บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 187 เรื่อง "Jacques Derrida" เขียนโดย David Hoy บทความทางด้านปรัชญา : ความยาวประมาณ 26 หน้ากระดาษ A4
สอดคล้องกับคำชี้แจงในบทความลำดับที่ 186 เรื่อง
"โหมโรงเกี่ยวกับ Jacques Derrida" ว่า เรื่องที่จะอ่าน
ต่อไปนี้ เป็นงานเขียนทางปรัชญาที่ยุ่งยากซับซ้อนชิ้นหนึ่ง ซึ่ง
หากไม่มีพื้นฐานทางปรัชญากว้างขวางพอ ก็อาจประสบปัญหาใน
การทำความเข้าใจ ที่สำคัญคือ อาจจะไม่สามารถเรียงร้อยเนื้อหาทั้ง
หมดให้มีเอกภาพขึ้นมาได้
แต่อย่างไรก็ตาม การอ่านแบบ ผ่านๆ ไปรอบหนึ่งโดยไม่ต้องคอย พะวงถึงความเข้าใจ จะทำให้เห็นภาพรวมๆได้ระดับหนึ่ง และในโอกาสต่อไป หากมีความสนใจในปรัชญาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะมีพื้นฐานทางด้านปรัชญาภาษา และปรัชญาหลังสมัยใหม่ และต้องการทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานชิ้นนี้ อาจนำกลับมาทบทวนอีกครั้งตามลำดับ สำหรับผู้ที่ต้องการหนังสืออ่านเพิ่มเติม อาจดูได้ที่ท้ายเรื่องของบทความชิ้นนี้ ซึ่งผู้เขียนได้แนะนำไว้แล้วสำหรับผู้เริ่มต้น และหวังว่า คำแนะนำดังกล่าวจะช่วยให้ผู้อ่านมีพื้นฐานเพียงพอต่อการทำความเข้าใจงานเขียนของ Derrida เพิ่มขึ้นในโอกาสต่อไป

ข้อความหนึ่งๆนั้นมันจะทำงานได้ผล ถ้าเผื่อว่ามันประสบความสำเร็จในการสื่อสารได้ตรง, สอดคล้องทั้งหมดในการส่งสารอันหนึ่งออกไป, แต่โดยทั่วไปและมากต่อมาก มันกลับเป็นตัวแทนหรือสร้างความจริงอันหนึ่งภายนอกตัวของมันเองขึ้นมาแทน

สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง

H
home
R
relate
ภาพประกอบดัดแปลง : 1 ภาพการ์ตูนจากปกหนังสือ Derrida มาจาก http://www.grad.cgu.edu/~scheible/webpage/derrida.jpg 2. ภาพ Portrait ของ Derrida มาจาก http://www.news.cornell.edu/Chronicle
/96/10.10.96/Derrida.GIF (ใช้ประกอบบทความวิชาการ)
020645
หากประสบปัญหา ภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่ออุดมศึกษาไท บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

ลองพิจารณาประเด็นของเขาในทางที่ต่างออกไปอีกอันหนึ่ง บรรดานักปรัชญาและนักทฤษฎีทั้งหลายควรยอมรับว่า แม้"คำ"(the word)จะถูกนำมาใช้เป็น"ชื่อเรียก"(the name) สำหรับปัญหาปรัชญามาตลอดในลักษณะสมมุติ, แต่ความหมายของมันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างถึงรากมาโดยตลอดประวัติศาสตร์ปรัชญา และเราจะถูกทำให้เข้าใจผิด ถ้าหากว่าเราคิดว่า เรากำลังใช้มันในหนทางเดียวกัน หรือแม้ว่าเราจะคิดกันไปว่า เรายังคงมีการใช้มันในความหมายเดิมอยู่

ความน่าหนักใจต่างๆเกี่ยวกับ"ความในใจ"(mind) และ"ความคิด"(idea) ที่เป็นตัวแทนความจริงอย่างเหมาะสม มันได้ถูกแทนที่ เมื่อผู้คนเริ่มที่จะไม่แน่ใจว่า พวกเขารู้ในสิ่งที่พวกเขาหมายถึงโดย"ความคิด"(idea)หรือไม่.

ลองเปลี่ยนกลับมาถึงปัญหาที่ว่า"ภาษา"เป็น"ตัวแทนความจริง"อย่างไร โดยหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆของศัพท์ที่เกี่ยวกับความในใจ และเทอมต่างๆอย่างเช่น"ความคิด"(idea), แต่มาอธิบายถึง"การเป็นตัวแทน"(representation)เป็น"การอ้างอิง"(reference) ซึ่งมันก็ยังจะไม่ใช่ข้อยุติการถกเถียงกันระหว่างพวก"สัจนิยม"(realists) กับ "อุดมคตินิยม"(idealists)แต่อย่างใด

การเข้ามาแทรกของ Derrida มีนัยะว่า ถ้าหากมันมีปัญหาต่างๆที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ซึ่งคลอไปกับการใช้ความคิดเกี่ยวกับการเป็นตัวแทน(representation), ก็ไม่ต้องดำเนินไปตามรอยนั้น สิ่งเหล่านี้มันคือปัญหาชั่วนิรันดร์ของปรัชญาและมนุษยศาสตร์.

โดยการสร้างศัพท์และการใช้ศัพท์ที่เป็นทางเลือกในเชิงทฤษฎี ซึ่งหากไม่มีการอุปมาเกี่ยวกับตัวแทน(metaphor of representation) ปัญหาต่างๆจะไม่หดหายไปไหน. แน่นอน มั่นใจได้เลยว่า ปัญหาอื่นๆจะเกิดขึ้นตามมา ดังนั้นจึงไม่มีการรับประกันใดๆว่าปรัชญาหรือศาสตร์ต่างๆดังว่า จะถูกนำมาใช้ได้ดีกว่า โดยหนทางใหม่ๆของการพูดและการเขียน

ความคิดมาตรฐานเกี่ยวกับ"ความก้าวหน้า"(progress) จะต้องถูกยกเลิกหรือทิ้งไปได้เลยพร้อมด้วยเรื่องของการเป็นตัวแทน(representation).

สำหรับ"ความก้าวหน้า"เป็นส่วนหนึ่งของ"ภาพของการเป็นตัวแทน" ที่ตีความหรืออธิบายในฐานะว่าได้"ใกล้เข้าไป" และเขยิบเข้าไปใกล้เคียงถึง"ความเป็นจริง"(reality). ไม่ว่าเราจะต้องการคิดว่า"ความรู้"มัน"เติบโต"หรือ"ก้าวหน้า"ในความหมายเชิงปริมาณอย่างบริสุทธิ์มากกว่าหรือไม่ก็ตาม ซึ่งอันนี้คือความคิดหนึ่งที่ Derrida และ"บรรดานักคิดหลังโครงสร้างนิยมฝรั่งเศส" คนอื่นๆ (French post-structuralism) ได้นำขึ้นมาท้าทาย

แม้ว่าจะละทิ้งอุดมคติมาตรฐานเกี่ยวกับ"ความก้าวหน้า"ที่เป็น"ต้นทุน"นัยสำคัญอันหนึ่งลงไปแล้ว ความไม่แน่นอนก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของ"ราคา"อยู่ดี. ถ้าหากว่าเราจะเผชิญกับปัญหาต่างๆต่อไปในหนทางใหม่ๆของความคิด อีกครั้งที่เราก็จะยังคงไม่มองไปข้างหน้า, ทำไมเราจึงไม่ควรที่จะเกาะติดกับคำศัพท์ปัจจุบันของเราเล่า ? คำตอบก็คือ อย่างน้อยที่สุด เราก็รู้ว่าปัญหาต่างๆของมันจะยังคงมีอยู่ต่อไป และปัญหาเกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่ๆ อาจไม่สามารถแก้ไขได้เท่าๆกันนั่นเอง

ยิ่งไปกว่านั้นเราอาจกำลังซื้อบางสิ่งบางอย่างที่เราไม่ต้องการ. ผลที่สุด เราก็ไม่รู้ลงไปแน่นอนว่า เราไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ"อันเป็นนิรันดร์"ได้ และเราอาจเสแสร้งว่า เราได้สร้างความก้าวหน้าบางอย่างสู่ขอบเขตที่เป็นความล้มเหลวต่างๆซึ่งบรรดาผู้ที่ล่วงหน้ามาก่อนเราได้สอนเราว่า การเข้าถึงต่างๆมันไม่ประสบผลสำเร็จแต่อย่างใด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตกลงราคา(bargain)กลายเป็นการพิจารณาที่เสียเปรียบ ความแปลกประหลาดและตัวตนแปลกแยกจะเป็นผลลัพธ์เนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลง. ความคุ้นเคยที่ได้รับมาจากการศึกษาของเราด้วยความยุ่งยากเกี่ยวกับปัญหาต่างๆทางขนบประเพณี มันให้ความรู้เกี่ยวกับความต่อเนื่องกับเราอันหนึ่ง และความเกี่ยวดองของเรากับบรรดานักคิดในอดีต รวมถึงตัวตนของเราเองก่อนหน้านั้น

Derrida นั้นเต็มใจที่จะจ่ายราคาสิ่งที่เป็นหลักฐานจากความแปลกเกี่ยวกับสไตล์ของเขา. อย่างไรก็ตาม นัยสำคัญที่มากกว่าสไตล์ของเขาคือ การอ่านต่างๆที่เกี่ยวกับแก่นของภาษา(ข้อความ)ทั้งหลายจากประวัติศาสตร์ปรัชญา. เขาไม่ได้โฟกัสลงไปที่แก่นกลางความคิดหรือข้อถกเถียงต่างๆ, แต่ได้เพ่งลงไปที่การอุปมาอุปมัยรายรอบ(maginal metaphors) และสิ่งประดิษฐ์ทางวาทศิลป์(rhetorical devices) ที่บรรดานักตีความทั้งหลายส่วนใหญ่พูดออกมาแต่ในแง่ที่ดีงาม

ขณะเดียวกัน เขาก็ไม่เห็นด้วยกับบรรดานักตีความทั้งหลาย ผู้ซึ่งอ้างว่าสามารถทำให้เราอ่านข้อความ(texts)นั้นๆได้, Derrida จะทำให้เราไม่สามารถอ่านมันได้. แทนที่จะแสร้างว่า ข้อความนั้นประสบผลสำเร็จในการสถาปนาสาร(message)ของมันขึ้นมา ยุทธวิธีของ Derrida จะทำให้เราเห็นว่า มันไม่ทำงานหรือไม่เป็นผลอย่างไร. กล่าวอย่างสั้นๆ เขาไม่ได้สร้างความหมายของข้อความขึ้นมาใหม่(does not reconstruct) แต่ได้ทำการรื้อสร้างมันแทน(but instead deconstruct it)

"การรื้อสร้าง"(Deconstruction)ไม่เพียงเปิดเผยว่า ข้อความต่างๆได้ให้รอยพิมพ์เกี่ยวกับการทำงานอย่างไรเท่านั้น แต่ภายใต้ขอบเขตของข้อความนั้น สามารถถูกค้นพบว่า มันมีสิ่งประดิษฐ์ทางวาทศิลป์ที่ทำให้มายาภาพอันนี้มีอยู่อย่างถาวรโดยเจตนา จริงๆแล้วมันทำงานสวนทางกันกับตัวมันเองอย่างไร

ข้อความหนึ่งๆนั้นมันจะทำงานได้ ถ้าเผื่อว่ามันประสบความสำเร็จในการสื่อสารได้ตรง, สอดคล้องทั้งหมดในการส่งสารอันหนึ่งออกไป, แต่โดยทั่วไปและมากต่อมาก, มันกลับเป็นตัวแทนหรือสร้างความจริงอันหนึ่งภายนอกตัวของมันเองขึ้นมาแทน

"การรื้อสร้าง"ได้แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวเกี่ยวกับความพยายามของงานชิ้นหนึ่งในการเป็นตัวแทน และ, โดยการแสดงนัยะ, ของความเป็นไปได้เกี่ยวกับความล้มเหลวเชิงเปรียบเทียบโดยงานชิ้นนั้นๆ, หรือโดยข้อความต่างๆ

สำหรับ"ข้อความต่างๆทางปรัชญา", "การรื้อสร้าง"สามารถบรรลุถึงอันนี้ได้ โดยการแสดงให้เห็นว่าในระดับของตัวอักษรที่สมมุติ เป็นลักษณะของการอุปมาอย่างเข้มข้นอย่างไร. ส่วน"ข้อความทางอักษรศาสตร์" "การรื้อสร้าง" สามารถแสดงให้เห็นถึงท่าทีที่ไม่แน่ใจ คลุมเครือ ถึงขบวนการอันเป็นสิ่งที่จำเป็นของลักษณะการอุปมาของตัวหนังสือ

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่า"การต่อรอง"(bargain)ดังกล่าวเป็นไปในทางที่ไม่ดี อะไรล่ะที่จะไปกระตุ้นบรรดานักทฤษฎีจำนวนมากเมื่อเร็วๆนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการศึกษาทางวรรณคดี ให้ยอมรับมัน ? ความเบื่อหน่ายเป็นปัจจัยที่เป็นไปได้อันหนึ่ง. ปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นมาในคำศัพท์ที่เป็นทางเลือก(alternative vocabulary) อย่างน้อยที่สุด ก็มีความสดอันหนึ่ง. ความท้าทายเพียงลำพังอาจจะมาชดเชยหรือแทนที่แรงกระตุ้นบางอย่าง. เพื่อสร้างคำศัพท์ใหม่ๆในเชิงทฤษฎี และทำให้มันปฏิบัติได้ อาจเป็นความยุ่งยากและเรื่องเสี่ยงภัย ซึ่งมันต้องการความเฉลียวฉลาดแคล่วคล่องและโชค

ด้วยเช่นกัน เมื่อคนอื่นๆส่วนใหญ่ยังคงทำงานในสไตล์แบบเก่าๆ งานเขียนและความคิดในสไตล์ใหม่ๆจะให้กำเนิดสถานการณ์ที่เป็นปรปักษ์อันมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง. ปฏิกริยาที่เลวร้ายได้มาทำให้เกิดการเพิ่มพลังอัตลักษณ์ของขบวนการที่ปรากฎขึ้น และมันอาจจะเป็นผลลัพธ์อันเป็นที่ปรารถนาอย่างหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม แรงกระตุ้นที่แท้จริงมาจากสถานการณ์ซึ่งปรัชญาได้ค้นพบตัวของมันเองเมื่อ Derrida เริ่มพัฒนายุทธวิธีของเขาเกี่ยวกับ"การรื้อสร้าง"(deconstruction). บทความชิ้นนี้ ผมจะสนทนาถึงเรื่องสองเรื่องคือ

เรื่องแรก"การสิ้นสุดหรือจุดจบของปรัชญา(the end of philosophy)" และ
เรื่องที่สอง"การวิพากษ์เกี่ยวกับมนุษยนิยม(the critique of humanism)

มันยังมีเรื่องสำคัญอื่นอีก แต่เน้นกลับไปยังเรื่องแรกที่จะทำให้ผมแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันต่างๆกับเรื่องที่คุ้นเคยอันหนึ่งในปรัชญาแองโกล-อเมริกัน(Anglo-American)(philosophy), และการแนะนำเรื่องที่สอง ซึ่งจะให้ความหมายเกี่ยวกับความไม่ปกติธรรมดาของมุมมองแบบภาคพื้นทวีป(ยุโรป)

นอกจากเราจะสามารถมองเห็นสิ่งที่ค่อนข้างแตกต่างไปมากเกี่ยวกับมุมมองแล้ว อย่างไรก็ตามแต่ เราจะไม่สำเหนียกหรือรับรู้ว่า มันสามารถที่จะเป็นแหล่งต้นตอที่แปลกใหม่ของแรงบันดาลใจได้อย่างไร สำหรับบรรดานักทฤษฎีและนักวิจารณ์ที่ใช้ภาษาอังกฤษ(anglophone), หรืออย่างน้อยที่สุด ใครสักคนจะปกปักษ์รักษามันให้พ้นไปจากความเห็นอันคับแคบ

2. การมรณกรรมของขนบจารีตอันยิ่งใหญ่ของมนุษยนิยม (The death of the grand tradition of humanism) สำหรับเรื่องแรกจะเกี่ยวพันถึง ฉากปรัชญาร่วมสมัยที่ยืนอยู่บนความสัมพันธ์กับขนบจารีตทางปรัชญา อันนี้เหมือนกับ Wittgenstein และ Heidegger, Derrida และบรรดานักคิดหลังโครงสร้างนิยมฝรั่งเศสคนอื่นๆ(French post-structuralists) ซึ่งมองกันว่า ขนบจารีตอันยิ่งใหญ่ของอภิปรัชญามันได้สิ้นสุดลงแล้ว

