หากปราศเสียซึ่งกฎหมายห้ามหรือ
การลงโทษทางสังคมแล้ว เราจะมีคนไข้
IVF อายุ 63 ปี หรือแม่ผู้มีลูกครึ่งคนครึ่งลิงเอป หรือพ่อผู้ปฏิเสธไม่ยอมรับผิดชอบครอบครัวของตนอยู่ในสังคมอย่างแน่นอน
กฎหมายไม่ได้ถูกจารึกบนหิน มันเป็นเพียงเสาบอกทาง เป็นเครื่องมือที่เราใช้สร้างสิ่งกีดขวางที่สามารถแทรกซึมได้บ้างระหว่างคนรวย
แพทย์ผู้รักษาและเทคโนโลยีใหม่ที่เป็นไปได้แต่ยังมีปัญหาเชิงศิลธรรมกำกับอยู่
การสั่งห้ามเป็นเพียงสิ่งที่ใช้อุดช่องโหว่เพียงชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่เอกสารสั่งประหาร
การออกกฎหมายห้ามงานด้านพันธุวิศวกรรม โดยใช้อ้างเหตุผลจากการคาดการณ์แบบหลวมๆที่หล่นมาจากฟ้า - เช่นตัวอย่างเรื่องเด็กครึ่งคนครึ่งลิงของคุณ - เปรียบได้กับการห้ามใช้แลบทอปเพื่อปกป้องเราจากสมองชั้นยอดที่จินตนาการเรื่องนิยายวิทยาศาสตร์ เราควรจะชั่งน้ำหนักให้ดีระหว่างอันตรายที่เกิดขึ้นทันทีและความเป็นไปได้ โดยไม่พยายามที่จะทำตัวให้เหมือนกับหญิงแก่ผู้มีหน้าที่ควบคุมอนาคตอันไกลที่ยังมองไม่เห็น
การสำเนาพันธุ์มนุษย์
และเสรีภาพในการสืบสายพันธ์ - มุมมองของทนายความ
แปลโดย ผศ.สดชื่น วิบูลยเสข คณะวิทยาศาสตร์ มช.
รัฐสภากำลังพิจารณาร่างกฏหมาย "ฉุกเฉิน" เพื่อทำให้การใช้เทคโนโลยีสำเนาพันธุ์ในการมีบุตรเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย ฝ่ายตั้งป้อมค้านการออกกฏหมายดังกล่าวให้เหตุผลโดยการกล่าวอ้างถึงสิ่งที่เรียกว่า "คุณค่าของสามัญชนอเมริกัน" ก่อนที่เราจะทำให้เด็กที่เกิดมาจากการสำเนาพันธุ์เป็นเด็ก "ผิดกฏหมาย" สิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งคือ ผลักกระแสบ้าคลั่งที่ครอบงำสังคมอยู่ในปัจจุบันออกไปเสียก่อน และร่วมกันพิจารณาอย่างมีเหตุผลถึง "คุณค่าของสามัญชนคนอเมริกัน" สองประการที่เรากำลังมองข้ามไป กล่าวคือ สภาวะความเป็นแม่ และเสรีภาพในการสืบสายพันธุ์
ทำไมใครคนใดคนหนึ่งจึงต้องการถูกสำเนาพันธุ์?
คนอเมริกันไม่น้อยกว่า 15% ต้องทุกข์ทรมานจากการไม่สามารถมีบุตรได้ และอาการส่วนใหญ่ไม่อาจรักษาด้วยวิธีการทางแพทย์แผนปัจจุบัน
ตัวอย่างเช่นรายงานผู้บริโภค ของคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากแสดงว่า IVF และ เทคโนโลยีอื่นๆที่คล้ายคลึงกันใช้ได้กับคนไข้เพียง
25% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า มีคนอีกหลายล้านคนที่ไม่อาจมีลูกได้ และบ่อยครั้งมาจากสาเหตุว่าเขาเหล่านั้นไม่สามารถผลิตไข่หรือสเปิร์มได้แม้จะใช้ยากระตุ้น
แล้วก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ทางเลือกทางเดียวของคนเหล่านี้คือ รับอุปการะเด็กเป็นลูกบุญธรรม
หรือใช้ไข่หรือเสปิร์มที่คนแปลกหน้าบริจาคให้
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
อย่างไรก็ตาม ในโลกที่ได้รับพรจากการสำเนาพันธุ์ เราไม่ต้องการไข่หรือเสปิร์มที่ยังมีชีวิตเพื่อก่อเกิดชีวิตเด็กในครรภ์ - เซลล์ใดๆจากร่างกายก็ใช้ได้ทั้งสิ้น ดังนั้น การสำเนาพันธุ์จึงนำสิ่งที่คนอื่นๆถือเป็นเรื่องตายอยู่แล้ว - คือโอกาสที่จะมีลูก ทะนุถนอมเลี้ยงดูลูก และที่สำคัญยิ่งคือโอกาสที่จะได้รักลูกที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขมาจากสายพันธ์แท้ของตนเอง มามอบให้กับคู่สามีภรรยาที่มีปัญหาด้านการมีบุตรแต่เดิม
ในการทำสำเนาพันธุ์ พ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่จะเป็นผู้ให้ DNA ทำให้เด็กที่เกิดมาเป็นคู่แฝดพันธุกรรม อย่างแท้จริง อเมริกามีคู่แฝดเหมือนกันอยู่แล้วถึง 1.5 ล้านคู่ ซึ่งหาได้เหมือนกันทุกประการไม่ คู่แฝดเหล่านี้มีโครงสร้างสมองที่แตกต่างกัน มี IQ ต่างกัน มีลายนิ้วมือต่างกันและมีบุคคลิกภาพต่างกัน ฯลฯ
นอกจากนี้ เด็กสำเนาพันธุ์จะแตกต่างจากบิดามารดามากกว่าที่คู่แฝดเหมือนกันทุกประการต่างกัน ไข่จากผู้บริจาค(ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำสำเนาพันธุ์) จะมีส่วนในยีนส์ของเด็กประมาณ 5% เท่านั้น เด็กจะมีพัฒนาการในมดลูกที่ต่างออกไป(ซึ่งมีผลมากต่อการเติบโตของรก) และได้รับการเลี้ยงดูในครอบครัวใหม่ ทศวรรษใหม่ และโลกใหม่
กล่าวโดยย่อ เด็กที่ปฏิสนธิจากการสำเนาพันธุ์ มิได้เป็น "สำเนาถ่ายเอกสาร" ของผู้ใด พวกเขาเป็นเด็กซึ่งจะเจริญเติบโตขึ้นเป็นปัจเจกหนึ่งเดียว นี่คือสิ่งที่ทำให้การสำเนาพันธุ์มีค่าจูงใจคนอเมริกันหลายล้านคน ซึ่งมิฉะนั้นย่อมหมดโอกาสที่จะมีบุตรจากสายพันธ์ของตนเองได้ สำหรับคนผู้น่าสงสารเหล่านี้ การสำเนาพันธุ์หมายถึงสภาวะการเป็นแม่คนนั่นเอง
การสำเนาพันธุ์ และรัฐธรรมนูญ
ศาลสูงสหรัฐอเมริกาบัญญัติว่า คนอเมริกันทุกคน ทรงไว้ซึ่งสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งประเทศที่จะ
"มีหรือเสาะหามาซึ่ง" บุตรผู้สืบสกุล และตัดสินใจได้เองโดยปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล
บัญญัตินี้หมายรวมถึงสิทธิของคู่สามีภรรยาซึ่งไม่สามารถมีบุตรได้ที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ซับซ้อนละเอียดอ่อนเช่น
IVF ดังที่ศาลแห่งหนึ่งให้คำอธิบายไว้ "ภายในกลุ่มของทางเลือกที่ได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญซึ่งรวมสิทธิที่จะเข้าถึงวิธีการคุมกำเนิดไว้ด้วยนั้น
ต้องมีสิทธิที่จะใช้วิธีการทางการแพทย์ซึ่งทำให้ตั้งครรภ์ได้ด้วย แทนที่จะป้องกันการตั้งครรภ์อย่างเดียวเท่านั้น"
สำหรับคนอเมริกันจำนวนมาก เทคโนโลยีการสำเนาพันธุ์ที่ได้รับการศึกษาค้นคว้าจนสมบูรณ์แล้วเป็นทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้พวกเขาได้ใช้สิทธิในการสืบสายพันธุ์ สิ่งที่เขามองเห็นคือการออกกฏหมายห้ามใช้เทคโนโลยีสำเนาพันธุ์นั้นเทียบได้กับการบังคับให้ทำหมัน ศาลสูงใช้อำนาจศาลยกเลิกกฏหมายทำหมันกับอาชญากรที่ต้องโทษ โดยพิจารณาว่า "กฏหมายนี้ขัดกับหนึ่งในสิทธิพื้นฐานของความเป็นคน" แน่นอน อย่างน้อยที่สุดพลเมืองพิการ(ศาลบางแห่งกำหนดให้คนที่ไม่สามารถมีบุตรได้เป็นคนพิการ) ก็ควรมีสิทธิที่จะมีบุตรเท่าเทียมกับนักโทษคดีข่มขืนและใช้เด็กเพื่อสนองความต้องการทางเพศ
มีขีดจำกัดในการที่รัฐบาลจะควบคุมการเกิดด้วยเช่นกัน คณะลูกขุนไม่สามารถพิพากษาหรือออกคำสั่งได้ว่าเด็กคนใดคนหนึ่งไม่เป็นที่ปรารถนาหรือไม่สมบูรณ์พอที่จะเกิด นั่นเป็นกฏหมายคัดสายพันธ์ที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ นักการเมืองกำลังแสดงบทบาทพระผู้เป็นเจ้าอยู่
สรุปความคือระบบกฏหมายที่ยินยอมให้คนอเมริกันที่สุขภาพดีมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการทำแท้ง แต่กีดกันคนสุขภาพไม่สมบูรณ์จากความรื่นรมย์ที่จะได้จากการมีบุตร อาจจะดูดีในความคิดของนักการเมืองจำนวนมาก แต่ไม่มีวันที่กฏหมายนี้จะเดินทางไปถึงสภานิติบัญญัติได้สำเร็จ แม้ในครั้งแรก
ปลอดภัยไว้ก่อน- หรือเพียงข้ออ้าง?
เมื่อรัฐบาลพยายามจะทำให้การใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ - เช่นการมีบุตร - เป็นเรื่องผิดกฏหมาย
รัฐบาลก็มีภาระที่จะต้องพิสูจน์ต่อประชาชนว่ากฏหมายเป็นสิ่ง "จำเป็น" เพื่อ "ประโยชน์สูงสุดต่อรัฐ"
ตาม "วิถีที่จำกัดน้อยที่สุด" เท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้ารัฐบาลล้มเหลวในภาระกิจนี้
ศาลสูงต้องพิพากษาให้กฏหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ความกังวลที่มีพื้นฐานจากปรัชญาความคิด หรือศาสนา หรือการคาดการณ์ ไม่มีน้ำหนักทางกฏหมายหรือมีน้อยมาก ผู้ไม่เห็นด้วยกับการสำเนาพันธุ์จึงเหลือข้อโต้แย้งที่อ่อนเปียกเพียงหนึ่งข้อเท่านั้น - คืออย่างน้อยที่สุด ในสถานะเริ่มแรกเช่นนี้ เทคโนโลยีสำเนาพันธุ์ยังไม่ปลอดภัยพอ
