โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๖๗ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ (January, 23, 01, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

23-01-2551

Politics of Sexuality
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

A Radical Theory of the Politics of Sexuality
ข้อห้ามและอคติทางเพศ: จากศาสนาสู่แนวคิดจิตเวชศาสตร์

ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

สำหรับบทความแปลชิ้นนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคิดทบทวนเกี่ยวกับเรื่องเพศ
แปลจาก Thinking Sex: Notes for a Radical Theory of the Politics
of Sexuality เขียนโดย Gayle S. Rubin ซึ่งเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เกี่ยวกับอคติทางเพศ และข้อห้ามทางเพศที่ฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมตะวันตก
โดยเฉพาะการตั้งข้อรังเกียจเกี่ยวกับการรักเพศเดียวกัน และกันเรื่องนี้ออกไป
ในฐานะที่เป็นสิ่งผิดปรกติ วิตถาร ซึ่งนับจากแนวคิดทางศาสนา ปรัชญา
จนกระทั่งหลังยุคสว่าง (the Enlightenment) อคติดังกล่าวได้ถูก
สะท้อนออกในศาสตร์ทางการแพทย์ และจิตเวชศาสตร์สมัยใหม่
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๖๗
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

A Radical Theory of the Politics of Sexuality
ข้อห้ามและอคติทางเพศ: จากศาสนาสู่แนวคิดจิตเวชศาสตร์

ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ความคิดเกี่ยวกับเรื่องเพศ (Sexual Thoughts)

"เห็นมั้ย, ทิม" ฟิลลิป พูดขึ้นมาอย่างทันใด, "ข้อโต้แย้งของคุณไม่มีเหตุผล สมมุติว่า ถ้าฉันยอมรับความคิดของคุณในจุดแรกที่ว่า การตัดสินคนกลุ่มรักเพศเดียวกันนั้นทำได้ แน่นอน ภายใต้ปัจจัยบางอย่างที่สามารถควบคุมได้ แต่ก็จะทำให้เกิดคำถามที่ว่า ตรงจุดไหนละที่จะเป็นจุดตัดสินว่าอะไรคือสุดขอบของสิ่งที่ถูกต้อง และอะไรคือจุดเริ่มต้นของความวิตถารเรื่องเพศ ยังไงสังคมก็ต้องประนามหยามเหยียดเพื่อที่จะป้องกัน แม้ว่าผู้คนจะเข้าใจกลุ่มรักเพศเดียวกันมากขึ้นแล้ว จนขยายวงไปสู่ความเข้าใจเรื่อง การนิยมชมชอบการใช้ความรุนแรง (Sadist), การนิยมชมชอบต่อการทำร้ายตนเอง (Flagellist), เหล่าอาชญากรทั้งหลายต่างเรียกร้องพื้นที่ของพวกเขา ในที่สุดแล้วสังคมก็ไม่สามารถมีอยู่ ดังนั้นแล้วฉันจึงอยากถามอีกครั้งหนึ่งว่า ที่ไหนที่เส้นแบ่งเขตแดนต่างๆ เหล่านี้ถูกขีด ที่ไหนที่ซึ่งความวิตถารทางเพศเริ่มต้น ถ้ามิใช่ที่อิสรภาพส่วนบุคคลในเรื่องต่างๆ"

บทความบางส่วนจาการสนทนาระหว่างเกย์สองคนซึ่งพยายามจะตัดสินใจว่าถ้าพวกเขาอาจจะรักกันเอง, จากหนังสือตีพิมพ์เมื่อปี ๑๙๕๐

แก่นแกนของทฤษฎีเรื่องเพศนี้จะต้องทำการระบุ, อธิบาย, และประณามถึงความไม่เป็นธรรมทางกามารมณ์และการกดขี่ทางเพศ ทฤษฎีเช่นนี้ต้องการแนวความคิดที่ใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นกรอง ซึ่งสามารถเข้าใจถึงอัตบุคคล และจับไว้ให้มั่น มันต้องสร้างการอธิบายอย่างละเอียดของเพศสภาวะเท่าที่มันปรากฏและดำรงอยู่ในสังคมและในประวัติศาสตร์ และมันต้องการวิพากษ์ภาษาที่โน้มน้าวให้หยุดความโหดร้ายทารุณทางเพศได้

หลายๆ รูปแบบของความคิดที่สืบเนื่องและดำรงอยู่กับเรื่องเพศนี้ ได้ไปยับยั้งการพัฒนาของทฤษฎีนี้ โดยรูปแบบของความคิดดังกล่าว แผ่หลายอย่างมากในวัฒนธรรมตะวันตกและถูกตั้งคำถามน้อยมาก ดังนั้นทฤษฎีนี้จึงมักไปปรากฎขึ้นในบริบทของการเมืองที่แตกต่างไปจากความตั้งใจเดิม เพื่อที่จะสร้างข้อโต้แย้งขึ้นอีกครั้ง แต่การปรากฏในบริบทของการเมืองที่แตกต่างไปนี้ทำให้ไปลดทอนความจริงพื้นฐานของมันไปด้วย

ลัทธิสารัตถนิยมทางเพศ (Sexual Essentialism)
หนึ่งในความจริง อาทิเช่น ลัทธิสารัตถนิยมทางเพศ (Sexual Essentialism) - ซึ่งเป็นกลุ่มที่ความคิดที่ว่า เพศเป็นเรื่องแรงขับตามธรรมชาติ ซึ่งมีความสำคัญต่อสังคมและก่อให้เกิดสถาบันต่างๆ โดยความคิดเรื่องเพศในเชิงสารัตถนิยมนี้ ถูกฝังลึกลงไปในความคิดท้องถิ่นในสังคมตะวันตก ซึ่งพิจารณาเรื่องเพศว่าเป็นสิ่งที่ถาวรไม่สามารถเปลี่ยนแปลง, ไม่เกี่ยวข้องกับระบบสังคม, และ มีมาอย่างยาวนานข้ามประวัติศาสตร์ (Transhistorical)

เราถูกความคิดคิดนี้ครอบคลุมมานานกว่าศตวรรษโดยการแพทย์, จิตเวชศาสตร์, และจิตวิทยา ทำให้การศึกษาเรื่องเพศกลายเป็นที่ซึ่งผลิตซ้ำความคิดเรื่องเพศในเชิงสารัตถนิยม โดยได้มองว่าเพศเป็นเรื่องส่วนตัว ซึ่งอาจอยู่ในระดับฮอร์โมน และระดับโครงสร้างทางจิตใจของมนุษย์ ซึ่งอาจจะสะท้อนผ่านสรีวิทยาหรือจิตวิทยา แต่ด้วยการแบ่งตามหลักเกณฑ์ทางชาติพันธุ์ศาสตร์ (Ethnoscientific) เหล่านี้ ทำให้เพศวิถีไม่มีประวัติศาสตร์ และไม่มีบทบาทที่สำคัญต่อสังคม

ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ความรู้อันปราดเปรื่องทางทฤษฎีและประวัติศาสตร์ได้เปลี่ยนแปลงลัทธิสารัตถนิยมทางเพศไป ทั้งทางตรงและทางอ้อม ประวัติศาสตร์ของเกย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานของ เจฟฟรี วีคส์ (Jeffrey Weeks) ได้โต้แย้งว่า การรักเพศเดียวกันนั้นเกี่ยวข้องกับความสลับซับซ้อนของสถาบันสมัยใหม่ (Relatively Modern Institutional Complex) นักประวัติศาสตร์อาจมองเห็นว่า รูปแบบของสถาบันรักต่างเพศเป็นมากกว่าการพัฒนาในปัจจุบัน โดยลัทธิสารัตถนิยม ทางเพศร่วมสมัยของความแตกแต่งทางเพศวิถี ในฐานะที่มันเป็นการพัฒนาที่สำคัญยิ่งในปัจจุบัน คนที่ให้ความสำคัญต่อความรู้ใหม่นี้ คือ จูดิท วอล์คโควิซ (Judith Walkowitz) ผู้ซึ่งงานวิจัยของเธอ ได้เสนอการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการค้าประเวณีในรอบร้อยปี เธอได้เสนอให้เห็นว่าแรงกระทำทางสังคม อาทิเช่น อุดมคติ, ความกลัว, การปลุกระดมทางการเมือง, การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และปฏิบัติการทางการแพทย์นั้น สามารถเปลี่ยนโครงสร้างของพฤติกรรมทางเพศได้และสร้างผลกระทบที่ตามมาให้แตกต่างกันออกไป

ประวัติศาสตร์ของเพศวิถี (The History of Sexuality) (*)
ประวัติศาสตร์ของเพศวิถี (The History of Sexuality) ของ มิเชล ฟูโก (Michel Foucault) นั้นมีอิทธิพลเป็นอย่างมาก และเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ใหม่ในเรื่องเพศ. มิเชล ฟูโก ได้วิจารณ์ความเข้าใจในเรื่องเพศแบบดั้งเดิมที่ว่า เรื่องเพศนั้นเป็นความปรารถนาอย่างแรงกล้าของสัญชาตญาณ เพื่อต่อต้านความกดทับทางสังคม โดยเขาได้อธิบายว่า ความปรารถนาทางเพศนั้นไม่ได้มีอยู่ก่อน, กล่าวคือธาตุแท้ทางชีวภาพ (Biological Entities), แต่มันถูกประกอบขึ้นด้วยปฏิบัติการทางสังคมบางอย่าง โดยเน้นไปที่การมองในเชิงวงศาวิทยา (Generative Aspect) ขององค์กรทางสังคมในเรื่องเพศ มากกว่าในเรื่องของการต้องการมีอิสระจากการควบคุมและกดทับ โดยเสนอว่าเพศวิถีแบบใหม่นั้น ถูกผลิตขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอ และชี้ให้เห็นว่าความไม่ต่อเนื่องของ"ความสัมพันธ์ทางเพศในระบบเครือญาติ (Kinship-Based Systems) ของเพศสภาวะ" กับ "ระบบความสัมพันธ์ทางเพศสมัยใหม่"

(*)The History of Sexuality is the title of a three-volume series of books by French philosopher and historian Michel Foucault written between 1976 and 1984. Originally published in French, the volumes are individually titled The Will to Knowledge (Histoire de la sexuality, 1: la volonte de savoir), The Use of Pleasure (Histoire de la sexualite, II: l'usage des plaisirs), and The Care of the Self (Histoire de la sexuality, III: le souci de soi).

Three volumes of The History of Sexuality were published before Foucault's death in 1984. The first and most referenced volume, The Will to Knowledge (previously known as An Introduction in English - Histoire de la sexuality, 1: la volonte de savoir in French) was published in France in 1976, and translated in 1977, focusing primarily on the last two centuries, and the functioning of sexuality as an analytics of power related to the emergence of a science of sexuality (scientia sexualis) and the emergence of biopower in the West. In this volume he questions the "repressive hypothesis," the widespread belief that we have, particularly since the nineteenth century, "repressed" our natural sexual drives. He shows that what we think of as "repression" of sexuality actually constituted sexuality as a core feature of our identities, and produced a proliferation of discourse on the subject.

The second two volumes, The Use of Pleasure (Histoire de la sexualite, II: l'usage des plaisirs) and The Care of the Self (Histoire de la sexuality, III: le souci de soi) dealt with the role of sex in Greek and Roman antiquity. The latter volume deals considerably with the ancient technological development of the hypomnema which was used to establish a permanent relationship to oneself. Both were published in 1984, the year of Foucault's death, the second volume being translated in 1985, and the third in 1986.

ความรู้ใหม่ในเรื่องพฤติกรรมทางเพศนี้สร้างประวัติศาสตร์ให้กับเรื่องเพศ และสร้างทางเลือกในเชิงโครงสร้างนิยม (Constructivist) ในเรื่องลัทธิสารัตถนิยมทางเพศ โดยเสนอว่า เพศสภาพนั้นถูกประกอบสร้างขึ้นในสังคมและประวัติศาสตร์ ไม่ใช่มาจากการกำหนดทางชีววิทยา. แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเรื่องในเชิงชีววิทยานั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่เบื้องต้นสำหรับเรื่องเพศของมนุษย์ แต่หมายความว่า เพศวิถีของมนุษย์นั้นไม่สามารถเข้าใจอย่างแท้จริงของกลุ่มคำของชีววิทยาเพียงอย่างเดียว อวัยวะกับสมองของมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวัฒนธรรมของมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีการตรวจสอบทางร่างกายและส่วนต่างๆ ของร่างกายใดๆ ที่สามารถอธิบายถึงธรรมชาติและความหลากหลายของระบบสังคมมนุษย์

ท้องที่หิวกระหายไม่สามารถบ่งบอกถึงวีธีการปรุงอาหารที่ซับซ้อนได้ฉันใด, ร่างกาย สมอง อวัยวะสืบพันธุ์ก็ฉันนั้น. ถึงแม้ว่าความสามารถทางด้านภาษาทั้งหมดก็เป็นสิ่งจำเป็นต่อเพศวิถีของมนุษย์ แต่ภาษาก็ไม่สามารถแยกแยะเนื้อหา, จำแนกประสบการณ์ หรือรูปแบบทางสถาบันต่างๆ และมากไปกว่านั้น เรายังไม่เคยเผชิญกับร่างกายที่ไม่ได้ถูกให้ความหมายโดยวัฒนธรรม. โดยสรุป เลวี สเตราส์ (Levi' Strauss) ได้กล่าวไว้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างชีววิทยาและเพศวิถี ก็คือ "ลัทธินิยมคานท์ ที่ซึ่งปราศจากสัญชาตญาณทางเพศที่อยู่เหนือความเข้าใจ" (Kantianism Without a Transcendental Libido)

มันเป็นไปไม่ได้ที่จะคิดอย่างชัดเจนในเรื่องการเมืองที่เกี่ยวข้องกับเชื้อชาติ หรือเพศสภาพ (Gender) ตราบเท่าที่ความคิดเหล่านี้ยังเกี่ยวข้องกับแก่นแกนความคิดทางชีววิทยา มากกว่าการมองถึงการประกอบสร้างทางสังคม (Social Constructed) เฉกเช่นเดียวกัน เพศวิถีจะไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองได้เลย ตราบใดที่มันยังเป็นการถูกมองอย่างเริ่มต้นในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ทางชีววิทยา หรือด้านที่เกี่ยวกับจิตวิทยาส่วนบุคคล

เพศวิถีนั้นก็เป็นเช่นเดียวกับผลิตผลทางสังคมอื่นๆ ของมนุษย์ เช่นเดียวกับการควบคุมน้ำหนัก, การขนส่ง, มารยาทผู้ดี (Etiquette), แรงงาน, หลายรูปแบบของความบันเทิง, กระบวนการของการผลิต และหลากหลายวิธีของการกดขี่ข่มเหง เมื่อใดก็ตามที่เรื่องเพศถูกเข้าใจ ถูกนำมาวิเคราะห์ทางสังคม และทำความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ การเมืองเรื่องเพศที่แท้จริงถึงจะเป็นไปได้

เราอาจจะสามารถคิดเกี่ยวกับการเมืองเรื่องเพศในเชิงปรากฏการณ์วิทยา เกี่ยวกับลักษณะประชากร (Population), ย่านที่อยู่ (Neighborhood), รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน (Settlement Patterns), การอพยพ, ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่, โรคระบาด, และวิทยาการของตำรวจ เรื่องเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อความคิดมากกว่าเรื่องของประเพณี เช่น การกระทำผิดต่อศีลธรรม, การเจ็บไข้ได้ป่วย, โรคประสาท, พยาธิวิทยา, ความเสื่อมถอย, มลภาวะเป็นพิษ หรือ การล่มสลายของจักรวรรดิ เป็นต้น

การศึกษารายละเอียดในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประชากรที่มีบาดแผลในเรื่องความรู้สึก เกี่ยวกับกามารมณ์และแรงกระทำทางสังคมที่กระทำต่อคนเหล่านั้น อาทิเช่น งานของ เอเลน บีรูบี (Allen Be'rube'), จอห์น ดี อีมีลิโอ (John D'Emilio), เจฟฟรี วีคส์ (Jeffrey Weeks), และ จูดิส วอคโควิช (Judith Walkowitz) โดยเป็นการวิเคราะห์และวิจารณ์ทางการเมือง แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ในมุมมองของกลุ่มโครงสร้างนิยมนั้น ได้แสดงถึงความคิดของความอ่อนแอของการเมือง และนี่คือหลักฐานส่วนใหญ่ถูกตีความผิดพลาดจากมุมมองของ ฟูโก

เพราะการที่เขาได้ให้ความสำคัญกับเพศวิถีที่ถูกผลิตขึ้น ความคิดเห็นของฟูโกจึงเปราะบางในการตีความ ซึ่งปฏิเสธหรือลดทอนความจริงเกี่ยวกับการกดขี่ข่มเหงทางเพศในเชิงการเมือง เขาจึงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เขาไม่ปฎิเสธการมีอยู่ของการเก็บกดทางเพศเท่าที่มันถูกจารึกไว้ โดยเพศวิถีในสังคมตะวันตกนั้น ถูกสร้างขึ้นในโครงสร้างทางสังคมที่มีการลงโทษอย่างเข้มงวด ทำการครอบงำควบคุมผู้คนทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ มันจำเป็นที่จะต้องรับรู้ถึงปรากฏการณ์เกี่ยวกับความอดกลั้นนี้ โดยปราศจากการใช้ข้อสรุปแบบสารัตถนิยม (Essentialist) ซึ่งพูดถึงส่วนประกอบที่สำคัญของตัณหาราคะ มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะเน้นย้ำการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการอดกลั้นทางเพศ ถึงแม้ว่าจะใช้การนิยามที่แตกต่างกันออกไปโดยสิ้นเชิงก็ตาม

ความคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับเรื่องเพศส่วนใหญ่นั้น ฝังรากลงไปในแบบจำลองของสัญชาตญาณ และการห้ามปรามของตัวตน โดยแนวความคิดเรื่องการกดขี่ทางเพศนั้นถูกฝังไปในความเข้าใจของผู้คน มากกว่าที่เรื่องในเชิงชีววิทยาจะทำความเข้าใจได้. มักจะเป็นการง่ายหากถอยออกมาจากทัศนะของสัญชาตญาณในเรื่องความต้องการทางเพศ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุม ความทารุณโหดร้าย มากกว่าพัฒนาแนวความคิดในเรื่องความอยุติธรรมทางเพศในเชิงโครงสร้างนิยม แต่มันก็เป็นประเด็นที่มีความสำคัญ ทำให้เราต้องการการวิจารณ์พื้นฐานความคิดของฟูโก

ความรู้ใหม่เรื่องเพศนี้ นำมาซึ่งการต่อต้านที่ว่า "เรื่องเพศควรจะถูกจำกัดอยู่ในเรื่องทางสังคมและประวัติศาสตร์เท่านั้น" มันก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยถึงความเที่ยงตรงของความรู้ แต่มันก็มีความสำคัญมากพอที่จะสามารถบ่งชี้ถึงกลุ่มของพฤติกรรมทางเพศ และแนวโน้มโดยทั่วไปกับวาทกรรมกามารมณ์ (Erotic Discourse)

อคติทางเพศ ๕ ประการของ สารัตถนิยมทางเพศ
ในส่วนลัทธิสารัตถนิยมทางเพศ (Sexual Essentialism) นั้น อย่างน้อยประกอบไปด้วย 5 แนวทางในเชิงมโนคติวิทยา ซึ่งมีความเกี่ยวโยงเรื่องความคิดทางเพศ และมีชัดเจนอย่างมาก นั้นก็คือ

1) เรื่องเพศเป็นเรื่องทางลบ (Sex Negativity)
2) ความผิดพลาดเนื่องมาจากมาตรฐานที่วางไว้ผิดๆ (Fallacy of Misplaced Scale)
3) ลำดับขั้นของคุณค่าของการกระทำทางเพศ
4) ทฤษฎีโดมิโน (Domino Theory) ของภัยทางเพศ และ
5) การขาดแนวความคิดที่ความหลากหลาย และความเห็นอกเห็นใจต่อความแตกต่างทางเพศ

จากทั้ง 5 แนวทางนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ "เรื่องเพศเป็นเรื่องทางลบ" วัฒนธรรมตะวันตกโดยทั่วไปแล้วเห็นว่าเพศเป็นเรื่องอันตราย, เป็นตัวบ่อนทำลาย, และเป็นแรงขับทางลบ. ประเพณีของชาวคริสเตียนส่วนใหญ่ซึ่งตามตามความคิดของนักบุญพอล เชื่อว่าเพศเป็นบาปที่มีมาตั้งแต่กำเนิด แต่อาจจะสามารถไถ่บาปได้จากการแต่งงาน เพื่อวัตถุประสงค์ของการให้กำเนิด และไม่ใช่สำหรับความรื่นรมย์สนุกสนานที่มากจนเกินควร โดยความคิดนี้มีรากฐานมาจากความคิดที่ว่าอวัยวะสืบพันธุ์ที่มีมาโดยกำเนิดนี้ เป็นส่วนที่อยู่ในส่วนที่ต่ำของร่างกาย และจะต้องมีศักดิ์น้อยกว่า "จิตใจ", "จิตวิญญาณ", "หัวใจ" หรือแม้แต่ระบบย่อยอาหารที่อยู่เหนือขึ้นไป (สถานะภาพของอวัยวะที่ใช้ในการขับถ่ายนั้น จะมีคุณค่าใกล้เคียงกับอวัยวะที่ใช้สืบพันธุ์)

วัฒนธรรมเหล่านี้ปฏิบัติกับเรื่องเพศอย่างระแวดระวัง มันตีความและตัดสินเกือบทุกการปฏิบัติทางเพศในลักษณะของการแสดงออกที่เลวร้าย เรื่องเพศถูกทึกทักเป็นความผิดบาป จนกระทั่งความบริสุทธิ์ถูกพิสูจน์ (ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว พฤติกรรมทางเพศนั้นถูกตัดสินว่าเป็นเรื่องผิดถ้าไม่มีเหตุผลที่ชัดแจ้งที่แสดงถึงเจตนาในการร่วมเพศ ข้อแก้ตัวที่สามารถยอมรับได้มากที่สุดคือ การแต่งงาน, การมีบุตร และ ความรัก) ในบางครั้งข้อสงสัยทางวิทยาศาสตร์, ประสบการณ์ทางสุนทรียศาสตร์ หรือความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งในระยะยาวของคู่สัมพันธ์ใกล้ชิดอาจเป็นที่ยอมรับได้ แต่สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวกับความสามารถทางกามารมณ์, ความเฉลียวฉลาด, ความสงสัยใคร่รู้, หรือความคิดสร้างสรรค์ ต่างก็ต้องการข้อแก้ตัวในการกระทำนั้นๆ ซึ่งแต่งต่างไปจากความความรื่นรมย์อื่นๆ ที่ไม่ต้องการการแก้ตัวใดๆ เช่น ความเพลิดเพลินในการรับประทานอาหาร, ความเพลิดเพลินในการชมภาพยนต์, และความเพลิดเพลินในการดูดาว

สิ่งที่เรียกว่า "ความผิดพลาดเนื่องมามาตรฐานที่วางไว้ผิดๆ" ก็คือข้อพิสูจน์ของความคิดที่ว่า เรื่องเพศเป็นเรื่องทางลบ. ครั้งหนึ่ง ซูซาน ซองแทค (Susan Sontag) ได้แสดงความคิดเห็นว่า ตั้งแต่ความเป็นคริสเตียนได้เน้นไปที่ "พฤติกรรมทางเพศนั้นเปรียบเสมือนรากของจริยธรรม ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับเพศจึงเป็นเรื่องที่พิเศษในวัฒนธรรมของเรา" กฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องเรื่องเพศได้ผนวกรวมเข้ากับทัศนคติทางศาสนา ทำให้เพศนอกรีตคือบาปที่เลวทราม และสมควรจะได้รับการลงโทษอย่างสาสม

จากประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของยุโรปและอเมริกาในอดีตนั้นการร่วมสังวาสทางทวาร แม้ว่าจะเป็นไปอย่างเต็มใจหรือไม่ก็ตาม เป็นความผิดขั้นรุนแรงและมีโทษถึงประหารชีวิตได้ ในบางรัฐการร่วมเพศทางทวารหนักยังคงเป็นความผิดถึงขั้นจำคุก 20 ปี. ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เรื่องเพศก็ยังคงเป็นกลุ่มที่เด่นชัด. ความแตกต่างเล็กน้อยในเรื่องคุณค่าและพฤติกรรมนั้นมักประสบกับการคุกคามที่มองไม่เห็น ถึงแม้ว่าผู้คนจะไม่มีความอดทน, โง่เง่า, และจุ้นจ้านในเรื่องอะไรที่จะทำให้เกิดความควบคุมอาหารที่เหมาะสม ความแตกต่างในเมนูนั้นน้อยมากที่จะปลุกเร้าในเรื่องของโทสะ, ความหงุดหงิดกังวลใจ, และความหวาดกลัวอย่างสุดขั้ว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเกี่ยวข้องกับความแตกต่างในรสนิยมทางเพศ. การกระทำทางเพศนั้น แท้จริงต่างจากสิ่งที่มีอยู่ ท้าทาย หลากหลายประเภทของความรุนแรง ความโกรธ ที่ซึ่งมักจะรวมความแตกต่างทางรสนิยมทางเพศเสมอ การปฏิบัติทางเพศนี้ถูกทำให้มีความสำคัญมากกเกินไป

สังคมตะวันตกสมัยใหม่นั้น ให้คุณค่าการกระทำทางเพศตามลำดับขั้นของคุณค่าทางเพศ การแต่งงาน เพศสัมพันธ์เพื่อมีบุตรของคนที่รักเพศตรงข้าม อยู่บนปลายยอดของปิรามิตทางกามารมณ์ ส่วนที่อยู่ต่ำลงมาของปิรามิดคือ เพศสัมพันธ์ของคนที่รักเพศตรงข้ามที่มีความยึดมั่นในระบบผัวเดียวเมียเดียวที่ยังไม่ได้แต่งงาน และตามมาด้วย เพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่ล้วนเกี่ยวข้องกับการรักเพศตรงข้าม. ส่วนเรื่องเพศในลักษณะอื่นๆ นั้น ลอยอยู่อย่างไร้ความหมายที่ชัดเจน แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ได้ค่อยเปลี่ยนไปด้วย อาทิเช่น

การสำเร็จความใคร่ของตนเองนั้น เพื่อเป็นการปลดเปลื้องตัวเองจากการไม่ได้พบเจอคู่สังวาส, คู่รักเกย์ชายและเลสเบี้ยนที่มีความสัมพันธ์กันยาวนานกำลังได้รับการยอมรับ แต่เลสเบี้ยนและเกย์ที่สำส่อนก็ยังอยู่ในชั้นต่ำๆ ของปิรามิด แต่กลุ่มที่อยู่ใต้ปิรามิดนั้นได้แก่ การผ่าตัดแปลงเพศ (Transsexuals), การมีความสุขทางเพศจากการสวมเสื้อผ้าของเพศตรงข้าม (Transvestite), การใช้อุปกรณ์ทางเพศ (Fetishists), ความสุขทางเพศที่เกิดจากความพึงพอใจเมื่อถูกทำร้าย (Sadomasochists) และการทำงานทางเพศ เช่น โสเภณีและนักแสดงหนังโป๊ และที่อยู่ชั้นล่างก็คือผู้ซึ่งละเมิดเขตแดนทางเพศของยุคสมัย

ผู้คนซึ่งพฤติกรรมทางเพศของพวกเขาอยู่ในระดับที่สูงของปิรามิด จะได้สนองรางวัลด้วยการรับรองสุขภาพจิต, การยอมรับในสังคม, ความถูกกฎหมาย, ความสามารถในการไปไหนมาไหนในสังคม, ได้รับการสนับสนุนจากสถาบัน และได้รับผลประโยชน์อื่นๆ. ในขณะที่พฤติกรรมทางเพศที่ต่างไป ซึ่งอยู่ในลำดับที่ต่ำลงมาของปิรามิด ผู้คนจะถูกมองว่าเป็นคนป่วยทางจิต, มีชื่อเสียงที่ไม่ดี, อาชญากร, ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวทั้งทางกายภาพและทางสังคม, สูญเสียการสนับสนุนจากสถาบันต่างๆ และกระทั่งการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ

ความสุดโต่งและบาดแผลจากการลงทัณฑ์อย่างรุนแรง ยังคงปรากฏอยู่ในพฤติกรรมทางเพศบางอย่างที่ถูกมองว่ามีสถานะภาพต่ำ และเกิดการคว่ำบาตรอย่างรุนแรงต่อผู้ที่เข้าไปเกี่ยวพันกับเรื่องเหล่านี้ ความเข้มข้นของมลทินนี้หยั่งรากลึกลงในสังคมศาสนาตะวันตก แต่ผ่านมาในรูปแบบของจิตเวชศาสตร์ และการแพทย์

ข้อห้ามทางเพศ: จากศาสนาสู่แนวคิดจิตเวชศาสตร์และเรื่องการแพทย์
ข้อห้ามของศาสนาเก่าแก่หลายๆ ศาสนา นั้นมีรากฐานเบื้องต้นมาจากรูปแบบของความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ (Kinship) ซึ่งเป็นกลไกทางสังคมอันหนึ่ง โดยข้อห้ามทางศาสนานี้เกิดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสังวาสกันโดยไม่เหมาะสม ระหว่างเครือญาติ (Inappropriate Unions) และเพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติที่เหมาะสม กฎหมายในเรื่องเพศซึ่งสืบทอดมาจากการประกาศของพระคัมภีร์นั้น ก็มีความประสงค์ที่จะหลีกเลี่ยงป้องกันการแพร่ขยายของการร่วมประเวณีที่ไม่เหมาะสม นั่นคือ การร่วมประเวณีระหว่างหญิงชายที่มีบิดามารดาเดียวกัน (Incest), การร่วมประเวณีกับเพศเดียวกัน (Homo Sexuality) หรือการร่วมประเวณีกับสัตว์ (Bestiality)

เมื่อเวชกรรม (Medicine) และจิตวิทยาได้เข้ามามีอำนาจครอบงำในเรื่องเพศนั้น ความห่วงใยในเรื่องความไม่เหมาะสมกับคู่สังวาสนั้นได้ค่อยๆ ลดน้อยลงไป และได้ไปมุ่งเน้นในเรื่องของความปรารถนาในสิ่งที่ไม่เหมาะสมมากกว่า. ถ้าการห้ามการร่วมประเวณีระหว่างชายหญิงที่มีบิดามารดาเดียวกันนั้นเป็นตัวแทนที่ดี ในการการสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของระบบกลไกของสังคมเครือญาติ การก้าวไปสู่ข้อห้ามในเรื่องการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองก็ดูจะเป็นการเหมาะสมสำหรับระบบใหม่ ซึ่งมองไปที่เรื่องในเชิงของคุณภาพ (Qualities) เกี่ยวกับประสบการณ์ทางกามารมณ์ (Erotic Experience)

เวชกรรม (Medicine) และจิตวิทยานั้น ได้แยกแยะกลุ่มของการกระทำผิดทางเพศในหลากหลายรูปแบบ ในส่วนของโรคของจิตประสาทเกี่ยวกับเพศ (Psycho Sexual Disorder) ในหนังสือคู่มือการวินิฉัยโรคและสถิติของความผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจ (The Diagnostic and Statistical Manual of Mental and Physical Disorder) (DSM) ขององค์กรความร่วมมือกันของจิตแพทย์ในสหรัฐอเมริกา (APA) นั้น ได้ทำแผนผังที่น่าเชื่อถือในเรื่องที่เกี่ยวกับลำดับขั้นทางจริยธรรมของกิจกรรมทางเพศ โดยรายการของ APA นั้น ได้มีความละเอียดละออมากกว่ารายการต่างๆ ที่ถูกกำหนดถึงความผิดทางจารีตในอดีต ดังเช่น การล่วงประเวณี, การร่วมเพศทางทวารหนัก, การเป็นชู้, โดยหนังสือ DSM ฉบับพิมพ์ครั้งที่สามซึ่งเป็นฉบับล่าสุดนั้น ได้นำเอาการรักเพศเดียวกันออกจากกลุ่มของการเจ็บป่วยทางจิต หลังจากที่ได้มีการโต้แย้งกันมานาน

แต่อย่างไรก็ตาม การนิยมใช้อุปกรณ์ช่วยทางเพศ (Fetishism), การนิยมทำร้ายผู้อื่น (Sadism), การนิยมการถูกทำร้าย (masochism), การผ่าตัดแปลงเพศ (Transsexual), กามวิปริตด้วยการแต่งตัวเป็นเพศตรงข้าม (Transvestism), การนิยมอวดเครื่องเพศ (Exhibitionism), การนิยมดูเครื่องเพศหรือการสังวาสของผู้อื่น และการนิยมร่วมเพศกับเด็ก (pedophilia) นั้นยังถูกมองว่าเป็นสภาพจิตที่ไม่ปกติ บกพร่องชำรุด และยังมีหนังสือหลายเล่มที่ยังเขียนถึงเรื่อง การกำเนิด สาเหตุ การบำบัด และ การรักษา"โรค"เหล่านี้

การมองการประพฤติทางเพศเป็นเรื่องที่ผิดในเชิงจิตวิทยานี้ มองว่าเป็นแนวความคิดในเรื่องของจิตและอารมณ์ที่ตกต่ำ มากกว่าที่จะมองไปว่าเป็นความผิดบาป การกระทำเรื่องเพศอย่างต่ำช้าในมุมมองของสังคมนั้น ถูกมองอย่างเสื่อมเสียว่า เป็นอาการป่วยไข้ทางจิต หรือโรคของบุคคลที่มีความบกพร่องทางบุคลิกภาพ โดยในเชิงจิตวิทยานั้นมองว่าเป็นเรื่องของจิตประสาทที่ไม่สงบนิ่งในเรื่องทางเพศ โดยได้เชื่อมโยงระหว่างการนิยมการถูกทำร้าย กับรูปแบบความฟั่นเฟือนทางจิตใจ, การนิยมทำร้ายผู้อื่นเข้ากับความก้าวร้าวทางอารมณ์ และความรู้สึกต้องการกระตุ้นทางเพศจากเพศเดียวกัน กับความไม่เป็นผู้ใหญ่

วัฒนธรรมป็อป ถูกแทรกซึมด้วยความคิดที่ว่า ความหลากหลายทางด้านกามารมณ์นั้นเป็นเรื่องอันตราย, ไม่ดีต่อสุขภาพ, เป็นความเสื่อมทราม, และเป็นสิ่งคุกคามต่อเด็ก ไปจนกระทั่งถึงความมั่นคงของชาติ. ความคิดต้นแบบทางเพศซึ่งผู้คนนิยมนั้น ทำให้เกิดความกังวลในเรื่องความผิดบาปทางเพศ, ความคิดเกี่ยวกับเรื่องจิตใจต่ำช้า, และการต่อต้านคอมมิวนิสต์, จิตประสาทกลุ่ม Mob Hysteria, ข้อกล่าวหาในการเป็นแม่มด, และความเกลียดกลัวสิ่งแปลกปลอม. สื่อต่างๆ ได้ฉายภาพที่เป็นการชวนเชื่อเหล่านี้อย่างชัดเจน ไม่ปิดบังซ้อนเร้น ซึ่งควรจะเรียกเรื่องนี้ว่า เป็นระบบของรอยแผลในเรื่องกามารมณ์ที่เกิดจากรูปแบบการด่วนตัดสินทางสังคม ซึ่งถ้ารูปแบบดั้งเดิมไม่ได้แสดงความดื้อด้านให้เห็นอย่างรุนแรง สิ่งใหม่ก็ไม่สามารถสืบต่อจนกลายทำให้อยางเด่นชัดเช่นนี้ได้

การลำดับขั้นคุณค่าทางเพศตาม-ศาสนา, จิตวิทยา และ แบบวัฒนธรรมป๊อป - สำหรับเรื่องราวเหล่านี้มีรูปแบบเดียวกันกับการเหยียดเชื้อชาติ, คลั่งชาติพันธุ์, และการคลั่งศาสนา เป็นการสร้างความมีเหตุผลและอภิสิทธิ์แก่การมีเพศสัมพันธ์ที่ดี และสร้างความเลวร้ายแก่เพศสัมพันธ์ที่ไร้ระเบียบ

มีการสร้างแผนภาพเพื่อแสดง และแบ่งการจัดระบบคุณค่าทางเพศ ตามระบบทางเพศขึ้น สำหรับในส่วน เรื่องเพศที่ถูกเรียกว่า "ดี", "ปกติ", นั้นจะถูกรวมเข้ากับ "รักต่างเพศ", "ความเชื่อในการแต่งงาน", "ความรักเดียวใจเดียว", "การให้กำเนิด" และ ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ มันควรจะมีลักษณะเป็นคู่, เกี่ยวกับความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง, โดยอยู่ในช่วงอายุเดียวกัน, และเกิดขึ้นที่บ้าน มันไม่ควรเกี่ยวข้องกับหนังโป๊, อุปกรณ์ทางเพศต่างๆ และบทบาทที่ไม่ควรมากไปกว่าหญิงกับชาย

ส่วนการผิดกฎเกี่ยวกับเซ็กส์เหล่านี้ หมายถึง "เลว", "ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ" เพศสัมพันธ์ที่เลวอาจหมายถึง "เพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน", "การไม่แต่งงาน", "สำส่อน", "ไม่มีประโยชน์" และ "เกี่ยวข้องกับเงิน" มันอาจเป็นการ "สำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง", "เกี่ยวกับการร่วมเพศทางทวารหนัก", "อาจเป็นการมีเพศสัมพันธ์ที่ข้ามรุ่นอย่างมาก", และอาจเกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะ หรืออย่างน้อยก็ในทุ่งหรือในห้องน้ำ มันอาจเกี่ยวข้องกับการใช้หนังโป๊ อุปกรณ์ทางเพศ หรือบทบาทที่ไม่ปกติธรรมดา

แผนภาพต่อมา เป็นภาพความคิดอีกแบบหนึ่งในเรื่องลำดับคุณค่าในเรื่องเพศ โดยความต้องการจะสร้างเส้นโยงจินตนาการทางเพศระหว่างเพศสัมพันธ์ที่ดีและเพศสัมพันธ์ที่เลว. วาทกรรมที่เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ในเรื่องที่สัมพันธ์กับศาสนา, จิตวิทยา, ความนิยม, หรือในเชิงการเมือง ทำให้เกิดการจำกัดวงแคบๆ การรองรับได้ของมนุษย์เกี่ยวกับเพศ อาทิเช่น ความผิดบาป, ความปลอดภัย, ความมีสุขภาพดี, ความมีวุฒิภาวะ, ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นไปตามทำนองคลองธรรม. "เส้น" ได้ทำการแบ่งแยกสิ่งเหล่านี้ออกจากพฤติกรรมทางเพศอื่นๆ ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นการกระทำของปิศาจ, อันตราย, ฟั่นเฟือน, ปราศจากวุฒิภาวะ, ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม. คำถามที่สำคัญนั้นคือ "จะขีดเส้นนี้ที่ไหน" และตรงไหนที่ยอมรับได้

ระบบการจัดการทั้งหมดนี้เป็นการอนุมานเกี่ยวกับ การสร้างความต่อเนื่องที่นำเสนอความหายนะทางเพศ เส้นนี้ดูจะเป็นการแบ่งระหว่างเพศสัมพันธ์ที่อยู่ในระเบียบและอยู่นอกระเบียบ. มันได้แสดงให้เห็นความกลัวว่า ถ้าอะไรก็ตามที่ข้ามเส้นกาม DMZ ปริมณฑลที่ป้องกันเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัว จะคลืบคลานเข้ามาได้ง่ายและสิ่งที่น่าหวาดหวั่นจะเกิดขึ้น

