ประวัติความเป็นมาของเรื่องโป๊-เปลือย-ลามก-อนาจาร ตั้งแต่ยุคกรีก จนกระทั่งถึงปัจจุบัน (040744)
ภาพประกอบ Francesco Hayez, Ruth, 1835.
Collezioni Comunali, Bologna
H
back to
midnight home
คำว่า"โป๊-เปลือย" : ศัพท์คำนี้ หมายถึง การนำเสนอเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นไปในลักษณะกามวิสัย(erotic)ในสื่อประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะในหนังสือ ภาพถ่าย ภาพเขียน รูปปั้น ภาพยนตร์ หรืออื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เจตนาหรือตั้งใจเดิม ทำขึ้นเพื่อที่จะกระตุ้นความตื่นตัวหรือความเร่าร้อนทางเพศให้เกิดขึ้นมานั่นเอง(cause sexual excitement).
content page
member page
webboard
คำว่า pornography (โป๊) มาจากศัพท์ภาษากรีกคือคำว่า Porni (prostitude - โสเภณี) และคำว่า Graphein (to write - เขียน) รวมแล้วหมายถึง การเขียนเกี่ยวกับเรื่องราวของโสเภณีนั่นเอง. แรกเริ่มนั้นคำๆนี้ได้ถูกนิยามขึ้นมาในฐานะที่เป็นผลงานศิลปะหรือวรรณกรรมใดๆก็ตาม ที่ได้วาดหรือบรรยายถึงชีวิตของพวกโสเภณีทั้งหลาย

สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
ความยาวประมาณ 13 หน้ากระดาษ A4
(หากประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้)

สนใจอ่านรายละเอียดสำหรับเรื่องนี้โปรดคลิกที่ภาพ

คลิกไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

คำนำ
(ต้นฉบับหนังสือท้องถิ่นพัฒนากับโลกาภิวัตน์)

ในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ ปี 2540 ที่ผ่านมา มีคำถามมากขึ้นว่า เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย ทำไมจึงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีคำใหม่ ๆ เข้ามาสู่วิถีชีวิตเรามากมาย ไม่ว่าจะเป็น โลกาภิวัตน์ , IMF , WTO , ชาตินิยมใหม่ , เสรีนิยมทางเศรษฐกิจ , ฉันทามติวอชิงตัน , ฉันทามติรัตนโกสินทร์ , กระบวนการทำให้เป็นท้องถิ่น , กระบวนการทางสังคม ( new social movement ) ฯลฯ

คำถามสำคัญก็คือโลกาภิวัตน์ คืออะไร ? เกิดขึ้นได้อย่างไร ? เป็นความจงใจที่จะให้เกิด หรือว่าเป็นเพราะผลจากกระบวนการพัฒนาที่ต่อเนื่องของระบบทุนนิยมในขั้นสุดท้าย ที่มุ่งเข้าสู่การเปลี่ยนคุณค่า, วัฒนธรรม, และจิตใจ ให้กลายเป็นสินค้าอย่างแนบเนียนจนเราไม่รู้สึกตัว

ทำไมโลกาภิวัตน์จึงทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจทั่วโลก มีความเปราะบางมากยิ่งขึ้น ทำไมชะตากรรมของระบบเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ อ่อนไหวไปตามอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของนักลงทุนบางกลุ่ม และทำไมประเทศไทยจึงเป็นสาเหตุของความตกต่ำทางเศรษฐกิจรอบใหม่ และตัวละคร ที่มีบทบาทเด่นในระดับองค์กรโลกบาล ไม่ว่าจะเป็น WTO , WORLD BANK, ADB , บรรษัทข้ามชาติ , ค่อยๆ คืบคลานมาควบคุมวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างไร ?

หนึ่งในต้นเหตุของความผันผวนทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีความเปราะบางนี้ เริ่มต้นมาจากกรณีวิกฤตการเงินของไทย เมื่อปี 2540 ที่ปล่อยให้มีการโจมตีค่าเงินบาทเกิดขึ้นโดยไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งนี้ต้นเหตุหนึ่ง บางทีอาจเนื่องมาจากการเปิดเสรีทางด้านการเงิน ซึ่งไม่มีมาตรการควบคุมที่รัดกุมและฉลาดเพียงพอก่อนหน้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงก่อให้เกิดความอ่อนแอขึ้นในระบบการเงินอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ใช่ไหม ?

นอกจากนี้ เราจะมาดูกันถึงพลังและปัจจัยที่ดึงเอาความต่างของเศรษฐกิจและสังคมให้เข้ามาใกล้ชิดกันในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งได้แก่ การเมืองที่คลุกเคล้ากับเศรษฐกิจ, การค้าระหว่างประเทศ , การลงทุนของบรรษัทข้ามชาติที่สร้างความชอบธรรมโดยผ่านมาทางนักการเมืองและนักวิชาการ, การลงทุนในตลาดหุ้น, การกู้ยืมระหว่างประเทศ, การลงทุนเก็งกำไรค่าเงินที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคม, อัตราการแลกเปลี่ยน และผลของเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำงานสอดประสานกันอย่างไร และสร้างผลกระทบที่เร็วและแรงอย่างไร ?

มีปรากฎการณ์ที่นักเศรษฐศาสตร์ศึกษาพบว่า การครอบงำของเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ได้ก่อให้เกิดการผูกขาดของกลุ่มทุนบางกลุ่ม ทำให้กลุ่มทุนอื่นไม่อาจแทรกตัวเข้าไปได้ในธุรกิจที่ถูกกฎหมายได้ ดังนั้น จึงไปปูดที่การขยายตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจผิดกฎหมาย ซึ่งจงใจเป็นปฎิปักษ์และต่อต้านการลงทุนของบรรษัทข้ามชาติ

หลายประเทศในยุโรป เกิดกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ที่เรียกว่า " New Social Movement " เพื่อปกป้องการบริโภค และวิถีชีวิตชุมชนให้ปลอดภัยจากการครอบงำของบรรษัทข้ามชาติและธุรกิจขนาดใหญ่

กล่าวสำหรับสังคมไทยนั้น ผลกระทบจากโลกาภิวัตน์มาเป็นระยะเวลากว่าศตวรรษ ทำให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบโลกาภิวัตน์ ชนชั้นนำ ได้สร้างตลาดการเมือง ที่มีผลต่อการเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนารวมถึงการผลิต ซึ่งใช้นโยบายทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ภายใต้แนวคิดทุนอุตสาหกรรมนิยมอย่างเข้มข้น

กล่าวได้ว่า ชนชั้นนำของไทยผลักดันให้สังคมเศรษฐกิจไทย เดินไปตามกระแสโลกาภิวัตน์

แต่เมื่อมองในภาคประชาชน และชนบทกลับพบว่า จำนวนมากเลือกเส้นทางของการพึ่งตนเอง ยึดถือเศรษฐกิจแบบอยู่พอดีกินพอดี เกิดขบวนการผลิตทางการเกษตรในลักษณะผสมผสาน ปลูกเพื่อบริโภค เหลือแล้วจึงขาย หันหลังให้กับการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และการผลิตเพื่อการส่งออกที่ได้เปรียบจากต้นทุนด้านแรงงาน ลักษณะเช่นนี้ มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเสมอๆ เรียกว่าเป็นกระแสชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

แนวทางบ้านนอกเช่นนี้ สามารถที่จะเดินเคียงคู่ในยุคโลกาภิวัตน์ได้หรือไม่ ? สังคมไทยต้องช่วยกันตอบคำถาม

และที่น่าสังเกตคือ ในการจะเลือกเส้นทางใหม่ของสังคมไทยนั้น สำนึกหนึ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือสิ่งที่เรียกว่า "ฐานทรัพยากร" อันหมายถึง ฐานของวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น พร้อมทั้งเร่งสร้างให้เกิด"วัฒนธรรมการเรียนรู้"ใหม่ ที่มีพลังและพร้อมที่จะแตกหักกับวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบโลกาภิวัตน์ นอกจากนี้ยังจะต้องกล้าที่จะปฎิเสธความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ที่เคยเป็นมาในอดีต

สังคมไทยก้าวมาถึงทางเลือกที่สำคัญคือ เราจะมีองค์ความรู้รอบด้านพร้อมมูลเพียงพอแก่การพิจารณามากน้อยแค่ไหน เพียงใด ในการตัดสินใจ และพลังตัดสินใจนั้น คำตอบต่อสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับภาคประชาชนเป็นสำคัญ ว่าจะกำหนดอนาคต บทบาท วิถีชีวิต และผลิตนโยบายให้เป็นไปเช่นใด ในสภาวะอันสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ นี้

ด้วยภาพรวมของสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น และความท้าทายต่อการแสวงหาทางออกดังกล่าวข้างต้น เพื่อจะเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันได้อย่างมีสติ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงได้เปิดชั้นเรียนอีกครั้งด้วยกระบวนวิชา " ท้องถิ่นวัฒนากับโลกาภิวัตน์ 101 " ( Localization & Globalization ) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า " โลกาภิวัตน์ 101 " เพื่อคิดร่วมกันในเรื่องนี้

โดยแยกเป็น 4 ประเด็น คือ (กิจกรรมนี้จัดขึ้นทุกวันเสาร์ตลอดตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2544)

1. โลกาภิวัตน์กับวัฒนธรรมไทย เสนอโดย ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์
2. เศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ เสนอโดย ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร
3. กระแสชุมชนท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์ เสนอโดย ศ.เสน่ห์ จามริก
4. ทางเลือก ทางรอด ของสังคมเศรษฐกิจไทยในยุคโลกาภิวัตน์ เสนอโดย รศ.ดร. รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์

ผลจากการอภิปราย ถกเถียงกันในชั้นเรียนได้นำมาถอดเทปและพิมพ์เป็นชุด ๆ ถ่ายเอกสารให้กับผู้สนใจในแต่ละสัปดาห์ จนเมื่อเสร็จสิ้น ปิดกระบวนวิชาดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีผู้สนใจติดตามถามถึงเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะได้นำไปเผยแพร่ในเวบไซต์ของมหาวิทยาลัยแล้วก็ตาม

ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงตัดสินใจจัดพิมพ์เป็นเล่ม เพื่อขยายขอบเขตของห้องเรียนให้กว้างขวางขึ้น โดยพยายามรักษาบรรยากาศแห่งการเสวนาในห้องเรียนไว้ จากคำถามคำตอบ ประเด็นถกเถียงในแง่มุมต่าง ๆ นำมาพิมพ์รวมไว้ด้วยกัน ทั้งยังขอท่านผู้บรรยายนำ ได้ตรวจทานเนื้อหาทั้งหมด ทั้งนี้ก็โดยหวังว่า บทศึกษาเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง และเป็นพลังที่เข็มแข็งของสังคมต่อไป

ท่านผู้อ่านที่อ่านงานชิ้นนี้แล้ว สนใจกิจกรรมและการต้องการร่วมชั้นเรียนของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทั้งในเรื่องโลกาภิวัตน์และศาสตร์นอกกระแสอื่นๆ ขอเรียนว่า ห้องเรียนของเราเปิดตลอดเวลาที่เวบไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนที่ www.geocities.com/midnightuniv

บัดนี้ ห้องเรียนกระบวนวิชา " โลกาภิวัตน์ 101 " ได้รอท่านอยู่ในหน้าถัดไปแล้ว ขอเชิญท่านลงทะเบียนและหาที่นั่งได้ตามอัธยาศัย

ชัชวาล ปุญปัน - สมเกียรติ ตั้งนโม (บรรณาธิการ)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

 

คำโปรยปกหลัง

ในขณะที่ชนชั้นปกครองไทยผลักดันให้สังคมเศรษฐกิจไทย เดินบนเส้นทางที่ผมตั้งชื่อว่า "โลกานุวัตรพัฒนา"
แต่ว่าในชนบทมีกลุ่มชนในภูมิภาคต่างๆเลือกเส้นทาง "ชุมชนท้องถิ่นพัฒนา" และนี่เป็นเส้นทางการพัฒนา 2
เส้นทางที่ผมบอกว่ามันเป็น"ทวิลักษณะของการพัฒนา" ยุทธศาสตร์โลกานุวัตรพัฒนา
เป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องการประโยชน์จากกระบวนการโลกานุวัตร

ระบบเศรษฐกิจจะได้ประโยชน์จากกระบวนการโลกานุวัตร ก็ต่อเมื่อระบบเศรษฐกิจเชื่อมสัมพันธ์กับระบบทุนนิยมโลก ดังนั้น ประเทศที่เลือกเส้นทาง โลกานุวัตรพัฒนา ก็จะต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเปิด จะต้องเปิดเสรีในทุกๆด้าน
ไม่จำเพาะแต่เปิดเสรีทางการค้า แต่คลุมไปถึงการเปิดเสรีทางการเงิน เปิดเสรีทางการผลิต
และเปิดเสรีในทางการลงทุนระหว่างประเทศ อันนี้ก็เป็น ยุทธศาสตร์โลกานุวัตรพัฒนา ...

ทำไมรัฐบาลจึงเลือก ยุทธศาสตร์โลกานุวัตรพัฒนา แล้วไม่เลือก ยุทธศาสตร์ท้องถิ่นพัฒนา ยุทธศาสตร์ท้องถิ่นพัฒนา
จะขึ้นมาเป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาในสังคมเศรษฐกิจไทยได้หรือไม่ได้ ? ฉันทามติแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
จะกลายมาเป็นปรัชญาพื้นฐานของการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของชาติได้อย่างไร ?

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์

 

คลิกไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

ชัขวาล ปุญปัน - สมเกียรติ ตั้งนโม บรรณาธิการ
เสน่ห์ จามริก
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
ผาสุก พงษ์ไพจิตร
อานันท์ กาญจนพันธุ์

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้เปิด ชั้นเรียนสนทนาในหัวข้อ "โลกาภิวัตน์ 101" ภายใต้ชื่อ วิกฤตโลก วิกฤตไทย อะไรคือทางรอด ?

กิจกรรมนี้ ได้เชิญ ศ.เสน่ห์ จามริก, รศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร, และ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ มาเป็นผู้นำการเสวนา ในชั้นเรียน

บัดนี้กำลังจะบริการในรูปของ หนังสือ pocket book ขนาด 16 หน้ายก แล้ว (เพื่อให้ผู้ที่อยู่ไกล สามารถเข้าถึงความรู้ได้เท่าเทียมกัน ในรูปสิ่งพิมพ์ ภาพปก 4 สี งดงามมาก)

ชื่อเรื่อง "ท้องถิ่นพัฒนากับโลกาภิวัตน์"
เนื้อหาภายในจะแบ่งออกเป็น 4 ตอน ประกอบด้วย 1. โลกาภิวัตน์กับวัฒนธรรมไทย เสนอโดย ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ 2. เศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ เสนอโดย ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร 3. กระแสชุมชนท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์ เสนอโดย ศ.เสน่ห์ จามริก 4. ทางเลือก ทางรอดของสังคมเศรษฐกิจไทยในยุคโลกาภิวัตน์ เสนอโดย รศ.ดร. รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์

ขนาดความหนาของหนังสือ 260 หน้า / รายได้ทุกบาท เพื่อใช้ในกิจกรรมบริการการศึกษาฟรี ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

สำหรับผู้ต้องการฟรี กรุณา down load ได้ โดยคลิกที่ภาพ (่อันที่จริงแล้ว เราปราถรนาให้ผู้มีกำลังซื้อ ช่วยอุดหนุนกิจกรรมทางการศึกษา)
(Introduction) "Localization and Globalization 101"(Midnight's pocket book)
คำนำหนังสือพ็อกเก็ตบุคมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน "ท้องถิ่นพัฒนากกับโลกาภิวัตน์"
ทุกหน้าของ website มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หากเปิดเข้ามาแล้ว พบภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลงมา จะแก้ปัญหาได้
HOST@THAIIS