โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๔๒ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (December, 22, 12, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

22-12-2550

Domestic Violence
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

เหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวในฐานะของอาชญากร:
การศึกษาแนวคิดด้านเพศสภาพในกระบวนการยุติธรรมอาญาของญี่ปุ่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมชาย ปรีชาศิลปกุล : เรียบเรียง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(โครงการสิทธิมนุษยชนทางกฎหมาย)

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศ

วัตถุประสงค์ของบทความเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของความมีอคติ
และการใช้วิธีตั้งข้อสมมติฐานกับบุคคลตามบทบาทประจำเพศ (gender role) ภายในครอบครัว
รวมทั้งศึกษาถึงความสัมพันธ์ของบทบาททางเพศกับคดีฆ่าคนตายที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น
ในกรณีที่ภรรยาเป็นฝ่ายลงมือสังหารสามีของตนเอง และสุดท้ายเพื่อศึกษาว่าผู้หญิงที่กระทำความผิดดังกล่าว
ได้รับการปฏิบัติบนฐานความคิดอย่างไร ซึ่งจากการศึกษาจะเห็นได้ชัดว่าผู้หญิงที่กระทำความคิดเหล่านี้
ถูกพิจารณาความผิดตามคดีอาญาในระบบยุติธรรมบนพื้นฐานของการมีอคติและสมมติฐานบางประการ
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๔๒
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๖ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวในฐานะของอาชญากร:
การศึกษาแนวคิดด้านเพศสภาพในกระบวนการยุติธรรมอาญาของญี่ปุ่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมชาย ปรีชาศิลปกุล : เรียบเรียง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(โครงการสิทธิมนุษยชนทางกฎหมาย)

Domestic Violence Victims as Homicide Offenders:
A Study of Gender Ideology in the Japanese Criminal Justice System

บทคัดย่อ
บทวิจัยชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของความมีอคติ และการใช้วิธีตั้งข้อสมมติฐานกับบุคคลตามบทบาทประจำเพศ (gender role) ภายในครอบครัว รวมทั้งศึกษาถึงความสัมพันธ์ของบทบาททางเพศกับคดีฆ่าคนตายที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ในกรณีที่ภรรยาเป็นฝ่ายลงมือสังหารสามีของตนเอง และสุดท้ายเพื่อศึกษาว่าผู้หญิงที่กระทำความผิดดังกล่าว ได้รับการปฏิบัติบนฐานความคิดอย่างไร

ซึ่งจากการศึกษาจะเห็นได้ชัดว่าผู้หญิงที่กระทำความคิดเหล่านี้ ถูกพิจารณาความผิดตามคดีอาญาในระบบยุติธรรมบนพื้นฐานของการมีอคติและสมมติฐานบางประการ คือถ้าผู้ที่กระทำความผิดดังกล่าว มีบุคลิกที่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของความเป็นผู้หญิง ศาลมักจะไม่ลงโทษด้วยความรุนแรง แต่ถ้าผู้หญิงที่กระทำความผิดคนใดมีบุคลิกลักษณะที่ขัดกับภาพลักษณ์ของความเป็นหญิงในมาตรฐานทั่วไป ก็มักถูกลงโทษอย่างเด็ดขาด จึงเห็นได้ว่า บุคลิกลักษณะของความเป็นหญิงนั้น ได้ถูกนำมาใช้พิจารณาให้ความสำคัญกว่าการกระทำความผิดอาญาที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ เรื่องของเหตุผลและภูมิหลังของการที่ผู้หญิงก่อคดีฆ่าคนตาย (ในกรณีที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว) นั้น ไม่ถูกมองว่าเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรง จนกระทั่งมีการผ่านกฎหมาย Law on Prevention of Spouse Violence and Protection of Victims ดังนั้น การทำให้สังคมมีความเสมอภาคทางเพศจึงมีความสำคัญ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดจำนวนผู้เสียหายจากความรุนแรงทางเพศ และยังเป็นการช่วยให้ผู้กระทำความผิดคดีอาชญากรรมที่เป็นหญิง ได้รับการตัดสินคดีอย่างเป็นธรรมอีกด้วย

ความรุนแรงภายในครอบครัวในประเทศญี่ปุ่น
จากการศึกษาวิจัยโดย The Cabinet Office (*) ในปี ค.ศ. 2002 พบว่าหนึ่งในห้าของผู้หญิงญี่ปุ่นถูกสามีหรือคู่ครองทำร้ายร่างกาย มีจำนวน 5 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายมีความรู้สึกว่าตนเองจะถูกสามีฆ่าให้ตาย โดยมีผู้หญิงถูกสามีทำร้ายมากกว่าสามีถูกภรรยาทำร้าย 4 เท่าซึ่งเข้ารับการรักษาหลังจากถูกทำร้าย และมีผู้หญิงจำนวน 91.7 เปอร์เซ็นต์ที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกี่ยวกับเรื่องระหว่างสามีภรรยา

(*)The Cabinet Office sits at the very centre of government and, together with the Treasury, provides the 'head office' of government. The Cabinet Office has an overarching purpose of Making government work better. The Department has three core functions that enable it to achieve this overarching purpose:

1. Supporting the Prime Minister - to define and deliver the Government's objectives.
2. Supporting the Cabinet - to drive the coherence, quality and delivery of policy and operations across departments.
3. Strengthening the Civil Service - to ensure the civil service is organised effectively and has the capability in terms of skills, values and leadership to deliver the Government's objectives.


ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดกับผู้หญิง เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง ซึ่งตามกฎหมายญี่ปุ่น แสดงให้เห็นถึงการมีอยู่และการให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งแก่ผู้หญิงและผู้ชาย อย่างไรก็ตาม นานมาแล้วที่ในสังคมญี่ปุ่นไม่ถือว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นอาชญากรรมรุนแรง ดังนั้นจึงมีข้อมูลอยู่เพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับกับเรื่องของความรุนแรงที่เป็นคดีอาญา. มีข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงไม่มากนัก ที่ศาลสูงได้เก็บไว้เป็นตัวเลขสถิติที่บอกถึงเหตุผลของการหย่าร้าง โดยมีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของคดีหย่า ที่นำขึ้นสู่การพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการในศาลครอบครัว. จากข้อมูลที่ผ่านมา เหตุผลของการฟ้องหย่าส่วนมากจะเป็นเรื่องของการทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งนี้ Kakuta กล่าวว่า เรื่องของความรุนแรงไม่ได้ถูกนำมาพิจารณาตัดสิน เพียงแต่ถูกนำมาใช้เป็นเหตุผลสำหรับการตกลงกันในเรื่องหย่าเท่านั้น

แม้ระบบกฎหมายเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวได้เปลี่ยนไปแล้ว โดยเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2001 สภาไดเอทได้ผ่านกฎหมาย Law on Prevention of Spouse Violence and Protection of Victims (กฎหมายว่าด้วยการป้องกันความรุนแรงในครอบครัวและการปกป้องเหยื่อ) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2001 (แต่บังคับใช้อย่างครบถ้วนเมื่อต้นเดือนเมษายน 2002) ซึ่งหลังจากกฎหมายนี้ได้บังคับใช้แล้ว เฉพาะในปี ค.ศ. 2002 เกิดคดีฟ้องร้องระหว่างสามีภรรยารวมทั้งสิ้น 1,666 คดี โดยในจำนวนนี้มี 1,528 คดีที่สามีถูกจับในข้อหาที่ทำให้ภรรยาเสียชีวิตหรือดูหมิ่นภรรยาตนเอง ทั้งนี้มีผู้เสียหายในคดีที่เกี่ยวกับการดูหมิ่นเหยียดหยาม 95.8 เปอร์เซ็นต์ คดีทำร้ายร่างกาย 96.3 เปอร์เซ็นต์ และคดีฆาตกรรม 60.9 เปอร์เซ็นต์ ผู้เสียหายทั้งหมดเป็นผู้หญิง

จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า คดีฆ่าคนตายมีสัดส่วนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับความรุนแรงในรูปแบบอื่นๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สมรสหรือคู่สามีภรรยา. ในปี 2002 มีคดีที่ภรรยาเป็นผู้ทำให้สามีเสียชีวิตจำนวน 77 คดี. ในญี่ปุ่นกฎหมาย Law on Prevention of Spouse Violence and Protection of Victims กำหนดให้ศาลแขวงมีอำนาจออกคำสั่งควบคุมตัวผู้ที่ก่อความรุนแรงภายในครอบครัวเป็นเวลาหกเดือน และห้ามไม่ให้เข้าบ้านนานถึงสองสัปดาห์ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ใช้กับสามีภรรยาทั้งที่จดทะเบียนตามกฎหมาย และคู่ที่อยู่ด้วยกันโดยไม่ได้จดทะเบียน

หลังจากที่กฎหมายฉบับนี้ได้ประกาศใช้แล้ว ผลที่เกิดตามมาที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายปกครอง โดยเฉพาะกับกรมตำรวจก็คือ มีผู้ก่อความรุนแรงที่ถูกจับกุมเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ จำนวนของผู้หญิงที่มาขอรับความช่วยเหลือกับศูนย์ให้คำปรึกษา ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน. ระหว่างวันที่ 13 - 31 ตุลาคม 2001 มีผู้มาร้องขอความคุ้มครองทางกฎหมายจำนวน 1,318 คดี โดยมี 1,019 คดีที่ได้รับคำสั่งคุ้มครอง จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ความรุนแรงในครอบครัวกำลังถูกมองว่าเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่ง ตามปกติประเทศญี่ปุ่นนับว่าเป็นประเทศที่มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดมากกว่าประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชีย เช่น มีข้อมูลระบุว่า ตำรวจเกาหลีไม่ใส่ใจดูแลคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว หลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว (ข้อมูลจากโครงการวิจัย Japan-Korea Joint Research Project for the Development of the Social System to Prevent Violence Against Women in the family - Possibilities in Asia, 2001)

ในกฎหมายที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวฉบับนี้ มีบางประเด็นที่ควรได้รับการทบทวน เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งฉุกเฉินกับผู้ที่ก่อความรุนแรงโดยไม่ต้องไต่สวน ในกรณีที่ผู้เสียหายตกอยู่ในอันตรายใกล้ตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่เน้นในเรื่องของการทำร้ายร่างกายเท่านั้นแต่ควรจะรวมถึงการทำร้ายจิตใจและการทำร้ายด้วยคำพูดด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังไม่มีการรับประกันความปลอดภัยให้กับผู้เสียหายและบุตร ประการสุดท้าย ระบบการให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกทำร้ายเพื่อให้เริ่มต้นชีวิตใหม่ยังไม่เพียงพอ และถึงแม้ว่าความรุนแรงในครอบครัวจะถือว่าเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่งนับตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา แต่ก็ไม่อาจวางใจได้ว่าความรุนแรงในครอบครัวจะถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาตัดสินว่าเป็นสาเหตุที่มาของคดีฆาตกรรมต่างๆ อย่างที่ควรจะเป็น

สังคมญี่ปุ่นในฐานะของสังคมปิตาธิปไตย
เนื่องจากความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ และมีสาเหตุมาจากความไม่เสมอภาคทางเพศค่อนข้างมาก ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการศึกษาสังคมญี่ปุ่นซึ่งเป็นสังคมแบบผู้ชายเป็นใหญ่หรือปิตาธิปไตย (patriarchal society) เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับอคติทางเพศที่มีอยู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมถึงศึกษาปัญหาต่างๆ ที่ผู้หญิงซึ่งถูกทำร้ายต้องเผชิญ

จากรายงานการพัฒนามนุษย์ในปี 2003 ดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ (human development index) ของญี่ปุ่นได้รับการจัดอยู่ในลำดับที่ 9 จากจำนวนทั้งหมด 173 ประเทศ สำหรับการประเมินในเรื่องของการให้อำนาจกับเพศชายและหญิง เป็นการวัดที่ใช้ตัวแปรที่กำหนดขึ้นอย่างละเอียดเพื่อใช้เปรียบเทียบการมอบอำนาจให้กับผู้ชายและผู้หญิง. ในเรื่องของกิจกรรมทางการเมืองและเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่จัดอยู่ในลำดับที่ 44 จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ในประเทศญี่ปุ่นมีช่องว่างระหว่างเพศ รวมทั้งสถานะของผู้หญิงในสังคมก็ไม่เท่าเทียมกับผู้ชาย โดยเฉพาะการที่ผู้หญิงส่วนมากถูกกีดกันออกจากกิจกรรมการเมืองและเศรษฐกิจ ด้วยการได้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่มีความสำคัญน้อยกว่าผู้ชาย

แต่ควรตระหนักว่าความคิดของผู้คนได้เปลี่ยนไปแล้ว จากการสำรวจของหนังสือพิมพ์ Yomiuri-Shinbun, 73 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มสำรวจไม่เห็นด้วยกับการแบ่งหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน ให้ผู้ชายเป็นผู้มีหน้าที่หาเลี้ยงครอบครัวและให้ผู้หญิงทำหน้าที่แม่บ้าน โดยกลุ่มผู้ถูกสำรวจที่ไม่เห็นด้วยนี้มีถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 20 - 40 ปี แสดงให้เห็นว่า แนวคิดเรื่องการแบ่งหน้าที่ระหว่างเพศแบบตายตัวเช่นนี้ กำลังถูกต่อต้าน โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นหลังรวมทั้งเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเพศชายและเพศหญิง ก็กำลังเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แต่ผู้หญิงก็ยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมหลายอย่างในสัดส่วนที่น้อยอยู่ สมาชิกรัฐสภาในประเทศญี่ปุ่นและผู้บริหารที่เป็นหญิงยังมีเปอร์เซ็นต์โดยรวมในระดับต่ำ และผู้หญิงในประเทศญี่ปุ่นยังเข้าสู่ตลาดแรงงานค่อนข้างน้อยกว่าประเทศใหญ่อื่นๆ สำหรับระบบกฎหมายพื้นฐานเพื่อสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศนั้น ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือประเทศตะวันตกก็ล้วนไม่แตกต่างกัน เรื่องของสวัสดิการการดูแลบุตรในญี่ปุ่น เพื่อให้แรงงานหญิงได้รับความสะดวกในการทำงาน ยังมีมาตรการการให้ความช่วยเหลือไม่เพียงพอ ซึ่งต่างกับประเทศฝรั่งเศสและสวีเดน แรงงานหญิงในญี่ปุ่นที่มีการศึกษาสูง ไม่ได้รับโอกาสการทำงานและการเลื่อนตำแหน่งอย่างเหมาะสม เพราะว่าญี่ปุ่นยังคงมีระบบและบรรทัดฐานทางสังคมที่ขึ้นอยู่กับแนวคิดแบบดั้งเดิม

Cabinet Office ได้ทำการสำรวจคุณลักษณะเฉพาะ (characteristics) และความคิดเห็นเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศของผู้คนในประเทศใหญ่ๆ (ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน และสวีเดน) ในแง่ของชีวิตครอบครัว ที่ทำงาน โรงเรียน การเมือง ระบบกฎหมายและสถาบัน มาตรฐานสังคม ประเพณีและแนวปฏิบัติทางสังคม. ผลจากการสำรวจพบว่า ผู้คนในประเทศตะวันตกมีความรู้สึกว่า มีความไม่เสมอภาคทางเพศอย่างมากในที่ทำงานและทางการเมือง ถึงแม้ว่าผู้หญิงในประเทศตะวันตกจะมีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมากก็ตาม

สำหรับผู้หญิงในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ต่างก็มีความรู้สึกว่าผู้ชายมีสิทธิที่ดีกว่าใน "ชีวิตครอบครัว" ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่า ผู้คนในสองประเทศนี้ยังคงถูกจำกัดขอบเขตภายในครอบครัวด้วยเหตุผลจากบทบาทประจำเพศ (gender role) ในทางตรงกันข้าม ประเด็นที่กลุ่มผู้ถูกสำรวจเห็นด้วยว่า มีความเสมอภาคทางเพศก็คือด้านการศึกษา จากการสำรวจมีผู้เห็นด้วยเป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุดในประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ ที่ทำการสำรวจ เนื่องจากการศึกษาช่วยรับประกันให้ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเท่าเทียมกัน และยังเป็นการให้ความสำคัญกับความสามารถในการศึกษามากกว่าความเป็นเพศ. สำหรับคำตอบที่มีเปอร์เซ็นต์การเลือกสูงสุด ในกลุ่มสำรวจผู้หญิงในประเทศญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ และผู้ชายเยอรมัน ก็คือ ตัวเลือกที่ว่า "ผู้หญิงควรพยายามมีอำนาจด้วยตัวเอง". ในขณะที่กลุ่มสำรวจชายชาวญี่ปุ่นและผู้หญิง และผู้ชายในประเทศอื่น เลือกคำตอบที่ว่า "ให้แก้ไขบรรทัดฐานสังคมที่ตายตัว" เป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุด. จากผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า อุปสรรคสำคัญที่สุดในการที่จะให้มีความเสมอภาคทางเพศก็คือ กรอบกฎเกณฑ์ทางสังคมตามประเพณี โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าผู้หญิงจะมีความสำเร็จในการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานอย่างไร

ค่าแรงระหว่างชายและหญิงในประเทศญี่ปุ่นนั้นแตกต่างกันมากกว่าประเทศอื่น และ "ระดับของตำแหน่งงาน" กับ "อายุงาน" ก็มีผลสำคัญที่สุด ที่ทำให้ค่าแรงระหว่างชายและหญิงแตกต่างกัน ทั้งนี้ประเทศญี่ปุ่นมีผู้หญิงทำงานระดับบริหาร คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ในกลุ่มสำรวจ ถึงแม้ว่าจะมีแรงงานหญิงคิดเป็นร้อยละ 40 ของแรงงานทั้งหมดก็ตาม แต่แรงงานหญิงในระดับบริหารในญี่ปุ่นก็มีเปอร์เซ็นต์ต่ำกว่าชาติตะวันตก อีกทั้งในประเทศญี่ปุ่น อัตราการจ้างแรงงานหญิง และผู้หญิงที่ทำงานในระดับบริหาร ยังมีสัดส่วนที่ห่างกันมากกว่าทุกประเทศในกลุ่มสำรวจ ยกเว้น เกาหลีใต้

กรอบความคิดในเรื่องบทบาทประจำเพศ (gender role) ยังคงหยั่งรากลึกในประเทศญี่ปุ่น และสิทธิการทำงานของผู้หญิงยังไม่ได้มีการรับประกันอย่างเต็มที่ ผู้หญิงหลายคนต้องพึ่งผู้ชายในแง่เศรษฐกิจ ถึงแม้ตัวเองจะมีรายได้จากการทำงานแล้วก็ตาม และชีวิตก็ยังไม่สามารถมีอิสระอย่างพอเพียงทั้งในด้านสังคม, จิตใจ และเรื่องเพศ ทั้งนี้ Tsujimura (***) ได้กล่าวว่า การที่รัฐบาลญี่ปุ่นแก้ไขกฎหมายว่าด้วยความรุนแรงในครอบครัวก็ เพื่อให้เป็นไปตามการประกาศสนธิสัญญาสหประชาชาติ แต่กฎหมายที่แก้ไขแล้วก็ยังจัดวางผู้หญิงให้อยู่ในสถานะที่เป็นรอง รวมทั้งยังสนับสนุนการให้ความสำคัญกับลักษณะของความเป็นผู้หญิง รวมถึงเรื่องของการแบ่งหน้าที่ตามสภาพเพศ
(***) Miyoko TSUJIMURA Prof. Constitutional Law, Comparative Constitutional Law - School of Law,
Tohoku University

ปัญหานี้ไม่เป็นข้อยกเว้นแม้แต่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของญี่ปุ่น มักมีการกล่าวกันอยู่เสมอว่า กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นโลกของผู้ชาย ทั้งนี้ในปี 2002 มีผู้พิพากษาหญิงอยู่ 12.2 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่มีอัยการหญิงเพียง 7.7 เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้ในแต่ละปีจะมีผู้พิพากษาและอัยการเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ก็เห็นได้ชัดว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาของญี่ปุ่นเป็นโลกของผู้ชาย เมื่อพิจารณาจากจำนวนบุคลากรที่ทำงานด้านนี้ โดย Miyazono (****) ได้กล่าวว่าการมีอัตราผู้พิพากษาและอัยการจำนวนไม่มากมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดที่เป็นหญิงในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. สำหรับเรื่องที่ว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นโลกของผู้ชายนั้นหมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการให้คำนิยาม การตีความคดีอาชญากรรมรวมถึงการตัดสินลงโทษ ทั้งหมดเป็นงานของผู้ชายทั้งสิ้น ดังนั้นประสบการณ์ของผู้กระทำความผิดที่เป็นหญิง จึงถูกพิจารณาตัดสินด้วยอคติของความเป็นผู้ชาย
(****)MIYAZONO Hisae : Toyo Gakuen University Faculty of Humanities Department of Human Sciences ซึ่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง Criminology, Gender, Domestic Violence, Juvinile Delinquency.

ลักษณะของอาชญากรรมระหว่างหญิงและชาย
นักอาชญาวิทยาเชิงสตรีนิยมชี้ว่า การก่ออาชญากรรมโดยผู้หญิงกับผู้ชายนั้นแตกต่างกัน โดยเฉพาะในคดีฆ่าคนตาย. คดีฆ่าคนตายที่ผู้ก่อคดีเป็นหญิงนั้นส่วนมากเกิดขึ้นในครอบครัว ขณะที่คดีฆ่าคนตายที่ผู้ก่อเหตุเป็นชายซึ่งกระทำกับสมาชิกในครอบครัวนั้น มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าเป็นสองเท่าของคดีที่ผู้ก่อเหตุเป็นหญิง โดยอาชญากรรมที่ผู้ลงมือเป็นหญิงนั้น เชื่อได้ว่าเกี่ยวโยงกับเรื่องของความสัมพันธ์ในครอบครัว จึงสันนิษฐานได้ว่า เหตุผลซึ่งเป็นสาเหตุของการฆาตกรรมจึงเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว

เมื่อพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียหายกับผู้กระทำผิด Iwai พบว่าคดีฆ่าคนตาย 42.6 เปอร์เซ็นต์ (ทั้งที่ผู้หญิงและผู้ชายเป็นคนก่อคดี) เป็นคดีที่เกิดขึ้นในครอบครัว โดย 44.3 เปอร์เซ็นต์ของคดีทั้งหมดทั้งเหยื่อและผู้กระทำผิดต่างก็รู้จักซึ่งกันและกัน ในขณะที่มีเพียง 13 เปอร์เซ็นต์ของคดีอาชญากรรมที่ทั้งสองฝ่ายไม่รู้จักกันมาก่อน ซึ่งหมายความว่าเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของคดีฆาตกรรมเป็นคดีที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน. ในทางตรงกันข้าม มีคดีทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นในครอบครัวเพียง 4.3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีคดีทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นในครอบครัว หากเป็นเพียงการตอกย้ำหลักการที่ว่า กระบวนการยุติธรรมทางอาญาไม่แทรกแซงเรื่องในครอบครัว ซึ่งเป็นการทำให้คดีในลักษณะเช่นนี้ไม่ปรากฏให้เห็นตั้งแต่แรก อันเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า ความรุนแรงในครอบครัวจะไม่ปรากฏต่อสังคมจนกว่าผู้เสียหายจะถูกทำร้ายถึงแก่ชีวิต

อาชญากรหญิงในกระบวนการยุติธรรมอาญา
Pollak (**) ให้คำอธิบายไว้ว่า การที่อัตราการก่ออาชญากรรมของผู้หญิงมีสัดส่วนที่ต่ำเพราะ ผู้หญิงได้รับการปฏิบัติจากกระบวนการยุติธรรมด้วยความสงสาร เห็นใจ ซึ่งเป็นโลกของผู้ชาย ในโลกของกระบวนการยุติธรรมที่มีผู้ชายเป็นผู้ครอบครองอยู่ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งไม่ต้องการจับกุมผู้หญิง อัยการที่ไม่ต้องการส่งผู้หญิงฟ้องศาล และผู้พิพากษาที่ไม่ต้องการสั่งลงโทษผู้หญิง. แต่ Miyazono กล่าวว่า ที่ผู้หญิงได้รับโทษเบากว่าผู้ชาย เพราะว่าอาชญากรรมเกือบทั้งหมดที่ผู้หญิงเป็นผู้ก่อเหตุนั้นเป็นคดีที่ไม่รุนแรง ยิ่งกว่านั้นผู้หญิงเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นต้นเหตุของการกระทำความผิด และผู้หญิงที่ก่อคดีอาญาก็ไม่ได้เป็นภัยต่อสังคม เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่ได้ก่ออาชญากรรมที่ต้องมีการป้องกันในลักษณะทั่วไป ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมผู้หญิงจึงได้รับโทษสถานเบา Miyazono จึงแย้งว่าที่ผู้ก่อเหตุที่เป็นหญิงได้รับการปฏิบัติเช่นนั้น ไม่ใช่เพราะด้วยความสงสารเห็นใจอย่างที่ Pollak กล่าว

(**)Otto Pollak (b. 30 April 1908; d. 18 April 1998) was a writer and a professor of Sociology at the University of Pennsylvania.

His most controversial and famous book was The Criminality of Women (1950), in which he suggested that women commit just as much crime as men, but that their crime is more easily hidden. Pollak further argued that the criminal justice system was biased by preconceptions about women and did not convict or sentence women as harshly as men. His empirical work has provided a starting point for criminology on women. His work has also been used in political debates, as anti-feminist and "men's movement" groups have selectively appropriated his research.

แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้หญิงจะได้รับการปฏิบัติตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างเข้มงวดมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้เพราะเมื่อผู้หญิงก่อคดีขึ้นมา ก็จะถูกมองว่าไม่เพียงเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการกระทำที่ขัดกับบรรทัดฐานความเป็นหญิงของสังคมและของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา หญิงสาวที่กระทำความผิดจึงได้รับการปฏิบัติอย่างเข้มงวดมากกว่าชายหนุ่มที่กระทำผิด นอกจากนี้ผู้กระทำผิดคดีอาญาที่เป็นผู้หญิง จะได้รับการปฏิบัติที่เข้มงวดมากกว่า ถ้าเป็นคนที่มีลักษณะที่ขัดกับภาพลักษณ์ของผู้หญิงในแบบที่มีความเป็นแม่และภรรยา ซึ่งแนวคิดนี้ก็ปรากฎอยู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา

เห็นได้ชัดว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้น มองผู้หญิงด้วยกรอบความคิดเดิมๆ ผู้กระทำผิดอาญาที่เป็นผู้หญิงจึงได้รับการปฏิบัติตามความคิดที่มีต่อหญิง ไม่ใช่การปฏิบัติที่เป็นไปตามกฎหมาย อันเป็นมาตรฐานที่แตกต่างหากผู้กระทำผิดที่เป็นชาย เมื่อกระบวนการยุติธรรมมีรูปแบบเช่นนี้ คำถามก็คือมีผู้หญิงและผู้ชายที่ไม่ถูกสั่งฟ้องมากน้อยแค่ไหน

จากภาพที่ 1 เป็นกราฟที่แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนของการกระทำความผิดที่ไม่ถูกดำเนินคดีในระยะเวลา 10 ที่ผ่านมา
(ทั้งนี้ไม่รวมถึงการผิดกฎจราจร)


ตามภาพที่ 1 ผู้ชายที่กระทำความผิดแล้วไม่ถูกดำเนินคดีมีประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ผู้หญิงมีสถิติสูงกว่าถึง 50 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่าในการกระทำความผิดคดีอาญา ผู้หญิงมักจะมีแนวโน้มที่จะถูกดำเนินคดีน้อยกว่าผู้ชายเป็นอย่างมาก ซึ่งเรื่องนี้ Pollak และ Miyazono ให้เหตุผลไว้แตกต่างกัน

ผู้หญิงที่ก่อคดีฆ่าคนตายได้รับโทษอย่างไรบ้าง Women's Crime Study Group ได้ทำการรวบรวมข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับผู้ก่อคดีฆ่าคนตายที่เป็นหญิงและบทลงโทษที่คนกลุ่มนี้ได้รับ ข้อมูลระหว่าง ค.ศ. 1976 - 1980 มีคดีฆ่าคนตายทั้งหมด 323 คดี ในจำนวนนี้ มีคดีได้รับการทุเลาการบังคับคดี 70.6 เปอร์เซ็นต์ แต่คดีฆ่าคนตายที่ผู้เสียหายเป็นสามีหรือคู่ชีวิต (ซึ่งมีทั้งหมด 75 คดี) มีเพียง 48 เปอร์เซ็นต์ที่ศาลสั่งให้ทุเลาการบังคับคดี ในจำนวนนี้ 39 คดีถูกตัดสินจำคุก โดยมี 1 คดีถูกจำคุก 2 ปีครึ่ง, 7 คดีถูกจำคุก 3 ปี, 18 คดี ถูกจำคุก 5 ปี, 9 คดี ถูกจำคุกถึง 10 ปี, 3 คดี จำคุกมากกว่า 10 ปี และอีกหนึ่งคดี สมควรจำคุกตลอดชีวิต เฉพาะปี 1981 มีคดีฆ่าคนตาย (ทั้งที่ผู้กระทำผิดเป็นหญิงและชาย) ที่ศาลสั่งให้ทุเลาการบังคับคดี 29.4 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น คดีที่ผู้หญิงได้รับการทุเลาการบังคับคดีจึงมีอัตราค่อนข้างสูง แต่จะมีโอกาสได้รับการทุเลาการบังคับคดีน้อยลงถ้าผู้เสียหายเป็นสมาชิกในครอบครัว

การวิเคราะห์คำตัดสินของศาล
คำตัดสินของศาลเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่กระทำผิดคดีอาญาได้รับการปฏิบัติจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างไร? มีกรณีศึกษาอยู่ 2 คดีที่เกิดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1979 -1994 ที่จะได้นำมาศึกษาวิเคราะห์ ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการพิจารณาคดีทั้ง 2 คดีนี้ ได้มาจากหนังสือชื่อ Hanreijihou เนื่องจากงานวิจัยนี้มีประเด็นที่มีขอบเขตเฉพาะ สิ่งที่พึงตระหนักคือถึงแม้อาชญากรรมจะเกิดขึ้นหลายรูปแบบก็ตาม แต่งานวิจัยชิ้นนี้จะเน้นศึกษาเฉพาะคดีอาญาที่เกี่ยวกับประเด็นที่ผู้หญิงก่อคดีฆ่าสามีหรือคู่ชีวิตของตนเอง โดยมีสาเหตุจากการที่ผู้หญิงเหล่านี้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว คดีลักษณะนี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ การฆ่าสามีหรือคู่ชีวิต กับคดีการทำร้ายภรรยาหรือคู่ชีวิต (ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว)

ด้วยเหตุที่การกระทำความผิดในคดีอาญาเหล่านี้เกิดขึ้นภายในครอบครัว ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาในกรณีศึกษาทั้ง 2 คดี แม้ว่างานวิจัยนี้จะเน้นไปที่ผู้กระทำผิดที่เป็นหญิง แต่ผู้หญิงก็มักถูกกล่าวถึงในฐานะที่เป็นเหยื่อ จึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจประเด็นความสัมพันธ์ของชายหญิงและอคติที่มีอยู่ หนังสือที่ชื่อ Hanreijihou มีเนื้อหาเกี่ยวกับคดีความในศาลบางส่วน ซึ่งโดยหลักแล้วจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับคดีที่มีการตัดสินที่แตกต่างจากคดีอื่นๆ หรือเป็นคดีที่ไม่ค่อยพบเห็นมากนัก หนังสือได้อ้างถึงคดีต่างๆ ในด้านรายละเอียด โดยไม่ได้ระบุชื่อของผู้เสียหายและผู้กระทำผิด เนื่องจากหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาครอบคลุมกฎหมายทุกประเภท จึงไม่ได้เน้นประเด็นหลักในเรื่องเกี่ยวกับคดีฆ่าสามีหรือคู่ชีวิตจากเหตุความรุนแรงในครอบครัว

การเข้าถึงปัญหาของผู้หญิงที่กระทำผิดคดีอาญาในสังคมญี่ปุ่นมีข้อจำกัดอย่างมาก ถึงขนาดที่ว่า เสียงเรียกร้องร่วมกันของคนกลุ่มนี้มักจะผ่านไปโดยไม่มีใครได้ยิน การให้ผู้หญิงกลุ่มนี้ได้มีโอกาสพูดถึงปัญหาร่วมกันของตนเอง มีความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมถึงสังคมญี่ปุ่นด้วย ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ล้วนนิ่งเฉยต่อปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

คดีแรก
พิพากษาเมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1979 ที่ศาล Osaka Supreme Court
คดีนี้จำเลยสูญเสียการมองเห็นที่ตาข้างซ้าย เนื่องจากถูกสามีทำร้ายทุกวัน ในคืนเกิดเหตุ สามีพาภรรยาไปบริเวณที่มองออกไปเป็นทะเล (ซึ่งตอนนั้นไม่มีผู้คน) แล้วลงมือทำร้ายภรรยาอยู่ประมาณ 20-30 นาที จากนั้นสามีก็บอกให้ภรรยาฆ่าตัวตายและเขายังพยายามบีบคอเธอ ฝ่ายภรรยาเริ่มเกิดความหวาดกลัวจนเกือบเสียสติ และรู้สึกโกรธมากจากการที่ถูกสามีทำร้ายทุกวัน จนกระทั่งตัดสินใจรัดคอเขาด้วยผ้าเช็ดตัว เธอรัดคอกระทั่งจนเขาหยุดต่อสู่ขัดขืนไปแล้ว ก็ยังไม่หยุด. ศาลเห็นว่าเป็นการป้องกันตัวที่เกินกว่าเหตุ แต่เมื่อพิจารณาถึงเหตุการณ์ที่นำไปสู่การก่อคดีรวมถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัวแล้ว มีเหตุผลที่จะให้ความเห็นใจจำเลย เพราะปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ภรรยาทำผิดเป็นสาเหตุส่วนมากที่เกิดจากสามี ยิ่งกว่านั้น จำเลยยังไปสถานีตำรวจทันทีหลังจากก่อเหตุโดยได้สารภาพผิดทุกอย่าง ในคดีนี้มีคำพิพากษาว่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฏแม้เป็นการป้องกันตัวที่เกินกว่าเหตุแต่ศาลก็ลดโทษให้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยืนตามศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับอุทธรณ์ของอัยการและให้จำเลยพ้นจากการรับผิด

วิเคราะห์คำพิพากษา: จากคำอธิบายดังกล่าวแสดงให้เห็นภาพลักษณ์ของผู้หญิงจากมุมมองของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา "จำเลยเคยถูกทำร้ายก่อนแต่งงานกับผู้ตาย นอกจากนี้ผู้ตายยังใช้วิธีการแปลกๆ หลายอย่างในการขอจำเลยแต่งงาน ถึงขนาดตัดนิ้วตัวเองและส่งไปให้จำเลย ด้วยเหตุนี้จำเลยจึงไม่สามารถเลิกกับผู้ตายได้ ถึงแม้ครอบครัวของจำเลยจะไม่เห็นด้วยที่จะให้คนทั้งคู่แต่งงานกันก็ตาม (ผู้พิพากษาให้คำอธิบายในส่วนที่เกี่ยวกับการแต่งงานของจำเลยและสามี)

ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ขณะนั้นสามีไม่มีงานทำและยังแสดงให้เห็นว่าเป็นบุคคลที่มีความผิดปกติ" (ผู้พิพากษาให้คำอธิบายเกี่ยวกับบุคลิกภาพของสามี) ข้อความดังกล่าว มีการแจกแจงบุคลิกภาพของผู้ตาย (สามี) มากกว่าคดีอื่นๆ มีการพูดถึงว่าที่จำเลยไม่สามารถเลิกกับสามีได้ เพราะเขามีบุคลิกภาพที่แปลกๆ ซึ่งเป็นเหตุผลของการที่จำเลยต้องแต่งงานกับสามี แต่จำเลยก็ถูกมองว่าเป็นฝ่ายถูกกระทำ คำอธิบายดังกล่าวเน้นถึงความผิดปกติของผู้ตายว่าเป็นเหตุผลที่เขาทำร้ายภรรยา โดยผู้ชายที่มีอาการผิดปกติจะก่อความรุนแรง แต่ผู้ชายปกติทั่วไปจะไม่ทำเช่นนั้น จึงเห็นได้ชัดว่าความรุนแรงในครอบครัวในฐานะที่เป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่ง ไม่ได้ถูกนำมาพิจารณาอย่างจริงจังในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. สังคมมองว่าผู้ชายที่ไม่มีงานทำ เป็นเรื่องสำคัญเพราะเหตุผลของการแบ่งหน้าที่ตามเพศ ผู้ชายที่อยู่ในครอบครัวจะต้องหารายได้เลี้ยงครอบครัว ดังนั้น ในสังคมญี่ปุ่นจึงมองว่าผู้ตาย (สามี) มีคุณค่าน้อยมาก คำอธิบายของศาลแสดงให้เห็นถึงการยกย่องการเสียสละของผู้หญิง

หลังจากแต่งงาน ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน แต่สามีก็ยังทำร้ายจำเลย ไม่ยอมทำงานและใช้เงินซื้อเหล้าดื่มและเล่นพนันม้าแข่ง จำเลยเริ่มออกทำงานเป็นหญิงบริการ เพื่อหาเงินใช้หนี้ที่ส่วนมากสามีเป็นผู้ก่อและยังต้องหาเลี้ยงครอบครัว (ผู้พิพากษา อธิบายถึงสภาพการณ์ในครอบครัวของจำเลย)

คดีนี้เป็นคดีมีความรุนแรงมาก และคำแถลงของอัยการก็เป็นเรื่องที่มีเหตุผล แต่เมื่อมองจากอีกมุมหนึ่งในเรื่องที่มาของการก่อเหตุ สิ่งจูงใจให้จำเลยฆ่าสามี อีกทั้งการที่จำเลยตาบอดข้างซ้าย ล้วนเป็นผลจากการถูกทำร้ายอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันจำเลยยังต้องพยายามหาเลี้ยงครอบครัวอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้" (ผู้พิพากษาอธิบายถึงลักษณะของสามี)

พฤติกรรมของจำเลยเองไม่ได้ขัดกับความเป็นผู้หญิงในฐานะภรรยาตามที่สังคมคาดหวัง ดังเช่นการหาเลี้ยงครอบครัวเท่าที่จำเลยสามารถทำได้ จำเลยควรขอให้สามีหยุดใช้เงินซื้อเหล้าและเลิกเล่นพนันม้าแข่ง แต่ก็เป็นเพียงการย้ำให้เห็นถึงความอดทนและการดูแลครอบครัว ซึ่งจำเลยทุ่มเทให้กับครอบครัว เรื่องนี้ก็ไม่ได้ขัดกับอุดมคติของสังคมที่มีต่อคนเป็นภรรยา เห็นได้ชัดว่า ที่จำเลยได้รับการลดโทษก็ด้วยเหตุผลที่ว่า จำเลยทุ่มเทชีวิตให้กับครอบครัว ถึงแม้ว่าจะถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง ลักษณะนิสัยเฉพาะตัวของจำเลยในฐานะภรรยาและความเป็นแม่ ถูกนำมาพิจารณาว่ามีความสำคัญมากกว่าประเด็นเรื่องความรุนแรงในครอบครัว แม้จำเลยเสียตาข้างซ้ายไปแต่สังคมไม่ได้ตระหนักถึงประเด็นที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว ไม่มีการพูดถึงในส่วนของโรงพยาบาลที่ไม่ได้รายงานต่อตำรวจเมื่อรับรักษาคนไข้รายนี้

คดีที่สอง
พิพากษา เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 ที่ศาล Nagoya District Court
จำเลยถูกตีที่หลังศีรษะด้วยไม้กอล์ฟ จำเลยได้แทงผู้ทำร้ายจำเลยซึ่งเป็นสามีของจำเลย ด้วยมีดเล็กขณะที่ผู้ตายนอนหลับตาอยู่ ทนายจำเลยอ้างว่ากรณีนี้เข้าข่ายเป็นการป้องกันตัวเองตามกฎหมาย ศาลไม่เห็นด้วยกับคำแถลงของทนายแต่ก็ตัดสินให้มีการลดโทษแทน ถึงแม้ศาลจะยอมรับว่าความผิดนี้ไม่เข้าข่ายการป้องกันตนเอง แต่จำเลยก็ได้รับการยกเว้นโทษ

สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาในคดีนี้คือ จำเลยกระทำการภายใต้สภาพที่จวนตัวหรือไม่ ผู้ตายใช้เสื้อเชิ้ตรัดคอจำเลยและตีจำเลยที่ศีรษะด้านหลังด้วยไม้กอล์ฟ แต่หลังจากนั้นผู้ตายก็หยุดทำร้ายจำเลยและล้มตัวลงนอน จำเลยแทงผู้ตายจนเสียชีวิต สถานการณ์ดังกล่าวดูเหมือนไม่อยู่ในภาวะจวนตัว แต่ก็สันนิษฐานได้ว่า ถ้าผู้ตายไม่ถูกฆ่าตายเสียก่อนผู้ตายคงยังต้องทำร้ายจำเลยต่อไปอีก. ด้วยเหตุนี้ประเด็นสำคัญของการพิจารณาจึงอยู่ที่ว่าเป็นสถานการณ์ที่จวนตัวหรือไม่ แม้การกระทำของจำเลยนั้น พอที่จะหยุดความรุนแรงของอีกฝ่ายได้ช่วงหนึ่ง แต่จำเลยแทงผู้ตายที่คอซึ่งเป็นจุดสำคัญของร่างกาย จึงนับว่าการกระทำของจำเลยในกรณีนี้เกินกว่าแค่การป้องกันตนเอง เมื่อพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและผู้ตาย ศาลมีความเห็นใจและให้จำเลยไม่ต้องรับโทษ

บทวิเคราะห์คำพิพากษา: คำอธิบายของศาลต่อไปนี้เป็นเน้นให้เห็นภาพลักษณ์ของผู้หญิงในเชิงอุดมคติตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. "จำเลยผ่านการหย่ามาแล้วสองครั้ง และมีบุตรชายหนึ่งคนกับสามีคนแรก โดยจำเลยเคยทำงานช่วงกลางวันกับบริษัทกาแฟแห่งหนึ่งและเริ่มทำงานพิเศษที่ภัตตาคารหนึ่งเมื่อประมาณเดือนเมษายน 1987 (คำอธิบายของผู้พิพากษาพูดถึงข้อมูลเกี่ยวกับตัวจำเลย)"

โดยทั่วไปแล้วสังคมญี่ปุ่นยังไม่ยอมรับเรื่องการหย่าร้างโดยเฉพาะกับผู้หญิง เพราะการหย่าเป็นเรื่องที่ขัดกับภาพลักษณ์ของผู้หญิงตามแนวคิดที่แฝงอยู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ดังนั้น คำอธิบายข้างต้นจึงแสดงให้เห็นว่า จำเลยมีปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับคุณสมบัติประจำตัว. "จำเลยถูกทำร้ายร่างกายและต้องไปเข้ารับการรักษาอาการบาดเจ็บที่โรงพยาบาลสองสามครั้ง แต่จำเลยไม่ได้บอกใครเรื่องที่ถูกทำร้าย เพราะคิดว่าผู้ตายจะทำร้ายหรือข่มขู่ญาติของจำเลย (ผู้พิพากษาอธิบายสถานการณ์ที่จำเลยถูกทำร้าย)"

จำเลยพยายามจะปกป้องครอบครัว (ญาติ) ก่อนพยายามแก้ไขปัญหาของตนเอง ซึ่งเป็นเหตุผลที่จำเลยเก็บเงียบเรื่องที่ตนเองถูกทำร้าย การเก็บเงียบในเรื่องปัญหาครอบครัวถือว่าเป็นเรื่องน่ายกย่องในสังคม และความรุนแรงในครอบครัวเป็นสิ่งที่ควรเก็บเป็นความลับ และให้เป็นเรื่องที่อยู่เฉพาะภายในบ้าน เนื่องจากการเปิดเผยปัญหาส่วนตัวของบุคคลใดต่อคนอื่น ถือว่าเป็นเรื่องน่าอายในสังคมญี่ปุ่น ดังนั้น การเปิดเผยปัญหาความรุนแรงในครอบครัวจึงเป็นเรื่องน่าละอายของครอบครัว

"จำเลยควรได้รับความเห็นใจและควรนำประเด็นต่างๆ เหล่านี้มาพิจารณา ถึงแม้ว่าจำเลยจะรู้สึกโกรธที่ถูกผู้ตายทำร้ายอย่างรุนแรง แต่จำเลยก็ไม่อาจถูกตำหนิที่มีความรู้สึกเช่นนั้น หลังจากจำเลยฆ่าผู้ตายจนเสียชีวิต จำเลยได้โทรแจ้งตำรวจ 101 ทันที และสารภาพสิ่งที่จำเลยได้ทำลงไป จำเลยไม่ได้ทำอะไรผิดที่สมควรจะถูกทำร้ายซ้ำแล้วซ้ำอีก (ผู้พิพากษาอธิบายความรู้สึกของจำเลย และเหตุการณ์หลังจากฆ่าสามีจนเสียชีวิต)"

ผู้หญิงถูกกำหนดว่าจะต้องมีวิธีจัดการกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ในขณะเดียวกัน จากคำอธิบายของศาลก็เห็นว่า ผู้หญิงสามารถถูกทำร้ายได้ด้วยเหตุผลบางประการ ซึ่งในคำอธิบายบ่งบอกว่าบางคนสมควรถูกทำร้าย และถ้อยคำของศาลก็แฝงไว้ด้วยความคิดที่ว่าสามีมีหน้าที่ควบคุมและลงโทษภรรยา

"ครอบครัวของผู้ตายขอให้ศาลลงโทษจำเลยสถานเบา นอกจากนี้ ก่อนหน้านี้ จำเลยยังไม่เคยทำผิดคดีอาญาแม้แต่ครั้งเดียว บุตรชายของจำเลยซึ่งตอนนี้โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว สามารถที่จะเลี้ยงดูจำเลย จึงมีเหตุผลที่จะให้จำเลยได้รับการยกเว้นโทษ (ผู้พิพากษาอธิบายถึงความต้องการของผู้คนที่อยู่รอบข้างจำเลย)"

ความคิดที่ว่าผู้หญิงมักจะถูกควบคุมและต้องพึ่งพาคนอื่น เป็นความคิดว่าผู้หญิงเป็นผู้ถูกกระทำไม่ใช่ผู้กระทำ ความคิดเช่นนี้บ่งบอกอยู่ในข้อความข้างต้น ทั้งนี้มีข้อสมมติฐานที่กล่าวว่าผู้หญิงที่ทำผิดอาญา ไม่จำเป็นต้องให้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาควบคุม แต่สมาชิกชายในบ้านสามารถควบคุมได้เอง ในกรณีนี้ความช่วยเหลือจากบุตรชายของจำเลยนับว่ามีความสำคัญมาก ตามธรรมเนียมแล้วผู้หญิงญี่ปุ่นควรเชื่อฟังสามี และเมื่อสามีเสียชีวิตก็ต้องเชื่อฟังบุตรชาย เนื่องจากบุตรชายจะเป็นหัวหน้าครอบครัวหลังจากบิดาเสียชีวิต ข้อความข้างต้นจึงแสดงให้เห็นถึงการยอมรับในคุณสมบัติของเพศชาย

"จำเลยมีชิวิตปกติธรรมดาจนเมื่อปี 1988 สามีของจำเลยก็เริ่มใช้ความรุนแรงกับจำเลยเมื่อเริ่มเมาสุรา และสามียังเริ่มบ่นในเรื่องไร้สาระ จำเลยพยายามขอเลิกกับสามีเมื่อต้นปี 1990 แต่ถูกปฏิเสธ และในปี 1991 จำเลยก็เริ่มตั้งครรภ์ แต่จำเลยก็ยังต้องการเลิกกับสามีอยู่ จำเลยจึงตัดสินใจทำแท้ง (ผู้พิพากษาแจงรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของฝ่ายสามี)". "เมื่อสามีเมา เขาจะทำร้ายจำเลยอย่างไม่มีเหตุผลและก็เป็นเช่นนี้เรื่อยมา (ผู้พิพากษาแจงรายละเอียดในพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของสามี)"

ข้อความข้างต้นเป็นการบรรยายภาพความรุนแรงของสามีว่าเกิดขึ้นเพราะเหล้า แสดงให้เห็นถึงการยอมทนกับวัฒนธรรมการดื่มของผู้ชาย และความรุนแรงที่เกิดกับผู้หญิง ในคำอธิบายของผู้พิพากษามองว่า ความรุนแรงนั้นเกิดจากฤทธิ์แอลกอฮอลล์ ไม่ใช่เกิดจากสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ที่ยังคงทำให้ลัทธิชายเป็นใหญ่สามารถคงอยู่ต่อไป อันเป็นการทำให้ความรุนแรงในครอบครัวไม่ถูกมองว่าเป็นอาชญากรรมรุนแรงอย่างหนึ่ง

ข้อความข้างต้นบ่งบอกว่าความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดกับผู้หญิง เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ถ้ามีเหตุผล เป็นเวลานานมาแล้วที่สังคมญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยอมรับความรุนแรงในครอบครัว และผู้พิพากษาก็คิดเช่นนี้อย่างเห็นได้ชัด ข้อความข้างต้นจึงแสดงให้เห็นถึงข้อสันนิษฐานที่ผิดพลาดเกี่ยวกับเรื่องของความรุนแรงในครอบครัว."เห็นได้ชัดว่าจำเลยกับสามีมีกำลังที่แตกต่างกัน เพราะในขณะที่จำเลยเป็นผู้หญิง แต่สามีเป็นนักเรียนคาราเต้ ถ้าจำเลยมีอาวุธ สามีไม่มี และถ้าสามีกำลังจะทำร้ายจำเลย ทั้งสองฝ่ายก็สามารถต่อสู้กันได้ (ผู้พิพากษาอธิบายว่าคดีนี้ไม่ใช่การป้องกันตัวตามกฎหมาย)"

ถ้อยคำข้างต้นเน้นไปที่ความแตกต่างของกำลังทางร่างกาย ระหว่างผู้ทำร้ายกับผู้ถูกทำร้าย โดยไม่ได้ให้ความสนใจกับปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบเรื่องความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัวนั้นไม่ใช่แค่เป็นปัญหาเรื่องของความแตกต่างของพละกำลังทางร่างกายเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกิดและดำรงอยู่จากความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในสังคมที่ชายเป็นใหญ่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนและสร้างขึ้นโดยสังคม. คำอธิบายของผู้พิพากษาข้างต้นเน้นไปที่แง่มุมเดียวของความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งขาดความเข้าใจว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่ง ที่มีความรุนแรงและมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงสามารถอธิบายได้ว่าการมีอาวุธเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำกล่าวนี้ย้ำให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญามองว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะเวลาที่เกิดเหตุการณ์เท่านั้น โดยไม่ได้ให้ความสนใจกับข้อเท็จจริงว่า ความรุนแรงในครอบครัวนั้นเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นเวลานาน ทำให้เหยื่อของความรุนแรงมีความรู้สึกถึงความเครียดและอันตรายในระดับหนึ่ง อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า ปัญหาด้านจิตใจถูกมองข้ามไป จากคำอธิบายของศาล แสดงให้เห็นถึงอคติที่ฝังอยู่ในความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว

"เมื่อพิจารณาจากอายุ เพศ ความแข็งแรงด้านร่างกายและสภาวะของทั้งผู้เสียหายและจำเลย ถือได้ว่าการใช้มีดขนาดเล็ก นับว่าเข้าข่ายการป้องกันตัว แต่คดีนี้การป้องกันตัวของจำเลยน่าจะทำเพื่อหยุดความรุนแรงของสามีเป็นการชั่วคราว (ผู้พิพากษาอธิบายสถานการณ์ก่อนที่จำเลยจะก่อเหตุ)"

"คดีนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นคดีที่มีการกระทำที่เกินกว่าการป้องกันตัว และยังเป็นคดีอาญาที่รุนแรงมากที่จำเลยแทงผู้ตายที่คอจนเสียชีวิต แต่ด้วยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเรื่องนั้นก็เพราะ จำเลยถูกผู้เสียชีวิตทำร้ายมาโดยตลอด ซึ่งสุดท้ายการถูกทำร้ายที่รุนแรงมากนี้ อาจทำให้จำเลยเสียชีวิตได้ (ผู้พิพากษาอธิบายเกี่ยวกับกรณีการฆ่าคนตาย)"

คำอธิบายของศาลบ่งบอกว่า ความรุนแรงในครอบครัวสามารถทำให้หยุดลงได้ชั่วคราว และจะไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นหลังจากนั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์ของการที่จำเลยถูกทำร้าย ทั้งนี้ในระหว่างที่สถานการณ์กำลังทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งไม่มีเวลาที่จะทำดีต่อกันหรือใจเย็นลงได้ ดังนั้น ฝ่ายที่ถูกทำร้ายจึงถูกกระทำเป็นส่วนมาก จึงเป็นการยากมากที่จะกำหนดขอบเขตว่าการกระทำในลักษณะใดที่จะเรียกได้ว่า "ชั่วคราว". คำพูดของศาลแสดงให้เห็นว่า การกระทำความผิดของจำเลยนั้น ร้ายแรงมากกว่าความรุนแรงที่จำเลยถูกสามีทำร้าย ความรุนแรงในครอบครัวเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่ง แต่ถูกอธิบายว่าเป็นเพียงการใช้ความรุนแรงเท่านั้น

การวิเคราะห์อาชญากรรมและการลงโทษด้วยมุมมองด้านเพศสภาพ
การฆ่าคนตายเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 199 ในประมวลกฎหมายอาญาญี่ปุ่น สำหรับบทลงโทษที่จำเลยคดีฆ่าคนตายจะได้รับนั้น มี โทษประหาร, จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกสามปีขึ้นไป จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำการวิเคราะห์บทลงโทษที่จำเลยในกรณีศึกษาแต่ละคดีได้รับ ซึ่งก่อนจะวิเคราะห์กรณีศึกษาแต่ละคดี ต้องพิจารณาภาพที่ 2 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยแต่ละคดีได้รับโทษอย่างไร

ภาพที่ 2 การลงโทษในกรณีศึกษา

กล่าวได้ว่าทั้งสองคดีได้รับโทษที่เบามาก เมื่อเทียบกับที่กฎหมายกำหนดไว้ข้างต้น เห็นได้ชัดเจนว่า จำเลยแต่ละคดีเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว แต่ในเวลาเดียวกันจำเลยทั้งสองก็ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต จากกรณีศึกษาทั้ง 2 คดี ไม่มีเรื่องของการกระทำเพื่อป้องกันตัวเอง จึงถือว่าการที่จำเลยฆ่าสามีหรือคู่ชีวิตเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะเข้าใจได้ถึงสาเหตุของการกระทำนี้ก็ตาม

จากการสัมภาษณ์ทนายความคนหนึ่ง ได้ให้ความเห็นว่าโทษที่จำเลยทั้งสองได้รับนั้นค่อนข้างเบา โดยปกติแล้วการทุเลาการบังคับคดีหรือยกเว้นโทษเป็นการลงโทษที่เบา ทั้งที่จำเลยควรจะต้องโทษจำคุกอย่างน้อยสามปี เขายังกล่าวอีกว่าที่ผู้หญิงได้รับการปฏิบัติด้วยความเห็นใจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพราะผู้หญิงไม่ได้ถูกมองว่าเป็นบุคคลที่มีความเข้มแข็ง นอกจากนี้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาไม่จำต้องคอยควบคุมผู้หญิงอยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะสมาชิกในครอบครัวซึ่งส่วนมากเป็นชายสามารถทำหน้าที่นี้ได้ เป็นความจริงที่ว่าการที่ผู้หญิงต้องเผชิญกับการถูกทำร้ายควรได้รับความเข้าใจและเห็นใจ แต่จำเลยทั้งสองได้ทำให้คนตายอันเป็นอาชญากรรมที่รุนแรงมากจึงสมควรจะต้องได้รับโทษในระดับหนึ่ง และยังเป็นการดีในอันที่จะให้ผู้หญิงที่กระทำผิดคดีอาญาต้องติดคุกเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อปรับปรุงชีวิตให้ถูกต้อง (ความเห็นข้างต้นเป็นคำสัมภาษณ์ทนายคนหนึ่งเป็นการส่วนตัว เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2001)

ถ้าพูดถึงในแง่ของคุณค่าของความเป็นมนุษย์แต่ละคนแล้ว แนวคิดของทนายดังกล่าวก็นับว่ามีเหตุผล ด้วยเป็นที่ยอมรับว่าบทลงโทษสามารถลดลงได้ในระดับหนึ่ง โดยเหตุผลของภูมิหลังของอาชญากรรม. แต่ละสังคมมีกฎหมายเพื่อรักษาระเบียบสังคม และก็มีบทลงโทษต่อผู้ที่ฝ่าฝืน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (ไม่ใช่เหยื่อ) เป็นสิ่งที่เหมาะสมที่ใช้เป็นเหตุผลหรือกำหนดโทษกับการกระทำใดๆ และถึงแม้ว่าผู้หญิงจะถูกทำร้าย แต่การฆ่าคนที่มาทำร้ายก็เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ยกเว้นแต่เป็นการป้องกันตัวเองตามกฎหมาย

ในสังคมที่มีอารยธรรม ผู้เสียหายไม่ได้รับอนุญาตให้ลงโทษผู้ที่มาทำร้ายตนเอง แต่ถึงกระนั้นสิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ จะถือว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่?การที่จำเลยต้องก่อคดีฆ่าคนตายเพราะกฎหมายไม่ได้ทำหน้าที่อย่างเหมาะสม ในเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว จึงเป็นเหตุผลที่จำเลยทั้งสองในคดีตัวอย่างต้องทำการเช่นนั้น อันเป็นการแก้ไขปัญหาให้กับตัวเอง

Hisae Miyazono อาจารย์ด้านกฎหมายตั้งข้อสังเกตว่า จุดประสงค์ของการมีกฎหมายก็คือ การลงโทษผู้ละเมิดกฎเพื่อให้สังคมมีระเบียบ ตามกฎหมายการฆ่าคนตายในคดีตัวอย่างทั้ง 2 คดี เป็นผลมาจากความรุนแรงในครอบครัว ถ้าผู้กระทำผิดไม่ถูกทำร้ายก็คงจะไม่ก่อเหตุฆ่าคนตาย และคงเป็นไปไม่ได้ที่จำเลยจะฆ่าคนตายอีก แม้จำเลยจะไม่ต้องโทษจำคุก ก็ไม่เป็นผลทำให้สังคมเกิดความกลัวอย่างแน่นอน ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องลงโทษจำเลยอย่างรุนแรงก็ได้

วัตถุประสงค์ของการลงโทษก็เป็นสิ่งที่มีเหตุผล มีคำอธิบายว่า แม้บทลงโทษไม่เป็นผลดีกับผู้กระทำผิดทางอาญา Asada กล่าวว่า การลงโทษมีวัตถุประสงค์สามประการคือ

1. ป้องกันสังคมจากอาชญากรรม
2. ป้องกันไม่ให้อาชญากรทำผิดซ้ำอีก
3. ทำให้ผู้เสียหายและคนที่รู้สึกอยากแก้แค้นพอใจ

การลดโทษนั้นต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า บุคคลที่ทำผิดนั้นมีจิตไม่ปกติหรือเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด สำหรับเหตุผลที่ใช้ลดโทษก็คือ ความผิดนั้นเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตัว ผู้กระทำผิดยอมมอบตัวและผู้เสียหายไม่ถึงแก่ชีวิต การลงโทษจำเลยในคดีตัวอย่างทั้ง 2 คดีนี้ ในสถานเบานับว่ามีเหตุผล

การกำหนดโทษจะต้องสอดคล้องกับความรับผิดชอบของจำเลย สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาหลังจากที่จำเลยก่อเหตุแล้วคือ อายุ คุณลักษณะประจำตัว ความเป็นมาของคดี แรงจูงใจ วิธีการทำผิด ผลของการก่อเหตุ ความเสียหายต่อสังคมและพฤติกรรมของผู้กระทำผิด สำหรับเงื่อนไขที่สามารถนำมาลดโทษได้นั้นได้กล่าวถึงไปแล้ว สำหรับในคดีตัวอย่างทั้ง 2 คดี จำเลยได้รับการลดโทษอย่างไรและด้วยเหตุผลอะไร บทลงโทษที่จำเลยทั้งสองคดีได้รับ รวมทั้งการร้องขอของฝ่ายจำเลยเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องนำมาศึกษา ในภาพที่ 3 นี้ ได้แสดงให้เห็นถึงโทษที่ฝ่ายอัยการและจำเลยอ้าง

ตารางที่ 3 การลงโทษ

เห็นได้ชัดว่า การที่จำเลยอ้างเหตุผลว่าเป็นการป้องกันตัวเอง ไม่ได้รับการยอมรับในสถานการณ์ของความรุนแรงในครอบครัว และความเป็นมาของการก่อเหตุก็ต้องนำมาพิจารณดังที่จำเลยในคดีตัวอย่างได้รับการตัดสินโทษตามประมวลกฎหมายอาญาก็เป็นที่เข้าใจได้ แต่การอธิบายว่าโทษที่จำเลยทั้งสองคดีได้รับนั้นเป็นโทษสถานเบา ออกจะเป็นการตัดสินที่เร็วเกินไป สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาด้วยก็คือ หลักการเรื่องของเจตนาในการก่อคดีฆ่าคนตาย อันเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้พิจารณาในการกำหนดโทษ. สำหรับคดีที่ 2 เป็นที่ชัดเจนว่าเป็นการเจตนาฆ่า ซึ่งมีคำอธิบายว่าเป็นการป้องกันตัวอย่างหนึ่งที่เกิดจากความโกรธ สำหรับในคดีแรกไม่ได้มีการพิจารณาเรื่องเจตนา แต่ก็มีคำอธิบายว่า ถึงแม้จะสันนิษฐานได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าก็ตาม แต่ก็ไม่ควรนำมาพิเคราะห์

เนื่องด้วยจำเลยทั้ง 2 คดีแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาฆ่า ความผิดของทั้ง 2 คน จึงไม่ใช่การกระทำที่ไม่ตั้งใจ แต่จำเลยทั้งสองตัดสินใจที่จะฆ่าสามีของตนเอง และศาลก็ไม่เห็นว่าเป็นการป้องกันตนเอง ทางเลือกประการเดียวก็คือการอยู่เฉยไม่ต้องทำอะไร เพราะการฆ่าสามีเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายอย่างแน่ชัด จำเลยจึงต้องได้รับโทษตามความเป็นจริง

ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อมีการลงโทษคือ ความสามารถในการรับผิดชอบ ถ้าจำเลยไม่มีความสามารถที่จะรับผิดชอบได้ก็ไม่ต้องรับโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา ความรับผิดชอบหมายถึง บุคคลที่ทำผิดกฎหมายแล้วต้องสามารถรับโทษได้ ถ้าจำเลยขาดความสามารถในการรับผิดชอบด้วยเหตุผลเรื่องของอายุและ/หรือสภาพจิต จำเลยก็ไม่ต้องรับโทษหรือได้รับการลดโทษ และถ้าคดีนั้นมีความเป็นมาที่ควรให้สังคมเห็นใจ จำเลยก็ไม่ต้องรับโทษหรือควรได้รับการลดโทษเช่นกัน

ข้อมูลจาก Critical Discourse Analysis (Titscher,2000) สะท้อนว่า ความรุนแรงในครอบครัวยังไม่เป็นที่เข้าใจกันกว้างขวางเพียงพอ แต่ก็มีคำถามว่า เหตุใดจึงมีการลดโทษเกิดขึ้น? แม้ว่าความรุนแรงในครอบครัวจะถูกมองว่าเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สังคมมักมองไม่เห็นความรุนแรงที่เกิดกับผู้หญิงในโลกส่วนตัว แต่ไม่ได้หมายความว่าสังคมจะยอมรับให้ภรรยาที่ถูกสามีทำร้ายสามารถฆ่าสามีได้ เพราะความรุนแรงที่จำเลยต้องเผชิญไม่ได้รับการยอมรับอย่างถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ถ้าความรุนแรงในครอบครัวจะได้รับการยอมรับว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ผู้หญิงก็ยังได้รับการสนับสนุนที่ไม่เพียงพอ

ได้มีการกล่าวไปแล้วว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญามีทัศนะบางอย่างเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของผู้หญิง รวมทั้งมีอคติเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรม ถ้าผู้กระทำผิดหญิงคนใดไม่มีภาพลักษณ์ดังกล่าวและถูกพิจารณาด้วยทัศนะที่มีอคติ จำเลยก็จะไม่ได้รับการลดโทษ จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้หญิงก็ได้รับการปฏิบัติด้วยความเห็นใจ ผู้กระทำผิดคดีอาญาที่เป็นหญิงจะได้รับการปฏิบัติอย่างเข้มงวด ในกรณีที่เป็นบุคคลที่มีภาพลักษณ์ขัดกับทัศนะของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

การลดโทษหรือการละเว้นโทษหมายความว่า บุคคลไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การได้รับการปฏิบัติด้วยความเห็นใจก็หมายความว่า ไม่มีความรับผิดชอบหรือไม่มีความสามารถในการรับผิดชอบ จากคำกล่าวของนักกฎหมาย (ใน Morrissey, 2003) กล่าวว่าผู้หญิงได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นวัตถุที่ต้องควบคุม หมายความว่า ผู้หญิงไม่ได้ถูกมองว่าเป็นบุคคลที่มีความสามารถ ถ้ากระบวนการยุติธรรมทางอาญามองว่า ผู้หญิงที่ทำผิดทางอาญาเป็นผู้หญิงที่ไม่มีความสามารถ ก็เป็นที่ชัดเจนว่าจำเลยไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อการทำผิดของตัวเอง เมื่อพิจารณาถึงความรับผิดชอบของผู้ทำผิดเหล่านี้ สิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาคือประเด็นว่า บุคคลนั้นเลือกที่จะฆ่าคนหรือไม่ ผู้กระทำผิดไม่มีทางเลือกขณะที่เกิดเหตุหรือไม่ ขณะที่ถูกทำร้าย ซึ่งผู้หญิงมีทางเลือกอยู่สามทางคือ

1. ยอมถูกทำร้ายเหมือนเดิม โดยไม่ดำเนินการใดๆ กับผู้ทำร้าย
2. ต่อสู้ขัดขืน และ
3. ไปจากสามี

ดังนั้น การฆ่าคนที่มาทำร้ายตนเองก็เป็นวิธีการหนึ่งของใช้กำลัง การกระทำที่มาจากการใช้กำลังถือว่า เป็นการตัดสินใจหรือเป็นทางเลือกหนึ่ง

ในคดีแรก เห็นได้ชัดเจนว่าผู้กระทำมีเจตนาฆ่า การฆ่าคนตายที่มีเจตนาจะฆ่าในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่า เป็นการตัดสินใจของจำเลย ซึ่งก็หมายความว่าจำเลยตัดสินใจเลือกที่จะทำ แต่ไม่ได้หมายความว่าความรุนแรงในครอบครัว (ซึ่งเป็นที่มาของคดี) จึงไม่ควรได้รับการพิจารณา และโทษที่จำเลยได้รับ น่าจะลดลงด้วยเหตุผลในเรื่องที่มาของการก่อเหตุ หรือผู้หญิงที่ถูกทำร้ายเป็นเพียงวัตถุที่น่าเห็นใจเท่านั้นหรือ

การให้ความเห็นใจจำเลย จึงหมายถึงการมองข้ามความสามารถของจำเลยไป การมีอยู่ของความรุนแรงในครอบครัว ควรได้รับการตรวจสอบและใช้เป็นปัจจัยหนึ่งสำหรับลดโทษ ที่สำคัญเช่นกันก็คือ จำเลยจะต้องรับผิดชอบต่อความผิดที่กระทำลงไป ผู้ที่ทำผิดควรได้รับการปฏิบัติในฐานะปัจเจกบุคคลที่กระทำการด้วยความสามารถของตนเอง ในขณะเดียวกันจำเลยก็ควรได้รับโทษที่แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นเพราะผู้หญิงบางคนมีภาพลักษณ์หรือถูกทำให้เข้ากับภาพลักษณ์ตามทัศนะของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ลักษณะประจำตัวในฐานะผู้หญิงก็เลยมีความสำคัญมากกว่าความผิดที่เกิดขึ้นจริง หรือสำคัญกว่าที่มาของการก่อเหตุ

การปฏิบัติต่ออาชญากรหญิงและความรุนแรงในครอบครัว: ข้อพิจารณาบางประการ
ไม่มีคดีใดที่ได้รับการพิจารณาอย่างแท้จริง ในประเด็นที่เกี่ยวกับความรุนแรงภายในครอบครัวซึ่งเกิดกับผู้หญิง แม้ว่าในบางคดีผู้ที่ถูกทำร้าย (ภรรยา) จะได้รับความเห็นใจในระดับหนึ่งก็ตาม. ความรุนแรงในครอบครัวไม่ถูกนับว่าเป็นอาชญากรรม แต่เป็นเพียงความขัดแย้งเล็กน้อยระหว่างสามีภรรยา อันเป็นวิธีของฝ่ายสามีในการลดความเครียดจากการทำงาน ซึ่งเป็นทัศนะที่แสดงให้เห็นว่า กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของความรุนแรงในครอบครัว ผู้ที่ถูกทำร้ายได้รับความเห็นใจในฐานะเหยื่อความรุนแรง แม้ว่าความรุนแรงในครอบครัวจะถูกมองว่าเป็นความผิด แต่ไม่มีการเรียกร้องให้สังคมรับผิดชอบกับปัญหานี้ เป็นเพราะสังคมรวมทั้งกระบวนการยุติธรรมทางอาญามองว่าความรุนแรง ที่สามีทำร้ายภรรยาเป็นพฤติกรรมรูปแบบหนึ่งที่สังคมให้การยอมรับ เพราะฉะนั้นความรุนแรงของผู้ชายจึงไม่ถูกต้องคำถาม

เมื่อพูดถึงความรุนแรงในครอบครัวก็จะมีอคติดำรงอยู่ด้วย มีความคิดที่เชื่อว่าความรุนแรงนั้นเกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มคนที่ไม่มีการศึกษาเท่านั้น แต่ผู้ที่ใช้ความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่คนที่มีการศึกษาต่ำเลย หากเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาในระดับหนึ่ง. ยังมีอีกสมมติฐานหนึ่งที่อธิบายว่า ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาในครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ แต่ในความเป็นจริงความรุนแรงในครอบครัวสามารถเกิดกับครอบครัวใดก็ได้ และผู้ที่ก่อความรุนแรงก็ถูกมองว่าเป็นคนที่มีความผิดปกติทางจิต ดังนั้น จึงไม่ถือว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นกับครอบครัวใดก็ได้ ซึ่งด้วยความเข้าใจที่ผิดพลาดนี้จึงทำให้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวถูกมองข้ามไป

ในกรณีของคดีตัวอย่าง จะเห็นได้ว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญามองภาพของผู้หญิงว่าเป็น "ภรรยาที่ดี" และ "แม่ที่ดี" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นผู้หญิง ผู้หญิงที่เชื่อฟังสามี เสียสละให้ครอบครัวและอุทิศชีวิตให้กับครอบครัวเป็นผู้ที่มีคุณค่าในสังคมญี่ปุ่น ผู้หญิงจึงถูกมองว่าเป็นผู้ถูกกระทำและเป็นวัตถุที่ไม่มีความสามารถ ผู้หญิงที่มีภาพลักษณ์ที่เป็นไปตามบรรทัดฐานในกรอบความคิดตามกระบวนการยุติธรรมอาญาจะได้รับความเห็นใจ ขณะที่ผู้มีภาพลักษณ์ไม่สอดคล้องก็จะไม่ได้รับความเห็นใจ ซึ่งในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามีเพียงข้อเท็จจริงและที่มาแห่งอาชญากรรมเท่านั้น ที่จะนำมาพิจารณาเพื่อความเป็นธรรม แต่สำหรับผู้หญิงที่กระทำผิดทางอาญา สิ่งที่นำมาพิจารณาก็คือภาพลักษณ์จากทัศนะที่เป็นอคติ

จึงสามารถสรุปได้ว่า กระบวนการยุติธรรมมองว่าอาชญากรรมเป็นเรื่องของผู้ชาย เพราะฉะนั้นต้องให้ความเห็นใจกับผู้หญิงที่ทำกระทำผิด. ในสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ ผู้ชายมีอำนาจและผู้หญิงอยู่ใต้อำนาจ ภายใต้ระบบสังคมเช่นนี้ผู้หญิงจึงต้องอุทิศและเสียสละเพื่อครอบครัว แม้ว่าภาพลักษณ์ดังกล่าวจะเป็นที่ยอมรับในแต่ละคดีตัวอย่าง แต่คุณค่าและสถานการณ์แวดล้อมของผู้หญิงในสังคมญี่ปุ่นก็กำลังมีการเปลี่ยนแปลง

เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์ของผู้หญิงระหว่างคดีที่เก่าที่สุดกับคดีใหม่ล่าสุด (ค.ศ. 1959 กับ 1993 ตามลำดับ) แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ของผู้หญิงมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ในด้านที่มีโอกาสมากขึ้นในการมีส่วนร่วมในสังคม การศึกษา และการตัดสินในชีวิตของตน ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป แนวคิดในทางอุดมคติที่เกี่ยวกับผู้หญิงก็เปลี่ยนไป แต่ภาพลักษณ์ของผู้หญิงในฐานะ "แม่ที่ดี" และ "ภรรยาที่ดี" ก็ยังเป็นที่ยอมรับในทุกคดี แต่การที่ผู้หญิงมีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้นก็ไม่ได้หมายความว่าบทบาทประจำเพศ (gender role) ภายในครอบครัวจะเปลี่ยนไป เพราะผู้หญิงยังต้องเป็นแม่ที่ดีและภรรยาที่ดีของบ้านอยู่

การให้คุณค่ากับภาพลักษณ์อย่างเช่นการเป็น "แม่ที่ดี" และ "ภรรยาที่ดี" มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่อุดมคติหลักที่มองว่าผู้หญิงเป็นบุคคลไร้ความสามารถทางกฎหมายยังไม่เปลี่ยนแปลง อันมีความหมายว่า ผู้หญิงยังคงถูกมองว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีความสามารถ และเป็นวัตถุที่ต้องได้รับความเห็นใจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ภาพลักษณ์ของความเป็นผู้ถูกกระทำ ความอ่อนแอ และการไร้อำนาจก็ยังคงถูกเน้นย้ำอยู่ ผู้หญิงที่กระทำผิดทางอาญาจึงไม่ได้รับการปฏิบัติจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างเป็นภววิสัย ผู้ที่มีภาพลักษณ์ที่ขัดกับอุดมคติที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จะถูกตำหนิและไม่ได้รับความเห็นใจพอ จึงมักได้รับโทษที่รุนแรงกว่า. จากการสัมภาษณ์อัยการ พวกเขามีความเห็นว่าเพราะกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นโลกที่ผู้ชายมีอิทธิพล จึงมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติกับผู้หญิงด้วยความเห็นใจ มีข้อสังเกตว่าถ้าจำนวนของผู้หญิงในกระบวนการยุติธรรมเพิ่มขึ้น จำนวนของผู้หญิงที่จะถูกคุมขังก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน

สรุป
ผู้หญิงที่ทำผิดทางอาญาได้รับการปฏิบัติในฐานะบุคคลที่อ่อนแอ ต้องการการปกป้องและตกเป็นเหยื่อง่ายเกินไป และยังมีภาพลักษณ์ที่เกิดจากการแบ่งหน้าที่ตามเพศสภาพที่เชื่อมโยงกับภาพลักษณ์ของการเป็นแม่ที่ดีและภรรยาที่ดี ด้วยภาพลักษณ์เหล่านี้ทำให้ผู้หญิงในคดีฆ่าคนตายได้รับการตัดสินด้วยโทษที่เบาลง แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ผู้หญิงที่ทำผิดจะได้รับการพิจารณาจากภาพลักษณ์ของการเป็นแม่ที่ดีและภรรยาที่ดี ถ้าบุคคลใดมีลักษณะประจำตัวสอดคล้องกับภาพลักษณ์นี้ มักจะหลุดรอดจากโทษรุนแรงในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา แต่ถ้าบุคคลใดมีลักษณะที่ขัดกับภาพลักษณ์ผู้หญิงในแบบดังกล่าวก็มักจะรับโทษหนัก จึงมีการให้ความสำคัญกับบุคลิกลักษณะของความเป็นผู้หญิงมากกว่าข้อเท็จจริงของการเกิดอาชญากรรม

ภาพลักษณ์ของการเป็นแม่ที่ดีและภรรยาที่ดี หมายถึงการที่ผู้หญิงต้องทุ่มเทชีวิตให้กับลูกและสามี ผู้หญิงที่เชื่อฟังและมีความอดทนจะเป็นที่ชื่นชมของสังคมและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กระบวนการยุติธรรมทางอาญามองว่าผู้หญิงที่ทำผิดทางอาญาเป็นวัตถุที่ไร้ความสามารถ ผู้กระทำผิดซึ่งมีภาพของผู้หญิงตามทัศนะเช่นนี้ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (เช่น การไร้ความสามารถ) ก็จะได้รับโทษน้อยลง และก็จะรับผิดชอบต่อความผิดที่ก่อขึ้นอย่างค่อนข้างน้อย แต่ถ้าผู้หญิงคนใดมีภาพลักษณ์ที่ไม่เข้าข่ายดังกล่าว ก็จะถูกสังคมมองว่าเป็นคนที่มีลักษณะเบี่ยงเบน

ถ้าพิจารณาเฉพาะเรื่องบทลงโทษ ผู้หญิงหลายคนที่ทำผิดทางอาญาก็เป็นฝ่ายได้เปรียบ เพราะคนเหล่านี้ถูกฟ้องดำเนินคดีน้อยกว่าและได้รับโทษที่เบากว่า โดยไม่สนใจว่าผู้หญิงก็มีความสามารถในการก่อความรุนแรง (Morrissey, 2003) ผู้หญิงที่ทำผิดทางอาญาจะได้รับการปฏิบัติเช่นบุคคลที่ถูกกระทำ บุคคลอ่อนแอ และเป็นวัตถุที่อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ชาย กระบวนการยุติธรรมทางอาญาไม่มีความเข้าใจถึงการกระทำทางอาญาของผู้หญิงเลย การก่ออาชญากรรมถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมชาติของผู้ชาย เมื่อผู้หญิงกระทำผิดจึงได้รับการตีความอย่างไม่ถูกต้อง เห็นได้ชัดว่า อาชญากรรมที่ผู้หญิงเป็นคนกระทำถูกมองด้วยอคติ และการตั้งสมมติฐานและด้วยความเข้าใจที่ผิด

เมื่อถูกมองว่าเป็นคนที่ไม่มีความสามารถ ผู้หญิงที่กระทำผิดทางอาญาจึงถูกจัดประเภทว่าเป็นคนไร้ความสามารถทางกฎหมาย บุคคลเหล่านี้จึงไม่ต้องรับผิดต่ออาชญากรรมที่ก่อขึ้น ในคดีตัวอย่างทั้ง 2 คดี แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่ทำผิดทางอาญาได้รับการปฏิบัติในเชิงอุดมคติ และปัญหาความรุนแรงในครอบครัวก็ถูกมองว่าไม่ใช่อาชญากรรม เมื่อพิจารณาจากคดีตัวอย่างนี้จะพบว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวแฝงด้วยความมีอคติ ดังที่ทนายคนหนึ่งชี้ว่า… โทษที่จำเลยผู้หญิงในคดีตัวอย่างทั้ง 2 คดีได้รับนั้น รับโทษค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับโทษที่ตัดสินในคดีฆ่าคนตายคดีปกติอื่นๆ ทั่วไป โดยต้องไม่ลืมว่า การฆ่าคนตายก็เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นกัน ถึงแม้ควรจะให้ความสำคัญกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เป็นสาเหตุของการฆ่าก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของสิทธิมนุษยชนและคุณค่าชีวิตของผู้กระทำและผู้ที่ถูกกระทำร้าย แม้สิทธิมนุษยชนของเหยื่อที่ถูกฆ่าตายควรต้องถูกคำนึงถึง (ซึ่งเป็นผู้ก่อความรุนแรงในครอบครัว) แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องถือว่า ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่งด้วย

หมายเหตุ
ในประเทศญี่ปุ่น โดยส่วนมากการหย่าร้างเป็นการตกลงยินยอมของทั้งสองฝ่าย ในกรณีที่คู่สามีภรรยาไม่สามารถตกลงแยกทางกันได้ และเมื่อยื่นคำร้องขอหย่าแต่ตกลงกันไม่ได้นั้น ก็จะมีทางให้เลือกหลักๆ อยู่สามทางดังนี้

1. การหย่ากันด้วยการไกล่เกลี่ยของศาลครอบครัว
2. การหย่าด้วยการตัดสินของศาลครอบครัว และ
3. การหย่าโดยการตัดสินของศาลชั้นต้น

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เอกสารอ้างอิง

- Asada,Kazushige,Uchida,Hirofumi,Ueda,Kan,and Matsumiya,Tahashi.(1996)
Current Penal Code,Yuhikaku,Tokyo, Japan.

- Gender Equality Bureau, The Cabinat Office.(2003)'Haigusha karano bouryoku ni
kansuru chousa,'(Research on Domestic Violence), Tokyo,Japan.

- The Cabinet Office.(2003) White Paper on Gender Equality, The Cabinet Office,
Tokyo,Japan.

- Hanreijihousha. (1975-2001) Hanreijihou No.935,No.1539,Hanreijihousha,Tokyo.

- Iwai,Nobuko.(2000) House of representative,Diet Discussion Paper, Ministry of
Justice,Tokyo, Japan.

- Japan-Korea Joint Research Project for the Development of the Social System to
Prevent Violence Against Women in the Family ---Possibilities in Asia.(2001)
'Symposium Handouts 4,'Tokyo, Japan.

- Kakuta, Yukiko.(1994) Violence from Husband/Partner:Women,Violence and Human
Rights,Gakuyousha,Tokyo,Japan

- Miyazono, Hisae.(1994) Feminist Criminology, Hougakushinpou No.100, Tokyo, Japan.

- ----.(2000) 'The Criminal Justice System and Gender in Japan,'Journal of the
National Women Education Center of Japan 4 : 53-64.

- Morrissey, Belinda.(2003) When Women Kill:Questions of Agency and Subjectivity,
Routledge, London.

- Pollak, Otto.(1950) The Criminality of Women, University of Pennsylvania Press,
Philadelphia.

- Sato, Noriko.(1985) The Realities of Female Crimes, Houritsunohiroba, January,
Gyousei, Tokyo, Japan.

- Titscher, Mayer.(2000)Methods of Text and Discourse Analysis, Sage Publications,
California.

- Tsujimura, Miyoko.(1997) 'Gender Dominated Law Structure and Historical Development,
'Gender and Law : 3-35.

- Watanabe, Yuko.(1994) Women. Violence and Human Rights, Gakuyosha, Tokyo, Japan.


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Domestic Violence Victims as Homicide Offenders:
A Study of Gender Ideology in the Japanese Criminal Justice System

Kana Takamatsu

Graduate School of Frontier Science, University of Tokyo, Japan

This study attempts to identify the biases and assumptions reflected in intra-household gender roles, to relate these roles to homicide cases in Japan where the wife kills the husband, and finally, to examine how women criminal offenders are ideologically treated. From case studies, it is clear that women criminal offenders are considered through biases and assumptions within the criminal justice system. If the character of the offender mirrors this prevalent image, she tends to not be punished strictly by the criminal justice system. However, if the character of the offender goes against the image of women, she tends to be punished strictly. Their personality as women is taken into account to a greater extent than the actual crime. In addition, the backgrounds and reasons for female homicide cases-in this case domestic violence-were not considered serious crimes, particularly until the Law on the Prevention of Spouse Violence and Protection of Victims was passed. Achieving gender equality in a society is crucial to not only reduce the number of victims of domestic violence, but to also give a fair judgment (not necessarily a light punishment) to women criminal offenders.

 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
22 December 2007
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
ผู้หญิงบางคนจะได้รับการปฏิบัติตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างเข้มงวดมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้เพราะเมื่อผู้หญิงก่อคดีขึ้นมา ก็จะถูกมองว่าไม่เพียงเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการกระทำที่ขัดกับบรรทัดฐานความเป็นหญิงของสังคมและของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา หญิงสาวที่กระทำความผิดจึงได้รับการปฏิบัติอย่างเข้มงวดมากกว่าชายหนุ่ม นอกจากนี้ผู้กระทำผิดคดีอาญาที่เป็นผู้หญิง จะได้รับการปฏิบัติที่เข้มงวดมากกว่า ถ้าเป็นคนที่มีลักษณะที่ขัดกับผู้หญิงในแบบที่มีความเป็นแม่และภรรยา ซึ่งแนวคิดนี้ก็ปรากฎอยู่กระบวนการยุติธรรม
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream