ชุดความรู้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า เขียนโดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ : ทั้งหมดมีด้วยกัน ๕ ตอน : เผยแพร่บนเว็ปไซต์แห่งนี้เดือนสิงหาคม ๒๕๔๕

บทความลำดับที่ 209 ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้รับความอนุเคราะห์จาก นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ชุด "ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า"รวมทั้งหมด 5 ตอน

หมายเหตุ :
การนำเสนอบทความชิ้นนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ และคัดรวมส่วนที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เพื่อนำเสนอในรูปแบบเว็ปไซต์ของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากประสบปัญหา ภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาด font ลง
จะแก้ปัญหาได้

R
relate
Home
midnightuniv

ที่เห็นและเป็นอยู่การแพทย์
เสื่อมยศและเสื่อมเกียรติไป
มากแล้ว สาเหตุเพราะเป็นระบบ
ที่เปิดโอกาสให้มือใครยาวสาวได้
สาวเอาทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปการแพทย์มีแต่จะเสื่อมลง ถูกเหยียดหยามและรอการถูกฟ้องทุกครั้งที่มีโอกาส รวมทั้งถูกหาเรื่องฟ้อง ทั้งๆที่ยังมีแพทย์ที่ดีและมีจริยธรรมอีกมากมายกระจายอยู่ทั่วประเทศ

ลูกหลานที่จะเรียนหมอรุ่นต่อๆไปในอนาคตก็จะจบออกมาในฐานะ "อาชีพ" ทำมาหากินอาชีพหนึ่ง มิใช่ "วิชาชีพ" ที่ทรงเกียรติอีกต่อไป

ภาพประกอบดัดแปลง 1. ภาพคนป่วย ผลงานจิตรกรรมฝาผนังของ Barry McGee เขียนอยู่ในพิพิธภัณฑ์ Hammer Museum, Los Angeles เทคนิค Mixed media 2. ภาพฉากหลัง นำมาจากนิตยสาร Time (ใช้ประกอบบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อบริการวิชาการให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างอิสระ โดยไม่มีการค้ากำไร)
บทความนี้ยาวประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

ทุกวันนี้ประชาชนไร้ความสามารถที่จะดูแลตนเองอย่างสิ้นเชิงเพราะการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์เฉพาะทางที่ผูกขาดทั้งอำนาจและวิชาการ ริบเอาภูมิปัญญาในการดูแลตนเองของคนรุ่นปู่ย่าตายายไปเสียทั้งหมด ประชาชนถูกขู่ให้หวาดกลัวโรคต่างๆนานาและรีบไปหาหมอมากจนเกินไป ทั้งนี้คำขู่เหล่านั้นมักจะปรากฏในรูปของคอลัมน์ทางการแพทย์ที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ วารสาร และรายการโทรทัศน์ หรือมาในรูปการโฆษณาโดยตรง (Qoatation) : 242845 The Midnight University

เรื่องที่ถูกต้องเรื่องที่สอง ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้ามิใช่การสังคมสงเคราะห์
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เกียรติและเคารพความเป็นมนุษย์มากกว่าระบบใดๆที่เคยมีมา ก่อนหน้านี้ระบบสาธารณสุขเกื้อกูลคนยากไร้ด้วยบัตรสงเคราะห์ซึ่งชัดเจนว่าผู้ป่วยจะได้รับบริการชั้นสอง ถึงแม้จะมีบัตรสุขภาพราคาห้าร้อยบาทก็ยังคงเป็นการสังคมสงเคราะห์เชิงให้ทานที่รู้ๆกันอยู่ว่าผู้ป่วยจะได้รับบริการชั้นสอง

แม้กระทั่งผู้ป่วยประกันสังคมที่คิดว่าตนเองได้รับบริการที่ดีมากอยู่แล้วจนกระทั่งกลัวมากที่จะถูกใครรวมกองทุนไปก็ยังหนีไม่พ้นบริการชั้นสอง

