ช่วงเวลาตลอดที่กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลเรืองอำนาจอยู่ในอินเดีย ก็ทำให้ชาวอินเดียเดิมที่เสื่อมล้าแล้ว ต้องแตกกระจัดกระจาย กระสานซ่านเซน เป็นราชา เป็นกลุ่มเล็กๆ อันนี้ก็ยังไม่ยับเยินเท่าไหร่
แต่เมื่อบริษัทค้าขายอินเดียตะวันออกของอังกฤษเข้ามา ในคริสตศักราชที่ 18 ตอนแรกก็เข้ามาค้าขายเฉยๆ มาตั้งสำนักงาน มาสร้างเป็นออฟฟิตเพื่อจะค้าขาย แถบเมืองท่าคือ กัลกัตตา บอมเบย์ แต่ต่อมา ประธานหรือผู้จัดการใหญ่ของบริษัท เห็นว่าถ้าไม่สามารถที่จะครอบงำคนอินเดียได้ ก็ทำธุรกิจยาก เพราะฉะนั้นสุดท้ายบริษัทการค้านี้จึงกลายมาเป็นผู้ปกครองอินเดียโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวในเวลาต่อมา
QUOTATION
ชาวอังกฤษที่ว่านี้เห็นว่าวัฒนธรรมอินเดียเป็นอุปสรรคต่อการทำมาค้าขายและการแสวงหากำไร
จึงพยายามเปลี่ยนแปลงให้พวกเขาเกิดความคิดความรู้สึกว่า อินเดียต้องเปลี่ยนให้เป็นอังกฤษหรือตะวันตกให้ได้
กระบวนการทำให้เป็นตะวันตก ได้เข้าไปทำลายสิ่งที่เรียกว่าระบบความเชื่อเดิมของอินเดียอย่างรุนแรงและมากมาย
ที่ใช้คำว่าอย่างรุนแรงและมากมาย หมายความว่า ทำให้ชาวอินเดียเกิดกระแสหรือค่านิยมที่ดูหมิ่นดูแคลนความเป็นอินเดียเอง
ซึ่งเป็นความชาญฉลาดของชาวอังกฤษที่เขาได้จัดระบบการศึกษา ซึ่งทำให้คนชั้นสูงของอินเดียหันมาเรียนหนังสือแบบอังกฤษ
และเมื่อคนเหล่านี้มาเรียนหนังสือแบบอังกฤษ ก็ได้รับการตอบแทนด้วยการให้มีฐานะตำแหน่งทางสังคมที่สูงขึ้น
เพราะฉะนั้น คนที่มีฐานะทางสังคมก็ส่งลูกส่งหลานมาเรียนหนังสือในโรงแรียนแบบอังกฤษ
หรือไม่ก็ส่งไปเรียนที่อังกฤษ ภายหลังก็กลับมาเป็นผู้นำทางสังคม. กระบวนการทำให้เป็นตะวันตกที่ว่านี้
ทำให้วัฒนธรรมอินเดียตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว ต่ำลงหมายความว่ามีราคา มีความรู้สึกว่าสูงส่งลดน้อยลง
(บทความนี้ยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
ระบบสีผิวต่อมาได้ถูกกำหนดชัดเจนตามลักษณะสังคมชุมชนที่พวกอารยันได้แบ่งหน้าที่เอาไว้ พวกอารยันเป็นพวกนักรบ และเป็นพวกเดินทางผจญภัยมาตลอด เพราะฉะนั้น จึงเหมือนกองทัพซึ่งต้องมีการแบ่งหน้าที่กันว่าใครทำอะไรกัน อารยันเหล่านี้ แม้ว่าจะเข้ามาในอินเดียและได้ตั้งหลักแหล่งบนแผ่นดินที่แน่ชัดแล้ว แต่ก็ได้สร้างกรอบของชุมชนโดยการแบ่งวรรณะ จึงแบ่งให้มีวรรณะที่ในเวลาต่อมาก็คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศ และศูทร. สามวรรณะแรกก็คือชนผิวขาว วรรณะสุดท้าย(ศูทร)ก็คือคนผิวดำ
เมื่อมีการแบ่งวรรณะ สีจึงแตกกระจายออกไป ก็คือคำว่า"ขาว"ตอนต้น แทนที่จะเป็นเรื่องของสีผิวเฉยๆ ก็ได้ถูกทำให้มีความหมายเชิงหน้าที่ เพราะฉะนั้น ในการกำหนดเรื่องวรรณะจึงมีการกำหนดสีประจำวรรณะขึ้นมาด้วย เช่น "พราหมณ์"มีสีขาวเป็นสัญลักษณ์, "กษัตริย์"ใช้สีแดง, "แพศ"ใช้สีเหลืองหรือส้ม, และพวก"ศูทร"หรือพวกชนชั้นต่ำซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเดิมที่มีผิวสีดำ ก็ใช้สีดำ
กระบวนการใช้สีนี้ได้ทำให้เกิดมีนัยะของความหมายของสี ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความสวยงาม แต่หมายถึงระบบคุณค่าของชีวิต นั่นคือหมายความว่า เรื่องสีได้ถูกกำหนดขึ้นมาแบบเบ็ดเสร็จ และในกรณีเช่นที่ว่านี้เอง สีจึงทำให้มีอิทธิพลต่อความคิดและความรู้สึก เช่น เราเห็นสีขาว จะนึกถึงความสะอาดบริสุทธิ์ เพราะคนอินเดียมีความเชื่อว่า พวกพราหมณ์เป็นพวกที่สะอาด พวกที่บริสุทธิ์ พอเห็นสีแดงก็จะนึกถึงความกล้าหาญ การต่อสู้ เพราะว่าพวกกษัตริย์ใช้สีแดง สีเหลืองหรือสีส้มเป็นสีของพวกแพศที่เป็นเรื่องของการติดต่อค้าขาย ส่วนสีดำหมายถึงคนงาน เพราะฉะนั้น เวลาที่นึกถึงภาพของวรรณะ เราก็จะนึกถึงภาพของสี และเมื่อนึกถึงภาพของสีก็จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของความหมายในชีวิตประจำวัน
ต่อมาเมื่อการต่อสู้ในวัฒนธรรมของอินเดียโบราณ ซึ่งเป็นลักษณะของการต่อสู้ในเรื่องความเชื่ออยู่ด้วย สีเหล่านี้ก็ได้ถูกกระทำให้กระจายไปสู่เทพเจ้าต่างๆ เพราะเมื่อตอนที่อินเดียเป็นเวทีของการต่อสู้ระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำ ก็มีพระเจ้าของแต่ละฝ่ายซึ่งเป็นสัญลักษณ์ได้ต่อสู้กันด้วย เพราะฉะนั้น เทพเจ้าสูงสุดก็จะถูกทำให้เป็นเทพเจ้าของชาวอารยัน เช่น มหาเทพ ในตอนแรกๆของบทสวดในคัมภีร์เรียกว่า"มหาเทพ" หรือบางครั้งก็ใช้คำว่า"รุทธะ" ก็จะเป็นเทพที่มีสีขาว
เทพในส่วนที่เป็นกษัตริย์ จริงๆก็คือ เทพซึ่งในภาษาไทย เช่น รักษาแว่นแคว้นแผ่นดิน ซึ่งในประเทศไทยรู้จักก็คือ ท้าวกุเวร ก็จะใช้สีแดง เป็นตัวอย่าง. ส่วนบางเทพ ซึ่งในตอนต้นไม่มีลักษณะสีที่ชัดเจน แต่ต่อมาถูกทำให้มีความหมาย ก็จะมีสีเข้าไปผสม เช่นบ้านเราอาจจะรู้จักพระอินทร์ในสีเขียว แต่ในอินเดีย พระอินทร์ตามความหมายเดิมคือสีส้ม. ส่วนเทพของชนพื้นเมืองเดิม เช่น พระแม่กาลี พระพฤหัส ก็มีสีดำ เพราะฉะนั้นเวลาเราวาดภาพ เราก็จะใช้สีดำ
