คนจนสี่พันล้านคน เป้าหมายใหม่ทางการค้า ลู่ทางใหม่ของการลงทุน / ความคิดนี้เกิดขึ้นมาจากซองแชมพูที่ห้อยต่องแต่ง อยู่ตามร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภคตามบ้านนอก ที่เคยบุกทำตลาดโดย Unilever และ Johnson & Johnson
ขอบคุณต่อความยากจน ที่ทำให้ WTO มีไอเดียในการบีบบังคับหรือเฆี่ยนตี ให้มีการเจรจาการค้ารอบใหม่
ในท้ายที่สุด ธุรกิจชุมชน ก็ได้ล้มลง ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่ WTO และ World Bank ได้รู้มานานแล้ว: ถ้าคุณกำลังค้นหาช่องทางที่จะอยู่รอด โดยไม่ถูกนำไปขึ้นเขียง, คุณจะต้องมองไปยังคนจนที่มีอยู่นับเป็นพันๆล้านคน ผู้ซึ่งกำลังรอที่จะได้รับการยกระดับขึ้นมาจากความยากจนโดยบรษัทข้ามชาติทั้งหลาย, การค้าเสรี และแผนลดความยากจนต่างๆ.
นิตยสาร Tomorrow, Number 1, Volume XI นั้นค่อนข้างที่จะแหวกแนวไปจากเดิมมาก มันนำเสนอภาพปกในเชิงที่ล้อเลียนภาพหนึ่ง (ใช่, ในรอบ 10 ปี - ไม่ต้องสงสัยเกี่ยวกับผลผลิตอันหนึ่งของความเคลิบเคลิ้ม) ซึ่งให้รสชาติ เป็นภาพของมือผอมๆสีขาวและสีดำเบลอๆที่ค่อนข้างจะดูซีดๆ, และมือที่อ้วนจ้ำม่ำ, โดยมีคำอธิบายภาพว่า"ยื่นมือมาซิ": มันเป็นช่วงเวลาที่จะต้องมองไปพ้นจากแบบจำลองทางธุรกิจแบบจารีตเดิมๆ สู่ตลาดของอนาคต - เพื่อไปบรรจบกับความต้องการที่ยังไม่บรรลุผลของคนจนประมาณ 4000 ล้านคนทั่วโลก.
ในบทความนำเรื่อง"ฐานของปิรามิด"(The Bottom of the Pyramid) โดย "business visionary Stuart Hart" อธิบายว่า "บรรดาประเทศต่างๆสามารถที่จะช่วยยกระดับผู้คนให้พ้นไปจากความยากจนได้อย่างไร ?"
Hart ได้ให้เหตุผลว่า ความยากจนเป็นหนึ่งใน"อุปสรรคกีดขวางที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งยืนอยู่ในช่องทางของการส่งผ่านที่รวดเร็วไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืน"
เขากล่าวว่า "เมื่อคุณกำลังตะกุยตะกายเพื่อความอยู่รอด, ความห่วงใยแบบหยาบๆเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่ล้าสมัย และดูอ่อนเปลี้ย รวมทั้งไม่เข้าเรื่องเข้าราวอะไร". แต่สำหรับวิสัยทัศน์อันหนึ่ง การแก้ปัญหาเป็นเรื่องง่ายๆที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไร, "ความยั่งยืน ต้องการให้ความยากจนลดลงที่ละมากๆ และนั่นหมายความว่า การนำพาผู้คนเป็นพันๆล้านเข้าไปสู่เศรษฐกิจการตลาด".
Hart ได้ให้ข้อสังเกตุถึงปัญหาที่กวนประสาทที่ว่า ผู้คนที่ยากจนไม่ได้มีเงินสดอยู่ในมือมากมายอะไรนัก แต่ได้ให้ข้อมูลกับเราอย่างลิงโลดว่า บริษัทที่มีวิสัยทัศน์พอๆกันบางบริษัท - อย่างเช่น Unilever และ Johnson & Johnson - ได้ค้นพบ "ยุทธวิธีต่างๆ" ที่นำไปสู่เป้าหมายคนยากจนจำนวนมากได้.
บางที สิ่งที่เขากำลังอ้างถึงก็คือแถบซองแชมพูสระผม สบู่ และแป้งหอมต่างๆ ซึ่งห้อยต่องแต่งเป็นริ้วระย้าอยู่ในตลาดท้องถิ่นทั่วทั้งเอเชียและแอฟริกา. ยุทธวิธีทางการตลาดเป็นเรื่องที่ง่ายๆไม่ซับซ้อนอีกเช่นกัน: กล่าวคือ ซองบรรจุแชมพูเล็กๆซองหนึ่งซึ่งมีราคาเพียง 2-3 บาท (ซึ่งอันที่จริงแล้ว มันมีราคาเป็นสองเท่าของแชมพูที่บรรจุอยู่ในขวดใหญ่), แม้กระนั้นก็ตาม เด็กผู้หญิงหรือสาวๆในหมู่บ้านทุกคน สามารถที่จะจ่ายให้กับแชมพูเป็นซองๆขนาดเล็กเหล่านี้ได้.
และมากยิ่งไปกว่านั้น, โฆษณาต่างๆในทีวีไทย ก็ระดมโหมโฆษณาอย่างไม่หยุดหย่อนเป็นทิวแถว ซึ่งให้ภาพของหญิงสาวสวยผมยาว เป็นมันวาวสะอาด สะบัดเส้นผมโดยปราศจากความกังวลใจ - แน่นอน แชมพูที่ทำขึ้นมาจากสารเคมีและเป็นไปเพื่อการค้านี้ ไม่เพียงดีกว่าผลผลิตของชาวบ้านที่เคยใช้กันมาในการดูแลเส้นผมเท่านั้น แต่มันยังทำให้คุณสวยขึ้น, แถมดูเป็นคนรวยและทันสมัยมากกว่าด้วย. ใครล่ะ สามารถที่จะไปตำหนิผู้หญิงชาวบ้านเหล่านี้ได้ สำหรับการไปซื้อหาสารเคมีที่ให้ฟองใสสะอาดในซองแชมพู เมื่อพวกเธอได้ถูกครอบงำด้วยการสะบัดผมแบบนั้น.
แต่ธุรกิจก็ต้องการเปลี่ยนท่าทีหรือทัศนคติของมันซึ่งมีต่อคนจนๆด้วย, Mr Harris กล่าว. "ที่ๆมีความยากจนข้นแค้นอย่างน่าสงสาร, บรรดาผู้บริหารและนักธุรกิจทั้งหลาย จะต้องมองให้เห็นช่องทางการตลาดที่มีศักยภาพให้ได้; มันคล้ายๆกับการมีจินตนาการเห็นภาพสวนป่าอันน่ารื่นรมย์ กับที่ที่วันนี้ มันยังเป็นเพียงหนองน้ำที่มีแต่ปลักตม". อย่างชัดเจน ผู้คนเหล่านั้นโชดดีพอที่ได้อาศัยอยู่ในความยากจนข้นแค้น ซึ่งพวกเขาสามารถที่จะสร้างการเปลี่ยนผ่านจากสิ่งที่มองไม่เห็นอะไรเอาเลย ไปสู่ลัทธิบริโภคนิยม โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนความเจ็บปวดของการดำรงอยู่ของมนุษย์, ขอบคุณสำหรับพลังอำนาจแห่งจินตภาพ ของนักบริหารที่มองการณ์ไกลเหล่านี้.
ยิ่งกว่านั้น, แน่นอน,
แต่ ณ ความเสี่ยงของการทำให้เรื่องดีๆนี้ต้องเสียไป, ขอให้ผมได้บอกกับคุณว่า
จินตภาพอันเพ้อฝันของสวนป่าอันน่ารื่นรมย์นี้มันจบลงอย่างไร. "ใครรู้บ้าง ?"
ลองใช้จินตภาพตรองดู. "ใน 20 ปีของกระแสธารที่ขึ้นๆลงๆ อาจผันแปรไป และบรรษัทข้ามชาติทั้งหลายอาจได้รับการยอย่องในฐานะวีรบุรุษ,
ไม่ใช่บรรดาพวกวายร้ายของ"โลกาภิวัตน์" ก็ได้.
ไม่ต้องสงสัยเลยตอนนี้ คุณต้องการที่จะได้สำเนาสักชุดหนึ่งจากนิตยสาร Tomorrow.
ถ้าหากว่าคุณบังเอิญเป็นคนหนึ่งในกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทต่อไปนี้, เป็นไปได้ว่า คุณจะได้รับสำเนานี้มาฉบับหนึ่งในซองจดหมายจาก: ABB, Dow Chemicals, Du Pont, Novartis. หรืออาจบางที ถ้าคุณมีความสัมพันธ์กับบริษัท 3M, BP, British Telecom, Deloitte Touche Tohmatsu, Duke Energy, Ford, Nokia, Rio Tinto, Shell or Unilever. ถ้าเป็นดังนั้น, คุณสามารถที่จะขอให้พวกเขาส่งสำเนาสักฉบับหนึ่งมาให้คุณได้. หรือคุณอาจจะมีเพื่อนๆอยู่ที่ the Wuppertal Institute for Climate, Environment and Energy, the Centre for Science and Environment or Legambiente, ผู้ซึ่งได้รับการระบุชื่อในฐานะผู้จัดหา"การสนับสนุนที่เชี่ยวชาญ". บางทีเพื่อนของเราบางคนในองค์กรที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ ควรจะพิจารณาทบทวนใหม่, หรือไม่ นิตยสาร Tomorrow สมควรได้รับ"การสนับสนุนที่เชี่ยวชาญ"ของพวกเขา.
ความยากจนได้รับการยกขึ้นมาในครูเสดการค้าเสรี และมันไม่เพียง ทำให้บริษัทต่างๆควรต้องขอบคุณความยากจนนี้เท่านั้น, "(ซึ่งความยากจน)มันอยู่ในหมู่พวกเรา(ดังนั้น พวกเขาควรต้องขอบคุณเรา)", เพราะ ถ้าปราศจาก"ความยากจน", WTO ก็จะประสบกับความยุ่งยากมากที่จะค้นหาเรื่องที่มาบีบบังคับหรือเฆี่ยนตีให้มี"การเจรจาทางการค้ารอบใหม่" - โดยการใช้ถ้อยคำอันสวยหรูว่า "การเจรจารอบใหม่ว่าด้วยการพัฒนา"(development round).
อีกครั้งที่ผู้อำนวยการทั่วไปของ WTO นาย Mike Moore ได้หยิบเอาเรื่องของ"ความยากจน"ออกมาแสดงด้วยท่าทีที่ฉลาดและเป็นคนดี - โดยการยกพวกเขาขึ้นมาเหมือนกับธง ในฐานะที่เป็นประเด็นหลักที่เป็นภาระผูกพัน - เพื่อให้เหตุผลเกี่ยวกับการทำสงครามครูเสดเกี่ยวกับการค้าเสรี ณ การเจรจาโต๊ะกลมเมื่อเร็วๆนี้ในเรื่องการค้าและความยากจนในประเทศที่ได้รับการพัฒนาน้อยที่สุด.
Moore ประกาศว่า "ระบบการค้าหลายๆฝ่ายร่วมกัน เป็นไปได้ ที่จะยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และจะช่วยยกระดับผู้คนหลุดพ้นจากความยากจนที่มีมากว่า 50 ปี ยิ่งกว่าที่รัฐบาลใดๆที่เคยทำมาแล้ว". มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจในการยื่นข้อเสนออันนี้ เพื่อให้มีการโวท(ลงคะแนนเสียง). ยกตัวอย่างเช่น จีนซึ่งประสบความสำเร็จในการลดทอนความยากจนแบบเบ็ดเสร็จได้อย่างเด่นชัด จะยินยอมให้ความเชื่อถือหรือไว้วางใจต่อระบบการค้าหลายฝ่ายร่วมกันนี้หรือ ? หรือ ตารางการวิเคราะห์ของ UNCTAD ในปี 1999 เกี่ยวกับ"รายงานการค้าและการพัฒนา"ที่ว่า การเปิดกว้างมากขึ้นของประเทศต่างๆที่กำลังพัฒนาในทศวรรษที่ 1990 ได้รับการนำไปเชื่อมกับการขึ้นๆลงๆอย่างรวดเร็ว, การใช้จ่ายที่ขาดแคลนมาก, และความด้อยกว่าในความเจริญกระนั้นหรือ ?
โดยการทำให้"การค้า"เท่ากันกับ"การค้าเสรี" Moore ยังได้ตราทัศนะนั้นลงไปอย่างถาวรอีกว่า "ใครก็ตามที่คัดค้านการเจรจาทางการค้ารอบใหม่ที่ปราศจากข้อจำกัดนี้ ไม่เพียงต่อต้านความยากจนเท่านั้น แต่ต่อต้านเรื่องการค้า(การค้าเสรี)ด้วย". เขายังได้ละเลยหรือเมินเฉยไปอย่างง่ายๆเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่า 45 ปีของช่วงหลัง 50 ปีมานี้, การค้าเสรีได้ถูกบริหารจัดการโดยผ่านการเจรจาที่เปิดกว้างมากและยืดหยุ่นของ GATT. กฎเกณฑ์ที่เป็นพื้นฐานของ WTO เกี่ยวกับการบีบบังคับและไม่เป็นประชาธิปไตยนี้ คือบางสิ่งบางอย่างในลักษณะเดียวกันนี้อีกครั้ง (เหล้าเก่าในขวดใหม่)
อันนี้เป็นยุทธศาสตร์เก่าๆอันหนึ่ง. แม้แต่ก่อนหน้าการล้มคว่ำลงอย่างไม่เป็นท่าของการพูดคุยกันทางการค้าที่ซีแอทเทิล, WTO ตระหนักว่า กลยุทธการประชาสัมพันธ์ที่ดีที่สุดของพวกเขาก็คือ ชักชวนสาธารณชนว่า"การค้าเสรีเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนจน". และแม้ว่า"คนจน"จะได้รับประโยชน์อย่างชัดเจนจากการค้าเสรีมากขึ้น มันก็ยังจะรู้สึกว่าลำบากที่จะฟังสิ่งที่พวกเขาต้องการพูดจริงๆ.
โดยผ่านชาวไร่ชาวนา, ในการเคลื่อนไหวในระดับนานาชาติของชาวนามากกว่า 2000 คนและองค์กรทางด้านเกษตรต่างๆ, ต้องการให้เรื่องของการเกษตรหลุดออกมาจาก WTO. ชาวแอฟริกันนับเป็นล้านๆคนได้ตายลงเพราะโรค AIDS (ส่วนใหญ่ในกลุ่มพวกนี้ยากจนมาก) กำลังเรียกร้องว่า บริษัทยาต่างๆควรยุติการยักย้ายสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาลงเสีย เพื่อปกป้องผลประโยชน์ต่างๆของพวกเขา. บรรดาครูบาอาจารย์และคนที่ทำงานด้านสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา กำลังเรียกร้องให้มีการพักชำระหนี้ ในการเจรจาต่างๆเกี่ยวกับการให้เสรีในด้านการบริการ (liberalization of services [GATS]), เนื่องมาจากความกลัวที่ว่า ยิ่งเปิดเสรีในการให้บริการ ก็ยิ่งจะไปทำลายหน่วยเศรษฐกิจขนาดเล็ก หรือ public sector ลง ซึ่งได้ถูกทอดทิ้งโดยการปรับปรุงเชิงโครงสร้างอยู่แล้ว.
"คนยากจน"ที่กล่าวถึงนี้เป็นใครกันบ้าง: พวกเขาคือชาวนา, เกษตรกร, ผู้คนที่ตายด้วยโรค AIDS, ครูบาอาจารย์ในโรงเรียนระดับประถมที่ได้รับเงินเดือนน้อยกว่าค่าครองชีพ, ชาวนาไร้ที่ทำกินซึ่งอาศัยอยู่ในสลัมตามขอบชานเมืองใหญ่ๆทั่วไป, ผู้หญิงที่ขายผลไม้อยู่ตามข้างถนน, แรงงานอพยพที่ผิดกฎหมาย ซึ่งไม่มีอนาคตอะไรเลยมากไปกว่า ต้องหวนกลับไปสู่ความฉิบหายของสงคราม หรือประเทศที่ตีบตันทางเศรษฐกิจ.
การค้าเสรีที่มากขึ้น ชนิดที่นำเสนอโดย WTO จะไม่เป็นประโยชน์อะไรสำหรับพวกเขาหรือคนจนๆเหล่านี้. สิ่งที่จะเป็นประโยชน์นั้นก็คือการแทรกแซงของรัฐบาลให้มากขึ้น ไม่น้อยไปกว่าสิ่งต่อนี้คือ, การบริการสาธารณะที่ดีกว่าและเข้าถึงได้, ไม่ใช่การแปรรูปไปให้เอกชน, การถือครองที่ดินที่มั่นคงโดยไม่ทำให้เป็นทรัพย์สินที่นำไปขายในตลาด, งานที่มากขึ้นและความมั่นคงในอาชีพ, ราคาที่มั่นคงสำหรับผลผลิตการเกษตรต่างๆ, เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงความสามารถในการผลิตของท้องถิ่น, และการปกป้องจากความผันแปรเกี่ยวกับการส่งออก และตลาดการเงิน. สิ่งเหล่นี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับคนจน แต่น่าเสียใจที่ไม่มีประเด็นปัญหาเหล่านี้เลย ในวาระการประชุมเจรจาที่จะจัดขึ้นในรอบใหม่นี้.
Nicola Bullard is deputy director of Focus on the Global South in Bangkok
กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com