สาเหตุหลักเพราะบริการชั้นหนึ่งนั้นมีไว้สำหรับ คนรวย ข้าราชการและบุตรหลานบุคลากรทางสาธารณสุข เรื่องทำนองนี้มีปรากฏให้เห็นอย่างเงียบเชียบทั่วไป แม้ว่าจะมีความพยายามลดความแตกต่างระหว่างชนชั้นนี้ลงบ้าง เช่น การประกาศใช้บัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อให้โรงพยาบาลของรัฐมีบัญชียาเพียงหนึ่งเดียวสำหรับคนทุกชั้น แต่ก็เป็นเพียงประเด็นเรื่องยาแค่เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น

การเจาะเลือด การเอ็กซเรย์ การตรวจพิเศษ การผ่าตัด การรักษาด้วยเครื่องมือและวิธีพิเศษ ยังคงดีที่สุดสำหรับคนรวย ข้าราชการและบุตรหลานบุคลากรในระบบเสมอมา ไม่ดีหรอกครับ สังคมแบบนี้ไม่ดีจริงๆ

เรื่องที่ถูกต้องเรื่องที่สามคือความเจ็บป่วยเป็นเรื่องระดับสังคม มิใช่เรื่องส่วนตัว
ส่วนใหญ่ของความเจ็บป่วยเกิดจากสังคมที่พิการ ไม่ว่าจะเป็นโรคเอดส์ และอื่นๆ และอื่นๆ ไปจนถึงโรคเครียดและโรคพิษสุราเรื้อรัง และอื่นๆ และอื่นๆ

-ผู้ป่วยเอดส์มิได้ทำตนเอง เขาถูกสังคมล่อลวงให้ติดกับ
-ผู้ป่วยโรคเครียดมิได้ทำตนเอง เขาเครียดเพราะทำงานปากกัดตีนถีบเพื่อเอาเงินมาซื้อของไม่จำเป็นที่สังคมโฆษณาให้หลงเชื่ออย่างบ้าเลือด
-ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรังก็มิได้ทำตนเอง โรคนี้เกิดจากพันธุกรรมบวกกับสังคมสุราเสรีที่เป็นอยู่คู่ฟุตบอลโลกและวันจันทร์ถึงวันอาทิตย์นั่นแหละครับ

ผู้ป่วยจึงควรได้รับการดูแลโดยไม่มีข้อแม้ ไม่มีเหตุผลเลยที่ใครคนหนึ่งต้องทำงานแทบตายกว่าจะมีเงินเก็บแล้วจู่ๆเงินก็หายไปหมดเพราะเจ็บป่วย เป็นหวัดก็สองร้อย เยอะนะครับ เป็นมะเร็งก็สองแสน เยอะมากนะครับ

ที่ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ทราบคือสองร้อยและสองแสนหมดไปกับบริการที่เกินจำเป็นเสียมาก แพทย์จำนวนมากอยากจะคิดค่ายาถูกๆก็ทำไม่ได้เพราะผู้ป่วยจะไม่เชื่อถือ หาว่าเป็นยาไม่ดีเสียอีก

เรื่องที่ถูกต้องเรื่องที่สี่ คือระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะผลักดันให้ระบบที่มุ่งเน้นการรักษาลดความสำคัญลง ระบบที่มุ่งเน้นการป้องกันโรคจะค่อยๆเจริญเติบโตมาแทนที่
ทุกวันนี้ประชาชนไร้ความสามารถที่จะดูแลตนเองอย่างสิ้นเชิงเพราะการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์เฉพาะทางที่ผูกขาดทั้งอำนาจและวิชาการ ริบเอาภูมิปัญญาในการดูแลตนเองของคนรุ่นปู่ย่าตายายไปเสียทั้งหมด ประชาชนถูกขู่ให้หวาดกลัวโรคต่างๆนานาและรีบไปหาหมอมากจนเกินไป ทั้งนี้คำขู่เหล่านั้นมักจะปรากฏในรูปของคอลัมน์ทางการแพทย์ที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ วารสาร และรายการโทรทัศน์ หรือมาในรูปการโฆษณาโดยตรง

สิว ผมร่วง ความจำเสื่อม สมรรถภาพทางเพศเสื่อม นอนไม่หลับ วัยทอง กระดูกพรุน โรคอ้วน โรคซึมเศร้า แม้กระทั่ง EQ และพฤติกรรมเด็ก ล้วนถูกแปรรูปเป็นโรคที่ซื้อขายกันได้ทั้งสิ้น(ขอย้ำไว้ด้วยว่า ที่เอ่ยตัวอย่างมาทั้งหมดนี้เป็นโรคจริงๆ และมีผู้ป่วยบางรายที่จำเป็นต้องรับการรักษา แต่ที่เห็นและเป็นอยู่มีการสร้างกระแสโรคมากจนเกินไป)

ด้วยระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะทำให้การซื้อขายโรคกระทำได้ยากขึ้นและไม่คุ้มทุนที่จะสร้างกระแส ความรู้ทางการแพทย์ที่เหมาะสมจึงจะคืนสู่ภาคประชาชนอีกครั้งหนึ่ง

เรื่องที่ถูกต้องเรื่องที่ห้า คือระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะทำให้ระบบข้อมูลด้านสุขภาพโปร่งใสและตรวจสอบได้
ที่เห็นและเป็นอยู่แทบไม่มีข้อมูลทางการแพทย์อะไรที่เชื่อถือได้และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเอาเสียเลย สาเหตุเพราะการบริหารจัดการที่แยกส่วน ไม่ส่งข้อมูลให้กัน ส่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กัน เก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกัน และปกปิดข้อมูลซึ่งกันและกัน

ส่วนภาคประชาชนก็ไม่ทราบเลยว่าข้อมูลการเจ็บป่วยของตนเองที่ครบถ้วนควรจะประกอบด้วยอะไร รวมทั้งไม่ทราบว่าโรงพยาบาลแต่ละแห่งในท้องถิ่นของตนสร้างตึกใหม่ทำไม ซื้อเครื่องมือใหม่ทำไม ซื้อเทคโนโลยี่ใหม่ทำไม ตอบสนองความต้องการของใคร

ข้อมูลครบถ้วน ไม่ซ้ำซ้อน และถูกต้องสามารถเกิดขึ้นได้ภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพราะระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะไปไม่รอดแน่นอนถ้าเคลียร์ข้อมูลไม่ออก ภาคประชาชนจึงควรเอาใจช่วยให้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้สามารถก่อตั้งระบบสารสนเทศทางสาธารณสุขที่เชื่อมโยงทุกกองทุนเข้าด้วยกันให้สำเร็จ

เรื่องที่ถูกต้องเรื่องที่หก คือระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะทำให้การแพทย์เจริญขึ้นและได้รับเกียรติกลับคืนมา
ที่เห็นและเป็นอยู่การแพทย์เสื่อมยศและเสื่อมเกียรติไปมากแล้ว สาเหตุเพราะเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้มือใครยาวสาวได้สาวเอาทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปการแพทย์มีแต่จะเสื่อมลง ถูกเหยียดหยามและรอการถูกฟ้องทุกครั้งที่มีโอกาส รวมทั้งถูกหาเรื่องฟ้อง ทั้งๆที่ยังมีแพทย์ที่ดีและมีจริยธรรมอีกมากมายกระจายอยู่ทั่วประเทศ

ลูกหลานที่จะเรียนหมอรุ่นต่อๆไปในอนาคตก็จะจบออกมาในฐานะ "อาชีพ" ทำมาหากินอาชีพหนึ่ง มิใช่ "วิชาชีพ" ที่ทรงเกียรติอีกต่อไป

ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ตั้งมั่นจึงจะช่วยให้เกิดการกระจายคน กระจายยา และกระจายเครื่องมืออย่างเป็นธรรม พอเพียงสำหรับประชาชนทุกพื้นที่ พอเพียงสำหรับแพทย์ที่จะให้บริการอย่างพอเพียง มิเกินเลยเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ในเวลาปัจจุบันมีปัญหามากมายเกิดขึ้นในโครงการสามสิบบาทจริง แต่ตัวระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นระบบที่ดี ควรช่วยกันแก้ไขปรับปรุง ประชาชนและลูกหลานจะเป็นผู้ได้ประโยชน์ในบั้นปลาย


ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตอนที่ 4 พรบ.หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ข้อขัดข้องสำหรับประชาชนที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นก่อนที่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะเริ่มต้น ปัญหาการไม่ส่งต่อผู้ป่วยก็ดี ปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยโดยไม่จำเป็นก็ดี เป็นเรื่องขัดแย้งระหว่างโรงพยาบาลจังหวัดกับโรงพยาบาลชุมชนเสมอมา ตั้งแต่ก่อนที่จะมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ปัญหาทางจริยธรรมยิ่งเห็นได้ชัดว่ามีมานานอยู่ก่อนแล้ว

การแย้งระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า จึงควรหาเหตุแย้งให้ตรงประเด็นว่า "อะไรคือสิ่งที่ระบบนี้ก่อขึ้นมาใหม่" ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าสร้างผลเสียให้ผู้ป่วยอย่างไร แยกให้เห็นเด่นชัดว่าผลเสียเหล่านั้น มาจากระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยตรง มิได้มาจากระบบบริการสาธารณสุขที่มีอยู่เดิม

ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าภายใต้แคมเปญสามสิบบาทสร้างผลเสียให้ผู้ป่วยอย่างไร แยกให้เห็นเด่นชัดว่าผลเสียเหล่านั้นมาจากแคมเปญสามสิบบาทโดยเฉพาะ มิได้มาจากระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยรวม

แม้ว่าระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะเอาเงินเป็นตัวตั้ง แต่แพทย์ที่มีจริยธรรมมั่นคงย่อมมิให้เงินมากำหนดคุณภาพการรักษา แม้แต่ผู้บริหารโรงพยาบาลก็มิสามารถสั่นคลอนจริยธรรมแพทย์ได้

ประเด็นนี้ยิ่งสนับสนุนให้องค์กรแพทย์ของโรงพยาบาลต่างๆควรมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพตามระบบ HA เพื่อธำรงไว้ซึ่งมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมให้มั่นคง ไม่ว่าใครจะมาเป็นผู้บริหารในอนาคตก็ตาม จะเป็นแพทย์หรือมิใช่แพทย์ จะเป็น อบต.หรือ ผู้อำนวยการที่มิใช่แพทย์ ล้วนไม่สามารถสั่นคลอนจริยธรรมขององค์กรแพทย์ได้

แต่นั่นหมายความว่าองค์กรแพทย์ต้องทำหน้าที่กำกับมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมจริงๆ มิใช่แฝงเร้นด้วยผลประโยชน์ส่วนตนทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ไม่เพียงมิให้ผู้บริหารหรือระบบการเงินใดๆมาสั่นคลอนจริยธรรมได้ แต่ต้องมิให้บริษัทยาหรือบริษัทขายเครื่องมือแพทย์ใดๆมาสั่นคลอนด้วย

การต่อสู้กับระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าและ พรบ.หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทุกวันนี้ขาดน้ำหนัก เพราะสังคมมิให้ความนับถือแพทย์อีกต่อไปแล้ว หากจะสู้ให้ชนะต้องเรียกความเคารพ ความนับถือ ความไว้เนื้อเชื่อใจกลับคืนมาให้ได้เสียก่อน ด้วยการให้และคืนอำนาจในการดูแลความเจ็บป่วยของตนเองให้กับผู้ป่วย

กรณีผู้ป่วยตรวจที่โรงพยาบาล รัฐแห่งหนึ่งแล้วแพทย์ให้การรักษาตามอาการด้วยยาสามซอง เมื่อผู้ป่วยรายนั้นไปตรวจซ้ำที่โรงพยาบาลเอกชนอีกครั้ง ได้รับการผ่าตัดด้วยวงเงินสามหมื่นบาท ความเหลื่อมล้ำของมาตรฐานมากมายขนาดนี้จะลดลงได้เมื่อคืนอำนาจการตรวจสอบให้ประชาชนไปเสีย วงการแพทย์ทั้งหมดจึงจะได้รับความเชื่อถือกลับคืนมา

กรณีผู้ป่วยพิการจากการรักษาที่ผิดพลาด แล้วได้รับเงินชดเชยในทันทีนั้น จะช่วยให้ผู้ป่วยคลายความโกรธ ความคับแค้น ความเศร้าโศกเสียใจลงบ้างในขั้นต้น และเมื่อสอบสวนแล้วหากไม่พบว่ามีใครทำอะไรผิด เรื่องมักจะยุติได้ง่าย แต่หากสอบสวนแล้วพบว่าใครประมาทเลินเล่อ ผู้ประมาทเลินเล่อนั้นก็สมควรถูกทำโทษ ความตรงไปตรงมากับผู้ป่วยเช่นนี้มีแต่จะได้รับการยอมรับ แสดงถึงความเที่ยงธรรมและความเป็นบัณฑิต

แต่ที่แท้แล้ว ความผิดพลาดใดๆที่เกิดกับผู้ป่วยนั้น น้อยครั้งมากที่จะเกิดจากแพทย์ อันที่จริงแล้วความผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดจาก "ความหละหลวมของระบบบริการ" และมีบุคลากรหลายวิชาชีพในหลายๆขั้นตอนช่วยกันผสมโรงเสมอ ไม่ควรที่วงการแพทย์จะร้อนตัวไปก่อน

เพราะความผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดจากความหละหลวมของระบบบริการและมีบุคลากรหลายวิชาชีพในหลายๆขั้นตอนมีส่วนร่วมในความผิดพลาดนั้นเอง จึงไม่น่าหนักใจอะไรที่จะให้กรรมการควบคุมคุณภาพมีสัดส่วนของบุคลากรที่มิใช่แพทย์สูงกว่าปกติ เพราะบุคลากรเหล่านั้นต้องมีหน้าที่ค้นหาความหละหลวมของระบบบริการ มิใช่หาความผิดของแพทย์ หากบุคลากรเหล่านั้นไม่รู้หน้าที่ของตนเอง ก็สมควรสลับสับเปลี่ยนหาคนที่รู้ว่าควรทำอะไรมาทำหน้าที่แทน

พรบ.หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามุ่งให้สังคมเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข มิใช่ให้คนรวยเฉลี่ยให้คนจน ประเด็นมิใช่ให้คนรวยออกเงิน เพราะคนจนไม่อยากได้เงินของใคร เราเพียงอยากได้การกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม เพราะที่เห็นและเป็นอยู่คนรวยสามารถใช้เงินสามแสนซื้อการตรวจรักษาที่เกินจำเป็น มากเกินไปและบ่อยครั้งเกินไป จนกระทั่งไม่มีทรัพยากรเหลือมาให้ตรวจรักษาลูกจ้างประกันสังคมหรือคนจน รวมทั้งพวกคนจนเฉียบพลันจากการเจ็บป่วย

ความเป็นจริงในปัจจุบันคือมีคนจำนวนน้อยเกินไปที่เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างสะดวกและมีคุณภาพ คนส่วนใหญ่เข้าถึงแพทย์ได้ยากมาก อีกทั้งไม่มีหลักประกันอะไรว่าบริการที่ได้รับนั้นเชื่อถือได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยหนึ่งราย เทียวไปมาหาหมอมากกว่าหนึ่งคนในการเจ็บป่วยแต่ละครั้งเสมอๆ ได้ยาใหม่ก็ทิ้งยาเก่า นำมาซึ่งความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากมาย

การแพทย์มิใช่สินค้าที่จะปล่อยเสรีให้ผู้รับบริการเลือกกินเลือกขว้างได้ตามใจชอบ อีกทั้งไม่สามารถปล่อยให้โรงพยาบาลเลือกขายเลือกหยิบยื่นให้ผู้ป่วยตามเศรษฐานะได้เช่นกัน รัฐที่ดีจึงต้องสร้างระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ประชาชนทุกคน โดยไม่เลือกดีมีจน และ ไม่เลือกชั้นวรรณะ


ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตอนที่ 5 งบประมาณ

มีผู้ใหญ่ที่น่านับถือท่านหนึ่งพูดแล้วว่าระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเรื่องที่ต้องทำทันที มีปัญหาแล้วจึงแก้ จะรอให้พร้อมก็ไม่มีวันได้ทำ มีนักเศรษฐศาสตร์ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการแพทย์มีลักษณะผูกขาดเทคโนโลยี่และข้อมูลเอาไว้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะรอหาข้อมูลครบถ้วนและเป็นไปไม่ได้ที่จะเปิดเสรีการค้าเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

ขณะนี้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเกิดขึ้นแล้ว และมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วด้วยปัญหาของการประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ที่การจัดสรรงบประมาณ ก็ควรแก้ไขที่วิธีจัดสรรงบประมาณ หากงบประมาณไม่พอก็ควรทำให้พอ หากการแบ่งเงินระหว่างโรงพยาบาลต่างๆไม่เรียบร้อย ก็ควรหาทางแก้ไขทำให้เรียบร้อย ไม่ควรกล่าวร้ายระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าแบบเหมา หรือเสนอวิธีแก้ไขที่ไม่ตรงประเด็น

งบประมาณไม่พอก็เพิ่มด้วยการจัดเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า กรณีนี้มีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองทั้งนายแพทย์ นักเศรษฐศาสตร์ และวุฒิสมาชิกเคยเสนอแล้ว แต่ไม่เห็นมีใครรับไปทำ เดาว่าคงทำได้ยาก จนไม่มีใครกล้าคิด อย่างไรก็ตามงบประมาณไม่พอเป็นเพียงภาพรวม ซึ่งหมายความว่าหากโรงพยาบาลทั้งหมดทั้งภาครัฐและเอกชนยังใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่ายเช่นในอดีตที่ผ่านมา เพิ่มให้อย่างไรก็ไม่มีวันพอ ตรงนี้ยืนยันได้จากสถิติย้อนหลังสิบปี

อีกประการหนึ่งคือ เมื่อผู้ป่วยที่เข้าไม่ถึงบริการเริ่มเข้าถึง งบประมาณย่อมไม่เพียงพอเป็นของธรรมดา โดยเฉพาะเมื่อยังไม่มีการประหยัดรายจ่ายอย่างเอาจริงเอาจังทั้งหมวดสิ่งก่อสร้าง ครุภัณฑ์ ทั้งการแพทย์และการจัดการ รวมทั้งบุคลากร

การจัดสรรงบประมาณระหว่างโรงพยาบาลต่างๆไม่เรียบร้อยก็ควรหาทางแก้ไขที่เกณฑ์การจัดสรร ซึ่งเรื่องนี้ทราบว่ากระทรวงสาธารณสุขก็มิได้นิ่งนอนใจ พยายามหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย โดยสร้างหลักประกันเงินเดือนยังคงอยู่ให้กับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายอีกด้วย ซึ่งควรดีใจว่าท่านกรุณามากแล้วเมื่อเทียบกับการว่างงานแอบแฝงที่มีอยู่

เรื่องเกณฑ์การจัดสรรเงินนี้มีทั้งนายแพทย์ นักหนังสือพิมพ์ และนักเศรษฐศาสตร์เสนอความเห็นกันมากแล้ว ไม่น่าจะยากเกินกำลังและสติปัญญาของทุกฝ่าย

ที่บอกว่าไม่ควรกล่าวร้ายระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั้งระบบ เช่นว่า ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นการแพทย์สังคมนิยม ตรงนี้มิใช่ไม่เชื่อแต่ยังไม่เข้าใจ ผู้เขียนอยากให้มีอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญด้านการแพทย์คอมมิวนิสต์ หรือสังคมนิยมออกมาช่วยอธิบายให้สาธารณชนรู้จักการแพทย์คอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยมจริงๆสักครั้ง

- ว่า ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้มีมาตรฐานทางการแพทย์ตกต่ำ ซึ่งในความเป็นจริงมาตรฐานทางการแพทย์ก็ต่ำสำหรับคนส่วนใหญ่อยู่ก่อนแล้ว
- ว่าระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้มีจริยธรรมการแพทย์เสื่อมทรามลง ซึ่งอันที่จริงจริยธรรมทางการแพทย์ก็เสื่อมทรามอยู่ก่อนแล้วเช่นเดียวกัน
- ว่าระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้การส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลชุมชนกับโรงพยาบาลจังหวัดมีปัญหา อันนี้จริง แต่มิใช่ว่าระบบเดิมจะไม่มีปัญหา

ระบบเดิมมีปัญหาเพราะส่งกันมากเกินไปจนผู้ป่วยโรงพยาบาลขนาดใหญ่ล้นเกิน เห็นบ่นกันว่าวันๆต้องตรวจแต่โรคง่ายๆไม่มีเวลาได้ตรวจโรคยากๆที่ต้องใช้ความสามารถของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

ระบบใหม่มีปัญหาเพราะส่งกันน้อยเกินไปจนผู้ป่วยไม่ได้รับบริการจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ หรือส่งต่อแต่ผู้ป่วยที่มีรายจ่ายสูงมากเพื่อเป็นการปัดภาระ

ปัญหาอยู่ที่ไหนก็ควรแก้ให้ถูกเรื่องนะครับ กรณีการส่งต่อเกิดจากความไม่ลงตัวของการจัดสรรงบประมาณลงท้องถิ่น มิได้เกิดจากเงินไม่พอแต่อย่างใด หากจะมีปัญหาทางจริยธรรมจากการส่งต่อก็คงเกิดจากตัวบุคคล เช่น แพทย์กังวลเรื่องความอยู่รอดของโรงพยาบาลตนเองมากกว่าชีวิตผู้ป่วย เป็นต้น สมควรที่องค์กรวิชาชีพจะตักเตือนหรือลงโทษมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป

เพราะกรณีนี้จะต่างจากคลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชนปฏิเสธผู้ป่วยเพราะไม่มีค่ารักษาที่ตรงไหน หากโรงพยาบาลของรัฐกระทำแบบเดียวกัน ก็สมควรถูกจัดการด้วยมาตรการเดียวกัน หากจะมีปัญหาเรื่องเงินไม่พอบริหารโรงพยาบาลตนเองก็ควรเปลี่ยนยุทธศาสตร์การบริหารให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

เช่น เดิมพิจารณาสร้างตึกใหม่และซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ตามความต้องการของแพทย์และจำนวนผู้ป่วยในท้องถิ่น ก็คงถึงเวลาต้องศึกษาหาความรู้เสียทีว่าการพิจารณาด้วยข้อมูลเพียงเท่านั้นเรียกว่าเป็นการพิจารณาที่รอบด้านแล้วหรือไม่

เช่น เดิมมีบุคลากรที่ว่างงานแอบแฝงจำนวนมาก ทั้งในตอนเช้าและชัดเจนมากขึ้นในตอนบ่าย ก็คงถึงเวลาคำนวณความเหมาะสมของจำนวนบุคลากรอย่างจริงจัง มิใช่ลูบหน้าปะจมูกกันเหมือนที่ผ่านมา

หากเงินโรงพยาบาลจะไม่พอจริงๆ ก็ควรตัดรายจ่ายด้านอื่นลงมิใช่ไปตัดคุณภาพการรักษาผู้ป่วยลง ไม่เข้าใจจริงๆว่าใครบอกใครสอนว่าให้ตัดคุณภาพลง ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าคงมิใช่สาเหตุของการตัดคุณภาพการรักษาผู้ป่วยแน่นอน มิใช่มนุษย์หรอกหรือที่ "สั่ง" ตัดหรือ "ยอมรับคำสั่ง" ตัดคุณภาพการรักษา

การเสนอวิธีแก้ไขที่จุดอื่นเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จะทำให้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่ก้าวหน้า เพราะเป็นการเบี่ยงเบนประเด็น ประเด็นถูกเบี่ยงปัญหาที่แท้ก็ไม่ถูกแก้ เช่น เสนอให้กลับไปปรับปรุงบัตรผู้มีรายได้น้อย หรือบัตรสุขภาพห้าร้อยบาท ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการสังคมสงเคราะห์ แต่ระบบประกันสุขภาพมิใช่การสังคมสงเคราะห์ การสังคมสงเคราะห์ที่มีอยู่เดิมก็มิใช่ว่าเหมาะสม เป็นการให้การรักษามาตรฐานต่ำอย่างเห็นได้ชัด เปิดโอกาสให้ทรัพยากรเทไปที่การแพทย์มาตรฐานสูงสำหรับคนส่วนน้อย

เช่น เสนอให้คนที่พอจะมีเงินได้ออกเงินเอง ซึ่งมิใช่ปรัชญาของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ต้องการให้เกิดการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรมสำหรับประชาชนทุกคนในทุกพื้นที่ มิได้ต้องการให้ใครมาออกมากออกน้อย ตรงนี้ไม่เห็นมีประเด็น

สามสิบบาทเป็นของพรรคการเมือง แต่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้ามิใช่ มาช่วยกันโจมตีพรรคการเมืองได้เลย แต่ควรช่วยกันส่งเสริมระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้เขียนเห็นด้วยว่างบประมาณมีปัญหา การจัดสรรเงินมีปัญหา การส่งต่อผู้ป่วยมีปัญหา แต่เรื่องมาตรฐานและจริยธรรมที่ตกต่ำลงไม่เกี่ยว เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนแล้ว องค์กรวิชาชีพและอาจารย์มหาวิทยาลัยน่าจะเข้ามาดูแลให้ตรงประเด็นได้

กลุ่มแพทย์และลูกจ้างประกันสังคม สามารถช่วยเหลือหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้าให้เข้มแข็งได้ด้วยการเคลียร์สารสนเทศทางสาธารณสุขให้กระจ่างโดยเร็ว เมื่อระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้มแข็ง การกระจายทรัพยากรเป็นธรรม แพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นน้องๆจะมีความมั่นคงทั้งหน้าที่การงานมากกว่าปัจจุบัน ซึ่งต้องแข่งขันกับแพทย์รุ่นพ่อรุ่นพี่อย่างมาก ส่วนลูกจ้างประกันสังคมก็จะได้รับบริการด้วยมาตรฐานทางการแพทย์สูงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันด้วย

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)

 

 

ระบบต่อต้านทุนนิยมทางการแพทย์
ระบบที่จะนำเอาเกียรติของแพทย์กลับคืนมา

ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตอนที่ 3 ข้อดีหกข้อ
นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

เรื่องที่ถูกต้องเรื่องที่หนึ่ง คือการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะช่วยให้เกิดการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขได้ในที่สุด อาจจะใช้เวลาอีกหลายปีแต่ก็จะสำเร็จสักวันหนึ่ง

ที่เห็นและเป็นอยู่ทุกวันนี้คือใครจ่ายมากได้มาก คนรวยเข้าโรงพยาบาลเอกชนได้ทุกอย่างที่ต้องการโดยละเมิดมาตรฐานและจริยธรรมวิชาชีพของผู้ให้บริการ สามารถซื้อยาและการตรวจพิเศษเกินความจำเป็น พฤติกรรมเช่นนี้ทำให้ทรัพยากรทางการแพทย์ไหลไปกระจุกตัวอยู่ที่เดียว

ขณะเดียวกันภาคประชาชนที่ยากจนเข้าถึงบริการพื้นฐานได้ยากมาก เพียงแค่การเดินทางออกจากหมู่บ้านไปเข้าคิวรอที่โรงพยาบาลกว่าจะพบหมอได้เอ็กซเรย์และกลับบ้านก็เลือดตาแทบกระเด็น แต่ที่เสียหายร้ายแรงยิ่งกว่าคือประชาชนที่ยากจนก็อยากได้ยาและการตรวจพิเศษแบบที่คนรวยๆเขาได้บ้าง โดยไม่รู้ว่าของเหล่านั้นเกินจำเป็นเสียเป็นส่วนใหญ่

บทความนี้ เคยพิมพ์เผยแพร่แล้วในหนังสือพิมพ์บางฉบับ