H

เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย :

ข้อมูลข่าวสารจากองค์กรต่างๆ
ลำดับที่ 361 หัวเรื่อง
สารบัญข้อมูล ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
สมเกียรติ ตั้งนโม
และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ร่วมพิจารณาคัดเลือก

บริการเผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาแจ้งให้ทราบที่

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com

130347
release date
R
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
Wisdom is the ability to use your experience and knowledge to make sensible decision and judgements


สมาคมคนอ่าน ส.ศ.ษ.
วิจารณ์หนังสือของ สุลักษณ์ ศิวรักษ์
วิพากษ์งานเขียน ๓ เล่ม
วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๔๗ ณ สวนเงินมีมา คลองสาน



สมาคมคนอ่านส.ศ.ษ.ครั้งที่ ๒
วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๔๗ ณ สวนเงินมีมา คลองสาน
การพูดคุยครั้งนี้ได้หยิบยกหนังสือ ๓ เล่ม มาเสนอในวงสนทนาคือ

๑. ทางเลือกของสังคมไทย คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา ๒๕๓๐
เป็นปาฐกถาพูดถึงวิกฤตการณ์ของสังคมไทย ช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๙-๓๐ มี ๔ เรื่องคือ

๑. ทางเลือกของสังคมไทย
๒. สังคมไทยในทศวรรษหน้า
๓.ภาวะวิกฤตของระบบการศึกษา ความเป็นจริงและทางเลือก
๔. ชาวพุทธที่กรุงเทพ

ความคิดเป็นทาสสติปัญญาฝรั่ง นับแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ทำให้คนไทยกลายเป็นฝรั่งมากขึ้น ผลเสียเกิดจากการตามฝรั่งมากไป ทำให้นำวิธีสร้างความเข้มแข็งแบบฝรั่งมากดกันเอง เอาเปรียบคนไทยกันเอง กดประเทศเพื่อนบ้าน ทางเลือกที่ ส.ศ.ษ. เสนอคือการขืนกระแสที่เป็นอธรรม มาจากความโลภ โกรธ หลง จึงต้องกลับมาแสวงหาคุณค่าพื้นบ้าน ต้องกลับไปหาสิ่งที่มีค่าแต่เดิม การศึกษาสมัยใหม่ทำให้คนรู้สึกด้อย ต้องเรียนต่อปริญญาเรื่อยๆ ขยับสถานะทางสังคม มีความรู้เฉพาะด้าน ไม่เชี่ยวชาญเรื่องทางธรรมชาติ

อุดมศึกษาเพื่อความเป็นไท เน้นให้แต่ละชุมชนเป็นอิสระ ปรัชญาการศึกษาแบบฝรั่ง ทำให้คนอยากเปลี่ยนสถานะตลอดเวลา ชีวิตไม่หยุดนิ่ง มุ่งไปข้างนอกตัว ไม่เน้นความเป็นปราชญ์ของบุคคลในท้องถิ่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ทำให้เราฟุ่มเฟือย หวังความร่ำรวย

๒. นัยของการเข้าพรรษากับคนรุ่นใหม่ คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา ๒๕๓๘
เป็นการเสวนาในเทศกาลเข้าพรรษา ณ อาศรมวงศ์สนิท นครนายก พ.ศ. ๒๕๓๗

สมัยปัจจุบันนี้วันเข้าพรรษา หรือวันสำคัญทางศาสนาอื่นๆ ไม่สามารถสื่อเนื้อหาสาระของพิธีกรรม หรือเนื้อหาสาระของพระธรรมวินัยให้เหมาะแก่ยุคสมัยใหม่ได้ ส.ศ.ษ.อุบาสกชาวพุทธชี้ให้เห็นประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อวชิรญาณภิกขุบวชในรัชกาลที่ ๒ ที่ ๓ และถ้าเราไปอ่าน วินัยมุข นวโกวาทที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงรจนา การตีความพุทธศาสนาเมื่อ ๑๐๐-๑๕๐ ปี ซึ่งเหมาะสมกับยุคสมัยนั้น แต่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาจนทุกวันนี้

หากการเข้าพรรษาเป็นการบัญญัติเพื่อเอาใจชาวบ้าน การอธิบายอย่างนี้ในเวลานี้ไม่เหมาะสม เพราะทำให้ไม่เข้าใจเนื้อหาสาระของพุทธบัญญัติ เรื่องนัยแห่งการเข้าพรรษา จึงต้องกลับมาตีประเด็นนัยแห่งพระธรรมวินัยให้เหมาะแก่สมัย และจะตีเนื้อหาสาระของพระธรรมวินัยให้เหมาะแก่สมัย มนุษย์จะต้องเห็นว่าเรามีความสัมพันธ์กับสัตว์อื่น มนุษย์อื่น พืชและสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาอย่างบรรสานสอดคล้องกัน

เมื่อวันเข้าพรรษาในสมัย พระราชพิธีสิบสองเดือน ของรัชกาลที่ ๕ ยังมีความหมายอย่างยิ่งสำหรับพระ ความหมายของวันเข้าพรรษาสำหรับพระคือ

๑. อยู่ไตรมาสในอาวาส
๒. จะอยู่ในกุฏิ แต่ให้สัตตาหะได้ ๗ วัน ถือเป็นการฝึกอธิษฐานบารมี

ส.ศ.ษ.มองว่าหากเข้าใจอธิษฐานบารมี การภาวนาเพื่อให้เกิดความรู้และความรัก ก็จะไปด้วยกัน ซึ่งระบบการศึกษาแบบตะวันตกไม่มี การเข้าพรรษาสำหรับพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายเถรวาทนั้นสำคัญมาก ในสมัยที่พระไม่ได้อยู่เป็นหลักแหล่ง ท่านมาอยู่แหล่งเดียวกัน ๓ เดือน แล้วไม่ทะเลาะกัน เกิดความบรรสานสอดคล้องกัน ถือเป็นกิตติกรรมประกาศที่สำคัญ

วัดไหนที่มีความสมานสังวาสอย่างเรียบร้อย ออกพรรษาแล้วคนถึงมาทอดกฐิน กฐินเป็นอานิสงส์พิเศษ เพราะพระท่านธำรงความสามัคคีไว้ได้ตลอด พระช่วยให้ฆราวาสได้บำเพ็ญทาน สอนให้ฆราวาสได้รักษาศีล พระนำวิธีปฏิบัติภาวนาจนชาวบ้านเห็นบุญคุณของพระ ชาวบ้านจึงมาทอดกฐิน แล้วกฐินเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด

๓. มโนธรรมสำนึกสำหรับสังคมร่วมสมัย คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา ๒๕๔๔
รวบรวมบทปาฐกถาในโอกาสต่างๆ และข้อเขียนเนื่องในทางศาสนา ปาฐกถาบทแรกคือ

การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในปัจจุบันจะก้าวไปในทิศทางใด ซึ่งจะต้องกลับมาศึกษาเนื้อหาสาระที่แท้จริงของพุทธศาสนา เน้นในเรื่องการลด โลภ โกรธ หลง โดยมีวัดเป็นแบบอย่าง หันกลับไปหาภูมิธรรมเดิมของชาวไทย ไม่ไปเชื่อฝรั่ง

สังคมไทยเวลานี้แตกเป็นเสี่ยงๆ โดยเฉพาะสมัยพัฒนา จะเห็นปัญหาชัดเจน วัดเวลานี้น่าเกลียด เต็มไปด้วยวัตถุและเงินทอง นอกจากนี้ยังเสนอแนวคิดของศาสนาพุทธแบบวัชรยานของธิเบต และการบำเพ็ญบารมีธรรมของฝ่ายมหายาน หนังสือเล่มนี้มีข้อเขียนที่มีความหลากหลายได้เอ่ยถึงบุคคล บทสัมภาษณ์ แปลคัมภีร์ และภาคผนวก

ส.ศ.ษ.มุ่งหวังให้พุทธศาสนิกได้กลับมาหามโนธรรมสำนึกสำหรับสังคม มองไปที่คนยากคนจน มองเห็นสภาพสังคมที่กดขี่ประชาชนให้ผู้คนต่ำต้อยและด้อยโอกาส ให้รู้จักใช้ศาสนธรรมอย่างไม่เกลียดหรือโกรธผู้ข่มเหงเรา ทำร้ายเรา ซึ่งเป็นการเข้าถึงองค์คุณทางศาสนา

ข้อคิดจากการพูดคุย

๑. ในเล่มแรก ส.ศ.ษ จะเน้นคำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน ค้นหาสิ่งเดิมที่มีอยู่ แล้วพัฒนาประยุกต์ให้ใช้สื่อกับปัจจุบันได้ เป็นการไม่มองรายละเอียดของสภาพสังคมหมู่บ้านในปัจจุบัน ซึ่งวัฒนธรรมเดิมไม่เหลือแล้ว รากฐานของสังคมกลวงแล้ว

ที่เห็นต่างจาก ส.ศ.ษ.คือ การใช้ศาสนธรรมเป็นฐานนั้น จะเป็นไปได้อย่างไร ปัจจุบันบทบาทพระสงฆ์ไม่มีที่ยืนในสังคมไทย นับวันจะยิ่งเลวร้ายลง พระอาศัยรูปแบบสงฆ์ไต่เต้าสถานะทางสังคม บางรูปไม่ยอมสละชีวิตนักบวชไปใช้ชีวิตชาวบ้าน และหลายสิ่งที่ ส.ศ.ษ.เตือนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ นั้น ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดเป็นปรากฎการณ์นั้นแล้ว จะฉุดรั้งไว้ได้อย่างไร

ในปาฐกถานี้ พูดถึงทางเลือกของสังคมไทย ซึ่งจะต้องรู้จักการมองอดีต จึงจะรู้ปัจจุบัน แล้วกำหนดอนาคตได้ ปัจจุบันขาดการมองสิ่งเหล่านี้ การศึกษาทำให้เราขาดการมองประวัติศาสตร์และการเชื่อมโยง

๒. หนังสือของส.ศ.ษ.ส่วนใหญ่จะเป็นปาฐกถา ขาดข้อมูล ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในสถานการณ์ปัจจุบัน บางครั้งก็เป็นการพูดว่าคนอื่นด้วยถ้อยคำรุนแรง ไม่ใช่ข้อมูลไว้ใช้อ้างอิงได้สำหรับการเขียน

ในเล่มที่สอง หรือถ้า ส.ศ.ษ.พูดถึงการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาแบบเถรวาท จะเน้นเรื่องศีล ความเป็นปกติ ซึ่งขาดการอธิบายความหมายอย่างชัดเจน ว่าวิถีชีวิตเช่นไรจึงจะเป็นปกติ เพราะตามนิยามเดิม ของศีล ๕ ข้องดเว้น ๕ ประการนั้น การถือปฏิบัติไม่พอเพียงหรือเท่าทันกับความรุนแรงในสังคมไทย อีกทั้งไม่มีแบบอย่างของวิถีชีวิตแบบพุทธในสังคมเมืองอีกแล้ว และถ้าพูดถึงการภาวนา การตามลมหายใจ วิถีชีวิตแต่ละวันก็ซับซ้อน มีหลายเรื่องจนยากจะตามลมหายใจได้ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้อ่านจึงต้องศึกษาหารายละเอียดของความคิดแบบนี้จากผู้อื่นต่อไป

หนังสือที่ ส.ศ.ษ.อ่านคือ วินัยมุข นวโกวาท และพระราชพิธีสิบสองเดือน นั้น คนรุ่นใหม่ไม่อ่านแล้ว จึงตามความคิดหรือขัดแย้งไม่ได้ ต้องอาศัยความคิดความอ่านของ ส.ศ.ษ.อธิบายสังคมไทย

๓. หลักคิดของ ส.ศ.ษ. ถ้าพูดถึงเรื่องสังคมไทย จะมองจากสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นตัวตั้ง เริ่มรับอิทธิพลจากตะวันตก การศาสนามีการปรับเปลี่ยนให้ทันยุคสมัย บางเรื่องก็ส่งผลให้วงการคณะสงฆ์อ่อนเปลี้ยมาจนปัจจุบันนี้ ถ้า ส.ศ.ษ.พูดถึงการศึกษา การศึกษาแบบตะวันตกครอบงำคนไทยให้ไม่เป็นตัวของตัวเอง ทำลายพื้นภูมิธรรมเดิมรากฐานของสังคมไทย

๔. ความคิดและภาษาของ ส.ศ.ษ.เป็นแบบอย่างที่มีคุณค่าในการอ่าน การศึกษา เสนอให้มีการคัดหมวดหมู่หนังสือออกเป็นหมวดการศึกษา ประวัติศาสตร์ ศาสนา สังคม ปรัชญา เพื่อจะได้พูดคุยเฉพาะเรื่องให้เจาะลึก ทำความเข้าใจได้มากกว่านี้

๕. หนังสือช่วง พ.ศ.๒๕๔๔-๗ น่าจะศึกษาวิวัฒนาการทางความคิด ว่าความคิดเหมือนเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลงมุมมองสังคมไทยอย่างไร อย่างเล่มที่สาม ทำไมจึงเสนอพุทธศาสนาแบบวัชรยาน และพุทธศาสนาแบบมหายาน มีความเหมาะสมกับสังคมไทยอย่างไร น่าจะมีการถกเถียงกันต่อไป

๖. หนังสือช่วงหลังพ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้นไป ใช้ภาษาอารามิกมากขึ้นตามวัยของผู้เขียน แต่ตัวอย่างยังไม่ทันสมัย

๗. เสนอให้ผู้ประสานงานขยายวงคนอ่านให้หลากหลายและมากคนขึ้น จะได้ไม่เป็นการสรรเสริญ ส.ศ.ษ.อย่างเดียว และควรจะจำกัดความคิดความอ่านว่าการพูดคุยเป็นการศึกษางานเขียน ส.ศ.ษ.เพื่อปรับใช้กับวัตถุประสงค์ใด

ในส่วนของผู้ประสานงานเห็นว่าเป็นการเริ่มต้น การพูดคุยในวงเล็กและจำกัดจะเจาะได้มากกว่า และที่ผ่านมาแต่ละคนก็ยังมีเวลาน้อยในการเตรียมตัว บางคนก็อ่านไม่จบเล่ม หรือต้องรีบอ่านก่อนมาร่วมพูดคุยเพียง ๑ วัน ซึ่งที่ประชุมได้นัดล่วงหน้าเดือนละครั้งเท่านั้น และที่ยังย้ำอยู่คือ การพูดคุยของสมาคมนี้เพื่อดูว่าหนังสือเล่มไหนของ ส.ศ.ษ.ควรพิมพ์ ไม่ควรพิมพ์ ประเด็นไหนควรจะวิเคราะห์ เจาะลึก ซึ่งแต่ละคนก็ยังไม่สามารถระบุชี้ให้ชัดเจน

นัดพูดคุยครั้งต่อไป จะคุยเฉพาะเรื่องการศึกษาของ ส.ศ.ษ.
วันเสาร์ที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๗ เวลาบ่ายโมง ณ สวนเงินมีมา คลองสาน

สมาคมคนอ่านส.ศ.ษ. ครั้งที่ ๓
นัดพูดคุยครั้งต่อไป
จะคุยเฉพาะเรื่องการศึกษาของ ส.ศ.ษ.

วันเสาร์ที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๗
เวลาบ่ายโมง
ณ สวนเงินมีมา คลองสาน

เล่มที่อ่านคราวที่แล้ว
๑. ทางเลือกของสังคมไทย คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา ๒๕๓๐
๒. นัยของการเข้าพรรษากับคนรุ่นใหม่ คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา ๒๕๓๘
๓. มโนธรรมสำนึกสำหรับสังคมร่วมสมัย คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา ๒๕๔๔

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
หรือหน้าสารบัญ ซึ่งมีอยู่ 2 หน้า
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

เดือนมีนาคม พศ.๒๕๔๗
ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดในหน้านี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับจาก email ที่องค์กรต่างๆส่งถึง เพื่อเผยแพร่ต่อสังคมวงกว้าง

ภาพรวมของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประกอบด้วย บทความทางวิชาการ บทความแปลและเรียบเรียง บทความถอดเทป บทความจากสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ข่าว และกระดานแสดงความคิดเห็น (สำหรับส่วนที่นักศึกษา และสมาชิกกำลังชมอยู่นี้ เป็นเว็ปเพจใหม่ ที่รวบรวมข่าวสารข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ซึ่งส่งจดหมายมาถึงกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อทราบ หากกองบรรณาธิการพิจารณาแล้วว่า จดหมายหรือข้อมูลใด เป็นประโยชน์ต่อสังคม จะนำมาเผยแพร่แพร่ต่อบนหน้านี้

ประวัติเกี่ยวกับ"หน้าสารบัญข้อมูล จากองค์กรต่างๆ" เริ่มเปิดดำเนินการขึ้นครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ วัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข่าวสารข้อมูล ที่มีสาระประโยชน์ต่อสังคม และเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนในวงกว้าง หากสนใจส่งข่าวสารข้อมูล ส่งมาได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

ภาพผลงานจิตรกรรม โดยศิลปินเม็กซิกัน Alfredo Ramos Martinez
ข่าวสารข้อมูลจำนวนมาก ได้ส่งถึงกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทุกวัน ในจำนวนนั้น มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งควรแก่การเผยแพร่ต่อสาธารณชน มากกว่าที่กองบรรณาธิการจะรับรู้แต่เพียงส่วนเดียว จึงได้นำมาเผยแพร่ต่อนักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่านร่วมกันพิจารณา

ข้อมูลหน้านี้ ได้รับจากองค์กรต่างๆซึ่งมีจดหมายมาถึง
กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สนใจเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน กรุณาส่งไปที่
midnightuniv(at)yahoo.com