โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๖๓ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ (January, 19, 01, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

19-01-2551

Philosophy &
Human Right Law

Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

ปรัชญา ข้อถกเถียงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และโลกาภิวัตน์
ปรัชญา สัญญาประชาคม และกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

สำหรับความเรียงชิ้นนี้ เป็นการวางพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา
และแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งต่อจาก ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับสิทธิมนุยชน
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนลำดับที่ ๑๔๕๓
ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้แล้ว
เฉพาะในความเรียงนี้ได้ลำดับเรื่องตั้งแต่ พื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ทางธรรมชาติ,
เรื่องของสัญญาประชาคม, ทฤษฎีและแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน,
ข้อถกเถียงระหว่างสากลนิยม กับสัมพัทธนิยมทางวัฒนธรรม ฯลฯ, และสุดท้ายเป็นเรื่อง
กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน รวมถึงเรื่องของ Non-Derogable Rights and Freedoms
under Article 4 of the International Covenant on Civil and Political Rights
PART III ซึ่งได้ยกเอามาตราที่ ๔ แห่งสิทธิและเสรีภาพที่ไม่อาจยกเลิกเพิกถอนได้ มานำเสนอ
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๖๓
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๔ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ปรัชญา ข้อถกเถียงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และโลกาภิวัตน์
ปรัชญา สัญญาประชาคม และกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ความนำ
วิธีการทางทฤษฎีที่หลากหลายได้รับการเสนอขึ้นมาเพื่ออธิบายว่า ทำไมสิทธิมนุษยชนต่างๆ จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของความคาดหวังทางสังคมขึ้นมาได้ หนึ่งในปรัชญาตะวันตกที่เก่าแก่สุดเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน คือผลิตผลอันหนึ่งของกฎธรรมชาติ โดยเกิดขึ้นมาจากพื้นฐานทางศาสนาและปรัชญาที่แตกต่างกัน

ส่วนทฤษฎีอื่นๆ ถือว่า สิทธิมนุษยชนเป็นการจัดการทางพฤติกรรมด้านศีลธรรมให้เป็นระบบหรือหมวดหมู่ อันเป็นผลิตผลทางสังคมมนุษย์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยกระบวนการเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางชีววิทยาและทางสังคม ซึ่งแนวคิดนี้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับแนวคิดของ David Hume [*]. สิทธิมนุษยชนยังได้ถูกอรรถาธิบายในฐานะที่เป็นแบบแผนทางสังคมวิทยา เกี่ยวกับการจัดการทางด้านกฎเกณฑ์ด้วย ดังในทฤษฎีสังคมวิทยาทางกฎหมาย และงานของ Max Weber[**].
[*] David Hume (April 26, 1711 - August 25, 1776)[1] was an 18th-century Scottish philosopher, economist, and historian, considered among the most important figures in the history of Western philosophy and the Scottish Enlightenment.

[**] Maximilian Carl Emil Weber (April 21, 1864 - June 14, 1920) was a German political economist and sociologist who is considered one of the founders of the modern study of sociology and public administration. He began his career at the University of Berlin. Weber's major works deal with rationalisation in sociology of religion and government.[1] His most famous work is his essay The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, which began his work in the sociology of religion.

วิธีวิทยาเหล่านี้ รวมเอาแนวคิดที่ว่า ปัจเจกชนทั้งหลายในสังคมต่างให้การยอมรับกฎเกณฑ์ต่างๆ จากอำนาจความชอบธรรมทางกฎหมาย เพื่อการแลกเปลี่ยนกับความมั่นคงปลอดภัย และประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และอื่นๆ ดังเช่นในงานของ John Rawls [*] (สัญญาประชาคม - a social contract).
[*]John Rawls (February 21, 1921 - November 24, 2002) was an American philosopher, a professor of political philosophy at Harvard University and author of A Theory of Justice (1971), Political Liberalism (1993), The Law of Peoples (1999), and Justice as Fairness: A Restatement (2001). He is widely considered one of the most important political philosophers of the 20th century.

สิทธิต่างๆ ทางธรรมชาติ (Natural rights)
ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับกฎธรรมชาติ ได้วางพื้นฐานสิทธิมนุษยชนลงบนระเบียบแบบแผนทางธรรมชาติ, ศีลธรรม, หรือกระทั่งทางชีววิทยา ซึ่งเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์หรือขนบจารีตของมนุษย์ที่ไม่แน่นอน. โสกราตีสและทายาททางความคิดปรัชญาของเขา, เพลโตและอริสโตเติล ต่างวางรากฐานหลักการดำรงอยู่เกี่ยวกับความยุติธรรมทางธรรมชาติ หรือสิทธิตามธรรมชาติอันนี้. ส่วนอริสโตเติลเอง มักได้รับการกล่าวถึงอยู่เสมอในฐานะที่เป็นบิดาแห่งกฎธรรมชาติ(the father of natural law), แม้ว่าหลักฐานสำหรับเรื่องราวเหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้วล้วนมาจากการตีความงานของเขาโดยโธมัส อไควนัส(Thomas Aquinas)(*)นั่นเอง
(*)Thomas Aquinas, O.P.(also Saint Thomas Aquinas, Thomas of Aquin, or Aquino; c. 1225 - 7 March 1274) was an Italian Catholic priest in the Dominican Order, a philosopher and theologian in the scholastic tradition, known as Doctor Angelicus, Doctor Universalis and Doctor Communis. He was the foremost classical proponent of natural theology, and the father of the Thomistic school of philosophy and theology.

พัฒนาการเกี่ยวกับขนบจารีตความยุติธรรมตามธรรมชาติ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในกฎธรรมชาติ ปกติแล้วได้รับการถือว่าเป็นแนวคิดสโตอิค (*). จวบจนกระทั่งทุกวันนี้ บิดาแห่งศาสนาจักรบางคนพยายามแสวงหาหนทางรวบรวมแนวคิดนอกรีตเกี่ยวกับกฎธรรมชาติเข้ามาในคริสตศาสนา. ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับกฎธรรมชาติค่อนข้างจะโดดเด่นมากในปรัชญาต่างๆ ของ Thomas Aquinas, Francisco Su?rez, Richard Hooker, Thomas Hobbes, Hugo Grotius, Samuel von Pufendorf, และ John Locke.
(*)ลัทธิสโตอิค สอนเรื่องการควบคุมตัวเอง และความอดทน อดกลั้น ในฐานะที่เป็นวิธีการเอาชนะอารมณ์ต่างๆ ปรัชญานี้ถือว่า การเป็นนักคิดที่ชัดเจน ปราศอคติ ทำให้เข้าใจถึงเหตุผลของจักรวาล(universal reason) (logos) . สิ่งสำคัญแรกสุดของลัทธิสโตอิค เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงจิตวิญญานของปัจเจกชน ให้ดำรงอยู่อย่างมีสวัสดิภาพ นั่นคือ คุณความดีที่มีอยู่ในเจตจำนงที่ตรงกับหรือสอดคล้องกับธรรมชาติ หลักการนี้ได้ประยุกตใช้กับขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กล่าวคือ การเป็นอิสระจากความโกรธ ความอิจฉาริษยา และยอมรับบรรดาทาสทั้งหลายในฐานะที่เท่าเทียมกันคนอื่นๆ ทั้งนี้เพราะเราทั้งหมดต่างเป็นบุตรของพระเจ้านั่นเอง. หลักสำคัญที่สุดของลัทธิสโตอิคคือ ความดี ความมีเหตุผล และกฎธรรมชาติ(virtue, reason, and natural law). สโตอิคเชื่อว่า โดยการควบคุมกิเลส ตัณหา และอารมณ์ เป็นไปได้ที่เราจะค้นพบดุลยภาพในตัวเองและในโลก

ในคริสตศตวรรษที่ 17 Thomas Hobbes (*) ได้สร้างทฤษฎีพันธสัญญา (contractualist theory) เกี่ยวกับปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย(legal positivism)ขึ้น อันเป็นสิ่งซึ่งมนุษย์ทุกคนสามารถยอมรับได้ นั่นคือ สิ่งที่พวกเขาแสวงหา(ได้แก่ความสุข) พวกเขาจำเป็นต้องให้ความเคารพต่อการแข่งขันหรือการโต้แย้งเพื่อนำไปสู่ฉันทามติกว้างๆ ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นมารายรอบสิ่งที่พวกเขากลัว (นั่นคือ ความตายที่รุนแรงในมือของอีกคนหนึ่ง). กฎธรรมชาติคือ มนุษย์ที่มีเหตุผลต่างแสวงหาหนทางเพื่อความอยู่รอดและความก้าวหน้า ควรทำอย่างไร? คำตอบได้ถูกค้นพบ โดยการพิจารณาถึงสิทธิต่างๆ ตามธรรมชาติของมนุษยชาติ
(*)Thomas Hobbes (5 April 1588 - 4 December 1679) was an English philosopher, whose famous 1651 book Leviathan established the foundation for most of Western political philosophy. Hobbes is remembered today for his work on political philosophy, although he contributed to a diverse array of fields, including history, geometry, theology, ethics, general philosophy, and political science. Additionally, Hobbes' account of human nature as self-interested cooperation has proved to be an enduring theory in the field of philosophical anthropology.

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ อาจกล่าวได้ว่า สิทธิต่างๆ ตามธรรมชาติได้ถูกค้นพบโดยการพิจารณาถึงกฎธรรมชาติ. ในความคิดเห็นของ Hobbes หนทางเดียวที่กฎธรรมชาติสามารถมีผลเป็นจริงเป็นจังได้สำหรับมนุษย์คือ ยอมเชื่อฟังคำบัญชาต่างๆ ขององค์อธิปัตย์(กษัตริย์) ซึ่งอันนี้ได้เป็นการวางรากฐานต่างๆ ทางทฤษฎีเกี่ยวกับสัญญาประชาคมระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครองขึ้น

Hugo Grotius (*) เป็นอีกคนหนึ่งซึ่งได้วางรากฐานปรัชญาของเขาเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศบนกฎธรรมชาติ เขาเขียนว่า "แม้แต่เจตจำนงของผู้มีอำนาจล้นฟ้า(หรือพระผู้เป็นเจ้า) ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกกฎธรรมชาตินี้ได้" ซึ่งจะธำรงรักษาความมีเหตุมีผลที่เป็นภววิสัยของมัน แม้เราจะทึกทักว่าเป็นไปไม่ได้ที่ว่า ไม่มีพระเจ้าองค์ใดที่จะไม่ทรงห่วงใยเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์" (De iure belli ac pacis, Prolegomeni XI). อันนี้คือข้ออ้างที่มีชื่อเสียง (etiamsi daremus) (non esse Deum), ซึ่งทำให้กฎธรรมชาติไม่ขึ้นอยู่กับเรื่องของเทววิทยาอีกต่อไป
(*)Hugo Grotius or Huig de Groot, or Hugo de Groot; (Delft, 10 April 1583 - Rostock, 28 August 1645) worked as a jurist in the Dutch Republic and laid the foundations for international law, based on natural law. He was also a philosopher, Christian apologist, playwright, and poet.

John Locke (*) ได้ทำการรวบรวมกฎธรรมชาติเข้ามาในทฤษฎีและปรัชญาของเขาจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Two Treatises of Government (ตำราสองเล่มเกี่ยวกับรัฐบาล). Locke ได้พลิกผันบทบัญญัติหรือเงื่อนไขของ Hobbes โดยกล่าวว่า "ถ้าหากว่าผู้ปกครองกระทำสิ่งซึ่งสวนทางกับกฎธรรมชาติ และล้มเหลวที่จะปกป้องชีวิต, เสรีภาพ, และทรัพย์สิน ผู้คนก็สามารถโค่นล้มรัฐที่ดำรงอยู่นั้นได้อย่างมีเหตุผล และสร้างสรรค์รัฐใหม่ขึ้นมาแทน"
(*)John Locke, (August 29, 1632 - October 28, 1704) was an English philosopher. Locke is considered the first of the British Empiricists, but is equally important to social contract theory. His ideas had enormous influence on the development of epistemology and political philosophy, and he is widely regarded as one of the most influential Enlightenment thinkers and contributors to liberal theory. His writings influenced Voltaire and Rousseau, many Scottish Enlightenment thinkers, as well as the American revolutionaries. This influence is reflected in the American Declaration of Independence.

Locke's theory of mind is often cited as the origin for modern conceptions of identity and "the self", figuring prominently in the later works of philosophers such as David Hume, Jean-Jacques Rousseau and Immanuel Kant. Locke was the first philosopher to define the self through a continuity of "consciousness." He also postulated that the mind was a "blank slate" or "tabula rasa"; that is, contrary to Cartesian or Christian philosophy, Locke maintained that people are born without innate ideas.

นักปรัชญาทางด้านกฎหมายชาวเบลเยี่ยม Frank van Dun (1947 -)(*) เป็นหนึ่งในท่ามกลางนักปรัชญาปัจจุบัน ที่ได้วางแผนอย่างละเอียดในแนวคิดทางโลกเกี่ยวกับกฎธรรมชาติ(secular conception of natural law)ในขนบจารีตเสรีนิยม. มันยังปรากฏด้วยว่า รูปแบบต่างๆ ทางโลกเกี่ยวกับทฤษฎีกฎธรรมชาตินั้น ได้กำหนดนิยามสิทธิมนุษยชนต่างๆ ในฐานะที่เป็นอนุพันธุ์หรือสิ่งซึ่งพัฒนาขึ้นมาจากแนวคิดเกี่ยวกับเกียรติและศักดิ์ศรีอันเป็นสากลของความเป็นมนุษย์. ปัจจุบันศัพท์คำว่า"สิทธิมนุษยชน"(human right) ได้เข้าแทนที่"สิทธิตามธรรมชาติ"(natural right)อย่างแพร่หลาย และเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพราะสิทธิต่างๆ ถูกมองว่าเป็นความต้องการของกฎธรรมชาติเพื่อการดำรงอยู่ของตัวมันเองน้อยมาก
(*)Frank van Dun (Antwerp 1947) studied law and philosophy at the University of Ghent (Belgium). He began his career as a researcher at the Belgian National Fund for Scientific Research (Brussels), where he worked on the foundations of logic. In 1974 he became a teaching and research assistant at the Seminary of General Jurisprudence of the Law Faculty of the University of Ghent.

สัญญาประชาคม (Social contract)
นักปรัชญาเชื้อสายสวิสส์-ฝรั่งเศส Jean-Jacques Rousseau (*) เสนอถึงการดำรงอยู่ของสัญญาประชาคมขึ้นมา ที่ซึ่งกลุ่มคนที่เป็นปัจเจกชนอิสระทั้งหลาย เห็นด้วยหรือยอมรับประโยชน์เกี่ยวกับความผาสุกร่วมกันจากสถาบันต่างๆ ที่ปกครองพวกเขา อันนี้ได้สะท้อนถึงการยืนยันหรือรากฐานในช่วงต้นๆ ที่เสนอโดย Thomas Hobbes ซึ่งเป็นพันธสัญญาอันหนึ่งระหว่างรัฐบาลกับผู้ถูกปกครอง - และน้อมนำสู่ทฤษฎีของ John Locke ที่ว่า ความล้มเหลวของรัฐบาลในการดูแลถึงสิทธิความมั่นคงปลอดภัย ถือเป็นความล้มเหลวซึ่งมีเหตุผลพอในการสนับสนุนให้มีการถอดถอนรัฐ
(*)Jean-Jacques Rousseau, (June 28, 1712 - July 2, 1778) was a philosopher and composer of the Enlightenment whose political philosophy influenced the French Revolution, the development of both liberal and socialist theory, and the growth of nationalism. With his Confessions and other writings, he practically invented modern autobiography and encouraged a new focus on the building of subjectivity that would bear fruit in the work of thinkers as diverse as Hegel and Freud.

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความเสมอภาคสากล Paul Finn ได้สะท้อนทัศนะดังต่อไปนี้: "ความสัมพันธ์ที่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจโดยรากฐานชัดเจนมากที่สุดในสังคมเราก็คือ การดำรงอยู่ระหว่าง"ชุมชน(ประชาชน)"กับ"รัฐ" ในฐานะที่มันเป็นตัวแทนและเป็นทางการ". ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและผู้ถูกปกครองในประเทศต่างๆ ซึ่งดำเนินรอยตามกฎหมายจารีตอังกฤษเป็นเรื่องของการไว้วางใจซึ่งกันและกัน. ในกฎหมายว่าด้วยความเสมอภาค ข้อผูกพันหรือพันธกรณีของนักการเมืองไม่เพียงประกอบด้วยหน้าที่ต่างๆ ที่จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงหน้าที่ความชำนิชำนาญและความสามารถต่างๆ ในการจัดการบริหารประเทศและประชาชนด้วย. รากกำเนิดนี้ธำรงอยู่ภายใต้ศาลสถิตยุติธรรม

แนวคิดความไว้วางใจดังกล่าว ดำรงอยู่เพื่อปกป้องคนเหล่านั้นที่ครองตำแหน่งและทรงอำนาจ ให้ไปพ้นจากการกระทำชำเรา หรือการใช้อำนาจที่มีอยู่อย่างผิดๆ หรือในทางฉ้อฉลนั่นเอง. ความสัมพันธ์ในเชิงไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรัฐบาลและผู้ถูกปกครองนี้ เกิดขึ้นมาจากความสามารถของรัฐบาลที่จะควบคุมประชาชนด้วยปฏิบัติการเชิงอำนาจของมัน. ในแง่ปฏิบัติ หากรัฐบาลใช้อำนาจในการกำจัดหรือยกเลิกเพิกถอนสิทธิด้านต่างๆ, ผู้ถูกปกครองก็มีหน้าที่(อันมีมาจากความไว้วางใจ)เท่าเทียมกัน ที่จะปกป้องผลประโยชน์ของตนไว้ เพราะนั่นคือปฏิบัติการที่มาจากการตัดสินใจที่ประกอบด้วยดุลยพินิจอย่างรอบคอบ ที่จะใช้สิทธิในการยกเลิกเพิกถอนรัฐบาล ซึ่งประชาชนเท่านั้นมีอำนาจที่จะล้มล้าง

การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ (Reciprocity - การพึ่งพาอาศัยกัน)
กฎทองคำหรือจริยธรรมของรัฐต่างๆ ในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย ถือหลักการที่ว่า "ควรปฏิบัติกับผู้อื่นเช่นเดียวที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติกันตน" นี่ถือเป็นหลักการอันหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับและเคารพในสิทธิต่างๆ เพื่อทำให้มั่นใจว่า สิทธิส่วนตัวของคนๆ หนึ่งจะได้รับการปกป้องไว้. หลักการดังกล่าวสามารถพบได้ในศาสนาที่สำคัญๆ ของโลก ในรูปแบบที่อาจแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย และได้รับการบูชาและปกป้องคุ้มครองใน"คำประกาศเกี่ยวกับจริยธรรมโลก"(Declaration Toward a Global Ethic) โดย"สภาศาสนาแห่งโลก"(the Parliament of the World's Religions) ในปี ค.ศ.1993.

