ผลงานภาพวาดเส้นของ Max Ernst
การนอนหลับและการฝันเป็นกิจกรรมตามปกติของมนุษย์ แต่ทำไมเราจึงต้องนอน และทำไมเราจึงฝัน เรื่องนี้นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบกันอยู่ตลอดเวลา และได้ช่วยให้เรามีความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนและการฝันนี้มากขึ้น. สัตว์เองก็ต้องนอน และการนอนของสัตว์ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงไปเลยนับแต่อดีต เว้นแต่มนุษย์เท่านั้น ที่แบบแผนการนอนได้เปลี่ยนไปจากอำนาจของดวงอาทิตย์
การนอนหลับและการฝัน
มีคนตั้งคำถามเกี่ยวกับการนอนหลับและการฝันว่า คนเรานอนหลับและฝันเกี่ยวกับประสบการณ์ของเราใช่ไหม ? ขอให้เราพิจารณาคำถามอันนี้ตามลำดับ.... การนอนได้รับการนิยามความหมายว่าเป็นช่วงเวลาหนึ่งของการพักผ่อนสำหรับร่างกายและจิตใจ ในช่วงระหว่างที่หน้าที่ต่างๆทางด้านร่างกายได้รับการหยุดพักลงชั่วคราว และจะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกลดน้อยลงไป แต่ก็สามารถที่จะได้รับการเรียกกลับคืนมาได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย. ส่วนความฝัน คือชุดของภาพต่างๆที่ปรากฎขึ้นมาในยามหลับ, เช่น ความคิด และอารมณ์ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นมาในช่วงเวลานั้น
การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการนอนหลับและการฝัน
Sigmund Freud(1900) ได้ใช้วิธีการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการนอนหลับและการฝันต่างๆด้วยวิธีการสัมภาษณ์คนไข้ของเขา โดยเฉพาะเพื่อบันทึกเรื่องเกี่ยวกับการฝันต่างๆ เนื้อหาของความฝันต่างๆนั้นส่วนใหญ่มันจะได้รับการเปลี่ยนแปลงไป และบ่อยครั้ง มันเป็นเรื่องที่น่าประหลาดและน่าพิศวง. แต่อย่างไรก็ตาม, Freud รู้สึกว่าความฝันต่างๆนั้นจะต้องมีหน้าที่บางอย่างสำหรับคนเรา. ภายหลังจากที่มีการศึกษาอย่างเข้มข้นเกี่ยวกับรายงานต่างๆของความฝัน, Freud สรุปว่า - มีความฝันอยู่ 2 ระดับด้วยกัน:
Manifest Content (เนื้อหาที่ปรากฎชัดแจ้ง): ซึ่งอันนี้ผู้ฝันยังคงจดจำได้หลังจากตื่น.
Latent Content (เนื้อหาที่ซ่อนเร้นหรือแอบแฝง): ซึ่งอันนี้ผู้ฝันจะฝันเห็นภาพและความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในความฝัน.
ยกตัวอย่างเช่น, คนไข้คนหนึ่งได้เปิดเผยออกมาโดยการให้คำสัมภาษณ์ว่า เธอฝันเกี่ยวกับการถูกไล่ตามโดยงูใหญ่ตัวหนึ่ง ซึ่งหน้างูดูเหมือนกับหน้าของพ่อเธอมาก(manifest content - เนื้อหาที่ปรากฏออกมาของความฝัน). ส่วน latent content หรือเนื้อหาที่แอบแฝงของความฝันอันนี้, ซึ่งคนไข้ไม่ทราบเลย, อาจเป็นความปรารถนาของคนไข้เองที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับพ่อของเธอ.
Freud รู้สึกว่าโดยทั่วไปแล้ว เนื้อหาที่แอบแฝง(latent content)นั้น เกี่ยวพันกันกับความปรารถนาซึ่งไม่อาจยอมรับได้(unacceptable desire) ซึ่งจะสร้างความปวดร้าวหรือทุกข์ใจขึ้นมา ถ้ามันถูกแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา. สิ่งเหล่านี้มันน่าจะคุกคามอย่างมากต่อคนที่นอนฝันนี้ ถ้าหากว่าเธอฝันว่าเธอกำลังมีความสัมพันธ์ทางเพศกับพ่อของเธอ. ดังนั้น, แรงกระตุ้นอันไม่อาจยอมรับได้อันนี้(unacceptable impulse)จึงถูกปลอมแปลงอำพราง หรือออกมาในรูปแบบต่างๆที่ยอมรับกันได้(acceptable forms). จากผลของการศึกษาอันนี้ของ Freud ได้ไปขัดแย้งกับความคิดเห็นที่มาก่อนหน้านั้นที่ว่า ความฝันต่างๆนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีคุณค่าและน่าสนใจแต่ประการใด.
ส่วน Eugene Aserinsky และ Nathanial Kleitman ซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการนอนและการฝัน โดยได้ใช้เทคนิคของห้องทดลอง เพื่อตรวจวัดการโต้ตอบต่างๆทางด้านสรีรวิทยา, เพื่อแสดงให้เห็นว่าการนอนนั้น มันเป็นอาการที่ไปด้วยกันกับแบบแผนการเปลี่ยนแปลง ที่มีความสลับซับซ้อนของกิจกรรมทางสรีรวิทยา. นอกจากนี้, เขายังได้ค้นพบว่า แบบแผนทางด้านสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นเมื่อตอนที่คนๆหนึ่งกำลังฝันอยู่. อันนี้หมายความว่า เมื่อแบบแผนต่างๆอันนั้นเกิดขึ้น นักวิจัยจะปลุกผู้รับการทดสอบให้ตื่นขึ้นมา เพื่อต้องการให้ผู้รับการทดสอบ ระลึกถึงความฝันต่างๆของเขาขึ้นมาอย่างฉับพลันทันที.
Aserinsky และ Kleitman ได้ช่วยเปลี่ยนแปลงทัศนะที่ว่าการนอนและความฝันไม่สามารถจะถูกศึกษาได้ในเชิงวัตถุวิสัยหรืออย่างเป็นวิทยาศาสตร์. นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้มีการตรวจวัดแบบแผนต่างๆทางสรีรวิทยาและบันทึกความฝันต่างๆของผู้คนนับเป็นพันๆคน
แบบแผนทางสรีรวิทยาในช่วงระหว่างการนอนหลับ
ในการวิจัยการนอนของอาสาสมัครคนหนึ่งซึ่งมีสายขั้วไฟฟ้าติดอยู่ที่ศีรษะและร่างกายของเขา. สื่อนำไฟฟ้าเหล่านี้เสนอข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นสมอง การเคลื่อนไหวของดวงตา ความตึงของกล้ามเนื้อ อัตราการเต้นของหัวใจ และกระบวนการทางเคมีของร่างกาย. จากการวิจัยข้างต้น การนอนของคนเรามีอยู่ 5 ระดับด้วยกัน(ตั้งแต่ระดับตื้นไล่ไปตามลำดับจนถึงระดับลึก). และระดับต่างๆเหล่านี้สามารถบอกได้ โดยการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองและการโต้ตอบทางสรีรวิทยาอย่างอื่นๆ
หลังจากที่เราได้พักผ่อนหลับนอนมาถึงระดับที่ 4 แล้ว ก็จะหวนคืนกลับไปสู่ระดับที่ 3 และ 2 ตามลำดับ ก่อนที่จะเข้าไปสู่ระดับที่เรียกว่า REM(rapid eye movements). ระดับนี้ได้ถูกแสดงให้ปรากฏออกมาโดยการเริ่มต้นเคลื่อนไหวลูกนัยตาอย่างรวดเร็ว. ในขั้นตอนการนอนระดับ REM นี้ กล้ามเนื้อต่างๆสามารถที่จะกระตุกได้บนใบหน้าและแขนขา หรือบางครั้งก็ทั้งตัว.
ถ้าหากว่าคนที่นอนหลับอยู่ในช่วงระดับ REM นี้ถูกปลุกขึ้นมา ผู้ที่นอนหลับส่วนใหญ่สามารถที่จะบอกได้ถึงสิ่งที่พวกเขากำลังฝันอยู่ และสามารถที่จะระลึกความฝันนั้นได้อย่างละเอียดและชัดเจน. แต่ถ้าคนที่นอนหลับถูกปลุกขึ้นมาในระหว่างระดับที่ 2-4 พวกเขาแทบจะไม่อาจยืนยันได้ว่ากำลังฝันอยู่ และก็ไม่เคยจดจำมันได้โดยละเอียด
อารมณ์อกสั่นขวัญแขวนอย่างรุนแรงด้วยภาพฝัน จะเกิดขึ้นในระดับที่ 3-4 ซึ่งอารมณ์อันนี้ได้ถูกเรียกขานว่าnight terrors หรือ Sleep terrors(ฝันร้าย). มันประกอบด้วยการหายใจอย่างรุนแรงและคล้ายจะเป็นอัมพาต เท่าๆกันกับความรู้สึกกังวลใจมาก.
เวลาที่เรานอนนั้น เราจะผ่านขั้นตอนอันหลายหลากของการนอนวนไปเวียนมา นั่นคือ ขณะที่เรากำลังเข้าสู่การหลับ เราจะเข้าไปสู่ระดับที่ 1 ของการนอน ซึ่งเป็นช่วงระยะของการเปลี่ยนผ่าน(transition stage). ภายใน 90 นาทีหลังจากที่เรานอนหลับไป เราจะผ่านเข้าไปสู่ระดับที่ 2 จนถึงระดับที่ 4 ของการนอน, แล้วก็จะหวนกลับมาระดับที่ 2 อีกครั้ง. ถัดจากนั้นเราก็จะเริ่มไปสู่ขั้นตอน REM Sleep ของการนอน หรือ rapid eye movements. เราจะเข้าไปสู่ระยะ REM ของการนอนประมาณ 10-20 นาทีในคืนหนึ่งหลายครั้งในช่วงหนึ่งคืน สลับกันกับระดับของการนอนขั้นที่ 2-4. ช่วงระหว่าง REM จะค่อยๆยาวนานขึ้น และขั้นตอนของการนอนระดับที่ 2-4 จะสั้นลงเมื่อใกล้จะถึงเช้า
เมื่อตอนที่เรายังเป็นทารกอยู่นั้นเราต้องการเวลานอนวันละประมาณ 16-20 ชั่วโมง. ส่วนในช่วงผู้ใหญ่ พวกเราส่วนใหญ่ต้องการเวลานอนอยู่ในช่วงระหว่าง 6-9 ชั่วโมง, และจะใช้เวลา 25 เปอร์เซนต์ไปในช่วงการนอน REM Sleep.
การศึกษาเกี่ยวกับการอดนอน
เมื่อเราไม่ได้นอนเป็นระยะเวลานานๆ แบบแผนขั้นตอนของการนอนจะไม่เป็นไปตามที่ได้กล่าวไว้ จากการทดลองกับชายหนุ่มคนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้นอนเป็นเวลานานติดต่อกัน 264 ชั่วโมงเพื่อที่จะทำสถิติให้มีการบันทึกลงในหนังสือ Guinness Book of Records. ชายหนุ่มคนนี้ หลังจากที่ยุติการอดหลับอดนอนแล้ว เขาก็เริ่มเข้านอนในห้องทดลองเกี่ยวกับการนอนและการหลับฝัน.
บรรดานักวิทยาศาสตร์สังเกตุว่า ในช่วงคืนแรกของการนอน ชายคนนี้นอนหลับในระดับที่ 4 เป็นเวลานาน โดยสูญเสียระดับการนอนในขั้นที่ 2 ไป. ในคืนที่สองของการสังเกตุ พบว่า เขาจะค่อยๆคืนกลับสู่สภาพปกติ กล่าวคือ ระยะการนอน REM sleep เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนและระดับการนอนในขั้นที่ 2-4 ค่อยๆลดลงไป. ปรากฎการณ์ที่เพิ่มขึ้นของ REM sleep หลังจากการอดหลับอดนอนนี้ จะถูกเรียกว่า REM rebound(การดีดกลับของ REM sleep).
การอดหลับอดนอนสามารถที่จะนำไปสู่ความหงุดหงิดหรือฉุนเฉียวง่าย ความเหนื่อยอ่อน ความเอาใจใส่ที่น้อยลง ความเลอะเลือนเกี่ยวกับความจำ และการลดสมรรถภาพการทำงานของกล้ามเนื้อที่ประสานกัน. คนที่อดหลับอดนอนบางคน มีการปฏิบัติตัวไปในทางที่วิปริต ซึ่งสัมพันธ์กับความเจ็บป่วยทางจิต แต่ตามปกติแล้ว อาการโรคเหล่านี้จะไม่ยืนนานหลังจากที่คนๆนั้นได้นอนเป็นการทดแทนแล้ว.
ผลกระทบต่างๆของการป่วย(ill effects) อันเนื่องมาจากการอดหลับอดนอนสามารถได้รับการสร้างขึ้นในห้องทดลองการนอนและการหลับฝันได้ด้วย. ในห้องทดลองนั้น เป็นไปได้ที่จะกีดกันผู้รับการทดสอบจากการหลับอยู่กับระดับที่ 4 และ REM sleep. และผลของการทดลองนี้ทำให้ทราบว่าระดับการนอนในขั้นที่ 4 และ REM sleep เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง.
แบบแผนต่างๆในช่วงระหว่างการหลับฝัน
พวกเราส่วนใหญ่ทราบว่า การฝันเป็นประสบการณ์ที่เข้มข้น ซึ่งตามมาด้วยภาพที่ไม่ปกติและการขานรับในด้านอารมณ์ความรู้สึกที่สุดๆ ด้วยความสนุกสนานและความกลัว. จากการศึกษาความฝัน ความฝันเป็นจำนวนมากได้รับการบันทึกเอาไว้ หลังจากที่ผู้เข้ารับการทดลองถูกปลุกให้ตื่นขึ้นจากการหลับในขั้น REM sleep ซึ่งจากการศึกษาได้บอกกับเราว่าเราฝัน 4-5 ครั้งในทุกๆคืน และส่วนใหญ่ของความฝันค่อนข้างจะธรรมดาๆ. พวกเราฝันถึงเรื่องที่เกี่ยวกับการเล่นฟุตบอล, อยู่บนรถประจำทาง, กำลังสอบไล่, และกิจกรรมในชีวิตประจำวันอย่างอื่นๆ. บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้บันทึกถึงความฝันที่แปลกๆด้วย เช่นเดียวกับฝันร้ายที่น่ากลัวต่างๆ
Freud ยืนยันว่าความฝันเป็นการสะท้อนถึงความทรงจำและความรู้สึกต่างๆ(dream reflect memories and feelings). นักศึกษามากมาย มีความคุ้นเคยดีกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ที่มีอิทธิพลต่อความฝัน พวกเขามักจะฝันเกี่ยวกับการสอบในช่วงระหว่างสัปดาห์ของการสอบอยู่บ่อยๆ
สำหรับความฝันแปลกๆนั้น นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการทดลองเรื่องการนอนหลับฝันได้บันทึกเอาไว้เช่นเดียวกัน อย่างเช่น ผู้เข้ารับการทดลองรายหนึ่งที่ชื่อว่า Ritchie. เขาฝันว่าได้เดินทางเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แปลกประหลาดในสถานที่หนึ่ง (ซึ่งความจริงก็คือ ในขณะที่ Ritchie กำลังหลับอยู่นั้นเขาได้ถูกพาเข้าไปยังห้องเก็บศพที่รอการชัณสูตรในช่วงระหว่างที่เขากำลังฝันู่). สภาพการณ์เหล่านี้อาจมีอิทธิพลต่อความฝันของเขา เพราะว่าเราไม่ได้ตัดเอาตัวกระตุ้นที่เป็นเรื่องภายนอกออกไปในช่วงระหว่างที่เรานอนหลับนั่นเอง.
การทดลองเรื่องการหลับฝันอีกรายหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ รายของ Alfred Maury ตัวเขาเองมีผู้ช่วยในการทดลองนี้ และเขาได้กำหนดให้ผู้ช่วยของเขา กระทำสิ่งต่างๆและคอยกระตุ้นเขาในขณะที่เขากำลังหลับ. เมื่อผู้ช่วยคนนั้นมาทำอะไรคันๆที่ริมฝีปากและจมูกของเขา, Maury ฝันไปว่า เขากำลังได้รับความทรมานอย่างเจ็บปวด. ต่อมา เมื่อผู้ช่วยเอามือโบกกลิ่นเครื่องหอมในอากาศ, เขาก็ฝันว่า เขากำลังอยู่ในตลาดแห่งหนึ่งในกรุงไคโร. และในขณะที่ทำการศึกษาอยู่นั้น บังเอิญส่วนหนึ่งของเตียงเกิดอุบัติเหตุลดต่ำลงไปบริเวณหลังคอของ Maury, ช่วงนี้ทำให้เขาฝันว่า เขากำลังจะถูกประหารโดยการตัดคอ.
นอกจากนี้ ความฝันต่างๆยังสามารถที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะแก้ไขมันได้ในยามตื่นด้วย. เรื่องที่คลาสสิคเรื่องหนึ่งหนึ่งคือ ภาพความฝันของ Friedrich August Kakule เกี่ยวกับงูตัวหนึ่งที่กัดกินหางของตัวมันเอง. Kakule, เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน ซึ่งกำลังครุ่นคิดถึงโครงสร้างต่างๆของน้ำมันเบนซิน ซึ่งดูเหมือนมันไม่ประสบความสำเร็จเอาเลย. แต่ในความฝันของเขา มันได้เสนอแนะถึงโครงสร้างวงแหวนอันหนึ่งที่เสนอถึงทางออกหรือการแก้ปัญหาที่ถูกต้องให้กับเขา
ทำไมคนเราจึงต้องนอน
บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายกำลังประสบกับความก้าวหน้าในเรื่องความเข้าใจที่ว่า ทำไมคนเราจึงต้องนอน. ความเป็นไปได้อันหนึ่งก็คือว่า การนอนนั้นได้ช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกายของเรา. ยกตัวอย่างเช่น ตัวจ่ายระบบการส่งสัญญานของประสาท จะได้รับการเติมเต็มในช่วงระหว่างการนอน. ผลลัพธ์อันนี้บ่งว่ากิจกรรมอันนั้นได้รับการปรับระดับการส่งสัญญานของประสาท และการนอนช่วยฟื้นฟูตัวจ่ายระบบฯดังกล่าว.
ตามความเข้าใจนี้ ถ้ากิจกรรมยิ่งมากก็จะยิ่งเป็นสาเหตุให้ต้องมีการปรับปรุงระบบส่งสัญญานของประสาทมากขึ้น และมันก็จะส่งผลให้ต้องนอนมากขึ้น. แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการนอนนั้นจะไม่ได้ถูกควบคุมอย่างเข้มงวด โดยความต้องการเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพเช่นนั้น ทั้งนี้เพราะการที่เรานอนมากเท่าไร ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับเรามีกิจกรรมอย่างไร. ในการศึกษาครั้งหนึ่ง, Horne และ Minard(1985) ได้ให้หนุ่มสาวหลายคนกระทำกิจกรรมกันคนละอย่าง:
1) พวกแรก ให้พวกเขาทำกิจกรรมทั้งวันอย่างหนัก โดยการเดิน, การพูด, การท่องเที่ยว, และการเรียนรู้.
2) พวกที่สอง ทำกิจกรรมทั้งวันเพียงเล็กน้อยด้วยการทำอะไรนิดๆหน่อยๆ ยกเว้นการพักผ่อน.
เขาพบว่า จำนวนเวลาที่พวกคนหนุ่มสาวเหล่านี้ ใช้ไปในการนอนไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย แม้ว่าพวกเขาจะเปลี่ยนกิจกรรมจากกิจกรรมหนึ่ง ไปยังกิจกรรมอีกอย่างหนึ่ง. ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพคือเหตุผลอันหนึ่งของการนอนแล้วละก็, มันก็เป็นที่ชัดเจนว่า ไม่ใช่เป็นเพียงเหตุผลเดียว.
เหตุผลอีกอันหนึ่งอาจจะเป็นว่า การนอนได้ช่วยปกป้องบรรพบุรุษของเราก่อนประวัติศาสตร์ โดยการทำให้พวกเขา สามารถที่จะสงวนพลังงานในช่วงเวลากลางคืนในถ้ำที่ปลอดภัย เมื่อสภาพแวดล้อมภายนอกถ้ำที่พวกเขาอาศัยอยู่เป็นอันตราย หรือเป็นปรปักษ์กับพวกเขา. ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกอันหนึ่งก็คือว่า ชนรุ่นต่างๆของผู้คนในศตวรรษนี้กำลังนอนน้อยลงตามลำดับ. การลดเวลานอนลงอาจเป็นการสะท้อนถึงการค่อยๆปรับตัวสู่ข้อเท็จจริงที่ว่าเราไม่ต้องการบทบาทหน้าที่ของการนอนในการป้องกันอีกต่อไปแล้ว.
การนอนของสัตว์
แบบแผนของการนอนสำหรับสัตว์ที่ต่างชนิดกัน จะมีช่วงระยะเวลาการนอนที่แตกต่างกัน. แบบแผนการนอนอันนี้ได้ช่วยสนับสนุนความคิดที่ว่า ความไม่เหมือนกันในเรื่องการนอน เป็นบทบาทหน้าที่อันหนึ่งของการช่วยให้สัตว์ปลอดภัยจากสัตว์ต่างๆที่จับสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร. เช่น แมว จะมัระยะเวลาการนอนนานกว่าสัตว์ชนิดอื่น เพราะมันไม่มีศัตรูทางธรรมชาติมากนัก. ส่วนม้าและแกะจะมีเวลานอนในวันหนึ่งๆน้อยมาก เนื่องจากมันมีศัตรูในธรรมชาติจำนวนมาก.
การปรับเวลานอนใหม่ของมนุษย์
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ชนรุ่นต่างๆของผู้คนในศตวรรษนี้กำลังนอนน้อยลงตามลำดับ. การลดเวลานอนลงอาจเป็นการสะท้อนถึง การค่อยๆปรับตัวสู่ข้อเท็จจริงที่ว่าเราไม่ต้องการบทบาทหน้าที่ของการนอนในการป้องกันอีกต่อไปแล้ว ซึ่งอันนี้ต่างไปจากสัตว์. จังหวะต่างๆของการนอนเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ได้มาอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นสิ่งเทียมหรือที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง ซึ่งได้ตัดเราออกจากแสงสว่างและเครื่องหมายภายนอกของเวลาอย่างอื่นๆ
มนุษย์ในสมัยโบราณสังเกตุแสงของพระอาทิตย์ขึ้นเป็นการบอกเวลาเช้า ราวกับว่าพวกเขาเราได้รับนาฬิกาชีวภาพภายใน(internal biological clock)ที่คอยทำหน้าที่ควบคุมจังหวะต่างๆเหล่านี้เอาไว้. บรรพบุรุษของเราแทบจะไม่ต้องการที่จะปรับเปลี่ยนหรือตั้งนาฬิกาชีวภาพเหล่านี้เลย. แต่สำหรับทุกวันนี้ การปรับแก้เป็นที่ต้องการอยู่บ่อยๆ อย่างเช่น นักศึกษามหาวิทยาลัยผู้ซึ่งอาจจะเรียนตลอดทั้งคืน(อ่านหนังสือ), หรือคนงานที่เข้างานเป็นผลัดๆ ผู้ซึ่งต้องสลับผลัดงานของตนจากกลางวันไปเป็นกลางคืน และบรรดานักท่องเที่ยวทั้งหลาย ผู้ซึ่งเดินทางข้ามเส้นแบ่งของเวลาหรือโซนของเวลา(time zones).
อาการง่วงนอน หลังจากบินในระยะทางไกลๆ
อาการง่วงนอนหลังจากบินในระยะทางไกลๆ(jet lag)เป็นความไม่สบายที่เรามักจะประสบหลังจากเดินทางข้ามโซนของเวลาหลายๆโซนด้วยกัน. เราน่าจะทราบถึงความรู้สึกอันนั้น เว้นแต่ว่าเราไม่ได้เดินทางในระยะไกล หรือมิฉะนั้นก็ เราเป็นคนหนึ่งของคนที่โชคดีเพียง 15% ผู้ซึ่งไม่ต้องประสบกับอาการดังกล่าว.
อาการ jet lag สามารถรวบรวมลักษณะอาการบางอย่างดังต่อไปนี้หรือทั้งหมดเหล่านี้เอาไว้ด้วยกันคือ : ความง่วงนอน, ความอ่อนเพลีย, ความรู้สึกหดหู่, อาการนอนไม่หลับ, การฉุนเฉียวง่าย, ความสับสน, และการสูญเสียความจำไป. การเปลี่ยนแปลงต่างๆยังเกิดขึ้นกับหน้าที่พื้นฐานต่างๆของร่างกายด้วย อย่างเช่น อัตราการเต้นของหัวใจ, ความดันเลือด, และกระบวนการหายใจ.
jet lag เป็นสิ่งที่แย่มากเมื่อเราข้ามเส้นแบ่งโซนของเวลาตั้งแต่ 4 โซนขึ้นไป, เมื่อเราหลงเวลาในการเดินทางจากตะวันออกไปยังตะวันตก, และเมื่อเรามีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป. การฟื้นคืนอาการจาก jet lag จะต้องใช้เวลาในอัตราส่วนประมาณ 1 โซนต่อ 1 วัน(เช่นถ้าเราข้ามโซนของเวลา 4 โซน ต้องใช้การฟื้นตัวประมาณ 4 วัน). อย่างชัดเจน, อาการ jet lag สามารถที่จะหยุดชงักความสนุกสนานของเราลงไปได้ ถ้าหากว่าเรากำลังอยู่ในช่วงเวลาพักผ่อน หรือมีผลกระทบกับการปฏิบัติงานของเราหากว่าเรากำลังเดินทางเพื่อธุรกิจ. โชคดี, มันมีขั้นตอนต่างๆที่เราสามารถปฏิบัติได้เพื่อลดอาการแตกแยกอันนี้ที่มีสาเหตุมาจาก jet lag. ขั้นตอนต่างๆเหล่านี้ได้รับการวางกรอบอยู่ในข้อมูลของผู้โดยสารเครื่องบิน, ของทั้งบรรดากีฬา, นักบริหาร, เจ้าหน้าที่ด้านการทหาร, และนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปพักผ่อนต่างๆ. ข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นการรวบรวมขึ้นมาจากแหล่งข้อมูลดังที่อ้างไว้ข้างต้น:
ก่อนการเดินทาง
ควบคุมเวลาอาหารของเรา เพื่อว่าในวันที่เราต้องบิน เราจะได้พร้อมที่จะกินอาหารที่เหมาะสมกับเวลา ณ จุดหมายปลายทางของเรา. ควบคุมตารางเวลาการนอนและการพักผ่อนของเราเอาไว้ เพื่อว่าเราจะได้ไม่ต้องตึงเครียดหรือเกิดอาการฉุกละหุกเมื่อเริ่มต้นการเดินทางของเรา
ช่วงระหว่างการบิน
แต่งตัวอย่างสบายๆ และพยายามปลดเสื้อผ้าที่ที่รัดออก เร็วเท่าที่เราได้ที่นั่งบนเครื่องบิน แล้วให้ตั้งเวลานาฬิกาตามจุดหมายปลายทางของเรา และเริ่มต้นทำตัวให้ดำเนินชีวิตอยู่กับเวลานั้นในใจ. ถ้าหาก ว่าเวลาในจุดหมายปลายทางของเราเป็นช่วงเวลาที่เรามักจะวิ่งจ็อกกิ้งเสมอ, ให้จินตนาการว่ากำลังวิ่งจ็อกกิ้งอยู่. เราอาจพยายามออกกำลังกายบางอย่างด้วยก็ได้ ในที่นั่ง. ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะโน้มคอไปข้างหลังสัก 5 ครั้งเพื่อบริหารคอและบริหารกล้ามเนื้อแผ่นหลังด้านบน. หรืออาจจะเบ่งและผ่อนคลายหน้าอก, ท้อง, และตะโพกสัก 5 ครั้ง. กินอาหารเบาและ, ถ้าเป็นไปได้, กินอาหารที่เหมาะสมกับเวลาตามเวลาในจุดหมายปลายทางที่จะไปถึง. พยายามหลีกเลี่ยงพวกลูกกวาด, คาเฟอีน, และพวกแอลกอฮอล์ต่างๆ. เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราไม่ได้พักผ่อน.
ยิ่งไปกว่านั้น, พวกคาเฟอีนและแอลกอฮอล์จะเพิ่มเอฟเฟคส์ต่างๆในการขจัดน้ำออกจากร่างกายของห้องผู้โดยสารที่เพิ่มความกดดัน. ให้ดื่มน้ำผลไม้มากๆและน้ำเปล่าแทน. สำหรับนักเดินทางที่มีประสบการณ์บางคน พยายามที่จะดื่มน้ำผลไม้แก้วหนึ่ง หรือน้ำเปล่าสำหรับทุกๆชั่วโมงที่พวกเขากำลังบินอยู่. ท้ายที่สุด, ให้นอนและตื่นขึ้นตามตารางเวลาในจุดหมายปลายทางของเรา.
เมื่อคุณถึงที่หมาย
ให้นอนตามเวลาของท้องถิ่นนั้นๆที่เราไปถึง ทั้งการกินอยู่ และการทำกิจกรรมต่างๆไปตามตารางเวลาทุกประการ. หากว่าเราจะต้องนอนในช่วงระหว่างเวลากลางวัน, ให้นอนน้อยกว่าสองชั่วโมง. ให้ออกนอกบ้านในตอนที่มีแสงสว่าง(หมายถึงเวลาเช้า เร็วเท่าที่จะทำได้สักประมาณ 2 ชั่วโมง, ถ้าเป็นไปได้). แสงสว่างของดวงอาทิตย์จะช่วยใหเราปรับนาฬิกาชีวภาพในร่างกายใหม่เร็วขึ้น. ในท้ายที่สุด, ดื่มนมสักแก้วหรือกินไอศครีมก่อนที่จะเข้านอนถ้าหากว่ามีปัญหาในเรื่องการนอน.
ข้อแนะนำข้างต้นฟังดูแล้วคล้ายกับการรักษาแบบพื้นบ้านในสมัยก่อน และมันเป็นเช่นนั้นจริงๆ. แต่มันก็วางอยู่บนรากฐานที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์นมมีคุณสมบัติหลายประการที่มีอิทธิพลต่อความง่วงเหงาหาวนอน.
ถ้าหากว่าเรายังไม่สามารถปรับตัวได้ ก็ควรจะพิจารณายานอนหลับต่างๆ. ตามข้อเท็จจริง, หนึ่งในยานอนหลับที่นิยมกินกันก็คือ triazolam (ชื่อตามท้องตลาดก็คือ Halcion) ซึ่งได้รับการทดสอบแล้วว่า เป็นไปได้ที่จะสามารถช่วยในการจัดการนาฬิกาชีวภาพได้. เราอาจจะต้องทดลองดู หากว่าวิธีการอื่นๆมันล้มเหลวทั้งหมด แต่ควรจะต้องระมัดระวังด้วย. ยาตัวนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า อย่างน้อยจะมีผลข้างเคียงที่ไม่ดีหรือเป็นประโยชน์อยู่ 2 ประการด้วยกันคือ ประการแรกคือ เราจะนอนเป็นพักๆอยู่สักคืนสองคืนเมื่อเราหยุดกินยา. ประการที่สอง, เราะประสบกับปัญหาเรื่องความจำเสื่อมหรือความจำเลวลง สำหรับกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างที่ยาออกฤทธิ์อยู่ในกระแสเลือด.
คำแนะนำต่างๆเหล่านี้ เป็นไปได้ที่อาจจะไม่ทำให้เราสามารถที่จะเอาชนะอาการ jet lag ได้อย่างสมบูรณ์. แต่มันน่าจะช่วยลดอาการที่ไม่สบายต่างๆของการเปลี่ยนแปลงเรื่องโซนเวลาของเราได้บ้าง. สิ่งที่ทำงานได้ผลดีที่สุดสำหรับคนๆหนึ่งนั้น อาจไม่จำเป็นต้องได้ผลดีที่สุดสำหรับคนอีกคนหนึ่ง. ด้วยเหตุนี้ เราควรที่จะคิดถึงข้อแนะนำต่างๆเหล่านี้ในฐานะที่เป็นแนวทาง สำหรับพัฒนาแผนการณ์ต่างๆของตัวเราเองเพื่อการบินที่เป็นปกติ.
สมเกียรติ ตั้งนโม (เรียบเรียง)
(ข้อมูลเพิ่มเติม ในส่วนของ latent content) ปรับปรุงวันที่ 15 เมษายน 2548
เนื้อหาที่แอบแฝงของความฝัน
(latent content)
สำหรับกระบวนการที่เนื้อหาแฝงของความฝัน(latent content)ได้รับการเปลี่ยนแปลงไปสู่เนื้อหาที่เปิดเผยของความฝัน(manifest
content) อันนี้ได้รับการรู้จักในฐานะที่เป็น"การทำงานของความฝัน"(dream
work - ปฏิบัติการของความฝัน) การทำงานของความฝันสามารถที่จะแสร้งหรือบิดเบือนความคิดต่างๆที่ซ่อนเร้น(latent
thoughts)ได้ใน 4 วิธี ดังต่อไปนี้ :
1. Condensation การรวมตัวแน่นหรือการบีบอัด : นั่นคือ ความคิดซ่อนเร้น 2 หรือ 3 อย่างได้ถูกนำมารวมตัวกันเพื่อทำให้เกิดภาพความฝันที่เปิดเผย(manifest dream)อันหนึ่งขึ้นมา (ดังนั้นจึงไม่ต้องสับสนว่าความฝันของเรา ทำไมจึงมีเนื้อหาปะปนกันหลายๆเรื่อง)
2. Displacement การเข้าแทนที่ : คือ การเข้าแทนที่โดยการกำกับอารมณ์ความรู้สึกหรือความปรารถนาที่ผู้ฝันมีต่อบุคคลที่รักหรือวัตถุที่ปรารถนา ด้วยการถูกแปลให้ไร้ความหมาย / กลายเป็นวัตถุที่ไม่เกี่ยวข้อง (ในความฝันที่เปิดเผย - manifest content)
3. Symbolism สัญลักษณ์ : คือ ความคิดที่คลุมเครือหรือซับซ้อน ได้รับการแปรเปลี่ยนไปสู่ภาพฝันอันหนึ่ง. สำหรับอันนี้ จิตใจอาจใช้ภาพหรือคำออกเสียงที่คล้ายคลึง (ซึ่งจำได้มากกว่า) ซึ่งเป็นวัตถุที่มีอันตรายหรือคุกคามต่อศีลธรรมน้อยกว่ามาแทน. ตามความคิดของฟรอยด์ สัญลักษณ์ของความฝันส่วนใหญ่แล้วมีความหมายไปทางด้านเซ็กซ์ ด้วยเหตุนี้ความฝันจำนวนมากจึงมีความสัมพันธ์กับเรื่องดังกล่าว
ยกตัวอย่างเช่น ฟรอยด์เสนอว่า
วัตถุต่างๆอย่างเช่น ท่อนซุง, เน็คไท, อาวุธทุกชนิด, กิ่งไม้, บอลลูน, จรวด, และวัตถุที่ยาวเรียวอื่นๆล้วนเป็นสัญลักษณ์ของอวัยวะเพศชายที่แข็งตัว.
ในขณะที่ กล่อง, หีบ, ลังขนาดใหญ่, ตู้ต่างๆ, เตาอบ, กระเป๋าและวัตถุที่มีช่องโพลงเป็นตัวแทนแสดงออกอวัยวะเพศหญิง.
ปกติแล้ว ห้องเป็นตัวแทน(signified)สัญลักษณ์ของผู้หญิง แต่หมายรวมถึงบ้านทั้งหลังก็ได้
หรือเพียงประตูบานหนึ่งก็ได้เช่นกัน. การกระทำที่เรียบง่ายธรรมดาอย่างเช่น การก้าวขึ้นบันได
ขั้นบันไดต่างๆสามารถบ่งชี้หรือเป็นตัวแทนปฏิบัติการทางเพศได้
ฟรอยด์มีความหลงใหลกับสัญลักษณ์เกี่ยวกับการตอน(castration)
ซึ่งเขาเชื่อว่าถูกแสดงออกมาในความฝันโดยภาพคนหัวล้าน ฟันล่วง และการตัดผม. นอกจากนี้
อวัยวะสืบพันธุ์สามารถที่จะถูกทดแทนหรือแสดงออกมาโดยส่วนอื่นของร่างกายก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น
อวัยวะเพศชายอาจถูกนำเสนอออกมาในรูปมือ ส่วนอวัยวะเพศหญิงอาจแสดงออกมาในรูปปากหรือดวงตา
เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถอธิบายเหตุผลได้ว่า ทำไมมูลเหตุของ"การฝันเปียก"
ปกติแล้วจะไม่เป็นผลอันเนื่องมาจากปฏิบัติการทางเพศธรรมดาในความฝัน
4. Secondary Revision การปรับปรุงครั้งที่สอง : อันนี้คือขั้นตอนสุดท้ายเกี่ยวกับการทำงานของความฝัน ตามความคิดฟรอยด์นี่คือที่ซึ่งความฝันได้สูญไป "ปรากฏการณ์เกี่ยวกับความเหลวไหลไร้สาระ และไม่ปะติดปะต่อกัน". โดยสาระแล้ว การปรับปรุงขั้นที่สองสามารถถูกคิดว่าเป็นหนทางต่างๆ ซึ่งการทำงานของความฝันได้ปกปิดซ่อนเร้นความขัดแย้ง และพยายามที่จะรวบรวมความฝันขึ้นมาใหม่ในแบบแผนอันหนึ่งที่ทำงานไปพร้อมกันกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้ฝัน
ฟรอยด์ใช้วิธีการเกี่ยวกับ"ความเชื่อมต่อแบบอิสระ"(free
association)เพื่อค้นพบความหมายที่อยู่ข้างใต้ความฝันที่หลบซ่อนอยู่(latent content
- เนื้อหาที่แอบแฝง). คนไข้จะอธิบายถึงความฝันอันหนึ่งซึ่งแจ่มชัดอย่างละเอียดละออเท่าที่จะเป็นไปได้(manifest
content - เนื้อหาที่เปิดเผย)
ซึ่งโดยสาระแล้วอันนี้ ผู้ตีความกำลังจะต้องเคลื่อนเข้าไปสู่ทิศทางในทางตรงข้ามโดยไขปม"การทำงานของความฝัน"
จนกระทั่งเนื้อหาที่แอบแฝงอยู่เผยตัวออกมา
ฟรอยด์ยืนยันว่า ความฝันต่างๆเป็นรูปการณ์อันหนึ่งของการทำให้ความปรารถนาที่ถูกกดข่มได้บรรลุผล
หรือมีช่องทางการแสดงออก. ถ้าความปรารถนานั้น(เป็นไปได้เกี่ยวกับเรื่องเซ็กซ์โดยกำเนิด)ไม่ได้รับความพึงใจในยามกลางวันตามปกติ
จิตใจก็จะปฏิบัติการหรือแสดงปฏิกริยาของมันด้วยการกระตุ้นภายใน โดยการแปรเปลี่ยนไปสู่ภาพเพ้อฝัน(visual
fantasy) - ซึ่งยอมให้ผู้ฝันพึงพอใจกับความปรารถนาอันนั้น
ผลลัพธ์ของความฝันเหล่านี้ก็คือ
ทำให้การนอนหลับในยามค่ำคืนเป็นไปอย่างสงบ
ข้อมูลเพิ่มเติมส่วนนนี้นำมาจาก
...Introduction to Sigmund Freud's Theory
on Dreams
Sometimes a box is just a box
By Kevin Wilson
http://www.insomnium.co.uk/text/freud.htm