โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๒๘ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (December, 07, 12, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

07-12-2550

Social Minimum
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

ความเข้าใจเชิงปรัชญาเกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม
Welfare State / Social Minimum: รัฐสวัสดิการ รัฐตู้กับข้าวของสังคม
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
ของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

บทความวิชาการชิ้นนี้เรียบเรียงจากต้นฉบับที่หลากหลาย ดังแจ้งไว้ในบรรณานุกรม
เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดรัฐสวัสดิการ สังคมสวัสดิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของ
การจัดหาปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตตามสมควรแก่สมาชิกในสังคม ซึ่งเรียกว่า
มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม(social minimum) มานำเสนอ เนื้อหาสำคัญเป็นข้อถกเถียง
ในเชิงปรัชญาและการพยายามตอบคำถามว่า ทำไมจึงควรมีมาตรฐานขั้นต่ำในทางสังคม
โดยมองผ่านแนวคิดประโยชน์นิยม, เสรีนิยม, เสรีนิยมฝ่ายซ้าย, และเสรีนิยมประชาธิปไตย

เนื่องจากเนื้อหาบทความชิ้นนี้ค่อนข้างยาว จึงได้แบ่งออกเป็น ๒ ตอนดังนี้
ตอนที่ ๑ Welfare State / Social Minimum: รัฐสวัสดิการ รัฐตู้กับข้าวของสังคม
ตอนที่ ๒ Welfare State / Social Minimum: ทำไมต้องมี มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๒๘
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ความเข้าใจเชิงปรัชญาเกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม
Welfare State / Social Minimum: รัฐสวัสดิการ รัฐตู้กับข้าวของสังคม
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
ของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ความนำ

บ่อยมากขึ้น "รัฐสวัสดิการ" เป็นเรื่องที่ได้รับการพูดถึงในสังคมไทย ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เหตุผลหนึ่งก็คือ จากรัฐบาลชุดที่แล้วโดย"ไทยรักไทย" ได้ใช้นโยบายประชานิยมในการดึงดูดให้ผู้คนมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง จากนั้นก็ได้เข้ามาบริหารประเทศ และมีการประกาศดำเนินนโยบายประชานิยมตามที่ระบุไว้ เช่น หลักประกันสุขภาพ (30 บาทรักษาทุกโรค), นโยบายกองทุนหมู่บ้าน, นโยบายพักชำระหนี้ และอื่นๆ อีกจำนวนมาก. แน่นอน คนในชนบทนับล้านได้รับผลพวงและประโยชน์จากนโยบายดังกล่าวอย่างไม่ต้องสงสัย

ปัจจุบันมีนักวิชาการ และกลุ่มองค์กรหลายองค์กร รวมถึงพรรคแนวร่วมภาคประชาชนได้ร่วมกันรณรงค์ให้มีรัฐสวัสดิการขึ้นในประเทศไทย(สำหรับทุกคน - ไม่เพียงเฉพาะคนจนเท่านั้น) แม้ว่าหลายคนจะวิจารณ์ว่าเป็นไปไม่ได้ บ้างก็ตั้งคำถามว่าจะนำเงินมาจากไหน? การหาเงินงบประมาณเพิ่มเติมจากการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า การเก็บภาษีที่ดิน และภาษีมรดก ในเชิงปฏิบัติแล้วเป็นเรื่องยากสำหรับสังคมไทย เป็นต้น. คำตอบ และคำอธิบาย รวมทั้งวิธีการเพื่อให้ได้งบประมาณเหล่านี้มาด้วยวิธีการคลังต่างๆ มีอยู่หลายวิธี ซึ่งในบทความชิ้นนี้ไม่ได้ตั้งใจจะตอบคำถามดังกล่าว

สำหรับในบทความชิ้นนี้ เป็นความพยายามที่จะตรวจสอบที่มาที่ไปและแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของ "รัฐสวัสดิการ"(Welfare State)โดยสังเขป ซึ่งจะเน้นไปที่ประเด็นเกี่ยวกับ "มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม" หรือที่ในภาษาอังกฤษใช้ว่า Social Minimum, วลีหนึ่งที่นำมาใช้เพื่ออธิบาย มาตรฐานความจำเป็นของพลเมืองที่จะมีชีวิตอยู่ตามสมควรอย่างมีศักดิ์ศรีในสังคม โดยการเรียบเรียงส่วนใหญ่ในเรื่อง"มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม" นำมาจากสารานุกรมมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด. ส่วนในเรื่องของรัฐสวัสดิการ(Welfare State) สังคมสวัสดิการ(Welfare Society) และอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ผู้เรียบเรียงจะได้มีการนำเสนออย่างละเอียดในโอกาสต่อไป

(ก) welfare state: รัฐสวัสดิการโดยสังเขป
เรื่องของ "รัฐสวัสดิการ" ได้รับการตีความออกเป็น 3 แนวคิดหลักด้วยกัน

1. เป็นการจัดหาหรือตระเตรียมสวัสดิการต่างๆ ขึ้นมาโดยรัฐ

2. เป็นแบบจำลองทางความคิดที่ว่า รัฐจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเป็นลำดับแรกในการจัดสวัสดิการให้แก่พลเมือง ความรับผิดชอบนี้เป็นหลักประกันกว้างๆ (โดยอ้างอิงถึงความต้องการที่จำเป็น) เพราะทุกแง่มุมของสวัสดิการได้ถูกพิจารณาว่า เนื่องจากเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยยังไม่เพียงพอ และยังไม่ถึงมาตรฐานขั้นต่ำต่างๆ (โดยอิงกับความจำเป็น). โดยทั่วไปแล้ว "สวัสดิการ" จะต้องครอบคลุมคนทุกคนในฐานะที่เป็นสิทธิของพวกเขา

3. เป็นการจัดหาสวัสดิการทางสังคมโดยองค์กรต่างๆ. ในรัฐสวัสดิการจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บนผืนแผ่นดินใหญ่ของยุโรป อันที่จริงแล้วสวัสดิการไม่ได้ถูกจัดการโดยรัฐเพียงผู้เดียว แต่โดยการรวมกันขององค์กรอิสระต่างๆ, อาสาสมัคร, การร่วมมือกันของหลายฝ่ายรวมถึงบริการจากรัฐ. ผู้มีบทบาทหน้าที่ในการจัดหาบริการและสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่างๆ อาจเป็นรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น, บริษัทหรือตัวแทนที่สนับสนุนโดยรัฐ, บริษัทเอกชนที่ประกอบกิจกรรมดังกล่าว, องค์กรการกุศล, หรือรูปแบบต่างๆ ขององค์กรไม่ค้ากำไร(non-profit organization). อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์นี้ควรจะเรียกว่า"สังคมสวัสดิการ"(welfare society)จะเหมาะสมกว่า หรือไม่ก็เรียกว่า"ระบบสวัสดิการ"(welfare system) เพื่อนำมาใช้อธิบายเรื่องของรัฐสวัสดิการและสังคมสวัสดิการที่ผสมผสานกันดังที่เป็นอยู่

ความรู้เกี่ยวกับรัฐสวัสดิการ
ศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า "welfare state" (รัฐสวัสดิการ) เป็นคำใหม่ซึ่งเกิดขึ้นมาไม่ถึงร้อยปี เชื่อกันว่าคำดังกล่าวได้รับการประดิษฐ์ขึ้นโดย พระราชาคณะ William Temple (Archbishop William Temple) ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นคำที่ตรงข้ามกับช่วงสงครามในอังกฤษคือคำว่า "warfare state" of Nazi Germany (รัฐสงครามกับรัฐบาลนาซีเยอรมนี). ศัพท์คำนี้สืบทอดมาจากคำเก่าในภาษาเยอรมัน คือ Wohlfahrtsstaat, ซึ่งเป็นศัพท์ที่บรรดานักประวัติศาสตร์ใช้กันในคริสตศตวรรษที่ 19 เพื่ออธิบายถึงความผันแปรของอุดมการณ์เกี่ยวกับ Polizeistaat ("police state" - รัฐตำรวจ). คำนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างเต็มที่โดยวงวิชาการเยอรมัน โดยเฉพาะ Sozialpolitiker-"socialists of the chair"- จากปี ค.ศ.1870 และผลักให้เป็นผลในเชิงปฏิบัติขึ้นมาครั้งแรกโดยผ่าน "รัฐสังคมนิยม Bismarck".

ในภาษาเยอรมัน โดยคร่าวๆ คำที่มีความหมายคู่เคียง คำว่า Sozialstaat, "social state" - รัฐสังคม, ถูกนำมาใช้นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1870. เดิมทีเป็นความพยายามที่จะใช้วลีเดียวกันนี้ในภาษาอังกฤษ ยกตัวอย่างเช่น ในตำราของ Munroe Smith เรื่อง "Four German Jurists" (นักนิติศาสตร์เยอรมัน 4 คน), แต่ศัพท์ดังกล่าวมิได้ถูกนำมาใช้ร่วมกันจนกระทั่ง บาดหลวง William Temple ทำให้มันเป็นที่นิยมขึ้น. ในคำศัพท์ภาษาอิตาเลียน "Social state" (Stato sociale) (รัฐสังคม) ก็มีกำเนิดขึ้นมาในลักษณะเดียวกัน

ในรัฐสวัสดิการสวีเดน เรียกว่า "Folkhemmet" และสามารถย้อนกลับไปถึงปี ค.ศ.1936 เป็นการประนีประนอมตกลงกันระหว่าง "สหภาพแรงงาน" และ"บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ต่างๆ". มันเป็นเศรษฐกิจแบบผสมผสาน, สร้างขึ้นมาโดยสหภาพแรงงานที่มีความเข้มแข็ง กับระบบที่แข็งแรงเกี่ยวกับความปลอดภัยทางสังคม(social security) และกับระบบการดูแลสุขภาพอเนกประสงค์(universal health care)

ในภาษาฝรั่งเศส คำที่พ้องกับศัทพ์คำนี้คือ "providence state" (Etat-providence) [หมายถึงรัฐที่มีการตระเตรียมเพื่ออนาคต ด้วยความรอบคอบ) แรกเริ่มได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในฐานะที่เป็นคำศัพท์ในทำนองเหยียดหยาม เสียดสี ซึ่งถูกใช้พูดในลักษณะที่เป็นปรปักษ์กับนโยบายต่างๆ ของ "รัฐสวัสดิการ"(welfare state policies) ในช่วงระหว่างจักรวรรดิที่สอง(the Second Empire ราว ค.ศ. 1854-1870)

ในภาษาสเปน และภาษาอื่นเป็นจำนวนมาก ศัพท์ที่คล้ายๆ กันที่นำมาใช้คือ estado del bienestar; แปลตามตัวอักษรก็คือ "state of well-being" หรือ "รัฐเพื่อความอยู่ดีกินดี". ส่วนในภาษาโปรตุเกส มีวลีทำนองเดียวกันคือ Estado de Bem-Estar-Social; ซึ่งหมายความว่า well-being-social state หรือ "รัฐสังคมเพื่อความอยู่ดีกินดี"

(ข) Social Minimum: มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม
มีคำกล่าวที่ว่า "ผู้คนไม่ควรที่จะถูกปล่อยให้ต้องหิวโหยอยู่ตามท้องถนน, ไม่มีใครที่ควรถูกปฏิเสธในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพขั้นต่ำที่เหมาะสม, พลเมืองทุกคนควรจะสามารถได้มาซึ่งความต้องการพื้นฐานอันจำเป็นของพวกเขา" คำพูดต่างๆ เหล่านี้ ได้รับการเอ่ยออกมาอย่างกว้างขวาง อันเป็นประโยคที่ชุมชนทางการเมืองควรทำให้เกิดความมั่นใจว่า สมาชิกของสังคมนั้นจะต้องสามารถมีความสุขได้ อย่างน้อยที่สุด ในระดับมาตรฐานของชีวิตขั้นต่ำตามสมควร. พวกเขายืนยันถึงความสำคัญของสิ่งซึ่งบ่อยครั้งได้รับการเรียกว่า "มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม"(social minimum). แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติที่แท้จริงเกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ข้อพิจารณาทั้งหลายที่ส่งเสริมเรื่องราวเหล่านี้ และอันที่จริงความสมเหตุสมผลในระดับพื้นฐาน คือสาระทั้งหมดของการโต้แย้งกันทางปรัชญาอย่างเข้มข้น วัตถุประสงค์ของข้อเขียนที่ท่านกำลังจะอ่านต่อไปนี้ เป็นการตระเตรียมแนวทางสู่อาณาเขตของข้อถกเถียงดังกล่าว ซึ่งจะกระทำใน 3 ขั้นตอนคือ

ขั้นตอนแรก, เราจะมองไปยังคำถามนี้อย่างใกล้ชิดว่า "อะไรคือมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ?" ในส่วนแรกจะนำเสนอข้อแตกต่างจำนวนหนึ่ง ที่มาให้ความรู้เพื่อสร้างความชัดเจนในการอภิปราย โดยจะให้นิยามคำว่า"มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม" ในฐานะที่เป็นทรัพยากรจำนวนหนึ่ง ที่เพียงพอต่อสถานการณ์ของสังคมที่ทำให้คนๆ หนึ่งสามารถบรรลุถึงชีวิตที่เหมาะสมขั้นพื้นฐานได้. เราจะให้ความหมายเกี่ยวกับ"นโยบายมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม" ในฐานะที่เป็นชุดหนึ่งของนโยบายและสถาบันต่างๆ ที่มาให้บริการการเข้าถึงความมั่นคงที่สมเหตุสมผลเกี่ยวกับมาตรฐานที่พอเพียงทางสังคม สำหรับสมาชิกทุกคนของสังคมนั้น. ในฐานะส่วนหนึ่งของภารกิจของขั้นตอนแรกในการทำให้เรื่องเหล่านี้มีความชัดเจน เราจะไปทบทวนถึงประเด็นปัญหาทางปรัชญาหลักๆ บางอย่าง ที่ได้มีการกำหนดนิยามเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะทำความเข้าใจความคิดเรื่อง "ชีวิตที่เหมาะสมขั้นพื้นฐาน"(minimally decent life) ว่าเป็นอย่างไร ?

ขั้นตอนที่สอง, บทความชิ้นนี้จะพิจารณาถึงคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับว่า "ทำไมต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ?" ซึ่งในที่นี้จะวางกรอบหรือโครงร่างทฤษีเกี่ยวกับความยุติธรรมทางสังคม(social justice) ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดตามลำดับ และจะพิจารณากันในแต่ละกรณีว่า ทฤษฎีดังกล่าวที่กำลังพูดถึง ได้ไปสนับสนุนกฎเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมหรือไม่ อย่างไร? (นั่นคือ ความมั่นคงเกี่ยวกับนโยบายมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม). ทฤษฎีต่างๆ ที่จะถูกนำมาพิจารณาในส่วนที่สอง จะรวมเอา"แนวคิดประโยชน์นิยม"(utilitarianism), "แนวคิดเสรีนิยม"(libertarianism), "แนวคิดเสรีนิยมฝ่ายซ้าย"(left-libertarianism), "เสรีนิยมแนวสิทธิความเสมอภาค"(egalitarian liberalism), และสิ่งที่เราจะเรียกว่าทฤษฎีต่างๆ ทาง"ประชาธิปไตยเกี่ยวกับความยุติธรรมทางสังคม" มาพิจารณาตามลำดับ

ขั้นตอนที่สาม, เราจะหันไปสู่เรื่องของบรรดานักวิจารณ์ทางกฎหมายโดยเฉพาะ โดยตั้งคำถามว่า "อะไรที่สามารถโต้แย้งกับการบัญญัติมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมนี้ได้ ?" ซึ่งเราจะพิจารณากันถึงข้อคัดค้าน 3 ชุด ซึ่งเป็นที่ดึงดูดความสนใจ ต่อคุณค่าต่างๆ เกี่ยวกับอิสรภาพของปัจเจกชน(individual freedom)} และความถูกต้องชอบธรรม. ข้อคัดค้านทั้งหลายเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อเรื่องความคิดเกี่ยวกับรูปแบบของมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมที่ควรจะนำมาใช้ และเกี่ยวกับปฏิบัติการทางการเมืองรายรอบกฎเกณฑ์ของสิ่งเหล่านี้. เราจะสืบสวนถึงข้อคัดค้านต่างๆ ที่ได้ให้เหตุผลชักจูงที่สวนทางกับเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม และสุดท้าย จะเป็นเรื่องข้อสรุปต่อการสนทนากันเกี่ยวเรื่องนี้โดยรวมทั้งหมด
(หมายเหตุ: เฉพาะในบทความนี้ เพียงนำเอาขั้นตอนที่หนึ่งและสองมากล่าว ส่วนขั้นตอนที่สามจะนำเสนอบนเว็บไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนในโอกาสต่อไป)

โครงร่างของบทความ
1. มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม คืออะไร ?

1.1 สวัสดิการ, ความสามารถต่างๆ และทรัพยากรที่มีอยู่
1.2 แนวคิดเกี่ยวกับความสามารถต่างๆ ของ มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ?
1.3 มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมในสังคมร่ำรวยมีมมาตรฐานสูงกว่าหรือไม่ ?
1.4 การเข้าถึงมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมอย่างมีเหตุผล

2. ทำไมต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ?

2.1 ลัทธิประโยชน์นิยม
2.2 ลัทธิเสรีนิยม
2.3 ลัทธิเสรีนิยมฝ่ายซ้าย
2.4 มุมมองเสรีนิยมความเสมอภาค
2.5 มุมมองประชาธิปไตย

1. อะไรคือ มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ?
ภารกิจแรกที่ต้องทำความชัดเจนคือ "อะไรคือมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ?" เมื่อเรากล่าวถึงมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม เรากำลังอ้างถึงทรัพยากรจำนวนหนึ่งที่บุคคลคนหนึ่งต้องการ เพื่อที่จะนำไปสู่ชีวิตที่เหมาะสมขั้นต่ำในสังคมของพวกเขา. ปัจจุบัน สมาชิกของสังคมอาจกำหนดหรือตัดสินใจนำเสนอนโยบายหรือสถาบันต่างๆ ขึ้นมา เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยต่อสมาชิกทุกคนในการเข้าถึงมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมอย่างมีเหตุผล. ในความหมายนี้ เราจะอ้างถึงสถาบันและนโยบายดังกล่าวในฐานะที่เป็น"นโยบายมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม"

ในการสนทนาตามมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะพูดถึงกฎเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม. กฎเกณฑ์เป็นคำที่ค่อนข้างเกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎหมาย แต่เจตนาของเราเกี่ยวกับการใช้คำดังกล่าวในที่นี้ ต้องการให้ทำความเข้าใจอย่างกว้างๆ นั่นคือ; กฎมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ในที่นี้หมายถึงระบอบนโยบายมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม(a social minimum policy regime). แนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมทั้งหลาย และนโยบายเกี่ยวกับสิ่งนี้ของสังคม- ถูกตั้งใจให้เป็นนามธรรมมาก และด้วยเหตุนี้เพื่อความกระจ่างชัด จึงควรตั้งคำถามต่อมาเป็นการเฉพาะว่า:

(1) เราจำกำหนดระดับหรือชนิดของทรัพยากรต่างๆ ที่ผู้คนต้องการเพื่อนำไปสู่ชีวิตขั้นต่ำที่เหมาะสมของสังคมพวกเขากันอย่างไร ?
(2) เราหมายถึงอะไร เวลาพูดเกี่ยวกับ"การเข้าถึงอย่างมีเหตุผล"สู่มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ?

ในบทความชิ้นนี้ เราจะมาสำรวจกันถึงคำถาม (1) ในหัวข้อ 1.1 ถึง 1.3 และเปลี่ยนไปสู่คำถาม (2) ในหัวข้อที่ 1.4 โดยลำดับ

1.1 สวัสดิการ, ความสามารถต่างๆ, และทรัพยากรที่มีอยู่
ในปรัชญาการเมืองร่วมสมัย มีการสนทนากันถึงเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะข้อถกเถียงเรื่อง"ความเสมอภาคต่างๆ" หากเราทึกทักว่ามันเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาสำหรับเรื่องความเสมอภาคระหว่างปัจเจกบุคคลทั้งหลาย อะไรล่ะที่ควรจะได้รับความเอาใจใส่โดยพื้นฐานเกี่ยวกับการทำให้เสมอภาค ? จากการที่เรื่องราวดังกล่าวถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกัน มันได้ไปสัมพันธ์กับความเอาใจใส่ของเราเกี่ยวกับธรรมชาติของ มาตรฐานทางสังคมขั้นต่ำ ซึ่งในส่วนต่อไปนี้เราจะทบทวนเรื่องราวดังกล่าวอย่างสั้นๆ ก่อนที่จะหวนกลับไปสู่คำถามความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า เราจะนิยามและระบุถึงทรัพยากรต่างๆ ที่คนๆ หนึ่งต้องการเพื่อจะน้อมนำไปสู่ชีวิตที่เหมาะสมขั้นต่ำในสังคมของพวกเขากันอย่างไร ?

มุมมองแรกที่ถูกรู้กันในฐานะแนวคิด "สวัสดิการนิยม"(welfarism)(*). "สวัสดิการ" ตามแนวคิดประโยชน์นิยมคลาสสิก ที่ได้รับการบุกเบิกโดย Jeremy Bentham, "สวัสดกิาร"เป็นเรื่องการอ้างถึงความสุข ซึ่งได้รับความเข้าใจในฐานะเครือข่ายความสมดุลของความสุข ความพอใจ ที่อยู่เหนือความทุกข์ยากที่ปัจเจกบุคคลได้รับ (Bentham, 1789)(**). ในทัศนะนี้ได้รับการประเมินว่า เราจะกำหนดความพอใจในชีวิตของคนๆ หนึ่งอย่างไร? เราควรมองไปที่ความสุขของพวกเขา นั่นคือ ณ เครือข่ายดุลยภาพของความสุข ความพอใจ ควรมีอยู่เหนือความทุกข์และความเจ็บปวดในชีวิตของพวกเขา. ในงานเขียนทางด้านเศรษฐศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้, "สวัสดิการ" ได้รับการนิยามด้วย "ความพึงพอใจตามความปรารถนา" นั่นคือ ผู้คนมีสวัสดิการอย่างเหมาะสม(ไม่มากไม่น้อย) และมีความเป็นอยู่ที่ดีพอควรในแง่ความรู้สึกทั่วๆ ไป ซึ่งขึ้นอยู่กับพวกเขาพึงพอใจตามความปรารถนามากน้อยเพียงใด

(*)Welfarism is a form of consequentialism. Like all forms of consequentialism, welfarism is based on the premise that actions, policies, and/or rules should be evaluated on the basis of their consequences. Welfarism is the view that the morally significant consequences are impacts on human welfare. There are many different understandings of human welfare, but the term "welfarism" is usually associated with the economic conception of welfare. Economists usually think of individual welfare in terms of utility functions. Social welfare can be conceived as an aggregation of individual utilities or utility functions. Welfarism can be contrasted to other consequentialist theories, such as classical utilitarianism, which takes utility among agents as directly accessible and measurable.

Welfarist views have been especially influential in the law and economics movement. Steven Shavell and Louis Kaplow have argued in an influential book, Fairness versus Welfare that welfare should be the exclusive criteria by which legal analysts evaluate legal policy choices.

(**)Bentham, Jeremy, 'Introduction to the Principles of Morals and Legislation, Chapters I-V', in Mary Warnock, ed., John Stuart Mill's Utilitarianism (Glasgow, William Collins, 1962 [1789]).


แนวคิดสวัดิการนิยม เป็นหัวเรื่องหรือประเด็นที่ค่อนข้างจริงจังและมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างน่าสนใจในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ขณะที่เราไม่มีพื้นที่มากนักที่จะสำรวจตรวจสอบการวิจารณ์เรื่องสวัสดิการนิยมในเชิงลึกในที่นี้ แต่ปัญหาที่ชัดเจน 2 ประการอาจต้องถูกนำมากล่าวถึง คือ

ประการแรก, เป็นปัญหาเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีการปรับให้เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้คนเกิดในสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่ขาดแคลนต่างๆ พวกเขาอาจปรับความคาดหวังทั้งหลายของพวกเขา เพื่อว่าจะได้มีความพออกพอใจกับชะตากรรมของตนเอง. แม้ว่าพวกเขาจะยากจน แต่ก็มีความสุข หรือไม่ก็ไม่รู้สึกทุกข์ทรมานมากเกินไปนัก จากความขัดข้องหรือความผิดหวัง ความไม่สมปรารถนา, เพราะพวกเขาได้ปรับสู่ชีวิตความเป็นอยู่ซึ่งมีทรัพยากรเพียงน้อยนิดต่อความต้องการของพวกเขานั่นเอง เช่นดังที่ Amartya Sen ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับคนที่เผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าวว่า "เราสามารถเชื่อได้ไหมว่า เขากำลังดีขึ้น เพียงเพราะเขามีความสุขและความพอใจมากขึ้น ? มาตรฐานความเป็นอยู่ของคนๆ หนึ่งสามารถสูงขึ้นได้ไหม หากว่าชีวิตที่เขาหรือเธอที่มุ่งไปนั้น มันเต็มไปด้วยความแร้นแค้น ? (Sen, 1987a, p. 8).
(Sen, Amartya, The Standard of Living (Cambridge, Cambridge University Press, 1987a).

แต่บางทีปัญหาที่ลึกซึ้งกว่า ตามที่นักวิจารณ์ทั้งหลายตั้งข้อสังเกตคือ มันเป็นความผิดพลาดที่คิดเช่นนั้น ว่านั่นคือทั้งหมดของคุณค่าพื้นฐานในชีวิตมนุษย์ ที่จะมีความสุข หรือความพึงพอใจที่สมปรารถนาที่มีอยู่ในชีวิตมากแค่ไหน. แน่นอน การมีความสุขเป็นสิ่งที่มีค่าควรแก่การบรรลุถึง แต่นักวิจารณ์ทั้งหลายต่างถกเถียงว่า นั่นแทบไม่ใช่สาระสำคัญเพียงประการเดียวในวิถีชีวิตพื้นฐานที่ว่า ชีวิตของเรากำลังจะเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างไร? (Sen, 1987b, 1992, 1999).
(Sen, Amartya, Ethics and Economics (Oxford, Blackwell, 1987b และ Development as Freedom (Oxford, Oxford University Press, 1999)

ประการที่สอง, จากความคิดข้างต้นได้ให้แรงบันดาลใจในปัญหาข้อต่อมาคือ เรื่อง"ความเสมอภาคของอะไร?" ที่ถกเถียงกันอยู่. อันนี้ได้รับการบุกเบิกโดยนักเศรษฐศาสตร์, Amartya Sen, ซึ่งถูกรู้จักในฐานะ"ความสามารถในการเข้าถึง". การวิเคราะห์ของ Sen เริ่มต้นด้วยการนิยามเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีของคนๆ หนึ่ง ที่ได้รับการสร้างขึ้นโดย"บทบาทหน้าที่ต่างๆ" ที่เขาหรือเธอบรรลุถึง:

…ความเป็นอยู่และการทำงาน [ซึ่ง]…สามารถผันแปรไปได้ อันเนื่องมาจากพื้นฐานเบื้องต้นต่างๆ ที่มาสนับสนุนหรือหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอและเหมาะสม เช่น ภาวะสุขภาพที่ดี, หลีกเลี่ยงจากความเจ็บป่วยไม่สบาย, และยังไม่ถึงเวลาที่ต้องตาย ฯลฯ หรือความสัมฤทธิ์ที่สลับซับซ้อนกว่านั้น อย่างเช่น ภาวะที่มีความสุข, มีความนับถือในตัวเอง, การเข้าไปมีส่วนร่วมในชีวิตชุมชน และอื่นๆ (Sen, 1992, p. 39)

ในทัศนะของ Amartya Sen ความสามารถของคนๆ หนึ่ง คือพลังของเขาหรือเธอที่จะบรรลุถึง"บทบาทหน้าที่ต่างๆ" นั่นคือ "เส้นสมมุติชุดหนึ่งเกี่ยวกับ"บทบาทหน้าที่" ที่สะท้อนอิสรภาพของบุคคลที่น้อมนำสู่แบบฉบับของชีวิตรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง". ในทัศนะของ Sen, เราควรประเมินคนๆ หนึ่งว่ามีฐานะที่ดีอย่างไร ก็โดยการดูจากการที่เขาหรือเธอได้ครอบครองระดับความสามารถต่างๆ ที่สำคัญมากน้อยเพียงใด. เหล่านี้อาจรวมทั้งความสามารถในด้านสวัสดิการ แต่จะไม่จำกัดเพียงแค่ความสามารถอันนี้อย่างเดียวเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสำหรับการสนับสนุนเรื่องการเข้าถึงความสามารถต่างๆ นี้ เป็นเพียงการอธิบายถึงบทบาทหน้าที่และความสามารถในขั้นเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนความสามารถใดควรจะเด่นชัดขึ้นมา ก็เมื่อเราได้ทำการประเมินเกี่ยวกับความมั่งคั่งของผู้คนในเชิงสัมพัทธ์กับอีกคนหนึ่งแล้วนั่นเอง? ข้อกังวลในที่นี้คือว่า ไม่ว่ารายละเอียดใดๆ ที่เราเขียนขึ้นมา จะสะท้อนบางสิ่งบางอย่างโดยเฉพาะ บางทีอาจจะเป็นความเข้าใจในนิกายศาสนาเกี่ยวกับสิ่งซึ่งมีความหมายและคุณค่าต่อชีวิต, ความเข้าใจอันหนึ่งซึ่งคนอื่นๆ อาจปฏิเสธได้ในเชิงเหตุผล. กล่าวอย่างสั้นๆ ข้อห่วงกังวลในที่นี้คือว่า การเข้าถึงความสามารถต่างๆ จะค่อนข้างเป็นนามธรรมมากเกี่ยวกับประโยชน์ หรืออาจจะไม่เป็นกลางมากพอระหว่างแนวคิดจริยธรรมที่แตกต่างกันเชิงเหตุผล (เพราะแต่ละสังคมมีแนวความคิดที่ให้คุณค่าความหมายเกี่ยวกับชีวิตที่ต่างกันไป)

ข้อห่วงใยนี้ รวมเข้ากับความกังวลที่กล่าวมาแล้วเกี่ยวกับเรื่อง"สวัสดิการนิยม"(welfarism), แรงกระตุ้นต่างๆ ในเรื่องข้อถกเถียงเกี่ยวกับความเสมอภาคในด้านต่างๆ ที่รู้จักกันในนาม "ทรัพยากรนิยม"(resourcism). "ทรัพยากรนิยม" สะท้อนเกี่ยวกับความเอาใจใส่ต่อความพยายามที่จะบรรลุถึงช่องทางที่เป็นกลางๆ อันเหมาะสมหรือสมควร เกี่ยวกับการประเมินเรื่องของประโยชน์ต่อชีวิตโดยเฉพาะ ที่แต่ละคนมีความสุขแตกต่างกัน. ความคิดนี้คือ แม้ว่าคนที่มีเหตุผลจะไม่ยอมรับเกี่ยวกับคุณค่าและความหมายพื้นฐานชีวิตบางอย่าง แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาสามารถยอมรับได้ว่า มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะยึดครองเจตจำนงหรือวัตถุประสงค์ทั้งหมด เพื่อดำเนินรอยตามแบบแผนของชีวิตต่างๆ ที่พวกเขามีหรือสังกัดอยู่

อย่างง่ายที่สุด ในเรื่องเกี่ยวกับ"ทรัพยากรนิยม"ที่จินตนาการถึง เราอาจเพ่งความสนใจไปที่ระดับของรายได้ และ/หรือ ทรัพย์สินที่ใครบางคนมีหรือครอบครอง เพื่อเป็นเครื่องตัดสินเกี่ยวกับความมั่งคั่งของเขาหรือเธอว่าเป็นอย่างไร ในความรู้สึกเบื้องต้นเมื่อเปรียบเทียบกันคนอื่นๆ. อย่างไรก็ตาม ในมุมมองนี้เป็นเรื่องที่ถูกโจมตีได้ง่ายในฐานะที่มีความเห็นแย้งที่ว่า คนสองคนซึ่งมีรายได้และร่ำรวยเท่ากัน ในข้อเท็จจริงสามารถที่จะมีโอกาสต่างๆ ในชีวิตไม่เท่ากันได้มาก เนื่องจากความแตกต่างในความสามารถส่วนตัวของพวกเขา ยกตัวอย่างเช่น คนๆ หนึ่งซึ่งไร้ความสามารถ(หรือพิการ)เอามากๆ จะมีแนวโน้มในเรื่องจำนวนรายได้น้อยกว่าคนที่มีความสามารถ

การไร้ความสามารถ(หรือพิการ)มีแนวโน้มเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเป็นอยู่ ดังนั้นคนไร้ความสามารถ(คนพิการ) จึงต้องการรายได้มากขึ้นเพื่อบรรลุถึงวิถีชีวิตที่เป็นไปในทำนองเดียวหรือเท่าเทียมกับคนที่ไม่พิการ. สำหรับเหตุผลนี้ นักทรัพยากรนิยมทั้งหลาย อย่างเช่น Ronald Dworkin ได้ให้เหตุผลว่า เราต้องรวมความสามารถต่างๆ ส่วนตัวในรายงานหรือคำอธิบายของเราเกี่ยวกับทรัพยากรต่างๆ ด้วย (Dworkin, 2000, chapters 1-2)(*). ตามความคิดของ Dworkin, คนพิการหรือคนไร้ความสามารถที่มีรายได้เท่าเทียมกับคนไม่พิการ, จริงๆ แล้ว มีทรัพยากรน้อยกว่าคนปกติ เพราะการนับความพิการหรือไร้ความสามารถเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่ขาดหายไปนั่นเอง
(*) Dworkin, Ronald, Sovereign Virtue: The Theory and Practice of Equality (Cambridge: MA, Harvard University Press, 2000).

แต่อย่างไรก็ตาม หากว่านักทรัพยากรนิยมยึดถือมาตรฐานดังกล่าว พวกเขาจักต้องอธิบายว่า เราจะตัดสินสิ่งที่นับว่าเป็นการไร้ความสามารถ(หรือพิการ)อย่างไร และเราจะประเมินนัยสำคัญที่เกี่ยวข้องของการไร้ความสามารถนั้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการมีข้อตัดสินโดยภาพรวมขึ้น สำหรับการที่คนๆ หนึ่งโชคดีกว่าอีกคนหนึ่งอย่างไร?. ปัจจุบันการตัดสินในลักษณะสหัชญานหรือโดยไม่ผ่านกระบวนการของเหตุผล(intuitive judgments) เกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นการไร้ความสามารถ และเกี่ยวกับความพิการ(ด้อยโอกาส)ในรูปแบบต่างๆ ที่มีนัยสำคัญ ดูเหมือนจะถูกน้อมนำโดยทัศนะต่างๆ ที่พวกเรามีอยู่ในเชิงเปรียบเทียบกับความสำคัญรวมศูนย์ที่ใหักับคนที่เหมาะสมในการทำงาน ในการปฏิบัติหน้าที่ และมีความสามารถต่างๆ

ยกตัวอย่างเช่น ทำไมพวกเราจำนวนมากจึงพิจารณาว่า ความเป็นคนตาบอดเป็นการไร้ความสามารถอย่างมีนัยสำคัญ ? ไม่ใช่เพราะว่าเรามีความตระหนักอย่างชัดเจนว่า ภาวะตาบอดสามารถทำให้ความสามารถลดน้อยลงในเรื่องที่เราพิจารณาว่าเป็นเรื่องสำคัญ อย่างเช่น ความสามาราถที่จะเข้าไปเกี่ยวพันกับชีวิตทางการเมืองอย่างเต็มรูปแบบกับชุมชน หรือการไปเกี่ยวข้องกับความมุมานะทางด้านศิลปะ เพื่อจะก้าวขึ้นสู่จุดสุดยอดของเหตุการณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญ และอื่นๆ, เครื่องหมายคำถามถูกยกขึ้นมาสำหรับนักทรัพยากรนิยม, จริงๆ แล้ว มันสามารถคิดเรื่องการตัดสินต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นอยู่(beings) และสิ่งที่กำลังทำอยู่ได้(doings) ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อคนที่เหมาะสม(หรือคนปกติ)ได้ตลอดเวลา. ถ้าหากการตัดสินต่างๆ เป็นไปในทำนองนี้ มันก็ไม่มีอะไรแตกต่างกับความสามารถที่เข้าถึงได้ เท่ากันกับสิ่งที่ปรากฏกับสายตาเป็นครั้งแรก

1.2 แนวคิดเรื่องความสามารถโดยทั่วไป ของมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม
ปัญหาเกี่ยวกับแนวคิดทรัพยากรนิยมคือว่า มันดูคล้ายกับมีศักยภาพที่จะเป็นเรื่องที่ปราศจากเหตุผล เรื่องของโชคลาง(Sen, 1992): มันตั้งคำถามเราในรูปแบบที่ง่ายที่สุด เพื่อเพ่งความเอาใจใส่ลงไปที่การถือครองทรัพยากร - รายได้/ความมั่งคั่ง - โดยปราศจากการพิจารณาถึงสิ่งซึ่งคนที่แตกต่างกันสามารถทำหรือดำรงอยู่ด้วยประโยชน์เกี่ยวกับการยึดครองสิ่งเหล่านั้น. ปัญหาของวิธีการพิจารณาเรื่อง"ความสามารถ"คือ มันมองดูคล้ายนิกายย่อยต่างๆ. เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาของความเชื่อเรื่องโชคลาง-ทรัพยากร ขอให้เรามาดูถึงเรื่องของมนุษย์ ไม่ว่าจะมีความสามารถที่มีลักษณะจำเพาะบางอย่างที่เป็นศูนย์รวมซึ่งยืนยันเกี่ยวกับชีวิตที่ดี แต่มันเป็นสิ่งที่อันตรายเกี่ยวกับการระบุลงไปในรายการชุดหนึ่ง ซึ่งบางคนพิจารณาว่ามันเต็มไปด้วยอคติมากจนเกินไปต่อคำสอนในเชิงจริยธรรมหรือสังคมวัฒนธรรมซึ่งดีกว่าอีกสังคมหนึ่ง

มีการขานรับต่อสภาวะที่ยากลำบากนี้ โดยพยายามที่จะพัฒนาตัวแบบหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับความสามารถอย่างกว้างๆ ที่มีเอกภาพอย่างมีสำนึก ความตระหนักเกี่ยวกับอันตรายของการแยกย่อยในลักษณะนิกาย บรรดานักทฤษฎีความสามารถพยายามแสวงหาหนทางที่จะกำหนดหรือแยกแยะความสามารถต่างๆ ที่ดูเหมือนมีความสำคัญอย่างแท้จริงต่อผู้คน ข้ามผ่านลำดับการอันกว้างขวางเกี่ยวกับคำสอนจริยธรรมที่มีเหตุผลและสังคมวัฒนธรรมทั้งหลาย; และพวกเขายังพยายามค้นหาเพื่อให้พบช่องทางที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับความอ่อนไหวและความหลากหลายทางวัฒนธรรมและจริยธรรมด้วย

วิธีการหนึ่งซึ่งเป็นช่องทางที่ละเอียดอ่อนและประณีตเกี่ยวกับสิ่งที่เราหมายถึง โดยมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม นั่นคือ ทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับคนๆ หนึ่งที่จะน้อมนำสู่ชีวิตที่เหมาะสมในสังคมของพวกเขา ซึ่งสามารถเข้าใจได้ในฐานะทรัพยากรที่จำเป็นต่อความสามารถที่มีนัยสำคัญอย่างกว้างๆ อันเป็นคำอธิบายที่เหมาะสมเกี่ยวกับความเข้าใจของสังคมที่ว่า ความสามารถเหล่านี้ได้รับการตระหนักอย่างไร เป็นต้น

วิธีการดังกล่าวได้รับการพัฒนาในงานวิชาการเมื่อไม่นานมานี้จำนวนหนึ่ง โดย Martha Nussbaum (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดู Nussbaum, 1990, 1992, 1999, 2000)(*). Nussbaum เชื่อว่า เราอาจระบุถึงความสามารถที่สำคัญชุดหนึ่งโดยการตั้งคำถามว่า "กิจกรรมชนิดใดที่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นการเฉพาะโดยมนุษย์ ที่เป็นศูนย์กลางที่พวกมันดูเหมือนได้ทำให้ชีวิตเป็นมนุษย์ที่แท้ ? (Nussbaum, 1999, p. 39)(**). พูดให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น คือ กิจกรรมใดและความสามารถชนิดไหนที่ดูมีความสำคัญต่อเรา เมื่อเราพิจารณาว่าใครคนใดคนหนึ่งประสบกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในความสามารถต่างๆ ของพวกเขา และยังคงสามารถในความเป็นมนุษย์นั้นได้ ?

(*) Nussbaum, Martha, 'Aristotelian Social Democracy', in R. Bruce Douglass, Gerald M. Mara and Henry S. Richardson, Liberalism and the Good (New York, Routledge, 1990), pp. 203-252.

(**)Nussbaum, Martha, 'Women and Cultural Universals', in Nussbaum, Sex and Social Justice (Oxford, Oxford University Press, 1999), pp. 29-54.

กิจกรรมใดและความสามารถชนิดไหนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสำคัญต่อมนุษย์เมื่อพวกเขาจำแนกความแตกต่างระหว่าง"ความเป็นมนุษย์"และ"ความไม่เป็นมนุษย์" (ต่ำกว่าความเป็นมนุษย์ หรือเหนือมนุษย์/อภิมนุษย์ - [sub-human or superhuman]) ในการสร้างเรื่องราวต่างๆ ? กระบวนการสังเกตเชิงอุปนัยผ่านการสะท้อนคำถามเหล่านี้, Nussbaum ได้ระบุถึงความสามารถเชิงหน้าที่ที่เป็นแกนกลางอันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งผู้คนที่มีความสามารถทั้งหลายจักต้องมี ถ้าหากว่าพวกเขาดำรงอยู่ในฐานะมนษย์ที่แท้. เหล่านี้รวมถึงความสามารถดังต่อไปนี้ (ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติม ดู Nussbaum, 1999, pp. 40-41):

1. ความสามารถในการอยู่รอดทางกายภาพ
2. ความสามารถในเชิงสุขภาพ
3. ความสามารถในความสมบูรณ์เป็นหนึ่งเดียวทางร่างกาย
4. ความสามารถเกี่ยวกับการใช้จินตนาการ
5. ความสามารถขานรับทางอารมณ์และการวินิจฉัย
6. ความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงปฏิบัติ
7. ความสามารถที่จะรักและมีมิตรภาพ
8. ความสามารถที่จะเชื่อมโยงกับธรรมชาติและสัตว์ต่างๆ
9. ความสามารถในการเล่น และความสนุกสนาน
10. ความสามารถในการควบคุมสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการควบคุมทางการเมือง

การรับเอาหลักการข้างต้นมาใช้ เราจะต้องประณีตและละเอียดอ่อนกับแนวคิดเกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม โดยการยอมรับต่อรายการเกี่ยวกับความสามารถทั้งหลายเหล่านี้ ในฐานะสิ่งจำเป็นต่อชีวิตขั้นต่ำตามสมควร และทำให้ระดับและชนิดของทรัพยากรพวกนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องค่อยๆ พยายามบรรลุถึงได้ในบริบทสังคมของพวกเขา และจะต้องมีความสามารถเหล่านี้ในขนาดที่เพียงพอ

รายการข้างต้น แน่นอนว่าได้รับการกำหนดอยู่ในระดับสูงของหลักเกณฑ์ทั่วไปอย่างชัดเจน และด้วยเหตุดังนั้น มันจึงเข้าใจได้ในการประยุกต์วิธีการนี้สู่ข้อพิจารณาที่ว่า ทำอย่างไรความสามารถที่หลากหลายดังกล่าว จะได้รับการแสดงให้ประจักษ์เป็นตัวอย่างในสังคมต่างๆ โดยให้มีการสนทนาและตั้งคำถาม. ในเวลาเดียวกัน รายการดังกล่าว อย่างที่ถกเถียงกันได้ เป็นการสร้างความปลอดภัยอันหนึ่งสวนทางกับสัมพัทธนิยมทางวัฒนธรรมที่มากเกินไปในการคิดถึงเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม. ถ้าเราเห็นว่าไม่มีทางที่ความสามารถตามรายการข้างต้นจะให้ความพึงพอใจได้เพียงพอ ต่อกลุ่มคนบางกลุ่มในสังคมหนึ่ง เราก็จักต้องสรุปว่า สังคมนั้นกำลังปฏิเสธคนเหล่านี้ เกี่ยวกับโอกาสดังกล่าวที่จะน้อมนำไปสู่"ชีวิตที่เหมาะสมขั้นต่ำ". ความคิดเกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมในหนทางนี้ สามารถวิจารณ์ได้ในเชิงการประเมินคุณค่าการจัดการทางสังคมที่มีอยู่

เงื่อนไขอันซับซ้อนที่สำคัญอันหนึ่งซึ่งควรจะต้องหมายเหตุไว้ในที่นี้คือ ควรพิจารณาหัวข้อที่สองในรายการที่เสนอโดย Nussbaum, นั่นคือ ความสามารถเกี่ยวกับสุขภาพด้านร่างกาย มันหมายถึงอะไร สำหรับผู้คนที่จะต้องมีความสามารถดังกล่าวในขอบเขตที่เหมาะสม ? อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าน่าจะไม่มีการกำหนดขอบเขตว่าสังคมหนึ่งนั้น จะเพิ่มขีดความสามารถด้านนี้ในระดับไหนให้กับสมาชิกของสังคม. โดยการอุทิศทรัพยากรมากขึ้นๆ ต่อเป้าหมายนี้. และ ณ จุดใดที่เราสามารถกล่าวได้ว่ามันทำมามากพอแล้ว ? อันนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับชุดของข้อจำกัด(limit-setting) นั่นคือ ปัญหาของการกำหนดลงไปให้ชัดเจน และเป็นหนทางหนึ่งซึ่งมีความชอบธรรมกับสิ่งเหล่านั้นที่เกี่ยวข้อง เช่น ระดับของขอบเขตการคุ้มครองสำหรับความสามารถอันที่น่าพึงพอใจ, การมีข้อผูกมัดเพื่อทำให้มั่นใจว่า ทุกคนสามารถเข้าถึงทรพัยากรที่จำเป็นและเหมาะสมซึ่งสมควรแก่ชีวิตตามมาตรฐานขั้นต่ำ

นอกจากความสลับซับซ้อนนี้แล้ว นิยามความหมายมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมในกรณีเกี่ยวกับรายการข้างต้น ซึ่งถือว่าเป็นความสามารถขั้นพื้นฐาน ได้ไปปลุกเร้าการไม่ยอมรับบางสิ่งบางอย่างขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เป็นที่ชัดเจนว่า "ชีวิตมนุษย์ที่แท้" จักต้องเกี่ยวข้องกับความเชื่อมโยงทางอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างกับธรรมชาติ พืช และสัตว์ รวมถึงสิ่งแวดล้อม ดังที่ Nussbaum ระบุไว้ใช่ไหม ? ในทำนองเดียวกับหลักการของ Nussbaum, ซึ่งใช้แนวคิดเกี่ยวกับ"ความต้องการต่างๆ ของมนุษย์" เป็นเรื่องที่ยังโต้เถียงกันอยู่เช่นกัน. แต่บางคนที่ไม่เห็นด้วย ดูเหมือนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เมื่อเราพยายามที่จะระบุชัดถึงมาตรฐานดังกล่าว เพื่อตัดสินว่าผู้คนพอใจกับชีวิตตามสมควรขั้นต่ำนั้นหรือไม่ ? พร้อมกันกับปัญหาชุดของข้อจำกัด ซึ่งอันนี้ได้ก่อให้เกิดประเด็นที่มีศักยภาพขึ้นมาเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมือง ในการกำหนดชัดลงไปและการบัญญัติขึ้นมาเป็นกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ซึ่งเราจะกลับมาพูดถึงต่อไป

1.3 สังคมที่ร่ำรวยกว่า มีมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมที่สูงกว่าใช่ไหม ?
เราได้กล่าวมาแล้วว่า มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมเป็นกลุ่มของทรัพยากรที่จำเป็นกองหนึ่ง สำหรับบางคนที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ตามสมควรขั้นต่ำในสังคมของพวกเขา อันนี้ได้ก่อให้เกิดคำถามหรือข้อสงสัยขึ้นว่า เราต้องการทรัพยากรต่างๆ มากน้อยแค่ไหน เพื่อจะดำรงชีวิตอยู่ได้ตามสมควรของชีวิตขั้นต่ำ ซึ่งถูกสะท้อนโดยระดับความร่ำรวยของสังคมทั่วๆ ไปซึ่งผู้คนดำรงอยู่ คำถามมีว่า มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมในสังคมที่มีความร่ำรวยนั้น มีระดับค่าเฉลี่ยสูงกว่าสังคมอื่นใช่หรือไม่ ? คำถามนี้ค่อนข้างสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับคำถามที่มีการศึกษามายาวนานเกี่ยวกับรายได้ของนักศึกษา และการกระจายความมั่งคั่ง นั่นคือ ความยากจนเป็นแก่นสารหนึ่งของรายได้และความมั่งคั่ง หรือความยากจนเป็นเรื่องเชิงสัมพัทธ์เกี่ยวกับรายได้และความมั่งคั่ง ?

ตัวอย่างที่มีการประเมินกันในประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับจำนวนครัวเรือนที่ยากจน บ่อยมากมาจากเส้นแบ่งความยากจน ซึ่งเป็นเศษส่วนของค่าเฉลี่ยเกี่ยวกับรายได้ของครัวเรือนที่ต่ำกว่า 50%, ที่นำมาปรับให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว (ซึ่งแต่ละครอบครัวมีจำนวนสมาชิกไม่เท่ากัน). ด้วยเหตุดังนั้น ถ้ารายได้ของคนยากจน ณ ช่วงเวลา 1990 เป็นอย่างเดียวกับที่เขาเป็น ณ ช่วงเวลา 1980 และในเวลานี้ รายได้เฉลี่ยของคนยากจนทั่วๆ ไปเพิ่มขึ้น. ด้วยหลักการอันนี้เราจะต้องสรุปว่า คนที่เคยยากจน ณ ช่วงเวลา 1980 ได้ยากจนลงกว่า ณ ช่วงเวลา 1990 แม้ว่าระดับรายได้เบ็ดเสร็จของพวกเขาจะไม่เปลี่ยนแปลงก็ตาม. อันนี้จะเข้าใจชัดหากเราคิดว่า ความยากจนเป็นสาระอันหนึ่งเกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุขของผู้คน ซึ่งขึ้นอยู่กับเรื่องของรายได้ โดยสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ในสังคมของพวกเขา

แต่อย่างไรก็ตาม วิธีคิดนี้เกี่ยวกับความยากจนได้เชื้อเชิญข้อตำหนิที่บรรดานักวิจัยกำลังสับสนในเรื่อง"ความยากจน"กับ"ความไม่เสมอภาค". บรรดานักวิจารณ์ให้เหตุผลว่า ถ้าคนกลุ่มหนึ่งมีรายได้และความมั่งคั่งน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบหรือสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ถ้าเช่นนั้นความไม่เสมอภาคก็เพิ่มขึ้น แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าความยากจนมีอยู่, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคนกลุ่มนั้นที่กำลังกล่าวถึงยังคงอยู่ดีมีสุขเท่าๆ กันกับก่อนหน้านั้น ในกรณีเกี่ยวกับระดับรายได้และความมั่งคั่งของพวกเขา

กรอบโครงเกี่ยวกับความสามารถกว้างๆ โดยทั่วไปที่กล่าวมาแล้ว ได้ให้การสนับสนุนในเชิงเหตุผลต่อข้ออ้างที่ว่า มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมมีการผันแปรไปกับระดับค่าเฉลี่ยรายได้และความมั่งคั่งของสังคม และโดยลำดับ ต่อคำอ้างที่ว่า ความยากจนสามารถเพิ่มขึ้นได้เมื่อคนกลุ่มหนึ่งตกต่ำไปอยู่ข้างหลังของสังคมส่วนที่เหลือ ในกรณีเกี่ยวกับรายได้เชิงสัมพัทธ์. ตามร่องรอยความคิดของ Sen บรรดานักทฤษฎีความสามารถต่างถกกันว่า แม้ว่าความสามารถต่างๆ จะเป็นหลักการนิยามความหมาย"ความสมควรขั้นต่ำต่อชีวิต" ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ยังคงเป็นอย่างเดียวกันแม้จะตัดข้ามสังคมต่างๆ ก็ตาม ที่มีระดับความมั่นคั่งผันแปรแตกต่างกันไป ทรัพย์ยากรที่ต้องการมี ตามหลักความสามารถจะยิ่งเพิ่มขึ้น ในกรณีเกี่ยวกับความสามารถบางอย่าง, ที่สังคมที่รวยกว่ามี

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ต้นทุนทรัพยากรเกี่ยวกับความสามารถจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกับรายได้โดยเฉลี่ย. ตามความคิดของ Sen: "เพื่อนำไปสู่ชีวิตที่ปราศจากความอาย, เพื่อสามารถไปเยี่ยมและมีความสุขและความบันเทิงกับเพื่อนๆ, เพื่อติดตามสิ่งที่เกิดขึ้นและคนอื่นๆ ว่า พวกเขาพูดอะไรกัน… ความต้องการสินค้าที่มีราคาแพงขึ้น, และการบริการต่างๆ ในสังคม, นั่นคือโดยทั่วไปเป็นการรวยขึ้น และสิ่งซึ่งผู้คนส่วนใหญ่มี กล่าวคือ พาหนะการเดินทาง, เสื้อผ้าอาภรณ์, วิทยุและโทรทัศน์ และอื่นๆ (Sen, 1987a, p.18). สำหรับเหตุผลนี้ อย่างน้อยที่สุด ระดับและความพึงพอใจเกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมในสังคมหนึ่ง ในบางขอบเขตจะเป็นสิ่งสัมพัทธ์กับความสามารถในการผลิตของสังคมนั้น และด้วยเหตุดังนั้น มันก็จะเหมาะสมที่จะนิยามเส้นของความยากจนในความสัมพันธ์กับ(ในฐานเศษส่วนของ)รายได้เฉลี่ย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคิดหนึ่งซึ่งมีบทบาทอย่างสำคัญในการสนทนาเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็คือ เรื่องเกี่ยวกับการเคารพตนเอง(self-respect). ผู้คนมีความสนใจใน(ความสามารถเกี่ยวกับ)การเคารพตนเอง(ในเรื่องที่กล่าวถึง, ดู Rawls, 1999, pp. 386-391)(*). แต่ ดังที่ข้อถกเถียงดำเนินไป การเคารพตนเองของเราขึ้นอยู่กับภาวะของเราเองในการสามารถที่จะธำรงรักษาสไตล์การใช้ชีวิต ที่คล้ายคลึงกับเพื่อนพลเมืองของเราตามสมควร บางทีเราจะมองดูด้อยกว่า และเริ่มรู้สึกด้อย ถ้าเราไม่ได้สวมใส่เสื้อผ้าอย่างที่คนอื่นๆ เขาใส่กัน หรือไปเที่ยวในช่วงวันหยุดอย่างที่พวกเขาไปในสถานที่ตางๆ และอื่นๆ. หากว่าการเคารพในตนเองขึ้นอยู่กับการบริโภคเชิงสัมพัทธ์ในแนวนี้ และชีวิตขั้นต่ำตามสมควรเป็นอย่างหนึ่งซึ่งรวมเอาภาวะความเป็นอยู่ของเราที่จะมีความสุขด้วยการเคารพนับถือตนเอง มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมก็จะได้รับการมองอย่างเหมาะสม ในฐานะการดำรงอยู่ที่สัมพัทธกับรายได้เฉลี่ย และระดับของการบริโภคซึ่งมีความมั่นคงในระดับนี้ของรายได้
(*) Rawls, John, A Theory of Justice, Revised Edition (Cambridge: MA, Harvard University Press, 1999 [1971]).

อีกนัยหนึ่ง แน่นอน มันจวนเจียนที่จะต้องมีขีดจำกัดขั้นต่ำอันหนึ่งขึ้นมาในเรื่องความสัมพันธ์ดังกล่าว ถ้าหากว่าระดับรายได้โดยเฉลี่ยในสังคมค่อนข้างต่ำจริงๆ หากเป็นเช่นนั้น กระทั่งคนที่มีรายได้สูงในเชิงสัมพัทธ์กับค่าเฉลี่ยนี้ อาจขาดเสียซึ่งทรัพย์ยากรที่ต้องการเพื่อนำไปสู่ความจำเป็นของชีวิตขั้นต่ำตามความเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้คนในสังคมหนึ่งไม่อาจกินดีอยู่ดีได้อย่างเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะการขาดแคลนโภชนาการ อันเป็นที่มาจากเรื่องรายได้ ซึ่งเป็นสองเท่าของค่าเฉลี่ยของสังคมกลุ่มใหญ่ หากเป็นเช่นนั้น กระทั่งผู้มีรายได้ร่ำรวยบางคนในเชิงสัมพัทธ์ในสังคมนี้ จะยังคงมีชีวิตความเป็นอยู่ต่ำกว่าระดับของมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมอยู่ดี

1.4 การเข้าถึงมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมตามสมควร
ขอให้เราจินตนาการว่า เราได้ตั้งอยู่บนคำนิยามที่ยอมรับได้อันหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งจำเป็นสำหรับคนที่จะมีความสุขกับชีวิตตามสมควรขั้นต่ำในสังคมของพวกเขา. ตอนนี้เราปรารถนาที่จะประกาศใช้มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม เพื่อประกันว่า สมาชิกทั้งมวลในสังคมเราสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นได้ เพื่อนำไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่ตามความจำเป็น. คำสำคัญในที่นี้คือ"การเข้าถึงตามสมควร"(reasonable access). คำถามคือว่า คำสำคัญนี้หมายความว่าอะไร ? ทำไม่ไม่พูดง่ายๆ ว่า สังคมควรประกันว่าสมาชิกของสังคมจะต้องมีทรัพยากรที่พวกเขาต้องการ เพื่อนำไปสู่ชีวิตขั้นต่ำตามความจำเป็นร ? ทำไมจึงใช้วิธีการอ้อมค้อมเกี่ยวกับการแสดงออกนี้ โดยกล่าวว่า พวกเขาควรจะมีการเข้าถึงได้ตามสมควรในทรัพยากรนั้น มากกว่าพูดถึงเรื่องทรัพยากรต่างๆ ตรงๆ

เราใช้หลักการหรือข้อกำหนดนี้เพื่อที่จะเปิดให้กับการมีคำถามสำคัญเกี่ยวกับคำดังกล่าว ซึ่งผู้คนทั้งหลายอาจ/ควรจะได้รับทรัพยากรต่างๆ เหล่านี้. มันเป็นการชวนคิดเกี่ยวกับการบัญญัติเรื่องมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ในฐานะที่เป็นนโยบายและสถาบันเริ่มต้นที่จะให้ทรัพยากรที่จำเป็นต่อผู้คน เพื่อพวกเขาจะได้มีชีวิตขั้นต่ำตามความจำเป็นในสังคม แต่อย่างไรก็ตาม แน่นอน นี่ค่อนข้างตีวงจำกัดมากในความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการประกาศถึงมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม. ต่อปัญหาที่ว่าทำไม ขอให้พิจารณาถึงเรื่องดังต่อไปนี้

ปัจเจกชนคนหนึ่ง เรียกเขาว่า สมชาย ซึ่งไม่มีงานทำ และด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่มีเงินพอที่จะซื้ออาหารและมีที่อยู่อาศัย ดั่งที่เรื่องราวดำเนินไป, สมชายขาดเสียซึ่งทรัพยากรพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อมีชีวิตความเป็นอยู่ขั้นต่ำตามสมควร เหตุนี้เขาจึงมีชีวิตที่เราอาจเรียกว่าต่ำกว่ามาตรฐานทางสังคม แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลขานรับต่อชะตากรรมของเขาโดยการให้งานทำที่มีรายได้เพียงพอ หรือเสมอกับระดับมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ปัจจุบันด้วยการขานรับดังกล่าว สมชายสามารถมีงานทำ และงานดังกล่าวไม่ทำให้ชีวิตเขาต้องตกต่ำอีกต่อไปหรือถูกลงโทษ

เราอาจกล่าวได้ว่า ถ้าเผื่อว่ารัฐบาลได้กระทำสิ่งนี้เพื่อคนที่เป็นอย่างสมชายทั้งหมด นั่นคือการบัญญัติเกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ก็จะไม่มีใครต้องประสบชะตากรรมที่ต้องทนทุกข์ทรมานเช่นนั้น. แต่อย่างชัดเจน ตามที่รัฐบาลได้เข้ามาแทรกแซง นี่ไม่ใช่มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมโดยตรง (กรณีของสมชาย และคนอื่นๆ ที่เป็นเหมือนอย่างเขา) อันที่จริง มันเป็นการแทรกแซงที่ทำให้สมชาย และคนอื่นๆ ซึ่งมีประสบการณ์อันขมขื่นเช่นเดียวกับเขา สามารถ "เข้าถึงตามสมควร"(reasonable access)สู่มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม

ปัจจุบัน อาจเป็นได้ในบางกรณีที่เป็นวิธีการเหมาะสมส่วนใหญ่ เพื่อประกันการเข้าถึงตามสมควรสู่มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม โดยการให้ทรัพยากรดังกล่าวแก่ผู้คนเหล่านั้นโดยตรง. ถ้าหากว่าสมชายไม่สามารถทำงานได้จริง การหางานให้ทำก็จะไม่นำมาซึ่ง"การเข้าถึงตามสมควร"สู่มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ดังนั้นจึงเป็นการเหมาะสมกว่าที่จะให้มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมแก่เขา

นักปรัชญาบางคนถกว่า นโยบายปกป้องเชิงจริยธรรมส่วนใหญ่ ควรให้มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมกับทุกๆ คน, มากกว่าที่จะให้อย่างมีเงื่อนไขแก่คนบางคน เช่น ผู้พิการ หรือไร้ที่อยู่อาศัย หรือคนยากจน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม นี่คือทัศนะหนึ่งของรูปแบบนโยบายเกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมควรรับไปพิจารณา และจะไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะทำให้ทัศนะนี้เป็นนิยามความหมายเกี่ยวกับนโยบายมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม และมุ่งเพื่อบัญญัติหรือสร้างมาตรฐานดังกล่าวขึ้นมา

คลิกไปอ่านต่อตอนที่ 2 : ทำไมต้องมี มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บรรณานุกรม

http://en.wikipedia.org/wiki/Welfare_state
http://en.wikipedia.org/wiki/Welfarism
http://en.wikipedia.org/wiki/Lockean_proviso
http://plato.stanford.edu/entries/social-minimum/

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
07 December 2007
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
มีคำกล่าวที่ว่า "ผู้คนไม่ควรที่จะถูกปล่อยให้ต้องหิวโหยอยู่ตามท้องถนน, ไม่มีใครที่ควรถูกปฏิเสธในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพขั้นต่ำที่เหมาะสม, พลเมืองทุกคนควรจะสามารถได้มาซึ่งความต้องการพื้นฐานอันจำเป็นของพวกเขา" คำพูดต่างๆ เหล่านี้ ได้รับการเอ่ยออกมาอย่างกว้างขวาง อันเป็นประโยคที่ชุมชนทางการเมืองควรทำให้เกิดความมั่นใจว่า สมาชิกของสังคมนั้นจะต้องสามารถมีความสุขได้ อย่างน้อยที่สุด ในระดับมาตรฐานของชีวิตตามสมควร. พวกเขายืนยันถึงความสำคัญของสิ่งซึ่งบ่อยครั้งได้รับการเรียกว่า "มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม"
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream