โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 5 September 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๔๘ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐ (September, 05, 09,.2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

โดยทั่วไปแล้ว กฎอัยการศึกได้ถูกบังคับใช้ในช่วงระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ภาวะสงครามหรือการเข้ายึดครอง เพื่อให้อำนาจรัฐบาลเข้าควบคุมประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในช่วงที่เกิดสถานการณ์ไม่สงบ แต่ทุกวันนี้ถือเป็นเรื่องปกติมากที่จะมีการใช้กฎอัยการศึกโดยรัฐบาลเผด็จการ ยกตัวอย่างเช่น หลังการทำรัฐประหาร(ในประเทศไทยปี พ.ศ.๒๕๔๙) หรือเมื่อถูกคุกคามโดยกลุ่มผู้ประท้วงรัฐบาลเป็นจำนวนมาก (เช่น เหตุการณ์เทียนอันเหมิน ซึ่งเกิดขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี พ.ศ. ๒๕๒๒) หรือเพื่อจำกัดควบคุมฝ่ายตรงข้าม(โปแลนด์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔)
05-09-2550

Martial Law
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

สารานุกรมการเมือง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
Martial law: กฎอัยการศึก กฎควบคุมฝูงสัตว์(พลเมืองไร้ระเบียบ)
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
เรียบเรียงขึ้นจากงานแปลที่ใช้ประกอบหลายชิ้น
จากสารานุกรมวิกีพีเดียฉบับภาษาอังกฤษ

บทความชิ้นนี้ เรียบเรียงขึ้นเพื่อเป็นฐานข้อมูลเล็กๆ ให้กับสังคมไทย
ได้เห็นภาพกว้างเกี่ยวกับการประกาศใช้กฎอัยการศึกในหลายๆ ประเทศ
โดยสาระสำคัญแล้ว กฎอัยการศึกก็คือระบบบริหารการปกครองที่มีผลบังคับใช้เมื่อ
ทหารได้เข้าทำการควบคุมกระบวนการยุติธรรมตามปกติ
ปัจจุบัน เกือบจะกล่าวได้ว่าไม่มีประเทศใดที่มีการทำรัฐประหาร
และประกาศใช้กฎอัยการศึกพร่ำเพรื่อได้เท่ากับประเทศไทย
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๔๘
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๕ กันยายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๔.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สารานุกรมการเมือง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
Martial law: กฎอัยการศึก กฎควบคุมฝูงสัตว์(พลเมืองไร้ระเบียบ)
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
เรียบเรียงขึ้นจากงานแปลที่ใช้ประกอบหลายชิ้น
จากสารานุกรมวิกีพีเดียฉบับภาษาอังกฤษ

กฎอัยการศึก - Martial law
กฎอัยการศึกเป็นระบบบริหารการปกครองที่มีผลบังคับใช้เมื่อทหารได้เข้าทำการควบคุมกระบวนการยุติธรรมตามปกติ โดยทั่วไปแล้ว กฎอัยการศึกจะลดทอนสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลบางอย่างลงไป ซึ่งเดิมทีเป็นของพลเมือง มีการจำกัดช่วงเวลาการสอบสวน มีกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงยิ่งกว่ากฎหมายปกติ ในหลายๆ ประเทศ กฎอัยการศึกจะกำหนดโทษประหารชีวิตไว้ด้วยสำหรับอาชญากรรมบางอย่าง แม้ว่ากฎหมายปกติจะมิได้บรรจุอาชญากรรมดังกล่าวหรือการลงโทษในกรณีนั้นในระบบของมันก็ตาม

โดยทั่วไปแล้ว กฎอัยการศึกได้ถูกบังคับใช้ในช่วงระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ภาวะสงครามหรือการเข้ายึดครอง เพื่อให้อำนาจรัฐบาลเข้าควบคุมประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในช่วงที่เกิดสถานการณ์ไม่สงบ แต่ทุกวันนี้ถือเป็นเรื่องปกติมากที่จะมีการใช้กฎอัยการศึกโดยรัฐบาลเผด็จการ ยกตัวอย่างเช่น หลังการทำรัฐประหาร(ในประเทศไทยปี ค.ศ.2006 - พ.ศ.2549) หรือเมื่อถูกคุกคามโดยกลุ่มผู้ประท้วงรัฐบาลเป็นจำนวนมาก (เช่น เหตุการณ์เทียนอันเหมิน ซึ่งเกิดขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี ค.ศ.1989) หรือเพื่อจำกัดควบคุมฝ่ายตรงข้าม(โปแลนด์ในปี ค.ศ.1981 การบดขยี้ฝ่ายตรงข้ามกับคอมมิวนิสท์). กฎอัยการศึกสามารถที่จะได้รับการประกาศในกรณีที่เกิดเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรุนแรงก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดหายนภัยรุนแรงดังกล่าว ประเทศส่วนใหญ่มักเลือกที่จะใช้โครงสร้างทางกฎหมายอย่างอื่น อาทิเช่น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

ในหลายประเทศด้วยกัน กฎอัยการศึกจะมีการใช้มาตรการปกครองบางอย่างโดยเฉพาะ หนึ่งในมาตรการดังกล่าวก็คือ การประกาศเคอร์ฟิว เช่น การห้ามออกนอกเคหสถานในยามวิกาล บ่อยทีเดียวภายใต้ระบบนี้ การบริหารความยุติธรรมจะเหลือศาลทหารเอาไว้ เรียกกันว่า ศาลอาญาศึก(court-martial) มีการงดเว้นการใช้หมายศาล(habeas corpus -หมายเรียกตัวผู้ถูกคุมขังมายังศาล เพื่อพิจารณาว่าเขาถูกคุมขังโดยถูกต้องตามกฎหมาย)เป็นการชั่วคราว ซึ่งเป็นเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น

ตัวอย่างการใช้กฎอัยการศึกในประเทศต่างๆ เรียงตามตัวอักษร A-Z


ออสเตรเลีย (Australia)

กฎอัยการศึกได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในประเทศออสเตรเลีย ในวันอาทิตย์ตอนเที่ยงคืนที่ 4 มีนาคม ค.ศ.1804 ในช่วงระหว่างเหตุการณ์ที่เรียกว่า Castle Hill Convict rebellian นั่นคือ การกบฎของบรรดานักโทษ บางครั้งเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "การกบฎของพวกไอริช(Irish Rebellion)" หรือ the second Battle of Venegar Hill, เป็นการอ้างอิงถึงสัญญาข้อตกลงไอริช ค.ศ.1798 ซึ่งก่อนหน้านี้เกี่ยวพันกับบรรดานักโทษจำนวนมาก. ทหารกองหนุนถูกเรียกตัวให้เข้าประจำการภายใต้อำนาจการปกครองท้องถิ่น(posse comitatus หรือ county force) เพื่อช่วยระงับและทำการปราบปรามนักโทษที่ก่อเหตุจลาจล จากนั้นกฎอัยการศึกก็ได้ถูกยกเลิกไป

แคนาดา (Canada)
แม้ว่ารัฐบาลแคนาเดียนไม่เคยมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกจริงๆ ก็ตาม แต่ก็มีความใกล้เคียงกับกฎดังกล่าวโดยผ่านกฎหมายฉบับหนึ่งที่ถูกรู้จักกันในฐานะที่เป็น War Measure Act (พระราชบัญญัติมาตรการสงคราม) ที่ได้มีการประกาศขึ้นในเดือนสิงหาคม 1914 เพื่อใช้แทนพระราชบัญญัติสถานการณ์ฉุกเฉิน(Emergencies Act). พระราชบัญญัตินี้ได้รับการเรียกใช้ 3 ครั้ง ในช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากเกิดการจลาจลในการเรียกเกณฑ์ทหาร (วิกฤตการเกณฑ์ทหารในปี ค.ศ.1917 และปี ค.ศ.1944) และในช่วงเหตุวิกฤตในเดือนตุลาคมปี 1970. ในทางเทคนิคแล้ว พระราชบัญญัติมาตรการสงครามไม่ได้เป็นกฎอัยการศึก เพราะกองทัพไม่ได้เข้ามาควบคุมฝ่ายบริหารหรือการจัดการในกระบวนการยุติธรรมแต่อย่างใด. การเปรียบเทียบที่ดีกว่าควรจะเป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อันที่จริง พระราชบัญญัติมาตรการสงครามได้ถูกแทนที่ด้วยพระราชบัญญัติสถานการณ์ฉุกเฉินในปี ค.ศ.1988

ในช่วงระหว่างการเลือกตั้งในแคนาดา ปี ค.ศ.2006, ข้อมูลฝ่ายทหารชิ้นหนึ่งได้รั่วไหลออกมาจากที่ทำการพรรคเสรีนิยม เปิดเผยว่า คู่ปรับที่สำคัญเป็นอันดับแรกของพวกเขาคือ พรรคอนุรักษ์นิยมของแคนาดา จะมีการนำเอากฎอัยการศึกออกมาใช้ถ้าหากว่าพวกเขาเป็นฝ่ายชนะ; ทำให้สาธารณชนเกิดปฏิกริยาอย่างรุนแรงจากเรื่องดังกล่าว

ตามประวัติศาสตร์เมื่อราว 200 กว่าปีมาแล้ว กฎอัยการศึกได้ถูกประกาศใช้ในพื้นที่เขตจังหวัด Quebec ในช่วงระหว่างการรุกรานของอเมริกันในปี ค.ศ.1775-1776 และในเขตพื้นที่ Lower Canada ในระหว่างเกิดการจลาจลในปี ค.ศ.1837-1838. จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 1837 ตามมาด้วยวันที่ 5 ธันวาคม ได้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในเขต Montreal โดยรัฐสภา Lower Canada. กฎอัยการศึกถูกบังคับใช้จนกระทั่งถึงวันที่ 27 เมษายน 1838 เป็นอันสิ้นสุด. และกฎอัยการศึกได้ถูกประกาศใช้เป็นครั้งที่สองในวันที่ 4 พฤศจิกายน 1838 และครั้งนี้ได้ถูกนำมาใช้จนกระทั่งถึงวันที่ 24 สิงหาคม 1839

สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China) [mainland China]
รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐประชาชนจีน เดิมทีเดียวยินยอมให้รัฐสภาประชาชนแห่งชาติ มีอำนาจที่จะประกาศกฎอัยการศึกได้. ในปี ค.ศ.1989 นายกรัฐมนตรี Li Peng (หลี่เผิง)ประกาศกฎอัยการศึกเพื่ออนุญาตให้ทหารออกมาปราบปรามผู้ประท้วงที่จตุรัสเทียนอันเหมิน. ปฏิบัติการดังกล่าวเป็นที่โต้เถียงกันมาก และในปี 2004 การประกาศกฎอัยการศึกนั้น ในท้ายที่สุด ได้ถูกทำให้อ่อนลงมาสู่บทบัญญัติที่ยินยอมให้รัฐบาลเพียงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้เท่านั้น. นอกจากนี้ กฎอัยการศึกยังได้ถูกประกาศในเดือนพฤศจิกายน 2004 เพื่อระงับการปะทะกันอย่างรุนแรงทางด้านชาติพันธุ์ใน Langchenggang ที่จังหวัด Henan

ประเทศอียิปต์ (Egypt)
การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในอียิปต์ได้ถูกบังคับใช้เกือบจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องนับจากปี ค.ศ.1967. เนื่องจากเหตุการณ์การลอบสังหารประธานาธิบดี Anwat el-Sadat (อัลวาท์ เอล-ซาดัท) ในปี 1981, กฎอัยการศึกจึงถูกประกาศใช้ในอียิปต์. อียิปต์ต้องตกอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกนับแต่นั้นเป็นต้นมา - รัฐสภาได้มีการฟื้นฟูกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นในทุกๆ 3 ปี นับจากมันได้มีการบังคับใช้. การบัญญัติกฎหมายดังกล่าวได้ถูกขยายออกไปครั้งล่าสุดในปี ค.ศ.2003 และเนื่องจากว่าได้หมดอายุลงในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2006 ด้วยเหตุนี้ มันจึงถูกแทนที่โดยกฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากการระเบิดที่เรียกว่า Dahab bombing (เป็นการระเบิด 3 ครั้งที่เมืองรีสอร์ทของชาวอียิปต์ในวันที่ 24 เมษายน 2006) กฎอัยการศึกจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นสำหรับในอีก 2 ปีต่อมา

กฎอัยการศึกยินยอมให้รัฐบาลสามารถกักขังหน่วงเหนี่ยวใครก็ได้ ที่คิดว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัฐเป็นเวลา 45 วัน และสามารถที่จะกักขังต่อไปได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งศาล และยังให้ศาลทหารมีอำนาจที่จะตรวจสอบพลเรือนด้วย. การเดินขบวนของสาธารณชนได้ถูกสั่งห้ามภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายฉบับนี้

ประเทศอินเดีย (India)
กฎอัยการศึกในประเทศอินเดีย ถือว่าแตกต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของโลก. ตามรัฐธรรมนูญอินเดีย ในช่วงระหว่างเวลาที่มีสันติภาพ ผลประโยชน์ของรัฐบาลและประชาชนอยู่ภายใต้การควบคุมของนายกรัฐมนตรี, รัฐสภา, และศาลสูง แต่อำนาจทางด้านการทหารทั้งหมด(ยกเว้นตำรวจ คงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย) ล้วนอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงกลาโหมและประธานาธิบดี (ซึ่งยังมีอำนาจควบคุมกองกำลังรักษาดินแดน และกองกำลังฝ่ายพลเรือนต่างๆ ด้วย)

ในกรณีวิกฤติการณ์ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม กองกำลังทหารทั้งหมด กองกำลังรักษาดินแดน และกองกำลังฝ่ายพลเรือน พร้อมด้วยกระทรวงกลาโหม จะมาอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดของนายกรัฐมนตรี (โดยปราศจากการแทรกแซงโดยรัฐสภาและศาลสูงแต่อย่างใด). ในเหตุการณ์วิกฤตดังกล่าว การแก้ปัญหา การคงไว้ซึ่งความมีเสถียรภาพของรัฐบาล และการป้องกันได้รับการพิจารณาว่าเป็นเรื่องสำคัญสูงสุดต่อจากผลประโยชน์ของประชาชน. ส่วนในกรณีวิกฤตที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รัฐบาลอินเดียจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งอำนาจในการบรรเทาความเดือดร้อนและหายนภัยดังกล่าว กองทัพอินเดีย กองกำลังรักษาดินแดน และตำรวจจะมาอยู่ภายใต้การควบคุมที่เข้มงวดของประธานาธิบดีอินเดีย

รัฐบาลอินเดียได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในช่วงเวลาดังต่อไปนี้
(So far, Indian government declared State of Emergency in the following times)

1. 1975 - นางอินทิรา คานธี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

2. 1984 ธันวาคม - เกิดแก๊สรั่วไหลออกมาจากโรงงาน Union Carbide ซึ่งเป็นโรงงานผลิตยาฆ่าแมลงในเมือง Bhopal. ผู้คนนับพันๆ ถึงแก่ความตายทันที และมีผู้คนอีกจำนวนมากต้องถึงแก่ชีวิตต่อมาภายหลัง หรือถูกทิ้งให้ต้องเป็นบุคคลพิการ-ไร้ความสามารถ

3. 1999 ตุลาคม - การทำลายล้างอันเนื่องมาจากพายุไซโคลนในรัฐ Orissa ที่อยู่ทางทิศตะวันออกของอินเดีย ทำให้ผู้คนล้มตายอย่างน้อยหนึ่งหมื่นคน

4. 2001 มกราคม - เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งร้ายแรง โดยได้ทำลายรัฐ Gujarat ที่อยู่ทางตะวันตกของอินเดีย และทำผู้คนอย่างน้อยสามหมื่นคนต้องเสียชีวิต

5. 2004 ธันวาคม - ผู้คนนับพันๆ ต้องเสียชีวิตเมื่อเกิดคลื่นยักษ์ โดยมีมูลเหตุมาจากแผ่นดินไหวใต้ท้องทะเลนอกชายฝั่งของอินโดนีเซีย มันได้ทำลายล้างชุมชนต่างๆ ใกล้ชายฝั่งทางตอนใต้ และเกาะต่างๆ ในทะเลอันดามันและนิโคบาร์

6. 2005 กรกฎาคม - ผู้คนมากกว่า 1,000 คนต้องประสบกับความตายอันเนื่องมาจากน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม สาเหตุเกิดจากฝนที่ตกลงมาในช่วงมรสุมในเมืองมุมไบ(บอมเบย์) และในเขตมหารัชตระ

7. 2005 ตุลาคม วันที่ 8 - เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งมีจุดศูนย์กลางที่แคชเมียร์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของปากีสถาน วิกฤตการณ์ดังกล่าวได้คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 1,000 คนในแคลเมียร์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอินเดีย
(หมายเหตุ: รัฐบาลอินเดียได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในช่วงระหว่างวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่ได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นปฏิบัติการก่อการร้ายด้วย)

8. 2003 สิงหาคม - ผู้คนอย่างน้อย 50 คนได้ถูกฆ่าตายในเหตุการณ์ระเบิดซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกัน 2 ครั้งในบอมเบย์. และยังมีการระเบิดที่คร่าชีวิตผู้คนไป 32 คนด้วยในเดลฮี

9. 2006 - ผู้คน 14 คนถูกฆ่าตายโดยระเบิดในเมือง Varanasi อันเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวฮินดูจำนวนมากพากันไปจาริกแสวงบุญ

10. 2006 พฤษภาคม - มีการสงสัยกันว่านักรบอิสลามได้สังหารชาวฮินดูไป 35 คนในการโจมตีครั้งเลวร้ายที่แคชเมียร์ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของอินเดีย สำหรับหลายเดือนที่ผ่านมา

11. 2006 กรกฎาคม วันที่ 11 - ผู้คนมากว่า 180 คน ได้ถูกสังหารในการโจมตีด้วยระเบิดบนขบวนรถไฟในช่วงเวลาเร่งด่วนที่เมืองมุมไบ บรรดาเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนต่างประณามว่าเป็นฝีมือของนักรบอิสลามที่มีฐานปฏิบัติการอยู่ในปากีสถาน

12. 2006 กันยายน วันที่ 8 - เกิดการระเบิดนอกสุเหร่าทางด้านตะวันตกของเมือง Malegaon ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 31 คน

13. 2007 กุมภาพันธ์ วันที่ 18 - ผู้โดยสารรถไฟราว 68 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวปากีสถาน ถูกสังหารด้วยระเบิด และถูกเปลวไฟเผาผลาญบนขบวนรถที่เดินทางจากนิวเดลฮีไปยังเมืองละฮอในปากีสถาน

รัฐบาลอินเดียประกาศกฎอัยการศึก: (Indian government declared Martial Law:)

1. 1984 - บรรดากองทหารได้ระดมยิงเข้าไปยังวัดทอง(Golden Temple - วิหารทองคำ) ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวซิกฮ์ - โดยการกระหน่ำยิงพลเรือนที่บริสุทธิ์ถึงแก่ความตายนับเป็นจำนวนพันๆ. นางอินทิรา คานธี(นายกรัฐมนตรี)ได้ถูกลอบสังหารโดยทหารรักษาความปลอดภัยชาวซิกฮ์ (โดยการฆ่าผู้คนบริสุทธิ์นับเป็นพันๆ คนในวัดทองเพื่อเป็นการแก้แค้น) ตามมาด้วยบุตรชายของเธอ ราจีฟ คานธี ที่ได้รับตำแหน่งสืบทอด

2. 1992 - บรรดาพวกหัวรุนแรงชาวฮินดูได้ทำลายล้างสุเหร่าในอโยธยา ซึ่งเป็นการจุดชนวนให้เกิดความรุนแรงขึ้นทั่วไประหว่างชาวฮินดูกับชาวมุสลิม ดังนั้นจึงเกิดการประกาศใช้กฎอัยการศึก

3. 2002 กุมภาพันธ์ - การฆ่าฟันกันอย่างนองเลือดระหว่างศาสนาได้ปะทุขึ้นหลังจากที่ชาวฮินดู 59 คนที่กลับจากการเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองอโยธยา ได้ถูกสังหารด้วยการเผาขบวนรถไฟใน Godhra, Gujarat. ผู้คนมากกว่า 1,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมต้องล้มตายหลังจากเกิดเหตุการณ์จลาจลที่รุนแรงนี้ขึ้น

ประเทศอิสราเอล (Israel)
อิสราเอลมีรัฐบาลที่บริหารโดยกองทัพนับจากปี ค.ศ.1949 - 1966 ซึ่งปกครองประชากรอาหรับผู้ซึ่งยังคงอาศัยอยู่ในดินแดนที่กลายเป็นอิสราเอล แม้ว่าชนชาวอาหรับเหล่านี้จะได้รับสถานะความเป็นพลเมืองในปี ค.ศ.1952 ก็ตาม แต่พวกเขาก็เป็นประชากรในส่วนที่ต้องอยู่ภายใต้มาตรการควบคุมที่เข้มงวดเท่าๆ กันกับกฎอัยการศึก. การอนุญาตจากผู้ปกครองฝ่ายทหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเดินทางไปมา หากว่าชนชาวอาหรับต้องเดินทางไปไกลเกินกว่าที่พำนักอาศัยซึ่งได้ลงทะเบียนเอาไว้ และรวมถึงมีการใช้เคอร์ฟิว, การกักบริเวณ, และการขับไล่ต่างๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดา. ในช่วงทศวรรษที่ 1950s กฎอัยการศึกได้ยุติลงสำหรับพลเมืองอาหรับเหล่านั้นที่อาศัยอยู่ในเมืองต่างๆ ที่มีชาวยิวพำนักอยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม กฎอัยการศึกยังคงไว้ในเขตชาวอาหรับทั้งหมดที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนอิสราเอลจนกระทั่งปี ค.ศ.1966

ความหลากหลายเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมาย ที่ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้ให้ความสะดวกแก่ผู้คนในการเคลื่อนย้ายในดินแดนปลดปล่อยของผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ และคนเหล่านั้นที่เป็นผู้พลัดถิ่นภายในรัฐของพวกเขาเอง (ในช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี ค.ศ.1948 หรือ Al-Nakba ทำให้ชาวปาเลสไตน์กลายเป็นผู้พลัดถิ่นในดินแดนของตนเอง เนื่องจากอยู่ภายใต้การยึดครองของอิสราเอล) เหล่านี้รวมถึงกฎหมาย Absentee Property Law ปี 1950 และ the Land Acquisition Law ปี 1953 ซึ่งได้ให้อำนาจแก่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังที่จะยักย้าย และควบคุมเหนือดินแดนยึดครองที่เป็นของรัฐ. ส่วนกฎหมายอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์รวมไปถึงการใช้กฎข้อบังคับในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อประกาศว่า ดินแดนในความครอบครองที่เป็นของพลเมืองชาวอาหรับเป็นเขตที่ถูกปิดล้อมทางทหาร ตามมาด้วยการใช้กฎหมาย Ottoman บนดินแดนที่ถูกทอดทิ้งเพื่อเข้ายึดครองพื้นที่ดังกล่าว

ในช่วงระหว่างสงครามเลบานอน 2006 กฎอัยการศึกได้ถูกประกาศโดยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม Amir Peretz ในดินแดนทางตอนเหนือของประเทศ. กองกำลังป้องกันของอิสราเอลได้รับอนุญาตให้มีอำนาจที่จะออกคำสั่งกับพลเมือง, ปิดสำนักงาน, โรงเรียน, ค่ายต่างๆ, และโรงงานในเมืองเหล่านั้นได้ ภายใต้การคุกคามและการโจมตี เช่นเดียวกับการประกาศเคอร์ฟิวในเมืองต่างๆ ทางตอนเหนือ. คำสั่งทั้งหลายของรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยแนวหน้า(หมายถึงผู้มีอำนาจในดินแดนปกครอง)เป็นข้อบังคับภายใต้กฎอัยการศึก มากกว่าที่จะเป็นเพียงข้อแนะนำเท่านั้น. กฎระเบียบที่เซ็นโดย Amir Peretz จะมีผลบังคับใช้ 48 ชั่วโมง แต่มันได้ถูกขยายออกไปโดยคณะรัฐมนตรี, คณะกรรมาธิการฝ่ายต่างประเทศของรัฐสภา และคณะกรรมการกลาโหมในช่วงระหว่างที่มีสงคราม

ประเทศปากีสถาน (Pakistan)
กฎอัยการศึกได้ถูกประกาศในปากีสถาน 2 ครั้ง ในกรณีแรกประธานาธิบดี Iskander Mirza ได้มีคำสั่งยกเลิกรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ.1958 และประกาศใช้กฎอัยการศึกขึ้นทั่วประเทศ ส่วนกรณีที่สองเกิดขึ้นเมื่อนายพล Yahya Khan ได้ประกาศกฎอัยการศึกในเดือนมีนาคม 1969 ภายหลังการสืบทอดตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดี Mirza, โดยนายพล Ayub Khan ได้ส่งมอบอำนาจให้กับเขา

หลังจากปีแห่งความอลเวงและความวุ่นวายติดต่อกันหลายปี ด้วยการลงนามการแบ่งแยกประเทศปากีสถานตะวันออก-ตะวันตก นักการเมือง Zulfikar Ali Bhuto ได้เข้าควบคุมในปี ค.ศ.1971 ในฐานะที่เป็นผู้บริหารกฎอัยการศึกฝ่ายพลเรือนคนแรกในประวัติศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้ มีการบังคับใช้กฎอัยการศึกบางมาตราในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเป็นศัตรูต่อการปกครองของเขา อย่างเช่น ในจังหวัด Balochistan ซึ่งเป็นจังหวัดใหญ่ที่สุดของประเทศ. ตามมาด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบที่ขยายตัวออกไป, นายพล Muhammad Zia-ul-Hag ได้ล้มล้างอำนาจ Bhoto และบังคับใช้กฎอัยการศึกอย่างสมบูรณ์แบบในวันที่ 5 กรกฎาคม 1977 ด้วยการทำรัฐประหารโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ. พื้นที่ซึ่งไม่มีความมั่นคงได้ถูกยึดครองและควบคุมโดยปฏิบัติการทางทหารแบบอ้อมๆ อย่างเช่น Balochistan ได้ตกอยู่ภายใต้ผู้บัญชาการที่ใช้กฎอัยการศึก, นายพล Rahimuddin Khan. รัฐบาลพลเรือนได้ฟื้นคืนกลับมาในปี ค.ศ.1988 สืบเนื่องจากการตายของ Zia ในเหตุการณ์เครื่องบินตก

วันที่ 12 ตุลาคม 1999 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Nawas Sharif ได้ถูกยึดอำนาจ และทหารได้เข้าควบคุมสถานการณ์ แต่ไม่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก. พลเอก Perves Musharaf ได้เข้าดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด จนกระทั่งประธานาธิบดี Rafit Tarar ได้ลาออกจากตำแหน่ง และพลเอก Musharaf ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้มีการจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม 2002 และ Mir Zafarullah Khan Jamali ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี. Chaudary Shujaat Hussain และ Shaukat Aziz ได้ดำรงตำแหน่งต่อจาก Jamili. ในขณะที่รัฐบาลได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการต่อไปโดยนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเลือกตั้ง

เป็นที่เข้าใจร่วมกันว่า การตัดสินใจที่สำคัญๆ ได้ถูกกระทำโดยประธานาธิบดี พลเอก Perves Musharraf ร่องรอยดังกล่าวได้ถูกทำให้ชัดเจนขึ้นเมื่อประธานาธิบดีพยายามที่จะสั่งปลดผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสูงสุด Iftikhar Muhammad Chaudhry โดยปราศจากรัฐธรรมนูญมารองรับและเป็นไปอย่างรวบรัด. รัฐบาลประสบกับความพ่ายแพ้ กรณีที่เป็นผลเนื่องมาจากวันที่ 20 กรกฎาคม 2007 เมื่อผู้พิพากษาสูงสุด Iftikhar Chaudhry ได้รับการแต่งตั้งคืนมาอีกครั้งในตำแหน่งเดิมโดยศาลสูงของปากีสถาน

ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
ฟิลิปปินส์อยู่ภายใต้การปกครองด้วยกฎอัยการศึกนับจากปี ค.ศ.1972 - 1981 ช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการของประธานาธิบดี Ferdinand Marcos. กฎอัยการศึกได้ถูกประกาศเพื่อระงับความขัดแย้งกับพลเมืองที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และการคุกคามเกี่ยวกับการยึดครองของคอมมิวนิสท์ ตามมาด้วยระเบิดละลอกหนึ่งในกรุงมานิลา. การประกาศกฎอัยการศึก เดิมที ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากบางภาคส่วนของประชาชน แต่แล้วมันก็ค่อยๆ กลายเป็นเรื่องที่หมดความนิยมลงไปมากขึ้นเรื่อยๆ และสิทธิมนุษยชนได้ถูกลดทอนและข่มเหงโดยทหารที่ปรากฏตัวขึ้นมา การทรมานได้ถูกนำมาใช้เพื่อรีดข้อมูลจากฝ่ายตรงข้าม

ประเทศโปแลนด์ (Poland)
กฎอัยการศึกได้ถูกนำเสนอในโปแลนด์โดยรัฐบาลคอมมิวนิสท์ช่วงวันที่ 13 ธันวาคม 1981 เพื่อขัดขวางขบวนการประชาธิปไตยต่างๆ จากการได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มมีบทบาททางการเมืองในประเทศ และเพื่อลดทอนความเสี่ยงเกี่ยวกับการแทรกแซงของสหภาพโซเวียต

กฎอัยการศึก ในภาษาโปลิช: stan wojenny เป็นการอ้างถึงช่วงเวลานับจาก 13 ธันวาคม 1981 จนถึงวันที่ 22 กรกฎาคม 1983 ในห้วงที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์(the People's Republic of Poland) ได้มีการจำกัดการใช้ชีวิตตามปกติอย่างรุนแรงในความพยายามที่จะกดบีบฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองที่มีต่อการปกครองแบบคอมมิวนิสท์ในประเทศ

สำหรับวลีคำว่า Stan Wojenny แปลเป็นภาษาอังกฤษก็คือ The Sate of War. ในขณะที่มันไม่ได้มีสงครามเกิดขึ้นจริงในช่วงเวลาดังกล่าวแต่ประการใด รัฐบาลทหารซึ่งนำโดยนายพลแห่งกองทัพ Wojciech Jeruzalski และสภากลาโหมเพื่อการขจัดภัยคุกคามแห่งชาติ(the Military Council of National Salvation - Wojskowa Rada Ocalenia Narodowego, WRON) ได้แย่งชิงอำนาจตัวมันเองเพื่อสำรองเอาไว้ในยามสงคราม ดังชื่อของมัน the State of War.

ขบวนการที่สนับสนุนประชาธิปไตยอย่างสันติ (Solidarity และกลุ่มองค์กรที่เคลื่อนไหวอื่นๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า)ได้ถูกสั่งห้าม และบรรดาผู้นำขององค์กรเหล่านี้ รวมถึงตัว Lech Walesa ได้ถูกจำคุก. ช่วงระหว่างเริ่มต้นของการบังคับใช้กฎอัยการศึก ผู้คนจำนวนหลายโหลได้ถูกฆ่าตาย. บรรดานายทหารผู้บังคับบัญชาในช่วงระหว่างเหตุการณ์ปราบปรามอย่างรุนแรงอ้างว่า มีผู้คนล้มตายเพียงแค่โหลเดียว ขณะที่คณะกรรมการรัฐสภาในปี ค.ศ.1989-1991 ให้ข้อมูลว่า มีตัวเลขผู้สูญเสียชีวิตมากกว่า 90 คน

บรรดาผู้นำของ Solidarity ได้ถูกกักตัวอย่างรวดเร็ว มีการเซ็นเซอร์ทางทหารอย่างสมบูรณ์แบบ และการทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน ได้รับการนำกลับมาบังคับใช้อีกครั้ง. ในฐานะส่วนหนึ่งของการลงโทษและปราบปรามที่รุนแรง สถาบันสื่อและสถาบันการศึกษาต่างต้องเผชิญกับการพิสูจน์ความจริง ซึ่งเป็นกระบวนการอันหนึ่งซึ่งทดสอบท่าทีหรือทัศนคติของลูกจ้างแต่ละคนที่มีต่อระบอบการปกครองดังกล่าว รวมถึงขบวนการเคลื่อนไหวของ Solidarity. ผู้สื่อข่าวและอาจารย์กว่า 2,000 คน ถูกสั่งห้ามปฏิบัติงานในวิชาชีพของตน เหมืองถ่านหินได้ถูกจับตาภายใต้การควบคุมของกองทัพ และศาลทหารได้รับการตั้งขึ้นมา เพื่อต่อท่อจากระบบศาลยุติธรรมตามปกติ และมีการจำคุกผู้คนทั้งหลายที่เผยแพร่ข่าวสารที่เรียกว่า"ข้อมูลผิดๆ"

ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ (Switzerland)
กล่าวได้ว่า สวิสเซอร์แลนด์ไม่มีการจัดหาหรือเตรียมการในเรื่องกฎอัยการศึกเลย. ภายใต้กฎหมายกองทัพ(Army Law) ปี ค.ศ.1995, กองทัพสามารถถูกเรียกใช้ได้โดยผู้มีอำนาจแห่งแคนตัน(รัฐ) (ในที่นี้คำว่าแคนตัน มาจากคำว่าcanton หรือ state ซึ่งหมายถึงเขตปกครองเล็กๆ เขตหนึ่ง)เพื่อการช่วยเหลือหรือให้การสนับสนุน(Assistenzdienst). โดยปกติแล้ว อันนี้เกิดขึ้นในกรณีเกี่ยวกับความหายนะทางธรรมชาติ หรือความต้องการป้องกันพิเศษเท่านั้น (ยกตัวอย่างเช่น การประชุม World Economic Forum ที่เมือง Davos เป็นต้น)

โดยทั่วไปแล้ว การช่วยเหลือหรือความต้องการการสนับสนุนดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากรัฐสภา แม้ว่ามันจะเป็นไปภายใต้กรอบหรือกฎระเบียบตามกฎหมายก็ตาม และภายใต้ความเป็นผู้นำฝ่ายพลเรือนของผู้มีอำนาจแห่งแคนตัน(รัฐ). ในอีกด้านหนึ่ง อำนาจของสหพันธรัฐในการใช้กองทัพเพื่อบังคับใช้กฎหมายหรือกฎข้อบังคับดังกล่าว จะกระทำได้ต่อเมื่อบรรดาแคนตันต่างๆ ไม่สามารถที่จะปฏิบัติการได้ หรือต้องการจะทำเช่นนั้น(Ordnungsdienst). อำนาจนี้ส่วนใหญ่ได้สิ้นสุดลงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2

สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) - Republic of China (Taiwan)
ภายหลังจากก๊กมินตั๋งของสาธารณัฐจีนได้ถอยล่นจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปยังเกาะไต้หวันแล้ว ความเด่นชัดเกี่ยวกับการมีกฎอัยการศึกเป็นเวลายาวนานในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ก็ได้ถูกบังคับใช้ที่ไต้หวัน และเกาะต่างๆ ที่ปกครองโดยสาธารณรัฐจีน. ผลที่ตามมาของเหตุการณ์ 228 (1) ในปี ค.ศ.1947 ได้มีการประกาศกฎอัยการศึกในปี 1948 และจุดประสงค์ซึ่งเป็นที่รับรู้คือ ต้องการที่จะยับยั้งพวกคอมมิวนิสท์ และกิจกรรมทางการเมืองที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยบนเกาะ. กฎอัยการศึกไม่ได้ถูกยกเลิกจนกระทั่งปี ค.ศ.1987

(1) เหตุการณ์ 228 (The 228 incident) ถูกรู้จักในฐานะเหตุการณ์การฆาตกรรมหมู่ 228 (the 228 Massacre) ด้วย, ซึ่งเป็นการจลาจลครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในไต้หวัน เริ่มต้นขึ้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1947 และได้ถูกปราบปรามโดยรัฐบาลก๊กมินตั๋ง ผลลัพธ์ของเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้พลเมืองล้มตายระหว่างหนึ่งหมื่นถึงสองหมื่นคน. สำหรับตัวเลข 228 เป็นการอ้างถึงวันที่ 28 เดือน 2 อันเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว. เหตุการณ์วันนั้น ปัจจุบันได้รับการรำลึกถึงเพื่อเป็นความทรงจำของไต้หวัน ในฐานะที่เป็นวันสันติภาพ(Peace Memorial Day). นโยบายทางการของรัฐบาลได้มีการระงับการศึกษาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ดังกล่าว จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ. รายละเอียดเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนั้น ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่และมีการโต้กันอย่างร้อนแรงในไต้หวันจนทุกวันนี้

หลังจาก 50 ปีของการเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น ไต้หวันได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมและการบริหารของสาธารณรัฐจีนในปี ค.ศ.1945 (ปีสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2) โดยองค์กร UNRRA (the United Nation Relief and Rehabilitation Administration) ขององค์การสหประชาชาติ. หลังจากนั้น 2 ปี โดยการบริหารและการปกครองของสาธารณรัฐจีน, การเล่นพรรคเล่นพวก, การกล่าวหาต่างๆ เกี่ยวกับการคอรัปชั่น, และความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจระหว่างชาวไต้หวันท้องถิ่น กับ การบริหารการปกครองของสาธารณรัฐจีน ซึ่งได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น. จุดวาบไฟเกิดขึ้นในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1947 ในกรุงไทเปเมื่อเกิดการทะเลาะกันระหว่างผู้จำหน่ายบุหรี่สำหรับผู้หญิง กับ เจ้าหน้าที่ต่อต้านการลักลอบนำเข้าสินค้า อันเป็นการจุดประกายความวุ่นวายไร้ระเบียบของฝูงชน และเปิดให้มีการก่อกบฎครั้งใหญ่ตามมาอีกหลายวัน การจลาจลดังกล่าวได้ถูกทำให้สงบลงอย่างรวดเร็วด้วยกองทหารของสาธารณรัฐจีน และทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก

ประเทศไทย (Thailand)
ในประเทศไทย การรัฐประหารจำนวนมากเกิดขึ้นนับจากปีทศวรรษที่ 1930s เป็นต้นมา(ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย) แต่หลายๆ ต่อหลายครั้งต้องประสบกับความล้มเหลว. ในเดือนมกราคมปี ค.ศ.2004 (พ.ศ. 2547)นายกรัฐมนตรีคนก่อน, ทักษิณ ชินวัตร, ได้ประกาศกฎอัยการศึกในเขตจังหวัดต่างๆ อย่างเช่น ปัตตานี, ยะลา, และนราธิวาส เพื่อตอบโต้กับการก่อตัวขึ้นมามากมายของเหตุการณ์การก่อกบฎในเขตสามจังหวัดภาคใต้ของไทย

ในวันที่ 19 กันยายน 2006 (พ.ศ. 2549) กองทัพไทยได้ประกาศกฎอัยการศึกภายหลังจากการทำรัฐประหาร ยึดอำนาจจากนายกฯ ทักษิณ โดยปราศจากการเสียเลือดเนื้อที่กรุงเทพ ปฏิบัติการดังกล่าวถูกประกาศในขณะที่นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร อยู่ที่นิวยอร์คเพื่อเตรียมตัวกล่าวสุนทรพจน์ ณ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ. พลเอกสนธิ บุณยรัตกลิน ได้เข้าควบคุมรัฐบาล และหลังจากนั้นไม่นานได้ส่งมอบอำนาจนายกรัฐมนตรีให้กับนายพลนอกประจำการคนหนึ่ง คือ พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์. ตัวของพลเอกสนธิเองเป็นหัวหน้าปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ

สหรัฐอเมริกา (United States of America)
แนวคิดกฎอัยการศึกในสหรัฐอเมริกา ได้รับการผูกพันอย่างใกล้ชิดกับคำสั่งหรือหมายศาลที่เรียกว่า habeas corpus (หมายเรียกตัวผู้ถูกคุมขังมายังศาล เพื่อพิจารณาว่าเขาถูกคุมขังโดยถูกต้องตามกฎหมาย) โดยสาระสำคัญคือสิทธิในการรับฟังคำสั่งให้มีการจำคุกตามกฎหมาย หรือกว้างกว่านั้น การดูแลควบคุมเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายโดยการพิจารณาคดีตามกระบวนการยุติธรรม. การแขวนหรือยับยั้ง(suspend) habeas corpus บ่อยครั้ง มันมีน้ำหนักเทียบเท่ากับกฎอัยการศึก. มาตราที่ 1, วรรค 9 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ กล่าวว่า "สิทธิพิเศษเกี่ยวกับคำสั่งศาลว่าด้วยเรื่อง Habeas Corpus จะไม่อาจยับยั้งได้ เว้นแต่เมื่อตกอยู่ในกรณีต่างๆ อย่างเช่น การจลาจลหรือการรุกรานจากภายนอก; สภาความมั่นคงของสังคมอาจเรียกใช้วิธีการดังกล่าวได้"

ในกฎหมายของสหรัฐอเมริกา กฎอัยการศึกได้ถูกจำกัดโดยการตัดสินของศาลต่างๆ ซึ่งจะถูกสั่งลงมาในช่วงระหว่างสงครามกลางเมืองในอเมริกา(1861-1865) และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในเอเชีย ค.ศ.1937 และเกิดขึ้นในยุโรป ค.ศ.1939). ในปี ค.ศ.1878 สภาคองเกรสได้ผ่านกฎหมายที่เรียกว่า Posse Comitatus Act ที่ห้ามกองทัพเข้าไปเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศ(demestic law enforcement) โดยปราศจากการอนุมัติจากรัฐสภา

กองทหารอาสาสมัครรักษาดินแดน(National Guard)ถือเป็นข้อยกเว้น นอกเหนือจากสหพันธรัฐ กองกำลังดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ว่าการรัฐ ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว. กฎหมายมหาชน 109-364 หรือ the John Warner Defense Authorization Act of 2007 (H.R.5122) ได้รับการเซ็นโดยประธานาธิบดีบุช วันที่ 17 ตุลาคม 2006 และยินยอมให้ประธานาธิบดีสามารถที่จะประกาศภาวะฉุกเฉิน และตั้งฐานปฏิบัติการทางทหาร ณ ที่ใดก็ได้ในอเมริกา รวมถึงการเข้าควบคุมกองกำลังรักษาดินแดนที่ขึ้นอยู่กับมลรัฐ โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าการรัฐหรือผู้มีอำนาจท้องถิ่น

ห้วข้อ V, หัวข้อย่อย B, ส่วนที่ II ตอนที่ 525(a) ของ JWDAA ของปี ค.ศ.2007 เขียนว่า "ผู้บัญชาการกองทัพ(ทหารบก, ทหารเรือ, ทหารอากาศ) อาจมีคำสั่งให้สมาชิกของกองกำลังสำรองให้อยู่ภายใต้ขอบเขตอำนาจกฎหมายของผู้บัญชาการเพื่อปฏิบัติภารกิจ… การฝึกฝนหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ… อาจรวมถึง… การสนับสนุนปฏิบัติการต่างๆ หรือภารกิจที่ดำเนินการโดยกองทัพตามความต้องการของประธานาธิบดี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม"

New Orleans, Louisiana ในสงครามปี ค.ศ.1812
ในช่วงระหว่างสงครามปี ค.ศ.1812 นายพลสหรัฐฯ Andrew Jackson ได้บังคับใช้กฎอัยการศึกในเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐหลุยส์เซียนา หลังจากที่ได้มีการยึดค่ายในนิวออร์ลีนส์จากพวกอังกฤษในสงครามนิวออร์ลีนส์

The Territory of Hawaii
ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945) สิ่งที่ปัจจุบันคือรัฐฮาวาย ได้ตกอยู่ภายใต้การประกาศกฎอัยการศึกนับจากปี ค.ศ.1941 - 1945

เฮอริเคนแคทรินา (Hurricane Katrina)
ตรงข้ามกับที่สื่อหลายแขนงได้รายงานในช่วงเวลาดังกล่าว กฎอัยการศึกมิได้ถูกประกาศใช้ในนิวออร์ลีนส์แต่อย่างใด ภายหลังจากเกิดพายุเฮอริเคนแคทรินาเข้าถล่ม เพราะไม่มีบทบัญญัติดังกล่าวอยู่ในกฎหมายของรัฐหลุยส์เซียนา. แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น ซึ่งได้ให้อำนาจพิเศษแก่รัฐบาลมลรัฐคล้ายคลึงกับกฎอัยการศึก. ในช่วงเย็นของวันที่ 31 สิงหาคม 2005, นายกเทศมนตรีนิวออร์ลีน Ray Nagin ได้ประกาศ"กฎอัยการศึก"แต่เพียงในนาม และกล่าวว่า บรรดาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายไม่ได้รู้สึกกังวลใจแต่อย่างใด ต่อเรื่องเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิของพลเมือง และสิทธิต่างๆ ของผู้ต้องสงสัย (Miranda rights) (2) ในการหยุดยั้งพวกที่ทำการปล้นสะดม. กองทหารประจำรัฐได้จับตานิวออร์ลีนส์หลังจากเกิดพายุแคทรินา. ในประเด็นหนึ่ง ทหารประมาณ 15,000 นาย และกองกำลังรักษาดินแดนได้ทำการลาดตระเวนในเมืองดังกล่าว เพื่อระงับควบคุมการตกอยู่ในภาวะบ้านเมืองวุ่นวายและการปล้นสะดม

(2) ในสหรัฐอเมริกา สิ่งที่เรียกว่า Miranda warning คือคำสั่งเตือนที่ออกมาจากตำรวจที่มีไปยังผู้ต้องสงสัยในการกระทำอาชญากรรม หรือในสถานการณ์การที่จำเป็นต่อการคุ้มครองป้องกัน. สถานการณ์เพื่อการปกป้องหรือคุ้มครองอันนี้ คือการที่ตำรวจมีการจับตาการเคลื่อนไหวของผู้ต้องสงสัยอย่างใกล้ชิด แม้ว่าเขาจะไม่ถูกจับกุมก็ตาม. คำฟ้องหนึ่งของผู้ต้องสงสัยจะไม่ถือเป็นหลักฐานมาประกอบ เว้นแต่ผู้ต้องสงสัยจะได้รับคำแนะนำถึง"สิทธิของผู้ต้องสงสัย" (Miranda right) และรับรู้โดยมีสติสัมปชัญญะ และยินยอมสละสิทธินั้นโดยสมัครใจ. แต่อย่างไรก็ตาม ตำรวจอาจขอข้อมูลประวัติส่วนตัวของผู้ต้องสงสัย วันเดือนปีเกิด และที่อยู่ โดยไม่ต้องอ่านสิทธิของผู้ต้องหาเป็นอันดับแรกก็ได้

++++++++++++++++++++++++++

เชิงอรรถ
(1) The 228 Incident also known as the 228 Massacre was an uprising in Taiwan that began on February 28, 1947 and was suppressed by the Kuomintang (KMT) government, resulting in between ten thousand and twenty thousand civilians killed. The number "228" refers to the day of the incident, February 28 (28th day of the 2nd month, 2/28).

This event is now commemorated in Taiwan as Peace Memorial Day Official government policy had repressed the education of the events until recently, for various reasons. Many of the details of the incident are still highly controversial and hotly debated in Taiwan today.

After 50 years of colonial rule by Japan, Taiwan was placed under the administrative control of the Republic of China in 1945 by the United Nations Relief and Rehabilitation Administration (UNRRA). After two years of administration by the Republic of China, nepotism, accusations of corruption and a failed economy increased tensions between the local Taiwanese and ROC administration. The flashpoint came on February 27, 1947 in Taipei when a dispute between a female cigarette vendor and an anti-smuggling officer triggered civil disorder and open rebellion that would last for days. The uprising was quickly put down by the military of the Republic of China.

(2) Miranda rights : In the United States, the Miranda warning is a warning given by police to criminal suspects in police custody, or in a custodial situation, before they are asked questions relating to the commission of a crime. A custodial situation is where the suspect's freedom of movement is restrained although he is not under arrest. An incriminating statement by a suspect will not constitute admissible evidence unless the suspect was advised of his or her "Miranda rights" and made a knowing, intelligent, and voluntary waiver of those rights. However, police may request biographical information such as name, date of birth, and address, without first reading suspects their Miranda warnings.

บรรณานุกรมต้นฉบับ
1. Fran?oise Dubuc, La Loi martiale telle qu'impos?e au Qu?bec en 1837 et en 1838, in Les Patriotes de 1837@1838, May 20, 2000

2. BBC News

3. http://leahy.senate.gov/press/200609/092906b.html

4. Thompson, Irwin, AP contributions. "Nagin declares Martial Law to crack down on looters", WWLTV, 2005-08-31. Retrieved on 2007-05-24.


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73