลลิโภดม, พ่อฟอง ภูเขาทอง,

กลุ่มที่ ๒ ดอนคำพวง และวัดกลางน้ำ (ระบบนิเวศริมมูนและวัฒนธรรมของลูกแม่มูน)
วิทยากรหลัก : อ.ประสิทธิ์ คุณุรัตน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คุณวิสูตร์ อยู่คง ป่าไม้เขตอุบลราชธานี พ่อไสว สายศรี

กลุ่มที่ ๓ เครื่องมือหาปลา (โสกับเจ้าของเครื่องมือหาปลาหลากชนิด + ทดลองปฏิบัติการจริง)
วิทยากรหลัก : นายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ผอ.เครือข่ายแม่น้ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
พ่อดำ ชาตะพันธ์ หัวหน้าคณะนักวิจัยไทบ้าน

กลุ่มที่ ๔ เขื่อนปากมูน+บันไดปลาโจน+ท่าแพ (หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืนริมสันเขื่อนปากมูน)
วิทยากรหลัก : อ.บัณฑร อ่อนดำ นักวิชาการเพื่อคนจน
น.ส.วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน
พ่อทองเจริญ สีหาธรรม เวทีวัฒนธรรม

พบกับ การแสดงวัฒนธรรม ๔ ภาค และ ฮูลู ลิเกพื้นบ้านภาคใต้ สุรชัย จันทิมาธร (หงา คาราวาน) , พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ

อาทิตย์ ๙ มีนาคม ๒๕๔๖
๐๘.๐๐ น. ร่วมเขียนจดหมายถึงนายก ฯ ทักษิณ ชิณวัตร
พิธีเปิดศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้าน และเปิดอนุสาวรีย์นักสู้ประชาชน
๑๑.๐๐ น. เลี้ยงพระเพล พิธีมอบใบประกาศแก่นักอนุรักษ์แม่น้ำมูน และประกาศเจตนารมย์ "ร่วมกันสู้"
(รถตู้นักข่าว เดินทางกลับ ประมาณ 18.00 น. ของวันที่ 9 )



2."วันหยุดเขื่อนโลก 46"
No Dams No War : ไม่มีเขื่อน ไม่มีสงคราม

13-14 มี.ค. 2546 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณหน้าที่ทำการองค์การสหประชาชาติ - อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 16
(สอบถามรายละเอียดได้ที่ จันทิวา 06-506-9764)

13 มีนาคม 2546 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
16.00 น. ร่วมรณรงค์ เผยแพร่

14 มีนา วันหยุดเขื่อนโลก "No Dams No War : ไม่มีเขื่อน ไม่มีสงคราม"
พบกับ การแสดงดนตรี การแสดงล้อเลียน การปราศรัย โดยเยาวชนและนิสิตนักศึกษาจากหลายสถาบัน

14 มีนาคม 2546 ณ บริเวณหน้าที่ทำการองค์การสหประชาชาติ(United Nation : UN)

10.00 น. แถลงข่าวประกาศเจตนารมณ์วันหยุดเขื่อนโลก ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 16
13.00 น. เปิดงานวันหยุดเขื่อนโลก "No Dams No War : ไม่มีเขื่อน ไม่มีสงคราม"
13.30 น. การแสดงดนตรีจากนิสิตนักศึกษา
14.00 น. ฉายหนังสั้น ว่าด้วยเขื่อน
14.30 น. การแสดงดนตรีจากนิสิตนักศึกษา
17.00 น. เสวนาสาธารณะเรื่อง "จากเขื่อนสู่สงคราม เผด็จการสู่ความรุนแรง"
---ไกรศักดิ์ ชุณหวัณ ประธาณกรรมาธิการต่างประเทศ
---ดร. ชัยวัฒน์ สถาอนันท์ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
---สิริยากร พุกกะเวส นักแสดง รอมฎอน ปันจอร์ ผู้ประสานงาน คอทส.
19.00 น. การแสดงดนตรี การแสดงวัฒนธรรม สลับกับบทกวี โดยเยาวชนและนิสิตนักศึกษาจากหลายสถาบัน

