มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
ส่วนแรก,
เป็นการประชุมของบุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องประมาณ 30 คน อาทิ นักประวัติศาสตร์,
นักวิชาการทางกฎหมาย, ผู้สร้างภาพยนตร์, ศิลปินทางด้านทัศนศิลป์, นักจิตวิเคราะห์,
ภัณฑารักษ์, นักมานุษยวิทยา, นักประวัติศาสตร์ศิลป์ และนักสร้างละคร ซึ่งจะมานำเสนองานเอกสารของตนต่างๆ
2
ในส่วนที่สอง, การประชุมจะถูกทำให้คลอกันไปกับโครงการเกี่ยวกับวิดีโอและภาพยนตร์
โดยจะมีการนำเสนอภาพยนตร์ 35 เรื่อง โดยผู้กำกับ 26 คน
การดำเนินการทั้งหมดของ 2 เวทีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะถูกนำเสนอในรูปของเอกสารอย่างบริบูรณ์ และเช่นเดียวกับภาพวิดีโอ ซึ่งหาดูได้บนเว็ปไซต์ของเรา (ผู้สนใจ ค้นหาอ่านรายละเอียดได้โดย search engine ด้วยการค้นไปที่คำว่า Documenta 11)
สถานที่ของการจัดงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 เป็นหนึ่งในการถกเถียงและแข่งขันกันในกลุ่มของไอเดียทางด้านทฤษฎี สลับกับการปฏิบัติการที่แยกออกมา. การวางแผนเป็นไปอย่างเข้มงวดทางด้านสติปัญญาและมีการสุ่มเสี่ยงในวิธีการ, จุดสุดยอดของเวทีต่างๆคือนิทรรศการที่เผยให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอันสลับซับซ้อน ที่ได้ก่อรูปเรือนร่างงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 นี้ขึ้น เมื่อมันได้เปิดตัวในวันที่ 8 มิถุนายน 2002 ที่ Kassel เยอรมันนี
ดังนั้น เวทีต่างๆเราสามารถทำความเข้าใจได้ ในฐานะที่เป็นกลุ่มคนต่างๆที่เปิดให้มีการทบทวน วิพากษ์วิจารณ์ถึงกระบวนการเกี่ยวกับขบวนแถวของการผลิตความรู้. เท่าๆกัน เวทีต่างๆเหล่านี้จะมีปฏิบัติการขั้นที่สอง ซึ่งพวกเขายอมให้งานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 มีโอกาสกระทำการอย่างโปร่งใส ในมิติที่เกี่ยวกับความสนใจทางด้านสติปัญญาและการวิจัยทางภัณฑารักษ์. เพราะฉะนั้น การปรับแนวคิดทั้งหมดของนิทรรศการจึงมีลักษณะเป็นสหวิทยาการอย่างไม่มีข้อสงสัย โดยเชื่อมต่อกับนักวิชาการอย่างกว้างขวาง เช่น นักปรัชญา, ศิลปิน, และผู้สร้างภาพยนตร์, สถาบันต่างๆ, เมือง, และผู้ชม
สถานะของงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 เป็นหนึ่งในข้อถกเถียงและการแข่งขัน, ความรัดกุมทางสติปัญญา, ความสุ่มเสี่ยงในวิธีการยิ่งกว่านิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยใดๆที่เคยมีมา
เวทีที่
1 ประชาธิปไตยที่ยังไม่บรรลุผล / Platform1 : Democracy Unrealized
เวียนนา,
วันที่ 15 มีนาคม - 20 เมษายน 2001
เบอร์ลิน, วันที่ 9 ตุลาคม - 30 ตุลาคม 2001
ที่เบอร์ลิน ระหว่างวันที่ 9-30 ตุลาคม 2001, งานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 และ the House of World Cultures, กรุงเบอร์ลินในความร่วมมือกันกับ the DAAD, ศูนย์การแลกเปลี่ยนทางวิชาการของเยอรมัน (the German Academic Exchange Service), จะเริ่มต้นการประชุมสัมนาระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการขึ้น ในหัวข้อ Democracy Unrealized (ประชาธิปไตยที่ยังไม่บรรลุผล)ในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งจะนำเอาข้อสรุปการพูดคุยที่จัดให้มีขึ้นในกรุงเวียนนาในระหว่างวันที่ 15 มีนาคม - 20 เมษายน 2001 มาพูดจากัน. สำหรับหัวข้อ"ประชาธิปไตยที่ยังไม่บรรลุผล"นี้ จะเป็นส่วนแรกสุดใน 5 ส่วนของการจัดให้มีการถกเถียงอย่างเป็นสาธารณะ, การประชุมสัมนาต่างๆ, การนำเสนอในรูปของภาพยนตร์, การบรรยาย, และนิทรรศการศิลปะที่รวมอยู่ในกรอบโครงร่างของนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 ในเมือง Kassel เยอรมันนี
ในขณะที่อิทธิพลในเชิงอุดมคติเกี่ยวกับ"ระเบียบโลกใหม่"(New World Order)ถดถอยลง และสถาบันต่างๆเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก และการเมืองต่างๆได้กลายเป็นคุณค่าซึ่งได้รับการยึดถือ มันได้ก่อให้เกิดการตั้งคำถามที่ทรงพลังมากเกี่ยวกับชะตากรรมของประชาธิปไตย ณ ปากประตูของการเริ่มต้นในรอบพันปีใหม่
แม้ว่าคำถามต่างๆเหล่านี้จะมีความดึงดูดใจและครอบงำปัญญาชนทั้งหลาย, สถาบันต่างๆ, และบรรดานักคิดทั้งขบวนมากว่าครึ่งศตวรรษ แต่ก็เพียงระยะที่ใกล้จะสิ้นสุดของคริสตศตวรรษที่ 20 มานี้เอง ที่ความหมายอันบริบูรณ์ทางการเมืองได้แตกออกเป็นชิ้นๆ ซึ่งได้ดำเนินไปพร้อมกันกับการแตกสลายของจักรวรรดิ์โซเวียต ที่ได้ทำให้ประเด็นต่างๆเกี่ยวกับประชาธิปไตยได้รับการเปล่งเสียงออกมามากขึ้น
มีปัจจัยหลายประการได้ให้การสนับสนุนต่อคลื่นลูกปัจจุบัน ในการประเมินกันใหม่เกี่ยวกับความมีอิทธิพลในเชิงอุดมคติของประชาธิปไตย กล่าวคือ : ขนาดสัดส่วนและการแทรกซึมของลัทธิทุนนิยมโลก ในการเข้ามาเป็นกรอบกำหนดในทุกๆด้านของเรื่องราววิถีชีวิตวัฒนธรรมและการเมืองไปทั่วโลก จากผลดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการลุกขึ้นมาของลัทธิชาตินิยม และมูลรากนิยม(fundamentalism - ความเชื่อในรูปแบบขนบประเพณีอันเก่าแก่ทางด้านศาสนา) ของทุกส่วนเท่าที่จะจินตนาการได้ สิ่งเหล่านี้คือผลของการตอบโต้กับการโจมตีของนักโลกาเสรีนิยมใหม่(neo-liberal globalist)
นอกจากนี้ ความคิดเห็นต่างๆที่แผ่ออกไปตามแนวนอนของความเป็นพลเมือง ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยการเข้ามาแทนที่และการอพยพขนาดใหญ่ ทุกวันนี้ มันกำลังก่อรูปก่อร่างการเผชิญหน้าขึ้นมาใหม่อีกครั้งกับสังคมทั้งหลาย ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีความมั่นคงมาตลอด ก็นับเป็นอีกกรณีหนึ่งซึ่งกำลังเกิดขึ้นกับพวกเรา และสุดท้ายคือ การปรากฎตัวขึ้นมาของรัฐหลังอาณานิคม ดังที่มันได้ปลุกปล้ำต่อสู้กับมรดกอันบกพร่องของลัทธิจักรวรรดิ์นิยมและลัทธิอาณานิคมอย่างที่พวกเราเห็นอยู่
ภายใต้การเปลี่ยนสภาพการณ์ต่างๆเหล่านี้ มันมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพูดถึงเกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่ในช่วงเวลาของพวกเรา และการสร้างความเป็นตัวตน (ชนกลุ่มน้อยหรือชาติพันธุ์, ปัจเจกหรือกลุ่ม) คุณสมบัติที่สำคัญอันหนึ่งที่ต้องถูกสร้างขึ้นมา, ซึ่งอันนี้คือขอบเขตที่แนวโน้มต่างๆในปัจจุบันของระบอบการปกครองประชาธิปไตย ดังที่ได้รับการสืบทอดมา ได้ถูกเชื่อมโยงกับขนบจารีตทั้งหลายของแนวคิดตะวันตกในเรื่องประชาธิปไตย
แต่เพราะว่ามันไม่สามารถถูกปฏิเสธได้ที่ว่า รัฐประชาธิปไตยทั่วโลกในทุกวันนี้ มันเริ่มแปรเปลี่ยนและยืดหยุ่นมากขึ้น พวกเราทั้งหลายจึงได้ถูกเคลื่อนไปสู่คำถามทางด้านความคิดเกี่ยวกับ"ประชาธิปไตย"ที่ว่า มันยังจะสามารถถูกทำให้ยั่งยืนต่อไปได้ ก็เพียงแต่ภายในรากฐานต่างๆทางปรัชญาของญานวิทยาตะวันตกเท่านั้นใช่หรือไม่ ? อะไรคือหนทางที่เป็นไปได้ที่จะจินตนาการถึงเกี่ยวกับประชาธิปไตยทุกวันนี้ ในฐานะทฤษฎีและการปฏิบัติที่ใช้ได้ ทั้งกับผู้ปกครองทั้งหลายและบรรดาผู้ถูกปกครอง, ชาติและประชาชน อะไรทำนองนี้
การสร้างประชาธิปไตย โครงการหนึ่งซึ่งยังไม่บรรลุผลในเชิงรากฐาน, หรือจะนำเสนอหนทางใหม่ในฐานะที่เป็นผลงานชิ้นหนึ่งในความก้าวหน้า เหล่านี้คือหัวข้อที่เราให้ความสำคัญ
แม้ว่า "ประชาธิปไตย" จะเป็นคำหลักที่สำคัญสำหรับความแตกต่างของการปกครองด้วยการมีส่วนร่วม และเป็นระบบการเมืองทั้งหลายส่วนใหญ่ของครึ่งหลังศตวรรษที่ผ่านมา แต่ในระดับใหญ่ มันยังคงเป็นโครงการอันหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้สิ่งใหม่มาอย่างต่อเนื่อง. ความคิดดังกล่าวที่ยังไม่บรรลุผล ซึ่งพาดพิงถึงนี้ในชื่อของโครงการ มันเป็นหนทางหนึ่งในการตีความ การดัดแปลงแก้ไขต่างๆ ที่หลักจริยธรรมของประชาธิปไตยและรูปแบบต่างๆในเชิงสถาบันของมัน ต่างก็ประสบและทนทุกข์อยู่อย่างต่อเนื่องในทุกวันนี้
ดังตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งพวกเราอาจยังจำกันได้ถึงการโค่นล้มเกี่ยวกับตรรกะทางด้านประชาธิปไตย โดยบรรดาพวกขวาสุดขั้ว, พรรคชาตินิยมต่างๆ, และพวกที่เกลียดกลัวชาวต่างชาติ(xenophobes) ที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในยุโรปทุกวันนี้ หรือเงื่อนไขต่างๆเกี่ยวกับประชาธิปไตยภายใต้รัฐบาลที่มีการปกครองด้วยอำนาจเผด็จการต่างๆ ในประเทศคอมมิวนิสต์ทั้งหลายก่อนหน้านี้ ความเป็นเผด็จการในแอฟริกา, เอเชีย, และลาตินอเมริกา
ในด้านตรงข้ามของความโดดเด่น การกระทำที่เหมาะสมเกี่ยวกับจริยธรรมประชาธิปไตย เมื่อเร็วๆนี้ที่ประกาศใช้โดยขบวนการนักปฏิรูปในประเทศอิหร่าน, เรียกร้องการตรวจสอบกันใหม่เกี่ยวกับแนวคิดรากฐานของประชาธิปไตย ซึ่งโดยสาระแล้ว เป็นความพยายามบากบั่นของวิถีทางแบบฆราวาส
เท่าๆกัน, ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับขบวนการเรียกร้องความเป็นอิสระ และ การปลดปล่อยจากการเป็นอาณานิคม(de-colonization)ในแอฟริกา, เอเชีย, และตะวันออกกลาง ได้พิสูจน์ถึงการเข้ากันได้กับกาลเทศะหรือความสนใจอย่างมาก ซึ่งได้รับการทำให้บรรลุผลโดยความคิดเกี่ยวกับการเมืองประชาธิปไตยต่างๆ อันนี้มิเพียงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในสังคมเหล่านั้น ซึ่งประชาธิปไตย และสถาบันทั้งหลายของมันได้ก่อตัวขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของมรดกตกทอดเกี่ยวกับรัฐอาณานิคมก่อนหน้านั้นเท่านั้น, แต่มันยังเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองในตัวมันเองด้วย
ความสัมพันธ์กันเหล่านี้ได้รับการเสริมเพิ่มพลัง หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในช่วงสิ้นสุดของทศวรรษที่ 1980 และตามมาด้วย การพึ่งพากันโดยธรรมชาติอย่างชัดเจน ระหว่างเสรีประชาธิปไตย กับ ลัทธิทุนนิยมโลก(liberal democracy and global capitalism)
ใน 20 ปีหลังมานี้, โครงสร้างที่แท้จริงเกี่ยวกับวาทกรรมเรื่องอำนาจในเชิงอุดมคติได้ตกผลึกในตะวันตก โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับองค์ประกอบทั้งสองส่วนนี้(เสรีประชาธิปไตย - ทุนนิยมโลก). อันนี้เป็นแบบจำลองอันหนึ่งของประชาธิปไตยที่เน้นถึงสิทธิของปัจเจกชน ซึ่งอยู่เหนือรูปแบบต่างๆทั้งหมดของกระทำของส่วนรวม. ในขณะเดียวกัน ในโลกที่กำลังพัฒนา การแสวงหากระบวนทัศน์ที่เป็นทางเลือกจากระบบนี้ กำลังสร้างวิธีการประเมินที่รอบคอบขึ้นมาใหม่
บรรดานักกิจกรรมทั้งหลาย, นักคิดต่างๆ, ศิลปิน, และผู้ผลิตวัฒนธรรม ทั้งจากบริบทตะวันตกและบริบทที่ไม่ใช่ตะวันตก ได้ค้นหาหนทางเพื่อที่จะต่อต้านและโต้แย้งกับสมมุติฐานต่างๆข้างต้น. ทั้งหมดของรูปแบบที่เป็นไปได้และวิธีการใหม่ๆของการโต้เถียงเกี่ยวกับประชาธิปไตยจะได้รับการพูดออกมาอย่างชัดเจนด้วย, ณ แกนกลางของสิ่งซึ่งวางการสอดแทรกอันหนึ่งลงไปในแนวคิดจารีตตะวันตกแบบยุโรปเกี่ยวกับประชาธิปไตย และความเหมาะสมของวิธีการทางวาทศิลป์ของมันในการรับใช้เกี่ยวกับระเบียบวาระหรือเรื่องราวอื่นๆ
ความคิดเห็น อย่างเช่น "การเป็นตัวแทน", "ความมีอิทธิพล" และ"การมีส่วนร่วมของประชาชน" ได้รับการกลั่นกรองโดยกลุ่มต่างๆในความพยายามที่จะสร้างรูปแบบใหม่ๆขึ้นมาอย่างประณีต เพื่อที่จะทำการต่อต้านกับอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ที่แพร่กระจายไปทั่ว บวกกับลัทธิขวาสุดขั้วที่ทรงพลังอำนาจ เหล่านี้คือคุณสมบัติสำคัญของลัทธิทุนนิยมตอนปลายในตะวันตกที่พวกเรากำลังเผชิญ
เพื่อจะจับประเด็นปัญหาที่มีอยู่มากมายรายรอบข้อถกเถียงเกี่ยวกับประชาธิปไตยภายใต้โครงการนี้ มีเรื่องราวอยู่บางประเด็นที่ต้องพิจารณากันคือ:
1. การสำรวจถึงคำว่า "ยังไม่ถูกทำให้บรรลุผล"(Exploring the Term Unrealized)
แรงกระตุ้นที่เป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับโครงการนี้ที่จะสนทนากันก็คือ เสรีประชาธิปไตยที่ได้รับการนำเสนอขึ้นมาในช่วงสงครามเย็น - ซึ่งไม่เพียงในฐานะของระบบทั้งหมดที่ดีที่สุดเท่านั้น แต่ในฐานะการจะต้องทำให้บรรลุผลบริบูรณ์, โดยสาระแล้ว คือโครงการที่สมบูรณ์จากอันนี้ที่ค่อนข้างจะเป็นชัยชนะ, ในข้อคิดเห็นช่วงสงครามเย็น, ถ้าหากว่า ประชาธิปไตย ดังที่ได้รับการอธิบายในหนทางใดก็ตามในฐานะที่เป็นโครงการที่ยังไม่เสร็จ(unfinished project) มันหมายความว่า ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่พอจะเห็นภาพได้ หรือมีความแปรผันในด้านโครงสร้างที่จำเป็นใดๆปรากฎขึ้นมา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เห็นเป็นเพียงแค่รูปการณ์ที่เป็นรากฐานทั้งหมดของมันเท่านั้น - กล่าวคือ มันเป็นเพียงแค่การปรับปรุงแก้ไขในเชิงเทคนิคเล็กๆน้อยๆบางส่วน และการซ่อมแซมรองๆ อันอาจเป็นที่ต้องการในอนาคต
ตรรกะเกี่ยวกับข้อถกเถียงกันอันนี้ สามารถถูกมองในฐานะที่เป็นการตีความในด้านเทคโนแครทของผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายเกี่ยวกับคำว่า "ยังไม่ถูกทำให้บรรลุผล" ซึ่งได้รับการมองว่าเป็นการปรับอีกเล็กน้อยเพื่อให้บรรลุผลดีที่สุดในวิธีการตามขั้นตอนกระบวนการประชาธิปไตย และขบวนการที่เหมาะสมที่ได้รับการวางไว้แล้วส่วนใหญ่
อันนี้คือหนทางซึ่งประชาธิปไตยตะวันตกหลักๆมองตัวของมันเอง, อย่างดีที่สุด ในฐานะที่เป็น"เครื่องมือต่างๆที่ยังไม่สมบูรณ์"ของความเสมอภาคและความยุติธรรม ซึ่งประชาธิปไตยสมัยใหม่ได้รับการวางรากฐานเอาไว้ ซึ่งยังค่อนข้างมีข้อจำกัดต่างๆ, มีข้อบกพร่อง, ประสบกับทางตัน, และก่อให้เกิดปัญหา ซึ่งได้รับการจารึกลงในหลักการต่างๆของตัวของมันเอง ในการโต้ตอบกับข้อสันนิษฐานนี้ พวกเราเริ่มต้นมาจากไอเดียหรือความคิดที่ว่า "ประชาธิปไตยที่ยังไม่บรรลุผล"(Democracy Unrealized) ซึ่งนี่คือสาระอันหนึ่งของการเผยให้เห็นว่า คำมั่นสัญญาต่างๆของเสรีประชาธิปไตย มันยังล้มเหลวที่จะทำให้เกิดขึ้นมาได้
ดังนั้น การเน้นในเรื่องศักยภาพสำหรับการปรับปรุงแก้ไข, การประเมินคุณค่ากันใหม่, การเปลี่ยนแปลงสภาพที่ขยายออกไปและสร้างสรรค์ สิ่งเหล่านี้ทำเพื่อเก็บรักษาให้มันอยู่ในก้าวย่างเดียวกับกระบวนการต่างๆของโลกกาภิวัตน์ในคริสตศตวรรษที่ 21. ความคิดไอเดียเกี่ยวกับการเปิดตัวไปตลอด, โดยแก่นแท้แล้ว โครงการที่ยังไม่สิ้นสุดนี้ ในหลักการมันยังไม่ก้าวไปถึงอุดมคติต่างๆที่ตั้งใจไว้แต่อย่างใด
2. การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์, ประชาธิปไตยที่ปรากฎตัวขึ้นมา, ประชาธิปไตยที่ยังไม่มั่นคง(The End of History, Emergent Democracies, Unstable Democracies) 2
เทียบกันกับฉากหลังเกี่ยวกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990, ฟรานซิส ฟูกูยามา(Francis Fukuyama) ในงานเขียนของเขาเรื่อง The Last Man and End of History (1989/92) ได้ชี้แจงหรืออธิบายอย่างชัดเจนถึงสิ่งที่เกือบจะกลายเป็นคำสอนในช่วงหลังสงครามเย็นที่ว่า - เสรีประชาธิปไตยได้ถูกผูกมัดกับตลาดการค้า(marketplace)ตามความคิดของเขา การสิ้นสุดลงของลัทธิคอมมิวนิสต์ได้พิสูจน์ว่า ไม่มีระบบอื่นใดที่สามารถจะมาจับคู่เทียบกันได้, หรือเข้ามาแทนที่ หรือปรับปรุงเหนือไปกว่าเสรีประชาธิปไตย. ดังคำกล่าวอ้างของเขาที่ว่า เสรีประชาธิปไตยได้เป็นเครื่องหมายของ"การสิ้นสุดประวัติศาสตร์" - คำว่าการสิ้นสุดประวัติศาสตร์ ในที่นี้ไม่ได้ใช้ในความหมายของเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันและพัฒนาต่างๆได้มาถึงจุดสิ้นสุดหรือการหยุดชะงัก - แต่ถูกใช้ในในความหมายที่ว่า ไม่มีพัฒนาการในเชิงโครงสร้างใดๆอีกต่อไปแล้ว ที่พ้นไปจากโครงร่างของเสรีประชาธิปไตยร่วมสมัยที่เป็นไปได้อันนี้
ไม่มีทางเลือกอื่นใดอีกที่จะงอกงามขึ้นมา ดังที่ปรากฏอยู่บนระนาบร่วมสมัย. เสรีประชาธิปไตย, ผูกโยงกันกับเศรษฐกิจการตลาดโลก มันเป็นตัวแทนกรณีข้อจำกัดอันหนึ่งของพัฒนาการในด้านชีวิตทางการเมือง, ซึ่งเขาเรียกมันว่า"วิวัฒนาการในเชิงอุดมคติของจุดสิ้นสุดของมนุษยชาติ"(the end point of mankind's ideological evolution)
ส่วนหนึ่งของข้อสรุปของฟูกูยามา ไม่ได้ใช้การวิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆในเชิงเหตุผลหรือเศรษฐศาสตร์, แต่ใช้วิธีการอุปมาอุปมัยถึงเรื่อง "นายกับทาส"(master/slave metaphor). ในการวิเคราะห์นี้ เสรีประชาธิปไตยปรากฎและวิวัฒนาการขึ้นมาจากไอเดียของการยอมรับเกี่ยวกับนาย (คนชั้นสูง, ชนชั้นกลาง) ในรูปการณ์อันหนึ่งของการยอมรับที่เป็นสากล. แต่การยอมรับอันนี้ มันใช้การได้กับพลเมืองในระบอบเสรีประชาธิปไตยร่วมสมัยที่พึงพอใจอย่างสมบูรณ์แล้วใช่ไหม? ในอนาคตยาวไกลของเสรีประชาธิปไตย, และทางเลือกต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นมาในวันหนึ่ง, เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด ขึ้นอยู่กับคำตอบต่อคำถามข้างต้นอันนี้ใช่หรือไม่ ?
พวกเราอาจได้มาถึงจุดทางเลือกต่างๆเหล่านั้นกันแล้ว ซึ่งต้องการการตรวจสอบอย่างระมัดระวัง. รูปแบบอันหลากหลายของกระบวนการประชาธิปไตยที่ได้ดูดกลืนประเทศต่างๆที่ปรากฏขึ้นมาของยุโรปตะวันออก, การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อวางแนวทางประชาธิปไตย สวนกันกับการปกครองที่พระเป็นผู้มีอำนาจ(theocratic), อย่างสถาบันต่างๆทางการเมืองแบบเผด็จการในอิหร่านทุกวันนี้, หรือในกรณีของแอฟริกา, ความไร้ประโยชน์อย่างแท้จริงเกี่ยวกับการตั้งคำถามระบอบการปกครองหลังอาณานิคม เพื่อปฏิรูปสถาบันต่างๆของรัฐอาณานิคมก่อนหน้านั้น ที่เป็นเครื่องหมายภววิทยาหรือความเป็นสากลของรูปแบบต่างๆเกี่ยวกับการปกครองประชาธิปไตย ที่ปรองดองกันไม่ได้กับหลักการต่างๆซึ่งเผยแพร่กันอยู่ในตะวันตก
เท่าเทียมกันกับความรีบด่วนในการประเมินคุณค่านี้คือ พลวัตต่างๆของสิ่งที่ปรากฎขึ้นมาในฐานะที่เป็นวิภาษวิธีของลัทธิมูลราก(fundamentalism)และลัทธิเสรีนิยมที่แสดงจนจบในอัลจีเรีย, ตุรกี, และอดีตสหภาพโซเวียต; ความรุนแรงที่แสดงออกในยูโกสลาเวียมาก่อน, นโยบาย"หนึ่งประเทศ สองระบบของจีน". อะไรก็ตาม ใครคนหนึ่งอาจสร้างประชาธิปไตยเหล่านี้ขึ้นมา, ความขัดแย้งที่แท้จริงของมัน เรียกร้องการวิเคราะห์เกี่ยวกับประชาธิปไตย ทั้งจากภายในและภายนอก เพื่อที่จะสร้างภาพที่เชื่อมโยง และสอดคล้องต้องกันของระบบปัจจุบันเกี่ยวกับสภาพการเปลี่ยนผ่านหรือหัวเลี้ยวหัวต่อของโลก
3. ความอดกลั้น(Tolerance)
ด้วยประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความอดกลั้น เราเห็นถึงโครงสร้างและการกีดกันส่วนใหญ่อย่างชัดเจนในความแตกต่างและความเป็นอื่น(difference and otherness), ซึ่งเราเรียกร้องให้มีการปรับตัวเข้าหากันกับบรรดาผู้อพยพทั้งหลายและกับพวกคนนอกต่างๆ อีกทั้งให้รื้อถอนกฎหมายเกี่ยวกับการดำรงชีวิตและความรู้อื่นๆที่ไม่สอดคล้องกับเรื่องข้างต้นนี้ทั้งหมดป็นเครื่องหมายของข้อจำกัดเกี่ยวกับความอดทนอดกลั้นในระบอบเสรีประชาธิปไตย. ความอดกลั้น ในตัวมันเองมีนัยะบ่งถึงการมองออกไปข้างนอกจากเรือนร่างสำเร็จรูปทางด้านคุณค่าไปสู่คุณค่าอื่นๆ ที่ได้รับการคาดหวังว่าจะลงรอยกันได้ มีการปรับตัวเข้าหากัน
การเป็นปรปักษ์กันในการเผชิญหน้าทางจริยธรรม และการต่อสู้กับความแตกต่างเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เราจะต้องแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันหรือทำการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงสภาพ. ทั้งหมดนี้นำมาสู่คำถามที่ว่า อะไรคือความเกี่ยวข้องของการสร้างความอดกลั้นในสังคมโลกปัจจุบันนี้ของพวกเรา ?
ในการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเรื่องจุดบอดทางด้านญานวิทยาและจริยธรรมประชาธิปไตย พวกเราถูกทำให้เผชิญหน้ากับรูปแบบเกี่ยวกับประสบการณ์และความรู้ในการดำรงชีวิต มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ หรือได้มีการตระเตรียมขึ้นมาเพื่อการนี้; อาทิเช่น ข้อจำกัดต่างๆของมัน ดังที่ เสรีประชาธิปไตยตะวันตกได้เผชิญหน้ากับการจำแนกใหม่ๆเกี่ยวกับพลเมืองต่างๆ เช่น ผู้อพยพทางด้านเศรษฐกิจ, ผู้ลี้ภัยทางการเมือง, ผู้แสวงหาการคุ้มครองจากการลี้ภัย, sans papiers, และกลุ่มที่ถูกกีดกันอื่นๆ. ข้อเรียกร้องเร่งด่วนของพวกเขาเหล่านี้คือการยอมรับหรือการให้การรับรอง ในการมีอยู่และการมีส่วนร่วมที่แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวกับความอดกลั้นเพิ่มมากขึ้น, ข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองต่อความเป็นสากลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
จากเก่าก่อน, มันดูเหมือนจำเป็นที่จะต้องผูกมัดกันใหม่ และทำการสำรวจถึงเรื่องเล่าและหลักฐานพยานเกี่ยวกับกลุ่มต่างๆที่ถูกทำให้เป็นชายขอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อสู้ดิ้นรนของพวกเขาที่จะเอาชนะความรู้สึกของพวกเขาเกี่ยวกับการกีดกันที่ประทับตราลงบนประชาธิปไตย เพื่อสำรวจถึงข้อจำกัดต่างๆในด้านญานวิทยาและจริยธรรม, บางครั้งก็บีบคั้นพวกเขาให้ขยายและหลอมรวมพื้นที่ใหม่ๆ และการเปิดช่องให้สำหรับความแตกต่าง
4. จริยธรรมการทำงาน(Work Ethic)
คำอ้างที่ว่า ประชาธิปไตยสามารถจะได้รับการทำให้บรรลุผลและปฏิบัติการได้จริงก็ต่อเมื่อ ต้องมีจริยธรรมการทำงาน อันนี้คือเงื่อนไขที่ต้องมีมาก่อนอื่นใด และจะต้องได้รับการสร้างขึ้นอย่างเข้มแข็ง ซึ่งเป็นข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลที่มีการเสนอขึ้นมาเป็นพื้นฐานของเสรีประชาธิปไตยในตะวันตก และญี่ปุ่นในสหรัฐอเมริกา, มันถูกให้เหตุผลว่าเป็นคุณสมบัติของวัฒนธรรมโปรเตสแตนท์; ข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลทำนองเดียวกันนี้ได้ถูกนำไปใช้ สวนกันกับสถานที่ต่างๆที่ลัทธิอาณานิคมต่อสู้ดิ้นรนเพื่อพัฒนารูปแบบทางเลือกอันหนึ่งเกี่ยวกับการปกครองมาโดยตลอด. ด้วยเหตุนี้ จริยธรรมการทำงานจึงเป็นเครื่องมืออันหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงใช่ไหม? อะไรคือคำอธิบายในทางตรงข้ามที่ตั้งคำถามต่อประชาธิปไตยที่สามารถทำให้ตัวมันเองปลอดภัยได้ เมื่อจริยธรรมการทำงานได้รับการพร่ำสอนและได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นขนบประเพณี ?
