เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยิน สมดุล และเป็นธรรม : ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 (ครบรอบ 3 ปี)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

การเพิ่มความใส่ใจในประเด็นเรื่องน้ำ อาหาร ความมั่นคง การศึกษา สุขภาพอนามัย และที่อยู่อาศัยให้เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิทางเศรษฐกิจ และสังคม ถือเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญ โดยได้พิจารณาจากประสบการณ์ที่ได้พบปะด้วยตนเองในหลาย ๆ ประเทศ ที่ได้มีโอกาสไปเยือนเมื่อครั้งเป็นข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน แต่ที่แน่นอนก็คือเรายังต้องใช้ความพยายามมากกว่านี้

ข้าพเจ้ายังคงตระหนักว่า ยุทธศาสตร์ในการทำงานสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่มีประสิทธิภาพนั้น มีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายที่จะทำให้กระบวนการโลกาภิวัตน์กลายเป็นพลังด้านบวกสำหรับประชาชนของโลกทุกคน ตามที่ผู้นำรัฐบาลต่าง ๆ ได้ประกาศเจตจำนงร่วมกันไว้ในปฏิญญาแห่งสหัสสวรรษขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2543"

ข้าพเจ้าเชื่อว่า เครือข่ายสิทธิมนุษยชนด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (ESCR-NET) จะมีบทบาทสำคัญในการระดมความร่วมมือจากกลุ่มต่าง ๆ ที่หลากหลายให้ร่วมกันผลักดันให้รัฐบาลต่าง ๆ ได้ดำเนินการตามที่ได้ประกาศเจตจำนงไว้ รวมถึงการเปิดเวทีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานที่จะใช้ กรอบกฏหมาย การผลักดันนโยบาย และเครื่องมือในการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน มาปรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหาตลาดโลกและกระบวนการการตัดสินใจได้อย่างไร?

ข้าพเจ้ายอมรับว่าเราประชาคมนักสิทธิมนุษยชนกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก

เมื่อสิบปีก่อน ผู้เข้าร่วมประชุมสิทธิมนุษยชนระดับโลกที่กรุงเวียนนา รู้สึกว่ามีความหวังต่ออนาคตของสิทธิมนุษยชน บรรยากาศในช่วงนั้นนักสิทธิมนุษยชนมีความรู้สึกว่าสงครามเย็นกำลังยุติลง และความแตกแยกทางความคิดเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนในช่วง 50 ปีที่ผ่านมากำลังจะเลือนหายไป

การประชุมระดับโลกที่เวียนนาได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีและมีความหมาย และได้ก่อให้เกิดทศวรรษแห่งการพัฒนาสิทธิมนุษยชนที่มีความสำคัญยิ่ง จากการตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาธิปไตย การพัฒนา และสิทธิมนุษยชน มาสู่การที่ระบบองค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ความก้าวหน้าที่สำคัญ ๆ เกิดขึ้นในหลายด้าน

เราก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ด้วยเหตุการณ์สำคัญที่ผู้นำรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ได้แถลงร่วมกันในปฏิญญาแห่งสหัสสวรรษขององค์การสหประชาชาติ ว่าประชาคมโลกได้ยืนยันในหลักการแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ สาระสำคัญของปฏิญญาดังกล่าวได้เน้นถึงความจำเป็นของความพยายามอย่างยั่งยืนในการสร้างอนาคตร่วมกัน บนพื้นฐานของความเป็นมนุษยชาติที่มีความหลากหลาย ซึ่งถือเป็นความหวังที่ดีที่สุดสำหรับศตวรรษที่ 21

แต่เพียงแค่ 1 ปี กับ 3 วัน หลังจากที่มีการรับรองปฏิญญาฉบับประวัติศาสตร์ เหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัวเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ในสหรัฐอเมริกาก็ได้อุบัติขึ้น นำมาซึ่งความแตกต่าง และความหวังที่เริ่มเลือนลาง นับแต่วันนั้น ความมุ่งมั่นซึ่งได้ประกาศไว้แต่เดิมก็ถูกลดทอนลงเรื่อย ๆ โดยลัทธิก่อการร้าย โดยความหวาดกลัวและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคต และ คำถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของสังคมที่เปิดกว้างที่จะรับค่านิยมสากล

สงครามในอิรักเป็นเหตุการณ์ล่าสุดและเป็นการทดสอบครั้งสำคัญที่สุดของความชอบธรรม และความเหมาะสมของระบบระหว่างประเทศในสถานการณ์ใหม่ของโลก

อันที่จริงแล้วความเจ็บปวดรวดร้าวของประชาชนส่วนใหญ่ มิได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักภายหลังจาก เหตุการณ์ 11 กันยายน 2544 ความไม่มั่นคงของมนุษย์เป็นความจริงที่เกิดขึ้นทุกวี่วันก่อนเหตุการณ์ 11 กันยายน 2541 ในขณะที่ประชาชนหลายร้อยล้านคนยังตกอยู่ในสภาวะยากจนทุกข์เข็ญอย่างเต็มรูปแบบ หรือในเขตแดนของความขัดแย้ง ฯลฯ

สำหรับคนเหล่านี้ ความไม่มั่นคงของมนุษย์อาจไม่เท่ากับผู้ที่ถูกกระทำโดยลัทธิก่อการร้าย แต่ประเด็นอยู่ตรงที่ว่า อาหารสำหรับวันพรุ่งนี้จะมาจากไหน จะหางานทำได้อย่างไรเพื่อที่จะมีรายได้เพียงพอที่จะจ่ายค่าบ้านพักสำหรับครอบครัว หรือหาหยูกยาสำหรับเด็ก ๆ ที่กำลังจะเสียชีวิต

แล้วเราจะไปที่ไหนกัน แล้วเราที่อยู่ในประชาคมสิทธิมนุษยชนจะทำอย่างไรให้ประชาคมโลกหันหลับมาให้ความสนใจต่อฉันทามติกรุงเวียนนา และสารัตถะสำคัญของปฏิญญาแห่งสหัสสวรรษซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของกฏหมายระหว่างประเทศ และความร่วมมือในการบรรลุถึงซึ่งความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมสำหรับประชาชนทุกผู้คน

ปัจจุบัน มีความจำเป็นที่จะมียุทธศาสตร์ใหม่สำหรับสิทธิมนุษยชน แม้ว่าการประชุมสิทธิมนุษยชนระดับโลกจะผ่านไปแล้วถึง 10 ปี ก็ตาม แต่ก็ยังต้องการความใส่ใจของรัฐ ของนักวิชาการ และ ของภาคประชาสังคมทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนา ภารกิจด้านสิทธิมนุษยชนที่ผ่านมาเรียกได้ว่าบรรลุผลในระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นในทางทฤษฎีหรือในการดำเนินการตามนโยบาย อย่างไรก็ดีสิทธิมนุษยชนมิได้เป็นเรื่องของนักกฎหมายเท่านั้น ยังมีภารกิจอีกมากที่จะต้องพัฒนาดำเนินการ รวมถึงการผนวกหลักการสิทธิมนุษชนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย และแผนการปฏิบัติการ

นอกจากนี้เรื่อง "ความมั่นคงของมนุษย์" มีความสำคัญอย่างมากที่จะเชื่อมประสานเข้าเป็นเนื้อเดียวกับสิทธิมนุษยชน ในขณะที่มีการผลักดันแนวคิด "แนวทางสิทธิมนุษยชนในการพัฒนา" (Right-based Approach) เข้ามาสู่ระบบขององค์การสหประชาชาติในทุกภาคส่วน ในขณะที่คณะกรรมาธิการความมั่นคงมนุษย์ขององค์การสหประชาชาติเพิ่งเผยแพร่รายงานฉบับล่าสุด ซึ่งจะได้เห็นการเชื่อมโยงกันระหว่างสิทธิมนุษยชน และความมั่นคงของมนุษย์ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่จะใช้ช่องทางคณะกรรมาธิการในการเน้นประเด็นสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย ตามที่บทรายงานฉบับดังกล่าวได้ระบุไว้

…ข้าพเจ้าเชื่อว่าพวกเราในประชาคมสิทธิมนุษยชนกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญยิ่ง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการกับความล้มเหลวของระเบียบปฏิบัติซึ่งเราได้เห็นว่าเป็นปัญหามานานกว่า 10 ปี เราคงต้องยอมรับว่ามีข้อจำกัดในทุก ๆ ด้าน ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศยังไม่สามารถจัดการกับความรับผิดชอบของผู้นำรัฐบาลของเขาเอง รวมถึงเรื่องการปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวง และการบังคับใช้กฎหมาย ประเทศร่ำรวยหลายประเทศยังคงล้มเหลวในการให้ความช่วยเหลือจนอย่างพอเพียง ต่อประเทศกำลังพัฒนาที่มุ่งหวังในการขจัดปัญหาความยากจน นักสิทธิมนุษยชนยังคงมีข้อจำกัดในการสื่อสารกับขบวนการทางสังคมอื่น ๆ ที่กำลังทำงานด้านความยากจน และการเลือกปฏิบัติ

แม้ว่าปัญหาเหล่านี้ยังดำรงอยู่ แต่เราก็ยังเชื่อมั่นว่าอนาคตจะแตกต่างไปจากนี้ เครือข่ายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของเราจะสามารถนำมาซึ่งโลกาภิวัตน์ที่นำโดยค่านิยมที่ดี และมีคุณธรรม เราจะสามารถแสวงหาหนทางใหม่ ๆ ในการนำมาซึ่งความก้าวหน้าของภารกิจที่จะบรรลุถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในทุกภูมิภาคของโลก ข้าพเจ้าเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าเครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเช่นท่านทั้งหลายจะเป็นกำลังสำคัญที่จะนำพาการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่เป็นธรรม

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน 2546.
บทความชิ้นนี้ได้รับจาก "Assembly of the Poor." ([email protected])

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

อดีตข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนสหประชาชาติระบุ
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนถดถอยหนักหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2544
นางแมรี โรบินสัน
อดีตข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ
กล่าวแสดงปาฐกถาพิเศษเนื่องในโอกาสการประชุมเครือข่าย
สิทธิมนุษยชนสากล ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2546 ที่โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 275 เดือนมิถุนายน 2546
หัวเรื่อง "ปาฐกถาเรื่องสิทธิมนุษยชน" โดย นางแมรี โรบินสัน
อดีตข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ
9 มิถุนายน 2546 ที่โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม

บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนสิทธิในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
หากนำไปใช้ประโยชน กรุณาอ้างอิงถึงแหล่งที่มาตามสมควร
(บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2545 - ความยาวประมาณ 3.5 หน้ากระดาษ A4)
สมาชิกและผู้สนใจ ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน
กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

อดีตข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนสหประชาชาติระบุ
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนถดถอยหนักหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน

เชียงใหม่ : นางแมรี โรบินสัน อดีตข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ กล่าวแสดงปาฐกถาพิเศษเนื่องในโอกาสการประชุมเครือข่ายสิทธิมนุษยชนสากล ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2546 ที่โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีสภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเซีย (Forum Asia) และศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นเจ้าภาพ มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 350 คนจากทั่วโลก ถือเป็นการประชุมครั้งสำคัญขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชนสากลอีกครั้งหนึ่งที่ได้จัดขึ้นในประเทศไทย

อดีตข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนกล่าวว่า
ในโอกาสที่เป็นการครบรอบ 10 ปีของการประชุมสิทธิมนุษยชนระดับโลกที่จัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2536 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ที่รัฐภาคีของสหประชาชาติได้รับรองปฏิญญา และแผนปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนเวียนนานั้น ได้ก่อให้เกิดคำถามว่า สถานการณ์สิทธิมนุษยชน หรือมรรควิธีของสิทธิมนุษยชนได้รับการยอมรับมากน้อยเพียงใด และหากว่าหลักการแห่งการแบ่งแยกมิได้ของสิทธิมนุษยชนใด ๆ ทั้งสิทธิด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิทธิพลเมือง และทางการเมืองยังไม่ได้รับการเชิดชูและยึดถือในประเทศต่าง ๆ ทั้งที่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนานั้น มาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลจะมีส่วนในการปรับเปลี่ยนหรือส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพลังของโลกาภิวัตน์อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร?