ข้อมูลข่าวสารจากองค์กรต่างๆ
ลำดับที่ 361 หัวเรื่อง
สารบัญข้อมูล ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
สมเกียรติ
ตั้งนโม
และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ร่วมพิจารณาคัดเลือก
บริการเผยแพร่
เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก
ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้
บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์
กรุณาแจ้งให้ทราบที่
midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
สมาคมคนอ่าน ส.ศ.ษ.
วิจารณ์หนังสือของ
สุลักษณ์ ศิวรักษ์
วิพากษ์งานเขียน
๓ เล่ม
วันที่ ๑๔ กันยายน
๒๕๔๗ ณ สวนเงินมีมา คลองสาน
สมาคมคนอ่านส.ศ.ษ.ครั้งที่ ๒
วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๔๗ ณ สวนเงินมีมา คลองสาน
การพูดคุยครั้งนี้ได้หยิบยกหนังสือ ๓ เล่ม มาเสนอในวงสนทนาคือ
๑. ทางเลือกของสังคมไทย คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา ๒๕๓๐
เป็นปาฐกถาพูดถึงวิกฤตการณ์ของสังคมไทย ช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๙-๓๐ มี ๔ เรื่องคือ
๑. ทางเลือกของสังคมไทย
๒. สังคมไทยในทศวรรษหน้า
๓.ภาวะวิกฤตของระบบการศึกษา ความเป็นจริงและทางเลือก
๔. ชาวพุทธที่กรุงเทพ
ความคิดเป็นทาสสติปัญญาฝรั่ง นับแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ทำให้คนไทยกลายเป็นฝรั่งมากขึ้น ผลเสียเกิดจากการตามฝรั่งมากไป ทำให้นำวิธีสร้างความเข้มแข็งแบบฝรั่งมากดกันเอง เอาเปรียบคนไทยกันเอง กดประเทศเพื่อนบ้าน ทางเลือกที่ ส.ศ.ษ. เสนอคือการขืนกระแสที่เป็นอธรรม มาจากความโลภ โกรธ หลง จึงต้องกลับมาแสวงหาคุณค่าพื้นบ้าน ต้องกลับไปหาสิ่งที่มีค่าแต่เดิม การศึกษาสมัยใหม่ทำให้คนรู้สึกด้อย ต้องเรียนต่อปริญญาเรื่อยๆ ขยับสถานะทางสังคม มีความรู้เฉพาะด้าน ไม่เชี่ยวชาญเรื่องทางธรรมชาติ
อุดมศึกษาเพื่อความเป็นไท เน้นให้แต่ละชุมชนเป็นอิสระ ปรัชญาการศึกษาแบบฝรั่ง ทำให้คนอยากเปลี่ยนสถานะตลอดเวลา ชีวิตไม่หยุดนิ่ง มุ่งไปข้างนอกตัว ไม่เน้นความเป็นปราชญ์ของบุคคลในท้องถิ่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ทำให้เราฟุ่มเฟือย หวังความร่ำรวย
๒. นัยของการเข้าพรรษากับคนรุ่นใหม่ คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา ๒๕๓๘
เป็นการเสวนาในเทศกาลเข้าพรรษา ณ อาศรมวงศ์สนิท นครนายก พ.ศ. ๒๕๓๗
สมัยปัจจุบันนี้วันเข้าพรรษา หรือวันสำคัญทางศาสนาอื่นๆ ไม่สามารถสื่อเนื้อหาสาระของพิธีกรรม หรือเนื้อหาสาระของพระธรรมวินัยให้เหมาะแก่ยุคสมัยใหม่ได้ ส.ศ.ษ.อุบาสกชาวพุทธชี้ให้เห็นประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อวชิรญาณภิกขุบวชในรัชกาลที่ ๒ ที่ ๓ และถ้าเราไปอ่าน วินัยมุข นวโกวาทที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงรจนา การตีความพุทธศาสนาเมื่อ ๑๐๐-๑๕๐ ปี ซึ่งเหมาะสมกับยุคสมัยนั้น แต่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาจนทุกวันนี้
หากการเข้าพรรษาเป็นการบัญญัติเพื่อเอาใจชาวบ้าน การอธิบายอย่างนี้ในเวลานี้ไม่เหมาะสม เพราะทำให้ไม่เข้าใจเนื้อหาสาระของพุทธบัญญัติ เรื่องนัยแห่งการเข้าพรรษา จึงต้องกลับมาตีประเด็นนัยแห่งพระธรรมวินัยให้เหมาะแก่สมัย และจะตีเนื้อหาสาระของพระธรรมวินัยให้เหมาะแก่สมัย มนุษย์จะต้องเห็นว่าเรามีความสัมพันธ์กับสัตว์อื่น มนุษย์อื่น พืชและสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาอย่างบรรสานสอดคล้องกัน
เมื่อวันเข้าพรรษาในสมัย พระราชพิธีสิบสองเดือน ของรัชกาลที่ ๕ ยังมีความหมายอย่างยิ่งสำหรับพระ ความหมายของวันเข้าพรรษาสำหรับพระคือ
๑. อยู่ไตรมาสในอาวาส
๒. จะอยู่ในกุฏิ แต่ให้สัตตาหะได้ ๗ วัน ถือเป็นการฝึกอธิษฐานบารมี
ส.ศ.ษ.มองว่าหากเข้าใจอธิษฐานบารมี การภาวนาเพื่อให้เกิดความรู้และความรัก ก็จะไปด้วยกัน ซึ่งระบบการศึกษาแบบตะวันตกไม่มี การเข้าพรรษาสำหรับพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายเถรวาทนั้นสำคัญมาก ในสมัยที่พระไม่ได้อยู่เป็นหลักแหล่ง ท่านมาอยู่แหล่งเดียวกัน ๓ เดือน แล้วไม่ทะเลาะกัน เกิดความบรรสานสอดคล้องกัน ถือเป็นกิตติกรรมประกาศที่สำคัญ
วัดไหนที่มีความสมานสังวาสอย่างเรียบร้อย ออกพรรษาแล้วคนถึงมาทอดกฐิน กฐินเป็นอานิสงส์พิเศษ เพราะพระท่านธำรงความสามัคคีไว้ได้ตลอด พระช่วยให้ฆราวาสได้บำเพ็ญทาน สอนให้ฆราวาสได้รักษาศีล พระนำวิธีปฏิบัติภาวนาจนชาวบ้านเห็นบุญคุณของพระ ชาวบ้านจึงมาทอดกฐิน แล้วกฐินเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด
๓. มโนธรรมสำนึกสำหรับสังคมร่วมสมัย คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา ๒๕๔๔
รวบรวมบทปาฐกถาในโอกาสต่างๆ และข้อเขียนเนื่องในทางศาสนา ปาฐกถาบทแรกคือ
การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในปัจจุบันจะก้าวไปในทิศทางใด ซึ่งจะต้องกลับมาศึกษาเนื้อหาสาระที่แท้จริงของพุทธศาสนา เน้นในเรื่องการลด โลภ โกรธ หลง โดยมีวัดเป็นแบบอย่าง หันกลับไปหาภูมิธรรมเดิมของชาวไทย ไม่ไปเชื่อฝรั่ง
สังคมไทยเวลานี้แตกเป็นเสี่ยงๆ โดยเฉพาะสมัยพัฒนา จะเห็นปัญหาชัดเจน วัดเวลานี้น่าเกลียด เต็มไปด้วยวัตถุและเงินทอง นอกจากนี้ยังเสนอแนวคิดของศาสนาพุทธแบบวัชรยานของธิเบต และการบำเพ็ญบารมีธรรมของฝ่ายมหายาน หนังสือเล่มนี้มีข้อเขียนที่มีความหลากหลายได้เอ่ยถึงบุคคล บทสัมภาษณ์ แปลคัมภีร์ และภาคผนวก
ส.ศ.ษ.มุ่งหวังให้พุทธศาสนิกได้กลับมาหามโนธรรมสำนึกสำหรับสังคม มองไปที่คนยากคนจน มองเห็นสภาพสังคมที่กดขี่ประชาชนให้ผู้คนต่ำต้อยและด้อยโอกาส ให้รู้จักใช้ศาสนธรรมอย่างไม่เกลียดหรือโกรธผู้ข่มเหงเรา ทำร้ายเรา ซึ่งเป็นการเข้าถึงองค์คุณทางศาสนา
ข้อคิดจากการพูดคุย
๑. ในเล่มแรก ส.ศ.ษ จะเน้นคำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน ค้นหาสิ่งเดิมที่มีอยู่ แล้วพัฒนาประยุกต์ให้ใช้สื่อกับปัจจุบันได้ เป็นการไม่มองรายละเอียดของสภาพสังคมหมู่บ้านในปัจจุบัน ซึ่งวัฒนธรรมเดิมไม่เหลือแล้ว รากฐานของสังคมกลวงแล้ว
ที่เห็นต่างจาก ส.ศ.ษ.คือ การใช้ศาสนธรรมเป็นฐานนั้น จะเป็นไปได้อย่างไร ปัจจุบันบทบาทพระสงฆ์ไม่มีที่ยืนในสังคมไทย นับวันจะยิ่งเลวร้ายลง พระอาศัยรูปแบบสงฆ์ไต่เต้าสถานะทางสังคม บางรูปไม่ยอมสละชีวิตนักบวชไปใช้ชีวิตชาวบ้าน และหลายสิ่งที่ ส.ศ.ษ.เตือนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ นั้น ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดเป็นปรากฎการณ์นั้นแล้ว จะฉุดรั้งไว้ได้อย่างไร
ในปาฐกถานี้ พูดถึงทางเลือกของสังคมไทย ซึ่งจะต้องรู้จักการมองอดีต จึงจะรู้ปัจจุบัน แล้วกำหนดอนาคตได้ ปัจจุบันขาดการมองสิ่งเหล่านี้ การศึกษาทำให้เราขาดการมองประวัติศาสตร์และการเชื่อมโยง
๒. หนังสือของส.ศ.ษ.ส่วนใหญ่จะเป็นปาฐกถา ขาดข้อมูล ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในสถานการณ์ปัจจุบัน บางครั้งก็เป็นการพูดว่าคนอื่นด้วยถ้อยคำรุนแรง ไม่ใช่ข้อมูลไว้ใช้อ้างอิงได้สำหรับการเขียน
ในเล่มที่สอง หรือถ้า ส.ศ.ษ.พูดถึงการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาแบบเถรวาท จะเน้นเรื่องศีล ความเป็นปกติ ซึ่งขาดการอธิบายความหมายอย่างชัดเจน ว่าวิถีชีวิตเช่นไรจึงจะเป็นปกติ เพราะตามนิยามเดิม ของศีล ๕ ข้องดเว้น ๕ ประการนั้น การถือปฏิบัติไม่พอเพียงหรือเท่าทันกับความรุนแรงในสังคมไทย อีกทั้งไม่มีแบบอย่างของวิถีชีวิตแบบพุทธในสังคมเมืองอีกแล้ว และถ้าพูดถึงการภาวนา การตามลมหายใจ วิถีชีวิตแต่ละวันก็ซับซ้อน มีหลายเรื่องจนยากจะตามลมหายใจได้ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้อ่านจึงต้องศึกษาหารายละเอียดของความคิดแบบนี้จากผู้อื่นต่อไป
หนังสือที่ ส.ศ.ษ.อ่านคือ วินัยมุข นวโกวาท และพระราชพิธีสิบสองเดือน นั้น คนรุ่นใหม่ไม่อ่านแล้ว จึงตามความคิดหรือขัดแย้งไม่ได้ ต้องอาศัยความคิดความอ่านของ ส.ศ.ษ.อธิบายสังคมไทย
๓. หลักคิดของ ส.ศ.ษ. ถ้าพูดถึงเรื่องสังคมไทย จะมองจากสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นตัวตั้ง เริ่มรับอิทธิพลจากตะวันตก การศาสนามีการปรับเปลี่ยนให้ทันยุคสมัย บางเรื่องก็ส่งผลให้วงการคณะสงฆ์อ่อนเปลี้ยมาจนปัจจุบันนี้ ถ้า ส.ศ.ษ.พูดถึงการศึกษา การศึกษาแบบตะวันตกครอบงำคนไทยให้ไม่เป็นตัวของตัวเอง ทำลายพื้นภูมิธรรมเดิมรากฐานของสังคมไทย
๔. ความคิดและภาษาของ ส.ศ.ษ.เป็นแบบอย่างที่มีคุณค่าในการอ่าน การศึกษา เสนอให้มีการคัดหมวดหมู่หนังสือออกเป็นหมวดการศึกษา ประวัติศาสตร์ ศาสนา สังคม ปรัชญา เพื่อจะได้พูดคุยเฉพาะเรื่องให้เจาะลึก ทำความเข้าใจได้มากกว่านี้
๕. หนังสือช่วง พ.ศ.๒๕๔๔-๗ น่าจะศึกษาวิวัฒนาการทางความคิด ว่าความคิดเหมือนเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลงมุมมองสังคมไทยอย่างไร อย่างเล่มที่สาม ทำไมจึงเสนอพุทธศาสนาแบบวัชรยาน และพุทธศาสนาแบบมหายาน มีความเหมาะสมกับสังคมไทยอย่างไร น่าจะมีการถกเถียงกันต่อไป
๖. หนังสือช่วงหลังพ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้นไป ใช้ภาษาอารามิกมากขึ้นตามวัยของผู้เขียน แต่ตัวอย่างยังไม่ทันสมัย
๗. เสนอให้ผู้ประสานงานขยายวงคนอ่านให้หลากหลายและมากคนขึ้น จะได้ไม่เป็นการสรรเสริญ ส.ศ.ษ.อย่างเดียว และควรจะจำกัดความคิดความอ่านว่าการพูดคุยเป็นการศึกษางานเขียน ส.ศ.ษ.เพื่อปรับใช้กับวัตถุประสงค์ใด
ในส่วนของผู้ประสานงานเห็นว่าเป็นการเริ่มต้น การพูดคุยในวงเล็กและจำกัดจะเจาะได้มากกว่า และที่ผ่านมาแต่ละคนก็ยังมีเวลาน้อยในการเตรียมตัว บางคนก็อ่านไม่จบเล่ม หรือต้องรีบอ่านก่อนมาร่วมพูดคุยเพียง ๑ วัน ซึ่งที่ประชุมได้นัดล่วงหน้าเดือนละครั้งเท่านั้น และที่ยังย้ำอยู่คือ การพูดคุยของสมาคมนี้เพื่อดูว่าหนังสือเล่มไหนของ ส.ศ.ษ.ควรพิมพ์ ไม่ควรพิมพ์ ประเด็นไหนควรจะวิเคราะห์ เจาะลึก ซึ่งแต่ละคนก็ยังไม่สามารถระบุชี้ให้ชัดเจน
นัดพูดคุยครั้งต่อไป จะคุยเฉพาะเรื่องการศึกษาของ ส.ศ.ษ.
วันเสาร์ที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๗ เวลาบ่ายโมง ณ สวนเงินมีมา คลองสาน
สมาคมคนอ่านส.ศ.ษ. ครั้งที่ ๓
นัดพูดคุยครั้งต่อไป
จะคุยเฉพาะเรื่องการศึกษาของ ส.ศ.ษ.
วันเสาร์ที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๗
เวลาบ่ายโมง
ณ สวนเงินมีมา คลองสาน
เล่มที่อ่านคราวที่แล้ว
๑. ทางเลือกของสังคมไทย คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา ๒๕๓๐
๒. นัยของการเข้าพรรษากับคนรุ่นใหม่ คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา ๒๕๓๘
๓. มโนธรรมสำนึกสำหรับสังคมร่วมสมัย คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา ๒๕๔๔
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
หรือหน้าสารบัญ ซึ่งมีอยู่ 2 หน้า
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
ภาพรวมของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประกอบด้วย บทความทางวิชาการ บทความแปลและเรียบเรียง บทความถอดเทป บทความจากสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ข่าว และกระดานแสดงความคิดเห็น (สำหรับส่วนที่นักศึกษา และสมาชิกกำลังชมอยู่นี้ เป็นเว็ปเพจใหม่ ที่รวบรวมข่าวสารข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ซึ่งส่งจดหมายมาถึงกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อทราบ หากกองบรรณาธิการพิจารณาแล้วว่า จดหมายหรือข้อมูลใด เป็นประโยชน์ต่อสังคม จะนำมาเผยแพร่แพร่ต่อบนหน้านี้
ประวัติเกี่ยวกับ"หน้าสารบัญข้อมูล
จากองค์กรต่างๆ" เริ่มเปิดดำเนินการขึ้นครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔
มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ วัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข่าวสารข้อมูล ที่มีสาระประโยชน์ต่อสังคม
และเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนในวงกว้าง หากสนใจส่งข่าวสารข้อมูล ส่งมาได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
ข้อมูลหน้านี้
ได้รับจากองค์กรต่างๆซึ่งมีจดหมายมาถึง
กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สนใจเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน
กรุณาส่งไปที่
midnightuniv(at)yahoo.com