แปลมาบางส่วนจากต้นฉบับเรื่อง "Erich Fromm, Feminism, and the Frankfurt School" เขียนโดย Douglas Kellner / 23 กุมภาพันธ์ 2545
ภาพประกอบบทความ ผลงานของ Rene Magritte ชื่อภาพ Le Domaine enchante VI (The Enchanted Domain VI) สีน้ำมันบนผืนผ้าใบ เขียนขึ้นในปี 1953 (จากหนังสือ Art in America ฉบับเดือนมิถุนายน 1998 หน้า 4) [ขออนุญาตใช้เพื่อประกอบการศึกษา]

ฃุดความรู้เกี่ยวกับความคิดของ อีริค ฟรอม์ม ชื่อเรื่อง "แนวคิดสตรีนิยมของ อีริค ฟรอม์ม"
(มุมมองจากจิตวิเคราะห์)

ต้นฉบับจาก "อีริค ฟรอม์ม, เฟมินิสม, และแฟรงค์เฟริท
สคูล" โดย ดักลาส เคล์ลเนอร์

สมเกียรติ ตั้งนโม : แปล / มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

230245
release date
H
home

นอกจากนั้น ฟรอม์มยังอธิบายถึงครอบครัวว่าเป็นสถาบันที่สำคัญอย่างไรในการสร้างซูปเปอร์อีโก้ขึ้นมา และพัฒนาการเกี่ยวกับซูปเปอร์อีโก้ที่เข้มแข็งที่ง่ายต่อการสะกดแรงกระตุ้นที่จะก่อกบฎต่างๆ. อีโก้ที่อ่อนแอยอมจำนนต่ออำนาจของซูปเปอร์อีโก้, ด้วยเหตุนี้ฟรอม์มจึงเรียกร้องการสร้างอีโก้ที่เข้มแข็งขึ้นมา ซึ่งจะทำให้ความคิดและการกระทำที่เป็นอิสระมีความเป็นไปได้มากขึ้น.

ในการสนทนาช่วงสรุปเกี่ยวกับการไม่ยอมอ่อนข้อให้กับอำนาจ, ฟรอม์มเรียกร้องให้ทำการกบฎต่ออำนาจอันไร้เหตุผล และพัฒนาเกี่ยวกับอีโก้ที่เข้มแข็งขึ้นมา ซึ่งจะต้องไม่พึงพอใจต่อการครอบงำหรือการตกเป็นรอง และจะต้องประกาศตัวเป็นอิสระจากอำนาจทางสังคมของผู้ที่มำอำนาจเหนือกว่า

Erich Fromm, Feminism, and the Frankfurt School
By Douglas Kellner
http://www.uta.edu/huma/illuminations/kell8.htm
บทความลำดับที่ 159 เรื่อง "แนวคิดสตรีนิยมของ อีริค ฟรอม์ม :มุมมองจากจิตวิเคราะห์" ความยาวประมาณ 11 หน้ากระดาษ A4 /มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ฃุดความรู้เกี่ยวกับความคิดของ อีริค ฟรอม์ม
(มุมมองจากจิตวิเคราะห์)

อีริค ฟรอม์ม, เฟมินิสม, และแฟรงค์เฟริทสคูล
Erich Fromm, Feminism, and the Frankfurt School
By Douglas Kellner
สมเกียรติ ตั้งนโม: แปล / คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทนำ
อีริค ฟรอม์ม เป็นหนึ่งในสมาชิกเพียงไม่กี่คนของแฟรงค์เฟริทสคูล ซึ่งผูกมัดตัวเองอย่างจริงจังกับการทำให้ปัญหาเรื่องเพศ(gender) และความแตกต่างระหว่างชายและหญิงเป็นทฤษฎีขึ้นมา. ในบางเรื่อง, ฟรอม์ม ได้ลงมือกระทำการก่อนใคร และต่อมาภายหลังได้พยายามที่จะสร้างแนวคิดสตรีนิยมมาร์กซิสม์และการวิเคราะห์ในแนวหลังโครงสร้างนิยม(feminist Marxism and poststructuralist analyses) เกี่ยวกับธรรมชาติโครงสร้างทางสังคมของเรื่องเพศขึ้น

กระนั้นก็ตาม การวิเคราะห์ของฟรอม์ม ก็เต็มไปด้วยความไม่ราบเรียบและมีความขัดแย้งกันอยู่ในตัว ซึ่งอันนี้บ่งชี้ถึงความยุ่งยากต่างๆในเนื้อหาเรื่องราว และบางทีอาจเป็นความยุ่งยากในการเอาชนะมุมมองแบบผู้ชายที่ครอบงำอยู่ ในการวิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาต่างๆที่ขัดแย้งและเป็นการใส่ความเกี่ยวกับเรื่องเพศและความรู้สึกเรื่องเพศ

ดังนั้น ในบทความชิ้นนี้ ข้าพเจ้าจะพยายามจำแนกแยกแยะการวิเคราะห์เกี่ยวกับเพศอย่างหลากหลายในงานของฟรอม์ม และจะชี้ให้เห็นถึงการลงมือกระทำก่อนใครของเขาเกี่ยวกับมุมมองลัทธิสตรีนิยมร่วมสมัย และเรื่องราวเกี่ยวกับอคติทางเพศ(sexism) รวมไปถึงลัทธสารัตถะนิยมในงานต่างๆของเขา[1]

เนื้อหา
การตั้งคำถามเกี่ยวกับฟรอม์มและทฤษฎีวิพากษ์ขึ้นมานั้น นับว่าเป็นการตั้งคำถามทั้งหมดซึ่งเป็นขบวนที่ผูกโยงไปถึงความสัมพันธ์เกี่ยวกับฟรอม์มกับสถาบันวิจัยทางสังคม(ในที่นี้หมายถึงแฟรงค์เฟริทสคูล), เช่น การตัดความสัมพันธ์ของเขากับสถาบันดังกล่าว, การโต้เถียงกันต่างๆในภายหลังของพวกเขา และ การสนทนากันตามมาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างฟรอม์มและทฤษฎีวิพากษ์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการสนทนาดังกล่าว จะให้ความสำคัญกับทฤษฎีวิพากษ์และเมินเฉยเรื่องราวเกี่ยวกับฟรอม์ม [2].

สวนกันกับความโน้มเอียงที่มีการปฏิเสธฟรอม์มออกไป ข้าพเจ้าใคร่ชี้แจงว่า การประเมินคุณค่าเกี่ยวกับผลงานทั้งหมดของเขาใหม่อีกครั้ง เป็นสิ่งที่เกินชอบเขตสำหรับบทความชิ้นนี้ ด้วยเหตุนี้ บทความชิ้นนี้จึงสนใจแต่เฉพาะการหวนกลับไปอ่านความเรียงต่างๆของเขาบางชิ้นในปีทศวรรษที่ 1930s - ซึ่งขณะนั้นเขามีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับโครงการต่างๆของสถาบันวิจัยสังคม - รวมกับการอ่านงานวิเคราะห์ของเขาชิ้นหลังๆเกี่ยวกับเรื่องเพศ(gender)และการล่วงละเมิด ซึ่งอาจช่วยในการสังเคราะห์ที่มีความเป็นไปได้อันหนึ่งเกี่ยวกับทฤษฎีวิพากษ์กับลัทธิสตรีนิยม.

โดยเฉพาะอย่างยิ่งนั้น ความเรียงต่างๆของเขาในเรื่องเกี่ยวกับมาตาธิปไตย(matriarchy) ได้บรรจุมุมมองที่น่าสนใจและปลุกเร้าเอาไว้ ในการตั้งคำถามเกี่ยวกับปิตาธิปไตย(patriarchy)และการครอบงำของผู้ชาย ซึ่งฉายให้เห็นถึงทัศนะต่างๆในแง่บวกเกี่ยวกับผู้หญิงและคุณสมบัติต่างๆของมาตาธิปไตย, ด้วยเหตุนี้ จึงแตกต่างไปจากมุมมอง"พ่อเป็นศูนย์กลาง"(patricentric)ของบรรดาผู้ร่วมงานของเขาที่แฟรงค์เฟริทสคูลบางคน.

ยิ่งไปกว่านั้น ฟรอม์มยังเป็นคนแรกของนักทฤษฎีวิพากษ์ที่ได้หยิบยกเอาปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเพศและความแตกต่างทางเพศขึ้นมา และได้เขียนงานสำคัญๆจำนวนมากเพื่อทำให้เรื่องเกี่ยวกับครอบครัว, เรื่องปิตาธิปไตย, และการกดขี่ผู้หญิงในสังคมต่างๆร่วมสมัยเป็นทฤษฎีขึ้นมา

ลัทธิมาร์กซ์ / จิตวิเคราะห์ / สตรีนิยม: การสังเคราะห์ในช่วงต้นๆของฟรอม์ม
Marxism/Psychoanalysis/Feminism: Fromm's Early Synthesis

หนึ่งในลักษณะที่โดดเด่นของทฤษฎีวิพากษ์ก็คือ การสังเคราะห์แนวคิด"มาร์กซ์"และ"ฟรอยด์"เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างทฤษฎีอันหนึ่งขึ้นมา ที่มีลักษณะไกล่เกลี่ยประนีประนอมกันในเชิงจิตวิทยาระหว่าง"เรื่องของจิต"(psyche)กับ"เรื่องของสังคม" ซึ่งได้รับการเมินเฉยโดยแนวคิดลัทธิมาร์กซ์แบบขนบประเพณี[3]. ความเรียงต่างๆที่สำคัญในเชิงทฤษฎีที่เป็นเค้าโครงเกี่ยวกับจิตวิทยาสังคมเชิงวัตถุนิยมของสถาบันนี้ ได้รับการตีพิมพ์อยู่ใน the Zeitschrift fur Sozialforschung เขียนโดย อีริค ฟรอม์ม.

ฟรอม์มเองเป็นนักจิตวิเคราะห์แนวปฏิบัติคนหนึ่ง ซึ่งได้รับตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยแฟรงเฟริทในฐานะผู้บรรยายในสถาบันทางจิตวิเคราะห์, เขายังเป็นคนที่สนใจในลัทธิมาร์กซ์และสังคมวิทยาด้วย และเข้าร่วมกับสถาบันในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาในปี 1929[4]. ฟรอม์มเป็นหนึ่งในคนแรกๆที่ได้ทำการสังเคราะห์แนวคิด"มาร์กซ์"และ"ฟรอยด์"เข้าด้วยกัน เพื่อที่จะพัฒนาจิตวิทยาสังคมแบบมาร์กเซี่ยนขึ้น และสมาชิกคนอื่นๆเป็นจำนวนมากของสถาบันต่างพยายามที่จะสังเคราะห์ในลักษณะทำนองเดียวกัน แม้ว่าการผสมผสานอย่างพิถีพิถันและการตีความต่างๆเกี่ยวกับฟรอยด์และมาร์กซ์ บ่อยครั้งจะเป็นเรื่องที่แตกต่างกันมาก

ฟรอม์มได้สเก็ตโครงร่างพื้นฐานเกี่ยวกับโครงการของเขาในบทความเรื่อง "The Method and Function of an Analytic Social Psychology" subtitled "Notes on Psychoanalysis and Historical Materialism" (Fromm {1932a} 1970) หรือ " ระเบียบวิธีและบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับจิตวิทยาสังคมเชิงวิเคราะห์" หัวข้อรอง"บันทึกเกี่ยวกับจิตวิเคราะห์และวัตถุนิยมประวัติศาสตร์". เขาเริ่มต้นโดยการสนทนาถึงหลักการพื้นฐานต่างๆกับจิตวิคราะห์, และต่อจากนั้นก็ชี้ถึงว่า ทำไมเขาจึงได้คิดถึงทฤษฎีของฟรอยด์, ซึ่งได้ตีความอย่างเหมาะสมและสร้างขึ้นมาใหม่, และมันเป็นเป็นเรื่องที่เข้ากันได้กับวัตถุนิยมประวัติศาสตร์

สำหรับฟรอม์ม, จิตวิเคราะห์เป็นจิตวิทยาในแนววัตถุนิยมอันหนึ่ง ซึ่งได้วิเคราะห์ถึงแรงขับและความต้องการต่างๆในระดับสัญชาตญาน ในฐานะที่เป็นพลังกระตุ้นพฤติกรรมของมนุษย์. มันเป็นรายงานข้อสรุปเกี่ยวกับสัญชาตญานพื้นฐานและการชำแหละพลังและกลไกต่างๆของจิตไร้สำนึก ซึ่งบางครั้งมันมาควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์. จิตวิเคราะห์ยังทำการวิเคราะห์อิทธิพลของประสบการณ์ชีวิตที่มีลักษณะเฉพาะบนการประกอบกันขึ้นมาของสัญชาตญานที่รับช่วงมรดกมา. ด้วยเหตุนี้ ในทัศนะของฟรอม์ม, ทฤษฎีของฟรอยด์จึงมีลักษณะเป็นประวัติศาสตร์ที่ประณีตละเอียดอ่อน: มันค้นหาเพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างแรงขับ โดยผ่านการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชีวิต(life history) (Fromm {1932a} 1970, p. 139).

แนวคิดหลักที่สำคัญเกี่ยวกับจิตวิเคราะห์ สำหรับฟรอม์มคือ "การปรับตัวในเชิงรุกและเชิงรับเกี่ยวกับกลไกต่างๆทางชีววิทยา(biological apparatus), สัญชาตญานต่างๆ, ที่มีต่อความจริงทางสังคม"( (Fromm {1932a} 1970, p. 141). โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จิตวิเคราะห์เป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับจิตวิทยาสังคม ในทางที่มันจะช่วย"ค้นพบต้นตอที่ซ่อนเร้นต่างๆของแบบแผนพฤติกรรมอันไร้เหตุผลในชีวิตสังคม - ในศานา, ขนบธรรมเนียม, การเมือง, และการศึกษา ให้ชัดเจนขึ้น"(Fromm {1932a} 1970, p. 141).

ด้วยเหตุดังนั้น ฟรอม์มจึงเชื่อว่า"จิตวิทยาสังคมเชิงวิเคราะห์"( analytical social psychology) โดยตลอดแล้วเป็นสิ่งที่อยู่ด้วยกันได้กับวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ เพราะทั้งคู่ต่างก็เป็นวิทยาศาสตร์วัตถุนิยมซึ่งไม่ได้เริ่มต้นขึ้นมาจากไอเดียหรือความคิด แต่เริ่มต้นขึ้นมาจากชีวิตและความต้องการต่างๆแบบโลกๆ. โดยเฉพาะ มันไปใกล้เคียงกับการประเมินเรื่องของความสำนึก, ซึ่งได้รับการมองโดยทั้งคู่ว่า เป็นพลังขับที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์น้อยกว่าผลสะท้อนของพลังต่างๆที่หลบซ่อนอยู่"(Fromm {1932a} 1970, p. 142).

ถึงแม้ว่าวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ มีแนวโน้มที่จะทึกทักถึงพลังทางเศรษฐกิจและผลประโยชน์ในตัวของปัจเจกชนและชีวิตสังคมเป็นอันดับแรก แต่การโฟกัสของจิตวิเคราะห์ กลับจ้องลงไปที่พลังสัญชาตญานและพลังทางจิตวิทยา, ฟรอม์มเชื่อว่าพวกมันสามารถที่จะได้รับการสังเคราะห์เข้ากันได้อย่างมีประสิทธิผล. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาเชื่อว่าจิตวิทยาสังคมเชิงวิเคราะห์ สามารถศึกษาถึงหนทางที่โครงสร้างเศรษฐกิจสังคม มีอิทธิพลและได้ก่อรูปก่อร่างกลไกสัญชาตญานของปัจเจกชนและกลุ่มคนขึ้นมาได้

จิตวิเคราะห์เน้นในเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวเป็นอันดับแรกในการพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งสามารถที่จะคลุกเคล้าเข้ากันได้กับวัตถุนิยมประวัติศาสตร์, ฟรอม์มเชื่อว่าอย่างนั้น. เนื่องจากเหตุนี้"ครอบครัวจึงเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างกลางมาโดยตลอด ซึ่งสังคมหรือชนชั้นทางสังคมได้ประทับตราโครงสร้างที่มีลักษณะเฉพาะของมันลงบนตัวเด็ก", การวิเคราะห์เกี่ยวกับครอบครัวและกระบวนการทำให้เป็นสังคม สามารถบ่งชี้ได้ว่า สังคมได้ผลิตซ้ำโครงสร้างทางชนชั้นของมันได้อย่างไร และมันยัดเยียดอุดมคติต่างๆและการปฏิบัติลงบนปัจเจกชนอย่างไร.

ฟรอม์มเสนอว่า ทฤษฎีต่างๆทางด้านจิตวิเคราะห์ ซึ่งพิจารณาจากการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการที่สังคมใดสังคมหนึ่ง ทำให้สมาชิกของตนเป็นสังคมขึ้นมา และเข้าสู่การยอมรับ และได้มีการผลิตซ้ำโครงสร้างทางสังคมที่มีลักษณะเฉพาะ, มีแนวโน้มที่จะนำเอาสังคมของคนชั้นกลางมาเป็นบรรทัดฐาน และทำให้มันใช้ได้ทั่วไปอย่างผิดๆ. วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ได้จัดหาหนทางแก้ไขอันหนึ่งขึ้นมา สำหรับความผิดพลาดต่างๆเหล่านี้ โดยการเน้นถึงธรรมชาติประวัติศาสตร์ภายในของการสร้างตัวของสังคมทั้งหมด, สถาบันต่างๆ, ปฏิบัติการ, และชีวิตมนุษย์.

ความเรียงของฟรอม์ม แรกเริ่มเดิมทีกระทำไปตามโปรแกรมและไม่ได้เฉพาะเจาะจงลงไปในรายละเอียดอะไรมากนักที่ว่า "สังคมทุนนิยมชนชั้นกลาง"ได้ผลิตซ้ำโครงสร้างของมันอย่างไรในบรรดาสมาชิกทั้งหลาย. ในทางตรงข้าม เขาได้ให้ความเอาใจใส่กับโครงร่างโปรแกรมการวิจัยอันหนึ่ง และได้ให้เหตุผลเกี่ยวกับการเข้ากันได้ของ"จิตวิเคราะห์"กับ"ลัทธิมาร์กซ์" โดยเสนอว่า "จิตวิเคราะห์" สามารถที่จะให้ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์แก่แนวความคิดทั้งมวลเกี่ยวกับวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ในประเด็นที่ชี้เฉพาะอันหนึ่ง มันสามารถจัดหาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆอันหนึ่ง ที่ปฏิบัติการในกระบวนการทางสังคม: นั่นคือ ธรรมชาติของตัวมนุษย์เอง(Fromm {1932a} 1970, p. 154).

สำหรับฟรอม์ม, สัญชาตญานต่างๆตามธรรมชาติคือส่วนหนึ่งของพื้นฐาน(the base (Unterbau))ของสังคมมนุษย์ และเขาเชื่อว่า ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และกระบวนการทางสังคมจะได้รับความมั่งคั่งโดยความรู้ของกันและกันเกี่ยวกับการที่ว่า สังคมได้ก่อตัวขึ้นและปรับปรุงสัญชาตญานต่างๆกับโครงสร้างของมันอย่างไร และมนุษย์ได้สร้างรูปลักษณ์และเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพวกเขาให้มาบรรจบกับความต้องการต่างๆของพวกเขากันอย่างไร.

"ในแง่มุมเบื้องต้นบางประการ, กลไกสัญชาตญานในตัวมันเองเป็นสิ่งที่ได้มาตามธรรมชาติทางชีววิทยา; แต่มันได้แปรเปลี่ยนไปมาก. บทบาทของปัจจัยต่างๆที่เป็นรูปเป็นร่างแรกๆพุ่งไปที่เงื่อนไขต่างๆทางเศรษฐกิจ. ครอบครัวเป็นสื่อกลางที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลในการก่อตัวต่อสภาพจิตของปัจเจก. ภารกิจของจิตวิทยาสังคมก็คืออธิบายถึงการมีส่วนร่วมปันกันระหว่าง, ความสัมพันธกันทางสังคมของท่าทีต่างๆทางจิตกับอุดมคติต่างๆ - และโดยเฉพาะอย่างยิ่งรากเหง้าต่างๆที่ไร้สำนึกของมัน - ในเทอมต่างๆของอิทธิพลเกี่ยวกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจบนความพยายามฝ่าฟันของลิบิโด"(libido - แรงขับทางเพศ ที่อยู่ในระดับจิตไร้สำนึก[id]) (Fromm {1932a} 1970, p. 149).

ฟรอม์มยังเสนอว่า จิตวิเคราะห์สามารถที่จะมาช่วยอธิบายว่า ผลประโยชน์และโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจสังคมได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปสู่อุดมคติต่างๆได้อย่างไร, เช่นเดียวกับ การที่อุดมคติทั้งหลายได้สร้างรูปร่างและมีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์อย่างไร. การรวมตัวกันของแนวคิด"มาร์กซ์"และ"ฟรอยด์"จะช่วยเสริมความมั่งคั่งให้กับทฤษฎีสังคมวัตถุนิยมอย่างเหลือคณานับ, ในทัศนะของฟรอม์ม, โดยการจัดหาหรือเตรียมการวิเคราะห์เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอม ซึ่ง"จิต"และ"สังคม"มีปฏิสัมพันธ์และได้ก่อรูปก่อร่างให้แก่กันและกัน.

เขาอ้างว่า ทุกๆสังคมต่างก็มีโครงสร้างลิบิโดและกระบวนการของตัวมันเองด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งอำนาจหน้าที่อันนั้นได้ถูกผลิตซ้ำในความคิดมนุษย์และพฤติกรรมมนุษย์. เหตุนี้ จิตวิทยาสังคมเชิงวิเคราะห์จะต้องอธิบายในเชิงประจักษ์อย่างลึกซึ้งว่า การครอบงำและการยอมจำนนมันเกิดขึ้นมาในสังคมต่างๆได้อย่างไร เพื่อที่จะจัดหาความเข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและจิตวิทยามีความเป็นไปได้อย่างไร.

ในความเรียงเรื่องหนึ่งที่อยู่ในยุคเดียวกันที่ชื่อว่า, "Psychoanalytic Characterology and Its Relevance for Social Psychology,"(อัตลักษณ์ทางจิตวิเคราะห์และความสัมพันธ์ของมันกับจิตวิทยาสังคม) ฟรอม์มได้ประยุกต์จิตวิทยาสังคมเชิงวิเคราะห์ของเขากับการสืบสวนเกี่ยวกับการที่สังคมชนชั้นกลางได้สร้างแบบฉบับอัตลักษณ์ในเชิงครอบงำขึ้นมา ซึ่งมันได้ผลิตซ้ำโครงสร้างทางสังคมและสร้างการยอมจำนนต่ออำนาจทางสังคมได้อย่างไร. ทฤษฎีอันหนึ่งเกี่ยวกับ"อัตลักษณ์ทางสังคม"ได้มาเป็นแกนกลางของงานของฟรอม์มชิ้นนี้ แม้ว่าในความเรียงเรื่องดังกล่าว เขาจะยึดถือแบบแผนฟรอยเดี่ยนเดิมๆ(orthodox Freudian)เอาไว้ ซึ่งโดยพื้นฐานทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับ"อัตลักษณ์ศาสตร์เชิงจิตวิเคราะห์"(psychoanalytic characterology)จะมองลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นอัตลักษณ์บางอย่าง ในฐานะที่เป็นปฏิกริยาหรือการระเหิดการก่อตัวต่างๆขึ้นมาของแรงขับสัญชาตญานบางอย่าง ที่เป็นเรื่องราวทางเพศในธรรมชาติ" (Fromm {1932b} 1970, pp. 164-165).

ต่อจากนั้น ฟรอม์มได้ไปพูดถึงอัตลักษณ์เกี่ยวกับทฤษฎีของฟรอยด์ที่ว่าด้วยเรื่องขั้นตอนปาก, ทวารหนัก, และอวัยวะสืบพันธุ์ และโครงสร้างต่างๆทางสังคมนั้นๆได้สร้างและให้รางวัลแบบฉบับบางอย่างเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของอัตลักษณ์ ขณะเดียวกันก็ลงโทษและได้กำจัดอัตลักษณ์อื่นๆออกไป. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดึงเอาการศึกษาของ Werner Sombart ในเรื่อง"ชนชั้นกลาง" และบันทึกประจำวันต่างๆของ Benjamin Franklin มาใช้, ฟรอม์มได้สนทนาถึงสังคมชนชั้นกลางได้ผลิตโครงสร้างอัตลักษณ์อันหนึ่งขึ้นมาอย่างไร ซึ่ง เรื่องหน้าที่, ความตระหนี่ถี่เหนียว, วินัย, ความประหยัดมัธยัสถ์และอื่นๆ ได้กลายมาเป็นลักษณะเฉพาะครอบงำเกี่ยวกับโครงสร้างอัตลักษณ์ของชนชั้นกลาง ขณะที่ ความรัก, ความพึงพอใจทางด้านตัณหาราคะ, ความใจบุญ, และความกรุณาได้รับการลดคุณค่าลงไป

การลงมือกระทำก่อน ซึ่งต่อมาภายหลังสถาบันได้ศึกษาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงภายในบุคลิกภาพของลัทธิทุนนิยมร่วมสมัย, ฟรอม์มได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการของโครงสร้างอัตลักษณ์ภายใต้ลัทธิทุนนิยมผูกขาดและเสนอว่า: "เป็นที่ชัดเจนที่ว่า ลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับอัตลักษณ์ที่เป็นแบบฉบับของชนชั้นกลางในศตวรรษที่ 19 ค่อยๆหดหายไป, เช่น แบบฉบับคลาสสิคเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จด้วยตัวเอง, นายจ้างที่เป็นอิสระหรือเป็นตัวของตัวเอง, ผู้ซึ่งเป็นทั้งเจ้าของกิจการและผู้จัดการในธุรกิจของตัวเองกำลังสูญสลายหายไป". ลักษณะเฉพาะที่เป็นอัตลักษณ์ของนักธุรกิจในช่วงต้นๆเป็นข้อเสียเปรียบหรืออุปสรรคมากกว่าที่จะมาช่วยเหลือแบบแผนใหม่ๆของนักทุนนิยม. คำอธิบายและการวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องจิต(psyche)ของอันหลังในลัทธิทุนนิยม ปัจจุบันเป็นภารกิจอีกอันหนึ่งที่ควรจะได้รับการนำไปปฏิบัติโดยจิตวิทยาสังคมเชิงจิตวิเคราะห์ (Fromm {1932b} 1970, p. 185).

ต่อมาภายหลัง ฟรอม์ม(1947; 1955)ได้อธิบายในรายละเอียดถึงแบบฉบับต่างๆที่เป็นอัตลักษณ์ครอบงำภายในสังคมทุนนิยมร่วมสมัย. อย่างไรก็ตาม หนึ่งในความน่าสนใจมากที่สุดเกี่ยวกับความพยายามของเขาในช่วงต้นทศวรรษที่ 1930s ก็คือ การพัฒนาจิตวิทยาสังคมเชิงวัตถุนิยม ซึ่งถูกพบในการศึกษของเขาเกี่ยวกับทฤษฎีมาตาธิปไตย(matriarchy)ของ Johann Jacob Bachofen ในบทความหนึ่งที่ชื่อว่า "The Theory of Mother Right and its Relevance for Social Psychology" (ทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิของมารดาและความสัมพันธ์ของเรื่องนี้กับจิตวิทยาสังคม)(Fromm {1934} 1970)[5].

ฟรอม์มได้ชี้ว่า การศึกษาของ Bachofen เหมาะเจาะและเข้ากันได้กับบรรดานักคิดสังคมนิยม อย่างเช่น Engels และ Bebel เช่นเดียวกับที่มันเหมาะสมและเข้ากันได้กับบรรดานักคิดอนุรักษ์นิยม. หลังจากวิพากษ์เรื่องราวอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับทฤษฎีมาตาธิปไตย ฟรอม์มได้เสนอว่า มันสามารถถูกทำให้เหมาะสมกับความคิดที่ก้าวหน้าได้อย่างไร. โดยเริ่มต้นถึงการที่ Bachofen ได้ให้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้, ซึ่งฟรอม์มเชื่อว่า ธรรมชาติของผู้หญิงได้พัฒนาจากปฏิบัติการต่างๆทางสังคมอย่างไร; โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจกรรมของความเป็นแม่ที่ได้อุปถัมภ์ค้ำชู, ลักษณะอัตลักษณ์เกี่ยวกับความเป็นมารดาที่สัมพันธ์กับผู้หญิง, ซึ่งเป็นการลงมือกระทำก่อนทฤษฎีต่างๆของสตรีนิยมเกี่ยวกับความเป็นแม่ไม่นาน (see Chodorow 1978).

ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับมาตาธิปไตย(matriarchy)ของฟรอม์ม, เขาเน้นถึงคุณภาพที่เป็นไปในแง่บวกต่างๆของผู้หญิง และคุณภาพเชิงลบต่างๆของปิตาธิปไตย(patriarchy), ด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีสตรีนิยมกับทฤษฎีวิพากษ์(feminist theory and Critical Theory). ยิ่งไปกว่านั้น ฟรอม์มยังเสนอว่า ทฤษฎีของ Bachofen เกี่ยวกับสังคมที่ผู้หญิงเป็นใหญ่ได้เผยให้เห็นถึง"ความเป็นเครือญาติที่ใกล้ชิดกับอุดมคติต่างๆของสังคมนิยม. ยกตัวอย่างเช่น ความห่วงกังวลในเรื่องสวัสดิการทางด้านวัตถุของผู้ชาย และความสุขอย่างโลกๆ ซึ่งถูกนำเสนอในฐานะที่เป็นหนึ่งในความคิดที่เป็นแกนกลางต่างๆของสังคมผู้หญิงเป็นใหญ่.

ในประเด็นอื่นๆเช่นเดียวกัน ความเป็นจริงเกี่ยวกับสังคมมาตาธิปไตย(ผู้หญิงเป็นใหญ่)ดังที่ได้รับการอธิบายโดย Bachofen เกี่ยวดองอย่างใกล้ชิดกับอุดมคติและเป้าหมายต่างๆของนักสังคมนิยม และค้านกันโดยตรงกับแนวคิดโรแมนติคและจุดมุ่งหมายต่างๆของพวกปฏิกริยา(ฝ่ายขวา). ตามความคิดของ Bachofen, "สังคมมาตาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยยุคแรกๆ ที่ซึ่งเรื่องราวทางเพศเป็นเรื่องปลอดจากข้อจำกัดหรืออิสระจากการลดคุณค่าของคริสเตียน, ที่ที่ความรักของแม่และความเมตตาคือหลักการต่างๆทางศีลธรรมที่มีอิทธิพล, ที่ที่ความเป็นอันตรายที่จะมีถึงญาติพี่น้องเป็นบาปที่ร้ายแรงที่สุด, และที่ที่ทรัพย์สมบัติส่วนตัวไม่มีอยู่" (Fromm {1934} 1970, pp. 118-119).

สำหรับฟรอม์ม, คำถามที่สำคัญอย่างยิ่งซึ่งเกี่ยวพันกับทฤษฎีมาตาธิปไตย, ไม่ใช่เรื่องที่ว่าสังคมที่ผู้หญิงเป็นใหญ่ซึ่งได้รับการอรรถาธิบายโดย Bachofen มันมีอยู่จริงๆหรือไม่. แต่เป็นคำถามที่ว่า ทฤษฎีมาตาธิปไตย เป็นตัวแทนหรือแสดงให้เห็นถึงสถาบันต่างๆ, ทัศนคติหรือท่าที และหลักการเรื่องคุณค่าต่างๆที่ตรงข้ามกับสังคมปิตาธิปไตยแบบทุนนิยม, และสำหรับเหตุผลอันนี้เป็นชัยชนะและยอมรับกันอย่างกว้างขวาง"จากบรรดานักสังคมนิยมทั้งหลายซึ่งแสวงหา, ไม่ใช่ปฏิรูป, และเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับโครงสร้างทางจิตและสังคมของสังคมอย่างสมบูรณ์(Fromm {193} 1970, p. 120).

ด้วยเหตุดังนั้น เราจึงอ่านความเรียงของฟรอม์มที่เขียนถึง Bachofen ในฐานะที่เป็นงานที่ทำมาก่อน เกี่ยวกับการสังเคราะห์ระหว่าง"ลัทธิมาร์กซ์"และ"เฟมินิสม์"(สตรีนิยม)เข้าด้วยกัน และมันเป็นความพยายามครั้งแรกที่จะพัฒนามิติของพวกเฟมินิสม์ภายในทฤษฎีวิพากษ์.

ยกตัวอย่างเช่น ในการสนทนาเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านจากสังคมมาตาธิปไตยไปสู่สังคมปิตาธิปไตย ฟรอม์มได้เสนอหนทางบางอย่างที่โครงสร้างสังคมซึ่งผู้ชายเป็นใหญ่ "ได้ถูกผูกเข้ากันอย่างใกล้ชิดกับอัตลักษณ์ทางชนชั้นของสังคมทุกวันนี้".... ครอบครัวแบบผู้ชายเป็นใหญ่เป็นหนึ่งในสถานะที่สำคัญที่สุด สำหรับการสร้างทัศนคติทางจิตวิทยาขึ้นมา ซึ่งปฏิบัติการและธำรงเสถียรภาพเกี่ยวกับสังคมชนชั้นเอาไว้(Fromm {1934} 1970, p. 124).

ในทัศนะของเขา, "ปมอันซับซ้อนเกี่ยวกับพ่อเป็นศูนย์กลาง"(patricentric complex) พัฒนาขึ้นมาในสังคมชนชั้นกลาง ซึ่งรวมเอาการพึ่งพาอารมณ์ความรู้สึกในอำนาจของพ่อเข้าไว้ด้วย, รวมถึงส่วนผสมอันหนึ่งของความกระวนกระวายใจ, ความรักและความเกลียดชังไว้เช่นกัน; การบ่งถึงเอกลักษณ์ที่เป็นอย่างเดียวกับอำนาจของความเป็นพ่อ ที่เผชิญหน้ากับหรือตรงข้ามกับความอ่อนแอ; นั่นคือ ความแข็งแรงและมีบรรทัดฐานคุณงามความดี(superego)ที่เข้มงวด หลักการของมันคือ "หน้าที่"มีความสำคัญยิ่งกว่า"ความสุข"; ความรู้สึกผิดต่างๆ, การผลิตซ้ำครั้งแล้วครั้งเล่าโดยความขัดแย้งระหว่างความต้องการต่างๆของบรรทัดฐานคุณงามความดี(superego)กับสิ่งเหล่านั้นของความเป็นจริง, ผลหรืออิทธิพลของมันต้องการจะทำให้ผู้คนเป็นคนที่เซื่องๆ ว่านอนสอนง่าย และยอมรับอำนาจหน้าที่. มันเป็นเงื่อนไขสังคมจิตวิทยาอันนี้นี่เองที่อธิบายว่า ทำไม โดยเกือบทั่วไปแล้ว ครอบครัวได้รับการพิจารณาว่าเป็นรากฐานของสังคม(หรืออย่างน้อยที่สุด เป็นที่ค้ำจุนสนับสนุนสังคม)" (Fromm {1934} 1970, p. 124).

ในสังคมซึ่งพ่อเป็นศูนย์กลาง(patricentric society), ความสัมพันธ์ของคนกับพ่อเป็นแกนกลางหลัก. ไปพ้นจากทฤษฎีของฟรอยด์เกี่ยวกับปมออดิพัส(Oedipus complex) ซึ่งได้ให้เหตุผลความสัมพันธ์พ่อลูกว่ามีความสำคัญอันดับแรกสุดในพัฒนาการทางจิตวิทยา, ฟรอม์มได้ทำรายงานสรุปหลายหลาก ที่พูดถึงอำนาจหน้าที่ของความเป็นพ่อได้รับการสร้างบรรทัดฐานคุณงามความดีขึ้นมาในกระบวนการต่างๆที่ทำให้เป็นสังคม, และในหนทางนั้น กระบวนการที่พูดถึงนี้ได้ผลิตซ้ำคุณค่าต่างๆของลัทธิทุนนิยมและสังคมชนชั้นกลางขึ้นมา.

ต่อจากนั้น ฟรอม์มเปรียบเทียบความแตกต่างความสัมพันธ์ของลูกๆกับแม่ของพวกเขา และพูดถึงคุณค่าต่างๆที่แม่เป็นศูนย์กลาง(matricentric values)ซึ่งห้อมล้อมอยู่ในความสัมพันธ์อันนี้. ในขณะที่ความสัมพันธ์ที่มีกับพ่อ บ่อยครั้ง เป็นเงื่อนไขต่อพฤติกรรม, ความสำเร็จ, และความสามารถของคนในการทำให้ความหวังต่างๆสมปรารถนา. ส่วนความรักของแม่ และบรรทัดฐานคุณงามความดีที่ตายตัวน้อยกว่า, ความรู้สึกผิด, และความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในชัยชนะของความรักกลับไม่เป็นเงื่อนไขที่สำคัญ:

"กล่าวโดยสรุป, เราสามารถพูดได้ว่า ลักษณะปัจเจกและสังคมซึ่งมีพ่อเป็นศูนย์กลาง ได้รับการสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมาโดยปมซับซ้อนอันหนึ่งเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะที่ดำเนินรอยตามสิ่งซึ่งมามีอิทธิพลครอบงำ: นั่นคือ บรรทัดฐานคุณงามความดีหรือซุปเปอร์อีโก้ที่เข้มงวด, ความรู้สึกผิด, การว่านอนสอนง่ายที่รักชอบอำนาจแบบพ่อ, ความปรารถนาและความพึงพอใจที่ครอบงำผู้คนที่อ่อนแอกว่า, การยอมรับความทุกข์ทรมานในฐานะการลงโทษสำหรับความผิดพลาดของตัวเอง และความสามารถในการทำลายความสุข เป็นต้น".

"ในทางตรงข้าม ปมซับซ้อนซึ่งแม่เป็นศูนย์กลางได้ถูกสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมาโดยความรู้สึกเกี่ยวกับการไว้วางใจ ซึ่งมองโลกในแง่ดีในเรื่องความรักที่ปราศจากเงื่อนไขของแม่, ความรู้สึกิผดมีน้อยกว่า, บรรทัดฐานคุณงามความดีอ่อนกว่า, และมีความสามารถหรือสมรรถนะมากกว่าในเรื่องของความพึงพอใจและความสุข. การกระทำที่เป็นไปตามลักษณะเฉพาะเหล่านี้ มันได้พัฒนาอุดมคติเกี่ยวกับความเมตตากรุณาในแบบของแม่ขึ้นมา และมีความรักในคนที่อ่อนแอ และคนอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือ" (Fromm {1934} 1970, p. 131).

Summing up, we can say that the patricentric individual -- and society -- is characterized by a complex of traits in which the following are predominant: a strict superego, guilt feelings, docile love for paternal authority, desire and pleasure at dominating weaker people, acceptance of suffering as a punishment for one's own guilt, and a damaged capacity for happiness. The matricentric complex, by contrast, is characterized by a feeling of optimistic trust in mother's unconditional love, far fewer guilt feelings, a far weaker superego, and a greater capacity for pleasure and happiness. Along with these traits there also develops the ideal of motherly compassion and love for the weak and others in need of help (Fromm {1934} 1970, p. 131).

การล่วงหน้ามาก่อนทฤษฎีต่างๆของนักสตรีนิยมในปัจจุบันเกี่ยวกับความเป็นแม่, ฟรอม์มได้กำหนดเรื่องคุณสมบัติและคุณค่าของความเป็นผู้หญิง / แม่เป็นศูนย์กลางขึ้นมา ขณะเดียวกันก็วิพากษ์วิจารณ์คุณสมบัติและคุณค่าแบบของผู้ชาย / พ่อเป็นศูนย์กลางต่างๆ. หลังจากภาพสเก็ตทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมแม่เป็นศูนย์กลางกับยุคกลางและลัทธิคาธอลิค(the Middle Ages and Catholicism), และวัฒนธรรมพ่อเป็นศูนย์กลางกับชนชั้นกลาง, ลัทธิทุนนิยม, และลัทธิโปรเตสแตนท์, ฟรอม์มได้สรุปว่า:

"ความจริง, ตัวแทนของพัฒนาการหรือความงอกงามอย่างเต็มที่เกี่ยวกับแนวโน้มต่างๆของการที่แม่เป็นศูนย์กลางได้พิสูจน์ให้เห็นในชนชั้น, ซึ่งแรงกระตุ้นของพวกเขาสำหรับทั้งหมดนั้น, ได้อุทิศให้กับงานซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยพื้นฐานจากข้อพิจารณาต่างๆทางเศรษฐกิจมากกว่าจากความเสียใจต่อการกระทำที่มีอยู่ภายใน: นั่นคือ ในชนชั้นแรงงาน(working class). โครงสร้างทางด้านอารมณ์ความรู้สึกอย่างเดียวกันนี้ ได้ตระเตรียมเงื่อนไขต่างๆอันหนึ่งขึ้นมาซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อลัทธิสังคมนิยมมาร์กซิสท์ในชนชั้นแรงงาน - ภายใต้ขอบเขตอิทธิพลของมันที่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติเฉพาะของโครงสร้างการขับเคลื่อนของพวกเขา"(Fromm {1934} 1970, p. 134).

ในการอ่านงานของฟรอม์ม, Bachofen ได้ชี้ถึงสัมพัทธภาพของความสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งดำรงอยู่กับสถาบันต่างๆ อย่างเช่น การแต่งงาน, การมีผัวเดียวเมียเดียว, ทรัพย์สินส่วนตัว, และรูปแบบต่างๆทางสังคมของชนชั้นกลาง. ฟรอม์มเสนอว่า ทัศนะหรือมุมมองนั้นในโครงสร้างทางสังคมเกี่ยวกับการจัดการสังคม ควรได้รับการต้อนรับโดยทฤษฎีและกิจกรรมทางการเมือง ที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานของโครงสร้างสังคมที่ดำรงอยู่" (Fromm {1932} 1970, p. 123). มันมีเหตุผลต่างๆในทางการเมืองอื่นๆอยู่ด้วยที่ให้เหตุผลว่า ทำไมทฤษฎีอันหนึ่งนั้นอาจเป็นที่ดึงดูดใจต่อความก้าวหน้า: "นอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ว่า ทฤษฎีเกี่ยวกับมาตาธิปไตยเป็นเส้นที่อยู่ข้างใต้สัมพัทธภาพของโครงสร้างสังคมของชนชั้นกลาง, มันอาจจะไม่ใช่เนื้อหาที่พิเศษมากมายอะไรนัก แต่ก็เอาชนะความรู้สึกเห็นอกเห็นใจของบรรดาๆมาร์กซิสท์ทั้งหลายได้.

ก่อนอื่นใดทั้งหมด, มันค้นพบยุคที่ผู้หญิงเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่(authority)และเป็นจุดสนใจของสังคม มากกว่าตกเป็นทาสของผู้ชายและเป็นเพียงวัตถุชิ้นหนึ่งของการแลกเปลี่ยน; อันนี้ได้ให้การสนับสนุนที่สำคัญต่อการต่อสู้เพื่อการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระทางการเมืองและสังคมของผู้หญิงทั้งหลาย. การต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ของคริสตศตวรรษที่ 18 จะต้องได้รับการหยิบยกขึ้นมาใหม่ โดยคนเหล่านั้นซึ่งต่อสู้เพื่อสังคมที่ปราศจากชนชั้น" (Fromm {1932} 1970, p. 123).

ฟรอม์มได้สรุปการศึกษาดังกล่าว โดยชี้ถึงความสอดคล้องเข้ากันได้ระหว่าง แนวโน้มต่างๆที่"แม่เป็นศูนย์กลาง"กับ"ลัทธิมาร์กซ์" - และระหว่าง"ลัทธิมาร์กซ์"กับ"เฟมินิสม์"(สตรีนิยม): "พื้นฐานทางจิตเกี่ยวกับโปรแกรมสังคมแบบมาร์กซิสท์คือปมอันซับซ้อนของแม่เป็นศูนย์กลางอย่างเด่นชัด.

ลัทธิมาร์กซ์มีไอเดียที่ว่า ถ้าความสามารถในการผลิตทางเศรษฐกิจได้รับการรวบรวมเป็นระบบอย่างมีเหตุผล, คนทุกคนก็ควรจะได้รับอุปทานหรือสินค้าเพียงพอตามที่ตนต้องการ - ไม่ว่า บทบาทของเขาในกระบวนการผลิตจะเป็นอย่างไรหรือทำหน้าที่อะไรก็ตาม; ยิ่งไปกว่านั้น ทั้งหมดนี้แต่ละปัจเจกบุคคลอาจทำน้อยกว่าที่จำเป็นอย่างในปัจจุบันนี้ และในท้ายที่สุด มนุษย์ทุกคนมีสิทธิอันหนึ่งโดยปราศจากเงื่อนไขที่จะมีความสุขในชีวิต และความสุขนี้ โดยพื้นฐานแล้วมีอยู่อย่างถาวรใน"การผ่อนคลายอย่างกลมกลืนกับบุคลิกภาพของคนเรา" -

ไอเดียหรือความคิดต่างๆเหล่านี้เป็นเรื่องที่มีเหตุผล, เป็นการแสดงออกของความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับการนำเสนอออกมาในลักษณะเพ้อฝันภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐกิจต่างๆในช่วงต้นๆ: "พระแม่ธรณีได้ให้สิ่งที่ลูกๆของเธอทั้งหมดต้องการ โดยปราศจากการนำเอาเรื่องคุณงามความดีของลูกๆมาคิด" (Mother Earth gives all her children what they need, without regard for their merits) (Fromm {1934} 1970, p. 134-135).

ขณะเดียวกันใครบางคนอาจโต้แย้งสมการของฟรอม์มที่นำเอาวัฒนธรรม"แม่เป็นศูนย์กลาง"กับ"สังคมนิยมมาร์กเซียน"มาวาง มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะหมายเหตุลงไปเกี่ยวกับความเอาใจใส่ของเขา สำหรับการปลดปล่อยผู้หญิงให้เป็นอิสระ และการโจมตีของเขาในเรื่องปิตาธิปไตย. ใครคนหนึ่งยังอาจบันทึกลงไปได้ด้วยในบทความดังกล่าวอันเป็นความสนใจของเขา ซึ่งได้รับการแบ่งปันโดยสมาชิกที่สำคัญคนอื่นๆของแฟรงค์เฟริทสคูล, ในเรื่องของความปิติยินดีเกี่ยวกับเรื่องเพศและความสุข.

เขาเชื่อการเน้นของ Bachofen ในเรื่อง"ความสุขทางวัตถุบนโลก" และ"ลัทธิสุขนิยมทางสังคม"ในทฤษฎีของเขาเกี่ยวกับมาตาธิปไตย ซึ่งได้มาช่วยอธิบายและสร้างความดึงดูดใจต่อบรรดานักคิดสังคมนิยม (Fromm {1934} 1970, p. 125), และขีดเส้นใต้ความผูกมัดตัวเองของฟรอม์มกับความสุขในทางวัตถุและความพึงพอใจทางเพศในการสนทนากันเกี่ยวกับ "เรื่องเพศ"ว่า ได้ให้โอกาสขั้นมูลฐานและเต็มไปด้วยพลานุภาพอันหนึ่งต่อความพึงพอใจและความสุข" (Fromm {1934} 1970, p. 126).

ขณะที่ฟรอม์มได้เสนอการวิเคราะห์ในแง่บวกอันหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับหลักการต่างๆที่แม่เป็นศูนย์กลาง ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการกำหนดโดย Bachofen และวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับคุณค่าต่างๆของปิตาธิปไตย แน่นอนไม่ใช่ว่า การใช้ประโยชน์ของเขาเกี่ยวกับปกรณัมโบราณเกี่ยวกับมาตาธิปไตย คือประดิษฐกรรมทางแนวคิดที่ดีที่สุดต่อการกำหนดคุณสมบัติต่างๆของผู้หญิง. มันมีข้อสงสัยที่ขจรขจายไปอย่างกว้างไกลทุกวันนี้เกี่ยวกับสังคมต่างๆที่แม่เป็นใหญ่(มาตาธิปไตย)ที่ว่า จริงๆแล้วมันมีอยู่จริงหรือไม่ และการทำให้มันค่อนข้างจะโรแมนติคของ Bachofen เกี่ยวกับความเป็นแม่และคุณค่าต่างๆที่แม่เป็นใหญ่ มันได้สร้างบทบาทมาตรฐานขึ้นมาที่กำหนดเงื่อนไขสำหรับผู้หญิงให้กระทำ, ด้วยเหตุนี้ มันจึงมาจำกัดควบคุมอิสรภาพของพวกเธอที่จะเลือกแบบต่างๆของการดำรงอยู่ที่ผันแปรไปโดยบรรทัดฐานต่างๆทางสังคม.

ผู้หญิงจำนวนมากในทุกวันนี้กำลังพยายามที่จะหนีรอดไปจากนิยามของพวกเธอในฐานะของความเป็นแม่ ซึ่งมายาคติในลักษณะมาตาธิปไตยนำมาใช้นิยามบทบาทหน้าที่ที่เป็นสาระหรือแก่นของความเป็นผู้หญิง. มันคือคำถามข้อสงสัยต่างๆที่เกี่ยวพันกับคุณค่าทางด้านมานุษยวิทยาและอุดมคติวิทยาเกี่ยวกับงานของ Bachofen ที่ต้องการถูกนำมาคิดให้ถ้วนทั่ว.

แต่อย่างไรก็ตาม บางทีจะเป็นงานของฟรอม์ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ในเรื่องอำนาจหน้าที่และครอบครัวซึ่งค่อนข้างจะมีคุณค่าสำหรับลัทธิสตรีนิยมร่วมสมัย มากกว่าภาพสะท้อนต่างๆของเขาที่มีต่อ Bachofen และเรื่องมาตาธิปไตย. ฟรอม์มได้แสดงบทบาทอย่างสำคัญ ในการใช้วิธีการค้นคว้าสืบสวนในหลายๆสาขาวิชาต่อความเชื่อมโยงต่างๆระหว่าง "ครอบครัว" กับ "อำนาจหน้าที่" ซึ่งเป็นโครงการวิจัยอันมีแก่นสารมากที่สุด ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยสังคมในช่วงทศวรรษที่ 1930.

ผลลัพธ์ต่างๆของการศึกษามาเป็นเวลา 5 ปีได้รับการตีพิมพ์ในรายงานวิจัยสองเล่มที่ชื่อว่า Studien uber Autoritat und Familie (Fromm, Horkheimer, et. al. 1936). ตอนที่หนึ่งประกอบด้วยการศึกษาในเชิงทฤษฎีจากนักวิชาการ 3 คน คือ Horkheimer, Fromm, และ Marcuse และได้รับการเรียบเรียงโดย Horkheimer; ในส่วนที่สองได้รับการเรียบเรียงโดย Fromm และประกอบด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการทำให้เป็นสังคมขึ้นมาในชนชั้นที่หลากหลาย โดยการศึกษาพิเศษเกี่ยวกับการศึกษาในเรื่องเพศ, การทำให้เป็นสังคมของเยาวชน, และการทำให้เป็นสังคมในครอบครัวต่างๆที่ไม่มีงานทำ; ส่วนที่สามเรียบเรียงโดย Lowenthal ซึ่งประกอบด้วยการศึกษาปัจเจกบุคคล ซึ่งมีหลายๆหัวข้อในขอบเขตความรู้เกี่ยวกับครอบครัวและอำนาจหน้าที่ในหลายๆประเทศที่แตกต่างกัน

ในความเรียงทางทฤษฎีของเขา, อีริค ฟรอม์ม พยายามที่จะจัดหาหรือให้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆทางแนวคิดเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ต่างๆระหว่างอำนาจหน้าที่และครอบครัว. เขาและเพื่อนร่วมงานต่างค้นหาเพื่อที่จะกำหนด"แรงกระตุ้นทางจิตวิทยาซึ่งเป็นมูลเหตุให้ผู้คนยอมจำนนต่ออำนาจหน้าที่ และทำให้การยอมจำนนเป็นที่น่าพอใจโดยไม่พิจารณาถึงธรรมชาติของคำสั่งต่างๆ" (Fromm 1936, p. 908).

ฟรอม์มอ้างว่า ทฤษฎีฟรอยเดี่ยนได้ให้"วิธีการที่ดีสุดและยอดเยี่ยมที่สุดสำหรับการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพลวัตทางจิตเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่", และการใช้วิธีการจัดหมวดหมู่ต่างๆในแบบฟรอยเดี่ยนเกี่ยวกับอีโก้, ซูปเปอร์อีโก้, และซาโด-มาโซคิสม์(sado-masochism - ปฏิบัติการทางเพศที่เป็นการรวมกันของซาดิสม์และมาโซคิสม์เข้าด้วยกัน)เพื่อมาอธิบายให้ชัดเจนเกี่ยวกับกลไกต่างๆของอำนาจหน้าที่และการยอมจำนน

โดยดำเนินไปตามความคิดของฟรอยด์, ฟรอม์มได้นำเสนอซูปเปอร์อีโก้ในฐานะที่เป็น การทำให้เป็นเรื่องภายในเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ทางสังคม(the super-ego as the internalization of social authority), "และโดยเฉพาะเกี่ยวกับพ่อในครอบครัวปิตาธิปไตยของยุคโมเดิร์น. เมื่ออำนาจหน้าที่ภายนอกถูกทำให้เป็นเรื่องของภายใน ปัจเจกชนจึงเชื่อฟังคำสั่งและข้อห้ามต่างๆของมัน ไม่เพียงเนื่องมาจากความกลัวจริงๆในการลงโทษภายนอกเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะความกลัวเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในด้วย ซึ่งผู้คนทั้งหลายได้สร้างขึ้นมาภายในตัวของเขาเอง.

ขณะเดียวกัน ซูปเปอร์อีโก้ก็เป็นหนี้การมีอยู่ของมันต่อการทำให้เป็นเรื่องภายในของอำนาจหน้าที่, การมีอยู่อันนี้ได้รับการเสริมเพิ่มพลังอยู่เสมอ โดยภาพฉายอันหนึ่งของซูปเปอร์อีโก้ลงบนตัวแทนต่างๆของอำนาจหน้าที่. อย่างหลังนี้ได้รับการประสิทธิ์ประสาทให้โดยคุณสมบัติต่างๆของซูปเปอร์อีโก้, ศีลธรรมของมัน, ปัญญาญานและความแข็งแกร่งของมัน, ในลักษณะท่าทีอันหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอิสระจากความเป็นจริงต่างๆของกรณีนั้น.

ในหนทางนี้ อำนาจหน้าที่ต่างๆเหล่านี้กลายเป็นการปรับตัวให้ดีขึ้นๆเข้าสู่การทำให้เป็นเรื่องภายในมากขึ้น และเหมาะสมมากยิ่งขึ้นต่อบทบาทของพวกเขาซึ่งเป็นผู้แบกรับเกี่ยวกับซูปเปอร์อีโก้. ในลักษณาการณ์เช่นนี้ วงจรต่อเนื่องอันหนึ่งจึงได้รับการสร้างหรือสถาปนาขึ้นมา. เพราะฉะนั้น ความสัมพันธ์เกี่ยวกับอำนาจของซูปเปอร์อีโก้จึงมีลักษณะที่เป็นวิภาษวิธี (Fromm 1936, p. 908).

นอกจากนั้น ฟรอม์มยังอธิบายถึงครอบครัวว่าเป็นสถาบันที่สำคัญอย่างไรในการสร้างซูปเปอร์อีโก้ขึ้นมา และพัฒนาการเกี่ยวกับซูปเปอร์อีโก้ที่เข้มแข็ง ที่ง่ายต่อการสะกดแรงกระตุ้นที่จะก่อกบฎต่างๆ. อีโก้ที่อ่อนแอยอมจำนนต่ออำนาจของซูปเปอร์อีโก้, ด้วยเหตุนี้ ฟรอม์มจึงเรียกร้องการสร้างอีโก้ที่เข้มแข็งขึ้นมา ซึ่งจะทำให้ความคิดและการกระทำที่เป็นอิสระมีความเป็นไปได้มากขึ้น. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อันนี้เป็นความเร่งด่วน นับแต่ที่เขาเชื่อว่าอีโก้ๆต่างๆของผู้คนกำลังอ่อนกำลังลง จากการที่"อัตลักษณ์แบบมาโซคิสติค"(masochistic - ความพึงพอใจที่เกิดจากการทำร้ายตัวเอง) เริ่มปรากฎว่าเกือบๆจะเป็นความปกติ.

"อัตลักษณ์"สำหรับฟรอม์มอ้างอิงถึงโครงสร้างบุคลิกภาพเฉพาะ ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการสะกดและการะเหิดของแรงขับต่างๆระดับสัญชาตญาน, การก่อตัวของปฏิกริยา, และกระบวนการทำให้เป็นสังคม. อัตลักษณ์ทางสังคมอ้างอิงถึงโครงสร้างอัตลักษณ์ที่ครอบงำในสังคมต่างๆที่แตกต่างกัน. อัตลักษณ์แบบมาโซคิสติค ฟรอม์มเชื่อว่ามีความผูกพันอย่างใกล้ชิดกับซาดิสม์(ความพึงพอใจในการทำร้ายผู้อื่น). จุดเน้นที่หลักๆที่สำคัญในความเรียงของฟรอม์ม เขาเน้นหนักในเรื่องของอัตลักษณ์แบบซาโด-มาโซคิสติค(sado-masochistic character) ซึ่งเขาเชื่อว่ากำลังกลายเป็นส่วนสำคัญอันหนึ่งของเครื่องมือทางจิตวิทยาของสังคมที่ยึดถืออำนาจแบบเบ็ดเสร็จต่างๆ.

ในอัตลักษณ์แบบซาโด-มาโซคิสติคนั้น มันจะยอมจำนนต่ออำนาจที่มาครอบงำ และพลังอำนาจที่เหนือกว่าตามลำดับศักดิ์ เช่น ใครสูงต่ำกว่ากันในสังคมที่มีการจัดลำดับ(social hierachy). อัตลักษณ์แบบมาโซคิสติคได้รับความพึงพอใจทั้งจากการยอมจำนนต่ออำนาจที่เหนือกว่า และจากอำนาจที่ยัดเยียดหรือไปกดคนที่ต่ำกว่า. ดังนั้น แบบฉบับซึ่งเป็นอัตลักษณ์อันนี้ จึงช่วยผลิตซ้ำอำนาจทางสังคมขึ้นมาและไปสนับสนุนส่งเสริมการครอบงำทางสังคมและความก้าวร้าว

ฟรอม์มอ้างว่า สังคมที่ยึดถืออำนาจแบบเบ็ดเสร็จทั้งหลายได้สร้างความต้องการและความพึงพอใจต่างๆขึ้นมา ซึ่งเป็นผลที่ตามมาจากโครงสร้างอัตลักษณ์ในแบบซาโด-มาโซคิสติคต่างๆ. นอกจากนั้น ฟรอม์มยังเชื่อว่า สภาพเงื่อนไขอันหลากหลายทางเศรษฐกิจได้ทำให้มันเลวร้ายลงไปอีก, ทำให้ความกังวลใจทางสังคมงอกงามขึ้น และขณะที่อำนาจของพ่อในครอบครัวเสื่อมทรามลง, พลังของอำนาจทางสังคมกลับเจริญขึ้นอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ปัจเจกชนยอมจำนนต่อการครอบงำโดยตรงจากสังคมมากขึ้น.

ในการสนทนาช่วงสรุปเกี่ยวกับการไม่ยอมอ่อนข้อให้กับอำนาจ, ฟรอม์มเรียกร้องให้ทำการกบฎต่ออำนาจอันไร้เหตุผล และพัฒนาเกี่ยวกับอีโก้ที่เข้มแข็งขึ้นมา ซึ่งจะต้องไม่พึงพอใจต่อการครอบงำหรือการตกเป็นรอง และจะต้องประกาศตัวเป็นอิสระจากอำนาจทางสังคมของผู้ที่มำอำนาจเหนือกว่า

สมาชิกคนอื่นๆของสถาบัน ในท้ายที่สุด เกิดความสงสัยขึ้นมายิ่งกว่าฟรอม์มเสียอีก ซึ่งพวกเขาได้ให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับความเป็นไปได้ต่างๆของการพัฒนาอีโก้ให้เป็นอิสระในสังคมทุนนิยมร่วมสมัย และสุดท้าย ได้เน้นถึงการที่จะเพิ่มเติมสถาบันต่างๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชนและการเมืองที่ทำให้เป็นสังคมลงในปัจเจกชนทั้งหลายโดยตรง(Kellner 1989b).

นอกจากนี้ การให้ความเอาใจใส่กับครอบครัว, และการทำให้เป็นสังคม ได้ทำให้งานของฟรอม์มมีเอกลักษณ์อย่างต่อเนื่องในปีต่อๆมา. เช่นเรื่อง Escape From Freedom (หนีไปจากอิสรภาพ)(Fromm 1941) ได้วิเคราะห์ถึงหนทางต่างๆที่ปัจเจกชนได้ทำให้อำนาจอันไร้เหตุผลเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติภายใน ในช่วงระหว่างยุคเผด็จการฟาสซิสท์ และเรื่อง Man For Himself (มนุษย์เพื่อตัวเอง) และ The Sane Society (สังคมที่ปกติ)(Fromm 1955) ได้วิเคราะห์ว่า ปัจเจกชนได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมทุนนิยมร่วมสมัยและสังคมปิตาธิปไตยกันอย่างไร.

การตัดเชื่อมกันของลัทธิมาร์กซ์, เฟมินิสท์(สตรีนิยม), และจิตวิเคราะห์ ในงานของฟรอม์ม เป็นการลงมือกระทำก่อนแนวโน้มบางอย่างของทฤษฎีเฟมินิสท์ที่ตามมาภายหลัง และงานของเขาได้คาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับการสังเคราะห์ที่เป็นไปได้ระหว่าง"ทฤษฎีวิพากษ์"กับ"เฟมินิสม์". นับแต่ที่การวิเคราะห์เกี่ยวกับเพศ(gender)ได้กลายมาเป็นประเด็นหรือแง่มุมที่สำคัญของทฤษฎีเฟมินิสม์ร่วมสมัย, มาถึงตรงนี้ ขอให้เราได้สืบสาวลึกลงไปถึงสิ่งซึ่งมาสนับสนุนฟรอม์มในด้านต่างๆ ซึ่งทำให้เขาสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับเพศ(gender theory)ขึ้นมา และสิ่งที่เป็นข้อจำกัดต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อเขาจากการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ที่เหมาะสมกว่า เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในหัวข้อต่อไป...

หมายเหตุ: เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อความ กรุณาอ่านต่อบทความเรื่องที่ 160 ซึ่งจะนำเสนอบน website มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนราวต้นเดือนมีนาคม 2545 นี้

Notes
This paper was first delivered at International interdisciplinary Symposium on Erich Fromm and the Frankfurt School in Stuttgart-Hohenheim on May 31-June 2, 1991 and I am grateful to a number of people for critical comments that helped with its reformulation. In particular, I am grateful to Rainer Funk for providing suggestions concerning Fromm's theory of gender as well as material on the topic from the Erich Fromm archives. I am also thankful to Daniel Burston for comments on my paper and for providing me with an unpublished paper "Fromm's Sexual Politics" and his book The Legacy of Erich Fromm (1991). Finally, I would like to thank Renate Hoffman-Korth and Barbara Brick for stimulating discussions concerning the politics of gender, and Steve Bronner and Bernard Gึrlich for penetrating discussions of Fromm and the Frankfurt School.

1. My reflections in this article were first developed as a paper on Patricia Mills' book Women, Nature and Psyche (1987) delivered at the annual meeting of the Society for Existential and Phenomenological Philosophy at Northwestern University in 1988. Mills develops a sharp feminist critique of Hegel, Marx, Freud, and the Critical Theory of the Frankfurt School while carrying out discussions of the ways that Critical Theory does and does not provide adequate perspectives for contemporary feminism. The thrust of Mills' critique is that the Frankfurt School theorists represent and analyze women's situation from a male point-of-view and exclude the specificity of women's experience from their theoretical positions, while privileging male self-development, male relations (to father, mother, siblings, and others), and male experience and subjectivity over women's self-development, relations, experience, and subjectivity. This leads Mills to present (counter)analyses of motherhood, sisterhood, women's self-development and sexuality, and relations to supplement the exclusion of women from male theory. In this paper, I shall suggest that perhaps Fromm, despite his limitations, is the critical theorist who went furthest in developing Marxist-feminist perspectives for Critical Theory. For my interpretation of Critical Theory, see Kellner 1989a.

2. The Left's position toward Fromm has been largely polemical. See Marcuse 1955; Jacoby 1974; and the discussion in Burston 1991 who defends Fromm against Marcusean attacks. For an earlier defense of Fromm, see Rickert 1986 who attempts to revise prevailing Left dismissals of Fromm as an idealist, revisionist, and worse by valorizing his positive contributions to radical social theory and by defending Fromm against critiques by Marcuse, Adorno, Jacoby, and others. Unfortunately, Rickert's project of revalorizing Fromm was cut short by his untimely death.

3. On the project of developing a synthesis of Marx and Freud, see Jay 1973; Jacoby 1974; and the two-volume anthology Marxismus, Psychoanalyse, Sex-Pol (Frankfurt: Fisher, 1970) which highlights the role of Siegfried Bernfeld, Wilhelm Reich, and the Critical Theorists as early adherents of the attempt to develop a Freudo-Marxism. This project was later taken up by French theorists such as Lyotard, Deleuze, Guattari, and the early Baudrillard. On this project, see Kellner 1989b and Best and Kellner 1991.

4. On Fromm's life and work, see Funk 1982 and 1983 and Burston 1991.

5. In presenting Fromm's interpretation of Bachofen, I am aware of the fierce debates within contemporary feminism and anthropology concerning the nature, history, and normative consequences of the theory of matriarchy and would merely propose taking Fromm's analysis as a conceptual myth which illuminates certain aspects of the history of gender and which proposes certain normative ideals for the present; I shall also make some critical comments concerning Fromm's appropriation of Bachofen below. For some contemporary interpretations and debates on Bachofen, see the essays collected in Heinrich 198X. Walter Benjamin also wrote a highly complementary essay on Bachofen; see Benjamin 1980, pp. 219ff. where he notes Fromm's contribution to explicating Bachofen's legacy (p. 231).

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม