โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๐๕ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ (November, 09, 11, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ในอดีต เจ้าหน้าที่ทางการของพม่าไม่ได้แสดงความน่าเชื่อถือใดๆ เกี่ยวกับหลักนิติธรรม มันยังคงไม่ชัดแจ้งว่า จำนวนเท่าไหร่ของคนเหล่านั้นที่ถูกคุมขัง และได้รับการกล่าวหาอย่างเป็นทางการ. เจ้าหน้าที่ทางการพม่ามักจะอ้างพระราชบัญญัติสถานการณ์ฉุกเฉิน ปี 1950, พระราชบัญญัติการสมาคมที่ผิดกฎหมาย, กฎหมายปกป้องรัฐปี 1970, กฎหมายปกป้องเพื่อความสงบสุข กฎหมายทั้งหมดนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะปราบปรามผู้ที่ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงทางการเมือง และได้ใช้ต่อกรกับผู้ซึ่งออกมาเรียกร้องสิทธิของพวกเขาอย่างสันติ เพื่อเสรีภาพในการแสดงออก
09-11-2550

Saffron revolution
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

ผลที่ตามมาของกบฎผ้าเหลืองในพม่าเพื่อนบ้าน
หลังการสังหารโหด: จากชเวดากองย้อนไปเทียนอันเหมิน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : บรรณาธิการ
รวบรวมจากข้อมูลหลายส่วน เช่น News Line, AHRC, LRWC

บทความ รายงานข่าว และแถลงการณ์ต่อไปนี้ กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน
ได้รับมาจากหลายแหล่ง เพื่อรวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ซึ่งเป็นผล
สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติผ้าเหลืองที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย
1. พม่า: หลังเหตุการณ์กบฎผ้าเหลือง"ชเวดากอง"
2. จากเทียนอันเหมินสู่ย่างกุ้ง
3. แถลงการณ์: องค์กรจับตาสิทธิมนุษยชนโดยนักกฎหมาย แคนาดา

ในส่วนที่หนึ่งเป็นการายงานข่าวเหตุการณ์ ส่วนที่สองเป็นบทความ และ
ส่วนที่สามเป็แถลงการณ์ของ LRWC ซึ่งมีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๐๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๔.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ผลที่ตามมาของกบฎผ้าเหลืองในพม่าเพื่อนบ้าน
หลังการสังหารโหด: จากชเวดากองย้อนไปเทียนอันเหมิน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : บรรณาธิการ
รวบรวมจากข้อมูลหลายส่วน เช่น News Line, AHRC, LRWC

โครงเรื่องทั้งหมด
1. พม่า: หลังเหตุการณ์กบฎผ้าเหลือง"ชเวดากอง"
(Newsline ประจำวันที่ 19-22 ตุลาคม 2550 - รวบรวม)

1.1 เมื่อ รมต.ต่างประเทศฝรั่งเศสกับอังกฤษประสานเสียงเรื่องพม่า
1.2 สิงคโปร์ยืนยันหนุนการแก้ปัญหาพม่า
1.3 ผู้ประท้วงพม่าหลายสิบคนชุมนุมหน้าสถานทูตในกรุงเทพฯ
1.4 WFPร้องประชาคมโลกอย่าละเลยชาวพม่าที่ตกอยู่ในภาวะอดอยาก
1.5 ฮิวแมนไรต์ วอตช์ ส่งจม.ถึงจีนวอนห้ามค้าอาวุธกับพม่า

2. จากเทียนอันเหมินสู่ย่างกุ้ง
3. แถลงการณ์: องค์กรจับตาสิทธิมนุษยชนโดยนักกฎหมาย แคนาดา

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

1. พม่า: หลังเหตุการณ์กบฎผ้าเหลือง"ชเวดากอง"
1.1 เมื่อ รมต.ต่างประเทศฝรั่งเศสกับอังกฤษประสานเสียงเรื่องพม่า

รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสคือ Bernard Kouchner และรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษคือ David Miliband ทั้งสองเขียนในบทความยืนยันว่า "แรงกดดันจากนานาชาติ" จะต้องมีต่อไปเพื่อช่วยให้ประชาชนคนพม่าที่ถูกกดขี่ และปราบปรามอย่างหนักจากเผด็จการทหาร สามารถลืมตาอ้าปากได้อีกครั้งหนึ่ง เพราะเชื่อเช่นกันว่าถ้าหากปล่อยให้โอกาสครั้งนี้ผ่านไป และยอมให้นายพลพม่าปกครองประเทศอย่างเบ็ดเสร็จต่อไปอีก การจะมองหาโอกาสเพื่อสร้างประชาธิปไตยในพม่าก็จะเป็นไปได้อย่างยากยิ่ง แต่แน่นอนว่าการดำเนินการจะต้องมีขั้นตอน... เช่น

1. จะต้องกดดันให้ผู้นำทหารพม่ายุติความรุนแรงที่ใช้ในการปราบปรามพระสงฆ์ นักศึกษา
และประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข

2. ต้องกดดันให้ผู้นำทหารพม่าปล่อยนักโทษการเมืองทันที

3. ขณะเดียวกัน รัฐบาลทหารพม่าจะต้องให้ความร่วมมือกับตัวแทนสหประชาชาติคือ Ibrahim Gambari เพื่อทำให้เกิด
"กระบวนการที่แท้จริง" ในการสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติอย่างจริงจัง

4. กระบวนการใหม่ที่ว่านี้จะต้องให้อองซานซูจี และตัวแทนของกลุ่มการเมืองต่างๆ
รวมทั้งจากชนกลุ่มน้อยทั่วประเทศเข้าร่วมด้วยอย่างเป็นรูปธรรม

5. กระบวนการนี้จะต้องมี "ความชอบธรรมในระดับสากล" ซึ่งหมายความว่าสหประชาชาติ
และประเทศเพื่อนบ้านของพม่าจะต้องเข้าร่วมอยู่อย่างมีนัยสำคัญ

รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษกับฝรั่งเศสยืนยันในบทความนี้ว่า "ทุกคนที่เกี่ยวข้อง" กับเรื่องดังกล่าวจะต้องช่วยกันน้าวโน้มให้ผู้นำทหารพม่าเห็นว่า หากไม่เดินตามเส้นทางนี้แล้ว พวกเขาก็ไม่มีวันจะกุมอำนาจของประเทศต่อไปได้ในรูปแบบเดิมอีก เพราะแถลงการณ์ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และอาเซียน ต่างก็ออกมาแสดงความชัดเจนว่าไม่อาจจะรับกับการกระทำอันน่ารังเกียจและโหดเหี้ยมของผู้นำทหารพม่าต่อผู้เรียกร้องประชาธิปไตยได้ การที่จีนไม่คัดค้านการออกแถลงการณ์คัดค้านรัฐบาลทหารพม่าของคณะมนตรีความมั่นคงครั้งนี้ ต้องถือว่าเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อนายพลของพม่าว่า ประเทศที่เคยปกป้องอำนาจเผด็จการทหารพม่าทั้งหลาย ต่างก็กำลังถอยร่นจากจุดยืนเดิม เพื่อหันมาทำในสิ่งที่ประชาคมโลกเห็นว่าจะต้องทำเพื่อให้ประชาชนชาวพม่า สามารถตัดสินชะตากรรมของตนเองอย่างเป็นรูปธรรมเสียที

รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส บอกว่า จะใช้ทั้งมาตรการลงโทษและมาตรการส่งเสริมเพื่อให้ประชาชนคนพม่าได้มีทางเลือกใหม่ ถ้ารัฐบาลทหารพม่า ยังไม่แสดงความพร้อมที่จะเข้าสู่กระบวนการเจรจาเพื่อสร้างอนาคตใหม่สำหรับประชาธิปไตยอย่างแท้จริง สหภาพยุโรปหรือ EU ก็จะเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรจากเดิมที่มีอยู่. มาตรการ "แซงชั่น" เดิมคือการไม่ออกวีซ่าให้กับผู้นำพม่า และคนเกี่ยวข้อง อีกทั้งยังจะอายัดทรัพย์สินของคนเหล่านี้ในต่างประเทศ และจะระงับการติดต่อทางธุรกิจกับหน่วยงานที่มีความสัมพันธ์กับอำนาจรัฐของพม่า. ถ้าจำเป็น สหภาพยุโรป ก็จะเพิ่มมาตรการแซงชั่นด้วยการพุ่งเป้าไปที่กิจกรรมทางการค้าที่เกี่ยวกับการหารายได้เข้ารัฐ เช่น ไม้ เพชรพลอย และแร่ธาตุ

ถ้าหากผู้นำทหารพม่าแสดงท่าทีพร้อมที่จะเจรจาอย่างจริงใจ สหภาพยุโรป ก็จะเสนอความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจอย่างเป็นกิจลักษณะเพื่อช่วยเหลือประชาชนคนพม่าให้สามารถลุกขึ้นมาร่วมกันสร้างประเทศใหม่ได้ แต่สองรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศนี้ยืนยันว่าการแก้ปัญหาของพม่าจะต้องประสานกับคนกลุ่มต่างๆ ในประเทศ และต้องไม่ทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพต่อภูมิภาค โดยที่รัฐมนตรีทั้งสองใช้คำว่า "broad-based and inclusive" ซึ่งหมายความว่าจะต้อง "กว้างขวางและให้ทุกคนมีส่วนร่วม"

ท้ายสุดคนพม่าเองจะเป็นผู้กำหนดชะตากรรมของตนเอง แต่ตราบใดที่เผด็จการทหารยังใช้ปืนจ่อที่หัวของผู้เรียกร้องประชาธิปไตย การสร้างชาติบนพื้นฐานของความสมานฉันท์ย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้
(กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 22/10/2550)

1.2 สิงคโปร์ยืนยันหนุนการแก้ปัญหาพม่า
รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความมั่นใจกับนายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษองค์การสหประชาชาติว่า จะเดินหน้าสนับสนุนความพยายามในการสร้างความปรองดองภายใน และการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองในพม่า โดยในการหารือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ กับนายกัมบารี ขณะรอเปลี่ยนเครื่องบิน เพื่อเดินทางจากกรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซียต่อไปยังกรุงนิวเดลีของอินเดีย ที่สนามบินชันกีของสิงคโปร์ โดยกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ออกแถลงการณ์หลังการเข้าพบกับนายกัมบารีว่า สิงคโปร์ยังคงวิตกต่อสถานการณ์ในพม่า และหวังว่ารัฐบาลทหารพม่าจะยอมขยายความร่วมมือกับนายกัมบารีอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการอนุญาตให้นายกัมบารีเดินทางเข้าไปในพม่า เพื่อพบกับบรรดาผู้นำระดับสูงของรัฐบาลพม่าอีกครั้ง รวมทั้งการได้เข้าพบกับนางอองซานซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน, เหล่าสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ, และพระสงฆ์แกนนำกลุ่มประท้วง ในการที่นายกัมบารีจะเป็นตัวกลางประสานความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่างๆ ในพม่า ทั้งนี้ นายกัมบารีกำลังอยู่ระหว่างการเดินทางเยือนประเทศในแถบเอเชีย 6 ประเทศ ที่มีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาการเมืองและความรุนแรงในพม่า
(ศูนย์ข่าวแปซิฟิค วันที่ 21/10/2550)

1.3 ผู้ประท้วงพม่าหลายสิบคนชุมนุมหน้าสถานทูตในกรุงเทพฯ
เมื่อเวลา 10 โมงเช้า วันที่ 21 ตุลาคม 2550 ผู้ประท้วงหลายสิบคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและแรงงานชาวพม่า รวมตัวกันที่หน้าสถานทูตพม่าในกรุงเทพมหานครฯ เพื่อเรียกร้องขับไล่รัฐบาลทหารพม่า และแสดงความไม่พอใจที่รัฐบาลใช้กำลังทหารปราบปรามประชาชน และพระสงฆ์เมื่อเดือนที่แล้ว พร้อมขอให้ปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด รวมทั้งขอให้ชาติเพื่อนบ้าน และประชาคมโลกเกลี้ยกล่อมให้รัฐบาลทหารพม่าเห็นว่า ถึงเวลาที่จะต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงในพม่าสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว

ส่วนสมาชิกเครือข่ายทางเลือกอาเซียนว่าด้วยปัญหาพม่า ก็ออกมาเรียกร้องให้กลุ่มอาเซียน จีน และอินเดีย ให้ความร่วมมือกับนายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติ เพื่อสร้างประชาธิปไตยในพม่า โดยระบุว่าภารกิจของนายกัมบารีจะประสบผลสำเร็จไปไม่ได้ หากขาดการร่วมมือจากกลุ่มอาเซียน รวมทั้งจีน และอินเดีย ซึ่งมีอิทธิพลต่อพม่าอย่างมาก แต่ที่ผ่านมาทั้งสองประเทศกลับไม่แสดงบทบาทเท่าที่ควร

ขณะนี้ทางไทยได้ส่งจดหมายของนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 2 ไปให้กับรัฐบาลพม่าแล้ว โดยมีการส่งผ่านช่องทางทางการทูตของพม่าในไทย โดยเนื้อหาหลักพยายามจะแจ้งให้พม่าทราบถึงท่าทีของไทยที่อยากจะสนับสนุนภารกิจของนายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษ UN เพื่อหาทางออกในปัญหาพม่า ขณะเดียวกันหลังจากนายกัมบารีได้มาหารือกับนายกรัฐมนตรี ทางฝ่ายไทยได้มีการประสานพูดคุยกับสิงคโปร์ในฐานะประธานอาเซียนอย่างต่อเนื่องว่า จะดำเนินการในขั้นตอนต่อไปอย่างไร เพื่อให้มีทางออกที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

ส่วนผู้ลี้ภัยชาว"พม่า"ใน"มาเลเซีย"ร่วมไว้อาลัยให้กับผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่นที่ถูกยิงเสียชีวิตในระหว่างการประท้วงครั้งใหญ่ที่พม่าเมื่อเดือนก่อน พระภิกษุและผู้ลี้ภัยชาว"พม่า"ประมาณ 50 คนได้นำดอกไม้ไปแสดงการไว้อาลัยให้กับนาย"เคนจิ นากาอิ"ผู้สื่อข่าวชาว"ญี่ปุ่น"ของสำนักข่าว"APF" ที่เสียชีวิตในระหว่างการประท้วงของกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยใน"พม่า" ซึ่งมีพระภิกษุเป็นแกนนำการประท้วงเมื่อเดือนก่อน. พระภิกษุและผู้ลี้ภัยชาว"พม่า"เหล่านี้ยังได้แสดงพลังต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า โดยชุมนุมกันอยู่ด้านหน้าสถานทูต"ญี่ปุ่น"ในกรุง"กัวลาลัมเปอร์"วันนี้ พร้อมกับอ่านแถลงการณ์ยกย่องนาย"นากาอิ"ว่าเป็นวีรบุรุษ จากนั้นผู้ชุมนุมกลุ่มนี้ได้เดินทางต่อไปยังสถานทูต"พม่า"ที่อยู่ใกล้กัน ท่ามกลางการเฝ้าระวังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
(สำนักข่าวไทย, มติชน ,สำนักข่าวเนชั่น วันที่ 20-21/10/2550)

1.4 WFP ร้องประชาคมโลกอย่าละเลยชาวพม่าที่ตกอยู่ในภาวะอดอยาก โดยเฉพาะหลังเกิดเหตุประท้วงรัฐบาลพม่าครั้งใหญ่
โครงการอาหารโลก (WFP - World Food Programme) หน่วยงานต่อสู้ภาวะอดอยากอาหาร ในสังกัดสหประชาชาติ (UN) ออกมาเรียกร้องให้ประชาคมโลกอย่าละเลยที่จะให้ความช่วยเหลือด้านอาหารแก่ประชาชนพม่า แม้ว่าหลายประเทศจะได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรกดดันพม่าหนักขึ้น เพื่อตอบโต้ที่รัฐบาลทหารพม่าใช้กำลังปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงที่ลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลพม่าครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

นายโทนี แบนเบอรี ผู้อำนวยการโครงการอาหารโลกประจำภูมิภาคเอเชีย ให้สัมภาษณ์ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2550 หลังเดินทางเข้าไปตรวจเยี่ยมชาวพม่าเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ชาวพม่าราว 5 ล้านคน ประสบปัญหาขาดแคลนอาหารเรื้อรัง โดยโครงการอาหารโลกต้องจัดหาอาหารเข้าไปช่วยเหลือชาวพม่าเหล่านั้นราว 500,000 คนต่อเดือน แต่ทางองค์กรสามารถช่วยเหลือได้เพียงแค่ 200,000 คนเท่านั้น. ในประเทศที่เป็นผู้ผลิตอาหารอย่างพม่านั้น ไม่ควรที่จะประสบปัญหาภาวะอดอยาก แต่ชาวพม่าหลายล้านคนกลับต้องเผชิญภาวะเช่นนั้น หนึ่งในเหตุผลที่สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้คือ นโยบายควบคุมของรัฐบาลทหารพม่า ได้ทำให้เกษตรกรบางรายถูกบีบให้ต้องขายพืชผลการเกษตรของตนให้แก่รัฐบาลในราคาที่ต่ำกว่าตลาด ซึ่งนั่นไม่ได้กระตุ้นการผลิตในพม่า และการควบคุมอย่างเข้มงวดของรัฐบาลพม่าเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุการณ์ประท้วงนั้น จะยิ่งทำให้การแจกจ่ายอาหารไปยังผู้ที่ขาดแคลนถูกจำกัดมากขึ้น

นายแบนเบอรียังตำหนิหลายประเทศที่ด่วนสนับสนุนการคว่ำบาตรเพื่อลงโทษรัฐบาลพม่า แต่ประเทศเหล่านั้นกลับไม่ยอมเพิ่มความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวพม่า ที่ต้องทนทุกข์กับภาวะอดอยาก
(มติชน วันที่ 20/10/2550)

1.5 ฮิวแมนไรต์ วอตช์ ส่งจดหมายถึงจีน วอนห้ามค้าอาวุธกับพม่า
กลุ่มฮิวแมน ไรต์ วอตช์ (Human Right Watch) ทำหนังสือถึงประธานาธิบดีหู จิ่น เทา ของจีนเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 เรียกร้องให้จีนออกมาตรการห้ามค้าอาวุธกับพม่า เพื่อร่วมกดดันให้รัฐบาลทหารพม่ายุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ หลังจากใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วงจนเกิดการนองเลือดเมื่อเดือนที่แล้ว. นอกจากนี้ยังขอให้จีนดำเนินการคว่ำบาตรต่อผู้นำทหาร เพิ่มแรงกดดันให้รัฐบาลทหารเปิดการเจรจาทางการเมืองกับฝ่ายค้าน เพื่อฟื้นคืนระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งขอให้จีนอย่าขัดขวางความพยายามของคณะมนตรีความมั่นคงในการคว่ำบาตรพม่า และขอให้จีนระงับการลงทุนในกิจการน้ำมันของทางการจีนที่ตั้งอยู่ในพม่า
(สำนักข่าวเนชั่น วันที่ 18/10/2550)

2 จากเทียนอันเหมินสู่ย่างกุ้ง
รัฐบาลทหารพม่าไม่สนใจแรงกดดันจากนานาชาติ ยังคงยืนยันจะใช้กำลังทหารปราบปรามผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล แม้ว่าญี่ปุ่นประกาศตัดความช่วยเหลือเช่นเดียวกับสหภาพยุโรป ที่ประกาศขยายการคว่ำบาตร แต่ยังมีอีกชาติหนึ่งที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในพม่าได้คือ จีน ซึ่งมีอิทธิพลทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมืองเหนือทุกชาติต่อพม่า. จีนจะยอมกดดันพม่าเพื่อให้แก้ไขวิกฤติความขัดแย้ง โดยกล้าเอาผลประโยชน์ของตนเอง และผู้ปกครองของพม่าเข้ากดดันหรือไม่ ?

จีนจะทำให้เกิดการยอมรับอองซาน ซูจี และผู้ต่อต้านผู้ปกครองของพม่านำมาสู่ความเป็นเสรีประชาธิปไตย และความสมานฉันท์ของคนในชาติได้ไหม ทั้งต่อผู้มีอำนาจปัจจุบันในพม่า และผู้มีอำนาจของจีนเอง ? ทว่าจีนเองก็มีมลทินจากประวัติศาสตร์เปื้อนเลือด เมื่อวันที่ 3 และ 4 มิถุนายน 2532 (ค.ศ.1989) จากการบดขยี้นักศึกษาผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนปีเดียวกัน ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน

วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1949 (พ.ศ.2492) เมื่อประธานประเทศเหมา เจ๋อ ตุง ได้ประกาศต่อมวลชนก่อตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนบนหอประตูเทียนอันเหมิน และอัญเชิญธงดาวแดงขึ้นสู่ยอดเสา หอประตูเทียนอันเหมิน จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีนใหม่ เปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่การปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์มานับแต่นั้น. ต่อมาสมัย เติ้ง เสี่ยว ผิง เขาปฏิรูปชาติจนพัฒนามามาก เติ้งเป็นคนเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ (สี่ทันสมัย). ต่อมาสมัย จ้าว จื่อ หยาง เป็นเลขาธิการพรรค หลี่ เผิง เป็นนายกรัฐมนตรี และ หยาง ซ่าง คุน เป็นประธานาธิบดี มีความต้องการประชาธิปไตยเป็นความทันสมัยที่ 5 ด้วย และมีกระแสเรียกร้องไปสู่ผู้นำเป็นวงกว้าง จากปักกิ่งไปสู่มหาวิทยาลัยในเซี่ยงไฮ้ และมาชุมนุมประท้วงกันที่หน้ามหาศาลาประชาชนที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เป็นการท้าทายพรรคคอมมิวนิสต์ และรัฐบาลจีนอย่างตรงไปตรงมาเป็นครั้งแรก

มีคนงานและมวลชนเดินทางมาสู่เทียนอันเหมินจากทั่วทุกสารทิศ เพื่อสนับสนุนนักศึกษา. เหตุการณ์ประท้วงในจีน ตรงหน้ารูปภาพของเหมาเจ๋อตุงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เติ้ง เสี่ยว ผิง ผู้ที่ไม่มีตำแหน่งใดๆ อย่างเป็นทางการ บัญชาการให้ทหารทุกเหล่าพร้อมรถถัง รวมพลเคลื่อนเข้าบดขยี้นักศึกษา และผู้ร่วมชุมนุมอย่างโหดเหี้ยมไร้ความปรานี จ้าวจื่อหยางถูกปลด. ไม่มีการเปิดเผยยอดความเสียหายอย่างแท้จริงออกมาจากผู้มีอำนาจ แม้จะมีการเรียกร้องจากประชาคมโลกจนถึงทุกวันนี้. เติ้ง เสี่ยว ผิง แถลงเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2532 ถ้าไม่ปราบปรามอย่างเด็ดขาด จีนคงแตกกระจายเป็นหลายประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและพม่าด้านเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและพม่า บนพื้นฐานของการค้า ส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายพม่าที่นำเข้าสินค้าต่างๆ จากจีน เนื่องจากพม่ามีอุตสาหกรรมที่เป็นของประเทศไม่มากนัก. ส่วนของภาคการลงทุน ข้อมูลวิจัยขององค์กรเอิร์ทไรต์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีบริษัทข้ามชาติจากจีน 26 ราย เข้าไปทำธุรกิจในโครงการต่างๆ รวมกว่า 62 โครงการในพม่า ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของพม่ายังขับเคลื่อนอยู่ได้. ก๊าซธรรมชาติ เป็นผลประโยชน์ส่วนหนึ่งที่จีนเข้าไปผูกพันกับพม่า โดยนับจากจีนมีนโยบายเปิดเศรษฐกิจ และขยายอิทธิพลเข้าสู่สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ปักกิ่งกลายเป็นพันธมิตรสำคัญ และนักลงทุนอันดับหนึ่งของพม่าแทนที่สิงคโปร์ โดยมีทุนอังกฤษมาเป็นอันดับสอง

ทำไมมาตรการลงโทษทางการเมืองและเศรษฐกิจต่างๆ จึงไม่ได้ผล?
เหตุผลสำคัญมาจากหลายส่วน โดยเฉพาะกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังขับเคลื่อนอยู่ได้ด้วยการลงทุนของต่างประเทศ และถึงแม้จะอยู่ภายใต้ระบอบของเผด็จการทหาร แต่พม่าไม่ได้ปิดประเทศ. เมื่อปี 2531 รัฐบาลพม่าได้ประกาศนโยบายดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศ ภายใต้คำขวัญ Asia's last. นับแต่เหตุการณ์นองเลือดปี 2531 ความพยายามแก้ไขความขัดแย้งในประเทศนี้ อยู่ในภาวะล้มเหลว การแซงชั่นของสหรัฐอเมริกาและประเทศกลุ่ม EU, รวมทั้งนโยบาย "เกี่ยวพันเชิงสร้างสรรค์" (Constructive Engagement) ของอาเซียน ล้วนใช้การไม่ได้กับพม่า

สองสามปีที่ผ่านมา นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ พยายามสร้างความสมานฉันท์ระหว่างระบบปกครองย่างกุ้งกับฝ่ายต่อต้านภายใต้การนำของนางอองซาน ซูจี ด้วยวิธีส่งทูตพิเศษ อย่างน้อย 2 รายเข้าไปไกล่เกลี่ย กระทั่งสามารถทำให้รัฐบาลย่างกุ้งยุคพลเอกขิ่นยุ่น นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ปล่อยตัวเธอชั่วคราว หรือกระทั่งกดดันให้รัฐบาลพม่ากำหนด "โรดแมพ" (Road Map) เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาการเมืองในประเทศไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย. ทว่าการรัฐประหารของกลุ่มหัวรุนแรงใน "สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ" (State Peace and Development Council - SPDC) ภายใต้การนำของ พลเอกอาวุโสตัน ฉ่วย และพลเอกหม่อง เอ ทำให้เกิดความมืดมนอีกครั้ง รัฐบาลใหม่เพิ่มความสัมพันธ์กับอินเดีย และคงความสัมพันธ์ที่ดีกับจีนไว้

ความเชื่อว่าจีนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่สถานการณ์ในพม่า เกิดจากจีนมีอิทธิพลทั้งทางเศรษฐกิจ, การเมือง, และการทหารเหนือรัฐบาลทหารในพม่ามากกว่าชาติอื่น. จากตัวอย่างที่ภูมิภาคดาเฟอร์ในแอฟริกา จีนสามารถกดดันให้รัฐบาลของนายอัลบาชีร์ แห่งซูดาน ยอมรับกองกำลังสันติภาพของสหประชาชาติ หลังจากองค์กรโลกและสหรัฐฯ ประสบความล้มเหลวมาเป็นเวลานาน ทั้งที่สงครามกลางเมืองในภูมิภาคดังกล่าว ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วถึง 200,000 คน. ส่วนกรณีของเกาหลีเหนือ สหประชาชาติ รวมทั้งเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และสหรัฐ ไม่อาจใช้มาตรการใดๆ กดดันรัฐบาลเปียงยางให้เลิกล้มโครงการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้ แต่จีนต่อรองให้เกาหลีเหนือยอมรับข้อเสนอนิวเคลียร์แลกน้ำมัน และความช่วยเหลือจากภายนอก

ทั้งสองกรณี จีนแก้ไขสถานการณ์ได้ และกรณีปัญหาพม่าคงสามารถคลี่คลายได้เช่นกัน ถ้าจีนให้ความร่วมมือ แม้จะร่วมกับรัสเซียต่อรองกับ UN แก้ไขแถลงการณ์ประณามการปราบผู้ต่อต้านรัฐบาลให้มีข้อความรุนแรงน้อยลงก็ตาม. จีนควรต้องให้สิ่งที่ดีต่อพม่าและมนุษยชาติทั้งมวล ต้อนรับการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 กีฬาแห่งมิตรภาพของมวลมนุษยชาติทั่วโลก ที่จีนเป็นเจ้าภาพ
(กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 20/10/2550)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Newsline เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการวิจัยไทย (Thai Research) มูลนิธิส่งเสริมสันติวิถี (Peaceway Foundation) เป็นการรวบรวมข่าวภาษาไทยที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศพม่า และผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย เพื่อให้ผู้คนในสังคมไทยได้รับรู้ ตระหนักถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับประชาชนในพม่า และเพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและรณรงค์ให้เกิดสันติภาพที่แท้จริงในประเทศพม่าต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการวิจัยไทย และโครงการอื่นๆติดตามได้ที่ www.burmaissues.org/En/Index.html หรือ http://www.oknation.net/blog/burmaissues


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

3. แถลงการณ์: องค์กรจับตาสิทธิมนุษยชนโดยนักกฎหมาย แคนาดา (คลิกอ่านภาษาไทย)

FOR IMMEDIATE RELEASE
FS-038-2007 / October 22, 2007

A Statement from Lawyers Rights Watch Canada
forwarded by the Asian Human Rights Commission
BURMA: LRWC calls upon the United Nations to send a mission to Burma
to investigate murders, disappearances and detentions
October 18, 2007

Lawyers' Rights Watch Canada (LRWC) is gravely concerned for the safety and wellbeing of peaceful demonstrators including monks, arrested or missing after the demonstrations of August and September 2007 in Burma. Given the large number of detained and missing, a UN sponsored delegation of experts is required to respond effectively. LRWC welcomes the United Nations Human Rights Council resolution to send Sergio Paulo Pinheiro, the Special Rapporteur on Burma, to investigate and assess the current situation.

LRWC calls on the United Nations Human Rights Council to immediately put monitoring and reporting mechanisms in place to investigate the deaths, disappearances, and arrests in Burma during this period. LRWC calls on Hina Jilani, UN Special Representative on Human Rights Defenders, to press for a special monitoring mission to be set up under UN auspices as a matter of urgency, to conduct an independent investigation and report on:

- the number of people killed; and,
- a preliminary assessment of responsibility for deaths, arbitrary arrests and disappearances; and,
- recommendations for further investigations; and,
- the number of people dead, detained and disappeared along with details including: names, charges laid, detention particulars, and plans for release; and,
- the conditions in prisons and holding centers; and,
- the treatment of people detained, including information regarding access to medical care.

It is appropriate that such a mission engage the participation of a number of the UN Special Rapporteurs, Representatives and Working Groups. It is also critical at this time that International Committee of the Red Cross, which has been denied access to prisons in Burma since 2006, be given access again to conduct ongoing monitoring.

BACKGROUND
Since the military began firing on unarmed demonstrators on September 27, eyewitnesses have reported that authorities have conducted night raids, ransacked monasteries and rounded up approximately 6,000 monks and other civilians suspected to have taken part in the demonstrations. Although the Burmese official media reports claims that 10 people died, unconfirmed reports say the number is much higher. The Burmese government reports that the release of approximately 1,000 people from custody. However, adding those recently arrested to the approximately 1,300 previously incarcerated, the number of political prisoners and detainees currently held is estimated to be between 5,000 and 7,000. According to reports, no warrants have been produced by police in these arrests.

At present, there is almost no information available about the whereabouts of most detainees. The families of those who did not return home after September 27, or who were seized in the middle of the night, do not know whether their relatives are missing, dead, or imprisoned, and if so, where they might be held. LRWC has also learned that when authorities cannot locate a targeted person, they are arresting family members instead.

We are concerned that the Burmese government is using this opportunity to target human rights defenders. Since August 24, 2007, twelve members of the Human Rights Defenders and Promoters group have been arrested, bringing the total of arrested and disappeared from this organization alone to 19. Human Rights Defenders and Promoters group is devoted to educating Burmese about international human rights instruments and the Burmese government's obligations under them. As of October 17, we understand that most of the '88 Generation activists, including Htay Kywe and Mi Mi, leaders of the August demonstrations, have been arrested.

The number of those who have died after being arrested is unknown. According to interview transcripts released by Amnesty International on October 17, monks and demonstrators saw other monks shot in the head and beaten. There are fears that other demonstrators who were wounded when troops opened fire may now have died of their injuries.

We are also concerned that those in need of health treatment will not receive it, either because they are in hiding or because they have been imprisoned. Hla Myo Naung, a leader of the '88 Generation students' group, was seized on October 10 from a clinic where he was seeking urgent medical treatment for a ruptured cornea, without which, he was at risk of losing his eyesight. On October 16, LRWC learned that he had undergone emergency eye surgery while under detention and that authorities told his wife he now has "nerve damage."

Ill treatment and torture of political prisoners in Burma have been well-documented by reliable human rights organizations for many years. On October 10, the National League for Democracy reported that Win Shwe, 42 years old, died after being tortured in prison in Kyaukpadaung township. His body was cremated before his family could see it.

In the past, the Burmese authorities have shown no respect for the rule of law. It remains unclear how many of those detained have been formally charged. Authorities in Burma frequently invoke the Emergency Provisions Act of 1950, the Unlawful Association Act, the State Protection Law of 1975, and The Law Protecting the Peaceful and Systematic Transfer of State Responsibility and the Successful Performance of the Functions of the National Convention against Disturbances and Oppositions (Law 5/96). All of these laws aim to suppress political dissent and have been used against people peacefully exercising their rights to freedom of expression and association. It is common for people charged to be denied access to legal counsel, tried summarily and then sentenced to lengthy prison terms, sometimes with hard labour. Four National League for Democracy members in Sittwe, Arakan State, (Than Pe, Tun Kyi, Sein Kyaw and Kyaw Khine, who is 85 years old) have been formally sentenced to seven and a half years each in prison for allegedly "taking a leading role" in the protests.

Although LRWC understands that communications networks, including internet service, in Burma are being restored, there has been a virtual blackout on information on the ground in the aftermath of the demonstrations. This makes the need for prompt action to locate detainees and secure their release and protection from further atrocities, all the more critical.

Lawyers Rights Watch Canada (LRWC) is a committee of Canadian lawyers who promote human rights and the rule of law internationally by providing support to advocates in danger because of their work as human rights defenders. LRWC is an NGO in Special Consultative Status with the Economic and Social Council of the United Nations.

Contacts
Paul Copeland at 1 416 964-8126 ext. 142, Brenda Belak at 1 604-537-0680
or www.lrwc.org; [email protected]; 1 604 738 0338
http://www.lrwc.org/documents/LRWCStatement.Oct.18.07.doc

About AHRC: The Asian Human Rights Commission is a regional non-governmental organisation monitoring and lobbying human rights issues in Asia. The Hong Kong-based group was founded in 1984. The above statement has only been forwarded by the AHRC.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แถลงการณ์ ฉบับแปล (สมเกียรติ ตั้งนโม : แปล)

1.7 แถลงการณ์: องค์กรจับตาสิทธิมนุษยชนโดยนักกฎหมาย แคนาดา

A Statement from Lawyers Rights Watch Canada

พม่า: LRWC ร้องสหประชาชาติส่งผู้แทนสอบสวนกรณีการฆาตกรรม การทำให้สูญหาย และการกักขังในพม่า
องค์กรจับตาสิทธิมนุษย์ชนโดยนักกฎหมาย แคนาดา(Lawyers' Rights Watch Canada) (LRWC) รู้สึกห่วงใยอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของบรรดาผู้ประท้วงสันติภาพและพระสงฆ์ ซึ่งถูกจับกุมหรือสูญหายหลังจากเหตุการณ์เดินขบวนอย่างสันติเพื่อประชาธิปไตยในพม่า นับจากเดือนสิงหาคมและกันยายน 2007. สำหรับคนที่ถูกจับกุมคุมขังและสูญหายไปเป็นจำนวนมากนั้น เราต้องการให้สหประชาชาติแต่งตั้งตัวแทนซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ขานรับต่อเรื่องนี้อย่างมีประสิทธิผล. LRWC เชิญชวนคณะกรรมมาธิการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ส่งตัวนาย Sergio Paulo Pinheiro, ผู้ยกร่างรายงานพิเศษเกี่ยวกับพม่า เข้าไปสืบสวนและประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน

LRWC ขอเรียกร้องคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ให้ดูแลตรวจสอบและรายงานการสืบสวนการตาย, การทำให้สูญหาย, และการถูกจับกุมในพม่าในช่วงระหว่างเหตุการณ์ดังกล่าวโดยทันที. LRWC เรียกร้องให้ Hina Jilani, ตัวแทนพิเศษของ UN ในเรื่องการปกป้องสิทธิมนุษยชน ให้ตีพิมพ์กรณีการตรวจสอบพิเศษที่อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของ UN ในฐานะสาระสำคัญเร่งด่วน เพื่อดำเนินการสืบสวนอย่างอิสระและรายงานเกี่ยวกับ:

- จำนวนของประชาชนที่ถูกฆ่า
- การประเมินผลในเบื้องต้นเกี่ยวกับความรับผิดชอบการตาย การจับกุมที่ไร้เหตุผล และการสูญหายต่างๆ
- การชี้นำต่างๆ เพื่อทำการสอบสวนสืบไป
- จำนวนคนตาย คนที่ถูกกักกัน และสูญหาย พร้อมรายละเอียดทั้งมวล รวมถึง: รายชื่อ, การตั้งข้อกล่าวหา,
การกักขังเป็นการเฉพาะ, และแผนการณ์ต่างๆ สำหรับการปล่อยตัว
- สภาพการณ์ทั้งหลายภายในคุก และสถานที่กักกันตัว
- การปฏิบัติต่อผู้ถูกคุมขัง รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินผลด้านสุขภาพ

จะเป็นการเหมาะสมหากพันธกิจดังกล่าว ผูกพันกับการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการยกร่างพิเศษทั้งหลาย, ตัวแทนและกลุ่มทำงานต่างๆ ของ UN, และที่สำคัญช่วงเวลานี้ซึ่งคณะกรรมการกาชาดสากล ที่เคยถูกปฏิเสธให้เข้าไปยังสถานที่คุมขังต่างๆ ในประเทศพม่านับจากปี 2006 เป็นต้นมา จะได้เข้าไปสำรวจตรวจสอบต่อไปอีกครั้ง

เบื้องหลัง
ตั้งแต่ทหารเริ่มยิงใส่กลุ่มผู้ประท้วงที่ปราศจากอาวุธในวันที่ 27 กันยายน 2007 เป็นต้นมา ผู้เห็นเหตุการณ์รายงานว่า บรรดาเจ้าหน้าที่ ผู้มีอำนาจ ได้ปฏิบัติการโดยเข้าตรวจค้นในยามค่ำคืน ค้นหาทุกซอกมุมในวัดและไล่จับพระสงฆ์ประมาณกว่า 6,000 รูป และคนอื่นๆ ที่ต้องสงสัยว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเดินขบวนประท้วงครั้งนี้. แม้ว่าสื่อทางการของพม่าอ้างว่ามีคนตายเพียง 10 คนเท่านั้น แต่ข่าวที่ไม่ยืนยันระบุว่า จำนวนผู้สูญเสียสูงมากกว่านั้นมาก. รัฐบาลทหารพม่ารายงานว่าได้มีการปล่อยตัวผู้คนไปแล้วประมาณ 1,000 คนจากการควบคุมตัว แต่อย่างไรก็ตาม ผนวกเข้ากับบรรดาผู้ที่ถูกจับกุมเมื่อเร็วๆ นี้ประมาณ 1,300 คนที่ถูกคุมขังก่อนหน้า ทำให้จำนวนของนักโทษการเมืองและคนที่ถูกคุมขัง ตอนนี้ได้รับการประมาณว่ามีระหว่าง 5,000 ถึง 7,000 คน. ตามรายงานต่างๆ ยังไม่พบหลักฐานใดๆ ที่ได้รับการเสนอออกมาโดยฝ่ายตำรวจในการจับกุมคุมขังเหล่านี้

ปัจจุบันแทบไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับผู้ที่ถูกจับกุมส่วนใหญ่ว่าอยู่ ณ สถานที่ใด บรรดาผู้คนในครอบครัวของคนเหล่านั้นที่มิได้กลับบ้านหลังจากวันที่ 27 กันยายน หรือผู้ซึ่งถูกจับในช่วงกลางคืน ไม่ทราบว่าญาติพี่น้องของพวกเขาหายไปหรือไม่ หรืออาจตาย หรืออาจถูกคุมขัง และรวมถึงที่ใดที่คนเหล่านี้ได้ถูกควบคุมตัว. LRWC ยังเรียนรู้ว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ทั้งหลายไม่สามารถจับตัวคนผิดได้ ผู้มีอำนาจเหล่านี้ก็จะทำการจับกุมตัวสมาชิกในครอบครัวแทน

พวกเราห่วงใยว่า รัฐบาลทหารพม่ากำลังใช้โอกาสดังกล่าวกับเป้าหมายซึ่งเป็นนักปกป้องด้านสิทธิมนุษยชน. นับจากวันที่ 24 สิงหาคม 2007 เป็นต้นมา สมาชิก 12 คนของนักปกป้องสิทธิมนุษย์และบรรดากลุ่มที่ให้การสนับสนุนได้ถูกจับกุม ทำให้จำนวนผู้ถูกจับและสูญหายทั้งหมดจากองค์กรนี้ลำพัง เป็นจำนวนถึง 19 คน. นักปกป้องและกลุ่มสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชนได้ให้การเอาใจใส่ต่อการศึกษาเรื่องชาวพม่าเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชน และพันธกรณีของรัฐบาลทหารพม่าภายใต้สิ่งเหล่านี้. และเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา พวกเราเข้าใจว่าบรรดานักกิจกรรมส่วนใหญ่ ที่เรียกตัวเองว่าคนรุ่น 88 (the '88 Generation activists) รวมถึง Htay Kywe และ Mi Mi, ผู้นำของการประท้วงเดือนสิงหาคม ได้ถูกจับกุมด้วย

จำนวนคนเหล่านั้นที่เสียชีวิตหลังจากถูกจับกุม ขณะนี้ยังไม่เป็นที่รับรู้ ตามบันทึกคำสัมภาษณ์ที่เปิดเผยโดยองค์กรนิรโทษกรรมสากลวันที่ 17 ตุลาคม พระสงฆ์และบรรดาผู้ประท้วงได้เห็นพระสงฆ์รูปอื่นถูกยิงที่ศีรษะ และถูกทุบตี ซึ่งเป็นเหตุให้เกรงว่าบรรดานักประท้วงอื่นๆ ที่ได้รับบาดเจ็บ เมื่อทหารได้ทำการยิงใส่ ตอนนี้อาจเสียชีวิตลงแล้วด้วยบาดแผลที่คนเหล่านั้นได้รับ. พวกเรายังห่วงกังวลด้วยว่า คนเหล่านั้นที่ต้องการการบำบัดรักษา อาจจะไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร เพราะพวกเขาถูกนำตัวไปหลบซ่อน หรือเพราะพวกเขายังถูกคุมขังอยู่

Hla Myo Naung, ผู้นำคนหนึ่งของกลุ่มนักเคลื่อนไหว 88 ถูกจับกุมในวันที่ 10 ตุลาคม จากคลินิคขณะที่กำลังได้รับการบำบัดทางการแพทย์ฉุกเฉินเกี่ยวกับอาการทางดวงตา ที่ได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง โดยไม่รู้ว่าถูกนำตัวไปที่ไหน เขากำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญเสียลูกตา. วันที่ 16 ตุลาคม, LRWC ได้รู้มาว่า เขาได้รับการผ่าตัดดวงตาฉุกเฉิน ขณะที่ตกอยู่ภายใต้การกักขัง และเจ้าหน้าที่ต่างๆ บอกกับภรรยาของเขาว่า ตอนนี้เขาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงทางด้านระบบประสาท

ปฏิบัติการและการทรมานเกี่ยวกับบรรดานักโทษทางการเมืองในพม่า ได้ถูกรายงานเป็นเอกสารอย่างดีโดยองค์กรต่างๆ ทางด้านสิทธิมนุษยชนที่เชื่อถือได้มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว. วันที่ 10 ตุลาคม 2550 สมาพันธ์ประชาธิปไตยแห่งชาติ รายงานว่า Win Shwe, อายุ 42 ปี ได้ถึงแก่ความตายหลังจากที่ถูกทรมานในคุกที่เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อ Kyaukpadaung และศพของเขาถูกเผาเป็นเถ้าถ่านก่อนที่ครอบครัวจะได้เห็น

ในอดีต เจ้าหน้าที่ทางการของพม่าไม่ได้แสดงความน่าเชื่อถือใดๆ เกี่ยวกับหลักนิติธรรม มันยังคงไม่ชัดแจ้งว่า จำนวนเท่าไหร่ของคนเหล่านั้นที่ถูกคุมขัง และได้รับการกล่าวหาอย่างเป็นทางการ. เจ้าหน้าที่ทางการพม่ามักจะอ้างพระราชบัญญัติสถานการณ์ฉุกเฉิน ปี 1950, พระราชบัญญัติการสมาคมที่ผิดกฎหมาย, กฎหมายปกป้องรัฐปี 1970, กฎหมายปกป้องเพื่อความสงบสุข และการรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงรัฐอย่างเป็นระบบ และบทบาทหน้าที่ในเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับจารีตแห่งชาติเพื่อเอาชนะฝ่ายก่อกวนและฝ่ายตรงข้าม (Law 5-96) เสมอ. กฎหมายทั้งหมดนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะปราบปรามผู้ที่ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงทางการเมือง และได้ใช้ต่อกรกับผู้ซึ่งออกมาเรียกร้องสิทธิของพวกเขาอย่างสันติ เพื่อเสรีภาพในการแสดงออกและการร่วมชุมนุม

ถือเป็นเรื่องปกติของประชาชนที่ถูกจับ และถูกปฏิเสธให้เข้าสู่กระบวนการปรึกษาทางกฎหมายหรือพบกับทนายความ มีความพยายามที่จะสรุปและลงโทษคนเหล่านั้นให้จำคุกเป็นเวลานานกว่าปกติ บางครั้งยังถูกนำไปใช้แรงงานอย่างหนักด้วย. สมาชิกสมาพันธ์ประชาธิปไตย 4 คนในรัฐ Sittwe, Arakan, (Than Pe, Tun Kyi, Sein Kyaw, and Kyaw Khine, ผู้ซึ่งมีอายุ 85 ปี) แต่ละคนที่เอ่ยนามมานี้ ได้รับการลงโทษอย่างเป็นทางการเป็นเวลา 7 ปีครึ่ง ในที่คุมขังสำหรับข้อกล่าวหาว่า "มีบทบาทการเป็นผู้นำ" ในหมู่ผู้ประท้วง

แม้ว่า LRWC เข้าใจว่า เครือข่ายการสื่อสารรวมถึงบริการอินเตอรเน็ตในพม่ากำลังได้รับการฟื้นฟู ทั้งนี้เป็นผลอันเนื่องมาจากความพยายามที่จะปิดบังข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ประท้วงครั้งนี้ ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ต้องปฏิบัติการโดยรีบด่วนที่จะค้นให้พบผู้ต้องขัง และปกป้องพวกเขาให้ได้รับความปลอดภัยจากการทำทารุณกรมมที่โหดร้ายต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วนมาก

องค์กรจับตาสิทธมนุษยชนนักกฎหมายของแคนาดา (LRWC) เป็นคณะกรรมการกลุ่มหนึ่งของนักกฎหมายแคนาเดียน ผู้ซึ่งให้การส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรมระหว่างประเทศ โดยการจัดหาการสนับสนุนที่จะปกป้องผู้ที่ได้รับอันตรายอันเนื่องมาจากการทำงานของพวกเขา ในฐานะนักปกป้องคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน. LRWC เป็นองค์กรนอกภาครัฐ ที่ดำรงสถานะเป็นที่ปรึกษาพิเศษของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งองค์การสหประชาชาติ

สถานที่ติดต่อทั้งทางโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต
Paul Copeland at 1 416 964-8126 ext. 142, Brenda Belak at 1 604-537-0680
or www.lrwc.org; [email protected]; 1 604 738 0338
http://www.lrwc.org/documents/LRWCStatement.Oct.18.07.doc

ข้อความนี้ได้รับการเผยแพร่โดย AHRC
About AHRC: The Asian Human Rights Commission is a regional non-governmental organisation monitoring and lobbying human rights issues in Asia. The Hong Kong-based group was founded in 1984. The above statement has only been forwarded by the AHRC.

 


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
9 November2007

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง
โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และนักวิชาการอิสระ-สถาบันฯ

ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ดูเหมือนจะเป็นยูโธเปีย(utopia) สำหรับประเทศศูนย์กลาง
แต่ขณะเดียวกันกระแสโลกาภิวัตน์นี้กลับกลายเป็นยูโธปลอม(dystopia) ของบรรดาประเทศชายขอบทั้งหลาย เนื่องจากได้นำมาซึ่งการสูญเสีย และกดขี่ทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งทางด้านความยุติธรรม ความเท่าเทียม อิสรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะมองจากมิติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และกฎหมาย ฯลฯ

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เกิดขึ้นมาจาก
การเล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ที่กำลังคุกคามผู้คนและพยายามที่จะแสวงหาตัวบท
พร้อมทั้งกรณีตัวอย่างในที่ต่างๆ มานำเสนอ เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์โลก
ที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน และทางออกที่หลากหลายในประเทศชายขอบต่างๆ
สำหรับผู้สนใจสามารถส่งบทความเข้าร่วมที่ midnightuniv(at)gmail.com

Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy