ประเด็นของนิทเช่อยู่ตรงที่ว่า ใน text เก่าๆนั้น มันเป็นไปไม่ได้ที่จะไปหาต้นฉบับ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่ามันใช่. ยกตัวอย่างเช่น เพลโตที่พูดถึงโสกราตีส คนที่เคยอ่านเพลโตจะพบว่า มีโสกราตีส อย่างน้อย 2 คน. คนแรกก็คือช่วงเวลาที่โสกราตีสยังมีชีวิตอยู่ ปรากฏว่าโสกราตีสที่มีชีวิตอยู่เขามีวิธีการอย่างไรครับ ? ก็คือเขาไปตั้งคำถามกับผู้อื่น ถามว่าอันนี้แปลว่าอะไร นี่แปลว่าอะไร ถามอย่างเดียว.
พอโสกราตีสเสียชีวิตแล้ว เพลโตเขียนถึงโสกราตีสอีกแบบหนึ่ง ตอนนี้กลายเป็นผู้สอนความดี(virtue) อันนี้เป็นคนละคนเลยนะครับ. คนแรกไม่ยอมสอนอะไรทั้งสิ้น มีลักษณะ sophist มากเลย ส่วนคนที่สองสอนทฤษฎีความรัก ทฤษฎีความรู้ อะไรต่างๆ. ทีนี้เรามาตั้งคำถามว่า โสกราตีสคนไหนคือตัวแท้จริง ก็มีเพลโตเพียงผู้เดียวนะครับที่พูดถึงโสกราตีสอย่างละเอียด
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
(midnightuniv(at)yahoo.com)
Hans de crop : ขอบคุณอาจารย์สมเกียรติครับ อันที่จริงผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญอะไรทั้งสิ้น แค่ว่าตอนที่ผมเป็นนักศึกษา ผมสนใจงานของนิทเช่มากกว่าคนอื่น เพราะเขาเป็นคนที่ถูกใจ. วันนี้ผมจะพูดถึงนิทเช่ประมาณชั่วโมงหนึ่ง เสร็จแล้วจะเปิดโอกาสให้ถามถึง postmodernism กับ Nietzsche. และขอทำความเข้าใจก่อนว่า วันนี้ผมจะไม่พูดถึง postmodernism มากนัก เพราะคิดว่าเรื่อง postmodernism เป็นที่รู้กันมากพอสมควรแล้ว
คิดว่าพอฟังนิทเช่ที่ผมบรรยายจบแล้ว จะเข้าใจว่า ทำไมนิทเช่จึงเป็นเสาหลักของ postmodernism. วันนี้ผมจะใช้แผ่นใสเป็นแนวบรรยายนำ เพื่อพวกเราจะได้รู้ว่ากำลังพูดเรื่องอะไรอยู่ และมีเอกสารภาษาอังกฤษแจกประมาณ 20 แผ่น หวังว่าหลายคนคงได้รับแล้ว
คนที่เคยเรียน contemporary philosophy กับผมคงจะรู้ เพราะมันมีลักษณะคล้ายๆกัน คือผมจะพยายามพูดถึง"บริบท"ว่า นิทเช่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไหน และในช่วงเวลานั้นมันมีอิทธิพลต่อความคิดของเขามากน้อยแค่ไหน โดยจะพยายามอธิบายความคิดของเขาด้วยการใช้ตัว"บริบท"นี้เป็นตัวอธิบาย เป็นตัวเชื่อมโยงกับแนวคิดของนิทเช่ เพราะไม่เช่นนั้น ถ้าเราไปดูเฉพาะความคิดของนิทเช่แต่เพียงอย่างเดียว เช่น ซาราทรุสตร้า จะไม่เข้าใจ เพราะมันค่อนข้างเป็นกวีและไม่ค่อยมีระบบระเบียบอะไรมากนัก ดังนั้น ผมจึงพยายามจะทำความเข้าใจนิทเช่จาก"บริบท" ว่าอยู่ตรงไหน และอะไรที่ทำให้เขาคิดอย่างนี้. ผมจะเริ่มบรรยายเรื่องนี้โดยดูที่ผลงานหนังสือที่เขาเขียนไล่ไปตามลำดับ
หนังสือเล่มแรก ในที่นี้ The Birth of Tragedy out of The Spirit of Music [Die Geburt der Tragoedie aus dem Geiste der Musik] 1872. ซึ่งเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ของเขา. เขาเป็นคนที่เรียน classical philology พูดง่ายๆก็คือว่า เขาเรียนภาษาศาสตร์ ภาษากรีกและภาษาลาติน คือสิ่งที่เขาเชี่ยวชาญมาตั้งแต่เด็ก. และเขาได้เป็นศาสตราจารย์ตั้งแต่อายุ 25 ปี. The Birth of Tragedy เรียกสั้นๆ สำหรับ Tragedy ก็คือ"โศกนาฏกรรมกรีก" เขาได้ไปวิเคราะห์ลักษณะของโศกนาฎกรรมกรีก
ส่วนเล่มที่สอง ที่เขาเขียน Untimely Meditations [Unzeitgemaesse Betrachtungen] 1873. เล่มที่สอง ซึ่งตั้งแต่หนังสือเล่มนี้เป็นต้นมา เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นมาเป็นคำพูดสั้นๆ คล้ายเป็นสุภาษิต. หนังสือเล่มแรกยังนับว่าเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นมาอย่างมีระบบระเบียบ แต่นับตั้งแต่หนังสือเล่มที่สองเริ่มไม่มีระบบระเบียบอะไรทั้งสิ้น เป็นความคิดที่ชวนให้คิด และมีลักษณะเป็นกวีมากกว่าปรัชญา
หนังสือเล่มที่สาม ที่เขาเขียน Human, All too Human [Menschliches, All zumenschliches] 1878.
หนังสือเล่มที่สี่ คือ The Gay Science [Die froehliche Wissenschaft] 1882. คือแปลเป็นภาษาไทยแบบผม แปลว่า "วิทยาศาสตร์แบบสนุกสนาน"
หนังสือเล่มที่ห้า Thus spoke Zarathustra [Also sprach Zarathustra] 1883. ถ้าแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆก็คือ "คำพูดของซาราทรุสตร้า". สำหรับ Zarathustra ก็เป็นศาสดา (old Iranian / ca 628 - ca 551 B.C. founder of Zoroastrianism)
หนังสือเล่มที่หก คือ Beyond Good and Evil [Jenseits von Gut und Boese] 1886. เป็นงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องจริยศาสตร์ หรือ Ethic ต่างๆ
หนังสือเล่มที่เจ็ด Towards a Genealogy of Morals [Zur Genealogie der Moral] 1887. ซึ่งสำหรับหนังสือเล่มนี้ดูเหมือนจะมีผลกระทบต่อ Foucault มากทีเดียว. สำหรับคำว่า Genealogy ในภาษาไทยแปลว่า"วงศาวิทยา" เป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิด"ศีลธรรม"
และสำหรับเล่มสุดท้าย คือ Ecce Homo [Ecce Homo] 1888. เป็นเล่มที่อธิบายถึงผลงานของเขา
Nietzsche (นิทเช่) ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนสุดยอดคนหนึ่งของเยอรมัน ร่วมกับ Goethe และ Luther. หลายต่อหลายคนในยุโรปรู้จักเขาในฐานะนักเขียนมากกว่านักปรัชญา. ต่อมาผมอยากให้พวกเรามาดูเรื่องเกี่ยวกับชีวประวัติของเขาไปตามลำดับ ซึ่งคงไม่ทำให้เราเสียเวลามากนัก
1. Life (ชีวิตของนิทเช่)
- raised by women (ถูกเลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นมาโดยผู้หญิง) / มีคนถามว่ามันสำคัญตรงไหน. ในหนังสือของเขา ถ้าไปอ่าน วิธีเขียนของเขาไม่ค่อยชื่นชมผู้หญิงมากนัก เขามักจะด่าว่าผู้หญิงว่าเป็นพวกปากเสียมาโดยตลอด อาจจะเป็นเพราะตั้งแต่เด็กอายุ 15 เป็นต้นมา เขาอยู่กับผู้หญิง 3-4 คนในครอบครัว (แต่ตรงนี้ผมขอผ่านไปก่อนนะครับ)- classical education (philology), professor at 25 / เขาจะถนัดในเรื่องของภาษากรีก ไม่ใช่ปรัชญา. แต่ใครก็ตามที่ไปเรียนรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมกรีกก็จะรู้ปรัชญาด้วย และพอมาถึงอายุ 25 ปีเขาได้เป็นศาสตราจารย์ที่สวิสเซอร์แลนด์
- 1879 retired - ill health / เขาเป็นศาสตราจารย์สอนหนังสืออยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ประมาณ 10 ปีก็ต้องเกษียรอายุตัวเอง เนื่องมาจากเหตุผลทางด้านสุขภาพ นอกจากนี้ก็เนื่องมาจากการเข้ากับคนอื่นไม่ค่อยได้. แต่เหตุผลหลักของเขาเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพ คือปวดหัวบ่อยๆ และระบบย่อยอาหารไม่ดี - 1889 insanity till death 1900 / ไม่มีคำที่สุภาพกว่านี้ คือ เขา"บ้า"จนกระทั่งเสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1900 รวมแล้วเขาต้องทนทุกข์กับการเสียสติอยู่นานถึง 11 ปี
คิดว่าไม่มีเวลาที่จะลงไปในรายละเอียด แต่ก็เป็นเรื่องน่าเศร้าพอสมควร. ผลงานของนิทเช่ที่ได้รับการตีพิมพ์ ปรากฎว่าพี่สาวของเขาเป็นผู้จัดการดำเนินการสิ่งต่างๆเหล่านั้น เพื่อจะวางจำหน่าย และในช่วงเวลานั้นเกิดความคิดชาตินิยมเยอรมันขึ้นมา พี่สาวของนิทเช่ก็เลยชวนฮิตเลอร์มาดูเขาที่บ้าน และพยายามปรับปรุงแนวคิดของนิทเช่ให้มันเข้ากับแนวคิดนาซีมากพอสมควร เกิดการบิดเบือนขึ้น
หรือแม้แต่ในงานทางด้านศิลปะประเภท art Nouveau (ศิลปะนูโว) ก็นำเอานิทเช่มาเป็นสัญลักษณ์ของแนวคิดศิลปะใหม่ๆ ซึ่งผมคิดว่าไม่ค่อยตรงกับสิ่งที่นิทเช่สอน เพราะมันไม่ได้เข้าไปในทฤษฎีหรือหัวใจของนิทเช่. ต่อมาผมขอมาพูดถึงเรื่องของบริบท
2. context (บริบท)
2nd half 19th century / เขามีชีวิตอยู่ในช่วงของปลายของคริสตศตวรรษที่ 19 ซึ่งนั่นหมายถึงในยุโรปกำลังมีอุตสาหกรรม เพิ่งจะผ่านพ้นการปฏิวัติฝรั่งเศสมา แล้วเหตุการณ์ในทวีปยุโรปเวลานั้นเกิดความวุ่นวายทางด้านเศรษฐกิจและทางการเมือง. แนวคิด communism และ socialism กำลังก่อกระแสที่จะมาแรง- Enlightenment waning / อันนี้หมายความว่า บรรยากาศแบบ Enlightenment กำลังจะหายไป. ความคิดแบบ Enlightenment หมายถึงเรื่องของ optimism และ rational เป็นเรื่องของเหตุผล. ถ้าเราย้อนกลับไปถึงคำเรียกร้องของนักปฏิวัติฝรั่งเศส คือ เสรีภาพ ภราดรภาพ และเสมอภาค แสดงถึงความมั่นใจอย่างมาก และเขียนปฏิญานสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปี 1789 เขามั่นใจว่าอีกไม่นาน โลกทั้งโลกจะต้องดีขึ้น. ปรากฎว่าในช่วง 1850 เป็นต้นมา optimism (การมองโลกในแง่ดี)มันหายไปบ้างแล้ว เนื่องมาจากกระบวนการอุตสาหกรรม หมายความว่า คนจะเข้าไปในเมืองกันเยอะ ถูกเอารัดเอาเปรียบ ค่าเช่าบ้านก็แพง แรงงานเด็กถูกนำมาใช้. หมายความว่า ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่วิทยาศาสตร์ทำ มันไม่เหมือนกันกับที่เขาสัญญาไว้ และมันไม่ได้ optimism อย่างที่พูด
- Democratization, industrialization - unprecedented change / เป็นช่วงเวลาของการปลุกจิตสำนึกเอาไว้ในใจเกี่ยวกับเรื่องของประชาธิปไตย ซึ่งอาจจะเป็น propaganda การโฆษณาชวนเชื่อเสียมากกว่า คือ การเมืองตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาต้องการโฆษณา. Enlightenment ในช่วงเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปรัชญา การศึกษายังเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อย มีแต่เฉพาะชนชั้นสูงเท่านั้นที่ได้เข้าถึงสิ่งเหล่านี้. แต่พอมาถึงปลายคริสตศตวรรษที่ 18 และมาถึง 19 เป็น mass society. ที่ผมเขียนว่า industrialization - unprecedented change ก็คือในช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
- Commercialization, vulgarisation of life; becomes impersonal / สำหรับคำว่า Commercialization ก็คือการทำให้เป็นพาณิชยนิยม เริ่มบริโภคนิยมเข้ามา. vulgarisation of life ชีวิตไม่มีคุณค่านอกจากระบบการผลิต ผู้คนก็เริ่มไร้ตัวตนมากขึ้นในช่วงนี้
- Nietzsche alienated from his culture / นิทเช่เริ่มรู้สึกแปลกแยกจากวัฒนธรรมของเขา. เป็นช่วงเวลาที่มี mass culture เข้ามา. สังเกตนะครับว่านิทเช่ เขาไม่ได้สอนอะไรที่เป็นระบบระเบียบ แต่สิ่งหนึ่งซึ่งเขามีอยู่ตลอดก็คือ เขาจะ anti ทุกอย่างหมดเลย. อะไรที่เป็น"ลัทธินิยม"หรือ ism ต่างๆ ที่พยายามปลุกอุดมการณ์ เขาจะพยายาม anti หรือต่อต้านทั้งหมด. ทางปรัชญา ผมว่าประเด็นหลักก็คือตัวนี้ ซึ่งเขาไม่ได้สอนนะครับ แต่พอสรุปได้จากงานเขียนของเขา
- Man alone in irrational world / มนุษย์ลำพังเท่านั้นที่อยู่ในโลกที่ไร้เหตุผล
3. cognition = interpretation / แปลว่า"กระบวนการที่ได้มาซึ่งความรู้ โดยผ่านความคิดหรือประสบการณ์ ความคิดนั้นเป็นการตีความ หรือ เท่ากับการตีความ
- original text versus interpretation / ต้นฉบับ กับ การตีความ. ผมมีตัวอย่างงานในภาษาลาตินหลังสมัยกลางมาให้ดู จะสังเกตุว่า text ที่เป็นภาษาลาตินนี้ มันมีลักษณะแปลกนิดหนึ่ง คือดูตรงนี้มันมีคำที่แปลกอยู่ สำหรับนักภาษาศาสตร์ที่ไปดู text เก่าๆ จะพบปัญหาอย่างหนึ่ง คือ "ผู้เขียน"หรือ author ยังไม่มีตัวตน. สำหรับ"ผู้เขียน"หรือ author เป็นแนวคิดของยุคโมเดิร์น(ในทางปรัชญา) คือนับตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 15-16 เป็นต้นมา กล่าวคือ เริ่มมีคนเขียนชื่อตัวเอง. แต่ก่อนหน้านั้นคนเขาไม่ทำ เขามักจะอ้างถึงชื่ออาจารย์หรือคนที่มีชื่อเสียง. ในศิลปะก็เช่นเดียวกัน ศิลปินจะไม่เซ็นชื่อเลย เพราะจะเป็นการให้ความสำคัญกับตัวเองมากเกินไป
ปัญหาก็คือ ถ้าเราไปอ่าน text ก่อนยุค modern หรือ premodern text นั้น เราแน่ใจได้อย่างไรว่า คนที่เขียนชื่อนั้นเป็นผู้เขียน ยิ่งถ้าเป็น text สมัยกลางจะยิ่งกว่านั้นอีก และโดยเฉพาะสมัยกรีก เราแน่ใจได้อย่างไรว่าเป็นต้นฉบับ. นิทเช่บอกว่าไม่มีทางเลย สิ่งที่เกิดขึ้นกับปรัชญากรีกตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 1 เป็นต้นมา มันถูก censor มากพอสมควร. ความคิดของอริสโตเติลไม่เป็นที่ยอมรับในสมัยกลาง เพราะมันไม่สอดคล้องกับคำสอนของคริสตศาสนาในหลายๆเรื่อง แต่สำหรับเพลโตนั้นยังพอได้ เช่น ทฤษฎีความรักของเพลโต อันนี้พอจะปรับให้เข้ากับแนวคิดสวรรค์ที่ดีกว่าโลกนี้(หมายถึงความเชื่อทางศาสนาคริสต์)
ปรากฏว่า text กรีกทั้งหมดมันถูกเซ็นเซอร์ อีกอย่างก็คือ กว่าที่ text กรีกจะเข้าไปในยุโรปอีกครั้ง จะเห็นว่ามันตามพวกอิสลามเข้ามาในสเปนในช่วงปลายสมัยกลางราวคริสตศตวรรษที่ 11-12 เข้ามาใหม่ แล้วก็สร้างปัญหานะครับ บอกได้ว่าทำให้ความเชื่อแบบสมัยกลางสั่นสะเทือนโดยเฉพาะ text ของอริสโตเติล วิธีการคิดและวิธีการสอนของอริสโตเติล
ประเด็นของนิทเช่อยู่ตรงที่ว่า ใน text เก่าๆนั้น มันเป็นไปไม่ได้ที่จะไปหาต้นฉบับ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่ามันใช่. ยกตัวอย่างเช่น เพลโตที่พูดถึงโสกราตีส คนที่เคยอ่านเพลโตจะพบว่า มีโสกราตีสอย่างน้อย 2 คน. คนแรกก็คือช่วงเวลาที่โสกราตีสยังมีชีวิตอยู่ ปรากฏว่าโสกราตีสที่มีชีวิตอยู่เขามีวิธีการอย่างไรครับ ? ก็คือเขาไปตั้งคำถามกับผู้อื่น ถามว่าอันนี้แปลว่าอะไร นี่แปลว่าอะไร ถามอย่างเดียว.
พอโสกราตีสเสียชีวิตแล้ว เพลโตเขียนถึงโสกราตีสอีกแบบหนึ่ง ตอนนี้กลายเป็นผู้สอนความดี(virtue) อันนี้เป็นคนละคนเลยนะครับ. คนแรกไม่ยอมสอนอะไรทั้งสิ้น มีลักษณะ sophist มากเลย ส่วนคนที่สองสอนทฤษฎีความรัก ทฤษฎีความรู้ อะไรต่างๆ. ทีนี้เรามาตั้งคำถามว่า โสกราตีสคนไหนคือตัวแท้จริง ก็มีเพลโตเพียงผู้เดียวนะครับที่พูดถึงโสกราตีสอย่างละเอียด
ประเด็นอยู่ที่ว่า ไม่มีทางเลย ไม่มีวันที่เราจะกลับไปพูดถึง"ต้นฉบับ" คำว่า"ต้นฉบับ"(original)ไม่มีความหมายในภาษาศาสตร์ อันนี้คงเห็นด้วยนะครับ เพราะมันไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะพูดถึง ทำให้มันลำบาก. นิทเช่ได้นำเอาตัวนี้มาอ้าง แล้วนำไปขยายความ original text versus interpretation นั่นก็คือ text เก่าๆนั้นมันเป็นการตีความหรือเป็นจริงแน่ อันนี้ไม่มีวันรู้ได้เลย แต่สำหรับนิทเช่แล้ว เขาบอกว่ามันมีแต่การตีความเท่านั้น เรื่องของ original text ลืมไปได้เลย. อันนี้เขาได้นำมาใช้กับความคิดโดยทั่วไป ความคิดทุกรูปแบบเป็นเรื่องของการตีความ อาจจะมีหลายๆคนไม่เห็นด้วย
ผมขอเชื่อมโยงกับบริบท คือ นิทเช่มีชีวิตอยู่ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่เน้นในเรื่องวิทยาศาสตร์ ผมขอใช้อีกคำหนึ่งที่เรารู้จักก็คือ positivism นั่นคือ "ปฏิฐานนิยม" พยายามให้ปรัชญาเข้ากันกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการที่เหมือนกับวิทยาศาสตร์ หมายความว่าเป็น"วัตถุวิสัย" คือหมายความว่า ผู้ศึกษากับสิ่งที่ถูกศึกษาจะต้องแยกกันอยู่. ให้เรานึกถึง Max Weber นึกถึงพวกสังคมศาสตร์ ที่พยายามสร้างระบบ positivism จึงจะเรียกว่าเป็นความรู้ที่แท้จริง
นิทเช่ บอกว่าแบบนี้มันไม่มี เป็นการหลอกตัวเองชัดๆ ซึ่งเขามีตัวอย่างเต็มไปหมด. ก่อนที่จะเล่าให้ฟัง มีตัวอย่างพิสูจน์ว่ามันมีการตีความในทุกครั้งที่เราคิด ต้องบอกสักนิดหนึ่งว่า สิ่งนี้ได้ทำให้งานของนิทเช่เป็นงานที่ไม่มีใครอ่านในคริสตศตวรรษที่ 19 เพราะไม่ได้อยู่ในวาทกรรมหลัก. สไตล์ของนิทเช่ก็ถือว่าเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ผู้คนไม่ยอมรับความคิดของเขา เช่น เขายกตัวอย่างว่า ในการรับรู้นั้น เราไม่เคยเห็นสิ่งที่เป็น fact หรือ"ข้อเท็จจริง"เพราะเรามัวแต่ interpret หรือ"ตีความ"
จากแนวคิด phenomenology หรือปรากฎการณ์วิทยา ที่พยายามพิสูจน์ว่า ใน perception ของเรา ผมขอยกตัวอย่าง ปากกาด้ามนี้ ซึ่งทุกคนเห็นว่ามันเป็น object แต่เวลาที่เรามองเห็นปากกา เราจะนึกถึงบริบทของมันขึ้นมาโดยทันทีทันใด หมายความ เมื่อสักครู่นี้มันอยู่ในกระเป๋า และผมคิดว่าต้องนำมันไปเพราะจะต้องนำไปเขียนอะไร ในการรับรู้ปากกา เป็นไปไม่ได้ที่ผมจะตัดข้อมูลรอบๆของปากกาด้ามนี้ออกไป คือในประสบการณ์ของเราไม่ทำเช่นนี้
เราสามารถที่จะแยก fact กับ interpretation ได้ต่อเมื่อเราตั้งใจ. ใน perception จะเป็น text เอย, หรือจะเป็นกวี อันนี้ชัด, แต่ fact นั้นมันมีการตีความเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน อย่างน้อยสิ่งที่เราคิดว่ามันคือ fact มันต้องมีอะไรที่เกี่ยวกับ fact ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ. ผมคิดว่าในปรัชญาวิทยาศาสตร์หลังๆนี่ เขาก็ยอมรับกันอยู่แล้วใน paradigm ต่างๆ, ทฤษฎีจะกำหนด fact ที่เราคิดว่าน่าสนใจหรือไม่น่าสนใจ. ปรากฏว่าปัจจุบันนี้มันเป็นที่ยอมรับ แต่ในช่วงนั้นต้องต่อสู้กับกระแสของพวกวิทยาศาสตร์
- applied to knowledge in general;
- in perception we do not contemplate objects out there
- we are actively, not passively receptiveอันนี้คือการขยายความจากภาษาศาสตร์ พูดถึงปรัชญาโดยทั่วไป. ไม่มี original text คือหมายความว่า ไม่มี truth อะไรทั้งสิ้น มีแต่การตีความเท่านั้น. ทฤษฎีปรัชญาทั้งหมดทั้งปวง เป็นเพียงแค่คาดคะเน เพราะไม่มีหลักฐาน. ก็เลยสรุปตรงนี้ว่า we are actively, not passively receptive คือเวลาเราไปสังเกตสิ่งต่างๆ เรากระทำอย่าง active ไม่ใช่เป็นแต่เพียงผู้รับรู้อย่างเดียว. เราก็มีบทบาทในการสร้างภาพสิ่งที่เรารับรู้
ผมขอชวนให้เรามาดู text ภาษาอังกฤษที่แจกให้พวกเราตั้งแต่ต้นชั่วโมง ดูแค่สองบรรทัดแรกก็พอแล้ว ให้เราดูที่ผมตัดมาจากหนังสือ The Genealogy of Morals ซึ่งเริ่มต้นที่ Disinterested contemplation คือการพิจารณาโดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง นั่นก็คือ objectivity หรือ"ความเป็นวัตถุวิสัย"แบบในวิทยาศาสตร์ is a rank absurdity คือเป็นเรื่องที่ไร้สาระ เป็นไปไม่ได้. และเขาได้พูดต่อไปว่า เราควรระมัดระวังให้มาก เมื่อบรรดานักปรัชญาพูดถึงเหตุผลบริสุทธิ์, ผู้รู้ซึ่งไร้กาลเวลา(ไม่มีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง), ปราศจากความเจ็บปวด, ไร้เจตจำนง, absolute intelligence เป็นเรื่องซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะว่า concept เหล่านี้ มันเป็นการมองที่เป็นไปไม่ได้ในประสบการณ์ชีวิตประจำวัน. ในภาษาอังกฤษเขียนว่า an eye such as no living creature can imagine นั่นก็คือ เป็นสายตาที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดในโลกสามารถจินตนาการหรือทำได้ เพราะการมองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มันจะต้องมีการตีความเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ต้องมีบริบท.
4. the role of language (บทบาทของภาษา)
- man's interests & expectations influence his perception
- laziness; stick to concepts
- language objectifies interpretations
- abandon myth of original text, objects;
- there is no original - only meanings we give
- illusion of the selfข้อความต่อมา ตรงนี้เป็นการสรุปสิ่งที่ผมพูดไปเมื่อสักครู่นี้, ผลประโยชน์ ความคาดหวังของมนุษย์มันทำให้เกิดการตีความ ทำให้เกิดการมองอะไรบางอย่างซึ่งมีผลกระทบต่อ perception. นิทเช่พยายามเตือนนักปรัชญามาตลอดเวลาว่า ระวังให้ดี โดยเฉพาะ concept ของตัวเอง. ทฤษฎีทั้งหลาย แนวความคิดทั้งหลายที่คนนั้นคิดบ้าง คนนี้คิดบ้าง ไม่มีความจริงอยู่ มีแต่การตีความ. ยิ่งในทางปรัชญามันเกิดอะไรขึ้น ในทางปรัชญามันมี concept มานานแล้ว อย่างเช่นคำว่า สารัตถะ, กาย, จิต, นิทเช่บอกว่านี่เป็นการตีความ เราตั้งชื่อให้กับการตีความ แล้วพอมันได้ชื่อแล้ว มันก็ดำเนินไปกับสิ่งที่เรียกว่า "จิต" หรือว่า "กาย" ก็ตาม.
คือในทางปรัชญา เรามี concept เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ แล้วเราก็คิดว่ามันมีอยู่จริง แท้จริงแล้วมันก็เป็นเพียงแค่การตีความเท่านั้นเอง. อย่างที่บอกนะครับ language หรือว่า "ภาษา" มันจะ objectifies หรือทำให้เป็นตัวตน เป็นรูปธรรมขึ้นมา ทำให้เราคิดว่ามันต้องมีอยู่จริง. นิทเช่ก็เลยสรุปว่า เราควรยกเลิก myth of original text, หรือ original object ในทางปรัชญา. นั่นหมายความว่าอะไร ? ก็คือหมายความว่า สิ่งที่นักปรัชญาพยายามแสวงหานับตั้งแต่เพลโตมาจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นเรื่องที่เสียเวลาเปล่าๆ แต่พวกเขาไม่รู้ตัว
แม้แต่ self มันก็ไม่มีอยู่จริง. อันนี้อย่าเพิ่งรีบเปรียบเทียบระหว่างตะวันตกและตะวันออก วัตถุประสงค์ของนิทเช่นะครับ เขาต้องการให้เราตระหนักถึงอุปสรรคของความรู้ อันนี้มีลักษณะคล้ายๆกับโสกราตีส เขาไม่ได้สอนอะไรทั้งสิ้น เขาเพียงบอกเราว่าให้ระวัง เขาใช้คำว่า ความรัก, หรือความรู้, เหตุผล, แม้แต่ self มันเกิดปัญหาขึ้นมา คือคิดไปว่ามันต้องมีอย่างนั้น แต่ที่จริงไม่มี
สำหรับเรื่อง self ก็มี text ที่จะพิสูจน์ว่ามันไม่มีอยู่จริง. เขาบอกว่า พวกเราเคยชินกับไวยากรณ์ ขอยกตัวอย่างในภาษาอังกฤษนะครับ คือมันต้องมี subject กับ predigest. เช่นประโยค The car is red. The car ก็คือ subject ส่วน is red ก็คือ predigest. เราเคยชินกับวิธีการแบบนี้จนกระทั่งเรานำมันมาใช้ทั่วเลย. คนธรรมดาเวลาที่เขาเห็น "แสงสว่าง" เขามักจะแยก agent กับ ผล. ทั้งๆที่เขาเห็นอยู่อย่างเดียว เขาเห็นแสงนั้น แต่ว่าโดยรูปแบบของภาษาทำให้เขาคิดว่ามันจะต้องมี agent. มันจะต้องมีเหตุกับผล. อันนี้คล้ายกับที่ Wittgenstein พูดถึงความคิด, คนชอบไปหาว่า thinking มันอยู่ที่ไหน ? แท้จริงแล้วมันไม่มีนะ มันมีแต่ activity เท่านั้น ก็คือว่านิสัยทางภาษาของเรา (linguistic habit) กำหนดให้เราหาตัวกระทำ ซึ่งมันไม่มี เช่น I think therefore I am อันนี้เรามักจะ ให้ I เป็น agent ของ "การคิด". ซึ่งอันนี้เราจะไม่ลงไปลึกมากนะ
ในการวิจารณ์ของนิทเช่ บอกว่า ที่จริงแล้วบอกว่า"มันไม่มีอะไรเลยแม้แต่นิดเดียว". แม้แต่วิทยาศาสตร์เอง, concept ของวิทยาศาสตร์มากมายก็ได้ถูกวิจารณ์. นิทเช่บอกว่า วิทยาศาสตร์นั้นยังดีอยู่อย่างหนึ่ง คือ ยอมรับว่ามีการตีความต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และลักษณะ positivism ไม่เคยคิดว่าความรู้ที่เขาเสนอไว้นั้นเป็นความจริง เป็นแค่เครื่องมือที่จะจัดการโลกที่อยู่รอบตัวเท่านั้น คือเป็น instrumentalism. อย่างที่เรารู้ วิทยาศาสตร์นั้นมีทฤษฎีที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมั่นใจว่า วิทยาศาสตร์ของเขามันจริงกว่าความรู้สาขาอื่นๆ
คิดว่าประเด็นหลักของนิทเช่ มันอยู่ที่ว่า สามารถที่จะ destruct หรือทำลายแนวความคิดหลักๆที่มีอยู่ในปรัชญา, ในวิทยาศาสตร์, ในศาสนา, และในทุกๆสาขาวิชา. คือหมายความว่า กรอบความคิดในทุกๆสาขาวิชามันมีความคาดหวังอยู่เบื้องหลัง แล้วปรัชญาถ้ามองในแง่นี้มันเป็นภาพหลอก หรือ fake. ขอให้เรามาดูข้อต่อมา
5. psychological basis of thought: (พื้นฐานทางจิตวิทยาเกี่ยวกับความคิด)
- philosophy is fake - attempts to justify beliefs
- science also rests on interpretationsอันนี้มีคนชอบอ้างถึงเพลโตเป็นหลัก เพลโตเป็นตัวอย่างนักปรัชญาที่นิทเช่ไม่ชอบเป็นอย่างยิ่ง. คนที่ถนัดในปรัชญากรีก คงจะรู้นิดหนึ่งว่า ประเด็นหลักก่อนหน้าโสกราตีส เขาจะพูดกันถึงเรื่อง being and change พยายามจะอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ โดยอ้างถึงน้ำ บางคนก็อ้างถึงไฟ. นิทเช่บอกว่าอันนี้ยังพอได้ เขาพยายามที่จะพูดถึงความเคลื่อนไหวที่มีอยู่บนโลกนี้ แต่พอไปถึงเพลโตแล้ว เขาไม่ยอมให้มีการเคลื่อนไหว เขาสร้างระบบอภิปรัชญาขึ้นมา เพื่อที่จะให้ความจริงนั้นมันอยู่รอดจากการเปลี่ยนแปลง. นิทเช่บอกว่า อันนี้เขาไม่ยอมรับสภาพแท้จริงในโลกนี้ อันนี้เขายอมไม่ได้ นักปรัชญาก็เป็นอย่างนี้ละครับ. อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นเพียงเรื่องของการตีความ และพยายามที่จะเอาเหตุผลของเขามาสนับสนุน
วิทยาศาสตร์เองก็เป็นการตีความ (ปฏิฐานนิยมเป็นการตีความ) ไม่ใช่ความรู้ที่แท้จริง เป็นเพียงแค่ instrument. ยิ่งไปกว่านั้น ความคิดยังเป็นภาพหลอกที่นำมาใช้ มันยังเป็น disease หรือโรคด้วย, ความคิดเป็นโรคชนิดหนึ่ง. ในช่วงนั้น ดาร์วินได้เขียนหนังสือ On the origin of species by means of natural selection ซึ่งนิทเช่คงได้รับอิทธิพลจากนั้นมาบ้าง และเขาพยายามพิสูจน์ว่า สัตว์นั้นมีความใกล้ชิดกับธรรมชาติมากกว่ามนุษย์
6. consciousness is a disease: (ความคิดและจิตสำนึกเป็นโรคอย่างหนึ่ง)
- all thinking is aberration
- animal lack consciousness, ideal
- concepts distort reality
- philosophy fears reality
- problem of relativismความคิดทั้งปวงเป็นเรื่องของการบิดเบือน คือพอเราคิด เราใช้ concept, concept นั้นเป็นเพียงแค่การตีความ แต่เราคิดว่ามันเป็นความจริง. สัตว์ทั้งหลายไม่มี consciousness ซึ่งมันดี เพราะ consciousness ที่เรามี เราคิดว่ามันจะช่วยปลดปล่อยเราจากสัญชาตญาน แต่พอเราได้ consciousness แล้ว ก็เกิดความสำนึกผิดๆตามมาด้วย.
ในภาษาไทยมีคำว่า"หักห้ามใจ" หมายความว่า มีสิ่งที่อยากจะทำแต่ไม่กล้า เพราะไม่รู้ว่าคนอื่นเขาจะคิดย่างไร ? สัตว์จะไม่มีแบบนี้ ถ้ามันอยากผสมพันธุ์มันก็จะผสมพันธุ์ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม เมื่อมันหิวมันก็จะไปหากิน. มนุษย์เองกลับสร้างช่องว่างระหว่างธรรมชาติกับตัวเอง
ยิ่งไปกว่านี้ มนุษย์เรามี ideal หรือ"อุดมคติ" พอเรามี consciousness แล้ว เราสร้าง ideal ต่อ. อย่างเช่น ผมอยากจะเป็นด็อกเตอร์ทางปรัชญา แล้วไม่ประสบผลสำเร็จ มันเกิดอะไรขึ้น. มันเป็นวัตถุประสงค์ของผม แทนที่จะช่วยให้ผมประสบความสำเร็จ มันกลับทำให้ผมรู้สึกแย่ทุกทีเลย เพราะไม่สามารถทำได้สักที. หรืออยากเลิกสูบบุหรี่ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จสักที. คือทั้งหมดที่นักปรัชญาคิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ดี หมายถึงอุดมคติทั้งหลาย นิทเช่กลับไปพูดในสิ่งที่ตรงกันข้าม เพราะมนุษย์แทนที่จะมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ มนุษย์กับมีความสัมพันธ์ไม่ตรงกันกับธรรมชาติ ทำให้เกิดปัญหา. อันนี้ลักษณะคล้ายๆกันกับ Freud. Sigmund Freud ก็ชอบอ้างถึง Nietzsche
เมื่อสักครู่ได้บอกไปแล้วว่า Concept ชอบบิดเบือนความจริง. ปรัชญากลัวความเป็นจริง เพราะความเป็นจริงมันเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา. นักปรัชญาโดยทั่วไปชอบสร้างระบบ พอสร้างระบบขึ้นมาแล้วก็ไปบังคับสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงอยู่มันหยุดนิ่ง อันนี้เป็นสิ่งที่ผิดธรรมชาติ
มาถึงเรื่องของ"สัมพัทธนิยม" นั่นคือ มันไม่มีความจริง มันมีแต่การตีความ. พอพูดออกมาอย่างนี้แล้ว สิ่งที่นิทเช่พูดนั้นมันมีค่ามากน้อยแค่ไหน ? อันนี้ก็ลำบาก นักปรัชญาแต่ละคนก็มัวแต่ตีความ. สำหรับนิทเช่เองก็พยายามจะเสนอปรัชญาของตัวเอง ว่าความคิดของเขาเป็น"ความจริง"ในแง่หนึ่ง. อันนี้มันขัดแย้งกับตัวเอง
ยังมี concept อีกอันหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จัก นั่นคือ Over Man หรือแปลว่า "อภิมนุษย์" อันนี้เป็นส่วนที่นิทเช่ได้พูดถึงมากพอสมควร. จากการที่พูดถึงสัตว์และมนุษย์เมื่อสักครู่ ก็พอสรุปได้ว่า ต้องการให้มนุษย์มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด มีความสัมพันธ์ที่ดีอยู่กับธรรมชาติ.
7. the will to power (เจตจำนงที่จะมีอำนาจ)
- cosmological principle
- consciousness creates inhibitions
- 2 sets of value = strong (master morality) / weak (slave morality)
- genesis of slave morality
- morality make life tolerable (ascetism, activity, rage)นิทเช่สรุปว่า หลักการอันหนึ่งที่ทำให้มนุษย์มีชีวิตก็คือ the will to power ความต้องการอำนาจ. แท้จริงแล้วเขาไม่ได้เขียนหนังสือที่ตั้งชื่อแบบนี้ พี่สาวของเขาไปปรับปรุงเพื่อให้มันสอดคล้องกับความต้องการของนาซี.
อย่างที่อธิบายไปแล้วว่า consciousness ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ถ้าจะให้มันดีแล้วก็ควรที่จะทิ้งระบบศีลธรรมทั้งหมดไปเลย เพราะว่าระบบศีลธรรมทั้งปวงมันสร้างความลำบากใจให้กับมนุษย์ คือ มนุษย์มีความต้องการพลัง(power) มีความต้องการหลายๆอย่าง แต่พอมีระบบศีลธรรมเกิดขึ้น ศีลธรรมนั้นจะหักห้ามเราตลอดเวลา นิทเช่ก็จึงพยายามที่จะให้คนทุกคนทิ้งศีลธรรมนี้ไปเสีย.
เขาบอกว่า Over Man อย่าไปยึดติดอะไรมากนัก, แต่อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้อธิบายมากนักว่า Over Man มีลักษณะอย่างไร ? คือ เขาพยายามจะให้คนไม่เชื่อในระบบศีลธรรม เพราะว่าศีลธรรมก็เป็นเพียงการตีความ มันไม่จริง มันไม่มีจริง หรือมันไม่ได้ถูกต้องไปกว่าระบบอื่นๆ แต่พวกเรากลับถูกครอบงำให้ตกอยู่ภายใต้ระบบศีลธรรม
นิทเช่ จะหัวเราะเยาะคนที่นับถือ morality ในทุกๆรูปแบบ เขาบอกว่ามันไปตกเป็นทาส(slave) คือคนที่นับถือศีลธรรมก็คือคนที่เป็นทาส. แต่ประเด็นหลักอยู่ที่ว่า มนุษย์มี ideal แต่ไม่สามารถสร้าง ideal ให้เป็นจริงขึ้นมาได้ ก็เลยต้องการสิ่งปลอบใจ. นิทเช่บอกว่า นี่คือหน้าที่หลักของระบบศีลธรรมหรือศาสนาของเรา. เมื่อคนเรารู้สึกไม่สบายใจ คนก็ต้องการที่พึ่ง เพื่อที่จะทำให้เราพอจะอยู่ต่อไปได้(tolerable). และให้สังเกตศาสนาทุกศาสนา จะมีเทคนิคในการทำให้การโมโห หรือว่าพลังชีวิตที่มีอยู่ สงบลง ด้วยการบำเพ็ญตบะแบบฤษี(ascetism) อยู่คนเดียวแบบสันโดษ ตัดกิเลสลงไปเสีย หรือไม่ก็ให้เราทำงานหนักในวัด(activity) เช่นในวัดสมัยกลาง ทำงานตั้งแต่ 6 โมงเช้าจนถึงดึก เพื่อจะได้ไม่ต้องไปคิดอะไรที่ไม่ควรคิด ไม่ควรทำ.
หรือ rage ศาสนาทุกศาสนาจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่จะมี violence ออกมา อันนี้เป็นที่ยอมรับ. ผมอยากจะยกตัวอย่างการกินเจที่ภูเก็ต เทศกาลดังกล่าวเราจะเห็นการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆของพวกคนทรงทั้งหลาย. ในศาสนาคริสต์ก็เช่นเดียวกัน จะมีเทศกาลทรมานตัวเอง อย่างเช่นในประเทศฟิลิปปินส์ จะมีพิธี crucify หรือการตรึงกางเขนด้วยตะปู. ศาสนาทุกศาสนามีรูปแบบเช่นนี้ มันมีความรุนแรง มันมีการฆ่าในนามของศาสนา มันมีเรื่องของ violence. แท้จริงแล้วมันไม่เกี่ยวกับศาสนาเลย มันเป็นพลังที่มีอยู่ในมนุษย์
8. decadence of culture (ความเสื่อมโทรมของวัฒนธรรม)
- slave morality dominate
- hypocrisyเรื่องของความเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรม ความจริงแล้วเขาพูดถึงวัฒนธรรมในคริสตศตวรรษที่ 19 แต่ผมคิดว่าใช้ได้กับในปัจจุบันนี้ ก็คือ วัฒนธรรมมันใช้อุดมการณ์ที่มันตายมาหลายร้อยปีแล้ว เขาก็เลยใช้คำว่า hypocrisy หมายถึงการเสแสร้ง หลอกลวง หรือหน้าไหว้หลังหลอก. คือผู้คนยังทำตัวเป็นผู้นับถือศาสนา แต่ความจริงพระเจ้าตายไปนานแล้ว. ปรากฎว่าระบบศีลธรรมมันมาควบคุมเราให้เชื่อในระบบนั้น.
ระบบประชาธิปไตยก็เช่นเดียวกัน มันทำให้บุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษต้องฟังเสียงของคนกลุ่มใหญ่ เขาบอกว่ามันเป็นที่พึ่งของคนที่อ่อนแอเพื่อที่จะอยู่รอด
9. existential problem
- cause of herd mentality = fear
- god is dead
- eternal recurrence of things
นักปรัชญา postmodern ที่ชอบอ้างถึงว่า "พระเจ้านี้ตายแล้ว" และมาเปลี่ยนเป็น"มนุษย์นี้ตายแล้ว" เป็นความคิดของนิทเช่. ที่บอกว่า"พระเจ้านี้ตายแล้ว" ก็เพราะศาสนาคริสต์ในโลกตะวันตกมันไม่มีความหมายมาตั้งนานแล้ว ก็คือ มันไม่มีความหมายมาตั้งแต่ต้นคริสตศตวรรษที่ 18 แต่ผู้คนก็ยังทำตัวเหมือนกับไม่มีอะไร ไม่มีปัญหา. ดูจากรูปภายนอกก็ยังเป็นชาวคริสต์อยู่ แต่ภายในไม่ได้นับถือแล้ว
จะเชื่อหรือไม่เชื่อ มันไม่ใช้ปัญหาสำหรับนิทเช่, ที่สำคัญอยู่ที่ว่ามันมาควบคุมผู้คนในสังคม มันมาครอบงำ ทำให้คนกลัวที่จะใช้ชีวิตกันอย่างเต็มที่, เป็นการสร้างสำนึก. ดังนั้นนิทเช่จึงพูดอย่างประชดประชันว่า อันที่หนึ่ง"พระเจ้าตายแล้ว", และต่อมา ทุกสิ่งทุกอย่างจะหวนกลับมาตลอด อันนี้ไม่ใช่กฎแห่งกรรม แต่เป็นการประชดประชันมนุษย์ที่เชื่อว่า"ทำดี ได้ดี - ทำชั่ว ได้ชั่ว" หรือว่าทำคุณความดีเอาไว้ในโลกนี้ ตายไปขึ้นสวรรค์จะมีรางวัล ซึ่งมันเป็นคำพูดของศาสนาทุกศาสนาว่ามีรางวัลให้ ทำบุญมากๆจะได้รางวัล. นิทเช่บอกว่าไม่มีอะไรเลย เกิดมาพิการ จึงพยายามทำบุญมากๆเพื่อว่าในชาติหน้าจะได้เกิดมาเป็นคนที่สมบูรณ์ นิทเช่บอกว่า จะต้องมาเกิดอีกและเป็นคนพิการอีก. คือความจริงไม่มีหลักฐาน เขาต้องการที่จะมาประชดประชันคนที่เชื่อแบบนี้
10. overman (อภิมนุษย์)
- individuals mastering themselves
- suspension of ethical categories
- artistic creativity
- here consciousness has positive roleพูดถึงเรื่องของ overman ผมคิดว่ามีคนให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้กันมากเกินไปในทฤษฎีของนิทเช่. พวก individuals ที่สามารถควบคุมตนเองได้โดยไม่สนใจใคร จะแต่งตัวโป๊หรืออะไรก็แล้วแต่โดยไม่สนใจคนอื่น อันนี้เป็นเรื่องยากที่จะหาคนที่มีความกล้าหาญแบบนี้ อันนี้คือลักษณะของ overman. เป็นคนที่กล้าทวนกระแส กล้าต่อต้านกับกระแส. หมายความว่าเป็นการยกเลิก categories ทาง ethic เป็นการยกเลิกไม่สนใจเรื่องจริยธรรมเลย ทำอะไรที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ผู้คนทั่วไปกำลังคิดกันอยู่
artistic creativity นิทเช่บอกว่า อันนี้สรุปนะครับคือ ถ้าสมมุติว่าเรายอมรับว่าพระเจ้าไม่มีอยู่ ไม่มีระบบศีลธรรมอะไรทั้งสิ้นที่มาช่วยเหลือเราในการดำเนินชีวิตได้ คงจะมีหลายต่อหลายคนรู้สึกผิดหวัง คือหมายความว่าผู้คนทั่วไปมักจะผิดหวัง
ขออ้างถึง Schopenhauer นิดหนึ่ง ซึ่งเป็นหนังสือที่นิทเช่ชอบมาก เป็น pessimism หรือมองโลกในแง่ร้าย. คือพอเราไปตระหนักถึงกระบวนการชีวิต will of power เราจะสังเกตว่า เรานี่แทบไม่เกี่ยวเลยนะครับ มันจะบังคับให้เราไปหาอะไรๆไปเรื่อยๆ แล้ว Schopenhauer ได้มาสรุปว่า เป็นเรื่องน่าเศร้า จะมีอย่างเดียวที่ช่วยเหลือเราได้ก็คือศิลปะ เป็นบางครั้ง
แต่นิทเช่บอกว่า ไม่ต้องไปเศร้า ยอมรับมันอย่างเต็มที่ หัวเราะออกมาดังๆ บ้าบอก็ไม่เป็นไร. เขาบอกว่า ยอมรับมันเสียสำหรับความไร้สาระของชีวิตแบบนี้. แต่ในความเป็นจริง คนที่ผิดหวังนั้นมักจะอยู่เฉยๆ ไม่ยอมทำอะไรทั้งสิ้น แต่นิทเช่บอกว่า อย่าสนใจระบบศีลธรรมอะไรทั้งสิ้น และพยายามสร้างชีวิตตัวเองเหมือนผลงานศิลปะ
11. significance of Nietzsche
ความสำคัญของนิทเช่ ก็คือ เรื่องของ postmodern เขาเริ่มมีชื่อเสียงในศตวรรษที่ 20 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนหน้านั้นแทบไม่มีใครรู้จัก ถ้าจำไม่ผิด Heidegger ได้ไปเขียนหนังสือเกี่ยวกับ Nietzsche ทำให้นักปรัชญาเริ่มสนใจ Nietzsche มากขึ้น. แต่ในระบบของพวก Marxist นั้นซึ่งมาควบคุมแนวคิดฝรั่งเศส หรือปรัชญาในยุโรปช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ไม่มีใครสนใจ.
Nietzsche เป็นพวก anti คือ anti-socialist , anti-marxist อะไรที่พยายามตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมา เขาจะไม่ยอม เอาเป็นว่าเป็น individualist หรือ aesthetic individualism เขากลัวที่สุดว่าตัวเองจะถูกล้างสมอง. ขอยกตัวอย่างนิดหนึ่งว่า เขามีเพื่อนรักคนหนึ่งคือ Richard Wagner เป็นคีตกวีชาวเยอรมัน เขาชื่นชมมากเลย และถือว่ามีลักษณะเป็น overman ในสายตาของนิทเช่. แต่พอเขาเปลี่ยนสไตล์การแต่งเพลงไปเกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนา หรือยกย่องความเป็นเยอรมันในความเป็นดนตรีของเขา นิทเช่จึงแยกออกมา เพราะไม่ชอบ. นิทเช่จะ anti ชาตินิยมเยอรมัน ใครที่ไปบอกว่านิทเช่เป็นเครื่องมือของพวกนาซี อันนี้ไม่เกี่ยวเลย ถูกบิดเบือนมากกว่า
หลายต่อหลายคนที่ไม่ชอบอ่านของนิทเช่ เพราะเขาบอกว่านิทเช่ถูกนำมาใช้ propaganda เยอรมัน พวกชาตินิยม, พวก overman ในยุโรป คือหมายถึงอ้างถึงนิทเช่เพื่อที่จะทำอะไรบางอย่างที่ไม่ควรทำ. แต่ปรากฎว่า ถ้าไปอ่านนิทเช่จะสังเกตว่า เยอรมันเป็นสิ่งที่เขาอ้างถึงบ่อยมาก มีอยู่ที่หนึ่งซึ่งเขาบอกว่า เวลาไปอยู่ใกล้ๆเยอรมันเขาอยากจะอวก. เขาชอบพูดว่า ความเป็นเยอรมันในตัวเขาไม่รู้ว่ามันมาอย่างไร เขาชอบอ้างว่าตัวเองเป็นชนชั้นสูงของโปแลนด์ ซึ่งอันนี้ไม่จริง แต่เพื่อปฏิเสธความเป็นชาตินิยมเยอรมัน
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีคนปฏิเสธที่จะอ่านงานของนิทเช่, พวก socialism, communism ในฝรั่งเศสก็ปฏิเสธนิทเช่ เขาเพิ่งมาดังเมื่อช่วง 1960 กว่าๆ ในช่วง student revol หรือการประท้วงของนักศึกษาต่างๆ แต่แม้แต่ช่วงนั้น ยังมีอิทธิพลของพวก marxist มาควบคุมพอสมควร. เขาเพิ่งมามีชื่อเสียงอีกก็ตอนที่ Foucault ได้นำเอา genealogy หรือ วงศาวิทยามาใช้ อันนี้มีวัตถุประสงค์เดียวกันนะครับ ก็คือเพื่อที่จะต่อต้านกระแสการมองประวัติศาสตร์
ผมอยากจะยกตัวอย่างนิดหนึ่งเกี่ยวกับความสำคัญของนิทเช่ ก็คือ "การตีความ". ขอย้อนกลับไปที่ปรัชญากรีกนิดหนึ่ง พอเราย้อนกลับไปมองปรัชญากรีก เรามักจะยกย่อง เพราะอะไรครับ ? เพราะว่ามันเป็นตัวอย่างความคิดเหตุผล การควบคุมอารมณ์ และสมดุลย์ การประสานกลมกลืนระหว่างความคิดและอารมณ์ เป็นการยกย่องเทพ Apollo ซึ่งเป็นตัวแทนของเหตุผล ความสุขุมรอบคอบ เยือกเย็น.
นิทเช่กลับมีความเห็นไปในทางตรงข้าม เขาบอกว่าสิ่งที่ทำให้วัฒนธรรมกรีกยิ่งใหญ่ไม่ใช่ Apollo แต่เป็น Dionesus เป็นเทพแห่งอารมณ์ ความเร่าร้อน ความตื่นเต้น ร่วมรัก เมาเหล้า. สังเกตดูเรื่อง โศกนาฎกรรมกรีก ไม่ใช่เป็นเรื่องของเหตุผลเลย เป็นเรื่องของความโหดร้าย เรื่องของการแก้แค้นเป็นส่วนใหญ่. เวลาที่เราย้อนกลับไปมองอดีต เราใช้ concept ของ reason ปรัชญาที่เราชอบไปสวมอดีต อันนี้เราเซนเซอร์อดีต
ผมขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง คือทุกคนคงมีรูปถ่ายของตัวเองเก็บเอาไว้ตั้งแต่สมัยอดีต เมื่อสิบปีที่แล้ว เราแต่งตัวอย่างไร หน้าตาอย่างไร เมื่อเราย้อนกลับไปพลิกดูอัลบัม ทันทีทันใด เราเกิดไม่ชอบรูปอดีตของเราขึ้นมา เรารู้สึกอายการแต่งตัวของเรา. หรือผู้หญิงบางคน เพิ่งถ่ายรูปมาหมาดๆ รู้สึกไม่ชอบก็เลยดึงรูปนั้นทิ้งไป ผู้ชายด้วยก็เหมือนกันที่ทำแบบนี้ คือแม้แต่การมองชีวิตตัวเอง ไม่ต้องย้อนไปในอดีต ไม่ต้องย้อนไปกรีก มันก็เกิดการเซนเซอร์เกิดขึ้น เป็นการตีความ. ก็เลยคิดว่า ความสำคัญของเขา(significance of Nietzsche)มันอยู่ตรงนี้ พวก concept ทั้งหลายที่เราใช้ในสาขาวิชาต่างๆ มันเป็นอุปสรรคต่อความรู้
คลิกไปอ่านหน้าต่อไปของเรื่องนี้ / ช่วงสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
Friedrich
Nietzsche
1844-1900
The
Pedestal
of Postmodern
Thinking
Midnight's
article in October
2001
Nietzsche : The Pedestal of Postmodern Thinking นิทเช่ : ในฐานะรากฐานแนวคิดปรัชญาหลังสมัยใหม่ บรรยายโดย Hans de Crop ภาควิชาปรัชญาศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 19 กันยายน 2544 / เวลา 17.00 - 19.00 น. บรรยายที่ห้อง 1307 คณะวิจิตรศิลป์ มช. / กระบวนวิชาปรัชญาศิลป์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สมเกียรติ ตั้งนโม : วันนี้ผมในฐานะผู้สอนกระบวนวิชาปรัชญาศิลป์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เราไดรับเกียรติจากอาจารย์ Hans de Crop จะมาบรรยายให้เราฟังในหัวข้อ "นิทเช่ : ในฐานะรากฐานแนวคิดปรัชญาหลังสมัยใหม่".
สำหรับงานเขียนของนิทเช่ในภาคภาษาไทยเท่าที่ผมรู้ คิดว่ามีอยู่ประมาณ 4 เล่ม และ 4 เล่มนี้ก็เป็นเล่มบางๆ 3 เล่ม ส่วนเล่มที่หนาซึ่งเขียนโดย อาจารย์เฉลิมเกียรติ ผิวนวล คือเรื่อง"เทวา สายัณห์"ก็หนาเพียง 100 กว่าหน้าเท่านั้นเอง พิมพ์ตั้งแต่ก่อนพวกเราเกิด ถ้าหากว่าพวกเราเกิดหลังปี 2520. อีกเล่มหนึ่งของนิทเช่ในภาคภาษาไทยคือเรื่อง "เพียงที่เขียนด้วยเลือด" เป็นหนังสือเล่มบางๆ, อีกเล่มหนึ่งคือ "Thus spoke Zarathustra : ซาราทรุสตร้า" ก็บางเช่นเดียวกัน, และบางไม่แพ้กันคือเรื่อง "อภิมนุษย์" เหล่านี้คือหนังสือทั้ง 3-4 เล่มที่ผมรู้จักนิทเช่ในภาคภาษไทย และเป็นหนังสือที่คนไทยรู้จักนิทเช่ จากมุมแคบๆ
วันนี้เราได้อาจารย์ Hans ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้มาบรรยายให้เราฟัง เพื่อไม่ให้พวกเราต้องมาเสียเวลากับผม จึงขอเชิญอาจารย์ Hans เริ่มบรรยายได้เลยครับ