H

เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย :

ข้อมูลข่าวสารจากองค์กรต่างๆ
ลำดับที่ 361 หัวเรื่อง
สารบัญข้อมูล ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
สมเกียรติ ตั้งนโม
และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ร่วมพิจารณาคัดเลือก

บริการเผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาแจ้งให้ทราบที่

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com

130347
release date
R
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
Wisdom is the ability to use your experience and knowledge to make sensible decision and judgements

ปัญหา 12 ข้อ ที่นักสร้างเขื่อนแก้ไม่ได้
ข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยชุมชน
สมัชชาคนจน

(บทความนี้ ยาวประมาณ 4 หน้ากระดาษ A4)

 

ลักษณะทางกายภาพของแม่น้ำตามธรรมชาติ และระบบนิเวศที่พัฒนาร่วมกันมานานนับพันๆ ปีนั้น เกิดจากการไหลของกระแสน้ำตามธรรมชาติและตะกอนที่พัดพามาจากต้นน้ำ การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่จะทำลายความสมดุลนี้และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นอันตราย ที่อาจใช้เวลาหลายสิบปีกว่าจะปรากฏออกมาชัดเจน แต่ท้ายที่สุดแล้วนี้จะลบล้าง "ผลประโยชน์" ทางด้านเศรษฐกิจ ที่จะได้จากเขื่อนและก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายด้านตัวเงินและสิ่งแวดล้อมแก่คนรุ่นต่อไป

ที่จริงแล้วเขื่อนเป็นเพียงเทคโนโลยีที่อยู่ในระหว่างการทดลองที่มีอายุ 40 ปี แต่ผู้ที่เสนอให้สร้างเขื่อนพยายามทำให้คนอื่นเชื่อว่า นั่นคือเทคโนโลยีที่ดีแล้ว โดยไม่สนใจการต่อต้านจากสังคมและปัญหาทางด้านเทคนิค

1. การตกตะกอนในอ่างน้ำ
แม่น้ำทุกสายจะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมในอ่างเก็บน้ำของเขื่อน ในที่สุดอ่างเก็บน้ำทั้งหมดก็จะเต็มไปด้วยตะกอน ซึ่งเป็นการแย้งกับความคิดที่ว่า เขื่อนคือรูปแบบหนึ่งในการจัดการทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืน

2. การพังทลายของชายฝั่ง
แม่น้ำเป็นแหล่งที่มาที่สำคัญของทรายชายฝั่งและโคลนตรงปากแม่น้ำ ซึ่งได้นำธาตุอาหารมาให้การประมงบริเวณปากแม่น้ำและชายฝั่ง เขื่อนได้ปิดกั้นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตนี้ไว้ในขณะที่มันกำลังไหลไปยังชายฝั่ง ทำให้เกิดการพังทลายของแนวชายฝั่ง การสูญเสียพื้นที่ลุ่มน้ำขังกรณีการที่แถบชายฝั่งไม่มั่นคงมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีผลนำไปสู่ภาวะน้ำท่วมที่รุนแรงขึ้นอีก

3. การพังทลายของร่องน้ำด้านล่าง
ตะกอนที่ถูกกักไว้เหนือเขื่อน นำไปสู่การพังทลายของร่องน้ำและตลิ่งลำน้ำที่ไม่มีตะกอนเจือปนที่ปล่อยออกมาจากเขื่อน ทำให้สิ่งที่อยู่ตามท้องน้ำและตามตลิ่งเคลื่อนตัวออกไป ผลที่ตามมาคือตลิ่งตามฝั่งแม่น้ำพังลงมาและแม่น้ำต้องตื้นเขิน

4. ความเสียหายและความเสี่ยงจากน้ำท่วมที่เพิ่มมากขึ้น
แม้ว่าการป้องกันน้ำท่วมจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ถูกนำมาอ้างในโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ แต่ความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและค่าเสียหายก็เพิ่มขึ้นอยู่เสมอ

5. อายุการเสื่อมประสิทธิภาพของเขื่อน
เขื่อนทุกเขื่อนมีอายุการใช้งานจำกัด ขึ้นอยู่กับการสะสมของตะกอนในอ่างเก็บกักน้ำและอายุของคอนกรีตและวัสดุอื่นๆ ที่ใช้สร้างเขื่อน เขื่อนที่มีอายุมากต้องการการดำเนินการอย่างระมัดระวังและเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการบำรุงรักษาสูง เขื่อนที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพียงต้านแรงดันของกระแสน้ำที่นิ่งอยู่เหนือเขื่อนจะต้องมีการก่อสร้างใหม่ที่เสียค่าใช้จ่ายสูงมาก

ในระยะยาวเขื่อนที่ได้ออกแบบเพื่อให้ทำงานคล้ายกับน้ำตกจำลองก็จะเกิกดการพังทลายได้ ซึ่งการพังทลายนั้นทำให้เกิดการไหลบ่าท่วมอย่างรุนแรงของโคลนและดินทรายที่ถูกพัดพามาจากที่สูง ทางเลือกเดียวของเขื่อนก็คือต้องขุดลอกตะกอนที่สะสมอยู่ออกไปอย่างระมัดระวังหรือไม่ก็ปล่อยให้ลุ่มน้ำเดิมตายไป

ถึงแม้ว่ายังไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่แห่งใดที่อยู่ในสภาพที่ใช้การไม่ได้แต่ปัญหานี้ก็ไม่ควรเพิกเฉย

6. คุณภาพของน้ำและโรคระบาดในอ่างน้ำ
การสร้างทะเลสาบจำลองในระบบนิเวศแม่น้ำ นำไปสู่คุณภาพน้ำเสียอย่างรุนแรง และปัญหาสุขภาพของประชาชนที่น่ากลัวอย่างยิ่ง ทะเลสาบที่มนุษย์สร้างขึ้นในประเทศเขตร้อนเป็นตัวการให้โรคระบาดร้ายแรงแพร่กระจายออกไป ตัวอย่างเช่น พยาธิใบไม้ในเลือดหรือโรคที่เกี่ยวกับตา ไข้มาลาเรียและโรคเท้าช้าง

การเน่าเปื่อยของป่าไม้ทีอยู่ใต้น้ำ สร้างสภาพที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ของแบคทีเรียที่สามารถดึงเอาโลหะหนักเป็นพิษ เช่น ปรอทขึ้นมาจากดินได้ สารพิษพวกนี้จะเข้าไปสะสมตามเนื้อเยื่อของปลาและถูกมนุษย์นำไปบริโภคต่อไป

ต่อมาสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยผุพังจะรวมตัวกับธาตุอาหารที่พืชผลทางการเกษตรนำออกไปใช้แล้วสร้างสภาพที่เหมาะสม ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มจำนวนของสาหร่าย ที่ทำให้ออกซิเจนในน้ำหมดไปอันจะมีผลต่อการตายของปลาจำนวนมาก

น้ำที่มีคุณภาพเลวลงนี้จะทำลายกังหันและกัดกร่อนคอนกรีตซึ่งมีผลต่อความปลอดภัยของเขื่อนและการใช้งาน

7. ปัญหาดินอุ้มน้ำและดินเค็ม
ในแต่ละปี ประเทศที่กำลังพัฒนาทุกประเทศ จะมีดินจำนวนมากที่ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อการผลิตทางการเกษตรได้ อันมีสาเหตุมาจากสภาพดินอุ้มน้ำและดินเค็มในเขตชลประทาน

การสร้างเขื่อนและการชลประทาน คือตัวการทำลายพื้นที่การเกษตรนับร้อยๆ ตารางกิโลเมตรที่มีมูลค่านับพันล้านเหรียญสหรัฐ การสร้างอ่างเก็บน้ำหนึ่งแห่งจะทำให้ระดับน้ำใต้ดินสูงขึ้น ซึ่งมักจะมีผลต่อบริเวณอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะอยู่ไกลจากพื้นที่สร้างเขื่อนออกไปก็ตาม

เกษตรกรชาวบราซิลที่อยู่ใต้เขื่อนอเมซอนเนี่ยนซามูเอล (AMEZONIAN SAMUEL DAM) ถูกบังคับให้ต้องย้ายถิ่นฐานเมื่อที่ดินของพวกเขาเริ่มมีน้ำผุดขึ้นมากลายเป็นบึงในเวลาต่อมา

การทำชลประทานที่ไม่รอบคอบพอในพื้นที่ที่การระบายน้ำไม่ดี เพื่อผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนหรือเพื่อให้ดูเหมือนว่าสมควรมีการสร้างเขื่อน ทำให้เกิดดินเค็มและมีน้ำใต้ดินมากเกินไปภายในเวลาไม่กี่ปี

8. ความปลอดภัยของเขื่อน
เป็นที่รู้กันดีว่าเขื่อนประสบความล้มเหลวในหลายๆ เรื่องตั้งแต่ปัญหาการก่อสร้างที่ไม่ได้คำนึงถึงมาก่อนล่วงหน้า การออกแบบที่ไม่ดีพอ คลื่นน้ำท่วมจากการพังทลายของดินบนภูเขา การก่อสร้างที่ขาดประสิทธิภาพ ความผิดพลาดของมนุษย์ในการควบคุมทางล้นน้ำของเขื่อน (spill ways) หรือการกระทำของสงคราม

นอกจากนี้เมื่อประสบการณ์ในการทำงานเพิ่มมากขึ้นความล้มเหลวในด้านอื่นๆ ก็ถูกชี้ชัดว่ามาจากการที่เขื่อนเก่าๆ นั้น ไม่ได้ถูกออกแบบมาดีพอ เมื่อเขื่อนอายุมากขึ้น ความเสี่ยงต่อความล้มเหลวจากเขื่อนก็จะเพิ่มขึ้น ตามตัวอย่างเช่น เขื่อนแห่งหนึ่งที่เมือง TEORELA ที่มีเอกสารพิสูจน์ได้ว่าอยู่ในสภาพที่เกือบไร้ประสิทธิภาพเต็มที่ เช่นเดียวกับเขื่อนที่เมือง TETON และเมือง VAIONT

ในขณะที่ผู้ออกแบบเขื่อนเริ่มมีความชำนาญในด้านความปลอดภัยของเขื่อนในหลายๆ ด้าน และให้ความสนใจกับการลดความเสี่ยงของเขื่อนลง แต่ก็ยังไม่อาจทำให้ความเสี่ยงเหล่านี้หมดสิ้นไปได้

9. ปัญหาแผ่นดินไหว
ความขัดแย้งระหว่างผู้ออกแบบเขื่อน และผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวและการแยกตัวของเปลือกโลกได้รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการวิจัยเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในอดีต และการยอมรับความจริงจากปรากฏการณ์ของเขื่อนที่ไปสู่การเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีตัวอย่างมาแล้ว แต่เขื่อนขนาดใหญ่อีกเป็นจำนวนมากก็ถูกสร้างขึ้นจากการประเมินในแง่ดีเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของแผ่นดิน ที่คิดว่าหมดไปแล้ว และปริมาณของรอยเลื่อนที่เคลื่อนตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

10. การไม่สามารถคาดเดาการไหลของน้ำได้
ถึงแม้จะนำการคาดคะเนที่คิดว่าใกล้เคียงที่สุดแล้วมาใช้ ผู้ที่ออกแบบเขื่อนก็ไม่อาจยืนยันได้ว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการไหลที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือการที่ต้นน้ำลำธารถูกทำลายมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันมีผลอย่างมากต่อความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการ

ตัวอย่างเช่น การที่น้ำไหลเข้าอ่างได้ลดลง 10% เป็นเวลานานอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่ทำให้โลกร้อนขึ้น ก็สามารถทำให้ปริมาณน้ำสำรองในเขื่อนลดลงถึง 40%

เขื่อนที่มีมูลค่านับหลายพันล้านเหรียญสหรัฐมักจะถูกออกแบบจากการคาดการณ์สภาพกระแสน้ำที่มาจากการวิเคราะห์ วัดปริมาณการไหลของน้ำในเวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษหรือไม่กี่ปี บ่อยครั้งที่ความเร่งรีบเร่งเทคอนกรีตของวิศวกร ทำให้การออกแบบที่มีมาตรฐานจากสมมติฐานทางด้านน้ำถูกละเลยความสำคัญไป ซึ่งนำมาอธิบายได้ถึงสถิติการเกิดน้ำท่วมที่ผู้สร้างเขื่อน (กรมชลฯ กฟผ.) น่าจะละอายแก่ใจว่าทำไมถึงเกิดขึ้นบ่อยๆ ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่มีการสร้างเขื่อนนั้น

ผู้ที่ออกแบบเขื่อนมักจะไม่ใช้นักอุทกวิทยา และน้อยคนนักที่จะรวบรวมเอาความเป็นไปได้ในเรื่องความถูกต้องของการคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับน้ำเข้าไปอยู่ในการคิดค่าใช้จ่ายในการสร้างเขื่อนแต่ละเขื่อน

11. การใช้งานที่ขาดประสิทธิภาพของอ่างเก็บน้ำ
โครงการเขื่อนขนาดใหญ่ มักถูกวางแผนเพื่อเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ เช่น ป้องกันน้ำท่วม ผลิตกระแสไฟฟ้า และการเดินเรือ การหลอกลวงบิดเบือนเรื่องความต้องการสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ถูกนำมาใช้เพื่อให้ดูว่าเขื่อนขนาดใหญ่ให้ประโยชน์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ และผลประโยชน์เหล่านี้ก็ถูกนำเป็นตัวกำหนดแผนงานในการปล่อยน้ำที่คำนึงถึงแต่ประโยชน์ดังกล่าวเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม แม้ประสบการณ์จากการควบคุมการทำงานของเขื่อนขนาดใหญ่ยังมีอยู่ไม่มาก แต่ก็แสดงให้เห็นว่า ทันทีที่เขื่อนถูกสร้างขึ้นมา อำนาจการบริหารอ่างเก็บน้ำก็มักจะตกอยู่ใต้อำนาจ และแรงกดดันจากการเมืองที่อิงกับผลประโยชน์บางประการซึ่งให้ผลกำไรมากกว่า เช่น เจ้าของที่ดินรายใหญ่ อุตสาหกรรมหนัก และบริษัทที่เกี่ยวกับพลังไฟฟ้า สิ่งเหล่านี้ทำให้ประโยชน์ที่จะได้รับจริงๆ จากเขื่อนลดลงไป

ผู้ที่ออกแบบเขื่อนไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้นการบริหารงาน ดังนั้นจึงไม่ค่อยได้วิเคราะห์ถึงการลงมือบริหารงานจริงๆ ว่าเป็นอย่างไร

12. การประเมินค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าความเป็นจริง
แม้ว่าการก่อสร้างเขื่อน ยังไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายในการป้องกันปัญหาทั้งหลายทีได้กล่าวมาแล้วข้างต้นเข้าไปด้วย (ซึ่งค่าใช้จ่ายพวกนี้ มักจะไม่ถูกรวมอยู่ในโครงการเขื่อนที่ผ่านการพิจารณาแล้วว่าสามารถก่อสร้างได้) ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างก็มักจะสูงกว่าราคาที่ถูกคาดการณ์ไว้ตอนที่มีการอนุมัติโครงการ

ความล่าช้าในการก่อสร้าง ปัญหาที่ไม่ได้คำนึงถึงกันมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น และการหาที่ก่อสร้างใหม่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้างในแง่ดีเกินไป และน่าแปลกมากทีเดียวที่สถาบันเงินทุน อย่างธนาคารโลก กลับเชื่อถือในความคิดเช่นนั้นของวิศวกร

ถ้าเขื่อนต้องเผชิญกับการแข่งขันอย่างเป็นธรรมจริงๆ ในระบบทุนนิยม เขื่อนทั้งหลายก็คงสร้างไม่ได้ ไม่มีนักลงทุนสติดีคนไหนจะซื้อหุ้นกับเทคโนโลยีที่ค่าใช้จ่ายในโครงการทั้งหมดสูงกว่าที่ประเมินไว้มากมาย และก็ไม่มีวันลดลงมาด้วย อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่ให้ประโยชน์น้อยกว่าที่สัญญาไว้ทุกปีไป

 

Mr.Prasittiporn Kan-onsri [Noi]
Community University.
Assembly of the Poor. THAILAND.
99 , 3 Floor Nakorn Sawan Rd. Pomprab Bangkok 10100. THAILAND. Tel : 09-9273556
Mail : [email protected] , CC : [email protected] Web : http://www.thai.to/aop , http://www.thai.to/munriver , http://www.thai.to/yomriver

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
หรือหน้าสารบัญ ซึ่งมีอยู่ 2 หน้า
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

เดือนมีนาคม พศ.๒๕๔๗
ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดในหน้านี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับจาก email ที่องค์กรต่างๆส่งถึง เพื่อเผยแพร่ต่อสังคมวงกว้าง

ภาพรวมของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประกอบด้วย บทความทางวิชาการ บทความแปลและเรียบเรียง บทความถอดเทป บทความจากสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ข่าว และกระดานแสดงความคิดเห็น (สำหรับส่วนที่นักศึกษา และสมาชิกกำลังชมอยู่นี้ เป็นเว็ปเพจใหม่ ที่รวบรวมข่าวสารข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ซึ่งส่งจดหมายมาถึงกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อทราบ หากกองบรรณาธิการพิจารณาแล้วว่า จดหมายหรือข้อมูลใด เป็นประโยชน์ต่อสังคม จะนำมาเผยแพร่แพร่ต่อบนหน้านี้

ประวัติเกี่ยวกับ"หน้าสารบัญข้อมูล จากองค์กรต่างๆ" เริ่มเปิดดำเนินการขึ้นครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ วัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข่าวสารข้อมูล ที่มีสาระประโยชน์ต่อสังคม และเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนในวงกว้าง หากสนใจส่งข่าวสารข้อมูล ส่งมาได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

ภาพผลงานจิตรกรรม โดยศิลปินเม็กซิกัน Alfredo Ramos Martinez
ข่าวสารข้อมูลจำนวนมาก ได้ส่งถึงกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทุกวัน ในจำนวนนั้น มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งควรแก่การเผยแพร่ต่อสาธารณชน มากกว่าที่กองบรรณาธิการจะรับรู้แต่เพียงส่วนเดียว จึงได้นำมาเผยแพร่ต่อนักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่านร่วมกันพิจารณา

ข้อมูลหน้านี้ ได้รับจากองค์กรต่างๆซึ่งมีจดหมายมาถึง
กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สนใจเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน กรุณาส่งไปที่
midnightuniv(at)yahoo.com