มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
(midnightuniv(at)yahoo.com)
ความคิดประเภทชวนหาเรื่องของเขานี้ มีที่มาส่วนใหญ่จากบทความในปี 1990 ของอดีตทหารผ่านศึกผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกศึกษาชื่อ เบอร์นาร์ด ลูว์อิส (Bernard Lewis) ซึ่งระบายสีทางอุดมการณ์ไว้เด่นชัดในชื่อบทความว่า "The Roots of Muslim Rage" ในบทความทั้งสองชิ้นนี้ มีการสร้างบุคลาธิษฐาน (personification) ของสิ่งใหญ่โตมโหฬารที่เรียกว่า "ตะวันตก" และ "อิสลาม" อย่างไม่ยั้งคิด ราวกับเรื่องที่ซับซ้อนอย่างอัตลักษณ์และวัฒนธรรมดำรงอยู่ในโลกการ์ตูน โลกที่ป๊อบอายกับบลูโตฟาดหัวกันไม่ยั้งมือ และพ่อนักมวยฝ่ายธรรมะย่อมเอาชนะปรปักษ์ได้เสมอ
เห็นได้ชัดว่าทั้งฮันติงตันและลูว์อิสต่างก็ไม่ให้เวลามากพอที่จะสนใจพลวัตภายในและความหลากหลายของแต่ละอารยธรรม หรือสนใจข้อเท็จจริงที่ว่า ข้อถกเถียงใหญ่ ๆ ในวัฒนธรรมสมัยใหม่ส่วนมากอยู่ที่ประเด็นการนิยามหรือตีความแต่ละวัฒนธรรม หรือแนวโน้มที่ไม่น่านิยมนักก็คือ ในการพูดเหมารวมถึงศาสนาหรืออารยธรรมใด ๆ ก็ตาม มันต้องอาศัยการปลุกปั่นและอวิชชาอย่างบัดซบอยู่มากทีเดียวถึงจะทำได้ เปล่าเลย ตะวันตกก็คือตะวันตก อิสลามก็คืออิสลาม
ฮันติงตันเขียนไว้ว่า สิ่งที่ท้าทายนักวางนโยบายของตะวันตกก็คือ ทำอย่างไรตะวันตกจะเข้มแข็งกว่าและปกป้องตัวเองจากอารยธรรมอื่น ๆ โดยเฉพาะอารยธรรมอิสลาม สิ่งที่น่ารำคาญยิ่งกว่าก็คือ การที่ฮันติงตันทึกทักเอาเองว่า ทัศนะของเขาซึ่งเป็นการสำรวจโลกทั้งใบจากคอนเกาะที่อยู่เหนือความยึดมั่นถือมั่นและฝักใฝ่ฝ่ายใดที่ซ่อนเร้นอยู่ เป็นทัศนะที่ถูกต้องเพียงหนึ่งเดียว ราวกับคนอื่น ๆ กำลังวิ่งวุ่นหาคำตอบที่เขาค้นพบแล้ว
แท้ที่จริง ฮันติงตันเป็นนักอุดมการณ์ เขาคือคนที่ต้องการปั้นแต่งให้ "อารยธรรม" และ "อัตลักษณ์" กลายเป็นอะไรบางอย่างที่มันไม่ได้เป็นจริง ๆ นั่นคือกลายเป็นสิ่งที่ปิดตาย ผนึกตรา ตัดขาดจากกระแสหลัก กระแสทวนหลากหลายมิติที่ให้ชีวิตแก่ประวัติศาสตร์มนุษย์
ตลอดเวลาหลายศตวรรษที่ผ่านมา ประวัติศาสตร์มิได้มีเพียงสงครามศาสนาและการรุกรานของจักรวรรดินิยม แต่ยังมีการแลกเปลี่ยน การผสมผสานข้ามวัฒนธรรมและการแบ่งปันซึ่งกันและกัน ประวัติศาสตร์ด้านที่ไม่ค่อยมีใครมองเห็นนี้ถูกละเลยไปด้วยความมักง่าย บีบคั้นย่อส่วนทุกสิ่งทุกอย่างจนเลอะเทอะ เพียงเพื่อชูสงครามขึ้นมาเป็นจุดเด่น แล้วอ้างว่า "สงครามระหว่างอารยธรรม" คือความเป็นจริง
เมื่อฮันติงตันตีพิมพ์หนังสือภายใต้ชื่อเดียวกันออกมาในปี 1996 ฮันติงตันพยายามปั้นให้ข้ออ้างเหตุผลของตนละเอียดซับซ้อนกว่าเดิมเล็กน้อยและใส่เชิงอรรถเข้าไปเยอะแยะมากมาย แต่เขาทำได้อย่างเดียวคือ ทำให้ตัวเองสับสนและประจานให้เห็นว่า เขาเป็นนักเขียนที่งุ่มง่ามและเป็นนักคิดที่ตื้นเขินขนาดไหน
กระบวนทัศน์พื้นฐานที่เชื่อว่า ตะวันตกกำลังเผชิญหน้ากับส่วนที่เหลือของโลก (ซึ่งก็คือการเอาคู่ปรปักษ์ในยุคสงครามเย็นมาปรับแต่งเสียใหม่) กระบวนทัศน์นี้ยังอยู่และยังฝังแน่นอย่างร้ายกาจแยบยลในการวิวาทะนับตั้งแต่เหตุสยองเมื่อวันที่ 11 กันยายน การฆ่าตัวตายพร้อมกับสังหารหมู่อย่างเลือดเย็น ซึ่งวางแผนมาอย่างดีและน่าจะเกิดจากแรงผลักดันทางจิตเภทของกลุ่มผู้ก่อการร้ายบ้าคลั่งกลุ่มเล็ก ๆ กลายเป็นข้อพิสูจน์ยืนยันทฤษฎีของฮันติงตันไป แทนที่จะมองเหตุการณ์นี้อย่างที่มันเป็น -คือพวกหัวรุนแรงกลุ่มเล็ก ๆ จับเอาอุดมการณ์ใหญ่โต (ผมใช้คำนี้อย่างหลวม ๆ ) มาใช้เพื่อเป้าหมายของการก่อการร้าย- แต่บรรดาคนใหญ่คนโตระดับนานาชาติ ตั้งแต่อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถานเบนาซีร์ ภุตโต ไปจนถึงซิลวิโอ แบร์ลุสโกนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ดันออกมาพูดเองเออเองเกี่ยวกับปัญหาของอิสลาม
มิหนำซ้ำในรายของนายกฯอิตาลี ยังไปคว้าเอาแนวความคิดของฮันติงตันขึ้นมาเพื่อพล่ามถึงความเหนือกว่าของตะวันตก โดยเขากล่าวว่า "เรา" มีโมสาร์ทกับไมเคิลแองเจโล ส่วนพวกนั้นสิไม่มี (ในภายหลัง แบร์ลุสโกนีต้องจำใจออกมาขอโทษที่พูดจาดูถูก "อิสลาม")
แต่ทำไมไม่มองมันเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่คล้าย ๆ กันบ้าง? จริงอยู่ เหตุการณ์อื่นอาจไม่ได้สร้างความพินาศที่ตื่นตะลึงขนาดนี้ แต่ลองเปรียบ โอซามา บิน ลาเดน และสาวกกับลัทธิอย่างนิกายดาวิเดียน หรือสาวกของสาธุคุณจิมโจนส์แห่งกายยานา หรือลัทธิโอม ชินริเกียวของญี่ปุ่นบ้างสิ?