แต่การแย้งเรื่อง "ความปลอดภัย" เป็นเพียงข้ออ้าง - เป็นคำแก้ตัวที่ใช้เพื่อทำให้บางสิ่งบางอย่างที่นักการเมืองไม่สบอารมณ์ จะด้วยเหตุผลใดก็ตามกลายเป็นเรื่องผิดกฏหมาย เมื่อพิจารณาร่างกฏหมายที่นักการเมืองเหล่านี้เสนอต่อสภา จะเห็นว่าไม่มีที่ใดเลยที่บอกถึงวิธีการที่ใช้ตัดสินว่า เมื่อใดเทคโนโลยีการสำเนาพันธุ์จึงจะ "ปลอดภัย" หรือเมื่อใดจึงจะยกเลิกกฎหมายห้ามหลังจากที่รู้ว่าเทคโนโลยีนี้ปลอดภัยแล้ว
นอกจากนี้กฏหมายห้ามที่ได้รับการเสนอนี้ยังขัดขวางกีดกันการทำวิจัยและการทดลองเชิงคลินิกกับคนซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อทำให้การสำเนาพันธุ์นี้ปลอดภัย
ลองเปรียบเทียบสิ่งที่กล่าวมานี้กับวิธีการรักษาของการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งยังอยู่ในขั้นทดลองกับสัตว์และยังไม่พร้อมที่จะใช้กับมนุษย์อย่างปลอดภัย แต่ไม่เคยมีใครเสนอให้ห้ามการทดลองเหล่านี้ หรือออกข่าวเชิงตระหนก เพื่อข่มขวัญนักวิจัย ให้เลิกค้นหาวิธีที่จะทำให้เทคโนโลยีการสำเนาพันธุ์มีความปลอดภัย น้อยครั้งมากในประวัติศาสตร์ ที่ความก้าวหน้าทางการแพทย์จะเป็นสิ่งถูกกฏหมาย ถ้านักวิจัยต้องพิสูจน์ถึงความปลอดภัยของเทคโนโลยี ตั้งแต่ก้าวแรกที่เริ่มทดลองกับสัตว์
นอกจากนั้น ข้อโต้แย้งเรื่อง "ความปลอดภัย" ยังเพิกเฉยต่อประเด็นว่า ใครจะเป็นผู้ตัดสินว่าอัตราเสี่ยงเท่าใด จึงจะถือว่ายอมรับได้สำหรับแม่และเด็ก ในอเมริกาผู้ที่ตัดสินใจคือผู้ที่เป็นพ่อและแม่ ไม่ใช่รัฐบาล หรือแม้แต่ในกรณีที่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตราย แน่นอนกว่าและร้ายแรงกว่าอันตรายที่มาจากการสำเนาพันธุ์
ตัวอย่างเช่น IVF และยาที่ทำให้มีบุตรได้ เป็นยาที่ถูกกฏหมาย แม้ว่ายาเหล่านี้จะทำให้มีอัตราเสี่ยงของการแท้ง หรือมีความไม่สมประกอบขณะคลอดสูงขึ้น แม้แต่คนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือทางจิต มารดาที่อายุมากและเสี่ยงต่อการที่ลูกที่เกิดมาจะเป็นโรค Down Syndrome และแม้แต่แม่ที่มีเชื้อเอดส์ ทั้งหมดนี้ได้รับอนุญาตให้มีบุตรสืบสายพันธุ์ได้ ทั้งแบบธรรมชาติและแบบ IVF แม้ว่าจะเสี่ยงต่อการที่ลูกที่เกิดมาจะพิการหรือป่วยอย่างร้ายแรง และถึงแม้รัฐต่างๆหลายรัฐจะมีกฏหมายการสืบสายพันธุ์ ซึ่งกำหนดให้มีการทำหมันคนปัญญาอ่อน (เพื่อป้องกันไม่ให้มีเด็กปัญญาอ่อนเพิ่มขึ้น) แต่กฏหมายดังกล่าวได้ถูกล้มล้างและยกเลิกไปนานแล้ว
คำถามที่แท้จริง
นักปรัชญาอาจคาดการณ์เกี่ยวกับนัยที่แอบแฝงของการสำเนาพันธุ์ แต่มีคำถามเพียงข้อเดียวเท่านั้นสำหรับนักการเมือง:
ใครควรเป็นผู้ตัดสินว่าคนคนหนึ่งควรมีลูกหรือไม่และด้วยวิธีใด? ตัวเขาเอง หรือรัฐบาล?
อันที่จริง คำถามนี้เป็นคำถามลวง รัฐธรรมนูญยินยอมให้มีคำตอบได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น!
บทความโดย Mark D. Elbert : ทนายความผู้มีสำนักงานทางกฏหมายอยู่ที่เมือง San Mateo, มลรัฐคาลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา / แปลและเรียบเรียงจาก: Section 6, The Cloning Newsletter: May 2001
http://www.reproductivecloning.net/updates.htm
สำเนาพันธุ์มนุษย์(cloning) - ใกล้เพียงมือคว้า
ท่านเป็นคนหนึ่งใช่ไหมที่คิดว่าเรื่องการสำเนาพันธุ์มนุษย์เป็นเรื่องไกลตัว และยังไม่เกิดขึ้นแน่ อย่างน้อยก็ในช่วงอายุเรา(คนหนุ่มน้อย สาวน้อย) แต่ ..รู้ไหมว่า ..
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2545 บริษัท Stem Cell Sciences ในออสเตรเลีย เปิดแถลงข่าวว่า พร้อมแล้วที่จะสำเนาพันธุ์ตัวอ่อนของคน เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิต stem cells สำหรับงานวิจัย และคาดว่าคงจะเริ่มงานได้ปลายปีนี้ เหตุผลที่ยังไม่ทำตอนนี้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการ แต่เกี่ยวกับการจดลิขสิทธิ์เทคโนโลยีซึ่งจะลงตัวเรียบร้อยประมาณกลางปี ค.ศ.2545 (stem cells : เซลล์ที่มีความสามารถที่จะแบ่งตัวได้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเกิดเป็นเซลล์พิเศษ)
คำแถลงของบริษัท Stem Cell Sciences อ้างอิงถึงความสำเร็จของนักวิจัยสตรีชาวจีน ซึ่งได้โคลนตัวอ่อนคนทำเป็น stem cells ได้แล้ว โดยใช้เทคนิกสำเนาพันธุ์เชิงอายุรเวท (therapeutic cloning - การสำเนาพันธุ์เชิงอายุรเวท: การสำเนาพันธุ์โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการรักษาบำบัดทางการแพทย์) ที่ร่วมพัฒนาโดยนักวิจัยจาก Melbourne เมื่อสองปีก่อน แน่นอน เงินสนับสนุนการวิจัยย่อมมาจากบริษัท Stem Cells Sciences งานของนักวิจัยกลุ่มนี้บ่งชี้ว่า นอกจากใช้ได้ดีกับคนแล้ว ยังสามารถใช้เทคนิคนี้กับสัตว์เพื่อจัดหาเนื้อเยื่อที่ไปกันได้กับการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อใหม่อีกด้วย
"เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่ง ที่การค้นพบซึ่งเกิดขึ้นในประเทศออสเตรเลีย(ในหนู) ดูเหมือนจะใช้ได้กับระบบของคนด้วย" Dr. Peter Mountford ประธานกรรมการบริหารของบริษัท Stem Cell Sciences กล่าวในตอนหนึ่งของการให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2545
"ทีมวิจัยชาวจีนใช้เทคนิคซึ่งบริษัท Stem Cell Sciences มีลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียว" Dr. Mountford กล่าวในตอนหนึ่งของคำแถลงว่า "ความสำเร็จของงานวิจัยนี้เป็น "ก้าวย่างที่สำคัญของมนุษยชาติ" Dr. Mountford กล่าวต่อไปอีกว่า นักวิจัยควรได้รับอนุญาตให้ใช้ไข่ตัวอ่อนของสัตว์ เช่นเดียวกับไข่ของคน ดังที่ทีมวิจัยของจีนอีกทีมหนึ่งได้ทำไว้แล้ว เพื่อป้องกันการขาดแคลนไข่ตัวอ่อนของคน
ในงานวิจัยของ Melbourne stem cells ทั้งหมดของมนุษย์ได้มาจากตัวอ่อนส่วนเกินของ IVF (in vitro fertilization : เทคนิกสำหรับการปฏิสนธิของตัวอ่อนมนุษย์นอกร่างกายของแม่ ไข่จากรังไข่ถูกนำมาไว้ในจานเฉพาะ(Petri dishes)สำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ แล้วปล่อยเสปิร์มจากพ่อลงไป ถ้าการปฏิสนธิสำเร็จ ไข่ที่ผสมแล้วและเกิดการแบ่งเซลล์หลายครั้งแล้วนี้ จะถูกถ่ายโอนกลับเข้าไปในร่างกายของมารดาหรือของ "แม่รับฝาก" เพี่อให้เจริญเติบโตตามปกติในมดลูก หรือมิฉะนั้น ก็อาจนำไข่ที่ผสมแล้วนี้ไปแช่แข็งไว้เพื่อปลูกถ่ายต่อไปภายหลัง หรือในทำนองเดียวกัน อาจแช่แข็งไข่ที่ยังไม่ผสมเก็บไว้เพื่อการผสมและปฏิสนธิภายหลังก็ได้เช่นกัน) นักวิจัยคาดว่า stem cells ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อชนิดใดก็ได้ในร่างกาย จะเปิดประตูสู่การรักษาแบบใหม่สำหรับโรคเบาหวาน(diabetes) โรคสมองเสื่อม (Alzheimer's) และโรคประสาทสมอง(motor neurone disease)
ทีมวิจัยของจีนซึ่งนำโดย Lu Gangxiu แห่งวิทยาลัยแพทยศาสตร์ Xiangya ไม่ได้เผยแพร่ผลงานวิจัยของกลุ่มในวารสารวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ Lu ผู้เป็นเจ้าของคลินิก IVF บอกกับหนังสือพิมพ์ Wall Street ว่า ตัวอ่อนสำเนาพันธุ์เพียง 5% เท่านั้น ที่รอดชีวิตไปสู่สถานะที่สามารถใช้สร้าง stem cells ได้ (สถิติเดิมเมื่อใช้เทคนิกอื่น 2.1%)
หลายรัฐในประเทศออสเตรเลียไม่มีกฏหมายห้ามการสำเนาพันธุ์เชิงอายุรเวท แต่รัฐบาลกลางเสนอให้พักการวิจัยสำเนาพันธุ์ไว้ก่อนเป็นเวลา 3 ปี
Dr. Mountford กล่าวว่า เมื่อบริษัทของเขาได้จดลิขสิทธิ์เทคโนโลยีนี้จากมหาวิทยาลัย Melbourne และมหาวิทยาลัย Monash แล้วเช่นนี้ ก็สมควรจะทำวิจัยในประเทศออสเตรเลีย แต่การทำเช่นนั้นคงจะไม่เหมาะสมนัก ขณะที่รัฐบาลยังคงอยู่ในขั้นตอนของการร่างกฏและระเบียบข้อบังคับอยู่ ดังนั้นบริษัทจึงเปลี่ยนสถานที่ทำวิจัยเป็นประเทศอังกฤษ ซึ่งยินยอมให้มีการวิจัยสำเนาพันธุ์เชิงอายุรเวทได้ โดยจะเริ่มงานราวปลายปีนี้
ขณะเดียวกัน Greg Pike แห่งสถาบันจริยธรรมชีวภาพ Southern Cross ใน Adelaide แสดงความเห็นว่า การสร้างตัวอ่อนสำเนาพันธุ์มนุษย์ขึ้นมา เพื่อไปถูก "ฆ่าทำลาย" ในงานวิจัยนั้น เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น "ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนในฐานะมนุษย์คนหนึ่งจะต้องอธิบายความหมายของการกระทำเช่นนี้สำหรับระบบคุณค่าของมนุษยชาติ"
ที่มา: ข่าว AP 08/03/2002
ทัศนะส่วนตัว
: สดชื่น วิบูลยเสข
หลักการ "ระวังภัย" ของวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เมื่อใดก็ตามที่เกิดความไม่แน่นอนเชิงวิทยาศาสตร์ และท่านสงสัยว่าจะเกิดอันตรายขึ้น จงถอยหลังกลับไปหนึ่งก้าว หยุดพิจารณาและปฎิบัติทุกอย่างด้วยความระมัดระวัง
คนกลุ่มหนึ่งผลักดันให้รีบเร่งดำเนินเทคโนโลยีสำเนาพันธุ์มนุษย์เพราะต้องการมีบุตร เทคโนโลยีถูกขับดันด้วยตลาดความต้องการ นักวิทยาศาสตร์ย่อมรู้ดีว่าไม่ควรใช้เทคโนโลยีจนกว่าจะมั่นใจว่าปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ การมั่นใจมาจากผลการทดลองกับสัตว์
คราวนี้มาถึงทางสองแพร่ง, แพร่งที่หนึ่ง ควรไหมที่มนุษย์จะไฝ่หาความเจริญ ความสุข ความอยู่รอดของตนเองโดยการเอาประโยชน์จากสัตว์ เพราะสัตว์ขัดขืนไม่ได้? สัตว์มีสิทธิที่จะไม่เป็นเครื่องทดลองให้มนุษย์ไหม? องค์กรพิทักษ์สิทธิของสัตว์แห่งโลกคงจะให้คำตอบเอง
ถ้าถามดิฉัน ดิฉันว่าไม่ควร คำตอบชัดอยู่ในตัวเองแล้ว เมื่อแม้แต่กับสัตว์ยังไม่ควร แล้วกับตัวอ่อนของคน จะควรหรือไม่?
แพร่งที่สอง แพทย์ทั่วโลกยินดีจะรอจนกว่าจะมีหลักฐานยืนยันว่าเทคโนโลยีโคลนนิงปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในสัตว์ก่อนไหม?
ตัวอย่างมีให้เห็นอยู่แล้วจากเรื่องของ เทคโนโลยี ICSI เมื่อไม่เกินสิบปีมานี้. ICSI เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อเอาชนะสภาพการไม่สามารถมีบุตรได้(infertility) แพทย์ใช้เทคโนโลยีนี้กับคนไข้ที่ต้องการมีบุตรอย่างผลีผลามโดยไม่รอการพิสูจน์ว่า จะทำให้เกิดความไม่สมประกอบในการคลอด การคลอดก่อนกำหนด หรือผลเสียอื่นๆหรือไม่ ผลคือความสูญเสียที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำเนาพันธุ์คือการดึงเอา genetic material จากเซลล์ที่เจริญแล้วมาใส่ในไข่ที่ได้เอา genetic material เดิมออกแล้ว ภายใต้เงื่อนไขที่พอเหมาะ ไข่จะพัฒนาเป็นตัวอ่อนแล้วแบ่งตัวเป็นเซลล์หลายเซลล์ ซึ่งเมื่อใส่กลับเข้าไปในมดลูกก็จะพัฒนาเป็นตัวอ่อนในครรภ์ และเป็นเด็กในที่สุด เด็กสำเนาพันธุ์ก็จะสัมพันธ์กับพ่อหรือแม่คนเดียวแทนที่จะเป็นทั้งสองคน เมื่อแม่เลือกวิธีนี้สำหรับมีลูก อาจกล่าวได้ว่าลูกเป็นน้องสาวพันธุกรรมของแม่ แต่สังคมไม่พูดอย่างนั้น เช่นเดียวกับที่ถ้าพ่อของเรามีฝาแฝด ที่เหมือนกันทุกประการ อาหรือลุงของเราก็เป็นพ่อทางพันธุกรรมของเราด้วย แต่แน่นอน สังคมไม่ได้ใช้คำเรียกอย่างนั้น
หลายคนวิตกว่าเมื่อมีการสำเนาพันธุ์มนุษย์ จะมีพวกหลงตัวเองที่ต้องการจะโคลนตัวเองไว้ให้เป็นอมตะนิรันดร์กาล แต่ความจริงคือ การสำเนาพันธุ์ไม่ได้วิเศษขนาดนั้น สิ่งที่ได้คือเด็กที่หน้าตาเหมือนเขาแต่อาจจะไม่เชื่อฟังเขาเลยก็ได้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่พ่อแม่สำเนาพันธุ์จะได้คือลูก ก็เท่านั้นเอง พ่อแม่สำเนาพันธุ์ไม่สามารถควบคุมบงการชีวิตลูกสำเนาพันธุ์ของเขาได้ หน้าที่ประการแรกของนักวิทยาศาสตร์คือต้องส่งข้อสนเทศนี้แก่สังคมให้ชัดเจนและแพร่หลายที่สุด
ดังนั้น ใครที่คิดจะสำเนาพันธุ์ อ.นิธิ , คุณอาจจะได้เด็กที่หน้าตาเหมือน อ.นิธิ แต่ แม่ งทำร้ายสังคมชิบหา .ยเลยก็ได้(นี่พูดสำนวนสำเนาพันธุ์ อ.นิธิมานะคะ) ส่วนคนที่อยากสำเนาพันธุ์ Madonna (ถ้า Madonna เห็นแก่เงิน 70 เหรียญสหรัฐ ยอมบริจาคไข่พันธ์) คุณอาจจะได้เด็กที่เหมือนเธอทางพันธุกรรมทุกประการ แต่ไม่มีทางที่เด็กคนนั้นจะได้ขึ้นติดอันดับ pop chart เพราะว่า Madonna เป็นอะไรที่มากกว่ายีนส์ของเธอ เธอฝึกซ้อมเต้นหนักมากมาก ยีนส์เป็นเพียงโครงกรอบและศักยภาพ แต่เอกลักษณ์มีส่วนอื่นประกอบด้วย
สิ่งที่น่าเกรงเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้มีหลายประการ แต่ที่น่ากลัวมากที่สุดอย่างหนึ่งคือ พ่อแม่ย่อมอยากให้ความได้เปรียบ หรือประโยชน์แก่ลูก ในสังคมที่พื้นฐานจิตใจของคนมองทุกอย่างเป็นการซื้อขาย เรายอมรับว่าพ่อแม่ที่มีเงินย่อมซื้อความได้เปรียบให้ลูกได้มากกว่าพ่อแม่ที่ไม่มีเงิน เพราะฉะนั้น เรื่องแบบนี้ก็จะเกิดในการสำเนาพันธุ์ด้วย และแน่นอน มียีนส์ที่ได้เปรียบหรือดีกว่ายีนส์อื่น เช่นความได้เปรียบที่ทำให้อายุยืน ลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง การวิกลจริต เป็นต้น เด็กสำเนาพันธุ์ที่มาจากพ่อแม่มีเงินก็จะได้รับประโยชน์นี้ และเด็กสำเนาพันธุ์ที่พ่อแม่ไม่สามารถ"ซื้อ" ได้ก็จะเสียเปรียบ นั่นคือช่องว่างในสังคมระหว่าง กลุ่ม "มี" และ "ไม่มี" ก็จะกว้างยิ่งขึ้น
อีกเรื่องหนึ่งที่น่าเกรงพอๆกันคือ ความผูกพันระหว่างพ่อแม่กับเด็กสำเนาพันธุ์ พ่อแม่บางคนอาจทุ่มเงินซื้อหรือเพิ่มศักยภาพยีนส์ให้ลูกสำเนาพันธุ์ เพราะคิดว่าลูกจะมีปรีชาญาณ ฉลาดเฉลียว มีความจำดีกว่า ซึ่งก็มีโอกาสเป็นไปได้ ถ้าเราเข้าใจมากพอว่ายีนส์มีผลต่อความฉลาดอย่างไร แต่เราไม่ทราบ เพราะฉะนั้น เงินที่พ่อแม่จ่ายไปเพื่อการนี้ จึงเป็นเพียงไปเพิ่มโอกาสที่จะฉลาดเท่านั้น ไม่มีใครรับรองได้ ถ้าพ่อแม่ตั้งความหวังไว้สูง และไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ความรู้สึกของพ่อแม่ต่อลูกที่ไม่แสดงความเด่นของยีนส์ออกมาจะเป็นเช่นไร จะควบคุมความผิดหวังไม่ให้แสดงออกเป็นผลร้ายต่อลูกได้หรือไม่
นี่คือผลต่อเนื่องจากการสำเนาพันธุ์ ซึ่งทุกคนตั้งแต่นักวิทยาศาสตร์ในห้องทดลอง จนถึงแพทย์ในคลินิก โรงพยาบาล พ่อแม่ที่ตัดสินใจจะมีบุตรสำเนาพันธุ์ ตลอดจนสังคมต้องช่วยกันคิด เพราะ สำเนาพันธุ์มนุษย์นั้น---ใกล้เพียงมือคว้า
คลิกไปหน้าบทความที่เกี่ยวเนื่องกัน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด หรือ Ctrl + A
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V จะได้ข้อมูลมา ซึ่งยอหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ(บทความนี้ยาวประมาณ 7 หน้ากระดาษ A4)