ที่ยกตัวอย่างมานี้ ก็เพื่อใช้ประกอบการตอบคำถามที่ตั้งขึ้นมาว่า "สี"กับ"วรรณ"มันมีนัยะสำคัญอย่างไร ก็ขอตอบว่ามันมีความหมายซึ่งมีความสัมพันธ์กันดังที่กล่าวมา และมันเป็นเรื่องเดียวกัน
นักศึกษา : วรรณะและสีในวัฒนธรรมอินเดีย กับกีฬาสี มีคำอธิบายความสัมพันธ์กันอย่างไร คือเรื่องนี้ผมเคยคุยกันอาจารย์มาแล้วซึ่งน่าสนใจมากและอยากให้เพื่อนๆได้ฟัง จึงขอเรียนถามในประเด็นนี้ด้วยครับ
ดร.ประมวล : เมื่อสักครู่ที่เปิดประเด็นว่าเป็นเรื่องของการต่อสู้ระหว่างสี หมายถึงคนผิวขาวกับคนผิวดำมารบกัน แต่ต่อมา เมื่อมันเกิดมีลักษณะที่สามารถประกาศชัยชนะได้ พวกที่แพ้ก็ถูกทำให้มีความหมายในเชิงผู้แพ้และมีสีประจำ การแบ่งสีต่อมาได้แบ่งละเอียดลงไปอีกว่า มีการแบ่งสีในลักษณะที่เป็นวิถีชีวิต เป็นกลุ่มเป็นพวก เช่น กรณีที่ได้พูดถึงวรรณะซึ่งกระจายย่อยออกไป และแต่ละวรรณะได้มีการซอยย่อยลงไปอีก เพราะฉะนั้น การจัดคนโดยใช้สีเป็นสัญลักษณ์จึงกลายมาเป็นวัฒนธรรมของอินเดีย ที่เขาจะจัดคนให้เป็นหมวดเป็นหมู่ เขาจะใช้สีเป็นสัญลักษณ์ กรณีนี้ได้กลายมาเป็นวัฒนธรรม อย่างตอนเราเข้าโรงเรียน เรามีการแบ่งสีกันเป็นกลุ่มๆแล้วก็มีการแข่งขันกีฬาสีกัน
ในอินเดียก็เหมือนกัน เวลาเขาทำอะไรจะใช้สีเป็นสัญลักษณ์อยู่ตลอดเวลา เพราะสีกลายมาเป็นสิ่งที่มีนัยะแห่งความหมายในการแบ่งคนให้เป็นกลุ่ม แล้วทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ ในอินเดียเวลามีการแบ่งคนเป็นกลุ่ม เขาแบ่งจากความเคารพในพระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้นคนแต่ละคนในอินเดีย เวลาเขาตั้งชื่อจะต้องตั้งชื่อในความหมายที่เป็นคนนับถือเทพเจ้าองค์ใด ชื่อคนอินเดียจึงต้องมีสามชื่อ ซึ่งหนึ่งในสามชื่อนั้นก็คือชื่อที่แสดงว่าตัวเองนับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์ใด
เพราะฉะนั้นเวลาเราไปอ่านชื่อคนอินเดียให้ครบ จะพบว่าต้องมีชื่อที่หมายถึงว่าเขานับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์ใด และพระผู้เป็นเจ้านี่เองเป็นที่มาของสี เพราะพระผู้เป็นเจ้าแต่ละองค์ได้ถูกทำให้มีสัญลักษณ์ที่เป็นสี ดังนั้นเวลาเราจัดคนให้เป็นกลุ่มเป็นสี จึงทำให้สีเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ
ที่ถามมาเป็นวัฒนธรรมปัจจุบันแล้ว คือแม้กระทั่งเรื่องกิจกรรมบันเทิงหรือกิจกรรมทางสังคมเล็กๆในกลุ่มของนักเรียน หรือคนที่มาทำกิจกรรมร่วมกันซึ่งไม่ได้จริงจังมากนัก ก็ยังถูกทำให้มีความหมายว่าเราเป็นคนที่มีสีเดียวกัน เพราะฉะนั้นจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันในการที่จะต่อสู้กับสิ่งอื่น ซึ่งเป็นประเด็นที่มันมีมิติทางวัฒนธรรมซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่อดีต
นักศึกษา : เท่าที่เคยฟังอาจารย์พูด ตอนนี้วรรณะมันได้กลับตาลปัตรกันไปแล้ว เช่นแพศก็มาอยู่สูงกว่าวรรณะของกษัตริย์ หรืออะไรทำนองนี้ ผมอยากจะถามอาจารย์ว่า กระบวนการทางสังคมที่มันยกระดับตัวเอง ยกวรรณะหรือชาชั้นของตัวเองขึ้นมา มันเป็นมาอย่างไรครับ?
ดร.ประมวล : ในระบบวรรณะมันมีอายุยาวนาน ถ้าเราเชื่อว่าอารยันได้เข้ามาสู่อินเดียเมื่อ 4000-5000 ปีมาแล้ว เพราะฉะนั้นกระบวนการเปลี่ยนแปลงเชิงวรรณะมันมีตลอดเวลา เช่นในสมัยพราหมณ์ วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะที่สูงสุด เวลาเราเรียนหนังสือประวัติศาสตร์ เวลาลำดับวรรณะทั้งสี่ ก็มี พราหมณ์ กษัตริย์ แพศ ศูทร
แต่เราสังเกตไหมว่า มาถึงยุคหนึ่งคือยุคพระพุทธศาสนาหรือยุคอุปนิษัท ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้ลำดับวรรณะเสียใหม่ กลายเป็น กษัตริย์ พราหมณ์ แพศ ศูทร เวลาเราเรียนพุทธประวัติเราก็จะท่องกันอย่างนี้ นั่นคือหมายความว่า ในยุคอุปนิษัทที่มีพระพุทธองค์เกิดขึ้นมาประกาศตนเป็นพระศาสดา และประสบความสำเร็จ ในสมัยนั้นพราหมณ์เริ่มจะเสื่อมลง มีคนวรรณะอื่นที่ไม่ใช่พราหมณ์ออกมาเป็นนักบวช และประสบความสำเร็จในการชี้นำสังคม เช่นพระพุทธเจ้า พระศาสดา พระมหาวีระ เหล่านี้
ในตอนนั้น วรรณะกษัตริย์จะมีบทบาท มีพลังสูง ยิ่งโดยเฉพาะพระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อสังคมชาวอินเดีย วรรณะกษัตริย์จะเป็นวรรณะที่มีพลัง มีพลานุภาพมาก นั่นหมายความว่า ในสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง และกษัตริย์ที่ไม่ยอมสวามิภักดิ์กับพวกพราหมณ์ ก็สามารถแผ่กฤษฎาอภินิหารออกไปได้ ดังเช่น กรณีของพระเจ้าอโศกมหาราช หรือในสมัยพุทธกาลก็คือพระเจ้าพิมพาสาร ซึ่งในสมัยโบราณที่พราหมณ์มีอำนาจไม่สามารถที่จะทำได้ เพราะเหตุว่า กษัตริย์จะมีอำนาจเข้มแข็งและเป็นที่ยอมรับได้ก็ต่อเมื่อพวกพราหมณ์ยอมรับ
ในสมัยพุทธ พวกกษัตริย์เหล่านั้นที่เป็นพุทธไม่นับถือพราหมณ์ ก็สามารถเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ได้ เพราะฉะนั้น วรรณะกษัตริย์จึงถูกทำให้มีความหมาย หรือยิ่งใหญ่กว่าพราหมณ์ด้วยซ้ำไป ในลักษณะเช่นที่ว่านี้เอง การเปลี่ยนแปลงเชิงสัญลักษณ์หรือสีก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย สีขาวอาจจะไม่ได้มีพลังที่สูงสุดแล้วก็ได้ ตอนนั้นสีแดงอาจจะมีอำนาจสูง และการเปลี่ยนแปลงแบบนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการภายใน แม้กระทั่งว่าต่อมาภายหลัง พวกพราหมณ์ที่เป็นคนผิวดำก็มี อย่างเช่น กฤษณา มูรติ
กฤษณะ มูรติ เป็นผู้ที่นับถือพระกฤษณะตามชื่อ พระกฤษณะพวกเราคงทราบอยู่แล้วว่าเป็นผิวดำ กฤษณะคือเทพเจ้าที่อยู่กับชนพื้นเมืองเดิมอยู่แล้ว ได้ถูกยกระดับขึ้นมาเพราะมีคนนับถือ แล้วตัวกฤษณะ มูรติ ที่เราเคารพท่าน จริงๆก็คือเป็นพวกวรรณะพราหมณ์ที่ถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่ เพราะเป็นคนทางภาคใต้ของอินเดีย
กรณีของกฤษณะ มูรติ ไม่ใช่คนผิวขาว เพราะเขาเป็นแขกทราวิดที่มีผิวสีดำ ดังนั้น การสถาปนาให้พวกพราหมณ์สามารถเป็นพราหมณ์ได้โดยสิ่งที่เรียกว่า การสถาปนาโดยกระบวนการทางสังคม จึงเกิดวรณะพราหมณ์หลายๆโคตรสกุลที่ไม่ใช่คนผิวขาว กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ ทำให้ความเป็นพราหมณ์ซึ่งมีนัยะผูกพันกับชาติพันธุ์ค่อยๆเสื่อมลง และการยอมรับว่าวรรณะพราหมณ์สูงสุด ก็เริ่มจะไม่แน่ใจ ไม่มั่นคง
ในช่วงพุทธ พวกพราหมณ์ตกต่ำลงกว่าพวกกษัตริย์ จึงมีการจัดลำดับวรรณะเป็น กษัตริย์ พราหมณ์ แพศ ศูทร. หรืออย่างปัจจุบัน ถ้าจะเรียกในภาษาปัจจุบันต้องเรียกว่า แพศ กษัตริย์ พราหมณ์ และศูทร เพราะพวกแพทย์จะขึ้นมามีอำนาจมาก
ผมขอยกตัวอย่างเช่น สกุลคานธี คานธีที่เรารู้จักก็บอกให้ทราบว่ามาจากวรรณะแพศ เพราะคานธีคือสกุลที่ค้าขายเรื่อง"ของหอม" หรือค้าขายธูปที่เรานำมาจุดในห้องนี้. "คานธี"มาจากคำว่า"คันธะ" แปลว่า"ของหอม". คานธีหมายถึงคนที่เกิดในโคตรตระกูลที่ค้าขายของหอม เพราะฉะนั้นพวกสกุลคานธีขึ้นมามีอำนาจ เรานึกถึงภาพดู สกุลคานธีเกือบสถาปนาราชวงศ์คานธีขึ้นมาได้ในอินเดีย แล้วคนในสกุลนี้ก็ยิ่งใหญ่มาก
เพราะฉะนั้น ปัจจุบันสถานภาพทางสังคมจึงไม่ได้ถูกดูจากวรรณะแบบเดิมอีกต่อไปแล้ว เพราะว่าปัจจุบันเป็นสังคมที่เกือบเหมือนกันทั่วโลก คือถูกระบบเศรษฐกิจมายึดครองพื้นที่ ศาสนาไม่ค่อยจะมีบทบาทมากนัก เมื่อเศรษฐกิจมาเป็นเรื่องใหญ่ นักเศรษฐกิจหรือพวกพ่อค้ามีอำนาจในทางสังคม เพราะฉะนั้นระบบวรรณะจึงมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป ใครจะมาอ้างว่าเป็นพราหมณ์แล้วบอกว่าถูกยอมรับ ตอนนี้ค่อนข้างจะไม่ศักดิ์สิทธิ์
ผมว่าโชคดีนะครับ ดีไม่ดีถ้าในสมัยที่คอมมิวนิสต์เผยแพร่เข้าไปในอินเดีย ถ้าเกิดพรรคคอมมิวนิสท์อินเดียปฏิวัติสำเร็จ พวกศูทรจะขึ้นมาเป็นใหญ่ ซึ่งก็เคยมีแล้วที่นาย จั๊คชีวัน ราม มาเป็นผู้นำชาวอินเดียซึ่งมาจากวรรณะคนผิวดำ เป็นพวกศูทรเลย
ดังนั้น กระบวนการที่เรากำลังพูดถึงนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะวัฒนธรรมของชาวอินเดียอย่าไปคิดว่ามันหมายความว่าถูกระทำจากตัวแกนกลางข้างใน อันที่จริงมันถูกกระทำจากข้างนอก เพราะฉะนั้นกระบวนการทางสังคมจึงทำให้ระบบวรรณะ ถูกทำให้มีความหมายเปลี่ยนแปลงไป
ข้อกำหนดเรื่องวรรณะเดิม กำหนดจากคัมภีร์ความเชื่อในทางศาสนา คือ คัมภีร์พระเวท และคัมภีร์รองลงมาคือ คัมภีร์พราหมณะ ต่อมาเมื่อเกิดพระพุทธศาสนา แนวคิดแบบพุทธทำให้เกิดระบบวรรณะเปลี่ยนไป การทำหน้าที่กลายเป็นเครื่องหมายสำคัญกว่าชาติพันธุ์ ต่อมาถึงยุคปัจจุบัน มีสังคมที่ต้องสัมพันธ์กับโลกภายนอก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างมาก มากเสียจนกระทั่งระบบวรรณะในอินเดียปัจจุบันนั้น เกือบไม่เหลือร่องรอยของระบบวรรณะที่เคยอธิบายได้ในความหมายในยุคต้นๆ
นักศึกษา : อยากจะเรียนถามเรื่องสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมอินเดีย อย่างเช่น ทัชมาฮาน ที่เห็นก็คือทัชมาฮานที่ใช้หินอ่อนสีขาวนวล อันนี้มีความเป็นมาอย่างไร เท่าที่เคยทราบ มีคนวิจารณ์ว่า มีความโหดร้ายแฝงอยู่ในความงามสง่าของสถาปัตยกรรมหลังนี้
ดร.ประมวล : ประวัติของทัชมาฮาน เริ่มมาจาก กษัตริย์ซาชาฮานกับพระนางมุมตัส เคยเสด็จไปที่เมืองศรีนครก็คือแคชเมียร์ ซึ่งเป็นเมืองที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ และเมืองดังกล่าวตั้งอยู่ท่ามกลางสระ, หิมะละลายมาเป็นสระ,ซึ่งชื่อว่าดาลเลคที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน
ตามประวัติที่บันทึกไว้ พระนางมุมตัสได้ปรารภกับกษัตริย์ซาชาฮานว่า พระนางอยากจะอยู่บนสวรรค์ที่มีสีขาวแบบนี้ เพราะฉะนั้นความรู้สึกของซาชาฮานก็คือ อยากจะสนองตอบความปรารถนาของผู้ที่ตัวเองรัก เมื่อนึกถึงสีขาว และมุมตัสปรารภว่าอยากจะมีที่อยู่อย่างนี้ ต่อมาเมื่อมุมนตัสเสียชีวิตลง ซาชาฮานก็คิดว่าจะทำสิ่งที่เหมือนกับว่าจะเป็นที่อยู่ของภรรยาที่ตายแล้ว ก็คือสร้างสุสานให้มีสีขาวเหมือนสีหิมะ
ในการสร้างที่จะทำให้มันมั่นคงถาวรและตามวัตถุประสงค์ ก็ต้องพยายามเลือกหินที่มีสีคล้ายกับหิมะ ก็จึงเลือกหินสีขาว การเลือกหินสีขาวก็จึงกลายมาเป็นประเด็น ซึ่งผมขอเล่าถึงกษัตริย์ราชวงศ์โมกุลทั้งหมดก่อน คือ เมื่อชนมุสลิมเข้ามาสู่อินเดียแล้ว ก็นำเอาคตินิยมของอินเดียมาใช้เพื่อการข่มขวัญ คือพวกเขาเป็นพวกนักรบ เพราะฉะนั้นเขาจึงใช้สีแดง ดังนั้นถ้าเราไปอินเดีย ไปเดลลี เขาจะพาเราไปที่แรกก็เหมือนไปที่ Red Ford ก็เหมือนไปวัดพระแก้ว คำว่า Red Ford ก็หมายถึงกำแพงแดง ก็คือหมายความว่า พวกนี้สร้างพระราชวังด้วยหินสีแดงตลอดเวลา
Red Ford มีทั้งที่เดลลี มีทั้งที่อักกรา, สิเคียริ, ที่ไหนก็แล้วแต่ เรียกว่า Red Ford หมด เพราะว่ามันสีแดง เนื่องจากเป็นที่สถิตย์หรือที่ประทับของเจ้าแผ่นดินหรือของพระราชา แต่เมื่อพระนางมุมตัสมีความปรารถนาเช่นนั้น ซาชาฮานจึงคิดจะเลือกหินสีใหม่ ซึ่งก็คือหินอ่อนนั่นเอง เพื่อต้องการที่จะให้สุสานของพระนางมุมตัสเป็นสีขาวเหมือนหิมะเหมือนกับสมัยที่เสด็จไปยังศรีนคร
ด้วยเหตุนี้จึงสร้างทัชมาฮานให้เป็นสีขาวขึ้น และที่เราคงทราบกันเรื่องเกี่ยวกับความโหดร้าย ถ้าเราอ่านประวัติไปก่อนจะไปเที่ยวทัชมาฮานจะไม่สนุก เพราะว่ามันจะเกิดความรู้สึกเหยียบบนหินอ่อนไปก็จะเกิดความรู้สึกไปว่าเหยียบซากศพคน เพราะคนตายเยอะมาก
คนที่เป็นช่างซึ่งเป็นทั้งชาวอินเดียเอง และที่นำเข้าซึ่งเป็นชาวตะวันออกกลาง คือเปอร์เซียมีจำนวนมากมาย คือช่างดีๆแทนที่จะได้ไปสร้างที่อื่นตอนนั้น ถูกสั่งเข้ามาที่นี่หมด เพราะราชวงศ์โมกุลเป็นราชวงศ์ที่มีอำนาจมาก ครอบงำแผ่นดินแถวนั้นทั้งในอินเดีย ทั้งในเปอร์เซียได้หมด เพราะฉะนั้น จึงนำเอาช่างดีๆเหล่านี้มาใช้ทำทัชมาฮานหมด พอสร้างเสร็จแล้ว แทนที่จะปูนบำเหน็จรางวัล ก็กลับฆ่าเขาทิ้ง หรือทำให้เขาพิกลพิการเพื่อไม่ให้เขามีโอกาสไปสร้างสถาปัตย์อันงดงามเช่นนี้ที่ไหนอีก จึงกลายมาเป็นประวัติตำนานของความโหดร้ายครั้งหนึ่งในชีวิตของโลกใบนี้
ความจริงมีอีกเมืองหนึ่งที่เรียกว่า Pink City ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าราชบุตร ราชบุตรเป็นคนอีกกลุ่มหนึ่ง ราชบุตรนี้ไม่ใช่พวกอารยันและพวกทราวิด พวกราชบุตรถ้าจะนับตามชาติพันธุ์เป็นพวกมองโกลอยด์ เป็นคนผิวเหลืองแบบพวกเรา พวกราชบุตรมีอำนาจขึ้นมาในช่วงหนึ่ง เพราะเป็นนักรบที่เก่งกล้าโดยเชื้อสายได้สืบสายเป็นนักรบมาตลอดเวลาจนเป็นประวัติของชาติ
พวกนี้สามารถสถาปนาเมืองชัยปุระ ก็คือเมืองแห่งชัยชนะขึ้นมาได้ เมื่อพวกนี้สร้างราชอาณาจักร พวกนี้ไม่ต้องการให้มีสีเหมือนกับพวกเจ้าตามคติของชาวอารยันเดิม จึงใช้หินสีชมพูสร้าง คือเมืองชัยปูร์ในปัจจุบัน จะเห็นว่าพวกเจ้ายังเล่นเรื่องสีกัน ไม่ว่าจะสร้างบ้าน สร้างเมือง สร้างอะไรที่ยิ่งใหญ่
ต่อมาเมืองชัยปูร์สมัยอังกฤษเข้ามาปกครอง อังกฤษจึงเรียกเมืองนี้เป็นสมัญญานามว่า"นครสีชมพู" เพื่อจะทำให้เห็นความแปลกโดดเด่นของเมืองนี้ และต่อมาเมื่อการท่องเที่ยวของอินเดียเข้าไปยึดพระราชวังของพวกราชบุตรคืนมาเป็นของตน ก็ได้จัดให้เป็นโรงแรมท่องเที่ยว เวลานักท่องเที่ยวไปเที่ยวที่เมืองนี้ก็ชอบที่เมืองนี้เป็นสีชมพู แล้วทางการก็สนับสนุนให้ประชาชนสร้างบ้านด้วยสีชมพู
นักศึกษา : อยากให้อาจารย์พูดถึงประวัติเกี่ยวกับการใช้สีซึ่งเป็นลักษณะเด่นของวัฒนธรรมอินเดียที่เปลี่ยนไป
ดร.ประมวล : ความจริงได้พูดถึงเรื่องนี้ไปบ้างแล้ว ความคิดเกี่ยวกับเรื่องสีในประวัติศาสตร์ ผมขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมอีกเรื่องก็แล้วกัน เช่น ตัวอย่างของชาวพุทธ เมื่อตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ขณะที่พระองค์ทรงประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์หลังจากตรัสรู้แล้ว มีฉพรรณรังสี คำว่า"ฉพรรณรังสี"ก็หมายความว่า "ฉะ"ก็คือ"หก", "วรรณะ"ก็คือ"สี", "รังสี"ก็คือ"แสง" ก็คือมีแสงของสีหกสีเกิดขึ้นมา เรานึกถึงภาพ นึกถึงสีอย่างนี้ สีมีในจินตนาการแล้ว พอมีในจินตนาการแล้ว เราจะทำอย่างไรให้สีมันปรากฎออกมาชัดเจน ไม่ลบเลือน เพราะฉะนั้น เราก็จึงพยายามหาสิ่งที่จะนำมาใช้ มาทำให้เกิดเป็นสีอย่างนั้นขึ้น ดังนั้นการใช้สีจึงเกิดขึ้นมาด้วยความจำเป็น และความต้องการเชิงสังคมซึ่งมีความเชื่อเรื่องสีเข้ามา
ในกรณีของชาวฮินดูก็เช่นเดียวกัน เมื่อเขามีความเชื่อว่า สิ่งที่มันมีความหมายมันมีสีเป็นตัวบ่งบอก เขาจึงพยายามคิดค้นว่าจะทำอย่างไรให้มันเกิดสีนี้ เช่น เขาต้องการที่จะทำอย่างไรให้มันเกิดความหมายว่าสีนี้เป็นสัญลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้าแต่ละองค์ เพราะฉะนั้น เวลาจะสร้างรูปเคารพขึ้นมาก็ต้องให้มีสีไปปรากฎ ทำอย่างไรล่ะถึงจะให้มีสีที่คงทนแข็งแรง
ผมขอยกตัวอย่างกรณีที่มีคนไปค้นพบถ้ำอาชันตา และในถ้ำอาชันตา มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แล้วตอนวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ต้องการแสดงถึงฉพรรณรังสี มีคนสันนิษฐานตามภาพที่เหลืออยู่ว่า จะมีการสั่งเพื่อนำเข้าสีมาจากตะวันออกกลางมาใช้ในการเขียนภาพ เพราะถ้ำนั้นยังมีที่ผสมสี แสดงว่าต้องมีการโขก มีการผสมสี เพื่อทำให้เกิดสีครบทั้งหกสี
คือสีทั้งหกสี มีชื่อเรียกก็จริง แต่ลักษณะมันเป็นอย่างไร อันนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ พวกเราถ้านึกถึงฉพรรณรังสีไม่ออก ก็ไปดูธงชาติเนปาลก็แล้วกัน ธงชาติเนปาลคือธงชาติซึ่งต้องการให้มีสีหกสีปรากฎอยู่บนธงชาติ เพราะฉะนั้น กระบวนการที่จะทำให้มีสีที่เป็นรูปธรรม สีที่ทำให้ปรากฎอยู่บนวัตถุสิ่งของได้ครบ ต้องมีการคิดว่าเราจะเอาสีอะไรมาผสมกับอะไรจึงจะก่อให้เกิดสีนั้นสีนี้ กระบวนการคิดเรื่องสีจึงเป็นกระบวนการคิดอย่างละเอียดลึกซึ้ง เพราะมันมีความต้องการและความปรารถนาอย่างจริงจัง ในการที่จะใช้สีเพื่อสนองความเชื่อและความหมายแห่งชีวิตที่ตัวเองแสวงหา
ซึ่งต่างจากบางสังคม เราอาจจะไม่คิดอะไรมาก เช่นคนไทยเรา ไม่ได้คิดถึงสีอะไรมาก ดังนั้นเมื่อมีสีอะไรก็ย้อมไป อยู่ทางภาคเหนือหาพืชพันธุ์ต้นไม้อย่างนี้ได้ก็ย้อมสีนี้ แต่คนอินเดียกลับต้องคิด เพราะเวลาที่เขาจะทำพิธีกรรมอะไรบางอย่าง เขาจะต้องใช้สีให้มันเหมาะสมกับสภาพการณ์แห่งความเชื่อของเขา เพราะฉะนั้น จะต้องทำอย่างไรให้มันมีผ้าสีนั้นสีนี้แปลกๆขึ้น เพื่อเกิดความสมบูรณ์ ครบตามความเชื่อ
เวลาเราพูดถึงเรื่องสีของอินเดีย ยังแปลยากเหมือนกันบางทีในสีแต่ละสี ตอนหลังก็มีพัฒนาการทางด้านสีในวงการศิลปะ ละเอียดจนกระทั่งว่าไม่มีปัญหาเรื่องการแปล หมายความว่าคำเดิมๆของการแปล เช่นยกตัวอย่างเวลาพูดถึงสีพระเนตรของพระพุทธเจ้า ที่มีคำภาษาบาลีว่า"กาฬนีโล" อันนี้จะแปลเป็นสีอย่างไร บางคนก็บอกว่า"ดำ" บางคนก็บอกว่า"ดำเข้ม"หรือ"ดำจัด" นี่คือคำที่ปรากฎอยู่ในลักษณะของพระมหาบุรุษ พระพุทธองค์ทรงมีสีพระเนตรเป็น"กาฬนิล", "กาฬ"แปลว่า"ดำ", "นิล"แปลว่า"เขียว" เขียวกับดำมาผสมกันแล้วเป็นสีอะไร เอาเป็นว่ามันมีสีที่เราต้องตีความกัน นี่คือตัวอย่างของการคิดเพื่อทำให้มันปรากฎขึ้นมาเป็นรูปธรรม และแสวงหาสีให้มันครบตามความเชื่อ และการหาสีนี้ทำให้เกิดกระบวนการผลิต ซึ่งทำให้เป็นที่มาที่วัฒนธรรมอินเดียมีความหลากหลายด้านสีสันวรรณะที่อลังการไปด้วยสี
เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ จึงมีสีสันมากมาย แม้กระทั่งในทัชมาฮานซึ่งพูดถึงเมื่อสักครู่นี้ ถ้ายังเหลืออยู่สมบูรณ์ เพชรนิลจินดา คืออัญมณีหินสีต่างๆได้ถูกนำไปประดับครบทุกสี ซึ่งเป็นสีที่มีความหมายทั้งหมด แต่เสียดายว่าปัจจุบันได้ถูกแคะถูกขโมยไปหมดแล้ว ที่บริเวณหินอ่อน ถ้าใครมีโอกาสไปเดินให้ไปดูเลยนะครับ จะต้องมีเพชรนิลจินดาสีต่างๆหลากสีถูกประดับประดาตกแต่งไว้
นักศึกษา : ผมสังเกตว่าวัฒนธรรมของอินเดียยังมีความเข้มแข็งอยู่ในตัวเองจนถึงปัจจุบันซึ่งมองเห็นได้ อย่างเช่นที่ผมยังเห็นอยู่ตามตลาดพาหุรัด หรือตลาดโบ๊เบ๊ก็ยังมีคนอินเดียยังแต่งตัวคงเอกลักษณ์สีสันของตนอยู่ ผมอยากถามว่าเรื่องสีสันเหล่านี้มันมีผลกระทบกับไทยอย่างไรบ้างครับ
ดร. ประมวล : ผลกระทบต่อไทยนี้เป็นเรื่องโบราณ คือหมายความว่าในอดีต เราอยู่ในแถบที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่หมายรวมถึงทุกๆประเทศในแถบนี้ได้รับอิทธิพลจากอินเดียหมด เพราะมีศาสนาของชาวอินเดียเผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศของเรา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธหรือศาสนาพราหมณ์ เพราะฉะนั้น การเข้ามาของศาสนาก็ได้นำเอาความเชื่อ ค่านิยม แบบอินเดียเข้ามามีอิทธิพลในวิถีชีวิตด้วย
การเข้ามาในครั้งนั้น เข้ามาในสมัยที่อินเดียยังมีพลังของวัฒนธรรมก็คือ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของอินเดียยังมีพลังที่จะเข้าไปกำกับ และกำหนดวิถีชีวิตของคนในสังคมอื่นๆ แต่พอหลังจากอินเดียเริ่มเสื่อม คืออินเดียเริ่มเสื่อมตั้งต้นจากการที่ชาวอินเดียไม่สามารถที่จะต้านทานการบุกเข้ามาของกษัตริย์ในราชวงศ์โมกุลได้ ก็ทำให้มีการเข้ามาใหม่ของคนนอก ราชวงศ์โมกุลมาสถาปนาอาณาจักรขึ้นในอินเดีย มีเมืองอักกรา เมืองเดลลี พวกนี้เป็นเมืองหลวง นั่นก็คือความเสื่อมของวัฒนธรรมอินเดีย เพราะศาสนาอิสลามไม่ใช่ศาสนาของชาวอินเดียเดิม เป็นศาสนาที่มาจากข้างนอก
ช่วงเวลาตลอดที่กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลเรืองอำนาจอยู่ในอินเดีย ก็ทำให้ชาวอินเดียเดิมที่เสื่อมล้าแล้ว ต้องแตกกระจัดกระจาย กระสานซ่านเซน เป็นราชา เป็นกลุ่มเล็กๆ อันนี้ก็ยังไม่ยับเยินเท่าไหร่ แต่เมื่อบริษัทค้าขายอินเดียตะวันออกของอังกฤษเข้ามา ในคริสตศักราชที่ 18 ตอนแรกก็เข้ามาค้าขายเฉยๆ มาตั้งสำนักงาน มาสร้างเป็นออฟฟิตเพื่อจะค้าขาย แถบเมืองท่าคือ กัลกัตตา บอมเบย์ แต่ต่อมา ประธานหรือผู้จัดการใหญ่ของบริษัท เห็นว่าถ้าไม่สามารถที่จะครอบงำคนอินเดียได้ ก็ทำธุรกิจยาก เพราะฉะนั้นสุดท้ายบริษัทการค้านี้จึงกลายมาเป็นผู้ปกครองอินเดียโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวในเวลาต่อมา
ชาวอังกฤษที่ว่านี้เห็นว่าวัฒนธรรมอินเดียเป็นอุปสรรคต่อการทำมาค้าขายและการแสวงหากำไร จึงพยายามเปลี่ยนแปลงให้พวกเขาเกิดความคิดความรู้สึกว่า อินเดียต้องเปลี่ยนให้เป็นอังกฤษหรือตะวันตกให้ได้ กระบวนการทำให้เป็นตะวันตก ได้เข้าไปทำลายสิ่งที่เรียกว่าระบบความเชื่อเดิมของอินเดียอย่างรุนแรงและมากมาย
ที่ใช้คำว่าอย่างรุนแรงและมากมาย หมายความว่า ทำให้ชาวอินเดียเกิดกระแสหรือค่านิยมที่ดูหมิ่นดูแคลนความเป็นอินเดียเอง ซึ่งเป็นความชาญฉลาดของชาวอังกฤษที่เขาได้จัดระบบการศึกษา ซึ่งทำให้คนชั้นสูงของอินเดียหันมาเรียนหนังสือแบบอังกฤษ และเมื่อคนเหล่านี้มาเรียนหนังสือแบบอังกฤษ ก็ได้รับการตอบแทนด้วยการให้มีฐานะตำแหน่งทางสังคมที่สูงขึ้น เพราะฉะนั้น คนที่มีฐานะทางสังคมก็ส่งลูกส่งหลานมาเรียนหนังสือในโรงแรียนแบบอังกฤษ หรือไม่ก็ส่งไปเรียนที่อังกฤษ ภายหลังก็กลับมาเป็นผู้นำทางสังคม. กระบวนการทำให้เป็นตะวันตกที่ว่านี้ ทำให้วัฒนธรรมอินเดียตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว ต่ำลงหมายความว่ามีราคา มีความรู้สึกว่าสูงส่งลดน้อยลง
ในนโยบายการศึกษาของบริษัทอินเดียตะวันออก ระบุไว้ชัดเจนเลยว่าจะต้องเปลี่ยนความรู้สึก เปลี่ยนความเข้าใจแบบอินเดียโดยทำให้เป็นแบบตะวันตกให้ได้ มิฉะนั้นแล้วจะเป็นปัญหาในการปกครองดูแล โดยอังกฤษได้ยกสิ่งที่ตนเห็นว่าบกพร่องในวัฒนธรรมอินเดียขึ้นมาเป็นข้ออ้าง เพื่อให้ชาวอินเดียเห็นว่า นี่ไงสิ่งที่วัฒนธรรมอินเดียมีอยู่ เป็นสิ่งเลวร้าย
ผมขอยกตัวอย่างประกอบเช่น ชาวอังกฤษตำหนิและประณามประเพณีสาติอย่างรุนแรง สาติคือประเพณีที่ให้ผู้หญิงกระโดดเข้าไปในกองไฟเมื่อสามีเสียชีวิตลง อันนี้เป็นความเชื่อของชาวฮินดู ซึ่งต้องการทำเช่นนั้นเพื่อให้เหมือนกันกับพระนางสาติที่เป็นพระชายาของพระศิวะ ซึ่งพวกเราคงทราบประวัติตำนานธรรมอันนี้ เพราะฉะนั้น ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วชาวอินเดียจึงประกอบพิธีกรรมนี้ ในสมัยที่อังกฤษเข้ามา อังกฤษพยายามจะชี้ให้เห็นว่า นี้เป็นประเพณีและวัฒนธรรมที่โหดร้าย รุนแรง ไม่เหมาะไม่ควรที่จะมีอยู่อีกต่อไป และชาวอินเดียที่ยึดถือประเพณีนี้อยู่ใช้ไม่ได้แล้ว
นี่เป็นตัวอย่าง ซึ่งได้กระทำกับสิ่งอื่นเกี่ยวกับวัฒนธรรมอินเดียให้ตกต่ำลงไปด้วย เพราะฉะนั้นกระบวนการคิดเรื่องต่างๆทุกเรื่อง จึงถูกทำให้มีพลังน้อยลงๆ จนกระทั่งสุดท้ายกลายมาเป็นสิ่งที่เรียกว่าเกือบไม่มีพลังในการกำกับหรือควบคุมดูแลชาวอินเดียในด้านวิถีชีวิต เพราะพวกเขารู้สึกว่า การคิดแบบนั้นมันล้าหลัง ล้าสมัย
การคิดแบบชาวอังกฤษที่ปกครองดูแลเป็นสิ่งที่ดีกว่า ดังนั้น จึงมีคนรุ่นใหม่ที่ไม่ค่อยจะคิดอย่างนั้น จนกระทั่งความคิดแบบนี้มาถึงจุดๆหนึ่ง ได้ทำให้เกิดความรู้สึกแปลกขึ้นมาในใจของคนอินเดียที่ยังมีความรู้สึกอะไรบางอย่าง และรู้สึกว่าสิ่งที่อังกฤษทำมันมีนัยะแฝงอะไรบางอย่างอยู่
อันนี้ปรากฎชัดว่า พออังกฤษมาทำเช่นนี้แล้ว อังกฤษได้ประโยชน์ แล้วอังกฤษได้ขนเอาทรัพยากรอันมีค่ากลับไปยังเมืองแม่ของตนเป็นจำนวนมากมาย ในขณะที่คนอินเดียเองยากจน มีปัญหาด้านการเป็นอยู่ และปัญหาที่ปรากฎนี้ จึงทำให้คนอินเดียที่คิดต่อต้านอังกฤษ ชี้ให้ประชาชนชาวอินเดียเห็นได้ว่า นั่นไง เขาหลอกเรา เขาทำให้เราเข้าใจเช่นนั้น แล้วเขาเอาอะไรไปจากเรา
ดังนั้นจึงเกิดกระบวนการต่อต้านอังกฤษ โดยการพยายามรื้อฟื้นสิ่งที่เป็นอินเดียแบบเดิมๆขึ้นมาปลุกเร้า ทำให้เกิดกระบวนการต่อสู้เพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ ด้วยการพยายามทำให้เห็นว่า สิ่งซึ่งอังกฤษบอกว่าดี มันไม่ดี เพราะฉะนั้นครั้งหนึ่งสิ่งที่อังกฤษได้ทำให้เห็นว่าดีหรือไม่ดี
ผมขอยกตัวอย่างตลกๆ คือคนอังกฤษเขาจะมีวิถีชีวิตของเขา เช่นเขาขับถ่ายเป็นระเบียบ พอพวกนี้เข้ามาสู่อินเดียก็ตำหนิชาวอินเดียมาก ซึ่งอันที่จริงการขับถ่ายเป็นเรื่องปกติ จะถ่ายตรงไหนก็ถ่าย พอเกิดกระบวนการต่อต้านอังกฤษ เขาแนะนำใหม่ว่าคนอินเดียทุกคน พวกเราไปฉี่และไปถ่ายรดหน้าบ้านของคนอังกฤษ เพราะฉะนั้นการฉี่การถ่ายอย่างไม่เป็นระเบียบ ถูกทำให้มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับอังกฤษ เวลาที่รถไฟวิ่งผ่านมา คนอินเดียจะไปนั่งถ่ายกันริมข้างทางรถไฟเป็นแถวยาวเหยียดตลอดทาง แล้วก็โบกมือทักทายกับชาวอังกฤษที่อยู่บนขบวนรถไฟ อันนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า "มึงไปได้แล้ว มึงอย่าอยู่ประเทศกูอีกต่อไปเลย"
กระบวนการนี้ แม้อังกฤษออกไปแล้วก็ยังมีอยู่เป็นปกติในปัจจุบัน การทำอะไรแบบง่ายๆเป็นกระบวนการที่บอกว่าอินเดียจะกลับไปสู่วิถีชีวิตเดิมๆ คือความจริงมันไม่ได้หมายความว่าต้องทำสิ่งนี้ให้มันดูดี แต่มันเนื่องจากอังกฤษไปมีระเบียบที่มาบอกว่าต้องขับถ่ายให้เป็นสัดส่วน ให้เป็นระเบียบ เมื่อเห็นว่าสิ่งซึ่งอังกฤษบอกมันไม่ถูก ก็ปฏิเสธด้วยการใช้วิธีนี้ต่อต้าน และการต่อต้านนี้ก็ได้กลายมาเป็นสิ่งที่ปรากฎในปัจจุบัน ซึ่งคนไทยไปประเทศอินเดียแล้วบ่นว่า ทำไมชาวอินเดียจึงเป็นเช่นนี้ ทั้งที่ความจริงแล้วมันไม่ได้เลวร้ายถึงขนาดที่ต้องมานั่งถ่ายต่อหน้าคนอื่น แต่ตอนนั้นมันเป็นสถานการณ์ที่ต่อต้านอังกฤษที่มาสร้างกฎระเบียบและจารีตของผู้ดีไว้ ทำให้ชาวอินเดียบางกลุ่มยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างเพื่อโต้ตอบ
ผมยกตัวอย่างนี้เพื่อใช้ประกอบสิ่งที่ซึ่งเรียกกันว่าวัฒนธรรมอินเดีย เข้ามาสู่ประเทศไทย มันเลยหมดสภาพไปพร้อมๆกันกับเราไม่ยอมรับอินเดียเหมือนกับที่ชาวตะวันตกไม่ยอมรับ เพราะฉะนั้นเราจึงมีความรู้สึกดูหมิ่นดูแคลนสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมและอารยธรรมอินเดีย ปัจจุบันเราจึงมีความรู้สึกที่ไม่ได้เห็นความงดงาม
เมื่อตอนเริ่มต้นชั่วโมง มีการเปิดเพลงอินเดียประกอบบรรยากาศ เราไม่ได้รู้สึกว่าเพลงอินเดียจะไพเราะ เราไม่รู้สึกว่าสิ่งที่มันเป็นสีสันวรรณะของอินเดียมันจะสวยงาม แต่ที่เราเห็นสวยงามทุกวันนี้ เนื่องจากธุรกิจการค้า ซึ่งเห็นว่าอินเดียเป็นตลาดการค้าที่ใหญ่มาก เขาจึงพยายามจะเก็บความเป็นอินเดียขึ้นมาแปรรูปเป็นสินค้า
เช่นเขาพยายามใช้สีแบบอินเดียในการตัดเย็บเสื้อผ้า เขาพยายามใช้รูปทรงแบบอินเดียมาทำเป็นแฟชั่นปัจจุบัน ตรงนี้ไม่ได้เป็นความพยายามของอินเดีย แต่เป็นความพยายามของพ่อค้าโลกที่พยายามจะเปิดตลาดค้าขายกับอินเดีย เขาจึงให้ชาวอินเดียไปเป็นนางงาม ทั้งนางงามจักรวาล เพื่อให้เกิดความรู้สึกเปิดประตูรับโลกภายนอก และความคิดแบบนี้เป็นความคิดของพ่อค้าที่เข้าไปเห็นอินเดียว่าจะเป็นแหล่งแสวงหาตลาดใหม่ๆได้ และแปรรูปสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมอินเดียให้ออกมาเป็นสินค้า ดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันว่า เสื้อผ้าแบบอินเดีย ขายแพง ราคาไม่ใช่ถูกๆ ถ้าเราไปลองซื้อเสื้อผ้าแบบบริติชอินเดียดูจะแพง ไม่ใช่ของถูกๆ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องธุรกิจ
ผมเข้าใจว่า สิ่งที่มันเป็นวัฒนธรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อคนไทย คืออินเดียที่เข้ามาสู่ประเทศไทยในช่วงที่อินเดียยังเป็นแหล่งมหาอำนาจทางวัฒนธรรม ไม่ใช่อินเดียในปัจจุบัน และไม่ใช่อินเดียเมื่อ 200-300 ปีหลังมานี้
นักศึกษา : อยากให้อาจารย์ช่วยเล่าเรื่องที่พวกเราถูกครอบงำเรื่องสีจากตะวันตก ซึ่งผ่านมาทางโฆษณา หรือเรื่องสื่ออะไรต่างๆ
ดร.ประมวล : กรณีนี้ความจริงเกือบไม่ต้องพูด เพราะเราถูกครอบงำโดยตะวันตกมานานแล้ว เช่น กรณีสีขาวสีดำ ความจริงเกิดขึ้นในวัฒนธรรมอินเดีย 4-5 พันปีมาแล้ว คือบ้านเราถูกทำให้รู้สึกว่า ผู้หญิงที่สวยต้องผิวสีขาว เพราะฉะนั้นเราจึงมีโฆษณาชวนเชื่อ หลอกให้เราซึ่งเป็นคนไทยต้องซื้อครีมมาบำรุงผิวให้ขาว แล้วก็ขายกันอย่างเทน้ำเทท่า แล้วเราก็รู้สึกว่าต้องใช้ครีมนี่แหละ จึงจะดี อันนี้ระบาดไปทั่วไม่เฉพาะประเทศไทย รวมไปถึงประเทศจีน ซึ่งปกติคนจีนผิวก็ขาวอยู่แล้ว ผมจึงไม่รู้ว่าทำไมคนจีนถึงต้องใช้ครีมทาผิวให้ขาวขึ้นมาอีก อันนี้เป็นเรื่องที่มหัศจรรย์มาก
ผมคิดว่าอันนี้เป็นกระบวนการทำในความหมายที่มันมีวัฒนธรรม แล้วอย่าลืมนะครับว่า พวกฝรั่งที่มีอิทธิพลก็คือคนกลุ่มเดียวกับที่เข้าไปในอินเดียที่ผ่านมานั่นแหละ เพราะฉะนั้น สงครามวัฒนธรรมยุคใหม่ก็ยังเริ่มและทำกันไม่จบไม่สิ้น คนอินเดียที่ตอสู้สงครามนี้ก็ต่อสู้มาตลอดแล้วก็ยังไม่ยุติ ปัจจุบันก็ยังต่อสู้กันตลอดระหว่างพวกเรา ซึ่งถูกรบกวนหรือเบียดเบียน ด้วยกระบวนการคิดและรู้สึกที่ทำให้เราอยากทำให้ตัวเองมีผิวขาว
ความรู้สึกตรงนี้มันไม่ใช่ความรู้สึกเสแสร้ง เราลองนึกถึงภาพดู ถ้าคุณจะไปจีบสาวสักคนหนึ่ง คุณก็เลือกคนที่ผิวขาว ทำให้เพื่อนคนหนึ่งซึ่งเขาผิวไม่ขาวเกิดความรู้สึกว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้คุณสนใจเขาจึงต้องไปทำให้หน้าขาว แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณคิดใหม่ว่าคุณกำลังถูกหลอก โดยการคิดอะไรบางอย่าง ทำไมคุณไม่คิดว่าเพื่อนคุณที่ตัวเล็กๆผิวดำๆเป็นคนสวย แล้วคุณก็จะสลัดออกมาจากกรอบคิดอะไรบางสิ่งบางอย่างได้
กระบวนการอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะมันถูกปลูกฝัง มันถูกซึมซับไปในจิตของเราอย่างลึกซึ้งละเอียดจนยากที่จะไถ่ถอนได้ ผมคิดว่านี่คือวัฒนธรรมที่มีกระบวนการครอบงำมาโดยตลอด บังเอิญว่า อดีตเราเคยถูกครอบงำโดยชาวอินเดีย ปัจจุบันเราถูกครอบงำโดยชาวตะวันตกซึ่งเป็นฝรั่งจากที่ไหนไม่รู้ เพราะฉะนั้นกระบวนการครอบงำโดยเชิงสี ในเชิงวัฒนธรรมมันมีอยู่ตลอดเวลา
นักศึกษา : แล้วการครอบงำทางวัฒนธรรมนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับสังคมไทยตอนช่วงยุคไหน จะใช้ช่วงรัชกาลที่ 5 ซึ่งรับการศึกษามาจากตะวันตกหรือเปล่าครับ ?
ดร.ประมวล : ถ้ามองแง่ประวัติศาสตร์-การเมือง ชัดเจนว่าประเทศไทยต้องเปิดตัวเพื่อติดต่อกับต่างประเทศที่เป็นชาวตะวันตก โดยเฉพาะเรามาถึงช่วงซึ่งมีการล่าอาณานิคม ก็คือหมายความว่า อังกฤษ ฝรั่งเศส เข้ามายึดแผ่นดินของประเทศเพื่อนบ้าน แล้วปกครองดูแล ประเทศไทยเราเกิดความตื่นตระหนกว่าประเทศเราก็จะตกเป็นแผ่นดินที่ถูกยึดครองไปด้วย จึงทำให้เราต้องพยายามหาวิธีแก้ไข ความพยายามแก้ไขส่วนหนึ่งก็คือ ต้องทำให้เห็นว่า เราสามารถที่จะดำรงตัวเราเองอยู่ได้ โดยการทำตัวเราให้ทันสมัย
วิธีการที่เขาจะเข้ามายึดครอง เขาจะอ้างกับประชาชนว่า เราเชย ล้าสมัย เราไม่ทันสมัย เพราะฉะนั้นจึงต้องทำให้เราทันสมัย ดังนั้นอันนี้จึงเป็นกระบวนการต่อสู้อย่างหนึ่งของคนไทย ขบวนการนี้แทนที่มันจะเป็นเครื่องมือ แล้วก็เลิกใช้เมื่อต่อสู้เสร็จแล้ว แต่กลายเป็นสิ่งที่ใช้กันตลอดมา จนกระทั่งว่าสุดท้ายเราแย่ยิ่งกว่าประเทศที่ถูกครอบครองเป็นอาณานิคม เพราะเราถูกยึดครองวิธีคิดที่ทำให้เราเชื่อและฝังใจว่า ต้องทำให้เป็นแบบฝรั่งหรือตะวันตก
ในอินเดียเสียอีก ขณะที่มีกระบวนการซึ่ง ในภาษาของนักสังคมวิทยาอินเดียพูดถึง westernization ก็มีคำว่า Sanskritization คู่กันมาตลอดเวลา คือทำอย่างไรในขณะที่มีการแย่งชิง ชาวตะวันตกพยายามทำให้คนอื่นเป็นตะวันตก(western) ก็มีชาวอินเดียกลุ่มหนึ่งมาแย่งชิงให้เป็นสันสกฤต(Sanskrit) เพื่อจะเป็นสัญลักษณ์ในตอนต้น
ตอนที่จะตั้งสถาบันการศึกษา ได้มีการเถียงกันอย่างเอาจริงเอาจังว่าจะใช้ภาษาอะไรในการสอนวิชาการระดับสูง แล้วตัวแทนของบริษัท East India company เสนอให้ใช้ภาษาอังกฤษ เพราะเขาอ้างเหตุผลว่า ภาษาสันสกฤตมีความบกพร่องไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถสื่อสารความรู้ที่ถูกต้องและดีงามให้กับประชาชนได้ เพราะฉะนั้นนักสังคมวิทยาชาวอินเดีย จึงใช้สันสกฤตมาเป็นตัวอย่างของการใช้คำว่า Sanskritize คือหมายความว่า ทำให้เป็นอินเดีย
กระบวนการทำให้เป็นอินเดียคือกระบวนการที่ ผิดหรือถูกไม่รู้ แต่อย่างน้อยๆถ้าพูดกันตามภาษามวย ก็ยังมีหมัดซึ่งพอปกป้องตัวเองได้บ้าง ประเทศไทยเราเสียอีก มีกระบวนการอะไรไหมที่ทำให้เราเกิดความเป็นไทยที่จะโต้ตอบกับกระบวนการที่ทำให้เป็นฝรั่ง ดูแล้วไม่มีเลย ไม่มีไม่พอ เรากลับพยายามที่จะทำในลักษณะที่เป็นไปอย่างนั้น
ความจริงกระบวนการโต้ตอบกันนี้ไม่ใช่เรื่องดีเรื่องชั่ว แต่เป็นกระบวนการที่มันทำให้เกิดการสังเคราะห์ใหม่ ซึ่งทำให้เกิดการผสมระหว่างของเดิมกับของใหม่ ของเราไม่มีการผสม เพราะฉะนั้นกระบวนการที่ทำให้เกิดขบวนการแบบนี้ขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ผมคิดว่ามีมาเป็นเวลานานแล้ว และมีมาเรื่อยๆซึ่งได้ปรากฎชัดเจนมากในรัชกาลที่ 5 เพราะสมัยรัชกาลที่ 5 เราได้หันมาจับการศึกษาแบบใหม่โดยการส่งลูกส่งหลานไปเรียนหนังสือต่างประเทศ และลูกหลานที่ไปเรียนหนังสือยังต่างประเทศ ต่างก็ไปรับเอาฝรั่งมาเกือบทั้งหมด
ยกเว้นรัชกาลที่ 6 คือในสมัยนั้นเขาเห่อเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องเทคโนโลยี แต่รัชกาลที่ 6 ท่านมีนิสัยมาทางศิลปะ ก็เลยเผลอไปสนใจเรื่องอินเดีย เพื่อต้องการแสดงความเป็นไทย เพราะฉะนั้นรัชกาลที่ 6 จึงสนใจเรื่องละคร เรื่องวรรณกรรมอินเดีย และได้แปลบทละครมาเป็นไทยๆ แต่ก็คืออินเดีย ที่สำคัญ ตอนนั้นมีกระบวนการที่โต้ตอบกับอังกฤษแล้วของอินเดีย รัชกาลที่ 6 จึงเห็นว่าสิ่งนี้เป็นประเด็นขึ้นมา
กระบวนการที่เรากำลังพูดถึงนี้ มันชัดเจนในกระบวนการจัดการทางการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นอาวุธสำคัญที่จะกล่อมเกลาเราให้มีความคิดความเชื่อตามที่พึงต้องการของผู้จัดการศึกษา และตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ความจริงเริ่มจากรัชกาลที่ 4 ซึ่งพระองค์พยายามที่จะทำให้เป็นฝรั่ง พยายามทำให้เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ผมชัดเจนมาปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ 6 จนกระทั่งปัจจุบันเราก็ยังเป็นอย่างที่ว่าเอาไว้
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)
ทัศนียวิทยาวัฒนธรรมอินเดีย
สีในวัฒนธรรมอินเดีย
ดร.ประมวล
เพ็งจันทร์
ภาควิชาปรัชญาศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กระบวนวิชาปรัชญาศิลปะ
ในส่วนของ "หัวข้อที่น่าสนใจ"(interesting issue)
จัดทำโดยนักศึกษากลุ่มที่ 9 ชั้นปีที่ 4 / 2545 คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ควบคุมกระบวนวิชาโดย รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม
นักศึกษา : ใคร่เรียนถามอาจารย์ประมวลถึงความสำคัญของ"สี" กับเรื่อง"วรรณะ"ในอินเดียว่าเป็นอย่างไร? เท่าที่เห็นในวัฒนธรรมอินเดียค่อนข้างมีความสลับซับซ้อนมาก แต่ในคำถามแรกนี้อยากจะเจาะประเด็นเรื่องของสีและวรรณะว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรครับ
ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ : ความจริงคำถามเรื่อง"สี"กับ"วรรณะ"เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะเหตุว่า"วรรณะ"ก็แปลว่า"สี" และมิติที่เกี่ยวกับสีในวัฒนธรรมอินเดีย ก็เริ่มต้นขึ้นมาจากการที่มีระบบ"วรรณะ" สิ่งที่มันมีประเด็นทางความหมายของสี เริ่มต้นขึ้นมาจากระบบวรรณะ วรรณะที่หมายถึงสีก็คือ"สีผิว" เนื่องจากมีคนสองกลุ่มเข้ามาอยู่ในประเทศอินเดีย คือคนที่อยู่เดิมคือพวกทราวิด(Dravidian) ซึ่งเป็นคนผิวสีดำ แล้วพวกที่เข้ามาใหม่คือพวกอารยัน หรืออินโดยูโรเปียน ที่มีผิวสีขาว
เมื่อพวกผิวสีขาวเข้ามาสู่อินเดียนั้น ก็ได้เข้ามาแย่งชิงพื้นที่ แล้วก็มีการต่อสู้กันทางวัฒนธรรม รวมทั้งการต่อสู่กันทางยุทธวิธี ยุทโธปกรณ์ด้วย เมื่อเขาหรือผู้มาใหม่ผิวสีขาวชนะ ก็ได้พยายามสถาปนาสิ่งที่เรียกว่าวรรณะหรือสีผิวขึ้นมา ให้มีกรอบกำหนดเพื่อแสดงชัยชนะ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่สมัยที่อารยันเข้ามาสู่อินเดีย จึงทำให้"ผิวสีขาว"ถูกทำให้มีความหมายเหนือกว่า"ผิวสีดำ" นั่นหมายความว่า ผิวสีดำจะกลายเป็นความต่ำต้อย