 

3.กำหนดการจัดงาน "วันหยุดเขื่อนโลก"
วันที่ 14 - 15 มีนาคม 2546 ณ ดอนโจด (ราษีไศล) จ.ศรีษะเกษ
(สำหรับผู้สื่อข่าว สำรองที่นั่ง เดินทางโดยรถตู้ ออกวันที่ 13 เวลา 18.00 น. ที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ
ติดต่อ หาญณรงค์ 09-9226706 , น้อย 09-9273556 ไม่เสียค่าใช้จ่าย นอนบ้านชาวบ้าน)

กิจกรรม"วันหยุดเขื่อนโลก"
1. พิธีเปิด "โรงเรียนแม่น้ำ"
2. งานเสวนา "วิจัยไทบ้านองค์ความรู้ท้องถิ่นกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน"
3. อภิปราย "คู่มือการใช้ประโยชน์ จาก WCD"
4. ลงพื้นที่ "ท่องป่าทาม ตามรอยอาณาจักรเกลือ"
5. จับปลาเยาะ "ปลาหลังเปิดเขื่อน ความสมบูรณ์ของแม่น้ำมูนที่กลับมา"

วันที่ 14 มีนาคม 2546
07.00 น. - 08.00 น. รับประทานอาหารเช้า
08.00 น. - 09.00 น. พิธีเปิด "โรงเรียนแม่น้ำ"

กล่าวรายงานการจัดงาน โดย นายไพจิต ศิลารักษ์ ตัวแทนชาวบ้านราษีไศล
เปิดโรงเรียนแม่น้ำ โดย ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์

09.00 น. - 12.00 น. เวทีเสวนา "วิจัยไทบ้านองค์ความรู้ท้องถิ่นกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน"

ปาฐกถานำ โดย ดร.ศรีศักดิ์ วัลริโภดม
ผู้ร่วมเสวนา อ.สุจินต์ สิมารัตน์ RDI ขอนแก่น
อ.ปรีชา อุยตระกุล ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นราชภัฎนครราชสีมา
อ.มนัส ธัญญเกตร นักวิชาการท้องถิ่น ราชภัฎสุรินทร์
อ.สำราญ บุญธรรม โรงเรียนบ้านดอนงูเหลือม
อ.สุริยงค์ นรสาร โรงเรียนบ้านดอนงูเหลือม
คุณสนั่น ชูสกุล ผู้อำนวยการโครงการทามมูล
คุณแมน ปุโรทกานนท์ ผู้อำนวยการ กริด
คุณสุพรรณ สาคร นักวิชาการอิสระ
คุณฐากูร อุทัยวงศ์ สื่อมวลชน
ตัวแทนชาวบ้านราษีไศล - ตัวแทนชาวบ้านลุ่มน้ำมูน 6 จังหวัด

ดำเนินรายการ โดย ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

12.00 น. - 13.30 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.30 น. - 15.00 น. เวทีอภิปราย "คู่มือการใช้รายงาน เขื่อนกับการพัฒนา ของ WCD"

ความเป็นมาของคณะกรรมการเขื่อนโลกและรายงานเขื่อนกับการพัฒนา

โดย คุณริชาร์ด เฟรนด์ จาก IUCN : นำเสนอคู่มือการใช้รายงานเขื่อนกับการพัฒนา
คุณไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ผู้อำนวยการเครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : นำเสนอแนวทางการผลักดันนโยบายเขื่อน ตามข้อเสนอของ WCD

อภิปรายนำ โดย นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ
ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืช แห่งประเทศ ในพระบรมราชินูปธัมภ์

ระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม ดำเนินรายการ โดย คุณสดใส สร่างโศรก

