ทีนี้ขยับขึ้นไปอีกถึงระดับรัฐมนตรีและรัฐบาล ทำไมเราต้องไปเสียค่าโง่ให้เขา เจตนาโง่หรือว่าโง่จริง ผมว่าน่าจะโง่จริงมากกว่ากับสิ่งที่ต้องเสียไป คือเราไม่เคยมีรัฐมนตรีฉลาดๆเลย ตรงนี้จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมเขาไม่คิดเรื่องพลังงานทางเลือกอะไรต่างๆ ถามว่ามีรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์กี่คนที่เคยพูดถึงเรื่องพลังงานที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม มีรัฐมนตรีเกษตรเท่าไหร่ที่เอาใจใส่เรื่องพลังงานชีวมวล มีนายกรัฐมนตรีกี่คน ไล่มาได้เลยครับว่ามีความเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ และตระหนักว่าพลังงานนี่คือหัวใจของแผ่นดินของประเทศนี้ มีไหมครับ ลองถาม…
ภาพประกอบดัดแปลง ผลงานภาพเขียนสีน้ำมัน ของ Georges De La Tour ชื่อภาพ Magdalen with Smoking Flame ประกอบกับภาพหุ่นยนต์ Golden Robot ของ Maxell Corporation จากหนังสือ Treasures of American Museums ใช้เพื่อประกอบบทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (ผลงานวิชาการเผยแพร่ฟรีโดยไม่มีลิขสิทธิ์)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่ออุดมศึกษาไท : บทความใหม่ประจำเดือน พฤษภาคม 2545 / บทความลำดับที่ 176 - 040545
บทความนี้ยาวประมาณ 9.5 หน้ากระดาษ A4

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

ชั้นเรียนมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
พลังงานทางเลือกภาคปฏิบัติ บรรยายโดย ชัยพันธ์ ประภาสะวัติ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545 เวลา 15.30 น. ณ สวนอัญญา จ.เชียงใหม่
R
relate
H
home
ชั้นเรียนเรื่องพลังงาน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

เหตุนี้ผมก็เลยได้โอกาสมานั่งคิดดูว่าจริงๆมันเป็นพลังงานอะไรกันแน่ ก็พบว่ามันเป็นความสกปรกเยอะแยะ เป็นการนำเอาความสกปรกเข้ามาเพิ่มกับขยะที่สกปรกอยู่แล้ว ทั้งเหม็น ทั้งมีมลพิษ เป็นการจัดการโดยการไปซื้อเทคโนโลยีมาจากต่างประเทศ ซึ่งพูดง่ายๆคือเป็นเทคโนโลยีที่เขากำลังโล๊ะทิ้งแล้วมาใช้ ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านพลังงาน เขาพัฒนาไปไกลแล้ว โรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมัน ใช้แก๊ส ใช้ลิกไนต์ คือสิ่งที่ประเทศที่พัฒนาเขาเลิกใช้กันไปแล้ว แต่เมืองไทยเรากลับไปเอากากเดนตรงนั้นมาใช้

เรื่องของเรื่องก็คือว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งจริงๆรับซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต พอวันดีคืนดีบอกว่าจะแปรรูปพวกรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าภูมิภาคไม่รู้จะแปรไปตรงไหน ก็มานั่งคิดกันว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตมันได้โบนัสกันเยอะกว่าพวกเราทุกปี เพราะเขาเป็นผู้ผลิต ส่วนเราเป็นแค่ supplier ไปรับเขามาแล้วก็ขาย อย่ากระนั้นเลย แฝงตัวดีกว่า โดยใช้วิธีทำทีเป็นนักบุญว่าฉันจะจัดการแก้ไขปัญหาขยะให้เมืองเชียงใหม่ ก็เลยไปเอาเทคโนโลยีจากสวีเดนมาซึ่งจริงๆเขาก็ดีนะ แต่ปรากฏว่าไปเอามาปนกัน

ของเขาความจริงก็เอามาใช้ทำเหมือนกัน แต่เขาไม่ได้เอามาจัดการเรื่องขยะ เขาไปต้มน้ำและทำอะไรต่างๆหลายเรื่อง แล้วปรากฏว่าเรากลับเอาลิกไนต์มาเผาเพื่อเป็นการสต๊าร์ทก่อนแล้วเอาขยะตามเข้าไป โดยอ้างว่าใช้ความร้อนเริ่มต้นก่อน ขยะจึงจะไหม้หมด จากนั้นก็จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ประมาณ 20 เมกกาวัตต์ต่อโรงหนึ่ง ใช้เงินประมาณ 1500 กว่าล้าน ซึ่งเป็นต้นทุนที่โง่มากหากนำไปบวกลบคูณหารแล้ว คิดอย่างไรก็ขาดทุน โครงการแฝงอันนี้จะมีการติดตั้งโรงงานทั่วประเทศมากมายทีเดียวหลายสิบโรง ประมาณ 40-50 แห่ง ใช้งบประมาณ 6 หมื่นกว่าล้านคือเป้าหมายที่เขาตั้งขึ้น นี่ก็คือหมายความว่า จะแปรรูปตัวเองจากหัวหน้าไฟฟ้าทั้งหลายเพื่อเข้าไปคุมโรงงานเหล่านี้ แล้วจะผลิตแข่งกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตด้วยโรงไฟฟ้าเล็กๆย่อยๆพวกนี้ อันนี้คือจุดที่เราอ่านเกมดังกล่าว

เพราะฉะนั้น ตรงนี้เป็นเรื่องไม่เหมาะสมแน่นอนสำหรับเมืองเชียงใหม่ เพราะว่าเป็นเมืองที่อยู่ในแอ่งกะทะ และมลภาวะกำลังเลวร้ายลงทุกวัน ตั้งแต่นิคมอุตสาหกรรมลำพูนเกิดขึ้น ปรากฏว่าคนที่นั่นเป็นโรคทางเดินหายใจมากกว่า 50% เสียด้วยซ้ำ ซึ่งพอมาดูที่เชียงใหม่ตามมาติดๆประมาณ 40% ประกอบกับคนจากที่ต่างๆ คนกรุงเทพฯมาอยู่ก็เอารถยนต์มาด้วย ควันพวกนี้เต็มไปหมดซึ่งเป็นมลภาวะอยู่แล้ว และถ้าเอาโรงลิกไนต์เหล่านี้มาก็จะเกิดปัญหาเพิ่มเติมขึ้นไปอีก

จากตรงนี้เอง พอหลังจากคัดค้านเขาแล้ว ชาวบ้านก็ออกมาต่อสู้ด้วย รวมทั้งนักวิชาการต่างๆ สู้กันถึง 9 เดือน จนโครงการโรงไฟฟ้านี้ล้มไป เรื่องนี้ความจริงรัฐบาลก็สนับสนุน ตอนล้มนี้ไม่ใช่ว่าไม่ดี เขายังสนับสนุนว่าดี ไม่สามารถสร้างที่ไหนได้เลยในประเทศนี้ หลังจากออกจากที่หางดงไปแล้วก็ไม่มีใครเอาด้วย

หลังจากนั้น เวลามีปัญหาเรื่องขยะ จัดเวทีกัน สองฝ่ายทะเลาะกันทั่วไปหมด ผมก็ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากร ชาวบ้านก็บอกว่าไม่เอาส่วนเทศบาลก็บอกว่า ผมไม่รู้จะทำอย่างไรมันจำเป็นจะต้องเอา จนกระทั่งไปซื้อที่ใหม่แล้วหลายสิบล้าน แต่พอชาวบ้านรู้ว่าจะทำโรงงานขยะก็ไล่ออกไป เงินที่ลงไปตรงนั้นก็หมด พอกลับมาที่เก่า ชาวบ้านก็ไม่ยอม ต้องไปต่อรองกันว่าเอาอย่างนี้ดีไหม ลงทุนอีก 3-4 ล้าน เพื่อทำรั้วรอบกองขยะ ซึ่งจริงๆ 3-4 ล้านมันสามารถผลิตรูปแบบของการจัดการขยะได้อย่างสมบูรณ์ทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำปุ๋ยหรือโรงงานแยกขยะอะไรก็ได้ แต่เราไม่มีวิธีคิด เราผิดพลาดไปหมดเลยตั้งแต่กระบวนการเรียนการสอน เราไม่ได้สอนให้คนคิดเป็น หรือเลือกที่จะเป็นอะไร ทำอะไรสะเปะสะปะไปหมดเลย เราเลยไม่รู้จะจัดการปัญหาต่างๆยังไง

จนถึงวันนี้ องค์การบริหารส่วนตำบล 6 พันกว่าแห่ง เทศบาลพันกว่าแห่ง มีไม่ถึง 10% ที่มีคนรู้ที่จะจัดการสิ่งแวดล้อม เรื่องขยะ หรือสภาพแวดล้อมของตัวเอง น่าตกใจนะครับกับองค์กรบริหารท้องถิ่นเหล่านี้ 8 พันกว่าแห่ง ซึ่งได้กระจายการบริหารจากส่วนกลางออกมามีอำนาจในการจัดการ แต่เราไม่กระจายองค์ความรู้อะไรให้เขาเลย รู้อย่างเดียวเรื่องอิฐ หิน ปูน ทราย บวก ลบ คุณ หาร คิดเปอร์เซนต์เป็น ใครคิดเปอร์เซนต์ผิดก็ตาย อบต.ก็เลยยิงกันเพราะแบ่งกันไม่ถูก

เรื่องความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนี้รู้กันน้อยมาก องค์กรเล็กๆอย่างนี้ยังรู้กันน้อยมาก เมื่อขยายขึ้นไปในระดับอำเภอยิ่งไม่ต้องพูดถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีความรู้เหล่านี้ทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมาอยู่ท้องถิ่นอื่นยังไม่รู้เรื่องของท้องถิ่นเข้าไปด้วย เป็นผู้ว่าไม่รู้มาจากไหน มาอยู่เชียงใหม่ ไม่รู้เรื่องวัฒนธรรมประเพณีอะไรก็มาเปลี่ยนแปลงเขา ทุกผู้ว่าฯที่เข้ามาก็จะเป็นอย่างนี้ พอเข้ามาก็ทะเลาะกับท้องถิ่นและไม่เคยปกป้องอะไรให้กับท้องถิ่นได้

ทีนี้ขยับขึ้นไปอีกถึงระดับรัฐมนตรีและรัฐบาล ทำไมเราต้องไปเสียค่าโง่ให้เขา เจตนาโง่หรือว่าโง่จริง ผมว่าน่าจะโง่จริงมากกว่ากับสิ่งที่ต้องเสียไป คือเราไม่เคยมีรัฐมนตรีฉลาดๆเลยมั๊ง ตรงนี้จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมเขาไม่คิดเรื่องพลังงานทางเลือกอะไรต่างๆ ถามว่ามีรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์กี่คน ที่เคยพูดถึงเรื่องพลังงานที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม มีรัฐมนตรีเกษตรเท่าไหร่ที่เอาใจใส่เรื่องพลังงานชีวมวล มีนายกรัฐมนตรีกี่คนไล่มาได้เลยครับว่ามีความเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ และตระหนักว่าพลังงานนี่คือหัวใจของแผ่นดินของประเทศนี้ มีไหมครับ ลองถาม…

เอาที่ใกล้ๆตัวตอนนี้ มีรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์หนุ่มมาก ถามจริงๆว่าเรื่องเหล่านี้ท่านมีความเข้าใจลึกซึ้งมากไหม? และคิดบ้างไหมที่จะทำอะไรให้เกิดการพัฒนากับแผ่นดิน? นอกจากการตั้งงบประมาณกำจัดน้ำเสีย ตั้งงบประมาณกำจัดขยะ แล้วก็มีบริษัทของพ่อไปคอยรับเหมาต่ออีกทอดหนึ่ง หรือมีรัฐมนตรีที่ดูแลเกี่ยวกับอุตสาหกรรม แล้วก็มีลูกหลานญาติมิตรที่ทำธุริกจซึ่งได้ประโยชน์กับอุตสาหกรรม หรือมีนายกรัฐมนตรีที่ร่ำรวยที่สุด แต่ตอนนี้ไม่รวยแล้ว เพราะลูกรวยกว่า แล้วกำลังมีปัญหาเรื่องกิจการโทรคมนาคม ซึ่งนายกฯจะต้องตัดสิน แต่ลูกเป็นผู้ทำกิจการโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

อันนี้คือปัญหาที่เราไม่สามารถจะไปพึ่งพาใครได้ และทำให้ผมเองซึ่งจริงๆแล้วไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้สักเท่าไหร่ กลับต้องมาดูว่ามันมีพลังงานอื่นไหม ถ้าเราจะไม่จัดการกับขยะโดยที่จะต้องเอามาเผา ผมไปดูมาหมดแม้แต่ที่ภูเก็ต หลังจากที่เชียงใหม่ไม่เกิดแล้ว ปรากฎว่าภูเก็ตเกิด แล้วบอกว่าเห็นไหม ฉันเป็นฮีโร่ที่หนึ่งได้ทำโรงงานเผาขยะที่ทันสมัยโรงแรกขึ้นมามูลค่า 700 กว่าล้านบาท อันนี้ก็ไปซื้อเขามาเช่นกันพวกซากเดนทั้งหมด ปรากฎว่ารัฐต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมให้อีกในสองปี ประมาณ 110 ล้านบาท เพื่อจะ operate ต่อ

ฉลาดหรือโง่ก็ไม่ทราบ ขณะที่ขยะมันมีมูลค่า มีพลังงานอยู่ในนั้นมหาศาล เรากลับจัดการขยะด้วยการที่จะไปซื้อพลังงานมาจากคนอื่น ไปซื้อน้ำมันมาเพื่อเอาไปเผาขยะอีก เราทำแบบนี้อย่างเดียวกับที่เราทำกับน้ำ เราต้องเสียเงินจำนวนมากเพื่อไปผลิตความร้อนเพื่อจะได้ไปทำไฟฟ้า แล้วเราก็ต้องมาเสียบปลั๊กเพื่อให้มันเปลี่ยนกลับมาเป็นพลังงานความร้อน แบบเดียวกัน

ผมได้ไปศึกษาว่าในโลกนี้เขามีคนที่ฉลาดบ้างไหม? ก็ไปพบว่าในยุโรป ในเยอรมันเขาทำเรื่องพลังงานสะอาดกันตั้งเยอะแยะ และผมได้มีโอกาสไปดูที่เยอรมัน ก็ไปเห็นโรงงานหนึ่งซึ่งเขาได้รับรางวัลปี 2000 เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีเด่น โรงงานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมืองขนาดที่ไม่ใหญ่นักซึ่งมีประชากรอยู่ราว 2 แสนคนเท่ากันกับเชียงใหม่ มีการทำโรงงานกำจัดขยะสี่มุมเมือง เป็นโรงงานกำจัดขยะขนาดเล็กเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ส่วนที่ดีของเขาก็คือ เขาแยกขยะอยู่แล้ว ส่วนที่เป็นพลาสติกก็ไปอีกที่หนึ่ง

สำหรับเยอรมันไม่ recycle ขยะพลาสติกเอง แต่ส่งพลาสติกไป recycle ที่ประเทศโรมาเนีย อันนี้เพราะเขารู้ว่าเวลา recycle จะเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม โรมาเนียเป็นประเทศที่จนกว่า ก็รับเอาขยะพลาสติกจากเยอรมันไป recycle แล้วค่อยเอากลับมาขายใหม่

ขยะส่วนอื่นๆก็แยกออกไปหมด ส่วนที่ reuse ได้ก็นำกลับไปใช้ ส่วนที่เป็น organic จะถูกนำเข้ามาในโรงงานนี้ พอเข้ามามันอาจจะมีเศษเหล็กหรือเศษอะไรปะปนอยู่ เขาก็มีการแยกออก เขาใช้คนเข้าไปแยกซึ่งตอนที่ผมไปดูงานก็เข้าไปลองแยกขยะกับเขาด้วย มันก็ไม่น่าเกลียดสักเท่าใดถ้าหากเรารู้ว่ามันเป็นพลังงาน หรือมันเป็นอะไรสักอย่างหนึ่ง จากนั้นมันก็เดินทางเข้าไปสู้ในถังหมัก เป็นการนำเอาธรรมชาติกลับคืนมาใช้ประโยชน์

ในธรรมชาติทุกอย่าง มันซับพลังงานจากพลังงานแสงอาทิตย์มาหมด เก็บเอาไว้ที่ใบไม้หรืออะไรต่างๆ แต่พอมันตายลง มันสูญสลายหรือย่อยแล้วก็คืนพลังงานออกมาเป็นก๊าส เป็นอะไรออกมา ส่วนที่เหลือที่เป็นกากก็เป็นปุ๋ยธรรมชาติ อันนี้ก็วิธีเดียวกัน เพียงแต่เราจะปล่อยให้มันเป็นเป็นไปตามกระบวนการ แล้วก็นำเข้ามาสู่เทคโนโลยีมาผสมผสานกัน โดยการนำเอาเศษอาหารนั้นเข้าไปหมักในถัง การไปหมักก็ไม่ต้องใช้จุลินทรีย์ ใช้วิธีเดียวกันกับ อ.เดชรัตน์เล่าให้ฟังแบบที่เมืองจีน นำเอาอุจาระคนมาหมักก็ได้ ตามสภาพท้องถิ่น

บางที่เขาจะมีการเลี้ยงวัวกันมาก วัวที่เลี้ยงจะเลี้ยงกันอยู่ในโรงเลี้ยงเป็นร้อยตัวเพราะอากาศมันหนาว ขี้วัวจะถูกเก็บไว้เยอะ ก็จะเอาขี้วัวเข้ามาใส่ในถัง มาปั่นผสมกับเศษอาหาร จะได้แก๊สมหาศาล ในขณะเดียวกันสามารถที่จะนำไปผลิตไฟฟ้าได้ด้วย ไฟฟ้าที่นั่นขายให้กับการไฟฟ้า ปล่อยเข้าไปในระบบสายส่ง คือแทนที่ตัวเองจะต้องเสียสตางค์ค่าไฟฟ้า กลับไปเก็บค่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้า รัฐก็ให้การส่งเสริม และที่สำคัญราคาค่าไฟฟ้าที่รับซื้อนั้น ให้ราคาแพงด้วย

ลงทุน 4 โรง ใช้เวลาไม่เกิน 3 ปี สามารถคืนทุนและได้กำไรมาทั้งหมด จากเงินที่เริ่มต้นด้วยการไปกู้มา เขาเก็บค่าขยะจากเทศบาลในราคาที่แพงด้วย นอกเหนือจากนั้นแล้ว เศษอาหารบางแห่งน่าแปลก ผมเห็นผักกองท่วมสูงมาก โดยเฉพาะผักกาดขาวที่มันช้ำ เขาทิ้งเลย ถ้าเป็นบ้านเราก็จะมาแกะเปลือกนอกออก แต่ที่นั่นค่าจ้างคนมาแกะเปลือกมันแพงกว่าการทิ้งไปเลย เหลือแต่ของซึ่งมีคุณภาพ พอทิ้งโรงงานขยะพวกนี้ก็ไปรับมา คุณต้องจ้างให้เขาไปรับมาเพื่อทำปุ๋ย แต่ปุ๋ยที่ผลิตไม่ได้นำไปขาย แต่นำมาใช้เองเพราะมันถูกสตางค์

ขณะที่เขามีเทคโนโลยีทั้งหมด ปรากฎว่าโรงงานนี้ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานจากภายนอกสักนิดเลย เขาผลิตพลังงานขึ้นมาเอง ใช้ขยะที่นำเอามาโดยได้ค่าขนขยะด้วย เอามาปั่น ปั่นแล้วก็ได้แก๊สนำไปผลิตไฟฟ้า ไฟฟ้าก็ขายได้ หลังจากนั้นพอปั่นขยะพวกนี้เสร็จก็ได้ปุ๋ยอีก แล้วก็เอาปุ๋ยไปใช้กับที่ดินของตัวเองเป็นร้อยๆเอเคอร์ เพื่อปลูกไม้ดอกและพืชต่างๆ ทั้งหมดนี้ไม่ต้องซื้อเลย

ที่น่าทึ่งคือ ส่วนหนึ่งของการเพาะปลูกเขานำไปขาย อีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นทุ่งทานตะวันสำหรับใช้เอง แล้วก็เก็บเมล็ดทานตะวันมาใส่ลงถังขนาดใหญ่เพื่อให้มันอบแห้ง แล้วมีเครื่องตัวเดียวซึ่งเป็นเครื่องคั้นน้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน พอใส่เข้าไปก็อัตโนมัติทั้งหมด ส่วนหนึ่งถูกคั้นเป็นน้ำมันออกมา อีกส่วนหนึ่งก็คายกากออกมาซึ่งถ้านำไปปรุงหน่อยใส่แป้งเคลือบน้ำตาลขายเด็กบ้านเราได้เลย เด็กเรานี่หลอกง่ายแป้งผสมน้ำตาลก็ขายได้ แต่ที่นั่นเขานำไปทำเป็นอาหารสัตว์

สำหรับส่วนที่เป็นน้ำมันออกมา เขาจะนำไปกรองด้วยตะแกรง 3-4 ชั้น แล้วก็ผลิตเป็นน้ำมันเมล็ดทานตะวัน สุดท้ายต่อท่อออกมาแล้วไปกรองครั้งสุดท้ายใส่ถัง จากนั้นก็นำไปเติมรถได้เลย กระบวนการข้างต้นไม่ต้องไปทำอะไรเลย และรถที่ใช้เติมน้ำมันนี้ก็เป็นรถยนต์ Audi ซึ่งใช้น้ำมันดีเซล แต่เขาใช้สองระบบ คือสต๊าร์ทด้วยน้ำมันดีเซลสักพักหนึ่ง จากนั้นข้างหลังรถแทนที่จะไว้ยางรถยนต์ เขาก็ทำเป็นถังน้ำมันใส่น้ำมันเมล็ดทานตะวัน แล้วก็มีตัวแม็กเนติคตัวหนึ่งซึ่งถ้าคิดเป็นเงินไทยก็ตกประมาณ 2 หมื่นกว่าบาท สำหรับเป็นตัวปรับอุณหภูมิ เพราะเวลาที่อากาศเย็นมันจะเป็นไข ต้องมีตัวปรับอุณหภูมิให้น้ำมันมีความอุ่นแล้วฉีดเข้าไปในเครื่องยนต์ดีเซล วิ่งเป็นปกติเหยียบร้อยกว่าไปทั่วได้ทั้งวัน ตอนผมอยู่ที่นั่นผมใช้รถยนต์ที่เติมน้ำมันเมล็ดทานตะวัน ไม่มีสะดุดเลย

สิ่งเหล่านี้เมื่อมองย้อนกลับมายังบ้านเรา ตัวอื่นๆที่เราทำได้ เรามีน้ำมันละหุ่ง เรามีน้ำมันมะพร้าว เรามีน้ำมันปาล์ม เรามีวัตถุดิบเยอะแยะที่เป็นพลังงานที่อยู่ข้างบน เห็นๆกับตาอยู่อย่างนี้ เรากลับไม่ใช้กัน และมีมากมายมหาศาลด้วย แต่เรากลับต้องไปขุดขึ้นมาจากใต้ดิน บ่อน้ำมันก็ไม่ค่อยมีต้องไปซื้อมาจากเขา ไม่เพียงแต่น้ำมันอย่างเดียว รถยนต์ที่กินน้ำมันก็ต้องซื้อจากเขาหมด เราต้องไปซื้อทุกอย่างที่เขาหลอกเรามา อันนี้ไม่ใช่หลอกกันแต่พวกเด็กๆนะ แม้แต่พวกผู้ใหญ่ก็ถูกหลอกด้วย

ดังนั้นมันจึงทำให้เราต้องมานั่งคิดว่า เราทำไมโตๆกันแล้วและอยู่ๆกันมาไม่รู้กี่ปี พร้อมกับบอกว่าประเทศเราพัฒนาไปแล้ว หลังจากด้อยพัฒนา กำลังพัฒนา แต่เราต้องเสียค่าโง่ให้กับประเทศพัฒนาแล้วอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนไม่รู้ว่าจะมีอะไรไปให้เขาอีก

วันนี้ที่เรามานั่งพูดถึงพลังงานทางเลือก มันเกิดไม่ได้ ที่เกิดไม่ได้เพราะอะไร เพราะว่าเราขาดผู้ปกครองของรัฐที่มีความเข้าใจ บรรดา สส. 500 หรือ สว. 200 พวกนี้ไม่เคยมีความรู้ความเข้าใจอะไรในระบบเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างนี้ที่ลึกซึ้งเพียงพอ มีน้อยมากในบรรดาคนเหล่านี้ที่มีความรู้ถึงขั้นลึกซึ้ง ผมไปเห็นมาแล้วว่ามีไม่ถึง 5% ที่จะเอาใจใส่และสนใจด้านพลังงาน ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของกระแสไฟฟ้าเท่านั้น

พลังงานคือหัวใจของการเกษตร การเกษตรคือหัวใจของประเทศ แต่เราไม่เคยคิดตรงนี้ว่า ต้นทุนเกษตรทั้งหมด มันสูญเสียไปกับการถูกหลอกมาโดยตลอด กับการที่เราสูญเสียควายไปเข้าโรงทำลูกชิ้นของรัฐมนตรีเกษตร มันหมดไป. ควายคือพลังงานที่คุณไม่ต้องซื้อเขามาเหมือนกับรถอีแต๋น ไม่ต้องซื้อจากจีน จากญี่ปุ่น หรือจากไหนก็ตามแต่

ควายที่เราเลี้ยงเราให้มันกินหญ้า ส่วนอีแต๋นเราต้องให้มันกินน้ำมัน อันนี้เราเสียค่าโง่กันไม่รู้กี่เที่ยว เราต้องเสียสตางค์ไปซื้อเครื่อง แล้วต้องเสียสตางค์ไปซื้อน้ำมันมาอีก แล้วน้ำมันเราต้องไปหาซื้อไกลบ้านเข้าไปอีก คนที่อยู่บ้านนอก คนที่อยู่เชียงใหม่ คนที่อยู่แม่ฮ่องสอน ซื้อน้ำมันแพงกว่าคนที่อยู่กรุงเทพฯ ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมหาศาล ยิ่งอยู่ไกลยิ่งต้องซื้อน้ำมันแพง และถ้าไปเติมปั๊มหลอด ก็ยิ่งแพงขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นต้นทุนเหล่านี้มันเป็นต้นทุนที่แฝงอยู่ในกระบวนการของเกษตรกรทั้งหมด

แม้กระทั่งเรื่องปุ๋ย เราก็ถูกเขาหลอกมาตลอด ใช้ปุ๋ยเคมีซิ ผลผลิตการเกษตรจะได้ดี วันนี้เกษตรกรสวนส้มที่ปทุมธานีใช้ปุ๋ยเคมีมาตลอด ปรากฎว่า 10 ปีให้หลังมานี่ ดินตายเรียบ ปุ๋ยใส่ลงไปก็ไม่มีทางฟื้น ยาอะไรก็ฉีดไม่ได้ ส้มกำลังยืนล่วงตายลงเป็นแสนๆไร่ จากสิ่งที่เคยได้ทั้งหมดก็สูญสลายกลับกลายเป็นความสูญเสียไปทั้งหมด นี่คือการเสียค่าโง่ครั้งใหญ่ของเกษตรกรบ้านเรา

วันนี้เราจึงต้องกลับมา ไม่ใช่เพียงแค่พลังงานทางเลือกเท่านั้น มันต้องมีวิธีคิดใหม่ที่เราจะกลับไปสู่แนวทางที่เราจะต่อสู้กับกลุ่มทุนซึ่งพยายามจะเข้ามาครอบงำ เรากู้เงินจาก World Bank มาไม่รู้จักกี่ปีกี่ชาติ นับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับแรกๆ ถามว่ามีบ้างไหมที่เราจะกำหนดลงไปในแผนในเรื่องที่เราจะสร้างพลังงานเพื่อการพึ่งพาตัวเอง เรามีนักวิจัยเยอะแยะ ผมมีหนังสือเป็นเล่มๆของจุฬาฯ ของอะไรอีกมากมาย มีงานวิจัยของ อ.สุวรรณ แสงเพชร ทำวิจัยเรื่องการนำเหง้ามันสำปะหลังมาผลิตกระแสไฟฟ้า

มีกี่คนครับที่เคยได้ยินการผลิตไฟฟ้าจากเหง้ามันสำปะหลัง เหง้ามันอยู่ตรงไหน? เราจะเห็นใบและลำต้นที่มันโผล่ขึ้นมา พอตัดมันเขาจะตัดต้นทิ้ง แล้วจากนั้นจะสับเป็นท่อนๆเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อ ส่วนหัวมันก็เอาไปขายต่อ เช่น นำไปขายลานมัน แปรรูปหรืออะไรก็ตามแต่ ส่งออกนอก ทำเป็นอาหารสัตว์อะไรหลายอย่าง แล้วในระหว่างต้นกับหัวมัน มันเป็นเหง้าที่แข็งมาก ตรงนั้นแหละที่ทิ้งขว้างกันไม่รู้เท่าไหร

ปีหนึ่งๆเราผลิตมันสดได้ประมาณ 20 ล้านตัน อันนี้เฉพาะส่วนที่เป็นหัวมัน สำหรับส่วนที่เหลือไม่รู้ว่ากี่ล้านตัน เราเผาทิ้งหมดโดยสูญเปล่า แล้วตอนเผานี่ต้องสุมกองเผา เพราะมันแข็งมากไม่ย่อยสลาย ชาวบ้านต้องเอามาเผา ต้องสูญเสียพลังงานที่ใช้ในการเผาไปไม่รู้สักเท่าไหร่

ในส่วนของเหง้ามันสำปะหลัง นักวิจัยไปทดสอบพบว่ามันให้พลังงานสูงมาก สูงมากกว่าลิกไนต์ที่แม่เมาะเสียอีก และถ้านำมาผลิตกระแสไฟฟ้า มันสามารถที่จะทดแทนน้ำมันเตาได้ถึง 3000 ล้านลิตรต่อปี นั่นก็คือสามารถจะประหยัดเงินได้ถึง 1 หมื่น 5 พันล้านบาทต่อปี แต่ถ้าเราเผาเหง้าพวกนี้ทิ้งไปก็เท่ากับเราเผาเงินถึง 1 หมื่น 5 พันล้านทิ้งไปด้วย

แล้วถามว่าวิธีการนำเหง้าพวกนี้มาผลิตกระแสไฟฟ้ามีไหม? ตอบว่ามี ก็คืองานวิจัยของ อ.สุวรรณ ซึ่งได้ทำโรงทดสอบขึ้นมาอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะ แต่ไม่เคยแพร่หลายไปไหน นอกจากเป็นงานวิจัยที่อยู่ในตำรา ไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐที่จะให้เกษตรกรทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา

ทางใต้ก็มีความเหมาะสมหลายอย่าง เช่น ผมไปที่เกาะสมุย มะพร้าวทั้งเกาะไม่มีคนเก็บ ล่วงเต็มไปหมด เพราะค่าแรงที่จ้างไปเก็บแพงกว่าลูกมะพร้าวที่จะนำไปขายได้ ไม่เพียงเท่านั้น กาบมะพร้าว ทางมะพร้าวเกลื่อนเต็มไปหมด ถามว่าตรงนั้นถ้าเราเก็บมา ทั้งเปลือก ทั้งลูกมะพร้าว ทุกๆส่วนเอามารวมกันแล้วเอามาเผา สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าใช้บนเกาะได้สบาย

แต่ปรากฏรู้ไหมครับ ผมไปเกาะพีพีมา เกาะนี้นักท่องเที่ยวเยอะแยะ ปรากฏว่าไฟฟ้าไม่มี แต่ละแห่งต้องผลิตกระแสไฟฟ้าเอง ต้องใช้น้ำมันดีเซล โรงแรมแห่งหนึ่งต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนละสามแสนบาท กระแสไฟฟ้าที่นั่นยูนิตละประมาณ 15 บาท ร้านค้าร้านหนึ่งขนาดไม่ใหญ่นักเสียค่าไฟฟ้าเดือนละหมื่นกว่าบาท ที่เขาอยู่ได้เพราะนักท่องเที่ยวเยอะ ได้ขายของขายอะไรต่ออะไร

ในขณะที่เรามีทางเลือกจำนวนมาก แต่ชาวบ้านไม่รู้ ใครก็ไม่รู้. เรามีพลังงานลมที่สามารถจะไปใช้กับเกาะได้ ที่อื่นเขาก็ใช้กัน ดังที่ผมไปที่เยอรมัน เขาตั้งแข่งกันเลยอย่างที่ว่า แล้วผลิตกระแสไฟฟ้า. windmill ตั้งขึ้นมาเป็นทุ่ง ทั้งทุ่งเป็นเรื่องของพลังงานลมทั้งหมด เขาผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากพอที่จะยืนยันกับประชาชนว่าไม่ต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จนกระทั่งรัฐบาลเยอรมันยอมรับว่าโรงไฟฟ้าเก่าๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น รัฐบาลจะทุบทิ้ง ทำลายลงและจะไม่สร้างโรงใหม่ขึ้นมา ในปัจจุบันนี้ เขาสามารถที่จะเอาพลังงานทางเลือกขึ้นมาสู้กับพลังงานขนาดนิวเคลียร์ได้ นี่คือสิ่งที่มันเกิดขึ้นในประเทศอื่น แล้วเราก็ไปดูมาเพื่อเอามาเป็นบทเรียน

จะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมันสำปะหลัง เรื่องของอะไรต่างๆเหล่านี้ ปรากฏว่าเราเองมีความรู้ตรงนี้มากมาย เราเคยตากกล้วยบนสังกะสี ก็ได้กล้วยตาก แต่พอมีพัฒนากรเข้าไป เขาบอกว่าคุณต้องมาทำโรงอบกล้วยตากซิ. ผมสงสารชาวบ้าน ไปเห็นเขาเอาอิฐบล๊อกมาก่อ แล้วก็ไปลงทุนไปกู้เงินมาเป็นหมื่น แล้วมารวมกลุ่มทำอะไรกัน มีการเจาะรู มีการทำชั้นวางซ้อนๆกัน แล้วเอาแก๊สเข้ามา ปรากฎว่าเจ๊ง ขาดทุนต้องเป็นหนี้เขาอีก แล้วพัฒนากรซึ่งเป็นคนแนะนำก็ย้ายไปแล้ว คนมาใหม่ก็มาแนะนำใหม่อีก นี่คือความเลวร้ายที่เกิดขึ้น

ทั้งๆที่กล้วยตากที่เขาตากกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แทนที่จะคิดว่าทำอย่างไรไม่ให้ขี้ฝุ่นลงไป เอาพลาสติกหรืออะไรไปคุมกันไว้ ก็จะเป็นกล้วยตากได้ จะอบน้ำผึ้งหรืออะไรต่ออะไร แล้วเราก็ไปบอกว่าต้องเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่พอทำออกมาจริงๆ ล้นตลาดบ้าง ส่วนพัฒนากรก็เปิดตูดไปแล้ว และบอกกับชาวบ้านว่าผมมีหน้าที่แนะนำแต่กรรมวิธีเท่านั้น ส่วนเรื่องตลาดต้องไปถามอีกคนหนึ่ง อย่างนี้มันตายครับ

เราเองไม่เคยที่จะนำเอาความรู้ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายมาใช้ เช่น การทำกะปิ การทำปลาร้าก็เหมือนกัน ก็เป็นการรวบรวมแล้วเก็บพลังงานเอาไว้เพื่อไม่ให้มันสลายเร็ว เป็นการดองพลังงานไว้ในไห และเราสามารถเก็บรักษาได้เป็นปีๆเพื่อเอามากิน มนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่มีชีวิตอยู่ได้ ที่ขับเคลื่อนได้ พูดได้ ทุกวันนี้ก็ต้องอาศัยพลังงาน และพลังงานที่อยู่ในตัวมนุษย์ก็มีพลังงานไฟฟ้าอยู่ด้วย

มันเป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันให้มาก ดังที่ อ.เดชรัตน์ พูด ไม่ใช่เป็นบ้าไปสร้างโรงไฟฟ้า 3 พันกว่าเมกกาวัตต์ที่บ่อนอก-บ้านกรูด หรือที่ไหนกันอีกแล้ว มันจะต้องกระจายการผลิตกันออกไป เมื่อคุณกระจายการปกครองหรืออะไรต่ออะไรออกไป คุณต้องกระจายการผลิตพลังงานนี้ออกไปด้วย

วันนี้ก็ยังมีอีก เชียงใหม่ก็ยังคิดอีก จะมีการรวมศูนย์โรงกำจัดขยะ ผมก็ท้าให้มันทำกันไปเถอะไม่มีทางได้เกิดหรอก มันต้องกระจายออกไปให้แต่ละจุด แต่ละ อบต.ได้ทำกันขึ้นมา แล้วก็ของใครของมันในการจัดการ เพราะวันนี้ปัญหาเกิดขึ้นทุกที่แล้วมาปรึกษาผม ผมก็บอกไปว่าคุณทำผิด ไม่ว่าจะระบบกำจัดน้ำเสีย ระบบขยะ คนที่ถามผมอยู่ในทำเนียบรัฐบาล เป็นถึงผู้ช่วยเลขานายกรัฐมนตรีโทรศัพท์มาถาม ถามว่าได้ข่าวอาจารย์ทำเรื่องขยะ ทำเรื่องน้ำเสียหรือ ผมก็ตอบไปว่าผมไม่ได้ทำโดยตรง แต่ผมกำลังสนใจที่คิดจะทำ กำลังทดลองอยู่

เขาบอกว่าที่นครศรีธรรมราช ได้งบมาแล้ว 300 กว่าล้าน จะทำที่เทศบาลเมืองทุ่งสง ไปซื้อที่มาแล้วเป็นร้อยไร่ ตอนซื้อก็ไม่บอกชาวบ้านว่าจะทำอะไร ชาวบ้านเห็นว่าเป็นที่ของเทศบาลก็แล้วไป มันจะทำอะไรเขาก็ไม่สนใจ แต่พอวันหนึ่งมาบอกกับชาวบ้านว่าโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำโรงงานบำบัดน้ำเสีย

ก็โธ่ ! คนเขาได้ยินที่คลองด่าน เขาก็ด่ากันขรมๆที่โน่นที่นี่ มันจะเอามาทำไมบ่อบำบัดน้ำเสีย บำบัดน้ำเสียมันจะต้องเน่า มันจะต้องเหม็น เสร็จแล้วมันบำบัดแล้วทิ้งมาบ้านฉัน แล้วน้ำเสียเหล่านี้มาจากไหน? มาจากในเมืองทั้งหมด ส่วนคนในชนบทจะต้องมารับกรรมกับเรื่องที่ไม่ได้ก่อทำไม? เขาเลยบอกว่า มาเลยๆ ไม่ได้ค้านนะครับ บริษัทไหนรับเหมามาเลย แล้วรถคันแรกที่มาเจอระเบิดแน่ เท่านั้นล่ะครับ เทศบาลบอกว่าเจ๊งแล้ว และจะให้ทำอย่างไร?

ปรึกษาไปที่ส่วนกลาง ส่วนกลางก็ถามว่าจะทำอย่างไรดี เพราะระบบมันมีแบบนี้แบบเดียว ถาม สว. ซึ่งเป็นกรรมาธิการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมก็ไม่รู้ ไม่มีคำตอบ เพราะระบบการบำบัดน้ำเสียมันมีอย่างเดียว ระบบเปิดอย่างนี้ ซึ่งมันต้องตีๆปั่นๆ ใช้มอเตอร์ไม่รู้กี่สิบตัว ใช้เงินอีกมหาศาลไม่รู้สักเท่าไหร่

ที่ จ.ตรัง บ้านนายกชวน ผมไปดูมาเอง บ่อบำบัดน้ำเสียเสร็จมา 2-3 ปีแล้ว ของโยธาไปสร้างไว้มูลค่าหลายร้อยล้านบาท ใหญ่มากครับ แยกเป็นบ่อๆๆๆ ปล่อยให้น้ำเน่าดองไว้อย่างนั้น เพราะเทศบาลบอกว่ากูไม่มีสตางค์ มอบให้กูก็ไม่ต่อท่อไป เองอยากบำบัด บำบัดของเองไป ผู้รับเหมามอบให้โยธาแล้ว โยธารับมาแล้วบอกให้เทศบาลเอาซิ เทศบาลบอกว่าไม่เอา เพราะถ้าขืนเอาต้องใช้สตางค์ปีละเป็นสิบๆล้าน ฉันเอาสตางค์ไปทำอย่างอื่นดีกว่า ฉันก็ปล่อยให้มันบำบัดไปตามธรรมชาติ ปล่อยน้ำเสียลงป่าชายเลนไป

ที่เกาะ พีพี ก็เหมือนกันที่ผมไป ทำมา 2-3 ปี 30 กว่าล้าน เตาเผาสองตัวเล็กๆ แล้วก็บ่อบำบัดน้ำเสียอีก ปรากฏว่าไม่ work เพราะอะไร ? เพราะต้องใช้เงินเยอะ อบต.เองก็ทำไม่เป็นต้องไปจ้างคนมา operate เขาบอกว่าอย่าทำดีกว่า เพราะฉะนั้นออกกฎใหม่ว่าห้ามทุกคนต่อท่อน้ำทิ้งลงไปในท่อสาธารณะ ตลกดี ทำไว้เสร็จแล้วแต่มีกฎห้าม ดังนั้นทุกคนต้องทำของตัวเอง แล้วมันจะไปไหนครับ? ทีนี้มันก็ไหลลงทะเล ตอนนี้ทะเลที่ พีพี กำลังเน่า นี่คือปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น

บ้านเมืองก็ไม่รู้จะแก้อย่างไร? ผมพากรรมาธิการฯไป เอาฝรั่งจากเยอรมันไป บอกว่าจะไปทำให้ เอาเงินจากเมืองนอกมา 13 ล้าน แต่มีข้อแม้ว่าถ้าทำแล้วต้องเก็บภาษี ไม่เช่นนั้นให้ฟรีเคยตัว ก็เก็บภาษีคนที่ไปเหยียบที่เกาะปีละสองแสนคน แบ่งกันเสียภาษีคนละ 20 บาท รายได้นี้แบ่งกันคนละครึ่งกับ อบต.ก็ได้ พอมานั่งคูณแล้ว ปรากฎว่าใน 10 ปี กำไรอื้อซ่า เลยไม่ยอมเอา กรมควบคุมมลพิษบอกว่าไม่ให้ อย่าไปทำ เสียชื่อหมด เพราะอะไร? เพราะว่าถ้าทำแล้วแสดงว่าล้มเหลว ไม่ยอมก็เลยเอาเงินไปอุด อบต. ผลที่สุด 2 ปีให้หลัง ไม่มีสตางค์ไปให้เขา ระบบก็ไม่เดิน นี่คือประเทศไทย

แล้วสิ่งที่ผมเล่าให้ฟัง เมื่อเราพูด คนก็ว่าเหมือนกับเราพูดเพ้อเจ้อ ดังนั้นจะลองทำเอง ผมได้มีโอกาสไปคุยกับนักวิจัยท่านหนึ่งที่ทำเรื่องนี้ โดยการเอาเศษอาหารมาใส่ในถังหมัก แล้วก็ปั่นไปโดยมีลูกศิษย์ที่เรียนปริญญาโทมาช่วยกันทำ ใช้งบประมาณอยู่แสนกว่าบาท ผมพบว่ามันตรงกับที่ผมไปดูงานมาจึงชักชวนอาจารย์นักวิจัยท่านนี้ให้มาร่วมมือกัน โดยเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้นเป็นวันละตันหรือวันละห้าตัน ผมยังได้ชักชวนฝรั่งเยอรมันมาร่วมอีกคนหนึ่งด้วย พอมาทีแรกก็คิดว่าจะมาทำให้เราฟรี แต่พอทำไปทำมาเห็นว่าเป็นธุรกิจได้ ฝรั่งคนนั้นก็เปิดไปไหนก็ไม่รู้

มีอาจารย์คนหนึ่งเป็น ดร. อยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตร ผมเวลาพูดๆไม่ค่อยเก่ง เวลาคุยต้องใช้ล่ามแปลคือแม่บ้านผมเองซึ่งไม่ทันเขา ด็อกเตอร์ที่เขาอยู่ ม.เกษตรมาก่อนก็คว้าเอาไปโน่น เงินตั้ง 30 ล้านจากเยอรมันมา นี่คือบ้านเราครับเป็นอย่างนี้ ผมเองไม่คิดว่าจะมาทำวิจัย แต่บางคนมีอาชีพทางวิชาการ เอาไปแล้วจะได้เป็นผลงานวิชาการ แต่ตัวเองหารู้ไม่ว่าสิ่งที่เขาจะทำนั้นเขาต้องการ ผมต้องการให้ชุมชนได้เห็นตัวอย่าง ไม่ต้องการให้เอามาเพื่อทำธุรกิจอย่างเดียว ต่อไปใครจะทำอะไรเรามีรูปแบบให้ ดังนั้นเราเลยคิดว่าเราจะย่อโครงการลง เอาเพียงขนาดวันละตัน ซึ่งใช้งบประมาณ 1-2 ล้านบาท จะเอาเงินที่ไหน? ขอรัฐบาลก็ช้า

เผอิญปรึกษากับ อบจ. เขามีงบประมาณมากมายสนับสนุนหลายสิบล้าน เขาก็ยินดีจะให้เพราะกำลังจะทำของเขาอยู่ เราเองก็กลัวว่าภาพพจน์จะไม่ดีที่ไปใช้เงินก้อนนั้น แต่เราก็ไม่ได้ไปทำอะไรเสียหาย ปรากฎว่างบประมาณที่ได้มาก้อนนี้ตอนเริ่มโครงการ มีหลายคนอยากจะดู แต่ผมคิดว่าให้มันจบก่อนเป็นตัวอย่างของถังหมักแบบปิด ขนาดวันละ 1 ตัน สามารถทำในเขต อบต.ได้ โดยการเอาขยะที่เป็นเศษอาหารมาหมักแล้วก็ปั่น หลังจากนั้นจะได้ปุ๋ยเอง

อันนี้ถ้าชุมชนทำ ชุมชนก็จะได้ทั้งแก๊ส ได้พลังงาน เช่นสมมุติว่าทำที่ อ.สันป่าตอง(เชียงใหม่) แก๊สที่ได้ออกมาผลิตกระแสไฟฟ้าไม่พอ เพราะว่ามันน้อยไป เราก็เอาไปทำเตาอบลำใยก็ได้ หรือเราก็เอาไปทำเตาที่อบไม้แกะสลักก็ได้ เพราะทุกวันนี้เราต้องใช้ไม้ฟืนไปอบไม้แกะสลักพวกนี้ให้มันแห้ง อันนี้เป็นผลผลิตที่ทำส่งเมืองนอกด้วย เราต้องใช้ท่อนฟืนจำนวนมหาศาล แต่ถ้าเราใช้วิธีการนี้ก็จะทุ่นค่าใช้จ่ายและทรัพยากร ในขณะเดียวกัน แถวนั้นก็มีโรงหมู ขี้หมูก็เหม็น คนก็ด่า ปรากฏว่าผมได้ไปทำอยู่ใกล้ๆกับโรงหมู ชาวบ้านถามว่ามาตรงนี้มันจะเหม็นหรือเปล่า ปัดโธ่! ของเขาเหม็นกว่าไม่รู้ตั้งเท่าไหร่ เราจะทำให้เขาหายเหม็นด้วย อันนี้คือความที่ไม่เข้าใจ

อบต.อยู่ใกล้ๆบอกว่าไม่ได้ ต้องขออนุญาตก่อน กลัวน้ำเน่า กลัวอะไรต่อมิอะไร ความจริงแล้วระบบนี้ทั้งหมดไม่มีน้ำเสียหรืออะไรลงไปเลย อันที่จริงต้องการทุกอย่างที่เป็นของเสียใส่เข้าไปด้วย โรงที่ผมไปดูงานในประเทศเยอรมัน เวลาเข้าไปในห้องส้วมของโรงงานนั้น พอเข้าส้วมเสร็จ กดชักโครกปู๊ด เขาก็ใช้ปั๊มดูดกลับเข้ามาใส่ในถักหมักเลย เป็นกระบวนการกำจัดของเสียที่ใส่ลงไป แล้วกลับออกมาเป็นปุ๋ย

ถามว่าสิ่งเหล่านี้ เกษตรกรของบ้านเราจะอยู่ได้ไหม? ในขณะที่ต้องไปพึ่งพาซื้อปุ๋ยเคมีของคนอื่นทั้งปีไม่รู้สักเท่าไร หนี้ทั้งหมดที่อยู่กับ ธกส. มากกว่าครึ่ง 3-4 แสนล้านบาทที่เกษตรกรเป็นหนี้อยู่นั้น คือค่าปุ๋ยเคมีกับยาฆ่าแมลง เงินพวกนี้ส่งไปต่างประเทศทั้งนั้น ปุ๋ยแห่งชาติที่ตั้งขึ้นมาและกำลังจะเจ๊ง กำลังเป็นหนี้กันหมื่นๆล้านอยู่นี้ ก็คือไปสั่งปุ๋ยเคมีมาแล้วนำมาคลุกเคล้าแล้วนำออกขาย ยังเจ๊งเลยขนาดนั้น ซึ่งไม่รู้ว่าตั้งขึ้นมาทำไมแล้วบอกเราว่าเป็นปุ๋ยแห่งชาติ มีการโฆษณาออกทีวีกันเยอะแยะ

ทำไมสิ่งเหล่านี้ เพียงเล็กๆน้อยๆจึงไม่สนับสนุน อันนี้พอโครงการใหญ่ขึ้นไป ผมทำ paper อย่างดี นำไปให้กองทุนสิ่งแวดล้อมเขาดูว่าใช้ได้ไหม เจ้าหน้าที่บอกว่าดีมากครับอาจารย์ อย่างนี้เหมาะที่จะทำ แล้วบอกชัดเจนว่าเป็นโครงการนำร่องที่จะให้กับ อบต. และเทศบาลทั่วประเทศทดลองที่จะใช้เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งตรงนี้ยังไม่มีการทำกันเลย กระทรวงวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่มีเลย จะเอายังไง ทำแต่หลุมขยะและบางครั้งก็ให้งบประมาณส่งเดชไป

เชียงใหม่ตอนนี้ได้งบประมาณพันสองร้อยล้าน มาอีกแล้วนะครับ ให้ อบจ. 400 ล้าน ให้เทศบาล 400 ล้าน ให้จังหวัด 400 ล้าน ให้ 3 องค์กรไปหาที่กันเอาเอง ไปหาระบบกันเอาเอง คิดดูก็แล้วกันครับว่าเรามีกระทรวงวิทยาศาสตร์ไว้หาอะไร มีแต่หาแต่สตางค์มาแล้วบอกว่าไปหาระบบกันเอาเอง ปรากฏว่ายังหากันไม่ได้ ทำกันเละไปหมด

อบจ. ก็จะไปเอาเทคโนโลยีจากเยอรมัน ทั้งโรงเลยเขาจะขายหมด 400 ล้าน ระบบขยะอะไรต่างๆเขาก็เชิญผมไปดู มันก็ดูดีหรอกครับแต่ว่ามันต้องซื้อเขาทั้งหมดเลย ไม่เคยคิดว่าไอ้ตรงนั้นเราน่าจะเอามาทำเอง ผมบอกว่าถ้าตรงนั้นเรามาทำกันเอง มันก็แค่ตัวหนึ่งไม่เกิน 20 ล้าน วันละ 20 ตัน มันสามารถที่จะรองรับเชียงใหม่ได้ 4 โรงก็พอแล้ว งบประมาณใช้ไม่ถึง 100 ล้านด้วย กับเงินพันกว่าล้านที่ให้มา เราทำไมต้องใช้เงินมากมายขนาดนั้นไปจัดการขยะ อันนี้พูดหลายเที่ยวแล้วยังไม่มีใครฟัง

ล่าสุดได้ไปเสนอกองทุนสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ตอบมาคืออะไรรู้ไหมครับ "โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีแต่ไม่เข้าข่ายสำนักงานกองทุนสิ่งแวดล้อม เนื่องจากองค์กรของท่านไม่ได้จดทะเบียนกับสำนักงาน และขอแนะนำให้ท่านไปหากองทุนอนุรักษ์พลังงานหรือให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งงบประมาณและก็ขอเอาจากส่วนอื่น หรือให้ตัวจังหวัดเป็นคนตั้ง" แล้วมันจะมีกองทุนไปหาอะไร ตั้งเยอะแยะนะครับ

ผมคิดว่าสิ่งที่ผมจะทำให้สังคมนี้เป็นสิ่งที่ดี ในชีวิตนี้เราได้ให้อะไรกับสังคมเพิ่มไปได้อีก นอกเหนือจากที่ช่วยชาวบ้านเขาแล้ว ลองดูซิเรื่องสิ่งแวดล้อม พยายามจะทำ

เรื่องข้างต้นนี้ผมได้เสนอไปให้ สพช. ด้วย ซึ่งได้ทำไปก่อนที่กองทุนสิ่งแวดล้อมจะตอบกลับมาอีก ตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงมกราคม 5 เดือนไปแล้ว สำหรับคนอื่นๆที่เสนอโครงการอื่นๆไป เขาให้งบประมาณไปแล้ว แต่ของผมที่ทำเรื่องนี้กลับยังไม่ได้ ผมเข้าใจว่าเวลาจะให้งบประมาณคงดูที่ชื่อกันด้วย, ปิยสวัสดิ์คงดูที่ชื่อผม มันก็เลยถูกดอง ไม่สนใจเลย ทั้งๆที่เป็นเรื่องที่ถามว่ารัฐบาลสนับสนุนไหม? คุยกับเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หมอพรหมมินทร์ เอาฝรั่งไปนั่งคุย 2 ชั่วโมงเล่าให้ฟัง แกก็บอกว่าไม่ค่อยรู้เรื่องเพราะจบมาทางหมอ แต่ในฐานะที่ต้องดูหลายๆเรื่อง เออ! สนับสนุน มีอะไรให้บอก ผมก็บอกว่าถ้าเช่นนั้นให้สนับสนุนเรื่องนี้ซิ นี่ขนาดสนับสนุนนะครับ 6 เดือนยังไม่ได้คำตอบเลย

และเรื่องกองทุนสิ่งแวดล้อมก็สนับสนุน เห็นเซ็นอะไรแก๊กๆๆไป ไม่รู้ว่าที่เซ็นไปนั้น"ให้อาจารย์ชัยพันธ์" หรือว่า"อย่าให้"ก็ไม่รู้ มันถึงได้ตอบมาแบบนี้ แทนที่จะตอบว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องดี เราสนใจมาก ควรที่จะเปลี่ยนแปลงเรื่องบางอย่างโดยหาหน่วยงานไหนที่มีชื่อเข้ามาเพื่อให้ได้ตามเงื่อนไข โดยที่เขาให้นิติบุคคลซึ่งไม่จำเป็นต้องไปขึ้นกับกองทุนด้วย

ผมเสนอเข้าไป 3 ชื่อร่วมกัน ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากคณะวิศวกรรมศาสตร์(สาขาสิ่งแวดล้อม) โดย ดร.เสรี ยื่นไปในนามผู้เขียนโครงการนี้คือ สถาบันสิทธิชุมชน แล้วก็สหกรณ์ข้าวและพืชผักปลอดสารพิษสันป่าตองจำกัด สหกรณ์เขาก็จะทะเบียนถูกต้องเรียบร้อย ปรากฎที่เขาตอบมาว่า "และสหกรณ์ที่ท่านว่านั้นก็ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนทำเนียบของสหกรณ์" เหมือนกับว่าผมเอาสหกรณ์เก๊ไปเสนอ คือไปนั่งตรวจกับบัญชีชื่ออะไรที่มันไม่เป็นเรื่อง นี่ล่ะคือประเทศไทย แล้วเราจะหวังอะไรกับทางเลือกใหม่ นอกจากอย่างที่บอกครับ ต้องกัดฟันที่จะเลือกกัน แล้วจะทำยังไงจะให้มันเห็นว่าวิถีชีวิตของคนของบ้านนี้เมืองนี้ จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีการจัดการในเรื่องพลังงาน ซึ่งผมถือว่าเป็นเรื่องใหญ่

เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ถ้าเราคุยกันอยู่ในวงแค่นี้ มันก็คงจะไม่ขยาย จะทำอย่างไรที่ให้วงสนทนานี้ซึ่งสนใจในเรื่องของการทำพลังงานทางเลือกมันแผ่กว้างออกไป เป็นน้ำหนัก เป็นข้อเรียกร้องในสิ่งที่รัฐเองจะต้องพึงเอาใจใส่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องมีความรู้เรื่องเหล่านี้ และคิดว่าเรื่องพลังงานนี่เป็นหัวใจ

พลังงานที่เราพูดในที่นี้ไม่ใช่หมายเพียงแค่ไฟฟ้าเท่านั้น มันเป็นพลังงานทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องไปถึงเกษตรกรรม ซึ่งเป็นหัวใจของประเทศ ถ้าเกิดว่าเกษตรกรสามารถมีโรงงานแบบนั้นได้ เชื่อไหมครับ โรงที่ผมว่านี่ คนที่ทำงานเขาเป็นเจ้าของอยู่คนเดียวแล้วก็ทำคนเดียว จะจ้างแรงงานเฉพาะที่มีการแยกขยะเพียง 4 คน แล้วจ้างเป็นชั่วโมง 4 ชั่วโมงแล้วก็จบไป ทำเพียงคนเดียว ขาดเหลือบ้างก็เอาเมียมาทำ มีรถอยู่ 3 - 4 คัน มีรถไถ รถตัก และรถอื่นๆ แกก็ลงจากขับรถคันนี้แล้วก็ไปใช้คันโน้น แล้วรถทั้งหมดที่อยู่ในนั้น นอกจาก Audi แล้ว ใช้น้ำมันดีเซลกับน้ำมันเมล็ดทานตะวันทั้งหมด

แล้วถามว่าเงินจะเอาไปไหน? คำตอบก็คือ เขาก็อยู่ดีกินดี มีบ้านไม้ 3 ชั้น มีสระว่ายน้ำ มีรถยนต์ Audi แล้วก็รถเบนซ์อีกคันหนึ่ง เพราะเขาไม่ต้องใช้จ่ายอะไรเลย เวลาอยากจะกินน้ำผึ้ง เขาก็มีฟาร์มและเลี้ยงผึ้งเองในฟาร์มนั้น นี่คือเรื่องที่เขาพัฒนาไปแล้ว และได้หวนกลับมาสู่ความเป็นธรรมชาติ

แต่สำหรับไทยเรานี่ ทุกอย่างต้องพึ่งพาเขา ซึ่งก็ยังไม่รู้ตัวแล้วก็ต้องพึ่งพาเขาอยู่ตลอด อีกเมื่อไหร่ครับที่เราจะลดความเป็นทาส โดยการครอบงำของทุนโลก ไม่ว่าจะเป็น world Bank, IMF, ADB, หรือ WTO ผมว่าไอ้ตัวเหล่านี้ คือแอกสำคัญที่ครอบงำประเทศไทยอยู่ แล้วก็รัฐบาลไม่รู้ว่าจะกี่ยุคกี่สมัยไม่เคยหลุดพ้นจากแอกเหล่านี้เลย เราจึงไม่สามารถที่จะพัฒนาพลังงานทางเลือกขึ้นมาได้ เพราะเมื่อไหร่ที่เราพัฒนาพลังงานทางเลือกขึ้นมานั้น ความพินาศของบริษัทน้ำมัน บริษัทรถยนต์ หรืออะไรทั้งหลายแหล่มันจะสูญเสียมหาศาล เพราะฉะนั้นประเทศไทยจึงเป็นบ่อเลือดที่ให้เขาดูด โดยเฉพาะจากประเทศที่ผลิตเครื่องจักรกลและน้ำมัน

พลังงานทางเลือกเป็นเรื่องที่เกิดยาก และผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ควรจะช่วยกันถกเถียง ผมเองก็พยายามพิมพ์หนังสือ ก็ได้เพียงไม่กี่ร้อยเล่มมาแจกกัน ต้นทุนก็เล่มละ 20 กว่าบาท คือไปพิมพ์เองก็แพงอย่างนี้ มันก็เผยแพร่ไปไม่ได้มาก จะทำอย่างไรให้วงสนทนาอย่างนี้ โอกาสแบบนี้ ได้มีคนของรัฐเข้ามาฟังหน่อยเพื่อจะเอาใจใส่สักนิดหนึ่ง ทำอย่างไรให้มี work shop อบรมรัฐมนตรีได้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประเทศของเรา

 

คลิกไปหน้าบทความที่เกี่ยวเนื่องกัน

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

 

ชัชวาลปุญปัน : ก่อนอื่นต้องขอแนะนำตัว อ.ชัยพันธ์ ประภาสะวัติ ให้กับพวกเรารู้จักสักเล็กน้อย อาจารย์เป็นอีกท่านหนึ่งที่จะมานำบรรยายในชั่วโมงเรียน"พลังงาน"คราวนี้ อาจารย์เป็นที่ปรึกษาสมัชชาคนจน และเป็นผู้อำนวยการสถาบันสิทธิชุมชน และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องของพลังงานทางเลือกโดยตรง เพื่อประหยัดเวลาพวกเรา ผมขอเชิญอาจารย์ชัยพันธ์เริ่มเลยครับ

ชัยพันธ์ ประภาสะวัติ : ความจริงผมจบมาทางด้านประติมากรรมโดยตรง จากมหาวิทยาลัยศิลปากร แต่อยู่ๆทำไมถึงมาเกี่ยวข้องกับเรื่องพวกนี้ ก็เพราะเป็นเรื่องของจังหวะที่ต้องเข้ามาเกี่ยว อันที่จริงก็คือเข้าไปคัดค้านในสิ่งที่มันไม่ชอบมาพากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่มาเกี่ยวข้องกับ"พลังงาน" แล้วต้องไปจับไปตาม เนื่องจากเห็นเขาเอาลิกไนต์มาเผาตั้งแต่โรงไฟฟ้าแม่เมาะแล้ว สังเกตดูว่ามันเกิดปัญหาอยู่เรื่อย เป็นเพราะอะไร? อันนั้นก็คือสิ่งที่สงสัยอยู่

พอเรื่องขยับใกล้ตัวมาก็คือ ขยะล้นเมืองเชียงใหม่ เขาก็บอกว่าต้องเอาไปเผา วิธีเผาที่ดีที่สุดและถูกที่สุดก็คือต้องเผารวมกับลิกไนต์ แล้วก็เลยมีโครงการเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา เป็นโครงการที่หรูหรามากในการสร้างความสะอาดให้กับเมืองเชียงใหม่โดยเอาลิกไนต์มาเผาขยะ โดยที่จะไปตั้งที่เขตอำเภอหางดง จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่บริเวณหลังโรงงานที่ผมทำงานศิลปะนั่นเอง

16 กุมภาพันธ์ 2545 / เวลา 15.30 น. ณ สวนอัญญา จ.เชียงใหม่ (บทความนี้ยาวประมาณ 9.5 หน้ากระดาษ A4)