แต่อย่างไรก็ตาม Derrida รู้สึกต่อต้านการพูดอะไรง่ายๆเกี่ยวกับความตายของปรัชญาหรือความตายของมนุษย์อย่างไม่เหมาะสม และเกี่ยวกับการมีชัยชนะต่ออภิปรัชญา(metaphysics)(Derrida 1981b:6). "ทฤษฎีรื้อสร้าง"ของเขา ได้แสดงให้เห็นความขัดแย้งกับอันนั้น ในการไม่มีอยู่ของทางเลือกที่ชัดเจนอันใดอันหนึ่งต่อขนบจารีตอันยิ่งใหญ่ และปัญหาที่เป็นนิรันดร์ของมัน, ทฤษฎีต่างๆที่หลีกเลี่ยงอภิปรัชญา จะยังคงติดกับ(trap)อยู่ในคำศัพท์เก่าๆและภาวะเขาควาย(dilemma)ที่ไม่รู้ว่าจะเลือกทางไหนดี

โดยทั่วไปแล้ว Derrida ได้รับการแยกแยะในฐานะที่เป็นนักทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมคนหนึ่ง เนื่องมาจากการวิจารณ์ของเขาเกี่ยวกับภาษาศาสตร์โครงสร้างนิยม(structuralist linguistics)[Saussure] และมานุษยวิทยาโครงสร้างนิยม[Levi-Strauss]

โครงสร้างนิยมในตัวมันเองคือพัฒนาการที่เป็นจุดจบของปรัชญาอันหนึ่ง, นับตั้งแต่ที่มันพยายามจะทำการคาดการณ์เชิงปรัชญาอันไม่จำเป็น. เทียบกับวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์สมัยใหม่ ซึ่งได้เข้ามาแทนที่การคาดการณ์เชิงปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติของสสารด้วยการกระตุ้นให้ค้นคว้า, คำอธิบายที่ได้จากประสบการณ์ การทดลอง และเฝ้าสังเกต, ภาพสะท้อนทางปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ที่ถูกเข้ามาแทนที่โดยวิทยาศาสตร์ เหมือนกับภาษาศาสตร์และมามนุษยวิทยา

ผลงานชิ้นสำคัญของ Derrida เรื่อง Of Grammatology และหนึ่งในความเรียงเรื่องแรกๆที่ได้มีการแปล "Structure, Sign, and Play in the Discourse of Human Sciences" ทำให้เขากลายเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในท่ามกลางปัญญาชนทั้งหลายที่ใช้ภาษาอังกฤษ, เขาได้ให้เหตุผลว่า Saussure และ Levi Strauss ยังคงให้ความไว้วางใจในสมมุติฐานปัญหาทางอภิปรัชญาอยู่ ในการเริ่มต้นโครงการของพวกเขา และด้วยการทำเช่นนั้น มันจะไม่ประสบผลในการที่จะปลดปล่อยพวกเขาให้เป็นอิสระจากความยุ่งยากต่างๆทางปรัชญาได้ ซึ่งพวกเขาพยายามที่จะหลีกเลี่ยงมันนั่นเอง

Derrida เห็นด้วยกับบรรดานักโครงสร้างนิยมคนอื่นๆที่ว่า "สมมุติฐานทางอภิปรัชญา"ไม่สามารถเชื่อถือได้อีกต่อไปแล้ว ดังนั้นเขาจึงไม่พยายามที่จะนำเอาขนบจารีตอันยิ่งใหญ่นั้นหวนกลับมาสู่ความมีชีวิตอีกครั้ง

ด้วยเหตุนี้ เขาจึง"รื้อสร้าง"ความพยายามต่างๆที่แพร่หลายทั่วๆไป เพื่อไปให้พ้นอภิปรัชญาแทน โดยแสดงให้เห็นถึงความเครียดหรือแรงดึงที่ซ่อนอยู่ในอภิปรัชญาที่ถูกนำเข้ามาโดยการเก็บรักษาไว้ในฐานะที่"เป็นธรรมชาติ"ด้านตรงข้ามกัน เท่าๆกับสิ่งเหล่านั้นระหว่าง การพูดและการเขียน, จิตและกาย, ภายในและภายนอก, ความดีและความชั่ว, อุบัติเหตุและเหตุการณ์ปกติ, เอกลักษณ์และความแตกต่าง, การมีอยู่และการไม่มีอยู่, เวลาและที่ว่าง, ความเป็นนามธรรมและรูปธรรม, หรือกระทั่งชายและหญิง.

ถึงแม้ว่าการแยกแยะเหล่านี้ จะได้รับการทึกทักว่าเป็นสิ่งที่ชัดเจน และมีคุณค่าเป็นกลาง แต่การใช้ประโยชน์มันตามจารีตประเพณีและศาสตร์ต่างๆเมื่อเร็วๆนี้เสนอว่า ในทางปฏิบัติ ขั้วหนึ่งในความตรงข้ามกันเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีสิทธิพิเศษหรือข้อได้เปรียบกว่าอีกขั้วหนึ่ง

การวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของ Derrida เกี่ยวกับการแยกขั้วตรงข้ามกันเหล่านี้ ได้แสดงให้เห็นว่า ในการนำเอาวิธีการทวินิยม(dualism)ต่างๆเหล่านี้มาใช้ มันได้รับการปฏิเสธทันที (aufgehoben, in Hegel's sencse). ดูเหมือนว่าพวกเราจะถูกบีบบังคับให้เข้าไปสู่ตำแหน่งที่เป็นไปไม่ได้ของการจะพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับ"ความตรงข้ามที่คาราคาซัง"เหล่านี้, Neither/nor, นั่นคือ, simultaneous either or (Derrida 1981b: 43)

การดำเนินไปอย่างต่อเนื่องซึ่งแพร่หลายอยู่ทั่วไปอันต่อมา ทั่วทั้งทฤษฎีภาคพื้นทวีป(ยุโรป)ก็คือ ปฏิกริยาต่อแนวความคิด"มนุษยนิยมของลัทธิอัตถิภาวนิยม"(humanism of existentialism) และแนวคิดบางอย่างของ"ลัทธิมาร์กซ์". Derrida ได้ขุดเซาะนักโครงสร้างนิยมซึ่งพยายามพัฒนาศาสตร์เกี่ยวกับมนุษย์ โดยการท้าทายแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์

ในความเรียงเรื่อง "The Ends of Man" เขาได้เล่นกับความหมายที่แตกต่างของคำว่า "end"(จุดจบ), ที่เกี่ยวกับมนุษย์ กล่าวคือ, มันหมายถึง -เกี่ยวกับการมา"ถึงจุดจบหรือจุดสิ้นสุดของมนุษย์", หรือว่า มนุษย์ได้เดินมา"ถึงเป้าหมายตามจารีต" หรือ"ปลายทางของมนุษยชาติ" (อย่างใดแน่)(Derrida 1982b)

ภาพสะท้อนต่อความหมายที่สอง โน้มนำเราให้ตั้งคำถามว่า อุดมคติต่างๆเหล่านี้มันถูกทำให้บรรลุผลหรือไม่, และข้อสงสัยต่างๆอาจทำให้เรากังขาว่า พวกเขากำลังประสบกับสิ่งที่ตรงข้ามกับความปรารถนาหรือเปล่า, ซึ่งชี้ชะตาเราถึงการไม่อาจบรรลุถึงความคาดหวังนั้นได้ชั่วนิรันดร์

บรรดานักหลังโครงสร้างนิยมฝรั่งเศส ต่างก็ดำเนินรอยตาม Nietzsche ในการคิดที่ว่า หนทางหนึ่งที่จะปลดปล่อยตัวของเราเองให้เป็นอิสระจากความสิ้นหวัง ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยความล้มเหลวของเราที่จะเข้าใจอุดมคติได้อย่างแจ่มแจ้งก็คือ ต้องปลดปล่อยตัวของพวกเราเองจากแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์ที่พวกเขาคาดคะเนหรือสันนิษฐานกันเอาไว้ก่อนหน้านี้

พวกเราสามารถนำ"มนุษย์"ไปสู่"an end" ได้โดย การแสดงให้เห็นว่า แนวความคิดนั้น ในตัวมันเองเป็นความสัมพันธ์เชิงประวัติศาสตร์อันหนึ่ง การเริ่มต้นขึ้นมาของมัน เราสามารถระบุวันเวลาได้ และด้วยเหตุนี้ "end"ของมัน เราจึงสามารถนึกคิดหรือวาดมโนภาพได้, และบางทีอาจประสบกับมันมาแล้ว

การคิดประดิษฐ์เทอมต่างๆหรือคำศัพท์ใหม่ๆขึ้นมา, เหมือนอย่างกับคำว่า"differance" ของ Derrida, หรือ "power / knowledge" ของ Foucault, ได้รับการคาดว่าจะปลุกเราขึ้นมา, ถ้าหากว่า ไม่จากการงีบหลับอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ไร้ข้อพิสูจน์ของเรา ดังที่ Hume ทำกับ Kant, อย่างน้อยที่สุดมันก็ปลุกเราขึ้นมาจากสิ่งที่ Foucault เรียกว่า "anthropological sleep"(การหลับใหลทางมานุษยวิทยา)ของเรา

อย่างถูกต้อง Kant เป็นคนหนึ่งซึ่งตกอยู่ในความหลับใหลอันนี้ด้วย "Copernican Revolution in philosophy"(การปฏิวัติคอเปอร์นิคันในทางปรัชญา)ของเขา, ซึ่งได้วางมนุษย์เอาไว้ ณ ใจกลางของสิ่งต่างๆ. Kant ได้เสนอคำถามทางมานุษยวิทยาอย่างขวานผ่าซากว่า "What is man?"(มนุษย์คือใคร?) เข้าไปสู่วงการปรัชญา และด้วยเหตุนี้จึงประณามขนบจารีต post-Kantian ว่าเป็น"ลัทธิมานุษยวิทยาที่อับโชค"(an unfortunate anthropologism), หรือลัทธิอุดมคติ, หรือลัทธิมนุษยนิยม. โดยเหตุนี้ การวิจารณ์เกี่ยวกับมนุษยนิยม บ่อยครั้งจึงถูกชี้นำหรือกำกับให้สวนกันกับ Kant, และสวนกับอุดมคติต่างๆของยุคสว่าง(Enlightenment) ซึ่งเขาได้ก่อความเข้าใจของเราขึ้นมาเกี่ยวกับว่า ปรัชญาคืออะไร...

บรรดานักคิดหลังโครงสร้างนิยมทั้งหลาย เป็นผู้รับช่วงสืบทอดภารกิจเกี่ยวกับการวิจารณ์แนวคิดมนุษยนิยมจาก Martin Heidegger. โครงการของ Heidegger รวมถึงการวิพากษ์เกี่ยวกับมนุษยนิยม ซึ่งเขาพบว่าวิ่งพล่านอยู่ใน neo-Kantianism ในช่วงวันเวลาของเขา. นอกจากลัทธิมนุษยนิยมยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ และ Heidegger ช่วงหลังต้องวิพากษ์ความโน้มเอียงเกี่ยวกับผลงานต่างๆในช่วงแรกของเขาเอง อย่าง Being and Time ที่ประเมินดูแล้วคล้ายชิ้นส่วนของมานุษยวิทยาเชิงปรัชญา. เนื่องจากเหตุนี้ ในปี ค.ศ.1947 เขาจึงได้เขียนเรื่อง "Letter on Humanism" เพื่อวางระยะห่างผลงานของของเขาจากความโน้มเอียงของ Sartre ที่อ่านมันในฐานะที่เป็นมานุษยวิทยาเชิงปรัชญา

Heidegger ยืนยันว่า Sartre ยังคงทำมานุษยวิทยาเชิงปรัชญาอยู่ และด้วยเหตุนี้ จึงอ่านหรือตีความผิดๆเกี่ยวกับเขา. Heidegger พยายามแทนที่โดยสร้างศัพท์ทางปรัชญาขึ้นมาใหม่คำหนึ่งอย่างพิถีพิถัน เพื่อหลีกเลี่ยงเทอมต่างๆของนักจิตวิทยา อย่างเช่น ความสำนึก(consciousness) หรือ ความเป็นอัตวิสัย(subjectivity) ที่ยังคงเป็นลักษณะสำคัญในงานของ Sartre อยู่

การวิจารณ์เกี่ยวกับ Sartre โดย Heidegger เป็นเหตุผลหนึ่งที่แนวคิดปรากฎการณ์วิทยาฝรั่งเศส(French Phenomenology)เป็นสิ่งที่ไม่โดดเด่นอีกต่อไปแล้วในฉากปรัชญาปัจจุบัน. ยิ่งไปกว่านั้น ความโน้มเอียงของวันเวลาดังกล่าวได้เคลื่อนคล้อยจากมนุษยนิยม, ย้ายจากปรัชญาอันหนึ่งที่อุทิศตัวให้กับความสำนึกเชิงวิเคราะห์ไปแล้ว, สู่การเน้นในเรื่องโครงสร้างต่างๆเชิงภาษา และปฏิบัติการทางสังคม

แน่นอน อันนี้เป็นผลที่ตามมาหรือบทพิสูจน์ทางการเมืองต่อการวิจารณ์อันนี้เกี่ยวกับมนุษยนิยมด้วย. Sartre และ Merleau-Ponty กลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัย ไม่เพียงเพราะพวกเขายังคงพยายามทำเรื่องของปรากฎการณ์วิทยาอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะความเป็นมาร์กซิสท์ ที่พวกเขายังเป็นนักมนุษยนิยมมาร์กซิสท์ด้วย

ความเสี่ยงเกี่ยวกับการทำให้การวิพากษ์มนุษยนิยมเชิงปรัชญาเป็นเรื่องที่ง่ายเกินไป ผมได้ขมวดมันให้เป็นประเด็นหลักอยู่ 5 ประเด็นด้วยกัน เพื่อเสนอเหตุผลสำหรับการวิพากษ์วิจารณ์มันในแต่ละกรณีอย่างสั้นๆ

- ประเด็นแรก, Heidegger มองมนุษยนิยมในฐานะที่เป็นเรื่องอภิปรัชญา เนื่องจากสิทธิพิเศษที่มันได้ให้กับมนุษย์, การให้เหตุผลของมันต่อมนุษย์เกี่ยวกับ"แก่นแท้ที่เป็นสากล"(universal essence)อันหนึ่ง. Heidegger ได้ยกจุดนี้ขึ้นมาในการวิพากษ์ของเขาเกี่ยวกับ Sartre, และ Derrida เห็นด้วยว่า ปรัชญาของ Sartre พิสูจน์ว่าเป็นเช่นนั้น, ในคำพูดของ Heidegger, "มนุษยนิยมทั้งหมดยังคงเป็นเรื่องของอภิปรัชญา"(Derrida 1982b: 116).

Sartre ตีความข้ออ้างของ Heidegger อย่างผิดๆที่ว่า Dasein's essence (human existence's essence - แก่นแท้หรือสารัตถะของการดำรงอยู่ของมนุษย์)วางอยู่บนการมีอยู่ของมัน, และได้นำเอาอันนี้มาในฐานะที่เป็นความเป็นอัตวิสัยของ"ความจริงของมนุษย์"ที่มีสิทธิพิเศษ. Sartre ไม่ได้ปลดปล่อยตัวของเขาเองให้เป็นอิสระจากขนบจารีตเกี่ยวกับการนำเอาความสำนึกมาเป็นกระบวนทัศน์ทางปรัชญา และความมีใจโน้มเอียงทางอภิปรัชญาได้ถูกแสดงออกมาให้เห็นในแนวความคิดของเขา เกี่ยวกับมนุษย์ในฐานะภาวะของผู้ที่ปรารถนาที่จะเป็นดั่งพระผู้เป็นเจ้า

ในทางตรงข้าม Heidegger ไม่ต้องการที่จะพูดถึงมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องการกล่าวถึงมนุษย์ เพียงตราบเท่าที่มันเป็นบางสิ่งกว่ามนุษย์. การปฏิเสธเกี่ยวกับมนุษยนิยม, เกี่ยวกับสิทธิพิเศษอันนี้ที่ให้กับมนุษย์, Heidegger คิดว่า ไม่ได้เนื่องมาจากความคิดของเขาเป็นการต่อต้านมนุษยนิยม (anti-humanistic) หรือ ปราศจากความเป็นมนุษย์(inhumane). ในทางตรงข้าม, Heidegger พยายามหลีกเลี่ยงอัตวิสัยนิยม(subjectivism)และอุดมคตินิยม(idealism) ซึ่งเขาคิดว่า ทำให้มนุษยนิยมแนวจารีตในตัวมันเองกลายเป็นเรื่องที่ปราศจากความเป็นมนุษย์(inhumane), และวางพื้นฐานสำหรับมนุษยนิยมที่สูงขึ้นมาอีกระดับ ระดับที่ไม่บูชามนุษย์ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางและอยู่ในภาวะสูงสุดเหนือสิ่งทั้งปวง(telos of all being).

- ลักษณะสำคัญอันที่สอง เกี่ยวกับมนุษยนิยมที่ Heidegger, Derrida และ Foucault ทักท้วง นั่นคือ แนวความคิดเกี่ยวกับ"ความเป็นอิสระ"(autonomy). ในประเด็นนี้พวกเขาดำเนินรอยตามแง่มุมการวิจารณ์ของ Hegel เกี่ยวกับความคิดของ Kantian ในเรื่องความเป็นอิสระ และการยืนยันของ Hegel ที่ว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคมและประวัติศาสตร์, ไม่ใช่อยู่เหนือโลก(transcendent), หรือมีลักษณะเป็น noumenon (เป็นจริงเหนือประสบการณ์หรือเหตุผลสามัญ)

Husserl และ Sartre ช่วงแรกๆ เกี่ยวกับ Being and Nothingness ไม่ยอมรับเงื่อนไขต่างทางสังคมและประวัติศาสตร์เท่าใดนัก เกี่ยวกับการสร้างตัวขึ้นมาของความเชื่อและการกระทำต่างๆ

- สิ่งที่ Kant พูดถึงความเป็นอิสระของบุคลิกภาพทางศีลธรรม ถูกเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับทัศนะของเขาเกี่ยวกับเรื่องจิตใจที่เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการสร้างโลกที่เรามีประสบการณ์อย่างไร. ลักษณะสำคัญประการที่สาม เกี่ยวกับมนุษยนิยมเชิงปรัชญา, ซึ่งด้วยเหตุผลอันนี้ที่บรรดานักวิจารณ์ของมันท้าทาย, เป็นการยืนยันหรืออ้างถึงเกี่ยวกับความสำนึกที่สร้างขึ้นมาอันหนึ่ง

แน่นอน Sartre ได้โจมตีแนวคิด Kantian ของ Husserl มานมนานเกี่ยวกับอีโก้ที่อยู่เหนือโลก(transcendental ego). แต่บรรดานักทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยม ผู้ซึ่งต้องการไปพ้นจากมนุษยนิยมและอภิปรัชญามองการปฏิเสธของ Sartre เกี่ยวกับอีโก้ที่อยู่เหนือโลก เป็นอะไรที่ไม่ดีไปกว่าการยืนยันหรือเห็นพ้องอันหนึ่งเกี่ยวกับมันนั่นเอง. พวกเขาได้ฉายให้เห็นการปฏิวัติทางปรัชญาทั้งหมดอันหนึ่งขึ้นมาแทน, หรืออย่างน้อยที่สุด การเปลี่ยนแปลงอันหนึ่งในคำศัพท์ ที่ที่ความเป็นอัตวิสัยในเชิงยืนยันหรือปฏิเสธอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ประเด็นอีกต่อไปแล้ว

- ความคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติทางปรัชญา คือความแตกต่างอันที่สี่จากมนุษยนิยมแนวจารีต ซึ่งโดยทั่วไปมันเป็นพวก Whiggish เกี่ยวกับประวัติศาสตร์. คนที่เป็น Whig ในทางปรัชญา จะยึดถือว่าความเหนือกว่าอดีตเป็นข้อพิสูจน์เกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆของเรา และความไม่ถูกต้องของคนที่มาก่อนหน้าเราเหล่านั้น. Kant ถือว่าเป็นพวก Whiggish ที่มีชื่อเสียง สำหรับข้ออ้างของเขาที่ว่า เขาเข้าใจ Plato ได้ดีกว่า Plato เข้าใจตัวเองเสียอีก เพราะ Kant ในปัจจุบัน สามารถที่จะแสดงข้อสรุปหรือแนวคิดต่างๆของ Plato ได้อย่างชัดเจน, ซึ่งสำหรับ Plato แล้วทำได้เพียงคลำหาเพื่อจะค้นพบคำต่างๆที่จะนำมาใช้อย่างเหมาะสมเท่านั้น (Critique of Pure Reason A314/B370)

ความเป็น Whiggishness คือการมีความเชื่อที่ว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์, ความรู้นั้นได้เจริญงอกงามในลักษณะสะสมเพิ่มพูนขึ้นตามลำดับ และ กล่าวอย่างสั้นๆ พวกเรารู้อะไรมากกว่าคนในอดีตที่ผ่านมารู้ แม้แต่ประเด็นในเรื่องความเข้าใจในตัวพวกเขา เราก็เข้าใจอะไรมากกว่าคนในอดีตเข้าใจตัวของพวกเขาเองเสียอีก

ขณะที่ Kant มอง Copernican Revolution ของเขาเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของความเจริญงอกงามที่สะสมเพิ่มพูนขึ้นมาของความรู้ บรรดานักประวัติศาสตร์ใหม่มองการปฏิวัติต่างๆทางปรัชญาในฐานะผลิตผลที่ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบที่ดีกว่าความรู้เดิม มันเป็นเพียงความรู้ที่แตกต่างออกไปอีกอันหนึ่งเท่านั้น

หรือถ้าเผื่อว่าสุ้มเสียงต่างๆอันนี้มันฟังดูแล้วมีลักษณะสัมพัทธภาพที่โจ่งแจ้งเกินไป ประเด็นของพวกเขาอาจถูกแสดงออกมาอีกทางหนึ่งก็ได้. พวกเขาเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงในลักษณะปฏิวัติเกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆได้ถูกพิสูจน์โดยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ที่ว่า คำศัพท์เก่าๆได้ถูกรับรู้ในฐานะคำศัพท์ปลายปิดที่เสื่อมทรุด. ความเสื่อมทรุดนี้ถูกมองมาจากภายในรูปศัพท์คำเก่าอย่างมีนัยะ หรืออย่างเปิดเผยเมื่อรูปศัพท์คำเก่าได้ถูกรื้อสร้างโดยผู้คนเหล่านั้นที่ไม่เชื่อถือมันอีกต่อไปแล้ว

- ไม่เพียง Foucault และ Derrida จะละเลิกความเชื่อใน"ความก้าวหน้าทางญานวิทยา"(epistemological progress)ของนุษยนิยมลงเท่านั้น พวกเขายังเลิกเชื่อใน"ความก้าวหน้าทางสังคม"ลงด้วย ซึ่งนี่เป็นประเด็นที่ห้าอันเป็นประเด็นท้ายสุด แต่น่าจะสำคัญที่สุดเกี่ยวกับการวิพากษ์มนุษยนิยม. เป้าหมายหลักต่างๆคือ บรรดานักคิดในยุคสว่าง(Enlightenment thinkers) และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Kant

ไม่เพียง Kant คิดว่า ความรู้เป็นเรื่องของการสะสมพอกพูนขึ้นและเป็นความก้าวหน้าเท่านั้น แต่เขายังธำรงรักษาเอาไว้ให้พวกเราต้องเชื่อว่า ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญด้วย. ธรรมชาติของมนุษย์สำหรับ Kant ก็คือ แม้ว่าความโน้มเอียงอันไม่อาจลบล้างได้ของมนุษย์จะเป็นเรื่องของความชั่ว แต่ประวัติศาสตร์จะมองว่ามนุษย์ได้ก้าวหน้าไปอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ สู่"ส่วนประกอบที่สมบูรณ์", โดยปลดปล่อยประชาสังคมให้เป็นอิสระมากที่สุด

Hegel และนักตีความในคริสตศตวรรษที่ 20 ของเขา Alexander Kojeve ยังคงชี้ด้วยหลักวิภาษวิธีอย่างต่อเนื่องไปยังความก้าวหน้าอันนั้น. บรรดานักคิดหลังโครงสร้างนิยมฝรั่งเศสต่างละทิ้งหลักวิภาษวิธี และมองพวกเขาเองในฐานะที่มาถึงจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ในความหมายที่แตกต่างไปอันหนึ่ง

ในทางตรงข้าม Hegel มองดูตัวเองว่าได้เขยิบเข้าไปใกล้การบรรลุถึงจุดสุดยอดและกำลังจะบรรลุผล, ส่วน Foucault, Derrida และบรรดา Nietzcheans สมัยใหม่คนอื่นๆมองประวัติศาสตร์ คล้ายดังพระผู้เป็นเจ้า, ที่"สิ้นสุด"ในความหมายของ"ใกล้จะตาย"

หลายสุภาษิตของ Nietzsche เสนอว่า พระผู้เป็นเจ้าตายมานานแล้วเพราะมนุษย์เลิกเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า (น่าจะเป็นบางครั้งคราวในช่วงระหว่างยุคสว่าง) และมนุษย์ได้วางตัวของเขาเองลงในตำแหน่งของพระผู้เป็นเจ้า (ดังเช่น โดยวิธีเกี่ยวกับการปฏิวัติคอเปอร์นิคันในปรัชญาของ Kant เป็นต้น)

ในทำนองเดียวกัน ความคิดหลังโครงสร้างนิยม ความศรัทธาในอัตลักษณ์ของความก้าวหน้าของประวัติศาสตร์ได้สูญสลายไป (น่าจะอยู่ในช่วงระหว่างคริสตศตวรรษที่ 19) และพวกเราอยู่ ณ ปัจจุบันนี้เท่านั้น หลังจากนั้นก็ตาย ซึ่งได้ตระหนักหรือเข้าใจผลที่ตามมาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆทางความเชื่อเหล่านี้

บางครั้ง Foucault และ Derrida, คล้ายๆกับ Nietzsche หรือกระทั่ง Heidegger, ได้เสาะแสวงด้วยความโหยหาเพื่อ"สิ่งที่อยู่ไกลโพ้น"อันหนึ่ง, แต่โดยทั่วไป ประเด็นสำคัญของพวกเขาก็คือว่า อันที่จริงมันไม่มีสิ่งนั้นที่เป็น"ประวัติศาสตร์". เรื่องราวเกี่ยวกับความก้าวหน้าของมนุษย์ โดยบรรดานักปรัชญาที่เก็งความจริงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ถูกเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาธรรมดาเรื่องหนึ่งเท่านั้น, ตอนนี้มันล้มละลายลงไปแล้ว, มันเป็นการอุปมาที่ตายซากจากวาทศิลป์ที่มอดดับลงแล้ว

"ปรัชญา"กอปรขึ้นมาในฐานะที่เป็นเรื่องราวคำอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งในตัวมันเองเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องที่แต่งขึ้นมาอันนี้, และแม้กระทั่งวีรบุรุษของมันก็เช่นกัน, เมื่อ"ความก้าวหน้าของอิสรภาพ"ได้ถูกทำให้เท่ากันกับ"ความก้าวหน้าทางด้านเหตุผล"ของมนุษย์

ท่าทีหรือทัศนคติฝรั่งเศส ซึ่งมีต่อขนบจารีตอันยิ่งใหญ่ของปรัชญาไม่เหมือนกันกับของ Wittgenstein. Wittgenstein ต้องการนำปรัชญาไปสู่ปลายทางอันหนึ่ง(an end), และด้วยเหตุนั้นจึงบ่งนัยะที่เขาคิดว่า มันยังคงมีชีวิตอยู่. บรรดานักคิดหลังโครงสร้างนิยมฝรั่งเศสคิดว่า แนวความคิดของ Kantian และ Husserlian เกี่ยวกับปรัชญาเป็น"ศาสตร์ที่แข็งตัว"ซึ่งทุกวันนี้มันอยู่ในร่องที่ตายตัว

ความคิดดังกล่าวนั้น เทียบเคียงกับฟิสิกส์ ที่ควรจะให้คำอธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับสสาร, ส่วนปรัชญาก็ควรที่จะให้กำเนิดคำอธิบายที่สมบูรณ์เบ็ดเสร็จและไร้การโต้เถียงเกี่ยวกับจิตใจ, เหตุผล, ประสบการณ์หรือความจริง ที่เป็นหนึ่งในสิ่งซึ่งเราไม่สามารถคิดจะเลิกหรือละทิ้งมันไปได้

เช่นดังที่ Derrida ตัวของเขาเองยอมรับว่า, ใครๆก็ไม่สามารถปลุกความจริงขึ้นมาได้? ทว่าแนวความคิดที่ตายตัวนี้เกี่ยวกับปรัชญาไม่เพียงไม่ก่อผลมายาวนานเท่านั้น แต่มันยังเลวร้ายด้วย, คับแคบและไม่เป็นที่ปรารถนา. สำหรับบทความนี้มีแนวโน้มที่จะสำรวจถึงความเป็นไปได้สิ่งอื่นๆด้วยที่ปรัชญาอาจเป็น อย่างเช่นเรื่องของ อรรถปริวรรตศาสตร์ หรือ hermeneutics - ซึ่งหมายถึง"การตีความ และอธิบายความหมายเรื่องราวต่างๆ"

3. ศาสตร์เกี่ยวกับระบบการเขียนในฐานะรากฐานของอรรถปริวรรตศาสตร์
(Grammatology as radical hermeneutics)

(หมายเหตุ : Grammatology - The study and science of systems of graphic script. [Greek gramma, grammat-, letter; see GRAMMAR + -logy.]

แน่นอน แม้ว่าการวินิจฉัยถึงการสิ้นสุดของปรัชญา ในตัวของมันเองจะอยู่ในฐานะตำแหน่งทางปรัชญาอะไรทำนองนั้น และมันเป็นการวิจารณ์และการวิจัยที่เฉพาะเจาะจงที่หมิ่นเหม่ ทว่านับตั้งแต่ที่ผมมองเห็นที่มั่นของ Derrida ซึ่งเจริญงอกงามขึ้นมา โดยหลุดออกไปจากฐานที่มั่นของ Heidegger, ผมก็คิดขึ้นมาทันทีว่า มันจะถูกทำความเข้าใจได้ดีที่สุดในฐานะที่เป็นความผันแปรอันหนึ่งของสาขาวิชาปรัชญาภาคพื้นทวีป(ยุโรป)สาขาหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า"อรรถปริวรรตศาสตร์"(hermeneutics)

ฐานของ Derrida ค่อนข้างสุดขั้วมากกว่าบรรดานักปรัชญาอรรถปริวรรตศาสตร์คนอื่นๆ อย่างเช่น Paul Ricoeur หรือ Hans-Georg Gadamer, และบ่อยครั้ง เขามักจะวิจารณ์อย่างเปิดเผยเกี่ยวกับอรรถปริวรรตศาสตร์. ยิ่งไปกว่านั้น เขายังวิจารณ์เกี่ยวกับ Heidegger ด้วย สำหรับการถอยหลังกลับไปยังการอุปมาอุปมัยเกี่ยวกับขนบจารีตทางอภิปรัชญาในการพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับ"Being"ของ Heidegger ในช่วงหลังๆ

เมื่อพื้นฐานเกี่ยวกับการวิจารณ์คือว่า Heidegger และ อรรถปริวรรตศาสตร์ ไม่ได้ไปไกลเพียงพอ, ผมคิดว่า Derrida จะได้รับการทำความเข้าใจได้ดีที่สุด ไม่ใช่ในฐานะการทำอะไรบางสิ่งบางอย่างอย่างสมบูรณ์แตกต่างไปจากปรัชญาอรรถปริวรรตศาสตร์, แต่ในฐานะการผลักดันให้อันหลังไปสู่ข้อจำกัดต่างๆของมัน

บางที แม้ว่า Derrida จะผลักมันให้ไปพ้นจากข้อจำกัดต่างๆของเหตุผล แต่ทว่ามันก็วางเขาลงไปในแบบอย่างที่กว้างกว่าอันหนึ่งของทฤษฎี ซึ่งทำให้มันเป็นไปได้ที่จะทดสอบข้อเสนอต่างๆที่ไม่ธรรมดาของเขา ที่สวนกับการโต้แย้งซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับจุดเริ่มต้นของเขา

อรรถปริวรรตศาสตร์เป็นความสนใจทางด้านปรัชญาในทฤษฎีเกี่ยวกับความเข้าใจและการตีความ(the theory of understanding and interpretation). สำหรับบรรดานักปรัชญาทั้งหลาย ความสนใจเป็นปฐมในอรรถปริวรรตศาสตร์ ขึ้นอยู่กับว่า มันสามารถทำให้เรื่องราวต่างๆเปิดเผยออกมาได้หรือไม่ ซึ่งปกติแล้วเรื่องราวอันนั้นมันจะไม่เผยตัวออกมาเมื่อได้รับการจัดการโดยทฤษฎีจารีตเกี่ยวกับวามรู้

เพื่อทำให้ประเด็นสารัตถะดังกล่าวเป็นวิธีการที่มีแบบแผน ผมจะใช้ยุทธวิธีของ Richard Rorty เกี่ยวกับ"อรรถปริวรรตศาสตร์"ในทางตรงข้ามกับ"ญานวิทยา", พร้อมเพิ่มเติมข้อเสนอที่มีความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองนี้ ที่ไม่ต้องการเป็นหนึ่งในความขัดแย้งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้(Rorty 1979: Part III; see Hoy 1980, 1981a, 1982a)

"ญานวิทยา"ได้อธิบายว่า ความรู้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้อย่างไร, ในทางตรงข้าม "อรรถปริวรรตศาสตร์"อธิบายว่าความเข้าใจเป็นไปได้อย่างไร, ด้วยการกล่าวว่า ความเข้าใจไม่ใช่สิ่งที่สามารถลดทอนลงได้เป็นความรู้, ดังเช่นนักญานวิทยาบางคนยึดถือ, แต่ในทางตรงข้าม ความรู้จะถูกมองเห็นได้ดีที่สุดในฐานะที่เป็นการแยกย่อยอันหนึ่งของความเข้าใจ

ช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 "อรรถปริวรรตศาสตร์"ค้นพบตัวของมันเองว่าตรงข้ามหรือค้านกับ"นักปฏิฐานนิยม"(positivists)และ"ทฤษฎีประสบการณ์นิยม"ต่างๆ(empiricists theories)อย่างสุดขั้ว ซึ่งตั้งเป้าที่การลดทอนเกี่ยวกับความเข้าใจมนุษย์และสังคมทั้งหมดลงสู่แบบจำลองอันหนึ่งของคำอธิบาย ซึ่งดึงมาจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ด้วยการล่าถอยของสมมุติฐานต่างๆของนักปฏิฐานนิยมและนักประสบการณ์นิยม อย่างไรก็ตาม บรรดานักทฤษฎีเกี่ยวกับระเบียบวิธีของสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สามารถก้าวหน้าไปได้ด้วยการสำรวจตรวจตราอย่างละเอียด เกี่ยวกับวิธีการของสาขาวิชาต่างๆเหล่านั้น

การเน้นความผิดแผกหรือความตรงข้ามกันระหว่าง"ญานวิทยา"(epistemology) กับ "อรรถปริวรรตศาสตร์"(hermeneutics) ผมใคร่จะสเก็ตภาพคร่าวๆให้เห็นถึงหลักการสำคัญบางอย่างของแต่ละอันดังนี้...

นับจาก"ญานวิทยา"ของ Kant ได้กลายเป็นโครงการที่มีลักษณะเป็นรากฐานอันหนึ่งขึ้นมา มันได้พยายามที่จะแยกเอา"ความรู้"ออกจากรูปแบบของ"ความเชื่ออื่นๆ" ด้วยเจตนาที่จะค้นคว้าสิ่งที่เป็นเรื่องของความแน่นอนในเชิงวัตถุวิสัย

ในทางตรงข้าม "อรรถปริวรรตศาสตร์"ปฏิเสธความคิดที่ว่า ภารกิจแรกสุดของปรัชญาก็คือจะต้องจัดหารากฐานต่างๆและให้หลักประกันความแน่นอน(certainty). มันมองความรู้เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับบริบทต่างๆของความเข้าใจเชิงปฏิบัติ

กระบวนทัศน์ของความเข้าใจไม่ใช่เป็นเรื่องการมองวัตถุต่างๆในเชิงกายภาพขนาดกลางๆ, กล่าวในด้านญานวิทยา, แต่เป็นการตีความเกี่ยวกับข้อความต่างๆ. อรรถปริวรรตศาสตร์ ถูกต่อต้านคัดค้านจากแบบจำลองที่เป็นตัวแทนของจิตใจ(representational model of mind) แต่มันก็ถกว่า การปฏิเสธการเป็นตัวแทนไม่ไปพัวพันถึงสัมพัทธนิยม. แม้ว่ามันจะถือว่าไม่มี"ข้อเท็จจริงทางกายภาพของสสาร" ที่ได้ถูกทำเป็นตัวแทนอย่างเหมาะสมโดยการตีความต่างๆ, แต่อย่างไรก็ตาม มันมีข้อจำกัดหลายอย่างของสิ่งที่ได้มา ซึ่งได้ถูกนำมาในฐานะที่เป็นการตีความที่เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมอย่างไร

ในทางตรงข้ามกับการสนับสนุนในเชิงรากฐานเกี่ยวกับ"ญานวิทยา", "อรรถปริวรรตศาสตร์"ยืนยันว่า ความเข้าใจมักจะเป็นเรื่องของการตีความแล้วเสมอๆ. ความแตกต่างอันนี้ อย่างน้อยที่สุดมีผลตามมา 4 ประการคือ

- แรกสุด, ขณะที่"ญานวิทยา"แสวงหาจุดยืนที่ได้เปรียบในฐานะหลักประกันของความแน่นอน, "อรรถปริวรรตศาสตร์" ยืนยันว่า มันไม่มีจุดยืนพิเศษที่เป็นข้อได้เปรียบที่เฉพาะสำหรับความเข้าใจ. สำหรับ Derrida และบรรดานักทฤษฎีคนอื่นๆ อย่างเช่น Gadamer ผลลัพธ์อันนี้มีผลตามมาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการยักย้ายอำนาจหน้าที่พิเศษบางอย่างไปจากผู้พูด หรือผู้เขียน สำหรับการกำหนดความหมายเกี่ยวกับสิ่งที่เขาพูดหรือเขียน

การโฟกัสที่สำคัญของงานในช่วงแรกๆของ Derrida อยู่บนความโน้มเอียงของทฤษฎีต่างๆ นับจาก Plato ที่ได้นำเอาการพูดมาใช้ในฐานะที่เป็นที่หนทางแรกสุดสำหรับการกำหนดความหมายทางภาษา, และพิจารณางานเขียนในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์สืบมาอันหนึ่ง

Derrida ไม่ต้องการสลับปรับเปลี่ยนระบบระเบียบปกติอันนี้ไปยิ่งกว่าที่จะเสนอว่า ความหมายเชิงภาษา(linguistic meaning) มันไม่ได้สืบทอดมาจากเจตนาทางจิตวิทยาของผู้พูด แต่มันรับทอดมาจากโครงสร้างของภาษาในตัวของมันเอง

โดยไม่คำนึงถึงการวิจารณ์ของเขาเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะที่สำคัญบางอย่างเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ของ Saussure, แนวความคิดของ Derrida เองเกี่ยวกับ grammatology -ศาสตร์ที่ศึกษาระบบการเขียน- รวมเข้ากับความคิดของ Peirce ที่เราคิดถึงมันเพียงในเครื่องหมายต่างๆ(signs)เท่านั้น, และทัศนะของ Saussure เกี่ยวกับการกำหนดตัดสินโดยไม่มีเกณฑ์ของความสัมพันธ์ของเครื่องหมาย และสิ่งที่มันบ่งความหมายต่างๆ(the arbitrariness of the relation of the sign and what it signifies)

Derrida ได้เพิ่มเติมหมายเหตุ -ค้านกับเพลโตนิค- ลงไปในความสงสัยของเขาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการกำหนดตัดสินการอ้างอิงโดดๆอันหนึ่ง (เกี่ยวกับการบ่งความหมายที่เกินธรรมดา/เหนือโลก - the transcendental signified) สำหรับภาษาในฐานะที่เป็นทั้งหมด. มันไม่มีวิธีการทางด้านภาษาเป็นพิเศษที่จะกำหนดตัดสิน ไม่ว่าโลกจะมีธรรมชาติที่มั่นคงหรือไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งภาษาสามารถเป็นกระจกเงาสะท้อนของมัน

ด้วยเหตุดังนั้น ผู้ปฏิบัติการเกี่ยวกับ"การรื้อสร้าง" บ่อยครั้ง จึงไปพ้นจากข้ออ้างที่สงบเสงี่ยมของอรรถปริวรรตศาสตร์ที่ว่า ไม่มีการเขียนหรือการอ่านใดที่ในตัวมันเอง ไม่ใช่เป็นการตีความเรียบร้อยแล้วอันหนึ่ง ต่อการยืนยันหรือวินิจฉัยอย่างถึงราก ที่ระบบที่เชื่อมโยงของความคิดตามที่ปรากฏนั้น สามารถได้รับการแสดงออกมาให้เห็นว่ามีความขัดแย้งกันต่างๆที่อยู่ข้างใต้ หรือความขัดแย้งที่ไม่อาจแยกสลายได้, ด้วยเหตุนั้น มันจึงมีความหลากหลาย และมีการอ่านที่ขัดแย้งกัน ซึ่งจะต้องถูกถือว่าเกิดขึ้นมาพร้อมกันในเวลาเดียวกัน

- ประการที่สอง, ในขณะที่"ญานวิทยา" ปกติแล้ว จะถูกวางรากฐานอยู่บนการรับรู้ทางสายตาในฐานะกระบวนทัศน์กรณีตัวอย่างเกี่ยวกับความรู้, "อรรถปริวรรตศาสตร์" จะนำเอาการอ่านมาเป็นรากฐานมากกว่าการมอง ในฐานะที่เป็นกระบวนทัศน์ของความเข้าใจ. เพื่อเน้นถึงความเปลี่ยนแปลงไปอันนี้

Derrida ได้วิจารณ์ logocentrism (การถือว่า คำและภาษาเป็นการแสดงออกเบื้องต้นอันหนึ่งของความจริงภายนอก - regarding words and language as a fundamental expression of an external reality) และอภิปรัชญาเกี่ยวกับการมีอยู่ เพื่อสมมุติการเข้าถึงโดยไม่ผ่าน"ตัวกลาง"สู่สิ่งที่กำหนดของ"ประสบการณ์ทางจิต"และ"ประสาทสัมผัส". ศัพท์ของเขา"difference"(ความแตกต่าง)เป็นยาแก้พิษอันหนึ่งต่อการเน้นในเรื่องการมีอยู่. มันหมายรวมทั้งสิ่งที่แตกต่างและถูกทำให้ต่าง

ยกตัวอย่างเช่น ลักษณะหรือรูปลักษณ์ของประสบการณ์ต้องการบางอย่าง, จริงๆไม่ใช่รูปลักษณ์ที่ปรากฎของประสบการณ์เพื่อทำความเข้าใจ หรือนับเป็นประสบการณ์ที่แท้จริงอันหนึ่ง. ด้วยเหตุนี้ Derrida ก็คล้ายๆกับบรรดานักวิชาการทางปรัชญาคนอื่นๆเมื่อเร็วๆนี้, ต่างท้าทายความเชื่อทางปรัชญาแนวจารีตในทันที, รูปลักษณ์ต่างๆอันไม่เป็นที่สงสัยของชีวิตจิตใจ เหมือนกับ ไอเดียความคิด หรือข้อมูลทางประสาทสัมผัส, เจตนาหรือการรับรู้ต่างๆ

ถึงแม้ว่า Derrida มิได้ปฏิเสธว่า มันมีเจตนาทางจิตวิทยา แต่เขาก็ไม่ได้ให้พวกมันมีสิทธิพิเศษที่เป็นการเฉพาะใดๆ เมื่อพวกมันไม่เคยโปร่งใสอย่างเต็มที่ต่อตัวแทนหรือต่อตัวผู้เขียน (Derrida 1982b: 326; Derrida 1977: 213; โปรดดู Hoy 1981a: 99ff)

คล้ายคลึงกันมาก "เจตนาหรือความตั้งใจ"(intention) เป็นสมมุติฐานที่ไม่อาจยืนยันหรือพิสูจน์ได้ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดย"การตีความ", "การรับรู้"ไม่ใช่สิ่งที่กำหนดให้, แต่เป็นความคิดเชิงทฤษฎีที่หนักอึ้งอันหนึ่ง, ที่ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้เหมาะกับความต้องการของทฤษฎีต่างๆทางญานวิทยาโดยเฉพาะ นับจาก Plato มาจนกระทั่งถึงบรรดานักประสบการณ์นิยมทั้งหลาย(empiricism). ปรัชญาอรรถปริวรรตศาสตร์(Hermeneutical philosophy) ได้ค้นพบมันว่าไม่ได้ช่วยอะไรเลย, และเลวร้าย, ไร้ประโยชน์ ซึ่งไม่ก่อผลใดๆ

ผลลัพธ์ที่ตามมาของการสนใจในวิธีการต่างๆทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับมนุษยนิยม, อรรถปริวรรตศาสตร์ได้พัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับการอ่านขึ้น

การอ่านหนังสือนั้น เป็นเรื่องที่ต่างออกไปจากการมองดูวัตถุทางกายภาพในหลายๆมุมมอง และความแตกต่างที่สำคัญอันหนึ่งก็คือ มันดูเหมือนว่าจะไม่มีปัญหาพิเศษใดๆเกี่ยวกับวัตถุดังกล่าวที่อยู่ในการรับรู้อย่างอิสระ. การอ่านไม่ใช่อย่างเดียวกันกับการมองดูเครื่องหมายดำๆบนหน้าหนังสือ. ไม่เหมือนกับต้นไม้ที่ติดคำพังเพยในป่า หนังสือและความหมายของมันจะไหลออกมาเพียงในการกระทำทั้งหลายเกี่ยวกับการอ่านเท่านั้น

แม้แต่ในกรณีต่างๆเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังได้รับการทำความเข้าใจ มันไม่ใช่เรื่องหน้ากระดาษที่ถูกเขียนหรือถูกพิมพ์ (ยกตัวอย่างเช่น ในการทำความเข้าใจการกระทำอันหนึ่ง หรือสังคมๆหนึ่ง) บรรดานักทฤษฎีอรรถปริวรรตศาสตร์(hermeneutic theorists) อาจปฏิบัติกับสิ่งที่กำลังถูกทำความเข้าใจในฐานะที่เป็นความต่อเนื่องของข้อความ (text-analogue) และกระบวนการเกี่ยวกับการทำความเข้าใจมันเหมือนกับการอ่าน. ดังนั้น เมื่อบรรดานักสังคมศาสตร์หรือนักมานุษยวิทยาตีความสังคมใดสังคมหนึ่ง พวกเขาอาจต้องสำรวจหรือใช้สิ่งประดิษฐ์ทางด้านอักษรศาสตร์ อย่างเช่น เรื่องเล่า และการอุปมาอุปมัยในหนทางซึ่งเป็นอย่างเดียวกันเลยกับที่นักเขียนนวนนิยายหรือนักวิจารณ์วรรณกรรมทำ

แต่อย่างไรก็ตาม ที่ซึ่ง"การรื้อสร้าง"ไปไกลยิ่งกว่านั้นก็คือ การตอบคำถามว่า หนังสือตำราหรือข้อความที่ถูกอ่านมันมีข้อจำกัดหรือไม่อย่างไร และมันประสบความสำเร็จในการอ้างอิงพ้นไปจากตัวมันเองหรือไม่ที่พูดถึงบางสิ่งบางอย่างว่า จริงหรือเท็จเกี่ยวกับความจริงที่เป็นอิสระอันหนึ่ง

การละทิ้งอุดมคติของการอ้างอิงเกี่ยวกับสิ่งที่บ่งถึงเรื่องที่อยู่เหนือขึ้นไป(transcendental signified) มันน้อมนำให้บรรดานักรื้อสร้างนิยมกล่าวว่า ถ้าหากว่าหนังสือดูเหมือนจะอ้างอิงสิ่งที่พ้นไปจากตัวของมันเอง การอ้างอิงอันนั้นในท้ายที่สุด สามารถจะดำรงอยู่ได้เพียงแค่ในหนังสืออีกเล่มหนึ่งเท่านั้น. เทียบกันกับเครื่องหมายต่างๆซึ่งอ้างถึงเพียงแค่เครื่องหมายอื่นเท่านั้น, หนังสือสามารถอ้างอิงเพียงหนังสือเล่มอื่นๆ มันได้ให้กำเนิดเครือข่ายที่ตัดผ่านกัน และเครือข่ายที่ขยายออกไปไม่รู้จบที่เรียกว่า intertextuality นั่นคือ ความสัมพันธ์ระหว่างตำราหรือข้อความต่างๆ เท่านั้น

- ความตรงข้ามกันประการที่สามที่ตามมาก็คือ เมื่อบรรดานักทฤษฎีทั้งหลายได้ทอดทิ้งอุดมคติเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนวัตถุ ซึ่งที่จริงแล้ว มันเป็นอิสระจากอุปกรณ์ที่มาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเรา. ขาดเสียซึ่งความจริงต่างๆที่แน่ชัดในตัวมันเอง(self-evident axioms) ที่พ้นไปจากคำถามหรือข้อสงสัยตลอดไป, การตีความสามารถจะถูกทักท้วงขึ้นมาเมื่อใดก็ได้ และเป็นไปได้ที่จะถูกแทนที่เมื่อไรก็ได้เช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ ในทางตรงข้ามกับการยืนหยัดของ"ญานวิทยา" บนความจริงทางโลกของตัวอย่างต่างๆเกี่ยวกับความรู้, "อรรถปริวรรตศาสตร์" จะต้องคิดหรือพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจไปต่างๆ, และด้วยเหตุนี้ การตีความต่างๆนั้นจึงต้องการการตรวจสอบซ้ำอย่างต่อเนื่อง

ความแตกต่างกันอันนี้เป็นหนึ่งในการเน้น. แน่นอน "ญานวิทยา"เป็นเรื่องที่ถูกต้อง ในการยืนยันหรือยืนหยัดของมัน แต่ทฤษฎี"อรรถปริวรรตศาสตร์" จะต้องยอมรับและมีความยุติธรรมต่อข้อเท็จจริงที่ การตีความต่างๆมันมีชีวิตทางประวัติศาสตร์และข้อจำกัดต่างๆของตัวมันเอง. การตีความต่างๆ ได้รับการตัดสินไม่เพียงบนความจริงเกี่ยวกับการยืนยันอันหลากหลายของมันเท่านั้น, แต่ยังถูกตัดสินบนเงื่อนไขหรือปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น ความมีประโยชน์, ความอุดมสมบูรณ์ของพวกมันด้วย ตามลำดับ

"การรื้อสร้าง"ก่อให้เกิดอัตราเร่งของความเปลี่ยนแปลงโดยการค้นหาอย่างรอบคอบถึงความตรงข้ามกันที่คาราคาซัง ซึ่งก่อขึ้นมาในการตีความต่างๆ และการมีบทบาทในหลายๆความหมายที่เป็นไปได้(polysemy) ของคำ หรือวลี เพื่อเพิ่มขยายการตีความที่เป็นไปได้ต่างๆให้มากขึ้น

เหตุผลชี้ขาดที่ว่าทำไม การตีความต่างๆจะต้องได้รับการตรวจสอบซ้ำและดัดแปรงแก้ไขก็คือ พวกมันมักจะขึ้นอยู่กับ, แม้ว่าจะเป็นไปโดยนัยะ, ความเข้าใจส่วนตัวของผู้ตีความเสมอ, และยังเป็นเรื่องของเวลาและการฝึกฝนด้วย

- โดยเหตุนี้ ความตรงข้ามกันในประการที่สี่ ระหว่าง "การปฏิเสธของญานวิทยาที่ว่าภาพสะท้อนที่สามารถทำให้หลักฐานซึ่งแน่ชัดในตัวมันเองยุ่งเหยิงสับสน" กับ "ข้อสรุปทางด้านอรรถปริวรรตศาสตร์ที่ว่า การเข้าใจในลักษณะตีความใดๆก็ตามมันได้บรรทุกความเข้าใจส่วนตัวไปด้วย" ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงในความเข้าใจส่วนตัว จะมีผลในการเปลี่ยนแปลงต่อความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องราว

แต่อย่างไรก็ตาม ภายในอรรถปริวรรตศาสตร์ในตัวมันเองมันมีคำถามขึ้นมาอีกข้อหนึ่ง. ความเปลี่ยนแปลงในความเข้าใจส่วนตัวอันนี้เป็นพัฒนาการที่ต่อเนื่องอันหนึ่งใช่ไหม ประการหนึ่งก็คือ เราได้ความจริงยิ่งขึ้นและได้ภาพที่สมบูรณ์มากขึ้นเกี่ยวกับตัวของเราเองใช่ไหม? หรือ เราเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการตีความต่างๆของเรา?

การเปลี่ยนแปลงในความหมายอันหลัง มันเกี่ยวดองกับตัวอย่างลักษณะหนึ่ง ที่ที่เราพูดบางอย่างว่า เราคิดได้แจ่มชัด และถัดจากนั้นก็ถอยร่นกลับมาหรือแปรเปลี่ยนไป เมื่อเราเห็นว่ามันสามารถถูกจับหรือลากไปในเชิงที่แตกต่างได้. (ในตัวอย่างของ Wittgenstein, "การสอนเด็กเล่นเกมๆหนึ่ง"ไม่ใช่ใบอนุญาตที่สอนให้พวกเขาเล่นการพนัน แต่การเสี้ยมสอนให้รู้จักการเล่นเกมนั้น มันไม่ได้ป้องกันหรือขจัดการเล่นพนันอย่างชัดเจนเช่นกัน)

ฐานที่มันของ Derrida คล้ายคลึงกับอันหลังมาก ตราบเท่าที่มันไม่มี"ตัวตน"ที่ดำรงอยู่ก่อน หรืออย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการตีความต่างๆ. การเปลี่ยนแปลงการตีความ และเกี่ยวกับการตีความส่วนตัวไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องราวเรื่องหนึ่งของความก้าวหน้าที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สู่ความสุกงอมทางด้านเหตุผล แต่มันเกี่ยวกับโอกาสความเป็นไปได้มากกว่า. ไม่มีการตีความโดดๆที่สามารถอ้างได้ว่าเป็นสิ่งสุดท้ายหนึ่งเดียวเท่านั้น และปฏิบัติการเกี่ยวกับการรื้อสร้างจะน้อมนำไปสู่การแพร่ขยายเกี่ยวกับการตีความต่างๆเพิ่มมากขึ้น

4. ความคาราคาซัง และ การกระจายความคิดออกไปอย่างกว้างขวาง (Undecidability and dissemination)
ด้วยเหตุนี้ "การรื้อสร้าง"ของ Derridean สามารถทำความเข้าใจได้ในฐานะที่เห็นด้วยกับการวิจารณ์ของอรรถปริวรรตศาสตร์เกี่ยวกับความเข้าใจส่วนตัวของอภิปรัชญาในญานวิทยาแบบจารีต แต่ยังทำความใจได้ในฐานะที่เป็นการวิพากษ์ข้อจำกัดที่สุดขั้วของมัน และการใช้ประโยชน์มันในการต่อสู้กับอรรถปริวรรตศาสตร์แนวจารีตด้วย

Derrida เรียกวิธีการของเขาเองอันนี้ในช่วงแรกๆว่า grammatology - ศาสตร์ของระบบการเขียน - และวิธีการของเขาได้รับการอ้างถึงในฐานะที่เป็น"การรื้อสร้าง"(deconstruction). แต่อย่างไรก็ตาม ในงานเขียนต่างๆชิ้นหลังๆ เขาได้เน้นว่า ฐานที่มันและวิธีการของเขานั้น มันค่อนข้างมีลักษณะเป็นมูลรากมากยิ่งกว่าอรรถปริวรรตศาสตร์อย่างไร

วิธีการของเขาเป็นหนึ่งในการนำเสนอการอ่านตำรับตำราหรือข้อความต่างๆในเชิงวิพากษ์ ทั้งนี้เพื่อเผยให้เห็นถึงความขัดแย้งที่ไม่ถูกรับรู้ หรือแรงดึงของความหมายสองอย่าง(bring out unperceived contradictions or duplicitous tensions)ที่คอยมาขุดเซาะหรือทำลายความสอดคล้องและความโน้มน้าวจิตใจของข้อความต่างๆ

"อรรถปริวรรตศาสตร์แนวจารีต"บ่งนัยะว่า "การรื้อสร้าง"มักจะต้องนำมาก่อน และควรจะตามมาด้วยการสร้างขึ้นใหม่เพื่อจับความใหม่ในเอกภาพและความจริงเกี่ยวกับข้อความเดิมนั้น(deconstruction must alway be preceded and should alway be followed by a reconstruction recapturing the unity and truth of the original text).

เพื่อเน้นถึงการตัดเยื่อใยสัมพันธ์ของเขากับขนบจารีต Derrida เรียกสิ่งที่เขาทำในหนังสือที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษเมื่อไม่นานมานี้ด้วยชื่อเดียวกันว่า "Dissemination". Dissemination(การกระจายความคิดออกไปอย่างกว้างขวาง) ไม่ใช่"Deconstruction"(การรื้อสร้าง)ธรรมดาง่ายๆ โดยไม่มีการสร้างขึ้นมาใหม่(reconstruction)

มันไม่ใช่เป็นเพียงวิธีการอ่านข้อความเท่านั้น แต่เป็นรูปลักษณ์อันหนึ่งของข้อความและความคิดทั้งหมด รูปการณ์อันหนึ่งที่ทึกทักว่า ถูกครอบคลุมโดยความพยายามของอรรถปริวรรตศาสตร์ เพื่อที่จะรื้อฟื้นเอกภาพของข้อความในคำอธิบายหรือเรื่องราวที่สอดคล้องกัน. "ความพยายามในเชิง"อรรถปริวรรตศาสตร์" เพื่อกำหนดตัดสินท่ามกลางการตีความที่มีความเป็นไปได้ทั้งหมดซึ่งมันล้มเหลวอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้", Derrida กล่าว, ทั้งนี้เนื่องมาจาก "ความคาราคาซังที่ไม่ตกลงกันลงไปเสียทีเกี่ยวกับความหมายของข้อความ"นั่นเอง

ความคาราคาซังที่ไม่อาจตกลงใจ(undecidability) เป็นแนวเรื่องหลักอันหนึ่งในทฤษฎีวรรณคดี ซึ่งได้วิวัฒน์ขึ้นมาจากคนกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับนิตยสาร"Tel Quel", โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Julia Kristeva ในหนังสือเล่มหนึ่งของเธอปี 1969 เรื่อง "Semiotike"

แตกต่างจาก Kristeva, ซึ่งได้ปรับข้อถกเถียงต่างๆของเธอมาจากบทพิสูจน์อันมีชื่อเสียงของ Goedel เกี่ยวกับเรื่องความคาราคาซังของข้อเสนอในระบบของความชัดเจนในตัวเองที่ทำให้เป็นรูปธรรม(formalised axiomatic systems), Derrida เริ่มต้นตัวอย่างต่างๆของเขาหลังจากรูปแบบวิธีการของ Freud

ในความเรียงชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับคำต่างๆที่เป็นรากเดิม Freud สนใจในตัวอย่างต่างๆจากภาษาโบราณซึ่งเป็นคำโดด โดยมีความหมายต่างๆที่ตรงกันข้าม. ดังนั้น กระบวนทัศน์ต่างๆของ Derrida ปกติแล้วจึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยปัญหาต่างๆ แต่เป็นเรื่องของคำโดดที่มีความหมายต่างๆที่ถูกให้ความหมายในทางตรงกันข้าม ที่ที่บริบทนั้นมันมีสองนัยะแต่ไม่ได้ขจัดออกไปอันหนึ่ง หรือมันมีความหมายอื่น

ด้วยเหตุนี้ Derrida จึงวางความคาราคาซังลงใน"ความสัมพันธ์ระหว่างถ้อยคำในประโยค"(syntactical - เกี่ยวกับหลักวากยสัมพันธ์) มากกว่า ที่จะวางมันลงที่ระดับของ"ความหมายของคำ"(semantic) เมื่อเขาพูดว่า "คำต่างๆเหล่านี้"มีสองความหมาย", ซึ่งขัดแย้งกัน, ความหมายที่ไม่อาจเป็นที่ตกลงได้หรือความคาราคาซังนั้น มักจะสืบเนื่องมาจากวากยสัมพันธ์(ความสัมพันธ์ระหว่างถ้อยคำในประโยค)" (Derrida 1981a: 221)

ยังมีความแตกต่างอีกประการหนึ่งระหว่างความคาราคาซังในแบบ Goedelian ของ Kristeva และ แนวความคิดแบบ Freudian ของ Derrida. สำหรับ Kristeva ความคาราคาซังเป็นผลอันเนื่องมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ข้อความต่างๆเพียงอ้างอิงถึงข้อความอื่นๆเท่านั้น และเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตำรา(intertextuality)ได้สร้างโลกอันหนึ่งขึ้นมาที่ได้รับการกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ไร้ขอบเขต. ความคิดในเชิงทฤษฎีอันนี้เกี่ยวกับการไร้ขอบเขต อย่างไรก็ตาม ล้มเหลวที่จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิบัติการที่เป็นจริงของการตีความ

ดังที่ Jonathan Culler ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวคิดของ Kristeva ในเรื่องโลกของความสัมพันธ์ระหว่างตำรา(the intertextuality universe), มันยากที่จะทำให้โลกนั้นเป็นเป้าหรือวัตถุของความสนใจ(Culler 1976: 1384). เขาสังเกตว่า Kristeva ตัวเธอเองนั้น ได้ให้ความสนใจต่อฉบับพิมพ์ต่างๆของหนังสือ ซึ่งผู้เขียนสามารถรู้ได้เมื่อมันจะทำให้เกิดความแตกต่างในการตีความอันหนึ่ง. ดังนั้น ปฏิบัติการของ Kristeva เอง อาณาเขตของความสัมพันธ์ระหว่างตำราจึงแคบลงสู่ตำราบางเล่มโดยเฉพาะ และบ่อยครั้งเพียงพิจารณาตำราอื่นอีกเล่มหนึ่งเท่านั้น

สำหรับ Derrida ในทางตรงข้าม การขาดความสามารถที่จะกำหนดตัดสินในกรณีนั้นเป็นผลอันเนื่องมาจาก ไม่ใช่ความไม่แน่นอนที่คลุมเครือเกี่ยวกับความไร้ขอบเขตของความหมายต่างๆที่สัมพันธ์กัน, และไม่ใช่ความไม่เด็ดขาดของผู้ตีความด้วย(หรือการขาดเสียซึ่งความรู้). ทั้งคู่เกี่ยวกับความหมายต่างๆที่ขัดแย้ง จะต้องถูกมองในคำโดดทันที. การไร้ขอบเขตมันมาหลังจากมันกระทำการสำหรับ Kristeva, และสำหรับเหตุผลที่ธรรมดายิ่งกว่านั้น นั่นคือ มาจากความขัดแย้งกันอันหนึ่ง ของบางอย่างหรือทุกอย่างที่ตามมา

ดังนั้น การกระจายความคิดออกไปอย่างกว้างขวาง(dissemination) จึงเป็นปฏิบัติการของการตีความ (หรือ ปฏิบัติการ)เกี่ยวกับการสำรวจความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันที่ไร้ขอบเขตของความเชื่อมโยงทางวากยสัมพันธ์(syntactic connection - ความเชื่อมโยงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างถ้อยคำในประโยค)โดยปราศจากความจำเป็นใดๆ, ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางศีลธรรมหรือระเบียบวิธีก็ตาม, เกี่ยวกับความกังวลถึงมิติของความเปลี่ยนแปลงในความหมายของคำ(semantic dimension) ในส่วนที่เกี่ยวโยงถึงการอ้างอิงและคุณค่าความจริง(truth-value).

ปฏิบัติการของ Derrida มักจะไม่เหมือนกันกับแบบจำลองที่รับมาจาก Freud ตรงๆ. สำหรับสิ่งหนึ่ง, การกระจายความคิดออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่เป็นการแสวงหาการตีความขั้นสุดท้ายแต่อย่างใด. การเพิ่มทวีของบริบทยินยอมให้สำหรับความเป็นไปได้ต่างๆที่สัมพันธ์กัน สามารถดำเนินต่อไปอย่างจะแจ้งและไม่มีกำหนด. ดังนั้นถ้าแบบจำลองของ Derrida ไม่ได้เริ่มต้นจากความไร้ขอบเขต มันก็จะไม่จบลงด้วยมันเช่นกัน

อีกประการหนึ่งคือ Derrida บางครั้งได้หยิบเอาหน่วยต่างๆที่ใหญ่กว่าคำโดดขึ้นมาในฐานะที่เป็นตัวอย่างของความคาราคาซัง. ยกตัวอย่างเช่น ในความเรียงชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับ Nietzsche ในเรื่อง "Spurs" เขาได้ยกตัวอย่างหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่แยกออกมาอันหนึ่งที่พบได้ในบันทึกหมายเหตุต่างๆของ Nietzsche, ประโยคโดดประโยคหนึ่งในเครื่องหมายอัญประกาศที่พูดว่า "ข้าพเจ้าลืมร่มของข้าพเจ้า"(I have forgotten my umbrella)(Derrida 1979: 122ff.; ดู Blondel 1974, และ Hoy 1981b, 1982b)

สำหรับ Derrida อันนี้เป็นกระบวนทัศน์หนึ่ง กรณีของความคาราคาซัง เพราะคำต่างๆเป็นคำที่แปลมาและไม่มีความคลุมเครือ แต่อย่างไรก็ตาม การตีความมัน ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้. เมื่อเศษชิ้นส่วนนี้ของข้อความบนกระดาษ มาถึงตอนนี้ ได้ถูกแยกออกจากบริบทเดิมของมันอย่างสมบูรณ์, ไม่ว่าอะไรก็ตามที่มันเป็น, วิธีการต่างๆทางปรัชญาแบบขนบประเพณีล้มเหลวแล้ว

ถัดจากนั้น Derrida ได้ขยายปัญหาออกไปโดยเสนอว่า ผลงานเขียนทั้งหมดของ Nietzsche ยังเข้ามาแทนเครื่องหมายอัญประกาศด้วย, นั่นคือมีความหมายเดียว, คำอธิบายที่เป็นระบบเกี่ยวกับปรัชญาของเขาซึ่งไม่สามารถถูกสร้างขึ้นมาใหม่ได้. โดยหลุดออกไป, หรือแพร่กระจายออกไป, การทำให้รู้หรือการประกาศออกมาดังที่ถูกเสนอโดยการใช้เครื่องหมายอัญประกาศรายรอบคำสำคัญๆ, การอ้างของ Derrida ได้ท้าทายความพยายามในเชิงอรรถปริวรรตศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจข้อความต่างๆ, นั่นคือ, การตัดสินใจถึงสิ่งที่พิจารณาถึงความหมายที่เป็นไปได้และที่เป็นไปไม่ได้เกี่ยวกับข้อเขียนต่างๆ, หรือการอ่านที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม

การตัดสินที่มีลักษณะชี้เฉพาะอันนี้ อาจสะท้อนความเป็นไปได้ที่ว่า มันไม่มี"ความเป็นทั้งหมด"หรือ"สิ่งรวบยอด"(totality)ในงานเขียนของ Nietzsche, และไม่มีเครื่องมือที่จะไม่สามารถถอดระหัสหรือไม่อาจทำความเข้าใจมัน (Derrida 1979: 135)

อรรถปริวรรตศาสตร์ อาจไม่ได้คิดถึงตัวมันเองในฐานะที่เป็นเรื่องราวหนึ่งของอภิปรัชญา แต่ความปรารถนาของอรรถปริวรรตศาสตร์ ที่จะถอดระหัสความหมายที่มีอยู่หนึ่งเดียว(univocal)ของข้อความ อาจส่องสะท้อนความปรารถนาของอภิปรัชญาสำหรับคำอธิบายที่สมบูรณ์และเป็นที่เข้าใจเกี่ยวกับความหมายของทุกสิ่งทุกอย่าง, สำหรับความจริงของทั้งหมดและเอกภาพของโลก

ประจุที่มีนัยะของ Derrida คือ อรรถปริวรรตศาสตร์ยังคงถูกจำกัดสู่กรณีของอภิปรัชญา และปฏิเสธที่จะมองว่า ระหัสที่ถอดไม่ได้ของ Nietzsche เป็นส่วนหนึ่งของ"ความคิดที่ยุ่งยาก"อย่างไร ซึ่ง Nietzsche ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ได้อยู่เหนือขีดจำกัดเหล่านั้น. ด้วยเหตุนี้ ประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องหยุมหยิมหรือไม่สำคัญอันหนึ่ง เกี่ยวกับการตีความข้อความที่อยู่ภายใต้ร่มเงานั้น

กรณีนี้ไม่เพียงต้องลบล้างไปเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงสมมุติฐานที่ปราศจากข้อสงสัยและมีลักษณะเป็นอิภปรัชญามากๆของผู้อ่านในเชิงอรรถปริวรรตศาสตร์อย่างเอาจริงเอาจัง ผู้ซึ่งคิดว่า ข้อความอันหนึ่งไม่สามารถถูกทำความเข้าใจได้ เว้นแต่บริบทแวดล้อม หรือการอ้างอิงที่เป็นรากฐานที่อยู่ข้างใต้นั้นสามารถได้รับการค้นพบ

ข้อความที่ไม่มีความหมายชี้ขาดจะแสดงให้เห็นความอับจนของอรรถปริวรรตศาสตร์ และการขาดแคลนความอุดมสมบูรณ์ของการแพร่กระจายออกไป, นับตั้งแต่เมื่อ อรรถปริวรรตศาสตร์ ได้มาถึงข้อจำกัดต่างๆของมัน, การกระจายความคิด(ไอเดีย)ออกไปอย่างกว้างขวางจึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

การแย้มนัยะยิ่งขึ้นกว่าอีกอันหนึ่งก็คือ ปฏิบัติการของการกระจายความคิดออกไป ซึ่งอาจปลดปล่อยให้เราเป็นอิสระจากแนวความคิดที่มีขีดจำกัดอย่างไม่เหมาะสม ไม่เพียงเรื่องของนิรุกติศาสตร์เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงปรัชญาด้วย. งานเขียนทางด้านปรัชญาทั้งหมด ในท้ายที่สุด อาจถูกค้นพบว่า เป็นสิ่งไม่อาจถอดระหัสได้ในทำนองเดียวกัน

อย่างน้อยที่สุด Derrida ได้เห็นพ้องและยอมรับว่า สิ่งที่เก็บหรือรวบรวมเอาไว้ในข้อความหนังสือของ Nietzsche ได้ใช้เป็นประโยชน์ต่อข้อความหนังสือของ Derrida ด้วย. เขาได้ยกเอาคำถามอันนั้นขึ้นมา ไม่ว่าเรื่อง "Spurs" ในตัวมันเองจะมีความหมายชี้ขาดหรือไม่ก็ตาม

เพื่อจะบอกความจริง, เขากล่าว, มันกลับไม่. ข้อมูลอันนี้จะไม่ช่วยผู้อ่านในการแสวงหาในลักษณะตีความสำหรับความหมายที่มีอยู่หรือไม่มีอันนั้น, อย่างไรก็ตาม หนทางที่ดีที่สุดในการอำพรางหรือหลอกลวง คือต้องกล่าวออกมาอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า มันกำลังพูดความจริง (Derrida 1979: 137)

ในจุดนี้ ความเข้าใจผิดสองประการเกี่ยวกับ Derrida ควรจะไดรับการหลีกเลี่ยง.

- ประการแรกคือ, คล้ายกับ Nietzsche, Derrida บางครั้งได้ถูกนำมาอ้างเป็นการปฏิเสธความเป็นไปได้เกี่ยวกับความจริง, แต่ผมคิดว่าเขาถูกตีความอย่างมีเหตุผลมาก ในฐานะที่พยายามหลีกเลี่ยงการยืนยันเกี่ยวกับธรรมชาติของความจริง หรืออย่างน้อยที่สุดสิ่งใดที่มันเข้มแข็งกว่าความจริงที่ไม่ค่อยเป็นสาระ, และมันไม่ใช่ปัญหาหลักในความเอาใจใส่ของเขา

เขากล่าวแทนว่า มันมีถ้อยแถลงที่มากมายเหลือคณาที่เป็นจริง, และความยุ่งยากจริงๆในเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการตีความอยู่ที่ การเลือกมาจากการมีมากเกินไปของความจริงนั่นเอง เพื่อให้ได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ของสิ่งที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก: "มันไม่มีสิ่งนั้น ไม่ว่าในฐานะที่เป็นความจริงของ Nietzsche, หรือ ของข้อความของ Nietzsche อย่างใดอย่างหนึ่ง... อันที่จริง มันไม่มีสิ่งนั้นในฐานะที่เป็นความจริง(truth)ในตัวของมันเอง. มีแต่เพียงความมากเกินไปของมันเท่านั้น. แม้กระนั้น มันควรจะเป็นความจริงที่มีมากกว่าหนึ่งหรือเป็นพหูพจน์สำหรับผม (Derrida 1979: 103)

- ความเข้าใจผิดในประการที่สอง เกี่ยวข้องกับขอบเขตที่ เครื่องหมายอัญประกาศมันได้ไปกีดกันหรือขัดขวางการอ้างอิงและความจริง. อย่างเช่นประโยคทั้งหมดที่ว่า "ผมลืมร่มของผม"(I have forgotten my umbrella), ดังที่มันเป็นตัวแทนรากเดิม, ซึ่งอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศแล้ว, การพิสูจน์หรือวินิจฉัยเกี่ยวกับบริบทดังกล่าวและการอ้างอิงของเทอมต่างๆมันได้ถูกขัดขวาง

แต่มันก็ไม่ได้เป็นอะไรที่ลึกลับในที่นี้ และ Derrida ตัวของเขาเองนั้นได้ปฏิบัติหรือพิจารณาประโยคนี้ ไม่ใช่ในฐานะคำพูดที่เปล่งออกมาคำหนึ่งที่กำลังใช้วาทกรรมหนึ่ง, แต่ในฐานะชื่อของประโยคหนึ่งในภาษาธรรมชาติ. ไม่ต้องยอมรับว่า เขาพิจารณาประโยคดังกล่าวที่ถูกพูดถึง แต่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ว่ามันได้ตกเข้าไปในกับดักของการใช้ประโยชน์และการพูดที่สับสนไม่ชัดเจน

ทั้งคู่ Nietzsche และ Derrida ได้โดดเข้าไปใกล้เส้นที่อยู่ระหว่างการพูดและการใช้ประโยชน์, แต่การตีความที่ค่อนข้างใจกว้างของข้ออ้างของพวกเขา ไม่ต้องการที่จะกล่าวว่า พวกเขาได้ถูกทำให้เกิดความสับสนด้วยตัวเองเกี่ยวกับความแตกต่าง, ซึ่งพวกเขากำลังติดตั้งกับดักอันหนึ่งโดยไม่ทันระวัง. ถ้าหากว่าพวกเขากำลังนำไปสู่ความเข้าใจผิดโดยเจตนา เป็นไปได้ที่ว่าพวกเขาต่างรู้อยู่เต็มอกว่า มันจะเป็นความผิดพลาดอันหนึ่งที่จะกล่าวว่า การใช้เครื่องหมายอัญประกาศซึ่งมีข้อความบรรจุอยู่ภายใน โดยหลักการมันเป็นไปไม่ได้ที่จะแปลความหมายหรือถอดระหัสนัยสำคัญเกี่ยวกับเครื่องหมายอัญประกาศ หรือความหมายต่างๆที่มีนัยะเกี่ยวกับคำต่างๆเหล่านั้นได้

ผลที่ตามมาในเชิงโวหารของการปฏิบัติ เกี่ยวกับผลงานทั้งหมดของ Nietzsche ประหนึ่งว่ามันอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ, และด้วยเหตุนี้ ราวกับว่ามันไม่มีคุณค่าความจริงที่ชี้ขาดอันหนึ่ง, ดังนั้น ปรัชญาจึงกลายเป็นเหมือนกับเรื่องที่แต่งขึ้นมา(fiction). โดยเหตุนี้ ทัศนะของ Derrida จึงปรากฎออกมาเป็นเรื่องที่แปรผันไปอีกเรื่องหนึ่งในทฤษฎีเกี่ยวกับถ้อยแถลงที่แต่งขึ้นมา(fictional statements) ที่ซึ่งไม่เป็นจริงและก็ไม่มีอะไรผิดด้วย

เพราะพวกมันไม่พยายามที่จะอ้างอิงถึงความจริงแต่อย่างใด. พวกมันถูกเปล่งเป็นคำพูดออกมาในเครื่องหมายอัญประกาศอย่างเงียบๆ และดังนั้นมันจึงไม่ได้ยืนยันว่าเป็นความจริงแต่อย่างใด. สิ่งที่ Sir Philip Sidney พูดถึงเกี่ยวกับกวีนิพนธ์ต่างๆ, ที่ว่า กวีนิพนธ์มันไม่ได้ยืนยันถึงสิ่งใดๆ และด้วยเหตุนี้ มันจึงไม่เคยโกหกเลย, Derrida ดูเหมือนว่าจะพูดเหมือนนักปรัชญาเช่นเดียวกันนี้ด้วย

ความบิดเบี้ยวคือว่า บรรดานักปรัชญาทั้งหลาย โดยขนบประเพณี เชื่อว่าพวกเขาเองนั้นกำลังสาธยายถึงความจริงต่างๆ และเขียนไปตามนั้น. ความใหม่ของ Derrida ในที่นี้ จึงเข้ากันกับสิ่งที่เขาพูดถึงเรื่องวรรณคดีได้น้อยกว่าข้ออ้างที่บ่งนัยะว่า ปรัชญาคือเรื่องที่แต่งขึ้นอีกประเภทหนึ่ง(another fictional genre)

ด้วยเหตุดังนั้น เขาจึงเสนอความตรงข้ามของเขาสู่แนวความคิดทางปรัชญาของ Heidegger และกวีนิพนธ์ ในฐานะที่เป็นหนทางต่างๆของการติดต่อกับระดับที่อยู่ข้างใต้ของความหมาย ที่ซึ่งประวัติศาสตร์ของอภิปรัชญาได้สูญเสียความเชื่อมโยงไป

สำหรับ Derrida, Heidegger ได้สูญเสียความเข้าใจที่ว่า Nietzsche คือนักคิดที่แท้คนหนึ่งผู้ซึ่งได้ทำลายปรัชญาลง โดยผ่านการริเริ่มของเขาเกี่ยวกับสิ่งซึ่ง Derrida เรียกว่า "ระบบกฎเกณฑ์ยุคใหม่ของเครื่องหมายอัญประกาศ"(the epochal regime of quotation marks) (Derrida 1979: 107)

ในศักราชใหม่นี้ มันกลายเป็นอัตลักษณ์ของความเป็นภาษาหนังสือ(textuality)อันนั้น ที่มีอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ. ระเบียบวิธีต่างๆเกี่ยวกับการตีความ, เหมือนดังกับการรื้อสร้างในตัวมันเอง, จะต้องยุติจากการค้นหา"ความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่" หรือความสัมพันธ์แบบเหตุผลต่อรูปการณ์หนึ่งของความจริงภายนอก

ในความเรียงเรื่อง "Plato's Pharmacy" Derrida ได้นำเอาการวิจารณ์นี้เกี่ยวกับการแบ่งแยกระหว่างปรัชญากับกวีนิพนธ์ย้อนกลับไปสู่ประเด็นดังกล่าว ที่ซึ่งความแตกต่างได้รับการสร้างขึ้นมาเป็นครั้งแรก. เขาได้ค้นพบกรณีที่มีความสำคัญอีกอันหนึ่งเกี่ยวกับการไม่ชี้ขาดลงไปในการโจมตีของ Plato ในงานเขียนเรื่อง Phaedrus (Derrida 1981a: ดู Hoy 1982a)

แต่อย่างไรก็ตาม ชายขอบและเรื่องที่ไม่สำคัญนัก ตัวอย่างอันนั้นอาจดูเหมือนว่า, การอ่านของ Derrida มีนัยะว่า นับจากที่ตัวอย่างนั้นได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เริ่มต้นของประวัติศาสตร์ทางปรัชญา มันเป็นเรื่องที่มีลักษณะเด็ดขาดลงไปสำหรับความคิดตะวันตก

Derrida ได้ดึงความสนใจของเราไปสู่การนำเสนอบ่อยๆเกี่ยวกับประโยคที่ว่า"งานเขียนในฐานะที่เป็นยาชนิดหนึ่ง"(writing as a drug)ของ Plato, คำว่า drug มาจาก a pharmakon. คำๆนี้สามารถที่จะถูกแปลได้สองทางคือ, "การรักษา"(cure), หรือ "ยาพิษ"(poison), และ, คล้ายๆ"ยา", ไม่ว่าหนทางใดก็ตามที่มันถูกนำเอามาใช้ จะทำให้เกิดความหมายที่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง

ปรัชญา ได้รับการสร้างขึ้นบนความสามารถของนักปรัชญาที่จะใช้ความแตกต่างกันอันนั้น แต่อันที่จริงมันไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างที่แท้จริงอันหนึ่งขึ้นมาเลย. Hemlock, เป็นตัวอย่าง, คือยาพิษชนิดหนึ่งที่ได้ทำลาย Socrates, แต่ Socrates ได้ใช้ทั้งโวหารและอภิปรัชญาเพื่อพิสูจน์ว่า โดยการกิน hemlock นี้เข้าไป จริงๆแล้วเขาได้รับการรักษา. ผลของคำต่างๆที่ก่อให้เกิดอาการมึนงงได้นำเราไปสู่ความจริงที่เป็นความฝัน, หรือความฝันที่เป็นความจริง และปรัชญาได้สูญเสียมุมมองหรือการสังเกตเกี่ยวกับความแตกต่างอันนี้ไป

5. การวิจารณ์ของฟูโก (Foucault's critique)
การอ่านของ Derrida เกี่ยวกับ การวิจารณ์งานเขียนของ Plato เป็นเรื่องที่อาจโต้เถียงกันได้ และหนึ่งในบรรดานักวิจารณ์ที่เข้มแข็งที่สุดของเขาก็คือ Michel Foucault

Foucault ได้วิจารณ์เมตาปรัชญา(metaphilosophy)ทั้งหมดของ Derrida, ไม่ใช่เพราะมันเป็นเมตาปรัชญา แต่เป็นเพราะว่า Foucault พบว่า ความเกี่ยวข้องที่เป็นจริงในเชิงปฏิบัติของมันเป็นสิ่งที่ยังขาดคุณสมบัติบางอย่างไป

ในทำนองเดียวกัน Foucault ก็เป็นนักเมตาปรัชญา"end-of-philosophy"คนหนึ่ง แต่เขาไม่ได้เขียนเรื่องการรื้อสร้างเมตาปรัชญาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของปรัชญา. เขาเขียนประวัติศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับความพยายามในเชิงปฏิบัติที่ได้รวมความรู้ทางสังคมและจิตวิทยาขึ้นมาแทน

Foucault คิดว่า ปฏิบัติการของ Derrida เกี่ยวกับคำถามหรือข้อสงสัยเรื่องวงเล็บเกี่ยวกับ"ความจริงของข้อความ"(textual truth)ได้ทำให้เขามืดบอดต่อข้อเท็จจริงที่ว่า การวิจารณ์เกี่ยวกับงานเขียนของ Plato อันที่จริง เป็นเรื่องเกี่ยวกับความจริง และไม่เกี่ยวข้องอะไรกับความแตกต่างระหว่างงานเขียนและการพูด:

"ถ้าหากว่าคุณอ่าน Phaedrus, คุณจะเห็นว่า ข้อความนี้เป็นเรื่องรองที่ต่อเนื่องมาทีหลังของอีกใจความหนึ่ง ซึ่งเป็นรากฐานเบื้องต้น และซึ่งอยู่ในแนวทางของใจความเรื่องราวที่โลดแล่นไปตลอดจนจบของข้อความในหนังสือ. มันไม่ใช่สาระ ไม่ว่าข้อความนั้นจะถูกเขียนหรือพูดออกมา - ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ปัญหาไม่ใช่วาทกรรมที่กล่าวถึง ที่ให้ช่องทางเข้าไปสู่คำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับความจริง" (Foucault 1983: 245-6)

สำหรับ Foucault การตีความบางอย่าง ค่อนข้างเป็นพื้นฐานเบื้องต้นมากกว่าอันอื่น และด้วยเหตุดังนั้น มันจึงสามารถที่จะได้รับการตัดสิน. ในการอ่านของเขาเกี่ยวกับเรื่อง Phaedrus การตัดสินต่างๆเกี่ยวกับว่า จะทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของงานเขียน, การพูด และความจริงอย่างไรนั้น ไม่สามารถถูกทำความเข้าใจได้โดยแยกออกจากการห่อหุ้มหรือสิ่งแวดล้อมอันหนึ่ง ที่ผูกพันกับเทคนิคของศิลปะการดำรงชีวิต

คำอ้างทางปรัชญาของ Foucault ขึ้นอยู่กับการยอมรับว่า ณ จุดเริ่มต้นของปรัชญา มันไม่ได้มีการแบ่งแยกที่แหลมคมระหว่าง"ญานวิทยาหรือปรัชญาในเชิงทฤษฎี"(epistemology or theoretical philosophy)ที่อยู่ด้านหนึ่ง กับ "ปรัชญาในเชิงปฏิบัติทางด้านศีลธรรมและสังคม" ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่ง

ความจริงและความดีถูกพิจารณาแตกต่างกัน และเป็นสาระที่ไม่สัมพันธ์กันเพียงเมื่อระยะหลังมานี้เอง, และในยุค Modern เข้าใจมันในเชิงที่ต่างกัน

Foucault คิดว่า สิ่งที่ดำเนินไปซึ่งอยู่เบื้องหลังคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของงานเขียนและความทรงจำของ Plato คือการปรากฎตัวขึ้นมาของความคลุมเครืออันหนึ่งในสมุดบันทึกที่เก็บไว้ใช้สำหรับประโยชน์ส่วนตัวและการจัดการ. "เทคโนโลยีใหม่อันนี้", เขาอ้าง, เป็นความสับสนยุ่งเหยิงเท่าๆกับการนำเสนอเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เข้ามาสู่ชีวิตส่วนตัวในทุกวันนี้"(Foucault 1983: 245)

ยิ่งไปกว่านั้น ปฏิบัติการอันนี้ของการจดจารลงไป และการบันทึกได้ถูกนำมาใช้นับจากการเริ่มต้น มันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเกี่ยวกับการฝึกฝนตัวเอง. มันได้กลายเป็นเทคนิคที่สำคัญอันหนึ่งในการมารับใช้เกี่ยวกับไอเดียใหม่ๆของความดีงามที่ควบคุมตัวเองได้อย่างสมบูรณ์, ของความรู้ส่วนตัว และการเป็นนายควบคุมตัวเอง

เทคนิคดังกล่าวอาจได้รับการนำมาใช้ในลักษณะที่ขนานกันไป ทั้งในระดับที่เป็นส่วนตัวและในระดับสาธารณะ: "คนสมัยโบราณได้ดำเนินการเกี่ยวกับการปกครองตัวของพวกเขาเองอันนี้ด้วยสมุดบันทึกเหล่านี้ เทียบกันกับการที่รัฐบาลต่างๆและผู้คนเหล่านั้นซึ่งดูแลจัดการโครงการหรือกิจการต่างๆ ที่ได้รับการบริหารโดยการลงบันทึกหรือขึ้นทะเบียน (Foucault 1983: 246)

ไม่ว่าการตีความของ Foucault จะได้รับการสนับสนุนโดยพยานหลักฐานทางประวัติศาสตร์และหนังสือหรือไม่ก็ตาม การแลกเปลี่ยนอันนี้ได้ให้แนวทางที่สำคัญและทำให้เห็นภาพของการวิจารณ์เกี่ยวกับความพยายามของ Derrida ที่จะจำกัดการตีความไปสู่ระดับของภาษา(textual)และรูปแบบของโครงสร้างของลำดับคำในประโยคหรือวลี(syntactic level)

Foucault ต้องการที่จะเปิดเผยและนำเอาปฏิบัติการต่างๆทางสังคม ที่ภาษาในตัวมันเองได้สะท้อนและใช้สอยมัน โดยการเชื่อมโยงข้อสงสัยเกี่ยวกับงานเขียนกับ"กรอบทางด้านเทคนิคและกรอบทางด้านเนื้อหาสาระซึ่งมันเกิดขึ้นมา"(Foucault 1983: 245) แต่อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้อ้างว่า ได้ให้การตีความที่ถูกต้องทางประวัติศาสตร์มากกว่า

การให้ความเอาใจใส่ของเขากับมิติต่างๆทางด้านสังคมและการเมืองเกี่ยวกับภาษา(text) ไม่เพียงเป็นเรื่องทางวิชาการเท่านั้น สำหรับเขาแล้ว ต้องการที่จะทำให้เราตระหนักถึงขอบเขตของสิ่งซึ่ง ปฏิบัติการต่างๆที่เป็นไปในทำนองเดียวกันหรือผิดแผก ต่างก็เป็นเรื่องของการเมือง

นั่นคือ โดยการรู้สึกรู้ทราบเกี่ยวกับปฏิบัติการต่างๆที่ร่วมกันว่า เราได้หลงลืมที่จะคิดถึงพวกมัน และโดยเห็นว่า พวกมันทำให้ท่าทีหรือทัศนคติ และความเข้าใจในตัวเองเป็นสิ่งถาวร ซึ่งเราควรจะตั้งคำถามหรือข้อสงสัย, เราอาจต้องการพิจารณา แม้ว่ามันจะไม่ยิ่งใหญ่สักเท่าใดสำหรับความไม่ลงรอยกันอันนั้น ระหว่างอุดมคติของเรากับปฏิบัติการของเราก็ตาม

ดังนั้น สำหรับ Foucault, การตัดสินชี้ขาดของตัว Derrida ที่หลีกเลี่ยงคำถามเกี่ยวกับขอบเขต ซึ่งภาษามันได้เกิดขึ้นมานอกเหนือ"การสะท้อนถ่าย" และปฏิบัติการต่างๆทางสังคมที่ตัวมันเองได้สะท้อนปฏิบัติการทางสังคมอันหนึ่งออกมา จึงทำให้ปฏิบัติการของ Derrida ปรากฎว่าเป็นความบกพร่องในเชิงวิธีการอันหนึ่ง. โดยการจำกัดตัวของมันเองโดยเจตนาสู่การวิเคราะห์เฉพาะทางด้านภาษา. โดยเหตุนี้ คำถามเกี่ยวกับการประเมินการวิเคราะห์ภาษาในฐานะที่เป็นปฏิบัติการทางสังคมและการเมือง ซึ่งมันเป็นเช่นนั้นด้วย มันจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถูกทำให้เกิดขึ้นมาได้

เมื่อปฏิบัติการอันนี้มันทำให้การตีความมืดบอดต่อมิติต่างๆทางสังคมและการเมืองไปพร้อมกัน, กล่าวเฉพาะในทางการเมือง มันก็ต้องบกพร่องด้วย. นั่นคือ, ภายใต้ขอบเขตการไม่อาจตัดสินชี้ขาดในเชิงภาษาได้ มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะตั้งคำถามต่างๆเกี่ยวกับความจริง, และด้วยเหตุนี้ ความจริงในความสัมพันธ์กับบรรทัดฐาน, เนื้อหาสาระทางสังคมและการเมือง, มันทำให้สถานภาพที่เป็นอยู่มีความมั่นคงถาวร

6. การเมืองเกี่ยวกับหลังโครงสร้างนิยม (The Politics of Post-structuralism)
ในบรรทัดแรกของ Derrida ที่ตอบข้อวิจารณ์ของ Foucault สามารถชี้ให้เห็นว่า การอ่านของตัว Foucault เองเกี่ยวกับเรื่อง Phaedrus ขึ้นอยู่กับความเข้าใจถ้อยความต่างๆและบุคคลในหนังสือเล่มนั้น และด้วยเหตุนี้ ถ้าการอ่านแบบที่เปิดให้แผ่ออกไปกว้างๆของ Derrida เองเป็นสิ่งที่ถูกต้อง, การอ่านของ Foucault ก็จะเป็นการมองข้ามหรือไม่สนใจการไม่อาจตัดสินชี้ขาดไป ที่อยู่ข้างใต้ข้อความต่างๆของงานเขียน. ดังนั้น Foucault จะเป็นคนแรกที่ต้องพิสูจน์แย้งรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของ Derrida ในข้อความต่างๆเหล่านั้น

แต่อย่างไรก็ตาม แทนที่จะติดตามความยุ่งยากและความสลับซับซ้อนต่างๆของการโต้เถียง ผมจะสรุปโดยการโฟกัสลงไปที่สิ่งที่ใหญ่กว่า และเป็นประเด็นต่างๆทางการเมืองที่เกี่ยวข้อง

จากระยะห่างที่มีความห่างไกลกันมากของผู้สังเกตการณ์แองโกลโฟน(anglophone - หมายถึงคนที่พูดและใช้ภาษาอังกฤษ)ของฉากบนภาคพื้นทวีปยุโรป, ความคล้ายคลึงกันต่างๆระหว่าง Derrida และ Foucault, และความแตกต่างที่มีส่วนร่วมกันของพวกเขาจากบรรดานักปรัชญายุโรปคนอื่นๆ, เป็นไปได้ที่ว่ามันค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องและตรงกับปัญหามากกว่า

บรรดาผู้สังเกตการณ์เหล่านั้น อาจเตือนเราให้ระลึกถึงประเด็นของ Bertrand Russell ที่ว่า มันไม่มีเหตุผลที่จะคิดถึงการเมืองที่มีลักษณะเฉพาะใดๆที่ดำเนินตามมาจากญานวิทยาที่มีลักษณะเฉพาะใดๆ. แต่อย่างไรก็ตาม เมื่ออรรถปริวรรตศาสตร์(Hermenuetics)เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ"ความเข้าใจ"มากกว่า"ความรู้" ซึ่งอธิบายหรือชี้แจงในแนวทางที่แคบๆบางมุม และนับจากที่การพึ่งพาบริบท(context-dependence of understanding) จะรวมเอาขอบเขตทางสังคม, การเมือง และประวัติศาสตร์เข้ามาอย่างถาวร, ปรัชญาเกี่ยวกับการตีความไม่สามารถหลีกเลี่ยงคำถามนั้นได้ ไม่ว่าทฤษฎีของมันจะมีการแตกกิ่งก้านสาขาออกไปในทางการเมืองหรือไม่ก็ตาม

การถกเถียงอภิปรายมิได้ถูกจำกัดอยู่กับบรรดานักปรัชญาเยอรมันหรือฝรั่งเศส, แต่ยังได้รวมเอานักปรัชญาแองโกลโฟนกระแสหลักบางคนเข้าไปด้วย. Hilary Putnam ร่วมกับ Jurgen Habermas เป็นตัวอย่าง ในการประณามทั่วๆไปอันหนึ่งเกี่ยวกับสัมพัทธนิยม ซึ่งพวกเขามองเห็นในงานของ Foucault และ Derrida

Putnam ให้ข้อสังเกตว่า ในความพยายามที่จะตัดเยื่อใยสัมพันธ์อย่างสมบูรณ์ไปจากขนบประเพณี, ดังที่ Nietzsche ทำในการพยายามที่จะประดิษฐ์คิดสร้างศีลธรรมชนิดใหม่และดีกว่าอันหนึ่งขึ้นมา, สิ่งที่ได้ผลิตขึ้นมาคืออสูรกายตนหนึ่ง(a monstrosity)แทน (Putnam 1981: 216)

Hegel ก็ทำในสิ่งซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันโดยกล่าวถึง ความปรารถนาที่จะค้นพบสังคมที่ใหม่กว่าและดีกว่าในฉับพลันทันที. Foucault และ Derrida สำนึกถึงความยุ่งยากเหล่านี้ และโดยไม่คำนึงถึง การเลื่อนไหลต่างๆในบางโอกาส ปกติจะหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงว่ามันคล้ายๆกับสิ่งใด หลังจากการรื้อสร้างแบบวงศ์วาน(genealogical deconstructions - เป็นการรื้อสร้างที่มีการสืบค้นอย่างถี่ถ้วน) ได้ทำลายขนบจารีตอันยิ่งใหญ่ในที่สุด ก็ตาม

พวกเขาปฏิเสธที่จะอธิบายสิ่งที่วางอยู่เหนือขนบจารีตของเรา(แน่นอน ซึ่งเป็นของพวกเขาด้วย) กระนั้นก็ตาม ในเวลาเดียวกัน ความพยายามอย่างดีที่สุดของพวกเขาได้นำไปสู่ความสับสนยุ่งเหยิง โดยทำให้เรามองมันว่าไม่มีความกลมกลืนกัน และไม่มีความก้าวหน้าอะไรเลย, เครือข่ายความเชื่อที่ดูอบอุ่น แต่เป็นเนื้อเยื่ออันหนึ่งของเรื่องที่เสกสรรขึ้นมา, มันเป็นงานตัดปะของชิ้นส่วนเศษเล็กเศษน้อยที่มารวมๆกัน

พวกเขายอมรับความคิดที่ว่า เราเป็นสิ่งที่เราเป็นโดยผ่านขนบจารีตทางประวัติศาสตร์ของตัวเราเอง หรือพูดง่ายๆคือ ขนบจารีตในประวัติศาสตร์สร้างเราขึ้นมา, แต่พวกเขา ปรารถนาที่จะไปกวนอำนาจหน้าที่ของมัน. ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงปฏิเสธอรรถปริวรรตศาสตร์ของ Heidegger และ Gadamer ในฐานะที่มันยังคงเป็นอภิปรัชญามากเกินไป

อรรถปริวรรตศาสตร์เป็นเรื่องที่เก่าแก่ล้าสมัย และ logocentric (การมองว่าภาษาเป็นการแสดงออกพื้นฐานเกี่ยวกับโลกภายนอก)ที่สันนิษฐานว่า ภาษา-ข้อความ หรือ "คำเรียกสิ่งต่างๆหรือภาวะต่างๆ" มีอำนาจหน้าที่อันหนึ่งที่จะกล่าวว่า เราต้องฟังด้วยความเคารพอย่างเต็มที่. Derrida และ Foucault ดูเหมือนคิดว่า การวิจารณ์เกี่ยวกับมนุษยนิยมมันจะไม่สมบูรณ์ จนกว่าการเคารพนับถือในอำนาจของความหมายจะถูกมองทะลุปรุโปร่ง และบางทีถูกทิ้งไป

ดังนั้น ความแตกต่างในที่นี้ จึงไปพ้นจากเรื่องของญานวิทยา และดูเหมือนจะมีสุ้มเสียงทางการเมืองด้วย. อรรถปริวรรตศาสตร์ที่ได้รับการปฏิบัติโดย Heidegger และ Gadamer ได้รับการยืนยันบนการให้ความเคารพต่ออำนาจหน้าที่และขนบจารีต. ฝ่ายซ้ายที่มีความคิดตรงข้ามกับความศรัทธาเชิงอนุรักษ์อย่างเด่นชัดนี้ในอำนาจและขนบประเพณีไม่เฉพาะจะมีแต่ Foucault และ Derrida เท่านั้น แต่ยังรวมถึง Habermas ด้วย. อย่างไรก็ตาม Habermas ไม่ได้ยอมรับ Foucault และ Derrida ในฐานะที่เป็นพวกฝ่ายซ้ายที่แท้จริง. ในทางตรงข้าม Habermas ได้ปิดป้ายฉลากทั้งสองคนนี้เป็นพวกอนุรักษ์นิยมใหม่(neo-conservatives)(Habermas 1981: 13)

ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้นก็ตาม, การวิพากษ์ของ Habermas เกี่ยวกับ อรรถปริวรรตศาสตร์ของ Gadamer ได้รับการชี้แนะคล้ายๆกัน ซึ่งตรงข้ามกับความเคารพต่ออำนาจหน้าที่ของ Gadamer (ดู Hoy 1978: 117-128). ทัศนะของ Habermas คร่าวๆคือว่า ไม่มีอำนาจหน้าที่ใดที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม, สวนกับข้อเท็จจริง, เว้นแต่มันจะได้รับการพูดออกมาอย่างชัดเจนและเห็นพ้องกับสถานการณ์ที่เป็นคำพูดเชิงอุดมคติ ที่ที่มันจะไม่มีการบีบบังคับทางสังคม, ไม่มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจ, ที่จะไปบิดเบือนการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการก่อตัวขึ้นมาของความคิดของคนส่วนใหญ่(มติมหาชน). ข้อสังเกตคือว่า ในสถานการณ์ที่เป็นคำพูดเชิงอุดมคติ "อำนาจ" จริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องยิ่งใหญ่อะไร โดยหลักการ นับแต่ที่มันไม่มีอะไรที่ฝ่ายซ้ายไม่ได้คิดถึงและไม่หยิบมาสนทนาพูดคุย

ทัศนะของ Gadamer คือว่า การทำให้เป็นอุดมคติอันนี้มันไกลห่างมากจากความจริงเชิงปฏิบัติ. ความเข้าใจเชิงปฏิบัติในบริบทต่างๆที่แท้จริง, เขายืนยัน, เต็มไปด้วยอำนาจและการตัดสินล่วงหน้าต่างๆอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. คำตอบส่วนตัวของ Foucault ที่มีถึง Habermas เป็นไปได้มากที่จะเห็นด้วยกับ Gadamer ในประเด็นนี้