15.00 น. - 16.00 น. ตัวแทนชาวบ้านผู้เดือดร้อนจากเขื่อนขึ้นกล่าวแสดงจุดยืน
16.00 น. - 16.30 น. ประกาศเจตนารมณ์ "วันหยุดเขื่อนโลก" ร่วมกัน
16.30 น. - 17.30 น. เดินชม โรงเรียนแม่น้ำ และนิทรรศการ
17.30 น. - 19.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย / รับประทานอาหารเย็น
19.00 น. - 23 .00 น. เวทีแลกเปลี่ยน / ปรับทุกข์ / วัฒนธรรม (สมานฉันท์พี่น้อง)

วันที่ 15 มีนาคม 2546
07.00 น. - 08.00 น. รับประทานอาหารเช้า
09.30 น. - 15.00 น. "ท่องป่าทาม ตามรอยอาณาจักรเกลือ"
10.00 น. เดินทางถึงทามท่าโพธิ์ ดูพื้นที่ "องค์ความรู้ชาวบ้านในการจัดการน้ำ"
12.00 น. เดินทางถึงป่าทามกุดเป่ง "การจัดการป่าทามชุมชนกุดเป่ง"
12.00 น. - 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง (ในป่าทามกุดเป่ง)
15.00 น. เดินทางถึงวังยาง ดูการต้มเกลือ "ตามรอยอาณาจักรเกลือ"
16.00 น. เดินทางถึงท่าหลักสั่น "ปลาหลังเปิดเขื่อนความสมบูรณ์ของแม่น้ำมูนที่กลับมา"
18.00 น. เดินทางกลับ (รถตู้นักข่าว เดินทางกลับ ประมาณ 18.00 น. ของวันที่ 15 )

 

4. ค่ายเยาวชนพิทักษ์ป่าสักทอง
พิธีสืบชะตาแม่น้ำยม 15-17 มี.ค. บ้านดอนชัย - ผาอิง ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่
(สำหรับผู้สื่อข่าว สำรองที่นั่ง เดินทางโดยรถตู้ ออกวันที่ 14 เวลา 18.00 น. ที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ
ติดต่อ หาญณรงค์ 09-9226706 , น้อย 09-9273556 ไม่เสียค่าใช้จ่าย นอนบ้านชาวบ้าน)

วันที่ 15 มี.ค. 46
เช้า สำรวจฟอรซซิล ไดโนเสาร์ อ.เชียงม่วน จ.พะเยาว์
บ่าย แลกเปลี่ยนเรื่องบทบาทเยาวชนกับการอนุรักษ์ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม กลางคืน กิจกรรมสันทนาการ

วันที่ 16 มี.ค. 46
เช้า เดินทางเข้าป่า เพื่อสัมผัสธรรมชาติ ณ อุทยานแห่งชาติแม่ยม อ.สอง จ.แพร่
บ่าย แลกเปลี่ยนกิจกรรมแผนงานในอนาคต เย็น กิจกรรมสันทนาการ

วันที่ 17 มี.ค. 46
เช้า ร่วมกับชาวบ้านในพิธีกรรม สืบชะตาแม่น้ำยม ณ ผาอิง อุทยานแห่งชาติแม่ยม
บ่าย ร่วมประกาศเจตนารมณ์ คัดค้านเขื่อนแก่งเสือเต้น หยุดทำลายป่า หยุดทำลายชุมชน หยุดผลานงบประมาณแผ่นดิน หยุดเขื่อนแก่งเสือเต้น
(รถตู้นักข่าว เดินทางกลับ ประมาณ 18.00 น. ของวันที่ 17 )

หมายเหตุ : สอบถามรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ คุณบุญล้อม หรือคุณวิลาวัลย์ 02-2811916 , 02-2812595 คุณหาญณรงค์ 09-9226706 , คุณน้อย 09-9273556

Prasittiporn KAN-ONSRI [NOI] Assembly of the Poor. THAILAND. 99, 3 Floor Nakorn Sawan Rd. Pomprab Bangkok Thailand. 10100. T:F ; 662 2811916 , 2812595, Mo 09-9273556 Mail : [email protected] : CC [email protected] http://www.thai.to/aop , http://www.thai.to/munriver , http://www.thai.to/yomriver com

 

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม