H
ลัทธิการก่อการร้ายในยุคหลังสมัยใหม่ ในสายตาของทุนนิยมอุตสาหกรรม (มุมมองแบบขวาๆ) เขียนโดย Water Laqueur
America's most wanted, (Osama bin Laden) in Afghanistan last September
ภาพประกอบโดยฝ่ายศิลป์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
home
บทความในเรื่องเหล่านี้ จะทยอยออกมาเป็นระยะเพื่อทำความเข้าใจปฏิบัติการเกี่ยวกับการก่อการร้ายในมุมมองของนักคิดต่างๆอย่างรอบด้านเพื่อการศึกษา
CP
MP
WB
Content P.
Member P.
Webboard
291044
Free Remote
Education For All

ลัทธิก่อการร้ายในยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern Terrorism) นักก่อการร้ายแห่งอนาคตจะมีลักษณะที่ไร้อุดมการณ์ เป็นไปได้มากที่จะอิงอาศัยหรือซ่อนตัวอยู่ในความไม่พอใจของคนกลุ่มน้อย, และยากที่จะจำแนกจากอาชญากรรมอื่นๆ, และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคทุนนิยมอุตสาหกรรม มันเป็นการคุกคามต่อสังคมที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

หลังการสิ้นสุดลงของศตวรรษที่ 19, ดูเหมือนว่าไม่มีใครที่จะปลอดภัยจากการถูกโจมตีจากผู้ก่อการร้าย. ในช่วงปี ค.ศ. 1894 นักอนาธิปไตยชาวอิตาเลี่ยนได้ลอบสังหารประธานาธิบดีฝรั่งเศส Sadi Carnot. ในปี ค.ศ.1897 พวกอนาธิปไตยได้จ้วงแทงจักรพรรดินี Elizabeth แห่งออสเตรียและได้ฆ่า Antonio Canovas, นายกรัฐมนตรีชาวสแปนิช. ในปี ค.ศ. 1900 Umberto I, กษัตริย์อิตาเลี่ยน, ตกอยู่ภายใต้การโจมตีของนักอนาธิปไตยอีกคนหนึ่ง; ในปี ค.ศ.1901 นักอนาธิปไตยชาวอเมริกันได้ฆ่า William McKinley, ประธานาธิบดีสหรัฐ.

ต้นฉบับจากข้อมูล ใน http://www.fas.org/irp/news/1996/pomo-terror.htm

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
(midnightuniv(at)yahoo.com)

Title: "Postmodern Terrorism." The terrorist of the future will be less ideological, more likely to harbor ethnic grievances, harder to distinguish from other criminals, and particular threat to technologically advanced societies. / By Walter Laqueur (แปลและเรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม / ความยาวประมาณ 14 หน้ากระดาษ A4)
ในท่ามกลางความตึงเครียดของโลกขณะนี้ มีเสียงเรียกร้องให้ไทย "เป็นกลาง" กันหนาหู
อเมริกันอ้างว่าตัวกำลังจะทำสงครามกับการก่อการร้าย ผมจึงไม่ทราบว่าเราเลือกที่จะเป็นกลางระหว่างอะไรกับอะไร

ผมอยากเดาว่าแนวคิดเรื่องความเป็น "กลาง" แบบนี้ เป็นแนวคิดฝรั่ง ไม่มีในวัฒนธรรมไทยมาก่อน คือเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น เราก็ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับว่าฝ่ายใดถูกหรือฝ่ายใดผิด กล่าวคือ ไม่สนับสนุนทั้งฝ่ายถูกและฝ่ายผิด

แนวคิดว่ามนุษย์สามารถยืนอยู่ตรงกลางระหว่างความขัดแย้ง คงไม่ใช่ของใหม่ในวัฒนธรรมไทย แต่แนวคิดว่ามนุษย์สามารถยืนอยู่ตรงกลางระหว่างสิ่งที่ถูกและสิ่งที่ผิด นี่สิครับที่ผมสงสัยว่าไม่เคยมีอยู่ในวัฒนธรรมไทย

ในอินทภาษ ท่านสอนให้ตุลาการขจัดอคติสี่ เพื่อจะได้มีใจเที่ยงตรง หรือพูดภาษาสมัยใหม่ก็คือเป็นกลาง แต่เป็นกลางก็เพื่อจะได้มองเห็นความผิดความถูกได้อย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และไม่เข้าข้างตัวเองด้วย

ตีพิมพ์ครั้งแรกใน มติชนสุดสัปดาห์ วันอังคารที่ 9 ตุลาคม 2544
(ความยาวประมาณ 4 หน้ากระดาษ A4)
หากภาพ และตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาด font ลงมา จะแก้ปัญหาได้

สำนวนไทยที่ว่า "ไม่เข้าใครออกใคร" เดี๋ยวนี้ใช้กันในความหมายถึงอิทธิฤทธิ์ของเงินตราหรือกามารมณ์ว่า ยั่วให้ทุกคนไม่ว่าหน้าอินทร์หน้าพรหมที่ไหน ประพฤติผิดได้หมด แต่ผมเข้าใจว่า แต่เดิมไม่ได้หมายความอย่างนี้ หากหมายรวมถึงการไม่มีความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดด้วย

ที่น่าสังเกตก็คือ การที่ใครจะ "ไม่เข้าใครออกใคร" ได้นั้น เขาต้องรู้ด้วยว่าอะไรผิด อะไรถูก เพราะคนที่ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก ก็อาจจะหลงไปเข้าหรือออกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยไม่รู้ตัวได้

ความเป็นกลางแบบไทยจึงต้องมีมาตรฐานทางศีลธรรมรองรับครับ ไม่ใช่เพียงสักแต่ประกาศความเป็นกลาง เพื่อไม่ให้ใครมาถล่มเรา หรือปิดตลาดเราเท่านั้น

ความหมายของความเป็นกลางอย่างนี้อาจไม่ใช่ของไทยเพียงผู้เดียว อาจเป็นสมบัติของโลกตะวันออกอีกหลายชาติด้วย น่าสังเกตนะครับว่า ในช่วงสงครามเย็นนั้น เมื่อท่านนายกรัฐมนตรี ยวาระหะลัล เนห์รู แห่งอินเดีย เรียกร้องให้ประเทศทั้งหลายวางตัวเป็นกลางนั้น ท่านอธิบายชัดเจนว่า เพื่อระงับมิให้สงครามทำลายล้างหฤโหดระหว่างมหาอำนาจนิวเคลียร์เกิดขึ้น ความเป็นกลางคือพันธะหน้าที่ของอารยชนที่จะรักษาชีวิตของมวลมนุษยชาติ ไม่ใช่กลไกรักษาความอยู่รอดปลอดภัยของตัวแต่ผู้เดียว

ฉะนั้น ผมจึงคิดว่าการเรียกร้องให้ไทยเป็นกลาง ควรมีความหมายมากกว่าความเป็นกลางระหว่างการก่อการร้ายและสันติสุขของโลก แต่น่าจะหมายถึงความพยายาม (อย่างน้อยก็ของคนไทย แม้ไม่ใช่ของรัฐบาลไทยก็ตาม) ที่จะผดุงสันติสุขบนพื้นโลกนี้อย่างจีรัง ขจัดการก่อการร้ายทุกรูปแบบให้หมดไปจากโลก ด้วยสันติวิธี

อะไรคือการก่อการร้าย
คงง่ายเกินไปกระมังถ้าคิดแต่เพียงการระเบิดพลีชีพทั้งหลาย หรือการทำลายล้างชีวิตและทรัพย์สินของคน "ที่ไม่เกี่ยวข้อง" ด้วยความรุนแรงเท่านั้น คือการก่อการร้าย

คำว่าก่อการร้ายในภาษาฝรั่ง คือก่อให้เกิดความสะพรึงกลัว แต่จะเรียกแม่นากพระโขนงว่าเป็นนักก่อการร้ายไม่ได้ เพราะฝรั่งหมายถึงการสร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินของฝ่ายศัตรู โดยไม่มีจุดมุ่งหมายอื่นมากไปกว่าการก่อให้เกิดความสะพรึงกลัว และเพราะต้องการความสะพรึงกลัวเป็นเป้าหมาย จึงมักกระทำแก่ผู้ที่ไม่อยู่ในฐานะจะต่อสู้ได้ เช่น พลเรือน หรือผู้โดยสารบนเครื่องบิน หรือคนที่จัดว่า "ไม่รู้อีโหน่อีเหน่" ทั้งนี้ ก็เพราะจะหาความน่าสะพรึงกลัวอะไรมากไปกว่าสร้างความไม่มั่นคงปลอดภัยแก่วิถีชีวิตที่ถือว่าปกติได้อีกเล่า

แต่การที่ฝูงบินเยอรมันโจมตีอังกฤษระหว่างสงครามโลก ที่เรียกกันว่า การรบแห่งบริเตน มักไม่จัดเป็นการก่อการร้าย ทั้งๆ ที่เป้าหมายของการทิ้งบอมบ์คือพลเรือน ก็เพราะชีวิตยามสงครามย่อมไม่ปกติอยู่แล้ว บอมบ์ไม่ทำลายชีวิตปกติ เพราะชีวิตปกติของอังกฤษถูกทำลายไปตั้งแต่เข้าสงครามแล้ว

ตรงกันข้าม แผนการของฝ่ายสหรัฐในอันที่จะส่งกำลังไปเจาะฐานที่มั่นของฝ่ายอัลเควด้าในอัฟกานิสถานได้ ไล่ล่าไปเรื่อยๆ จนต้องวิ่งหลบซ่อนไปเรื่อยๆ โดยไม่สามารถปฏิบัติการเป็นฝ่ายรุกได้ ถือว่าทำลายชีวิตปกติของกลุ่มอัลเควด้า ย่อมเป็นยุทธวิธีของการก่อการร้ายอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเรียกมันว่าอะไรก็ตาม

กล่าวโดยสรุป ผมนิยามการก่อการร้ายว่า คือการทำลายชีวิตและทรัพย์สินจนกระทั่งวิถีชีวิตปกติของสังคมหรือชุมชนใดไม่อาจดำรงอยู่ได้นั่นเอง

และด้วยเหตุดังนั้น การก่อการร้ายจึงอาจเกิดขึ้นโดยไม่ต้องใช้ระเบิด, วางเพลิง, ลอบสังหาร ฯลฯ ตามสูตรสำเร็จทั่วๆ ไปก็ได้

การก่อการร้ายกลายเป็นการกระทำปกติที่มนุษย์กระทำต่อกันในโลกปัจจุบันทั่วไป ส่วนหนึ่งของอำนาจในด้านลบ (coercion) ที่รัฐ, บริษัทข้ามชาติ, มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการทหาร ใช้เพื่อจัดระเบียบในโลกนี้ตามอำเภอใจของตัว ก็คือการก่อการร้ายนั่นเอง นั่นก็คือ ทำลายชีวิตและทรัพย์สินของคน "ไม่รู้อีโหน่อีเหน่" จนกระทั่งวิถีชีวิตปกติของผู้คนไม่มีความมั่นคงอีกต่อไป

เด็กนับแสนในอิรักซึ่งไม่รู้อีโหน่อีเหน่ต้องล้มตายหรือพิการ เพราะนโยบายบอยคอตซึ่งสหรัฐยืนยันจะใช้กับอิรักอย่างไม่ยอมลดราวาศอก ประชาชนเชื้อสายอินเดียนในบราซิลถูกฆ่า หรือถูกขับไล่ออกไปจากป่าซึ่งเป็นแหล่งทำมาหากินของเขา เพราะรัฐบาลออกกฎหมายให้เอกชนบุกเบิกป่าเพื่อเลี้ยงวัวไปขายแก่สหรัฐ ผู้คนอีกหลายแสนในโลกถูกขับไล่จากที่ทำกินเพื่อสร้างเขื่อนพลังไฟฟ้าขนาดใหญ่ ผู้ป่วยเอดส์อีกเป็นล้านต้องทนทุกข์ทรมานเพราะเข้าไปไม่ถึงยาซึ่งบริษัทข้ามชาติหวงแหนไว้ทำกำไรในลักษณะผูกขาด

จาระไนอย่างไรก็ไม่สิ้นสุด

ทั้งหมดเหล่านี้คือการก่อการร้าย ไม่ต่างไปจากการใช้ระเบิดพลีชีพ และถ้าไม่นับการกระทำเหล่านี้ว่าเป็นการก่อการร้าย ระเบิดก็เป็นเรื่องตลกที่ระคายเคืองมนุษย์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เพราะชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนได้ถูกทำลายไปเพราะการก่อการร้ายที่ไม่ใช้ระเบิดมากกว่าที่ใช้ระเบิดอย่างเทียบกันไม่ได้เลย

ปฏิบัติการสงครามที่ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศแก่การก่อการร้ายจึงไร้ความหมาย ถ้าเป้าหมายมีเพียงการทำลายล้างคนใช้ระเบิดหยิบมือเดียวในโลก อีกทั้งไม่มีวันที่ระเบิดจะยุติความเกลียดชังของระเบิดไปได้ นอกจากทำให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของคน "ไม่รู้อีโหน่อีเหน่" อีกเป็นแสนเป็นล้าน

อย่างที่ประชาชนอัฟกันบางกลุ่มต้องเริ่มกินหญ้าแล้วในเวลานี้ เพราะไม่มีอะไรจะกิน ภาพของผู้คนอพยพหนีตายไปอยู่ตามชายแดน เป็นการทำลายวิถีชีวิตปกติของเขาอย่างชัดเจนที่สุด

เราจึงไม่อาจวางตัวเป็นกลางระหว่างการก่อการร้ายและสันติสุขบนพื้นโลกนี้ได้ เรารู้แน่ว่าปฏิบัติการสงครามของสหรัฐ จะไม่อาจขจัดการก่อการร้ายในทุกรูปแบบไปได้ ร้ายไปกว่านั้น อาจเป็นเหตุให้มีการจัดระเบียบโลกในทิศทางที่การก่อการร้ายโดยไม่ใช้ระเบิดยิ่งรุนแรงขึ้นด้วยซ้ำ

แน่นอนว่าจำเป็นต้องจัดระเบียบโลกใหม่ให้ปราศจากการก่อการร้ายทุกรูปแบบ แต่รัฐบาลของทุกประเทศในโลกกลับไม่มีอำนาจที่จะทำอะไรเพื่อยุติการก่อการร้ายได้ เพราะดังที่กล่าวแล้วว่า การก่อการร้ายกลายเป็นกลไกอำนาจอย่างหนึ่งที่รัฐบาลทุกรัฐบาลล้วนใช้กับประชาชนของตน หรือกับศัตรูของตนทั้งสิ้น

ผมคิดว่านี่เป็นวิกฤตของโลกปัจจุบัน เราทุกคนต่างมองเห็นสายโยงใยอันยืดยาวของการก่อการร้าย จากห่วงโซ่หนึ่งไปอีกห่วงโซ่หนึ่ง กว่าจะถึงระเบิดพลีชีพซึ่งเป็นห่วงโซ่ท้ายๆ แต่เรากลับไม่สามารถทำอะไรกับการก่อการร้ายได้นอกจากที่ห่วงโซ่อันท้ายๆ

ผมไม่คิดว่าจะมีรัฐบาลของชาติใด สามารถนำเราออกไปจากห่วงโซ่อันยืดยาวของการก่อการร้ายได้ แต่ผมหวังว่าประชาชนในโลกจะสามารถยื่นมือออกมาจับกัน สร้างพลังที่จะทำให้รัฐต่างๆ ต้องหันมาร่วมกันสร้างระเบียบโลกใหม่ ที่ไม่มีการใช้การก่อการร้ายเป็นเครื่องมือ และไม่ปล่อยให้ใครใช้การก่อการร้ายเพื่อหาผลประโยชน์ใส่ตัวอีกต่อไป

แม้ในท่ามกลางเวลาอันมืดมิดของการล้างแค้นเช่นขณะนี้ ก็ได้เห็นการรวมตัวของประชาชนพลโลก ที่จุดนี้บ้าง จุดนั้นบ้างอยู่ทั่วไป เพื่อยับยั้งการใช้การก่อการร้ายของสหรัฐ เพื่อยับยั้งการก่อการร้ายของคนกลุ่มอื่น รวมทั้งยับยั้งการก่อการร้ายของบริษัทข้ามชาติและรัฐต่างๆ ที่กระทำต่อพลเมืองของตนเอง

พอจะหวังได้หรือไม่ว่า การรวมตัวกันเช่นนี้จะขยายเครือข่ายออกไปให้เร็วพอที่จะหยุดยั้งทางเดินสู่หายนะของโลกได้

126/1
126/2

ผมรู้สึกว่ามันมีวิกฤติบางอย่างเกิดขึ้นในโลกปัจจุบันนี้ เนื่องจากกรณีถล่มตึก World Trade Center เป็นวิกฤติที่ผมคิดว่ามีความสำคัญ แล้วก็มองไม่เห็นทางว่า เราจะออกจากวิกฤตนี้ได้อย่างไร ผมขอพูดตามทัศนะของผม คืออย่างนี้

เมื่อตอนที่เขาเอาเครื่องบินถล่มตึก World Trade Center แล้วทำให้ให้คนตาย 4-5 พันคน ผมคิดว่า ไม่ว่าใครก็แล้วแต่ซึ่งนั่งอยู่ในที่นี้ แล้วเป็นประธานาธิบดีเหมือนกัน จะออกมายิ้มแฮะๆ. อันนี้คุณทำไม่ได้ คุณจะต้องประกาศท่าทีอะไรบางอย่างที่สำคัญแล้วก็สนองตอบต่อความรู้สึกของประชาชน 200 กว่าล้านคนที่เป็นชาวอเมริกัน และผมคิดว่าใครก็ตามแต่ ในสังคมที่มีสื่อที่ดีขนาดนั้น แล้วก็มีการถล่มตึกแบบนี้ และคนตายถึง 4-5 พันคนอย่างนี้ ผมว่าไม่ต้องมีใครไปปลุกกระแสชาตินิยมหรอก มันเกิดขึ้นเองของมันอยู่แล้ว

การที่นักการเมืองจะออกมาบอกว่า การแก้แค้นคือมนุษย์ การให้อภัยคือพระเจ้า หรืออะไรก็ตาม ผมคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ คุณจะต้องทำอะไรบางอย่าง. ทีนี้อะไรบางอย่าง คุณควรจะทำแค่ไหนถ้าคิดถึงกาลระยะยาว

ถ้าคิดถึงกาลระยะยาว ผมก็คิดไม่ออกเพราะไม่ใช่นักการเมืองว่า ควรทำแค่ไหนเพื่อให้ประชาชนรู้สึกว่า โอเค มันเดือดร้อน รัฐบาลก็เดือดร้อน และรัฐบาลจะต้องจัดการปัญหาเรื่องนี้ แต่จะไม่ผูกมัดตนเองเพื่อเข้าไปสู่สิ่งที่ประธานาธิบดีบุชได้ผูกมัดไปแล้ว จนทำให้เกิดปัญหาความยุ่งยาก หรืออย่างที่ทราบกันเรื่องของปัญหาความรุนแรง...ซึ่งจะยืดเยื้อแน่ๆ จะทำอย่างไรผมก็นึกไม่ออก

แต่ทีนี้ที่มันเป็นวิกฤตก็คือ จริงๆแล้วนี่ในโลกเราทั้งหมด แม้แต่ในอเมริกาเอก็รู้ว่าสาเหตุสำคัญของการถล่มตึกครั้งนี้ มันไม่ได้เกิดขึ้นจากคนบ้าๆกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นนายบินลาเดนหรือไม่ก็ตามแต่เท่านั้นนะที่ไปถล่มตึก แต่มันเกิดขึ้นจากการกระทำของอเมริกันเองด้วย ในครั้งที่บุชพูดกับสภาคองเกรส บุชก็บอกเอง แต่พูดในตอนท้ายซึ่งไม่ได้พูดในตอนแรกว่า อเมริกันจำเป็นจะต้องปรับนโยบายต่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับท่าทีของตนเองด้วย แสดงว่าทุกคนยอมรับว่า สาเหตุสำคัญของความเกลียดชังอเมริกัน มันเกิดขึ้นมาจากการกระทำของอเมริกันเองที่ผ่านมาตลอดเวลา แล้วอเมริกันเองได้สร้างความรุนแรงเยอะแยะไปหมด

ไอ้คำว่า terrorism ในภาษาอังกฤษ มันไม่ค่อยดี รู้สึกมีคนนำมาพูดบอกว่า จุดมุ่งหมายของ terrorism คือทำให้เกิด terror (ความน่าสะพรึงกลัว)ขึ้น ซึ่งผมว่าถ้ามองในรูปนั้น อเมริกันได้สร้าง terror ในรูปต่างๆแยะมาก รวมทั้งในเมืองไทยด้วย เป็นต้นว่า การที่เศรษฐกิจของเราพังหมด การที่คนตกอยู่ในความหวาดกลัวเป็นล้านๆคน เยอะแยะไปหมด เพราะฉะนั้น อเมริกันมีศัตรูเยอะมากจากการกระทำของอเมริกันเอง และสิ่งที่จะแก้ปัญหาเรื่องการก่อการร้ายได้ มันต้องปรับความสัมพันธ์ของทั้งทุกประเทศในโลกนี้เสียใหม่

เราต้องสร้างระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกชนิดหนึ่งที่เพิ่มอำนาจต่อรองสำหรับคนเล็กๆ ประเทศเล็กๆ ไม่ว่าในทางการเมืองหรือเศรษฐกิจมากขึ้นกว่านี้ ผมคิดว่าอันนี้ค่อนข้างที่จะชัดเจน ทุกคนเห็นพ้องต้องกันหมดว่า มันควรจะต้องออกมาในรูปนี้

แต่ที่น่าตกใจก็คือว่า หนทางที่จะออกมาสู่รูปนี้ มันไม่ง่ายอย่างที่เราพูดคุยกันในมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนวันนี้ เอาตัวอย่างประเทศไทยก็ได้ ถามว่า ถ้าเราเป็นนายกรัฐมนตรีประเทศไทย เราจะกล้าไหมที่จะออกมาบอกอเมริกาว่า เฮ้ย! ใจเย็นๆ ความผิดทั้งหมดนี่เองมีส่วนอยู่เกิน 50 เปอร์เซนต์ ผมคิดว่าประเทศไทยไม่อยู่ในฐานะที่จะพูดอย่างนั้นได้ในอารมณ์ของอเมริกันในขณะนี้ อย่างไรก็แล้วแต่ เรามีตลาดส่งออกอเมริกาใหญ่มาก ประมาณ 20 กว่าเปอร์เซนต์ ที่เราพึ่งพาการส่งออกไปยังอเมริกา เพราะฉะนั้น เราจะทำอย่างนั้นก็ไม่ได้

ถามว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน หรือประเทศ EU ทั้งหมด มีไหมที่จะสามารถไปจับแขนอเมริกัน แล้วบอกว่าให้ใจเย็นๆ คุณก็มีส่วนผิดด้วย. ผมว่าไม่ได้นะครับ เพราะว่าระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่อเมริกันกระทำย่ำยีผู้อื่นนั้น ก็ไม่ใช่ว่าประเทศ EU ไม่ได้ทำ. มันก็ทำอย่างเดียวกันนี้มา แล้วก็สืบทอดประวัติกันมาเป็นร้อยๆปีของมาตรการกระทำย่ำยีประเทศอื่นๆอย่างนี้

การปรับเปลี่ยนอะไรตรงนี้ มันหมายถึงการปรับเปลี่ยนมากทีเดียว ไม่ใช่เฉพาะอเมริกา, EU ก็ต้องเปลี่ยนเช่นเดียวกัน เรื่องมันใหญ่มาก จนกระทั่งผมคิดว่า รัฐบาลของ EU ทั้งหมด ก็เหลือทางเลือกน้อยมาก คือหมายความว่า เมื่ออเมริกันบอกว่า เฮ้ย! กูโดนแบบนี้ กูจะต้องล้างแค้นมัน มึงจะเอากับกูหรือเปล่า.

ในฐานะประเทศ EU ผมคิดว่า จะมีหน้าไหน ที่จะมาบอกว่า เฮ้ย! กูไม่เอากับมึง อันนี้มันเป็นไปไม่ได้... มันต้องเอา. อันนี้ก็เป็นวิกฤต เรากำลังนำโลกทั้งหมดไปสู่อะไรที่มันรุนแรงมากขึ้น แล้วก็ไม่ได้แก้ปัญหาการก่อการร้าย ทุกรูปแบบนะ ไม่ว่าการก่อการร้ายโดยการถล่มตึก การก่อการร้ายแบบถล่มเงินบาท ก็เป็นการก่อการร้ายด้วยกันทั้งคู่ อันนี้ไม่สามารถยุติการก่อการร้ายได้ ทั้งๆที่ทุกคนมองเห็นว่า เรากำลังเดินไปทางไหน แต่เราไม่สามารถยุติมันได้

ผมคิดว่านี่เป็นครั้งแรกที่สื่อมวลชนอเมริกัน ซึ่งก็ไม่ใช่สื่อมวลชนที่ดีเลิศอะไรนะ แต่เป็นครั้งแรกที่สื่อมวลชนอเมริกันโดนกระแส คล้ายๆกระแสไทยรักไทยในเมืองไทย บีบจนกระทั่งว่าคุณขยับอะไรไม่ค่อยออก พวกสื่อของรัฐบาลอเมริกัน เช่น VOA (Voice of American) คือ VOA นี่เป็นสื่อที่ไม่เสรีมานานแล้วเมื่อเทียบกับ BBC. แต่วันหนึ่ง VOA คิดว่า เขาจะออกอากาศการสัมภาษณ์บินลาเดน ประมาณ 10 นาที เขาได้เทปอันนี้มา

มีคำสั่งจากรัฐบาลห้าม ไม่ให้เอาเสียงของผู้ก่อการร้ายออกวิทยุที่ได้รับเงินสนับสนุนมาจากภาษีของคนอเมริกัน ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แม้ว่ารัฐบาลอเมริกันจะเคยแทรกแซง VOA มาตลอด แต่เขาจะแทรกแซงด้วยวิธีลับๆ เขาจะไม่ทำเปิดเผยแบบนี้ การที่รัฐบาลอเมริกันกล้าสั่งโดยเปิดเผยกับ VOA แบบนี้ มันข้ามรัฐธรรมนูญอเมริกัน มันข้ามทุกอย่างหมด โดยไม่กลัวเลย และโดยที่สังคมอเมริกันยินยอมด้วย

อีกคนหนึ่งซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์อเมริกัน ที่เขียนบทความซึ่งฟังดูแล้วผมว่าก็ไม่ค่อยได้เรื่องเท่าไหร่ อยู่แถวโอเรกอน ได้โจมตีประธานาธิบดีบุชว่าขี้ขลาด คือพอโดนโจมตีระเบิดตึก แทนที่จะกลับวอชิงตัน กลับไปอยู่เสียที่อื่น ปรากฏว่าคนอ่านหนังสือพิมพ์ได้เขียนมาด่าหนังสือพิมพ์นี้กันใหญ่ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับนี้จึงไล่นักเขียนคนนี้ออก

คือมันมีบรรยากาศหลายอย่างด้วยกันที่มันค่อยๆเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะสื่อมวลชนอเมริกันเอง สัก 70-80 เปอร์เซนต์ของสื่อมวลชน ดูเหมือนมันจะเป็นบ้าไปแล้ว ไม่มีใครที่จะคิดอะไรอีกแล้ว ไม่ว่าจะ Time หรืออะไรก็แล้วแต่ ต่างเชียร์เรื่องสงครามกันเป็นบ้าเป็นหลัง โดยไม่มองอย่างอื่น

หันกลับมาดูประเทศอื่นๆบ้าง ถามว่าพวกเรา... พวกเราไม่เป็นไรหรอก มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะออกแถลงการณ์อย่างไรก็ออกได้ เพราะว่ามันไม่มีความหมายอะไร มันเล็กเกินกว่าที่จะมีความหมายอะไรได้ แต่ถ้ามันมีความหมายมากกว่านี้ ถามว่า เป็นไปได้ไหมที่ประเทศเล็กๆอย่างเรา ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย อินโดนีเซีย หรือใครก็แล้วแต่ จับมือกันเพื่อที่จะดึงให้โลกยุติ terrorism ในความหมายกว้าง ไม่ใช่ในความหมายแบบถล่มตึก ทั้งหมดจับมือกันแล้วหันไปหาต้นตอของปัญหากันจริงๆ ช่วยกันในการที่จะยุติ terrorsim ในโลกนี้จริงๆ. ผมดูแล้วรู้สึกว่าไม่มีเลย ไม่มีแววเลยจริงๆ. แต่แน่นอน เราไม่หวังว่าผู้นำประเทศไทยจะมีกึ๋นถึงขนาดนั้น ไม่ว่าจะเป็นคุณทักษิณหรือไม่

หันไปดูอินเดียบ้าง ถ้าเป็นสมัยเนห์รูมีชีวิตอยู่ ก็เป็นไปได้ว่า เนห์รูอาจจะเป็นคนเริ่มต้นในการดึงนานาประเทศมาประชุมร่วมกัน แล้วก็หาหนทางในการที่จะยับยั้ง ยุติการก่อการร้ายในทุกรูปแบบได้. แต่เวลานี้ผมกวาดดูไปทั้งโลก ผมมองไม่เห็น ถามหาปัญญาชนคนที่ได้ Nobel Prize ที่มีชีวิตเหลือรอดอยู่ในอเมริกา คือคนที่เป็นฆาตกรโหดที่สุดคือคิสซิงเจอร์ ไอ้นี้เป็นทั้งคนฆ่าประธานาธิบดีชิลี เป็นคนที่ฆ่าคนในเขมรไม่รู้กี่ร้อยกี่พันคน ไอ้นี่ได้รางวัลสันติภาพ ผมก็ไม่รู้ว่าเราจะไปหวังพึ่งใครในเวลานี้ ก็มองไม่เห็น ซึ่งเป็นวิกฤตที่ผมหาทางออกไม่เจอ

หลังที่ผมพูดจบแล้ว กรุณานะ อย่าพูดถึงเรื่องของธรรมะของความสงบ ผมรู้ ผมยอมรับทั้งนั้น แต่ทำอย่างไรให้ธรรมะอันนั้น สามารถถูกนำมาใช้ได้จริงในโลกนี้ ผมก็ยังมองไม่ออกเหมือนกัน

...เวลานี้มี website อยู่หลาย website ขอให้เราร่วมเซ็นชื่อ เพื่อจะยุติหรือยับยั้งการทำสงครามของอเมริกัน ซึ่งผมคิดว่าน่าจะช่วยกันระดม อันนี้ก็เป็นเครือข่ายที่สร้างกันขึ้นมา แต่ถ้ามองถึงเรื่องการต่อต้าน Globalization ในโลกนี้ การประชุมขององค์กรโลกบาลทั้งหลายนี่ ในหลายครั้งหลายหนที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามีการจับมือในภาคประชาชนที่จะต่อต้าน Globalization ในลักษณะที่เอารัดเอาเปรียบจากคนยากคนจน หรือจากประเทศเล็กๆในโลกนี้อย่างต่อเนื่อง

การที่ผมพูดถึงเรื่องเนห์รู เมื่อสักครู่นี้ ผมอยากจะตั้งข้อสังเกตุไว้ว่า ในโลกปัจจุบันนี้ คุณหาผู้ใหญ่ในโลกที่สามได้ค่อนข้างยาก ซึ่งไม่เหมือนกับที่ตอนที่เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง คุณมีกลุ่มประเทศเอกราชใหม่เกิดขึ้นทั่วไปหมดทั้งโลก ในอัฟริกาคุณมีเอนคูม่า มีใครต่อใครหลายคนที่ได้รับความเกรงอกเกรงใจ เวลานี้คนที่พอจะเป็นผู้ใหญ่ก็คือ เนลสัน เมนเดลล่า ซึ่งมีบารมีพอที่จะดึงคนอื่นๆออกมาร่วมมือด้วยได้ แต่ว่าในเวลานี้ คุณไม่เหลือใครอื่น

จริงอยู่ ผู้นำอย่างเดียวมันแก้ปัญหาไม่ได้ แต่ผู้นำที่มีประชาชนสนับสนุน ก็แก้ปัญหาได้มากทีเดียว ซึ่งเวลานี้โลกกำลังขาดบุคคลเหล่านี้ ถ้าเรามามองดูผู้นำการเมืองประเทศต่างๆ เท่าๆกับที่เรามองคุณทักษิณ เราจะพบนักฉวยโอกาสเหมือนๆกันหมด ซึ่งไม่มีใครเขานับถือกันอีกแล้ว อันนี้ไม่เหมือนกับสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

เนห์รู ผมคิดว่าเขาไม่ใช่ หรือเขาอาจจะใช่ ตัวจริงอย่างไรผมไม่ทราบ แต่คนอินเดียและคนอื่นๆในโลกไม่ได้มองเนห์รูเป็นนักการเมือง เหมือนกับที่มองคุณชวนหรือมองคุณทักษิณเป็นนักการเมือง

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

 

 

ข้อความต่อไปนี้ ถอดจากเทปการสนทนาบางส่วน ในหัวข้อ
"ความรุนแรงและสันติภาพโลก"
นิธิ เอียวศรีวงศ์
เสาร์ที่ 29 กันยายน 2544 เวลา 14.00-17.00 น. ณ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(ความยาวประมาณ 3 หน้ากระดาษ A4)