อย่างไรก็ตาม นับแต่การเห็นพ้องกันเล็กน้อยอันนี้เป็นต้นมา มันอาจยืนยันข้อกล่าวหาเกี่ยวกับความเป็นอนุรักษ์นิยม, Foucault จะต้องไปไกลจาก Gadamer และเรียกร้องว่า ความดึงดูดใจที่มีต่อสถานการณ์ที่เป็นคำพูดเชิงอุดมคติ ตัวมันเองได้มารับใช้วัตถุประสงค์เกี่ยวกับการขยายตัวของความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีอยู่เท่านั้น และ ด้วยเหตุนี้มันจึงเกี่ยวกับการกดขี่ไปตลอด

ความเชื่อของ Derrida ที่ว่า การอ้างความจริงของปรัชญาเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน(สันนิษฐานได้ว่า อยู่ภายใต้เงื่อนไขต่างๆทางคำพูดอุดมคติ) ได้ทำให้เขาไปอยู่ในฝ่ายของ Foucault ซึ่งสวนหรือตรงข้ามกับ Habermas

ดังนั้น ใครสักคนสามารถจะเห็นได้ว่า ทำไม Habermas จึงปิดป้ายฉลากปรัชญาเมธีฝรั่งเศสเหล่านี้ที่โจมตีอำนาจทั้งหมดว่าเป็นพวกอนุรักษ์นิยม. ข้อเรียกร้องของพวกเขามันค่อนข้างจะสุดโต่งซึ่งต่อต้านอำนาจในทางปฏิบัติ ที่ดูเหมือนว่าจะไร้ผล ไม่ค่อยได้ประโยชน์ และออกจะเรี่ยราดโดยปราศจากทิศทาง. บรรดานักปรัชญาฝรั่งเศสน่าจะสวนเขาในฐานะที่ ได้ถูกลดทอนลงสู่ความขุ่นเคืองที่ไม่สมหวังเกี่ยวกับสังคมและขนบประเพณี, ขาดเสียซึ่งบรรทัดฐานใดๆที่จะสนับสนุนโครงการที่ถูกทำนองคลองธรรมเกี่ยวกับการวิจารณ์

Foucault สามารถตอบโต้ต่อข้อกล่าวหานี้อย่างไร ผมจะไม่หยิบประเด็นนี้มาพิจารณา เว้นแต่ข้อคิดเห็นสั้นๆที่ Foucault ได้วิพากษ์วิจารณ์สังคม แต่เขากระทำมันโดยการชี้ถึงความไม่ลงรอยกันต่างๆ ระหว่างบรรทัดฐานของเรา กับการปฏิบัติของเรา. การวิจารณ์ภายในอันนี้มิได้เรียกร้องต้องการวางสมมุติฐานในเชิงทฤษฎี, หรืออุดมคติต่างๆที่สวนทางกับข้อเท็จจริงแต่อย่างใด

ในทำนองเดียวกัน กรณีต่างๆของ Derrida ก็วางอยู่บนการวิเคราะห์ด้านภาษา, ไม่ได้วางอยู่บนข้ออ้างต่างๆที่มีพื้นฐานเชิงทฤษฎีเช่นกัน. คำถามหลักที่สำคัญเกี่ยวกับ Derrida ยังคงเป็นหนึ่งในข้อสงสัยที่ Foucault ยกขึ้นมา กล่าวคือ ไม่ว่าวิธีการของ Derrida เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางด้านภาษามันจะจำกัดขอบเขตมากก็ตาม และค่อนข้างหลบหลีกเกี่ยวกับคำถามต่างๆเกี่ยวกับความจริงและบริบททางสังคม. อรรถปริวรรตศาสตร์ ได้กระตุ้นประเด็นปัญหานี้โดยความระมัดระวังและรอบคอบ ซึ่งสวนหรือตรงข้ามกับบรรดานักรื้อสร้างทั้งหลาย ที่ทำการลดทอนปรัชญาและวรรณคดีลงสู่การเป็นเพียงแค่วาทศิลป์หรือเรื่องที่เสกสรรขึ้นมาเท่านั้น

บรรดานักปรัชญาอรรถปริวรรตศาสตร์ ไม่ควรจะต้องไม่เห็นพ้องกับข้อยืนยันของ Putnam ในความเรียงของเขาเรื่อง "Literature, Science, and Reflection" ซึ่งสำหรับปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ยังคงอยู่บนกลางเวทีในวัฒนธรรมของเรา ในฐานะที่เป็นแบบจำลองที่ดีที่สุดของความรู้ที่เรามี (Putnam 1978: 83-94)

ดังนั้น การตั้งคำถามเกี่ยวกับวรรณคดี, เขายืนยัน, ดังที่ Heidegger และ Gadamer ทำ, ที่ว่า วรรณคดีไม่ควรที่จะถูกทำความเข้าใจว่าไม่ใช่กระบวนการรับรู้หรือไม่ใช่ความรู้ เมื่อมันได้ให้ความเข้าใจบางอย่างแก่เรา และกระทั่งความรู้กับเรา

ทัศนะของเขาคือว่า มันได้ให้แนวความคิดกับเรา แต่ไม่ใช่ความรู้เชิงประสบการณ์โดยการคิดประดิษฐ์ขึ้น, ไม่มีการทดสอบ, แต่มันเป็นเรื่องใหม่ และการสมมุติต่างๆที่สุกสว่าง. ข้อเสียเปรียบของวิธีการนี้เกี่ยวกับการนำเสนอในประเด็นดังกล่าวคือว่า วรรณคดีดูเหมือนคล้ายๆกับ"การคาดเดา", ดุจดั่งหนทางหรือวิธีการชั้นสอง(second-rate way)ของการพูดถึงสิ่งต่างๆ ที่สามารถจะถูกพูดออกมาได้ชัดมากกว่า, และทดสอบได้โดยวิทยาศาสตร์

วิธีการที่ดีกว่าก็คือคิดถึงวรรณคดี ในฐานะที่มันได้ให้บางสิ่งบางอย่างแก่เรา คล้ายกับช่วยเพิ่มความเข้าใจกับเราเพิ่มขึ้น บางทีจะเกี่ยวกับสิ่งที่ผุดขึ้นมาจากการเห็นและการไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ใหม่ๆ เพราะฉะนั้น ผมจึงชอบการเสนอแนะต่อมาของ Putnam (following Baker and Grice on Kant) ที่ว่า วรรณคดีเป็นอะไรคล้ายๆกับการมีเหตุผลในทางปฏิบัติ, โดยเฉพาะเหตุผลทางด้านศีลธรรม. โดยวิธีทางวรรณคดี เราได้เผชิญหน้ากับหนทางที่แตกต่างของการไปเกี่ยวข้องกับคำถามทางศีลธรรม อย่างเช่น เกี่ยวกับคำถามที่ว่า"การจะดำรงอยู่อย่างไร" เป็นต้น

ทั้ง Gadamer และ Foucault ได้เสนอข้อเรียกร้องต่างๆในทำนองเดียวกัน และวิสัยทัศน์ดังกล่าวที่ร่วมกันซึ่งมีนัยะว่า ไม่มีความต้องการใดๆที่จะคิดถึงวรรณคดีว่าเป็นเรื่องที่ผิดพลาดอีกต่อไปแล้ว หรือเป็นคำอธิบายที่โกหกมดเท็จ หรือกระทั่งเป็นวาทกรรมที่หลอกลวง ปราศจากข้อยืนยัน

เมื่อไม่มีความต้องการใดๆที่จะต่อสู้กับอคติเกี่ยวกับวรรณคดี หรือการทึกทักเอาเองเกี่ยวกับความถูกต้องอีกต่อไปแล้ว, เพราะมันไม่มีอัตลักษณ์ที่เป็นวิทยาศาสตร์, มันจึงไม่ต้องการที่จะฉายชัดให้เห็นการไม่อาจชี้ขาดที่แพร่กระจายอยู่ ในฐานะที่เป็นอุดมคติใหม่ของงานเขียนทั้งหมดพร้อมกันไปด้วย

ถ้าการกระจายความคิดออกไปกว้างๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง มันเป็นยาแก้พิษที่มีประโยชน์, แต่ถ้ามากเกินไป มันอาจกลายเป็นยาพิษไปเสียเองก็ได้. การกระจายความคิด(ไอเดีย)ออกไปอย่างกว้างขวาง และ อรรถปริวรรตศาสตร์ ไม่ควรถูกทำให้ตรงข้ามกันอย่างสุดขั้ว

การรื้อสร้างและการกระจายความคิดออกไปอย่างกว้างขวาง แน่นอน ได้คาดการณ์ล่วงหน้าการสร้างประโยคขึ้นมาก่อนอันหนึ่งเกี่ยวกับความหมายของภาษา, อีกประการหนึ่ง มันจะไม่มีอะไรที่ทำให้ยุ่งเหยิงสับสน. แม้ว่า การอ่านแบบกระจายความคิดออกไป จะประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจก่อนหน้านั้นของภาษา(ข้อความ), แต่นั่น มันก็เป็นการตัดสินในลักษณะการตีความที่ยุ่งยากในเชิงปฏิบัติ ซึ่งทำให้ไปพัวพันกับการไม่อาจชี้ขาดลงไปได้ หรือการเป็นไปไม่ได้เกี่ยวกับความเข้าใจในหลักการ

แนวคิดที่ต้องการอย่างไม่เหมาะสมของสิ่งที่มันต้องพิสูจน์ และให้เหตุผลสำหรับการตีความต่างๆ จะบีบบังคับเราไปสู่การลงความเห็น จากความยุ่งยากของการพิสูจน์บริบทต่างๆโดยเฉพาะ สู่ข้อสรุปที่มันไม่มีบริบทใดๆที่เหมาะสม. การยกเลิกอุดมคติเกี่ยวกับการตัดสินให้เหลือเพียงหนึ่งเดียว และเหลือเพียงบริบทที่เหมาะสมเท่านั้น โดยอาศัยบรรทัดฐานที่ชี้ขาด คล้ายๆเจตนาหรือความตั้งใจของผู้เขียน มันไม่ได้คลี่คลายหรือแก้ไขความไม่สิ้นสุดของความคาราคาซังเกี่ยวกับการอ่านลงไปได้. เราไม่ได้สูญเสียพื้นที่ทั้งหมดสำหรับการปฏิเสธบรรทัดฐานที่ไม่เหมาะสมและบริบทต่างๆไป แต่เรากลับค้นพบบรรทัดฐานที่เป็นประโยชน์อื่นๆและใช้ได้แทน ซึ่งกลายมาเป็นประโยชน์และเหมาะสมมากกว่า

การอ่านที่ดีใดๆก็ตาม จุดมุ่งหมายอยู่การสร้างความสมดุลย์ระหว่างความสลับซับซ้อนของภาษาหรือข้อความกับควาหมายของมัน. การกระจายความคิดออกไปอย่างกว้างขวางและการรื้อสร้างเป็นยุทธวิธีเกี่ยวกับการตีความในเชิงปฏิบัติที่ทำให้มั่นใจว่า ความสลับซับซ้อนจะไม่ถูกประเมินค่าต่ำจนเกินไป

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความหมายเชิงอรรถปริวรรตศาสตร์ก็เป็นที่ต้องการด้วยเช่นกัน เพื่อรักษาการแพร่กระจายความคิดออกไปให้กว้างจากความบังเอิญอย่างไม่รู้จบ. การกระจายไอเดียออกไปอย่างกว้างๆอาจดูหมิ่นเหยียดหยามความต้องการของอรรถปริวรรตศาสตร์ ที่จะนำพาให้ความสลับซับซ้อนและความหมายเข้าสู่ดุลยภาพของการคิดไตร่ตรอง

ความสงสัยคลางแคลงเกี่ยวกับอรรถปริวรรตศาสตร์ อาจได้รับการวางพื้นฐานอยู่บนความเชื่อที่ว่า การสร้างความหมายของข้อความขึ้นมาใหม่จะไปถอดถอน หรือคร่าเอาความสลับซับซ้อนไปด้วยกลอุบายอย่างถาวร และส่งให้การอ่านไปสู่การชะงักงันอันไม่สมควร. แต่อย่างไรก็ตาม หลักฐานสนับสนุนที่ไม่ได้มีการพิสูจน์ แม้แต่การอ่านที่ดีที่สุด ความสลับซับซ้อนและความหมาย ไม่บ่อยนัก ที่มันจะยังคงเที่ยงตรงอยู่

ทฤษฎีอรรถปริวรรตศาสตร์จะไม่ลงทุนหรือมอบอำนาจให้แก่อุดมคติเกี่ยวกับการอ่านในขั้นสุดท้าย(final reading). หากว่าดุลยภาพของการไตร่ตรองเป็นเพียงการคาดเดาเรื่อยไป ถ้าเช่นนั้น แม้ว่าการอ่านของใครคนหนึ่งจะปรากฎว่าได้บรรลุถึงมันc]h; แต่การอ่านครั้งต่อไป, บางทีโดยผู้อ่านคนเดียวกัน, เป็นไปได้มากที่จะสูญเสียมันไป และจะต้องสร้างมันขึ้นมาใหม่อีกครั้งโดยวิธีการอื่นๆ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปรัชญา, ที่ที่การอ่านจะมาถึงการชะงักงันในทันที, เนื่องจากการค้นพบเกี่ยวกับการไม่สามารถชี้ขาดลงไปได้ในท้ายที่สุดของข้อความ, และโดยเหตุของการไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ของมัน

หนังสืออ่านเพิ่มเติม
สำหรับผู้ที่ไม่เคยอ่านหนังสือของ Derrida มาก่อนเลย และต้องการจะอ่านงานแปลในภาคภาษาอังกฤษ อาจเริ่มต้นด้วย Positions (1981b), ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นบทสัมภาษณ์ที่จะช่วยให้เข้าใจในทฤษฎีของเขา. ต่อจากนั้นอาจเปลี่ยนไปสู่ความเรียงเชิงทฤษฎีต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง "Differance"(ที่ได้รับการแปลแล้วเป็นภาษาอังกฤษใน Margins of Philosophy (1982b) และ Speech and Phenomena (1973)) เช่นเดียวกับ Part One of Grammatology (1976)

ตัวอย่างที่ดีที่สุดเกี่ยวกับ"ปรัชญาการรื้อสร้าง"ต่างๆ คือในหนังสือเรื่อง Margins of Philosophy (รวมทั้ง "The End of Man"). เรื่อง Writing and Difference (1978) ได้บรรจุเอาการวิจารณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับโครงสร้างนิยมเอาไว้ จากบทความเรื่อง Structure, Sign, and Play in the Discourse of the Human Science", เช่นเดียวกับความเรียงชิ้นหนึ่งของ Foucault, "Cogito and the History of Madness"

หมายเหตุ :
เอกสารอ้างอิงที่เขียนอยู่ในวงเล็บ ซึ่งแทรกอยู่ในข้อความของบทความชิ้นนี้ โปรดดูได้จากหนังสือ The Return of Grand Theory in the Human Sciences / edited by Quentin Skinner / Cambridge University Press, First published 1985 ตั้งแต่หน้า 199-211

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด หรือ Ctrl + A
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งยอหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ

 

 

 

ปรัชญาการรื้อสร้างของเดอริดา
Jacques Derrida by David Hoy

หัวเรื่องสำคัญในบทความชิ้นนี้ประกอบด้วย

1. บทนำเกี่ยวกับ Derrida
2. การมรณกรรมของขนบจารีตอันยิ่งใหญ่ของมนุษยนิยม (The death of the grand tradition of humanism)
3. ศาสตร์เกี่ยวกับระบบการเขียนในฐานะรากฐานของอรรถปริวรรตศาสตร์ (Grammatology as radical hermeneutics)
4. ความคาราคาซัง และ การกระจายความคิดออกไปอย่างกว้างขวาง(Undecidability and dissemination)
5. การวิจารณ์ของ Foucault ต่อ Derrida (Foucault's critique)
6. การเมืองเกี่ยวกับหลังโครงสร้างนิยม (The Politics of Post-structuralism)
หนังสืออ่านเพิ่มเติม

1. บทนำเกี่ยวกับ Jacques Derrida
Jacques Derridaเคยถามตัวเองในความเรียงเมื่อไม่นานมานี้เรื่องหนึ่งว่า บรรดานักนิรุกติศาสตร์ในอนาคตจะสามารถทำความเข้าใจได้หรือไม่ว่า สิ่งที่บรรดานักปรัชญาทั้งหลายในอดีตและปัจจุบัน"หมายถึง"โดยการนำ"คำ"(the word)มาทำหน้าเป็น"ตัวแทน"(representation)สิ่งต่างๆ มันหมายความว่าอะไรจริงๆ ถ้าเผื่อว่าภาษาทั่วๆไปของเราตายไป. ไม่ว่าจะเป็นภาษาฝรั่งเศสหรืออังกฤษก็จะไม่ทำให้เกิดความแตกต่างขึ้นมาเลย สำหรับประเด็นของเขาก็คือว่า"ตัวแทน"(representation)เป็นเพียงเทอมหนึ่งในศัพท์ปรัชญา ที่ซึ่งตัวมันเองคล้ายกับภาษาที่ตาย(Derrida 1982a: 298)