ทฤษฎีอื่นๆ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน (Other theories of human rights)
นักปรัชญา John Finnis (*) ได้ให้เหตุผลว่า สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งสมเหตุสมผลบนพื้นฐานต่างๆ ของคุณค่าเชิงอุปกรณ์ของพวกมัน ในการสร้างสรรค์สภาพเงื่อนไขอันจำเป็นสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีและมีสวัสดิภาพ. ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับผลประโยชน์ ได้เน้นหน้าที่ในการให้ความเคารพต่อสิทธิต่างๆ ของปัจเจกชนทั้งหลาย บนรากฐานของผลประโยชน์ส่วนตัว นั่นคือ "กฎของสิทธิมนุษยชน ได้ถูกประยุกต์ใช้กับพลเมืองทั่วไปของรัฐ เพื่อผลประโยชน์ของรัฐ ยกตัวอย่างเช่น โดยการลดความเสี่ยงในเรื่องการต่อต้านและการประท้วงอันรุนแรงให้เหลือน้อยที่สุด และลดระดับความไม่พึงพอใจ โดยรัฐบาลเข้ามาจัดการและบริหาร"
(*) John Finnis, D. Phil. (born 1940), an Australian Professor of Law at University College, Oxford and the University of Notre Dame. Finnis is one of the most prominent living legal philosophers. His work, Natural Law and Natural Rights, is regarded as one of the definitive works of natural law philosophy,[1] drawing both on Oxonian and Catholic Thomistic philosophical traditions to challenge the dominant Anglo-positivist approach to legal philosophy taken by John Austin and H.L.A. Hart.

ทฤษฎีทางด้านชีววิทยาพิจารณาถึงประโยชน์การสืบเผ่าพันธุ์ในเชิงเปรียบเทียบกับพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ว่า มีพื้นฐานอยู่บนความเอาใจใส่และหลักการปฏิบัติที่เห็นแก่ผู้อื่นในบริบทของการคัดเลือกตามธรรมชาติ

แนวความคิดต่างๆในเรื่องสิทธิมนุษยชน (Concepts in human rights)
การจัดหมวดหมู่ร่วมกันส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน คือการแบ่งแยกสิทธิต่างๆ เหล่านี้ออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย

- สิทธิพลเมือง (civil right)
- สิทธิทางการเมือง (political right)
- สิทธิทางเศรษฐกิจ (economic right) และ
- สิทธิทางสังคมและวัฒนธรรม (social and cultural rights).

ในส่วนของสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองได้รับการวางหลัการอยู่ในมาตราที่ 3 - 21 ในคำประกาศสิทธิมนุษยชนสากล(the Universal Declaration of Human Rights) และใน the ICCPR.(International Covenant on Civil and Political Rights). ส่วนสิทธิทางเศรษฐกิจ และสิทธิทางสังคมวัฒนธรรมได้รับการวางหลักการอยู่ในมาตราที่ 22-28 ของคำประกาศสิทธิมนุษยชนสากล และใน the ICESCR. (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights).
คำประกาศ UDHR ได้รวมเอาสิทธิทางเศรษฐกิจ, สิทธิทางสังคมและวัฒนธรรม, สิทธิพลเมือง, และสิทธิทางการเมืองเข้าไว้ด้วยกัน เนื่องจากว่ามันเป็นพื้นฐานซึ่งอยู่บนหลักการที่ว่า สิทธิที่แตกต่างกันจะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างสมบูรณ์ เพียงแต่ในการเชื่อมโยงหรือรวมมันเข้าเอาไว้ด้วยกันเท่านั้น

"อุดมคติของอิสรชนทั้งหลาย ที่จะมีความสุขหรือได้รับประโยชน์จากอิสรภาพของพลเมืองและทางการเมือง และอิสรภาพจากความกลัวและความต้องการ สามารถบรรลุได้ก็แต่เพียงสภาพเงื่อนไขต่างๆ ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้น โดยที่ทุกๆ คนได้รับประโยชน์จากสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง เช่นเดียวกับสิทธิทางสังคม สิทธิททางเศรษฐกิจ และสิทธิทางวัฒนธรรม"
(สัตยาบันระหว่างประเทศ - International Covenant on Civil and Political Rights and the International Covenant on Economic Social and Cultural Rights, 1966)

อันนี้ได้รับการรับรองว่าเป็นจริง เพราะหากปราศจากสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง สาธารณชนก็ไม่อาจที่จะยืนยันถึงสิทธิทางเศรษฐกิจและสิทธิทางสังคมและวัฒนธรรมได้. ในทำนองเดียวกัน หากปราศจากการดำรงชีพด้วยหน้าที่การงานทางสังคม สาธารณชนก็ไม่อาจยืนยันหรือใช้ประโยชน์เกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองได้เช่นกัน (ซึ่งอันนี้ได้ถูกรับรู้ในฐานะที่เป็นบทสรุปที่สมบูรณ์)

แม้ว่าจะได้รับการยอมรับโดยการลงนามรับรองต่อคำประกาศ UDHR, แต่ส่วนใหญ่แล้ว รัฐต่างๆ ก็มิได้มีการปฏิบัติโดยให้น้ำหนักต่อแบบแผนของสิทธิต่างๆ เหล่านี้อย่างเท่าเทียมกัน

- วัฒนธรรมตะวันตก มักจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองก่อน บางครั้งจึงจะให้ความสนใจกับสิทธิทางด้านเศรษฐกิจและสังคม อย่างเช่น สิทธิในการทำงาน การศึกษา สุขภาพ และเรื่องที่อยู่อาศัย. ยกตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา ไม่มีการเข้าถึงการดูแลสุขภาพอย่างกว้างขวาง หรือบริการฟรี. อันนี้มิได้กล่าวว่าวัฒนธรรมตะวันตกมองข้ามสิทธิต่างๆ ดังกล่าวโดยสิ้นเชิง (รัฐสวัสดิการต่างๆ ที่มีอยู่ในยุโรปตะวันตกคือพยานหลักฐานในข้อนี้)

- ในทำนองเดียวกัน กลุ่มสหภาพโซเวียต และประเทศในแถบเอเชีย มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญต่อเรื่องสิทธิทางเศรษฐกิจ และทางสังคมวัฒนธรรมก่อน แต่บ่อยครั้งมักจะล้มเหลวที่จะดำเนินการในเรื่องสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง

บรรดาผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามเกี่ยวกับความคิดที่ว่า สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ไม่อาจแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ ได้, ให้ความเห็นว่า, สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยรากฐานแล้วแตกต่างจากสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และเรียกร้องต้องการวิธีการที่แตกต่างไปอย่างสมบูรณ์ โดยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมได้รับการให้เหตุผลว่าเป็น:

- เรื่องเชิงบวก (positive) มากเกินไป, หมายความว่า พวกเขาเรียกร้องให้รัฐต้องตระเตรียมหรือจัดหาสิทธิดังกล่าวให้อย่างกระตือรือร้น (ซึ่งตรงข้ามกับการที่รัฐได้รับการเรียกร้องเพียงเพื่อปกป้องไม่ให้มีการละเมิดสิทธิต่างๆ เท่านั้น)

- ความเข้มข้น-รุนแรงด้านทรัพยากร (resource-intensive), ทำให้ทรัพยากรต่างๆ มีราคาแพง และยากจะเข้าถึงหรือหามาให้ได้
- ความก้าวหน้า (progressive), หมายความว่า พวกเขาจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำให้สิ่งต่อไปนี้ให้บรรลุผล

- ความคลุมเครือ (vague-ไม่แน่นอน), หมายถึง พวกเขาไม่สามารถวัดได้ในเชิงปริมาณ และไม่ว่ามันจะได้รับการจัดหาหรือตระเตรียมขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม ก็ยากที่จะตัดสิน

- เกี่ยวกับการแบ่งแยก / การเมือง เชิงอุดมคติ, หมายความว่า ไม่มีฉันทามติในสิ่งซึ่งควรหรือไม่ควรจัดหามาในฐานะที่เป็นเรื่องสิทธิ
- เกี่ยวกับสังคมนิยม (socialism), ในฐานะที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับทุนนิยม (capitalism)

- ไม่สามารถตัดสินทางศาลได้ (non-justiciable), หมายความว่า การจัดหาสิ่งเหล่านี้ หรือทำลายหรือละเมิดสิ่งเหล่านี้ ไม่สามารถถูกตัดสินในกระบวนการทางศาลได้

- ความปรารถนาต่างๆ หรือเป้าหมาย (aspirations or goals), ในฐานะที่เป็นสิ่งตรงข้ามกับสิทธิต่างๆ ทางกฎหมายที่แท้จริง

ในทำนองเดียวกัน สิทธิพลเมืองและทางการเมืองได้รับการจัดหมวดหมู่ ดังนี้:

- ในเชิงนิเสธ (negative), หมายความว่า รัฐสามารถปกป้องพวกเขาได้อย่างง่ายๆ ด้วยการไม่ปฏิบัติการใดๆ ที่ไปละเมิดต่อสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

- ต้นทุนฟรี, หรือไม่มีต้นทุน (cost-free)

- ฉับพลันทันที (immediate), หมายความว่า ประชาชนสามารถได้รับการจัดหามาให้โดยทันที ถ้าหากว่ารัฐตัดสินใจที่จะทำเช่นนั้น (การให้สิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง)

- ถูกต้อง เที่ยงตรง (precise), หมายความว่า การจัดหาซึ่งสิทธิต่างๆ เหล่านี้มาให้ เป็นเรื่องง่ายที่จะตัดสินและตรวจวัดได้
- ไม่เกี่ยวกับอุดมการณ์ / ไม่เกี่ยวกับการเมือง (non-ideological/non-political)
- ทุนนิยม (capitalist)
- สามารถตัดสินด้วยกระบวนการศาลได้ (justiciable)
- มีสิทธิตามกฎหมายอย่างแท้จริง (real 'legal' right)

ในเรื่อง The No-Nonsense Guide to Human Rights, Olivia Ball และ Paul Gready ได้ให้เหตุผลว่า สำหรับเรื่องของสิทธิพลเมืองและทางการเมือง, สิทธิทางเศรษฐกิจ, สังคมและวัฒนธรรม เป็นเรื่อง่ายที่จะค้นหาตัวอย่างต่างๆ ซึ่งไม่เข้ากับการจัดแยกหมวดหมู่ข้างต้น

ท่ามกลางคนอื่นๆ ที่หลากหลาย พวกเขาได้เน้นข้อเท็จจริงที่ว่า การธำรงรักษาระบบการศาล, ข้อเรียกร้องพื้นฐานประการหนึ่งเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองต่อกระบวนการอันถูกต้อง ก่อนเรื่องกฎหมายและสิทธิต่างๆ สัมพันธ์กับกระบวนการทางศาล เป็นเรื่องเชิงบวก(positive), ความรุนแรง-เข้มข้นทางด้านทรัพยากร(resourse-intensive), เกี่ยวกับความก้าวหน้าและความคลุมเครือ(progressive and vague), ขณะที่สิทธิทางสังคมเกี่ยวกับที่พักอาศัยเป็นเรื่องความถูกต้อง(precise), สามารถตัดสินด้วยกระบวนการศาลได้ (justiciable) และเป็นเรื่องสิทธิตามกฎหมายที่แท้จริง(real 'legal' right)

การจัดแยกหมวดหมู่อีกประเภทหนึ่ง เสนอโดย Karel Vasak (*) คือ มันมีการก่อเกิดเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษย์ชนอยู่ 3 ยุค(รุ่น) ด้วยกัน
(*)Karel Va??k is a Czech-French international official and university professor. Vasak was the editor of a 1982 book called The International Dimensions of Human Rights

- ยุคแรก (รุ่นแรก) เป็นเรื่องของสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง
- ยุคที่สอง (รุ่นที่สอง) เป็นเรื่องของสิทธิทางเศรษฐกิจ สิทธิทางสังคมและวัฒนธรรม
- ยุคที่สาม (รุ่นที่สาม) เป็นเรื่องของสิทธิรวมกันเป็นปึกแผ่นต่างๆ (solidarity rights) (สิทธิที่จะมีความสงบ, สันติภาพ, สิทธิในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สะอาด)

นอกไปจากยุคเหล่านี้, ยุคที่ 3 ดูเหมือนว่าจะเป็นที่ถกเถียงกันมากสุด และขาดเสียซึ่งการยอมรับทางกฎหมายและทางการเมือง. การจัดให้เป็นหมวดหมู่นี้ ไม่ลงรอยกับความไม่อาจแบ่งแยกเป็นส่วนๆ ได้เกี่ยวกับเรื่องสิทธิต่างๆ ดังที่มันกล่าวเป็นนัยๆ ว่า สิทธิบางอย่างสามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากสิทธิด้านอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การจัดเลียงลำดับก่อนหลังเกี่ยวกับสิทธิด้านต่างๆ สำหรับเหตุผลเชิงปฏิบัติ เป็นเรื่องของการยอมรับในเรื่องความจำเป็นอย่างกว้างๆ. ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน Philip Alston (*) ได้ให้เหตุผลว่า: "ถ้าเผื่อทุกๆ ปัจจัยที่เป็นไปได้ด้านสิทธิมนุษยชนได้รับการเชื่อว่า"เป็นสิ่งจำเป็นที่จะขาดเสียมิได้" หากเป็นเช่นนั้น ก็จะไม่มีอะไรที่ได้รับการปฏิบัติราวกับว่ามันมีความสำคัญหรือจำเป็นที่แท้จริง" Philip Alston
(*)Philip G. Alston, John Norton Pomeroy Professor of Law, is one of the foremost human rights thinkers. He is a Professor at NYU Law School and Director of the law school's Center for Human Rights and Global Justice. Alston is also the United Nations Special Rapporteur on Extrajudicial, Summary or Arbitrary executions. Recently, Alston was sent to Brazil to investigate the Complexo do Alem?o massacre.

เขาและคนอื่นๆ กระตุ้นเตือนถึงการจัดเลียงลำดับก่อนหลังในเรื่องสิทธิ ดังต่อไปนี้: " ...การเรียกร้องให้มีการเลียงลำดับก่อนหลังมิได้เป็นการเสนอว่า การละเมิดเกี่ยวกับสิทธิด้านต่างๆ อย่างชัดแจ้ง สามารถที่จะถูกเมินเฉยได้"(Philip Alston). "ลำดับก่อนหลัง, เป็นสิ่งจำเป็นซึ่งควรยึดถือเป็นแนวคิดหลัก (อย่างเช่น ความพยายามตระหนักถึงความก้าวหน้าอย่างมีเหตุผล) และหลักการต่างๆ (อย่างเช่น ไม่มีการแบ่งแยก[non-discriminate], ความเสมอภาค, และการมีส่วนร่วม) (Olivia Ball, Paul Gready)

นักสิทธิมนุษยชนบางคนกล่าวว่า มันเป็นสิทธิต่างๆ ที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือโอนให้แก่กันได้ สำหรับศัพท์คำว่า"สิทธิที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือโอนให้กันได้"(unalienable rights) อ้างถึงสิทธิมนุษยชนชุดหนึ่งซึ่งโดยรากแล้ว ไม่ถูกให้เป็นรางวัลหรือเป็นการปูนบำเหน็จโดยอำนาจมนุษย์ และไม่สามารถถูกสละหรือละทิ้งได้. การยึดมั่นในหลักการเกี่ยวกับการไม่อาจแบ่งแยกเป็นส่วนๆ ได้ โดยชุมชนระหว่างประเทศได้รับการยืนยันอีกครั้งในปี 1995:

"สิทธิมนุษยชนทั้งมวลเป็นสิ่งสากล, เป็นสิ่งที่ไม่อาจแบ่งแยกได้, และพึ่งพิงและเกี่ยวโยงกัน. ชุมชนระหว่างประเทศจักต้องปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างทั่วถึง ในลักษณะที่เท่าเทียมและปราศจากอคติ มีความยุติธรรมบนจุดยืนเดียวกัน และโดยการเน้นย้ำอย่างเดียวกัน"
" All human rights are universal, indivisible and interdependent and related. The internationl community must treat human rights globally in a fair and equal manner, on the same footing, and with the same emphasis "
(คำประกาศเวียนนา และโครงการปฏิบัติการ, การประชุมสิทธิมนุษยชนโลก 1995)
[Vienna Declaration and Program of Action, World Conference on Human Rights, 1995]

แถลงการณ์นี้ได้รับการลงนามรับรองอีกครั้ง ในการประชุมสุดยอดที่นิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 2005
(the 2005 World Summit in New York) (ย่อหน้าที่ 121)

สากลนิยม vs สัมพัทธนิยมทางวัฒนธรรม (Universalism vs cultural relativism)
คำประกาศ UDHR ได้ปกป้องสิทธิต่างๆ เป็นพิเศษ โดยนิยามว่าสิทธิทั้งหลายได้ประยุกต์ใช้กับมนุษย์เสมอเหมือนกัน ไม่ว่าจะอยู่ ณ หนแห่งใดก็ตามในทางภูมิศาสตร์ รัฐ เชื้อชาติ หรือวัฒนธรรมที่พวกเขาเป็นเจ้าของ. ส่วนผู้ที่สนับสนุนสัมพัทธนิยมทางวัฒนธรรม เสนอว่า สิทธิมนุษยชนไม่ใช่สิ่งสากล และอันที่จริงมันขัดแย้งกับบางวัฒนธรรมและคุกคามความอยู่รอดของพวกเขาด้วย

สิทธิต่างๆ ส่วนใหญ่ซึ่งโต้แย้งกันอยู่บ่อยๆ กับข้อถกเถียงของพวกสัมพัทธนิยมคือ เรื่องสิทธิต่างๆ เกี่ยวกับผู้หญิง ยกตัวอย่างเช่น การทำให้อัวยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงได้รับอันตรายหรือพิการเกิดขึ้นในวัฒนธรรมต่างๆ ของแอฟริกา, เอเชีย, และอเมริกาใต้. มันไม่ได้รับอาณัติทางศาสนา แต่กลายเป็นขนบจารีตในวัฒนธรรมต่างๆ มากมาย ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวถูกพิจารณาว่า เป็นการละเมิดต่อสิทธิของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงโดยชุมชนระหว่างประเทศจำนวนมาก และถูกทำให้เป็นเรื่องผิดกฎหมายในบางประเทศ

แนวคิดสากลนิยมได้รับการอธิบายโดยบางคนที่ต่อต้าน ในฐานะที่มันเป็นจักรวรรดิทางวัฒนธรรม, เศรษฐกิจ และการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน มักถูกอ้างอยู่เสมอว่าหยั่งรากโดยพื้นฐานอยู่ในทัศนคติเสรีนิยมทางการเมือง ซึ่งแม้ว่าโดยทั่วไปจะถูกยอมรับในยุโรป, ญี่ปุน, อเมริกาเหนือ, แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นมาตรฐานในที่อื่นๆ แต่อย่างใด

ยกตัวอย่างเช่น ในปี 1981 ผู้แทนอิหร่านในองค์การสหประชาชาติ Said Rajaie-Khorassani, ได้อธิบายถึงสถานะเกี่ยวกับประเทศของเขา ที่เกี่ยวพันกับคำประกาศสิทธิมนุษยชนสากล(the Universal Declaration of Human Rights) ว่า คำประกาศ UDHR เป็นความเข้าใจแบบทางโลกเกี่ยวกับขนบจารีตจูดิโอ-คริสเตียน(Judeo-Christian)(Being historically related to both Judaism and Christianity), ซึ่งไม่อาจทำให้บรรลุผลได้โดยบรรดามุสลิมทั้งหลาย โดยไม่ไปละเมิดกฎหมายอิสลาม

อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์, ลีกวนยู, อ้างในช่วงทศวรรษที่ 1990s ว่า ค่านิยมต่างๆ ของเอเชีย โดยสาระสำคัญแล้วแตกต่างไปจากค่านิยมต่างๆ ของตะวันตก และรวมถึงความรู้สึกเกี่ยวกับความซื่อสัตย์และจงรักภักดี, อิสรภาพส่วนตัวที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ สำหรับผลประโยชน์เกี่ยวกับความมีเสถียรภาพทางสังคมและความเจริญรุ่งเรืองของรัฐแล้ว ด้วยเหตุผลดังนั้น รัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จจึงมีความเหมาะสมในเอเชียมากกว่ารัฐบาลประชาธิปไตย

ทัศนะอันนี้ได้รับการตอบโต้โดยมหาธีร์ บิน โมฮัมหมัด อดีตผู้แทนว่า: "การกล่าวว่า อิสรภาพเป็นของตะวันตก หรือไม่ใช่เอเชีย ก็คือการกระทำผิดและฝ่าฝืนต่อขนบจารีตของเราต่างๆ รวมถึงบรรพบุรุษของเรา ซึ่งมีชีวิตความเป็นอยู่ด้วยการต่อสู้ดิ้นรนกับทรราชย์ผู้กดขี่ และความอยุติธรรมต่อพวกเขา" (A Ibrabim in his keynote speech to the Asian Press Forum title Media and Society in Asia, 2 December 1994). นอกจากนี้ ผู้นำฝ่ายค้านสิงคโปร์, Chee Soon Juan ก็ออกมากล่าวเช่นกันว่า "มันเป็นเรื่องการเหยียดเชื้อชาติอย่างรุนแรงที่ยืนยันว่า ชนเอเชียทั้งหลายไม่ต้องการเรื่องสิทธิมนุษยชน"

ความดึงดูดใจหนึ่งซึ่งบ่อยครั้งถูกทำขึ้นมาจากข้อท็จจริงที่ว่า บรรดานักคิดสิทธิมนุษยชนที่ทรงอิทธิพล อย่างเช่น John Locke และ John Stuart Mill (*), ทั้งหมดเป็นชาวตะวันตกและอันที่จริงบางคนได้ถูกนำเข้าไปเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการต่างๆ ของจักรวรรดินิยมของพวกเขาเอง
(*)John Stuart Mill (20 May 1806 - 8 May 1873), British philosopher, political economist, civil servant and Member of Parliament, was an influential liberal thinker of the 19th century. He was a teacher of utilitarianism, an ethical theory developed by his godfather, Jeremy Bentham, although his conception of it was very different from Bentham's.

ข้อถกเถียงทั้งหลายในเชิงสัมพัทธนิยมมีแนวโน้มปฏิเสธข้อเท็จจริงที่ว่า สิทธิมนุษยชนสมัยใหม่ต่างเป็นเรื่องใหม่ต่อทุกๆ วัฒนธรรม ย้อนเวลากลับไปไม่เกินไปกว่าคำประกาศ UDHR ในปี ค.ศ.1948. พวกมันยังไม่ได้อธิบายถึงข้อเท็จจริงที่ว่า คำประกาศ UDHR ได้รับการร่างขึ้นมาโดยผู้คนที่มาจากวัฒนธรรมและขนบจารีตที่ต่างกันมากมาย รวมถึง โรมันคาธอลิคจากสหรัฐฯ, นักปรัชญาขงจื้อของจีน, นักคิดไซออนนิสท์ฝรั่งเศส(*), และตัวแทนจากสันนิบาตอาหรับ ท่ามกลางคนอื่นๆ และดึงข้อคิดเห็นและคำแนะนำมาจากบรรดานักคิด อยางเช่น มหตมะ คานธี เป็นต้น
(*) Zionism is an international political movement that supports a homeland for the Jewish People in the Land of Israel.[1] Although its origins are earlier, the movement was formally established by Austrian journalist Theodor Herzl in the late nineteenth century. The movement was eventually successful in establishing the State of Israel in 1948, as the world's first and only modern Jewish State.

Michael Ignatieff (*) ได้ให้เหตุผลว่า แนวคิดสัมพัทธนิยมเชิงวัฒนธรรมเกือบจะเป็นข้อถกเถียงเดียวโดยเฉพาะ ที่ถูกใช้โดยผู้ที่นำเอาเรื่องอำนาจในทางวัฒนธรรมต่างๆ มากระทำกับเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างผิดๆ และคนเหล่านั้นที่มองว่าสิทธิมนุษยชนควรได้รับการยอมรับคือพวกที่ไร้อำนาจ. อันนี้ได้สะท้อนความจริงที่ว่า มันมีความยุ่งยากหรือความลำบากในการตัดสินชี้ขาดเรื่องสิทธิมนุษยชน ระหว่างความเป็นสากลนิยมและความเป็นสัมพัทธนิยม ที่วางอยู่ในคนที่กำลังอ้างว่าเป็นตัวแทนวัฒนธรรมอันมีลักษณะเฉพาะ
(*)Michael Grant Ignatieff, (born May 12, 1947 in Toronto) is a public intellectual, historian, and Canadian politician. He has held academic positions at Cambridge, Oxford, and Harvard.

แม้ว่าข้อถกเถียงดังกล่าวระหว่างพวกสากลนิยมและพวกสัมพัทธนิยมจะไกลห่างจากความสมบูรณ์ แต่มันก็เป็นข้อถกเถียงในเชิงวิชาการที่ว่า อุปกรณ์(วิธีการ)ต่างๆ ทางด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศทั้งหมด เกาะติดกับหลักการที่ว่า สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ใช้สอยได้หรือเหมาะสมอย่างเป็นสากล. การประชุมสุดยอดปี 2005 ได้ยืนยันอีกครั้งเกี่ยวกับการยึดมั่นต่อหลักการดังกล่าวโดยชุมชนนานาชาติ: "ธรรมชาติที่เป็นสากลของสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพอยู่พ้นจากคำถามหรือข้อสงสัย" (The universal nature of human rights and freedoms is beyond question.) [2005 World Summit, paragraph 120]

รัฐและนักปฏิบัติการที่ไม่ใช่รัฐ (State and non-state actors)
บริษัทต่างๆ, องค์กรพัฒนาเอกชนทั้งหลาย, พรรคการเมือง, กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ, และปัจเจกชนทั่วไปต่างถูกรับรู้ในฐานะที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ. บรรดาผู้ที่ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยังสามารถที่จะกระทำเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างไม่ถูกต้องได้ด้วย และไม่ต้องรับผิดชอบหรือเคารพต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชน และกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งประยุกต์ใช้กับปัจเจกชนทั้งหลาย

ปัจจุบันบรรษัทข้ามชาติต่างๆ มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นบนโลกใบนี้ และต่างต้องรับผิดชอบต่อการกระทำซึ่งอาจเป็นการชำเราต่อสิทธิมนุษยชนต่างๆ มากมาย. แม้ว่าในทางกฎหมายและสภาพแวดล้อมทางศีลธรรมรายรอบ การดำเนินการโดยรัฐบาลต่างๆ ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมีเหตุผล แต่บรรดาบรรษัทข้ามชาติโดยรวมยังคงถกเถียงกันอยู่และนิยามมันอย่างไม่ดีพอ. โดยทั่วไปแล้ว ความรับผิดชอบอย่างแรกของบรรดาบรรษัทข้ามชาติทั้งหลาย มักมุ่งตรงสู่บรรดาผู้ถือหุ้นของมัน มิใช่คนเหล่านั้นที่ได้รับผลกระทบโดยการกระทำต่างๆ ของพวกเขา. บ่อยครั้ง บรรษัทเหล่านั้นมักใหญ่เกินกว่าเศรษฐกิจของรัฐต่างๆ ที่พวกมันทำธุรกิจอยู่ และสามารถกวัดแกว่างอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ. แทบไม่มีหนังสือตำราระหว่างประเทศใดๆ ที่มีในปัจจุบัน กล่าวครอบคลุมพฤติกรรมของบรรดาบรรษัททั้งหลายเหล่านี้ โดยเฉพาะซึ่งระบุว่าจะต้องให้ความเคารพกับเรื่องสิทธิมนุษยชน และตัวบทกฎหมายของชาติต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปมาก. Jean Ziegler (*), ผู้เขียนรายงานต่อคณะกรรมการพิเศษของสหประชาชาติ ว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับสิทธิการเข้าถึงอาหาร ได้กล่าวไว้ในรายงานในปี 2003 ว่า

"การเจริญเติบโตของบรรษัทข้ามชาติต่างๆ และการขยายตัวของพวกเขาเกี่ยวกับอำนาจโดยผ่านการแปรรูป, การถอดถอนกฎหมาย, และการลดทอนอำนาจรัฐ มาถึงตอนนี้ยังหมายความว่า มันเป็นช่วงเวลาที่จะต้องพัฒนาบรรทัดฐานการผูกพันเชิงกฎหมาย ที่บรรดาบรรษัทต่างๆ จะต้องยึดถือมาตรฐานสิทธิมนุษยชน และจำกัดศักยภาพการกระทำความผิดอันเนื่องมาจากฐานะตำแหน่งที่ทรงอำนาจของพวกเขา" (Jean Ziegler) [Transnational corporations should be held to human rights standards - UN expert. UN News Centre (13 October 2003). Retrieved on 2008-01-03.]
(*)Jean Ziegler (born April 19, 1934) is the UN Special Rapporteur on the Right to Food and a senior professor of sociology at the University of Geneva and the Sorbonne, Paris. He was a Member of Parliament for the Social Democrats in the Swiss federal parliament from 1981 to 1999, now he is one of the biggest protagonists of the alter-globalization movement.

Jean Ziegler is the author of various books on globalization and on what he calls the crimes committed in the name of global finance and capitalism, condemning in particular the alleged role of Switzerland in these. He writes in French and German.

ในเดือนสิงหาคม 2003 คณะอนุกรรมการของคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชน ในการส่งเสริมและปกป้องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนได้ร่างข้อความ ซึ่งถือเป็นบรรทัดฐานในเรื่องความรับผิดชอบเกี่ยวกับบรรษัทข้ามชาติต่างๆ และบริษัทธุรกิจทั้งหลายโดยจะต้องให้ความเคารพต่อเรื่องของสิทธิมนุษยชน (Norms on the responsibilities of transnational corporations and other business enterprises with regard to human rights. UN Sub-Commission on the Promotion and Protection of Human Rights. Retrieved on 2008-01-03.) ร่างบรรทัดฐานเหล่านี้ได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษย์ในปี 2004 แต่มิได้มีสถานะผูกพันกับบรรษัทต่างๆ และไม่ได้มีการติดตามตรวจสอบแต่อย่างใด

ทฤษฎีเกี่ยวกับมูลค่าและทรัพย์สิน (Theory of value and property)
Henry of Ghent (*) ได้พูดถึงทฤษฎีดังกล่าวว่า ทุกๆ คนมีผลประโยชน์ในทรัพย์สินอันหนึ่ง นั่นคือร่างกายของพวกเขา. John Locke ได้ใช้คำว่า"ทรัพย์สิน"(property - ทรัพย์สมบัติ)นี้ในความหมายกว้าง และในความหมายแคบ
(*) Henry of Ghent (c. 1217 - 1293), scholastic philosopher, known as Doctor Solemnis (the Solemn Doctor), also known as Henrici de Gandavo,

- สำหรับในความหมายกว้าง มันครอบคลุมลำดับการกว้างๆ เกี่ยวกับความสนใจในผลประโยชน์ และความปรารถนาของมนุษย์
- ส่วนในความหมายที่แคบลงมา เป็นเรื่องทางด้านวัตถุ

เขาให้เหตุผลว่า "ทรัพย์สิน"เป็นสิทธิตามธรรมชาติ และมันได้รับการสืบทอดมาจากแรงงาน. นอกจากนี้ ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสิ่งซึ่งมีมาก่อนรัฐ และรัฐไม่สามารถขายหรือโอนทรัพย์สินต่างๆ ดังกล่าวของประชาชนตามอำเภอใจหรือย่างไร้เหตุผลได้". ในการปฏิเสธสิทธิด้านทรัพย์สิน ตามความคิดของ Locke ก็คือการปฏิเสธสิทธิมนุษยชนนั่นเอง. นักปรัชญาอังกฤษผู้นี้ได้สร้างผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อการพัฒนาของรัฐบาลอังกฤษ และเป็นแกนกลางในการก่อตัวขึ้นโดยรากฐานปรัชญาของสหรัฐอเมริกา

ต่อมา Karl Marx (*) ได้วิจารณ์ทฤษฎีทรัพย์สินของ Locke's ในงานของเขาเรื่อง Theories of Surplus Value (ทฤษฎีมูลค่าส่วนเกิน), โดยการมองไปที่การเริ่มต้นขึ้นของทฤษฎีเกี่ยวกับมูลค่าส่วนเกินในงานต่างๆ ของ Locke.
(*) Karl Heinrich Marx (May 5, 1818 - March 14, 1883) was a 19th century philosopher, political economist, and revolutionary. Often called the father of communism, Marx was both a scholar and a political activist. He addressed a wide range of political as well as social issues, but is best known for his analysis of history, summed up in the opening line of the Communist Manifesto (1848): "The history of all hitherto existing society is the history of class struggles". Marx believed that capitalism, like previous socioeconomic systems, will produce internal tensions which will lead to its destruction. Just as capitalism replaced feudalism, capitalism itself will be displaced by communism, a classless society which emerges after a transitional period in which the state would be nothing else but the revolutionary dictatorship of the proletariat.

ในหนังสือเล่มที่สองของ Locke เขาได้ให้เหตุผลเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินส่วนตัวว่าปราศจากข้อจำกัดใดๆ ตราบเท่าที่ไม่มีผู้ใดได้มาเกินกว่าที่พวกเขาสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้ และจะต้องไม่ทำให้ทรัพย์สินใดๆ ของพวกเขาสูญเปล่า และนั่นคือแนวคิดร่วมกันเกี่ยวกับคุณภาพเชิงเปรียบเทียบซึ่งสามารถใช้ได้สำหรับคนอื่นๆ ในการสรรค์สร้างทรัพย์สินส่วนตัวของพวกเขาขึ้นมา.

Locke เชื่อว่า บางคนมีความขยันหมั่นเพียรและมีเหตุผลมากกว่าคนอื่นๆ ซึ่งสามารถที่จะครอบครองทรัพย์สมบัติได้มากกว่าคนอื่น ความเชื่อนี้ไม่เป็นมูลเหตุแห่งความไม่รู้จักเพียงพอ. แม้ว่าระบบนี้มันใช้การได้ก่อนมีการนำเสนอเงินเข้ามาใช้เป็นตัวแทน แต่ Marx ได้โต้แย้งในงานของเขาเรื่อง Theories of Surplus Value ว่า ระบบความคิดของ Locke จะใช้การไม่ได้ และอ้างว่าเงินเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับกฎของธรรมชาติ ซึ่งทรัพย์สินส่วนตัวได้รับการก่อตัวขึ้นมาจากมัน

สิทธิต่างๆ ในการผลิตซ้ำ (Reproductive rights)
สิทธิในการผลิตซ้ำคือชุดย่อยๆ ของสิทธิมนุษยชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตซ้ำทางเพศ และการผลิตซ้ำทางด้านสุขภาพ บ่อยทีเดียวได้รวมไปถึงสิทธิในเชิงควบคุมอันเป็นบทบาทหน้าที่การผลิตซ้ำของผู้หญิง ยกตัวอย่างเช่น สิทธิในการผลิตซ้ำ (ในฐานะที่เป็นไปในทางตรงข้ามกับการคุมกำเนิดโดยการถูกบังคับ และการทำหมันในลักษณะบีบคั้น) เช่นเดียวกับสิทธิที่ไม่ผลิตซ้ำ(right to not reproduction) (รวมถึงการสนับสนุนเรื่องการคุมกำเนิด และการทำแท้ง) สิทธิที่จะอยู่คนเดียว, สิทธิในหลักประกันสุขภาพและทางการแพทย์, สิทธิการคุมกำเนิด, การวางแผนครอบครัว, และการปกป้องจากการแบ่งแยกกีดกัน, การรังควาญ, และอันตรายเกี่ยวกับเพศสภาพ

คำบรรยายเกี่ยวกับสิทธิในการผลิตซ้ำสากล เริ่มแรกเกิดขึ้นจากการประชุมทางด้านสิทธิมนุษยชนสากลขององค์การสหประชาชาติในปี 1968. มาตราที่ 16 ของคำประกาศ the Proclamation of Tehran states, ระบุว่า "พ่อแม่มีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จะตัดสินใจอย่างอิสระและรับผิดชอบ ในเรื่องจำนวนและพื้นที่ต่างๆ เกี่ยวกับบรรดาเด็กๆ ของพวกเขา" สิทธิในการผลิตซ้ำสนับสนุนการเข้าถึงการคุมกำเนิดอย่างปลอดภัย และการทำแท้งเป็นสิ่งซึ่งสามารถทำได้ เช่นเดียวกับการเข้าถึงทางการศึกษา. สำหรับเรื่องของการทำแท้งและการเรียนรู้การติดเชื้อทางเพศต่างๆ จะต้องเป็นไปโดยอิสรภาพจากการถูกบีบบังคับให้ทำหมัน และการคุมกำเนิด ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

นอกจากนี้สิทธิในการผลิตซ้ำยังส่งเสริมความพยายามที่จะปกป้องผู้หญิงทุกคนจากปฏิบัติการต่างๆ ที่เป็นอันตรายอันเนื่องมาจากพื้นฐานทางเพศ กรณีตัวอย่างต่างๆ รวมถึงปฏิบัติการทางวัฒนธรรม อย่างเช่น การตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของอวัยวะเพศหญิง, หรือ FGC (Female genital cutting), เช่นเดียวกับ กฎทางศาสนาและธรรมเนียมปฏิบัติที่สนับสนุนให้มีการถอนสิทธิทางการเมืองและเศรษฐกิจของผู้หญิง จะได้รับการคุ้มครอง

กฎหมายสิทธิมนุษยชน (Human rights law)
การกักขัง หน่วงเหนี่ยวที่กระทำโดยนอกกฎหมายหรือไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม(extrajudicial detention) ยกตัวอย่างเช่น การกักขังนักรบตาลีบันที่อ่าวกวนตานาโมของสหรัฐฯ ถือเป็นการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง (ผู้สนใจเรื่องนี้สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้วิกกีพีเดีย หัวเรื่อง National security, Anti-terrorism legislation, and War on terror)

ลัทธิสัจนิยม (*) และความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อชาติ (national loyalties) ได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นแนวคิดทรงอิทธิพลในเชิงทำลายต่อขบวนการสิทธิมนุษยชนต่างๆ เนื่องจากว่าพวกมันปฏิเสธคุณภาพต่างๆ เกี่ยวกับชีวิตของผู้คนในตัวของมันเอง
(*) สัจนิยม - Realism, ในความหมายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึงชุดทฤษฎีต่างๆ ที่มีแนวทางการสนับสนุนให้บรรดารัฐต่างๆ มุ่งประโยชน์เชิงอำนาจและความปลอดภัย มากกว่าเรื่องอุดมคติและจริยธรรม

โดยข้อยกเว้นเกี่ยวกับ"การไม่อาจยกเลิกเพิกถอนสิทธิมนุษยชน" (non-derogable human rights - กฎข้อนี้หมายถึง สิทธิมนุษยชนจะไม่สามารถถูกแขวนหรือยกเลิกได้ ทั้งในภาวะสงคราม หรือในรูปแบบใดๆ ของรัฐในการประกาศสภาวะฉุกเฉิน (http://rightstraining.fahamu.org/ocw/learning-for-change/introduction-to-human-rights/IHR09/IHR09_027.html) การประชุมนานาชาติว่าด้วยสิทธิเกี่ยวกับชีวิต, สิทธิในการมีอิสรภาพจากความเป็นทาส, สิทธิในการมีอิสรภาพจากการทรมาน และสิทธิในการมีอิสรภาพจากกฎหมายอาญาที่มีผลย้อนหลัง สิ่งเหล่านี้ถือว่า"ไม่อาจยกเลิกเพิกถอนได้" แต่อย่างไรก็ตาม สหประชาชาติให้การยอมรับว่า สิทธิมนุษยชนต่างๆ อาจถูกจำกัด หรือกระทั่งถูกผลักออกไปในช่วงระหว่างสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติ

"ในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประชากรจำนวนมากและเป็นภัยคุกคาม และเพื่อการดำรงอยู่ของประชาชาติ. การประกาศสภาวะฉุกเฉินจะต้องถือเป็นที่พึ่งสุดท้ายและเป็นมาตรการเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น" (United Nations. The Resource)

สิทธิต่างๆ ซึ่งไม่อาจที่จะถูกยกเลิกเพิกถอนด้วยเหตุผลใดๆ เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ ในสถานการณ์ตางๆ ที่ถูกรู้จักในฐานะที่เป็นบรรทัดฐานซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ หรือ jus cogens (A peremptory norm (also called jus cogens, Latin for "compelling law") is a fundamental principle of international law which is accepted by the international community of states as a norm from which no derogation is ever permitted.) ข้อผูกพันต่างๆ ทางกฎหมายระหว่างประเทศได้ผูกมัดรัฐทั้งมวล และไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงโดยข้อตกลงใดๆ ได้

แนะนำเว็บไซต์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน http://rightstraining.fahamu.org/ocw

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ภาคผนวก

รายมาตราเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพที่ไม่อาจยกเลิกเพิกถอนได้
ภายใต้มาตราที่ 4 ของข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง PART III


ข้อบังคับที่ 6 (Article 6)
1. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเกี่ยวกับชีวิตมาแต่กำเนิด สิทธิดังกล่าวได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และจะไม่มีใครสามารถมาถอดถอนตัดสิทธิ์ตามอำเภอใจ หรือไร้เหตุผลเกี่ยวกับชีวิตของเขาได้

2. ในประเทศที่มิได้มีการยกเลิกการลงโทษประหารชีวิต คำตัดสินประหารชีวิตอาจถูกกำหนดได้เพียงในอาชญากรรมที่รุนแรงสูงสุดเท่านั้น ตามที่กฎหมายระบุให้มีผลบังคับใช้ต่ออาชญากรรมดังกล่าว และต้องไม่ขัดแย้งกับเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในข้อตกลง และการประชุมว่าด้วยการปกป้องและการลงโทษเกี่ยวกับอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์. การลงโทษสามารถกระทำได้เพียงปฏิบัติตามคำพิพากษาสูงสุด ที่ได้รับการดำเนินการโดยศาลที่มีความสามารถและประสบการณ์เพียงพอเท่านั้น

3. เมื่อมีการกระทำที่ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการประกอบอาชญากรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เป็นที่เข้าใจว่าไม่มีข้อบังคับใดๆ ที่จะให้อำนาจกับรัฐใดมีสิทธิยกเลิกเพิกถอนข้อตกลงที่มีอยู่ ไม่ว่าหนทางใด จากข้อผูกพันที่ยึดถือภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ของการประชุมว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษเกี่ยวกับอาชญากรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

4. หญิงใดก็ตามที่ได้รับการพิพากษาประหารชีวิต เธอจะได้รับสิทธิ์ในการแสวงหาหนทางเพื่อการละเว้นโทษ หรือการเปลี่ยนแปลงโทษตามคำตัดสินนั้นได้. การอภัยโทษ, การละเว้นโทษ หรือการเปลี่ยนแปลงโทษเกี่ยวกับคำพิพากษาประหารชีวิต สามารถยินยอมได้ไม่ว่ากรณีใดๆ

5. การตัดสินประหารชีวิตจะไม่ถูกกำหนดกับอาชญากรรมต่างๆ ซึ่งกระทำโดยบุคคลต่างๆ ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และจะไม่อาจลงโทษกับหญิงมีครรภ์ได้

6. จะไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดในข้อบังคับนี้ ที่จะถูกกระทำโดยการหน่วงเหนี่ยวหรือล่าช้า หรือเพื่อขัดขวางการยกเลิกโทษประหาร โดยบรรดารัฐต่างๆ
ของข้อตกลงที่มีอยู่นี้

ข้อบังคับที่ 7 (Article 7)
จะไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดได้รับการกระทำทารุณหรือการทรมาน หรือการปฏิบัติอย่างไร้ความปรานี, การทำให้เสื่อมเสีย หรือการลงโทษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะไม่มีใครจะถูกปฏิบัติโดยปราศจากความยินยอมโดยความสมัครใจของเขา เพื่อการทดลองทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์

ข้อบังคับที่ 8 (Article 8)
1. จะไม่มีใครถูกกระทำหรือยึดครองให้เป็นทาส ความเป็นทาสและการค้าทาสไม่ว่าในรูปแบบใดๆ ของมัน เป็นเรื่องต้องห้าม

2. จะไม่มีใครถูกกระทำในลักษณะทาส (หรือถูกใช้แรงงานหนักเยี่ยงทาส)

ข้อบังคับที่ 11 (Article 11)
จะไม่มีใครต้องถูกจับกุมคุมขัง เพียงเพราะเนื่องมาจากพื้นฐานการไร้ความสามารถที่จะทำให้พันธะสัญญาหรือข้อผูกพันต่างๆ บรรลุผล

ข้อบังคับที่ 15 (Article 15)
1. จะไม่มีใครถูกถือว่ากระทำความผิด เกี่ยวกับความผิดทางอาญาใดๆ อันเนื่องมาจากการกระทำ หรือการละเลยการกระทำ ที่มิได้ประกอบกรรมอันเป็นความผิดทางอาญา, ภายใต้กฎหมายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ ณ ช่วงเวลาที่มีผลผูกพัน. และจะต้องไม่มีการกำหนดลงโทษรุนแรงเกินกว่าที่ใครคนใดคนหนึ่งประพฤติผิดทางอาญานั้น. ถ้าผลที่ตามมาของการกระทำผิดทางอาญา เป็นเงื่อนไขที่ระบุโดยกฎหมายสำหรับโทษปรับเพราะเป็นโทษสถานเบา ผู้กระทำความผิดจะได้รับประโยชน์ด้วยผลแห่งเงื่อนไขนั้น

2. จะไม่มีใครในข้อบังคับนี้ถูกปฏิบัติโดยการมีอคติเกี่ยวกับการพิจารณาคดีและการลงโทษ ไม่ว่าบุคคลใดสำหรับการกระทำหรือการละเลยการกระทำ ซึ่ง ณ ช่วงเวลาที่มีผลผูกพัน ถือเป็นอาชญากรรมตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมาย ซึ่งได้รับการยอมรับจากชุมชนระหว่างประเทศ

ข้อบังคับที่ 16 (Article 16)
ทุกๆ คนมีสิทธิ์ที่ได้รับการยอมรับ ไม่ว่าในสถานที่ใด ในฐานะความบุคคลคนหนึ่งก่อนกฎหมาย

ข้อบังคับที่ 18 (Article 18)
1. ทุกๆ คนมีสิทธิ์ในอิสรภาพทางความคิด, มโนธรรมสำนึกและศาสนา. สิทธิดังกล่าวรวมถึงอิสรภาพที่จะรับนับถือศาสนาหรือความเชื่อที่เขาเลือก และอิสรภาพทั้งในแง่ส่วนตัวและในแง่ชุมชนร่วมกับคนอื่นๆ และในที่สาธารณะหรือส่วนตัว เพื่อแสดงออกซึ่งศาสนาของเขาหรือความเชื่อในการบูชา, การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา, การปฏิบัติและการสอน

2. จะไม่มีใครถูกกระทำ ควบคุม หรือปฏิบัติโดยการบีบบังคับ ซึ่งไปทำให้อิสรภาพของเขาลดน้อยลงในการมีหรือการรับนับถือศาสนาหรือความเชื่อหนึ่ง
ที่เขาเลือก

3. อิสรภาพในการแสดงความเชื่อและศาสนาของตน อาจถูกควบคุมเพียงภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ที่ได้มีการระบุโดยกฎหมายเท่านั้น และเพื่อความจำเป็นในการปกป้องความปลอดภัยของสาธารณชน รวมถึงเพื่อรักษากฎระเบียบ, สุขภาพอนามัย, หรือศีลธรรมจรรยา, หรือสิทธิขั้นพื้นฐานแห่งอิสรภาพของผู้อื่น

4. บรรดารัฐทั้งหลายที่ผูกพันต่อข้อตกลงนี้ จะต้องให้ความเคารพต่อเสรีภาพของพ่อแม่ และเมื่อนำไปปรับใช้, บรรดาผู้คุ้มครองกฎหมายจะต้องทำให้เกิดความมั่นใจในการศึกษาทางศาสนาและศีลธรรมของเด็กๆ ของพวกเขาให้อยู่ในครรลองสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของพวกเขาเอง

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

List of Non-Derogable Rights and Freedoms
under Article 4 of the International Covenant on Civil and Political Rights
PART III


Article 6
1. Every human being has the inherent right to life. This right shall be protected by law. No one shall be arbitrarily deprived of his life.

2. In countries which have not abolished the death penalty, sentence of death may be imposed only for the most serious crimes in accordance with the law in force at the time of the commission of the crime and not contrary to the provisions of the present Covenant and to the Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide. This penalty can only be carried out pursuant to a final judgement rendered by a competent court.

3. When deprivation of life constitutes the crime of genocide, it is understood that nothing in this article shall authorize any State Party to the present Covenant to derogate in any way from any obligation assumed under the provisions of the Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide.

4. Anyone sentenced to death shall have the right to seek pardon or commutation of the sentence. Amnesty, pardon or commutation of the sentence of death may be granted in all cases.

5. Sentence of death shall not be imposed for crimes committed by persons below eighteen years of age and shall not be carried out on pregnant women.

6. Nothing in this article shall be invoked to delay or to prevent the abolition of capital punishment by any State Party to the present Covenant.

Article 7
No one shall be subjected to torture or to cruel, inhuman or degrading treatment or punishment. In particular, no one shall be subjected without his free consent to medical or scientific experimentation.

Article 8
1. No one shall be held in slavery; slavery and the slave-trade in all their forms shall be prohibited.
2. No one shall be held in servitude.

Article 11
No one shall be imprisoned merely on the ground of inability to fulfil a contractual obligation.

Article 15
1 . No one shall be held guilty of any criminal offence on account of any act or omission which did not constitute a criminal offence, under national or international law, at the time when it was committed. Nor shall a heavier penalty be imposed than the one that was applicable at the time when the criminal offence was committed. If, subsequent to the commission of the offence, provision is made by law for the imposition of the lighter penalty, the offender shall benefit thereby.

2. Nothing in this article shall prejudice the trial and punishment of any person for any act or omission which, at the time when it was committed, was criminal according to the general principles of law recognized by the community of nations.

Article 16
Everyone shall have the right to recognition everywhere as a person before the law.

Article 18
1. Everyone shall have the right to freedom of thought, conscience and religion. This right shall include freedom to have or to adopt a religion or belief of his choice, and freedom, either individually or in community with others and in public or private, to manifest his religion or belief in worship, observance, practice and teaching.

2. No one shall be subject to coercion which would impair his freedom to have or to adopt a religion or belief of his choice.

3. Freedom to manifest one's religion or beliefs may be subject only to such limitations as are prescribed by law and are necessary to protect public safety, order, health, or morals or the fundamental rights and freedoms of others. 4. The States Parties to the present Covenant undertake to have respect for the liberty of parents and, when applicable, legal guardians to ensure the religious and moral education of their children in conformity with their own convictions.

http://www.legislationline.org/legislation.php?tid=55&lid=4504&less=false

 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
19January 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
แนวคิดความไว้วางใจดังกล่าว หรือ ความสัมพันธ์ในเชิงไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรัฐบาลและผู้ถูกปกครองนี้ เกิดขึ้นมาจากความสามารถของรัฐบาลที่จะควบคุมประชาชนด้วยปฏิบัติการเชิงอำนาจของมัน. ในแง่ปฏิบัติ หากรัฐบาลใช้อำนาจในการกำจัดหรือยกเลิกเพิกถอนสิทธิด้านต่างๆ, ผู้ถูกปกครองก็มีหน้าที่(อันมีมาจากความไว้วางใจ)เท่าเทียมกัน ที่จะปกป้องผลประโยชน์ของตนไว้ เพราะนั่นคือปฏิบัติการที่มาจากการตัดสินใจที่ประกอบด้วยดุลยพินิจอย่างรอบคอบ ที่จะใช้สิทธิในการยกเลิกเพิกถอนรัฐบาล ซึ่งประชาชนเท่านั้นมีอำนาจที่จะล้มล้าง (บางส่วนจากบทความ)
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream

ในคริสตศตวรรษที่ ๑๗ Thomas Hobbes ได้สร้างทฤษฎีพันธสัญญา (contractualist theory) เกี่ยวกับปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย(legal positivism)ขึ้น อันเป็นสิ่งซึ่งมนุษย์ทุกคนสามารถยอมรับได้ นั่นคือ สิ่งที่พวกเขาแสวงหา(ได้แก่ความสุข) พวกเขาจำเป็นต้องให้ความเคารพต่อการแข่งขันหรือการโต้แย้งเพื่อนำไปสู่ฉันทามติกว้างๆ ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นมารายรอบสิ่งที่พวกเขากลัว (นั่นคือ ความตายที่รุนแรงในมือของอีกคนหนึ่ง). กฎธรรมชาติคือ มนุษย์ที่มีเหตุผลต่างแสวงหาหนทางเพื่อความอยู่รอดและความก้าวหน้า ควรทำอย่างไร? คำตอบได้ถูกค้นพบ โดยการพิจารณาถึงสิทธิต่างๆ ตามธรรมชาติของมนุษยชาติ นั่นเอง