โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๔๐ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (December, 20, 12, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

20-12-2550

Islam in SE. Asia
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

ความแตกต่างของมุสลิมในโลกใบเก่าและใบใหม่?
ความแตกต่างของอิสลาม Modernism กับ Traditionalism
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภัทรมน กาเหย็ม : เขียน
สาขาภูมิภาคศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ปฏิบัติงานสหกิจ โครงการสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บทความวิชาการนี้ กอง บก.มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้รับมาจากผู้เขียน
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการนับถือศาสนาอิสลามของผู้คนในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผู้เขียนได้ปูพื้นฐานให้ทราบถึงลักษณะเฉพาะทางภูมิวัฒนธรรม และรากเดิมของความเชื่อ
ของผู้คนในแถบนี้ จนกระทั่งรับศาสนาอิสลาม ซึ่งได้มีการผสมผสานกับความเชื่อพื้นเมือง
ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ มีความพยายามในการฟื้นฟูศาสนาอิสลาม
ซึ่งส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมอิสลามแบบเก่าและใหม่ และได้ยกตัวอย่างมุสลิม
ในอินโดนีเซีย และมาเลเซียมาสำรวจ เพื่อทำความเข้าใจโดยสังเขป

midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๔๐
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๔.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ความแตกต่างของมุสลิมในโลกใบเก่าและใบใหม่?
ความแตกต่างของอิสลาม Modernism กับ Traditionalism
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภัทรมน กาเหย็ม : เขียน
สาขาภูมิภาคศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ปฏิบัติงานสหกิจ โครงการสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ความนำ
ศาสนาอิสลามมีอิทธิพลอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกล่าวได้ว่า "โลกมลายู" ก็คือ "โลกอิสลาม" ทั้งนี้เพราะศาสนาอิสลามในภูมิภาคนี้ได้มีการตื่นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศมุสลิมแถบตะวันออกกลาง ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาไปพร้อมๆ กับโลกยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดความแตกแยกทางความคิดระหว่างมุสลิมที่นิยมความเป็นจารีต (Traditionalism) กับมุสลิมที่มีความคิดแบบสมัยใหม่ (Modernism)

ศาสนาอิสลามถือกำเนิดเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 แต่ในขณะนั้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทบไม่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามเลยเป็นเวลาหลายร้อยปี จนเมื่อเริ่มมีชาวอาหรับเข้ามาค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(มิลตัน ออสบอร์น, 2544:54) ก็เริ่มมีการหันมานับถือศาสนาอิสลาม แต่ยังคงอาศัยอยู่บริเวณเมืองท่า ต่อมาศาสนาอิสลามที่มาจากการเผยแพร่ของชาวอินเดียเริ่มแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากไม่มีการบังคับให้มีการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมเก่าๆ ซึ่งขัดแย้งกับศาสนาอิสลาม (เอน.เจ.ไรอัน, 2526:20) ทำให้ชาวพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หันมานับถือศาสนาอิสลามมากขึ้นตามลำดับ

ลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เดิมนั้น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมเฉพาะของตนเอง แต่เดิมศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธมีอิทธิพลมาก เมื่อศาสนาอิสลามเข้ามาทำให้เกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งเป็นความเชื่อที่มีการประกอบพิธีกรรมแบบจารีต มีการเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาทิ การเคารพแม่ย่านางของมุสลิมที่ทำการประมง การมีความเชื่อเรื่องราชาผู้มีบุญบารมีเช่นเดียวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ทำให้อิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความเป็นเอกลักษณ์ที่หลากหลายแตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆ เหล่านี้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่มุสลิมรุ่นใหม่ต้องการที่จะพัฒนาศาสนาอิสลามให้มีความบริสุทธิ์ โดยเน้นการพัฒนาด้านการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศแถบตะวันออกกลาง

ภายหลังประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการศึกษามากขึ้น มุสลิมส่วนใหญ่จะเดินทางไปศึกษา ณ เมืองเมกกะ(ซาอุดิอาระเบีย) และไคโร(อียิปต์) ทำให้ได้รับความคิดจากตะวันออกกลางเข้ามาพัฒนารูปแบบของศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Modernism) ซึ่งขัดกับแนวความคิดของคนรุ่นก่อนที่ยังยึดหลักแบบจารีตอยู่ (Traditionalism) มุสลิมกลุ่มนี้จะเน้นย้ำความเป็นแบบฉบับดั้งเดิม ยึดติดอยู่กับตัวบทและระเบียบที่เคร่งครัดตามแบบฉบับของตัวกฎหมาย(นิพนธ์ โซะเฮง.2548) ตามกฎเกณฑ์จารีตต่างๆ ที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่แล้วไม่ควรไปเปลี่ยนแปลง บวกกับความเกรงกลัวในเรื่องการบั่นทอนอำนาจ เช่น ในสังคมของมลายูขณะนั้นมีชนชั้นหลักคือชนชั้นผู้ปกครองและชนชั้นผู้ถูกปกครอง โดยมีสุลต่านเป็นสัญญะของผู้ปกครองซึ่งเป็นที่เคารพของชาวมลายู และมีผู้นำศาสนาหรือนักปราชญ์มุสลิมให้การสนับสนุนและยกย่องให้สุลต่านเป็นที่เคารพของประชาชนอยู่นั้นถือเป็นการขัดกับหลักหลักคำสอนของอิสลามที่สอนให้เคารพพระเจ้าองค์เดียว

อย่างไรก็ตาม ศาสนาอิสลามก็มีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่รวมความแตกต่างภายในชุมชนทั้งทางด้านสังคมและการเมืองของชาวมุสลิมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ภายใต้รากฐานของสังคมมุสลิมแบบจารีต โดยเน้นการรวมศูนย์กลางที่ศาสนาอิสลามและดำรงชีวิตตามแบบจารีตประเพณี จึงทำให้เกิดการรวมตัวทางการเมืองอย่างเหนียวแน่นด้วยพลังทางศาสนามาจนทุกวันนี้

แนวคิดของมุสลิมสมัยใหม่ (Modernist Muslim)
ส่วนแนวคิดของมุสลิมสมัยใหม่(Modernist Muslim) ต้องการให้ศาสนาอิสลามมีความบริสุทธิ์ โดยซึมซับแนวคิดนี้มาจากกลุ่มชนชั้นนำที่ได้รับการศึกษาจากไคโร โดยได้รับอิทธิพลหลักมาจาก "กระแสฟื้นฟูอิสลาม" (Islamic revival) (*) จากตะวันออกกลางที่ต้องการให้ศาสนาอิสลามบริสุทธิ์และเป็นสมัยใหม่. กระแสฟื้นฟูอิสลาม เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 จาการตระหนักถึงการรับอิทธิพลกระแสวัฒนธรรมตะวันตกมามากเกินไป ทำให้ประเทศมุสลิมที่เคยยิ่งใหญ่ในยุโรปอย่างตุรกีต้องล่มสลายลง กลายเป็นตัวกระตุ้นให้ชาวมุสลิมทั่วโลกเกิดความหวั่นไหวว่า ศาสนาของตนกำลังอยู่ในอันตรายจากการคุกคามของโลกตะวันตก รวมทั้งความสำเร็จของการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านเมื่อปี ค.ศ.1979 ทำให้กลุ่มประเทศมุสลิมเริ่มตระหนักและย้อนกลับมาดูแลวัฒนธรรมดั้งเดิมโดยการเน้นความเป็นอิสลาม ด้วยการเริ่มพิจารณาการตีความคัมภีร์อัลกุรอ่านเสียใหม่ รวมไปถึงการปฏิบัติตนตามหลักหะดิษ(คำสอนและการปฏิบัติตามท่านนบีมูฮัมมัด) ที่เป็นแนวทาง และสิ่งจรรโลงใจมุสลิม)อย่างถูกต้อง

(*) Islamic revival refers to a revival of the Islamic religion throughout the Islamic world, that began roughly sometime in 1970s and is manifested in greater religious piety, and community feeling, and in a growing adoption of Islamic culture, dress, terminology, separation of the sexes, and values by Muslims. One striking example of it is the increase in attendance at Hajj pilgrimage to Mecca, which grew from 90,000 in 1926 to 2 million in 1979.

Two of the most important events that inspired the resurgence were the Arab oil embargo and subsequent quadrupling of the price of oil in the mid 1970s, and the 1979 Iranian Revolution that established an Islamic Republic in Iran under Ayatollah Khomeini. The first created a flow of many billions of dollars from Saudi Arabia to fund Islamic books, scholarships, fellowships, and mosques around the world; the second undermined the assumption that Westernization strengthened Muslim countries and was the irreversible trend of the future.

The revival is a reversal of the Westernisation approach common in many Arab and Asian governments earlier in the 20th century. It's often associated with Islamism and other forms of re-Islamisation. While the revival has also been accompanied by some religious extremism and attacks on civilians and military targets by the extremists, this represents only a small part of the revival.

The trend has been noted by historians such as John Esposito[3] and Ira Lapidus. An associated development is that of Transnational Islam, described by the French Islam researchers Gilles Kepel and Olivier Roy. It includes a feeling of a "growing universalistic Islamic identity" as often shared by Muslim immigrants and their children who live in non-Muslim countries.

จากแนวคิดที่ต่างกันทำให้ศาสนาอิสลามมีการแบ่งแยกระหว่างความเป็นจารีตและความเป็นสมัยใหม่อย่างชัดเจน ตัวอย่างที่เด่นชัดก็คือ เรื่องระบบการศึกษาที่เริ่มมีการพัฒนาระบบการศึกษาของศาสนาอิสลามและทำให้ทุกคนยอมรับ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากยุคสมัยใหม่ที่มาพร้อมกับการล่าอาณานิคม โดยมีการเปิดโรงเรียนที่เน้นคำสอนตามหลักศาสนาอิสลาม และให้มีการเรียนการสอนวิทยาการตามหลักสูตรสมัยใหม่ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ควบคู่ไปกับการศึกษาโดยอ้างว่าเพื่อเป็นการปรับตัวให้ทันกับโลกยุคใหม่

โรงเรียนตามระบบการศึกษาศาสนาอิสลามแบบสมัยใหม่ ได้เปิดสอนในหลายประเทศทั้งไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน รวมถึงการเปิดวิทยาลัยอิสลาม และมหาวิทยาลัยอิสลามไว้เพื่อยกระดับทางการศึกษาของมุสลิมให้สูงขึ้น ส่วนระบบการศึกษาศาสนาอิสลามแบบจารีตก็ยังคงมีอยู่ แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร มีเพียงมุสลิมบางกลุ่มที่ยังขาดความรู้ด้านการศึกษาศาสนาอิสลามอย่างจริงจังเท่านั้น ที่นิยมไปศึกษาโรงเรียนสอนศาสนาแบบจารีต เนื่องจากโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแบบจารีตจะไม่มีแบบแผนของการเรียนการสอนแบบตายตัว (การเรียน-การสอนขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้เรียนผู้สอน ไม่มีการเสียค่าเล่าเรียน แต่จะเป็นการตอบแทนกันด้วยสินน้ำใจ) โดยเน้นการเรียนการสอนตามหลักในคัมภีร์อัลกุรอ่าน และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตัวในการใช้ชีวิตตามหลักคำสอนในคัมภีร์อัลกุรอ่านได้

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าสภาพสังคมมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะแบ่งเป็นกลุ่มมุสลิมแบบสมัยใหม่ และมุสลิมจารีตอย่างชัดเจน ไม่เฉพาะลักษณะของระบบการศึกษาที่เห็นเด่นชัดเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความเชื่อในพิธีกรรม และการปฏิบัติตนตามแบบวิถีชีวิตของมุสลิมท้องถิ่นที่แตกต่างกัน

ปัจจัยการแตกแยกทางความคิดระหว่างอิสลาม Modernism กับ Traditionalism
ความรู้สมัยใหม่เป็นตัวสร้างความแตกต่างระหว่าง "โลกมุสลิม" กับ "โลกตะวันตก" อย่างค่อนข้างชัดเจน ในความเข้าใจโดยทั่วไป โลกมุสลิมค่อนข้างตกอยู่ในความล้าหลังกว่าโลกตะวันตก ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเดิม "โลกมุสลิม" เคยก้าวหน้าและเป็นผู้นำด้านนี้ในยุคที่ยุโรปยังคงอยู่ในยุคมืด (Dark Age)(**)

(**) In European historiography, the term Dark Age(s) refers to the Early Middle Ages, the period encompassing (roughly) 476 to 1000 AD. This concept of a Dark Age was created by the Italian scholar Petrarch (Francesco Petrarca) in the 1330s and was originally intended as a sweeping criticism of the character of Late Latin literature. Later historians expanded the term to refer to the transitional period between Classical Roman Antiquity and the High Middle Ages, including not only the lack of Latin literature, but also a lack of contemporary written history, general demographic decline, limited building activity and material cultural achievements in general (for example, as shown in the impoverishment of technologies, such as pottery). Popular culture has further expanded on the term as a vehicle to depict the Middle Ages as a time of backwardness, extending its pejorative use and expanding its scope.

ในระบบการศึกษาในโลกมุสลิมปัจจุบัน เกือบจะกล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาที่แบ่งแยกเป็นสองระบบ (นิพนธ์ โซะเฮง.2548) คือ การศึกษาอิสลามแบบดั้งเดิม (Traditional Islamic System) และการศึกษาแบบทางโลก (Secular System) ซึ่งเป็นการแบ่งแยกการศึกษาออกเป็นสองส่วน และแยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เชื่อว่าเพราะความบกพร่องจากภายในระบบการศึกษาของมุสลิมเอง บวกกับอิทธิพลของกระแสการศึกษาแบบตะวันตกซึ่งกลายเป็นวัฒนธรรมสมัยนิยมไปทั่วโลก ทำให้รูปแบบการศึกษาของมุสลิมถูกแยกออกเป็นสองแบบ คือ กลุ่มที่สนับสนุนการศึกษาระบบดั้งเดิม (Traditional Education) กับกลุ่มที่สนับสนุนการศึกษาแบบทางโลกอย่างตะวันตก (Secular Education) จึงทำให้มุสลิมมีความเข้าใจทางศาสนาอิสลามที่แบ่งแยกเป็นสองฝ่ายมาโดยตลอด ซึ่งในความเป็นจริงศาสนาอิสลามนั้นได้ตั้งอยู่บนทางสายกลางไม่ได้ปฏิเสธความก้าวหน้าหรือเทคโนโลยี และได้สอนให้มุสลิมเป็นคนดี โดยยึดหลักตามคัมภีร์อัลกุลอ่านและเชื่อในพระเจ้า

อิสลาม Modernism กับ Traditionalism ในประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย
การฟื้นฟูศาสนาอิสลามในกลุ่มประเทศมลายู ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดการฟื้นฟูศาสนาอิสลาม และแนวคิดการปฏิรูปศาสนาโดยมีศูนย์กลางการเผยแผ่อยู่ที่สิงคโปร์ ในการเชื่อมต่อระหว่างโลกมลายูกับโลกมุสลิม เพราะสิงคโปร์มีลักษณะเด่นทางภูมิศาสตร์และเป็นเมื่อท่าที่สำคัญ อีกทั้งเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ในขณะนั้น โดยเฉพาะสำนักพิมพ์ All-Iman ซึ่งมีเจ้าของเป็นคนมุสลิมรุ่นใหม่ ผลิตวารสารสำคัญในการกระตุ้นให้ชาวมลายูตื่นตัวในประเด็นทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศาสนา อีกทั้งมีการนำบทความจากประเทศตะวันออกกลางมาตีพิมพ์ โดยชี้ให้เห็นถึงความล้าหลังของชาวมลายูและการปฏิเสธความคิดของตะวันตก (ภูวดล ทรงประเสริฐ, 2547:224) และมีการตีความอธิบายหลักการในคัมภีร์อัลกุรอ่านเสียใหม่ จากเดิมที่สังคมชาวมลายูยังคงมีการปะปนพิธีกรรมแบบฮินดูอยู่ มุสลิมรุ่นหลังจึงต้องการที่จะปฏิรูปศาสนาให้มีความบริสุทธิ์ และเน้นความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ซึ่งไปขัดกับฐานะของสุลต่านและชนชั้นสูง ส่งผลให้กระแสฟื้นฟูศาสนาในกลุ่มชาวมลายูมีทั้งการต่อต้านและการสนับสนุน ทำให้เกิดความแตกแยกทางความคิดระหว่างกลุ่มมุสลิม Modernism และกลุ่มมุสลิม Traditionalism ดังตัวอย่างของประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย

มุสลิมในอินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มศาสนา มีประชากรมุสลิมมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกคือ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 190 ล้านคน(ภูวดล ทรงประเสริฐ, 2547: 507) แต่ในยุคอาณานิคม ชาวดัตช์ได้ออกนโยบายกีดกันไม่ให้กระแสอิสลามจากตะวันออกกลางเข้ามายังอินโดนีเซีย อาทิ การออกนโยบายขัดขวางไม่ให้มุสลิมเดินทางไปทำฮัจจ์ที่นครเมกกะ และการชักจูงให้ชาวชวาเลิกนับถือศาสนาอิสลาม (อุดมพร ธีระวิริยะกุล, 2542) ทำให้มุสลิมที่ต้องการเดินทางไปศึกษาหรือแสวงบุญที่ตะวันออกกลาง จำเป็นที่จะต้องเดินทางผ่านสิงคโปร์ที่ให้เสรีภาพมากกว่า

ภายหลังจากที่มุสลิมได้สำเร็จการศึกษา ก็ได้เข้ามาเผยแพร่ความรู้ด้านศาสนาอิสลามให้กับมุสลิมในท้องถิ่นของตน โดยมุสลิมที่สำเร็จการศึกษาหรือกลับจากการไปประกอบพิธีฮัจจ์ จะได้รับการยกย่องและเป็นที่เคารพของคนในท้องถิ่นเรียกว่า "อูลามะ" (Ulama) ซึ่งจะเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้นำศาสนา หรือเปิดโรงเรียนสอนศาสนา. โรงเรียนสอนศาสนาในอินโดนีเซียจะเรียกว่า "เปสันเตร็น" (Pesantren) ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนศาสนาแบบดั้งเดิม เป็นการสอนการอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่าน รวมทั้งการฝึกปฏิบัติลัทธิรหัสย (Mystical Exercises)(***) ซึ่งเป็นอิทธิพลของอินเดียที่หลงเหลืออยู่ (สุเทพ สุนทรเภสัช, 2547:98)

(***) ตัวอย่างของการฝึกปฏิบัตินี้ในหมู่ชนมุสลิมคือเรื่องของการฝึกสมาธิ ที่เรียกว่าดังรายละเอียดต่อไปนี้…
Meditation in Islam is the core of Muslim mystical traditions (in particular Sufism). Meditative quiescence is believed to have a quality of healing and creativity. The Muslim prophet Muhammad, whose deeds devout Muslims follow, spent long periods in meditation and contemplation. It was during one such period of meditation that Muhammad began to receive revelations of the Qur'an.

There are two concepts or schools of meditation in Islam:

- Tafakkur and Tadabbur, literally meaning reflection upon the universe. Muslims feel this is a form of intellectual development which emanates from a higher level, i.e. from God. This intellectual process through the receiving of divine inspiration awakens and liberates the human mind, permitting man's inner personality to develop and grow so that he may lead his life on a spiritual plane far above the mundane level. This is consistent with the global teachings of Islam, which views life as a test of our practice of submission to Allah, the one God.

- The second form of meditation is the Sufi meditation, it is largely based on mystical exercises. However, this method is controversial among Muslim scholars. One group of Ulama, Al-Ghazzali, for instance, have accepted it, another group of Ulama, Ibn Taymiya, for instance, have rejected it as a bid'ah (religious innovation).

Sufism relies on a practice similar to Buddhist meditation, known as Muraqaba or Tamarkoz which is taught in the Oveyssi-Shahmaghsoudi Sufi order. Tamarkoz is a Persian term that means 'concentration,' referring to the "concentration of abilities". Consequently, the term concentration is synonymous to close attention, convergent, collection, compaction, and consolidation.

ต่อมาหลังจากเกิดกระแสฟื้นฟูศาสนาอิสลามในตะวันออก กลุ่มมุสลิมรุ่นใหม่ (Modernist Muslim) ก็ได้รับกระแสดังกล่าวเข้ามาเผยแพร่ในอินโดนีเซีย และมีการเรียกร้องให้ปรับการเรียนการสอนในโรงเรียนศาสนาเปสันเตร็นให้มีการปฏิบัติตามคัมภีร์อัลกุรอ่านอย่างเคร่งครัด ในปัจจุบันเปสันเตร็นก็ได้ปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนโดยเพิ่มวิชาอิสลามคลาสสิกเข้ามาในการเรียนการสอน อาทิ ฟิกฮ์ ตาฟซีร์ เตาฮิดฯลฯ(สุเทพ สุนทรเภสัช, 2547:98) และก็ยังคงรักษาความเป็นจารีตเอาไว้

ภายใต้กลุ่มมุสลิมรุ่นใหม่ ได้ทำการปฏิรูปโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามในอินโดนีเซียเรียกว่า "มาดราซาฮ์" โดยมีการนำองค์ความรู้จากตะวันตกเข้ามา อาทิ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอื่นๆ ส่วนตัวผู้สอนก็ไม่ใช้อูลามะอย่างในอดีต ได้มีการจ้างครูที่จบตามสาขาที่ตรงกับวิชาที่ต้องการเข้ามาสอนแทนกลุ่มเดิม ส่วนในวิชาศาสนาก็ให้เรียนแบบทำความเข้าใจมากกว่าที่จะเป็นการท่องจำ ทำให้เกิดการต่อต้านจากกลุ่มมุสลิมแบบจารีตที่เป็นผู้นำศาสนา แต่ก็เป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น

คลิฟฟอร์ด เกียทซ์ นักมานุษยวิทยาได้ทำการศึกษาสังคมชวา จากแนวคิดของการเข้ามามีอิทธิพลของการเป็นสมัยใหม่ ทำให้เห็นถึงข้อแตกต่างของสังคมชวาระหว่างกลุ่มชนชั้นมุสลิมสามกลุ่มคือ กลุ่มซานตรี, กลุ่มอะบางัน, และกลุ่มปรียายี ซึ่งทั้งสามกลุ่มนี้ต่างก็มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกัน

กลุ่มซานตรี เป็นกลุ่มมุสลิมแบบเคร่งครัด มีการปฏิบัติและยึดหลักคัมภีร์อัลกุรอ่าน และยึดหลักตามคำพูดของท่านศาสดานบีมูฮัมหมัดหรือ "หะดิษ". ส่วนใหญ่มุสลิมในกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มาจากเมืองริมฝั่งทะเล ส่วนมากเป็นชนชั้นพ่อค้า ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับชาวอาหรับ กลุ่มซานตรีจะมีความรู้สึกถึงการเป็นอูหมาด(ความเป็นพี่น้องกับมุสลิมทั่วโลก) อยู่มาก โดยพวกเขามองว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ให้แนวทางสำหรับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมสมัยใหม่ โดยกลุ่มซานตรีแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีกสองสายคือ

- มุสลิมแบบจารีต (Traditional Muslim หรือ Kolot santri) ที่ยังคงยึดมั่นในความเชื่อแบบดั้งเดิมแบบชวา และ
- มุสลิมแบบสมัยใหม่ (Modernist Muslim หรือ Moderen santri) โดยกลุ่มนี้จะได้รับอิทธิพลมาจากตะวันออกกลาง และต้องการฟื้นฟูคำสอนดั้งเดิมของศาสนาอิสลาม (ทวีศักดิ์ เผือกสม,2547:125)

กลุ่มอะบางัน เป็นกลุ่มมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาวนา และมุสลิมที่อยู่ตามชนบท มุสลิมในกลุ่มนี้จะได้รับการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนา เหมือนกับมุสลิมในกลุ่มซานตรี แต่จะประสานเอาหลักการทางศาสนาเข้ามาผนวกกับความเชื่อดั้งเดิมของตน จึงถูกเรียกว่าเป็น "มุสลิมแต่เพียงในนาม" เนื่องจากมีการรับเอาพื้นฐานของศาสนาฮินดู และวัฒนธรรมตามแบบฉบับของชาวชวาเข้ามาผสมผสาน และที่สำคัญคือ การมีความเชื่อและความสนใจในทางไสยศาสตร์ อาทิ การนับถือผี วิญญาณ และปีศาจ เช่นในพิธี "Selamatan" เป็นพิธีโกนผมเด็กที่อายุครบ 40 วัน เป็นการต้อนรับสมาชิกใหม่ของบ้าน ชาวชวาถือว่าเป็นพิธีที่สำคัญที่สุด ซึ่งตามพิธีกรรมนั้น เจ้าของบ้านจะมีการกล่าวถึงผีบรรพบุรุษตามแบบพิธีจารีต

กลุ่มปรียายี หรือคนชั้นสูง เป็นมุสลิมส่วนน้อยของประเทศ อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกและภาคกลางของชวา โดยจะเป็นกลุ่มคนชนชั้นสูง ข้าราชการ หรือพลเรือน เป็นกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายอาดัท (adat) ของชวา รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีในราชสำนักแต่ดั้งเดิม มุสลิมกลุ่มนี้มีความรู้สึกถึงความเป็นชวาสูงมาก มีวัฒนธรรมที่สูงส่งและเป็นชนชาติเก่าแก่ (เพ็ชรี สุมิตร , 2523: 139) อีกทั้งยังคงมีการรักษาวัฒนธรรมฮินดูเอาไว้ และพยายามที่จะรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมของตนเองเอาไว้ ซึ่งกลุ่มปรียายีจะเน้นการแบ่งชนชั้นมากกว่าที่จะแบ่งตามการปฏิบัติตนในคัมภีร์อัลกุรอ่าน

การรับอิทธิพลจากกระแสอิสลามจากตะวันออกกลางในอินโดนีเซีย ส่งผลที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ รูปแบบการศึกษาทางด้านศาสนาอิสลาม และในส่วนอื่นอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลด้านองค์กร หรือฐานะชนชั้นซึ่งยังมีอิทธิพลอยู่ไม่น้อย ทำให้กลุ่มมุสลิมต่างๆ มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ท่ามกลางการปฏิสัมพันธ์อันเป็นปกติภายในสังคม

มุสลิมในมาเลเซีย
การศึกษาเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อความคิดระหว่างศาสนาอิสลามสมัยใหม่และอิสลามแบบจารีต ในอดีตก่อนการเข้ามาของอังกฤษ มุสลิมส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากอูลามะ ซึ่งได้รับการศึกษาทางด้านศาสนามาจากเมกกะและไคโร โดยในรัฐมลายูจะเรียกการศึกษาแบบนี้ว่า "ปอเนาะ" (Pondok) โรงเรียนปอเนาะจะเน้นการสอนให้อ่าน (ท่องจำ) ภาษาอารบิกในคัมภีร์อัลกุรอ่าน และการปฏิบัติตนในกิจวัตรตามวิถีแบบอิสลามโดยมีครูใหญ่ (Tuan Guru) เป็นผู้จัดการการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวบ้าน และได้รับเงินสนับสนุนจากสุลต่าน

ต่อมาคาบสมุทรมลายูตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ อังกฤษมองการศึกษาแบบนี้ว่าเป็นการศึกษาที่ล้าหลัง เพราะไม่มีการเรียนการสอนวิชาสามัญอย่างตะวันตก อังกฤษจึงใช้เหตุผลนี้ในการเข้าจัดการกับระบบการศึกษา(โดยไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากอังกฤษไม่มีนโยบายแทรกแซงเรื่องศาสนาของชาวมลายู) โดยจัดให้มีการตั้งโรงเรียนมาเลย์ และออกกฎหมายบังคับให้เด็กต้องเรียนในโรงเรียนมาเลย์ (โรงเรียนที่มีการเรียนการสอนตามหลักสูตรสมัยใหม่) ทำให้มีกลุ่มมุสลิมที่ต้องการจะศึกษาทางด้านศาสนาโดยเฉพาะ จำเป็นต้องเดินทางไปศึกษา ณ เมืองเมกกะและไคโร เป็นจำนวนมาก (ศูนย์กลางการเดินทางอยู่ที่สิงคโปร์) เนื่องจากชาวมลายูมีฐานะที่ดีขึ้นด้วยปัจจัยราคายางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญกำลังสร้างรายได้ให้แก่ชาวมลายูนั้น เป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตกในช่วงเวลาดังกล่าว และเมื่อเดินทางกลับมามุสลิมกลุ่มนี้ก็มีความต้องการที่จะพัฒนาศาสนาอิสลามให้บริสุทธิ์

การแบ่งแยกระหว่างความเป็นอิสลาม Modernism และ Traditionalism ในสังคมมาเลเซียที่เห็นได้ชัดคือ กลุ่มมุสลิมจารีตในมาเลเซียเรียกว่า "กาอุม ตูวา" (Kaum Tua) ซึ่งเป็นแนวคิดอิสลามตามคนรุ่นเก่า ที่ยึดมั่นคำสอนและการตีความศาสนาตามแนวทางของอูลามะ ซึ่งเน้นวิถีและการปฏิบัติตามศาสนาอิสลามที่ยังคงมีการผสมผสานของวัฒนธรรมดั้งเดิม และมีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ นอกจากนี้ยังยึดติดในเรื่องของอำนาจและชนชั้น อาทิ กรณีของพิธีการเคารพสุลต่าน ทำให้มุสลิมกลุ่มจารีตถูกมองจากมุสลิมสมัยใหม่ว่า เป็นกลุ่มที่ทำให้ศาสนาอิสลามมีความล้าหลัง ไม่สามารถทัดเทียมกับตะวันตกได้

ส่วนกลุ่มมุสลิมแบบ Modernism คือกลุ่มแนวคิด "กาอุม มูดา" (Kaum muda) มีจุดประสงค์เพื่อต้องการให้ศาสนาอิสลามที่ปฏิบัติกันอยู่ในรัฐมลายู วางอยู่บนรากฐานของหลักคำสอนในคัมภีร์อัลกุอ่านและหะดิษอย่างแท้จริง เนื่องจากมองว่าศาสนาอิสลามที่ยึดถืออยู่ในรัฐมลายูสมัยจารีตจนถึงสมัยอาณานิคม เต็มไปด้วยความเชื่อในเรื่องต่างศาสนาและผีสาง โดยกลุ่มนี้จะมุ่งเน้นการปฏิรูปไปที่กลุ่มผู้นำทางศาสนา ทั้งอูลามะ ตวนกูรู และอิมาม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากในสังคมมลายู โดยเฉพาะในเขตชนบท รวมไปถึงสุลต่านกับชนชั้นนำเดิมที่มีหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงานหลักและกิจกรรมของรัฐที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้ชาวมลายูมีความเชื่อและปฏิบัติตนขัดกับหลักการของศาสนาอิสลาม เพื่อให้ชาวมลายูสามารถปรับตัวให้เข้ากับโลกสมัยใหม่และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นที่ไม่ใช่มลายูได้

ในช่วงกลางทศวรรษ 1920 กลุ่มกาอุม มูดา มีแนวโน้มที่จะเล่นการเมืองมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการได้รับอิทธิพลจากกระแสปฏิรูปอิสลามในอินโดนีเซีย แต่อย่างไรก็ตาม กระแสดังกล่าวก็ไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก

สรุป
กรณีศึกษากลุ่มชนที่นับถือศาสนาอิสลามจากอินโดนีเซียและมาเลเซียนั้น จะเห็นได้ว่าการแบ่งศาสนาอิสลามออกเป็นแนวทางแบบ Modernism กับ Traditionalism นั้น ทำให้มุสลิมมีความขัดแย้งกันในเรื่องของการปฏิบัติตน อย่างไรก็ตาม ศาสนาอิสลามทั้งสองแนวทาง ต่างก็มีความเชื่อในคัมภีร์และพระอัลเลาะห์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ต่างกันเพียงแต่ศาสนาอิสลามแนว Traditionalism ยังคงมีการปะปนความเชื่อของศาสนาอื่นและความเป็นจารีตในเรื่องของพิธีกรรม ซึ่งมีการปฏิบัติและสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมและเป็นลักษณะเด่นของมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ส่วนมุสลิมแนว Modernism จะมุ่งสร้างความบริสุทธิ์ให้แก่ศาสนา ซึ่งได้รับแนวคิดมาจากทางตะวันออกกลาง มีความคิดในการรับความรู้สมัยใหม่ของตะวันตก เพื่อนำมาประยุกต์ให้เข้ากับวิถีชีวิตตามแบบของมุสลิม

ถึงแม้ว่า ลักษณะความเป็นอิสลามสมัยใหม่และอิสลามจารีตจะมีความแตกต่างกันอยู่ไม่น้อย แต่ความต่างดังกล่าว ก็มิได้สร้างปัญหาและอุปสรรคในการอยู่ร่วมกันของมุสลิมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต่างก็ยังคงยึดมั่นในองค์อัลเลาะห์ และร่วมกันเดินไปสู่ปลายทางแห่งสันติโดยเสมอมา

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บรรณานุกรม

- Alisa Zainuddin, M.A., B.ED เขียน. ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย. เพ็ชรี สุมิตร แปล.ไทยวัฒนาพาณิชย์ มูลนิธิโครงการตำรงสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพ, 2523

- ทวีศักดิ์ เผือกสม. อินโดนีเซีย รายา: รัฐจารีต สู่ "ชาติ" ในจินตนาการ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, 2547.

- นิพนธ์ โซะเฮง.ปฏิรูปการศึกษาในโลกมุสลิม: อิสลามานุวัตร และ อิสลามานุวัตรองค์ความรู้. [ออนไลน์].[24 กรกฎาคม 2548] Available via: http://midnightuniv.org/midnight2545/document9598.html. Visted: 25พฤศจิกายน2548.

- ภูวดล ทรงประเสริฐ. อินโดนีเซีย: อดีตและปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, 2539.
- มิลตัน ออสบอร์น, เขียน. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: สังเขปประวัติศาสตร์. มัทนา เกษกมล แปล. เชียงใหม่: ตรัสวิน, 2544.

- ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์.อิสลามและประชาธิปไตย.[ออนไลน์].Available via:
http://midnightuniv.tumrai.com/miduniv888/newpage14.html.Visted:21พฤศจิกายน2548.

- สุเทพ สุนทรเภสัช.ปอเนาะ มรดกสถาบันการศึกษากับบูรณาการของศาสนาและสังคมของชาวมาเลย์มุสลิมในจังหวัดภาคใต้ของไทย. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม, 2547.

- เอน.เจ. ไรอัน. การสร้างชาติมาเลเซียและสิงคโปร์. ประการทอง สิริสุข แปล. กรุงเทพ:มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์
และมนุษยศาสตร์, 2526.

- อุดมพร ธีระวิริยะกุล.การเคลื่อนไหวของกลุ่มก้าวหน้าในชวาช่วงปี 1900-1927.กรุงเทพฯ: สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2542.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก
เกี่ยวกับความรู้ศาสนาอิสลามโดยสังเขป (สารานุกรมวิกกิพีเดีย)
http://en.wikipedia.org/wiki/Islam

Islam
Islam is a monotheistic Abrahamic religion originating with the teachings of Muhammad, a 7th century Arab religious and political figure. The word Islam means "submission", or the total surrender of oneself to God. An adherent of Islam is known as a Muslim, meaning "one who submits (to God)". There are between 1.1 billion and 1.8 billion Muslims, making Islam the second-largest religion in the world, after Christianity.

Muslims believe that God revealed the Qur'an to Muhammad, God's final prophet, and regard the Qur'an and the Sunnah (words and deeds of Muhammad) as the fundamental sources of Islam. They do not regard Muhammad as the founder of a new religion, but as the restorer of the original monotheistic faith of Abraham, Moses, Jesus, and other prophets. Islamic tradition holds that Judaism and Christianity distorted the messages of these prophets over time either in interpretation, in text, or both.

Islam includes many religious practices. Adherents are generally required to observe the Five Pillars of Islam, which are five duties that unite Muslims into a community. In addition to the Five Pillars, Islamic law (sharia) has developed a tradition of rulings that touch on virtually all aspects of life and society. This tradition encompasses everything from practical matters like dietary laws and banking to warfare.

Almost all Muslims belong to one of two major denominations, the Sunni and Shi'a. The schism developed in the late 7th century following disagreements over the religious and political leadership of the Muslim community. Roughly 85 percent of Muslims are Sunni and 15 percent are Shi'a. Islam is the predominant religion throughout the Middle East, as well as in parts of Africa and Asia. Large communities are also found in China, the Balkan Peninsula in Eastern Europe and Russia. There are also large Muslim immigrant communities in wealthier and more developed parts of the world such as Western Europe. About 20 percent of Muslims live in Arab countries.

Etymology and meaning
The word Islam is derived from the Arabic verb Aslama, which means to accept, surrender or submit. Thus, Islam means acceptance of and submission to God, and believers must demonstrate this by worshiping him, following his commands, and avoiding polytheism. The word is given a number of meanings in the Qur'an. In some verses (ayat), the quality of Islam as an internal conviction is stressed: "Whomsoever God desires to guide, He expands his breast to Islam." Other verses connect islam and din (usually translated as "religion"): "Today, I have perfected your religion (d?n) for you; I have completed My blessing upon you; I have approved Islam for your religion." Still others describe Islam as an action of returning to God-more than just a verbal affirmation of faith.

Beliefs
According to the Qur'an all Muslims have to believe in God, his revelations, his angels, his messengers, and in the "Day of Judgment". Also, there are other beliefs that differ between particular sects. The Sunni concept of predestination is called divine decree, while the Shi'a version is called divine justice. Unique to the Shi'a is the doctrine of Imamah, or the political and spiritual leadership of the Imams.

Muslims believe that God revealed his final message to humanity through the Islamic prophet Muhammad via the angel Gabriel. For them, Muhammad was God's final prophet and the Qur'an is the revelations he received over more than two decades. In Islam, prophets are men selected by God to be his messengers. Muslims believe that prophets are human and not divine, though some are able to perform miracles to prove their claim. Islamic prophets are considered to be the closest to perfection of all humans, and are uniquely the recipients of divine revelation-either directly from God or through angels. Islamic theology says that all of God's messengers since Adam preached the message of Islam-submission to the will of the one God. Islam is described in the Qur'an as "the primordial nature upon which God created mankind", and the Qur'an states that the proper name Muslim was given by Abraham.

As a historical phenomenon, Islam originated in Arabia in the early 7th century. Islamic texts depict Judaism and Christianity as prophetic successor traditions to the teachings of Abraham. The Qur'an calls Jews and Christians "People of the Book" (ahl al-kitab), and distinguishes them from polytheists. Muslims believe that parts of the previously revealed scriptures, the Tawrat (Torah) and the Injil (Gospels), had become distorted-either in interpretation, in text, or both.

God
Islam's fundamental theological concept is tawhid-the belief that there is only one God. The Arabic term for God is Allah; most scholars believe it was derived from a contraction of the words al- (the) and Iilah (deity, masculine form), meaning "the God" (al-ilah), but others trace its origin to the Aramaic Alaha. The first of the Five Pillars of Islam, tawhid is expressed in the shahadah (testification), which declares that there is no god but God, and that Muhammad is God's messenger. In traditional Islamic theology, God is beyond all comprehension; Muslims are not expected to visualize God but to worship and adore him as a protector. Although Muslims believe that Jesus was a prophet, they reject the Christian doctrine of the Trinity, comparing it to polytheism. In Islamic theology, Jesus was just a man and not the son of God; God is described in a chapter (sura) of the Qur'an as "…God, the One and Only; God, the Eternal, Absolute; He begetteth not, nor is He begotten; And there is none like unto Him."

Qur'an
Muslims consider the Qur'an to be the literal word of God; it is the central religious text of Islam. Muslims believe that the verses of the Qur'an were revealed to Muhammad by God through the angel Gabriel on many occasions between 610 and his death on July 6, 632. The Qur'an was written down by Muhammad's companions (sahabah) while he was alive, although the prime method of transmission was orally. It was compiled in the time of Abu Bakr, the first caliph, and was standardized in the time of Uthman, the third caliph. From textual evidence, modern Western academics find that the Qur'an of today has not changed over the years.

The Qur'an is divided into 114 suras, or chapters, which combined, contain 6,236 ayat, or poetic verses. The chronologically earlier suras, revealed at Mecca, are primarily concerned with ethical and spiritual topics. The later Medinan suras mostly discuss social and moral issues relevant to the Muslim community. The Qur'an is more concerned with moral guidance than legal instruction, and is considered the "sourcebook of Islamic principles and values". Muslim jurists consult the hadith, or the written record of Muhammad's life, to both supplement the Qur'an and assist with its interpretation. The science of Qur'anic commentary and exegesis is known as tafsir.

The word Qur'an means "recitation". When Muslims speak in the abstract about "the Qur'an", they usually mean the scripture as recited in Arabic rather than the printed work or any translation of it. To Muslims, the Qur'an is perfect only as revealed in the original Arabic; translations are necessarily deficient because of language differences, the fallibility of translators, and the impossibility of preserving the original's inspired style. Translations are therefore regarded only as commentaries on the Qur'an, or "interpretations of its meaning", not as the Qur'an itself.

Angels
Belief in angels is crucial to the faith of Islam. The Arabic word for Angels (malak) means "messenger", like its counterparts in Hebrew (malakh) and Greek (angelos). According to the Qur'an, angels do not possess free will, and worship God in perfect obedience. Angels' duties include communicating revelations from God, glorifying God, recording every person's actions, and taking a person's soul at the time of death. They are also thought to intercede on man's behalf. The Qur'an describes angels as "messengers with wings-two, or three, or four (pairs): He [God] adds to Creation as He pleases…"

Muhammad
Muhammad (c. 570 - July 6, 632) was an Arab religious, political, and military leader who founded the religion of Islam as a historical phenomenon. Muslims view him not as the creator of a new religion, but as the restorer of the original, uncorrupted monotheistic faith of Adam, Abraham and others. In Muslim tradition, Muhammad is viewed as the last and the greatest in a series of prophets-as the man closest to perfection, the possessor of all virtues.

For the last 23 years of his life, beginning at age 40, Muhammad reported receiving revelations from God. The content of these revelations, known as the Qur'an, was memorized and recorded by his companions.

During this time, Muhammad preached to the people of Mecca, imploring them to abandon polytheism. Although some converted to Islam, Muhammad and his followers were persecuted by the leading Meccan authorities. After 13 years of preaching, Muhammad and the Muslims performed the Hijra ("emigration") to the city of Medina (formerly known as Yathrib) in 622. There, with the Medinan converts (Ansar) and the Meccan migrants (Muhajirun), Muhammad established his political and religious authority. Within years, two battles had been fought against Meccan forces: the Battle of Badr in 624, which was a Muslim victory, and the Battle of Uhud in 625, which ended inconclusively. Conflict with Medinan Jewish clans who opposed the Muslims led to their exile, enslavement or death, and the Jewish enclave of Khaybar was subdued. At the same time, Meccan trade routes were cut off as Muhammad brought surrounding desert tribes under his control. By 629 Muhammad was victorious in the nearly bloodless Conquest of Mecca, and by the time of his death in 632 he ruled over the Arabian peninsula.

In Islam, the "normative" example of Muhammad's life is called the Sunnah (literally "trodden path"). This example is preserved in traditions known as hadith ("reports"), which recount his words, his actions, and his personal characteristics. The classical Muslim jurist ash-Shafi'i (d. 820) emphasized the importance of the Sunnah in Islamic law, and Muslims are encouraged to emulate Muhammad's actions in their daily lives. The Sunnah is seen as crucial to guiding interpretation of the Qur'an.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
(หมายเหตุ: ข้อความโดยสมบูรณ์ กรุณาคลิกไปที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Islam)

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
20 December 2007
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
ส่วนแนวคิดของมุสลิมสมัยใหม่ต้องการให้ศาสนาอิสลามมีความบริสุทธิ์ โดยซึมซับแนวคิดนี้มาจากกลุ่มชนชั้นนำที่ได้รับการศึกษาจากไคโร โดยได้รับอิทธิพลหลักมาจาก "กระแสฟื้นฟูอิสลาม" จากตะวันออกกลางที่ต้องการให้ศาสนาอิสลามบริสุทธิ์และเป็นสมัยใหม่. กระแสฟื้นฟูอิสลาม เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 จาการตระหนักถึงการรับอิทธิพลกระแสวัฒนธรรมตะวันตกมามากเกินไป ทำให้ประเทศมุสลิมที่เคยยิ่งใหญ่ในยุโรปอย่างตุรกีต้องล่มสลายลง กลายเป็นตัวกระตุ้นให้ชาวมุสลิมทั่วโลกเกิดความหวั่นไหวว่า ศาสนาของตนกำลังอยู่ในอันตรายจากการคุกคาม
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream