โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๔๔ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (December, 24, 12, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

24-12-2550

Interdisciplinarity
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

ทบทวนวรรณกรรมว่าด้วยการศึกษาสหวิทยาการ
สหวิทยาการของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน และแฟรงค์เฟริทสคูล
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการจัดตั้งหลักสูตรสหวิทยาการ และความรู้เกี่ยวเนื่อง

ความรู้แบบสหวิทยาการ เป็นการตอบสนองปัญหาความจริงของโลกปัจจุบันที่พัฒนาขึ้นมาอย่างซับซ้อน
ภายใต้เงื่อนไขใหม่ที่หลากหลาย. ตามความคิดของ Marshall McLuhan
การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์นี้ มีสาเหตุเนื่องมาจากการข้ามผ่านจากยุคสมัยหนึ่ง
ที่ได้รับการก่อรูปขึ้นมาโดยยุคสมัยแห่งจักรกล (mechanization) ที่มีลักษณะต่อเนื่อง
ที่เป็นไปตามลำดับ(sequentiality) สู่ยุคสมัยที่ก่อเกิดขึ้นมาโดยความเร็วของกระแสไฟฟ้า
(electricity) ซึ่งทำให้เกิดลักษณะของการเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน หรือในเวลาเดียวกัน (simultaneity)

สหวิทยาการ(interdisciplinary) ส่วนใหญ่ถูกใช้ในวงการศึกษา
เมื่อบรรดานักวิจัยทั้งหลายตั้งแต่ ๒ สาขาวิชาหรือมากกว่านั้น ได้มารวมตัวกัน
ทำการศึกษาและปรับปรุงแก้ไขเรื่องบางอย่างให้เหมาะสมขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
เรื่องราวเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน(land use) อาจปรากฏออกมาแตกต่างกันไป
เมื่อทำการสำรวจโดยแต่ละสาขาวิชา อย่างเช่น ศึกษาโดยใช้ความรู้ทางชีววิทยา, เคมี,
เศรษฐศาสตร์, ภูมิศาสตร์ และรัฐศาสตร์ เป็นต้น

นอกจากบทความนี้จะเสนอเรื่องความเป็นสหวิทยาการแล้ว ยังมีกระบวนวิชาที่พัฒนามาใกล้เคียงอื่นๆ
เช่น ความหลากหลายทางวิชาการ การข้ามผ่านสาขาวิชา และการข้ามศาสตร์ ซึ่งในบทความนี้
จะได้ทำความเข้าใจกระบวนวิชาเหล่านี้ทั้งหมด ทั้งในแง่ความเหมือนและความต่าง
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๔๔
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๘ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ทบทวนวรรณกรรมว่าด้วยการศึกษาสหวิทยาการ
สหวิทยาการของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน และแฟรงค์เฟริทสคูล
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการจัดตั้งหลักสูตรสหวิทยาการ และความรู้เกี่ยวเนื่อง

กรอบการเรียบเรียงของบทความชิ้นนี้ประกอบด้วย ๔ ส่วนดังต่อไปนี้
๑. ทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน โดยสังเขป
๒. สังคมศาสตร์สหวิทยาการ: มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน
๓. ทำความรู้จักกับแฟรงค์เฟริทสคูล โดยสังเขป
๔. ความเป็นสหวิทยาการของแฟรงค์เฟริท สคูล

ความนำ
ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และความรู้เป็นส่วนๆ อาจใช้แก้ปัญหาในห้องเรียน และห้องปฏิบัติ การในสถาบันการศึกษาได้ แต่ในโลกของความเป็นจริงที่มีความสลับซับซ้อนมาโดยตลอด ความรู้เฉพาะทางและแบ่งแยกความรู้ ความเข้าใจออกเป็นส่วนๆ ไม่อาจแก้ไขปัญหาได้อย่างสมบูรณ์. ที่ผ่านมา บรรดาวิทยาศาสตร์ วิศวกร แพทย์ และนักสังคมศาสตร์ ฯลฯ ต่างประสบกับปัญหานี้โดยทั่วกัน และการนำเอาวิถีปฏิบัติแบบแยกส่วนที่พัฒนาขึ้นอย่างก้าวหน้าหลังยุคสว่าง(the Enlightenment) หรือหลังยุคเหตุผล(the Age of Reason) เป็นต้นมา กลับพอกพูนกองปัญหาขึ้นมาอย่างท่วมท้น

โดยเหตุนี้ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟริท เยอรมนี โดยการนำของ Max Horkheimer ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันแห่งนี้ในปี ค.ศ.1930 จึงได้ริเริ่มให้มีการสังเคราะห์ศาสตร์ต่างๆ เข้ามาแก้ไขปัญหาสังคม และจากเชื้อมูลแห่งการเริ่มต้นดังกล่าว ได้ส่งอิทธิพลให้นักวิชาการจำนวนมากหันมาให้ความสนใจกับการศึกษาแนวทางสหวิทยาการ จนปัจจุบันได้แพร่องค์ความรู้นี้ออกไปทั่วโลก ทั้งนี้เพราะ วิธีการดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือที่จัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เป็นจริงของโลกได้ดี และรอบคอบสมบูรณ์ขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาแรงงาน เกษตรกร ปัญหาสิ่งแวดล้อม โรคเอดส์ หรือปัจจุบันกับความตระหนกเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อน จะเห็นว่า เหตุการณ์ที่เป็นจริงทางธรรมชาติและสังคมเหล่านี้ ไม่อาจเผชิญหน้าได้โดยมิติเดียว หรือความรู้สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเพียงโดดๆ

สำหรับบทความต่อไปนี้ ไม่ใช่ความพยายามที่จะอธิบายว่าสหวิทยาการเป็นคำตอบที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาโลกที่เป็นจริงมากกว่าความรู้แต่ละสาขาวิชาอย่างไร แต่เป็นการเรียบเรียงเกี่ยวกับตัวอย่างการศึกษาแนวทางสหวิทยาการในภาพกว้าง ซึ่งมีการศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบการวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในเรื่องดังกล่าวสำหรับสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศไทย ด้วยการทบทวน ตรวจตรา และพิจารณาถึงความเหมาะสมเพื่อนำมาปรับและประยุกต์ใช้อย่างสอดคล้องกับเงื่อนไข เวลา และพื้นที่แต่ละบริบท โดยบทความนี้จะเริ่มต้นจากการทำความรู้จักมหาวิทยาลัยที่จัดให้มีการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ในสหรัฐอเมริกา และหลักสูตรทางด้านสังคมศาสตร์สหวิทยาการในลักษณะสังเขป ถัดจากนั้นจะย้อนกลับไปพิจารณาเรื่องเกี่ยวเนื่องถึงมหาวิทยาลับแฟรงค์เฟริทอย่างสั้นและกระชับ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับการขนานนามว่า"แฟรงค์เฟริท สคูล" ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญส่วนหนึ่งของการใช้ความรู้แบบสหวิทยาการ ในการวิจัยทางสังคม ของสถาบันการศึกษาแห่งนี้


1. ทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน โดยสังเขป
มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน (Princeton University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มุ่งทางด้านงานวิจัย ซึ่งมีนักศึกษาชายและหญิงเรียนร่วมกัน สถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้เป็นหนึ่งในแปดมหาวิทยาลัยที่จัดอยู่ในกลุ่ม Ivy League (*) แต่เดิมได้รับการก่อตั้งขึ้นที่ Elizabeth, New Jersey, ในปี ค.ศ.1746 ในฐานะที่เป็นวิทยาลัยของนิวเจอร์ซี(the College of New Jersey), ต่อมาได้มีการย้ายสถานที่ตั้งไปยัง Princeton ในปี ค.ศ.1756 (หรืออีก 10 ปีต่อมา) และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ในปี ค.ศ.1896.
(*)The Ivy League is an athletic conference comprising eight private institutions of higher education located in the Northeastern United States. The term is now most commonly used to refer to those eight schools considered as a group.[1] The term has connotations of academic excellence, selectivity in admissions, and a reputation for social elitism.

The term became ubiquitous, especially in sports terminology, after the formation of the NCAA Division I athletic conference founded in 1954, when much of the nation polarized around favorite college teams. The use of the phrase to refer to these schools as a group is widespread; Princeton notes that "the phrase is no longer limited to athletics, and now represents an educational philosophy inherent to the nation's oldest schools.

มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ถือเป็นสถาบันอุดมศึกษาลำดับที่ 4 ในสหรัฐอเมริกาที่มีชั้นเรียนฝึกมารยาทการเข้าสังคมต่างๆ อย่างจริงจังมาแต่อดีต. มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่เคยมีความเกี่ยวพันทางด้านศาสนาอย่างเป็นทางการใดกับนิกายศาสนา ซึ่งนับว่าหายากมากท่ามกลางมหาวิทยาลัยต่างๆ ของอเมริกันในยุคเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม มีครั้งหนึ่งซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ผูกพันอย่างใกล้ชิดกับศาสนาคริสต์นิกายเพรสไบทีเรียน แต่ทุกวันนี้พรินส์ตันเป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่สังกัดนิกายศาสนาใด และไม่เรียกร้องเรื่องศาสนากับบรรดานักศึกษา. มหาวิทยาลัยพรินส์ตันมีความผูกพันกับสถาบันทางศาสนาต่างๆ อย่างเช่น the Institute for Advanced Study, Princeton Theological Seminary และ the Westminster Choir College of Rider University.

โดยจารีต มหาวิทยาลัยพรินส์ตันจะให้ความสนใจลงไปที่การศึกษาระดับปริญญาตรี และงานวิจัยทางวิชาการ แม้ว่าไม่กี่ทศวรรษที่เพิ่งผ่านมานี้ ได้ให้ความเอาใจใส่ในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และได้มีการเรียนการสอนระดับมหาบัณฑิตและโครงการดุษฎีบัณฑิตหลากหลายสาขาวิชา. ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน จัดเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ซึ่งมีหนังสือและตำรากว่า 6 ล้านเล่ม ท่ามกลางคณะวิชาและหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย, สำนักวิจัยต่างๆ อย่างเช่น มานุษยวิทยา, ภูมิฟิสิกส์(geophysics), กีฏวิทยา, และวิทยาศาสตร์หุ่นยนต์ ขณะที่ Forrestal Campus จัดเป็นแคมปัสที่มีความเชี่ยวชาญและความสะดวกสบายต่างๆ ในการศึกษาเกี่ยวกับพลาสมาฟิสิกส์ และอุตินิยมวิทยา

องค์กรต่างๆ ในมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน
มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ได้รับการจัดอยู่ในกลุ่มของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีความร่ำรวยที่สุด ด้วยเงินบริจาคถึง 15.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อจัดลำดับแล้วถือว่ามีทุนสนับสนุนมากเป็นอันดับ 4 ในสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อดูจากเงินบริจาคเทียบกับจำนวนนักศึกษา มหาวิทยาลัยพรินส์ตันถือว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับเงินบริจาคมากที่สุดในโลก. และการบริจาคดังกล่าวเป็นไปอย่างสม่ำเสมอโดยผ่านการอุทิศอย่างต่อเนื่องของบรรดาศิษย์เก่า และทุนทรัพย์เหล่านี้ได้รับการธำรงรักษาโดยบรรดาที่ปรึกษาการลงทุนต่างๆ. ความมั่งคั่งอื่นๆ ของพรินส์ตันก็คือ การลงทุนในพิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการสะสมภาพผลงานศิลปะของ Claude Monet และ Andy Warhol, ท่ามกลางบรรดาศิลปินที่โดดเด่นคนอื่นๆ

สถานที่พักภายในมหาวิทยาลัย
ที่พักภายในมหาวิทยาลัย ได้รับการประกันให้กับบรรดานักศึกษาปริญญาตรีตลอดเวลาที่ศึกษาอยู่ 4 ปี และจำนวนนักศึกษามากกว่า 95 เปอร์เซนต์อาศัยอยู่ในหอพักของแคมปัส. นักศึกษาใหม่และนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จะอาศัยอยู่ใน residential colleges. (วิทยาลัยที่พำนัก)(*) สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และนักศึกษาปีสุดท้ายมีทางเลือกที่จะอาศัยอยู่นอกแคมปัส แต่จำนวนมากได้เช่าอยู่ในพื้นที่ของพรินส์ตัน ซึ่งอันที่จริงมหาวิทยาลัยสนับสนุนให้นักศึกษาเกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ตามหอพักต่างๆ. ชีวิตทางสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีวนเวียนอยู่รอบๆ residential colleges เหล่านี้ และได้จัดให้มีคลับรับประทานอาหารต่างๆ (eating clubs) (**) ทั้งนักศึกษาชายและหญิงโดยไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งนักศึกษาทั้งหลายสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมกระทั่งปลายปีที่สองของพวกเขา นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสังคมอื่นๆ อีกจำนวนมากตลอดปีการศึกษาในมหาวิทยาลัย
(*)A residential college is an organisational pattern for a division of a university that places academic activity in a community setting of students and faculty, usually at a residence and with shared meals, the college having a degree of autonomy and a federated relationship with the overall university. However, the term residential college is also used to describe a variety of other patterns, ranging from a dormitory with some academic programming, to continuing education programs for adults lasting a few days.

(**)The majority of upperclassmen at Princeton University take their meals in one of ten eating clubs, which are private organizations resembling both dining halls and social houses.


มหาวิทยาลัยพรินส์ตันมีที่พักสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีอยู่ 6 แห่ง แต่ละแห่งบรรจุนักศึกษาได้ประมาณ 500 คน ทั้งนักศึกษาใหม่และนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และมีนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 หยิบมือหนึ่งอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งคอยทำหน้าที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษากับบรรดานักศึกษาทั้งหลาย. วิทยาลัยที่พำนักแต่ละแห่ง จะประกอบด้วยหอพักจำนวนหนึ่ง, ห้องอาหาร, สิ่งอำนวยความสะดวกอันหลากหลาย - ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่สำหรับการศึกษา, ห้องสมุดต่างๆ, สถานที่สำหรับใช้เพื่อการแสดง-สันทนาการ, ห้องมืด และอื่นๆ ฯลฯ - นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมของนักบริหาร ตลอดทั้งครูอาจารย์ที่พร้อมให้คำปรึกษา และความช่วยเหลือ

สภาพโดยทั่วไปของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ได้จัดให้มีบรรยากาศการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงแต่ในชั้นเรียนเท่านั้น สังเกตจากตัวอย่างข้างต้นที่วิทยาลัยที่พำนัก(residental college) ซึ่งประกอบด้วยห้องสมุดที่มีกระจายอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังมีพิพิธภัณฑ์ศิลปะ โรงละคร และโบสถ์ด้วย และดังที่ทราบกันว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้เน้นในเรื่องของการวิจัย และพัฒนาการทางความรู้ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม โดยวัตถุประสงค์ของบทความนี้ต้องการสำรวจถึงการศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์สหวิทยาการ จึงเว้นที่จะกล่าวถึงการศึกษาสหวิทยาการในสายวิทยาศาสตร์ ดังมีรายละเอียดโดยสังเขปต่อไปนี้

2. สังคมศาสตร์สหวิทยาการ: มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน
Opportunities for Interdisciplinary Study - โอกาสการศึกษาสหวิทยาการ
ภาควิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน สนับสนุนนักศึกษาระดับปริญญาโท เข้าศึกษาในโครงการสหวิทยาการศึกษา และในทางตรงข้ามก็กระตุ้นให้นักศึกษาติดตามงานการสอนต่างๆ ที่อาจจัดให้มีมิติเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางสังคมวิทยาด้านต่างๆ. ในทุกๆ ความพยายามได้ถูกทำขึ้นเพื่อช่วยนักศึกษาสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานอย่างใกล้ชิดกับสมาชิกในภาควิชา และโครงการต่างๆ ที่สังกัดอยู่ในภาควิชาสังคมฯ นี้. บ่อยครั้ง บรรดานักศึกษาได้เข้าสัมนาในภาควิชาเศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์, ปรัชญา, รัฐศาสตร์ และศาสนา เช่นเดียวกับในสำนักวูดโร วิลสัน สคูล ที่เกี่ยวข้องกับกิจการสาธารณะและนโยบายต่างประเทศ. ในลำดับต่อไป จะได้มีการกล่าวถึงโครงการสหวิทยาการต่างๆ ที่สำคัญของภาควิชาสังคมวิทยา ดังมีรายละเอียดดังนี้

African American Studies Program - โครงการแอฟริกันอเมริกันศึกษา
สำหรับโครงการแอฟริกันอเมริกันศึกษา เป็นโครงการระดับปริญญาเอกในภาควิชาสังคมวิทยา ที่ดำเนินรอยตามโครงการสหวิทยาการ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสภาพและประสบการณ์ของผู้คนซึ่งมีบรรพบุรุษเป็นชาวแอฟริกันในสหรัฐอเมริกา โดยจะได้รับการมองในเชิงความสัมพันธ์กับประสบการณ์ของคนผิวดำในส่วนอื่นๆ ของโลก. โครงการดังกล่าวได้รับการดูแลควบคุมโดยคณะกรรมการระหว่างภาควิชาสังคมวิทยา ซึ่งจะรวมนักศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไปและสมาชิกในสาขาวิชาต่างๆ ของภาควิชาเข้าร่วม. วัตถุประสงค์ของโครงการก็คือ จะช่วยฝึกบรรดาผู้เชี่ยวชาญซึ่งต้องการเป็นนักวิชาการ และผู้มีความประสงค์ก้าวเข้าสู่วิชาชีพที่ต้องการสำเร็จจากสถาบันแอฟริกันอเมริกันศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถสัมพันธ์กับสาขาวิชาอื่นๆ

Center for Arts and Cultural Policy Studies - ศูนย์ศิลปะและนโยบายวัฒนธรรมศึกษา
ศูนย์ศิลปะและนโยบายวัฒนธรรมศึกษา ได้รับการสร้างขึ้นเพื่อปรับปรุงให้เกิดความชัดเจน ความถูกต้องแม่นยำ และความช่ำชองในโครงการและการปฏิบัติการต่างๆ เกี่ยวกับโปรแกรมส่วนตัวและสาธารณะ ซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตทางศิลปะและวัฒนธรรมของอเมริกัน โครงการและกิจกรรมดังกล่าวได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อก่อรูปโครงสร้างพื้นฐานการเป็นนักวิชาการที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ซึ่งจะได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกรวบรวมขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับองค์กรทางวัฒนธรรมต่างๆ รวมถึงกิจกรรม และผู้จัดการทางวัฒนธรรมทั้งหลาย ตลอดทั้งผู้ที่ผลิตงานวิจัยและวิเคราะห์เป็นระยะๆ ในหัวข้อสำคัญๆ ทางด้านศิลปะและนโยบายวัฒนธรรม

ศูนย์ดังกล่าวจะนำพาภารกิจนี้จนสัมฤทธิผล โดยผ่านงานเอกสารวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ และศูนย์แห่งนี้ยังให้การส่งเสริมกระบวนวิชาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยการจัดหาทุนสนับสนุนเพื่อทำการรวบรวมข้อมูลและพยายามเผยแพร่ข่าวสารออกไปด้วย นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้มีการจัดสัมนา, การประชุม, และการประชุมเชิงปฏิบัติการต่างๆ. ศูนย์นี้ยังได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อนนักวิจัย และหาทุนมาสนับสนุนการแข่งขันให้กับบรรดานักศึกษาระดับปริญญาโทของพรินส์ตัน และรองรับการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นประจำทุกเดือนสำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในระดับปริญญาโท รวมถึงคณะวิชา ภาควิชาที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงกันทั้งหลาย

Center for Research on Child Wellbeing (CRCW) - ศูนย์วิจัยเพื่อสุขภาวะของพวกเด็กๆ
พันธกิจของศูนย์วิจัยเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีหรือสุขภาวะของพวกเด็กๆ (CRCW) ต้องการที่จะช่วยพัฒนาในด้านนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของบรรดาเด็กๆ ทั้งในส่วนของเรื่องการศึกษา, สาธารณสุข, รายได้, ครอบครัว, และชุมชนให้มีประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจ รวมถึงความเป็นไปได้ทางการเมือง และความงอกงามทางสังคม-วัฒนธรรม. ศูนย์วิจัยแห่งนี้จะทำการชักนำให้เกิดการวิจัยขั้นพื้นฐานใหม่ๆ เพื่อให้ความรู้แก่นักศึกษา และคณะวิชาต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นอันหลากหลาย และเผยแพร่ข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบรรดานักวิจัยและสาธารณชนโดยทั่วไป. ศูนย์ดังกล่าวจะให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการขับเคลื่อนการตัดสินใจด้วยข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคเอกชนและนโยบายสาธารณะ ซึ่งสามารถให้การสนับสนุนเด็กให้มีความเป็นอยู่และมีสุขภาวะที่ดี

Center for Energy and Environmental Studies - ศูนย์พลังงานและสิ่งแวดล้อมศึกษา
ศูนย์พลังงานและสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นกลุ่มก้อนความหลากหลายทางวิชาการ(multidisciplinary group)ที่ให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับการศึกษาเรื่องปัญหาภูมิภาค, ปัญหาประชาชาติ, และปัญหาโลกซึ่งเกี่ยวพันกับทรัพยากรธรรมชาติและมลภาวะ, พลังงานแสงอาทิตย์ การจัดการกากนิวเคลียร์ อันเป็นรากฐานทางสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับนโยบายสิ่งแวดล้อมต่างๆ และประเด็นทางจริยธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำนโยบายทั้งหลายเหล่านี้ ศูนย์แห่งนี้จะให้มีและตระเตรียมความสะดวกสบายต่างๆ สำหรับการวิจัย, การจัดประชุม, การประชุมเชิงปฏิบัติการ, และการสัมนา ซึ่งบรรดานักสังคมศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์และชีวิต, นักมนุษยศาสตร์, และนักผังเมืองมาร่วมมือกันทำงาน

University Center for Human Values - ศูนย์มหาวิทยาลัยเพื่อคุณค่ามนุษย์
ศูนย์มหาวิทยาลัยเพื่อคุณค่ามนุษย์ได้ให้การส่งเสริมการพูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโทมาจัดสัมนาต่างๆ หรือทำงานวิจัย เกี่ยวกับปัญหาทางด้านจริยธรรมและประเมินคุณค่าที่ทอดข้ามสาขาวิชาต่างๆ. นักศึกษาระดับปริญญาโทจากต่างภาควิชา จะได้มีโอกาสเข้าศึกษาโดยการได้รับการสนับสนุนจากศูนย์กลางดังกล่าวนี้ ซึ่งพวกเขาสามารถเข้าฟังคำบรรยายและแลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้ พร้อมมีส่วนร่วมในการสัมนาในระดับบัณฑิตศึกษา

นอกจากนี้ ทางศูนย์ยังให้การสนับสนุนงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกทางด้านจริยศาสตร์และเรื่องเชิงคุณค่าเกี่ยวกับมนุษย์ด้วย โดยการให้รางวัลผลงานวิทยานิพนธ์เป็นประจำทุกปี เรียกว่า Graduate Prize Fellowships กับกลุ่มนักวิจัยที่ศึกษาหลักสูตรหลังปริญญาเอก (post-generals Ph.D. candidates). บรรดานักศึกษาซึ่งสนใจในทฤษฎีทางสังคมวิทยา, ปรัชญาการเมือง, ศาสนา, และการวิจัยเชิงประจักษ์เกี่ยวกับประเด็นบรรทัดฐานต่างๆ เหล่านี้ จะได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับศูนย์มหาวิทยาลัยฯ แห่งนี้

Industrial Relations Section - ภาคความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรม
สำหรับหลักสูตรภาคความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรม จะให้ความสนใจเป็นการเฉพาะในประเด็นปัญหาด้านแรงงานและความสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมในสหรัฐฯ แต่อย่างไรก็ตาม ในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ยังได้ให้ความเอาใจใส่ลงไปที่ปัญหาพิเศษในเรื่องการรับสมัครงาน และการฝึกฝนด้วยในบริบทของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม. โครงการนี้จะเตรียมห้องสมุดพิเศษขึ้นมา และทรัพยากรด้านข้อมูลต่างๆ (data resources) รวมไปถึงการสมาคมสำหรับนักศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อขอบเขตหลักสูตรวิชาดังกล่าว

Program in Latin American Studies - โครงการละตินอเมริกันศึกษา
ด้วยคณะกรรมการระหว่างภาควิชาของคณะต่างๆ 14 ภาควิชา จาก 8 คณะ โครงการนี้จะช่วยนักศึกษาระดับปริญญาโทที่สนใจในเรื่องละตินอเมริกา โดยการจัดสรรทุนเพื่อการทำวิจัยและการเดินทางทัศนศึกษาให้กับบรรดานักศึกษาทั้งหลาย ทั้งนี้จะมีการให้คำปรึกษา และช่วยประสานงานภาคปฏิบัติร่วมกันในลักษณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยพรินส์ตันยังให้บริการด้านห้องสมุดขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับละตินอเมริกา และเป็นที่ตั้งของโครงการวิชาเอกที่หลากหลาย ในเรื่องเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นของผู้คนจากภูมิภาคนี้

Center for Migration and Development - ศูนย์ศึกษาการอพยพย้ายถิ่นและการพัฒนา
ศูนย์ศึกษาการอพยพย้ายถิ่นและการพัฒนา ได้รับการสถาปนาขึ้นเพื่อเปิดโอกาสหรืออำนวยประโยชน์ต่อคณะวิชาต่างๆ ที่สนใจในปัญหาเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่น เป้าหมายของศูนย์แห่งนี้คือต้องการส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และการระดมสติปัญญาจากคณะต่างๆ รวมถึงบรรดานักศึกษา โดยทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างโครงการทั้งหลาย และสาขาวิชาความรู้เฉพาะด้านต่างๆ เข้าหากัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการวิจัยร่วมกันอย่างหลากหลายอันเกี่ยวเนื่องกับปัญหาการอพยพและการพัฒนา นอกจากนี้ ยังได้จัดหาข้อมูลและเอกสารสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องการอพยพดังกล่าวโดยเฉพาะ และช่วยยกระดับกระบวนวิชาต่างๆ. ศูนย์นี้ยังสนับสนุนให้มีการจัดสัมนา ประชุมปรึกษา และรวบรวมงานภาคเอกสารต่างๆ ด้วย

Office of Population Research - สำนักวิจัยด้านประชากร
สำนักวิจัยด้านประชากร ประกอบด้วยทีมงานมืออาชีพที่ดึงมาจากภาควิชาสังคมวิทยา, เศรษฐศาสตร์, และสถาบันวูดโร วิลสัน และยังประกอบด้วยห้องสมุดพิเศษและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างครบถ้วนด้านสถิติ สำนักแห่งนี้จะเกี่ยวพันกับการวิจัยสถิติประชากร ทั้งในสหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆ ทั่วโลก. นอกจากนี้ยังได้มีการตีพิมพ์ดัชนีประชากร และเอกสารวิชาการขององค์กรและสมาคมประชากรศาสตร์ของอเมริกาด้วย. ในส่วนของนักศึกษาระดับปริญญาโททางด้านสังคมวิทยา มักจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับโครงการวิจัยของสำนักแห่งนี้ ทั้งในการเป็นผู้ช่วยวิจัย และการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา

Council on Regional Studies - สภาภูมิภาคศึกษา
สภาภูมิภาคศึกษาประกอบด้วยโปรแกรมต่างๆ ทางด้านเอเชียตะวันออกศึกษา, ละตินอเมริกาศึกษา, ตะวันออกใกล้และรัสเซียศึกษา, แอฟริกันศึกษา, และยุโรปศึกษา สำหรับแต่ละพื้นที่ภูมิศาสตร์เหล่านี้ คณะกรรมการสหวิทยาการของคณะ จะได้เตรียมการฝึกฝนภาคปฏิบัติเป็นพิเศษในเรื่องภาษา และการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ ประสานกับกิจกรรมต่างๆ ทางวิชาการและการวิจัยทางด้านภูมิภาค และยังมีห้องสมุดพิเศษที่รวมรวมหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้โดยเฉพาะ. นอกจากนั้น สภาภูมิภาคศึกษายังจัดให้มีการสัมนาและโครงการวิจัยร่วมกันของนักศึกษาระดับปริญญาโท ซึ่งสนใจในการทำงานวิจัยเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งบ่อยครั้งได้รับทุนสนับสนุนในการศึกษาทางด้านภาษาและค่าเดินทางทัศนศึกษา โดยผ่านการสนับสนุนของสภาฯ แห่งนี้

Center for the Study of Religion - ศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับศาสนา
ศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับศาสนา เป็นการริเริ่มที่สำคัญของมหาวิทยาลัยในด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพื่อทำให้การวิจัยในลักษณะสหวิทยาการ และการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องศาสนามีความสะดวกมากขึ้น. ศูนย์จะให้การส่งเสริมโครงการในแนวทางนี้เป็นประจำทุกปี และได้รับการกำกับโดยสมาชิกต่างๆ ของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ทางศูนย์ยังได้มีการเชิญเพื่อนนักวิจัยมาเยี่ยมเยือน มีกลุ่มนักวิจัยหลังปริญญาเอก มีการสัมนาสหวิทยาการประจำสัปดาห์ และมีการให้รางวัลผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกด้วย นอกจากนี้ยังเปิดให้มีการบรรยายสาธารณะ และการสัมนานักศึกษาใหม่. บรรดานักศึกษาระดับสูงซึ่งมีความเชี่ยวชาญเรื่องสังคมวิทยาศาสนา มักจะทำโครงงานวิจัยโดยได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากทางศูนย์ฯ ตลอดรวมถึงการมีส่วนร่วมในการสัมนาสหวิทยาการ และมีการมอบรางวัลงานวิจัยระดับปริญญาเอกด้วย

Shelby Cullom Davis Center for Historical Studies - ศูนย์ประวัติศาสตร์ศึกษา Shelby Cullom David
ศูนย์ประวัติศาสตร์ศึกษาฯ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เดวิดเซ็นเตอร์ ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ.1968 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศูนย์วิจัยประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยพรินส์ตันขึ้น โดยจะให้การสนับสนุนนวัตกรรมใหม่และการทดลองในเรื่องการเรียนการสอน และกระตุ้นให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้สติปัญญาทั้งในส่วนของภาควิชาประวัติศาสตร์ และระหว่างภาควิชาดังกล่าวกับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ศูนย์แห่งนี้ยังให้การส่งเสริมการสัมนาเกี่ยวกับงานวิจัย ซึ่งได้รวบรวมกลุ่มของนักวิชาการและนักวิจัยจากสหรัฐฯ และต่างประเทศ ที่สนใจในเรื่องดังกล่าวมาร่วมกันสัมนาเป็นประจำทุกปี บรรดานักศึกษาระดับปริญญาโทที่สนใจในสังคมวิทยาเชิงประวัติศาสตร์ มักจะมีส่วนร่วมกับการสัมนาที่ศูนย์แห่งนี้เสมอ

Program in Women's Studies - โครงการสตรีศึกษา
โครงการสตรีศึกษาจะมีการประชุมอภิปรายในลักษณะสหวิทยาการ เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาเพศสภาพในสังคมต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งในอดีตและปัจจุบัน และเพื่อให้การสนับสนุนบรรดานักศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาที่เชี่ยวชาญของพวกเขา นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมนักศึกษาระดับปริญญาโทให้มีการสนทนาพูดคุยเรื่องงานวิจัยเป็นประจำทุกสัปดาห์ ซึ่งในโอกาสดังกล่าว ทำให้บรรดานักศึกษาและอาจารย์ประจำคณะได้มาพบปะกัน และได้ทดลองความคิดใหม่ๆ ที่ท้าทายทางด้านสติปัญญา ด้วยบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการและเป็นประชาธิปไตย. สำหรับภาควิชาสังคมวิทยามีความผูกพันใกล้ชิดกับโครงการสตรีศึกษามาเป็นเวลายาวนาน และมีความร่วมมือกันในด้านต่างๆ มาโดยตลอด

Princeton Institute for International and Regional Studies ภูมิภาคและต่างประเทศศึกษา สถาบันพรินส์ตัน (PIIRS)
สถาบันพรินส์ตันเพื่อภูมิภาคและต่างประเทศศึกษา (PIIRS) ได้สถาปนาขึ้นในปี ค.ศ.2003 โดยให้การส่งเสริมความร่วมมือ ทุนการศึกษาในลักษณะสหวิทยาการ และการเรียนการสอนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาความสำคัญในภูมิภาคต่างๆ ของโลก นอกจากนี้ยังรวมเอากิจกรรมทั้งหลาย และความเข้มแข็งของศูนย์ต่างประเทศศึกษาและสภาภูมิภาคศึกษาที่ก่อตั้งมาก่อนหน้านี้แล้วหลอมเข้าไว้ด้วยกัน. PIIRS มีวัตถุประสงค์ที่จะบูรณาการภูมิภาคและต่างประเทศศึกษาของมหาวิทยาลัย เข้ามาสู่มุมมองที่สอดคล้องและมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องราวของโลกมารวมไว้ ในพื้นที่การศึกษาขนาดใหญ่นี้ PIIRS ได้ทำให้เกิดความเป็นผู้นำในการวิจัยในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับภูมิภาคและระหว่างประเทศ มีการเชื่อมโยงกบมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ ทั่วโลก เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่ศึกษาดังกล่าวอย่างมีชีวิตชีวา ท่ามกลางคณะ ภาควิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยฯ และนักศึกษาที่สนใจปัญหาระหว่างประเทศ

Research clusters - กลุ่มงานวิจัยต่างๆ
กลุ่มงานวิจัยต่างๆ ได้เตรียมกรอบโครงสำหรับการวิจัยและการฝึกปฏิบัติในระดับปริญญาเอก และจัดหาเครื่องมือในการเชื่อมประสานชุมชนครูบาอาจารย์และนักศึกษาอย่างยั่งยืน ซึ่งมีความปรารถนาที่จะก้าวสู่ความโดดเด่น และมีชื่อเสียงระดับสูงสุดทางวิชาการในพื้นที่ทางการศึกษานี้โดยเฉพาะของภาควิชาที่มีความเข้มแข็ง. ในแต่ละกลุ่มงานวิจัย ได้ถูกกำหนดหรือนิยามโดยสมาชิกที่หลากหลายของคณะวิชาต่างๆ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักทั้งในระดับชาติและนานาชาติในฐานะนักวิชาการในปริมณฑลความรู้เหล่านี้

กลุ่มงานวิจัยต่างๆ จะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นประจำทุกสัปดาห์ ในฐานะที่เป็นเวทีอภิปรายสำหรับนักศึกษาและอาจารย์ภาควิชาต่างๆ ซึ่งจะมาพบปะกันบนพื้นฐานปกติและเพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของผลงาน กระบวนกลุ่มงานวิจัยดังกล่าว เรียงลำดับจากการสัมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ ไปจนถึงการสอนพิเศษ ซึ่งจะถูกทำขึ้นเป็นปกติเพื่อแนะนำนักศึกษาระดับปริญญาโททั้งหลายสู่ขอบเขตความรู้ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อตระเตรียมพวกเขาด้วยการฝึกปฏิบัติและพัฒนาก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น ไป อีกทั้งเพื่อให้นักศึกษาจะสามารถทำงานวิจัยของตนให้สำเร็จลุล่วงไปได้. นอกจากนี้ยังมีโครงการสนับสนุนทุนวิจัย การรวมเข้ากับโครงการและศูนย์อื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน และมีประชุมครั้งคราวรายรอบกิจกรรมทั้งหลายเกี่ยวกับกลุ่มงานวิจัย ด้วยเหตุนี้ ภาควิชาสังคมวิทยาจึงเป็นที่ดึงดูดนักศึกษาระดับปริญญาโท ที่ปรารถนาจะมีความเชี่ยวชาญในงานวิจัยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือมากกว่านั้นในงานวิจัยเหล่านี้

Graduate Studies - การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในภาควิชาสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน จะเตรียมนักศึกษาในระดับปริญญาเอกทางปรัชญา โดยโปรแกรมการศึกษานี้จะเพ่งความสนใจไปในเรื่องการนำนักศึกษาที่มีความสามารถพิเศษในฐานะผู้บริโภคความรู้ เปลี่ยนแปลงพวกเขาสู่การเป็นผู้ผลิตความรู้ทางวิชาการ. บรรดานักศึกษาจะได้รับการกระตุ้นให้เพ่งความสนใจในโครงงานวิจัยอิสระมาตั้งแต่ต้น และทำงานอย่างใกล้ชิดกับคณะ, ภาควิชา, ผ่านกระบวนวิชา และการเป็นผู้ช่วยวิจัยการศึกษาอิสระ และการให้คำปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการ - เพื่อพัฒนาทักษะงานวิจัย

ภายใต้ข้อแนะนำทั่วไป เราสนับสนุนนักศึกษาทั้งหลายให้พัฒนาโปรแกรมการศึกษาส่วนตัว(individualized programs - ที่นักศึกษาทั้งหลายเป็นผู้ออกแบบขึ้นเอง) ที่จะมาบรรจบกับความสนใจและความต้องการโดยเฉพาะของพวกเขา. ส่วนการรับเข้าศึกษาจะเป็นไปในลักษณะคัดเลือก นั่นคือ เราจะค้นหาความคิดสร้างสรรค์ คนที่มีความสามารถ, ซึ่งความสนใจและความมุ่งมาดปรารถนาของเขาจะได้รับการบริการอย่างดี โดยความเข้มแข็งเป็นแกนหลักทางวิชาการของทางบัณฑิตศึกษา. สำหรับนักศึกษาจะมาจากภูมิหลังทางวิชาการส่วนตัวที่หลากหลาย จากคณะ หรือภาควิชาต่างๆ ยกเว้นสังคมวิทยาในระดับปริญญาตรี

Workshop and Semenars - การประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมนา
สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมนา ซึ่งจัดให้มีขึ้นในภาควิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ประกอบไปด้วยเวทีอันหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น
DEPARTMENTAL COLLOQUIUM - Economic Sociology Workshop (การสัมนา - การประชุมเชิงปฏิบัติการทางสังคมวิทยาเศรษฐกิจ) และ DEPARTMENTAL COLLOQUIUM - Workshop on Culture and Inequality (การสัมนา - การประชุมเชิงปฏิบัติการทางด้านวัฒนธรรมและความไม่เสมอภาค) เป็นต้น

Talk Series Offered by Related Centers and Programs - ชุดการสนทนาต่างๆ โดยศูนย์และโครงการเกี่ยวเนื่อง
ในส่วนของชุดการสนทนา โดยศูนย์และโครงการเกี่ยวเนื่อง มีตัวอย่างดังต่อไปนี้:

- Migration and Development Workshop - การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นและการพัฒนา เป็นความสนใจโดยเฉพาะของการวิจัยของศูนย์ศึกษาการอพยพและการพัฒนา ซึ่งเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างชุมชนผู้อพยพต่างๆ ในโลกที่พัฒนาแล้ว กับการเจริญเติบโตและพัฒนาการในอนาคตของชาติที่มีการอพยพทั้งหลาย

- Office of Population Research Colloquia Series - การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ สำนักวิจัยทางด้านประชากร ทั้งหมดของการวิจัยและโครงการฝึกปฏิบัติที่สำนักประชากรคือ ชุดการสัมนาประจำสัปดาห์ ที่จะจัดให้มีเวทีอภิปรายโดยทีมงานของสำนักประชากรศาสตร์ และมีนักวิชาการรับเชิญต่างๆ มาสร้างความคุ้นเคยกับโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่

- Program in Law and Public Affairs - โครงการทางกฎหมายและกิจการสาธารณะ
โครงการดังล่าวจะรวมเอาคณะวิชา และภาควิชาต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในความหลากหลายสาขาวิชา(multidisciplinary) ของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ซึ่งมีความรู้และมุมมองต่างๆ มานำเสนองานทางวิชาการและความเชี่ยวชาญภาคปฏิบัติด้านความรู้กฎหมาย และโปรแกรมกฎหมายและกิจการสาธารณะ เพื่อมาสร้างเวทีอภิปรายใหม่ๆ อันน่าตื่นเต้นขึ้น ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางกฎหมาย และสถาบันต่างๆ ซึ่งต้องการการพูดคุยในประเด็นปัญหาที่ความสลับซับซ้อนของศตวรรษใหม่

Woodrow Wilson School of Public and International Affairs
สถาบันวูดโร วิลสัน เกี่ยวกับกิจการสาธารณะและนโยบายต่างประเทศ
สถาบันวูดโร วิลสัน เกี่ยวกับกิจการสาธารณะและนโยบายต่างประเทศ (WWS) จะให้การศึกษาอย่างกว้างขวางแก่นักศึกษาทั้งจากสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก ซึ่งแสวงหาหนทางที่จะประยุกต์ความรู้และทักษะของพวกเขาสู่แนวทางการแก้ปัญหาสาธารณะต่างๆ อย่างกระตือรือร้น ทั้งในขอบเขตของกิจการภายในประเทศและระหว่างประเทศ

Princeton Institute for International and Regional Studies - สถาบันพรินส์ตันเพื่อภูมิภาคและระหว่างประเทศศึกษา 33333333
สถาบันพรินส์ตันเพื่อภูมิภาคศึกษาและระหว่างประเทศศึกษา จะรวมเอากิจกรรมและความเข้มแข็งของศูนย์นานาชาติศึกษาและสภาภูมิภาคศึกษาที่มีอยู่ก่อนแล้วเข้าด้วยกัน. PIIRS มีวัตถุประสงค์ที่จะบูรณาการความรู้เหล่านี้เข้าหากันในมุมมองที่สอดคล้องและมีความเชี่ยวชาญในกิจการโลก และเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนสนทนากันในความรู้ที่เกี่ยวเนื่อง

NEW: FOR JUNIOR SOCIOLOGY MAJORS PLANNING TO STUDY ABROAD
การวางแผนศึกษาต่อต่างประเทศของนักศึกษาปีต้น วิชาเอกสังคมวิทยา

ภาควิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ได้มีการจัดสรรทุนที่เป็นไปตามความนิยมเกี่ยวกับสังคมวิทยานานาชาติทั่วโลก ภาควิชาเราเชื่อว่า การศึกษาต่างประเทศจะช่วยเพิ่มเติมมิติอันทรงคุณค่าต่อประสบการณ์ในทางสังคมวิทยา เช่นเดียวกับพื้นฐานที่เป็นไปได้อันหนึ่งเกี่ยวกับงานวิจัยอิสระของนักศึกษาปีแรกๆ และปีสุดท้าย. ภาควิชาฯ จะกระตุ้นนักศึกษาให้ได้ประโยชน์เกี่ยวกับโปรแกรมการศึกษาที่ดีๆ จำนวนมากมายในประเทศต่างๆ ซึ่งมีนักศึกษาของมหาวิทยาลัยพรินส์ตันอยู่ นอกจากนี้ ภาควิชาสังคมวิทยายังสร้างกระบวนวิชาใหม่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงเป็นพิเศษขึ้น สำหรับการสัมนาของนักศึกษาปีแรกๆ และผู้ให้ความใส่ใจในการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อเขียนรายงานที่ตนสนใจเกี่ยวกับปัญหาของโลกและปัญหาระหว่างประเทศ (การสัมนานี้ยังเหมาะกับคนที่สนใจในเรื่องสังคมวิทยาโลกและระหว่างประเทศ ขณะที่ยังคงเป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยพรินส์ตันด้วย)

วิชาสังคมวิทยา รหัส 300 นี้ จะเพ่งความใส่ใจไปที่ปัญหาเกี่ยวกับระเบียบวิธีที่เป็นวิชาแกนเดียวกันส่วนใหญ่ ดังที่มีอยู่ในกระบวนวิชาตามหลักสูตรมาตรฐาน แต่จะการเน้นลงไปที่การเตรียมการพิเศษในขอบเขตวิชาดังกล่าว เพื่อให้บรรดานักศึกษาทั้งหลายในวิชาสัมนา ริเริ่มงานวิชาการภาคเอกสารในชั้นปีแรกของพวกเขาตั้งแต่ภาคการศึกษาต้น คนที่ใช้เวลาช่วงฤดูใบไม้ผลิในต่างประเทศจะได้รับคำแนะนำอย่างต่อเนื่องโดยอาจารย์ผู้สอนวิชาสัมนานี้ ซึ่งจะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเอกสารรายงานของพวกเขาจนสำเร็จ ขณะที่พวกเขาเดินทางจากพรินส์ตันไปศึกษายังประเทศอื่น

หลังจากทำความเข้าใจโดยสังเขปเกี่ยวกับเรื่องกายภาพ และองค์ประกอบการทางการศึกษา รวมถึงการเรียนการสอนในแบบสหวิทยาการของภาควิชาสังคมวิทยา และการแนะนำให้รู้จักศูนย์ สำนัก และสถาบันวิจัยต่างๆ ซึ่งมีกระจายทั่วมหาวิทยาลัยพรินส์ตันแล้ว ในลำดับถัดไปจะย้ายความสนใจของเราไปสู่พื้นทวีปใหญ่ในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศเยอรมนี ที่เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในการให้กำเนิดการวิจัยสหวิทยาการ โดยกลุ่มนักวิจัยที่ได้รับการเรียกขานว่า แฟรงค์เฟริท สคูล ซึ่งบรรดานักวิชาการจากหลากหลายสาขาได้มาทำงานร่วมกันที่สถาบันวิจัยสังคม ภายใต้การอำนวยการของ Max Horkheimer ในปี ค.ศ.1930 ณ มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟริท

3. ทำความรู้จักกับแฟรงค์เฟริทสคูล โดยสังเขป
แฟรงค์เฟริท สคูล (The Frankfurt School) เป็นกลุ่มนักคิดที่สนใจในประเด็นนีโอ-มาร์กซิสท์, ทฤษฎีวิพากษ์(critical theory) (*), การวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์, และปรัชญา. กลุ่มนักคิดดังกล่าวปรากฏตัวขึ้นมาที่สถาบันวิจัยสังคม(Institute for Social Research) (Institut fur Sozialforschung) ในมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟริท(the University of Frankfurt am Main) (*) ในประเทศเยอรมนี เมื่อ Max Horkheimer (**) ได้เป็นผู้อำนวยการสถาบันแห่งนี้ในปี ค.ศ.1930. ศัพท์คำว่า "Frankfurt School" เป็นคำเรียกที่ไม่เป็นทางการซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อระบุถึงบรรดานักคิดที่ผูกพันกันในฐานะสมาชิกของสถาบันวิจัยสังคมแห่งนี้ หรือได้รับอิทธิพลโดยสถาบันดังกล่าว. คำว่า"แฟรงค์เฟริท สคูล"อันที่จริงแล้วไม่ใช่ชื่อสถาบันแต่อย่างใด และบรรดานักคิดคนสำคัญๆ ของแฟรงค์เฟริท สคูล ก็ไม่เคยใช้คำๆ นี้เพื่ออธิบายตัวของพวกเขาเองแต่อย่างใด
(*) Critical theory
In the humanities and social sciences, critical theory has two quite different meanings with different origins and histories, one originating in social theory and the other in literary criticism. Though until recently these two meanings had little to do with each other, since the 1970s there has been some overlap between these disciplines. This has led to "critical theory" becoming an umbrella term for an array of theories in English-speaking academia. This article focuses primarily on the differences and similarities between the two senses of the term critical theory.

- The first meaning of the term critical theory was that defined by Max Horkheimer of the Frankfurt School of social science in his 1937 essay Traditional and Critical Theory: Critical theory is social theory oriented toward critiquing and changing society as a whole, in contrast to traditional theory oriented only to understanding or explaining it. Horkheimer wanted to distinguish critical theory as a radical, emancipatory form of Marxian theory, critiquing both the model of science put forward by logical positivism and what he and his colleagues saw as the covert positivism and authoritarianism of orthodox Marxism and communism. Core concepts are:

(1) That critical social theory should be directed at the totality of society in its historical specificity (i.e. how it came to be configured at a specific point in time), and

(2) That Critical Theory should improve understanding of society by integrating all the major social sciences, including economics, sociology, history, political science, anthropology, and psychology.

Although this conception of critical theory originated with the Frankfurt School, it also prevails among other recent social scientists, such as Pierre Bourdieu, Louis Althusser and arguably Michel Foucault and Bryan Reynolds, as well as certain feminist theorists and social scientists.

- The second meaning of critical theory is that of theory used in literary criticism ("critical theory") and in the analysis and understanding of literature. This is discussed in greater detail under literary theory. This form of critical theory is not necessarily oriented toward radical social change or even toward the analysis of society, but instead specializes on the analysis of texts and text-like phenomena. It originated among literary scholars and in the discipline of literature in the 1960s and 1970s, and has really only come into broad use since the 1980s, especially as theory used in literary studies became increasingly influenced by European philosophy and social theory and thereby became more "theoretical".

(**)The Johann Wolfgang Goethe-University of Frankfurt am Main (Frankfurt University) was founded in 1914 as a Citizens' University, which means that while it was a State university of Prussia, it had been founded and financed by the wealthy and active liberal citizenry of Frankfurt am Main, a unique feature in German university history. It was named in 1932 after one of the most famous natives of Frankfurt, poet and writer Johann Wolfgang von Goethe. Today, the university has some 36,000 students.

(***)Horkheimer was born in Stuttgart to an assimilated Jewish family; due to parental pressure, he did not initially pursue an academic career, leaving secondary school at the age of sixteen to work in his father's factory. After World War I, however, he enrolled at Munich University, where he studied philosophy and psychology. He subsequently moved to Frankfurt am Main, where he studied under Hans Cornelius. There he met Theodor Adorno, many years his junior, with whom he would strike a lasting friendship and a fruitful collaborative relationship.

In 1925 he was habilitated with a dissertation entitled Kant's Critique of Judgement as Mediation between Practical and Theoretical Philosophy written under Cornelius. He was appointed Privatdozent the following year. When the Institute for Social Research's directorship became vacant in 1930, he was elected to the position. In the same year Horkheimer took over the chair of social philosophy at Frankfurt University. The following year publication of the Institute's Zeitschrift fur Sozialforschung began, with Horkheimer as its editor.

แฟรงค์เฟริท สคูล คือกลุ่มนักวิชาการซึ่งมารวมตัวกันโดยที่พวกเขาไม่เห็นด้วยกับบรรดามาร์กซิสท์ทั้งหลาย นักวิจารณ์หลายคนของแฟรงค์เฟริท สคูลซึ่งมีทัศนะที่รุนแรงเกี่ยวกับลัทธิทุนนิยม เชื่อว่า บรรดาสานุศิษย์ของมาร์กซ์บางคนกลายเป็นเพียงนกแก้วนกขุนทองที่เลือกจะว่าตามความคิดต่างๆ ของมาร์กซ์บางประเด็นอย่างคับแคบ ปกติแล้วเพื่อปกป้องคอมมิวนิสท์ออร์ธอด็อกซ์ หรือพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยต่างๆ

บรรดานักคิดแฟรงค์เฟริท สคูล ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากความล้มเหลวของการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปตะวันตก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และอยู่ในช่วงการถือกำเนิดขึ้นมาของลัทธินาซี ซึ่งมีนโยบายพัฒนาชาติเพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของเยอรมนี บรรดานักคิดแฟรงค์เฟริท สคูลหล่านี้เริ่มต้นภารกิจของพวกเขา โดยการเลือกนำเอาความคิดบางส่วนของมาร์กซ์มาใช้ เพื่อทำให้สภาพเงื่อนไขต่างๆ ทางสังคมเกิดความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งตัวมาร์กซ์เองก็ไม่เคยพบเห็นมาก่อน. นอกจากนี้ พวกเขายังดึงเอาสกุลความคิดอื่นๆ เข้ามาเติมเต็มช่องว่างที่ขาดหายไปในการรับรู้ของมาร์กซ์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น แม็กซ์ เวเบอร์(Max Weber) เป็นบุคคลที่ส่งอิทธิพลให้กับกลุ่มอย่างสำคัญ เช่นเดียวกับซิกมันด์ ฟรอยด์(Sigmund Freud) (อย่างเช่นในงานสังเคราะห์ Freudo-Marxist (*) ของ Herbert Marcuse (**) ในปี ค.ศ.1954 เรื่อง Eros and Civilization).

(*) Freudo-Marxism is a loose designation of several twentieth-century critical theory schools of thought that sought to synthesize the philosophy and political economy of Karl Marx with the psychoanalytic theory of Sigmund Freud.

While the movement to integrate socialist and psychoanalytic theory has taken several forms, each arose during the middle of the twentieth century in the hope of answering this question: why did Fascism have mass appeal? The fact of that appeal confounded much of orthodox Marxist thought. The gist of the answer Freudo-Marxists gave to that question is that the masses have internalized their oppression as suppression. The internalization of the upper class in the minds of the lower class is the super-ego, in the same way that crowd psychology, in particular Freud, considered the leader to work as the masses' super-ego.

(**)Herbert Marcuse (July 19, 1898 - July 29, 1979) was a German philosopher and sociologist, and a member of the Frankfurt School. His best known works are Eros and Civilization and One-Dimensional Man.

Herbert Marcuse was born in Berlin to a Jewish family and served in the German Army, caring for horses in Berlin during the First World War. He then became a member of a Soldiers' Council that participated in the aborted socialist Spartacist uprising. After completing his Ph.D. thesis at the University of Freiburg in 1922 on the German K?nstlerroman, he moved back to Berlin, where he worked in publishing. He returned to Freiburg in 1929 to write a Habilitation with Martin Heidegger, which was published in 1932 as Hegel's Ontology and Theory of Historicity in spite of Heidegger's rejection. With his academic career blocked by the rise of the Third Reich, in 1933 Marcuse joined the Frankfurt Institute for Social Research, emigrating from Germany that same year, going first to Switzerland, then the United States, where he became a naturalized citizen in 1940.

Although he never returned to Germany to live, he remained one of the major theorists associated with the Frankfurt School, along with Max Horkheimer and Theodor Adorno. In 1940 he published Reason and Revolution, a dialectical work studying G. W. F. Hegel and Karl Marx.


การเน้นของพวกเขาในการใช้ความคิดและทฤษฎีเชิงวิพากษ์ ได้รับการสืบทอดอย่างสำคัญมาจากความพยายามของพวกเขาที่จะเอาชนะข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับลัทธิปฏิฐานนิยม, ลัทธิวัตถุนิยมสุกเอาเผากิน, และปรากฏการณ์วิทยา โดยการหวนกลับไปยังปรัชญาเชิงวิพากษ์ของค้านท์ และผู้ดำเนินรอยตามต่อมาในลัทธิอุดมคติเยอรมัน, ที่สำคัญที่สุดคือ ปรัชญาของเฮเกล, ด้วยการเน้นของมันในเรื่องการคัดค้าน(negation) และความขัดแย้ง(contradiction) ในฐานะที่เป็นคุณสมบัติซึ่งมีอยู่แต่กำเนิดของความจริง. อิทธิพลสำคัญอีกอันหนึ่งมาจากงานพิมพ์ในช่วงทศวรรษที่ 1930s ของมาร์กซ์เรื่อง Economic-Philosophical Manuscripts และ The German Ideology, ซึ่งได้แสดงให้เห็นความต่อเนื่องกับลัทธิเฮเกเลียน(Hegelianism) ที่วางอยู่ข้างใต้ความคิดของมาร์กซ์.

Marcuse เป็นหนึ่งในคนแรกๆ ที่พูดออกมาอย่างชัดเจนถึงความสำคัญในเชิงทฤษฎีของตำราเหล่านี้.อีริค ฟร์อมม์ (Erich Fromm) (*) สมาชิกภายใต้ตัวแทนของสกุลความคิดดังกล่าว ได้รับการให้ความเชื่อถือด้วยการนำเอาความสนใจที่เพ่งลงไปที่วิธีการจิตวิเคราะห์มาใช้. แต่อย่างไรก็ตาม สมาชิกต่างๆ อย่าง อะดอร์โน(Adorno) และฮอร์คไฮเมอร์(Horkheimer) กลับรู้สึกดูถูกเหยียดหยามงานเขียนต่างๆ ของฟร์อมม์ แม้ว่าแนวเรื่องที่เป็นแกนกลางของ"The Authoritarian Character,"(คุณลักษณ์ของเผด็จการ) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากงานวิจัยของฟร์อมม์ในหัวเรื่องนี้ก็ตาม

(*)Erich Pinchas Fromm (March 23, 1900 - March 18, 1980) was an internationally renowned Jewish-German-American social psychologist, psychoanalyst, and humanistic philosopher. He was associated with what became known as the Frankfurt School of critical theory.

Erich Fromm started his studies in 1918 at the University of Frankfurt am Main with two semesters of jurisprudence. During the summer semester of 1919, Fromm studied at the University of Heidelberg, where he switched from studying jurisprudence to sociology under Alfred Weber (brother of the famous sociologist Max Weber), the brilliant psychiatrist-philosopher Karl Jaspers, and Heinrich Rickert. Fromm received his Ph.D. in sociology from Heidelberg in 1922. And, then during the mid 1920s, he was trained to become a psychoanalyst through Frieda Reichmann's psychoanalytic sanatorium in Heidelberg. He began his own clinical practice in 1927. In 1930, he joined the Frankfurt Institute for Social Research and completed his psychoanalytical training. After the Nazi takeover of power in Germany, the Jewish Fromm moved to Geneva and then, in 1934, to Columbia University in New York. Karen Horney's long-term infatuation with Fromm is the subject of her book Self Analysis and it is reasonable to believe that each had a lasting influence on the other's thought. After leaving Columbia, Fromm helped form the New York branch of the Washington School of Psychiatry in 1943, and in 1946 co-founded the William Alanson White Institute of Psychiatry, Psychoanalysis, and Psychology.

When Fromm moved to Mexico City in 1950, he became a professor at the UNAM (Universidad Nacional Aut?noma de Mexico) and established a psychoanalytic section at the medical school there. He taught at the UNAM until his retirement in 1965. Meanwhile, he taught as a professor of psychology at Michigan State University from 1957 to 1961 and as an adjunct professor of psychology at the graduate division of Arts and Sciences at New York University after 1962. In 1974 he moved to Muralto, Switzerland, and died at his home in 1980, five days before his eightieth birthday. All the while, Fromm maintained his own clinical practice and published a series of books.


4. ความเป็นสหวิทยาการของแฟรงค์เฟริท สคูล
คุณูปการที่สำคัญอันหนึ่งของบรรดานักทฤษฎเชิงวิพากษ์ของแฟรงค์เฟริท สคูล คือการออกแบบโครงงานวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ขึ้นมาในลักษณะสหวิทยาการ ซึ่งกระทำขึ้นที่สถาบันวิจัยสังคม หลักการพื้นฐานของความเป็นสหวิทยาการนี้เกี่ยวพันกับขั้นตอน 3 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

(1) นักปรัชญาและนักสังคมศาสตร์ทำงานร่วมกัน เพื่อนิยามถึงขอบเขตและความสนใจของโครงการหนึ่งๆ
(2) บรรดานักสังคมศาสตร์ได้นิยามระเบียบวิธีวิจัยขึ้น ถัดจากนั้นจะมีการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลจากบันทึก
ประวัติศาสตร์ หรือจากการทดลอง และ
(3) บรรดานักปรัชญาของสถาบันตีความเชิงปรัชญา จริยธรรม และความหมายสังคมวิทยาการเมืองของข้อมูลที่กล่าวถึง

แม้ว่าตัวอย่างทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการวิจัยในลักษณะความร่วมมือทางสังคมศาสตร์นี้ ไม่ได้ทำในช่วงที่เกิดความขัดแย้งและการปะทะกันอย่างรุนแรงต่างๆ ภายนอกสงครามโลกครั้งที่ 2 (หมายถึงสมาชิกหลายคนในกลุ่มแฟรงค์เฟริท สคูล เป็นยิว ซึ่งได้รับผลกระทบจากนาซี) ระหว่างบรรดาสมาชิกทั้งหลายของสถาบัน แต่มันเป็นกรณีที่รูปแบบความเป็นสหวิทยาการ และได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อยู่บ้าง. ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นสหวิทยาการของสถาบันคือต้องการควบคุม / รวบรวมองค์ประกอบทฤษฎีความรู้ หรือญานวิทยา ซึ่งแต่ละสาขาวิชาเฉพาะมีความสามารถดีเยี่ยม ยกตัวอย่างเช่น

- ด้านหนึ่งวิธีการดังกล่าวยอมให้บรรดานักปรัชญาทั้งหลายเข้ามามีอิทธิพลต่อบรรดานักเศรษฐศาสตร์ และ/หรือ นักสังคมวิทยาทั้งหลาย ในขณะเดียวกันนักปรัชญาก็ยินยอมให้นักเศรษฐศาสตร์และนักสังคมวิทยารวมชุดข้อมูลต่างๆ เข้าไปในการวิเคราะห์ของพวกเขา ซึ่งมิฉะนั้นอาจจะถูกกีดกันออกไป

- ส่วนในอีกด้านหนึ่ง นักสังคมศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นต่อการตระเตรียมพื้นฐานข้อมูลในเชิงประจักษ์ ข้อมูลเชิงปริมาณที่สามารถถูกนำไปใช้เป็นข้อถกเถียงของนักปรัชญา ซึ่งให้ความสนใจต่อการตีความความจริงที่สอดคล้องและพิสูจน์ได้(demonstrable reality). ตามข้อเท็จจริงแล้ว วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของงานนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 ประการคือ

(1) ต้องการร่างภาพเกี่ยวกับความหมายทั่วๆ ไปของธรรมชาติและคุณค่าของการวิจัยสหวิทยาการ
ซึ่งสถาบันดังกล่าวพยายามที่จะสถาปนาขึ้น
(2) เพื่อเตรียมข้อถกถียงว่า ทำไมการใช้ประโยชน์จากวิธีการนี้ จึงสอดคล้องกับยุคสมัย และ
(3) การใช้ตัวอย่างกรณีศึกษาสำหรับการวิจัยในแนวทางดังกล่าว ควรมีมุมมองในทุกวันนี้อย่างไร

(ข้อมูลหัวข้อที่ 4 นี้ ตัดมาบางส่วนจาก : The Contemporary Relevance of the Frankfurt School's Interdisciplinary Research http://i08.cgpublisher.com/proposals/245/index_html)

สำหรับผู้สนใจเกี่ยวกับเรื่องแฟรงค์เฟริท สคูล
สามารถคลิกไปอ่านได้ที่สารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (คลิก)


 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
24 December 2007
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
ศูนย์พลังงานและสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นกลุ่มก้อนความหลากหลายทางวิชาการ(multidisciplinary group)ที่ให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับการศึกษาเรื่องปัญหาภูมิภาค, ปัญหาประชาชาติ, และปัญหาโลกซึ่งเกี่ยวพันกับทรัพยากรธรรมชาติและมลภาวะ, พลังงานแสงอาทิตย์ การจัดการกากนิวเคลียร์ อันเป็นรากฐานทางสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับนโยบายสิ่งแวดล้อมต่างๆ และประเด็นทางจริยธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำนโยบายทั้งหลายเหล่านี้ ศูนย์แห่งนี้จะให้มีและตระเตรียมความสะดวกสบายต่างๆ สำหรับการวิจัย, การจัดประชุม, การประชุมเชิงปฏิบัติการ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream