ผมยังคงจำความรู้สึกพิศวงงงงวย เกี่ยวกับชาวปาเลติเนียนที่นั่นได้ เมื่อพวกเขารู้ว่าผมเป็นคนยิวที่เข้ามาสืบสวนเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ที่ถูกกระทำการอันรุนแรงโดยทหารอิสราเอล ผมได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าไปในบ้านของพวกเขาเพื่อดื่มน้ำชา และผมไม่เคยลืมภาพของหยดน้ำตา ของความซาบซึ้งที่ไหลลงมาอาบแก้ม ของพวกเขาจำนวนมาก ผู้ซึ่งมีความสุขอย่างแท้จริง ที่ได้พบกับคนยิวคนหนึ่งที่มองพวกเขาในฐานะที่เป็นมนุษย์และมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งมีเจตนาที่จะยอมรับถึงความทุกข์ทรมานของพวกเขา และยอมรับฟังเรื่องราวอีกด้านหนึ่งของความขัดแย้ง ที่เขาไม่เคยมีโอกาสได้เอ่ยออกมา. คนยิวทั้งหลายที่พวกเขาเคยเห็นในหมู่บ้านก็คือพวกทหารเท่านั้น ที่เป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับการยืนยันถึงการปกครองมของอิสราเอล
Eduardo Cohen
(สมเกียรติ ตั้งนโม : แปล)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
ภาพที่เป็นจริงของปาเลสไตน์ที่คนอเมริกันไม่เคยรับรู้
ขณะที่อ่าวเปอร์เซียกำลังรุนแรงด้วยไฟสงคราม ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งโดยเฉพาะในฐานะคนอเมริกันเชื้อสายยิว
ที่ได้รับการอุปถัมภ์โดยคณะกรรมการต่อต้านการแบ่งแยกเชื้อชาติอาหรับ-อเมริกันสาขาอ่าวซานฟรานซิสโก
ในภารกิจเกี่ยวกับการค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อสืบสวนถึงสิทธิหรือความชอบธรรมที่ชาวอิสราเอลกระทำทารุณกรรมต่อชาวปาเลสไตน์
ภายใต้มาตรการฉุกเฉินที่ประกาศออกมาในช่วงระหว่างสงคราม. ผมได้ทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องนโยบายสหรัฐในตะวันออกกลางมามากกว่า
10 ปีให้กับ KPFA และสถานีวิทยุต่างๆในแคลิฟอร์เนีย และได้ทำเอกสารและบรรยายเกี่ยวกับเรื่องการต่อต้านเชื้อชาติอาหรับในวัฒนธรรมพพ๊อพอเมริกันและสำนักข่าวต่างๆ
หลังจากสัปดาห์ที่ผมทำหน้าที่เป็นตัวแทนเกี่ยวกับการค้นหาความจริงได้เสร็จสิ้นลง ผมตัดสินใจที่จะใช้เวลาเพิ่มเติมให้กับตัวเองเพื่อขุดค้นลึกลงไปถึงการที่ชาวอิสราเอลได้ครอบครองดินแดนของชาวปาเลสไตน์ ในสองสัปดาห์ต่อมาของการเดินทางของผม ซึ่งนำผมจากถนนที่เต็มไปด้วยฝุ่นทราย, สวนส้มเล็กๆที่ส่งกลิ่นหอม, และสลัมคนจนที่เหม็นคละคลุ้งของฉนวน Gaza ไปพบกับนักเคลื่อนไหวปาเลสไตน์และยิวหลายคนใน Haifa, Tel Aviv และ Jerusalem. และจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวจนแทบหายใจไม่ออกของ Jericho, ที่ผมได้สัมภาษณ์ Saeb Erikat ภายในสถานกักกัน, จนถึงหมู่บ้านตามหุบเขาที่อยู่ไกลแสนไกลในเขต West Bank ที่ซึ่งมีหมู่บ้านที่แยกตัวอยู่โดดๆหลายแห่งในท้องถิ่นที่ได้ถูกควบคุมโดยองค์กรการเมืองอิสลามที่รู้จักกันนาม Hamas
ตอนที่ผมกลับมาและได้พูดคุยกับคนอเมริกันส่วนใหญ่เกี่ยวกับสิ่งที่ได้ไปพบและเรียนรู้มา มันทำให้ผมรู้สึกราวกับว่าผมได้เข้าไปอยู่ในฉากหนึ่งของดินแดนสนธยา - ฉากที่ตัวละครสำคัญสามารถล่วงรู้ถึงอันตรายและการมีอยู่ของลางร้ายที่ไม่มีใครมองเห็น. ตัวละครเอกในเรื่องได้ชี้ถึงสิ่งเหล่านั้นและในไม่ช้าพรรคพวกของเขาก็เห็นถึงลางร้ายที่จะปรากฎขึ้นในอนาคต. ก่อนหน้านั้น พวกเขาไม่อาจมองเห็นมันได้ แต่ในไม่ช้าลางสังหรณ์ดังกล่าวก็เริ่มปรากฎเป็นจริงขึ้น มันผลักให้พวกเขาเข้าสู่ภาวะจนตรอกและสิ้นหวัง และเริ่มตั้งคำถามข้อสงสัยในเหตุผลรวมทั้งสภาพจิตของตัวพวกเขาเอง
ทั้งหมดนั้น มันเป็นอ่าวลึกและกว้างที่แยกระหว่าง"สิ่งที่ผมได้พบเห็นและมีประสบการณ์" กับ "สิ่งที่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ได้รับรู้โดยผ่านเลนส์ของสำนักข่าวอเมริกัน". ช่วยอะไรไม่ได้ที่ผมจะสรุปว่า สาธารณชนอเมริกันไม่ได้รับรู้แม้เพียงเศษเสี้ยวของข้อมูลที่เป็นจริงและต้องการในการทำความเข้าใจอย่างรอบคอบ เพื่อตรวจสอบนโยบายต่างๆเกี่ยวกับรัฐบาลของตนอย่างฉลาดในเรื่องของตะวันออกกลาง. มาถึงตอนนี้ เกือบๆจะสิบปีเข้าไปแล้ว มันมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และอ่าวกว้างที่มาขวางการรับรู้มันยังคงกว้างอยู่เช่นเดิมอย่างไม่น่าเชื่อ
บางทีนั่นจะเป็นสิ่งที่เข้าใจได้. สำนักข่าวอเมริกัน, เป็นไปได้, ที่ค่อนข้างจะสนับสนุนอิสราเอล. แม้แต่สำนักข่าวของอิสราเอลเองยังวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของตนมากยิ่งกว่าผู้สื่อข่าวอเมริกันทำเสียอีก. บางทีอันนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจอะไรในเมื่อ สหรัฐอเมริกาก็คือผู้มีพระคุณหลักของอิสราเอล และอิสราเอลได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐมากกว่าประเทศใดๆในโลก. แต่มันยังคงกวนใจผมอยู่ดีที่เห็นว่า ข่าวอเมริกันได้รายงานหรือสื่อออกมา ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นไปตามนโยบายต่างประเทศของสหรัฐโดยไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ และทำไมข่าวอเมริกันจึงต้องปกป้องอิสราเอลถึงเพียงนี้
ถ้าใครไม่เคยออกจากอเมริกาหรือได้เคยอ่านข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศ ง่ายเหลือเกินที่เขาคนนั้นจะไม่ทราบเลยเกี่ยวกับอ่าวกว้างอันไม่น่าเชื่อถือระหว่าง "สำนักข่าวอเมริกันที่รับรู้และรายงานเกี่ยวกับความขัดแย้งของอิสราเอลและปาเลสไตน์" กับ "สิ่งที่ถูกมองในมุมมองของส่วนที่เหลือของโลก". แม้แต่หนังสือพิมพ์ที่เข้าข้างอิสราเอลที่สุดอีกประเทศหนึ่งคืออังกฤษ ยังได้แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งที่แหลมคมกับรายงานข่าวอเมริกันในเรื่องอิสราเอลและดินแดนต่างๆในครอบครอง
ในการรายงานข่าวอเมริกันเกี่ยวกับการประชุมที่ Camp David เมื่อไม่นานมานี้ หนังสือพิมพ์อเมริกันได้ดำเนินรอยตามรัฐบาลอิสราเอลและอเมริกันอย่างเชื่อฟังโดยสาธยายว่า นายกรัฐมนตรีอิสราเอล Ehud Barak ได้แสดงความกล้าหาญโดยการยอมอ่อนข้อให้เพื่อสันติภาพ, แต่ด้วยความไม่เต็มใจของปาเลสไตน์ที่จะประนีประนอมและยืดหยุ่นต่างๆหาก ซึ่งเป็นต้นเหตุของความล้มเหลวในการประชุมกันครั้งนั้น
โดยไม่สนใจต่อการพยายามแสดงความกล้าหาญที่ยอมอ่อนข้อของ Barak ซึ่งอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์มีสิทธิที่จะรับผิดชอบร่วมกันในการปกครองดูแลเหนือดินแดน ในย่านซึ่งชาวอาหรับได้อาศัยอยู่กันมานานแล้วทางฝั่งตะวันออกของกรุงเยรูซาเล็ม - นั่นมันคือเศษขนมปังที่น่าเวทนาเหลือเกินที่ได้โยนลงไปบนพื้น ซึ่งมันได้รับการคาดหวังว่า Arafat จะหยิบมันขึ้นมาด้วยความดีใจ
ผมต้องอ่านหนังสือพิมพ์อังกฤษและได้พบข้อมูลจากเอกสารต่างๆที่รั่วไหลออกมาจาก Camp David, ซึ่งรายงานว่า Arafat เป็นฝ่ายที่ยอมอ่อนข้อให้อย่างมากมาย ซึ่งจากการกระทำของเขานี้ อาจทำให้พวกเขาต้องตกอยู่ในอันตรายในความเป็นไปได้เกี่ยวกับการสถาปนารัฐปาเลสไตน์ที่มีโอกาสจะเติบโตและพัฒนาและเจริญต่อไปในอนาคต
ตามข่าวที่หนังสือพิมพ์อังกฤษรายงาน การยอมอ่อนข้อของปาเลสไตน์ในการประชุมที่ Camp David รวมถึงสิทธิของอิสราเอลที่จะธำรงรักษาการมีอยู่ของกองกำลังทหารถาวรในเขตเทือกเขาจอร์แดน, การได้รับอนุญาตของอิสราเอลที่จะบินเหนือน่านฟ้าของปาเลสไตน์, และสิทธิของอิสราเอลที่จะใช้กำลังทหารของตนบนดินแดนปาเลสไตน์เมื่อไรก็ได้ ถ้าหากเชื่อว่ามันมีเค้าที่จะเกิดอันตรายต่อรัฐอิสราเอล. ข้อตกลงของปาเลสไตน์คือ ปาเลสไตน์จะต้องไม่มีกำลังทหารอยู่เลย และการยอมรับอำนาจอธิปไตยของอิสราเอลอย่างถาวรในการตั้งรกรากต่างๆของชาวยิว - การตั้งรกรากซึ่งได้ตัดแยกเยรูซาเร็มออกไปอย่างเด็ดขาดจากส่วนที่เหลือของ West Bank และซึ่ง, รวมถึงการตั้งรกรากขนาดมหึมาของชาวยิวแห่ง Ma'aleh Adumim, ที่ได้ตัด West Bank ออกเป็นสองส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมันได้ถูกแบ่งแยกด้วยดินแดนของอิสราเอล
นั่นคือข้อเท็จจริงต่างๆที่ผมมักจะได้พบเห็นในการกล่าวถึงโดยหนังสือพิมพ์หลายๆฉบับจากประเทศอื่น ซึ่งมักไม่ค่อยพูดถึงในหน้าหนังสือพิมพ์และสื่ออเมริกันมาโดยตลอด แม้ว่าจะไม่ทั้งหมดก็ตาม
ในหนังสือพิมพ์อังกฤษและยุโรป บรรดาผู้อ่านทั้งหลาย บ่อยครั้ง ได้รับการเตือนให้ระลึกถึงการมีอยู่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของชาวยิวในเขต West Bank และฉนวน Gaza ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ, โดยเฉพาะการประชุมที่เจนีวาครั้งที่สี่, และการครอบครองอย่างต่อเนื่องที่ฉนวน Gaza, West Bank และ East Jerusalem ยังเป็นการละเมิดต่อการแก้ปัญหาต่างๆของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติด้วย
บรรดาผู้อ่านรายงานข่าวของอังกฤษยังได้รับการเตือนเป็นประจำว่า สิ่งที่ชาวอเมริกัน บ่อยครั้งมักจะวาดนิสัยของชาวปาเลสไตน์ว่าเป็นคนที่ปราศจากความยืดหยุ่นและชอบใช้ความรุนแรงเสมอ ซึ่งเรียกร้องให้ชาวอิสราเอลทั้งหมดถอนตัวออกจากฉนวน Gaza และ West Bank, รวมถึง East Jerusalem, แน่นอน นั่นเป็นสิ่งที่ได้รับการเรียกร้องในการแก้ปัญหาของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 242 ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงออสโล(the Oslo Agreement), ที่เซ็นรับรองโดยอิสราเอลด้วย, ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นเค้าโครงในการแก้ปัญหาครั้งล่าสุดที่ได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการวางรากฐานขึ้นมา
การรายงานข่าวเกี่ยวกับการประชุมที่ Camp David, ผู้สื่อข่าวอเมริกันทั้งหลายได้อ้างคำพูดของนายกรัฐมนตรี Barak ของอิสราเอลอย่างเชื่อฟัง ซึ่งได้ตั้งข้อสงสัยต่อชาวปาเลสไตน์ที่กำลังเจรจากับตน"ในศรัทธาต่อความดี" แต่ไม่รายงานถึงการกระทำของอิสราเอลอย่างต่อเนื่องในฉนวน Gaza และ West Bank ซึ่งเป็นที่กังขาเกี่ยวกับ"ศรัทธาในคุณความดี"ที่แท้จริงของอิสราเอลเลย อาทิเช่น การรื้อทำลายบ้านเรือนของชาวปาเลสไตน์อย่างต่อเนื่อง, การริบน้ำของชาวปาเลสไตน์, การแผ่ขยายและการสร้างรกรากชาวยิวต่างๆขึ้นมาในดินแดนครอบครอง, การปฏิเสธไม่ยอมให้ชาวปาเลสไตน์มีการสร้างบ้านเรือนของตนขึ้นมา, และการสร้างถนนสายความมั่นคงของชาวยิว ซึ่งได้ตัดผ่านดินแดนปาเลสไตน์ลึกเข้าไป 1 ส่วน 4 ไมล์ เป็นต้น
ไม่เพียงผู้สื่อข่าวอเมริกันจะละทิ้งข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำความเข้าใจอย่างรอบด้านเกี่ยวกับความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพเท่านั้น แต่พวกเขายังได้แสดงให้เห็นการยอมรับโดยไม่วิพากษ์วิจารณ์อย่างสะเพร่ามาเป็นเวลานาน เกี่ยวกับข้อถกเถียงของอิสราเอลที่ไร้สาระที่สุดต่อการสร้างสันติภาพด้วย
ที่สำคัญเหนืออื่นใดของสิ่งเหล่านี้ก็คือ ข้อโต้แย้งของอิสราเอลหลายต่อหลายครั้งที่ว่า หน้าที่ต่างๆของผู้เจรจาปาเลสไตน์ก็คือ จะต้องรับรองหรือค้ำประกันการยุติการโจมตีของผู้ก่อการร้าย ในฐานะเงื่อนไขที่ต้องมีก่อนข้อตกลงใดๆกับอิสราเอล. ซึ่งฟังดูแล้ว มันค่อนข้างจะเป็นข้อตกลงที่น่าหัวเราะเสมอ เว้นแต่บรรดานักหนังสือพิมพ์อเมริกันเท่านั้น
ถ้าหากรัฐบาลสหรัฐไม่สามารถปกป้องการวางระเบิดที่ Oklahoma City และเหตุการณ์ที่ the World Trade Towers ได้ และรัฐบาลอิสราเอลไม่สามารถปกป้องการลอบสังหารนายกรัฐมนตรีของตัวเองได้ ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันนี้ทำไม Yaser Arafat ถึงจะสามารถรับรองการยุติการกระทำของผู้ก่อการร้ายต่างๆโดยหน่วยงานปาเลสไตน์ต่างๆที่อยู่นอกเหนือการบังคับควบคุมของเขาได้เล่า ?
มันยังมีความพลาดพลั้งจริงจังอื่นๆอีกในการรายงานข่าวอเมริกัน ซึ่งก่อให้เกิดความยุ่งยากสำหรับชาวอเมริกันที่จะทำความเข้าใจ, ในระดับของอารมณ์ความรู้สึก, ถึงความโกรธแค้นของชาวปาเลสไตน์และความขัดข้องหมองใจ ซึ่งตอนนี้กำลังเดือดพล่านอยู่บนถนนในดินแดนในเขตปกครองต่างๆของอิสราเอล และภายในอิสราเอลเอง
ความรุนแรงครั้งใหม่ซึ่งเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ได้รับการอธิบายถึงความโกรธแค้นของชาวปาเลสไตน์ว่า เนื่องมาจากสาเหตุของนาย Ariel Sharon พร้อมกับกำลังตำรวจ 1000 นาย และผู้ให้การสนับสนุนหลายร้อยคน ซึ่งได้ไปเยี่ยมเยือนสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามิกชน "Noble Sanctuary" อันเป็นที่ที่สุเหร่า Al-Aksa และโดมแห่งก้อนหินอันศักดิ์สิทธิ์( the Dome of the Rock)ตั้งอยู่. ถึงแม้ว่านาย Ariel Sharon จะได้รับการอธิบายในฐานะผู้นำฝ่ายขวาซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามที่ได้รับความเกลียดชังจากชาวอาหรับ แต่คนอเมริกันก็ได้รับข้อมูลความเข้าใจเพียงเล็กน้อยถึงสาเหตุที่แท้จริงว่า ทำไมนาย Ariel Sharon ถึงได้ถูกจงเกลียดจงชังโดยชนชาวอาหรับทั้งหลาย
โดยทั่วไป สิ่งที่ชาวอเมริกันไม่ได้รับการบอกเล่า แต่บรรดาชาวปาเลสไตน์ไม่สามารถลืมเลือนได้ก็คือ นาย Ariel Sharon ถูกเชื่อว่า, แม้กระทั่งโดยรัฐสภาอิสราเอล, ให้เป็นผู้รับผิดชอบต่อการสังหารหมู่ชาวปาเลสไตน์ที่มีทั้งเด็ก, ผู้หญิง และผู้ชาย ซึ่งไม่มีอาวุธใดๆอยู่ในมือจำนวน 1000-2000 คน ในค่ายอพยพปาเลสไตน์แห่ง Sabra และ Chatila ในเลบานอน
ในช่วงระหว่างการรุกรานของอิสราเอลเข้าไปในเลบานอน ซึ่งนายพล Ariel Sharon เป็นผู้บังคับบัญชากองทหารอิสราเอลโอบล้อมค่ายผู้อพยพสองแห่งนั้น เขายอมให้ชาวเลบานอนฝ่ายขวาที่นับถือศาสนาคริสต์ซึ่งเกลียดชังปาเลสไตน์(Lebanese Phalangists) ผู้ซึ่งใช้เวลาสองวันข่มขืนกระทำชำเรา, กระทำทารุณกรรมต่างๆนาๆ และไล่ฆ่าพลเรือนปาเลสไตน์ที่ไม่มีอาวุธหลายร้อยคน ในขณะที่ทหารอิสราเอลยืนอารักขาอยู่ใกล้ๆ
ไม่เพียงว่า สื่ออเมริกันจะขาดเสียซึ่งการให้ข้อมูลที่สำคัญในเชิงวิพากษ์วิจารณ์นี้เท่านั้น แต่ความจริงอันมากมายหลายอย่างที่ให้ข่าวเกี่ยวกับนาย Sharon ผู้ซึ่งได้เข้าไปยังสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชนมุสลิม เพื่อแสดงถึงอธิปไตยของอิสราเอลเหนือดินแดนปาเลสไตน์, สื่ออเมริกันยังถือโอกาสอธิบายว่า เขาผู้นี้ไปยังสถานที่นั้น"ด้วยสารแห่งสันติภาพ"ด้วย
มันเป็นเรื่องที่ออกจะยุ่งยากสำหรับชาวอเมริกันที่จะจินตนาการถึงความคับข้องหมองใจของบรรดาชาวปาเลสไตน์ ผู้ซึ่งมองว่าชาวยิวที่มาจากสหรัฐอเมริกา ที่มาแสดงพฤติกรรมแบบเจมส์บอนด์เชื้อสายยิวในเขตปกครองต่างๆ ด้วยหมวกเหล็กพร้อมปืน 9 มม.กึ่งอัตโนมัติ - อาวุธที่พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้พกได้หรือคาดเอวเดินตามถนนตามเมืองต่างๆในสหรัฐอเมริกา - แต่สำหรับเขตปกครองมันพร้อมที่จะเจาะเข้าไปในร่างของผู้คนและดึงเอาเลือดของชาวปาเลสไตน์ไหลออกมา
อเมริกันเชื้อสายยิว ผู้ที่ละทิ้งเบื้องหลังเอาไว้และได้ไปอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ค่อนข้างมีโอกาสทางเศรษฐกิจและเสรีภาพทางศาสนามากกว่าผู้คนส่วนใหญ่ในโลกที่จะจินตนาการได้ และพ่อแม่ของเขา ปู่ย่าตายายของเขา และบรรพบุรุษอันเก่าแก่ของเขาไม่เคยเหยียบย่างเข้าไปในอิสราเอลเลย คนเหล่านี้ได้รับความยินยอมและปลุกเร้าถึงความเป็นยิวที่มี"สิทธิ์ที่จะหวนคืนกลับ"ไปยังดินแดนที่อันเก่าแก่ซึ่งอ้างว่าเป็นของตน ที่ซึ่งครอบครัวของชาวปาเลสไตน์กำลังอาศัยอยู่และประกอบอาชีพอยู่ ณ ที่นั้นมานับศตวรรษ. และทั้งหมดขณะนี้ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากยังคงถือกุญแจบ้านของตนอยู่ซึ่งพวกเขาได้สูญเสียมันไปในสงครามปี 1948 และที่ซึ่งพวกเขามีความหวังแต่เพียงริบหรี่เกือบจะสิ้นหวังอย่างสมบูรณ์ของการจะได้หวนคืนกลับไปสู่บ้านเกิดของตน
ผมสัมผัสได้ถึงความสิ้นหวังและความโกรธแค้นที่ชาวปาเลสไตน์รู้สึก เมื่อผมได้พูดคุยกับชาวนาปาเลสไตน์ตามแบบฉบับคนหนึ่งในเขต West Bank ซึ่งบ่อน้ำของเขามีน้ำอันล้ำค่า ที่เขาต้องการทดน้ำเข้าไปในไร่ธัญพืชของเขา แต่มันต้องถูกยึดเอาไปโดยเจ้าหน้าที่ทางการของอิสราเอล เพื่อนำไปให้ผู้ตั้งรกรากชาวยิวใกล้ๆบริเวณนั้นเพื่อนำเอาน้ำอันมีค่าของพวกเขาเติมลงไปในสระว่ายน้ำ และนำมันไปรดสนามหญ้าสีเขียวใกล้ๆนั้น
ผมตระหนักถึงความรู้สึกของชาวปาเลสไตน์บางอย่าง เมื่อผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์พวกเขามากกว่าครึ่งโหล ซึ่งบ้านของพวกเขาได้ถูกระเบิดทำลายหรือไม่ก็ถูกไถจนราบเป็นหน้ากลองโดยรถแทรคเตอร์ของอิสราเอล ทั้งนี้เพราะสมาชิกที่เป็นวัยรุ่นคนหนึ่งของครอบครัวได้ขว้างก้อนหินเข้าใส่ทหารอิสราเอล หรือเพราะว่าพวกเขาต้องการจะสร้างห้องพิเศษเพิ่มขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง เนื่องจากพวกเขารู้ว่าเจ้าหน้าที่อิสราเอลจะไม่มีทางจัดหาสิ่งเหล่านั้นมาเพิ่มเติมให้กับพวกเขาได้
เกือบจะสิบปีหลังมานี้, อีกครั้งที่มีการไหลบ่าเข้ามาของผู้ตั้งรกรากใหม่ๆ การแผ่ขยายของถิ่นฐานชาวยิว การสร้างถนนหนทางต่างๆของชาวยิว การรื้อทำลายบ้านเรือนของชาวปาเลสไตน์ และการริบเอาน้ำของพวกเขาไป สิ่งต่างๆเหล่านี้ทั้งหมดยังคงดำเนินไปอยู่อย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยเกี่ยวกับอคติทางด้านเชื้อชาติ
เอกสารต่างๆของอเมริกันและเครือข่ายข่าวสารอเมริกันหลายหลากได้ให้โอกาสคนอเมริกันน้อยมากที่จะทำความเข้าใจว่า
อคติทางด้านเชื้อชาติยังคงเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่สุดอันหนึ่งต่อสันติภาพ
ผมได้ประสบกับความสิ้นหวังบางอย่างที่ชาวปาเลสไตน์มีความรู้สึก เมื่อผมได้สัมภาษณ์คนอเมริกันเชื้อสายยิวเป็นจำนวนมากที่ได้ตั้งรกรากอยู่ในเขต West Bank ในช่วงระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เชีย. ผู้คนเหล่านั้นมากต่อมากที่ผมมีโอกาสพูดคุยมาจากนิวยอร์ค ผมได้พูดกับเขาเกี่ยวกับชนชาวอาหรับ ซึ่งเขาเหล่านั้นได้ระบายความเกลียดชังออกมาอย่างพุ่งพล่าน และด่าว่าถึงเรื่องเชื้อชาติอย่างรุนแรงเท่าที่ผมเคยได้ยินมา มันทำให้ผมระลึกถึงเกี่ยวกับอคติทางด้านเชื้อชาติที่มีต่อคนอเมริกันผิวดำ ซึ่งผมเห็นด้วยตาตนเองว่ามันได้งอกงามขึ้นมาในหมู่คนขาวอเมริกันทางตอนใต้
ภาพต่างๆที่ปรากฏเกี่ยวกับชาวปาเลสไตน์ที่ท่องสวดถึง"ความตายของชาวยิว" บ่อยครั้งที่ปรากฎตามสื่อมวลชนของเครือข่ายอเมริกัน ได้ทำให้คนอเมริกันเป็นจำนวนมากเกิดความตราตรึงว่า ชาวอาหรับเกลียดชังคนยิว ซึ่งนี่อาจเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่สุดต่อสันติภาพ และนั่นอาจเป็นภาพที่นำเสนออย่างผิดๆและเป็นอันตรายอย่างยิ่งที่น้อมนำพวกเราไปสู่ข้อสรุปที่ผิดพลาด
ทั้งๆที่มีคำสวดเหล่านั้น จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าในเขตฉนวน Gaza และในเขต West Bank ได้ทำให้ข้าพเจ้าสนใจที่จะทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้บางอย่างว่า ทำไมความรู้สึกที่ลึกซึ้งเหล่านั้นจึงเกิดขึ้น อย่างน้อยที่สุดกับชาวปาเลสไตน์บางคน ผู้ซึ่งได้รับการอธิบายในที่นี้ ในฐานะคนที่คลั่งไคล้หรือพวกสุดขั้วซึ่งชอบใช้ความรุนแรง
อย่างชัดแจ้ง มันมีปัจจัยเกี่ยวกับอคติทางด้านเชื้อชาติที่มีพิษร้ายในการแพร่เชื้ออยู่ในชุมชนปาเลสไตน์มากมาย... แต่ผมพบความแตกต่างที่แท้จริงอันหนึ่งระหว่างอคติทางด้านเชื้อชาติในหมู่คนอิสราเอลิที่มีต่อชาวอาหรับ, ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความรู้สึกหนึ่งของความเหนือกว่าทางชนชาติ, ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์เกลียดชังคนยิวอย่างที่เข้าใจได้ นั่นคือ ชาวปาเลสไตน์เกลียดชังชาวยิวก็เพราะ พวกเขาต้องการตอบโต้กับนโยบายต่างๆของรัฐบาลยิวของอิสราเอล และการที่คนยิวยังคงครอบครองดินแดนของคนอื่นอยู่อย่างต่อเนื่อง
มันเป็นสิ่งซึ่งสามารถเปรียบเทียบกันได้ถึงความแตกต่างระหว่างการจงเกลียดจงชังเกี่ยวกับคนอเมริกันผิวดำ โดยคนขาวที่อยู่ทางตอนใต้ที่มีความรู้สึกแบ่งแยกเชื้อชาติในช่วงระหว่างขบวนการเรียกร้องสิทธิพลเมืองในสหรัฐอเมริกา และความเกลียดชังคนผิวดำอเมริกันเป็นจำนวนมากที่พวกเขารู้สึกต่อคนขาว มันเป็นผลอันเนื่องมาจากการกดขี่ทางด้านเชื้อชาติที่พวกเขาประสบ. นั่นคือสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสำคัญ
โดยไม่ได้ทำให้เป็นความลับแต่อย่างใดในความเป็นยิวของผม ผมได้เดินทางโดยปราศจากอาวุธ ปราศจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารคุ้มกัน ด้วยมือเปล่าและไม่มีการอารักขา ผมเดินทางเข้าไปในเขตเทือกเขาที่อยู่ห่างไกลและพื้นที่ทะเลทรายพร้อมกับล่ามแปลอีกคนหนึ่งเท่านั้นในฉนวน Gaza และในเขต West Bank ซึ่งถูกควบคุมโดยองค์กรต่อต้านมุสลิมที่เรียกตัวเองว่า Hamas และที่ๆเจ้าหน้าที่ทางการอิสราเอลบอกกับผมว่า เป็นไปได้ที่ผมอาจจะถูกฆ่า
ผมยังคงจำความรู้สึกประหลาดใจและงงงวยเกี่ยวกับชาวปาเลสไตน์ที่นั่นได้ เมื่อพวกเขารู้ว่าผมเป็นยิวที่เข้ามาสืบสวนเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ชาวปาเลสไตน์ได้ถูกกระทำการอันรุนแรงโดยทหารอิสราเอล ผมได้ถูกพาเข้าไปในบ้านอย่างรวดเร็ว ได้รับการเชื้อเชิญให้ดื่มน้ำชาร่วมกันกับพวกเขา และผมไม่เคยลืมภาพของหยดน้ำตาของความซาบซึ้งที่ไหลลงมาอาบแก้มของพวกเขาจำนวนมาก ผู้ซึ่งมีความสุขอย่างแท้จริงที่ได้พบกับคนยิวคนหนึ่งที่มองพวกเขาในฐานะที่เป็นมนุษย์และมีความเท่าเทียมกัน ผู้ซึ่งมีเจตนาที่จะยอมรับถึงความทุกข์ทรมานของพวกเขา ยอมรับฟังเรื่องราวอีกด้านหนึ่งของความขัดแย้งที่พวกเขาไม่เคยมีโอกาสได้เอ่ยออกมา. คนยิวทั้งหลายที่พวกเขาเคยเห็นในหมู่บ้านก็คือพวกทหารเท่านั้น ที่เป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับการยืนยันถึงการควบคุมของอิสราเอล
ไกลห่างการการคุ้มครองของอิสราเอลคนใด ในใจกลางของพื้นที่ต่างๆที่ถูกควบคุมโดยกลุ่ม Hamas ผมรู้สึกไม่มีอันตรายใดๆ. มันเป็นเรื่องยากที่จะหวนกลับไปยังกรุง Tel Aviv และพูดจากับคนยิวผู้ซึ่งไม่เคยอนุญาตให้ชาวอาหรับคนใดเข้าไปในบ้านของตน เว้นแต่คนอาหรับที่เข้าไปทำความสะอาดเท่านั้น และผู้ซึ่งจะอธิบายให้กับข้าพเจ้าโดยไม่มีข้อสงสัยในใจของพวกเขาว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะแลกเปลี่ยนความคิดกับคนอาหรับอย่างมีเหตุผล แม้ว่านั่นจะเป็นสมบัติที่อารยชนทั้งหลายครอบครองอยู่ก็ตาม. ผมได้จากที่นั่นมาด้วยความประทับใจที่เสียดแทง และพอจะสรุปได้ว่าสมาคมต่อต้านเชื้อชาติอาหรับเป็นอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อสันติภาพ และจากหลักฐานต่างๆ หลังจากนั้นอีกสิบปีล่วงมาแล้วได้บ่งชี้ว่า มันไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเลย
ผมได้รู้จักกับอิสราเอลิคนหนึ่งที่มีอคติทางด้านเชื้อชาติก่อนที่จะออกมาจากสนามบิน Ben Gurion ที่อยู่นอกกรุง Tel Aviv. ภายนอกบริเวณท่าอากาศยาน ทางออกจากสนามบินที่ซึ่งบรรดานักท่องเที่ยวทั้งหลายต่างรอรถแท็กซี่ ซึ่งปกติแล้วจะขนพวกเขาไปยัง Tel Aviv หรือ Jerusalem, อิสราเอลเชื้อสายยิวคนนั้นได้ถามผมว่าจะบ่ายหน้าไปไหน. "Jerusalem" ผมบอกกับเขา. "แล้วคุณจะพักที่ไหน?" เขาถาม, ผมบอกกับเขาไปว่าผมวางแผนที่จะพักอยู่ที่ YMCA Hotel. "โอ้, เป็นโรงแรมที่ถัดจาก the King David Hotel ใช่ไหม?" เขาถาม, ทึกทักว่าผมคงจะไปพักที่โรงแรม YMCA ทางฝั่งตะวันตกของเยรูซาเล็มที่ชาวยิวอาศัยอยู่. "ไม่"ผมตอบ, "ผมจะพักที่ YMCA ในฝั่งตะวันออกของเยรูซาเร็ม". ใบหน้าของเขาเปลี่ยนไปทันที ดูแล้วรู้สึกว่าเขาเกิดความสับสนอย่างมากและฉงนสนเท่ห์. "ผมไม่คิดว่าที่นั่นมันจะสะอาดสะอ้านมากพอนะ" เขาเตือน
แน่นอน เขาเกือบจะไม่เคยไปยัง YMCA บนถนน Nablus เลย แต่เขาก็ยังทึกทักว่ามันคงจะสกปรกแน่เพราะมันตั้งอยู่ในเขตที่ชาวอาหรับอาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเยรูซาเล็ม. นั่นเป็นการเผยให้เห็นครั้งแรกและเบาที่สุดแล้วของอิสราเอลิที่มีอคติทางด้านเชื้อชาติซึ่งมีความรู้สึกต่อชาวอาหรับ. การเดินทางผ่านอิสราเอล ผมได้เห็นการดูถูกเหยียดหยามทางด้านเชื้อชาติต่อชนชาวอาหรับอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ซึ่งมาถึงตอนนี้ ผมเห็นว่ามันเป็นไปได้และจริงจัง, แต่ไม่ค่อยพูดถึงกันนัก, เกี่ยวกับอุปสรรคที่จะนำไปถึงสันติภาพอันถาวร
จากการตัดสินโดยถ้อยแถลงของผู้นำทางศาสนาที่โดดเด่นที่สุดของพรรค Shas, โดยไม่มีการแก้ไขใดๆ. Rabbi Ovadia Yosef, ผู้นำทางจิตวิญญานของพรรค Shas, พรรคการเมืองที่มีแนวทางแบบออร์โธด็อกซ์แบบสุดๆ(Ultra-Orthodox party) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามในรัฐสภาอิสราเอล เมื่อเร็วๆนี้ได้อรรถาธิบายว่า ชาวปาเลสไตน์เป็น"งู"ที่พระผู้เป็นเจ้าได้"ทรงสร้างขึ้นมาด้วยความเสียพระทัย". จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ พรรค Shas ได้มีส่วนอย่างสำคัญพรรคหนึ่งในการก่อตั้งรัฐบาลผสมของนายกรัฐมนตรี Ehud Barak ขึ้นมา
อคติทางด้านเชื้อชาติที่ต่อต้านชาวอาหรับในอิสราเอลและสำเนาอย่างเดียวกันในสหรัฐอเมริกา
ช่วงระหว่างเดินทางในปี 1991 ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอิสรามิกชน
ซึ่งรวมทั้งสุเหร่า Al-Aqsa และโดมแห่งก้อนหินอันศักดิ์สิทธิ์. เพียงไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น
ในเดือนตุลาคม 1990, พลเรือนปาเลสไตน์จำนวน 19 คนได้ถูกยิงตายโดยตำรวจอิสราเอล.
ผมสัมภาษณ์พยานผู้เห็นเหตุการณ์และได้ถ่ายรูปรูกระสุนปืนที่ยังทิ้งร่องรอยของมันอยู่ที่ข้างสุเหร่าโดยปืนที่ยิงมาจากฝ่ายอิสราเอล.
เหยื่อของเหตุการณ์ครั้งนั้นรวมถึงเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นสต๊าฟที่ทำงานในรถพยาบาล
ที่พยายามจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บ
ในสหราชอาณาจักร นิตยสารข่าวรายสัปดาห์แนวอนุรักษ์นิยม 'The Economist' ใช้ศัพท์คำว่า `massacre'(การสังหารหมู่)เพื่ออธิบายถึงการฆ่าหมู่อย่างทารุณ. พวกเขาเรียกมันว่า"การสังหารหมู่"ทั้งบนหน้าแรกของนิตยสาร, ในบทบรรณาธิการ และพาดหัวข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนี้. ส่วนนิตยสาร The New York Times ไม่ได้รายงานถึงการสังหารหมู่ครั้งนี้เลย แต่กลับไปอธิบายถึงการปะทุของความรุนแรงเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งมันกำลังเป็นความสับสนและเรื่องราวซึ่งเป็นไปในทางตรงข้าม
การแสดงออกซึ่งน่าตำหนิมากที่สุดเกี่ยวกับอคติทางเชื้อชาติต่อต้านอาหรับได้ถูกนำเสนอโดย Time Magazine ซึ่งได้อรรถาธิบายการสังหารหมู่พลเรือนปาเลสไตน์ที่ไม่มีอาวุธ 19 คนครั้งนี้ ด้วยพาดหัวตัวโตอ่านได้ว่า "Saddam's Lucky Break"(สิ้นสุดการโชคดีของซัดดัม) ฆาตกรรมที่ปราศจากการปกป้องครั้งนี้เกี่ยวกับพลเรือนชาวอาหรับ ได้ถูกอธิบายในฐานะ"การโฆษณาชวนเชื่อในชัยชนะ"ต่อ Saddam Hussein และบ่งเป็นนัยว่า เขาเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบสำหรับการฆ่าอย่างโหดเหี้ยมครั้งนี้ยิ่งกว่าตำรวจอิสราเอลผู้ลั่นไกปืนเสียอีก
มันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและแบบบางมากเกี่ยวกับอคติทางด้านเชื้อชาติต่อต้านอาหรับ ซึ่งยังคงแทรกซึมอยู่ในรายงานข่าวของเราอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับตะวันออกกลางและความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอลสำหรับทุกวันนี้
มันได้รับการอธิบายด้วยคำพูดของ Judy Woodruff จาก CNN ที่ได้กล่าวถึงความรุนแรงเมื่อเร็วๆนี้ในอิสราเอล และดินแดนในเขตปกครอง ซึ่งชาวปาเลติเนียนมากกว่า 76 คนได้ถูกฆ่าตายในตอนนี้โดยตำรวจและทหารอิสราเอล : การจลาจลที่เพิ่มมากขึ้นมากทางตอนเหนือของอิสราเอล ได้รับการประณามอันเนื่องมาจากผู้คนจำนวนมากกว่า 50 คนถูกฆ่าตาย". ตามที่ CNN รายงาน มันคือการจลาจล ไม่ใช่การตัดสินใจของกองกำลังรักษาความปลอดภัยของอิสราเอล ที่ยิงเข้าใส่ชาวปาเลสไตน์ด้วยลูกกระสุนจริงและจรวดต่อต้านรถถังที่ต้องรับผิดชอบสำหรับการตายของชาวปาเลสไตน์มากกว่า 50 คน
อคติทางด้านเชื้อชาตินี้ได้ถูกสะท้อนในข่าวพาดหัวของ Sacramento Bee ด้วยว่า "Riots Escalate in West Bank"(การจลาจลขยายตัวมากขึ้นในเขต West Bank)พร้อมกับพาดหัวที่เล็กลงมาที่ตลกๆว่า"ตาย 12 บาดเจ็บนับร้อย". มันนำเสนอในข่าวพาดหัว SF Examiner ว่า "Death Toll Reaches 29 in Mideast Clashes" (ตายถึง 29 ในการปะทะกันที่ตะวันออกกลาง)
ไม่มีตัวอย่างข่าวพาดหัวใดเลยที่ทำให้เกิดความชัดเจนว่า ผู้คนตายไปเท่าไหร่ และใครเป็นผู้ทำ มาถึงตอนนี้เราต่างทราบกันดี ณ เวลาที่เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาว่า ชาวปาเลสไตน์มากกว่า 76 คนได้ถูกฆ่าตาย. เราควรจะรับรู้ทั้งหมด ลึกลงไปในหัวใจของพวกเรา ถ้าหากว่า 29 หรือ 55 หรือ 76 อิสราเอลถูกฆ่าตายโดยชาวปาเลสไตน์ ข่าวพาดหัวจะเปลี่ยนไปทันที มันจะส่งเสียงดังลั่นในสหรัฐอเมริกาจากข่าวพาดหัวของหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับว่า "อิสราเอล 29 คนถูกฆ่าตายโดยชาวปาเลสไตน์" หรือ"อาหรับฆ่า 76 อิสราเอล".
แน่นอน พาดหัวข่าวเกี่ยวกับความตายและความรุนแรงในตะวันออกกลางดังกล่าว - พาดหัวข่าวนั้นล้มเหลวที่จะให้เหตุผลความรับผิดชอบโดยตรงใดๆสำหรับการฆ่า. สำหรับบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ไล่ตามลำดับเวลาของ SF Examiner ที่รายงานตามพาดหัวข่าวซึ่งมีเนื้อหาความว่า "การจลาจลของชาวปาเลสไตน์แผ่ขยายเข้าไปในอิสราเอล". สามย่อหน้าในเรื่องดังกล่าว พวกเราได้รับข้อมูลว่าชาวปาเลสไตน์ 12 คนถูกฆ่าตาย. โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวอย่างที่เลวระยำเอามากๆก็คือ ข่าวพาดหัวของ Sacramento Bee อีกอันที่เขียนว่า "มือปืนปาเลสไตน์ยิงเข้าใส่ชาวอิสราเอล" ตลอดเรื่องราวอันนั้นบอกกับเราว่า ชาวปาเลสไตน์มากกว่า 12 คนถูกฆ่าตาย
นี่คือบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในหน้าหนังสือพิมพ์อเมริกัน และมีนัยะในการยึดติดคุณค่าอันหนึ่งอยู่กับชีวิตความเป็นอยู่ของคนอิสราเอล และในขณะที่คุณค่าชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอาหรับกับมีค่าน้อยกว่ามาก. อิสราเอลถูก"ฆ่า"แต่ปาเลสไตน์"ตาย". ผมไม่ใช่เพียงลำพังเท่านั้นซึ่งสังเกตเห็นความแตกต่างที่ไม่เหมือนกันอันนี้มารบกวนจิตใจ ซึ่งมันทำการอำพรางและแอบซ่อนความรับผิดชอบของอิสราเอลเอาไว้
นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ Robert Fisk ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศในการเสนอข่าว เขียนใน The Independent ว่า เมื่อเขาได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับชาวปาเลสไตน์ตายในการปะทะกัน เกือบทั้งหมดมันมักจะหมายความว่า"อิสราเอลได้ฆ่าผู้คนที่บริสุทธิ์". ดังนั้นเมื่อเขาได้อ่าน Associated Press ข้อความว่า Mohammed al- Durah ซึ่งอายุเพียง 12 ปีถูกฆ่าตายที่ฉนวน Gaza เมื่อเขาถูกจับในการปะทะกัน, Fisk เขียนว่า "ผมรู้ในทันทีว่าใครเป็นคนฆ่าเขา"
"แน่ใจได้เลยทีเดียว" Fisk ยืนยัน, "ผู้รายงานข่าวหลายคนที่สืบสาวถึงเรื่องการตายนี้บอกว่า เด็กคนนี้ได้ถูกทหารอิสราเอลยิง". ส่วนพ่อของเขาที่อยู่ในเหตุการณ์เดียวกันก็ถูกยิงเช่นกัน - และสำหรับคนขับรถพยาบาลผู้ซึ่งพยายามจะเข้าไปช่วยเหลือเด็กน้อยคนนั้น ก็ถูกฆ่าตายอย่างอนาถ
ความล้มเหลวอันนี้ของบรรณาธิการและผู้รายงานข่าวอเมริกัน ที่จะให้เหตุผลอันชัดเจนถึงความรับผิดชอบสำหรับการฆ่าเหยื่อชาวปาเลสไตน์ เป็นหนทางหนึ่งในหลายๆทางซึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันยังคงลดคุณค่าชีวิตและความเป็นอยู่ของชนชาวอาหรับอยู่อย่างต่อเนื่อง. การลดถอยคุณค่าชีวิตความเป็นอยู่ของชนชาวอาหรับที่เกือบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเลยอันนี้ ได้รับการเพิ่มเติมเสริมแต่งโดยวัฒนธรรมพ๊อพพิวล่าร์ ซึ่งได้ทำให้มันปลอดภัยที่จะทำให้ถ้อยแถลงของพวกอคติทางด้านเชื้อชาติส่วนใหญ่เกี่ยวกับชนชาวอาหรับ ปราศจากความกลัวเกรงใดๆในการด่าว่าหรือแม้กระทั่งการประณามตำหนิ
เมื่อเดือนที่ผ่านมานี้ Bill Maher เจ้าของรายการ Politically Incorrect ของ ABC ได้ให้เหตุผลต่อการแสดงโชว์ของเขาว่า การวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติ"อาจเป็นเรื่องที่ OK ในบางกรณี" เหมือนกับเมื่อคุณอยู่บนเครื่องบินที่มุ่งหน้าไปยังอิสราเอล และชาวอาหรับหน้าตาเคร่งเครียดซึ่งแสดงความกังวลใจออกมานั่งอยู่ถัดจากคุณไปบนเครื่องบิน. อันนี้เป็นข้อกล่าวหาที่เลวระยำยิ่งกว่าผู้มีอคติทางเชื้อชาติตัวจริงสบประมาทชาวอาหรับเสียอีก เพราะข้อเท็จจริงคือว่า ไม่มีใครเคยสังเกตเห็นเรื่องเช่นนี้ได้(นอกจากในภาพยนตร์)
อคติทางเชื้อชาติต่อต้านอาหรับ แน่นอน เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยหลักอันหนึ่งในการที่ชาวอเมริกันทั่วไปไม่ได้ให้ความสนใจตลอดมาต่อการที่รัฐบาลสหรัฐสั่งห้ามค้าขายกับอิรัค, ตามที่ตัวแทนสหประชาชาติและเจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์กรดังกล่าวมีมติ อันเป็นสาเหตุให้พลเรือนอิรัคมากกว่า 1 ล้านคนต้องเสียชีวิต และยังเป็นมูลเหตุให้เด็กๆชาวอาหรับจำนวน 4000-5000 พันคนต้องเสียชีวิตลงในแต่ละเดือนอย่างต่อเนื่อง
อันนี้กำลังบอกกับเราว่า นโยบายนั้นกำลังฆ่าเด็กชาวอาหรับมากกว่า 5000 คนในแต่ละเดือน ซึ่งไม่ใช่ข้อดีแต่ประการใด ทว่าประเด็นดังกล่าวกลับได้รับการพูดถึงแต่เพียงสั้นๆเท่านั้น ในการโต้วาทีเมื่อครั้งที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเร็วๆนี้. และแม้ว่าข้อเท็จจริง เลือดของชาวปาเลสไตน์กำลังไหลนองออกมา, ขณะที่กำลังมีการอภิปรายเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีของพรรค Democrat และ Republican, บาดแผลที่ชาวปาเลสไตน์ได้รับ มันถูกทำให้เกิดขึ้นโดยอาวุธยุทโธปกรณ์ของอเมริกันที่ส่งไปให้ รวมทั้งเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่เต็มไปด้วยเขี้ยวเล็บอย่างอปาเช่, เรื่องราวเหล่านี้มันไม่เคยได้รับการเอ่ยถึงเลยไม่ว่าจะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจากฝ่ายใดก็ตาม และรวมทั้งพิธีกรทั้งสองคนด้วย
เป็นที่ชัดเจนแต่ไม่ถูกพูดถึงก็คือ ลักษณะมาตราฐานสองระดับในอคติทางด้านเชื้อชาติ(racist double standard)ได้ซึมแทรกเข้าไปในนโยบายของสหรัฐในภูมิภาคดังกล่าว เช่นเดียวกับการรายงานข่าวของสื่อสารมวลชนอเมริกัน. เรากำลังทิ้งระเบิดและบีบคั้นทางเศรษฐกิจกับประเทศอาหรับอย่างอิรัค สำหรับการที่อิรัคได้รุกรานเข้าไปในคูเวท และกำลังค้นคว้าที่จะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ต่างๆขึ้นมา
แต่ในขณะเดียวกัน เราได้สร้างความเหลื่อมล้ำในเชิงปริมาณโดยไม่ติดขัดทางด้านเศรษฐกิจและการช่วยเหลือทางด้านการทหารแก่อิสราเอล ทั้งๆที่ประเทศนั้นได้รุกรานอย่างรุนแรงเข้าไปในเลบานอน และปฏิเสธที่จะขานรับต่อหนทางแก้ไขปัญหาต่างๆที่เป็นมติของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับครั้งไม่ถ้วน และยังคงสร้างคลังสรรพาวุธทางนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย
แน่นอน มันถูกทำให้ชัดเจนขึ้นมาแล้วในตอนนี้ เกี่ยวกับกรณีการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่ดำเนินการในสมัยของประธานาธิบดี Clinton. แม้ว่าจะเป็นที่ทราบกันดีว่า บทบาทซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีเกี่ยวกับเยรูซาเล็มตะวันออกนั้น มีความสำคัญเพราะ เยรูซาเล็มตะวันออกเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและสติปัญญาของปาเลสไตน์, แต่การดำเนินการไกล่เกลี่ยในสมัยของประธานาธิบดี Clinton ก็ยังคงให้การสนับสนุนอธิปไตยของอิสราเอลเหนือเยรูซาเล็มตะวันออกของอาหรับส่วนใหญ่อยู่ดี
และโดยไม่คำนึงถึงรายการอันยาวเหยียดเกี่ยวกับข้อตกลงหลักๆโดยบรรดาผู้เจรจาไกล่เกลี่ยปาเลสไตน์ การดำเนินการดังกล่าวได้มีการตำหนิและประณามฝ่ายปาเลสไตน์แต่เพียงฝ่ายเดียว สำหรับการที่ไม่ยอมยืดหยุ่น และพยายามกดดันให้พวกเขาให้ยินยอมอ่อนข้อมากยิ่งไปกว่าที่ควรจะเป็น
ผลลัพธ์ของทางเลือกนโยบายที่ขาดความสมดุลย์ของอเมริกันอันนี้ ปัจจุบันกำลังจบลงบนถนนของอิสราเอลและดินแดนในเขตปกครอง และชัดเจนที่ว่า เวลาได้มาถึงแล้วสำหรับประธานาธิบดีอเมริกันและที่ปรึกษาทางด้านนโยบายของท่านที่จะตระหนักถึงความรับผิดชอบที่พวกท่านจะต้องมีส่วนร่วมปันต่อเด็กอายุ 12 ปีที่ต้องตายในอ้อมแขนพ่อของเขา และเลือดที่กำลังไหลหลั่งของชาวปาเลสไตน์ที่มันนองอยู่ทั่วพื้นถนนในทุกวันนี้
ประธานาธิบดี Clinton ต้องกดดันอิสราเอล, ไม่ใช่ปาเลสไตน์, ให้ยอมอ่อนข้อมากกว่านี้เพื่อสันติภาพ ด้วยพลังอำนาจที่มากกว่าและใหญ่กว่าทั้งสองฝ่าย แน่นอน อิสราเอลมีห้องหับมากกว่าที่จะโน้มกายลง แต่สำหรับชาวปาเลสไตน์, ไม่ใช่อิสราเอล, หลังของพวกเขาตอนนี้ล่นไปพิงกำแพงแล้ว. ท่านสามารถที่จะคงความช่วยเหลือของสหรัฐต่อไปในยามฉุกเฉินต่ออิสราเอล และอิสราเอลจะต้องยอมเชื่อฟังกฎหมายระหว่างประเทศ และการแก้ไขปัญหาของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ. ถัดจากนั้นทั้งหมดจะต้องถูกนำมาที่โต๊ะเจรจา อิสราเอลจะต้องหวนกลับไปยังดินแดนในครอบครองที่ยึดมาได้ในปี 1967
เนื่องจากบทบาทหลักที่สำคัญที่สหรัฐอเมริกามี ในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับชีวิตและความตายสำหรับความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ด้วยเหตุดังนั้นบรรณาธิการและผู้สื่อข่าวอเมริกันจะต้องมีความรับผิดชอบเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการที่จะต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอถึงความยุติธรรม ตรงไปตรงมา เกี่ยวกับการรายงานข่าวของพวกเขา และพวกเขาจะต้องตรวจสอบข้อมูลที่นำเสนอต่อประชาชนอเมริกันในเชิงวิพากษ์ด้วย นอกจากนี้ พวกเขายังจะต้องตรวจสอบถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับอคติทางด้านเชื้อชาติของตัวพวกเขาเอง และเริ่มปฏิบัติต่อชาวปาเลสไตน์และชาวอาหรับอื่นๆในฐานะพลเมืองที่มีความเท่าเทียม สำหรับการดำรงชีวิตเทียบกันกับคุณค่าของการดำรงชีวิตของอิสราเอลเชื้อสายยิว
อิสราเอลทั้งหลายต้องตรวจสอบอคติทางด้านเชื้อชาติและความหยิ่งยโสของตัวพวกเขาเอง ในการใช้ความเหนือกว่าทางด้านการทหารเพื่อบีบคั้นให้มีการยอมอ่อนข้อมากขึ้น จากผู้คนซึ่งกำลังต่อสู้ดิ้นรนเพื่อรักษาพื้นที่เพียง 20% ของดินแดนซึ่งเคยเป็นของชาวปาเลสไตน์เอาไว้มาก่อนหน้านี้. พวกเขาจะต้องสำนึกว่า ในการใช้กำลังบังคับเพื่อให้มีการยินยอมในลักษณะที่เสื่อมเกียรติและศักดิ์ศรีต่อชาวปาเลสไตน์ พวกเขาเพียงบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความแค้นเคือง ความเกลียดชังและความรุนแรงขึ้นมาเท่านั้น
ที่สำคัญที่สุด อิสราเอลทั้งหลายต้องตระหนักว่า การสร้างความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ทางการเมือง และทางภูมิศาสตร์เหนือกว่ารัฐของชาวปาเลสไตน์ มันถูกเชื่อมโยงกับโอกาสหรือความหวังที่จะมีสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัยในอนาคตอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่การไร้ความสามารถหรือการไม่มีเจตจำนงที่เด่นชัดของอิสราเอลที่จะสำนึกหรือเข้าใจความจริงพื้นฐานอันนี้ อาจเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่เพียงประการเดียวต่อความยุติธรรมและสันติภาพที่ถาวรในอนาคต
ที่มาของข้อมูล http://www.zmag.org/cohenmideast.htm
ทำไมชาวปาเลสไตน์ระเบิดพลีชีพ?
Sunday, May 26, 2002 โดย MGR ONLINE
อิดริส ฮัมดัน ไม่แน่ใจจริงๆ หรอกว่า อะไรทำให้ลูกชายผู้เงียบขรึมที่ยังเรียนอยู่ในระดับมัธยมของเขา แอบเล็ดลอดเข้าไปในนิคมตั้งถิ่นฐานของชาวยิวแห่งหนึ่งที่เขตฝั่งตะวันตกแม่น้ำจอร์แดน(เวสต์แบงก์)ในคืนวันหนึ่ง และจบลงด้วยการที่ลูกของเขาเสียชีวิตระหว่างต่อสู้กับยามรักษาความปลอดภัยของนิคมแห่งนั้น
เอเอฟพี-อิดริส ฮัมดัน ไม่แน่ใจจริงๆ หรอกว่า อะไรทำให้ลูกชายผู้เงียบขรึมที่ยังเรียนอยู่ในระดับมัธยมของเขา แอบเล็ดลอดเข้าไปในนิคมตั้งถิ่นฐานของชาวยิวแห่งหนึ่งที่เขตฝั่งตะวันตกแม่น้ำจอร์แดน(เวสต์แบงก์)ในคืนวันหนึ่ง และจบลงด้วยการที่ลูกของเขาเสียชีวิตระหว่างต่อสู้กับยามรักษาความปลอดภัยของนิคมแห่งนั้น
อาลี ซึ่งมีอายุ 17 ปี ลอดผ่านรูโหว่ในแนวรั้วกั้นของนิคมเบอิต เอล ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองรามัลเลาะห์ อันเป็นเมืองใหญ่ของชาวปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม แล้วใช้มีดจ้วงแทงหัวหน้ายามที่หัวไหล่ ยามซึ่งได้รับบาดเจ็บผู้นั้นตอบโต้โดยยิงอาลีเสียชีวิต
เพื่อนๆ ร่วมโรงเรียนของอาลี ซึ่งพูดถึงเขาว่าเป็น "คนเงียบๆ และใจเย็น" ก็ไม่มีคำตอบเรื่องนี้ ทว่าผู้เป็นพ่อคิดว่า เขาน่าจะพอเดาได้
ฮัมดันพูดถึงเรื่องการตั้งด่านตรวจค้นตามท้องถนน ตลอดจนสิ่งอื่นๆ ที่เขาเรียกว่ามาตรการข่มเหงรังแกของอิสราเอล แล้วก็บอกว่า "ผมคิดว่าลูกชายผมก็เหมือนกับวัยรุ่นอีกเป็นร้อยๆ ที่มีชีวิตอยู่กับการข่มเหงรังแกของผู้ยึดครองอย่างต่อเนื่องตามทางที่จะไปโรงเรียน และนั่นก็คือเหตุผลว่าทำไมเขาจึงทำอย่างที่เขาได้ทำลงไป"
ไม่มีใครรู้ชัดเจนหรอกว่า อาลีมุ่งหมายที่จะสละชีวิตของตัวเองหรือเปล่า ในคืนที่ออกจากหมู่บ้านดูรอ อัล กอร์ ของเขาเป็นครั้งสุดท้าย ทว่ามีชาวปาเลสไตน์กว่า 50 คนแล้วที่เข้าโจมตีเป้าหมายต่างๆ ซึ่งเป็นของอิสราเอล ในลักษณะตั้งใจพลีชีพตัวเอง ตั้งแต่เริ่มมีการต่อสู้ลักษณะนี้ในช่วง 20 เดือนที่ผ่านมา
ประมาณเดือนครึ่งก่อนหน้านี้ ชาวปาเลสไตน์อีกคนหนึ่งเดินเข้าไปในร้านอาหารที่อยู่ในเมืองเนทันยา ทางตอนเหนือของอิสราเอล ร้านแห่งนี้คนกำลังแน่นขนัดเพราะครอบครัวชาวยิวพากันมาเฉลิมฉลองคืนแรกของเทศกาล"แพสโอเวอร์" (เทศกาลระลึกเหตุการณ์ที่โมเสสพาชาวยิวออกจากอียิปต์)
แล้วเขาก็เปิดฉากการโจมตีอันน่าสยดสยองที่สุดในรอบเวลาเกือบหนึ่งปี ด้วยการจุดระเบิดที่ผูกติดกับร่างกายของตัวเอง เป็นเหตุให้คร่าชีวิตคนอื่นๆ ไปด้วย 20 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 100 คน
อิสราเอลตอบโต้อย่างรวดเร็วและเหี้ยมเกรียม โดยส่งกองทหารรุกรานเข้าไปยึดครองเขตเวสต์แบงก์อยู่หลายวัน อันทำให้มีผู้เสียชีวิตกันทั้งสองฝ่ายหลายสิบคน ทั้งนี้ทางการยิวประกาศจุดมุ่งหมายว่า เพื่อถอนรากถอนโคน "โครงสร้างพื้นฐานของผู้ก่อการร้าย"
แต่ในขณะที่การปฏิบัติการพลีชีพมีจำนวนลดฮวบลง เพราะการบุกยึดเวสต์แบงก์ของอิสราเอลคราวนั้น ทว่ามันมิได้จบสิ้นลงเลย โดยยังคงเกิดขึ้นอีกหลายครั้งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
และรายซึ่งระเบิดพลีชีพตัวเองในเมืองริชอง เลต์ซิออง เมื่อคืนวันพุธ(22 พฤษภาคม 2545) มีอายุน้อยกว่าอาลี 1 ปีด้วยซ้ำ เด็กคนนั้นชื่อ อิสซา บีแดร์
"การคร่าชีวิตตัวเองเวลานี้กลายเป็นส่วนหนึ่งแห่งวัฒนธรรมของสังคมชาวปาเลสไตน์ไปแล้ว และสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็น่าจะก่อให้เกิดกรณีกามิกาเซ่เป็นจำนวนมากทีเดียว" นักมานุษยวิทยา ชาริฟ คอนานา ให้ความเห็น
"ชาวปาเลสไตน์เวลานี้คิดว่าเขาอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีทางชนะ" คอนานาพูดต่อ และอธิบายว่า เหตุผลก็เพราะนายกรัฐมนตรี อาเรียล ชารอน ของอิสราเอล กำลังเดินตาม "ยุทธศาสตร์ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากอุดมการณ์อันมีมานานแล้วของพวกไซออนนิสต์ (พวกลัทธิฟื้นชาติยิว) ... โดยประกอบด้วยการดำเนินปฏิบัติการเป็นปรปักษ์ต่อชาวปาเลสไตน์เพื่อเป็นการยั่วยุพวกเขา จากนั้นก็ลงโทษพวกเขาถ้าหากพวกเขามีปฏิกิริยาตอบโต้
"วัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์นี้ก็คือ เพื่อทำให้ชาวปาเลสไตน์แต่ละบุคคลและสังคมปาเลสไตน์คิดว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น พวกเขาก็ต้องเป็นผู้พ่ายแพ้" คอนานากล่าว นักมานุษยวิทยาผู้นี้เขียนหนังสือเกี่ยวกับสังคมปาเลสไตน์เอาไว้หลายเล่ม
"สภาพเช่นนี้กระตุ้นให้ชาวปาเลไสตน์ต้องการลงมือกระทำไม่ว่าด้วยวิธีไหนก็ตามเพื่อแก้แค้นให้พวกเขาเอง"
คอนานาปฏิเสธทฤษฎีที่ว่า คนซึ่งระเบิดพลีชีพ กระทำการดังกล่าวเนื่องจากถูกปลุกปั่นถูกล้างสมองในบางลักษณะ
เหมือนกับที่พ่อของอาลีพูดเอาไว้ นักมานุษยวิทยาผู้นี้กล่าวว่า "มันเป็นเพราะสภาพต่างๆ ในสังคมที่เกิดขึ้นจากบรรดามาตรการของผู้ยึดครอง ซึ่งสัมผัสกับชาวปาเลสไตน์แต่ละคนอยู่ทุกวี่วัน" นี่ต่างหากที่ผลักดันให้ผู้คนกระทำพฤติการณ์พลีชีพเช่นนั้น
ในสภาพดังกล่าว ซึ่งการว่างงานกลายเป็นกฎธรรมดาหาใช่ข้อยกเว้น ซึ่งความยากจนมีอยู่ทั่วไป และซึ่งเสรีภาพในการไปไหนมาไหนถูกควบคุมจำกัด การมีชีวิตอยู่แทบไม่ได้มีเสน่ห์ดึงดูดมากไปกว่าความตายเลย
ผู้คนจึง "พร้อมที่จะตายด้วยการสร้างความเลวร้ายให้เกิดขึ้นกับพวกซึ่งเป็นต้นตอ" ของความทุกข์ยากดังกล่าว เขาอธิบายต่อ
คอนานาบอกว่า ผลลัพธ์ก็คือ กลุ่มหัวรุนแรงชาวปาเลสไตน์กลุ่มต่างๆ "ไม่มีปัญหาเลยในการหากามิกาเซ่" เพราะมีคนมาอาสาจำนวนเพิ่มขึ้นทุกที โดยที่คนเหล่านี้อาจไม่ได้สังกัดกลุ่มอะไรสักอย่างด้วยซ้ำ
เขาชี้ด้วยว่า แม้กระทั่งคนที่มีชีวิตค่อนข้างสุขสบาย ก็กำลังยกมือขออาสากันแล้ว โดยเขาชี้ถึงกรณีหญิงสาวฐานะดีผู้หนึ่ง ซึ่งก่อเหตุระเบิดพลีชีพเพราะถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม จากการตั้งด่านตรวจปิดถนนของกองทัพอิสราเอล
คุณจะสามารถคาดหวังอะไรจากผู้คนซึ่ง "เจ็บปวดจากการถูกรังแกและถูกกดขี่อยู่ทุกวี่วัน" คอนานาถาม
"ในสถานการณ์ของชาวปาเลสไตน์แล้ว ความตายคือหนทางที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองคนอื่นๆ" คอนานาอธิบายต่อ พวกก่อเหตุระเบิดพลีชีพต้องการ "บอกต่อโลกถึงเหตุผลที่เขาสละชีวิต และบอกต่อชาวปาเลสไตน์ว่าเขาตายเพื่อพวกเขา"
กลุ่มนิยมยิวเร่งโจมตีกดดันสื่อ US
Monday, May 27, 2002 โดย MGR ONLINE
เผยบรรดากลุ่มนิยมอิสราเอลกำลังเปิดการรณรงค์กดดันอย่างเข้มข้น เพื่อส่งอิทธิพลต่อการเสนอข่าวตะวันออกกลางของสื่อมวลชนสหรัฐฯ โดยพวกเขาใช้ยุทธวิธีตั้งแต่การคว่ำบาตรไม่ซื้อไม่สนับสนุน จนถึงการระดมโทรศัพท์ , ส่งอีเมล์ , และส่งจดหมาย ไปยังวิทยุและหนังสือพิมพ์ระดับท็อปหลายๆ ฉบับ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้กล่าวหาว่าเห็นอกเห็นใจฝ่ายปาเลสไตน์
เอเอฟพี-เผยบรรดากลุ่มนิยมอิสราเอลกำลังเปิดการรณรงค์กดดันอย่างเข้มข้น เพื่อส่งอิทธิพลต่อการเสนอข่าวตะวันออกกลางของสื่อมวลชนสหรัฐฯ โดยพวกเขาใช้ยุทธวิธีตั้งแต่การคว่ำบาตรไม่ซื้อไม่สนับสนุน จนถึงการระดมโทรศัพท์ , ส่งอีเมล์ , และส่งจดหมาย ไปยังวิทยุและหนังสือพิมพ์ระดับท็อปหลายๆ ฉบับ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้กล่าวหาว่าเห็นอกเห็นใจฝ่ายปาเลสไตน์
การรณรงค์ลักษณะเฉพาะกิจเช่นนี้ เล็งเป้าหมายเข้าใส่ทั้งองค์การข่าวสารขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยระดมส่งอีเมล์ , ส่งจดหมาย , และโทรศัพท์ถึงบรรณาธิการ และออมบุดสแมน (ผู้ตรวจการณ์) ของหนังสือพิมพ์ , กิจการกระจายเสียง , และช่องข่าวเคเบิลทีวี ทั่วประเทศสหรัฐฯ
"ไม่มีใครเคยเห็นแรงกดดันหนักหน่วงขนาดนี้มาก่อนเลย" เจฟฟรีย์ ดวอร์คิน กล่าว เขาทำหน้าที่เป็นออมบุดสแมนให้แก่ เนชั่นแนล พับลิก เรดิโอ ซึ่งเป็นเครือข่ายสถานีวิทยุที่ครอบคลุมทั่วอเมริกา และมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงวอชิงตัน
"ในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา ผมได้รับอีเมล์ 14,000 ฉบับ โดย 9,000 ฉบับเป็นเรื่องตะวันออกกลาง" เขาบอก "อีเมล์ที่เข้ามาในเดือนที่แล้ว ท่วมท้นไปด้วยการกล่าวหาเราว่าลำเอียงเข้าข้างปาเลสไตน์"
การรณรงค์ดังกล่าวนี้ ว่ากันว่าเนื่องจากความวิตกที่ว่า การเสนอข่าวเกี่ยวกับตะวันออกกลางของสื่อต่างๆ โดยเฉพาะอันที่ทำท่าเห็นอกเห็นใจชาวปาเลสไตน์ อาจบั่นทอนความสนับสนุนที่สาธารณชนอเมริกันให้แก่อิสราเอล ตลอดจนส่งอิทธิพลต่อนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามีความเอนเอียงเข้าข้างอิสราเอลโดยตลอด
ดับเบิลยูบียูอาร์ สถานีวิทยุเพื่อสาธารณะซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองบอสตัน เป็นสถานีที่อยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากเอกชน , การอุปถัมภ์ของบริษัทต่างๆ , ตลอดจนเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นบางส่วน ปรากฏว่าดับเบิลยูบียูอาร์รายงานว่า ตั้งแต่การรณรงค์ของกลุ่มโปรอิสราเอลเริ่มต้นขึ้นมา ทางสถานีถูกบอกยกเลิกการให้เงินทุนรวมแล้ว 1 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นประมาณ 7% ของเงินสนับสนุนตลอดปี
ไม่เพียงเท่านั้น การรณรงค์คว่ำบาตรสื่อยังได้ลามเข้าไปเล่นงานหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯอย่าง นิวยอร์กไทมส์ , ลอสแองเจลิสไทมส์ , ซานฟรานซิสโกครอนิเคิล , และ ชิคาโกทรีบูน
ผู้บอกรับลอสแองเจลิสไทมส์ราว 1,000 ราย ได้หยุดรับเป็นเวลา 1 วัน เพื่อแสดงการประท้วงการเสนอข่าวตะวันออกกลางของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ขณะที่เจ้าหน้าที่ชิคาโกทรีบูนคนหนึ่งเปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมา มีผู้อ่าน 47 รายบอกเลิกรับหนังสือพิมพ์ของเขา โดยใช้เหตุผลเดียวกันนี้
การคว่ำบาตร วอชิงตันโพสต์ ก็กำหนดวางแผนจะทำกันในกลางเดือนมิถุนายนนี้ โดยตัวตั้งตัวตีเป็นกลุ่มซึ่งกล่าวหาหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ว่า "รายงานข่าวเข้าข้างจุดยืนของพวกก่อการร้าย"
ออมบุดสแมนของวอชิงตันโพสต์ ซึ่งคือ ไมเคิล เกตเลอร์ กล่าวปฏิเสธข้อกล่าวหาเรื่องลำเอียงนี้ เขาก็เหมือนกับคนอื่นๆ ซึ่งมีตำแหน่งเช่นนี้ในองค์การสื่อมวลชนของสหรัฐฯ นั่นคือ ทำหน้าที่ประเมินทบทวนความเที่ยงธรรมและความถูกต้องของการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ของเขา
"เป็นไปได้หรือที่จะมีองค์การข่าวใหญ่ๆ ของอเมริกันมากมายขนาดนี้ กำลังเสนอข่าวนี้กันอย่างผิดพลาดกันไปหมด เป็นไปได้หรือที่จะมีการสมรู้ร่วมคิดกันบางอย่างระหว่างสื่อระดับชาติในเรื่องนี้ ?" เขาตั้งคำถามเอาไว้ในคอลัมน์ซึ่งตีพิมพ์ในวอชิงตันโพสต์เมื่อต้นเดือนนี้
"แน่นอนทีเดียวว่าไม่ใช่เช่นนั้นเลย และองค์การข่าวต่างๆ ก็จะพากเพียรพยายามรายงานข่าวนี้ในลักษณาการอันเด็ดเดี่ยวและไม่กลัวการข่มขู่ เพื่อรายงานข่าวนี้ด้วยความถูกต้องที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้ก็เพื่อผู้อ่านทั้งมวล" เขาเขียนต่อ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สมเกียรติ ตั้งนโม :
แปลและเรียบเรียง (ความยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4)
Somkiat Tangnamo : Faculty of Finearts
Chiangmai University / The Midnight University
สำหรับผู้สนใจต้นฉบับ
คลิกไปอ่านได้ที่
http://www.zmag.org/cohenmideast.htm
US Policy,
anti-Arab Racism and Israeli Arrogance May Be Greatest Obstacles to Peace
OR What Americans need to Know - but probably won't be told - to Understand
Palestinian Rage
By Eduardo Cohen
นโยบายของสหรัฐอเมริกา, การต่อต้านเชื้อชาติอาหรับ และความหยิ่งยโสของอิสราเอลอาจเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่สุดต่อสันติภาพ หรือ สิ่งที่บรรดาคนอเมริกันต้องการรู้ - แต่เป็นไปได้ที่ไม่เคยได้รับการบอกเล่า - เพื่อเข้าใจความรุนแรงของปาเลสไตน์
เขียนโดย Eduardo Cohen