บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 219 ประจำเดือนตุลาคม 2545 : ความคิดทางปรัชญาเกี่ยวกับตัวตนในโลกตะวันตก ผ่านมุมมองของพระพุทธศาสนา
ภาพประกอบดัดแปรง สำหรับบทความวิชาการ[มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน] นำมาจาก 1) ภาพการ์ตูนนำมาจากนิตยสาร Time ฉบับวันที่ 4 กันยายน 2000 2) ภาพผู้หญิง นำมาจากหนังสือ The Illustrated History of Art หน้า 53

ผลงานวิชาการ : ปรัชญาตะวันตก-ในมุมมองตะวันออก เรื่อง "ความพร่องของอิสรภาพ"(The Lack of Freedom) เขียนโดย David R. Loy : Bunkyo University
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

บทความนี้ยาวประมาณ 9 หน้ากระดาษ A4
แปลและเรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม Somkiat Tangnamo
FFA. Chiangmai University
(หมายเหตุ: บทความนี้ตัดตอนมาจากบทความเต็ม ยาวประมาณ 38 หน้า)

release date
101045
การศึกษาส่วนใหญ่เกี่ยวกับ
อิสรภาพเน้นว่า ตะวันตกได้ให้
การ สนับสนุน อย่างสำคัญต่อทฤษฎี และปฏิบัติการเกี่ยวกับอิสรภาพ. ความพยายามที่จะอธิบายของ Patterson ที่ว่า ทำไมอิสรภาพจึงไม่ค่อยๆปรากฏตัวหรือวิวัฒน์ขึ้นมาในโลกที่ไม่ใช่ตะวันตก. ปฏิบัติการในลักษณะคร่าวๆและกระชับของเขา ต่อคำถามหรือข้อสงสัยอันนี้ เป็นการพูดถึงชนเผ่าอินเดียนทางเหนือและทางใต้, สังคมต่างๆที่ไม่รู้หนังสือในแอฟริกัน, ชนเผ่าต่างๆกลุ่มหนึ่งของแปซิฟิคใต้,
กระนั้นก็ตาม ไม่ได้มีการพิจารณากันถึงอินเดียและจีน ซึ่งถือว่าในเชิงปรัชญานั้น เป็นวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตกซึ่งมีความเจริญช่ำชองมากที่สุด (บางส่วนจากบทความ)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : ทางเลือกอุดมศึกษาเพื่อความเป็นไท - หากสมาชิกและนักศึกษาประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

พวกเราได้ติดตามร่องรอยการก่อเกิดของอารยธรรมตะวันตก ย้อนกลับไปยังการปลดเปลื้องมายาคติด้วยการใช้เหตุผลของกรีก. และนับจากสมัยเรอเนสซองค์เป็นต้นมา ซึ่งได้มีการเน้นถึงเรื่องของความก้าวหน้า อันดับแรก เป็นเรื่องของอิสรภาพจากศาสนา(ยุคปฏิรูปศาสนา - The Reformation), และต่อมา เป็นเรื่องของการมีอิสรภาพจากการเมือง(การปฏิวัติอังกฤษ, อเมริกัน, ฝรั่งเศส), ติดตามมาด้วย อิสรภาพทางเศรษฐกิจ(การต่อสู้ทางชนชั้น - the class struggle), การเป็นอิสระจากการเป็นอาณานิคม(กระบวนการเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพ), การเป็นอิสรภาพจากเชื้อชาติ(สิทธิพลเมือง)

และเมื่อเร็วๆนี้นี่เอง ได้มีการรณรงค์เรื่องอิสรภาพทางเพศและจิตวิทยา(ลัทธิสตรีนิยมและสิทธิของชาวเกย์ที่ได้ปลดปล่อยผู้หญิงและการแบ่งแยกทางเพศ), รวมถึงการบำบัดทางจิต ซึ่งได้ทำให้เราเป็นอิสระจากโรคประสาทต่างๆ)

ทุกวันนี้ "การรื้อสร้าง"(deconstruction) และพัฒนาการทางด้านสติปัญญาหลังสมัยใหม่(postmodern intellectual development) ได้ปลดปล่อยเราจากเจตจำนงของนักประพันธ์และโครงสร้างของเนื้อหาเดิมๆในตัวมันเอง - ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอาจเรียกได้ว่าเป็น "อิสรภาพจากเนื้อหาหรือต้นฉบับ"(textual liberation)

ดังนั้น จึงไม่น่าประหลาดใจที่อิสรภาพในทุกวันนี้ คือคุณค่าที่สำคัญที่สุดของโลกตะวันตก และโดยผ่านอิทธิพลของตะวันตก มันได้กลายมาเป็น หรือกำลังกลายมาเป็นคุณค่าสูงสุดของโลกในส่วนที่เหลือด้วย

ผู้คนอาจกระทำบาปหรือความชั่วต่ออิสรภาพ แต่ไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณความดีของมัน. กระนั้น คุณความดีอันนี้ กำลังสูญเสียความรุ่งโรจน์ของมันบางส่วนไปใช่หรือไม่ ?

เมื่อเร็วๆนี้ มันค่อนข้างชัดเจนมากขึ้นว่า การวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆเกี่ยวกับลัทธิปัจเจกชนนิยมประชาธิปไตย ที่ได้รับการสนับสนุนโดยประเทศเอเชียตะวันออกบางประเทศนั้น มันน้อยยิ่งกว่าการขออภัยเกี่ยวกับระบอบการปกครองแบบเผด็จการ. บ่อยครั้ง "การสูญเสียอิสรภาพ" ได้ถูกยกฟ้องบนพื้นฐานอันเนื่องมาจาก ความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม. แม้ว่านโยบายต่างๆแบบเผด็จการจะไม่ได้รับความอดทนในตะวันตก แต่ในทางตรงข้าม กลับเป็นที่ยอมรับของชาวเอเชีย

ขณะเดียวกัน เรา(ชาวตะวันตก)ได้ยินการอ้างอิงถึงขนบจารีตที่แสดงถึงการกดขี่ของตะวันออกต่างๆอยู่บ่อยๆ แต่ประเด็นเหล่านี้มากมายไม่ได้ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ ในทางกลับกัน มันมีข้อพิสูจน์ไม่น้อยซึ่งมีหลักฐานเกี่ยวกับการกดขี่บีบคั้นในสังคมตะวันตก ซึ่งได้ถูกทำให้เป็นที่ประจักษ์โดยขนบจารีตต่างๆของการสอบสวนแบบสเปน หรือเกี่ยวกับค่ายกักกันนาซีเยอรมัน

หลายต่อหลายครั้งมีการตอบโต้กันข้างต้น ซึ่งการอ้างอิงต่างๆได้ถูกนำไปเน้นในเรื่องระเบียบวินัยแบบ"ขนบธรรมเนียมของขงจื้อ"; แต่นั่นไม่ใช่ขนบจารีตในตะวันออกเท่านั้น, และมันก็ไม่ง่ายที่จะประเมินว่าเป็นผลที่อาจจะเกิดตามมาของขนบจารีตนั้นสำหรับเอเชียยุคใหม่ [แม้ว่า เราสามารถแสดงให้เห็นว่า ระเบียบวินัยเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับขงจื้อ มากกว่าสิ่งที่เพลโตและเซนต์ ออกัสตินกล่าวถึงก็ตาม])(Amartya Sen, New York Review of Books September 22, 1994, p.69)

อย่างไรก็ตาม "ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอิสรภาพ" ได้บรรจุเอาความขัดแย้งไว้มากพอที่จะทำให้เราสดุดหยุดลง. มันเป็นเรื่องที่สำคัญเท่าๆกันกับในสมัยเรอเนสซองค์ ซึ่งเป็นไปเพื่อการพัฒนาเกี่ยวกับอิสรภาพของบุคคล พวกเรายังเห็นถึงรากเหง้าของปัญหาต่างๆของมันด้วย ซึ่งได้สิงสู่อยู่กับเราในทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลัทธิปัจเจกนิยมอย่างสุดขั้ว ที่ได้ปลดปล่อยหรือระบายความโลภของเราออกมา ในฐานะที่เป็นเครื่องจักรของพัฒนาการทางเศรษฐกิจ และธุรกิจเสรี ที่ยังคงทำให้การทำลายล้างความผูกพันต่างๆของชุมชนลงไปอย่างมีเหตุผลและต่อเนื่อง

การปฏิวัติฝรั่งเศส, รัสเซีย, และจีน เป็นผลลัพธ์มาจากนโปเลียน, สตาลิน, และเหมา, โดยลำดับ, ซึ่งเป็นการแก้ต่างคำเตือนต่างๆของ Burke เกี่ยวกับความแตกตัวอย่างฉับพลันของอำนาจเผด็จการทางการเมืองที่มากดขี่. และปัจจุบันนี้ อิสรภาพทางด้านเทคโนโลยีของเรากับการแปรเปลี่ยนรูปโฉมของโลกธรรมชาติ มันกำลังปล้นชิงธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง ซึ่งพวกเราทั้งหลายกำลังตกอยู่ในอันตรายร้ายแรงเกี่ยวกับการทำลายล้างตัวของเราเองด้วย

ถ้าเผื่อว่า"อิสรภาพ"คือคุณค่าสูงสุดของพวกเรา หากเป็นเช่นนั้น มันก็เป็นปัญหาอันหนึ่งเหมือนกัน. ในที่นี้เราจะมาทำการสำรวจถึง ปัญหาเกี่ยวกับอิสรภาพจากมุมมอง"ความพร่อง"(lack)ของชาวพุทธ

พุทธศาสนาให้เหตุผลว่า การสร้างอิสรภาพให้เป็นคุณค่าที่สำคัญที่สุดของเรา เป็นเรื่องที่อันตราย, สำหรับ"อิสรภาพ"มันถูกนึกคิดหรือเข้าใจโดยเอกเทศ ในมุมมองทางโลกหรือในเทอมต่างๆของมนุษย์เท่านั้น ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว จะก่อเกิดช่องว่างหรือเกิดรอยร้าว เพราะว่ามันไม่สามารถให้สิ่งที่เราแสวงหาจากมันได้อย่างแท้จริงนั่นเอง

ส่วนหนึ่งของการต่อต้านของเรา ซึ่งมีต่อข้อสรุปอันนั้น เนื่องมาจากความยุ่งยากในการพิจารณาเรื่องของอิสรภาพอย่างเป็นภววิสัย. อุดมคติอันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเรา ที่ค่อนข้างเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับวิธีการที่เราเข้าใจตัวของเราเองมาก ดังนั้นมันจึงยากที่จะเฝ้าดูมัน

"คุณค่าของอิสรภาพ"อันนี้มีประวัติศาสตร์อันหนึ่ง มากกกว่าจะเป็นเรื่องของธรรมชาติ, มันเป็นผลลัพธ์ของการสืบค้นอย่างถี่ถ้วนซึ่งสลับซับซ้อนและจะต้องทำการตรวจสอบอย่างละเอียด. ด้วยเหตุนี้ วิธีการเชิงเปรียบเทียบสามารถที่จะช่วยวาดเค้าโครงสถานการณ์ต่างๆของเราขึ้นมาได้ ที่ว่า ทำไมอุดมคติเกี่ยวกับอิสรภาพจึงได้เกิดขึ้นมาในตะวันตก และเมื่อไหร่และที่ไหน ที่มันมีการแสดงออกซึ่งอิสรภาพนั้น? คำถามต่อมาคือ มันตรงข้ามกับคุณค่าต่างๆขั้นปฐมของวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตกอย่างไร?

ความยุ่งยากอีกอันหนึ่งก็คือ "แนวความคิดที่แท้เกี่ยวกับอิสรภาพ" ซึ่งค่อนข้างเข้าใจยากมากๆ

มันเกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะนิยามเรื่องของอิสรภาพในแบบที่น่าพอใจได้เลย สำหรับเหตุผลง่ายๆที่ว่า แนวความคิดที่เป็นนามธรรมนั้น ได้สูญเสียความหมายภายนอกบริบทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับคำถามที่ว่า อิสรภาพจากอะไร... หรืออิสรภาพถึงอะไร...?

ในเรื่อง Freedom in the making of Western Culture(1991), Orlando Patterson ได้จำแนกสิ่งที่เราเรียกว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับอิสรภาพเอาไว้สามระดับคือ :

1. ระดับส่วนตัว (personal) หมายถึง สามารถที่จะทำความพึงพอใจต่างๆได้ ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆของความปรารถนาของคนอื่นที่จะกระทำสิ่งเดียวกัน

2. ระดับองค์อธิปัตย์ (sovereignal) หมายถึง อำนาจที่จะกระทำเพื่อความพึงพอใจต่างๆได้ โดยไม่เอาใจใส่ความปรารถนาของคนอื่นๆ

3. ระดับพลเมือง (civic) ความสามารถของสมาชิกในชุมชนหนึ่งที่จะมีส่วนร่วมในชีวิตและการปกครอง คำนิยามทั้งสามระดับนี้ ได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดขึ้น ซึ่งไล่ตามประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอิสรภาพนับจากเริ่มต้นเลยทีเดียว. ถ้าหากว่าอิสรภาพคือความรู้สึกหนึ่ง มันก็จะไม่ถูกแก้ปัญหาอย่างแน่นอน

ข้อเท็จจริงที่โชคไม่ดีคือว่า ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มันเป็นเรื่องง่ายมากที่จะต่อสู้เพื่ออิสรภาพ มากยิ่งกว่าการอยู่อย่างอิสระ. ทำไมมันยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่อย่างต่อเนื่อง ?

การศึกษาส่วนใหญ่เกี่ยวกับอิสรภาพเน้นว่า ตะวันตกได้ให้การสนับสนุนอย่างสำคัญต่อทฤษฎีและปฏิบัติการเกี่ยวกับอิสรภาพ. ความพยายามที่จะอธิบายของ Patterson ที่ว่า ทำไมอิสรภาพจึงไม่ค่อยๆปรากฏตัวหรือวิวัฒน์ขึ้นมาในโลกที่ไม่ใช่ตะวันตก. ปฏิบัติการในลักษณะคร่าวๆและกระชับของเขา ต่อคำถามหรือข้อสงสัยอันนี้ เป็นการพูดถึงชนเผ่าอินเดียนทางเหนือและทางใต้, สังคมต่างๆที่ไม่รู้หนังสือในแอฟริกัน, ชนเผ่าต่างๆกลุ่มหนึ่งของแปซิฟิคใต้, ชาวเมโสโปเตเมียโบราณ และวงศ์วานชนชาวอียิปต์

กระนั้นก็ตาม ไม่ได้มีการพิจารณากันถึงอินเดียและจีน ซึ่งถือว่าในเชิงปรัชญานั้น เป็นวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตกซึ่งมีความเจริญช่ำชองมากที่สุด และนอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในสิ่งที่พวกเราคาดหวังว่าจะเสนอทางเลือกที่น่าสนใจมากที่สุดต่อความเข้าใจของตะวันตกเกี่ยวกับอิสรภาพด้วย

ในอินเดีย เป็นตัวอย่าง มุกติ(mukti - การปลดปล่อยเพื่อความหลุดพ้น เป็นอีกคำหนึ่งของโมกข์ษะ)ได้ถูกยอมรับกันมาเป็นเวลายาวนาน โดยสกุลความคิดเกือบทั้งหมดในฐานะซึ่ง เป็นเป้าหมายทางจิตวิญญานอันสูงส่งที่สุดของการหลุดพ้น

"นับจากการดำรงอยู่ของมนุษย์ โดยขนบประเพณี ถูกเข้าใจว่าเป็นวัฏฏะอันหนึ่งของการเวียนว่ายตายเกิดที่โปรยปรายไปด้วยประสบการณ์และความทุกข์ "อิสรภาพของตัวตน"สามารถที่จะได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นอิสรภาพจากวัฏฏะอันนี้ของสังสารวัฏ. ดังนั้น "อิสรภาพ"หรือ"มุกติ"(ความหลุดพ้น) จึงหมายความว่า อิสรภาพจากความไม่รู้เกี่ยวกับตัวตน นั่นคือ อวิชชา, อิสรภาพจากกิเลส ตัณหา หรือ กลิศ, อิสรภาพจากความทุกข์หรือ ทุกขา, และในท้ายที่สุด อิสรภาพจากความตายและกาลเวลา บรรดาชาวพุทธทั้งหลาย, ผู้นับถือศาสนาเชน, และเหล่าโยคีเข้าใจอุดมคติเกี่ยวกับอิสรภาพจากข้อจำกัดต่างๆของความรู้ด้วย, ขณะที่สิทธา แสวงหาอิสรภาพจากข้อจำกัดต่างๆของธรรมชาติทั้งหมด"

ที่ชัดเจนต่ออันนี้, Patterson ดำเนินตามปัญญาญานที่รับเอามาโดยสรุปว่า ความสลับซับซ้อนทางคุณค่าของตะวันตกเกี่ยวกับอิสรภาพ "เป็นสิ่งที่อยู่เหนือกว่าความสลับซับซ้อนใดๆ เกี่ยวกับคุณค่าที่เข้าใจกันของมนุษยชาติ"

เราอาจยกคำถามหรือข้อสงสัยบางอย่างขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยพลิกแพลงการวิจารณ์ในแนวพุทธเกี่ยวกับอัตตา-ตัวตน(ego-self)มาใช้: การดำรงอยู่ของอัตตาตัวตนในเชิงสมมุติซึ่ง, เป็นเพราะมันเข้าใจตัวมันเองในฐานะที่แยกขาดออกจากโลก, บ่อยครั้ง ได้ถูกครอบครองมาก่อนหน้านั้นแล้ว ด้วยการปลดปล่อยตัวของมันเองจากพันธะต่างๆที่ผูกมัดมันไว้กับโลก

สำหรับพุทธศาสนา, อัตตาไม่ใช่ความสำนึกเกี่ยวกับตัวตนที่มีอยู่ แต่เป็นการสร้างขึ้นมาของจิต, ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนที่เปราะบาง ซึ่งหวาดกลัวตัวของมันเองในความไม่มีอยู่

ปัญหาของพวกเราเกิดขึ้นเพราะ "ฉัน" ที่กำหนดเงื่อนไขความสำนึกต้องการจะวางรากฐานตัวของมันเอง - - ยกตัวอย่างเช่น ทำให้ตัวมันเองเป็นจริงขึ้นมา. ความล้มเหลวมาโดยตลอดของมันที่จะทำเช่นนั้น หมายความว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนเกิดความรู้สึกหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับความพร่อง(a sense of lack) คล้ายกับเงาที่ไม่อาจหนีรอดได้ ซึ่งมันมักจะพยายามที่จะหนีไปให้รอด

สิ่งที่ Freud เรียกว่า "การย้อนกลับของการข่มระงับ" ในรูปแบบที่ถูกบิดเบือนไปของอาการบ่งชี้หนึ่ง ได้แสดงให้เราเห็นว่า จะเชื่อมโยง"พื้นฐานความสิ้นหวัง"กับ"วิธีการทางสัญลักษณ์" ซึ่งเราพยายามทำให้ตัวของพวกเราเป็นจริงขึ้นมาบนโลกนี้กันอย่างไร

การตีความเรื่องความพร่องเกี่ยวกับคำสอนเรื่อง"การไม่มีตัวตน"ของชาวพุทธ มีนัยะสำคัญอยู่สองประการสำหรับหนทางที่เรามองเรื่องของอิสรภาพ

ประการแรก, วัฒนธรรมใดก็ตามที่เน้นความเป็นปัจเจกของตัวตน จะวางคุณค่าสำคัญยิ่งให้กับ"อิสรภาพ"หรือ"เสรีภาพของตัวตน"เอาไว้สูงสุดอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. ปกติแล้ว อิสรภาพได้ถูกนิยามในฐานะที่เป็นการกำหนดควบคุมชีวิตของตนเอง และในทางนิรุกติศาสตร์(de+terminus, to limit, set boundaries)เผยให้เห็นนัยะเกี่ยวกับการสถาปนาเขตแดนต่างๆ ระหว่างตัวตนและไม่มีตัวตนขึ้นมา

ในที่นี้ ไม่เป็นที่น่าประหลาดใจที่ว่า นับจากการเริ่มต้นของมัน "ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอิสรภาพ"ของตะวันตก ได้ถูกนำไปสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพัฒนาการเรื่อง"ตัวตน"อย่างแข็งแกร่ง หรือนำเสนอมันในอีกช่องทางหนึ่ง กับการเพิ่มขึ้นของ ตัวตน-วัตถุ ในลักษณะทวิลักษณ์

ในขอบเขตอันนั้น อิสรภาพถูกเข้าใจในฐานะที่เป็นอิสรภาพจากการควบคุมภายนอก, การแบ่งแยกอันหนึ่งที่ถูกให้นัยะระหว่างภายใน(ที่ซึ่งต้องการเป็นอิสระ) และภายนอก(ที่ซึ่งได้รับอิสระจาก). อันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะสิ่งที่ Patterson เรียกว่า"stillbirth" of freedom(การแท้งของอิสรภาพ)ภายนอกสังคมตะวันตก ถูกทำให้สัมพันธ์กับข้อเท็จจริงที่ว่า บรรดาสังคมที่ไม่ใช่ตะวันตก มีแนวความคิดที่แตกต่างออกไปเกี่ยวกับเรื่องตัวตน และความสัมพันธ์ของมันกับสิ่งอื่นๆ

ประการที่สอง, และสมมุติฐานซึ่งเป็นงานหลักของบทความชิ้นนี้ก็คือว่า ถ้าการดำรงอยู่ของตัวตนและ ความมีอิสระเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวตนเป็นมายาการอันหนึ่งดังที่พุทธศาสนาอ้าง หากเป็นเช่นนั้นจริง ตัวตนดังกล่าว ก็จะไม่สามารถประสบกับตัวของมันเองมากพอสำหรับตัวตน - - นั่นคือ มันจะไม่เคยรู้สึกเป็นอิสระพอ. มันจะพยายามแก้ปัญหาความพร่องของมัน โดยการขยายปริมณฑลเกี่ยวกับอิสรภาพของตัวเองออกไป กระนั้นก็ตาม นั่นไม่สามารถที่จะกว้างขวางพอต่อความสุขกายสบายใจ

ลักษณะที่เป็นพลวัตอันนี้ ได้ช่วยก่อเกิดสิ่งที่เรารู้จักในฐานะที่เป็นประวัติศาสตร์ของตะวันตก: การแสวงหาอันไม่เคยสิ้นสุดเพื่อ"ลักษณะที่แท้จริง"; ยกตัวอย่างเช่น ความสมบูรณ์, อิสรภาพส่วนบุคคล. แต่มันสามารถจะเป็นอย่างนั่นได้ล่ะหรือ, ถ้ามันไม่มีตัวตน"ที่แท้จริง"ที่จะมีสิ่งเหล่านั้นได้ ?

การพึ่งพาอาศัยกัน ระหว่างอิสรภาพและความเหี้ยมโหด
(The Interdependence of Freedom and Tyranny)
เพื่อเข้าใจตะวันตกในบริบททั่วๆไป เราจะต้องเริ่มต้นด้วยสิ่งซึ่งมีอยู่ก่อนตะวันตก - ในกรณีนี้หมายถึง ก่อนยุคกรีกคลาสสิค. การศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้บางเรื่องได้เน้นว่า คุณค่าที่วางอยู่บนอิสรภาพได้ถูกทำให้เกิดขึ้นมานอกขั้วตรงข้ามของมัน, นั่นคือ"ความตายทางสังคม"ของคนที่เป็นทาส

เรื่องของความเป็นทาสถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาเอามากๆ, แต่อย่างไรก็ตาม อันนี้โดยตัวของมันเองไม่ได้ไปไกลเกินกว่าจะอธิบายว่า ทำไมอิสรภาพทางสังคม มันจึงพัฒนาขึ้นมาแต่เพียงในสังคมตะวันตกเท่านั้น. (อันนี้ไม่ได้หมายความว่า ความเป็นทาสเป็นส่วนหนึ่งที่สมบูรณ์ของเศรษฐกิจสังคมจำนวนมาก. ตามงานเขียนของ M.I.Finley (Ancient Slavery and Modern Ideology) มีเพียงสองสังคมเท่านั้นที่มีทาสอย่างแท้จริงที่อยู่ภายนอกทวีปอเมริกา, นั่นคือ กรีกสมัยคลาสสิค และอิตาลีสมัยคลาสสิค (ในที่นี้อาจเกิดข้อสงสัยว่า ทาสในยุคอียิปต์โบราณหายไปไหน ซึ่งจะมีคำตอบต่อไป)

ถ้าเผื่อว่า Finley ถูก, มันได้ก่อให้เกิดนัยะอันน่าพะอืดพะอมที่ว่า ประชาธิปไตยแรกเริ่มของโลกได้ให้กำเนิดเศรษฐกิจทาสครั้งแรกของโลกเช่นเดียวกัน; เศรษฐกิจทาสของเอเธนส์ เป็นผลลัพธ์ที่ตามมาของการปฏิรูปของ Solon (ผู้สร้างกฎหมาย 638-559 BC. เป็นชาวเอเธนส์)ซึ่งได้ให้สิทธิทางการเมืองและสิทธิทางเศรษฐกิจต่อประชาชนพลเมือง. การสาบสูญของแรงงานโดยไม่ได้ตั้งใจจำนวนมาก ได้รับการชดเชยโดยการตัดสินที่จะนำเข้าทาสจำนวนมากมาจากภายนอกเอเธนส์ ซึ่งการแก้ปัญหาอันนี้ได้รับการต้อนรับจากประชาชน. อันนี้ได้อธิบายความเข้าใจของกรีกเกี่ยวกับอิสรภาพและความเป็นทาสในฐานะที่ตรงข้ามกัน ซึ่งต้องการกันและกัน

ปัญหาพื้นฐานคือว่า ท่ามกลางการไม่มีทาส การปรากฎตัวขึ้นมาของทาสได้เสริมเพิ่มพลังความรู้สึกเกี่ยวกับความเป็นปึกแผ่นและการมีส่วนร่วมของกลุ่มในตัวของพวกเขาเอง; และสิ่งที่ทาสปรารถนา ไม่ใช่เรื่องของ"อิสรภาพ"ในความหมายที่วิวัฒน์ขึ้นมาในสังคมตะวันตก (ซึ่งเป็นเรื่องที่ร้ายกาจ เมื่อมันไม่มีที่ทางสำหรับเสรีชนคนหนึ่ง(free person)ในสังคมเหล่านั้น) แต่เป็นความปรารถนาที่จะลดความเป็นชายขอบ และความต้องการทำให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอีกครั้ง เพื่อเข้าสู่ชุมชนของผู้เป็นนายทาส

อันนี้เป็นการแสดงให้เห็นบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญเกี่ยวกับความสัมพันธ์กัน ระหว่างตัวตนที่เป็นปัจเจก กับ การประเมินค่าเกี่ยวกับอิสรภาพ: ไม่มีบริบททางสังคมสำหรับอิสรภาพที่ควรยกย่อง จนกระทั่งมันมีบทบาททางสังคมอันหนึ่งสำหรับปัจเจกที่จะมีบทบาทในฐานะของปัจเจกชนคนหนึ่ง

อียิปต์สมัยราชวงศ์ ได้ให้ตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่ง. ดังที่ Max Weber ตั้งข้อสังเกต, กฎทั่วไปที่ว่า"จะไม่มีผู้ใดที่ปราศจากนาย"(no man without a master), สำหรับคนที่ไม่มีผู้ปกป้องจะไร้อำนาจ และไม่สามารถได้รับความช่วยเหลืออะไรได้. เพราะฉะนั้น ประชากรทั้งมวลของอียิปต์จึงถูกจัดองค์กรขึ้นภายใต้ระบบให้มีลำดับชั้นสูงต่ำตามฐานะของการพึ่งพา

สำหรับ Weber อันนี้ได้เผยให้เห็นถึง"คุณลักษณะเฉพาะอันเป็นแก่นแท้ของรัฐที่เรียกว่า liturgy-state: รัฐพิธีกรรม นั่นคือ รัฐที่ปัจเจกชนแต่ละคน ถูกผูกมัดกับหน้าที่ที่กำหนดให้กับเขาภายในระบบสังคม, และด้วยเหตุนี้ ปัจเจกชนแต่ละคน ในหลักการ จึงไม่มีอิสระ"

หลักการอันนี้ได้นำไปประยุกต์ใช้กับบรรดาฟาโรห์ทั้งหลายด้วย ถึงแม้ว่าฟาโรห์ทั้งหลายต่างก็มีฐานะของพระผู้เป็นเจ้าเท่ากับพระผู้เป็นเจ้าต่างๆ ซึ่งบทบาทของพระองค์ก็คือธำรงรักษาแบบแผนของจักรวาลเอาไว้. นั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมความพยายามทุกๆอย่างของบรรดาฟาโรห์ทั้งหลายที่จะปลดปล่อยตัวของพระองค์เองให้เป็นอิสระจากอำนาจของพวกพระจึงถูกทำให้แพ้พ่าย

เมื่อทุกๆคนได้ถูกทำให้คงที่ภายใต้ลำดับชั้นสูงต่ำตามการยินยอมของพระผู้เป็นเจ้า มันจึงไม่เหลือที่ทางในทางสังคมสำหรับอิสรภาพส่วนตัว เพราะโครงสร้างทางสังคมไม่มีพื้นที่สำหรับปัจเจกชนที่จะควบคุมหรือกำกับตัวเอง

เทียบกับความสำคัญนี้ ได้ไปเกี่ยวพันกับสิ่งที่ Patterson เรียกว่า อิสรภาพแบบองค์อธิปัตย์(sovereignal freedom), นั่นคืออำนาจที่จะกระทำอย่างเต็มที่ ในฐานะที่เป็นความพอใจโดยคนอีกคนหนึ่ง

โดยไม่คำนึงถึงธรรมชาติของอำนาจเผด็จการของสังคมมนุษย์ส่วนใหญ่ อิสรภาพแบบองค์อธิปัตย์นั้นมิได้มีอยู่อย่างปกติ เพราะความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งหมด ดำรงอยู่ภายใต้เครือข่ายอันหนึ่งของอำนาจถ่วงดุลยในทางตรงข้าม(รวมถึงอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าที่มาจำกัดความหยิ่งผยองของมนุษย์)

อันนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงลักษณะซึ่งเป็นประติทรรศน์ที่น่าเศร้าอันหนึ่ง ซึ่งไล่ตามประวัติศาสตร์ของตะวันตก: "อิสรภาพส่วนตัว และการปกครองแบบเผด็จการไม่ใช่สิ่งที่ตรงข้ามกัน แต่เป็นพี่น้องกัน" สำหรับเงื่อนไขต่างๆทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ประชาธิปไตยเป็นไปได้ และยังทำให้การปกครองแบบเผด็จการเป็นไปได้ด้วยเช่นกัน

ปัจเจกชนที่จะควบคุมหรือกำกับตัวเอง อาจวิวัฒน์ขึ้นมาโดยการทำลายล้างหรือความอ่อนแอของ"ลำดับชั้นสูงต่ำของการพึ่งพา" หรือ (ในสังคมชนเผ่าจำนวนมาก รวมไปถึง pre-Cleisthenes Athens [ก่อนทรราชย์ Cleisthenes ศตวรรษที่หก ก่อนคริสตศักราช]) ลำดับชั้นสูงต่ำของเชื้อสายวงศ์ตระกูล; กระนั้นก็ตาม สูญญากาศทางอำนาจที่สร้างขึ้นมา สามารถที่จะถูกจัดการโดยคนเหล่านั้นที่อยู่ในตำแหน่งได้ด้วย เพื่อยึดฉวยอำนาจทางการเมืองแบบเบ็ดเสร็จ อันจะไม่ถูกจำกัดอีกต่อไปแล้วโดยพลังอำนาจทางสังคมที่มาถ่วงดุลย์ทางด้านตรงข้าม

ประเด็นนี้อาจถูกสร้างขึ้นมาจากอีกด้านหนึ่งได้ นั่นคือ ความล้มเหลวของลำดับชั้นสูงต่ำ หรือระบบเชื้อสายวงศ์ตระกูลที่ยินยอมหรือหลีกทางให้กับการพัฒนาของปัจเจกชนที่เป็นอิสระ, ปัจเจกชนที่ดูแลกำกับตัวเองมากกว่า, แต่ในเวลาเดียวกัน มันก็ยินยอมให้กับการสร้างสรรค์ผู้คนธรรมดาทั่วไปขึ้นมาด้วย

ซึ่งนั่นได้ก่อให้เกิดแง่มุมที่ยุ่งยากอีกอันหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับลักษณะที่เป็นประติทรรศน์อันนี้ นั่นคือ ความกระตือรือร้น ซึ่งชนชั้นล่างของสังคมได้อ้าแขนรับบรรดาผู้ปกครองเอกาธิปไตย(ผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ)ของพวกเขา

ใน Grand Inquisitor ของ Dostoyevsky เน้นว่า มนุษย์ไม่มีความต้องการรีบด่วนอะไรมากไปกว่าสิ่งๆหนึ่ง ที่จะค้นพบใครบางคน ที่เขาสามารถยอมจำนนให้, เร็วเท่าที่จะทำได้, ของขวัญอันนั้นเกี่ยวกับอิสรภาพซึ่งเขา, ในฐานะสิ่งสร้างที่โชคไม่ดี, ถูกทำให้เกิดขึ้นมาพร้อมด้วยกันกับมัน"

พวกเราไม่ได้เกิดขึ้นมากับความอิสระ - - อิสรภาพที่เรามี เป็นผลลัพธ์อันเนื่องมาจากเงื่อนไขต่างๆทางประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อน - - แต่ลูกศรของ Dostoyevsky ในทางตรงข้าม พุ่งตรงไปที่เป้าหมาย: ถ้า(ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนมีนัยะแฝงความรู้สึกพร่องอยู่)อิสรภาพทำให้เรากังวลใจ, "การมีอิสระมากขึ้น"คือ"ความกังวลใจเพิ่มขึ้น"ที่เราจะรู้สึกเช่นนั้น และยิ่งความต้องการที่จะแก้ปัญหาความกังวลใจดังกล่าว ในหนทางหนึ่งหรือในอีกหนทางหนึ่ง - - ปกติแล้ว โดยการยอมจำนนมันต่อคนที่มีอำนาจบางคน หรือพ่อผู้ให้การคุ้มครอง(authority figure or father protector)

นักจิตวิเคราะห์ Otto Rank ได้จำแนกความกังวลใจของเราออกเป็นความกลัวที่เติมเต็มกันสองประการคือ
ประการแรกเรียกว่า Life fear (ความกลัวเกี่ยวกับชีวิต) คือความกังวลใจที่เรารู้สึก เมื่อเราออกมาห่างเกินไป, ด้วยการกระทำเช่นนั้น ทำให้เราสูญเสียความเชื่อมโยงกับทั้งหมด(stand out too much, thereby losing our connection with the whole)

ประการที่สองเรียกว่า death fear (ความกลัวเกี่ยวกับความตาย) เป็นความกังวลใจเกี่ยวกับการสูญเสียความเป็นส่วนตัวของคนๆหนึ่ง และการหลอมละลายกลับเข้าไปสู่ความเป็นทั้งหมด (losing one's personhood and dissolving back into the whole)

ขณะที่ความกลัวเกี่ยวกับชีวิต(life fear)เป็นความกังวลใจของการดำเนินไปข้างหน้า(going forward), เพื่อความเป็นปัจเจกชนคนหนึ่ง, ความกลัวเกี่ยวกับความตาย(death fear)คือความกังวลใจที่จะก้าวถอยหลัง(going backward), ความเป็นปัจเจกชนได้สูญสลายหายไป

ระหว่างความเป็นไปได้เกี่ยวกับความกลัวทั้งสองประการนี้ ปัจเจกชนได้ถูกเหวี่ยงกลับไปกลับมาไปตลอดชีวิตของเขา

อันนี้สามารถได้รับการแสดงออกได้ในเทอมต่างๆของอิสรภาพด้วย: เรารู้สึกถึงความต้องการที่จะเป็นอิสระ แต่การที่เรามีอิสระมากขึ้น ทำให้เรากังวลใจมากขึ้น และด้วยเหตุนี้จึงระยอบย่อที่จะพลีบูชา หรือสังเวยอิสรภาพอันนั้นให้กับใครคนหนึ่ง ซึ่งให้คำมั่นสัญญาเรื่องความมั่นคงปลอดภัยแก่เรา(รวมถึงความสมบูรณ์ต่อความรู้สึกพร่องของเรา)

กล่าวอย่างสั้นๆ มนุษย์ทั้งหลายต่างมีความต้องการทางจิตวิทยาสองประการ, นั่นคือ อิสรภาพและความปลอดภัย, และโชคไม่ดีที่ทั้งสองสิ่งนี้มันขัดแย้งกัน. อันนี้ได้อธิบายความยั่วยวนของลัทธิเผด็จการอำนาจเบ็ดเสร็จ

"ลัทธิเผด็จการอำนาจเบ็ดเสร็จ เป็นอาการบ่งชี้ทาง"โรคประสาทอันหนึ่งทางวัฒนธรรม" เกี่ยวกับความต้องการของชุมชน - - อาการบ่งชี้อันหนึ่ง ในแง่มุมที่มันถูกคว้าเอามาในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการบรรเทาความกังวลใจให้เบาบางลง ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากความรู้สึกต่างๆเกี่ยวกับความไร้อำนาจ และความไร้ประโยชน์ของการแยกตัว, ปัจเจกชนที่ถูกแปลกแยกที่สร้างขึ้นในสังคม ซึ่งลัทธิปัจเจกชนนิยมสมบูรณ์เป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญ. ลัทธิเผด็จการอำนาจนิยมเป็นตัวแทนของลัทธิการรวมตัวของชุมชน..."(otto Rank, "Life fear and Death fear", quoted in Irvin Yalom, Existential Psychotherapy [New York: Basic Books, 1980], 141-2)

ทุกวันนี้ไม่ว่าใครก็ตาม มวลชนหญิงและชาย ต่างตกอยู่ภายใต้สังคมต่างๆที่ไม่เป็นส่วนตัว ซึ่งไม่ได้ให้ความมั่นคงปลอดภัยเกี่ยวกับลำดับชั้นของการพึ่งพาและระบบเชื้อสายวงศ์ตระกูลอีกต่อไปแล้ว, อันนี้เป็นการนำไปสู่การสะสมเพิ่มพูนขึ้นมาอันหนึ่งของความกังวลใจ(ความพร่อง) ซึ่งสามารถแสวงหาทางออกโดยรวมอันหนึ่งได้. ประวัติศาสตร์กรีก และโรมันได้เตือนพวกเราว่า ปัญหาอันนี้ไม่ใช่ปัญหาของยุคสมัยใหม่เป็นการเฉพาะเท่านั้น

กระนั้นก็ตาม ทางออกหรือวิธีการแก้ไขอีกอันหนึ่งสำหรับลักษณะที่แย้งกันนี้ หรือการล่อลวงในทางตรงข้าม: บรรดาสมาชิกของสังคมอาจตัดสินใจขึ้นมาแทนว่า พวกเขายังไม่มีอิสระเพียงพอ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาจะต้องดิ้นรนเพื่อที่จะมีอิสระที่แท้จริงมากขึ้น. โชคไม่ดี วิธีการอันนี้คุกคามต่อวัฏจักรที่ชั่วร้ายอันหนึ่ง เพราะมันปฏิเสธการบรรเทาทุกข์ของเราในการผูกพันต่อสังคม ด้วยเหตุที่เราไม่เคยสามารถรู้สึกถึงอิสรภาพได้มากพอ

เพื่อแสดงมันออกมาในเทอมต่างๆของความรู้สึกพร่อง(sense of lack), ทุกวันนี้ หนึ่งในวิธีการหลักของเราที่จะทำให้ความพร่องของเราเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมาก็โดยความรู้สึกที่ว่า เราไม่ได้เป็นอิสระดังเช่นที่เราสมควรจะเป็น. อันนี้ไม่ได้ปฏิเสธว่า มันมักจะมีความผิดพลาดอยู่เสมอๆ ซึ่งต้องการสิทธิความเป็นมนุษย์ แต่อันนี้ทำให้เราเข้าใจแจ่มแจ้งบางอย่าง ตัวอย่างเช่น แรงดึงดูดเกี่ยวกับการตกเป็นเหยื่อ

การตกเป็นเหยื่อกำลังเรียนรู้ว่า จะพูดถึงปัญหาของชีวิตของคนๆหนึ่งออกมาอย่างไร โดยการค้นพบว่า คนๆนั้น กำลังถูกตักตวงผลประโยชน์หรือถูกกระทำชำเราอยู่; ต่อจากนั้นความโกรธและความรู้สึกสงสารตัวเองได้รับการให้เหตุผล, สามารถยอมรับได้ในทางสังคม, และบางครั้งเป็นผลตอบแทนที่มีกำไร

จากมุมมองความคิดทางด้านพุทธศาสนา, อันนี้เป็นสิ่งที่อันตราย มากกว่าการชี้ถึงหนทางที่เอาชนะความรู้สึกพร่อง ที่มันมาช่วยเสริมเพิ่มพลังความรู้สึกหลอกลวงเกี่ยวกับตัวตนของคนๆหนึ่ง ซึ่งได้ถูกกระทำชำเรา

สำหรับมวลชนทั้งหลาย ลัทธิเผด็จการอำนาจเบ็ดเสร็จคือความยั่วยวนให้ยอมจำนน โดยการสละอิสรภาพของเราไป กระนั้นความรู้สึกพร่องของตัวตน ยังทำให้เราสามารถเข้าใจลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จนี้ด้วย จากด้านของผู้ปกครองอำนาจเบ็ดเสร็จ. มันคือหนทางอีกอันหนึ่ง ที่พยายามจะสลายความรู้สึกพร่องของคนๆหนึ่งลงไปคือ โดยการขยายไปควบคุมเหนือคนอื่นๆ. ถ้าหากว่าตัวตนไม่มีฐาน และได้ก่อให้เกิดความกังวลใจทางธรรมชาติขึ้นมา มันก็สามารถที่จะพยายามป้องกันตัวมันเอง และเข้าควบคุมโดยการแสวงหาการครอบงำสิ่งที่อยู่ภายนอกมัน

"ความเบ็ดเสร็จเผด็จการอันนี้" ความรู้สึกของการเป็นคนๆหนึ่ง(เอกลักษณ์ของฉันเป็นสิ่งที่อิสระและมั่นคงอย่างแท้จริง) และโดดเดี่ยวคนเดียว (มันไม่มีอะไรภายนอกตัวฉันที่ฉันไม่สามารถควบคุมได้") คือรากฐานสำหรับการครอบงำ - และความสัมพันธ์ระหว่างนายกับทาส(the master-slave relationship)"

อีกครั้ง ถ้าหากว่าไม่มีการควบคุมใดๆสามารถทำให้ความไม่ปลอดภัยหรือความไม่มั่นคงเบาบางลงซึ่งสิงสู่อยู่ในตัวตน, การแสวงหาอันนี้เพื่อควบคุม คงมีแนวโน้มอันหนึ่งที่จะกลายเป็นภูติผีในตัวมันเองด้วย. Stalin ไม่เคยรู้สึกปลอดภัยพอเลยสักครั้ง เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้สึกปลอดภัยมากพอเช่นนั้นได้

ความต้องการที่จะยอมจำนนโดยการสละอิสรภาพของเรา ด้วยการยอมอ่อนข้อต่อคนที่มีอำนาจคนหนึ่ง เนื่องเพราะประสานกันได้อย่างสบายกับความกังวลใจ มันขับเคลื่อนให้ทรราชย์ไปสู่การพยายามที่จะรวบอำนาจของเขาเอาไว้ทั้งหมดเพียงคนเดียว. พวกเขาวิวัฒน์ไปด้วยกันภายใต้พลังทางสังคมซึ่งมีความเข้มแข็งเท่าๆกัน ซึ่งโดยจารีตแล้ว ได้มาจำกัดปฏิบัติการของพลังรวมศูนย์อันนั้น มากเท่าๆกันกับการเป็นปฏิบัติการเกี่ยวกับอิสรภาพส่วนตัว

ในเชิงที่ตรงข้ามกับความคาดหวัง, โดยเหตุนี้ พัฒนาการเกี่ยวกับอิสรภาพระดับองค์อธิปัตย์ของบรรดาทรราชย์ทั้งหลาย ไม่เพียงเป็นการปฏิเสธเกี่ยวกับอิสรภาพส่วนตัวเท่านั้น มันยังเป็นผลอันหนึ่งอย่างมากเกี่ยวกับอิสรภาพส่วนตัวด้วย

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)

 

อียิปต์สมัยราชวงศ์ ได้ให้ตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่ง. ดังที่ Max Weber ตั้งข้อสังเกต, กฎทั่วไปที่ว่า"จะไม่มีผู้ใดที่ปราศจากนาย"(no man without a master), สำหรับคนที่ไม่มีผู้ปกป้องจะไร้อำนาจ และไม่สามารถได้รับความช่วยเหลืออะไรได้. เพราะฉะนั้น ประชากรทั้งมวลของอียิปต์จึงถูกจัดองค์กรขึ้นภายใต้ระบบให้มีลำดับชั้นสูงต่ำตามฐานะของการพึ่งพา
สำหรับ Weber อันนี้ได้เผยให้เห็นถึง"คุณลักษณะเฉพาะอันเป็นแก่นแท้ของรัฐที่เรียกว่า liturgy-state: รัฐพิธีกรรม นั่นคือ รัฐที่ปัจเจกชนแต่ละคน ถูกผูกมัดกับหน้าที่ที่กำหนดให้กับเขาภายในระบบสังคม, และด้วยเหตุนี้ ปัจเจกชนแต่ละคน ในหลักการ จึงไม่มีอิสระ"

QUOTATION
The History of Lack : A Buddhist Perspective on the West / David R. Loy : Bunkyo University

ความพร่องของอิสรภาพ
The Lack of Freedom
แปลและเรียบเรียงโดย : สมเกียรติ ตั้งนโม

เราเพียงแต่คิดถึงตัวเองว่าเป็นอิสระเท่านั้น ถึงจะสามารถรู้สึกว่าตัวเองมีพันธะได้
และเราเพียงแต่ต้องรู้สึกว่ามีพันธะเท่านั้น ถึงจะสามารถรู้สึกว่าตัวเองมีอิสระได้ (Goethe)

ความเจริญงอกงามของอิสรภาพนับว่าเป็นแกนกลางหลักของประวัติศาสตร์, Lord Acton เชื่อว่าอย่างนั้น, ทั้งนี้เพราะ พระผู้เป็นเจ้าทรงมีแผนการณ์เช่นนั้นสำหรับมนุษย์. ใครบางคนไม่ต้องการทัศนะแบบ whiggish [พวกเสรีนิยม](whiggish - คำนี้หมายถึง สมาชิกพรรคปฏิรูปการเมืองในอังกฤษ ซึ่งต่อมาคือพรรค Liberal Party นั่นเอง) ที่เป็นมาในประวัติศาสตร์ ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า ประวัติศาสตร์ของตะวันตก อย่างน้อยที่สุด อันที่จริงแล้วเป็นเรื่องราวอันหนึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการของอิสรภาพ ทั้งที่ปรากฎขึ้นมาเป็นจริงและเป็นเพียงอุดมคติ