บทความปรัชญาชิ้นนี้ยาวประมาณ 14 หน้ากระดาษ A4
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
ภาพของหญิงเปลือยหลายคนในภาพเป็นเรื่องของความสำราญทางเพศ หรือเนื่องมาจากการสิ้นเนื้อประดาตัวกันแน่(ภาพผู้หญิงที่อยู่ตรงกลาง เป็นภาพของคนที่กำลังกำลังอาบแดด หรือตายแล้ว)? ขณะที่ภาพผู้หญิงซึ่งอยู่ตรงมุมล่างซ้ายชิดขอบ นิ้วที่ทำท่าชี้ของเธอมันพุ่งไปสู่เกลียวคลื่นอย่างแน่นอน ซึ่งกำลังโหมกระหน่ำคล้ายจะข้ามรูปคนที่หันหน้ามาในภาพ ถัดไปจากตรงนั้นวนมาทางซ้ายยังคนสองคนซึ่งกำลังคลานอยู่ และสุดภาพที่มองเห็น(ศีรษะของชายคนหนึ่งที่เรามองเห็นเพียงแค่ครึ่งเดียว) ทั้งหมดที่เราพิจารณากันโดยถี่ถ้วนงานจิตรกรรมของ Fischl ไม่มีการแบ่งแยกที่แน่ชัดระหว่าง"ภาพที่ปรากฎ"กับ"ความเป็นจริง"ที่สร้างขึ้นมา - ทุกๆแนวของการสืบค้นเรื่องราวภายในรูปจะถูกตีตกไปโดยความเป็นไปได้อีกอันหนึ่งตลอดเวลา
งานจิตรกรรมทั้งสองชิ้นนี้เสนอแง่มมุมที่ขัดแย้งกันอันหนึ่งระหว่างความมั่นใจ, ภาพแรกเป็นการยืนยันและการทำลายความเชื่อเก่าๆของลัทธิสมัยใหม่ ส่วนภาพหลังคล้ายกับลัทธิหลังสมัยใหม่ที่ได้ก่อตัวขึ้นมาบนความไม่แน่ใจ. มันจะต้องมีเหตุผลอยู่จำนวนหนึ่งสำหรับการเปลี่ยนแปลงอันนี้ หนึ่งในเหตุผลนั้นก็คือ ศิลปะยอมตามความจำเป็นอันหนึ่งที่จะเคลื่อนย้ายไป และด้วยเหตุนี้ ลัทธิสมัยใหม่จึงถูกทิ้งไปอยู่เบื้องหลังเพราะบางสิ่งที่ใหม่กว่าจะต้องถูกสร้างขึ้น
ผลกระทบโดยตั้งใจของลัทธิสมัยใหม่(modernism) แน่นอน มันค่อยๆลดลงมาตลอดเวลา: ในปี ค.ศ.1917 Marcel Duchamp ทำให้ห้องแสดงภาพงานศิลปะแห่งหนึ่งรู้สึกตกอกตกใจ โดยการนำเอาโถปัสสาวะของผู้ชายมาแสดงในนิทรรศการศิลปะภายใต้ชื่องานครั้งนั้นว่า"น้ำพุ"(Fountain) แต่เมื่อมันถูกนำออกแสดงอีกครั้งในนิทรรศการของกลุ่ม Dada ในช่วงปลายทศวรรษ 1950s ดังที่ Hans Richter กล่าวเอาไว้ใน Dada: Art and Aniti-Art(1965)ว่า "ไม่มีร่องรอยของความตกอกตกใจแบบเดิมๆหลงเหลืออยู่อีกเลย" และลัทธิหลังสมัยใหม่(postmodernism)ได้ขยายกลายเป็นขนบธรรมเนียมหรือความเคยชินไปแล้วในวัฒนธรรมเชิงตรงข้าม(the counter-culture)ของทศวรรษที่ 1960s
ในทุกวันนี้ พวกเราต่างหลงลืมว่าในช่วงปี ค.ศ.1920 ผู้คนจำนวนมากได้ตกอยู่ในความหวาดกลัวเกี่ยวกับอนาคตที่ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งชนชั้นกรรมาชีพอาจจะเข้ามาแทนที่อำนาจทางการเมือง(การปฏิวัติรัสเซียเพียงช่วยบรรเทาความหวาดกลัวนี้ได้เล็กน้อยเท่านั้น). ลัทธิสมัยใหม่ได้ถูกนำไปโยงกับความห่วงกังวลนี้อย่างแน่นหนา.
ผ่านมาถึงทศวรรษที่ 1960s มันกลายเป็นความกระจ่างชัดขึ้น สำหรับการที่มวลชนทั้งหลายรู้สึกเป็นสุขที่ได้ถูกจัดให้อยู่ในสถาบันต่างๆที่มีอยู่ และลักษณะที่ประนีประนอมกว่า อันเป็นความสงบที่น่าคลางแคลงใจอยู่ไม่น้อยที่ได้ปรากฏตัวขึ้น ซึ่งลัทธิหลังสมัยใหม่ได้รื้อฟื้นความคิดและอิทธิพลต่างๆจากลัทธิสมัยใหม่ แต่อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ทำให้เกิดความลำบากใจใดๆที่จริงจังขึ้นมา
ลัทธิหลังสมัยใหม่ (Postmodernism
: Jencks)
วงการหลักๆ 3 วงการที่ได้นำเอาศัพท์คำว่า"ลัทธิหลังสมัยใหม่"(postmodernism)มาใช้
ซึ่งเราสามารถที่จะแยกแยะได้ดังนี้คือ,
หนึ่ง, ลัทธิหลังสมัยใหม่ได้แพร่หลายอยู่ในวงการทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์และสถาปัตยกรรม,
สอง, มันกระจายอยู่ในวงการทางปรัชญาและได้มีการถกเถียงกันในเรื่องของความจริง(truth) รวมถึงรากฐานของมัน และ
สาม, มันแพร่กระจายอยู่ในเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับวัฒนธรรมร่วมสมัย
สำหรับคำว่า"ลัทธิหลังสมัยใหม่" ปรากฎตัวขึ้นในช่วงระหว่างปลายทศวรรษที่ 1960s เพื่ออ้างอิงถึงนวนนิยายหลายเรื่องของ John Barth และในการร่ายรำของ Merce Cunningham. การแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางในระยะแรกๆของมันมาจาก Charles Jencks ในหนังสือเล่มหนึ่งของชื่อ The Language of Post-Modern Architecture(1975)
Jencks ได้ให้ลักษณะเฉพาะพิเศษมากๆอันหนึ่ง และนำเสนอความเกี่ยวข้องกับความคิดลัทธิหลังสมัยใหม่. อุดมคติของลัทธิสมัยใหม่(modernism)ในด้านสถาปัตยกรรมเป็นเรื่องเกี่ยวกับ"เมือง", "การทำให้เป็นสากล"และ"การทำให้เป็นนานาชาติ"; "ปฏิเสธเรื่องของการตกแต่ง", มันทำให้เกิด"การเน้นประโยชน์หน้าที่ใช้สอย"ของวัสดุร่วมสมัยต่างๆ และมีการนำเอากระจกรูปร่างเรขาคณิตและกล่องเหล็กมาใช้, มีลักษณะซึ่งเป็นเนื้อเดียวกันในทุกๆทาง, ซึ่งเส้นขอบเขตต่างๆสามารถได้รับการอนุมานได้ ระหว่างส่วนต่างๆกับทั้งหมด และจากส่วนทั้งหมดกับส่วนย่อยๆ
ลัทธิหลังสมัยใหม่(postmodernism)สำหรับ Jencks เกิดขึ้นมาเมื่อลัทธิสมัยใหม่(modernism)ได้ถูกนำไปเชื่อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ, ซึ่งได้ก่อให้เกิดการผสมผสานกันในลักษณะที่หลากหลาย(pluralistic admixture)ของสไตล์ โดยที่มันเป็นความรู้สึกที่แตกต่างกันอันหนึ่งเกี่ยวกับพื้นที่ว่าง
พื้นที่ว่างหลังสมัยใหม่มีลักษณะเฉพาะเชิงประวัติศาสตร์, มันมีรากอยู่ในขนบจารีต, ไร้ขอบเขตหรือคลุมเครือในเรื่องของเขตแดนและ"ไม่มีเหตุผล"(irrational) หรือมีการเปลี่ยนรูปไปในความสัมพันธ์ของมันกับส่วนต่างๆ จนกระทั่งรวมไปถึงส่วนทั้งหมด. เส้นขอบเขตต่างๆ บ่อยครั้ง ทิ้งความไม่ชัดเจนเอาไว้ พื้นที่ว่างได้ขยายตัวออกไปอย่างไม่สิ้นสุดโดยไม่มีอาณาเขตที่เด่นชัด
อันนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ขณะที่อาคารสิ่งก่อสร้างยุคสมัยใหม่ได้ถูกออกแบบขึ้นมาจากรายรอบศูนย์กลาง, ส่วนหลังสมัยใหม่นั้นกลับเป็นไปเท่าๆกัน - ผ่านการใช้เส้นทแยง, ระดับ, รูปทรงต่างๆที่มีลักษณะครึ่งๆ และการตัดทอนปรับปรุง - มีลักษณะสมดุลแบบอสมมาตรและกระจายจากศูนย์กลาง อันนี้ไม่ใช่สิ่งที่ Jencks แสดงตัวของเขาเองออกมาเสียทีเดียว สำหรับความเอาใจใส่ของเขา เขาต้องการที่จะให้การวิเคราะห์โดยละเอียดเกี่ยวกับตัวอย่างต่างๆของสถาปัตยกรรมร่วมสมัย แต่มันเป็นหนทางหนึ่งของการสร้างข้อสรุปเกี่ยวกับฐานะตำแหน่งของเขาที่เชื่อมโยงเรื่องนี้กับบุคคลคนสำคัญคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนอย่างสำคัญเกี่ยวกับลัทธิหลังสมัยใหม่ในเชิงปรัชญาและวัฒนธรรม นั่นคือ Jean-Francois Lyotard
Lyotard และ Baudrillard
หนังสือเรื่อง The Postmodern Condition ได้รับการตีพิมพ์ในฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1979
เริ่มจากทิศทางที่ค่อนข้างไม่ได้คาดหวังอะไรบางอย่าง: กล่าวคือ สถานะทางวิทยาศาสตร์ในโลกสมัยใหม่.
แต่อย่างไรก็ตาม ในแนวทางของการสนทนานี้ Lyotard ได้เสนอบทวิจารณ์อย่างถึงราก
และทบทวนถึงความไม่มั่นคงของความรู้ที่ปฏิบัติการอยู่ในสังคมตะวันตกตั้งแต่สมัยเรอเนสซองค์เป็นต้นมา
เริ่มต้นจากข้อคิดเห็นที่ว่า สำหรับพวกเราทุกวันนี้ วิทยาศาสตร์ได้เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับภาษา:
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นวาทกรรมชนิดหนึ่ง(discourse). และมันตรงไปตรงมาที่จะกล่าวว่า สำหรับ 40 ปีหลังมานี้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเป็นผู้นำมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของภาษา: นั่นคือเรื่องของสัทศาสตร์และทฤษฎีต่างเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ เช่น ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการสื่อสารและไซเบอร์เนติค, ทฤษฎีสมัยใหม่ต่างๆเกี่ยวกับพีชคณิต, และศาสตร์ของกระบวนการข้อมูลที่เก็บไว้ในความทรงจำคอมพิวเตอร์(informatics), คอมพิวเตอร์และภาษาของมัน, ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการถอดความ, และการค้นหาสำหรับพื้นที่ต่างๆเกี่ยวกับการเข้ากันได้ท่ามกลางภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ, ปัญหาเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลและธนาคารข้อมูล, เทเลเมติค(telematics - สาขาของเทคโนโลยีข้อมูลซึ่งเกี่ยวข้องกับการถ่ายข้อมูลคอมพิวเตอร์ระยะไกล) และความสมบูรณ์ของความฉลาดปลายทาง, รวมถึงประติทรรศน์ศาสตร์
โดยในยุคของอุตสาหกรรม, เหล็กและเหล็กกล้าคือสินค้า; แต่ทุกวันนี้ ในโลกของยุคหลังอุตสาหกรรม, ความรู้ในตัวมันเองกลายเป็นสินค้า ดังนั้น Lyotard จึงอ้างถึง"การทำให้ความรู้เป็นเรื่องของการค้า" mercantilisation of knowledge). อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ความรู้โดดๆ แต่เป็นความรู้ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมันเป็นพหูพจน์ เป็นการแข่งขันกันระหว่างความรู้ จากผลของการนี้ตามมาด้วยปัญหาหนึ่งเกี่ยวกับความถูกต้องสมบูรณ์ ดังที่ Lyotard ได้ตั้งคำถามว่า "ใครเป็นคนตัดสินว่าอะไรคือความรู้?"
ตามขนบประเพณี "ความรู้ทางวิทยาศาสตร์"ได้ถูกนิยามในทางตรงข้ามกับ"อุดมคติหรือความเชื่อส่วนบุคคล"(ideology or doxa). แต่อย่างไรก็ตาม ดังที่ Lyotard ชี้แจง อันนี้ได้สร้างปัญหาขึ้นมาสองประการ ซึ่งนำไปสู่คำถามเกี่ยวกับความมีเหตุผลของวิทยาศาสตร์
ประการแรก, ถ้าอุดมคติเป็นวาทกรรมชนิดหนึ่ง, ด้วยเหตุนี้"ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็เป็นวาทกรรมชนิดหนึ่งด้วยเช่นกัน", และอันนี้นำมาซึ่งคำถามที่ว่า "ทำไมเราจึงบอกว่าพวกมันแยกต่างหากออกจากกัน?"
ประการที่สอง, มันมีปัญหาเกี่ยวกับการถดถอยอันไม่สิ้นสุด: ถ้าความจริงทางวิทยาศาสตร์ถูกได้มาโดยพยานหลักฐานและการพิสูจน์, หากเป็นเช่นนั้น, Lyotard ตั้งคำถาม "มันมีข้อพิสูจน์อะไรที่บอกได้ว่า ข้อพิสูจน์ของผมนั้นถูกต้อง?"
Lyotard ให้เหตุผลว่า ความรู้ทางวิทยาศาสตร์(scientific knowledge)ไม่เคยถูกต้องในตัวมันเอง เพราะมันมักจะวางใจในสิ่งที่เขาใช้คำว่า narrative knowledge (ความรู้เชิงบรรยาย)เสมอ เพื่อสนับสนุนตัวมัน. ความรู้ในเชิงบรรยายเป็นเรื่องของขนบธรรมเนียม ฝังตรึงอยู่ในวัฒนธรรม แสดงออกในรูปต่างๆของอำนาจทางสังคมในฐานะ"ประสบการณ์ชีวิต" ซึ่งตามแบบแผนแล้วถูกทดแทนโดยคำบรรยาย(narration) (ดูไม่เหมือนกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์) ความรู้เชิงบรรยาย"ไปพ้นหรืออยู่เหนือบรรทัดฐานของความจริง" และไม่ต้องการความถูกต้องหรือการรับรองใดๆ เพราะว่ามันถูกต้องในตัวของมันเอง
ถ้านี่คือทั้งหมดซึ่ง Lyotard ต้องการพูด เขาจะไม่เป็นผู้นำในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับลัทธิหลังสมัยใหม่แต่อย่างใด. มันเป็นความเคลื่อนไหวต่อมาและผลที่ตามมาในคำอธิบายของเขา สำหรับ Lyotard ซึ่งอ้างว่า ความรู้ในลักษณะบรรยายหรือเล่าเรื่อง(narrative Knowledge) ที่อ้างโดยวิทยาศาสตร์ ได้นำเอารูปแบบคำบรรยายหลัก(grand narrative)มาใช้. สิ่งเหล่านี้ประกอบด้วย
(1) คำบรรยายเกี่ยวกับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ(The narrative of emancipation), เรื่องราวเกี่ยวกับการให้อิสรภาพแก่ผู้คน ซึ่งวิทยาศาสตร์ถูกเชื่อว่าเป็นเครื่องมือที่จำเป็น (Lyotard กำลังคิดว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลัทธิเหตุผลนิยม(rationalism)ในคริสตศตวรรษที่ 18 ได้เป็นส่วนหนึ่งที่มารับใช้การปฏิวัติอันยิ่งใหญ่, อเมริกันและฝรั่งเศส, ลัทธิเหตุผลนิยมซึ่งอธิบายหรือชี้แจงว่า ความเชื่อทางไสยศาสตร์มันเป็นสิ่งผูกมัดพวกเราเอาไว้ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถจะมาปลดปล่อยพวกเราได้) และ
(2) คำบรรยายเกี่ยวกับชัยชนะของวิทยาศาสตร์(The narrative of the triumph of science) ในฐานะการเก็งความจริง หรือความรู้อันบริสุทธิ์และความรู้ที่แท้จริง (เป็นผลมาจากวัฒนธรรมเรอเนสซองค์ คำบรรยายหรือคำบอกเล่าอันนี้ถูกทำให้ต่อเนื่องมาโดยยุคสว่าง[Enlightenment] และต่อมาถึงในงานของ Hegel และ ลัทธิปฏิฐานนิยมในคริสตศตวรรษที่ 19)
ไม่ใช่ความมีอำนาจหรือความมีอิทธิพลของคำบรรยายหลักทั้งสองข้อข้างต้น, Lyotard ได้เพิ่มเติมอย่างแห้งๆว่า "ลัทธิมาร์กซิสม์ได้แกว่งไกวไปมาระหว่างแบบจำลองทั้งสองของคำบรรยายที่ว่ามานี้ ทั้งหมดนี้ ปัจจุบันมันได้ผ่านพ้นไปแล้ว
ในเงื่อนไขของหลังสมัยใหม่ "คำบรรยายหลักเหล่านี้ได้สูญเสียความน่าเชื่อถือของมันลงไป ไม่ว่าจะเป็นคำบรรยายในลักษณะการเก็งความจริงหรือคำบรรยายเกี่ยวกับการปลดปล่อยอิสรภาพ. คำบรรยายที่มีลักษณะเป็นหน่วยเดียวกันและสมบูรณ์ทั้งหมด ณ ใจกลางวัฒนธรรม - การทำให้เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม - ลำดับชั้นสูงต่ำของการนำก่อนหน้านี้ ปัจจุบันถูกแทนที่และต้องหลีกทางให้กับเครือข่ายที่มีอยู่ภายใน ดังที่มันเป็น เครือข่ายของพื้นที่เกี่ยวกับการสืบค้น
ณ จุดนี้ Lyotard ได้ลื่นไถลจากคำอธิบายเข้าไปสู่การสนับสนุน มาถึงตอนนี้ ความรู้ประกอบด้วยความแตกต่างกันโดยลักษณะของการแข่งขันระหว่างความรู้ท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งมันต่างก็เป็น"เกาะแก่งของลัทธินิยัตินิยม(ลัทธิที่ถือว่าเหตุการณ์ทั้งหลายเกิดขึ้นตามกฏบังคับตายตัวที่มีสาเหตุนำหน้าแล้วมีผลตามมา - เป็นอิสระจากเจตจำนงของมนุษย์). ความรู้กลายเป็นลักษณะปฏิบัติการ การตัดสินไม่ได้ตั้งคำถามว่า"มันเป็นจริงล่ะหรือ? (Is it true?) แต่กลายเป็น มันใช้ทำประโยชน์อะไร? (What use is it?)
แต่ละคำอธิบายจะตัดสินในเทอมที่ Lyotard ใช้คำว่า paralogy, ความสามารถเกี่ยวกับการเทียบเท่ากันหรือขนานกัน(parallel) มากกว่าความรู้ที่มีการจัดการในลักษณะสูงต่ำ(hierarchically arranged knowledge) เพื่อสนองความเคลื่อนไหวใหม่อันหนึ่ง, และนวัตกรรมใหม่ๆ
Lyotard ได้เชื้อเชิญสิ่งที่เขาเผชิญหน้าอยู่ ในฐานะผลลัพธ์ทางการเมืองเกี่ยวกับเงื่อนไขใหม่อันนี้, จุดจบอันหนึ่งที่มีต่อลัทธิเผด็จการอำนาจนิยมที่แสดงนัยะอยู่ในคำอ้างต่างๆต่อความเข้าใจทั้งหมดเกี่ยวกับความจริง - เขากระตุ้นว่า "ขอให้เราทำสงครามขับเคี่ยวกับความเป็นทั้งหมด(totality - สรรพภาพ)"
ในเรื่องลัทธิหลังสมัยใหม่นี้ มันได้ถูกนิยามอย่างชัดแจ้งทีเดียว: มันแสดงถึงคุณลักษณ์ของสถานการณ์ร่วมสมัยอันหนึ่งซึ่ง ดังที่ Lyotard ใช้ถ้อยคำพูดที่เชือดเฉือน "ผู้คนส่วนใหญ่ได้สูญเสียความครุ่นคิดและการคุ้นเคยในอดีตไป สำหรับการสูญเสียเกี่ยวกับเรื่องเล่าหรือคำบรรยาย(lost narrative)". มันเป็นความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของ Lyotard ที่ตอบโต้กับบางคนว่า มันยังคงมีวาทกรรมหลักอยู่. ประวัติศาสตร์ของเขาเกี่ยวกับลัทธิเหตุผลนิยมของยุคสว่าง(Enlightenment rationalism) ได้หลีกทางให้กับความสงสัยหลังสมัยใหม่(postmodern scepticism) ซึ่งเป็นหนึ่งในนั้น
ภาวะหน้าสิ่วหน้าขวานไม่เพียงแค่การรู้ตัวเท่านั้น แต่เป็นความไว้เนื้อเชื่อใจในเชิงปฏิบัติ ที่ได้รับการเชื่อถือกันโดยแนวคิดเกี่ยวกับความรู้แบบบรรยาย(narrative knowledge). ความเสียหายมากกว่าเป็นเครื่องหมายคำถามอันหนึ่งที่ว่า ความรู้แบบบรรยายและวิทยาศาสตร์สามารถที่จะตัดออกจากกันและกันในหนทางที่ Lyotard คาดได้ไหม?. ส่วนสำหรับนักเขียนบางคนไม่ได้เห็นด้วยกับเขา ท่ามกลางผู้ไม่เห็นด้วยคือ Jacques Derrida ผู้ซึ่งในการให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งใน Radical Philosophy(1994) เขากล่าวว่า: "ผมไม่เคยก้าวไปตามคำประกาศต่างๆเหล่านี้ เกี่ยวกับการสิ้นสุดของการปลดปล่อยอิสรภาพอันยิ่งใหญ่ และวาทกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการปฏิวัติ"
Jean Baudrillard โดยรวมๆแล้วค่อนข้างเอาจริงเอาจังและเป็นนักคิดที่ผูกมัดน้อยกว่า Lyotard และข้อสนทนาของเขาเกี่ยวกับลัทธิหลังสมัยใหม่ บ่อยครั้ง มีลักษณะที่ท้าทายโดยตั้งใจ ด้วยการกระตุ้นปลุกปั่นและเป็นไปในทำนองทีเล่นทีจริง. ถ้าหากว่า Lyotard เน้นว่า ในเงื่อนไขของหลังสมัยใหม่ คุณไม่สามารถวางรากวิทยาศาสตร์ในความจริง และจำแนกความแตกต่างของมันจากอุดมคติได้ (วิทยาศาสตร์ในตัวมันเองเป็นวาทกรรมอันหนึ่ง[discourse] ความพยายามของมัน ต้องการพิสูจน์ผลลัพธ์ความจริงของมันเองในภาวะที่กำลังเสื่อมถอยอย่างต่อเนื่อง), สำหรับ Baudrillard แล้วคิดว่า ลัทธิหลังสมัยใหม่เป็นการไหลเวียนอันไม่สิ้นสุดของเครื่องหมายต่างๆ(an endless circulation of signs) ซึ่งความรู้สึกเกี่ยวกับความจริงใดๆได้สูญสลายหายไป โลกใบนี้มันคือการลอกเลียน(simulation)และเป็นเพียงการลอกเลียนแบบต่างๆเท่านั้น
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว (ดังที่ Baudrillard อาจพูดออกมาอย่างนั้น) เครื่องหมายต่างๆสามารถถูกเปลี่ยนแปลงเป็นความจริงได้ในความหมายที่ว่า พวกมันเป็นตัวแทนต่างๆของความจริง; ในแบบแผนประวัติศาสตร์ลำดับที่สอง, เครื่องหมายต่างๆถูกนำไปสัมพันธ์กับเครื่องหมายอื่นๆซึ่งอ้างอิงถึงความจริง; ปัจจุบัน ในแบบแผนประวัติศาสตร์ลำดับที่สาม, แบบแผนหลังสมัยใหม่, เครื่องหมายต่างๆไม่มีความเชื่อมโยงกันกับความจริงแต่อย่างใด, อันที่จริง เครื่องหมายมันเป็นความจริงมากยิ่งกว่าจริงเสียอีก, ซึ่ง Baudrillard ตั้งชื่อว่า hyperreal ขึ้นมา
ความปิติยินดีในลักษณะประติทรรศน์, Baudrillard ให้เหตุผล ยกตัวอย่างเช่น ดิสนีย์แลนด์ในสหรัฐอเมริกาดำรงอยู่ดังที่มันเป็นโดยให้ผลที่ปรากฎดังว่า สิ่งที่เหลือทั้งหมดของอเมริกาเป็นความจริงเช่นเดียวกันอย่างนั้น. อีกครั้ง ที่ดังกระฉ่อนไปทั่ว เขาได้เขียนบทความขึ้นมาสองเรื่องในช่วงที่เกิดสงครามอ่าวเปอร์เชียในปี 1990 โดยเสนอว่า, ประการแรก, สงครามอ่าวดังกล่าวมันอาจไม่ได้เกิดขึ้นมา, และประการที่สองถัดมา มันไม่มีสงครามอ่าว
บทความชิ้นดังกล่าวของ Baudrillard มีอำนาจจับใจมากในการขยายให้เรื่องที่เสนอเกินความเป็นจริงไป สำหรับเขา มันทำให้เราตั้งคำถามถึงสงคราม ซึ่งในฝ่ายหนึ่งนั้นได้สูญเสียกำลังทหารไปกว่า 2 แสนคน ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งสูญเสียกำลังทหารไปเพียงราว 70 คน ซึ่งในจำนวนนี้เกือบทั้งหมดถูกฆ่าโดยพวกพวกเดียวกันเอง ในการต่อสู้ที่เรียกว่า"การยิงพลาดเป้า สู่พวกเดียวกันเอง" หรือเหตุการณ์"การยิงอย่างฉันท์มิตร"(friendly fire) ซึ่งในข้อพิจารณาตามขนบประเพณีถือว่าเป็นสงครามจริงๆสงครามหนึ่ง
Jameson
ณ จุดที่อยู่ครึ่งทางระหว่างการดำเนินไปของยุคสมัย มันอาจเป็นประโยชน์ที่จะรวบรวมข้อสังเกตขึ้นมาให้เป็นกลุ่มก้อน
เกี่ยวกับผลหรืออิทธิพลซึ่งได้ถูกนำไปสัมพันธ์กับลัทธิหลังสมัยใหม่
1. หลังสมัยใหม่เป็นความสงสัยเกี่ยวกับยุคสว่าง(Enlightenment )ที่มองว่า เหตุผลอาจเป็นสิ่งที่เชื่อถือหรือวางใจได้บนรากฐานที่มั่นคง สำหรับการตัดสินระหว่างความจริงและความเท็จ อันเป็นขนบประเพณีหนึ่งที่ผูกพันอย่างใกล้ชิดกับวิทยาศาสตร์
2. หลังสมัยใหม่มองเห็นความไม่แน่นอนเกี่ยวกับลัทธิมนุษยนิยมเชิงขนบจารีต และความคิดต่างๆเกี่ยวกับความก้าวหน้าที่สมัยใหม่อ้าง
3. หลังสมัยใหม่เป็นยุคของพัฒนาการอันไม่เป็นที่ล่วงรู้หรือเคยมีมาก่อนอย่างสมบูรณ์ในเรื่องของสื่อมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อภาพ(โทรทัศน์, ภาพยนตร์, งานโฆษณา ฯลฯ) นับจากปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา
4. หลังสมัยใหม่ได้สะท้อนภาพของความเจริญรุ่งเรืองอย่างกว้างขวาง ที่ดูเหมือนว่าพำนักอยู่ที่นี่ และมีการแสดงตัวของมันเองออกมาในบริโภคนิยม
5. หลังสมัยใหม่เห็นถึงความอ่อนแอของอำนาจศูนย์กลางทางสังคมในทุกๆด้าน ซึ่งได้ไปสนับสนุนหรือหนุนช่วยความเป็นพหุนิยมในการยอมรับจริยธรรมและวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่าง
ถ้าหากว่า Lyotard และ Baudrillard มีความจงรักภักดีทางสติปัญญาย้อนกลับไปยัง Nietzsche และ Gilles Deleuze, แล้วปรากฏผลออกมาเป็นลัทธิหลังสมัยใหม่, นักวิจารณ์ชาวอเมริกันแนว Hegelian-Marxist อย่าง Fredric Jameson ก็มีจุดยืนและเป็นเสียงสะท้อนที่มาจากคนเหล่านี้
การดำเนินรอยตามงานพิมพ์ในรูปเล่มหนังสือของ Lyotard ณ ช่วงเวลาที่ศัพท์คำว่า"ลัทธิหลังสมัยใหม่"กำลังได้รับความนิยมแพร่หลาย แต่มีผู้คนน้อยมากที่รู้เรื่องอะไรต่างๆเกี่ยวกับมัน, Jameson ในปี 1984 ได้ตีพิมพ์บทความขึ้นมาชิ้นหนึ่งในนิตยสาร New Left Review, ชื่อว่า"Postmodernism, or, The culture Logic of Late Capitalism"(ลัทธิหลังสมัยใหม่, หรือ, ตรรกะวัฒนธรรมของลัทธิทุนนิยมตอนปลาย)[ต่อมาภายหลัง กลายเป็นชื่อเรื่องของหนังสือเล่มหนึ่ง] ซึ่งไม่เพียงให้คำอธิบายที่กระจ่างชัดเกี่ยวกับลัทธิหลังสมัยใหม่คืออะไรเท่านั้น แต่ยังช่วยสนับสนุนการกำหนดตัดสินลงไปในลักษณะชี้ขาดอันหนึ่งเกี่ยวกับมันด้วย
Jameson ได้วางข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลของเขาไว้อย่างมั่นคง ลงบนรากฐานอันหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องเล่าคำบรรยาย ที่ได้แสดงออกโดย Ernest Mandel ใน Late Capitalism(1975), ยุคๆหนึ่งซึ่งพลังอำนาจการผลิตสอดคล้องลงรอยกันกับขั้นตอนหนึ่งของการพัฒนาทุนนิยม และตัวแบบของการสร้างวัฒนธรรม:
-หลังจากปี ค.ศ.1848: เกิดเครื่องจักรและพลังขับเคลื่อนไอน้ำ / ลัทธิทุนนิยมการตลาด / ลัทธิสัจนิยม
-จากปีทศวรรษ 1890s: เกิดไฟฟ้า และมอเตอร์เผาไหม้ / ลัทธิทุนนิยมแบบผูกขาด / ลัทธิสมัยใหม่
-จากทศวรรษที่ 1940s: เกิดอิเล็กทรอนิค และอุปกรณ์พลังงานนิวเคลียร์ / ลัทธิทุนนิยมข้ามชาติ / ลัทธิหลังสมัยใหม่
มีการถอนรากถอนโคนรูปแบบเก่าๆ, แบบร่วมสมัยอันนี้ได้ขยายตัวของมันเองเข้าไปสู่ทุกๆแง่มุมของชีวิต ดังนั้น ผลผลิตทางสุนทรีย์ในทุกวันนี้กลายเป็นการรวมตัวกันสู่การผลิตสินค้าทั่วๆไป (Postmodernism, or, the Culture Logic of Late Capitalism[1991]). คำอธิบายของ Jameson เกี่ยวกับลัทธิหลังสมัยใหม่ได้ให้หมายเหตุถึงสิ่งที่ถูกอ่าน ในฐานะที่เป็นผลลัพธ์ที่ตามมาทางวัฒนธรรมของตรรกะอันนี้
Martin Heidegger ได้เขียนถึงงานภาพเขียนของ Van Gogh ที่ชื่อ A Pairs of Boots เอาไว้อย่างจับใจ และ Jameson ได้หยิบเอาเหตุผลของเขาอันนี้ขึ้นมาด้วยความกระตือรือร้น: ภาพๆนั้นเปิดเผยถึงความจริงเกี่ยวกับรองเท้าบูทส์ของชาวนาว่า พวกเขาทั้งหลายต้องขึ้นอยู่กับโลกของการทำงานและผืนดินอย่างไร
Jameson เปรียบเทียบความผิดแผกแตกต่างอันนี้กับภาพรองเท้าของพวกราชสำนักห้าคู่ของ Andy Warhol, "Diamond Dust Shoes", ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยศิลปินคนหนึ่ง ผู้ซึ่งเริ่มเป็นจิตรกรภาพประกอบในเชิงพาณิชย์คนหนึ่ง ซึ่ง Jameson ให้เหตุผลว่า ในเงื่อนไขของหลังสมัยใหม่ มันเป็นการขาดเสียซึ่งความรู้สึกหนึ่งเกี่ยวกับความจริง และด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นการปรากฏออกมาในลักษณะของความแบนชนิดใหม่อันหนึ่ง ซึ่งไม่หลงเหลือร่องรอยของความลึกอยู่อีกเลย
การลบล้างความจริงอันนี้โดยผ่านการทำให้วัตถุต่างๆกลายไปเป็นสินค้า สุนทรียภาพและอื่นๆ มีการแตกกิ่งก้านสาขาข้ามไปทั่วทั้งวัฒนธรรม: ไม่เพียงในงานจิตรกรรม สถาปัตยกรรม และระบบการรับรู้เกี่ยวกับพื้นที่ว่างที่กินระวางเนื้อที่เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงภาพยนตร์, นวนิยาย, กวีนิพนธ์, และอันที่จริงรวมไปถึงทฤษฎีในตัวมันเองด้วย
อันนี้เป็นการขาดเสียซึ่งความจริงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสนามของสไตล์และความแตกต่างกันโดยลักษณะที่ไม่มีความสอดคล้อง ปราศจากบรรทัดฐานที่น้อมนำไปสู่การแทนที่ของการลอกเลียนโดยการเลียนแบบ ในทางตรงข้าม การลอกเลียนก่อนหน้านี้ได้เลียนแบบสไตล์อีกอันหนึ่งด้วยความตั้งใจ ที่มีความหนักแน่นเกี่ยวกับการล้อเลียน เหน็บแนมเสียดสี หรืออย่างน้อยที่สุดได้ทำการตัดสินเกี่ยวกับมันด้วย
ทุกวันนี้การเลียนแบบได้ผลิตซ้ำลักษณะเฉพาะทางด้านรูปแบบเพื่อความพึงพอใจเกี่ยวกับการอ้างอิงถึงพวกมัน เป็นปฏิบัติการอันหนึ่งของการเหน็บแนมอันว่างเปล่า มากยิ่งไปกว่านั้น การเป็นตัวแทนของอดีตกลับเมินเฉยหรือไม่ให้ความเอาใจใส่การมีคุณสมบัติเฉพาะทางประวัติศาสตร์ แต่กลับกลายเป็นการปฏิบัติการเพียงในความรู้สึกหนึ่งของความเป็นอดีตของอดีตเท่านั้น
การสูญเสียเกี่ยวกับความจริงไป ในทัศนะของ Jameson ได้นำไปสู่การลดทอนเกี่ยวกับความมีอิสระในตัวเองตามขนบประเพณีของตัวตน เนื่องจากว่าลัทธิหลังสมัยใหม่ ตัวตนปัจเจกบุคคลไม่สามารถที่จะนิยามตัวของตัวเองต่อกันและกันได้อีกต่อไปแล้ว ซึ่งสวนทางกับความไว้วางใจในวัตถุภายนอก. โดยเฉพาะตัวอย่าง, บทกวีของ Bob Perelman เรื่อง "China", ได้เผยให้เห็นแบบของการสร้างประโยคที่ไม่สมบูรณ์อย่างถึงรากที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่ง Jameson ได้ตรวจพบการแตกออกเป็นชิ้นๆของภาวะจิตเภท
The Bonaventura Hotel ใน Los Angeles ไม่ได้จัดหาพื้นที่ว่างที่ซึ่งผู้คนอาจยืนยันถึงอิสรภาพของตนและความเป็นตัวของตัวเองได้. จริงๆแล้วสถานที่แห่งนี้ปรารถนาที่จะเป็น"พื้นที่ว่างทั้งหมด"โดยไม่มีทางเข้า ปกคลุมด้วยพื้นผิวกระจกซึ่งตีกลับและสะท้อนเมืองที่อยู่ด้านนอก, มันไม่ใช่พื้นที่หนึ่งซึ่งคุณสามารถตัดสินใจจะเดินเข้าไปด้วยตัวคุณเองได้ เพราะยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง ได้มากำหนดการเดินทางของคุณ
ความแปลกแยกเกี่ยวกับ"ตัวตน" ที่ถูกบีบบังคับโดยลัทธิสมัยใหม่(จากภาพ Demoiselles ของ Picasso) ได้ถูกเข้าแทนที่ในวัฒนธรรมหลังสมัยใหม่ โดย"การแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยของตัวตน": มันไม่มีผลกระทบใดๆ, ไม่มีความลึก, เพราะมันไม่มีตัวตนที่เสนอความรู้สึกอีกต่อไปแล้วนั่นเอง
โดยสรุป ดังนั้น การทำให้เป็นทั้งหมดของลัทธิบริโภคนิยมและการทำให้เป็นสินค้ามันลงรอยสอดคล้องไปกับความหลากหลายแบบหลากชาติ(multinational diversification) ซึ่งได้ไปกัดกร่อนความรับรู้เกี่ยวกับความจริงโดยสนับสนุนการเลียนแบบ และการทำสำเนาจากสำเนาอีกทีหนึ่ง(pastiche and copies of copies) ผลิต"ความสาบสูญหรือความไม่มีตัวตนของปัจเจกชนขึ้นมา"
ปัจจุบัน สิ่งที่ได้สูญสลายหายไปก็คือ ระยะห่างการวิพากษ์ทางวัฒนธรรมและการก่อตัวทางสังคม ซึ่งยินยอมให้การกระทำที่เป็นกลุ่มก้อนสำหรับการเปลี่ยนแปลง; ความกลัวก็คือ "พวกเราได้ถูกทำให้จมลง ดังที่มันกลายเป็นความยุ่งยากมากขึ้นที่จะเป็นตัวแทนการมีอยู่ของตัวเราต่อตัวของพวกเราเอง
นอกจากตัวอย่างต่างๆที่หลักแหลมจำนวนมากของเขา Jameson โดยเนื้อแท้แล้ว ได้รับหน้าที่ให้การอธิบายแทนคำอธิบายของ Baudrillard (แต่ในขอบเขตที่น้อยกว่า Lyotard) อย่างไรก็ตาม เขาได้ทำมันในลักษณะที่เป็นการตีความที่แตกต่างไปอย่างสุดขั้ว. แม้ว่าขอบเขตและแนวทางของมันและความมีพลัง จะทำให้มันมีลักษณะเชิญชวนมากๆเช่นเดียวกับรายละเอียดที่เสนอออกมาไม่น้อยเช่นกัน แต่ทฤษฎีของ Jameson เกี่ยวกับลัทธิหลังสมัยใหม่ก็ไม่ยุ่งยากในการซักไซ้ให้ได้ข้อมูลมา
แน่นอน เช่นเดียวกับทฤษฎีทั่วไป มันยืนหยัด หรือวางอยู่บนเรื่องของ"อำนาจการผลิต"(productive force)ซึ่งลัทธิมาร์กซิสม์ประกาศในฐานะที่เป็นพื้นฐานของตัวมันเอง. ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ หลังจากปีเหล่านี้ของวัฒนธรรมมนุษย์ สำหรับสังคมหนึ่งที่จะพัฒนา ซึ่งมันไม่มีเรื่องของตัวตนใดๆอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น การยืนยันของ Jameson จึงเป็นผลลัพธ์ที่เรียบง่ายของทางเลือกที่น่าคลางแคลงใจ: ที่ว่า มีตัวตนที่สมบูรณ์หรือไม่มีตัวตนเลย อย่างใดกันแน่
พวกเราต้องการความรู้สึกหนึ่งเกี่ยวกับความเป็นทั้งหมด เพื่อที่จะเข้าไปสู่การประเมินในเชิงวิพากษ์และต่อต้าน หรือเราสามารถที่จะจัดการกับบางสิ่งที่น้อยไปกว่านั้นใช่ไหม? และการวิเคราะห์นี้ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสหรัฐอเมริกามากกว่าที่อื่นๆมากน้อยแค่ไหน? (Jameson สามารถที่จะเขียนอย่างที่เขาทำเกี่ยวกับดีสนีย์แลนด์ปารีสได้ไหม?) อย่างไรก็ตาม Jameson ถือว่าเป็นคนหนึ่งซึ่งล้ำหน้าที่สุดในท่ามกลางบรรดานักวิจารณ์ของลัทธิหลังสมัยใหม่
ลัทธิหลังสมัยใหม่ และความจริง:
Norris และ Eagleton
Postmodernism and the Real: Norris and Eagleton
ดังที่เราอาจจะคาดการณ์ล่วงหน้าได้จากวัฒนธรรมหนึ่ง ประสบการณ์นิยมและการครอบงำจิตใจของมันโดยความจริง(the
real)เป็นสิ่งที่มีอายุล่วงเลยมายาวนานและเก่าแก่คร่ำคร่า ชาวอังกฤษขานรับต่อลัทธิหลังสมัยใหม่เกือบจะเป็นไปในลักษณะไม่ยินดียินร้ายเหมือนๆกันหมด.
Christopher Norris ได้พิมพ์หนังสือในเชิงวิพากษ์วิจารณ์มันคือ What's Wrong
with Postmodernism? (1990) และ The Truth about Postmodernism (1993), เขียนโดย
Alex Callinicos และ Terry Eagleton
ในบทความชิ้นหนึ่งเรื่อง Lost in the Funhouse ในหนังสือ What's Wrong with Postmorn, Norris เลือกที่จะต่อกรกับ Baudrillard เพราะเขาได้ผลักให้งานเขียนชนิดแบบของเขาไปไกลที่สุดเท่าที่จะไกลได้ มีการใช้วาทศิลป์ยักย้ายปรับเปลี่ยนด้วยการจงใจในฐานะที่เป็นอาวุธอันหนึ่งเพื่อต่อสู้กับคู่ปรปักษ์เกี่ยวกับหลักความเชื่อหลังสมัยใหม่
แรกสุดเลยทีเดียว Norris โจมตี Baudrillard สำหรับการล่าถอยไปจากความเป็นเหตุเป็นผล ในการประเมินคุณค่าหรือการคาดการณ์ข้อสรุปต่างๆที่มีความหมายหรือนัยสำคัญกว้างขวาง จากพยานหลักฐานที่มีอยู่อย่างจำกัด และเมินเฉยโดยไม่ให้ความเอาใจใส่เครื่องหมายต่างๆที่อาจสร้างความซับซ้อนต่อการวินิจฉัยของเขาได้ เช่นเดียวกับ"ลักษณะนิสัยของเขาเกี่ยวกับการชอบกระโดดจากเกมภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งอยู่เสมอ"
แต่การขับเคลื่อนหลักๆเกี่ยวกับการต่อต้านของ Norris ก็คือการยืนยันของ Baudrillard ที่ว่า ในเงื่อนไขของหลังสมัยใหม่ ที่ซึ่งเครื่องหมายต่างๆได้แพร่ขยายไปทั่ว มันเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปแล้วที่จะแยก"ความจริง" หรือ "ตัวแทนอันหลากหลายต่างๆของมันได้ เช่น "วิทยาศาสตร์", "ความจริง", "ความเป็นภววิสัย", "คุณค่าประโยชน์", "ความต้องการ", หรืออะไรอื่นๆ - จากการเป็นตัวแทนอุดมคติซึ่งปัจจุบันนี้ยืนยันหรืออ้างถึงชื่ออันนั้น
อีกครั้งอันนี้ที่ Norris ได้เสนอข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลจำนวนหนึ่งขึ้นมา. หนึ่งในนั้นคือลักษณะที่ตรงกันข้ามกันระหว่างความจริงและความเท็จ แต่อย่างไรก็ตาม Norris รู้สึกว่า แต้มต่ออันนั้นยังไม่เป็นการเพียงพอ ด้วยเหตุนี้เขาจึงดำเนินต่อมา โดยเสนอประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้
1. ยุทธวิธีของ Baudrillard เกี่ยวกับการชักจูงในตัวมันเองไม่สามารถหนีพ้นความตรงข้ามระหว่าง ความจริงกับความเท็จไปได้ ในเมื่อไม่มีใครเชื่อเขานั่นเอง โดยยอมรับคำอธิบายของเขาเกี่ยวกับว่า โลกสมัยใหม่เป็นเหมือนกับอะไร เว้นแต่เขาสามารถที่จะอ้างว่ามันเป็นความถูกต้องเที่ยงตรงและได้ให้ข้อมูลจริงเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ เขาจึงเปราะบางและง่ายต่อการถูกโจมตีสำหรับข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลที่มีลักษณะเป็นท่อนๆซึ่งนำมาประกอบกันเพื่อใช้กับสัมพัทธนิยม นับจากช่วงวันเวลาของ Plato, ซึ่ง Norris ได้สรุปโดยการกล่าวว่า: "ถ้าเขาประสบความสำเร็จในการขุดเซาะและทำลายความดึงดูดใจทั้งหมดของความจริงได้ หากเป็นเช่นนั้น มันก็ไม่สามารถที่จะมีที่ทางต่างๆสำหรับการนับว่าเขาถูกต้อง แต่ถ้าเขาไม่ประสบความสำเร็จ พวกเราก็ยังจะได้รับการเรียกขานว่าเป็นผู้ที่ปฏิเสธเรื่องของเขาเท่าๆกันเช่นเดิม"
2. ผลงานเมื่อเร็วๆนี้ในแนวปรัชญา(Norris ได้พูดถึง Hilary Putnam และ Donald Davidson)ซึ่งมีแนวโน้มที่จะแสดงให้เห็นว่า มากไปกว่าที่จะเป็นเรื่องราวที่ว่า ภาษาเฉพาะภาษาหนึ่งหรือ"แบบแผนทางความคิด"(conceptual scheme)ได้แปลความหมายเกี่ยวกับความจริงให้กลายเป็นระหัส, การให้เหตุผลถึงภาษาหนึ่งเกี่ยวกับความสามารถที่จะอ้างอิงถึงความจริงได้ ตามความจริงแล้ว "เป็นเงื่อนไขที่มีมาก่อนสำหรับความรู้ของเราเกี่ยวกับภาษาต่างๆ"
ดังที่ Jurgen Habermas ได้ให้เหตุผลเอาไว้ "ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความจริง และเหตุผลที่ถูกต้องได้รับการยกขึ้นมาอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ โดยวาทกรรมต่างๆที่นำเสนอตัวมันเองสำหรับการประเมินที่จริงจังในแบบของการแสดงข้อคิดเห็นในเชิงวินิจฉัย"; กล่าวอีกนัยหนึ่ง Baudrillard จะต้องจัดวางข้อถกเถียงในเชิงเหตุผล และพยานหลักฐานที่เหมาะสมเพียงพอ ถ้าหากว่าเขาต้องการที่จะจริงจังกับเรื่องนี้ (และจะต้องเป็นไปอย่างชัดเจน มันเป็นทัศนะของ Norris ที่เขาไม่เป็นและจะไม่เป็นเช่นนั้น นับจากที่เขาเริ่มต้นบทความของเขาโดยการกระตุ้นให้พวกเราลืม Baudrillard ไปเสีย)
Norris เป็นคนที่ฉลาดแหลมคมที่มองข้ามและละทิ้ง Baudrillard และลัทธิหลังสมัยใหม่ไป เพราะอย่างที่เขาพูด เพียงความสามารถที่จะรู้ความจริง และทำในสิ่งที่ตรงข้ามกันอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างความรู้และอุดมคติ จะทำให้การวิจารณ์การเมืองมีความเป็นไปได้ ซึ่งมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์อันนั้นโดยเฉพาะที่นักเขียนอย่างเช่น Baudrillard อธิบายอย่างได้ผลแท้จริง
ใน The Illusions of Postmodernism (มายาการต่างๆของลัทธิหลังสมัยใหม่)(1996) Terry Eagleton ได้เขียนขึ้นมาจาก"ทัศนียภาพกว้างๆทางสังคมนิยม" โดยได้หยิบเอาแนวทางที่แข็งแกร่งกว่า Norris มานำเสนอ เมื่อเขาได้เสนอแนะว่า ลัทธิหลังสมัยใหม่, ด้วยลัทธิบริโภคนิยมอันทรงพลังทั้งหมดของมัน, สัมพัทธนิยมของมัน, และการยกย่องในความหลากหลาย(plurality), เป็นอะไรมากมายที่ใครบางคนอาจคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นมา ณ เวลาหนึ่งซึ่งขบวนการทางการเมืองของมวลชน"จะหลุดพ้นไปจากธุรกิจเป็นการชั่วคราว". สิ่งที่งานของเขาเพิ่มเติมเข้าไปในการถกเถียงกับลัทธิหลังสมัยใหม่คือ การปฏิเสธเกี่ยวกับแนวโน้มอันหนึ่งต่อหลักเกณฑ์ที่ไร้ข้อพิสูจน์บนพื้นฐานของความตรงข้ามที่ผิดพลาดบางอย่าง:
สำหรับทั้งหมดของการสนทนาเกี่ยวกับความแตกต่าง(difference), ความหลากหลาย(plurality), ลักษณะที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน(heterogeneity), ทฤษฎีหลังสมัยใหม่ บ่อยครั้งปฏิบัติการโดยลักษณะที่เป็นคู่ตรงข้ามแบบตายตัว, ด้วย"ความแตกต่าง", "ความหลากหลาย" และศัพท์ต่างๆที่มีกำเนิดจากแหล่งเดียวกันที่เรียงเป็นแถวอย่างท้าทายในด้านหนึ่งของแนวรั้วทางทฤษฎี ในฐานะที่เป็นเชิงบวกอย่างคลุมเครือ และอะไรก็ตามที่เป็นไปในลักษณะต่อต้านข้อสรุป(antitheses)ของมัน(เช่น เอกภาพ([unity], เอกลักษณ์[identity], ความเป็นทั้งหมด[totality], ความเป็นสากล[universality]) อาจถูกนำไปเรียงลำดับอยู่อีกด้านหนึ่งอย่างชั่วร้าย
อันนี้ได้รับการกล่าวออกมา, และ Eagleton ได้ไล่ตามการวิจารณ์ดังกล่าว ซึ่งได้เปิดโอกาสให้มีการถกเถียง ยกตัวอย่างเช่น ลัทธิวัฒนธรรมนิยม(culturalism)อันนั้น "เป็นรูปแบบหนึ่งของลัทธิคตินิยมลดทอน(reductionism)เท่าๆกับชีววิทยานิยม(biologism)" เพราะเหตุว่ามันปฏิเสธความตรงข้ามกันอันหนึ่งระหว่างทัศนะที่ว่า เมื่อความจริงทางร่างกายทั้งหมดได้ถูกตีความผ่านคำอธิบายหรือวาทกรรม, ร่างกายเพียงเป็นสิ่งที่ประกอบด้วยคำอธิบายหรือวาทกรรมในด้านหนึ่งเท่านั้น, และอีกด้านหนึ่ง, มีความเชื่อง่ายๆที่ว่า พฤติกรรมของมนุษย์ ส่วนใหญ่แล้ว ได้ถูกกำหนดโดยร่างกาย โดยการยักย้ายหรือวางแผนอย่างเดียวกับการรื้อสร้าง
Eagleton ปฏิเสธความตรงกันข้ามกันระหว่าง การสร้างตัวทางสังคม(social construction) และตัวแทนที่เป็นอิสระ(free agency), และระหว่าง การต่อต้านสารัตถนิยม(anti-essentialism) และสารัตถนิยม(essentialism); เขาดำเนินต่อไปเพื่อยืนยันว่า มันไม่สามารถที่จะมีการเลือกที่ปราศจากความละเอียดละออระหว่าง "ประวัติศาสตร์ในฐานะที่สร้างเรื่องขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง และประวัติศาสตร์ในฐานะความสับสนที่มีสีสรร", หรือ(ใส่เครื่องหมายคำถามที่สำคัญลงไปให้กับ Lyotard)ระหว่างทัศนะที่ว่า "มันมีอุดมการณ์หลักโดดๆอันหนึ่ง(a single metanarrative) หรือความหลากหลายซับซ้อนของอุดมการณ์ย่อย(multiplicity of micronarrative)"
การแทรกแซงของ Eagleton เป็นเรื่องที่แหลมคม ชัดเจนและบ่อยครั้งมันน่าขัน แม้แต่ในหนังสือโต้แย้งสั้นๆอันนี้, อย่างเช่น มันไม่เคยชัดเจนเลย ซึ่งผู้เสนอเกี่ยวกับลัทธิหลังสมัยใหม่ได้อยู่ภายใต้กระบองของเขาไม่ว่าเวลาหนึ่งเวลาใด
Derrida
ในฐานะหลังสมัยใหม่ : Derrida as Postmodern
นับจากที่ Derrida
เห็นพ้องว่า ไม่มีแนวความคิดเกี่ยวกับความรู้ที่ค้นพบได้ในความจริง ซึ่งอันนี้ยังคงใช้การได้อยู่,
Lyotard ได้เผชิญหน้ากับอุปสรรคอันหนึ่งในการพิสูจน์ว่า เรื่องราวเกี่ยวกับความจริงของตัวเขา(ไม่มีคำบรรยายหลัก,
จะมีก็แต่การขัดกับหลักตรรกะเท่านั้น)เป็นสิ่งที่ถูกต้องทีเดียว. Jameson ไม่พานพบกับความยุ่งยากอันนั้นในการติเตียนของเขาเกี่ยวกับวัฒนธรรมหลังสมัยใหม่
เมื่อมันถูกค้นพบได้ในความจริงของวัตถุนิยมประวัติศาสตร์. Norris และ Eagleton
ได้อ้างถึงพื้นฐานที่เชื่อถือได้อันหนึ่ง ซึ่งได้วิพากษ์วิจารณ์ลัทธิหลังสมัยใหม่
ในเชิงสรุป มันอาจเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการให้ความรู้ที่จะอ้างถึงงานเขียนของ Jacques Derrida สำหรับความเห็นหรือแง่คิดในประเด็นปัญหาต่างๆเหล่านี้. เนื่องจากมันเป็นผลงานเกี่ยวกับการรื้อสร้างแบบเดอริเดียน(Derridean deconstruction) ที่ไปทำให้คู่ตรงข้ามใดๆก็ตามแยกออกและไม่มั่นคง ซึ่งมันค้นหาที่จะธำรงรักษาความรู้สึกหนึ่งของ"การมีอยู่", และโดยทั่วไป "การมีอยู่"ถูกรู้สึกว่าเป็นผลที่จำเป็นอันหนึ่งในการรับรู้เกี่ยวกับความจริง
Derrida ได้รับการเคารพอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นนักปรัชญาของลัทธิหลังสมัยใหม่ (สำหรับอันนี้ เขาได้ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงโดย Callinicos ในเรื่อง Against Post-Modernism(1990)). กระนั้นก็ตาม ในคำถามที่รุนแรงสามข้อ - เกี่ยวกับความจริง, ธรรมชาติของเหตุผล, และความเป็นไปได้เกี่ยวกับการวิจารณ์ทางการเมือง - ฐานะตำแหน่งของ Derrida กลับได้รับการยืนยันหรือมั่นคงขึ้นมาอีกครั้งอย่างน่าประหลาดใจ
Derrida และความจริง
: Derrida and reality
Derrida, ซึ่งดังกระฉ่อน กลายไปเชื่อมสัมพันธ์กับคำอ้าง(ที่มีอยู่ใน Of Grammatology),
"il n'y a pas de hors-texte"("there is no outside-text"-มันไม่มีอะไรนอกหนังสือตำรา),
เป็นสโลแกนหนึ่งที่ Baudrillard รู้สึกภาคภูมิใจว่าได้สร้างมันขึ้นมา. กระนั้นก็ตาม
มันเป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่า โลกมนุษย์นั้นน่าจะเหมือนกับอะไร ซึ่งมันเป็นเพียงตัวหนังสือต่างๆและเครื่องหมาย(texts
and the sign)ที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับสิ่งใดเลยที่เหนือไปจากมัน
แต่เราจะต้องไม่คาดเดาเกี่ยวกับอันนี้ เพราะ ถ้าหากว่า Derrida ถูกอ่านอย่างระมัดระวัง, ดังที่ Dominick LaCapra ตั้งข้อสังเกตอย่างแหลมคมใน Soundings in Critical Theory (1989), เป็นที่ชัดเจนสำหรับทัศนะของเขาที่ว่า "there is no inside-the-text either"(มันไม่มีอะไรที่อยู่ข้างในหนังสือเช่นเดียวกัน)
"ข้างใน"กับ"ข้างนอกตำรา": โดยพื้นฐานแล้ว คุณเคยตัดสินไหมว่า ตรงไหนที่ตำราได้ปิดลงและความจริงเริ่มต้นขึ้น? คุณเคยครอบครองตำแหน่งหนึ่งซึ่งในท้ายที่สุดคุณได้ประกาศออกมาว่า อะไรคือตำราและอะไรคือความจริงไหม? (จริงๆแล้ว เพียงพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่ได้ถูกทึกทักว่าสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้). ข้อถกเถียงเกี่ยวกับความรู้ไม่จำเป็นต้องปีนบันไดคุยกัน Lyotard คิดว่า หนทางเดียวที่เป็นไปได้ที่นำไปสู่ความจริงก็โดยการถามว่า "อะไรคือข้อพิสูจน์ว่า ข้อพิสูจน์ของผมเป็นจริง?" ตำราและความจริง, สิ่งที่อยู่ข้างในและนอกตำรา, มาพร้อมๆกัน, มันเป็นข้อตกลงมัดหนึ่ง
Derrida และเหตุผล : Derrida
and Reason
เช่นเดียวกัน Norris ได้ประณาม
Baudrillard ที่เห็นด้วยหรือรับรองความเอาใจใส่ของ Derrida ที่จะนำเอาเรื่องของเหตุผลเข้ามาสู่การตั้งข้อสงสัยโดยการพยายาม(ในคำพูดของ
Norris ในการศึกษาของเขาเรื่อง Derrida 1987))ที่จะ"เรียกร้องเหตุผลหนึ่งเพื่อความมีเหตุผลในตัวของมันเอง".
หรือมากยิ่งไปกว่านั้น, อีกครั้งที่ Norris ได้สรุปว่า, Derrida "พิจารณาว่าความมีเหตุมีผลในรูปแบบที่แพร่หลายของมัน(ในเชิงเทคโนโลยีและอื่นๆ)
เป็นการก่อตัวเชิงประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเฉพาะสูงมาก ซึ่งไม่สามารถเป็นที่ดึงดูดใจต่อพื้นฐานอันเป็นฐานรากบางอย่างได้"
อันนี้กล่าวว่า, ทั้งหมดเกี่ยวกับการเปิดเผยของ Norris ได้แสดงให้เห็นว่า Derrida ปฏิบัติกับความมีเหตุมีผลในงานเขียนของเขาและข้อถกเถียงของเขา โดยมักจะปลุกเร้าเหตุผลในภาวะที่เชื่อมโยงสอดคล้องกัน ซึ่งมันลงรอยและให้รายละเอียดอย่างเหมาะสมเสมอ. ในเหตุผลที่แสดงให้เห็นนี้ ไม่ต้องการพื้นฐานที่เป็นฐานรากในความจริงเพื่อจะมีความมีประสิทธิภาพซึ่งสืบทอดมาของมันในฐานะที่เป็นคำอธิบายหรือวาทกรรมอันมีเหตุผล
Derrida และ Fukuyama
ในปี ค.ศ.1992 Francis Fukuyama ได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งด้วยชื่อเรื่องที่ดังก้องสะท้อนถึงความเป็นหลังสมัยใหม่ว่า
The End of History and the Last man และก้องกังวานถึงสาระหลังสมัยใหม่ที่ว่า
เสรีประชาธิปไตย และลัทธิทุนนิยมบริโภค ในไม่ช้า ซึ่งในท้ายที่สุดจะรับหน้าที่หรือเข้ามาแทนโลกทั้งใบ
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ถึงจุดที่สมบูรณ์ และเชื้อเชิญให้บอกลาครั้งสุดท้ายต่อคำอ้างหรือข้อเรียกร้องต่างๆของนักวิพากษ์สังคมนิยมและพวกสุดขั้วที่ต่อต้านระบบทุนนิยม
Derrida ประสบปัญหานิดหน่อย(ใน Specters of Marx (1994)) ประการแรก, ในช่องว่างที่มีหลักฐานขนาดใหญ่ และการละเลยในเรื่องราวเกี่ยวกับ"ข่าวดี"ของ Fukuyama - ไม่ใช่ทุกรัฐที่กำลังเคลื่อนตัวไปสู่เสรีประชาธิปไตยโดยการที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้และโรยแรงดังที่ Fukuyama ทึกทัก ตลาดเสรีไม่จำเป็นต้องผลิตอิสรภาพหรือเสรีภาพทางการเมืองเสมอไป (หากพูดเชิงประชดก็ใช่เลย, สงครามโลกทั้งสองครั้ง, ความน่ากลัวของเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จนั่นไง). ประการที่สอง, Derrida ยืนยันว่า สุ้มเสียงดั่งคำสอนของสานุศิษย์พระเยซูของ Fukuyama ปลุกเร้า"ศาสตร์แห่งวาระสุดท้ายของชนคริสเตียน"อย่างแคบๆเท่านั้น, ซึ่งเขาลื่นไถลไปมาอยู่เสมอระหว่างความเป็นจริงและอุดมคติอันหนึ่ง และที่เขานึกเอาเกี่ยวกับคำนิยามที่เป็นสากลบางอย่างเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์("มนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์")
ตลอดการวิจารณ์ในเชิงทำลายล้างอันนี้เกี่ยวกับ Fukuyama, Derrida ไม่ได้แสดงให้เห็นการสงวนท่าทีเลยเกี่ยวกับหลักฐานอ้างอิงจากความเป็นจริง หรือการค้ำจุนข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลแต่อย่างใด. และเขาก็ไม่ได้รู้สึกว่าไม่เหมาะสมแต่ประการใดด้วย จากการสนับสนุนทางเลือกต่างๆในทางการเมืองเชิงบวกต่อชัยชนะนิยมในอิสรภาพของ Fukuyama
จากตัวอย่างของ Derrida พวกเราอาจต้องสรุปลงไปอย่างใดอย่างหนึ่งว่า จริงๆแล้ว เขาไม่ใช่นักคิดหลังสมัยใหม่ หรือลัทธิหลังสมัยใหม่ไม่ใช่พลังอำนาจร่วมสมัยที่ต้านทานไม่อยู่อย่างที่คนบางคนกล่าว - และบรรดานักวิจารณ์หลายคนก็พูดออกมาในทำนองนั้นเช่นกัน...
แปลและเรียบเรียงจากหนังสือ Critical Dictionary of Postmodern Thought Edited by Stuart Sim (1999)
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)
การต่อต้านนักคิดหลังสมัยใหม่
(หลังสมัยใหม่ : ทฤษฎีวิพากษ์และทฤษฎีวัฒนธรรม)
Postmodern and Critical and Cultural Theory
Antony Easthope
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
Modern/Postmodern
ผลงานจิตรกรรมที่ถูกทำให้เสร็จสมบูรณ์โดย Picasso ในช่วงปี ค.ศ.1907 งานจิตรกรรมชิ้นนี้มีชื่อว่า
"les Demoiselles d' Avignon, ถือเป็นรากฐานในหลักการสมัยใหม่ ภาพดังกล่าวได้ช็อกผู้ดูโดยทั่วไปทุกหนทุกแห่ง.
ขนบประเพณีแบบ quattrocento (หมายถึงยุคของศิลปะและสถาปัตยกรรมอิตาลีในคริสตศตวรรษที่
15) ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีอิทธิพลครอบงำศิลปะตะวันตก ค่อยๆสร้างตัวขึ้นมาอย่างค่อยเป็นค่อยไปกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติซึ่ง
วัตถุต่างๆได้ถูกทำให้ปรากฎขึ้นมาในมุมมองที่มีระยะใกล้ไกลโดยหลักทัศนียวิทยา(linear
perspective)
ในผลงานจิตรกรรมชิ้นนี้ของ Picasso หน้าตาของรูปคนที่มุมล่างขวา ซึ่งนั่งยองๆบนโถส้วม ได้ถูกวาดขึ้นมาจากรูปหน้าด้านหน้าและด้านข้างพร้อมกันไปในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นคือ มันได้ทำให้ขนบจารีตที่ยึดถือกันมาโดยหลักที่ถูกต้องอย่างที่ตาเห็นแตกละเอียดเป็นชิ้นๆ(การกระทำดังกล่าวคล้ายงานปั้นรูปคนโดยทั่วไป-กล่าวคือเราสามารถมองเห็นได้จากหลายๆด้าน). ใบหน้านี้และอีกใบหน้าหนึ่งที่อยู่ด้านบนขวาทำให้ระลึกถึงหน้ากากแอฟริกัน เป็นการฝ่าฝืนและการทำลายความตรงข้ามทั้งหมดระหว่างยุโรปที่มีอารยธรรมและโลกอนารยะอันป่าเถื่อนภายนอก
ในขณะที่ขนบธรรมเนียมกระแสหลัก แสดงภาพผู้หญิงในฐานะวัตถุต่างๆที่อยู่ในภาวะยินยอมหรือเป็นฝ่ายรับ(passive) (โดยทั่วไปจะได้รับการวาดขึ้นมาเป็นภาพเปลือย หรือในท่านอนเอกเขนก) ซึ่งหันมามองด้วยท่าทีเอียงอายเผชิญกับสายตาที่จ้องมองของผู้ดู แต่ภาพของผู้หญิงเหล่านี้(ดังที่เห็นส่วนใหญ่ในฐานะโสเภณี)มองกลับมาด้วยสายตาซึ่งปฏิเสธที่จะยอมจำนนต่อสายตาที่จ้องมองในลักษณะควบคุม
สำหรับผลงานจิตรกรรมของ Picasso ชิ้นนี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายหรือเป็นตัวกำหนดยืนยันแน่ชัดลงไปว่า อดีตกาลที่ผ่านมาได้ถึงกาลสิ้นสุดหรือตายลงไปแล้ว ภาพที่ปรากฎในรูปดูเหมือนว่าจะไม่ถูกต้อง แต่นั่นคือความจริงใหม่และหนทางที่แตกต่างของงานจิตรกรรมซึ่งจักต้องเป็นไป
ผลงานจิตรกรรมอีกชิ้นหนึ่งชื่อภาพ The Old Man's Boat and the Old Man's Dog ซึ่งได้เขียนขึ้นมาโดยศิลปินชาวอเมริกัน Eric Fischl ในปี ค.ศ.1982 สำหรับภาพนี้มันได้เชื้อเชิญให้เกิดการตั้งคำถามขึ้นหลายๆคำถาม หากมองดูเผินๆภาพนี้คล้ายดังกับว่ากำลังแสดงให้เห็นถึงเรือสำราญลำหนึ่ง แต่เมื่อมองเข้าไปในรายละเอียดทำให้ไม่แน่ใจว่า หรือมันจะเป็นผลที่ตามมาของความหายนะจากเรืออับปาง? พวกเราควรจะให้ความสนใจกับแสงแดดกล้าช่วงครึ่งล่าง หรือควรจะสนใจกับฉากหลังคล้ำๆกันดี ซึ่งลูกคลื่นข้างหลังดูมันจะคุกคามข่มขู่และคล้ายพร้อมที่จะดูดกลืนเรือลำดังกล่าว?
ภาพของหญิงเปลือยหลายคนในภาพเป็นเรื่องของความสำราญทางเพศ หรือเนื่องมาจากการสิ้นเนื้อประดาตัวกันแน่(ภาพผู้หญิงที่อยู่ตรงกลาง เป็นภาพของคนที่กำลังกำลังอาบแดด หรือตายแล้ว)? ขณะที่ภาพผู้หญิงซึ่งอยู่ตรงมุมล่างซ้ายชิดขอบ นิ้วที่ทำท่าชี้ของเธอมันพุ่งไปสู่เกลียวคลื่นอย่างแน่นอน ซึ่งกำลังโหมกระหน่ำคล้ายจะข้ามรูปคนที่หันหน้ามาในภาพ ถัดไปจากตรงนั้นวนมาทางซ้ายยังคนสองคนซึ่งกำลังคลานอยู่ และสุดภาพที่มองเห็น(ศีรษะของชายคนหนึ่งที่เรามองเห็นเพียงแค่ครึ่งเดียว) ทั้งหมดที่เราพิจารณากันโดยถี่ถ้วนงานจิตรกรรมของ Fischl ไม่มีการแบ่งแยกที่แน่ชัดระหว่าง"ภาพที่ปรากฎ"กับ"ความเป็นจริง"ที่สร้างขึ้นมา - ทุกๆแนวของการสืบค้นเรื่องราวภายในรูปจะถูกตีตกไปโดยความเป็นไปได้อีกอันหนึ่งตลอดเวลา