แม้แต่ The Economist วารสารรายสัปดาห์ของอังกฤษ ซึ่งปรกติก็สุขุมรอบคอบดี แต่ในฉบับ 22-28 กันยายน ก็ยังไม่วายคว้าเอาแนวความคิดตีขลุมนี้มาใช้ โดยยกย่องฮันติงตันเสียเลิศลอยสำหรับการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับอิสลามที่แม้ว่า "หยาบและเหมารวม แต่ก็นับว่าเฉียบแหลม" "วันนี้" วารสารฉบับนั้นกล่าวด้วยน้ำเสียงเอาจริงเอาจังไม่เข้าเรื่อง
ฮันติงตันเขียนไว้ว่า "ชาวมุสลิมประมาณพันล้านคนในโลก 'เชื่องมงายว่าวัฒนธรรมของตนเหนือกว่า และหมกมุ่นเจ้าคิดเจ้าแค้นกับเรื่องที่ตนมีอำนาจด้อยกว่า' " นี่เขาเคยสำรวจหรือออกแบบสอบถามชาวอินโดนีเซียสัก 100 คน ชาวโมร็อกโก 200 คน ชาวอียิปต์ 500 คน และชาวบอสเนียสัก 50 คนตั้งแต่เมื่อไร? ต่อให้เขาเคยออกไปสำรวจความคิดเห็นจริง ๆ เขาสุ่มตัวอย่างแบบไหน?
บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์และนิตยสารใหญ่ ๆ ของอเมริกาและยุโรปแทบทุกฉบับ แสดงถึงความไม่รับผิดชอบด้วยการตั้งหน้าตั้งตาขยายความคำศัพท์ที่มีความหมายใหญ่โตบิดเบี้ยว และงมงายอยู่กับตำนานวันสิ้นโลกไปต่าง ๆ นานา เห็นกันอยู่โต้ง ๆ ว่า ต่างก็ไม่ได้มุ่งหวังจะให้ข้อคิดเตือนสติอะไร มีแต่ตั้งใจจะกระพืออารมณ์ร้อนแรงของคนอ่านให้รู้สึกว่า ตนเองเป็นสมาชิกของ "ตะวันตก" และสิ่งที่เราต้องทำ วาทะแบบเชอร์ชิลถูกพวกบ้าสงครามนำมาใช้อย่างบิดเบือน เพื่ออุปโลกน์ให้ตะวันตกและโดยเฉพาะอเมริกากระโจนเข้าสู่สงครามต่อต้านผู้เกลียดชัง ผู้ปล้นชิง ผู้ทำลาย โดยละเลยประวัติศาสตร์อันซับซ้อนที่คอยหักล้างความคิดคับแคบลดทอนแบบนั้น ประวัติศาสตร์ที่ซึมซ่านจากดินแดนหนึ่งไปสู่อีกดินแดนหนึ่ง ในกระบวนการที่ข้ามพ้นเส้นเขตแดนใด ๆ แม้ว่าเส้นเขตแดนนั้นจะสมมติขึ้นมาเพื่อแบ่งแยกมนุษย์เราเป็นก๊กเป็นเหล่าให้ติดอาวุธห้ำหั่นกันก็ตาม
นี่คือปัญหาอันน่าสมเพชของการพยายามติดป้ายฉลากตีขลุม เช่นอย่างอิสลามกับตะวันตกนี้ มันทำให้ความคิดของเราไขว้เขวและสับสน ทั้ง ๆ ที่เราพยายามทำความเข้าใจกับความเป็นจริงอันยุ่งเหยิง ซึ่งไม่มีทางตีกรอบหรือขีดเส้นง่าย ๆ แบบนั้นได้
ผมอดไม่ได้ที่จะระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งหนึ่งในปี 1994 หลังจากเสร็จสิ้นการบรรยายที่มหาวิทยาลัยเวสต์แบงก์ มีผู้ชายคนหนึ่งผุดลุกขึ้นจากกลุ่มผู้ฟังและเริ่มต้นโจมตีแนวความคิดของผมว่าเป็น "ตะวันตก" เกินไป กล่าวหาว่ามันขัดแย้งกับแนวความคิดทางศาสนาอิสลามเคร่งครัดที่เขายึดถือ ผมขัดคอเขาไปว่า "แล้วทำไมคุณใส่สูทผูกเน็คไทล่ะ?" นี่คือคำพูดตอบโต้ประโยคแรกที่ผุดขึ้นมา "มันก็ตะวันตกเหมือนกัน" เขานั่งลงด้วยรอยยิ้มเจื่อน
แต่ผมฉุกนึกถึงเหตุการณ์นี้เมื่อข้อมูลเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายนเริ่มทยอยเข้ามา การที่ผู้ก่อการร้ายมีความรู้ความชำนาญทางด้านเทคนิคทุกอย่างเพื่อก่อเหตุสยองขวัญกับตึกเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ ตึกเพนตากอนและเครื่องบินที่จี้มา เราจะขีดเส้นแบ่งตรงไหนดี ระหว่างเทคโนโลยี "ตะวันตก" กับคำพูดที่แบร์ลุสโกนีประกาศว่า "อิสลาม" ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของ "ความทันสมัย"?
แน่นอน เราไม่มีทางขีดเส้นแบ่งได้ง่าย ๆ การติดป้ายฉลาก การตีขลุมและการขีดเส้นแบ่งทางวัฒนธรรม ช่างเป็นวิธีคิดที่ตื้นเขินเสียนี่กระไร ยกตัวอย่างเช่น สัญชาตญาณดิบเถื่อนและความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคชั้นสูงมาบรรจบกัน กลายเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นความเท็จของเส้นแบ่งที่คิดว่าชัดเจน ไม่เพียงระหว่าง "ตะวันตก" กับ "อิสลาม" แต่รวมไปถึงระหว่างอดีตกับปัจจุบัน พวกเรากับพวกเขา นี่ยังไม่ต้องพูดถึงแนวความคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์และความเป็นชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันและวิวาทะกันได้ไม่รู้จบ
การตัดสินใจฝ่ายเดียวที่จะขีดเส้นลงบนผืนทราย ที่จะทำสงครามครูเสด ต่อต้านความชั่วของพวกนั้นด้วยความดีของเรา ขุดรากถอนโคนการก่อการร้าย หรือในศัพท์ทำลายล้างของพอล วูล์ฟโฟวิตซ์ (รัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ) ที่ว่า ทำลายให้สิ้นทั้งประเทศ ก็ไม่ได้ทำให้มองเห็นศัตรูที่สมมติขึ้นมาชัดขึ้นกว่าเดิม แต่กลับแสดงให้เห็นว่า การใช้ถ้อยคำกระตุ้นยุแหย่เพื่อจุดประสงค์ในการปลุกเร้าความรู้สึกรุนแรงของมวลชนขึ้นมา เป็นสิ่งที่ง่ายกว่าการไตร่ตรอง พิจารณา แยกแยะว่า จริงๆแล้ว เรากำลังเผชิญหน้ากับอะไรแน่ รวมไปจนถึงความเกี่ยวพันซึ่งกันและกันของชีวิตจำนวนนับไม่ถ้วน ทั้งชีวิต "ของพวกเรา" เช่นเดียวกับ "ของพวกเขา"
ในบทความไตรภาคอันยอดเยี่ยมที่ตีพิมพ์ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 1999 ในวารสาร Dawn วารสารรายสัปดาห์ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดในปากีสถาน เอ็กบัล อาห์หมัด ผู้ล่วงลับตั้งใจเขียนขึ้นเพื่อผู้อ่านชาวมุสลิม
เขาวิเคราะห์สิ่งที่เขาเรียกว่า รากเหง้าของฝ่ายขวาจัดทางศาสนา เขาวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงเกี่ยวกับการบิดเบือนทำลายศาสนาอิสลามโดยพวกเผด็จการทางความคิดและทรราชบ้าอำนาจ พวกนี้หมกมุ่นอยู่กับการควบคุมบังคับพฤติกรรมส่วนบุคคล ส่งเสริม "นิกายทางศาสนาอิสลามที่ถูกลดทอนจนเหลือแค่ประมวลบทลงโทษ พรากศาสนาจากความเป็นมนุษยนิยม สุนทรียะ การแสวงหาทางภูมิปัญญาและการอุทิศทางจิตวิญญาณ"
นี่ทำให้ "เกิดสิ่งที่ตามมาคือ การยืนยันด้านใดด้านหนึ่งของศาสนาอย่างหัวชนฝา ตัดขาดศาสนาออกจากบริบทแวดล้อมทั้งหมดและมองข้ามแง่มุมอื่น ๆ ของศาสนาไปโดยสิ้นเชิง ปรากฏการณ์นี้เป็นการบิดเบือนศาสนา ลดคุณค่าของจารีตประเพณีและบิดพลิ้วกระบวนการทางการเมืองในทุก ๆ ที่ที่เกิดขึ้น"
ตัวอย่างการทำความเสื่อมแก่ศาสนาอันหนึ่งที่เขาหยิบยกมา ช่างเข้ากับสถานการณ์ในขณะนี้พอดี อาห์หมัดนำเสนอให้เห็นความหมายสูงส่ง ซับซ้อน หลากหลายของคำว่า "ญิฮาด" ก่อน ต่อจากนั้น เขาชี้ให้เห็นว่า การใช้คำ ๆ นี้อย่างคับแคบในปัจจุบัน โดยจำกัดความให้หมายถึงเพียง"การทำสงครามต่อต้านศัตรู"ตามแต่จะทึกทักขึ้นมาอย่างไม่ยั้งคิด ทำให้ไม่สามารถ "ตระหนักซาบซึ้งถึงความเป็นอิสลาม ทั้งทางศาสนา สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์หรือการเมือง ที่ชาวมุสลิมได้มีชีวิตและประสบผ่านมาหลายชั่วอายุขัย"
อาห์หมัดสรุปว่า ผู้นำศาสนาอิสลามยุคใหม่ "สนใจแต่อำนาจ ไม่ใช่วิญญาณ หมกมุ่นอยู่แต่การปลุกปั่นประชาชนเพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมือง มากกว่าการแบ่งปันบรรเทาความทุกข์และความโหยหาของชาวมุสลิม ความคิดทางศาสนาของผู้นำเหล่านี้ มีแต่ความคับแคบตื้นเขินและพลิกพลิ้วไปตามวาระทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลา" ซ้ำร้ายไปกว่านั้น การบิดเบือนศาสนาและความบ้าคลั่งในทำนองเดียวกันนี้เกิดขึ้นในจักรวาลวาทกรรมของศาสนา "ยิว" และ "คริสต์" ด้วย
กลับเป็นนักเขียนนิยายอย่างโจเซฟ คอนราด ผู้เปี่ยมไปด้วยพลังทางความคิดเกินกว่านักอ่านในปลายศตวรรษที่ 19 จะนึกถึง คอนราดเข้าใจลึกซึ้งว่า ความแตกต่างระหว่างกรุงลอนดอนอันศรีวิไลกับ "หัวใจมืด" จะหายวับไปทันทีในสถานการณ์สุดขั้ว และความสูงส่งของอารยธรรมยุโรปสามารถล่มสลายกลายเป็นความป่าเถื่อนอนารยะสุดขีดคลั่งได้ในพริบตา โดยไม่ต้องมีเค้าลางล่วงหน้าหรือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อใด ๆ ทั้งสิ้น
คอนราดอีกเช่นกัน ในนวนิยายเรื่อง The Secret Agent (1907) ที่บรรยายถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นของการก่อการร้ายกับความคิดนามธรรมอย่าง "วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์" (และขยายความต่อไปได้ถึง "อิสลาม" หรือ "ตะวันตก") รวมทั้งความเสื่อมทรามทางจริยธรรมอย่างที่สุดของผู้ก่อการร้าย
มีความเชื่อมโยงใกล้ชิดระหว่างสองอารยธรรมที่ดูเหมือนเป็นปฏิปักษ์ต่อกันยิ่งกว่าที่เราอยากจะเชื่อ ทั้งฟรอยด์และนิทซ์เช่ชี้ให้เห็นว่า มีการก้าวข้ามกันไปมาอย่างระมัดระวัง แม้แต่พรมแดนที่ระแวดระวังก็ยังเคลื่อนย้ายได้อย่างง่ายดายเหลือเชื่ออยู่บ่อย ๆ แต่แล้วความคิดที่ยืดหยุ่น เต็มไปด้วยความเคลือบแคลงและตั้งข้อสงสัยต่อแนวความคิดต่าง ๆ ที่เรายึดถือ แทบจะไม่ได้ช่วยให้เรามีแนวทางในการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อสถานการณ์อย่างที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้เลย มีแต่คำสั่งตอกย้ำให้กระโจนสู่สนามรบ (สงครามครูเสด ธรรมะกับอธรรม เสรีภาพกับความกลัว ฯลฯ) ที่ลากความมาจากการอุปโลกน์ความเป็นศัตรูระหว่างอิสลามกับตะวันตกของฮันติงตัน ตามที่วาทกรรมฝ่ายครองอำนาจดึงเอาศัพท์แสงต่าง ๆ มาใช้นับตั้งแต่วันแรก ๆ หลังการโจมตีวันที่ 11 กันยายน
แม้ว่าในภายหลัง จะพยายามลดการขยายความวาทกรรมนี้ลงไปมากแล้วก็ตาม แต่เมื่อดูจากคำพูดและการกระทำที่แสดงออกถึงความเกลียดชังอยู่เนือง ๆ บวกกับข่าวการใช้อำนาจกฎหมายที่พุ่งเป้าไปที่ชาวอาหรับ มุสลิมและอินเดียทั่วทั้งประเทศ แสดงให้เห็นว่า กระบวนทัศน์นี้ยังคงอยู่
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้กระบวนทัศน์นี้ยังฝังแน่นก็คือ จำนวนชาวมุสลิมที่เพิ่มขึ้นทั่วทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ลองนึกถึงประชากรในปัจจุบันของฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน สเปน อังกฤษ อเมริกา แม้แต่สวีเดน คุณคงต้องยอมรับว่า อิสลามไม่ได้อยู่ชายขอบของโลกตะวันตกอีกต่อไป แต่อยู่ในศูนย์กลางเลยทีเดียว
แต่มีอะไรน่ากลัวนักหนา? สิ่งหนึ่งที่ฝังอยู่ในวัฒนธรรมของชนหมู่มากคือ ความทรงจำถึงการรุกรานของอาหรับ-อิสลามที่ได้ชัยชนะยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรก ซึ่งเริ่มต้นในศตวรรษที่ 7 ดังที่นักประวัติศาสตร์ชาวเบลเยี่ยมผู้มีชื่อเสียง อองรี ปิแรน (Henri Pirenne) เขียนไว้ในหนังสือเล่มสำคัญของเขาคือ Mohammed and Charlemagne (1939) การรุกรานครั้งนี้ทำลายความเป็นปึกแผ่นในอารยธรรมโบราณของเมดิเตอร์เรเนียนลงอย่างย่อยยับ ทำลายอารยธรรมสังเคราะห์ของศาสนาคริสต์และอาณาจักรโรมันลง และเปิดทางให้แก่อารยธรรมใหม่ภายใต้อิทธิพลของอำนาจยุโรปเหนือ (คือเยอรมันและฝรั่งเศสในราชวงศ์คาโรลินเจียน) ซึ่งดูเหมือนปิแรนจะกล่าวในทำนองว่า ยุโรปเหนือมีภารกิจในการปกป้อง "ตะวันตก" ให้รอดพ้นจากศัตรูทางประวัติศาสตร์-วัฒนธรรม
อนิจจา แต่สิ่งที่ปิแรนละไว้ไม่ได้กล่าวถึงก็คือ ในการสร้างแนวป้องกันดินแดนขึ้นมาใหม่นี้ ตะวันตกได้หยิบยืมลัทธิมนุษยนิยม วิทยาศาสตร์ ปรัชญา สังคมวิทยาและประวัติศาสตร์นิพนธ์จากอิสลาม ซึ่งได้เข้ามาสอดแทรกอยู่แล้วระหว่างโลกของพระเจ้าชาลมาญกับอารยธรรมโบราณยุคคลาสสิก อิสลามอยู่ในยุโรปมาตั้งแต่เริ่มต้น แม้กระทั่งดังเต (Dante กวีชาวอิตาเลียนในสมัยปลายศตวรรษที่ 13 ผู้ประพันธ์ The Divine Comedy) ผู้เป็นศัตรูตัวฉกาจของศาสดามูฮัมหมัด ก็ยังต้องยอมรับเมื่อเขากำหนดให้ท่านศาสดาอยู่ที่ใจกลางนรกภูมิ
นอกจากนี้ ยังมีมรดกตกทอดของศาสนาเอกเทวนิยม หรือศาสนาแห่งอับราฮัม ดังที่หลุยส์ มาสซิญง (Louis Massignon นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ผู้เชี่ยวชาญทางอิสลามศึกษา) ใช้คำเรียกอย่างเหมาะสม เริ่มต้นด้วยศาสนายิวและศาสนาคริสต์ แต่ละศาสนาต่างสืบทอดต่อกันมา สำหรับชาวมุสลิม ศาสนาอิสลามคือความบริบูรณ์และเป็นจุดสุดท้ายของสายการพยากรณ์ ยังไม่เคยมีการเขียนประวัติศาสตร์ที่เหมาะสม หรือขจัดความงมงายให้หมดสิ้นไปจากการโต้แย้งหลายเหลี่ยมมุมในหมู่ศาสนิกชนของทั้งสามศาสนาที่มีพระเจ้าขี้อิจฉาที่สุดในบรรดาเทพเจ้าทั้งหลาย และในสามศาสนานี้ ไม่มีศาสนาใดเลยที่มีความเป็นกลุ่มก้อนเป็นหนึ่งเดียวกัน แม้ว่าคาวเลือดของการปะทะกันในยุคใหม่บนแผ่นดินปาเลสไตน์ จะกลายเป็นตัวอย่างทางโลกที่สำแดงชัดถึงความบาดหมางอันน่าสลดใจระหว่างศาสนา จึงไม่น่าแปลกใจที่ทั้งชาวมุสลิมและชาวคริสต์ต่างก็ร่ำร้องถึงสงครามครูเสดและญิฮาด ทั้งสองฝ่ายต่างก็มองข้ามอิทธิพลของศาสนายิวที่ตกค้างมาเสียเฉย ๆ เอ็กบัล อาห์หมัดกล่าวว่า การเรียกร้องแบบนั้น "ให้ความเชื่อมั่นแก่ชายหญิงที่กำลังติดขลุกขลักอยู่ระหว่างการลุยข้ามฟาก ระหว่างห้วงน้ำลึกของจารีตประเพณีกับความทันสมัย"
แต่เราต่างล้วนกำลังเวียนว่ายอยู่ในห้วงน้ำทั้งหลายนี้ ไม่ว่าชาวตะวันตก ชาวมุสลิมและชนชาติอื่น ๆ ในเมื่อห้วงน้ำคือส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแห่งประวัติศาสตร์ การพยายามจะแล่นฝ่าไปหรือแบ่งแยกห้วงน้ำออกจากกันด้วยเครื่องกั้นจึงรังแต่จะเหลวเปล่า
นี่คือช่วงเวลาอันตึงเครียด แต่เราควรจะคิดในกรอบของชุมชนที่มีอำนาจและไร้อำนาจ การเมืองทางโลกของเหตุผลและอวิชชา รวมทั้งหลักการสากลของความยุติธรรมและอยุติธรรม ดีกว่าที่จะฟุ้งซ่านไปควานหาความคิดนามธรรมตีขลุมที่อาจให้ความสะใจชั่วครั้งคราว แต่ไม่ช่วยให้เรารู้จักตัวเองดีขึ้นหรือมีการวิเคราะห์อย่างรอบด้าน
ทฤษฎี "สงครามระหว่างอารยธรรม" เป็นแค่การเล่นคำหวือหวาเหมือนคำว่า "สงครามสองโลก" เหมาะจะใช้เพื่อแสดงความยะโสไม่ยอมใคร แต่ไม่ช่วยให้เกิดความเข้าใจอย่างมีวิจารณญาณต่อโลกที่พึ่งพิงซึ่งกันและกันอย่างซับซ้อนสับสนในยุคสมัยของเรา
เกี่ยวกับผู้เขียน
เอ็ดเวิร์ด ดับลิว. ซาอิด นักวิชาการทางด้านวรรณคดีวิจารณ์ชาวปาเลสไตน์-อเมริกัน เขาเชี่ยวชาญการศึกษาวรรณคดีจากมุมมองของการเมือง สังคมและวัฒนธรรม และยังเป็นนักคิดคนสำคัญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอาหรับ-ปาเลสไตน์
ซาอิดได้รับการศึกษาในกรุงเยรูซาเล็มและไคโร ก่อนที่จะมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและฮาร์วาร์ด ปัจจุบันเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย งานเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ Orientalism (197 นอกจากนี้ยังมีหนังสือเกี่ยวกับ วรรณคดีวิจารณ์และปัญหาอาหรับ-ปาเลสไตน์อีกมากมายหลายเล่ม
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา
e-mail : midnight2545(at)yahoo.com
คลิกไปอ่านต้นฉบับได้ที่
http://www.zmag.org/terrorframe.htm
บทความของแซมวล ฮันติงตันเรื่อง "The Clash of Civilizations?" ปรากฏในวารสาร Foreign Affairs ฉบับ Summer 1993 บทความนี้ได้รับความสนใจและเป็นที่ฮือฮาอย่างน่าประหลาดในทันที เนื่องจากมันมีจุดมุ่งหมายที่จะเสนอทฤษฎีแหวกแนวเกี่ยวกับ "วาระใหม่" ในโลกการเมืองหลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็นแก่ชาวอเมริกัน
ข้ออ้างเหตุผลต่าง ๆ ที่ฮันติงตันหยิบยกขึ้นมาจึงดูใหญ่โต หวือหวา แม้กระทั่งเพ้อฝันไม่น้อย เห็นได้ชัดว่า เขาจับตามองคู่แข่งในทำเนียบนักวางนโยบาย นักทฤษฎี อย่างเช่น ฟรานซิส ฟุกุยามา (Francis Fukuyama) กับแนวความคิดเรื่อง "จุดจบแห่งประวัติศาสตร์" รวมไปจนถึงขบวนนักวิชาการที่เฉลิมฉลองการเริ่มต้นของระบบโลกาภิวัตน์ เผ่าพันธุ์นิยม และความเหลวแหลกของรัฐ แต่เขาเห็นว่า นักวิชาการพวกนั้นเข้าใจเพียงบางแง่มุมของยุคใหม่นี้เท่านั้น เขาต่างหากที่จะประกาศถึง "แง่มุมที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นแก่นใจกลาง" ของภาพ "การเมืองโลกที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า"
เขายืนยันต่ออย่างไม่ลังเลเลยว่า: "สมมติฐานของผมก็คือ รากเหง้าของความขัดแย้งในโลกยุคใหม่จะไม่ใช่อุดมการณ์หรือเศรษฐกิจเป็นพื้นฐานอีกแล้ว ความแตกแยกอย่างใหญ่หลวงในมนุษยชาติ และต้นตอความขัดแย้งที่สำคัญที่สุดจะเกิดมาจากพื้นฐานทางวัฒนธรรม รัฐชาติจะยังคงมีบทบาทสำคัญที่สุดในความเป็นไปของโลก แต่ความขัดแย้งหลักในการเมืองโลกจะเกิดขึ้นระหว่างชนชาติและกลุ่มอารยธรรมที่แตกต่างกัน การปะทะของวัฒนธรรมจะครอบงำการเมืองโลก เส้นแบ่งระหว่างอารยธรรมต่าง ๆ จะกลายเป็นแนวสนามรบในอนาคต"
ข้ออ้างเหตุผลส่วนใหญ่ในหน้าต่อ ๆ ไปของบทความนั้น ตั้งอยู่บนแนวคิดอันคลุมเครือของสิ่งที่ฮันติงตันเรียกว่า "อัตลักษณ์ทางอารยธรรม" และ "การกระทบกระทั่งระหว่างอารยธรรมใหญ่ ๆ เจ็ดหรือแปดอารยธรรม [เขาเขียนไว้อย่างนี้จริง ๆ ]" โดยเขาให้ความสนใจสูงสุดต่อความขัดแย้งระหว่างสองอารยธรรม คืออิสลามกับตะวันตก