การพัฒนาทางจริยธรรม
โลกาภิวัตน์และประชาธิปไตย
(Development Ethics, Globalization and Democracy)
นับตั้งแต่การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2, "การพัฒนา"ได้กลายมาเป็นคำขวัญของการทำให้เป็นสมัยใหม่, มันเป็นก้าวกระโดดอันยิ่งใหญ่ที่โถมตัวไปข้างหน้าสู่ความมั่นคงยั่งยืนและการพึ่งพาตนเอง. เท่าๆกัน มันเป็นคำสอนที่ทรงอำนาจและเป็นทางการจากขบวนแถวอันหนึ่งของสถาบันโลกต่างๆ เกี่ยวกับสังคมที่เป็นประชาธิปไตยในเชิงสร้างสรรค์ ภายในขอบเขตและกรอบของแบบจำลองทุนนิยมตะวันตก
โดยการปลูกถ่ายโครงสร้างทางเศรษฐกิจอันหนึ่ง(ทุนนิยม) ลงบนวาทศิลป์เกี่ยวกับประชาธิปไตย, ปฏิบัติการอันเข้มงวดของสถาบันต่างๆในการพัฒนาเหล่านั้น อย่างเช่น ธนาคารโลก และ IMF (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) ซึ่งในข้อเท็จจริง มันกลับทำให้สังคมต่างๆประสบกับความยุ่งเหยิงในกระบวนการเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่าน
จริยธรรมของโลกาภิวัตน์ได้ถูกนำขึ้นมาถกเถียงอภิปรายกันอย่างขมขื่นจากภายในประเทศต่างๆที่ได้"ถูกพัฒนา", การให้ทางเลือกต่างๆต่อขั้วของขนบประเพณีกับความเป็นสมัยใหม่ และการวมกันเป็นหนึ่งในเวลาเดียวกันของการพัฒนากับความก้าวหน้า
เวทีที่ 2 การทดลองต่างๆเกี่ยวกับความจริง
/ Platform 2 : Experiments with Truth
ภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อของความยุติธรรม และกระบวนการเกี่ยวกับความจริง และ การประนีประนอม
5
นิวเดลฮี, วันที่ 7-21 พฤษภาคม 2001 India Habitat Centre,
New Delhi
สำหรับกิจกรรมของเวทีที่ 2 จะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
ส่วนที่ 1 จะจัดให้มีการประชุมกันในระหว่างวันที่ 8 - 12 พฤษภาคม 2001
ส่วนที่ 2 จะจัดให้มีนิทรรศการเกี่ยวกับภาพยนตร์และวิดีโอ ในระหว่างวันที่ 7 - 21 พฤษภาคม 2001
(โดยการสนับสนุนอย่างเต็มที่ของ Prince Claus Fund) India Habitat Centre
บทนำ (Preface)
ช่วงระหว่างวันที่ 7 - 21 พฤษภาคม 2001, งานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11
และกองทุน Prince Claus Fund เพื่อวัฒนธรรมและการพัฒนา, ในความร่วมมือกันกับ
the Habitat Centre จะเริ่มเปิดตัวอย่างเป็นทางการ การประชุมสัมนาในระดับนานาชาติ
และจะมีการนำเสนอนิทรรศการภาพยนตร์และวิดีโอไปพร้อมกัน: ในหัวข้อ
"การทดลองต่างๆเกี่ยวกับความจริง"( Experiments with Truth): ภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อของความยุติธรรม และกระบวนการต่างๆเกี่ยวกับความจริงและการประนีประนอม ในกรุงนิวเดลฮี
การประชุมสัมนาทางวิชาการครั้งนี้ จัดเป็นเวทีที่ 2 ซึ่งรวมอยู่ในชุดเวทีที่จะจัดให้มีขึ้นทั้งหมด 5 เวทีของการถกเถียงกันอย่างเป็นสาธารณะ, การประชุมสัมนา, การนำเสนอภาพยนตร์, การบรรยาย, และนิทรรศการศิลปะ ที่รวบรวมขึ้นมาภายใต้กรอบหรือโครงงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 ในเมือง Kassel ประเทศเยอรมันนี
โครงสร้างของเวทีต่างๆชุดนี้ ได้ถูกนำไปเกี่ยวโยงอย่างลึกซึ้งกับการสำรวจถึงเงื่อนไขต่างๆเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านของโลก และถูกนำไปเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11. ดังนั้น เวทีเหล่านี้สามารถที่จะได้รับการทำความเข้าใจได้ ในฐานะที่เป็นกลุ่มคนต่างๆซึ่งพร้อมที่จะเปิดรับการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกระบวนการต่างๆของขบวนแถวเกี่ยวกับการผลิตความรู้
เท่าๆกัน เวทีต่างๆข้างต้นกระทำขึ้นในฐานะที่เป็นปฏิบัติการขั้นที่สอง ซึ่งยอมให้งานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 ได้มีโอกาสที่จะดำเนินการในลักษณะที่โปร่งใส ในมิติที่เกี่ยวกับความสนใจและงานวิจัยทางด้านสติปัญญา. เพราะฉะนั้น การปรับแนวคิดทั้งหมดเกี่ยวกับนิทรรศการนี้ จึงเป็นไปในลักษณะสหวิทยาการอย่าง, ซึ่งได้เชื่อมโยงกับบรรดานักวิชาการอย่างกว้างขวาง, ทั้งนักปรัชญา, ศิลปิน, นักสร้างภาพยนตร์, สถาบันต่างๆ, เมือง, และผู้ชมทั้งหลาย
นิทรรศการ Documenta ถือเป็นงานที่จัดขึ้นมาในรอบ 5 ปีต่อครั้ง มันได้รับการวางรากฐานขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ.1955 ในเมือง Kassel ประเทศเยอรมันนี้ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2. นับจากนิทรรศการครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมาเกือบ 50 ปีมาแล้ว งานนิทรรศการ Documenta ได้ทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นแถวหน้าหรือผู้นำสำหรับการพูดคุยสนทนากันอย่างจริงจังและอึกทึกครึกโครมภายในขอบเขตของศิลปกรรมร่วมสมัย
ผลลัพธ์ที่ตามมา มันยังคงเป็นผู้ให้การสนับสนุนที่กระฉับกระเฉงเกี่ยวกับศิลปะที่ยากๆส่วนใหญ่ และแสดงบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งอันหนึ่งในการนำเสนอคำศัพท์ล่าสุดเกี่ยวกับศิลปกรรมร่วมสมัยให้กับปริมณฑลและสถาบันต่างๆทางด้านศิลปะอย่างกว้างขวาง
ในฐานะที่เป็นนิทรรศการ Documenta มันมีพันธกิจโดยจารีตในการนำเสนอขบวนแถวของงานศิลปกรรมใหม่ๆในขอบเขตของจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วิดีโอ และงานศิลปะประเภทติดตั้งต่างๆ(installations). สำหรับงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 พันธกิจเหล่านี้จะขยายออกไปสู่การนำเสนอด้วยหนังสือขนาด 360 หน้า ที่มีรากฐานอยู่บนงานวิจัยของนักผังเมือง, สถาปนิก, นักสังคมวิทยา, และนักมานุษยวิทยาที่ทำการศึกษาเงื่อนไขต่างๆเกี่ยวกับเมืองและขอบเขตจินตนาการของลาตินอเมริกา
การจัดให้มีการประชุมสัมนาจะดำเนินไปในระยะเวลานานเป็นปี ซึ่งเป็นเรื่องของการถกเถียงและอภิปรายกันอย่างเป็นสาธารณะ โดยมีการนำเสนออย่างไม่เป็นทางการใน 6 เมืองหลักๆทั่วโลก แรงกระตุ้นนำของพวกเราและความสนใจที่อยู่ข้างใต้สิ่งเหล่านี้ก็คือ การนำพาขอบเขตศิลปะที่สำคัญของนิทรรศการ Documenta ให้เป็นเรื่องของการสนทนากันกับขอบเขตความรู้อื่นๆ ในเมืองต่างๆ. สำหรับเวทีทั้ง 4 ที่ผนวกเข้ามา (เวทีที่ 5 คือ ตัวนิทรรศการศิลปะ) ที่ได้รับการจัดขึ้น มีแนวเรื่องหลักดังต่อไปนี้:
1. ประชาธิปไตยที่ยังไม่บรรลุผล [Democracy Unrealized] (Vienna, March 15 - April 23, 2001, and Berlin, October 9 - 30, 2001)
2. การทดลองต่างๆเกี่ยวกับความจริง [Experiments with Truth] (New Delhi, May 7 - 21, 2001)
3. การทำให้เป็นคริโอล [Creolite and Creolization] (St. Lucia, November 2001)
4. ภายใต้การโอบล้อม [Under Siege: Four African Cities, Freetown, Johannesburg, Kinshasa, Lagos] (Lagos, March 2002)
ซึ่งแนวเรื่องหลักเหล่านี้จะรวมอยู่ในชุดของการถกเถียงอภิปรายอย่างเป็นสาธารณะในส่วนต่างๆของโลก
ในวันที่ 8 มิถุนายน 2002 ซึ่งถือว่าเป็นเวทีสุดท้ายจริงๆที่จะเปิดตัวในรูปของงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 ในเมือง Kassel การนำเสนอทั้งหมดนี้ จะถึงจุดสุดยอดหรือบทสรุปสุดท้ายในรูปของหนังสือชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นการรวบรวมคำบรรยายต่างๆเอาไว้, นอกจากนี้ยังมีสูจิบัตรงานนิทรรศการ 2 เล่มด้วยกัน, และหนังสือแนะนำสั้นๆเล่มหนึ่ง(ทั้งในภาษาอังกฤษและเยอรมัน) ทั้งหมดที่กล่าวจะได้รับการตีพิมพ์ขึ้นมาในปี 2002 โดย Hatje Cantz Verlag, Stuttgart.
ภูมิหลังเวทีที่
2 (Background)
ในสองทศวรรษหลังมานี้ ชุดของการไต่สวนเกี่ยวกับการศาล เช่นเดียวกับการประเมินในเรื่องการเมืองและสังคม
ได้รับการนำขึ้นมาพิจารณากันทั่วทั้งโลก เกี่ยวกับธรรมชาติของการไม่ต้องถูกลงโทษของรัฐและความรุนแรงอันปราศจากความยุติธรรมของรัฐ
ซึ่งกระทำต่อผู้คนและคนอื่น(other), และบนความขัดแย้งซึ่งเกิดขึ้นมาในกรณีที่รุนแรงเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
และการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก
จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมการเกี่ยวกับการศาล ได้รับหลักฐานอันล้นเหลือเกี่ยวกับความรุนแรงดังกล่าว และการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก ซึ่งมันได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดของการนำเอากรณีต่างๆเหล่านี้เข้ามาสู่บริบททางสังคมของสังคมต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงและผ่านการจัดรูปองค์กรทางการเมืองใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม บาดแผลเกี่ยวกับการสูญเสีย และรูปการณ์ทั้งหลายเกี่ยวกับผลกระทบของมันต่อจิตใจของผู้คน ได้เรียกร้องให้มีกลไกต่างๆเพิ่มขึ้น ที่สามารถสร้างสะพานที่ไว้วางใจได้ขึ้นมาสำหรับการเชื่อมโยงระหว่าง "รูปแบบของการพิจารณาคดีด้วยความยุติธรรมในด้านหนึ่ง" กับ "ความต้องการส่วนตัวของเหยื่อในประวัติศาสตร์" อีกด้านหนึ่ง
คำตอบต่อการแสวงหาสำหรับสะพานเชื่อมที่น่าเชื่อถืออันนี้ เป็นการสถาปนา"พันธกิจเกี่ยวกับความจริง"อันมากมายขึ้นมาทั่วโลก แต่สิ่งที่เกิดขึ้น พันธกิจต่างๆเกี่ยวกับความจริงและการไต่สวนทางการศาล จริงๆแล้ว มันไม่สามารถรักษารอยแผลหรือความแตกร้าวที่บ่อยครั้งมันแบ่งแยกสังคมต่างๆออกจากกันได้. ถ้าเช่นนั้นแล้ว มันถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือหรือนำไปใช้สอยเพื่อการณ์ใด ?
ทุกวันนี้ มีความสนใจกันมากขึ้นในงานที่เกี่ยวกับพันธ์กิจเหล่านี้โดยบรรดานักวิชาการทั้งหลาย, องค์กรต่างๆที่ไม่เกี่ยวกับรัฐ(NGOs, non-governmental organizations), พิพิธภัณฑ์, เช่นเดียวกับการปรากฎตัวขึ้นมาของปริมณฑลอันหนึ่งในด้านมนุษยศาสตร์ ซึ่งได้อุทิศตัวให้กับการศึกษาเกี่ยวกับความทรงจำ
ลักษณะปัญหาที่เป็นแกนอันหนึ่งต่อความสนใจอันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับปรัชญา, ก็คือการแสวงหาคำตอบต่อคำถามที่ว่า "อะไรที่สร้างความจริงขึ้นมา ?" บ่อยครั้งทีเดียว กรณีเกี่ยวกับความจริงในเชิงการศาลหรือการพิจารณาอรรถคดีเป็นความพยายามทางโลกส่วนใหญ่อันหนึ่ง เมื่อเผชิญหน้าในทางตรงข้ามกับมิติทางศาสนาเกี่ยวกับ "ความจริงและการประนีประนอม" ซึ่งอาจสร้างคำตอบต่างๆอันไม่น่าพึงพอใจขึ้นมาสำหรับบรรดาเหยื่อทั้งหลายและครอบครัวของพวกเขา และการต่อต้านโดยปัจเจกและสถาบันต่างๆ ที่ได้รับการส่องสว่างหรือทำให้เห็นเด่นชัดโดยบันทึกของพวกเขาเกี่ยวกับความขุ่นเคืองและความไม่พอใจ
ขณะที่ความสงสัยเกี่ยวกับศาสนาโดยบรรดาเหยื่อ, และการต่อต้านโดยผู้กระทำผิดได้ทักท้วงอยู่อย่างต่อเนื่องถึงประสิทธิภาพของความพยายามที่จะเปลี่ยนผ่านอันนี้ และผลลัพธ์ของการไต่สวนได้กลายมาสู่การโต้เถียงกันเพิ่มมากขึ้น ความเกี่ยวพันกันอย่างกว้างๆเกี่ยวกับผลที่ได้รับจากการดำเนินการโดยคณะกรรมการที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างหลายหลาก เกี่ยวกับการไต่สวน(ในทางการศาลและอื่นๆ)ได้เรียกร้องการประเมินใหม่ๆเกี่ยวกับพันธกิจเหล่านี้ขึ้น
อย่างไรก็ตาม การตัดสินมากมายที่คลอไปกับการค้นหาของพวกเขา ยังคงได้รับการนำมาโต้เถียงกันในโครงสร้างต่างๆของประชาสังคม(civil society) มันเป็นเป้าหมายของการประชุมอันนี้ที่จะวิเคราะห์และผลิตข้อถกเถียงพร้อมทั้งเหตุผลอันหนึ่งขึ้นมารายรอบงานประวัติศาสตร์ ที่ปรากฏขึ้นมาจากการศึกษาเกี่ยวกับพันธกิจต่างๆเหล่านี้ และทางด้านปรัชญา, ทฤษฎีต่างๆทางการเมือง, เช่นเดียวกับการขานรับทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ที่ได้ดำเนินไปด้วยกันกับสิ่งเหล่านี้
เกี่ยวกับความรุนแรง (Concerning
Violence)
ชะตากรรมอันรุนแรงและโหดร้ายของชนชาวยิวทั้งหลายในยุโรป ในช่วงระหว่างปีของพรรคสังคมชาตินิยมในเยอรมันนี
และผลที่ตามมาด้วยภัยพิบัติเกี่ยวกับการล้างผลาญชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นๆภายใต้อาณาจักร์ไรช์ที่สาม
ยังคงประทับตราอยู่กับบรรดานักคิดร่วมสมัยทั้งหลายและนักประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
เหตุการณ์อันนี้มันเป็นภาระอันยากเย็นแสนเข็ญในการที่จะยอมรับกับสิ่งเหล่านั้นได้ ขณะที่การล้างผลาญหรือ Shoah (คำที่ชาวยิวใช้เรียกการฆ่าครั้งใหญ่นี้) ยังคงเป็นตัวแทนรูปการณ์อันหนึ่งของอาชญากรรมของรัฐ(state crime) และความรุนแรงที่มีต่อผู้คนของตนเองและฝ่ายตรงข้าม, ความพิกลอันน่าตะลึงของมันในทุกวันนี้ได้รับการตรวจสอบ โดยความรุนแรงและการกดขี่ของรัฐที่เป็นระบบอื่นๆอีก อย่างเช่น แอฟริกาใต้, อาร์เจนตินา, กัมพูชา, รวันดา, ชิลี, กัวเตมาลา, ชาด, ไนจีเรีย, บอสเนีย,โคโซโว, เบลเยี่ยม, ฝรั่งเศส, ไอร์แลนด์เหนือ, เคอร์ดิสถาน, สหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก
อย่างที่ได้ถูกทำให้ชัดเจนโดยกรณีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ปิโนเช่, มีการอภิปรายไปทั่วรัฐถึงเรื่องการนิรโทษกรรมและความรุนแรง ซึ่งเป็นเรื่องที่โต้เถียงกันอย่างมากเรื่องหนึ่ง. รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการกระทำอันรุนแรงโดยรัฐมีมาในอดีตนับทศวรรษ ทั้งนี้มันได้ถูกทำให้เผชิญหน้าและพัวพันอยู่กับสมมุติฐาน 2 ข้อด้วยกันคือ:
หนึ่ง, มันมีศูนย์กลางอยู่รายรอบประเด็นทางกฎหมายทางโลก, และ
สอง, แกนของเรื่องนี้มันอยู่ภายในจริยธรรมทางศาสนาอันคลุมเครือเกี่ยวกับ"ความจริงและการประนีประนอม"(truth and reconciliation) ขณะเดียวกันนั้น การฝ่าฝืนหรือการละเมิดต่างๆของรัฐและตัวแทนต่างๆของมันได้เปิดเผยออกมา
ขณะที่ความสามารถในการแสดงออกมาได้ของกฎหมาย ส่วนใหญ่แล้วถูกนำไปผูกอยู่กับเรื่องของความถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำของรัฐและการกระทำของปัจเจกภายในรัฐ (แกนกลางข้อสรุปอันหนึ่งเกี่ยวกับการสอบสวนที่ Nuremberg [เมืองที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเยอรมันนี สถานที่ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรทำการสอบสวนพรรคนาซีกรณีการประกอบอาชญากรรม] และการสอบสวนของ Adolf Eichmann ในเยรูซาเร็ม) คือ"พันธกิจต่างๆเกี่ยวกับความจริง"(Truth Commissions)เมื่อเร็วๆนี้ ที่ปรากฎขึ้นมาในพจนานุกรมเกี่ยวกับการค้นหาคำตอบต่างๆในเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการกดขี่ของรัฐ การค้นหาเพื่อเชื่อมกับมิติเกี่ยวกับพื้นที่ว่างทางสังคมและการเมือง, พื้นที่ว่างอันหนึ่งของการเจรจาต่อรองเงื่อนไขภายในประชาสังคม
ดังที่ได้รับการสังเกตเมื่อไม่นานมานี้ วิธีการทางกฎหมายและสิ่งเหล่านั้นเกี่ยวกับ"พันธกิจต่างๆของความจริง"ไม่ได้รับการปรับหรือวางแนวทางในลักษณะสมมาตร แต่ถูกทำในลักษณะที่ตรงกันข้ามแทน. ตัวอย่างของแอฟริกาใต้ ทำให้เห็นกันชัดเจนถึงการไม่ได้มีการปรับตัวอย่างแจ่มแจ้ง
สำหรับเหยื่อจำนวนมาก อำนาจอันไม่อาจอธิบายได้และความรุนแรงของรัฐมันครอบคลุมไปทั่ว ซึ่งความเป็นตัวแทนที่แท้จริงของมันและการบรรยายโวหาร เรียกร้องต้องการหน่วยเล็กๆของสุ้มเสียงของเหยื่อเพื่อเผชิญหน้ากับโครงสร้างอันคับแคบของกฎหมาย และนำพาความชัดเจนเกี่ยวกับความจริงไปสู่จินตภาพของสาธารณชน
การทดลองเกี่ยวกับความจริง
(Experiments with Truth)
ท่านมหาตมะ คานธี
ได้ตั้งชื่อหนังสืออัตชีวประวัติของท่านว่า "ข้าพเจ้าทดลองความจริง"( The Story
of My Experiments with Truth) และในการคิดถึงการแสดงออกอันนี้ - "การทดลองเกี่ยวกับความจริง"
- ท่านได้สัมผัสกับทางที่ตัดกันอย่างสลับซับซ้อนระหว่าง ความจริง(truth), ความยุติธรรม(justice),
และการเป็นตัวแทน(representation) ซึ่งได้นำเสนอตัวของมันเองในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านของยุคหลังอาณานิคมในอินเดียและแอฟริกาใต้
ในอดีต 50 ปีที่ผ่านมา การสืบสวนในเชิงวิพากษ์ของคานธี ในเรื่องความคิดเกี่ยวกับ"ความจริง" ได้งอกงามขึ้นมาอย่างเงียบเชียบมาก ซึ่งมันได้ไปโอบรัดความขัดแย้งอื่นๆด้วย อย่างเช่น ความรุนแรงที่เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อย, ความรุนแรงทางศาสนา และรวมถึงลัทธินิกายต่างๆ
ทุกวันนี้การแสวงหาเกี่ยวกับ"ความจริง"ได้แพร่ขยายเข้าไปสู่ขบวนแถวของทัศนียภาพข้างหน้า. การเมืองในประเทศอินเดียและปากีสถาน, แอฟริกาใต้, อัลจีเรีย, อาร์เจนตินา, ชิลี, ไอร์แลนด์เหนือ, ดินแดนแคว้นบาสค์ของสเปนและฝรั่งเศส; การเรียกร้องเพื่อความยุติธรรมและการยอมรับเกี่ยวกับ Romany (คนเชื้อสายอินโด-ยูโรเปียน หรือพวกยิปซี), และพ้นไปจากการเผยถึงความจริงที่สร้างขึ้นมาอย่างหลากหลาย
ความจริง เป็นทั้งหลักการต่างๆที่มาควบคุมในการแสวงหาความยุติธรรมและการประนีประนอม คือปัญหาที่เกี่ยวพันกับภววิทยา(Ontology - ศึกษาความจริงที่เป็นสากล), จริยธรรม, การพิจารณาคดีทางด้านการศาล, และปัญหาทางปรัชญาเพื่อนำมาวิเคราะห์. จากข้างต้นที่กล่าวมานี้มันก่อให้ความคิดอันหลากหลายขึ้นมา อย่างเช่น ความจริงในด้านการศาล, ความจริงเชิงประสบการณ์, ความจริงเชิงภววิทยา, ความจริงในเชิงปฏิบัติ และอื่นๆ ฯลฯ., ความจริงแต่ละอย่าง ด้วยความกดดันในตัวของพวกมันเอง มันเรียกร้องความเที่ยงตรงแม่นยำ
ในเวลาเดียวกันกับเหตุบังเอิญทางประวัติศาสตร์ที่นำพาให้ความจริงแต่ละอย่างเหล่านี้ ไปสู่จุดบรรจบเดียวกันกับอีกอันหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ก็ส่งผลให้พวกมันไปสู่การต่อสู้กันเองด้วย. ในกรณีที่ตรงข้าม การต่อสู้กันนี้ในเรื่องความจริง ปรากฎว่ามันเป็นการโต้เถียงกันโดยรากฐานและเป็นความรุนแรงทางการเมือง, ส่วนในกรณีอื่นๆ มันเป็นตัวแทนของการประเมินคุณค่ากันใหม่อย่างมีสติเกี่ยวกับโครงสร้างของประชาสังคม
ความคิดเรื่องความจริงสำหรับปรัชญา ในตัวมันเอง เป็นความขัดแย้งภายในที่ไม่อาจแก้ปัญหาได้(aporia)อันหนึ่ง ขณะที่สำหรับความจริงทางด้านกฎหมาย เป็นเพียงผลงานต่างๆที่วางการกระทำผิดสัมพันธ์กับหลักฐาน พยาน ข้อยืนยัน และการพิสูจน์
การประนีประนอม โดยเทอมทั่วๆไปในเชิงทฤษฎีแล้ว มันเป็นกลไกอันหนึ่งที่ส่งให้เรื่องทั้งสองไปด้วยกัน และรากของมันนั้นมิได้มีอยู่ในปรัชญาหรือในหลักนิติศาสตร์แต่อย่างใด, แต่มันถูกวางหรือกำหนดเอาไว้บางแห่งระหว่างตรรกะทางวัฒนธรรมและศาสนา. ในเรื่องนั้น มันเป็นลักษณะประติทรรศน์(ความขัดแย้งกับความรู้สึกของคนทั่วไป)เกี่ยวกับสิ่งที่"ความจริง"จะต้องแสดงออก: ที่สำคัญ มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย หรือ มันเป็นเรื่องของนามธรรมและความไม่แน่นอนซึ่งไม่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ใช่ไหม ?
ความยุติธรรมที่เปลี่ยนไป
(Transitional Justice - หัวเลี้ยวหัวต่อของความยุติธรรม)
ทุกวันนี้ การเผชิญหน้ากับเรื่องความรุนแรงของอาณานิคม, ชนกลุ่มน้อย, เชื้อชาติ,
เพศ, ศาสนา, พลเมือง, และชาตินิยมมากมาย ที่ปรากฎขึ้นมาในการตื่นตัวของสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นรายรอบการปฏิรูปเสรีนิยม
เพื่อผลิตแนวความคิดใหม่ๆเกี่ยวกับความยุติธรรม
ส่วนหนึ่งของการท้าทายร่วมสมัยอันนี้ถูกทำให้สลับซับซ้อนมากขึ้นโดยการสิ้นสุดของสงครามเย็น, การสลายตัวของสหภาพโซเวียต และการโผล่ขึ้นมาของระบอบประชาธิปไตยใหม่ในยุโรปตะวันออก เช่นเดียวกับการรื้อถอนระบบเผด็จการลงในประเทศต่างๆของลาตินอเมริกาจำนวนมาก
เมื่อไรก็ตามที่การเปลี่ยนผ่านเหล่านี้กำลังเกิดขึ้น หลักการทางด้านกฎหมายต่างๆก็จะสร้างทฤษฎีที่จะตรวจสอบธรรมชาติของความยุติธรรมและการรับผิดชอบขึ้นมา. ด้วยเหตุนี้ ปริมณฑลทางนิตินัยเกี่ยวกับความยุติธรรมที่เปลี่ยนไปจึงถูกจัดตั้งขึ้นในหลายๆพื้นที่ เพื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่กระทำผิดภายใต้ระบอบการปกครองและรัฐต่างๆที่หมดอายุไปแล้วในปัจจุบัน
กรณีเมื่อไม่นานเกี่ยวกับเยอรมันนีตะวันออกก่อนหน้านี้ และการเปลี่ยนแปลงในแอฟริกาใต้ ได้นำไปสู่วิกฤตเกี่ยวกับสาระของความจริงและความยุติธรรมที่เปลี่ยนไป. การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการปลดเปลื้องมรดกตกทอดของลัทธิคอมมิวนิสต์ และรัฐที่แบ่งแยกผิว และทำให้เสรีประชาธิปไตยเป็นผลขึ้นมา นำมาซึ่งการเผชิญหน้ากันอันหนึ่งกับประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐ. ดังที่เสรีประชาธิปไตยต่างๆ เรียนรู้ที่จะยอมรับความรุนแรงอันนี้ด้วยความยากลำบาก พวกเขาได้สร้างความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่ระหว่างรัฐและพลเมืองของรัฐ เช่น กรณีของยูโกสลาเวียที่ได้เผยตัวออกมา
แต่การบอกปัดไปเลยและความไม่เชื่อถือเกี่ยวกับระบอบการปกครองที่กดขี่เก่าๆ สอดคล้องอย่างเหมาะสมกับตรรกะและแนวความคิดของความยุติธรรมในกรณีต่างๆเกี่ยวกับการละเมิดที่สุดขั้วนี้แล้วหรือ ? การเปลี่ยนโครงสร้างดังกล่าว ได้กำหนดความท้าทายใหม่ๆขึ้นมาโดยเอาใจใส่ถึงการเป็นตัวแทน ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและวัฒนธรรม และได้ไปบีบคั้นรอยแตกร้าวมากยิ่งขึ้นระหว่างอุดมคติต่างๆของบรรดานักปฏิรูปเสรีนิยมและสถาบันต่างๆ รวมถึงธรรมชาติของความยุติธรรม ซึ่งพวกเขาอ้างว่าได้บริหารจัดการในนามของจริยธรรมโลกที่ใหญ่กว่าอันหนึ่ง
ความทรงจำ,
การเล่าเรื่อง, และการเป็นตัวแทน (Memory, Narration, and Representation)
เราจะสนับสนุน มั่นใจ รับรอง และเป็นพยานการเป็นตัวแทนประชาธิปไตยกันอย่างไร?
เราจะจดจำและเป็นตัวแทนอดีตและประวัติศาสตร์ความจริงของมันอย่างไร ? ดังเช่นประเทศต่างๆมากมายและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ได้ถูกทำให้เผชิญหน้ากับมรดกตกทอดของอดีตและประวัติศาสตร์ของพวกเขา สิ่งเหล่านั้นค่อยๆพัฒนาความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ขึ้นมาเป็นอนุสรณ์ที่อดีตและประวัติศาสตร์โดยรอบอย่างกว้างๆ
ยอมรับแนวทางต่างๆที่ได้ทำให้องค์ระบบการปกครองอันหลายหลากรวมกันเป็นหนึ่งภายในชาติ
ความปรารถนาอันนั้นได้สร้างพื้นที่อีกพื้นที่หนึ่งขึ้นมาในการแสวงหาความจริง. มันเรียกร้องกลไกต่างๆต่อทั้งตัวแทนความจริงและการเล่าเรื่องความจริง. ความต้องการอนุสรณ์ให้กำเนิดอนุสาวรีย์จำนวนมากมายและสิ่งเตือนความทรงจำต่างๆเป็นตัวแทนมรดกของชาติโดยสมมุติ
กรณีของแอฟริกาใต้เป็นเพียงการขยายสัญญานของความตึงเครียดต่างๆขึ้นมา ระหว่างความทรงจำของผู้คนและประวัติศาสตร์ที่เป็นทางการ ซึ่งนั่นเป็นลักษณะตรงข้ามทางวัฒนธรรมของแต่ละฝ่ายในหลายทศวรรษที่ผ่านมา, และเป็นเช่นเดียวกันนี้กับประเทศลาติอเมริกาและยุโรปตอนกลางอย่างน่าสังเกต. สุ้มเสียงปีศาจเกี่ยวกับการถอดถอนสิทธิ์ในการเลือกตั้งในทางการเมือง, การสูญไป, และการทำลายล้าง ดูมันจะเป็นสิ่งที่สอดคล้องกลมกลืนกัน, แม้เพียงแค่ชั่วขณะหนึ่ง
ที่ซึ่งกฎหมายและงานวิชาการได้มารวมกันอยู่รายรอบความขัดแย้งภายใน ที่ไม่อาจแก้ปัญหาได้ของความบอบช้ำและพยานหลักฐาน ผลงานทางด้านศิลปะและวรรณกรรมได้ปรากฏตัวขึ้นมา ซึ่งได้ให้รูปลักษณ์ของส่วนที่เหลือต่างๆของประวัติศาสตร์เหล่านี้
เปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงดังกล่าว แต่ละขอบเขตวัฒนธรรมเหล่านี้ได้ให้ทัศนียภาพอันหนึ่งบนข้อจำกัดต่างๆของการเป็นพยานและข้อจำกัดของการเป็นตัวแทน, การสืบสวนเมื่อไม่นานมานี้ในด้านปรัชญาได้ดึงเอาทัศนียภาพข้างต้นให้ปรากฎตัวออกมา ซึ่งทำให้สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์อย่างขนานใหญ่เกี่ยวกับความจริงที่เป็นสากล
ถ้าเผื่อว่ามนุษยนิยมตะวันตกและเหตุผลนิยม ซึ่งมักจะพึ่งพิงตัวแทนบางอย่างและกันเอาบางอย่างออกไป, อะไรคือข้อจำกัดของความเอาใจใส่ของพวกมันต่ออาชญากรรมร่วมสมัยต่างๆที่สวนกับความเป็นมนุษย์ ?
ณ จุดสำคัญอันนี้ของปรัชญาสมัยใหม่ ได้ไปบรรจบกับการต่อสู้เกี่ยวกับความคิดหลังอาณานิคม ซึ่งคานธีเริ่มต้นเคลื่อนไหว การทดลองความจริงต่างๆ: ความยุติธรรมที่เปลี่ยนไป และกระบวนการเกี่ยวกับความจริงและการประนีประนอม แสวงหาหนทางที่จะกระตุ้นปลุกเร้าวิธีการทางสติปัญญาและการสร้างสรรค์ ที่จะมาช่วยเสริมรากฐานการเผชิญหน้าของสังคม, วัฒนธรรม, การเมือง, กฎหมาย, ศาสนา และปรัชญาให้แข็งแกร่ง พร้อมเผชิญหน้ากับหนึ่งในสิ่งที่ยึดครองมาก่อนอันเป็นแกนกลางของศตวรรษที่ 20
มันเป็นเจตนาหรือความตั้งใจของการประชุมนี้เพื่อที่จะทำการสำรวจตรวจตรา ไม่เพียงการถกเถียงในประเด็นสำคัญที่ได้สร้างแกนกลางเกี่ยวกับวิธีการทางกฎหมายและสังคมเกี่ยวกับ"พันธกิจที่มีต่อความจริง" ดังที่มันไปเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมและความรุนแรงของรัฐเท่านั้น; แต่มันยังจะถกเถียงกันในเชิงเหตุผลเพื่อสะท้อนถ่ายอย่างมีสติ ถึงความขัดแย้งที่สลับซับซ้อนอื่นๆ (ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ชนกลุ่มน้อย, ศาสนา, และนิกาย) ซึ่งถูกมองว่าเป็นเขตแดนที่พิเศษ และเป็นชายขอบของวาทกรรมเกี่ยวกับการค้นหาความจริงและการประนีประนอม
เวทีที่
3 การทำให้เป็นครีโอล(ลูกผสมผิวชาวและผิวดำ) / Platform3 : Creolite and Creolization
เซนต์. ลูเซีย, วันที่ 12 - 16 มกราคม 2002
เวทีที่ 3 ของงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11, ในหัวข้อ Creolite and Creolization หรือ "การทำให้เป็นครีโอล", จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 12 มกราคมใน St.Lucia. เนื่องจากเหตุผลต่างๆเกี่ยวกับการจัดการ เวทีนี้จะมีการใช้รูปแบบของการประชุมปฏิบัติการ(workshop)อย่างใกล้ชิด. ผลลัพธ์ต่างๆของเวทีดังกล่าวจะได้รับการตีพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ในรูปสิ่งพิมพ์อยู่ในชุดสิ่งตีพิมพ์ Documenta ครั้งที่ 11. ส่วนวิดีโอเกี่ยวกับเวทีนี้จะสามารถศึกษาได้บนอินเตอร์เน็ตในช่วงครึ่งหลังของเดือนกุมภาพันธ์
Hyatt Regency St. Lucia,
St. Lucia, West Indies January 12 - 16, 2002
โดยการสนับสนุนอย่างเต็มที่ของ The Rockefeller Foundation
บทนำ (Introduction)
"Le monde entier se creolise." โลกนี้คือกระบวนการของการทำให้เป็นครีโอล [The
world is in the process of creolization]
Edouard Glissant (1990)
โลกกำลังวิวัฒน์ไปสู่รัฐๆหนึ่งของความเป็นครีโอล
("The world is evolving into a state of Creoleness.")
Bernabe, Chamoiseau, Confiant (1989)
ในไม่กี่ปีมานี้ กระบวนการต่างๆได้ถูกเร่งและเพิ่มอัตราความเร็วมากขึ้นเกี่ยวกับการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรม(cultural mixing)ไปทั่วโลก ซึ่งผลของกระบวนการนี้ได้ผลิตโครงร่างใหม่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ขึ้นมา. การไหลเวียนต่างๆของสัญลักษณ์ที่เป็นภาพและวัฒนธรรมเกิดขึ้นโดยข้ามผ่านพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ที่ได้ให้โครงร่างใหม่อีกครั้ง และสิ่งที่แตกต่างตามวิถีทางอันหลากหลายโดยเฉพาะ
อย่างต่อเนื่อง, ความรวดเร็ว และบ่อยครั้งการเผชิญหน้าทางวัฒนธรรมที่รุนแรงได้สร้างบริบทหนึ่งเกี่ยวกับความไม่แน่นอนขึ้นมา และไม่อาจที่จะทำนายได้ ซึ่งดุลยภาพแบบสมมาตรต่างๆคือสิ่งที่ไม่สอดคล้องตรงประเด็น
ความคิดต่างๆเกี่ยวกับความเป็นลูกผสม(hybridity), metissage, ลัทธิสากลนิยม(cosmopolitanism) ได้รับการจัดวางให้เหมาะสมและทำงานขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เพื่อที่จะยึดจับเอาแง่มุมอันหลากหลายที่เป็นแกนกลาง และการดำรงอยู่ร่วมกัน(polycentric and polysemic)เกี่ยวกับโครงร่างใหม่ๆเหล่านี้ไว้. ขณะเดียวกันก็ยังคงสัมพันธ์กัน, ความคิดต่างๆเกี่ยวกับความเป็นลูกผสมและ metissage, ภายใต้ความกดดันจากการต่อต้านของท้องถิ่น, แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ามันจะไม่พอที่จะเป็นเส้นที่บอกระยะทางหรือทิศทางที่จะทำความเข้าใจและเปล่งเสียงออกมาชัดเจนในประเด็นปัญหาวิกฤตของความแตกต่าง และดุลยภาพแบบอสมมาตรเกี่ยวกับวัฒนธรรมร่วมสมัยในทุกวันนี้
ในคาริบเบียนฝรั่งเศส, แนวความคิดใหม่อันหนึ่งได้ปรากฎตัวขึ้นมา: นั่นคือ Creolite, Creoleness. (หมายเหตุ Creole คำนี้หมายถึง คนที่มีเชื้อสายฝรั่งเศส(หรือยุโรป)ผสมกับคนผิวดำและมีภาษาของตนเอง). ปฏิบัติการจากขนบจารีตอันหนึ่งที่ได้ค้นหาตัวเองมาเป็นเวลายาวนานที่จะวิเคราะห์"ความสับสนอลหม่าน"(chaos) ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดยประวัติศาสตร์ในอ่าวคาริบเบียน, ปัญญาชนเชื้อสาย martinican(เชื้อสายกำเนิด หรืออยู่อาศัยใน Martinique เกาะหนึ่งของฝรั่งเศสในหมู่เกาะ West Indies), Jean Bernabe, Patrick Chamoiseau และ Raphael Confiant, ได้พิมพ์ตำราเกี่ยวกับ Creoleness: Eloge de la Creolite ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1989 (ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 1990 ในชื่อ In Praise of Creoleness - ในการยกย่องเกี่ยวกับความเป็นคริโอล). โดยการดึงมาจากผลงานต่างๆของ Aime Cesaire และ Edouard Glissant, Bernabe, Chamoiseau และ Confiant แสวงหาหนทางที่บรรยายถึงจริยธรรมต่างๆเกี่ยวกับการเฝ้าระวังอันตราย(vigilance), สิ่งห่อหุ้มใจอันหนึ่งในใจกลางซึ่งโลกของเราจะได้รับการสร้างขึ้นมาในความสำนึกอย่างเต็มที่เกี่ยวกับโลกภายนอก (a "sort of mental envelope in the middle of which our world will be built in full consciousness of the outer world")
Cesaire และ Glissant ทั้งคู่ไม่ได้สร้างเงื่อนไขอย่างเต็มที่สำหรับการแสดงออกถึงความจริงเกี่ยวกับคาริบเบียน มันเป็นเสมือนโมเซอิคที่เปิดกว้าง. Cesaire's Negritude เป็น "baptism (ศีลจุ่มคริสเตียน), การกระทำที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับความมีเกียรติอันสูงส่งที่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่" และความเป็นคาริบเบียน "มันเป็นสาระเกี่ยวกับภาพมากกว่าสาระทางแนวคิด"
ความคิดเกี่ยวกับ"ความเป็นครีโอล"แสดงออกถึงผลรวมในลักษณะ"กล้องคาไลโดสโคป"(กล้องที่ทำด้วยกระจกเงานำมาประกบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ภายในบรรจุกระดาษสีชิ้นเล็กๆจำนวนหนึ่งเข้าไป เวลาจะดูให้เขย่ากล้องดังกล่าวแล้วส่องดู จะปรากฎเป็นภาพที่ก่อนตัวขึ้นมาอย่างสวยงาม), "ความสำนึกของความหลากหลายที่ถูกรักษาเอาไว้ ไม่ใช่เผด็จการแบบหนึ่งเดียว". อากัปกริยาและการแสดงออกที่สำคัญเกี่ยวกับความหลากหลายอันนี้ ณ กึ่งกลางหัวใจของวาทกรรมระดับรากของความเป็นคริโอล, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดังที่มันผูกอยู่กับคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่มันหมายถึงในการดำรงอยู่และการทำงานจากลัทธิศูนย์กลางที่หลากหลาย(polycentrism)ของคาริบเบียน
จากข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นนี้ ซึ่งได้รับการกระตุ้นโดยการแบ่งแยกสถานการณ์ทางวัฒนธรรมของพื้นที่ ดูเหมือนว่ามันเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกวันนี้ที่จะทำการอ่านกันใหม่เกี่ยวกับความเป็นครีโอล. แนวความคิดดังกล่าว สามารถถูกนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการอธิบายถึงแต่ละกระบวนการของการผสมผสาน หรือว่ามันเป็นเรื่องราวเฉพาะเพียงแค่คาริบเบียนฝรั่งเศสเท่านั้นหรือ ?
แท้จริงแล้ว มันได้สร้างทางเลือกอันหนึ่งซึ่งนำไปสู่กระบวนทัศน์ที่ตั้งมั่น ซึ่งมีอิทธิพลหรือครอบงำการศึกษาอัตลักษณ์ต่างๆเกี่ยวกับหลังอาณานิคมและหลังจักรวรรดิ์ใช่ไหม ? อะไรคือความแตกต่างระหว่างการทำให้เป็นคริโอลและความเป็นคริโอล ? ความเป็นคริโอลเป็นความคิดที่มีประโยชน์สำหรับการอ่านวาทกรรมทางวัฒนธรรมใช่ไหม ? อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นคริโอลกับความเป็นลูกผสม, ความเป็นคริโอลกับการผสมพันธุ์ต่างเชื้อชาติ, ความเป็นคริโอลกับลัทธิสากลนิยม ? "จริยธรรมของการเฝ้าระวังอันตราย", ซึ่งปรากฎขึ้นมานอกเหนือจากความเป็นคริโอล สามารถถูกเปลี่ยนรูปไปสู่ปรัชญาการเมืองเกี่ยวกับคนอื่น(the other)ได้ไหม ?
พวกเราปรารถนาที่จะสำรวจถึงคำถามและข้อสงสัยต่างๆเหล่านี้ระหว่างที่มีการประชุมใน St. Lucia, เดือนมกราคม 2002, ซึ่งจะประสานเอาผู้เชี่ยวชาญหลายภาษา, บรรดานักทฤษฎีทางวรรณคดีและวัฒนธรรม, นักปรัชญาทั้งหลาย, นักเขียน และบรรดาศิลปิน ซึ่งสำหรับบุคคลเหล่านี้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นคริโอลคือเรื่องที่ท้าทายอันหนึ่ง
เนื่องจากแถลงการณ์ของ Bernabe, Confiant และ Chamoiseau พวกเราเชื่อว่าเกาะ St. Lucia จะเป็นองค์ประกอบหรือจุดที่ตั้งที่สมบูรณ์จุดหนึ่งสำหรับการประชุม. เกาะๆนี้เป็นบ่อเกิดซึ่งงานเขียนเกี่ยวกับคุณค่าต่างๆและให้การสนับสนุนความเป็นคริโอลที่ได้ปรากฎตัวขึ้นมาทางประวัติศาสตร์. มันเป็นภูมิประเทศที่มีการต่อสู้ดิ้นรน ซึ่งประเด็นปัญหาทางภาษา, อัตลักษณ์, ศาสนา, และวัฒนธรรม ได้ถูกนำมาถกเถียงกันท่ามกลาง"ภาวะอันยุ่งเหยิงไร้ระเบียบของเครื่องหมายต่างๆ". เราจะนำเสนอแนวเรื่องหลัก 3 เรื่องคือ, "การทำให้เป็นคริโอล(Creolite and Creolization); ความเป็นสมัยใหม่", "วัฒนธรรมเมือง" และ"ความเป็นคริโอล; ภาษาและความเป็นคริโอล"
การทำให้เป็นคริโอล (Creolite
and Creolization)
สำหรับบรรดานักวิจารณ์ทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับหมู่เกาะ West Indies ฝรั่งเศส หรือที่เรียกว่า
French Antilles, คำว่า Creoleness and Creolization ("ความเป็นคริโอล"และ"การทำให้เป็นคริโอล")เป็นความคิดที่แตกต่างกันสองแนว.
ในส่วนของ Glissant ชอบคำว่า "ความเป็นคริโอล"(creolization)มากกว่าคำว่า "ความเป็นคริโอล"(creoleness)เพราะ,
เขาให้เหตุผลว่า, การทำให้เป็นคริโอล อ้างถึงกระบวนการอันหนึ่งที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
ความเป็นคริโอล (Creoleness) Glissant กล่าว, มักจะนำไปสู่ผลที่ตามมาที่ไม่รู้ได้ต่างๆ. พวกมันเป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถจะรู้ล่วงหน้าได้. มันคือประสบการณ์ที่เป็นผลผลิตอันหนึ่งของสิ่งที่ไม่รู้, ซึ่งพวกเราจะต้องไม่กลัว. การพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์อันนี้, Glissant ได้หวนกลับไปก่อนใคร สู่การบ่มเพาะเมล็ดดังกล่าว, a "gouffre-matrice," หนึ่งในสถานที่ที่เป็น"มดลูกหรือแหล่งกำเนิดของโลก"(wombs of the world)
โลกในทุกวันนี้กำลังประสบกับความสับสนอลหม่านอีกครั้งเกี่ยวกับการบ่มเพาะ. Glissant ได้สร้างทฤษฎีหนึ่งขึ้นมาอย่างประณีตเกี่ยวกับความไร้ระเบียบในเชิงสร้างสรรค์(creative disorder) ที่ล่วงล้ำก้ำเกินแนวปะทะของศูนย์กลางและชายขอบ, เหนือและใต้, การพึ่งพาและการเป็นอิสระ
เขาได้ประเมินคำศัพท์เก่าๆใหม่อีกครั้ง อย่างเช่น Baroque, opacite และ nomadisme เพื่อที่จะอธิบายถึงความหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและการแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ที่รัฐซึ่งแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันของโลกสร้างขึ้น. ด้วยเหตุนี้ ความสับสนอลหม่านจึงเป็นรัฐที่มีการสั่งสมประโยชน์ ซึ่งได้จากโอกาสการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์
ส่วน Bernabe, Chamoiseau, และ Confiant, กระบวนการเกี่ยวกับการทำให้เป็นคริโอล(Creolization) อ้างอิงถึงปฏิกริยาที่โหดเหี้ยมไร้เหตุผลของประชากรทั้งหลายที่แตกต่างกันในด้านวัฒนธรรม และพวกเขาถือกำเนิดขึ้นมาในส่วนที่แตกต่างกันของโลก, ซึ่งในระบบของการบ่มเพาะได้สร้างสังคมนี้ขึ้นมา
ในอีกด้านหนึ่ง, ความเป็นคริโอล(Creloeness), คือ"ข้อเท็จจริงของความสัมพันธ์กับเอกลักษณ์ดั้งเดิมของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นมาจากกระบวนการเหล่านี้ในห้วงเวลาที่เหมาะสม". กล่าวอีกนัยหนึ่ง, นักเขียน Martinican มองว่า ความเป็นคริโอลเป็นกระบวนการอันหนึ่ง, จริยธรรมอย่างหนึ่งซึ่งไปพ้นกระบวนการของการทำให้เป็นคริโอล, ที่ปรากฎตัวขึ้นมาจากการทำให้เป็นคริโอล
Glissant ดูเหมือนจะยืนยันในยุทธศาสตร์เกี่ยวกับ opacite/alterite ในความสัมพันธ์ต่างๆของมนุษย์, อย่างไรก็ตาม Bernabe, Chamoiseau และ Confiant ปรารถนาที่จะโฟกัสลงไปบนภาวะเกี่ยวกับความเป็นอยู่. ในทั้งสองกรณี, ความบริสุทธิ์, การใช้ภาษาเดียว(monolinguism), ความเป็นสากลที่ผิดพลาดได้ถูกโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์, ส่วนการติดต่อ, การเชื่อมโยง, และความหลากหลายกลับได้รับการยกย่อง
กระนั้นก็ตาม ปรากฏว่า ยุทธศาสตร์ต่างๆที่สร้างขึ้นมาอย่างประณีตเพื่อโจมตีและวิพากษ์ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับความมีเอกลักษณ์หนึ่งเดียว(mono-identification)มันต่างออกไป. Glissant ชื่นชอบความคิดเกี่ยวกับ errance, metissage, และ rhizome; Bernabe, Chamoiseau, และ Confiant, ชอบความคิดต่างๆเกี่ยวกับความต้องการและการแลกเปลี่ยน
ดูเหมือนว่าจะเป็นประโยชน์ต่อไปในการทำความเข้าใจกระบวนการเกี่ยวกับ"ความคริโอล"และ"การทำให้เป็นคริโอล" ในขอบเขตของเรื่องราวทางด้านภาษาศาสตร์, วรรณคดี, และปฏิบัติการทางสังคมและศาสนา. บรรดานักวิชาการทั้งหลายจะได้รับการเชื้อเชิญให้มานำเสนอผลงานริเริ่มในกระบวนการต่างๆเหล่านี้. การวิจารณ์ของนักสตรีนิยม(feminist)เกี่ยวกับ"ความเป็นคริโอล" จะได้รับการนำเข้ามารวมในสิ่งพิมพ์ต่างๆเหล่านี้ด้วย
ความเป็นสมัยใหม่,
วัฒนธรรมเมือง, ความเป็นคริโอล, และการทำให้เป็นคริโอล
(Modernity, Urban Culture, Creoleness, and Creolization)5
อย่างไรและที่ไหน ซึ่งหนังสือตำรับตำราต่างๆเกี่ยวกับความเป็นคริโอลได้รับการเขียนและเผยแพร่ออกมาในทุกวันนี้
? หนึ่งในปัจจัยหลักทั้งหลาย เกี่ยวกับความเป็นคริโอลก็คือตรรกะในลักษณะตรงกันข้ามของมัน
นั่นคือความสามารถของมันที่จะพลิกกลับและเปลี่ยนแปลงตรรกะของโลกที่ครอบงำ ไปสู่เมืองหลวงเชิงสัญลักษณ์ของความแตกต่างทางวัฒนธรรม.
การทำงานในช่องว่าง ที่ซึ่งความคิดอันเก่าแก่ล้าสมัยและพ้นยุคเกี่ยวกับ ศูนย์กลาง/ชายขอบ(center/periphery),
ความเป็นของจริง/ความเป็นอื่น(authenticity/otherness) ดูมันจะไม่ทำงานอีกต่อไปแล้ว.
ในฐานะที่เป็นพลังที่มั่นคงในขอบเขตวัฒนธรรม, พวกเราต้องการที่จะสำรวจสถานที่ในเมืองของ"ความเป็นคริโอล"และ"การทำให้เป็นคริโอล"
มากยิ่งไปกว่าการโฟกัสลงไปที่การบ่มเพาะ, ชนบท, ท้องถิ่น พวกเราต้องการเชื่อมต่อกับผลซึ่งจะตามมาต่างๆเกี่ยวกับการปรากฎตัวขึ้นมาของความเป็นคริโอลในเมืองสมัยใหม่. การทำให้เป็นเมืองที่เพิ่มขึ้นและแพร่ขยายออกไปในดินแดนต่างๆ จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งได้ถูกครอบงำโดยสังคมท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งมันได้ก่อให้เกิดคำถามหลายหลากใหม่ๆขึ้นมา. เมืองต่างๆในแอฟริกา, เอเชีย, หมู่เกาะคาริบเบียน, มหาสมุทรอินเดีย, ได้ประกอบกันขึ้นเป็นโมเซอิคของชิ้นส่วนพื้นที่ ที่ได้เปล่งเสียงในลักษณะที่แตกต่างออกมาอย่างชัดเจนในฐานะผลลัพธ์อันหนึ่งเกี่ยวกับพลังอำนาจเกี่ยวกับชาติ, ภูมิภาค, และโลก
ตัวพิมพ์ใหม่ๆได้ปรากฎตัวขึ้นมา เมืองต่างๆคือที่ทางต่างๆของการทำให้เป็นคริโอลของทุกวันนี้. การก่อตัวกันขึ้นมาของการกระจายตัวของประชากร ได้สร้างโครงร่างพื้นที่เมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง. ตลาดต่างๆ, ห้องเต้นรำ, บาร์, และภัตตาคาร ได้ประกอบกันขึ้นเป็นพื้นที่ต่างๆ ซึ่งยุทธวิธีทั้งหลายเกี่ยวกับการทำให้เป็นคริโอลได้รับการแสดงบทบาท, พัฒนาขึ้น, และกระทำใหม่อีกครั้ง. เมืองหลังสมัยใหม่ทุกแห่งคือสถานที่เกี่ยวกับการทำให้เป็นคริโอลใช่ไหม ?
ภาษาและความเป็นคริโอล
(Language and Creoleness)
5
จนกระทั่งปัจจุบัน, มันยังไม่มีรายชื่อครอบคลุมเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมคริโอลแต่อย่างใด.
อะไรคือหลักเกณฑ์หรือบรรทัดฐานของมัน ? พวกมันจะได้รับการรวบรวมขึ้นมาได้อย่างไร
? โดยภูมิภาคต่างๆ หรือโดยแนวเรื่องเนื้อหา หรือโดยยุคสมัย ? ตัวหนังสือใหม่ที่จารึกลงในภาษาเป็นอย่างไร
? กระบวนการเกี่ยวกับความเป็นคริโอลและการทำให้เป็นคริโอลที่แสดงออกในงานวรรณกรรมและปฏิบัติการทางภาษาอื่นๆเป็นอย่างไร
?
ถ้าหากว่าความเป็นคริโอลและการทำให้เป็นคริโอลแสวงหาการแสดงออกในความหลากหลาย, ความเป็นศูนย์กลางอันหลากหลาย, และความหลายหลากของการเผชิญหน้าทางวัฒนธรรมที่ไม่เคยถูกกำหนดแน่นอนลงไป แต่ทำงานขึ้นมาใหม่และสร้างโครงร่างขึ้นมาอีกครั้งอยู่อย่างสม่ำเสมอ, บรรดานักเขียนและนักภาษาศาสตร์จะพบกับความท้าทายอย่างไร ? ความเป็นคริโอลและการทำให้เป็นคริโอลแปลไปสู่การสร้างวัฒนธรรมอย่างไร ? อะไรที่มาประกอบกันขึ้นเป็นการแปลสิ่งที่ถูกทำให้เป็นคริโอ ?
ปฏิบัติการต่างๆที่ข้ามผ่านความเป็นชาติ, ความเป็นเมือง, การแพร่กระจาย, และข้ามผ่านวัฒนธรรม มันกำลังแปรเปลี่ยนหนทางต่างๆอย่างลึกซึ้งที่พวกเราทั้งหลายเข้าใจโลก. ความคิดต่างๆเกี่ยวกับความเป็นคริโอลและการทำให้เป็นคริโอลได้ให้ยุทธศาสตร์หนึ่งเกี่ยวกับการอ่านเค้าโครงหรือองค์ประกอบต่างๆที่กำลังปรากฎตัวขึ้นมาทุกวันนี้
การประชุมเกี่ยวกับหัวข้อนี้จะสนับสนุนต่อการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆซึ่งปรากฎตัวขึ้นมา และต่อไปถึงการถกเถียงถึงเรื่องราวรายรอบความคิดเกี่ยวกับความเป็นคริโอลและการทำให้เป็นคริโอล. จะมีการนำเอาบรรดานักวิชาการ, นักเขียน, ศิลปิน, มาร่วมพูดคุยกัน. จะมีการปฏิบัติการอันหนึ่งในความเป็นคริโอลและการทำให้เป็นคริโอล โดยผ่านประสบการณ์เกี่ยวกับความหลากหลายทางภาษา, ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการเชื่อมโยง
เวทีที่
4 ภายใต้การโอบล้อม : เมืองแอฟริกันสี่เมือง
Platform4 : (Under Siege: Four African Cities, Freetown, Johannesburg, Kinshasa,
Lagos)
Lagos,
วันที่ 15-21 มีนาคม 2002
งานนิทรรศการ Documenta
ครั้งที่ 11 เป็นการรวมตัวกันของ 5 เวทีกิจกรรม. สำหรับรายการต่างๆใน 4 เวทีแรกจะเป็นการพูดถึงประเด็นปัญหาเฉพาะ
ณ สถานที่ที่แตกต่างกัน โดยมีเนื้อหาดังที่กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้. สำหรับเวทีที่
5 เป็นนิทรรศการศิลปะซึ่งจัดขึ้นที่เมือง Kassel. ทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาของเวทีเหล่านี้
จะได้รับการทำขึ้นมาเป็นเอกสารในการตีพิมพ์ที่กำลังจะทำขึ้นในปี 2002 โดย Hatje
Cantz Publishers, Stuttgart.
Goethe-Institute Inter Nationes Lagos วันที่ 15-21 มีนาคม 2002
ในส่วนของเวทีที่ 4 ได้รับการจัดขึ้นโดยความร่วมมือกับสถาบันเกอเธ่ หรือ the Goethe-Institute Inter Nationes, Lagos และ Munich, CODESRIA (Council for the Development of Social Science Research in Africa - คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาเกี่ยวกับการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ในแอฟริกา), Dakar, Senegal, และด้วยการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากมูลนิธิฟอร์ด, นิวยอร์ค (the Ford Foundation, New York)
บทนำ
(Introduction)
มากกว่าการสนทนาทั่วไปและการแพร่ไปยังเมืองต่างๆทั่วโลกแล้ว การประชุมนี้ยังจะโฟกัสลงไปบนตัวอย่างเฉพาะบางตัวอย่างเกี่ยวกับเมืองแอฟริกาทั้งสี่
ได้แก่ Freetown, Johannesburg, Kinshasa, และ Lagos. เป้าหมายของการประชุมก็คือสำรวจถึงสถานที่ที่สำคัญของเมืองเหล่านี้ในทางการเมือง
สังคม เศรษฐกิจวัฒนธรรมของภูมิภาค และได้โฟกัสลงไปที่ธรรมชาติของความไม่มั่นคงหรือมีเสถียรภาพทางสังคมของเมืองเหล่านี้
ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุของสงคราม, อาชญากรรม, ความฟอนเฟะของสังคม, ปัญหาเกี่ยวกับเอดส์,
และการกระจายของประชากร
แต่มากไปกว่าการเป็นคัมภีร์สำหรับการถอนรากถอนโคน การประชุมครั้งนี้จะเอาใจใส่ในการวิเคราะห์ต่างๆเกี่ยวกับว่า จะสร้างหรือเปลี่ยนแปลงจินตนาการต่างๆเกี่ยวกับเมืองเหล่านี้ให้เป็นสถานที่ที่ยังคงมีศักยภาพอย่างเต็มที่สำหรับพลังชีวิตมนุษย์, พลังสร้างสรรค์, และพลังความคิดริเริ่มได้อย่างไร ?
การแสวงหาของเราจะได้รับการทำให้เข้มแข็งไปทั่วๆ หรือรายรอบความคิดเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของชนกลุ่มน้อย ที่ได้วางคุณค่าอันยิ่งใหญ่ลงบนความต้องการที่จะรวมอยู่ในภูมิภาคของโลก พื้นที่ต่างๆเหล่านี้เป็นที่ซึ่งถูกทอดทิ้งและไม่ได้รับความเอาใจใส่
แรงกระตุ้นหลักๆเกี่ยวกับการประชุมของเวทีนี้ ต้องการสร้างพื้นที่ปฏิบัติการทางวาทกรรมผ่านสิ่งซึ่งพูดถึงประเด็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อความรับรู้ของเราเกี่ยวกับเมืองต่างๆในคริสตศตวรรษที่ 21, โดยใช้เมืองต่างๆในแอฟริกา 4 เมืองที่พูดถึงข้างต้น ในฐานะที่เป็นสถานที่เพื่อพูดจากันดังกล่าว. การประชุมจะทำในลักษณะสหวิทยาการ และจะดึงมาจากขบวนแถวของนักผังเมือง, สถาปนิก, นักสังคมวิทยา, นักรัฐศาสตร์, นักเศรษฐศาสตร์, ศิลปิน, นักพัฒนาเอกชน, นักอาชญวิทยา, นักเขียน, และปัญญาชน ทั้งที่มีรากฐานอยู่ในแอฟริกาและต่างประเทศ สำหรับการพบปะและแลกเปลี่ยนกันอย่างกระฉับกระเฉงเกี่ยวกับงานทางด้านทฤษฎี วิธีการต่างๆ และข้อเสนออันหลากหลาย
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
ภายใต้การโอบล้อม : เมืองต่างๆในแอฟริกา 4 เมือง, Freetown, Johannesburg, Kinshasa,
Lagos เป็นการประชุมอันหนึ่งในชุดของการพูดคุยกันอย่างเป็นสาธารณะใน 6 เมืองในยุโรป,
หมู่เกาะคาริบเบียน, เอเซีย, และแอฟริกา, ได้รับการวางแผนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของแกนหลักของงาน
Documenta ครั้งที่ 11, ซึ่งจะเปิดการแสดงขึ้นใน Kassel ประเทศเยอรมันนี ในวันที่
8 มิถุนายน 2002.
การประชุมดังกล่าวเป็นเวทีที่ 4 ภายใต้กิจกรรมทั้งหมดซึ่งจะจัดให้มีขึ้น 5 เวทีที่มีเนื้อหาแตกต่างกัน, อันเป็นแนวงานของนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 ซึ่งเสนอขึ้นมาเพื่อประสานกันในรูปของการสนทนา และเพื่อสำรวจถึงกระบวนการต่างๆทางด้านสติปัญญาและประวัติศาสตร์ที่ได้ถูกนำมาเกี่ยวข้องกันในยุทธวิธีที่แตกต่างของการสร้างทางวัฒนธรรม
โดยการเปิดฉากกระบวนการนี้อย่างเป็นทางการด้วยการแลกเปลี่ยนกันระหว่างนิทรรศการที่มีฐานอยู่ที่ Kassel และสถานที่อื่นๆภายนอกยุโรป, มันเป็นเจตนาของพวกเราและพันธกิจที่จะเริ่มกำหนดตำแหน่งใหม่ในลักษณะขยายกว้างออกไปในการอภิปรายถึงเรื่องราวเกี่ยวกับโลก และวัฒนธรรม สู่การมีลักษณะเฉพาะของที่ตั้งต่างๆ ที่ซึ่งคำถามทั้งหลายและประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจงได้รับการจารึก
โดยปฏิบัติการแรกๆจะจัดให้มีขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ (Vienna, Berlin, New Delhi, St. Lucia, and Lagos) และโดยการยินยอมให้การพูดจากันอย่างเป็นสาธารณะเหล่านี้และการแลกเปลี่ยนข้อวิจารณ์ต่างๆ ซึ่งจะกระทำล่วงหน้ามาก่อนงานนิทรรศการศิลปะมากกว่า 1 ปี ก่อนที่จะเปิดผ้าคลุมอย่างเป็นทางการงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 ในเมือง Kassel, ความหวังของเราต้องการที่จะสร้างความน่าตื่นเต้นเร้าใจ และแสดงถึงระดับการพึ่งพากันและกันโดยตรงอันหนึ่งเกี่ยวกับกระบวนทัศน์โลก, โดยการเผยให้เห็นว่า ลักษณะเฉพาะตัวได้สร้างสรรค์การปรับตัวหรือทิศทางใหม่ๆในวาทกรรมเกี่ยวกับโลกอย่างไร
เพิ่มเติมขึ้นไปอีก, ข้อเสนอของ Documenta ครั้งที่ 11 ต้องการกระจายความคิดของทั้งสองส่วนที่เชื่อมระหว่างปฏิบัติการทางศิลปะ, แบบจำลองนิทรรศการขนาดใหญ่, และศิลปกรรมร่วมสมัยในฐานะที่เป็นพาหะหรือเครื่องมือวาทกรรมโลก ที่ต้องการตัวแทนการตีความใหม่ๆ. ด้วยเหตุนี้, การประชุมกันดังกล่าว จึงเป็นตัวแทนในพลวัตที่สลับซับซ้อนของการปรับตัวของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
ความหวังของเราคือ นำพาศิลปะและศิลปินทั้งหลายเข้าไปสู่ความสัมพันธ์อันเป็นประโยชน์ระหว่าง ความเป็นอัตวิสัยและการเป็นตัวแทน, ระหว่างปฏิบัติการทางศิลปะและการอภิปรายทางสติปัญญา, และระหว่างสถาบันต่างๆและพื้นที่ทางสังคม, ทั้งหมดนี้ได้ถูกเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับหนทางที่เราก่อขึ้นเกี่ยวกับความคิดต่างๆ อย่างเช่น ประชาสังคม และความเป็นพลเมือง
การเมืองขนาดเล็กของเมืองต่างๆ
ในฐานะที่เป็นสถานที่ตั้งต่างๆของความเป็นพลโลก
The Micro-Politics of Cities as Locations of Global Citizenship
อะไรที่มาประกอบขึ้นเป็นประชาสังคม ? และอะไรคือความเป็นพลเมือง ? อะไรที่มาผูกโยงผลผลิตเกี่ยวกับหน่วยต่างๆที่ไม่ได้มาตราฐานหรือสัดส่วนเอามากๆเหล่านี้
กับ การแลกเปลี่ยนความคิดกันในเชิงสร้างสรรค์ของปฏิบัติการทางวัฒนธรรมและศิลปะ
?
เราใคร่ที่จะเชื่อว่า ขณะที่ความคิดเกี่ยวกับรัฐชาติต่างๆยังคงเป็นแกนหลักทางความคิดรายรอบ ซึ่งคำถามต่างๆเหล่านั้นเกิดขึ้นเป็นวัฏจักร มันจำเป็นที่จะต้องแยกการค่อยเป็นค่อยไปของมันโดยผ่านการศึกษาเกี่ยวกับการเมืองขนาดเล็กทั้งหลาย ในฐานะที่เป็นสถานที่ที่พวกมันได้ถูกหลอมละลาย. คำถามเกี่ยวกับเมือง ได้ถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นหนึ่งในแนวทางพื้นฐานสำหรับทิวแถวของประสบการณ์ต่างๆ ที่เราให้เหตุผลถึงชีวิตสมัยใหม่
ผลที่ตามมาเกี่ยวกับอันนี้หมายความว่า สำหรับบางครั้งการรวมกันของผู้คน, ประวัติศาสตร์, ภาษา, อัตลักษณ์, ศาสนา, ชุมชน, วัฒนธรรม ฯลฯ ในเมืองต่างๆ ได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดเพิ่มขึ้น และเรียกร้องการบริหารจัดการที่ดีกว่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเกี่ยวกับพลวัตของพื้นที่ของเมืองทั้งหลายของพวกเรา
จากสิ่งเหล่านี้ นั่นเป็นชุดหนึ่งของการริเริ่ม (บางอย่างวางพื้นฐานอยู่บนความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน, ส่วนบางอย่างก็ให้การเชื่อฟังต่อการเรียกร้อง ที่เป็นเรื่องของปฏิบัติการทางเศรษฐกิจของลัทธิทุนนิยมโลก), การไต่สวนในเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับวิถีชีวิตในเมือง และการขยายตัวของเมืองที่เกิดขึ้นมา
ทฤษฎีใหม่ๆเกี่ยวกับอันนี้เกิดขึ้นในวิถีชีวิตแบบเมือง และความกดดันของประชากรที่แผ่ขยายออกไป พวกเราต่างก็เป็นพยานผู้รู้เห็นในช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่แล้ว ซึ่งได้รับทราบถึงเมืองต่างๆมากมายที่มันได้ถูกเปลี่ยนรูปไป โครงสร้างทางสังคมของพวกมันถูกตัดเพื่อให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้พื้นที่เมืองเป็นพลวัต และเปลี่ยนแปลงได้ง่ายในเวลาเดียวกัน. ความตึงเครียดอันนี้จะยังคงดำเนินต่อไป ในฐานะที่เป็นหนึ่งในลักษณะภูมิประเทศที่ท้าทายของชีวิตมหานครในอนาคตที่มองเห็นล่วงหน้าได้
วิถีชีวิตเมืองของโลก
และเศรษฐกิจเมืองของโลกที่สาม
Global Urbanism and the Urban Economies of the "Third World"
ไม่มีที่ใดที่การเปลี่ยนแปลงในลักษณะพลวัต และมีลักษณะขึ้นลงรวดเร็วได้ชัดเจนมากเกินไปกว่าเมืองต่างๆของประเทศโลกที่สาม.
กระบวนการต่างๆเกี่ยวกับการทำให้เป็นอุตสาหกรรม และการทำให้เป็นเมืองอย่างรวดเร็วในเศรษฐกิจเหล่านี้
ได้สนับสนุนต่อการแปรเปลี่ยนที่สำคัญ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ไม่เพียงผ่านการเสื่อมสลายของพื้นที่ในชนบทต่างๆเท่านั้น
แต่มันยังถูกนำไปเชื่อมโยงอย่างชัดเจนและรุนแรงหนักขึ้น ผ่านแบบแผนต่างๆของการอพยพ
และการตั้งรกรากใหม่ของเมืองต่างๆ ในระดับต่อไป การยกระดับทางสังคมและการเมืองได้ผลิตต้นร่างงานเขียนอีกประเภทหนึ่ง
ซึ่งภายในนั้นมันได้เล่าถึงพลเมือง, ระบบ, และการทำให้การไร้เสถียรภาพของสถาบัน
ซึ่งได้ถูกเขียนขึ้น. การอพยพ, การตั้งรกราก, การย้ายถิ่น, การเคลื่อนที่, การไร้เสถียรภาพ
กลายเป็นรูปโฉมหลักที่สำคัญต่างๆของเมือง
ลำดับต่อมา พวกเขาได้สร้างทฤษฎีใหม่ๆและการเขียนแผนภาพเกี่ยวกับพื้นที่, รูปทรงต่างๆ, และภาพแสดงของความเป็นอยู่และการพำนักอาศัย ยุทธวิธีเกี่ยวกับการอยู่รอด แนวความคิดต่างๆเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง ศาสตร์เกี่ยวกับตัวอักษรของความแตกต่าง การศึกษาเรื่องประชากรใหม่เกี่ยวกับเรื่องเอกลักษณ์และความเป็นชุมชน และสุนทรียภาพเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง ซึ่งทอดเข้าไปสู่การเคลื่อนย้ายที่เบาบางลงในการจัดความสัมพันธ์เชิงระบบเกี่ยวกับเรื่องเล่าและภาพแสดงของเมืองต่างๆ
ไม่ว่าจะในเอเชียหรือแอฟริกา การเคลื่อนตัวไปสู่การตีกลับ แนวโน้มต่างๆที่ปัจจุบันได้คุกคามรากฐานของประชาสังคมในดินแดนเหล่านี้ ได้กระตุ้นและเร่งเร้าข้อพิจารณาต่างๆ สำหรับกระบวนการเกี่ยวกับจินตนาการใหม่ๆซึ่งอาจถูกนำมาใช้แทรกแซงในพื้นที่ซึ่งขาดความมั่นคงหรือไร้เสถียรภาพของเมืองต่างๆของพวกเขา
ความหนาแน่นของเมือง
และการกระจายตัวของประชากร
Urban Density and Population Explosion
โดยการชักนำจากความต้องการ และความขาดแคลนทางเศรษฐกิจ, การเมือง, วัฒนธรรม หรือศาสนา,
เมืองต่างๆในประเทศ"โลกที่สาม"ได้กระจายตัวออกไป. อะไรก็ตามที่อาจเป็นสาเหตุของกรณีดังกล่าว,
สิ่งที่เกิดขึ้นมากมายเกี่ยวกับภาวะที่น่าตกใจนี้ได้รับการขับเคลื่อนโดย การขยายตัวของเมืองออกไปอย่างท่วมท้น
ซึ่งมันไม่ได้มีการวางแผนอย่างเหมาะสมเพียงพอ, ไม่ได้มีการคาดการณ์ล่วงหน้า หรือได้รับการจัดการอย่างดีเท่าที่ควร
ในช่วงต้นทศวรรศที่ 1950s จำนวนผู้คนใกล้ๆ 300 ล้านคน หรือประมาณ 16 เปอร์เซนต์ของประชากรในประเทศโลกที่สาม อาศัยอยู่ในเมืองต่างๆ; 10 ปี ต่อมา จำนวนประชากรเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้นถึง 1.5 พันล้านคน หรือราว 30 เปอร์เซนต์ของจำนวนประชากรที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมือง. และทุกวันนี้ มากกว่าหนึ่งในสามของผู้อาศัยอยู่ในเขตเมือง ดำรงชีวิตอยู่ในเขตเมืองมากกว่า 300 เมือง และแต่ละเมืองมีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน
ภายใต้ภาพเหล่านี้, บางคนยืนยันว่า แอฟริกากำลังเป็นทวีปที่มีความเป็นเมือง(urban continent)เพิ่มมากขึ้นทวีปหนึ่ง. แต่การกล่าวเช่นนั้น การทำให้เป็นเมืองกำลังอุบัติขึ้นด้วยความเร็วในอัตราเร่งในแอฟริกา ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ดูจะน้อยเกินไป
ช่วงระหว่างปี 1950 และ 1985 หรือประมาณ 35 ปี, จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า และในบางกรณีตัวอย่าง เพิ่มขึ้นถึงสี่เท่าตัวทีเดียว. ทุกวันนี้ ในหลายต่อหลายเมืองของแอฟริกา อย่างเช่น Lagos, Nairobi, Dar es Salaam, Lusaka หรือ Kinshasa, ประชากรเพิ่มขึ้นถึงเจ็ดเท่าตัว. ปัจจุบัน ผู้คน 40 เปอร์เซนต์ของประชากรแอฟริกันอาศัยอยู่ในเมืองต่างๆ นับเป็นการขยายตัวอันหนึ่งที่กำลังมาถึงจุดวิกฤตที่อันตรายและใกล้ๆกลียุค
จำนวนมากของเมืองต่างๆเหล่านี้เป็นจุดปะทะกันโครมครามระหว่างขนบประเพณีและความเป็นสมัยใหม่, ระหว่างการพัฒนาแอฟริกันและความกดดันจากภายนอก; สถานที่ใหม่เพื่อการวางกฎเกณฑ์ใหม่อีกครั้งของอิทธิพลเก่ากับใหม่, และเป็นโอกาสสำหรับการสร้างสัญลักษณ์เกี่ยวกับอัตลักษณ์ต่างๆของหลังอาณานิคม(post-colonial identities). มันเป็นการสะท้อนถึงการไหลมาบรรจบกันที่ไร้เสถียรภาพของเส้นทางที่หลากหลายและระเบียบวาระที่แตกต่าง (ทั้งการเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ, วัฒนธรรม, สถาบัน, และโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ)
ผลที่ตามมาเกี่ยวกับมรดกอาณานิคมของมัน, เมืองต่างๆของแอฟริกันเป็นจำนวนมากยังคงไว้ซึ่งระบบต่างๆในการบริหารจัดการ แม้ว่ามันจะแยกหรือขาดความเชื่อโยงกับพลวัตต่างๆของเมืองก็ตาม. อันที่จริง ลัทธิอาณานิคมคือบาดแผลที่เปลี่ยนไปอันหนึ่ง มันเป็นการตราถึงช่วงขณะหนึ่งของความไม่ต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์อันลึกซึ้งและความแตกร้าว
ในหลายๆกรณี ความสัมพันธ์ของเมืองต่างๆเหล่านี้ในปัจจุบัน ไม่ได้ถูกนิยามโดยไวยากรณ์"สมัยใหม่"ที่ได้รับการสืบทอดมาจากลัทธิอาณานิคม และมิได้ถูกนิยามโดยสมมุติฐานเกี่ยวกับความเชื่อมโยงในเชิงองค์ประกอบหรือเนื้อเยื่อระหว่างความทรงจำของปัจเจกและความทรงจำของส่วนรวม ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับพยานหลักฐานและความเชื่อต่างๆ
เมืองทั้งหลายเหล่านี้ ทุกสิ่งทุกอย่างได้รับการตีความและวางกรอบโดยความสับสนอลหม่านที่เด่นชัดของชีวิตประจำวัน ที่ซึ่งรูปแบบทั้งหลายเกี่ยวกับแนวทางขั้นตอนการจัดตั้งองค์กรของตัวเอง, เศรษฐกิจแบบขนานและไม่เป็นทางการ, การคืนกลับสู่สภาพเดิม และการคิดค้นของผู้พำนักอาศัยอยู่ในเขตเมือง ได้รักษาเมืองต่างๆจำนวนมากเอาไว้อย่างไม่ปรานีให้ยังคงสามารถปฏิบัติการได้
ฉากที่มีรอยด่างดำ :
ภาพเมืองของแอฟริกา 5
The Mottled Screen: Africa's Urban Vision
เนื่องจากฉากทางการเมืองของแอฟริกา
ได้รับการสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมาเกือบจะมีลักษณะเฉพาะตัวโดยสงครามกลางเมือง, การรัฐประหาร,
และความสับสนไร้ระเบียบของสื่อทุกๆชนิด พวกเราจึงล้มเหลวที่จะเห็นถึงความสลับซับซ้อนของสถานการณ์อันหนึ่ง
ซึ่งต้องการวางหลักเกณฑ์ใหม่มากกว่าการทำในสิ่งที่ชั่วร้าย
ดังนั้น ความไร้เสถียรภาพที่ได้สร้างแง่มุมจำนวนมากเกี่ยวกับการบิดเบือนของสื่อจึงถูกนำมาเชื่อมโยง, ส่งเสริม, และเพิ่มพลังด้วยภาพต่างๆของความทุกข์ยากที่ฝังแน่น, ภาวะข้าวยากหมากแพง, และการขาดความมั่นคงหรือเสถียรภาพในรายงานหรือคำอธิบายที่เลือกแล้วของตะวันตก. แต่ประเด็นปัญหาไม่ต้องการที่จะตั้งคำถามเรื่องที่ง่ายๆเหล่านี้ที่มีหรือไม่มีพื้นฐานความจริงของมันแต่อย่างใด
แน่นอน, เมืองแอฟริกันและโครงสร้างทางสังคมอยู่ภายใต้ความตึงเครียดที่รุนแรง และการไหลเลื่อนของมนุษย์อย่างต่อเนื่องจากชนบทไปสู่เมือง ซึ่งจริงๆแล้วได้เปลี่ยนความยากจนและความเสื่อมทรุดของสิ่งแวดล้อมไปเป็นพื้นที่ต่างๆของเมือง. นักวิเคราะห์บางคนชี้ถึงการผันแปรอันนี้ ในฐานะที่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการทำให้เป็นเมืองมากยิ่งขึ้นและเต็มไปด้วยความยากจน
พวกเขายังให้เหตุผลด้วยว่า การตกงานมากขึ้น, การขาดแคลนที่อยู่อาศัย, สุขอนามัยที่ไม่เพียงพอ, การขาดเสียซึ่งการวางแผนและการลงทุนในบริการทางสังคม คือบางส่วนของผลลัพธ์เกี่ยวกับมาตรการ"การปรับตัวเชิงโครงสร้าง" ซึ่งได้รับการกำหนดหรือยัดเยียดโดยธนาคารโลกในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1980s ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการชำระหนี้
เช่นเดียวกับพื้นที่เมืองอื่นๆทุกแห่งทั่วโลก เมืองต่างๆของแอฟริกัน แน่นอน คือศูนย์กลางสำหรับการอพยพและลี้ภัยของประชากรที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก. ในเวลาเดียวกัน พวกมันเป็นสถานที่พบปะกันด้วย และเป็นพื้นที่ของการสงครามสำหรับโลกที่ขัดแย้งกันสองฝ่ายระหว่าง อำนาจและการไร้อำนาจ, ความรวยและความจน, ความชั่วร้ายและความหวัง, ศูนย์กลางและชายขอบ
แต่ประเด็นปัญหาที่พวกเราต้องการจะเน้นก็คือ เมืองต่างๆของแอฟริกัน ไม่เพียงได้รับการวางกรอบโดยสองง่ามของปัญหา. นอกจากนี้ พวกเราไม่ได้ปรารถนาเพียงที่จะสร้างภาพของเมืองต่างๆขึ้นมาใหม่ ซึ่งร่อนด้วยอาชญากรรม, บดมันด้วยความยากจน, เขตชานเมืองที่แออัดยัดเยียด, และเมืองที่เต็มไปด้วยกระท่อมหรือเพิงพัก, พื้นที่อาศัยที่คับคั่งมากซึ่งปกติแล้วขาดแคลนการบริการหลักๆ และกำลังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค, ความรุนแรงของชนกลุ่มน้อย, อัตราการตายสูงมาก, หรือดำรงความเสื่อมอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมต่างๆ
แน่นอน สิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นปัญหาสำคัญซึ่งต้องการพูดออกมา. กระนั้นก็ตาม, ความสนใจของเราได้รับการเรียกร้องอย่างสม่ำเสมอให้เพ่งความเอาใจใส่ลงบนเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับจริยธรรมอันเป็นพลวัตของเมืองต่างๆ ในฐานะเจ้าภาพของศักยภาพอันยิ่งใหญ่ซึ่งท้าทายความสิ้นหวังอยู่บ่อยๆ มันเป็นภาพของวันโลกาวินาศหรือวาะสุดท้ายที่ได้รับการแต่งแต้มโดยสื่อต่างๆ
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความสลับซับซ้อนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาเหล่านี้ ที่แสดงบทบาทอยู่ในเงื่อนไขต่างๆของความเป็นเมืองเหล่านี้ มันอาจเป็นความต้องการอันหนึ่งที่จะเน้นความจริงดังกล่าวเกี่ยวกับเมืองเหล่านี้ขึ้นมา ในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีความสั่นสะเทือน ซึ่งให้การสนับสนุน "ชุดของการปฏิบัติการต่างๆในสิ่งซึ่งผู้คนได้ถักทอความเป็นอยู่ของพวกเขาขึ้นมาในลักษณะที่ไม่สัมพันธ์กัน, มีความไม่แน่นอน, การไร้เสถียรภาพ และการขาดความต่อเนื่อง", มันเป็นการยึดฉวยความเป็นไปได้สำหรับการสร้างตัวเองขึ้นมา
การสำรวจรอยร้าว / ความเปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์เมืองของแอฟริกัน
Exploring the Rift / Shift in the African Urban Paradigm
มากไปกว่าเรื่องราวหรือคำอธิบายสองสามเรื่องที่กล่าวว่า
เมืองแอฟริกันคือสถานที่สำหรับการท้าทายเรื่องทางการเมือง และในเวลาเดียวกันมันก็เป็นสถานที่ตั้งสำหรับการเจรจาต่อรองและตกลงกันต่างๆ
ที่ซึ่งองค์กรใหม่ต่างๆและการบริการ, พื้นที่อิสรภาพและปกครองตนเองกำลังปรากฎตัวขึ้นมาและพัฒนาไป.
การปรากฎตัวขึ้นมานี้และการพัฒนาได้เสนอการปรับปรุงแก้ไขวัฒนธรรมที่ทำให้เป็นสมัยใหม่อันหนึ่งไปพร้อมกัน
และการบริหารจัดการใหม่เกี่ยวกับปัจจัยที่สำคัญมากมายของการสร้างเอกลักษณ์และอำนาจหน้าที่ที่คุ้นเคย
นอกไปจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จำนวนมากเป็นเรื่องที่เป็นไปเองโดยไม่ได้มีการตระเตรียมเอาไว้ล่วงหน้า, แบบฉบับใหม่ๆของความสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนต่างๆ, พัฒนาการและการดำรงชีพ, รูปแบบต่างๆเกี่ยวกับความสามัคคีและการต่อต้านที่ถูกสร้างขึ้นมา
ในระดับที่ต่างออกไป มันได้สะท้อนถึงการขยายตัวของสิ่งที่เรียกว่าเศรษฐกิจอย่างไม่เป็นทางการ, ด้วยการค้าขายเล็กๆน้อยๆของมัน, ตลาดมืด, ตลาดขายของเก่า, และรูปแบบทั้งหมดที่มีอยู่อย่างมากมายเกี่ยวกับการอยู่รอดในเมือง ซึ่งได้ปรากฎตัวขึ้นมาในฐานะที่เป็นโครงสร้างที่สร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้งอย่างถึงราก ของรูปแบบต่างๆเกี่ยวกับองค์กรกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ด้วยการไม่มีงานทำ ไม่มีการจ้างงาน หรือการจ้างงานที่จ่ายค่าแรงต่ำกว่าค่าครองชีพ อัตรา 70 เปอร์เซนต์ของมาตรฐานสำหรับเมืองต่างๆของแอฟริกันส่วนใหญ่, หนทางต่างๆซึ่งรายได้จะได้รับการสร้างขึ้นมา มันต้องการเงื่อนไขเฉพาะที่มั่นคงและวิธีการใหม่ๆ. และมันอยู่ในเงื่อนไขของการเกิดขึ้นมาในรูปแบบที่แตกต่างและตรรกะที่อลหม่านอย่างเด่นชัดเกี่ยวกับเมืองหลังอาณานิคม ซึ่งพวกเราทั้งหลายอาจค้นพบเครื่องหมายและหลักเกณฑ์ใหม่ๆของการแสดงออกเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของเมืองใหม่ในการก่อตัวขึ้น
ขณะที่ไม่มีคำถามว่า เมืองต่างๆของแอฟริกันล้วนมีความแตกต่างกันไปอย่างน่าสังเกต ทั้งข่ายใยประวัติศาสตร์ สไตล์ การผลิตทางวัฒนธรรม ศัพท์ต่างๆทางสุนทรีย์ และเอกลักษณ์นานาที่แตกต่างในแต่ละศูนย์ของเมือง อย่างชัดเจน มันกำลังได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระโดยรูปแบบที่ปรากฎตัวขึ้นบนถนนวัฒนธรรมในเมือง ซึ่งโยกย้ายสับเปลี่ยนและแปรผันข่ายใยเหล่านั้นจากเมืองสู่เมือง
ในเมืองเหล่านี้เป็นจำนวนมาก การแพร่ขยายของสมาคมทางศาสนาเป็นสิ่งที่มีนัยสำคัญ; นักวิเคราะห์บางคนพิจารณาการแสดงออกทางศาสนาและองค์กรพวกนี้ในฐานะที่เป็นการริเริ่มที่โดดเด่นของท้องถิ่นในวิถีชีวิตแบบเมืองของแอฟริกา. บางเมือง ภายใต้ความไม่เป็นเนื้อเดียวกันและบริบทชนกลุ่มน้อยอันหลากหลาย เอกลักษณ์ของชนกลุ่มน้อยและกลุ่มต่างๆคล้ายคลึงกับของเหลวในการเลื่อนไหล และทางเลือกที่ยักย้ายเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ. กระนั้นก็ตาม ในเมืองอื่นๆ, สถาบันเก่าๆและสมาคมท้องถิ่นได้ถูกทำให้คล้ายจะเข้ากันได้หรือเหมาะกับความต้องการต่างๆของย่านข้างเคียงหรือเมืองที่อยู่ติดๆกัน
สรุป (Conclusion)
5
สิ่งที่สามารถรวบรวมได้จากก่อนหน้านี้คือว่า ไม่มีประวัตศาสตร์ที่เกลี้ยงเกลาเป็นระเบียบใดๆเกี่ยวกับการอยู่อาศัยในเมืองในแอฟริกา,
และไม่มีภูมิภาคอื่นใดในโลกที่จะเป็นเช่นนั้น. เมืองต่างๆในบริบทที่เป็นอยู่ของพวกมันเป็นการประดิษฐ์คิดค้นสมัยใหม่,
และเป็นวิถีทางอิเล็กทรอนิกใหม่ที่การไหลเวียนของโลกและภาพของการปรับตัวทั้งหลายเกี่ยวกับเมืองสมัยใหม่ตัดสลับกันไปมา
มันยังสร้างความปรารถนาอันหนึ่งขึ้นมาสำหรับการท่องเที่ยว ที่เติมเชื้อเพลิงให้กับการติดต่อกันในลักษณะใหม่ๆและความเคลื่อนไหวภายในวงจรการท่องเที่ยวโลกที่เหนียวแน่น มันเป็นการปลดปล่อยแนวโน้มต่างๆความเป็นเจ้าโลกหรือผู้นำที่แท้จริง ซึ่งมักจะทำให้ยากที่จะอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับความแตกต่างของพื้นที่. เพื่อนำไปสู่จุดหมายอันนี้, Freetown, Johannesburg, Kinshasa, และ Lagos ต่างเป็นตัวอย่างที่ดีของการปลดเปลื้อง, การสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นมาใหม่ และนวัตกรรมล่าสุด
ภายใต้การโอบล้อม: เมืองแอฟริกัน 4 เมือง, Freetown, Johannesburg, Kinshasa, Lagos เสนอตัวที่จะสำรวจถึงรากเหง้าต่างๆเกี่ยวกับการปลดปล่อยเหล่านี้ และการปลดเปลื้องทางสังคมของเมืองทั้ง 4. เท่าๆกัน มันจะพุ่งเป้าที่จะฉายฉานแสงที่สว่างอันเจิดจ้าลงบนวิธีการที่เมืองทั้ง 4 ข้างต้น โดยได้เปิดกว้างสำหรับหนทางใหม่ๆเกี่ยวกับการเป็นตัวแทน, การจัดการทรัพยากรในหนทางใหม่ๆอย่างเหมาะสม และเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งการมีอัตลักษณ์ใหม่ที่มันได้สร้างขึ้นมา
พวกเราต้องใช้มาตรการใหม่เพื่อจะพูดออกมาอย่างชัดถ้อยชัดคำถึงการลดทอนเกี่ยวกับ afro-pessimism (การมองโลกในแง่ร้ายแบบแอฟโร), ซึ่งบ่อยครั้ง เข้าใจชุดของการปฏิบัติการใหม่ต่างๆเหล่านี้ ในฐานะการฟุ้งกระจายหรือปฏิกริยาต่อตะวันตกเป็นอย่างแรก. เราจะต้องถามตัวของเราเองหรือไม่ว่า มันคือความเป็นสมัยใหม่ต่างๆที่อยู่ภายนอก"ทางเลือกต่างๆ"ในเชิงปฏิกริยาต่อตะวันตก; ความเป็นสมัยใหม่ ที่ปรากฎตัวขึ้นมานอกเหนือประวัติศาสตร์หลังอาณานิคม และปรากฎการณ์ของโลก. แต่สิ่งที่ผูกมัดความเข้าใจที่แตกต่างเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์, ความเป็นอัตวิสัย, และปริมณฑลทางสังคม บ่อยครั้งได้รับการทึกทักเอาเอง เมื่อเข้าไปใกล้ความเป็นสมัยใหม่และการทำให้เป็นโลกาภิวัตน์
เวทีที่
5 นิทรรศการศิลปะ Documenta ครั้งที่ 11 / Platform5 : (Exhibition)
Kassel วันที่ 8 มิถุนายน - 15 กันยายน 2002 0
นับจากวันที่ 8 มิถุนายน - 15 กันยายน 2002 งานนิทรรศการศิลปะ Documenta ครั้งที่
11 จะเกิดขึ้นในพื้นที่หลายแห่งใน Kassel เยอรมันนี. โครงการต่างๆและผลงานศิลปะของศิลปินนานาชาติกว่า
100 คน ซึ่งมีกันทุกรุ่นจะได้รับการนำเสนอ. งานนิทรรศการครั้งนี้รวมเอาชิ้นงานศิลปะมาจากทุกๆสื่อ:
เช่น จิตรกรรม, ประติมากรรม, วาดเส้น, ภาพถ่าย, สถาปัตยกรรม, ภาพยนตร์, วิดีโอ,
เสียง, งานศิลปะบนอินเตอร์เน็ต, การแสดง และคอนเสิร์ต
หนังสือ Documenta11_Book
สิ่งพิมพ์ทั้งหมดของงานนิทรรศการศิลปะ
Documenta ครั้งที่ 11 ได้รับการตีพิมพ์โดย Hatje Cantz Publishers, และได้รับการเรียบเรียงโดย
Okwui Enwezor ร่วมกับ Carlos Basualdo, Ute Meta Bauer, Suzanne Ghez, Sarat
Maharaj, Mark Nash, และ Octavio Zaya.
สิ่งพิมพ์ต่างๆนี้ประกอบด้วยหนังสือ 4 เล่ม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการรวมรวมคำบรรยายในเวทีทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วข้างต้น, การศึกษาตามพันธกิจที่มอบหมายเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆของเมืองในลาตินอเมริกา (เรียบเรียงโดย Armando Silva), สูจิบัตรงานนิทรรศการ, เอกสารเชิงภาพเกี่ยวกับนิทรรศการ, และข้อมูลแนะนำสั้นๆเกี่ยวกับนิทรรศการศิลปะ Documenta ครั้งนี้
สำหรับผู้สนใจประวัติส่วนตัวผู้อำนวยการศิลปะ
Documenta ครั้งที่ 11 (ภาษาอังกฤษ)
Okwui Enwezor
Biography Curator, critic, poet
1963 Born in Kalaba, Nigeria, a small city on the border to Cameroon. Raised in Enugu, in eastern Nigeria.
1983 Moved to New York. Began studying political science at Jersey City State College
Currently (2001) lives in New York, Chicago, London and Kassel.
Projects / Curatorial Activities (selection)
1998 - 2002 Artistic Director of Documenta 11, which takes place in Kassel, Germany, from June 8 - September 15, 2002
- Adjunct Curator of Contemporary Art at the Art Institute of Chicago
2000 David Goldblatt, South African Photographer, Equitable Gallery, New York. Curator
1999 Mirror's Edge, BildMuseet in Umee, Sweden, November 21, 1999 - February 20, 2000. Also in Vancouver, Turin, Glasgow, Kopenhagen. Curator
1999 Global Conceptualism: Points of Origin, 1950s-1980s, Queens Museum of Art, New York, April 28 - August 29, 1999. Walker Art Center, December 19, 1999 - March 5, 2000. Co-Curator for Africa.
1998 Cinco Continentes y una Ciudad (Five Continents and a City), international painting-exhibition in Mexico-City, November 26, 1998 - February 28, 1999. Curator of the African selection.
1997 2nd Johannesburg Biennale , South Africa, October 12, 1997 - January 18, 1998. Artistic Director. (See the Interview with Universes in Universe)
1996 In/sight: African Photographers, 1940 - Present, Guggenheim Museum, New York, May - September 1996. Co-Curator and Editor of the publication.
Further exhibitions:
- Modern Life, Aljira Centre for Contemporary Art in conjunction with the Newark Museum.
- New Visions: Six Contemporary African Artists, Zora Neale Hurston National Art Museum, Eatonville, Florida.
Publications (selection)
Enwezor has written extensively on contemporary African art and artists, as well as on American and international art.
Founding Publisher and Coeditor of Nka: Journal of Contemporary African Art, a critical art journal co-published with the Africana Studies Centre at Cornell University, New York, founded in 1994.
Correspondent for Flash Art und aRude; consulting editor for Atlantica; writes regularly for Frieze, International Review of African-American Art, Third Text, Index on Censorship, Glendora Review, Africa World Review, African Profiles International, SIKSI.
Reading the Contemporary: African Art from Theory to the Marketplace. Edited by Olu Oguibe and Okwui Enwezor. Institute for International Visual Arts: INIVA, London, and MIT Press, 1999.
Lectures
Okwui Enwezor has lectured extensively in Museums and Universities in the US, Mexico, Europe, and Africa, for example at ?100 days - 100 guests?, during documenta X (Kassel), Ecole des Beaux Arts Superieur (Paris), Royal College of Art (London), Moderna Museet (Stockholm), Haus der Kulturen der Welt (Berlin), National Arts Academy (Oslo), Center for Curatorial Studies, Bard College (Annandale on Hudson, New York), New York University (New York) and Temple University (Philadelphia).
Further professional
activities
Member of numerous juries and committees, among others: 1999 International
Advisory Committee of Carnegie International 1998 Jury for the Hugo Boss Prize
at the Guggenheim Museum, New York
Enwezor is the recipient of the 1998 Peter Norton Family Foundation Curator's Grant.
(Biography compiled by Universes in Universe, according to information on the website of the Documenta 11 and other sources)
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด หรือ Ctrl + A
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งยอหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
ความเป็นมาเกี่ยวกับงานนิทรรศการ
Documenta ครั้งที่ 11
บทนำ : Okwui Enwezor ได้รับการประกาศชื่อให้เป็นผู้อำนวยการศิลปะคนใหม่
ของงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 โดยคณะกรรมการผู้อำนวยการ Documenta ในวันที่
28 พฤศจิกายน 1998 (ภายหลังจาก งานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 10). สำหรับสมาชิกคณะกรรมการที่เสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง
ประกอบด้วย Tuula Arkio, Rene Block, Saskia Bos, Lynne Cooke, Gary Garrels,
Bartomeu Mari, Suzanne Page and Klaus Werner.
ในวันที่ 12 ตุลาคม 2000, Okwui Enwezor ได้เสนอชื่อทีมงานของเขาที่เข้ามาเป็นภัณฑารักษ์ร่วม(co-curators)
ในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะพิเศษที่เป็นแกนหลักและเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการที่เป็นพลวัต เกี่ยวกับการจัดงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11, Okwui Enwezor ได้พัฒนารูปแบบงานนิทรรศการครั้งนี้ โดยร่วมมือกันกับภัณฑารักษ์คนอื่นๆ(co-curators) ด้วยการทำออกมาในรูปของเวทีต่างๆชุดหนึ่ง. เวทีต่างๆจะนำเสนอความหลากหลายของหัวข้อสนทนาที่สลับซับซ้อน, ณ สถานที่ที่เลือกสรร และโดยความร่วมมือกันกับเพื่อนร่วมงานอื่นๆ. ประเด็นหรือหัวข้อสำคัญจะมีความเกี่ยวพันกันอย่างสูง โดยจะให้ข้อมูลความรู้ถึงงานนิทรรศการ -
Documenta ครั้งที่ 11 ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมือง Kassel เยอรมันนี ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน - 15 กันยายน 2002, อันถือว่าเป็นเวทีสุดท้าย. ด้วยเหตุดังนั้น การสนทนากันอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆของงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่มุ่งไปสู่การเปิดงานจริงของนิทรรศการดังกล่าว
สำหรับเวทีที่เกี่ยวข้องกับการสนทนา ประกอบด้วย 4 เวทีดังนี้:
(หมายเหตุ : ความจริง งานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 ได้แบ่งออกเป็น 5 เวทีด้วยกัน ในส่วนของเวทีที่ 5 เป็นเรื่องของนิทรรศการศิลปะโดยตรง)
เวทีที่ 1 ประชาธิปไตยที่ยังไม่บรรลุผล / Platform1 : Democracy Unrealized
จัดขึ้นที่ เวียนนา, วันที่ 15 มีนาคม - 20 เมษายน 2001
และเบอร์ลิน, วันที่ 9 ตุลาคม - 30 ตุลาคม 2001เวทีที่ 2 การทดลองต่างๆเกี่ยวกับความจริง / Platform 2 : Experiments with Truth
ภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อของความยุติธรรม และกระบวนการเกี่ยวกับความจริง และ การประนีประนอม
จัดขึ้นที่ นิวเดลฮี, วันที่ 7-21 พฤษภาคม 2001
India Habitat Centre, New Delhiเวทีที่ 3 การทำให้ครีโอล(ลูกผสมผิวชาวและผิวดำ) / Platform3 : Creolite and Creolization
จัดขึ้นที่ เซนต์. ลูเซีย, วันที่ 12 - 16 มกราคม 2002เวทีที่ 4 ภายใต้การโอบล้อม : เมืองแอฟริกันสี่เมือง / Platform4 : (Under Siege: Four African Cities, Freetown, Johannesburg, Kinshasa, Lagos)
Lagos, วันที่ 15-21 มีนาคม 2002เวทีที่ 5 นิทรรศการศิลปะ / Platform5 : Arts Exhibition
จัดขึ้นที่ แคสเซล, วันที่ 8 มิถุนายน - 15 กันยายน 2002
ภูมิหลังของงานนิทรรศการ
Documenta ครั้งที่ 11
รายละเอียดเกี่ยวกับเวทีต่างๆ
การประชุมสัมนา(Symposium)ซึ่งจัดให้มีขึ้นของงานนิทรรศการ Documenta
ครั้งที่ 11 จะเป็นไปในลักษณะต่อเนื่อง โดยเปิดเป็นสาธารณะตลอดทั้งปี และเป็นการนำเสนออย่างไม่เป็นทางการใน
6 เมืองหลักทั่วโลก
เจตนาของเวทีต่างๆเหล่านี้ จัดขึ้นมาเพื่อที่จะส่งให้ขอบเขตหรือภาคส่วนทางด้านศิลปะ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 ไปสู่การเป็นเรื่องของการพูดคุยกับสาขาความรู้อื่นๆตามเมืองต่างๆ. ส่วนที่หนึ่งที่เป็นเรื่องของ"ประชาธิปไตยที่ยังไม่บรรลุผล" ซึ่งจะจัดขึ้นในกรุงเวียนนา(ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม - 23 เมษายน 2001) เวทีนี้จะเป็นการนำเสนอคำบรรยายของนักพูดที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ 20 คน
ส่วนเวทีที่ 2 (The second Platform) เป็นเรื่องของ "การทดลองเกี่ยวกับความจริง"(Experiments with Truth): อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับหัวเลี้ยวหัวต่อของความยุติธรรม และกระบวนการต่างๆเกี่ยวกับความจริง และการประนีประนอม [Transitional Justice and the Processes of Truth and Reconciliation] (เวทีนี้จะจัดให้มีขึ้นที่กรุงนิวเดลฮี ในระหว่างวันที่ 7 - 20 พฤษภาคม) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน:
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90