ผลงานรวบรวมแนวคิดคนสำคัญหลังสมัยใหม่ในเชิงสรุป เพื่อทำความเข้าใจปรัชญาโดยสังเขป : บทความวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 207 เดือนสิงหาคม ๒๕๔๕

ผลงานวิชาการของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
หากประสบปัญหาภาพ และตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาด font ลงจะแก้ปัญหาได้
H
home
บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 14 หน้ากระดาษ A4
R
relate
ภาพประกอบดัดแปลง 1. ภาพเหมือนตัวบุคคล Jean Francois Lyotard (ภาพถ่าย) 2. ภาพผู้หญิงผลงานจิตรกรรมของ John Feodorov ชื่อภาพ Office Myth (สีน้ำมัน) 3. ฉากหลัง ผลงานของ Ann Hamilton (Two black silk curtain)
release date
140845

การเรียกร้องของ Lyotard ก็คือ
เขาขอให้พวกเราปฏิเสธวาทกรรมหลัก
(grand narrative)[นั่นคือ, ทฤษฎีต่างๆที่อ้างความเป็นสากล]ของวัฒนธรรมตะวันตก เพราะปัจจุบัน พวกมันได้สูญเสียสถานะความน่าเชื่อถือไปแล้วทั้งหมด ซึ่งอันนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นข้อสรุปของจิตวิญญานหรือแถลงการณ์ของลัทธิหลังสมัยใหม่ ด้วยการดูถูกเหยียดหยามต่ออำนาจในลักษณะภายนอก

มันไม่มีประเด็นผูกมัดใดๆอีกแล้วในการถกเถียง ยกตัวอย่างเช่น ลัทธิมาร์กซิสม์ ข้อโต้เถียงในเชิงเหตุผลดำเนินไป; แน่นอน เราควรจะเมินเฉยมันในฐานะสิ่งที่ไม่ตรงประเด็นต่อความเป็นอยู่ของเรา.

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่ออุดมศึกษาไท : บทความลำดับที่ 207 เกี่ยวกับปรัชญาหลังสมัยใหม่ เผยแพร่บนเว็ปไซต์ครั้งแรกวันที่ 10 สิงหาคม 2545
สมเกียรติ ตั้งนโม (แปลและเรียบเรียง)
Postmodernism and Philosophy
by : Stuart Sim

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

ซึ่งอันนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นข้อสรุปของจิตวิญญานหรือแถลงการณ์ของลัทธิหลังสมัยใหม่ ด้วยการที่มันได้ดูถูกเหยียดหยามต่ออำนาจหน้าที่ในลักษณะภายนอกทั้งหมด

มันไม่มีประเด็นผูกมัดใดๆอีกแล้วในการถกเถียง ยกตัวอย่างเช่น ลัทธิมาร์กซิสม์ ข้อโต้แย้งในเชิงเหตุผลดำเนินไป; แน่นอน เราควรจะเมินเฉยมันในฐานะสิ่งที่ไม่ตรงประเด็นต่อความเป็นอยู่ของเรา. ปรัชญาหลังสมัยใหม่ตระเตรียมเราด้วยข้อโต้เถียงและเทคนิคต่างๆเพื่อสร้างท่าทีเกี่ยวกับขัดแย้งขึ้นมา เช่นเดียวกับ มันได้สร้างการตัดสินเชิงคุณค่าขึ้นมาให้เรา และแสดงให้เห็นถึงความไม่มีอยู่ของอำนาจหน้าที่ต่างๆทั้งหมด

หนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการอธิบายลัทธหลังสมัยใหม่ก็คือ การเคลื่อนไหวทางปรัชญา ซึ่งจะเป็นรูปแบบหนึ่งของความสงสัย(scepticism) - เช่น ความสงสัย ไม่เชื่อในอำนาจหน้าที่(scepticism about authority), อย่างสติปัญญาซึ่งเป็นที่ยอมรับ, บรรทัดฐานทางวัฒนธรรม และการเมือง ฯลฯ. - สิ่งที่วางหรือเสนอตัวอยู่ในขนบประเพณีที่มีมาเก่าแก่ในความคิดตะวันตก ที่สามารถย้อนกลับไปถึงปรัชญากรีกในสมัยคลาสสิค

ความสงสัยไม่เชื่อถือ โดยสาระแล้ว เป็นรูปแบบของปรัชญาอันหนึ่งในเชิงนิเสธ ซึ่งเริ่มต้นด้วยการขุดเซาะทฤษฎีทางปรัชญาต่างๆที่อ้างตนว่าได้ครอบครองเกี่ยวกับความจริงระดับอันติมะ(หรือระดับสูงสุ) หรือเกี่ยวกับเกณฑ์บรรทัดสำหรับกำหนดตัดสินสิ่งที่ถือว่าเป็นความจริงสูงสุด

Antifoundationalism (การต่อต้านรากฐาน)
ศัพท์เทคนิคเพื่ออธิบายสไตล์ของปรัชญานี้คือ antifoundational(การต่อต้านรากฐาน) บรรดานัก Antifoundationalists จะถกเถียงถึงความมีเหตุผลหรือความสมบูรณ์เกี่ยวกับรากฐานต่างๆของคำอธิบาย(discourse-วาทกรรม) โดยจะตั้งคำถามเช่น "อะไรที่มารับประกันความจริงรากฐานของคุณ(นั่นคือ จุดเริ่มต้น)?

ลัทธิหลังสมัยใหม่ได้ดึงเอาตัวอย่างมากมายที่จัดหามาโดยนักปรัชญา antifoundationalists คนอื่นๆ, บางทีคนที่เด่นดังมากที่สุดในการทำลายความเชื่อถือศรัทธาของผู้คน(iconoclastic)คือ Friedrich Nietzsche นักปรัชญาชาวเยอรมันในคริสตศตวรรษที่ 19 ข้อเรียงร้องของเขาคือ ให้ผู้คนทั้งหลายประเมินคุณค่าต่างๆกันใหม่อีกครั้ง ซึ่งจากข้อเรียกร้องอันนี้ บางคนได้โห่ร้องแสดงความยินดีในการสนับสนุนสำหรับความเคลื่อนไหวดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เราจะทำความรู้จักเกี่ยวกับหลักข้อสงสัยของลัทธิหลังสมัยใหม่ในรายละเอียดที่ลึกลงไป มันน่าจะช่วยได้มากหากจะพูดถึงว่า"ใคร" และ"อะไร" ที่สามารถถือว่าอยู่ภายใต้หัวข้อเรื่องของปรัชญาหลังสมัยใหม่

ในที่นี้จะไม่เพียงนำเอาข้อสรุปของบรรดานักคิดหลังสมัยใหม่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่าง Lyotard มานำเสนอเท่านั้น แต่ยังจะกล่าวถึงคำอธิบายอันหลากหลาย อย่างเช่น ทฤษฎีการรื้อสร้าง(deconstruction) ที่อยู่ภายใต้เรื่องราวของ poststructuralism(หลังโครงสร้างนิยม) มานำเสนอด้วย

Poststructuralism (ลัทธิหลังโครงสร้างนิยม)
การปฏิเสธของ poststructuralism(ลัทธิหลังโครงสร้างนิยม) เกี่ยวกับขนบจารีตความคิด structuralist(นักโครงสร้างนิยม) ได้ก่อให้เกิดท่าทีอีกอันหนึ่งของความสงสัย(scepticism)ต่ออำนาจหน้าที่ที่ได้รับการยอมรับ และสามารถได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทิวทัศน์ทางวิชาการ และบรรยากาศของปัญญาชนหลังสมัยใหม่ ถึงแม้ว่าปรัชญาหลังสมัยใหม่ บางส่วนนั้นจะเป็นพื้นที่ที่ต่างออกไปเลยก็ตาม แต่เราสามารถหมายเหตุลักษณะที่ร่วมกันบางอย่างได้ อย่างเช่น ท่าทีเกี่ยวกับความสงสัยที่มีร่วมกัน ซึ่งเป็นลักษณะ antifoundational bias(ความโน้มเอียงในการต่อต้านรากฐาน)อย่างเดียวกัน และค่อนข้างเป็นการสะท้อนถึงความไม่ชอบในอำนาจหน้าที่คล้ายๆกัน

"ลัทธิหลังโครงสร้างนิยม"เป็นความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมอย่างกว้างๆอันหนึ่ง ซึ่งได้แผ่คลุมและทอดข้ามสาขาวิชาอย่างหลากหลาย ซึ่งมันเกี่ยวพันกับการปฏิเสธไม่เพียงลัทธิโครงสร้างนิยม(structuralism) และระเบียบวิธีการของมันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสมมุติฐานในเชิงอุดมคติหรือระบบคิดที่วางอยู่เบื้องหลังมันด้วย โดยเหตุนี้ ใครสักคนสามารถพิจารณามันในฐานะที่เป็นความเคลื่อนไหวทางปรัชญาและการเมืองได้เช่นกัน ดุจเดียวกับที่ใครบางคนสามารถพิจารณาลัทธิหลังสมัยใหม่ในลักษณะดังกล่าวได้ด้วยเช่นกัน

การทักท้วง Structuralism (ลัทธิโครงสร้างนิยม)
ลัทธิหลังโครงสร้างนิยม(poststructuralism)ทักท้วงความแน่นอนต่างๆทางวัฒนธรรม(cultural certainties) ซึ่งลัทธิโครงสร้างนิยม(structuralism)ถูกทำให้รู้สึกว่า "ความแน่นอนทางวัฒนธรรม"มันได้ก่อตัวขึ้นมา; ความแน่นอน อย่างเช่น ความเชื่อที่ว่าโลกเป็นสิ่งที่รู้ได้เกี่ยวกับธรรมชาติภายใน, และลัทธิโครงสร้างนิยมได้ให้กุญแจและวิธีการแก่เราในการไขหรือเปิดล็อคระบบต่างๆอันหลากหลายซึ่งมันได้สร้างโลกใบนี้ขึ้น

โครงสร้างนิยมนำความคิดของมันมาจากทฤษฎีต่างๆทางภาษาศาสตร์ของนักภาษาศาสตร์ชาวสวิสซ์ Ferdinand de Saussure ผู้ซึ่งได้ทำการปฏิวัติการศึกษาเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ในผลงานพิมพ์หลังมรณกรรมของเขา, Course in General Linguistics(1916)

ประเด็นหลักของ Saussure เกี่ยวกับภาษาก็คือ มันอยู่เหนือหรือพ้นไปจากระบบใดระบบหนึ่ง; ระบบหนึ่งพร้อมกับกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ(หรือไวยากรณ์ภายใน) ที่ควบคุมหน่วยต่างๆอันหลายหลากของภาษาในการปฏิบัติการ. ภาษาได้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเครื่องหมายต่างๆ(signs) และเครื่องหมายก็ประกอบด้วยส่วนสองส่วน, นั่นคือ a signifier (word) and signified (concept), ซึ่งนำมารวมกัน ในการทำความเข้าใจต่อรูปของเครื่องหมาย

ถึงแม้ว่า มันไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะมีความเชื่อมโยงกันระหว่าง"คำ"(word) กับ"วัตถุ"(object)ที่ถูกเรียก (มันเป็นความไร้เหตุผล หรือเป็นไปตามอำเภอใจ[arbitrary], ดังที่ Saussure ยอมรับ), แต่อำนาจของขนบธรรมเนียมได้ให้การรับรองหรือความมั่นใจว่า มันจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรผันของคนใดคนหนึ่ง อย่างน้อยที่สุด มันมีเสถียรภาพในเชิงสัมพันธ์กับภาษาและการผลิตความหมาย และภาษาได้รับการมองในฐานะที่เป็นระบบหนึ่งของเครื่องหมาย ซึ่งชักชวนหรือเหนี่ยวนำการขานรับที่ทำนายได้ในส่วนหนึ่งของชุมชนทางภาษา

แบบจำลองทางภาษา ที่มาของโครงสร้างนิยม
แบบจำลองทางภาษาที่สร้างขึ้นมาโดย Saussure ได้ก่อร่างพื้นฐานของการวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง(structuralist analysis)ขึ้น ซึ่งมันได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับระบบต่างๆโดยทั่วไป โดยสร้างสมมุติฐานที่ว่า ทุกๆระบบมีไวยากรณ์ภายในอันหนึ่งที่ควบคุมการปฏิบัติงานอยู่

ประเด็นหลักของการวิเคราะห์เชิงโครงสร้างก็คือเปิดเผยว่าไวยากรณ์นั้น ไม่ว่าระบบที่กล่าวถึงจะเป็นปกรณัมของชนเผ่า, อุตสาหกรรมการโฆษณา, หรือโลกของวรรณคดีหรือแฟชั่นก็ตาม

ในท้ายที่สุด สิ่งที่บรรดานักคิด"หลังโครงสร้างนิยม"คัดค้านก็คือความเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยตลอดเกี่ยวกับการดำเนินการของนักโครงสร้างนิยม ที่ซึ่งมันไม่มีความหละหลวมและทุกสิ่งทุกอย่างมันกระจ่างชัดและเกลี้ยงเกลามากเกินไป

ด้วยเหตุนี้ สำหรับนักคิดอย่าง Claude Levi-Strauss หรือ Roland Barthes ในช่วงต้น จึงมองว่า รายละเอียดทุกๆอย่างเกี่ยวกับการเล่าขาน(narrative) มันมีนัยสำคัญในเทอมของโครงสร้างเกี่ยวกับผลผลิตในบั้นปลาย (มันไม่มีหน่วยของการสุ่มหรือความบังเอิญ), และการเล่าขานต่างๆก็ตกลงสู่แบบเฉพาะต่างๆ ซึ่งตัวอย่างที่มีลักษณะเฉพาะ(กล่าวคือ, ปกรณัมของชนเผ่าที่ยกมา) เป็นเพียงการผันแปรต่างๆบนแนวเรื่องหลักที่มีแกนกลางอันหนึ่ง

จากทัศนียภาพอันหนึ่ง, ระบบหนึ่ง(หรือเรื่องเล่า) ดูเหมือนว่ามันจะเหมือนกันมากกับเรื่องอื่นๆ และการวิเคราะห์เกี่ยวกับไวยากรณ์ของมัน กลายเป็นแบบฝึกหัดที่คาดการณ์หรือทำนายได้อย่างตรงไปตรงมา เกือบจะประหนึ่งว่า ใครคนหนึ่งรู้ล่วงหน้าอยู่แล้วในสิ่งที่เขากำลังค้นหา; ซึ่งอันนี้ใครสักคนอาจเถียง, และบรรดานักคิด"หลังโครงสร้างนิยม"ทั้งหลายได้ทำเช่นนั้น

เทคนิคต่างๆข้างต้นดังที่กล่าวมาในการนำมาวิเคราะห์ ซึ่งกำลังถูกใช้โดยนักโครงสร้างนิยม พวกเขานำมาใช้กำหนดหรือตัดสินผลลัพธ์ต่างๆเป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า ลัทธิโครงสร้างนิยมก็มีช่องที่จะยอมให้กับขอบเขตสำหรับความบังเอิญหรือโอกาสที่เป็นไปได้, การสร้างสรรค์, หรือสิ่งที่ไม่คาดฝันอยู่บ้าง แต่โดยรวมแล้วการเปิดโอกาสดังกล่าว ดูจะน้อยเต็มที

สำหรับนักทฤษฎี"หลังโครงสร้างนิยม", ความบังเอิญ, โอกาสที่เป็นไปได้, การสร้างสรรค์, หรือสิ่งที่ไม่คาดฝัน ทั้งหมดเหล่านี้มันสำคัญมากเกินกว่าความคล้ายคลึงกันทั้งหมดระหว่างระบบต่างๆ และมันเป็นสิ่งที่มีค่าเท่ากับข้อผูกพันหรือพันธกิจเกี่ยวกับการค้นหา ในท่ามกลางนักคิดหลังโครงสร้างนิยม พวกเขาพำนักพักพิงอยู่บน, ความไม่เหมือนกัน, ความแตกต่าง, และการไม่อาจคาดเดาได้ของการวิเคราะห์

Deconstruction (การรื้อสร้าง)
การรื้อสร้าง(deconstruction)ของ Jacques Derrida กลายเป็นหนึ่งในการแสดงออกที่ทรงพลังมากที่สุดของหลักการของนักคิด"หลังโครงสร้างนิยม". การรื้อสร้างได้ถูกกำกับหรือกำหนดทิศทางสวนกับการสร้างระบบขึ้นมาของลัทธิโครงสร้างนิยม และโต้แย้ง คัดค้านกับไอเดียที่ว่า ปรากฎการณ์ทั้งปวงเป็นสิ่งที่ลดทอนลงได้สู่ปฏิบัติการต่างๆของระบบ โดยนัยะของมันอันนี้ เราสามารถที่จะควบคุมเหนือสภาวะแวดล้อมของเราได้ทั้งหมด

สิ่งที่ Derrida ได้ให้การเอาใจใส่ก็คือการสาธิตให้เห็นถึง การไร้เสถียรภาพหรือความไม่มั่นคงของภาษา, และอันที่จริงมันเกี่ยวโยงไปถึงระบบต่างๆโดยทั่วไปด้วย

"เครื่องหมายต่างๆ"(signs) เป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดทำนายได้ทั้งหมดในทัศนะของ Derrida และที่จริงนั้น มันไม่เคยมีสันธารหรือการร่วมกันที่สมบูรณ์เลยระหว่าง signifier(word) และ signified(concept) ที่มารับประกันการสื่อสารโดยไม่มีปัญหา

"การเลื่อนไหล"บางอย่างของความหมาย มักจะเกิดขึ้นเสมอๆ. สำหรับตัวอย่างหนึ่ง คำต่างๆมักจะบรรจุเสียงสะท้อนและร่องรอยต่างๆของคำอื่นไว้เสมอ ด้วยคุณภาพเสียงของพวกมันเป็นตัวอย่าง ทำให้นึกขึ้นมาได้เสมอเกี่ยวกับลำดับแถวอันหนึ่งของเสียงที่คล้ายคลึงกับอีกอันหนึ่ง

Derrida ได้จัดหาหลักฐานเกี่ยวกับการเลื่อนไหลอันนี้ในเชิงปฏิบัติขึ้นมาแสดง โดยอาศัยแนวคิดอันหนึ่งที่เรียกว่า differance, การประดิษฐ์คำขึ้นมาใหม่ที่รับทอดมาจากคำในภาษาฝรั่งเศส difference (ซึ่งมีความหมายว่า "ความแตกต่าง"(diferrence) และ"เลื่อนหรือยืดออกไป" (deferral))

พวกเราอาจตรวจไม่พบคำสองคำที่ตั้งใจให้ออกเสียงเหมือนกัน แต่อาจตรวจพบภาษาเขียนเหมือนกันแต่ออกเสียงต่างกัน. สำหรับ Derrida, สิ่งที่ได้ถูกเปิดเผยในจุดนี้ก็คือความไม่แน่นอนซึ่งมีอยู่เกี่ยวกับความหมาย. ความหมายทางภาษาเป็นปรากฎการณ์อันหนึ่งที่ไม่คงที่หรือไร้เสถียรภาพ: ตลอดเวลา และทุกๆสถานที่ differrance ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้. (มันมีความสำคัญที่จะชี้แจงว่า Derrida ปฏิเสธ Difference ในฐานะที่เป็นแนวความคิดอันหนึ่ง อันที่จริงสำหรับเขาแล้ว มันเป็นเพียงการชี้หรือจำแนกเกี่ยวกับกระบวนการอันหนึ่งที่ฝังตรึงอยู่ในตัวของภาษา)

ความรักในการเล่นกับภาษา(pun) หรือการเล่นคำภายในงานเขียนแบบการรื้อสร้าง(ลักษณะที่เกิดขึ้นบ่อยๆเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติการหลักๆของมัน) มีเป้าหมายในการแสดงภาพให้เห็นเกี่ยวกับความไม่มั่นคงของภาษา เช่นเดียวกับความสามารถในเชิงสร้างสรรค์อันไร้ขอบเขตของมันในการให้กำเนิดความหมายใหม่ๆและความหมายที่ไม่คาดฝัน

ด้วยเหตุนี้ ความหมายจึงเป็นปรากฎการณ์เพียงชั่วคราว ซึ่งมันระเหยเป็นไอหรือจางหายไปเกือบจะในทันทีที่มันปรากฎในภาษาพูดและภาษาเขียน (หรือแปรเปลี่ยนตัวของมันเองไปสู่ความหมายใหม่) มากกว่าที่จะเป็นบางสิ่งที่แน่นอนตายตัวที่ธำรงไว้เหนือกาลเวลาสำหรับผู้ฟังหรือผู้อ่านที่แตกต่างกันไปจำนวนหนึ่ง

Derrida เห็นด้วยว่า ปรัชญาตะวันตกทั้งหมดได้วางรากฐานอยู่บนหลักฐานที่ว่า ความหมายบริบูรณ์ของคำๆหนึ่งมันมีอยู่ในใจของผู้พูด, ด้วยเหตุนั้นมันจึงสามารถถูกสื่อสารได้ โดยปราศจากการเลื่อนไหลที่มีนัยสำคัญใดๆ ต่อผู้ฟัง. ความเชื่ออันนี้คือสิ่งที่ Derrida เรียกว่า metaphysic of presence (อภิปรัชญาของการมีอยู่) และสำหรับเขาแล้วมันเป็นมายาการอันหนึ่ง: diferrance (ความต่างและเลื่อนหรือยืดออกไป) มักจะรุกล้ำเข้าไปในการการสื่อสารเสมอ เพื่อปกป้องการสถาปนาเกี่ยวกับ"การมีอยู่", หรือความสมบูรณ์ของความหมาย

การเน้นในเรื่องความต่าง(difference) ในสิ่งซึ่งล้มเหลวที่จะลงรอยกับบรรทัดฐาน หรือกับการสร้างระบบ, ที่พวกเราพบในการรื้อสร้างเป็นอัตลักษณ์ที่แท้จริงของหลักการทางปรัชญาหลังสมัยใหม่

Michel Foucault
Michel Foucault เป็นนักคิดอีกคนหนึ่ง ผู้ซึ่งเป็นศัตรูกับการสร้างระบบ และแนวโน้มต่างๆที่กันเอาความแตกต่างออกไปของความคิดโครงสร้างนิยม. อีกครั้ง มันเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความแตกต่าง(difference)ที่ได้ถูกนำมาเน้น. ในกรณีของ Foucault มีความสนใจโดยเฉพาะอันหนึ่งในกลุ่มๆต่างที่ถูกทำให้เป็นชายขอบ(marginalized groups) ความแตกต่างของพวกเขาได้ทำให้พวกเขาถูกกีดกันออกไปจากพลังอำนาจทางการเมือง; กลุ่มต่างๆที่ถูกทำให้เป็นชายขอบเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น คนวิกลจริต, คนคุก, และพวกรักร่วมเพศ ฯลฯ

วัฒนธรรมหลังเรอเนสซองค์(Post-Renaissance culture) ได้ถูกผูกมัดกับการทำให้เป็นชายขอบ, แม้กระทั่งการทำให้รู้สึกว่าคนเหล่านี้เป็นคนที่ชั่วช้า, เลวทราม, เป็นคนที่แตกต่าง, โดยการสร้างบรรทัดฐานต่างๆของมันขึ้นมาเกี่ยวกับพฤติกรรม

Foucault ได้เขียนงานซึ่งเป็นกรณีศึกษาขึ้นมาชุดหนึ่งซึ่งอธิบายว่า บรรทัดฐานต่างๆเหล่านี้ได้ถูกทำให้เป็นเครื่องมือในคริสตศตวรรษที่ 17-18 ของยุโรปตะวันตกอย่างไร ด้วยเหตุนั้น ลำดับการใหม่ทั้งหมดอันหนึ่งของสถาบันที่ถูกจัดระเบียบอย่างเคร่งครัดต่างๆ(อย่างเช่น สถานกักกันคนบ้า-วิกลจริต, คุก, โรงพยาบาล)จึงได้ถูกทำให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะปฏิบัติหรือจัดการกับ"ความแตกต่าง"

สำหรับ Foucault, สถาบันต่างๆเหล่านี้คือการแสดงออกของอำนาจทางการเมือง, มันคือหนทางที่กลุ่มซึ่งมีอิทธิพลครอบงำในสังคม ได้กำหนดยัดเยียดเจตจำนงของตนลงไปสู่คนอื่นๆ

เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงกรณีดังกล่าวข้างต้น เราจะมาดูกันถึง"ความแตกต่างทางเพศ" โดยที่มันได้ถูกกำหนดให้ชั่วร้ายอย่างไรในสังคมสมัยใหม่. Foucault ได้หวนกลับไปสู่ช่วงเวลาคลาสสิคในงานเขียนสามเล่มของเขาเกี่ยวกับการศึกษาเรื่อง ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องเพศ(History of Sexuality)[976-84] เพื่อสืบสาวว่า "การรักร่วมเพศ"มันมีบทบาทหน้าที่อย่างไรในวัฒนธรรมกรีกและโรมัน

สังคมกรีกค่อนข้างที่จะอดทนและใจกว้างต่อความแตกต่างเกี่ยวกับเรื่องเพศยิ่งกว่าในยุคของพวกเรา และทรรศนะทางด้านศีลธรรมจรรยาก็ไม่ด้อยไปกว่ายุคสมัยของเราแต่อย่างใด. ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับการอ้างอิงของ Foucault มันมีวาทกรรมที่แตกต่างอันหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ, หนึ่งในนั้นก็คือไม่มีบรรทัดฐานหนึ่งใดของพฤติกรรมที่ควรกำหนดหรือยัดเยียดไปให้คนอื่น ความจริงแล้ว การรักร่วมเพศและความรักต่างเพศควรจะงอกงามเฟื่องฟูไปเคียงคู่กัน

Foucault เปรียบเทียบความผิดแผกอันนี้กับยุคสมัยใหม่ที่ไม่เอื้ออำนวย เมื่อความรักต่างเพศได้ถูกทำให้เป็นบรรทัดฐานอันหนึ่งและอันเดียวขึ้นมา ส่วนรูปแบบอื่นๆทั้งหมดของการแสดงออกทางเพศ ถูกถือว่าเป็นการเบี่ยงเบน. การยืนยันอันนี้บนบรรทัดฐานดังกล่าว เป็นการหมดเปลืองไปกับความแตกต่าง อันนี้คือส่วนทั้งหมดของลัทธิเผด็จการอำนาจนิยมที่บรรดานักคิดอย่าง Foucault เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมสมัยใหม่

เผด็จการอำนาจนิยมได้ฝังตรึงอยู่ในทฤษฎีจิตวิเคราะห์
หนังสือเรื่อง Anti-Oedipus(1972) ของ Gilles Deleuze และ Felix Guattari ยังคงเป็นตัวแทนนักทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมอีกหนึ่งที่โจมตีลัทธิเผด็จการอำนาจนิยม; ในกรณีนี้ เผด็จการอำนาจนิยมได้ฝังตรึงอยู่ภายในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ซึ่งตลอดทั้งกลไกของทฤษฎีดังกล่าวเกี่ยวกับ Oedipus complex, ได้แสวงหาหนทางที่จะควบคุมการแสดงออกอย่างอิสระเกี่ยวกับความปรารถนาของมนุษย์

สำหรับแนวคิดของ Deleuze และ Guattari ระบุว่า บรรดาปัจเจกบุคคลทั้งหลายต่างก็คือเครื่องจักรของความปรารถนา(desiring machines) เป็นผู้ขาดเสียซึ่งความรู้สึกเกี่ยวกับเอกภาพ ที่โดยทั่วไปเราจะเชื่อมโยงสัมพันธ์กับเอกลักษณ์ของปัจเจกอื่นๆ และพยายามค้นหาโอกาสที่จะแสดงออกถึงความปรารถนาของพวกเขาที่ถูกระงับยับยั้งโดยอำนาจทางสังคมการเมือง(socio-political authorities)[โดยที่ลัทธิฟาสซิสม์ เป็นตัวอย่างที่มีพลังมากที่สุดของกระบวนการดังกล่าวที่ทำงาน]

จิตวิเคราะห์ สำหรับ Deleuze และ Guattari แล้ว กลายเป็นสัญลักษณ์อันหนึ่งของความปรารถนาที่ถูกระงับหรือสกัดกั้นเอาไว้ และในทางตรงข้าม พวกมันได้วางหรือเสนอเรื่องของ "การวิเคราะห์อาการจิตเสื่อม"(schizo-analysis)เอาไว้ ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์เกี่ยวกับอาการ schizophrenic (หมายถึง โรคจิตที่สำคัญที่สุด ซึ่งมีอาการขาดการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมหรือบุคคลิกภาพแตกแยก-โรคจิตเภท) - ซึ่งในแบบแผนของพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งต่างๆเหล่านี้ ได้กลายเป็นแบบจำลองเชิงอุดมคติบางอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์

ความแตกต่าง ลัทธิสิทธิสตรี(Difference feminist)
สำหรับเรื่องของความแตกต่างในแนวคิดสิทธิสตรี สามารถที่จะถูกรวมเข้ามาให้อยู่ภายใต้หัวข้อลัทธิหลังสมัยใหม่ได้ ทั้งนี้เพราะแนวคิดดังกล่าวได้ตั้งคำถามต่างๆที่ถือกันว่าค่อนข้างจะแข็งกระด้างเกี่ยวกับการจำแนกแยกเพศ

ข้อถกเถียงคือว่า "เอกลักษณ์ทางเพศ" โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกลักษณ์ของความเป็นผู้หญิง ไม่ใช่บางสิ่งที่ถูกทำให้ตายตัวหรือกำหนดแน่นอนลงไป แต่มันเป็นขบวนการที่เลื่อนไหล ซึ่งไม่สามารถถูกลดทอนลงสู่เนื้อแท้บางอย่างหรือบรรทัดฐานของพฤติกรรมได้ (ในกรณีนี้ ลักษณะของปิตาธิปไตย[ผู้ชาย-พ่อเป็นใหญ่]ได้สร้างบรรทัดฐานของพฤติกรรมขึ้นมา)

บรรดานักทฤษฎีอย่างเช่น Luce Irigaray ได้ใช้รูปแบบเกี่ยวกับข้อถกเถียงอันนี้ทักท้วงสมมุติฐานต่างๆของปิตาธิปไตย(patriarchy) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมมุติฐานเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะหรืออุปนิสัยของเพศชายและเพศหญิงนั้น ได้นำไปสู่ทัศนคติที่ตายตัวทางเพศ(gender stereotypes) ซึ่งสังคมของพวกเรายังคงยึดถือกันอยู่ และใช้มันในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการกดขี่บรรดาผู้หญิงทั้งหลาย

Lyotard นักคิดคนสำคัญของลัทธิหลังสมัยใหม่
Lyotard ยังคงเป็นตัวแทนสุ้มเสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดของปรัชญาหลังสมัยใหม่ และเป็นสายใยที่เหนียวแน่นของการต่อต้านลัทธิเผด็จการอำนาจนิยมซึ่งครอบคลุมงานทางปรัชญาของเขา ที่พวกเราปัจจุบัน สามารถยอมรับได้ในฐานะที่หัวใจหรือแก่นแกนของหลังสมัยใหม่ ในงานอาชีพของเขาช่วงต้นๆ Lyotard สามารถถูกอธิบายได้ในฐานะที่เป็นมาร์กซิสท์คนหนึ่ง เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มที่เรียกว่า Socialisme ou barbarie (Socialism or Barbarism)[สังคมนิยมหรืออนารยลัทธิ] ผู้ซึ่งอุทิศตัวให้กับทฤษฎีมาร์ซิสท์อย่างเชื่อฟังเพื่อการค้นหาและวิพากษ์จากภายใน และเขาได้ทำหน้าที่ในฐานะผู้แถลงข่าวในอัลจีเรียสำหรับหนังสือพิมพ์ของกลุ่ม

งานเขียนของ Lyotard ในเรื่องสงครามอัลจีเรียนเกี่ยวกับการปลดเปลื้องอิสรภาพในทศวรรษที่ 1950s และ 60s ได้เผยให้เห็นว่า บางคนได้ไปไกลมากจากความเป็นมาร์กซิสท์แบบเดิมๆ และยิ่งไปกว่านั้นยังมุ่งที่จะทักท้วงหลักการต่างๆของมาร์กซิสท์ด้วย ข้อคัดค้านที่สำคัญที่เขาโต้แย้งก็คือ อัลจีเรียกำลังกระทำในลักษณะที่มีการแบ่งแยกโดยลำดับชั้นสูงต่ำของพรรคคอมมิวนิสท์ ซึ่งถือเป็นกรณีคลาสสิคอันหนึ่งเกี่ยวกับการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ เมื่อความเป็นจริงปรากฎว่า สังคมชาวนาลัทธิมาร์กซิสม์ได้ถูกให้คุณค่าในเชิงปฏิบัติน้อยมาก

ภายหลังจากการแตกหักของ Socialisme ou barbarie ในทศวรรษที่ 1960s Lyotard โดยสำนึกแล้ว ได้ทิ้งห่างตัวของเขาเองจากอดีตความเป็นมาร์กซิสท์ของเขาไปมาก คล้ายๆกับปัญญาชนฝรั่งเศสจำนวนไม่น้อยในรุ่นราวคราวเดียวกับเขา เขาได้ถูกทำให้พ้นจากความเพ้อฝัน โดยการเข้ารับตำแหน่งผู้สนับสนุนการสถาปนาพรรคคอมมิวนิสท์ฝรั่งเศส ซึ่งตำแหน่งนี้เขารับมาจากพรรคนั่นเองในปี ค.ศ.1968 Paris evenements, และในงานเขียนต่างๆอย่างเช่น Libidinal Economy(1974) เขาได้ระบายความขุ่นข้องหมองใจที่เขารับความรู้สึกนั้นมาจากลัทธิมาร์กซิสม์ที่เป็นทางการ

Libidinal Economy
Libidinal Economy อ้างว่า ลัทธิมาร์กซิสม์ไม่อาจที่จะบรรลุถึงแรงขับทางเพศ(libidinal drive)ที่ปัจเจกบุคคลทุกคนประสบได้ เพราะเหตุว่า แรงขับที่ไม่อาจคาดทำนายได้นั้น มันนอนเนื่องอยู่เหนือการควบคุมของทฤษฎีใดๆ (ข้ออ้างในหลักเหตุผลนี้มีความคล้ายคลึงกับที่แสดงออกใน Anti-Oedipus) สิ่งที่เป็นความผิดพลาดอย่างเด่นชัดของลัทธิมาร์กซิสม์ก็คือ มันพยายามที่จะกดทับพลังงานต่างๆเหล่านี้ และในการกระทำดังกล่าวได้เผยให้เห็นถึงลัทธิเผด็จการอำนาจนิยมที่แฝงอยู่ของมัน

เบื้องหลังการโจมตีที่ดุร้ายของหนังสือเล่มดังกล่าวที่มีต่อลัทธิมาร์กซิสม์ วางอยู่บนความเชื่อหนึ่งของ Lyotard ในส่วนที่ว่า ธรรมชาติของมนุษย์และกระบวนการทางประวัติศาสตร์ ทั้งคู่เป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดทำนายได้ และด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่อาจยักย้าย จัดการ หรือเปลี่ยนแปลงมันได้ ดังที่ทฤษฎีมาร์กซิสท์ยืนยัน

Lyotard ได้ขอให้พวกเรายอมรับว่า แรงขับทางเพศ(libidinal energy)[บางสิ่งบางอย่างคล้ายปมที่สลับซับซ้อนของแรงขับจิตใต้สำนึกที่ถูกจำแนกโดยฟรอยด์)ได้ทำลายข้ออ้างทุกๆอย่างที่ว่า ลัทธิมาร์กซิสม์อาจจะสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่างๆได้ หนังสือเล่มนี้สามารถได้รับการมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นเกี่ยวกับการวิจารณ์อุดมการณ์หลัก(grand narrative - วาทกรรมหลัก) ซึ่งนั่นคือแก่นแกนหรือหัวใจสำคัญของงานอันทรงอิทธิพลและประสบความสำเร็จอย่างยิ่งของ Lyotard, นั่นคือหนังสือเรื่อง The Postmodern Condition.

The Postmodern Condition - ความรู้และอำนาจ
เรื่อง The Postmodern Condition ให้เหตุผลว่า "ความรู้คือสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีนัยสำคัญที่สุดของโลกในปัจจุบัน"(knowledge is now the world's most significant commodity), และมันอาจจะกลายเป็นแหล่งต้นตออันหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างประชาชาติต่างๆในอนาคต

ใครก็ตามที่"ควบคุมความรู้", Lyotard ยืนยัน, ปัจจุบัน พยายามที่จะ"ควบคุมทางการเมือง"ด้วย และเขาได้แสดงความแหลมคมที่จะรับประกันว่า "การแพร่กระจายความรู้ จะต้องได้รับการรักษาให้เปิดเอาไว้เท่าที่จะเป็นไปได้" และด้วยเหตุนี้ อีกทางเลือกหนึ่งที่จะควบคุมความรู้ที่เป็นศูนย์กลางทางการเมืองก็คือ "ทำให้ธนาคารข้อมูลทั้งหมดเข้าถึงได้ง่ายต่อสาธารณชนโดยทั่วไป"

ความรู้ถูกมองว่ามันถูกสื่อสารออกมาโดยอาศัยการเล่าขาน, และ Lyotard ได้วิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เขาเรียกว่าวาทกรรมหลักต่างๆ(grand narratives): คือ ทฤษฎีต่างๆที่อ้างว่าสามารถอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างได้ และต้านทานความพยายามใดๆก็ตาม ที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบ-ทฤษฎีของมัน(narrative)

ลัทธิมาร์กซิสม์ เป็นตัวอย่าง มีวาทกรรมโดยเฉพาะของตัวมันเองเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก ซึ่งมันรู้สึกว่าเป็นความจริง และด้วยเหตุดังนั้น จึงพ้นไปจากหรืออยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์ใดๆหรือความต้องการในการปรับปรุง ลัทธิมาร์กซิสม์เชื่อว่ามันไม่ใช่วาทกรรม(narrative)ที่จะถูกตีความใหม่อยู่เสมอ โดยเป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ต่างๆทางวัฒนธรรม, มันคือทฤษฎีที่ไม่อาจตีแตกได้ซึ่งยึดกุมครอบงำมาโดยตลอด และอำนาจของมันจะต้องไม่เคยถูกตั้งคำถาม

วาทกรรมเล็ก (Little narrative)
สำหรับ Lyotard ทัศนคติหรือท่าทีแบบนั้นเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จ และเขาให้การยกย่องข้างฝ่ายวาทกรรมเล็กๆ(little narrative)[petit recit]แทน. วาทกรรมเล็กเป็นการประกอบตัวหรือเรียบเรียงขึ้นมาบนพื้นฐานยุทธวิธีโดยคนกลุ่มเล็กๆที่เป็นปัจเจกบุคคลต่างๆ เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่จำเพาะบางอย่าง (กรณีอย่างเช่น "วาทกรรมเล็ก"ที่เป็นการรวมตัวกันของนักศึกษาและกรรมกรในปี 1968 evenement, เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปรัฐบาล) และจะต้องไม่เสแสร้งหลอกลวงว่ามีคำตอบต่อปัญหาต่างๆของสังคมทั้งหมด: ในเชิงอุดมคติ, ตราบเท่าที่พวกเขาจำเป็นที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์ต่างๆของตนเอง

Lyotard พิจารณาว่า "วาทกรรมเล็ก"คือหนทางการประดิษฐ์คิดค้นมากที่สุดของการแพร่กระจาย, และเป็นการสร้างสรรค์, เป็นความรู้ และมันช่วยล้มล้างวาทกรรมหลักซึ่งมีลักษณะปฏิบัติการที่ผูกขาดเชิงขนบจารีต

ในทางวิทยาศาสตร์เป็นตัวอย่าง ปัจจุบันมันได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นวิธีการหลักหรือแรกสุดของการค้นคว้าสืบสวน. วิทยาศาสตร์หลังสมัยใหม่, Lyotard ให้ข้อมูลกับเราว่า คือการแสวงหาอันหนึ่งในลักษณะประติทรรศน์หรือในเชิงผกผัน, กล่าวคือความไม่มั่นคง และความไม่รู้ ค่อนข้างมากกว่าที่จะเป็นความพยายามจะสร้างวาทกรรมหลักอีกอันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งอันนี้ประยุกต์ใช้ได้กับชุมชนวิทยาศาสตร์ทั้งมวล

การทำลายวาทกรรมหลัก
วัตถุประสงค์ของ Lyotard ต้องการรื้อทำลายอำนาจที่ถูกทำให้กว้างขวางโดยวาทกรรมหลัก ซึ่งเขาถือว่าเป็นการสะกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของปัจเจกบุคคล. "เราไม่ขอความช่วยเหลือหรือต้องพึ่งพาวาทกรรมหลักอีกต่อไปแล้ว" เขาประกาศ; นั่นคือ เราไม่สามารถที่จะให้ความไว้วางใจต่อมันได้อีก เพื่อให้มันนำทางการกระทำของพวกเรา ไม่ว่าจะในระดับสาธารณะหรือปัจเจกชนก็ตาม. สิ่งที่พวกเราสนุกจะทำไม่ใช่ต่อสู้กับวาทกรรมหลัก อันที่จริง เราเพียงแค่ยุติหรือเลิกเชื่อมันก็พอ; ในกรณีนี้ พวกมันก็จะถูกทำให้เหี่ยวเฉาลงไปแล้ว

แม้ว่าอันนี้ค่อนข้างจะเป็นทัศนะที่เป็นอุดมคติมากอยู่สักหน่อยเกี่ยวกับ"กระบวนการทางการเมือง" แต่บางสิ่งอย่าง เช่น การเหี่ยวเฉาลงไปเองอันนี้ได้เกิดขึ้นมาเมื่อไม่กี่ปีหลังจากงานเขียนเรื่อง The Postmodern Condition กล่าวคือ เกิดการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสม์ในหมู่ชาวยุโรปตะวันออก - ส่วนใหญ่แล้วมันเกิดขึ้นโดยปราศจากการปะทะกันอย่างรุนแรงกับอำนาจทางการเมืองใดๆ ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับการอ้างอิงหลังสมัยใหม่ ประชากรเพียงหยุดการเชื่อในอุดมการณ์ที่ชี้ชวนอันนั้น ซึ่งผลก็คือ มันได้ยุติบทบาทและอำนาจใดๆที่จะมาบีบบังคับอันเป็นเจตจำนงของมันลง

เมื่อวาทกรรมหลักถูกทำลาย เราจะหาคุณค่าใดมาทดแทน
หนึ่งในปัญหาต่างๆซึ่งพวกเราทิ้งไว้ เมื่อเราขจัดวาทกรรมหลักไปแล้ว หรืออำนาจศูนย์กลางชนิดใดก็ตามลงก็คือ จะสร้างการตัดสินในเชิงคุณค่ากันอย่างไรให้คนอื่นๆยอมรับในฐานะที่มันสมเหตุสมผลและดีพอ. Lyotard ได้เผชิญกับปัญหานี้ใน Just Gaming(1979) ในงานชิ้นดังกล่าวเขาได้ให้เหตุผลว่า มันยังคงเป็นไปได้ที่จะสร้างการตัดสินเชิงคุณค่าขึ้นมา แม้ว่าเราไม่มีวาทกรรมหลักที่จะคอยหนุนหลังพวกเรา บนพื้นฐานแต่ละกรณีๆไป (อันนี้คือรูปแบบหนึ่งของลัทธิปฏิบัตินิยม ซึ่งเขาอ้างและมีปฏิบัติอยู่ในงานเขียนต่างๆทางจริยธรรมและการเมืองของอริสโตเติล)

การปฏิบัติการบนพื้นฐานในแต่ละกรณีๆไป ที่ซึ่งเป็นการยอมรับการไม่มีอยู่ของบรรทัดฐานแบบเบ็ดเสร็จใดๆ คือเงื่อนไขที่ Lyotard อ้างถึงลัทธิเพเกินนิสม์(paganism - การถือศาสนาหรือความเชื่ออื่นนอกไปจากศาสนาหลักของโลก) และมันได้กลายเป็นอุดมคติหนึ่งที่ว่า เราควรจะปฏิบัติการในโลกหลังสมัยใหม่อย่างไร. มันไม่เคยมีบรรทัดฐานเบ็ดเสร็จหรือสมบูรณ์เช่นนั้น หรือฐานรากต่างๆของความเชื่อ ที่จะนำทางเรา สิ่งเหล่านั้นมันไม่เป็นที่ต้องการ, Lyotard ยืนยัน

ซึ่งอันนี้ "บรรดานักวิจารณ์ในข้างฝ่ายวาทกรรมหลัก"ต่างคุ้นเคยที่จะนำเสนอเจตจำนงของตนว่า การทำอย่างที่ Lyotard เสนอไว้จะนำมาซึ่งการล่มสลายกลายเป็นความไร้ระเบียบและความสับสนอลหม่านทางสังคม

สิ่งที่ Jean-Francois Lyotard รับหลักการและสนับสนุนในที่นี้ก็คือ "การต่อต้านลัทธิฐานรากนิยม" (antifoundationalism): นั่นคือ การปฏิเสธความคิดหรือไอเดียที่ว่า มันมีฐานรากต่างๆสำหรับระบบความคิดของพวกเรา หรือความเชื่อ ที่อยู่พ้นหรือเหนือข้อสงสัยและการตั้งคำถาม และนั่นคือสิ่งจำเป็นต่อกิจกรรมสำคัญเกี่ยวกับการสร้างการตัดสินต่างๆในเชิงคุณค่าขึ้นมา

ปรัชญาหลังสมัยใหม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นเรื่องของการต่อต้านฐานรากนิยม(antifoundational)อย่างเด็ดเดี่ยวในท่าทีดังกล่าว และไม่เต็มใจที่จะยอมรับว่า อันนี้ได้ทำให้มันมีลักษณะผิดปกติในการทำหน้าที่ของตนในทุกๆกรณีในฐานะที่เป็นปรัชญา

Event (an occurrence)
ปรัชญาในช่วงหลังของ Lyotard ได้เข้าไปผูกมัดหรือเอาใจใส่อย่างมากกับสิ่งที่เขาเรียกว่า"event"(เหตุการณ์) และยังเกี่ยวพันกับแนวคิดเรื่องของ"difference"(ความแตกต่าง)ด้วย. สำหรับ event นั้นในความคิดของ Lyotard คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาอันหนึ่ง(an occurrence)ที่เปลี่ยนแปลงวิธีการซึ่งพวกเรามองโลกอย่างน่าตื่นเต้น และเรียกร้องให้ตั้งข้อสงสัยในกระบวนการเกี่ยวกับการตั้งสมมุติฐานต่างๆในเชิงอุดมคติของเราทั้งหมด

ค่ายกักกัน Auschwitz ของนาซี ถือเป็นเหตุการณ์หนึ่ง, และ 1968 evenement ก็เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่ง. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับเหตุการณ์แรกไม่ใช่บางสิ่งที่สามารถจะอธิบายได้ โดยละเลยความเกี่ยวข้องกับวาทกรรมหลัก; ตามข้อเท็จจริง มันคือตัวแทนจุดสำคัญ ซึ่งวาทกรรมหลักที่ทำให้เป็นทฤษฎีได้พังทลายลง. ส่วนสำหรับเหตุการณ์หลัง เป็นชนิดหนึ่งของการระเบิดหรือปะทุของพลังงานทางเพศ(libidinal energy) ซึ่งระบบดังกล่าวไม่สามารถที่จะเกี่ยวข้องด้วยได้

การยอมรับว่า มีเหตุการณ์ต่างๆซึ่งไม่สามารถคาดทำนายหรือถูกโอบกอดให้อยู่ภายใต้ทฤษฎีที่เป็นสากลใดๆได้อย่างเกลี้ยงเกลา มันไม่เพียงเป็นการไม่ยอมรับถึงข้อจำกัดต่างๆของวาทกรรมหลักเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดกว้างที่จำเป็นสำหรับอนาคตด้วย การเปิดกว้างนี้กลายเป็นประเด็นสำคัญอันหนึ่งของความศรัทธาต่อนักคิดหลังสมัยใหม่ทั้งหลาย:

อนาคตจะต้องไม่ถูกพิจารณาว่าได้ถูกกำหนดตัดสินเอาไว้ล่วงหน้า และความพยายามของมนุษย์ทั้งมวลจะต้องไม่ถูกปฏิบัติหรือกระทำให้ไร้ความหมาย

Phrase regime (ระบบกลุ่มคำหรือวลี)
ความแตกต่างทั้งหลายเป็นความขัดแย้งต่างๆในทางผลประโยชน์ระหว่างพรรค ซึ่งไม่สามารถที่จะตัดสินหรือสลายมันลงไปได้ แต่จะต้องได้รับการยอมรับและตระหนักอยู่ตลอดเวลา (โดยเฉพาะขอให้ดูเรื่อง The Difference[1983]). แต่ละพรรคอาศัยสิ่งที่ Lyotard เรียกว่า"ระบบวลี"(phrase regime - ระบบกลุ่มคำ)ที่แตกต่างกัน ซึ่งวัตถุประสงค์ของมันเปรียบเทียบกันไม่ได้กับระบบอื่นๆ, และทุกๆระบบไม่มีสิทธิอันชอบธรรมใดๆที่จะทำให้อันอื่นมาเข้ากับหรือลงรอยกันกับความปรารถนาของตน

สิ่งโน้มเอียงที่จะเกิดขึ้นในเชิงปฏิบัติหรือความเป็นจริง โดยเฉพาะปฏิบัติการทางการเมืองก็คือว่า พรรคๆหนึ่งจะทำการโต้เถียงหรือบีบบังคับทัศนะของตนต่อพรรคอื่น, "การแก้ปัญหา" การโต้เถียง ทำขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของตัวมันเอง. ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับการอ้างอิงของ Lyotard, ระบบกลุ่มคำหนึ่งพยายามที่จะครอบงำเหนือระบบกลุ่มคำอีกอันหนึ่ง - กรณีตัวอย่างที่คลาสสิคอันนี้ก็คือ ลัทธิเผด็จการอำนาจนิยมในเชิงปฏิบัติ

ดังตัวอย่างของเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นทุกวันบนโลก, Lyotard อ้างถึงกรณีของการตักตวงผลประโยชน์จากลูกจ้าง ผู้ซึ่งไม่สามารถที่จะได้รับการชดเชยหรือทำให้ถูกต้องใดๆขึ้นมาสำหรับการตักตวงผลประโยชน์จากพวกเธอ และถ้าหากว่าพวกเธอกระทำการใดๆขึ้นซึ่งเป็นการต่อต้านหรือสวนกลับนายจ้าง ศาลที่รับฟังข้อต่อสู้ในเชิงคดี ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นมาบนหลักการดังกล่าว ก็จะตัดสินว่าการตักตวงผลประโยชน์เป็นเรื่องที่ชอบธรรมแล้วตามกฎหมาย ระบบกลุ่มคำของนายจ้างกำลังกีดกันคนอื่นออกไปจากการมีสุ้มเสียงที่ถูกต้อง

Philosophical Politics
มันคือกิจธุระสำคัญของบรรดานักปรัชญาทั้งหลายที่จะช่วยให้ระบบกลุ่มคำที่ถูกสะกัดกั้นได้ค้นพบสุ้มเสียงของพวกมัน ภาวะเช่นนี้คือสิ่งที่ Lyotard อธิบายในฐานะที่เป็นการเมืองเกี่ยวกับปรัชญา("philosophical politics"). การเมืองเกี่ยวกับปรัชญา, คือการค้นหาเพื่อสิ่งใหม่, การเผชิญหน้าทางวัฒนธรรม, การปะทะกันของระบบกลุ่มคำ(วาทกรรม), ที่สามารถได้รับการมองว่าเป็นการแสดงออกที่สูงสุดของปรัชญาหลังสมัยใหม่

Techno-science
ความเอาใจใส่ล่าสุดของ Lyotard คือเรื่องที่ว่า พลังบีบคั้นของสิ่งที่เขาเรียกว่า techno-science (สำหรับคำนี้เราสามารถอ่านว่า multinational) กำลังพยายามที่จะดักปล้น(hijack)บนเส้นทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์, โดยการตระเตรียมจุดจบของชีวิตบนโลก

Lyotard ให้เหตุผลว่า techmo-science กำลังค่อยๆกำจัดและถอนรากถอนโคนมนุษย์ชาติเรา โดยการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อันช่ำชองมากยิ่งกว่าที่เคย ด้วยความสามารถที่จะผลิตตัวของมันเอง และเริ่มมีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่งอย่างต่อเนื่องในจักรวาลเมื่อโลกได้ถึงกาลสิ้นสุด (เหตุการณ์หนึ่ง ประมาณ 4.5 พันล้านปีจะถึงกาลสิ้นสุดในอนาคต)

เป้าหมายขั้นสุดยอดของ techno-science นั้น Lyotard ได้เตือนเราในหนังสือเรื่อง The Inhuman (1988), คือ เป็นไปได้ที่จะมีการสร้างความคิดขึ้นมาโดยปราศจากเรือนร่าง และอันนี้ได้คุกคามต่อความเป็นมนุษย์และคุณค่าต่างๆของมนุษย์ ซึ่งควรได้รับการต่อต้านอย่างแข็งขัน, นั่นคือภาวะที่"ไม่เป็นมนุษย์"(inhuman)ในจิตวิญญาน

สิ่งที่บรรดานัก techno-scientists ต้องการก็คือ ลดทอนความเป็นมนุษย์ลงสู่เนื้อแท้ที่ถูกสมมุติขึ้นมาของมัน นั่นคือ เหลือเพียง"ความคิด"(thought)เท่านั้น และปฏิบัติการในลักษณะที่เป็นการทำนายอันนี้มันอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ "ความคิด"ดังกล่าวไม่มีร่างกาย(body) มันไม่มีเหตุการณ์หรือความแตกต่างกันอีกต่อไปแล้วที่จะต้องกังวลอะไรเกี่ยวกับเรื่องนั้น และจะไม่มีการเปิดกว้างเกี่ยวกับอนาคต ซึ่งสิ่งเหล่านี้บรรดานักคิดหลังสมัยใหม่ทั้งหลายประเมินค่าเอาไว้สูงมาก

มันเป็นอีกกรณีหนึ่งของ"การแยก"หรือ"กันความแตกต่าง"และ"การไม่อาจคาดเดาได้"ออกไป เพื่อที่จะพยายามควบคุม. สิ่งที่ขาดหายไปเท่าๆกันก็คือ"ภาวะความเป็นปัจเจก"(individual) เช่นเดียวกับ "วาทกรรมเล็ก"(little narrative), ซึ่งจะไม่มีที่ทางใดในแผนผังอำนาจเบ็ดเสร็จเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ - และปรารถนาที่จะทำให้มนุษย์ชาติกลายเป็นเครื่องจักรหรือภาวะที่ไม่ใช่คน(dehumanize) โดยการลดทอนมนุษย์ให้เหลือเพียงแค่"กระบวนการทางความคิด"แต่เพียงลำพัง ซึ่งนั่นคือการกระทำในขั้นสุดยอดอันหนึ่งของลัทธิเผด็จการอำนาจนิยมสำหรับ Lyotard

การต่อต้าน ณ ระดับวาทกรรมเล็กกลายเป็นการกระทำทางจริยธรรมอันหนึ่งในนามของฝ่ายความแตกต่าง(difference); และ ความแตกต่างจักต้องได้รับการปกปักษ์รักษาด้วยต้นทุนทั้งหมดในโลกยุคหลังสมัยใหม่

Jean Baudrillard
ผลงานของ Jean Baudrillard ยังคงเป็นการแสดงออกที่สำคัญของปรัชญาหลังสมัยใหม่. เขาเป็นอีกคนหนึ่งเช่นกัน ซึ่งได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับลัทธิมาร์กซิสม์และลัทธิโครงสร้างนิยม ในท้ายที่สุดได้ปฏิเสธความคิดที่ว่า มันมีโครงสร้างที่ซ้อนเร้นอยู่เบื้องหลังปรากฎการณ์ต่างๆทั้งหมด ซึ่งมันเป็นภารกิจของนักวิเคราะห์ที่จะแยกแยะและอธิบาย

สำหรับ Baudrillard โลกหลังสมัยใหม่เป็นโลกที่เขาเรียกว่า simulacra (ภาพเสมือน), ที่ซึ่งพวกเราไม่อาจจำแนกความแตกต่างระหว่าง"ความจริง"(reality) และ"ความจริงเสมือน"(simulation)ออกจากกันได้อีกแล้ว. ภาพเสมือน(simulacra)มันไม่ได้เป็นตัวแทนความจริงของสิ่งใดเลย เว้นแต่ตัวของพวกมันเอง: มันไม่มีความจริงอื่นอีกซึ่งมันอ้างอิงถึง

ผลที่ตามมา, Baudrillard สามารถอ้างต่อไปว่า ดิสนีย์แลนด์ และโทรทัศน์ ปัจจุบันได้สถาปนาความจริงของอเมริกาขึ้นมา และ ยิ่งไปกว่านั้นซึ่งน่าทึ่งมาก สงครามอ่าวเปอร์เชียมันไม่ได้เกิดขึ้น มันเป็นแต่เพียงความจริงเสมือนอันหนึ่งเท่านั้น(the Gulf War did not happen, but was merely a simulation)[เป็นบางสิ่งบางอย่างที่คล้ายๆกับ video game ที่แพร่หลายอยู่ทั่วไป]

ไม่น่าประหลาดใจ อันนี้เป็นทัศนะหนึ่งที่ดึงดูดและกระตุ้นความสนใจให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างรุนแรงและมากมายตามมา สำหรับการเยาะเย้ยถากถาง(cynicism)ที่โดดเด่นของคำพูดนี้ และถูกหาว่า มันเป็นคำพูดที่ขาดเสียซึ่งความรู้สึกอ่อนไหวต่อมติของความเป็นมนุษย์ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

ข้ออ้างเหตุผลอีกประการหนึ่งของ Baudrillard ก็คือ นั่นได้ให้แรงดลใจต่อการโต้เถียงค่อนข้างมากที่ว่า ระบบต่างๆนั้น ไม่ต้องถูกต่อต้านอีกต่อไปแล้ว เพราะพวกเขาจะถูกล่อลวงแทน - โดยที่เขาหมายถึง การล่อลวงให้ตกอยู่ในภาวะจำยอม (see particularly "Seduction"). บรรดานักสิทธิสตรีทั้งหลายได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเธอพิจารณาหรือถือว่า เป็นอคติการแบ่งแยกทางเพศ โดยนัยะของความคิดเกี่ยวกับการล่อลวง และกล่าวหา Baudrillard เกี่ยวกับทัศนคติตายตัวในเรื่องเพศ ที่เสริมเพิ่มพลังขึ้นมาใหม่โดยการใช้ประโยชน์ของมัน

ขณะเดียวกันมีการยอมรับพลังของข้อถกเถียงของนักสิทธิสตรี, ใครสักคนอาจถือว่าการล่อลวงเป็นความพยายามของหลังสมัยใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะอีกอันหนึ่งด้วย ในการขุดเซาะระบบต่างๆโดยการหาจุดต่างๆที่อ่อนแอของพวกมัน. โดยทั่วไป ปรัชญาหลังสมัยใหม่มองว่า ไม่ต้องการการเผชิญหน้าอย่างตรงไปตรงมากับระบบทั้งหลายที่ทรงอำนาจ อันที่จริงเพียงเอาใจใส่ต่อการสาธิตให้เห็นว่าระบบต่างๆนั้น (ลัทธิมาร์กซิสม์และลัทธิคอมมิวนิสม์เป็นตัวอย่างงที่เด่นชัด) สามารถถูกทำให้ระเบิดขึ้นมาจากภายในได้อย่างไรเท่านั้น

Post-Marxism (หลังมาร์กซิสม์)
ปฏิกริยาดังกล่าว ซึ่งมีต่อลัทธิมาร์กซิสม์แบบดันทุรัง ในงานเขียนต่างๆของบรรดานักคิดทั้งหลายอย่าง Lyotard และ Baudrillard สามารถที่จะได้รับการพิจารณาว่า เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มทางวัฒนธรรมอีกอันหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้ถูกรู้จักในฐานะที่เป็น post-Marxism

Post-Marxism(หลังลัทธิมาร์กซิสม์)กลายเป็นตำแหน่งที่สำคัญในเชิงทฤษฎีอันหนึ่ง และรวมถึง ซึ่งไม่เพียงบุคคลต่างๆที่ต้องการปฏิเสธความเชื่อต่างๆของชาวมาร์กซิสท์เท่านั้น(Lyotard และ Baudrillard เป็นตัวอย่าง) แต่ยังรวมถึงผู้คนทั้งหลายซึ่งปรารถนาที่จะแก้ไขปรับปรุงลัทธิมาร์กซิสม์ในเทอมต่างๆของการพัฒนาในเชิงทฤษฎีและวัฒธรรมขึ้นมาใหม่ด้วย

Ernesto Laclau และ Chantal Mouffe ได้เป็นตัวแทนสุ้มเสียงสำหรับกลุ่มหลังนี้ เมื่อพวกเขาได้ตีพิมพ์งานหนังสือซึ่งเป็นที่ถกเถียงของพวกเขาในเรื่อง Hegemony and Socialist Strategy: Towards a Radical Democratic Politics ในปี ค.ศ. 1985

ในงานศึกษาชิ้นนี้ พวกเขาได้ให้เหตุผลว่า ลัทธิมาร์กซิสม์ต้องการปรับตัวของมันเองให้เข้ารูปเข้ารอยกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ๆอย่างหลากหลาย ซึ่งกำลังดีดตัวขึ้นมา (เช่น ขบวนการสิทธิสตรี, ขบวนการสีเขียว(เพื่อสิ่งแวดล้อม), ขบวนการของชนกลุ่มน้อย และเพศที่เป็นรอง, เป็นตัวอย่าง); กล่าวอีกนัยหนึ่ง, สำหรับลัทธิมาร์กซิสม์ได้อ้าแขนรับและโอบกอดลัทธิพหุนิยมทางการเมือง และหยอดการเรียกร้องของตนเองให้เป็นส่วนหนึ่งของเรือนร่างความจริงที่รับมา

ลัทธิมาร์กซิสม์ต้องคำนึงถึงทฤษฎีใหม่ๆอันหลากหลายที่กำลังก้าวเข้ามาสู่ความโดดเด่น - ทฤษฎีต่างๆ อย่างเช่น"การรื้อสร้าง"(deconstructionsim) หรือ"ลัทธิหลังสมัยใหม่"(postmodernism)

อีกคำรบหนึ่ง เราสามารถสังเกตความคลางแคลงใจที่มีลักษณะเฉพาะของหลังสมัยใหม่เกี่ยวกับวาทกรรมหลัก และลัทธิความเชื่องมงาย(dogmatism)ของพวกนั้นที่กำลังก้าวขึ้นมาข้างหน้า. สิ่งที่รู้สึกว่าเป็นความผิดพลาดเกี่ยวกับลัทธิมาร์กซิสม์คือว่า มันล้มเหลวที่จะเคลื่อนไปกับห้วงเวลา และสำนึกว่า สังคมกำลังมีความหลากหลายอย่างไร(หรือเป็น"พหุสังคม"มากขึ้น)

ลัทธิมาร์กซิสม์ทุ่มเทอย่างหนักในระดับของความพยายามที่จะยัดเยียดทฤษฎีต่างๆของตัวเองให้กับคนอื่นๆ, เนื่องจากว่ามันเพียงลำพังเป็นผู้ครอบครองความจริง. หากมองดูจากทัศนียภาพนี้, ลัทธิมาร์กซิสม์ก็คือทฤษฎีเผด็จการอำนาจเบ็ดเสร็จอันหนึ่ง

อีกด้านหนึ่งนั้น, Laclau และ Mouffe กำลังเสนอแนะกรณีดังกล่าว ให้ลัทธิมาร์กซิสม์มีการเปิดกว้างมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มันสามารถที่จะปรับประยุกต์เพื่อเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางวัฒนธรรม - และเป็นที่ดึงดูดใจต่อผู้ฟังใหม่ๆในกระบวนการดังกล่าวได้

อย่างที่ทำนายได้เพียงพอ การตั้งมั่นของมาร์กซิสท์เป็นสิ่งที่น่าดูแคลนในสายตาของ Laclau และ Mouffe ที่อ้างว่า ลัทธิมาร์กซิสม์ต้องมีการปรับปรุงอย่างถึงที่สุด หรือมันควรจะต้องพยายามมุ่งมั่นให้กลายไปเป็นนักพหุนิยม แทนที่จะธำรงหรือยึดถือความจริงที่คิดขึ้นเองของลัทธิมาร์กซิสม์เอาไว้ และยึดถือความเป็นสากลเกี่ยวกับการปฏิบัติ

Richard Rorty - post-philosophy (หลังปรัชญา)
ความสงสัยแคลงใจอันนี้เกี่ยวกับทฤษฎีหลัก(grand theory) และการเรียกร้องอ้างสิทธิ์ในลักษณะเบ็ดเสร็จของมันนั้น สามารถได้รับการพิจารณาถึงลักษณะสำคัญที่แตกต่างของปรัชญาหลังสมัยใหม่ ซึ่งได้ธำรงรักษาท่าทีแบบเสรีนิยมเอาไว้มาโดยตลอดในการแสดงออกอันหลากหลาย ในโลกของปรัชญาแองโกลอเมริกัน พวกเราสามารถค้นพบทัศนะต่างๆดังกล่าว ที่ได้รับการสนับสนุนโดยนักปรัชญาปฏิบัตินิยมชาวอเมริกัน นั่นคือ Richard Rorty, ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถอย่างสูงและเป็นที่รู้จักกันอย่างดีเมื่อเร็วๆนี้ เกี่ยวกับขนบจารีตทางปรัชญาภาคพื้นทวีปยุโรป

Rorty เช่นเดียวกัน เขาไม่มีเวลาให้กับทฤษฎีหลักและ, ในรูปแบบของนักปฏิบัตินิยมดั้งเดิม, เขามีความสนใจน้อยมากว่าทฤษฎีต่างๆนั้นมันถูกต้องหรือผิดพลาด สิ่งที่เขาให้ความเอาใจใส่คือทฤษฎีเหล่านั้นมันมีประโยชน์และน่าสนใจหรือไม่ต่างหาก

ปรัชญาสำหรับ Rorty ไม่มีอะไรมากเกินไปกว่ารูปแบบหนึ่งของการสนทนา และความชื่นชอบส่วนตัวของเขาเอง ปรัชญามันทำหน้าที่ค้นคว้าหาต้นตอเกี่ยวกับไอเดียต่างๆเพื่อนำทางพฤติกรรมของเราไปสู่หัวข้ออื่นๆ อย่างเช่น วรรณคดี

การหันไปสู่"post-philosophy"(หลังปรัชญา)ของ Rorty, ก็เช่นกันคือ postmodern(หลังสมัยใหม่)อันมีลักษณะเฉพาะ ในการปฏิเสธเกี่ยวกับวาทกรรมมาตรฐาน(standard narrative)ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับขนบจารีตปรัชญาตะวันตก. เช่นเดิม "อำนาจหน้าที่"อีกอันหนึ่งได้ถูกส่งลงสู่ถังขยะทางประวัติศาสตร์อย่างไม่มีพิธีรีตอง

การวิจารณ์นักคิดหลังสมัยใหม่
ไม่น่าประหลาดใจที่ว่า ไม่ทุกคนจะรู้สึกมีความสุขกับลัทธิหลังสมัยใหม่ นักวิจารณ์ชาวอเมริกัน Fredric Jameson ได้ตั้งฉายาทฤษฎีหลังสมัยใหม่ว่า "the cultural logic of late capitalism"(ตรรกะทางวัฒนธรรมของลัทธิทุนนิยมตอนปลาย), ซึ่งเขาได้พิจารณามันในฐานะที่เป็นภาวะการสมรู้ร่วมคิดกับพลังอำนาจต่างๆที่เป็นอยู่ ในการช่วยธำรงรักษาสถานะทางการเมืองดังกล่าวเอาไว้โดยที่อาจไม่ได้ตั้งใจ

ส่วนบรรดานักคิดหลังสมัยใหม่ได้วิพากษ์วิจารณ์โต้กลับเกี่ยวกับความเชื่อของพวกฝ่ายซ้ายในประสิทธิภาพเกี่ยวกับการเผชิญหน้าเชิงอุดมการณ์ และสำหรับนักคิดหลังสมัยใหม่นั้นถือว่า มาร์กซิสท์อย่าง Jameson นั้น มีอิทธิพลในการรับใช้แนวทางของพวกฝ่ายขวา ซึ่งมีผลประโยชน์เหนียวแน่นในการมองดูกระบวนการทางการเมืองดังกล่าวที่งอกงามโดยปราศจากความกระตือรือร้นใดๆ

Terry Eagleton ได้นำเอาทัศนะที่คล้ายคลึงกันอันหนึ่งมาสู่ Jameson, โดยเขาได้ดึงความสนใจอย่างต่อเนื่องสู่ความเกี่ยวพันในเชิงอุดมการณ์ของการรับเอาแนวทางหลังสมัยใหม่มา ซึ่งเขาได้ปฏิบัติในฐานะที่ไม่เป็นมิตรนักกับแนวทางของสังคมนิยม

Christopher Norris ได้วิจารณ์อย่างรุนแรงเกี่ยวกับผลงานของ Baudrillard, โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เขารู้สึกคือ ท่าทีทะเล้นที่มีต่อสงครามอ่าวเปอร์เชีย สำหรับ Norris, การปฏิเสธของ Baudrillard เกี่ยวกับความเป็นจริงของสงครามนั้น เป็นสัญลักษณ์ของความว่างเปล่าของลัทธิหลังสมัยใหม่ในฐานะทฤษฎีทางวัฒนธรรมอันหนึ่ง, และเขาไม่สามารถให้การยอมรับความรู้สึกตายด้านที่เด่นชัดของ Baudrillard ต่อความยุ่งเหยิงทางการเมืองและความทุกข์ยากของมนุษย์ได้

Jurgen Habermas เช่นเดียวกัน พบว่าลัทธิหลังสมัยใหม่น่าสงสัยในเชิงอุดมการณ์ และได้หยิบยกเอาประเด็นเกี่ยวกับปรัชญาของ Lyotard มาเป็นพื้นฐานอันนี้

สรุป
กล่าวโดยสรุป ปรัชญาหลังสมัยใหม่ได้รับการนิยามหรืออธิบายว่า เป็นเรื่องราวใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับความสงสัย(scepticism) ซึ่งค่อนข้างให้ความเอาใจใส่อย่างมากต่อความไร้เสถียรภาพหรือความไม่มั่นคงในทฤษฎีต่างๆ ที่พยายามเรียกร้องหรืออวดอ้างตนเองในเรื่องความจริง มากกว่าการสร้างทฤษฎีที่มีลักษณะเชื่อถือได้หรือเป็นหลักการของตัวมันเองขึ้นมา

แน่นอน แม้ว่าจะเป็นเรื่องของความสงสัยเกี่ยวกับข้ออ้างต่างๆในทางทฤษฎีของคนอื่น ซึ่งมีโปรแกรมที่แน่ชัดอันหนึ่งของตัวมันเอง แต่ก็ไม่ได้สร้างอะไรขึ้นมาใหม่ ด้วยเหตุนี้ ปรัชญาหลังสมัยใหม่จึงสามารถถูกมองได้ว่าเป็นการแปรขบวนหรือปรับความเหมาะสมเกี่ยวกับปรัชญาเท่านั้น เพื่อทำลายอำนาจเบ็ดเสร็จอันเป็นสิ่งที่จำเป็นในวัฒนธรรมของพวกเรา ทั้งในระดับทฤษฎีและในระดับการเมือง

ไม่ว่าแนวโน้มนั้นจะมาควบคุมหรือมีอำนาจเหนือผลประโยชน์มาเป็นระยะเวลายาวนานหรือไม่ก็ตาม ซึ่งยากที่จะกล่าว ในบางขอบเขต ลัทธิหลังสมัยใหม่ตัวของมันได้กลายเป็นวาทกรรมหลัก(grand narrative)ไปเสียเอง(มันมีแนวทางของหลังสมัยใหม่ที่แน่ชัดอันหนึ่งต่อประเด็นปัญหาต่างๆทางปรัชญาส่วนใหญ่) และด้วยเหตุนี้ มันจึงถูกโจมตีได้ง่ายด้วยเช่นกันในทางที่ย้อนกลับ

เป็นไปได้ด้วยที่จะถกว่า บรรดานักปรัชญาหลังสมัยใหม่พูดหรือเน้นมากเกินไปถึงความเสื่อมของวาทกรรมหลักต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างแย้งซึ่งเห็นกันชัดเจนและตรงประเด็นมากๆอันหนึ่ง ต่อการบอกเลิกของ Lyotard เกี่ยวกับการมีนัยสำคัญที่ต่อเนื่องของวาทกรรมเหล่านี้ก็คือ ลัทธิมูลรากทางด้านศาสนา(religious fundamentalism)(วาทกรรมหลักอันหนึ่ง ที่เป็นเช่นนั้นมาโดยตลอด) ซึ่งมีการเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงทศวรรษที่เข้าใกล้การสิ้นสุดของศตวรรษที่ยี่สิบ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเจริญเติบโตของลัทธิมูลรากอิสลาม ดูเหมือนว่าจะทักท้วงความมีเหตุผลหรือหลักฐานการตัดสินของ Lyotard บนรอยบากอันนี้. ความงอกงามของลัทธิมูลรากอิสลาม มันควบคุมวิถีชีวิตทางการเมืองของประเทศต่างๆเป็นจำนวนมาก ซึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในตะวันออกกลางและเอเชีย, และทำให้มันมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญอันหนึ่งต่อฉากการเมืองโลกในปัจจุบัน

Lyotard ตัวของเขาเองได้ใช้ทัศนะที่มีลักษณะเป็นวงวัฏฏอันหนึ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านวัฒนธรรม ซึ่งลัทธิหลังสมัยใหม่และลัทธิสมัยใหม่ยังคงประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในแต่ละลัทธิเหนือกาลเวลามาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นลัทธิหลังสมัยใหม่ในอดีต(บุคคลต่างๆอย่างเช่น Rabelais หรือ Laurence Sterne มีคุณสมบัติเป็นหลังสมัยใหม่สำหรับ Lyotard) และมันก็จะมีลัทธิสมัยใหม่และลัทธิหลังสมัยใหม่อีกครั้งในอนาคต

เป็นไปได้ที่จะให้เหตุผลว่า พวกเราได้ก้าวเข้ามาสู่โลกของหลัง-หลังสมัยใหม่(post-postmodernist world)กันเรียบร้อยแล้ว ที่ที่การหมกมุ่นใจจดใจจ่อทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง กำลังทำให้ความเป็นอยู่ของพวกเรารู้สึก. แน่นอน ความสงสัยมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปเป็นความทันสมัยและล้าสมัยบนเส้นทางของประวัติศาสตร์ปรัชญา และมันอาจจะดีที่ว่า วงรอบปัจจุบันได้รับใช้วัตถุประสงค์อันมีประโยชน์ ในการดึงความสนใจของเราสู่ความอ่อนแอของฐานะตำแหน่งทางปรัชญาบางอย่าง และงานทางปรัชญาต่างๆที่มีการปรับตัวในเชิงลบน้อย สามารถที่จะครอบครองที่ทางของมันในอนาคตได้โดยตรง

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)

 

หนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการอธิบายลัทธิหลังสมัยใหม่ก็คือ การเคลื่อนไหวทางปรัชญา ซึ่งจะเป็นรูปแบบหนึ่งของความสงสัย(scepticism) - เช่น ความสงสัย ไม่เชื่อในอำนาจหน้าที่(scepticism about authority), อย่างสติปัญญาซึ่งเป็นที่ยอมรับ, บรรทัดฐานทางวัฒนธรรม และการเมือง ฯลฯ. - สิ่งที่วางหรือเสนอตัวอยู่ในขนบประเพณีที่มีมาเก่าแก่ในความคิดตะวันตก ที่สามารถย้อนกลับไปถึงปรัชญากรีกในสมัยคลาสสิค. ความสงสัยไม่เชื่อถือ โดยสาระแล้ว เป็นรูปแบบของปรัชญาอันหนึ่งในเชิงนิเสธ ซึ่งเริ่มต้นด้วยการขุดเซาะทฤษฎีทางปรัชญาต่างๆที่อ้างตนว่าได้ครอบครองเกี่ยวกับความจริงระดับอันติมะ หรือเกี่ยวกับเกณฑ์บรรทัดสำหรับกำหนดตัดสินสิ่งที่ถือว่าเป็นความจริงสูงสุด. ศัพท์เทคนิคเพื่ออธิบายสไตล์ของปรัชญานี้คือ antifoundational.

แนวคิดของ Lyotard และคนดังหลังสมัยใหม่
(
ลัทธิหลังสมัยใหม่และปรัชญา : Postmodernism and Philosophy : Stuart Sim)
แปลและเรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปรัชญา

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจารีตปรัชญาฝรั่งเศสเมื่อไม่นานมานี้ นับว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการถกเถียงกันเรื่องลัทธิหลังสมัยใหม่ และเป็นแหล่งต้นตอข้อมูลของทฤษฎีจำนวนมากเกี่ยวกับสิ่งที่ก่อตัวขึ้นมาเป็นลัทธิหลังสมัยใหม่. เป็นไปได้ว่า บุคคลสำคัญซึ่งเป็นผู้นำในปรัชญานี้ก็คือ Jean-Francois Lyotard หนังสือของเขาที่ชื่อว่า The Postmodern Condition: A Report on Knowledge(1979) ได้รับการพิจารณาอย่างกว้างๆในฐานะที่เป็นการแสดงออกในเชิงทฤษฎีที่ทรงพลังเกี่ยวกับลัทธิหลังสมัยใหม่.

การเรียกร้องของ Lyotard ก็คือ เขาขอให้พวกเราปฏิเสธวาทกรรมหลัก(grand narrative)[นั่นคือ, ทฤษฎีต่างๆที่อ้างความเป็นสากล]ของวัฒนธรรมตะวันตก เพราะปัจจุบัน พวกมันได้สูญเสียสถานะความน่าเชื่อถือของมันทั้งหมดลงไปแล้ว