ระบบของการตัดสินในเรื่องกาม - ศาสนา, จิตวิทยา, สตรีนิยม, หรือนักสังคมวิทยา ต่างพยายามที่จะแยกแยะว่า ข้างไหนของเส้นที่จริงๆ แล้วอันตราย การแสดงออกซึ่งเพศสัมพันธ์ในด้านที่ดีของเส้นนั้น แท้จริงแล้วขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของคุณธรรมเช่นเดียวกัน. การรักเพศเดียวกันอาจแสดงถึงได้ทั้ง…

- ความต้องการในจิตใจ หรือ สิ่งสกปรก
- ความอิสระ หรือ การควบคุม
- การเยียวยา หรือ การทำลาย
- โรแมนติค หรือ ธุรกิจ

ตราบใดที่ไม่ได้ทำผิดกฎใดๆ การรักต่างเพศเป็นสิ่งที่ถูกสำเหนียกว่าเป็นประสบการณ์ทางเพศทั้งหมดของมนุษย์ แต่ในทางตรงกันข้ามการกระทำทางเพศทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเลว มันได้รับการพิจารณาว่าเกี่ยวข้องกับความรุนแรง, ความน่าสะอิดสะเอียนของอารมณ์ ยิ่งห่างไกลจากเส้นแบ่งเท่าใดประสบการณ์ที่เลวร้ายจะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

จากผลของการขัดแย้งทางเพศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา พฤติกรรมบางอย่างที่ใกล้จะข้ามเส้นนั้นเริ่มแปรผัน คู่รักที่ยังไม่ได้แต่งงานอยู่ร่วมกัน, การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง, และรูปแบบบางอย่างของกลุ่มรักเพศเดียวกัน ต่างได้รับการยอมรับมากขึ้น. ความรักเพศเดียวกันส่วนใหญ่ยังอยู่ในส่วนของความเลว แต่หากคู่รักนั้นรักเดียวใจเดียว สังคมได้เริ่มตระหนักว่าเป็นส่วนหนึ่งของปฎิสัมพันธ์ของมนุษย์. ส่วนความสำส่อน, รักเพศเดียวกัน, ความชอบถูกคนอื่นทำร้าย, การใช้อุปกรณ์ทางเพศ, ความผิดเพศ, และการมีเพศสัมพันธ์ข้ามรุ่น ยังต้องเผชิญกับกับการถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากความปราถนา, ความรัก, ความอิสระ, ความกรุณาและความดี

ศีลธรรมเรื่องเพศในลักษณะนี้ เป็นเรื่องของการเหยียดมากกว่าเป็นเรื่องจริยธรรมอย่างแท้จริง มันใช้อภิสิทธิ์ในการทำให้ผู้คนกลุ่มน้อยตกเป็นรอง ศีลธรรมอย่างเป็นประชาธิปไตยนั้น ควรตัดสินการกระทำทางเพศโดยวิถีของคู่รักแสดงออกแก่กันและกัน, ระดับของความสัมพันธ์, การบังคับขู่เข็ญ, ปริมาณและคุณภาพของความพึงใจที่คู่รักมีให้แก่กัน ไม่ว่าการกระทำทางเพศจะเป็นการรักเพศเดียวกัน, รักต่างเพศ, กลุ่มหรือคู่, เปลือยหรือกางเกงใน, เงินหรือฟรี, มีหรือไม่มีวีดิโอ, สิ่งเหล่านี้ไม่ควรถูกนำมาพิจารณาทางด้านจริยธรรม

มันเป็นการยากที่จะพัฒนาจริยธรรมทางเพศแบบพหุนิยม หากไม่ยอมรับความหลากหลายทางเพศ ความหลากหลายเป็นพื้นฐานของสิ่งต่างๆ ในชีวิต จากระบบชีวิวิทยาที่เรียบง่ายที่สุดไปจนถึงความสลับซับซ้อนที่สุดของสังคมมนุษย์ เรื่องเกี่ยวกับเพศควรถูกพิจารณาในมาตรฐานเดียวกัน หนึ่งในสิ่งที่ชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์คือ มีอยู่หนทางเดียว นั่นคือทำมันให้ดีที่สุด และทุกๆ คนควรทำเช่นนั้น. ผู้คนส่วนใหญ่มักพบว่า เป็นการยากที่จะกระทำสิ่งใดๆ ที่พวกเขาชอบเกี่ยวกับเพศ และโน้มน้าวให้คนอื่นๆ ชอบมันไปด้วย แท้จริงแล้วผู้คนไม่จำเป็นจะต้องจดจำการกระทำทางเพศว่าคนอื่นๆ ทำกันอย่างไร และความแตกต่างในการกระทำทางเพศนี้ก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่า เป็นการปราศจากรสนิยม, เป็นพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ดี, สุขภาจิตที่แย่, หรือความขาดเขลาแต่อย่างใด

ทัศนะที่ว่าความคิดเกี่ยวกับเรื่องเพศควรจะถูกคิดเฉพาะเรื่องเพศเท่านั้น สำหรับศาสนาแล้วก็คือ ความคิดในการแต่งงานเพื่อการมีบุตร ส่วนในเชิงจิตวิทยาแล้วก็คือ คนรักเพศตรงข้ามที่มีวุฒิภาวะ ถึงแม้ว่าเนื้อหาของมันจะหลากหลาย มาตรฐานของเรื่องเพศก็ยังไปเกาะเกี่ยวอยู่กับความคิดแบบอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวของมันเองเพียงอย่างเดียว รวมไปถึงสตรีนิยม และสังคมนิยม ซึ่งเป็นเพียงสิ่งที่เข้าใจได้อันหนึ่งเพื่อที่จะใช้ในการโต้แย้งว่า ทุกๆ คนควรจะเป็นเลสเบี้ยน, ไม่จำเป็นต้องรักเดียวใจเดียว, วิตถาร, เหมือนกับที่เชื่อว่าทุกคนควรจะเป็นรักต่างเพศ, แต่งงาน, - ให้ลองคิดถึงกลุ่มความคิดชุดหลัง ที่ถูกหนุนให้เป็นที่น่าปราถนามากกว่าความคิดชุดแรก

กลุ่มคนหัวก้าวหน้า ผู้ซึ่งรู้สึกละอายในการที่จะแสดงออกมาในพื้นที่อื่นๆ มักจะแสดงมันออกมาผ่านความแตกต่างทางเพศ เราจะต้องเรียนรู้ที่จะสรรเสริญความแตกต่างของวัฒนธรรมเหมือนกับความแตกต่างทางอัตลักษณ์ในการประดิษฐ์คิดค้นของมนุษย์ มากไปกว่าการแสดงออกของชนเผ่าป่าเถื่อน เราต้องการความเข้าใจทางมานุษยวิทยาถึงความแตกต่างกันในวัฒนธรรมทางเพศ

การวิจัยเรื่องเพศในเชิงประจักษ์ (Empirical Sex Research) เป็นส่วนซึ่งร่วมมือกับความคิดในแง่บวกของความหลากหลายทางเพศ อัลเฟรด คินซีย์ (Alfred Kinsey) ได้ทำการศึกษาเรื่องเพศด้วยความสงสัยอย่างไม่ยิ่งหย่อน เขาได้ทำการประยุกต์เพื่อที่จะศึกษาสายพันธ์ของตัวต่อ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของเขานั้นทำให้งานของเขาสดใหม่ เป็นกลาง ซึ่งทำให้ผู้มีจริยธรรมสูงไม่พอใจ และเป็นสาเหตุให้เกิดข้อโต้แย้งนับไม่ถ้วน ในกลุ่มของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการใช้ทฤษฎีของคินซี่ย์ จอห์น แก๊กนอน (John Gagnon) และ วิลเลี่ยม ไซมอน (William Simon) เป็นผู้บุกเบิกการทำความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางกามารมณ์ในสังคม ถึงแม้ว่างานของพวกเขาจะกระตุ้นจิตใจโดยการแสดงความเชื่อที่น่าอดสู. เฮฟล๊อค เอลลิสต์ (Havelock Ellis) ก็เป็นผู้สังเกตการณ์อีกคนหนึ่งที่แหลมคมและใจกว้าง งานการศึกษาที่งดงามของเขา ที่ชื่อว่า Studies in the Psychology of Sex นั้น เต็มไปด้วยรายละเอียด

งานเขียนเชิงการเมืองส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องการเปิดเผยทางเพศนั้น มักจะละเลยทั้งการศึกษาเกี่ยวกับเพศศาสตร์แบบคลาสสิค (Classical Sexology) และการวิจัยเพศสมัยใหม่ (Modern Sex Research) บางทีนี่อาจเป็นเพราะว่ามีวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยน้อยเหลือเกินที่สอนเรื่องเกี่ยวกับเพศของมนุษย์ และเนื่องมาจากมลทินที่อาจเกิดขึ้นถึงแม่แต่กับผู้เป็นปัญญาชนหากไปศึกษาเรื่องเพศ. ทั้งการศึกษาเกี่ยวกับเพศศาสตร์แบบคลาสสิค และการวิจัยเพศสมัยใหม่ นั้นไม่มีอันใดเลยที่จะไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับเรื่องลำดับขั้นของคุณค่าทางเพศ ทั้งสองแบบของงานวิจัยนี้ ต่างมีข้อสรุปและข้อมูลที่ไม่สามารถยอมรับได้อย่างไม่มีเงื่อนไข แต่การศึกษาเกี่ยวกับเพศศาสตร์แบบคลาสสิคและการวิจัยเพศสมัยใหม่นั้น ต่างก็มีรายละเอียดที่มากมาย ท่าทางที่เป็นมิตรและสงบนิ่ง และ การพัฒนาที่ดีเพื่อที่จะทำให้ความหลากหลายทางเพศ เป็นบางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่จริงมากกว่าต้องการจะทำลายล้างอย่างถอนรากถอนโคน การศึกษาวิจัยในส่วนนี้ สามารถให้ความรู้พื้นฐานเชิงประจักษ์สำหรับทฤษฎีดั้งเดิม เพื่อที่จะเป็นประโยชน์มากกว่าการรวมกันของของจิตวิเคราะห์และสตรีนิยมที่มีแต่ข้อมูลทางทฤษฎี


 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
23January 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
สิ่งที่เรียกว่า"ความผิดพลาดเนื่องมามาตรฐานที่วางไว้ผิดๆ"ก็คือข้อพิสูจน์ของความคิดที่ว่า เรื่องเพศเป็นเรื่องทางลบ. ซูซาน ซองแทค ได้แสดงความคิดเห็นว่า ตั้งแต่ความเป็นคริสเตียนได้เน้นไปที่ "พฤติกรรมทางเพศนั้นเปรียบเสมือนรากของจริยธรรม ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับเพศจึงเป็นเรื่องที่พิเศษในวัฒนธรรมของเรา" กฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องเรื่องเพศได้ผนวกรวมเข้ากับทัศนคติทางศาสนา ทำให้เพศนอกรีตคือบาปที่เลวทราม และสมควรได้รับการลงโทษ จากประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่นั้นการร่วมสังวาสทางทวาร แม้ว่าจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม เป็นความผิดขั้นรุนแรงถึงประหาร
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
ในส่วนลัทธิสารัตถนิยมทางเพศ (Sexual Essentialism) นั้น อย่างน้อยประกอบไปด้วย ๕ แนวทางในเชิงมโนคติวิทยา ซึ่งมีความเกี่ยวโยงเรื่องความคิดทางเพศ และมีชัดเจนอย่างมาก นั้นก็คือ

) เรื่องเพศเป็นเรื่องทางลบ
๒) ความผิดพลาดเนื่องมาจากมาตรฐานที่วางไว้ผิดๆ
๓) ลำดับขั้นของคุณค่าของการกระทำทางเพศ
๔) ทฤษฎีโดมิโน (Domino Theory) ของภัยทางเพศ และ
๕) การขาดแนวความคิดที่ความหลากหลาย และความเห็นอกเห็นใจต่อความแตกต่างทางเพศ

จากทั้ง ๕ แนวทางนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ "เรื่องเพศเป็นเรื่องทางลบ" วัฒนธรรมตะวันตกโดยทั่วไปแล้วเห็นว่าเพศเป็นเรื่องอันตราย, เป็นตัวบ่อนทำลาย, และเป็นแรงขับทางลบ. ประเพณีของชาวคริสเตียนส่วนใหญ่ซึ่งตามตามความคิดของนักบุญพอล เชื่อว่าเพศเป็นบาปที่มีมาตั้งแต่กำเนิด แต่อาจจะสามารถไถ่บาปได้จากการแต่งงาน เพื่อวัตถุประสงค์ของการให้กำเนิด และไม่ใช่สำหรับความรื่นรมย์สนุกสนานที่มากจนเกินควร โดยความคิดนี้มีรากฐานมาจากความคิดที่ว่าอวัยวะสืบพันธุ์ที่มีมาโดยกำเนิดนี้ เป็นส่วนที่อยู่ในส่วนที่ต่ำของร่างกาย และจะต้องมีศักดิ์น้อยกว่า "จิตใจ", "จิตวิญญาณ", "หัวใจ" หรือแม้แต่ระบบย่อยอาหารที่อยู่เหนือขึ้นไป (สถานะภาพของอวัยวะที่ใช้ในการขับถ่ายนั้น จะมีคุณค่าใกล้เคียงกับอวัยวะที่ใช้สืบพันธุ์)