โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๕๗ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ (January, 13, 01, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

13-01-2551

Class Politics
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

โลกาภิวัตน์ - ประชานิยม - การเมืองเรื่องชนชั้น
Class Politics: สังคมใหม่กับการเมืองเรื่องชนชั้นยุคโลกาภิวัตน์
รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ : ผู้ให้สัมภาษณ์
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทสัมภาษณ์ต่อไปนี้ เคยเผยแพร่แล้วบน นสพ.ไทยโพสต์ แทบลอยด์,
ฉบับวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๑, หน้า ๑ - ๕ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
การเมืองร่วมสมัยของไทยในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย
๑. การเมืองเรื่องชนชั้น
๒. การหาสูตรการเมือง
๓. ภาคประชา"ชน"
๔. โลกาภิวัตน์ - ประชานิยม
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๕๗
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๙ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โลกาภิวัตน์ - ประชานิยม - การเมืองเรื่องชนชั้น
Class Politics: สังคมใหม่กับการเมืองเรื่องชนชั้นยุคโลกาภิวัตน์
รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ : ผู้ให้สัมภาษณ์
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


๑. การเมืองเรื่องชนชั้น : เกษียร เตชะพีระ

"ที่คุณกำลังเผชิญคือคนจริงๆ พลังของชนชั้นต่างๆ ที่ประกอบกันหลักๆ ก็คือคนจน คนชั้นล่าง กับกลุ่มทุนใหญ่ จับมือกันแล้ว 10 กว่าล้านเสียง ซึ่งทำให้เขาหายไปไม่ได้ สังคมไทยเปลี่ยนแล้ว คนพวกนี้อยู่แล้ว ต้องคิดกับเกมนี้ใหม่ จะจัดการสิ่งที่เรียกว่าระบอบทักษิณให้หายไป-ผมคิดว่าไม่ใช่ ระบอบทักษิณอยู่บนปรากฏการณ์ของสังคมการเมืองเศรษฐกิจที่แท้จริง"
"เราจะหาทางอยู่กับการเมืองเรื่องชนชั้นอย่างไรที่จะไม่ให้ความขัดแย้งทางชนชั้นลุกลามไปฆ่าฟันกัน หรือใช้กำลังเข้าหักหาญกันแบบ 19 กันยา. ผมไม่หวังสมานฉันท์ ผมหวังทะเลาะกันอย่างสันติ"

นักรัฐศาสตร์ผู้ริเริ่มคำนิยาม "ระบอบทักษิณ" แต่ความหมายของเขาไม่ได้เป็นอย่างที่พันธมิตรหรือใครต่อใครเอามาใช้. เกษียรบอกว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ความหมายเปลี่ยนแปรไป จะไปนั่งควบคุมให้คนอื่นใช้อย่างที่อยากหมายความคงไม่ได้ "มีคำตั้งเยอะที่ผมคิดแล้วตายไป สถานการณ์ทำให้คำๆ มันมีชีวิต แล้วพอมีชีวิตมันก็ไม่ใช่ของเรา"

"ระบอบทักษิณ" ในความหมายของเกษียร คือรูปการอำนาจอย่างหนึ่งของคน 2 กลุ่ม คือนายทุนใหญ่รุ่นใหม่ กับเกษตรกร และแรงงานในเมือง ขึ้นมากุมอำนาจรัฐ "ซึ่งอำนาจของคน 2 กลุ่มไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนี้ก็ได้ ระบอบทักษิณคือการที่คน 2 กลุ่มขึ้นมาคว้าอำนาจรัฐ แต่ใช้มันอย่างลิดรอนสิทธิเสรีภาพที่เป็นปัญหามาก" คำๆ นี้สมชาย หอมละออ พูดขึ้นระหว่างสนทนากันทางโทรศัพท์ในช่วงที่มีการฆ่าตัดตอน แล้วให้เกษียรนำมาใช้ "คำนี้คิดขึ้นมาด้วยความห่วงใยต่อการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ปัญหาหลักคือการใช้อำนาจค่อนข้างเด็ดขาดไปเล่นงานในเรื่องสิทธิเสรีภาพ"

สังคมแยกชนชั้น
เกษียรเห็นว่าคะแนนเลือกตั้งที่ออกมาชี้ชัดเจนว่า พรรคพลังประชาชนหรือพรรคไทยรักไทยมีผู้สนับสนุนแน่นอนเกินสิบล้านคน "มันมีความคงเส้นคงวาตลอดการเลือกตั้งหลายรอบที่ผ่านมา ถ้ามองคะแนนของพรรคพลังประชาชนย้อนไป พรรคไทยรักไทยก็ประมาณ 11 ล้านเสียง ตอนแรกที่ขึ้นมาปี 2544 และก็ขึ้นไปสูงสุด 19 ล้านเสียง ปี 2548. 16 ล้านเสียงปี 2549 ไม่เอารัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ 10 กว่าล้านเสียง วันนี้พลังประชาชน 12 ล้านเสียง. มี-ไม่มีทักษิณ แต่ว่าในแนวนโยบายนี้จะมีคนในประเทศไทย 10 กว่าล้านคนที่พร้อมจะเลือกแนวนโยบายนี้ ซึ่งในแง่กลับกัน ฝ่ายที่ประกาศชัดว่าเป็นขั้วตรงข้ามกับพลังประชาชนก็คือประชาธิปัตย์ คะแนนก็ใกล้เคียงกัน 12 ล้านเสียง เห็นชัดเลยว่าความขัดแย้งมันตั้งป้อมกันชัดเจนระหว่างคนกลุ่มใหญ่ในสังคมไทย 2 กลุ่มที่มีกำลัง 10 กว่าล้านคน"

เขาเห็นว่านี่ไม่ใช่แค่ความขัดแย้งระหว่างเมืองกับชนบท แต่เป็นความขัดแย้งทางชนชั้น
"ผมรู้สึกว่ามันมากกว่าความเป็นชนบทกับเมือง เพราะเห็นแนวโน้มช่วงปลายคุณทักษิณ คนในเมืองที่เป็นกลุ่มแท็กซี่ ชาวบ้านที่ลำบากเดือดร้อน อยู่ชั้นล่างหน่อย จะค่อนข้างเลือกไทยรักไทย" "ที่เราเห็นเป็นการปะทะกันทางการเมืองของบล็อกชนชั้น 2 บล็อก บล็อกแรกประกอบไปด้วยกลุ่มชาวบ้านทั้งหลาย อาจจะเมืองหรือชนบทก็แล้วแต่ ค่อนข้างที่จะมีชีวิตที่ลำบากยากแค้น เอื้อมไม่ถึงในยุคโลกาภิวัตน์ อย่างที่ อ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร บอกว่าประกอบไปด้วยชาวนา ชาวไร่ ที่ต้องเข้ามาทำงานในเมือง แต่ว่าเป็นเมืองแบบไม่เป็นระบบ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่ และกลุ่มนี้ถ้าให้เขาเลือกนโยบายที่เห็นอยู่บนโต๊ะ เขาเลือกแนวทางของไทยรักไทย บวกกับกลุ่มทุนใหญ่ซึ่งชอบอยู่แล้วกับแนวทางโลกาภิวัตน์ที่คุณทักษิณทำอยู่"

"เป็นบล็อกระหว่าง 2 ชนชั้นใหญ่ๆ กลุ่มทุนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จจากโลกาภิวัตน์ กับชาวบ้านที่ประกอบไปด้วยเกษตรกรก็ดี แรงงานนอกระบบก็ดี ชื่นชมแนวทางที่เอื้ออาทร ประชานิยม ฝั่งตรงข้ามคือชนชั้นกลาง ดูจากตัวเลขของการแปลี่ยนแปลงของคะแนนในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่จำนวนหนึ่งที่ให้กับประชาธิปัตย์ คือกลุ่มคนที่ปรากฏตัวตามท้องถนนสมัยไล่ทักษิณ บวกกับกลุ่มชนชั้นนำเดิมๆ พวกข้าราชการ กลุ่มที่ enjoy อำนาจก่อนที่คุณทักษิณจะเข้ามา"

"ถ้าไม่มองเฉพาะเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 แต่มองย้อนไป 4-5 ครั้งที่ผ่านมา การเมืองไทยเข้าสู่การเมืองชนชั้นแล้ว นี่เป็นการเมืองแบบที่สังคมไทยพยายามหลีกเลี่ยงมาตลอด ครั้งสุดท้ายที่เคยมีความพยายามพูดเรื่องชนชั้นกันอย่างจริงจัง การเมืองเป็นเรื่องต่อสู้เกี่ยวกับชนชั้นต่างๆ คือสมัย 14 ตุลา, 6 ตุลา, ซึ่งความพยายามหนีตรงนั้น เราก็ทำสงครามกัน สงครามปฏิวัติ กับ พคท. อะไรก็แล้วแต่ แต่ผมคิดว่าเราหนีไม่พ้น ความพยายามจะกำจัดคน 10 กว่าล้านคนให้หายไปจากประเทศ มันไม่ใช่นักศึกษาหัวรุนแรงฝายซ้ายไม่กี่คนที่เย้วๆ อยู่ตามสนามหลวงหรือธรรมศาสตร์ ไม่ใช่ คำถามคือเราจะทำอย่างไรให้ Class Politics การเมืองเรื่องชนชั้นเป็นที่ยอมรับ"

"สังคมไทยเราหลบหนี เลี่ยงมาตลอด - ไม่ใช่ เราคนไทยเป็นเพื่อนร่วมชาติกัน ไม่ควรขัดแย้งกัน - ผมคิดว่ารับดีกว่า ประเด็นไม่ใช่หนีการเมืองเรื่องชนชั้น ประเด็นคือหาทางอยู่กับการเมืองเรื่องชนชั้นอย่างไรที่จะไม่ให้ความขัดแย้งทางชนชั้นลุกลามไปฆ่าฟันกัน หรือใช้กำลังเข้าหักหาญกันแบบ 19 กันยา (2549). เพราะฉะนั้นสมานฉันท์ ถ้าทำได้ก็ดี แต่ดูจากการเลือกตั้งดูจากแนวโน้มระยะยาวที่เห็นแล้ว เล็งเป้าที่อาจจะต่ำสักหน่อยแต่สมจริงดีกว่า ผมไม่หวังสมานฉันท์ มันมีความแตกต่างแบ่งแยกที่ชัดเจนในการเมืองไทยในสังคมไทย ผมหวังทะเลาะกันอย่างสันติ"

"เราอย่าหนีเลยความเป็นจริงที่ว่ามีความแตกต่างขัดแย้ง และเราคงจะต้องทะเลาะกัน แต่ต้องเก็บรับบทเรียน ว่าเราจะทะเลาะกันอย่างไรที่ไม่เหมือนกับบทเรียนที่ไม่ดีใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ในแง่หนึ่งใช้กำลังรัฐประหาร ในแง่หนึ่งคือมันมีบทเรียนจำนวนหนึ่งที่ต้องเก็บรับ ไม่ว่าจะบริหารจัดการอย่างไรให้การเมืองเรื่องชนชั้นดำเนินไปได้ในกรอบประชาธิปไตย และก็ดำเนินไปได้ในกรอบสันติวิธี"

มันจะไม่ง่ายเหมือนก่อนใช่ไหม บางคนคิดว่าพลังประชาชนเป็นรัฐบาลไปสักหน่อยก็พังแล้วคนจะเลิกศรัทธา
"ในช่วงก่อนที่จะมีพรรคไทยรักไทย การเมืองแบบรัฐบาลผสม รัฐบาลอยู่ไม่ครบ 4 ปีแล้วล้ม เป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่พรรคไทยรักไทยทำให้เรารู้สึกถึงพลังของความมั่นคงทางการเมือง ซึ่งเกิดจากพรรคการเมืองที่เข้มแข็งมาก เพราะเหตุนั้นจึงมีความพยายามเนรมิตรัฐธรรมนูญ 2550 ขึ้น ลากดึงการเมืองไทยให้กลับไปสู่รัฐบาลผสม คิดว่าด้วยอำนาจรถถัง อำนาจรัฐประหาร อาจจะพยายามจัดกติกาการเมืองใหม่ได้ รัฐธรรมนูญ 2550 ที่เอื้อให้กับรัฐบาลผสม พยายามไม่ให้เกิดคนอย่างทักษิณและรัฐบาลที่มั่นคงพรรคเดียว แต่เอาเข้าจริงในที่สุดคุณเปลี่ยนสังคมไทยไม่ได้ คุณเปลี่ยนเศรษฐกิจสังคมไทยไม่ได้ คุณทำให้สังคมเศรษฐกิจไทยที่เปลี่ยนไปแล้ว และมีคน 10 กว่าล้านคนที่เขาเลือกแนวทางการเมืองนี้แล้วหายไปไม่ได้ ต่อให้แก้รัฐธรรมนูญก็ตาม"

"ดังนั้นเขาก็กลับมาแล้ว เขากลับมาในนามพรรคพลังประชาชน ไม่ใช่การกลับมาของแค่พรรคที่เป็นนอมินีทักษิณ หรือการกลับมาในนามสมาชิกไทยรักไทยที่ไปเกิดใหม่แล้วมาเลือกตั้งใหม่ นั่นกระจอก"

"แต่ที่คุณกำลังเผชิญคือคนจริงๆ พลังของชนชั้นต่างๆ ที่ประกอบกันหลักๆ ก็คือคนจน คนชั้นล่าง กับกลุ่มทุนใหญ่ จับมือกันแล้ว 10 กว่าล้านเสียง ซึ่งทำให้เขาหายไปไม่ได้ ต่อให้คุณดัดแปลงรัฐธรรมนูญ ก็เป็นไปได้ว่ามันคงมีโอกาสจะขยับรัฐบาลง่ายกว่าแต่ก่อน แต่สุดท้ายแล้ว 10 กว่าล้านเสียงก็ยังจะเลือกแนวนโยบายที่เขาคิดว่าสนองผลประโยชน์เขามากที่สุด ดังนั้นสิ่งที่คุณเจอใหญ่กว่านั้นเยอะ ผมคิดว่าต้องคิดใหม่ ไม่ใช่คิดแค่-เฮ้ย ยำๆ มันหน่อยวะ เดี๋ยวก็เป็นรัฐบาลผสม ชักเข้าชักออก เฮ้ย แต่ที่คุณเจอคือ 10 กว่าล้านเสียง สังคมไทยเปลี่ยนแล้ว คนพวกนี้อยู่แล้ว เขาอยู่เพราะคุณดันทำเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ เดินเส้นนี้พวกเขาก็เกิดขึ้นมาสิ เขาอยู่ในชนบทคุณไปแย่งทรัพยากร เขาก็หลุดมา เป็นแท็กซี่ เป็นสามล้อ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง แล้วทักษิณยื่นความมั่นคงบางอย่างให้ เพราะฉะนั้นต้องคิดกับเกมนี้ใหม่ เปลี่ยนรัฐธรรมนูญหรือจะจัดการสิ่งที่เรียกว่าระบอบทักษิณให้หายไป ผมคิดว่าไม่ใช่ ระบอบทักษิณอยู่บนปรากฏการณ์ของสังคมการเมืองเศรษฐกิจที่แท้จริง"

ประชาธิปัตย์จะดำเนินนโยบายแบบนั้นไม่ได้หรือ
"ถ้า 2 พรรคออกมาดำเนินนโยบายไปในทางเดียวกัน เขาก็คงจะเลือกพรรคที่เห็นฝีมือและไว้ใจมากกว่า เอาเข้าจริง ผมคิดว่ามันมีแนวโน้มอย่างนั้น ตอนนี้หลายพรรคก็เริ่มดำเนินแนวทางแบบประชานิยมมากขึ้น ฉะนั้นจะยิ่งเห็นว่ามันไม่ใช่อะไรที่คุณจะปฏิเสธได้ เพียงเพราะความที่คุณเกลียดทักษิณหรือเกลียดพลังประชาชน มันมีคนกลุ่มหนึ่งอยู่ในสังคมจริงๆ และเขามีความต้องการ แนวนโยบายสังคมเศรษฐกิจที่ผ่านมาก่อนที่ไทยรักไทยจะเกิดขึ้น และของคุณสุรยุทธ์ที่ดำเนินมาก็ไม่ได้แก้ตรงนี้ ไม่ได้สนองเขา เขามีความจำเป็น มีความต้องการจำนวนหนึ่ง และนโยบายของรัฐบาลนี้ไม่ได้สนองต่อเขา อันนี้เคลียร์มากเลย"

"ดังนั้นเพื่อที่จะทำให้เกิดความหลากหลายทางการเมืองต่อกลุ่มพลังกลุ่มนี้ ผมคิดว่าจะต้องใช้เวลานานสักหน่อย ไม่ใช่คิดถึงแค่ว่าพรรคอื่นมาเลือกนโยบายแบบเดียวกับไทยรักไทย ราวกับว่าไม่มีนโยบายที่ดีกว่า เป็นไปได้ไหมที่จะมีพรรคการเมืองที่จินตนาการถึงนโยบายที่สนองตอบต่อคนกลุ่มนี้ ในลักษณะที่แตกต่าง หรือแม้กระทั่งดีกว่าพลังประชาชนหรือไทยรักไทย และไม่เพียงสนองตอบต่อคนกลุ่มนี้ ยังสามารถดึงเอาคนกลุ่มอื่นที่ทุกวันนี้คล้ายๆ ยืนอยู่คนละข้างกับพลังประชาชน นโยบายที่ทั้งชนชั้นกลางและคนจนสามารถได้ด้วยกัน ผมคิดว่าอันนี้เป็นโจทย์ที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ทิ้งไว้ในบทความของท่าน คือถ้าคุณไม่สามารถเสนอนโยบายที่สร้างแนวร่วมระหว่างชนชั้นกลางกับชนชั้นล่างได้ คุณเอาชนะทักษิณทางนโยบายไม่ได้ แล้วนโยบายแบบที่คุณสุรยุทธ์เดิน ไม่ชนะ"

ไม่ชนะแต่บางคนก็ยังคิดว่าจะใช้กำลัง ยังคิดว่าจะทำรัฐประหารอีก หรือใช้อำนาจพิเศษมาจัดการ
"ถ้าคุณพร้อมจะทำให้เมืองไทยเป็นพม่าก็ทำรัฐประหารอีกที คือพูดอย่างน่าเกลียดก็แล้วกันนะ ผมคิดว่าตอนนี้เมืองไทย spoil เกินกว่าจะเป็นพม่าแล้ว เรา enjoy ความเติบโตทางเศรษฐกิจ, เรา enjoy การเปิดประเทศ, เพื่อที่จะเป็นพม่าเราจะต้องบดขยี้หลายอย่างในสังคมเศรษฐกิจไทย ซึ่งเราเป็นคนบ่มเพาะให้เกิดขึ้น จะมีคนเดือดร้อนมากถ้าเราทำแบบนั้น ผมไม่คิดว่ามีคนสติดีที่ไหนจะทำ และเอาทั้งหมดนั้นเพื่ออะไร เพื่อจัดการกับทักษิณคนเดียว หรือแม้แต่จัดการสิ่งที่เรียกว่าพรรคพลังประชาชนหรือไทยรักไทยนอมินี ผมว่าไม่ใช่ คืออย่าโดนปรากฏการณ์ทางการเมืองตบตาตัวเอง แล้วคิดว่าปัญหามีแค่นี้"

"รากมันคือความเปลี่ยนของสังคมไทย คือพลังคน 10 กว่าล้านคน ถ้าคุณรวมครอบครัวเขาด้วยจะมากกว่านี้อีก สังคมไทยเปลี่ยนแล้ว และความเปลี่ยนทางสังคมนี่แหละที่เป็นที่มาของปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เราเห็น แต่จะจัดการกับมันอย่างไร โดยที่ไม่เป็นการฆ่าตัวตาย รัฐประหารคือการฆ่าตัวตายของสังคมไทย ทำหนหนึ่งไม่ตายก็บุญแล้ว ถ้าอีกหนหนึ่งผมว่าฉิบหายแน่"

ทะเลาะกันอย่างสันติ
"ผมคิดว่ามันมีบทเรียนบางอย่างที่ควรเก็บ คือถ้าเริ่มต้นจากที่เราเจอว่าตอนนี้เป็น Class Politics จริงๆ เป็นการเมืองเรื่องชนชั้น และเริ่มต้นจากว่า คงดีถ้าสมานฉันท์ แต่สมมติมันหวังความสมานฉันท์ยาก คนไทยคงจะต้องทะเลาะกันไปสักพักหนึ่ง เรากำลังหวังให้ทะเลาะกันอย่างสันติ ในกรอบประชาธิปไตย ทำอย่างไรจะมี Democratic Class Politics"

"คิดว่าบทเรียนหลักๆ ดูจากบทเรียนของทักษิณ ดูจากบทเรียนของรัฐประหาร คือหนึ่งกองทัพต้องถอยออกไป อย่าเอากองทัพเข้ามายุ่ง อย่าเอากำลังความรุนแรงที่จัดตั้งของกองทัพหรือตำรวจก็แล้วแต่ เข้ามาแทรกแซงการต่อสู้ขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มคนในสังคม พอคุณเอากองทัพเข้ามาฉิบหายหมด มันจะทำให้ความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น และนำไปสู่ปัญหาเยอะแยะตามมา อย่างในรอบปีที่ผ่านมามีผลกระทบมากมาย อันแรกกองทัพออกไป ออกไปในความหมายที่ว่าไม่ต้องเข้ามาแทรกแซงการเมือง ถ้าจะมีบทบาททางการเมืองก็ในฐานะพลเมืองไทยคนหนึ่ง มี 1 เสียงเท่ากันในการออกความเห็น แต่ไม่ใช่เอากำลังอาวุธเข้ามา"

"และอาจจะโดยบังเอิญหรืออาจจะเป็นเรื่องที่ชวนคิด ผมคิดว่าพระราชดำรัสหลายองค์หลักในช่วงเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาต่อตุลาการ ต่อนายพลที่รับตำแหน่ง น่าสนใจว่าพระองค์ท่านรับสั่งว่าไม่ใช่ด้วยกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์ การรักษาความสงบของบ้านเมืองคือการรักษาความเป็นธรรม โดยการให้มีความเป็นธรรมเกิดขึ้นในสังคม ทำอย่างไรไม่ให้สังคมไทยไปสู่จุดที่ใช้อาวุธเข้าหากัน ผมคิดว่าน่าจะคิดอันนี้ให้ดี

บทเรียนแรกคืออย่าเอากองทัพเข้ามายุ่งกับความขัดแย้ง ยิ่งเอาเข้ามายิ่งแก้ยาก แทนที่จะมานั่งคิดว่าจะหานโยบายที่ทำให้ชนชั้นที่ต่างกันในสังคมไทย มีผลประโยชน์ร่วมกันและเดินหน้าไป คุณต้องมาคิดว่าทำอย่างไรให้ทหารถอยกลับเข้ากรมกอง ทำอย่างไรกับงบประมาณทหารที่เพิ่มขนาดนี้ กลายเป็นมีโจทย์มากขึ้นมหาศาล ยิ่งยุ่งกันใหญ่ คุณต้องมาแก้โจทย์อีกจำนวนมาก เดิมเราไม่ต้องมาคิดเรื่องพวกนี้ ถ้าไม่มี 19 กันยา. คุณไม่ต้องมาปวดหัวกับรัฐธรรมนูญ เราจะเอายังไงกับ กอ.รมน. ที่ถูกยกเป็นซูเปอร์ กอ.รมน. สุดท้ายก็ต้องมาคิดโจทย์เพิ่มขึ้นอีก ทำให้สังคมไทยลำบากยิ่งขึ้น แทนที่มันจะแก้กันในเกม ในกฎติกา ดังนั้นกองทัพ out (ออกไป) อย่ามายุ่งกับการเมือง"

"อันที่สองคือ โดยคำตัดสินในคดีฟ้องหมิ่นประมาทระหว่างคุณทักษิณกับคุณสนธิ ลิ้มทองกุล น่าสนใจมากว่า ในศาลชั้นต้นคุณทักษิณชนะ แต่ว่ามีคำบางคำในคำพิพากษาที่น่าสนใจ บอกชัดเลย อย่าดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือกำจัดคู่ขัดแย้งทางการเมือง อันนี้คือบทเรียนใหญ่บทเรียนที่สองในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา อย่าดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือในการกำจัดคู่ขัดแย้ง นี่คือคำของศาลเลยนะครับ - ต้องท่องจำ เพราะคุณดึงขึ้นมามันทำให้ความขัดแย้งขยายตัวบานปลาย มันทำให้ของที่เราควรจะรักร่วมกันทุกฝ่ายกลายเป็นของของบางกลุ่มบางฝ่าย จากการที่ทะเลาะกันเรื่องผลประโยชน์กลายเป็นศัตรูของชาติ ซึ่งหาทางประนีประนอมรอมชอมกันยากมาก นี่คือบทเรียนใหญ่บทเรียนที่สอง แทนที่จะทำให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มชนต่างๆ ในสังคมไทยน่าจะหาทางต่อสู้กันด้วยสันติ มันจะไม่สันติ เพราะคุณทำให้เห็นว่าคนที่ทะเลาะกับคุณเป็นศัตรูกับในหลวง เพราะทุกคนรักในหลวง ผมคิดว่าคำพิพากษานี้น่าจะเอาไปสลักทองตอกไว้ที่ไหนสักที่ หรือบนทางด่วน ให้อ่านกันทั่วๆ"

"อันที่สาม เป็นบทเรียนจากรัฐบาลทักษิณ คุณทำให้ความขัดแย้งทางชนชั้นรุนแรง ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนทั้งหลายแก้ในระบอบประชาธิปไตยยากถ้าคุณทำ 2 อย่าง คุณทำลายพื้นที่สิทธิเสรีภาพกับคุณทำลายพื้นที่ประชาธิปไตย ตราบใดที่พื้นที่ 2 พื้นที่นี้ยังดำรงอยู่ ผมคิดว่าทะเลาะกันไปเถอะ นี่คือบทเรียนตัวอย่างในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา เช่น คุณไปปิดปากสื่อ ให้กอง บ.ก. ทีวีเอานักข่าวออกเป็นแผง หรือการไปลิดรอนสิทธิของคนที่เห็นต่าง โดนรังแกโดนกลั่นแกล้ง หรือมากกว่านั้นเพื่อสนองนโยบายไปเบียดสิทธิของคนอื่น ไปตัดสิทธิ์โดยใช้ศาลเตี้ย"

พื้นที่สิทธิเสรีภาพ พื้นที่ประชาธิปไตย
"นี่คือบทเรียนที่เราน่าจะเรียนรู้การทะเลาะกันระหว่างชนชั้นโดยไม่ต้องฆ่ากัน สำคัญมากคือต้องรักษาพื้นที่สิทธิเสรีภาพกับทุกฝ่าย อย่ากลายเป็นสิทธิเสรีภาพของฝ่ายกูสำคัญ ถ้าฝ่ายมึงโดนเรื่องของมึง ถ้าเรารักที่จะทะเลาะกันอยางสันติ ต้องเคารพสิทธิเสรีภาพ นี่คือสมบัติร่วมกันไม่ว่าคุณจะอยู่ชนชั้นไหน ไม่ว่าจะอยู่พรรคไหนฝ่ายไหน และถ้ามันถูกละเมิด อันตรายกับคุณนะครับ ถ้าพื้นที่นี้ถูกละเมิดมีแนวโน้มที่จะทะเลาะกันนองเลือด คุณกำลังไล่คนที่เห็นต่างจากคุณให้ไปใช้วิธีนอกระบบ ฉะนั้นหลักการปกครองโดยกฎหมาย หลักนิติธรรม สิทธิเสรีภาพของกลุ่มต่างๆ ต้องรักษา ส่วนพื้นที่ประชาธิปไตยก็คือคนเราต้องเท่ากัน และอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนจริงๆ"

"พื้นที่ประชาธิปไตยหดไปเยอะเพราะรัฐประหาร รัฐประหารแล้วคุณก็ริบอำนาจอธิปไตยไปใช้ คุณเอาไปให้คนอื่นใช้ คนอื่นที่คุณคิดว่าเป็นคนดีไว้ใจได้ เขาดีไม่ดีผมไม่รู้ แต่ในที่สุดไม่ใช่คนทุกคน มันไม่ใช่หลักประชาธิปไตย หลักประชาธิปไตยคือทุกคนเท่ากัน และอำนาจต้องเป็นของทุกคนเท่ากัน พอคุณไปทำอย่างนี้อำนาจของคุณถึงมีคนก็ไม่รับ ดังนั้นกฎหมายต่างๆ ที่ออกมา พูดกันอยู่เรื่อยว่าจะแก้ใช่ไหม พ.ร.บ.ความมั่นคง, รัฐธรรมนูญ, รัฐบาลที่ตั้งขึ้นมา ถึงแม้จะเป็นคนดีแต่กูไม่ได้เลือก มันมีปัญหาระหว่างความดีกับการเลือกตั้ง

หลักประชาธิปไตยเป็นหลักอันหนึ่งซึ่งมันมีอยู่แล้วในโลก คนดีที่เราไม่ได้เลือกถึงแม้ดีมันคงสู้คนดีที่เราเลือกไม่ได้ ดังนั้นถ้าคุณคิดว่ามันเป็นปัญหา คุณก็คิดแต่ว่าทำอย่างไรที่การเลือกคนดีมันจะเป็นไปได้ เท่านั้นแหละ แต่การที่เพราะมึงเสือกเลือกคนที่ไม่ดีฉะนั้นมึงไม่ต้องเลือกเลย อันนี้มันก่อปัญหา ก่อความขัดแย้งเยอะแยะไปหมด และคุณก็อยู่ในโลกทุกวันนี้ไม่ได้ ถ้าไม่มีการเลือกตั้ง ในที่สุด 1 ปีผ่านไปคุณก็ต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง และแปลกแต่จริงเชื่อหรือไม่ พรรคที่คุณอยากจะยุบมันแทบเป็นแทบตาย ในที่สุดมันก็ได้รับการเลือกตั้งมามากที่สุด (หัวเราะ)"

"ต้นทุนมันแพงมากเรื่องความชอบธรรม ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ฉะนั้น สองพื้นที่นี้ต้องคงไว้ พื้นที่สิทธิเสรีภาพซึ่งโดนละเมิดมาก พื้นที่ประชาธิปไตยซึ่งถูกทำลายไปมาก ต้องเปิดเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เอาไว้ เป็นของคนไทยทุกคน แล้วสู้กันในกรอบ ไม่ต้องห่วงหรอกถ้ามันมีพื้นที่แบบนี้ผมคิดว่าไม่รุนแรง"

แต่สมมติสมัครมาเป็นนายกฯ ฝ่ายตรงข้ามก็คิดว่าไม่มีทางทะเลาะกันอย่างสันติได้
"ผมไม่คิดว่าง่ายนะครับ และโดยส่วนตัวผมก็คงไม่ค่อยชอบนายกรัฐมนตรีที่เป็นคุณสมัคร ผมคงดีใจถ้าคนอื่นเป็นนายกฯ แต่เอาเถอะ ไม่ใช่เป็นปัญหาของผมคนเดียว เป็นปัญหาที่สังคมไทยต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วย เราจะเรียนรู้ที่จะอยู่กับรัฐบาลเสียงข้างมากที่เราไม่ชอบอย่างไร ถ้าทันทีที่เราเจอรัฐบาลที่ได้เสียงข้างมากมาตามระบอบเสรีประชาธิปไตย แต่บังเอิญเราไม่ชอบแล้วเราจะรัฐประหารทุกครั้งหรือ เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับรัฐบาลเสียงข้างมาก ที่ได้รับเลือกตั้งมาหรือขึ้นมาตามครรลองประชาธิปไตย แต่บังเอิญเราไม่ชอบ แล้วเราจะทำอย่างไร เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันให้ได้ โดยที่ไม่ออกนอกกรอบของระบบ

การที่ผู้คนทั้งหลายจะอยู่กับรัฐบาลที่ตัวเองไม่ชอบได้ เขาต้องมีสิทธิเสรีภาพที่จะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล การที่เขาไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไม่ได้ทำให้เขาเป็นคนไทยน้อยลง หรือทำให้เขาชั่ว พื้นที่สิทธิเสรีภาพของคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเสียงข้างมากต้องมี นอกจากนั้นยังต้องมีพื้นที่ประชาธิปไตย เผื่อรอบหน้าคุณจะแพ้ไง เผื่อรอบหน้าฝ่ายอื่นเขาชนะบ้าง ถ้ามีพื้นที่ 2 อันนี้เปิดรอรับอยู่ การอยู่กับรัฐบาลที่คุณไม่ชอบพอทนได้ คนอื่นทั่วโลกเขาก็อยู่กันมาแบบนี้ รัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อนๆ นักวิชาการผม ไม่ชอบจอห์น โฮเวิร์ดเลย แกทนอยู่กับโฮเวิร์ด 4 สมัย กว่าจะ vote ออกไปได้ แต่แกมีความหวัง เพราะหนึ่งแกมีสิทธิเสรีภาพที่จะด่ารัฐบาล และสองรอบหน้ากูจะไม่เลือกมึง ในที่สุดมันก็มีวัน vote ให้โฮเวิร์ดออกไปได้. ผมคิดว่าเราต้องผ่านอย่างนั้น ในแง่กลับกันก็เป็นไปได้ว่าสักวันจะได้รัฐบาลที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับไทยรักไทยเดิม หรือพลังประชาชนปัจจุบัน และบรรดาสมาชิกพลังประชาชนก็คงจะไม่ชอบรัฐบาล ใจเย็นๆ ผมก็ผ่าน คุณจะรู้สึกเหมือนผม ไม่ชอบก็ด่าสิ ก็แสดงความคิดเห็นคัดค้านไป ตราบเท่าที่คุณมีสิทธิเสรีภาพ และรอบหน้าก็เลือกกันใหม่" 9999999999

แต่ความขัดแย้งเฉพาะหน้ามันแหลมคมมาก กระทั่งคนชั้นกลางไปลงฝ่ายตรงข้ามเกือบทั้งหมด ความโกรธแค้นเกลียดชัง 2 ปีที่ผ่านมา
ทำให้ยังไม่ทันได้ตั้งสติ
"ยังไม่ทันได้ตั้งสติ ดังนั้นรีบๆ ตั้งเสีย เพราะว่าคุณจะต้องอยู่กับสังคมซึ่งคุณเป็นคนส่วนน้อย คนส่วนใหญ่ที่มีจำนวนมากกว่าคุณเขาพบว่ามีพรรคการเมืองที่สนองประโยชน์เขาได้ดีกว่า เขาก็เลือก และเสียงเขามากกว่า อันนี้เป็นความจริงไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม เรามีทางเลือกอะไรบ้าง มีพื้นที่เสรีภาพ มีพื้นที่ประชาธิปไตย ถ้าชนชั้นกลางซีเรียสเรื่องนี้พอก็ต้องคิดหาทางสนับสนุน หรือช่วยกันสร้างพรรคการเมืองที่จะสนองต่อผลประโยชน์ของพวกเขา และผลประโยชน์ของคุณเอง cover ผลประโยชน์ของ 2 กลุ่มได้ดีกว่าพลังประชาชนหรือไทยรักไทยเดิม ไม่อย่างนั้นคุณก็เป็นเสียงข้างน้อยตลอดไป คุณมีปัญญาสร้างไหมหรือไม่มี คุณมีปัญญาจินตนาการไหม หรือไม่มีปัญญาจินตนาการ มันจะมีไม่ได้เชียวหรือ พรรคการเมืองที่มีแนวทางนโยบายที่สนองตอบผลประโยชน์ทั้งกลุ่มใหญ่ และกว้างพอที่จะสนองต่อผลประโยชน์ของคนทั้ง 2 กลุ่ม ถ้าไม่มี-คิด ผมคิดว่าชนชั้นกลางที่มีสติ ในรอบปีกว่ากระเป๋าสตางค์สะเทือน น้ำมันแพง เศรษฐกิจไม่กระเตื้อง ก็น่าจะมีสติพอที่จะเห็นต้นทุนที่จะปฏิเสธการทะเลาะกันอีกครั้ง"

คนชั้นกลางส่วนหนึ่งก็เลือก ปชป.เพราะกลัวการทะเลาะกัน
"ก็คงมีคนจำนวนหนึ่งที่อยากให้เรื่องมันจบๆ อยากจะกลับมาทำมาหากิน สำหรับคนแบบนี้ผมว่าเหนื่อยเหมือนกัน ผมก็เห็นใจ แต่อยากจะเรียนว่ามันยังไม่จบ ไม่ใช่ว่ามีใครอยากจะทะเลาะกัน แต่เพราะสังคมไทยมันเปลี่ยน สังคมไทยมันแบ่ง สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่เสมอภาคมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เส้นทางพัฒนาที่เราเดินมา เราเลือกเส้นทางโลกาภิวัตน์ มันสร้างคนที่มีชีวิตที่ไม่มั่นคง ไปสร้างคนที่หลุดจากพื้นฐานทรัพยากรเดิมของเขา เกษตรกร คนที่รับจ้าง คนที่ขับแท็กซี่ ถ้าลูกเมียป่วยหนักทียุ่งเลยนะ ดังนั้นเขามีผลประโยชน์ว่าทำไมเขาถึงอยากจะเลือกทักษิณ เพราะทำให้เขามีทางเลือกในแนวนโยบาย ถ้าคุณคิดว่าคุณอยากจะแก้ปัญหานี้อย่างถึงราก คุณก็คิดถึงแนวทางพัฒนาที่ไม่ใช่แบบโลกาภิวัตน์ แล้วคุณเอาจริงหรือเปล่าล่ะ คุณก็ไม่ทำ เพราะคุณรู้ว่าโลกาภิวัตน์มันดี คุณชอบ มันทำให้เศรษฐกิจบูม นักท่องเที่ยวมาเยอะ คุณก็เอา พอคุณเอาคุณก็สร้างคนแบบนี้ขึ้นมาอีกแล้ว จากทุกหมู่บ้านในสังคมไทย คุณเดินเส้นทางนี้คุณก็ create คนเหล่านี้ขึ้นมาเรื่อยๆ แล้วเขาเป็นเพื่อนร่วมชาติคุณ คุณต้องหาทางออกให้เขาด้วย ไม่ใช่ว่าคุณจะเดินแนวทางพัฒนาแบบนี้ คนพวกนี้คุณไม่แยแสสนใจ คุณเอาตัวรอดคนเดียว"

"เขามาเคาะประตูบ้านคุณแล้วครับ และเขามาในนามพรรคพลังประชาชนและพรรคไทยรักไทย ขอแสดงความยินดีด้วย คุณต้องอยู่กับเขา และเขาเสือกมีจำนวนมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลด้วย (หัวเราะ) คุณชอบแบบนี้ ขณะเดียวกันก็มีผลพวงคนกลุ่มนี้เกิดขึ้น ก็อยากจะปิดประตูไม่แยแส แต่ว่าเฮ้ยไม่ได้แล้วครับ เขาเคาะประตูบ้านคุณและเขามาในนามพรรคพลังประชาชนแล้ว ถ้าคุณอยากจะหาทางออกที่ดีกว่านี้ อยากจะหาแนวทางนโยบายที่ดีกว่านี้ ถ้าคุณไม่เห็นด้วยกับแนวทางนโยบายของไทยรักไทย คุณก็ต้องคิดนโยบายแนวทางใหม่สิ ที่ทำให้คนเขาอยู่ด้วยกันอย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรีเสมอภาคกัน"

๒. การหาสูตรการเมือง - เกษียร เตชะพีระ
ไทยโพสต์ แทบลอยด์, 13 มกราคม 2551 กองบรรณาธิการ

ปัจจุบันอำมาตยาธิปไตยกับไทยรักไทยตรึงกันอยู่ ทั้ง 2 ฝ่ายพอฟัดพอเหวี่ยงกัน ชนชั้นกลางหรือองค์กรประชาชนก็ยังเป๋ไปเป๋มาอยู่ มันจะออกจากวิกฤติไปสู่การทะเลาะกันอย่างสันติได้ลำบาก

"ผมคิดว่า เราคงมีเวลามานั่งคิดว่าทางออกจากวิกฤติคืออะไร? ถ้าเราหลีกเลี่ยงที่จะทำสิ่งต่างๆ ที่ผมเสนอไป ไม่ว่าคุณจะเป็นองค์กรประชาชนฝ่ายไหน คุณจะเชียร์ทักษิณหรือคุณจะเชียร์คณะรัฐประหาร ไม่ว่าจะเป็นคุณสุริยะใส กตะศิลา หรือจะเป็นหมอเหวง โตจิราการ ถ้าคุณเห็นตรงกันว่า

- หนึ่ง, ทหารเข้ามายุ่งการเมือง ไม่เอาแล้วนะต่อไปนี้
- สอง, อย่าอ้างในหลวงเพื่อเป็นเครื่องมือกำจัดคู่แข่งทางการเมือง
- สาม, สิทธิเสรีภาพของคุณของผม ประชาธิปไตยของคุณของผม ต้องรักษาไว้

ผมไม่ห่วง ทะเลาะกันได้ ผมไม่หวังว่าทั้ง 3 ข้อนี้จะนำไปสู่ความสมานฉันท์ระหว่างหมอเหวง โตจิราการ, พี่จรัล ดิษฐาอภิชัย, กับ คุณพิภพ ธงไชย, คุณสุริยะใส กตะศิลา, ไม่มีทาง. ผมไม่ได้เสนอว่าโดยปฏิบัติตามหลักนี้แล้วท่านจะสามัคคีสมานฉันท์ คงจะรบกันวายป่วงไปอีกนานเลย แต่ท่านจะไม่ตีกัน และคนที่ร่วมทะเลาะก็จะไม่ตีกัน เพราะปัญหาไม่ได้เกิดจากพี่จรัล ไม่ได้เกิดจากหมอเหวง หรือสุริยะใสหรือคุณพิภพ ปัญหาเกิดจากสังคมไทยเปลี่ยน. หมอเหวง คุณพิภพ ล้วนเป็นตัวละครที่ถูกพลังสังคมโยนขึ้นมา พลังสังคมที่มันแยกแตกกัน ทุกคนแสดงบทที่ดีที่สุด คิดทางออกที่ดีที่สุดให้สังคมไทย มันอาจจะถูก ผมคิดว่าคงต้องทะเลาะกันต่อไป และได้แต่คิดว่าแบบนี้อาจจะทะเลาะกันอย่างสันติได้"

แต่อำนาจในระดับบน ทั้งสองฝ่ายคงไม่ยอมเลิกรากันอยู่ดี
"ผมกลับคิดอย่างนี้ ในแง่หนึ่งถ้อยคำว่าเลิกรา ผมคิดว่าแต่ละฝ่ายรู้สึกว่าต้นทุนการต่อสู้ใน 2-3 ปีที่ผ่านมามันสูง ฝ่ายที่ก่อรัฐประหารเขาก็คิดว่าถ้ากูไม่ต้องทำอีกก็ดีว่ะ บางคนอาจจะไม่คิดอย่างนั้น แต่สังเกตบางคนที่ไม่คิดอย่างนั้นมักจะถูกเบียดออกมา คือผู้ที่มีสติทั้ง 2 ฝ่ายจะรู้สึกว่าต้นทุนมันแพงไป เขาคงไม่อยากทำซ้ำอีก กลับกันคุณทักษิณก็คงสรุปบทเรียนบางอย่าง ทำไมเป็นรัฐบาลที่มีโอกาสจะทำแนวร่วม แต่กลับผลิตคนที่เห็นต่างจำนวนมาก ทั้งๆ ที่เขาน่าจะเห็นด้วยกับท่าน นี่เป็นสิ่งที่เขาน่าจะสรุปบทเรียน เพียงแต่ว่าภาวะที่เขาจะรับได้ และเป็นภาวะการเมืองปกติที่เขาอยากจะให้เกิดขึ้น มันยังไม่เหมือนกัน"

"สำหรับกลุ่มพลังที่เรียกว่าอำมาตยาธิปไตย ภาวะปกติของเขาก็คือรัฐธรรมนูญ 2550 แต่ประชาชนเสือกไม่เลือกพรรคที่กูเลือก คุณมีชัยเพิ่งบ่น-ไปเลือกเขาเข้ามาทำไม แต่มันไม่ใช่ว่าทั้งหมดสูญเปล่า เขาก็ได้ออกแบบรัฐธรรมนูญที่ล้อมเสียงข้างมากที่เขาไม่ชอบไว้แล้ว ซึ่งในกระบวนการล้อมนั้นก็จะก่อปัญหาให้ ไม่เพียงแต่เสียงข้างมากที่ขึ้นมาเป็นรัฐบาล แต่มันหมายถึงการจัดการพลังประชาธิปไตย จำกัดพื้นที่ประชาธิปไตย และเอาอำนาจไปไว้ที่ข้าราชการประจำ ซึ่งก็จะมีปัญหาอีก"

"ในแง่กลับกันฝ่ายของคุณทักษิณก็อยากได้ภาวะปกติอีกแบบหนึ่ง ภาวะปกติแบบของคุณทักษิณก็อาจจะรัฐธรรมนูญ 2540 และก็บวกกับทั้งหมดที่คุณทักษิณทำได้ซึ่งเยอะทีเดียว องค์กรตรวจสอบอาจจะว่านอนสอนง่ายหน่อย พรรคฝ่ายค้านก็ว่านอนสอนง่ายเพราะกระจอกเหลือเกิน นึกออกไหมครับภาวะปกติของแต่ละฝ่าย อีกฝ่ายก็รู้สึกว่าไม่ปกติ และอยากจะผลักให้กลับไปสู่ภาวะปกติของตัว"

"ผมคิดว่ากระบวนการที่เราเห็นคือ กระบวนการหาจุดที่ทั้ง 2 ฝ่ายพอจะอยู่ด้วยกันได้ ทุกวันนี้ยังไม่เจอ แต่ผมคิดว่าถึงทุกวันนี้ทั้ง 2 ฝ่ายน่าจะตระหนักแล้วว่า การเมืองไทยที่ไม่มีฝ่ายตรงข้ามเหลืออยู่เลย เป็นไปไม่ได้ คุณได้ทำทุกอย่างที่คิดว่าพอจะทำได้ ในที่สุดเขาก็ย้อนกลับมา ในแง่กลับกันอีกฝ่ายหนึ่งก็ควรจะเข้าใจว่า พื้นภูมิสังคมไทยที่มีส่วนของความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์มานานมาก คุณคิดจะเปลี่ยนประเทศไทยใหม่ในครึ่งวันหนึ่งวันเป็นไปไม่ได้ คราวนี้คุณจะอยู่กับพลังการเมืองอีกฝ่ายซึ่งคุณไม่ชอบ ที่คุณคิดว่าเป็นปัญหา แต่จะอยู่อย่างไรที่พอจะไปด้วยกันได้ ตรงนี้ยังเป็นสิ่งที่ต้องหา ก็ต้องยื้อกันไปอีกสักพัก และระหว่างที่ยื้อกันมันก็คงจะไม่สงบ มันก็จะมีความขัดแย้ง และมันก็คงจะไม่นิ่ง มันอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ อาจจะเพราะปากมากไปนิด พูดสิ่งที่ไม่ควรพูด ด่าคนที่ไม่ควรด่า มันไม่ราบเรียบ เราก็คงต้องอยู่กับภาวะไม่ราบเรียบไปสักระยะหนึ่ง ผมคิดว่า 5 ปี 10 ปี"

ทำไมนานขนาดนั้น
"จนกว่าจะมีสูตรการเมืองที่จะรับกับกลุ่มต่างๆ ของสังคม ผมมีวิธีอธิบายที่เข้าใจง่ายที่สุดคือ 14 ตุลา รอบ 2 ในความหมายนี้นะครับ. 14 ตุลาคืออะไร? 14 ตุลา คือคนที่สฤษดิ์สร้างขึ้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจ 10 กว่าปีตั้งแต่ 2501 ชนชั้นกลางกับพวกเจ้าพ่อหัวเมือง โตแล้วมันเบื่อที่จะไปยืนกุมเป้า โค้งให้ข้าราชการ มันต้องการอำนาจการเมือง. 14 ตุลา ก็คือจุดเริ่มต้นของชนชั้นกลางกับพวกเจ้าพ่อหัวเมืองชนบทที่จะเดินเข้าสู่การเมือง ผ่านช่องทางที่ไม่เคยเปิดมาก่อนคือการเลือกตั้ง

- สำหรับชนชั้นกลางคือไปเลือกตั้งและก็เดินขบวน
- สำหรับเจ้าพ่อก็เข้าสู่พรรคและก็เลือกตั้ง นี่คือทางเข้าสู่อำนาจรัฐ

แต่เดิมข้าราชการเข้าสู่อำนาจรัฐง่ายมาก ก็คือรับราชการให้ดีขึ้นเป็นปลัดกระทรวง เดี๋ยวหัวหน้าคณะปฏิวัติก็ตั้งเป็น ส.ว. ช่องทางพวกนี้ไม่ได้เปิดมาเพื่อเขา 14 ตุลาได้เปิดช่องทางใหม่ให้พวกเขาได้เข้าไปแชร์อำนาจรัฐ และเอาอำนาจรัฐมารับใช้ตัวเอง ฝ่ายเก่าก็ไม่ยอม ดังนั้นอีก 3 ปีจึงมี 6 ตุลา ความหมายของ 6 ตุลาคือช่องทางที่เปิดใหม่เราไม่ชอบ เรายังไม่อยากแบ่งอำนาจให้พวกคุณ เราขอปิดก่อน แต่ 1 ปีถัดมาก็ต้องเปิดใหม่ แล้วก็มาจบกันที่ครึ่งใบ ก็คืออำมาตยาธิปไตยครึ่งใบ และก็พวกเจ้าพ่อนักเลือกตั้งและชนชั้นกลางอีกครึ่งใบ"

"กว่าเรื่องทั้งหมดจะจบ สิบกว่าปีเกือบยี่สิบปีจนกระทั่ง 2535 พฤษภาทมิฬจบปั๊บ ไม่มีวันถอยกลับแล้ว เอ้าอยู่กับระบอบนี้ เป็นระบอบที่เจ้าพ่อเข้าสู่การเมือง ชนชั้นกลางได้ร่วมอำนาจ ตอนนี้เรากำลังอยู่กับระบอบนี้ แต่หลังจากเราเดินโลกาภิวัตน์มาประมาณ 10 ปี เราสร้างคนกลุ่มนี้ขึ้นมา กลุ่มนายทุนใหญ่ กลุ่มนายทุนใหม่ เล่นไอที โทรศัพท์มือถือ กับบรรดากลุ่มชนชั้นล่างที่หลุดจากชนบทมา เขากำลังขอส่วนแบ่งอำนาจรัฐ ที่ผ่านมาเขาเอื้อมถึงโดยผ่านรัฐธรรมนูญ 2540 และพอเขาเอื้อมถึงปั๊บ กลุ่มพลังฝ่ายอื่นก็-ไอ้หยา ไม่ใช่เอื้อมถึงอย่างเดียว-รวบเลย ดังนั้นกูไม่ให้มึงโว้ย ป๊อก-ตีมือเขา ก็ต้องหาสูตร สูตรที่แบบว่าคนเหล่านี้เข้าถึงอำนาจรัฐได้ และพวกเขาเป็นเสียงข้างมากด้วย. หลัง 14 ตุลา 6 ตุลา มีรัฐประหาร ความพยายามรัฐประหารตั้งกี่รอบ เช่นยังเติร์ก กว่าจะมาถึงสูตรที่ตกลงกันได้ ใช้เวลานาน ยื้อกันไปยื้อกันมา ผมคิดว่าเรากำลังอยู่ในกระบวนการคล้ายๆ กัน หารูปการณ์ทางการเมือง เพื่อที่กลุ่มพลังใหม่จะเข้ามาใช้อำนาจรัฐ ขอมีส่วนแบ่งอำนาจรัฐ"

คนที่จะเสียส่วนแบ่ง คือชนชั้นนำอำมาตยาธิปไตย
"และชนชั้นกลาง เพราะชนชั้นกลางพูดได้เสียงดัง หลังพฤษภา 2535 นี่พูดได้เสียงดังเลย สิ่งที่เขาไม่เคยคุ้นมาก่อนก็คือ มีม็อบคนจนมาปกป้องรัฐบาล ม็อบคนจนที่มาอยู่จตุจักร และเขาบุกมาถึงกรุงเทพฯ และผมคิดว่าโอกาสที่เราจะเจอเขาอาจจะบ่อยขึ้น คือในการเลือกตั้งเขาก็เป็นเสียงข้างมาก และเขาก็เรียนรู้วิธีการจัดตั้งการทำงาน เดินขบวนบนท้องถนนเหมือนกัน ใครว่าชนชั้นกลางเรียนรู้อย่างเดียว คงต้องหารูปแบบใหม่ รูปแบบแบบ 2540 และแบบที่คุณทักษิณกับไทยรักไทยทำก็มีปัญหาเหมือนกัน คือรวบอำนาจมากเกินไป รูปแบบ แบบ 2550 เป็นระบอบที่ทำลายพื้นที่ประชาธิปไตยมากเกินไป ดังนั้นทุกพรรคก็ต้องแก้ เป็นไปได้อย่างไรบ้านเมืองทุกวันนี้ คุณให้อำนาจข้าราชการประจำอิสระขนาดนั้น แต่จุดพอดีอยู่ตรงไหนไม่รู้"

ทำไมสูตรประชาธิปไตยบอกว่า ประชาธิปไตยขึ้นกับชนชั้นกลาง แต่เมืองไทยไม่ใช่
"นั่นสูตร ก็ถ้าคุณเริ่มต้นจากระบบที่ไม่เคยมีระบอบประชาธิปไตยมาก่อน เป็นระบอบที่อำนาจรวมศูนย์ โดยเฉพาะคนที่กุมอำนาจคือข้าราชการ แต่พอประชาธิปไตยมันเปิดแล้ว สิ่งที่ชนชั้นกลางอยากได้ก็คืออยากจะหวงเอาไว้เอง และไม่อยากให้คนอื่นต่อ ชนชั้นล่างก็จะมาขัดแย้ง เป็นเรื่องธรรมดาชนชั้นกลางก็ไม่อยากให้ แต่ว่าชนชั้นล่างมีจำนวนมากกว่า และถ้าไม่ให้ก็ตีกัน ดังนั้นกูไม่ตีกับมึงดีกว่า"

"นี่คือคนทุกกลุ่ม คนทุกชั้น มีนิยามประชาธิปไตยของตัวเอง ชนชั้นกลางประชาธิปไตยของกูแบบไม่มีม็อบได้ไหม เฮ้ย-ไม่ได้ ประชาธิปไตยต้องมีม็อบสิ ถ้าไม่มีม็อบแล้วกูจะอยู่ตรงไหน กูไม่ได้อยู่ในเมืองเหมือนมึงนี่ มึงเดือดร้อนมึงก็โทรมือถือ ออกรายวิทยุโวยวายได้ กูอยู่หัวคันนา กว่าจะแก้ปัญหากูต้องวิ่งกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เรียกร้องแทบเป็นแทบตาย สภาวะอำนาจมันต่างกัน ดังนั้นประชาธิปไตยของชาวบ้านก็ย่อมมีความหมายที่ต่าง"

"แต่ที่น่าสนใจคือ พรรคไทยรักไทยและคุณทักษิณได้ช่วยให้นิยามประชาธิปไตยแบบที่ชาวบ้านรับ โดยเฉพาะชนชั้นล่าง ตอนนี้เขา identified ว่าทักษิณ นโยบายของทักษิณ และระบอบทักษิณคือประชาธิปไตย หลังจากเจอบทเรียน 2-3 ปีที่ผ่านมา เจอรัฐประหาร เขา identified คุณทักษิณ พรรคไทยรักไทย ระบอบทักษิณคือประชาธิปไตย ขณะที่ชนชั้นกลางบอกว่าไม่ใช่ ดังนั้นก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เราเจอการชนกันของนิยามประชาธิปไตย และคุณควรจะเข้าใจเขาว่า ทำไมเขาคิดว่าอันนี้คือประชาธิปไตย อันนี้คือความหมายของการกุมอำนาจนำ เขาสามารถนำคนเหล่านี้และ identified ตัวเองว่านี่แหละคือประชาธิปไตย แต่คนเหล่านั้นไม่เอาด้วย และถ้าคุณแพ้ คุณไม่สามารถทำให้คนกลุ่มนี้เปลี่ยนความเข้าใจในประชาธิปไตยได้ มันก็ต้องโทษตัวคุณเองสิ ว่าข้อเสนอของคุณไม่ดีตรงไหน"

"คำถามก็คือ คุณไม่สามารถจินตนาการแนวนโยบายการเมือง หาจุดที่รอมชอมผลประโยชน์ของทั้ง 2 กลุ่มนี้ แล้วนำเสนอนโยบายที่ดี"

ถ้าคนชั้นกลางร่วมกับคนชั้นล่าง ก็เป็นคนส่วนใหญ่ที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมได้ แต่ทำไมทฤษฎีนี้เป็นไปไม่ได้
"ผมคิดว่าอันนี้อาจจะเป็นความฝันมาตลอด ของพลังการเมืองสำคัญในสังคมไทย ปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมไทยคือ เส้นแบ่งใหญ่โตระหว่างเมืองกับชนบท พลังการเมืองใหญ่ๆ ในสังคมไทยที่คิดจะ claim อำนาจรัฐในสังคมไทย รักษาอำนาจรัฐนั้นไว้ จะต้องแก้ปัญหานี้ให้ได้. พคท.ก็เคยพยายามเชื่อมเมืองกับชนบท โดยเสนอแนวนโยบายประชาธิปไตยแบบใหม่ ชาวนาก็อยู่แบบสหกรณ์ อยู่แบบคอมมูน แนวทางของเมืองก็พัฒนาไปด้วยทุนนิยมในกรอบของประชาธิปไตย ผมคิดว่าในความหมายนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็แบบเดียวกัน ที่เสนอแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจที่ทำให้เมืองกับชนบทอยู่ด้วยกันได้ ชนบทก็อยู่แบบพอเพียงพึ่งตนเอง สามารถอิงกับตลาดได้ ขณะที่ในเมือง-ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ปฏิเสธทุนนิยมนะ แต่มีข้อเสนอแนะบางอย่างกับทุนนิยม เช่นให้ลดความเสี่ยง ความไม่มั่นคง. คุณทักษิณก็ทำอันนี้ เชื่อมโยงเมืองกับชนบท ในความหมายที่ในแง่หนึ่งชนบทได้รับการชักชวนเข้าสู่ระบบทุน ทำไมทำ SME ขึ้นมา ประชาชนเข้าสู่ตลาด รัฐดูแลปัญหาความไม่มั่นคงในตลาด คุณจะมี 30 บาทรักษาทุกโรค สำหรับในเมืองก็กระตุ้นให้เศรษฐกิจโตขึ้นเรื่อยๆ อาจจะด้วยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การชักชวนต่างชาติมาลงทุน"

"เป็นความฝันของทุกพลังการเมืองที่คิดการใหญ่ในเมืองไทย ต้องเจอปัญหาเส้นแบ่งเมือง-ชนบท และต้องคิดสูตรการเมืองที่เชื่อม 2 ส่วนได้ แต่สูตรของคุณทักษิณระยะยาวแล้วชนชั้นกลางหลุดออกไป เพราะมันมีความเสี่ยง เศรษฐกิจโลกผันผวน ตอนแรกก็ enjoy แต่พอเห็นชัดว่า การสร้างประชานิยมมาจากภาษีของตัวเอง และคนที่ได้เป็นกอบเป็นกำที่สุดคือกลุ่มทุนใหญ่ ถึงตอนนั้นก็ไม่เอาแล้ว คำถามก็คือว่ามีสูตรไหนที่จะเชื่อมผลประโยชน์ของคน 2 กลุ่มได้ มีหรือไม่มีผมยังไม่รู้ รัฐสวัสดิการทำได้ไหม นโยบายอะไรที่จะสามารถให้ความมั่นคงกับคนจนในเมือง ในชนบท และชนชั้นกลางก็ยินดีที่จะต้อนรับ"

ใช่ไหมว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะต้องเกิดการเมืองใหม่ ถ้ามีใครคิดตั้งพรรคการเมืองของประชาชน
"ถ้าคุณไม่คิดอันนี้ ประทานโทษทีเลือกตั้งกี่ครั้งทักษิณก็ชนะ เลือกตั้งกี่ครั้งแนวทางนโยบายแบบไทยรักไทยแบบพลังประชาชนก็จะชนะ เพราะดีที่สุดเท่าที่มีข้อเสนอให้กับกลุ่มคนในสังคมตอนนี้คือประชานิยม"

ถ้ามองในแง่ดี การเลือกตั้งที่ผ่านมาชนชั้นกลางตื่นตัว ชนชั้นล่างส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ขายเสียง มันเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นแต่ว่าแตกแยก
"เป็นปรากฏการณ์ของการใช้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือ เพื่อบรรลุอำนาจทางชนชั้น ในความหมายนี้การเลือกตั้งจึงเป็นการแสดงออกของการเมืองแบบ Class Politics เรากำลังเจอ Class Politics ต้องหาทางอยู่กับมันให้ได้ อย่าหนีมัน อย่าทำเป็นหลับหูหลับตาแล้วบอกรักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย สมานฉันท์กันไว้ ผมคิดว่าทะเลาะกันยังไงโดยไม่ต้องฆ่ากัน"

มองในเชิงอุดมการณ์ประชาธิปไตย ทั้งสองฝ่ายก็ก้าวหน้าขึ้น
"เป็นกระบวนการที่น่าจะเกิด ธรรมชาติของมัน คนที่ตระหนักถึงผลประโยชน์ตัวเองว่าต่างจากกลุ่มอื่น ก็พยายามจะมีอำนาจการเมืองเพื่อต่อรอง ในบางแง่วัฒนธรรมความเป็นไทยของเรา ไม่ได้ฝึกคนในสังคมไทยจำนวนมากให้คุ้นกับสิ่งนี้ เราไม่ค่อยรู้สึกรังเกียจการเมือง แต่เรารังเกียจความขัดแย้ง รังเกียจความแตกต่าง แต่ตอนนี้เราต้องอยู่กับมัน ซึ่งจะอยู่กับมันยังไงที่ไม่ต้องถึงกับลุกขึ้นมาทำลาย ผมว่าบทเรียน 2-3 ปีที่ผ่านมาไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ทั้ง 2 ฝ่ายต้องเก็บรับ"

๓. ภาคประชา"ชน" - เกษียร เตชะพีระ

สถานการณ์อย่างนี้มีช่องว่างที่จะให้เกิดพรรคการเมืองของภาคประชาชนไหม
"ผมรู้สึกว่าลำบาก มันทะเลาะกันฉิบหาย ตอนนี้มองหน้ากันได้อย่างไร พวกพี่ๆ ที่เข้าไปใน สนช. พวกพี่ๆ ที่อยู่ใน นปก. ความบาดหมางมันลึก ผมคิดว่าในแง่แนวทางนโยบาย 2-3 ปีที่ผ่านมา เราเห็นขีดจำกัดของแนวทางนโยบายเท่าที่มีการเสนอมา ไม่ว่าจะเป็นแบบประชานิยมก็มีปัญหา ขณะเดียวกันแบบของคุณสุรยุทธ์ เศรษฐกิจพอเพียง รัฐบาลเป็นคนดี ก็มีปัญหาเหมือนกัน ในจังหวะนี้มันน่าจะมีข้อเสนอดีๆ ออกมาได้ ก็ไม่ถึงกับไม่มีนะ ผมยังเห็นกลุ่มเอ็นจีโอ, กลุ่มคุณใจ, คุณจอน, ยังมีอยู่ แต่ว่ามันไม่ใช่แค่ข้อเสนอ มันต้องมีพลังของการจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองขึ้นมา"

องค์กรภาคประชาชนเติบโตมากในรอบหลายปีที่ผ่านมา แต่ทะเลาะกัน
"เราอาจจะชินกับการคาดฝันถึงวันที่เขาไม่ทะเลาะกัน ก็ทะเลาะกันไปเถอะ ในแง่กลับกันคือ มันคงต้องหาทางมีจุดที่ร่วมกันด้วย และจุดที่ต่างกัน แต่ผมคิดว่าในระยะที่ผ่านมารู้สึกมันมีจุดต่างกันเยอะจัง ทั้งๆ ที่มีหลายเรื่องที่ร่วมกันได้. อย่าง พ.ร.บ.ความมั่นคง มีคนไม่เห็นด้วยเยอะ บางทีอาจจะต้องเริ่มจากจุดพวกนี้ และอย่าแสวงหาความบริสุทธิ์ทางอุดมการณ์ การแสวงหาความบริสุทธิ์ทางอุดมการณ์ การแสวงหาคนที่ไม่เคยด่างพร้อยเลย คือกลุ่มอาการ Red Guard สมัยปฏิวัติวัฒนธรรมที่คนรุ่นเราเคยเป็น ผมหวังว่ารุ่นนี้จะไม่มี ผมเป็นห่วงเพราะว่ามีคนรุ่นของเราเอาอาการนี้มาเผยแพร่ มันทำให้เกิดความร่วมมือกันยาก ถ้าคุณประณามและโจมตีทุกคนที่เห็นไม่เหมือนคุณ 100% ว่าเขาทรยศ เขาไม่ดีเท่าคุณ เขาไม่ซ้ายเท่าคุณ เขาขายตัว แล้วจะไปสามัคคีได้ไง

อาการแบบนี้ในรอบปีที่ผ่านมาหนักมาก ข้าพเจ้าบริสุทธิ์ที่สุด ข้าพเจ้าด่ารัฐประหารตั้งแต่ก่อนมันเกิดอีก จนทุกวันนี้ข้าพเจ้าก็ยังไม่เลิกด่า คนนี้แย่มากเลยด่าหลังข้าพเจ้า 3 วัน คนนี้ยิ่งเลวมากเลยด่าไม่หนักเท่าข้าพเจ้า เรียกร้องหาความบริสุทธิ์ทางอุดมการณ์ และคนคนนี้ที่คุณจะร่วมมือด้วยจะต้อง-ในสายตาคุณไม่เคยทำความผิดทางการเมืองเลย คุณก็อยู่คนเดียวแหละวะ มันเหมือนย้อนไปสมัยปฏิวัติวัฒนธรรม สหายเมื่อ 30 ปีก่อนเคยค้านประธานเหมา ประธานเหมาบอกเต้าหู้อร่อย สหายบอกเต้าหู้ไม่อร่อย เลวมาก ลัทธิแก้เต้าหู้ อย่างนี้ผมว่าบ้า"

ที่พูดมาน่าจะฝากถึงเพื่อนหัวโต แต่องค์กรภาคประชาชนในพันธมิตรก็ยังติดกับ เขาก็ยังดิ้นเร่ายอมให้ทักษิณกลับมามีอำนาจไม่ได้ 555555555

"บางทีผมมีความรู้สึกว่า ความที่เขามองเห็นภัยคุกคามของทักษิณใหญ่โตมาก มันบดบังปัญหาจริงๆ ที่อยู่ข้างหลัง คือปัญหา 10 กว่าล้านคน สังคมเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป คุณต้องหาทางเปลี่ยนการเมือง ให้พวกเขาเข้าร่วมแชร์อำนาจรัฐและอยู่กับกลุ่มคนในสังคมได้ ถ้าคุณคิดว่าแบบที่ทักษิณทำมันไม่ถูก ก็ต้องคิดแบบใหม่ และผมเชื่อว่าแบบ 2550 มันไม่ดี มันมีปัญหาในตัวเองเยอะ"

"เราควรจะอยู่กันโดยไม่ต้องเห็นตรงกันทุกเรื่อง วิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงกัน แต่ไม่ต้องถึงกับนั่งประณามด่าว่ากันทุกวันไม่รู้จักจบ สามารถที่จะร่วมมือกันทางการเมืองเพื่อไปแก้ไขปัญหาการปรับตัวทางการเมืองขณะนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้ พูดตรงๆ นะ ผมคิดว่าที่เรากำลังทำอยู่มันใหญ่ขนาดปรับรูปแบบรัฐไทย รูปแบบรัฐไทยแบบที่เคยมีมายืนอยู่บน 2 ขาหยั่ง ก็คือเป็นประชาธิปไตยที่ลอยอยู่ข้างบน แต่ว่าจริงๆ แล้วขาหยั่งใหญ่ๆ 2 ขา ความจริงมี 3 ขา ก็คืออำนาจกองทัพที่ค้ำอยู่ อุดมการณ์ราชาชาตินิยม และก็เศรษฐกิจทุนนิยมที่ไม่เสมอภาคมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มันต้องปรับ ถ้าไม่รับอันนี้ มันนึกมันจินตนาการที่จะแบ่งอำนาจรัฐกันใหม่กับกลุ่มคนที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ออก ปรับอย่างไรไม่ทราบ-ต้องคิด แต่ผมคิดว่าข้อเสนอพวกนี้มาถึงขั้นที่ว่าเสนอรูปแบบ-คือรัฐยังมีอยู่ไม่หายไปหรอก แต่รูปแบบของความสัมพันธ์ทางอำนาจ ระหว่างแกนหลักสำคัญ ต้องปรับ"

๔. โลกาภิวัตน์ ประชานิยม - เกษียร เตชะพีระ

"ทุกที่ในโลก หลังจากเดินผ่านช่วงกระแสโลกาภิวัตน์ ทางการเมืองให้ประชาธิปไตย โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจให้เสรีนิยม ตอนต่อไปคือเกิดพรรคประชานิยมขึ้น ไม่ว่าจะประชานิยมฝ่ายซ้ายอย่างชาเวซ ประชานิยมฝ่ายขวาอย่างคุณทักษิณ หรือประชานิยมมหัศจรรย์แบบปูติน"

ทำไมเราถึงเป็นอย่างละตินอเมริกาไม่ได้ เขาก็มีคนชั้นกลาง-คนชั้นล่างเยอะ แต่สามารถมีรัฐบาลอย่างชาเวซ อย่างบราซิล เราต่างจากเขาตรงไหน
"ผมคิดว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกับต่าง ละตินอเมริกาทั้งทวีปเป็นเมืองขึ้นมาก่อน ของเรานี่รอดจากความเป็นเมืองขึ้นตะวันตกมาได้ ขณะเดียวกันเรามีระบบอำนาจที่รวมศูนย์มาก เป็นการรวมศูนย์อำนาจมาอยู่ที่เมืองหลวง และก็ปกครองส่วนที่เหลือของประเทศราวกับเป็นอาณานิคม ระบบราชการไทยเราลอกระบบราชการแบบอาณานิคมของฝรั่ง อังกฤษ อินเดีย สิงคโปร์ แล้วเราก็เอามาสวม ระบบนี้มันดีสำหรับการบริหาร ระบบนี้ไม่ดีสำหรับการเป็นตัวแทนประชาชน อันนี้เป็นความรู้พื้นฐานทางรัฐศาสตร์

ระบบบริหารราชการแผ่นดินที่เราสร้างขึ้นมา รัชกาลที่ 5 ท่านเสด็จฯ ดูงาน โดยเฉพาะไปดูงานในอินเดีย พม่า สิงคโปร์ ชวา เหล่านั้นเป็นเมืองขึ้นอังกฤษ ดัตช์ ท่านดูงานมาท่านเห็นความทันสมัย ท่านก็สร้างระบบนั้นขึ้น ระบบแบบนี้ เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพกว่าระบบเดิมของเราที่เป็นแบบเวียง วัง คลัง นา มาเป็นกระทรวง ทบวง กรม แต่มันมีปัญหาเหมือนกัน มันเป็นระบบที่รวมศูนย์อำนาจ เป็นระบบที่ไม่เป็นตัวแทนประชาชน พอเกิด(การปฏิวัติ) 2475 มันมาพร้อมกับการสร้างสถาบันการเมืองต่างๆ และ 2 ระบบมันตึงเครียดกัน เราถึงได้ล้มลุกคลุกคลานมาตั้งนาน มาถึงจุดที่ระบบการเมืองเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยพอจะอยู่ได้ อยู่ได้จนเรานึกว่าจะไม่มีรัฐประหาร-แต่ก็มี ดังนั้นความตึงเครียดนี้มีอยู่ ก็ต้องหาทางปรับปรุง หาทางทำให้ระบบข้าราชการประจำอยู่ภายใต้อำนาจของระบบที่มาจากการเลือกตั้ง ทางเดินสู่ประชาธิปไตยทุกประเทศไม่มีการเดินแบบที่อนุญาตให้ข้าราชการประจำมีอิสระจากอำนาจของประชาชน จากการเลือกตั้ง คือไม่สามารถที่จะสั่งเขาได้เลย"

"ในส่วนที่คล้ายกัน ที่ละตินอเมริกาเจอคล้ายๆ กับเรา ปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์-เสรีนิยม มันเป็นปรากฏการณ์ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก ผมว่ามันน่าสนใจนะ สิ่งที่เราเรียกว่าโลกาภิวัตน์ ในทางการเมืองมันให้ประชาธิปไตย มันบอกที่มีมาก่อนหน้านี้เป็นเผด็จการ เป็นคอมมิวนิสต์ ล้าสมัย มึงเอาประชาธิปไตยไป ขณะเดียวกันในทางเศรษฐกิจมันให้เสรีนิยมใหม่ มันบอกว่ารัฐเหี้ย ตลาดดี เปิดเสรีทุกคนแข่งกัน พวกมือสั้นก็ลำบาก พวกมือยาวก็โกย เป็นการเปลี่ยนการใช้ทรัพยากร มันเหมือนกับโลกาภิวัตน์มาเยือนชาวบ้าน มือหนึ่งให้สิทธิประชาธิปไตย อีกมือหนึ่งกระชากเอาทรัพยากรที่เขาเคยใช้ไป เหมือนอย่างชาวบ้านปากมูล การมาถึงของโลกาภิวัตน์ก็คือ ดึงเอาแม่น้ำที่เขาเคยจับปลาไปผลิตไฟฟ้ารับใช้อุตสากรรม ขณะเดียวกันให้สิทธิประชาธิปไตยกับเขา จะนะ บ่อนอก เหมือนกันดึงทรัพยากรที่เขาเคยใช้เลี้ยงชีพ ให้สิทธิประชาธิปไตยเขา ดังนั้น เขาก็ใช้สิทธิประชาธิปไตยสู้กับมึงสิวะ ก็จะไปสู่การประท้วง และเลือกพรรคที่มีแนวโน้มประชานิยม ทุกที่ในโลก"

"คือมันเหมือนกับหลังจากเดินผ่านช่วงกระแสโลกาภิวัตน์ ทางการเมืองให้ประชาธิปไตย โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจให้เสรีนิยม ตอนต่อไปคือเกิดพรรคประชานิยมขึ้น ไม่ว่าจะประชานิยมฝ่ายซ้ายอย่างชาเวซ ประชานิยมฝ่ายขวาอย่างคุณทักษิณ หรือประชานิยมมหัศจรรย์แบบปูติน ก็คือกูดูแลมึง เสรีนิยมใหม่ทำให้มึงเดือดร้อน-เดี๋ยวกูดูแลให้ กูจะจัดการให้มึง กูรู้มึงอยู่ในตลาดลำบาก ชีวิตไม่มั่นคง ลูกเต้าป่วยทีฉิบหาย ไม่เป็นไร มึงเลือกกูแล้วกูดูแลให้ และก็นำไปสู่นโยบายประชานิยม หรือถ้าดีกว่านั้นคือรัฐสวัสดิการ-เกิดขึ้นทั่วโลก ดังนั้นเป็นที่เข้าใจได้"

"ผมถึงบอกว่าปรากฏการณ์ทักษิณ ระบอบทักษิณ เกิดเพราะเราเดินมาเส้นทางนี้ เราเลือกเดินเส้นทางเสรีนิยมใหม่ เราสร้างคนพวกนี้ขึ้นมาและชีวิตเขาไม่มั่นคง ชีวิตเขาถูกพรากจากทั้งวัฒนธรรม ทั้งฐานทรัพยากรที่เขาเคยกินอาศัย และเขาก็ไม่ได้จบปริญญาตรีเหมือนคนในเมือง แล้วจะให้เขาทำอะไร เขาขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง กรรมกรก่อสร้าง ลูกเมียไม่รู้ว่าจะได้เรียนหรือเปล่า. 30 บาทรักษาทุกโรค บ้านเอื้ออาทร คือคำตอบ แล้วคุณจะไม่ให้เขา vote ทักษิณได้ไง ลำพังนโยบายของรัฐบาลสุรยุทธ์ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่คำตอบสำหรับพวกเขา - นี่ผมหมายถึงนโยบายนะครับ ผมไม่ได้พูดถึงแนวพระราชดำริ ผมพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียงแบบที่รัฐบาลสุรยุทธ์ไม่ใช่คำตอบของเขา ผมไม่คิดว่าประชานิยมของคุณทักษิณเป็นคำตอบที่ดีที่สุด แต่คำตอบที่ดีกว่านี้ยังไม่เคยเห็นพรรคไหนเคยให้เขา"

แล้วทำไมละตินอเมริกาเป็นประชานิยมฝ่ายซ้าย เราเป็นฝ่ายขวา
"มันเป็นเรื่องวัฒนธรรมการเมืองที่ต่างกัน ประวัติศาสตร์การเมืองที่ต่างกัน กองทัพละตินอเมริกามันมีคนอย่างชาเวซขึ้นมาได้ มันมีคนที่เอียงซ้าย คุณลองคิดถึงคนที่เอียงซ้ายในกองทัพไทยสิมีไหม (หัวเราะ) จินตนาการแล้วไม่มี อันนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจมาก คนที่คิดการเมืองแบบเป็นฝ่ายค้านแบบหัวเอียงซ้ายหายไปจากกองทัพไทยได้อย่างไร กองทัพไทยช่างมีประสิทธิภาพอะไรเช่นนี้ สามารถออกแบบระบบการคัดสรรและอบรม ซึ่งทำให้นายทหารแบบหัวเอียงซ้ายอย่างชาเวซหายไป ผมคิดว่าหนสุดท้ายที่เราเห็นนายทหารหัวเอียงซ้ายทำนองนี้อาจจะสมัย 2475 นายทหารประชาธิปไตยที่มีความคิดที่ก้าวหน้า แต่ผมว่าโดยหลักทหารไทยอนุรักษนิยม คำถามคือทำไม ฉะนั้นอย่าฝันถึงชาเวซในเมืองไทย"

แล้วปูตินเป็นแบบไหน
"ปูตินขึ้นมากับเคจีบี ฐานของเขาคือองค์กรข่าวกรองสืบราชการลับที่ใหญ่โตและยั่งยืน ในบรรดาอะไรทั้งหลายที่พังพินาศย่อยยับไป หลังจากเปลี่ยนจากสหภาพโซเวียตเป็นรัสเซีย ที่ยังดำรงคงอยู่ กลไกรัฐส่วนที่ยัง function ดี แม้แต่กองทัพก็ไม่ กองทัพเอาอาวุธมาเร่ขายกระทั่งนิวเคลียร์ ดังนั้นเขามีฐานที่มั่นคง เคจีบีเป็นสิ่งที่ hold ประเทศรัสเซียไว้ด้วยกันหลังจากสหภาพโซเวียตล่ม ประเด็นที่สองคือ สูตรปูตินเป็นสูตรที่ถูกใจคนรัสเซีย ก็คือเศรษฐกิจเสรีต่อไป เว้นบางจุดโดยเฉพาะจุดที่ใหญ่โตมโหฬาร จุดที่เกี่ยวกับพลังงาน รัฐเอากลับไปหมด จะเห็นได้ว่านายทุนรัสเซียเกี่ยวกับพลังงานฉิบหายหมด จับเข้าคุกเข้าตะราง คือรัฐดำเนินเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ แต่ขอกลับเข้ามายึดบางจุดยุทธศาสตร์ พูดง่ายๆ มันไม่โง่พอที่จะปล่อยให้ กฟผ., ปตท.รัสเซียไปเป็นของเอกชน เพราะนี่เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ มีแต่ฉลาดๆ อย่างเราที่ปล่อย ดังนั้นมันริบคืนมาหมด เสรีนิยมแต่รัฐเข้าไปมีบทบาทในจุดยุทธศาสตร์

อันที่สองก็คือ ใช้ฐานเศรษฐกิจของตัวเองที่เข้าไปกุมกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้วนำชีวิตที่มั่นคงกลับมาสู่คนรัสเซีย ฉะนั้นมันแบ่งสูตรระหว่าง strong state รัฐที่เคยฉิบหายวายป่วงหลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย รัฐที่มันแทบจะไม่ function เป็น fail state คือเป็นรัฐที่ล้มเหลว ปูตินกลับเข้าไปกุมจุดยุทธศาสตร์ แล้วปรับปรุงความอ่อนแอของรัฐ อันที่หนึ่ง-ในแง่เศรษฐกิจเขายังเปิดเสรีอยู่, อันที่สองคือ strong state กลับมา. ผมคิดว่าวัฒนธรรมการเมืองรัสเซีย คนจำนวนมากเขาอิงอาศัยรัฐมาสมัยคอมมิวนิสต์ ดังนั้นเขาเจอ strong state เขามีความพอใจ"

น่าคิดว่าสูตรของเมืองไทยเราจะเป็นอย่างไร
"เมืองไทยเรามีความขัดแย้งกันระหว่างแนวโน้มการเมือง 2 แนวโน้ม ซึ่งแนวโน้ม 2 อันนี้ซ้ายขวาไม่เกี่ยว จะเจอคนแต่ละแบบทั้งซ้ายขวา คือแนวโน้มแบบอาศัยรัฐเป็นที่พึ่ง รัฐอุปถัมภ์ กับแนวโน้มแบบพึ่งตัวเอง ต้องการเป็นอิสระ ผมคิดว่าเราเจอแนวโน้มแบบนี้มาตั้งแต่ช่วงที่พยายามจะปรับปรุงประเทศ ก็คือด้านหนึ่งพยายามสร้างรัฐที่เข้มแข็ง และหวังว่ารัฐจะเป็นที่พึ่ง แม้แต่ 2475 เปลี่ยนรูปรัฐไปเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่เราก็ยังจะอุ้มชูดูแลท่าน กับอีกแบบหนึ่งคือทำไมเราต้องไปพึ่งพารัฐ ทำไมเราไม่พึ่งพาตัวเอง เราแก้ปัญหาของเรา จะเรียกแนวโน้มแบบหลังว่าชุมชนอนาธิปไตยก็ได้ แต่แนวโน้มหลักเห็นได้ว่าจะเน้นรัฐอุปถัมภ์ รัฐนิยม"

เกษียรย้ำว่าทั้ง 2 แนวโน้มมีทั้งฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา
"พวกเราหลัง 14 ตุลา ที่ไปเห็นพลังของแนวคิดลัทธิมาร์กซ์ ลัทธิเหมา เราก็เอารัฐนิยมอยู่ช่วงหนึ่ง แล้วก็มีพวกขวาจำนวนมากที่คิดว่าเอารัฐแก้ปัญหาได้ ขอให้คนดีเข้าไป ขณะเดียวกันฝ่ายประชาชนก็มีคนที่เชื่อว่าต้องพึ่งตัวเอง คนอย่างหมอประเวศ, อย่าง อ.นิธิ, เห็นทางออกคือต้องให้ชาวบ้านดูแลตัวเอง รัฐมีอำนาจน้อยลง รัฐเองกลับเป็นปัญหาเสียเยอะ. ในหลายกรณีเป็นสะพานทอดให้กลุ่มทุน ซึ่งหมอประเวศคงไม่ถือเป็นฝ่ายซ้าย หรือคนในฝ่ายขวาอย่าง อ.อคิน รพีพัฒน์ ท่านก็เชียร์ให้ชาวบ้านดูแลตัวเอง"

"คือถ้าเรามองแบบนี้ traditon เมืองไทยมี 2 tradition ในความหมายนี้ผมคิดว่าทั้งทักษิณ ทั้งคณะรัฐประหารไม่ต่างกัน ก็คือเอารัฐเป็นแกนหลักในการแก้ปัญหา คุณทักษิณคือกลุ่มทุนที่มา enjoy ชอบจังเลย-ดีนะ ก็เลยอยากจะกลับไปสู่รัฐ รัฐกุมอำนาจแล้วรับใช้นโยบายในแง่หนึ่งรับใช้คนจน อีกแง่หนึ่งรับใช้กลุ่มทุน"

แนวทางที่ 2 คงยากสำหรับเมืองไทย
"ทุกครั้งที่มีการพูดเรื่องนี้ พอมีคนเสนอว่าแนวทางแบบชุมชนเศรษฐกิจการพึ่งตัวเองของชาวบ้าน ไปคาดหวังอะไรจากรัฐซึ่งบรมห่วยประสิทธิภาพ ไปคาดหวังอะไรจากกลุ่มทุน สมัยนั้นเพื่อนผม-คงเอ่ยชื่อได้ เพราะตอนนี้ความคิดท่านก็เปลี่ยนไปแล้ว อ.สุวินัย ภรณวลัย บอกว่ามันไม่ใช่ทางออกของคนส่วนใหญ่ แต่พอพูดประโยคนี้ไป อ.นิธิ แกก็ตอบ-ซึ่งผมคิดว่าแสบ-เฮ้ยที่มึงเสนอ เรื่องชุมชนพึ่งตัวเอง มันไม่ใช่ทางออกของคนส่วนใหญ่ แต่คนส่วนใหญ่ไม่มีทางออก (หัวเราะ) เส้นทางที่กำลังเดินไปนี่ การพัฒนาแบบทุนนิยมอุตสาหกรรม ทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ประทานโทษโลกร้อนมาเคาะประตูบ้านคุณ คุณแก้ได้ไหม รัฐที่เข้มแข็งที่สุดในโลก อเมริกา เป็นรัฐที่ก่อปัญหาโลกร้อนมากที่สุด และไม่แก้ เพราะเดี๋ยว GDP กูตก ดังนั้นนี่ไม่ใช่ความหวังของคนส่วนใหญ่ รัฐที่เข้มแข็งที่สุดในโลก"

มันอาจจะเป็นทางออก แต่คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยตอนนี้ยังไม่เข้าใจและยอมรับได้ยาก
"ถ้าไม่แก้ปัญหาเหล่านี้ โลกนี้ต้องเสียสละคนจำนวนมาก ให้กับภัยพิบัติ คนที่ดูแลตัวเองไม่ได้ คนที่โดนน้ำท่วมตายไปบ้าง ปล่อยให้อดตายไปบ้าง ถ้าพูดอย่างโหดๆ ผมดูแล้วเราเลี่ยงยาก ยังนึกด้วยซ้ำว่า species พวกเรามีปัญญาที่จะหยุดตัวเองหรือเปล่า เรา enjoy นำมาซึ่งการบริโภคทางวัตถุ มันสนุก เราเห็นว่ามันดี แต่ว่าถ้าเราเดินไปทางนี้ เราจะต้องเสียสละคนจำนวนมาก"

 


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
13 January 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
การที่ผู้คนทั้งหลายจะอยู่กับรัฐบาลที่ตัวเองไม่ชอบได้ เขาต้องมีสิทธิเสรีภาพที่จะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล การที่เขาไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไม่ได้ทำให้เขาเป็นคนไทยน้อยลง หรือทำให้เขาชั่ว พื้นที่สิทธิเสรีภาพของคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเสียงข้างมากต้องมี นอกจากนั้นยังต้องมีพื้นที่ประชาธิปไตย เผื่อรอบหน้าคุณจะแพ้ไง เผื่อรอบหน้าฝ่ายอื่นเขาชนะบ้าง ถ้ามีพื้นที่ ๒ อันนี้เปิดรอรับอยู่ การอยู่กับรัฐบาลที่คุณไม่ชอบพอทนได้ คนอื่นทั่วโลกเขาก็อยู่กันมาแบบนี้ รัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อนๆ นักวิชาการผม ไม่ชอบจอห์น โฮเวิร์ดเลย แกทนอยู่กับโฮเวิร์ด ๔ สมัย
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
midnightuniv.org