ภาพผลงานจิตรกรรมหุ่นนิ่ง โดยศิลปินชาวฝรั่งเศส Paul Cezanne เทคนิคสีน้ำมัน

Cezanne, Paul 1839-1906 French painter who ended the naturalistic style and laid the groundwork for modern styles like Cubism. Born in Aix-en-Provence, he went to Paris in 1861. There he learned from Manet, Monet and Pissarro, but received much criticism from other artists for his rough style.

He later spent much time in Aix-en-Provence, where he could work alone and undisturbed. Although he formed his style in the company of the Impressionists, it was actually an extension of that movement into something new. Impressionism concentrated on effects of momentary light obtained through small strokes of color. Cezanne wanted an effect of more permance and captured basic forms in his paintings. This insistence on form later influenced the Cubists.

นิทรรศการศิลปะครั้งนี้เป็นการช็อคทางวัฒนธรรมแก่บรรดาจิตรกรชาวอเมริกัน และยิ่งช็อคมากกว่านั้นสำหรับสาธารณชนโดยทั่วไป. ศิลปินอเมริกันคนหนึ่ง, Kenyon Cox, ได้พูดถึงเกี่ยวกับ Paul Cezanne ว่าเขาเป็นจิตรกรที่"ปราศจากพรสวรรค์อย่างสิ้นเชิง"(he was "absolutely without talent). และ Vincent van Gogh ได้รับการพิจารณาว่า"ไม่มีทักษะความชำนาญที่จะระบายสีให้เรียบได้เลย"(too unskilled to give quality to an evenly laid coat of pigment) [ตัดมาบางส่วนจากความเรียงเรื่อง "องค์ประกอบและประวัติศาสตร์การวิจารณ์งานศิลปะ"เรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]
ทั้งศิลปินและนักวิจารณ์ คือผู้ซึ่งได้รับประโยชน์และตกเป็นเหยื่อของขนบประเพณีและวัฒนธรรม(they are both benefited and victimized by tradition) พวกเขาได้รับประโยชน์ก็เพราะว่าพวกเขารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ได้ผ่านไปแล้ว พวกเขาคือผู้ที่รับทอดสืบช่วงเกี่ยวกับความพยายามทางศิลปะต่างๆของอดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคนิค, วิธีการ, สไตล์, และความช่างคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์(creative ingenuity). ส่วนการที่พวกเขาตกเป็นเหยื่อของขอบเขตอะไรก็ตามที่ผูกพันพวกเขากับขนบประเพณีนั้น มันอาจจะเก็บรักษาเขาจากการยอมรับคุณค่าในการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ, ในความผันแปร, และในทิศทางแปลกใหม่ของรูปลักษณ์ของศิลปะ
ภาพเหมือนตัวเองของศิลปินชาวฝรั่งเศส Paul Cezanne เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ ศิลปินผู้นี้เป็นต้นแบบให้กับลัทธิ ศิลปะ Cubism ต่อมาภายหลัง ซึ่งมี Pablo Picasso เป็นศิลปิน
บทความทางศิลปะ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 259 หัวเรื่อง"องค์ประกอบและประวัติศาสตร์การวิจารณ์ทางด้านศิลปะ"

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

องค์ประกอบและประวัติศาสตร์การวิจารณ์ศิลปะ
เรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม
release date 140446 (ความยาวประมาณ 12 หน้ากระดาษ A4)

หมายเหตุผู้เรียบเรียง
ความเรียงเรื่อง องค์ประกอบและประวัติศาสตร์การวิจารณ์ศิลปะที่จะอ่านต่อไปนี้ เรียบเรียงขึ้นมาจากงาน 2 ชิ้นคือ "องค์ประกอบเกี่ยวกับการวิจารณ์งานศิลปะ" และ"ประวัติศาสตร์การวิจารณ์งานศิลปะ" ที่นำมาจากสารานุกรม 2 ชุด (Compton's Interactive Encyclopedia และ The Grolier's Encycolpedia) เพื่อใช้เป็นพื้นฐานบทความอ่านนอกเวลา ของนักศึกษากระบวนวิชาศิลปวิจารณ์ ชั้นปีที่ 4 (ระดับปริญญาตรี) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แต่เดิมนั้น ผลงานเรียบเรียงเหล่านี้เก็บอยู่ภายในห้องสมุด คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้ผลงานบริการแต่เฉพาะนักศึกษาเท่านั้น แต่ไม่ได้ถูกเผยแพร่ออกไปสู่สังคมวงกว้าง ดังนั้น เพื่อประโยชน์ต่อการบริการสังคม(อันเป็นภารกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัย) จึงได้พิจารณานำเอาสิ่งที่เคยเก็บรักษาเอาไว้อยู่แต่ภายในห้องสมุด ออกมาเผยแพร่ผ่านเว็ปไซค์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ผู้เรียบเรียงได้พิจารณาแล้วว่า ความเรียงชิ้นนี้จะช่วยให้ผู้สนใจเกี่ยวกับการวิจารณ์ผลงานศิลปะโดยทั่วไป ได้เห็นถึงมิติเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของการวิจารณ์และประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการวิจารณ์ผลงานศิลปะ จึงนำเอาทั้งสองส่วนนี้มานำเสนอร่วมกัน ทั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ

ภาคที่หนึ่งว่าด้วย องค์ประกอบเกี่ยวกับการวิจารณ์งานศิลปะ
ภาคที่สอง เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์การวิจารณ์ศิลปะในโลกตะวันตก

อย่างไรก็ตาม ผู้เรียบเรียงทราบว่า ผลงานที่นำเสนอครั้งนี้มีข้อจำกัดบางประการเกี่ยวกับทัศนะของผู้เชี่ยวชาญในขอบเขตข้างต้น เพราะว่าไม่มีมาตรฐานใดๆที่เราทุกคนต่างยอมรับร่วมกันว่า เป็นหลักการที่ไม่อาจปฏิเสธได้ของการวิจารณ์ ดังนั้น การอ่านบทความเรียบเรียงชิ้นนี้ จึงขึ้นอยู่กับผู้อ่านจะยอมรับข้อมูลที่นำเสนอมากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องอาศัยวิจารณญานในการใคร่ครวญ

บทนำ
ดังชี้แจงเอาไว้แล้วที่หมายเหตุข้างต้น สำหรับ"การวิจารณ์งานศิลปะ"นั้นโดยหลักการกว้างๆ ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนมักจะวางองค์ประกอบหลักแตกต่างกันไป แต่สำหรับบทความที่จะอ่านต่อไปนี้ ผู้เชียวชาญท่านหนึ่งเสนอว่า : ผู้สนใจการวิจารณ์งานศิลปะควรที่จะเข้าใจองค์ประกอบของการวิจารณ์ดังต่อไปนี้คือ หนึ่ง,การวิจารณ์คืออะไร? สอง,ศิลปะคืออะไร? สาม,อะไรคือมาตรฐานต่างๆของการวิจารณ์? และสี่,อะไรที่ไม่ใช้มาตรฐานของศิลปะที่ถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้องในการวิจารณ์งานศิลปะ?

ภาคแรก : องค์ประกอบของการวิจารณ์ศิลปะ
ในส่วนของภาคแรกนั้น เป็นเรื่องที่ว่าด้วยองค์ประกอบเกี่ยวกับการวิจารณ์งานศิลปะ ซึ่งได้เรียบเรียงมาจากจากสารานุกรม Compton's Interactive Encyclopedia: Version 1.01 vm: Compton's Newmedia. Inc: 1992 : (CD-ROM) ในหัวข้อ CRITICISM ใน ซึ่งได้มีการแบ่งออกเป็น 4 ตอนคือ Criticism, What Art is, Standards in Criticism, และ Nonartistic Standards โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

ผลงานศิลปกรรมทุกชิ้น สามารถมองกันได้ 2 อย่าง นั่นคือ
อย่างแรก, มองในแง่ของความซาบซึ้ง (appreciatively) กับ
อย่างที่สอง, มองในแง่ของการวิพากษ์วิจารณ์(critically)

ผู้คนส่วนใหญ่ที่ไปยังพิพิธภัณฑ์ศิลปะเพื่อที่จะชื่นชมผลงานจิตรกรรมก็ดี, ไปยังโรงละครเพื่อที่ไปจะชมละครก็ดี, หรือไปที่โรงอุปรากรเพื่อฟังดนตรีก็ดี, การที่ผู้คนส่วนใหญ่กระทำดังนั้นก็เพื่อความพึงพอใจส่วนตัว โดยมิได้เอาใจใส่หรือคำนึงถึงว่าจะต้องจ่ายเงินเท่าใด หรือว่าพวกเขารู้เรื่องมากน้อยแค่ไหนเกี่ยวกับศิลปกรรมต่างๆ

สิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่คาดหวังที่จะได้รับจากการชื่นชมศิลปะและการฟังดนตรีก็คือความพึงพอใจ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าพวกเขาไม่ชอบในสิ่งที่พวกเขาดูและฟัง พวกเขาก็จะไม่รู้สึกซาบซึ้งหรือพึงพอใจ

เรื่องของรสนิยมต่างๆนั้นเป็นเรื่องของความพึงพอใจ ตราบเท่าที่มันถูกนำเข้ามาเกี่ยวพันและรสนิยมนี้เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ดังนั้น บ่อยครั้งที่มักจะมีการกล่าวว่า "ความงามอยู่ในลูกตาของผู้ดู และด้วยเหตุนี้มันจึงไม่สามารถถกเถียงกันได้เกี่ยวกับเรื่องของรสนิยม." (beauty is in the eye of beholder and that there can be no argument about taste)

สำหรับงานศิลปะเกี่ยวกับการวิจารณ์อย่างเป็นทางการนั้น แตกต่างกันไปเลยทีเดียว มันเป็นภาระหน้าที่ของคนที่ได้รับการเรียกขานว่า"นักวิจารณ์" พวกเขาอาจชื่นชมและซาบซึ้งในผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง แต่หน้าที่ซึ่งเป็นอาชีพของพวกเขาก็คือจะต้องวิเคราะห์, ประเมินคุณค่า, และอธิบายมันไปตามมาตราฐานบางอย่าง(their professional task is to analyze, evaluate, and describe it according to some standards)

ภารกิจของนักวิจารณ์ไม่ใช่เพียงแค่ทำความเข้าใจซาบซึ้งเท่านั้น แต่จะต้องรู้และเข้าใจมากไปกว่านั้น นักวิจารณ์ทุกคนจักต้องเข้าใจธรรมชาติและคุณภาพของงานศิลปะที่ถูกนำมาวิจารณ์ ยกตัวอย่างเช่น นักวิจารณ์ทางด้านดนตรี, จักต้องมีความรู้โดยตลอดเกี่ยวกับผลงานชิ้นนั้นที่ถูกนำมาเสนอ

เช่นเดียวกันกับดนตรี ศิลปกรรมทุกๆประเภทมีอัตลักษณ์ต่างๆและเทคนิคที่เฉพาะแตกต่างกันไป และการวิจารณ์ที่เหมาะสมกับศิลปกรรมประเภทหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะกับศิลปะอีกประเภทหนึ่ง อย่างเช่น ภาพยนตร์ไม่สามารถถูกพิจารณาว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีหรือไม่ดี ไม่น่าชื่นชมเพราะว่ามันไม่เป็นเหมือนกับงานแสดงบนเวที ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว การแสดงบนเวทีในโรงละครและภาพยนตร์ต่างๆนั้น แต่ละประเภทก็มีคุณภาพหรือคุณสมบัติของตัวมันเองที่แตกต่างกัน

อันนี้ถือว่าเป็นความจริง แม้ว่าละครกับภาพยนตร์จะนำเอาเรื่องเดียวกันมาแสดงก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น, เรื่อง"Macbeth"ของ Shakespear ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางด้านการละครเรื่องหนึ่ง. นักวิจารณ์วรรณกรรมอาจอรรถาธิบาย, วิเคราะห์, และประเมินคุณค่างานเขียนที่เป็นเล่มหนังสือในฐานะที่เป็นผลงานศิลปกรรมชิ้นหนึ่ง แต่"Macbeth"ก็ถูกนำไปแสดงบนเวทีในโรงละคร ในภาพยนตร์, และบนจอทีวีด้วย

แต่ละอย่างต่างก็เป็นผลงานทางด้านศิลปะซึ่งเป็นตัวของมันเอง ดังนั้น เมื่อนักวิจารณ์คนหนึ่งเข้าไปเกี่ยวพันกับการวิพากษ์วิจารณ์การแสดงเกี่ยวกับผลงานวรรณกรรมชิ้นหนึ่ง งานศิลปะสองอย่างจะถูกนำเข้ามาเกี่ยวพัน - นั่นคือ งานเขียนวรรณกรรมเรื่องนั้นและวิธีการเกี่ยวกับการแสดง

รูปแบบผลงานศิลปกรรมบางอย่างถูกทำให้สับสนน้อยกว่า ในการเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น งานจิตรกรรม, งานประติมากรรม, หรืออาคารสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม งานศิลปกรรมเหล่านี้ไม่สามารถถูกนำมาแสดงได้(cannot be performed). มันยืนหยัดอยู่ลำพังในฐานะที่เป็นวัตถุของความซาบซึ้งและการวิจารณ์

What Art is (ศิลปะคือ…)
ยังไม่มีใครเคยให้คำนิยามเกี่ยวกับศิลปะซึ่งเป็นที่พึงพอใจได้ทั้งหมด เป็นเวลาหลายต่อหลายศตวรรษมาแล้วที่ศิลปะได้รับการพิจารณาว่าคือ การเลียนแบบ และการแสดงออก(imitation and expression)

ตามขนบประเพณีแล้ว คำว่า"ศิลปะ"เป็นการอ้างอิงถึงทักษะในการสร้างบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา (ไม่ว่าจะเป็นบทกวีหรือรองเท้าคู่หนึ่ง ในสมัยโบราณไม่ได้มีการแยกทักษะเหล่านี้) และศิลปินก็คือผู้ที่สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา

ในบางแง่มุมนั้น สิ่งที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นมาจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นการเลียนแบบโลกธรรมชาติ. ผลงานจิตรกรรมชิ้นหนึ่งอาจเป็นการสะท้อนส่วนเล็กๆบางส่วนของธรรมชาติ. รูปปั้นหรืองานประติมากรรมอาจจะเลียนแบบผู้คนและภาพสัตว์ ส่วนสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมนั้น เลียนแบบที่พักอาศัยหลบซ่อนซึ่งมีที่มาจากถ้ำ รองเท้าเป็นทั้งการเลียนแบบรูปเท้าและปกป้องเท้าของเราให้พ้นจากอันตราย

เพียงเมื่อคริสตศตวรรษที่ 19 มานี้เอง ศิลปะได้รับการพิจารณาว่าคือ"การแสดงออก"(expression) กล่าวคือ, มันเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึก, ความคิด, และข้อคิดเห็นต่างๆของเหล่าบรรดาศิลปินเท่ากับการเกี่ยวข้องถึงเรื่องของทักษะความชำนาญ

ดูเหมือนว่าจะเป็นการถูกต้องที่จะสรุปว่า ศิลปะคือการรวมกันของทั้งคู่ -นั่นคือการเลียนแบบ และการแสดงออก: บรรดาศิลปินทั้งหลายเลียนแบบชีวิตและผลงานของพวกเขาก็สร้างถ้อยแถลงหรือบรรยายเกี่ยวกับแง่มุมหรือคุณสมบัติบางอย่างของชีวิต

นวนิยายเรื่อง "Moby Dick" ของ Herman Melville เป็นการลอกเลียนอย่างเข้มข้นในการบรรยายได้อย่างถูกต้องแม่นยำเกี่ยวกับการล่าปลาวาฬในคริสตศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ มันยังเป็นการแสดงออกที่ยอดเยี่ยมด้วย ในการถ่ายทอดเกี่ยวกับความในจดใจจ่อและความกังวลใจของกัปตัน Ahab กับปลาวาฬสีขาวขนาดมหึมาอย่างมีชีวิตชีวา มันเป็นการตีความอันหนึ่งในเรื่องของชีวิต

ในผลงานวิจารณ์ของนักวิจารณ์ทั้งหลาย พวกเขาจะต้องรู้เกี่ยวกับนิยามความหมายของศิลปะของพวกเขาเอง และเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและสไตล์ต่างๆในการสื่อออกมา ซึ่งจะได้รับการประเมินคุณค่า

พวกเขาจักต้องเข้าใจในเรื่องเทคนิคที่เฉพาะเจาะจงด้วย ทั้งนี้เพราะผลงานวิจารณ์ของพวกเขาเป็นจำนวนมาก เป็นสาระอันหนึ่งเกี่ยวกับการเปรียบเทียบและความขัดแย้ง. พวกเขาจะต้องอธิบายและตีความงานศิลปะชิ้นหนึ่ง และจะต้องวิเคราะห์ถึงความดีเลิศในผลงานนั้นด้วยการเปรียบเทียบมันกับผลงานชิ้นอื่นๆในประเภทเดียวกัน

Standards in Criticism (มาตรฐานในการวิจารณ์)
ผลงานทางด้านศิลปะทุกชิ้น - ไม่ว่าจะเป็น นวนิยาย, จิตรกรรม, ประติมากรรม, หรือสถาปัตยกรรม - ต่างเป็นผลผลิตที่ไม่เพียงแต่จะเกี่ยวข้องกับผู้สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันกับเวลาและสถานที่ด้วย(the product not only of its creator but of its place and time)

ปิรามิดของอียิปต์ได้รับการสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตศักราช, ในขณะที่ตึกระฟ้าเป็นสถาปัตยกรรมของคริสตศตวรรษที่ 20. งานเขียนนวนิยายในคริสตศตวรรษที่ 19 แตกต่างไปจากยุคสมัยที่ใกล้เคียงกันของคริสตศตวรรษที่ 20 ดังนั้นผลงานศิลปะแต่ละชิ้น

อันดับแรก, จะต้องถูกทำความเข้าใจในบริบทเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ของมัน และ
อันดับที่สอง, ในฐานะที่เป็นตัวแทนของสไตล์หรือสกุลช่างโดยเฉพาะ มันจะต้องถูกมองย้อนไปสู่เบื้องหลังของตัวมันด้วยความเข้าใจอย่างเต็มเปี่ยมเกี่ยวกับเทคนิคและคุณภาพต่างๆของฝีมือ และความเชี่ยวชาญที่นำมาใช้ในช่วงสมัยนั้น

บรรดานักวิจารณ์ทั้งหลายก็เป็นผลิตผลของเวลาและสถานที่ของพวกเขาด้วยเช่นกัน. ความคิดจิตใจของพวกเขาได้รับการก่อตัวขึ้น ไม่เพียงแต่โดยความนึกคิดที่จำเพาะเท่านั้น แต่โดยไอเดียความคิดต่างๆในก่อนหน้านั้น ทั้งในด้านการเมือง, เศรษฐกิจ, สภาพสังคม, และศาสนา ซึ่งได้แพร่กระจายอยู่ในสังคมของพวกเขา พวกเขาอาจจะยอมรับหรือปฏิเสธความนึกคิดที่มีมาก่อนหน้านั้น แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้รับการก่อรูปก่อร่างขึ้นมาโดยสิ่งเหล่านั้นนั่นเอง

ทั้งศิลปินและนักวิจารณ์ คือผู้ซึ่งได้รับประโยชน์และตกเป็นเหยื่อของขนบประเพณีและวัฒนธรรม(they are both benefited and victimized by tradition) พวกเขาได้รับประโยชน์ก็เพราะว่า พวกเขารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ได้ผ่านไปแล้ว พวกเขาคือผู้ที่รับทอดสืบช่วงเกี่ยวกับความพยายามทางศิลปะต่างๆของอดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคนิค, วิธีการ, สไตล์, และความช่างคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์(creative ingenuity)

ส่วนการที่พวกเขาตกเป็นเหยื่อของขอบเขตอะไรก็ตาม ที่ผูกพันพวกเขากับขนบประเพณีนั้น มันอาจจะเก็บรักษาเขาจากการยอมรับคุณค่าในการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ, ในความผันแปร, และในทิศทางแปลกใหม่ของรูปลักษณ์ของศิลปะ

ศิลปินมาสู่โลกของงานศิลปะ นั่นเพราะ ผลลัพธ์ของอัตลักษณ์ส่วนตัวภายในของเขา(his inner dispositions), เบื้องหลัง(background), และพรสวรรค์หรือความสามารถพิเศษ(talent). ส่วนนักวิจารณ์เผชิญหน้ากับผลงานศิลปะนั้น ด้วย ผลลัพธ์อันเนื่องมาจากอัตลักษณ์ส่วนตัวภายในของศิลปิน, เบื้องหลัง, และทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับศิลปะ

ในด้านของศิลปิน, การตัดสินส่วนตัวได้สร้างผลงานศิลปะขึ้นมาชิ้นหนึ่ง. ส่วนในด้านของนักวิจารณ์, การตัดสินส่วนตัวเป็นการตีราคาและประเมินคุณค่าผลงานศิลปะชิ้นนั้น (On the side of the artist, individual judgment has made a work of art. On the side of the critic, individual judgment appraises and evaluates it)

อย่างที่ทราบกันถึงขอบเขตของการตัดสินที่มีลักษณะเป็นอัตวิสัย(subjective), หรือที่เป็นส่วนตัว ซึ่งถูกนำเข้าไปพัวพัน, เราสามารถที่จะทำให้การวิจารณ์ประเมินคุณค่าผลงานทางด้านศิลปะเป็นเรื่องของภววิสัย(objective), ปราศจากอคติอย่างสิ้นเชิง, หรือเป็นเรื่องของมาตราฐานได้หรือไม่? สำหรับคำตอบอันนี้ ขึ้นอยู่กับว่าขอบเขตของผลงานศิลปะสามารถที่จะได้รับการตัดสินโดยลำพังในฐานะที่เป็นงานศิลปะ และไม่ไปเกี่ยวข้องกับบริบทอื่นๆ อย่างเช่น ศีลธรรม, สังคม, หรือการเมืองได้หรือไม่?

มันไม่อาจที่จะมีมาตราฐานต่างๆที่เป็นภววิสัยโดยเบ็ดเสร็จสำหรับงานศิลปะใดๆอย่างนั้น ดังตัวอย่างเช่นในเรื่องของคณิตศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นศาสตร์ที่มีความแน่นอนมากที่สุด. เราไม่สามารถที่จะโต้แย้งถึงข้อเท็จจริงอันนี้ได้ที่ว่า 1 + 1 = 2. การตัดสินส่วนตัวไม่อาจเป็นเช่นนั้นได้

แต่ในบางกรณี อาจจะมีมาตราฐานที่เป็นภววิสัยอันนั้นในการตัดสินผลงานศิลปะด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอันนี้มันเป็นจริงในเรื่องราวที่เกี่ยวกับทางด้านเทคนิค

อย่างเช่นคำถามที่ว่า โน๊ตดนตรีที่เราได้ฟังนั้น ถูกเล่นออกมาอย่างถูกต้องแล้วใช่ไหม? หรือคำถามที่ว่า, จิตรกรคนนั้นได้มีการควบคุมฝีมือเกี่ยวกับการเขียนภาพลงบนผืนผ้าใบได้ดีแล้วใช่ไหม? เป็นต้น

มาตราฐานที่ค่อนข้างเป็นภววิสัยอันนั้นได้นำมาใช้กับการวิเคราะห์และการอธิบายผลงานศิลปะ นอกเหนือไปจากการอธิบายก็คือ "การตีความผลงานศิลปะ" และอันนี้คือสาระอันหนึ่งของการตัดสินส่วนตัวของนักวิจารณ์ (Beyond description is interpretation, and this is a matter of the private judgment of the crtitic)

นักวิจารณ์หลายๆคนอาจตีความผลงานศิลปกรรมในแนวทางที่ขัดแย้งกันต่างๆ มาตราฐานที่สามารถถูกนำมาใช้ในการตีความก็คือ"ความเป็นไปได้ที่มีเหตุผล"(plausibility) : ซึ่งอันนี้เป็นการตีความอันหนึ่งที่สามารถเชื่อถือได้ ใช่ไหม?

นักวิจารณ์ในฐานะที่เป็นนักตีความงานศิลปะจะตั้งคำถามที่ว่า : บทกวีบทนี้, หรือนวนิยาย, หรืองานจิตรกรรม, หรือภาพยนตร์เรื่องนี้ได้กล่าวอะไรออกมา? และในการให้คำตอบ นักวิจารณ์จะแสดงตัวของเขาเองออกมา, แต่ตามมาตรการบางอย่าง คำตอบของเขาจะต้องเข้ากัน หรือลงรอยกันกับผลงานศิลปะ

ยกตัวอย่างเช่น, ผลงานที่มีชื่อเสียงของ Pablo Picasso ที่ชื่อว่า "Guernica" เป็นการปฏิเสธเกี่ยวกับเรื่องของสงครามอันน่ากลัวใช่ไหม? นวนิยายเรื่อง "Madame Bovary" ของ Gustave Flaubert แสดงออกถึงความสำนึกทางสังคมของชนชั้นกลางใช่ไหม? ในทั้งสองกรณีข้างต้นนี้ คำตอบก็คือว่า"ใช่" ทั้งนี้เพราะ จากการตรวจสอบเกี่ยวกับผลงานแต่ละชิ้น ได้แสดงให้เห็นว่า การตีความเช่นนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้นั่นเอง

Nonartistic Standards (มาตรฐานที่ไม่เกี่ยวกับศิลปะ)
หนึ่งในการจัดการแสดงผลงานทางด้านศิลปะครั้งสำคัญของคริสตศตวรรษที่ 20 ก็คือ"นิทรรศการศิลปะสมัยใหม่นานาชาติ"(the International Exhibition of Modern Art) ได้จัดให้มีขึ้นในปี ค.ศ.1913 ณ ที่ the Regiment Armory in New York City. มันเป็นการนำเอาผลงานของศิลปิน Post-impressionist และ Cubist ของฝรั่งเศสเข้ามายังสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก

นิทรรศการศิลปะครั้งนี้เป็นการช็อคทางวัฒนธรรมแก่บรรดาจิตรกรชาวอเมริกัน และยิ่งช็อคมากกว่านั้นสำหรับสาธารณชนโดยทั่วไป. ศิลปินอเมริกันคนหนึ่ง, Kenyon Cox, ได้พูดถึงเกี่ยวกับ Paul Cezanne ว่าเขาเป็นจิตรกรที่"ปราศจากพรสวรรค์อย่างสิ้นเชิง"(he was "absolutely without talent). และ Vincent van Gogh ได้รับการพิจารณาว่า"ไม่มีทักษะความชำนาญที่จะระบายสีให้เรียบได้เลย"(too unskilled to give quality to an evenly laid coat of pigment)

แต่ในทุกวันนี้ Cezanne, Van Gogh, และศิลปินคนอื่นๆที่เป็นตัวแทนสำหรับการแสดงนิทรรศการในครั้งนั้น ศิลปินเหล่านี้ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นคนสำคัญในโลกของจิตรกรรมสมัยใหม่และเป็นผู้ส่งอิทธิพลให้กับลัทธิศิลปะในคริสตศตวรรษที่ 20

บรรดานักวิจารณ์ทั้งหลายและสาธารณชนโดยทั่วไป ผู้ซึ่งโจมตีการแสดงศิลปะ the Armory Show ต่างก็พิจารณาการแสดงนิทรรศการครั้งนี้ด้วยไอเดียและความคิดที่มีขอบเขตจำกัดเกี่ยวกับงานจิตรกรรมว่า ควรจะเป็นอย่างไร? พวกเขาล้มเหลวที่จะได้รับความประทับใจในงานศิลปกรรมเหล่านี้เนื่องจากความแปลกใหม่ และความแตกต่างไปจากสิ่งที่พวกเขารู้จักนั่นเอง

พวกเขายังล้มเหลวที่จะซาบซึ้งในเบื้องหลังทางวัฒนธรรมและสังคม ซึ่งสไตล์ทางศิลปกรรมใหม่ๆได้ถือกำเนิดขึ้นด้วย. ตามความเป็นจริงแล้ว, พวกเขาตัดสินผลงานศิลปะด้วยสาระที่ไม่ใช่มาตราฐานต่างๆทางด้านศิลปะ(nonartistic standards) นั่นคือ พวกเขาตัดสินมันโดยขนบประเพณี(judging it by tradition)

พวกเขาไม่ได้เห็นบรรดาศิลปินใหม่ๆในช่วงเวลาและสถานที่ของพวกเขา(did not see the new artist in their time and place). บรรดานักวิจารณ์ทั้งหลายได้ยึดฉวยศิลปกรรมใหม่ๆอันนี้ด้วยเบื้องหลังของวันเวลาและสถานที่อื่น และทำการตัดสินศิลปกรรมเหล่านี้. พวกเขาไม่ได้ค้นหาความดีเลิศเกี่ยวกับศิลปกรรมใหม่ในเทอมของตัวมันเอง แต่ค้นหามันในเทอมของยุคสมัยในอีกยุคหนึ่ง

ยังมีมาตราฐานที่ไม่เกี่ยวกับศิลปะอื่นๆอีกที่มักจะนำมาใช้ตัดสินผลงานทางด้านศิลปะเสมอๆ นั่นก็คือ เรื่องของ ศีลธรรม, ศาสนา, และการเมือง. หนึ่งในผลงานจิตรกรรมทั้งหลายในการแสดงศิลปะ the Armory Show ซึ่งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้กลายเป็นผลงานชิ้นหนึ่งที่มีชื่อเสียงในฐานะผลงานทางด้าน cubist ซึ่งสร้างขึ้นมาโดย Marcel Duchamp ภาพดังกล่าวมีชื่อว่า "Nude Descending a Staircase No.2" (ภาพเปลือยเดินลงบันได). ภาพนี้ได้รับการปรักปรำว่าเป็นงานศิลปกรรมที่เลว แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เป็นภาพที่ได้รับการคัดค้านและแสดงความไม่ยอมรับในด้านศีลธรรม

ผลงานศิลปะประเภทหนังสือ(วรรณกรรม) บ่อยครั้งที่สุด มักจะถูกคัดค้านแสดงการไม่ยอมรับมาจากด้านของศีลธรรมหรือความคิดเห็นทางศาสนา. Plato นักปรัชญากรีกลือนามได้ประณามนักกวีทั้งหลายและนักเขียนบทละคร ซึ่งสะท้อนออกมาจากอุดมคติของเขาเกี่ยวกับอุตมรัฐ ทั้งนี้เพราะกวีและนักเขียนบทละครทั้งหลายเหล่านั้น จะทำลายนโยบายของสาธารณรัฐลงไปนั่นเอง และนำทางผู้คนไปสู่หนทางที่ผิด

Plato เชื่อว่าบรรดานักกวีและนักเขียนบทละครทั้งหลาย พยายามโกหกเกี่ยวกับเรื่องของพระเจ้า, วีรบุรุษต่างๆ, และผู้คน. และนั่นเป็นเหตุให้การก่อตัวในเรื่องของคุณความดีในหมู่พลเมืองและความยุติธรรมของรัฐเป็นไปอย่างเชื่องช้า

ในช่วงระหว่างยุคกลาง รายชื่อหนังสือซึ่งไม่ควรที่จได้รับการอ่านได้ถูกส่งต่อกันลงมาโดยศาสนาจักร ทั้งนี้เพราะ หนังสือต่างๆบางเล่มถูกคิดว่าเป็นอันตรายต่อชีวิตทางด้านจิตวิญญานและทางรอด(salvation)ของคนเรานั่นเอง

ในคริสตศตวรรษที่ 20 ช่วงระหว่างการเถลิงอำนาจของ Adolf Hitler ภายใต้ระบอบสังคมนิยมแห่งชาติในเยอรมัน หนังสือต่างๆที่ถูกพิจารณาว่าจะโค่นล้มทำลายกฎเกณฑ์การปกครอง และพวกมันจะต้องถูกเผาทิ้งเพื่อทำลายให้สิ้นซาก

ก่อนหน้านี้ ในสหภาพโซเวียต, จีน, และประเทศสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์อื่นๆ, ผลงานทางด้านศิลปกรรมทั้งหลายจะได้รับการตัดสินบนพื้นฐานของสิ่งที่ได้รับการเรียกขานว่า"ลัทธิสัจจะสังคมนิยม"(socialist realism) อันนี้หมายความว่า ผลงานทางด้านศิลปะต่างๆจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับนโยบายต่างๆของรัฐ และจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากความคิดเห็นอันนั้น

ถ้าหากว่าผลงานศิลปกรรมชิ้นใดมิได้บรรยายหรือวาดภาพในเชิงสนับสนุน การดิ้นรนต่อสู้อันห้าวหาญของมวลชนเพื่อนำไปสู่การสร้างตัวของลัทธิสังคมนิยม มันก็จะได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นผลงานซึ่งมีคุณค่าความดีน้อยมาก โดยไม่ต้องคำนึงถึงความดีในเชิงศิลปะแต่อย่างใด. ด้วยเหตุนี้ ละครโอเปร่าเรื่อง"Lady Macbeth of Mzensk" ของ Dimitri Shostakovich, ซึ่งครั้งแรกได้นำออกแสดงในปี ค.ศ.1936 จึงถูกประณามในสหภาพโซเวียตและได้ถูกถอนการแสดงออกไป

โชคชะตาในอย่างเดียวกันได้บังเกิดขึ้นกับ Boris Pasternak ซึ่งเป็นเจ้าของนวนิยายเรื่อง"Doctor Zhivago". สำหรับนวนิยายเรื่องนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณคดีในปี ค.ศ.1958, แต่มันได้กระตุ้นปลุกเร้าความตรงกันข้ามอย่างมากในสหภาพโซเวียต ทั้งนี้เพราะมัน"เป็นตัวแทนท่าทีของการหมิ่นประมาทการปฏิวัติเดือนตุลา[ของปี ค.ศ.1907], ซึ่งประชาชนเป็นผู้กระทำการนี้ขึ้น, และการสร้างสังคมในสหภาพโซเวียต.

ภาคที่สอง : ประวัติศาสตร์การวิจาร์ศิลปะ(ในโลกตะวันตก)
สำหรับภาคที่สองนี้ เรียบเรียงขึ้นมาจากงานเขียนของ B. Ward Doubet ในหัวข้อเรื่อง Art Criticism; จาก The Grolier's Encycolpedia: Grolier Electronic Publishing, Inc.1993 ความว่าดังนี้

การวิจารณ์งานศิลปะ อาจได้รับการให้นิยามความหมาย ในฐานะที่เป็นกระบวนการเกี่ยวกับการตัดสินคุณภาพต่างๆในเชิงสุนทรีย์ของงานทางด้านทัศนศิลป์และโสตศิลป์, ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ งานจิตรกรรม, ประติมากรรม, และสถาปัตยกรรม, ละคร, ดนตรี, และวรรณกรรม แต่อย่างไรก็ตาม ได้รวมถึงวัตถุ"งานฝีมือ"ต่างๆเอาไว้ด้วย อันนี้ได้กลายเป็นขอบเขตความรู้ที่พิเศษในยุคสมัยใหม่

แต่การตัดสินต่างๆเกี่ยวกับผลงานทางด้านศิลปะนั้น ได้เริ่มปรากฏมีขึ้นมานับตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ในงานเขียนต่างๆที่เกี่ยวกับการพรรณาและกวีนิพนธ์, ประวัติศาสตร์, ตำรับตำราทางเทคนิคในด้านศิลปะ, และการสนทนาทางด้านปรัชญาเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์

ในโลกตะวันตก การไตร่ตรองเรื่องของศิลปะได้เริ่มสะท้อนออกมาโดยบรรดานักปรัชญาทั้งหลายในยุคกรีกโบราณ ดังเช่น Plato ได้สนทนาถึงเรื่องของสัดส่วน(proportion)ในฐานะที่เป็นต้นตอของความงาม, และการจำลองแบบ(momesis), หรือการเลียนแบบ(imitation), เป็นวิธีการขั้นแรกของศิลปะ

มาถึงยุคของ Aristotle ได้มีการจำแนกแยกแยะประเภทต่างๆของการเลียนแบบแตกต่างออกไป, และ Xenocrates ได้เขียนตำราทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับจิตรกรรมและประติมากรรม ซึ่งได้สนทนาไปถึงการสังเคราะห์ในเชิงอุดมคติเกี่ยวกับเรื่องของสัดส่วนและการเลียนแบบ(the ideal synthesis of proportion and imitation)ในเทอมเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของบรรดาศิลปินคลาสสิคของกรีก

ต่อมาในช่วงคริสตศตวรรษที่ 3 (สมัยกลางหรือยุคมืด), Plotinus ได้รวมเอารหัสยลัทธิ(ลัทธิความลึกลับ-mysticism)และลัทธิเพลโตใหม่(Neo-platonism)เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ภาพลักษณ์ต่างๆที่มีต้นตอจากพระผู้เป็นเจ้าและการตีความนั่นเอง(to give images a divine source and interpretation) ประกอบกับในยุค Byzantine ได้ใช้แสงและสีเพื่อมาปลุกเร้าจิตวิญญานที่อยู่เหนือขึ้นไป ซึ่งวางอยู่ข้างใต้สัญลักษณ์อันแฝงด้วยความหมาย และประดับประดาตกแต่งอัตลักษณ์ของศิลปะคริสเตียนในยุคกลาง

ในยุคสมัย Italian RENAISSANCE ของคริสตศตวรรษที่ 14-16 ได้มีการนำเอาแบบจำลองสมัยคลาสสิคกรีกมาเป็นพื้นฐานของงานศิลปะ. Leonardo da Vinci เขียนเอาไว้ว่า งานจิตรกรรมได้นำมาซึ่งความหมาย ที่ประกอบกันด้วยเหตุผลและคณิตศาสตร์ในปฏิบัติการที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง

งานเขียน "lives of the Artists"(1550)(ชีวิตความเป็นอยู่ของบรรดาศิลปิน) ซึ่งเป็นผลงานของ Giorgio VASARI, ในอีกด้านหนึ่ง, ได้เน้นเรื่องบุคคลิกภาพทางด้านศิลปะและความก้าวหน้าทางเทคนิคในฐานะที่เป็นมาตรวัดของศิลปะ ความสุดยอดซึ่งเขาพบเห็นก็คือ ความเป็นอัจฉริยะของ Michelangelo

สำหรับแนวความคิดของ Vasari เกี่ยวกับความเป็นอัจฉริยภาพคือ Neo-platonic ซึ่งถือว่าศิลปินที่มีแรงดลใจนั้น ได้สร้างสรรค์ความงามอย่างโลกๆขึ้นมาในฐานะที่เป็นผลสะท้อนของความสมบรูณ์แบบ(the Absolute) อุดมคติเช่นว่านี้ ได้อธิบายลักษณะศิลปะบารอคและสถาปัตยกรรมของคริสตศตวรรษที่ 17

ในช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 18 ความโน้มเอียงของนักเหตุผลนิยม(rationalist tendency)นำไปสู่กฎเกณฑ์และการหักห้าม(order and restraint) ประกอบกับความสนใจที่ถือกำเนิดขึ้นมาโดยการขุดค้นทางโบราณคดี(excavation)เกี่ยวกับจักรวรรดิ์โรมันที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ซึ่งได้ให้แรงดลใจแก่ลัทธิ NEO-CLASSICISM ที่ได้มีการเน้นถึงความแม่นยำถูกต้องต่อหุ่นจำลองต่างๆของกรีกและโรมัน มีการเริ่มศึกษาเรื่องของประวัติศาสตร์ศิลป์, สร้างพิพิธภัณฑ์ต่างๆ, และการจัดนิทรรศการทางด้านศิลปะสู่สาธารณชนเป็นประจำขึ้น

ทั้งหลายเหล่านี้มีกำเนิดขึ้นในช่วงของคริสตศตวรรษที่ 18 บทความต่างๆ หรือ reviews แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงนิทรรศการเหล่านี้, อย่างเช่น ผลงานที่เขียนขึ้นมาโดย Denis DIDEROT, ได้เป็นการเริ่มต้นขึ้นของการวิจารณ์งานศิลปะ อย่างที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้

ในช่วงต้นของคริสตศตวรรษที่ 19, ROMANTICISM, ถือเป็นลัทธิทางด้านศิลปะลัทธิหนึ่งที่เป็นปฏิกริยาทวนกระแสต่อความตีบตันของ Neo-Classic, และลัทธิ Romantic ได้เจริญเติบโตหยั่งรากไปตลอดทั่วทั้งยุโรป

ในประเทศอังกฤษ ผลงานจิตรกรรมภาพทิวทัศน์และสถาปัตยกรรมที่ฟื้นตัวขึ้นในแบบกอธธิคเป็นการตรึกตรองใคร่ครวญเกี่ยวกับเรื่อง"การระเหิดให้สูงส่งขึ้น"(the Sublime), ซึ่งศัพท์คำนี้หมายถึง ความรู้สึกที่ถูกยกระดับขึ้นและทำให้ปรากฏเป็นรูปร่างในแง่มุมที่น่าเกรงขามและแม้แต่ในแง่มุมที่น่ากลัวเกี่ยวกับธรรมชาติ

ในประเทศเยอรมัน นักปรัชญาในแนวอุดมคติ Georg Wilhelm Friedrich HEGEL อยู่นอกเหนือไปจากการฟื้นคืนทางประวัติศาสตร์ของลัทธิ neo-classicism ด้วยประวัติศาสตร์วิภาษวิธีของเขาเกี่ยวกับศิลปะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญในการพัฒนาทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและทฤษฎีทางศิลปะต่อมาภายหลัง

สำหรับ Hegel ประติมากรคลาสสิคทั้งหลายได้บรรลุถึงดุลยภาพที่สมบรูณ์อันหนึ่งระหว่าง "ความคิด" กับ"วัสดุ"(the classical sculptors had achieved a perfect balance between idea and material), แต่ในงานศิลปกรรมแบบโรแมนติค ความคิดมีอิทธิพลเหนือกว่าวัสดุ, มันยินยอมให้ศิลปินแสวงหาการเปิดเผยตัวของจิตวิญญาน (but in romantic art the idea predominates over the material, allowing the artist to seek the revelation of Spirit)

ในฝรั่งเศส, Eugene Delacroix ท้าทายต่อหลักการลัทธิ neo-classic ที่ได้รับการสนับสนุนโดย the Academie des Beaux Arts ด้วยผลงานจิตรกรรมในแบบโรแมนติคของเขา และได้รับการสนับสนุนในงานเขียนวิจารณ์ต่างๆของ Charles Baudelaire, ผู้ซึ่งได้วางคุณค่าในระดับสูงสุดบนความสามารถเกี่ยวกับการจินตนาการ

ส่วนศิลปินคนอื่นๆของฝรั่งเศสที่รับหลักการลัทธิสัจนิยม(REALISM) ก็ได้สร้างสรรค์ภาพงานในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคม(socially critical images)เกี่ยวกับชีวิตของคนเมืองและชนบท พวกชาวไร่ชาวนาในช่วงยุคสมัยของพวกเขา และปฏิเสธเนื้อหาเรื่องราวในแบบคลาสสิคและเชิงเปรียบเทียบที่แฝงความหมาย. ส่วนบรรดาศิลปินคนอื่นๆ, ทั้งในฝรั่งเศสและที่อื่นๆ, มีความเชื่อในศิลปะเพื่อศิลปะ(art for art's sake)

ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 บรรดาศิลปินในแนวทาง impressionists และ post-impressionists ได้ถูกปฏิเสธโดยวงการศิลปกรรมในสมัยนั้นซึ่งผูกติดอยู่กับขนบจารีต ดังนั้นจึงก่อให้เกิดศิลปินสมัยใหม่ที่เรียกว่า AVANT-GARDE, ในเวลาต่อมา และมันได้กลายมามีอิทธิพลครอบงำต่อศิลปะในคริสตศตวรรษที่ 20 ตามมา

เมื่อไม่นานมานี้ ศิลปะมักจะกลายมาเป็นเรื่องราวในทฤษฎีต่างๆทางปรัชญาเกี่ยวกับความรู้ ซึ่งได้ให้กำเนิดข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์ใหม่ๆอย่างกว้างขวางมากขึ้นตามลำดับ ยกตัวอย่างเช่น จิตวิทยาของฟรอยด์(Freudian psychology) และทฤษฎีต่างๆทางปรากฎการณ์วิทยาเกี่ยวกับเจตนาและความตั้งใจ(phenomeno logical theories of intentionality) ซึ่งได้แปรรูปความคิดต่างๆเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสัยของทั้งตัวศิลปินและผู้ดูไป และนำเสนอระดับต่างๆเกี่ยวกับความหมายใหม่ๆ และรูปแบบใหม่ๆของงานศิลปะขึ้นมา

ไอเดียความคิดที่ขจรขจายไปอีกอย่างก็คือว่า ศิลปะได้สร้างวิธีการอันหนึ่งเกี่ยวกับประสบการณ์ที่คล้ายๆกันกับ"ภาษา"ในการปฏิบัติการของมัน. การวิจารณ์ในแนวรูปทรงนิยม(formalist criticism)ได้พัฒนาความคิดเห็นอันนี้ขึ้นมา ซึ่งได้นำไปสู่การปกป้องเกี่ยวกับจิตรกรรมและประติมากรรมนามธรรม(Abstract Art)

นักวิจารณ์ในแนว formalist ที่เด่นๆอย่างเช่น Clive BELL และ Cement GREENBERG ได้ถกเถียงถึงความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่เป็นแก่นแท้ของรูปทรง, อย่างเช่น สี เส้น และองค์ประกอบ, และได้ยืนยันว่า"เนื้อหา"เป็นเรื่องรอง(representational content is secondary), กระทั่งรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่น่ารำคาญหรือทำให้เขว(distracting)เอาเลยทีเดียว (หมายเหตุ : โครงสร้างของศิลปะนั้น ประกอบขึ้นมาจาก 3 ส่วนคือ, รูปแบบ, เนื้อหา, และเทคนิค. นักวิจารณ์ในแนวรูปทรงนิยม จะเน้นพูดถึงเรื่องของรูปแบบและเทคนิค โดยไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของเนื้อหา)

แต่อย่างไรก็ตาม การวิพากษ์วิจารณ์ที่ควบคู่กันในแนวทางของพวก Marxist ได้กลายมามีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆโดยผ่านงานเขียนของนักทฤษฎีต่างๆอย่างเช่น Theodor ADORNO และ Water BENJAMIN

การวิจารณ์ในแนว Marxist ร่วมสมัย พยายามที่จะไปให้พ้นจากบทวิจารณ์ต่างๆในเชิงสังคมวิทยา ซึ่งในคริสตศตวรรษที่ 19 การวิจารณ์ในแนวทาง Marxist ได้ทำหน้าที่สำรวรตรวจตราเพื่อทำความเข้าใจปฏิกริยาต่างๆในเชิงวิภาษวิธีเกี่ยวกับรูปแบบทางด้านศิลปะ, เงื่อนไขต่างๆเกี่ยวกับผลิตผลของมัน, และการตีความทางด้านเนื้อหา, ซึ่งบ่อยครั้งมักจะใช้ระเบียบวิธีเกี่ยวกับโครงสร้างทางภาษาและมนุษยวิทยา(structural linguistics and anthropology)

ท่าทีหรือทัศนคติเกี่ยวกับการวิจารณ์ที่แผ่กว้างในช่วงทศวรรษที่ 1980s ก็คือ บทบาทที่เป็นไปในทางตรงข้ามกับพวก modernist avant-gards ยังคงขยายตัวต่อไป, ซึ่งได้นำไปสู่สภาพการณ์ต่างๆที่เรียกว่า eclectic condition แพร่หลายอยู่ทั่วไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นอัตลักษณ์ของ Postmodernism. (สำหรับคำว่า eclectic นั้นหมายความเกี่ยวกับ การนำเอาสิ่งที่ดีๆจากหลายๆแหล่งมารวมอยู่ด้วยกัน โดยไม่มีความสอดคล้องกัน ซึ่งเป็นลักษณะของศิลปกรรมหลังสมัยใหม่ มันคล้ายๆกับเป็นการผสมปนเป หรือลักษณะ hybrid)

ทฤษฎีเมื่อเร็วๆนี้ของ Post-Structuralism และทฤษฎีการตีความ(Interpretation Theory)ได้นำเสนอยุทธวิธีเกี่ยวกับการประเมินคุณค่าการวิจารณ์ ซึ่งได้รวมเอาความคิดเห็นอันหลากหลายและให้การยอมรับพื้นฐานอันไม่แน่นอน(คลุมเครือ - indeterminacy) ในเรื่องของความหมายด้วย

จะเห็นได้ว่า นับจากคริสตศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา การวิจารณ์ศิลปะได้พัฒนาไปมาก มีการนำเอาความรู้ในหลายๆสาขามาใช้เพิ่มเติมศักยภาพของการวิจารณ์ เพื่อให้เข้าใจถึงแง่มุมอื่นๆที่แฝงอยู่ในตัวศิลปิน ซึ่งสะท้อนถ่ายออกมาผ่านผลงานศิลปกรรมของพวกเขา ดังนั้น การสนใจแต่เฉพาะเรื่องราวของศิลปะ เรื่องของเทคนิค วิธีการ หรือองค์ประกอบของศิลปะแต่เพียงอย่างเดียว จึงไม่เพียงพออีกต่อไปสำหรับยุคนี้

อ้างอิง :
1. เรียบเรียงจากหัวข้อ CRITICISM ใน Compton's Interactive Encyclopedia: Version 1.01 vm: Compton's Newmedia. Inc: 1992 : (CD-ROM) (ไม่ระบุชื่อผู้เขียน)

2. เรียบเรียงจากงานเขียนของ B. Ward Doubet ในหัวข้อเรื่อง Art Criticism; The Grolier's Encycolpedia: Grolier Electronic Publishing, Inc.1993
(10-121038)

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

บทความทางศิลปะของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ (เฉพาะทางวิชาการเท่านั้น) หากประสงค์นำบทความชิ้นนี้ไปใช้ กรุณาแจ้งให้ทราบด้วยที่ midnightuniv(at)yahoo.com, midnight2545(at)yahoo.com พร้อมทั้งอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลตามสมควร

หากผู้อ่านหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาด font ลง จะแก้ปัญหาได้

Hospital de Arles. Vincent Van Gogh Diseny i manteniment de la web: Teresa Pedrol Aige
H
home
เรียบเรียงจากหัวข้อ CRITICISM ใน Compton's Interactive Encyclopedia: Version 1.01 vm: (CD-ROM)

ก่อนหน้านี้ ในสหภาพโซเวียต, จีน, และประเทศสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์อื่นๆ, ผลงานทางด้านศิลปกรรมทั้งหลายจะได้รับการตัดสินบนพื้นฐานของสิ่งที่ได้รับการเรียกขานว่า"ลัทธิสัจจะสังคมนิยม"(socialist realism) อันนี้หมายความว่า ผลงานทางด้านศิลปะต่างๆจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับนโยบายต่างๆของรัฐ และจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากความคิดเห็นอันนั้น

 

ถ้าหากว่าผลงานศิลปกรรมชิ้นใดมิได้บรรยายหรือวาดภาพในเชิงสนับสนุน การดิ้นรนต่อสู้อันห้าวหาญของมวลชนเพื่อนำไปสู่การสร้างตัวของลัทธิสังคมนิยม มันก็จะได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นผลงานซึ่งมีคุณค่าความดีน้อยมาก โดยไม่ต้องคำนึงถึงความดีในเชิงศิลปะแต่อย่างใด (ตัดมาบางส่วนจากบทความ)
ภาพเหมือนตัวบุคคล
Vincent van Gogh
ศิลปินชาวดัช
หนึ่งในจิตรกรที่มีชื่อเสียง
Post-Impressionism
Gogh, Vincent van, in full VINCENT WILLEM VAN GOGH (b. March 30, 1853, Zundert, Neth.--d. July 29, 1890, Auvers-sur-Oise, near Paris, France), generally considered the greatest Dutch painter after Rembrandt, and one of the greatest of the Post-Impressionists. He powerfully influenced the current of Expressionism in modern art. His work, all of it produced during a period of only 10 years, hauntingly conveys through its striking colour, emphatic brushwork, and contoured forms his keen observations of nature and the anguish of a mental illness that eventually resulted in suicide.

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90