บทความลำดับที่ 208 ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้รับความอนุเคราะห์จาก นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ชุด "ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า"รวมทั้งหมด 5 ตอน
หมายเหตุ :
การนำเสนอบทความชิ้นนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ และคัดรวมส่วนที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
เพื่อนำเสนอในรูปแบบเว็ปไซต์ของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
คงถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องยอมรับกันว่า
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมิใช่ตำตอบที่ดีของระบบ
สาธารณสุขของไทยอีกต่อไป ระบบแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญทำให้เกิดการแยกส่วนของทั้งระบบ
บริหารและระบบบริการตามด้วยการว่างงานแอบ
แฝงอย่างรุนแรงในทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ
ทำให้โรงพยาบาลมีขนาดใหญ่โตมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริง
ของประชาชนในพื้นที่
ความรู้ทางจิตเวชศาสตร์ที่มีอยู่ไม่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาสุขภาพจิตในสังคมปัจจุบัน กุมารแพทย์ที่มีอยู่ก็ไม่พอที่จะป้องกันไข้เลือดออก ศัลยแพทย์ที่มีอยู่ก็ไม่พอที่จะผ่าตัดผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุ อายุรแพทย์ที่มีอยู่ก็ไม่พอที่จะรักษาผู้ป่วยตับแข็งจากการดื่มเหล้า ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจที่มีอยู่ก็ไม่พอที่จะรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจซึ่งทวีจำนวนอย่างรวดเร็วจากการดำรงชีวิตที่ผิดพลาด
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
แต่เรื่องที่สำคัญคือ ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาจำเป็นต้องไปนั่งทำงานในสถานะของแพทย์ทั่วไปที่สถานีอนามัย ทำให้เกิดความอึดอัดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นอันมาก
อย่างไรก็ดี เมื่อคิดว่าอันที่จริงแล้วแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกคนเรียนหลักสูตรและผ่านการ ทำงานในฐานะแพทย์ทั่วไปมาแล้วทั้งสิ้น อีกทั้งหลายท่านสามารถตรวจโรคทั่วไปเวลาเปิดคลินิกส่วนตัวได้ การปรับตัวครั้งนี้จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้
คงถึงเวลาที่จะต้องยอมรับกันว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมิใช่ตำตอบที่ดีของระบบสาธารณสุขของไทยอีกต่อไปแล้ว ระบบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำให้เกิดการแยกส่วนของทั้งระบบบริหารและระบบบริการตามด้วยการว่างงานแอบแฝงอย่างรุนแรงในทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทำให้โรงพยาบาลมีขนาดใหญ่โตมากขึ้นเรื่อยๆโดยไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่
ความรู้ทางจิตเวชศาสตร์ที่มีอยู่ไม่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาสุขภาพจิตในสังคมปัจจุบัน กุมารแพทย์ที่มีอยู่ก็ไม่พอที่จะป้องกันไข้เลือดออก ศัลยแพทย์ที่มีอยู่ก็ไม่พอที่จะผ่าตัดผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุ อายุรแพทย์ที่มีอยู่ก็ไม่พอที่จะรักษาผู้ป่วยตับแข็งจากการดื่มเหล้า ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจที่มีอยู่ก็ไม่พอที่จะรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจซึ่งทวีจำนวนอย่างรวดเร็วจากการดำรงชีวิตที่ผิดพลาด
แนวคิดที่จะพึ่งผู้เชี่ยวชาญจึงควรถูกยกเลิก การลงทุนไปกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ศูนย์รักษาโรคเฉพาะกิจ หรือ เครื่องมือไฮเทค ที่รับใช้ได้เพียงผู้มีโอกาสและตอบสนองวิชาการของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่เป็นประโยชน์ต่อระบบสาธารณสุขโดยรวม ในที่สุดก็ควรมีเหลือผู้เชี่ยวชาญอยู่บ้างแต่มิใช่มากมายหรือเป็นกระแสหลักดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ยกตัวอย่างจิตเวชศาสตร์ จิตเวชศาสตร์สมัยใหม่หมายถึงความรู้เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บทางจิตที่อิงบนความรู้ของฝรั่ง อาศัยคำอธิบายที่เกี่ยวกับจิตวิเคราะห์ สารเคมีในสมอง และพฤติกรรมศาสตร์ในการตอบคำถามทุกคำถาม คำตอบที่ได้จึงออกมาในรูปของจิตบำบัด การจ่ายยาและพฤติกรรมบำบัดตามลำดับ ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาสุขภาพจิตระดับสังคมของบ้านเราได้เลย
แน่นอนว่าจิตเวชศาสตร์สมัยใหม่มิได้พูดถึงเพียงแง่มุมของการรักษาแต่เพียงมิติเดียว หากยังพูดถึงเรื่องการส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพจิตอีกด้วย แต่ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงคำพูดในตำรา มีความพยายามน้อยครั้งมากที่จะแปรทฤษฎีเหล่านั้นให้เกิดผลกับสังคมโดยรวม ยังมินับว่าความรู้เหล่านั้นเหมาะสมกับบ้านเราแล้วหรือไม่
ไม่มีความพยายามที่จะริเริ่มงานส่งเสริมป้องกันฟื้นฟูให้เป็นจริงเป็นจัง หรืออาจจะมีอยู่บ้างแต่ผลลัพธ์เป็นเช่นไรน่าจะเห็นได้จากยอดผู้ใช้สารเสพย์ติด รวมทั้งยอดผู้ป่วยทางจิตที่เป็นเด็กและเยาวชนซึ่งสูงมากขึ้นทุกปี ตบท้ายด้วยการจับและทำร้ายตัวประกันถึงชีวิตซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญว่าบ้านเรานั้นเดินไปก็ตายได้
เหตุที่งานส่งเสริมป้องกันฟื้นฟูไม่สามารถเป็นรูปร่างได้เพราะ "โครงสร้าง" ของ "ระบบ"แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสกัดกั้นเอาไว้ ไม่อำนวยและไม่เปิดโอกาสให้มันเป็นไปได้ ด้วยโครงสร้างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือ
หนึ่ง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญย่อมเก่งกว่าแพทย์ทั่วไป
สอง วิธีแก้ปัญหาสุขภาพคือการเร่งเพิ่มจำนวนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สาม แพทย์ที่ผลิตได้ไม่สามารถทำอะไรมากไปกว่าการจ่ายยาหรือผ่าตัด และ
สี่ ลำพังมิติของการรักษาก็เป็นส่วนหนึ่งของบรรษัทขายยาอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ช่วยสังคมมากเท่าที่ควร แต่กลับช่วยให้ยารักษาโรคขายออกได้ง่ายขึ้น ด้วยโครงสร้างและระบบเช่นนี้ ต่อให้ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญออกมาอีกกี่หมื่นคนคนก็จะถูกกลืนเข้าไปกับกระบวนการจ่ายยารักษาผู้ป่วย และจัดตั้งศูนย์รักษาเฉพาะกิจ รวมทั้งศูนย์เครื่องมือไฮเทค เช่น ศูนย์รักษาโรคหัวใจ ศูนย์รักษาสมรรถภาพเพศชาย ศูนย์รักษาโรคนอนไม่หลับ เป็นต้น
แต่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ไม่เพียงไม่มีค่ารถเดินทางไปโรงพยาบาล แต่ไม่มีแม้กระทั่งโอกาสที่จะเข้าถึงบริการ จึงยังคงมีสุขภาพที่เสื่อมทรามต่อไป เรื่องทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะ "โครงสร้าง" หลักของ "ระบบ" ด้วยโครงสร้างเช่นนี้เองทำให้ปัญหาการทำร้ายตัวประกันยาบ้าได้รับคำอธิบายด้วยสารเคมีโดปามีนและเอ็นดอร์ฟิน มากกว่าที่จะหาคำอธิบายระดับมหภาค แล้วรื้อโครงสร้างและระบบสาธารณสุขที่แสนจะพิกลพิการนี้ทิ้งไปเสีย
รัฐ(จะเป็นใครก็ช่างเถอะ)ได้เริ่มต้นระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า(จะกี่สิบบาทก็อย่าสนใจ) เป็นระบบที่ใช้หัวประชากรและเงินเป็นตัวตั้ง เทความสำคัญให้กับงานส่งเสริมป้องกันฟื้นฟูมากกว่างานรักษา เทความสำคัญให้กับแพทย์ทั่วไปมากกว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งเป็นการขับเคลื่อนระบบด้วยพลังทางการเมืองและสังคม
นี่คือระบบที่ถูกต้องและจะเอื้อประโยชน์ต่อประชาชน แต่อุปสรรคขวากหนามกลับมีมากมายอย่างเหลือเชื่อ หนึ่งในอุปสรรคนั้นคือกรอบความคิดที่ยังยึดติดกับการแพทย์ระบบผู้เชี่ยวชาญ
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าใช้หัวประชากรต่อพื้นที่เป็นตัวตั้ง จะทำให้เกิดการกระจายแพทย์และสถานบริการอย่างเท่าเทียมในอนาคต ยกตัวอย่างคำถาม เขตพญาไทมีประชากรกี่คนถึงต้องมีโรงพยาบาลราชวิถี รามาธิบดี พระมงกุฎ พญาไท เดชา โรงพยาบาลขนาดยักษ์เหล่านี้ดูด "เงิน" จากชนบทไปมากมายเพียงใด
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าใช้เงินเป็นตัวตั้ง ทำให้แพทย์จำเป็นต้องใช้เงินอย่างคุ้มทุน เช่น หากรักษาความดันโลหิตสูงได้ด้วยยาเม็ดละบาท แล้วทำไมต้องใช้ยาเม็ดละสามสิบบาท ด้วยโครงสร้างที่จำกัดตัวเงินจะทำให้กลไก "หนุนหลัง" ของบรรษัทยาเป็นอัมพาตไป ที่สำคัญคือแพทย์ส่วนใหญ่รู้อยู่แก่ใจว่ายาราคาถูกได้ผลดีเท่าๆกับยาราคาแพง
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเทความสำคัญให้กับงานส่งเสริมป้องกันฟื้นฟูมากกว่างานรักษา ทำนองว่าเมื่อระบบเดินหน้าเต็มลูกสูบ โรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยมากจะต้องขาดทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นแพทย์ซึ่งถูกโครงสร้างของการรักษาครอบงำมานานแสนนานต้องดิ้นรนให้หลุดจากการครอบงำนั้นแล้วริเริ่มงานส่งเสริมป้องกันฟื้นฟูให้สำเร็จให้จงได้
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเทความสำคัญให้กับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมากกว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค ทำนองว่าแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยครบองค์รวมและครอบครัวผู้ป่วย จึงจะเป็นแพทย์ที่ดำรงตนสอดคล้องกับระบบใหม่ โดยคาดหวังว่าในที่สุดแล้วครอบครัวและชุมชนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างดี มิต้องพึ่งพิงแพทย์และโรงพยาบาลอย่างหน้ามืดตามัวถึงเพียงนี้
แต่แล้วความดีงามเหล่านี้กลับกำลังถูกฉ้อฉลด้วยคนในระบบกันเอง ยกตัวอย่าง ผลจากการแบ่งเงินตามหัวประชากรทำให้โรงพยาบาลที่เคย ส่งต่อผู้ป่วยไปที่อื่นตลอดเวลาเพราะกินเงินเดือนประจำ เปลี่ยนท่าทีเป็นกักตัวผู้ป่วยทุกประเภทเอาไว้มิยอมส่งต่อทั้งที่ไม่มีความสามารถในการรักษา สาเหตุเพราะถ้าส่งต่อเมื่อไรต้องตามไปจ่ายเมื่อนั้น ปรากฏการณ์นี้เกิดกับโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งอีกด้วย
ในทางตรงข้าม ผู้เชี่ยวชาญที่เคยดำรงชีวิตอยู่ได้เพราะความเป็นผู้เชี่ยวชาญก็กักตัวผู้ป่วยไว้มิยอมส่งคืนภูมิลำเนาทั้งๆที่เป็นโรคซึ่งแพทย์ทั่วไปที่ไหนก็รักษาได้ อีกทั้งยังเชื่อมั่นรวมทั้งถ่ายทอดความเชื่อมั่นนี้ให้กับผู้ป่วยว่ามีแต่ยาราคาแพงเท่านั้นจึงเหมาะสมกับโรคของเขา
เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงแต่สาเหตุหลักมาจาก "คน" มิได้มาจาก "ระบบ"
แน่นอนว่าไม่มีระบบใดที่จะสมบูรณ์แบบ แต่ระบบที่สมบูรณ์แบบใดๆก็ล้วนถูกทำลาย ลงได้ด้วยคนทั้งสิ้น
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเรื่องที่ดี เมื่อเราป่วยเราไม่ควรเสียเงินทองที่มากมายเกินเหตุ การที่จะคาดหวังให้สถานพยาบาลขนาดใหญ่ บริษัทยา และแพทย์ ยอมถอยหลังคนละสองสามก้าวนั้นเป็นไปไม่ได้หากไม่แก้ไข "โครงสร้าง" และ "ระบบ" ที่พึ่งพิงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ประชาชนไม่ควรพึ่งพิงทั้งระบบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งไม่ควรหวังพึ่งพิงรัฐและผู้คุมนโยบายจนเกินไปเพราะในหลายกรณีก็พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผลเช่นเดียวกัน
เรื่องทั้งหมดจึงวนกลับมาที่สังคมต้องเข้มแข็งและพึ่งตนเอง หาทางรู้เท่าทันระบบสุข ภาพให้ได้และเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดสุขภาพของตนเอง
สังคม(ทุนนิยม)กำลังแปรให้โรคต่างๆกลายเป็นสินค้า
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตอนที่ 2 ความเท่าเทียม
บทความนี้ต้องการให้เห็นประโยชน์ที่ประชาชน "ทุกคน" จะได้รับจากระบบ ประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่รัฐเป็นผู้จ่าย และคาดหวังว่ารัฐบาลใดๆก็ตามจะเห็นความสำคัญและก่อตั้งระบบเช่นนี้ได้เป็นผลสำเร็จสักวันหนึ่ง
หลักการของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยรัฐเป็นผู้จ่ายเป็นหลักการที่ถูกต้อง หากทุกฝ่ายเคลียร์กันได้ว่าเรื่องนี้ถูกต้องก็สมควรมาร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น การบริหารจัดการที่กำลังมีปัญหาขณะนี้เป็นเพียงความขัดข้องทางเทคนิค ซึ่งไม่น่าจะเกินความสามารถของบุคลากรสาธารณสุขที่จะแก้ไขได้
การให้เหตุผลว่าขนาดอเมริกา อังกฤษและญี่ปุ่นยังทำงานนี้ไม่สำเร็จแล้วประเทศเราจะไปทำอะไรได้ ฟังดูไม่เป็นเหตุผล ปัญหาสำคัญขณะนี้คือทุกฝ่ายยังไม่ลงรอยกันว่า ระบบประกันสุขภาพที่รัฐเป็น ผู้จ่ายคือระบบที่เหมาะสม จึงเบี่ยงเบนประเด็นไปมาไม่รู้จักจบ
ที่สำคัญที่สุดคือภาคประชาชนยังไม่รู้ว่าระบบนี้ให้ประโยชน์กับทุกคนเพียงใด
ลองเปรียบเทียบกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหรือเขื่อนกั้นน้ำ ภาคประชาชนมีความเข้าใจและร่วมมือกันอย่างดีในการปกป้องทรัพยากรที่จะถูกช่วงชิงไป แต่สำหรับการแพทย์และสาธารณสุขแล้ว ภาคประชาชนกลับนิ่งเฉย เหมือนไม่ทราบว่าระบบสาธารสุขแบบเดิมนั้นได้ช่วงชิงทรัพยากรของคนส่วนใหญ่ไปมากเพียงใด
ในทางตรงข้าม ภาคประชาชนบางกลุ่มได้เรียกร้องขอสิทธิในการรับบริการข้ามเขตเพราะ "เชื่อ" ว่าโรงพยาบาลแห่งนั้นมีคุณภาพมากกว่าโรงพยาบาลใกล้บ้าน นี่คือความเชื่อที่ผิด ความเชื่อที่ว่าโรงพยาบาลนั้นดีกว่าโรงพยาบาลนี้ โรงพยาบาลนี้ดีกว่าโรงพยาบาลนั้น เกิดจากความเชื่อและความหลงผิดเป็นส่วนใหญ่
ระบบสาธารณสุขที่มีอยู่เดิมได้แปรเปลี่ยนแพทย์ ยา และเครื่องมือไฮเทคให้เป็นสินค้าที่ตอบสนองบริโภคนิยมไปแล้ว ความรู้ทางการแพทย์ เทคโนโลยี และจริยธรรมล้วนถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรงจนไม่รู้ว่าอะไรจริงหรือเท็จ เช่น ลดราคาการตรวจร่างกายประจำปี แพ็กเก็จฝากครรภ์ราคาประหยัด ศูนย์ตรวจโรคหัวใจครบวงจร ห้องแล็บโรคนอนไม่หลับ การขายฮอร์โมน แคลเซียมและยารักษาโรคกระดูกพรุน เป็นต้น มิพักต้องพูดถึงศูนย์เสริมความงามทั้งใบหน้าและทั่วตัวที่มีอยู่ก่อนแล้ว
แม้ว่าการตรวจร่างกายประจำปี การฝากครรภ์ การตรวจโรคหัวใจ โรคนอนไม่หลับ โรคกระดูกพรุน ล้วนเป็นภาวะที่มีจริงและมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งต้องการการดูแลรักษาที่ถูกต้อง แต่ระบบที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนได้เข้าถึงบริการและได้รับบริการที่เท่าเทียมรวมทั้งไม่มากจนเกินไปนั้น "ไม่มี"
เมื่อสังคมแปรให้โรคต่างๆกลายเป็นสินค้าที่ซื้อหาได้โดยอิสระเช่นนี้ ความเสียหายของทรัพยากรจึงเกิดขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็ว จนไม่มีทางเลยที่เราจะหยุดกระบวนการทำลายตนเองของสังคมเช่นนี้ได้ นอกจากจะปฏิรูปวิธีซื้อขายสินค้าเหล่านี้เสียใหม่
นั่นคือระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่รัฐเป็นผู้จ่าย
เมื่อยี่สิบปีก่อนชาวบ้านธรรมดาๆที่กลัวเป็นโรคหัวใจจะเดินขึ้นโรงพยาบาลเพื่อขอเอกซเรย์หาโรคหัวใจ สิบปีก่อนเริ่มมีชาวบ้านที่เดินมาขอ "อีเคจี" หาโรคหัวใจ ปัจจุบันนี้ชาวบ้านธรรมดาๆนี่แหละที่มาขอใบส่งตัวไปทำ"เอ็คโค" ที่ศูนย์โรคหัวใจในกรุงเทพฯ
ผมไม่เชื่อว่าจะมีแพทย์โรคหัวใจท่านใดเห็นดีเห็นงามกับการซื้อขายสินค้าโรคหัวใจเช่นนี้ แพทย์ควรได้รับสิทธิในการกำหนดวิธีตรวจหาโรคหัวใจที่เหมาะสม นั่นคือ ดู คลำ เคาะ ฟัง เอกซเรย์ อีเคจี เอ็คโคคาร์ดิโอแกรม และสูงขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ ซึ่งจะเป็นไปได้เมื่อรัฐเป็นผู้จ่าย เป็นไปได้ยากเมื่อใครก็ตามที่มีเงินขอเป็นผู้จ่าย 000000000 เพราะทั้งคนซื้อคนขายล้วนตกอยู่ใต้อิทธิพลของการโฆษณา
ยี่สิบปีก่อนชาวบ้านมาขอเอกซเรย์ สิบปีก่อนเขามา "เอกซเรย์คอมพิวเตอร์" ตอนนี้เขามาขอ "เอ็มอาร์ไอ" ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้เพราะการแพทย์ได้แปรเปลี่ยนให้เครื่องมือไฮเทคต่างๆเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างไปจากพิซซ่าและแฮมเบอร์เกอร์
เมื่อสินค้าทางการแพทย์สามารถสนองตอบบริโภคนิยมได้แล้ว ในอีกสิบปีข้างหน้าเมื่อเทคโนโลยี่การทำแผนที่พันธุกรรมมนุษย์พัฒนาไปจนถึงขีดที่สามารถตรวจค้นความพิการแต่กำเนิด ความฉลาดความโง่ หรือความบกพร่องใดๆ ภาคประชาชนจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการกีดกันมนุษย์ครั้งยิ่งใหญ่จะไม่เกิดขึ้น
เหมือนคนจนได้ "เอกซเรย์" และคนรวยได้ "เอ็มอาร์ไอ"
เพราะการแพทย์มิใช่เรื่องที่จะนำไปทำเป็นสินค้าได้โดยจริยธรรมไม่สั่นคลอน หากประชาชนต้องการซื้อสินค้าที่เกินจำเป็นเหล่านี้ ก็มีสิทธิจะนำเงินส่วนตัวไปซื้อเอง แต่การแพทย์ที่เหมาะสมและพอควรนั้น รัฐต้องจ่าย
เมื่อระบบใหญ่ทางการแพทย์และสาธารณสุขมีรัฐเป็นผู้จ่ายเสียแล้ว โอกาสที่สินค้าทางการแพทย์จะทำตลาดได้มากมายอย่างที่เห็นนี้ก็จะลดลงบ้าง แน่นอนว่ายังคงเหลือคนรวยที่คิดว่าเงินซื้อชีวิตอมตะได้อยู่ ก็เป็นเรื่องของเขา แต่ที่เห็นและเป็นอยู่ทุกวันนี้ชาวบ้านก็ขายทองเอาเงินไปซื้อยาลดไขมันกินกัน
ด้วยระบบประกันสุขภาพที่รัฐเป็นผู้จ่ายนี้เองจะทำให้ประชาชนได้รับบริการที่พอเหมาะพอควร ใกล้บ้าน ใกล้ใจและมีจริยธรรม
ทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลาและการบริหารจัดการ เป็นเวลาที่ต้องใช้จัดการกับฐานข้อมูลของประชาชนซึ่งซ้ำซ้อนเหลือเกิน จัดการกับความหลงผิดในบริโภคนิยมทางการแพทย์ของประชาชน และจัดการกับความเชื่อของกลุ่มผู้เสียประโยชน์
ความเชื่อของกลุ่มผู้เสียประโยชน์เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และต้องอาศัยเวลาเช่นเดียวกัน การแพทย์และสาธารณสุขที่เป็นอยู่เดิมเอื้อประโยชน์อย่างมากมายให้กับข้าราชการรัฐวิสาหกิจที่สามารถเบิกค่ารักษาได้โดยไม่จำกัดจำนวน เอื้อประโยชน์ให้กับการว่างงานแอบแฝงของบุคลากรที่เกิดขึ้นในทุกโรงพยาบาล และเอื้อประโยชน์ให้กับญาติพี่น้องของบุคลากรสาธารณสุขที่เจ็บป่วย โดยไม่ทันได้ตระหนักว่ายังมีประชากรอีกประมาณหนึ่งในสามของประเทศที่เข้าไม่ถึงบริการ
อยากให้ข้าราชการรัฐวิสาหกิจเข้าใจว่าประโยชน์ที่เราได้รับทุกวันนี้เป็นประโยชน์ที่ "ไม่จริง" ถึงจะเบิกทุกอย่างได้แต่ก็ยังต้องเหนื่อยยากในการเข้าหาแพทย์ อีกทั้งเดือดร้อนกับการนำเงินมาหมุนเป็นค่ารักษาพยาบาลในแต่ละเดือน โดยไม่ทันได้ตระหนักว่าค่ารักษาพยาบาลจำนวนมากนั้นหมดไปกับเรื่องเกินจำเป็นอีกด้วย
การว่างงานแอบแฝงของบุคลากรนั้นมิใช่ความผิดของบุคลากร แต่เป็นความผิดของระบบการกระจายทรัพยากรอย่างแท้จริง เมื่อมีการปฏิรูปการกระจายทรัพยากรใหม่เป็นการเหมาจ่ายรายหัวประชากร บุคลากรย่อมต้องวิ่งตามทรัพยากรไปเองในที่สุด
นอกจากนี้การว่างงานแอบแฝงยังเกิดขึ้นจากการแพทย์แบบแยกส่วนอวัยวะเป็น ชิ้นๆ ทุกโรงพยาบาลมีแต่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคที่ไม่มีคนไข้ให้ตรวจ ถ้ามีคนไข้ให้ตรวจก็ไม่มีห้องตรวจให้นั่ง ไม่มีห้องผ่าตัดที่ว่าง ไม่มีเครื่องมือไฮเทครองรับ ฯลฯ เมื่อมีการปฏิรูปการรักษาพยาบาลให้เป็นองค์รวม ใกล้บ้านใกล้ใจ การว่างงานแอบแฝงจึงจะลดลงไปเอง คิดว่าไม่มีแพทย์ท่านใดที่อยากว่างงานเกินสมควร
ส่วนญาติพี่น้องของบุคลากรทางการแพทย์พยาบาลที่เคยเข้าถึงบริการ ยาและเครื่องมือไฮเทคได้อย่างสะดวกสบายเมื่อเทียบกับประชาชนกลุ่มอื่นนั้น ควรเข้าใจว่ายาและบริการต่างๆที่เคยได้รับมานั้นล้วนเกินจำเป็นเสียเป็นส่วนมาก การที่เกิดเป็นญาติพี่น้องของบุคลากรทางการแพทย์พยาบาลแล้วจะได้ยาดีๆและยาต่างประเทศนั้นเป็นอีกหนึ่งตรรกะที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง
บัญชียาหลักแห่งชาติที่มีอยู่พอรักษาทุกโรคแน่นอน ไม่มียาใดดีกว่ายาใด มีแต่ยาใดเหมาะสมกับโรคอะไร ยามิใช่พิซซ่าหรือแฮมเบอร์เกอร์ที่สามารถสั่งขายหรือซื้อขายได้โดยไม่ควบคุมการโฆษณาและจริยธรรม
ผมไม่เชื่อว่าจะมีนักเรียนแพทย์ท่านใดที่อยากตกเป็นทาสบริษัทยาหรือบริษัทขายครุภัณฑ์ทางการแพทย์โดยเจตนา ด้วยระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ตั้งมั่นจึงจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกลับไปที่ระบบการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ ให้ดูแลผู้ป่วยครบองค์รวม ด้วยมาตรฐานและจริยธรรมทางวิชาชีพโดยปราศจากอิทธิพลของการโฆษณาใดๆอย่างแท้จริง
สำหรับคนยากจน ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้ามิใช่การให้ทานเหมือนกับที่ระบบอื่นเคยกระทำกับคนยากจน เป็นระบบที่ให้เกียรติคนจนมากกว่าระบบใดที่เคยมีมาก่อน ยังไม่นับว่าระบบที่เคยมีมานั้นยังประสบปัญหาเรื่องการกระจายทรัพยากรอย่างมากเช่นเดียวกัน
ตรรกะสุดท้ายที่ได้ยินเสมอคือคนรวยควรเสียเงินเอง ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้คือระบบประกันสุขภาพมิได้มุ่งเน้นที่จะให้ใครเป็นผู้เสียเงิน แต่มุ่งเน้นที่การกระจายทรัพยากรอย่างทั่วถึงเป็นสำคัญ แล้วคาดหวังว่าจะส่งผลกระทบไปสู่ปัญหาต่างๆที่หมักหมมมานานในระบบเดิมให้ละลายหายไปในที่สุด
คนรวยจะได้จ่ายเงินเองเพราะเป็นเหยื่อโฆษณาทางการแพทย์ที่จะแนบเนียนมากขึ้นเรื่อยๆอย่างแน่นอน แต่มิควรมีเสรีมากมายถึงเพียงนี้
ผู้เขียนเพียงต้องการให้ภาคประชาชน รวมถึงข้าราชการรัฐวิสาหกิจและญาติพี่น้องของข้าราชการรัฐวิสาหกิจ ญาติพี่น้องของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รู้ถึงคุณค่าของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่รัฐเป็นผู้จ่าย และเรียกร้องให้รัฐใดๆก่อตั้งระบบขึ้นมาให้สำเร็จให้จงได้ ยังจะมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการอีกมากที่ต้องแก้ไขแต่ถ้าประชาชนรู้ว่าตนเองจะได้อะไรก็คงไม่ปล่อยให้มันหลุดมือไปง่ายๆ
สนใจอ่านต่อบทความชุดเดียวกัน คลิกที่นี่
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)
ผ่าระบบโครงสร้างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตอนที่ 1 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย
ข้อแรก ผู้ป่วยต้องการแพทย์ใกล้บ้านใกล้ใจเมื่อเจ็บป่วย ระบบนี้ทำให้แพทย์ต้องไป ทำงานที่สถานีอนามัยแทนที่จะกระจุกตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เรื่องนี้สำคัญมากสำหรับชาวชนบท เพราะค่ารถที่ผู้ป่วยและญาติใช้เดินทางไปโรงพยาบาลแต่ละครั้งมิใช่น้อยเลย เมื่อเทียบกับคนกรุงเทพฯ
ข้อสอง ผู้ป่วยต้องการสุขภาพที่ดี ระบบนี้จะทำให้เกิดการส่งเสริมและป้องกันโรค มากกว่าที่ผ่านมา
ข้อสาม ผู้ป่วยแต่ละพื้นที่ต้องการให้รักษาและป้องกันโรคที่ไม่เหมือนกัน ระบบนี้จะทำให้แพทย์จำเป็นต้องตอบสนองเป้าหมายซึ่งก็คือสถิติโรคต่างๆในแต่ละพื้นที่ให้แม่นยำยิ่งขึ้น
ข้อเสียของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือระบบนี้ไม่ต้องการผู้เชี่ยวชาญมากนัก แต่ต้องการแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปหรือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมากกว่า ซึ่งเป็นสองสาขาที่มีก็เหมือนไม่มีในประเทศไทย กล่าวคือมีน้อยและที่มีอยู่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักหรือยอมรับ ทั้งจากประชาชนและจากวงการแพทย์ด้วยกันเอง