H

เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย :

ข้อมูลข่าวสารจากองค์กรต่างๆ
ลำดับที่ 361 หัวเรื่อง
สารบัญข้อมูล ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
สมเกียรติ ตั้งนโม
และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ร่วมพิจารณาคัดเลือก

บริการเผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาแจ้งให้ทราบที่

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com

130347
release date
R
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
Wisdom is the ability to use your experience and knowledge to make sensible decision and judgements


แถลงการณ์ต้านเขื่อนแก่งเสือเต้น
แฉ รัฐเผด็จการใช้ทหารปลุกผีเขื่อนแก่งเสือเต้น
Community University
Assembly of the Poor. THAILAND
เครือข่ายพิทักษ์แม่น้ำยม

จากการที่กองทัพบก โดยรอง ผบ.ทบ.ได้สั่งการให้หน่วยข่าวกองทัพบก เข้าพื้นที่ที่จะสร้างโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น จังหวัดแพร่ เพื่อประเมินสถานการณ์และหาข่าว และกองทัพบกจะนัดประชุม 3 ฝ่าย (ทหาร , กรมชลประทาน และผู้เกี่ยวข้อง) ภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 เพื่อวางแผนในการดำเนินงานต่อไป อีกทั้งทางกรมชลประทาน ยังมีการขอกำลังทหารเพื่อเข้าปฏิบัติการทางด้านจิตวิทยา โดยใช้วิธีประกาศให้พื้นที่ ตำบลสะเอียบเป็นเขตภัยภิบัติ ประสบความแห้งแล้งเป็นข้ออ้างในการนำทหารเข้าพื้นที่

นอกจากนี้ยังมีการระบุว่าพื้นที่ ตำบลสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ เป็นพื้นที่ที่มีความรุนแรง ซึ่งมีสาเหตุมาจาก NGO สายนักศึกษาธรรมศาสตร์ และลูกหลานชาวสะเอียบที่จบจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้จ้างอาจารย์จากโรงเรียนสูงเม่น จ.แพร่ เพื่อสร้างกระแสมวลชน ในการสนับสนุนเขื่อนแก่งเสือเต้น

เครือข่ายพิทักษ์แม่น้ำยม ขอประณามพฤติกรรมเผด็จการ ใช้อำนาจ ใช้กำลังทหาร ในการปลุกผีเขื่อนแก่งเสือเต้น ทั้งที่การศึกษาของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย (TDRI.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเอง ได้ศึกษาด้วยเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ ได้ข้อสรุปว่า เขื่อนแก่งเสือเต้นไม่คุ้มทุน เป็นโครงการที่ไม่สมควรกับการลงทุน

อีกทั้ง การศึกษา การวิจัย ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้มีการศึกษามากว่า 10 ปี ก็มีความชัดเจนแล้วว่าไม่สมควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น อาทิ

1. การศึกษาของ องค์การอาหารและการเกษตรโลก (FAO.) ด้วยเหตุผลเรื่องการป้องกันน้ำท่วม กรณีเขื่อนแก่งเสือเต้น สามารถเยียวยาปัญหาน้ำท่วมได้ เพียง 8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

2. การศึกษาของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด้วยเหตุผลทางนิเวศวิทยา ที่มีข้อสรุปว่าหากสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของอุทยานแห่งชาติแม่ยมเป็นอย่างมาก หากเก็บผืนป่าที่จะถูกน้ำท่วมไว้ จะมีมูลค่าต่อระบบนิเวศน์ และชุมชนมากกว่า

3. การศึกษาของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเหตุผลทางด้าน ป่าไม้ สัตว์ป่า ที่มีข้อสรุปว่า พื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นทั้งอุทยานแห่งชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ อีกทั้งยังเป็นแหล่งป่าสักทองธรรมชาติผืนเดียวที่เหลืออยู่ ดังนั้น ควรเก็บรักษาไว้ เพื่ออนาคตของประชาชนไทย และมวลมนุษยชาติ

4. การศึกษาของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ด้วยเหตุผลในการจัดการน้ำ สรุปว่ายังมีทางออกและทางเลือกอื่น ๆ อีกหลายวิธีการ ที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

ทั้งนี้ เครือข่ายพิทักษ์แม่น้ำยม ใคร่ขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมลุ่มน้ำยม โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยย่อ ดังนี้

1. การจัดการโดยใช้แนวทางทางภูมินิเวศวิทยา การจัดการน้ำแบบใหม่ และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมองภาพรวมการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำทั้งระบบ

2. การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การฟื้นฟูป่าไม้ การอนุรักษ์ป่า การปลูกป่าเสริม การปกป้อง พิทักษ์รักษา และการจัดการป่า โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม (การประกาศป่าชุมชน ป่าอนุรักษ์ ปลูกป่า ฯลฯ) นับเป็นแนวทางหนึ่งที่จะฟื้นฟูเสถียรภาพของระบบนิเวศน์ ให้กลับคืนมาสู่สมดุลอย่างยั่งยืน

3. การขุดลอกตะกอนแม่น้ำ อันจะสามารถฟื้นฟูแม่น้ำให้กลับมาทำหน้าที่แม่น้ำตามธรรมชาติได้ การทำทางเบี่ยงน้ำเพื่อระบายออกนอกเขตชุมชน การสร้างเครือข่ายทางน้ำเพื่อกระจายน้ำไปยังนอกเขตชุมชน ฯลฯ

4. การฟื้นฟูที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สามารถทำได้โดย ขุดลอกคูคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำกับหนองบึง การยกถนนให้สูงขึ้น หรือเจาะถนนไม่ให้กีดขวางทางน้ำ การสร้างบ้านเรือนให้อย่างน้อยชั้นล่างสุดต้องสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุด การแนะนำให้เกษตรกรการปลูกพืชอายุสั้น พันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การกำหนดให้เป็นเขตเสี่ยงภัยจากน้ำท่วม การหยุดยั้งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ขวางทางน้ำในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำยม การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น เป็นที่ท่องเที่ยว เป็นแหล่งประมง เขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

สิ่งเหล่านี้นอกจากจะสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ ยังสามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ทางตอนล่างลงมาตลอดจนถึงกรุงเทพฯ ได้ เนื่องจากที่ราบลุ่มแม่น้ำยมเป็นที่พักน้ำ ที่สามารถพักน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมกันถึง 500-1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร (ซึ่งมากกว่าแก่งเสือเต้นเสียอีก)

5. การจัดการทางด้านความต้องการ ในปัจจุบันลุ่มแม่น้ำยมมีระบบชลประทานขนาดใหญ่ และขนาดกลาง 24 แห่ง ระบบชลประทานขนาดเล็ก 220 แห่ง บ่อน้ำตื้น 240 บ่อ และระบบสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้าของกรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน 26 แห่ง รวมพื้นที่ชลประทาน 1,117,465 ไร่ ระบบชลประทานเหล่านี้ล้วนแต่มีประสิทธิภาพต่ำ กล่าวคือ ประสิทธิภาพเฉลี่ยระบบชลประทานของกรมชลประทานมีเพียง 35% ส่วนระบบสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้ามีประสิทธิภาพเฉลี่ย 57% ขณะที่ประสิทธิภาพระบบชลประทานทั่วโลกเฉลี่ย 64%

การจัดการด้วย DSM โดยการซ่อมบำรุงระบบชลประทานที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนให้เกิดกลุ่มผู้ใช้น้ำ การให้ความรู้แก่ผู้ใช้น้ำจะสามารถทำให้เหลือน้ำจำนวนมาก เฉพาะระบบของกรมชลประทานถ้าใช้ระบบ DSM จะเหลือน้ำถึง 101 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบเท่ากับปริมาณในการอุปโภคบริโภคของคนในลุ่มแม่น้ำยมถึง 7.6 ล้านคน

6. การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มแม่น้ำยมสามารถดำเนินการได้โดยการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กตามที่มีรายละเอียดในแผนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งจัดทำโดย กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย แผนดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้โดยใช้งบประมาณเฉลี่ยแล้วหมู่บ้านละประมาณ 3 ล้านบาทเท่านั้น

7. การพัฒนาระบบประปา การขาดแคลนน้ำในเมืองใหญ่ ๆ โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่ความต้องการน้ำมีสูง ไม่ได้เกิดจากการขาดน้ำดิบเท่านั้น แต่เกิดจากระบบการผลิตน้ำประปาของการประปาภูมิภาคไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น เมืองสุโขทัยขาดแคลนน้ำประปาในฤดูแล้ง เพราะระบบการผลิตน้ำประปามีความสามารถในการผลิตน้ำประปาเพียง 60 % ของความต้องการน้ำประปาสูงสุดในฤดูแล้ง การขยายระบบการผลิตน้ำประปาจะสามารถช่วยในการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคในเมืองใหญ่ได้ อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ให้มีการประหยัดน้ำในฤดูแล้งก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น

ท้ายนี้ เครือข่ายพิทักษ์แม่น้ำยม ขอให้พี่น้องประชาชนผู้รักความเป็นธรรมทุกท่าน ร่วมกันติดตาม ตรวจสอบ พฤติกรรมรัฐเผด็จการ ใช้อำนาจทหารฉ้อฉล และ ฉกฉวยสถานการณ์ รวมทั้งติดตามพฤติกรรมของพรรคการเมือง นักการเมือง ข้าราชการบางคน ที่เร่งรัด ผลักดันเขื่อนแก่งเสือเต้น เพื่อผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง

เครือข่ายพิทักษ์แม่น้ำยม 2
8 พฤษภาคม 2547

หยุด ทำลายป่า, หยุด ทำลายชุมชน, หยุด อ้างเพื่อประชาชน,
หยุด ผลาญเงินประเทศชาต,ิ หยุดหากินกับโครงการขนาดใหญ่, หยุด เขื่อนแก่งเสือเต้น.

หมายเหตุ : ท่านสามารถค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

แก่งเสือเต้น หรือคือทางออกเดียว? http://thaingo.org/cgi- perl/content/content2/show.pl?0132
เขื่อนแก่งเสือเต้น... จะดับเส้นชีวิตลุ่มแม่น้ำยมตอนล่าง http://www.seub.or.th/datacenter/dam/dam-id018.asp
ทรรศนะของ James F. Maxwell , M.Sc. ต่อป่าสักแม่ยมในโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น
http://www.seub.or.th/datacenter/dam/dam-id017.asp

เขื่อนแก่งเสือเต้นป้องกันน้ำท่วมได้จริงหรือ ทางเลือกอื่นๆ ยังมีอีกมาก หากไม่หลงกลนักการเมือง
http://www.thaingo.org/cgi-perl/content/content3/show.pl?0219
ทางเลือก 5 ประการ โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น http://www.searin.org/Th/KSTD/KstdA1.htm
เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมลุ่มน้ำยม http://www.searin.org/Th/KSTD/KSTDlet1.htm
เขื่อนแก่งเสือเต้น... ใครได้ประโยชน์ http://www.searin.org/Th/KSTD/KstdA3.htm

ความไม่เหมาะสมต่อการก่อสร้างโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น http://www.wildlifefund.or.th/dam2.html
จำเป็นแค่ไหนในการใช้ "เขื่อน" เพื่อการบรรเทาอุทกภัย http://www.seub.or.th/datacenter/dam/dam-id024.asp
ทางออกเขื่อนแก่งเสือเต้น แนวทางการแก้ปัญหา " น้ำ " http://www.seub.or.th/datacenter/dam/dam-id016.asp
"เขื่อน" ไม่ใช่ทางออกสุดท้าย http://www.seub.or.th/datacenter/dam/dam-id002.asp
จับประเด็น : ปลุกผีเขื่อนแก่งเสือเต้น http://www.thaingo.org/board_2/view.php?id=53

หมายเหตุ : ท่านสามารถติดต่อสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ที่ :
1. นายชุม สะเอียบคง กำนันตำบลสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ 054-529006, 07-1878346
2. นายเส็ง ขวัญยืน ผู้ใหญ่บ้าน บ้านดอนชัยสักทอง ตำบลสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ 01-0313815
3. นายอุดม ศรีคำภา แกนนำชาวบ้านกลุ่มราษฎรรักป่า ตำบลสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ 01-0210974
4. นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ 09-9226706
5. นายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ผู้อำนวยการเครือข่ายแม่น้ำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 09-8516780
6. นายประสิทธิพร กาฬอ่อนศรี กลุ่มเพื่อนประชาชน 09-9273556 22222222

 

เอกสารแนบในการประชุมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หมายเหตุ : สรุปรายงานความก้าวหน้าเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นเอกสารแนบในการประชุมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แนบมากับเอกสารกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โครงการแก่งเสือเต้น อำเภอสอง จังหวัดแพร่ สำนักโครงการขนาดใหญ่
(ประชุมเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2547)

สรุป รายงานความก้าวหน้าเขื่อนแก่งเสือเต้น

ความก้าวหน้าของเขื่อนแก่งเสือเต้น อำเภอสอง จังหวัดแพร่
- ผคญ.2 (แควน้อย) นายชูชาติ ฉุยกลม ขอกำลังทหารเพื่อเข้าปฏิบัติการทางด้าน จิตวิทยา ในท้องที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

- ผวจ.แพร่ เห็นชอบและให้การสนับสนุน โดยประกาศพื้นที่ ตำบลสะเอียบ เป็น เขตภัยพิบัติ ประสบความแห้งแล้งเป็นข้ออ้างในการนำทหารเข้าพื้นที่ แต่เนื่องจากภายในพื้นที่ยังมีความ รุนแรง ซึ่งมีสาเหตุจาก NGO สายนักศึกษาธรรมศาสตร์ และลูกหลานชาวสะเอียบที่จบจาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ จึงขอยุติเรื่องการปฏิบัติการด้านจิตวิทยาไว้ก่อน

- การประสานงานกับ ปจว. กองทัพบกโดยรอง ผบ.ทบ. ได้สั่งการให้หน่วยข่าวกองทัพบกเข้าพื้นที่แล้ว เพื่อประเมินสถานการณ์และหาข่าว และกองทัพบกจะนัดประชุม 3 ฝ่าย (ทหาร กรมชลประทาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง) ภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 เพื่อวางแผนในการดำเนินงาน

- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จ้างอาจารย์จากโรงเรียนสูงเม่น เพื่อสร้างกระแสมวลชน เพื่อทำความเข้าใจว่า การก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำยมเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่สำคัญ

(นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า "ในส่วนของเขื่อนแก่งเสือเต้นเป็นทางเลือกสุดท้ายในการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ จ. สุโขทัย จ. แพร่ และ จ. พิจิตร อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะมีประชาชนในพื้นที่แม่สะเอียบคัดค้านมาก จึงต้องใช้เวลา แต่ตนจะหักดิบไม่ยอมแพ้ต้องทำให้ได้ ขณะนี้ได้ให้ทหารและเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปแทรกซึมทำความเข้าใจกับชาวบ้านแล้ว")

***********************************
Mr.Prasittiporn Kan-onsri [Noi]
Community University.
Assembly of the Poor. THAILAND.
99 , 3 Floor Nakorn Sawan Rd. Pomprab Bangkok 10100. THAILAND.
Tel : 09-9273556 , Mail : [email protected] , CC : [email protected]
Web : http://www.thai.to/aop , http://www.thai.to/munriver , http://www.thai.to/yomriver

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
หรือหน้าสารบัญ ซึ่งมีอยู่ 2 หน้า
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

เดือนมีนาคม พศ.๒๕๔๗
ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดในหน้านี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับจาก email ที่องค์กรต่างๆส่งถึง เพื่อเผยแพร่ต่อสังคมวงกว้าง

ภาพรวมของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประกอบด้วย บทความทางวิชาการ บทความแปลและเรียบเรียง บทความถอดเทป บทความจากสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ข่าว และกระดานแสดงความคิดเห็น (สำหรับส่วนที่นักศึกษา และสมาชิกกำลังชมอยู่นี้ เป็นเว็ปเพจใหม่ ที่รวบรวมข่าวสารข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ซึ่งส่งจดหมายมาถึงกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อทราบ หากกองบรรณาธิการพิจารณาแล้วว่า จดหมายหรือข้อมูลใด เป็นประโยชน์ต่อสังคม จะนำมาเผยแพร่แพร่ต่อบนหน้านี้

ประวัติเกี่ยวกับ"หน้าสารบัญข้อมูล จากองค์กรต่างๆ" เริ่มเปิดดำเนินการขึ้นครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ วัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข่าวสารข้อมูล ที่มีสาระประโยชน์ต่อสังคม และเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนในวงกว้าง หากสนใจส่งข่าวสารข้อมูล ส่งมาได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

ภาพผลงานจิตรกรรม โดยศิลปินเม็กซิกัน Alfredo Ramos Martinez
ข่าวสารข้อมูลจำนวนมาก ได้ส่งถึงกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทุกวัน ในจำนวนนั้น มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งควรแก่การเผยแพร่ต่อสาธารณชน มากกว่าที่กองบรรณาธิการจะรับรู้แต่เพียงส่วนเดียว จึงได้นำมาเผยแพร่ต่อนักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่านร่วมกันพิจารณา

ข้อมูลหน้านี้ ได้รับจากองค์กรต่างๆซึ่งมีจดหมายมาถึง
กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สนใจเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน กรุณาส่งไปที่
midnightuniv(at)yahoo.com