โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 19 August 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๓๘ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (August, 19, 08,.2007) - ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

หนึ่งเดือนก่อนหน้านี้ ทักษิณได้พบหารือกับพลเอกสนธิฯ ผู้บัญชาการทหารบก 1 ครั้งที่ห้องทำงานของนายกรัฐมนตรี ทักษิณทราบดีว่า เบื้องหลังของการต่อสู้ทางการเมืองครั้งนี้ ยังมีชนชั้นหนึ่งที่มีบารมีและไม่มีใครสามารถสั่นคลอนได้ ซึ่งนั่นก็คือกองทัพ ที่จะสามารถแสดงบทบาทพลิกสถานการณ์ในยามคับขัน บรรดานายทหารที่ถือกระบอกปืนเหล่านี้ ดูเผินๆ เหมือนจะอยู่ในตำแหน่งที่เป็นอิสระเหนือรัฐบาล แต่ที่แท้จริงแล้วแค่เพียงกระดิกนิ้วหัวแม่มือเพียงนิ้วเดียว ก็สามารถที่จะขับเขาให้ตกจากที่นั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้
19-08-2550

Thaksin's 24 Hours
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

บันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับการรัฐประหาร ๑๙ กันยา
Thaksin's 24 Hours After the Coup:
บทที่ 3 ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์

กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : เรียบเรียง
ต้นฉบับแปลจากภาษาจีนทั้งเล่ม ได้รับมาจากเพื่อนสื่อมวลชนเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน

บันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับนายกฯ ทักษิณ และการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ นี้
แปลมาจากต้นฉบับภาษาจีน (โดยผู้แปลไม่เปิดเผยนาม) กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืนได้นำมาเรียบเรียง
และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติม เพื่อสะดวกแก่การค้นคว้าในเรื่องประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย
โดยในบทที่ ๓ นี้ มีชื่อบทว่า "ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์" ดังมีลำดับหัวข้อที่น่าสนใจต่อไปนี้
- เพชรฆาตแม่น้ำเจ้าพระยา
- ระเบียบปฏิบัติในการปฏิวัติ-รัฐประหารในประเทศไทย
- คณะผู้ติดตามนายกทักษิณฯ ที่นิวยอร์ค พร้อมกันที่ห้อง Presidential Suite
- คาราวานคนจนจากชายขอบ เดินทางสู่ศูนย์กลางมหานคร
- สนธิ ลิ้มทองกุล และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- นโยบายทางเศรษฐกิจที่ให้ผลประโยชน์ต่อคนจน
- จากนโยบายแก้ปัญหาความยากจน สู่การปฏิบัติ
- "OTOP" โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ และนโยบายแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน
- Thaksinomics และ นโยบายแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๓๘
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทที่ 3 ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์

ตอนที่ 1

เพชรฆาตแม่น้ำเจ้าพระยา
ความคิดล้มล้างทักษิณโดยการรัฐประหารทางทหารกำลังดำเนินการต่อไป
วันที่ 19 กันยายน 2550 เวลา 18.30 น. กรุงเทพมหานคร มีข่าวว่า 4 หน่วยรบพิเศษจากภาคตะวันออก 4 จังหวัดของไทย กำลังทำการรวมกำลังพล ภายหลังการตรวจสอบแล้ว พบว่ากองกำลังทั้ง 4 หน่วยคือกรมทหารราบที่ 31, กรมทหารม้าที่ 23, กรมทหารม้าที่ 24, และกองพลที่ 2, ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกองกำลังสำคัญจากกองทัพภาคที่ 3 และกองทัพภาคที่ 5

ในคืนวันเดียวกันนั้น กองกำลังเหล่านี้พร้อมอาวุธครบมือได้เข้ามาทำการคุมสถานการณ์ด้านทิศตะวันออกและเหนือรอบ กทม. เป็นบริเวณ 100 กม. การที่กองกำลังพิเศษที่ประจำการอยู่ที่ จ. ลพบุรีไม่ได้เดินทางกลับค่ายทหารหลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจการฝึก เป็นการแสดงออกถึงอาการที่น่าเคลือบแคลงใจ เพราะว่าจุดหมายการเดินทางของกองกำลังพิเศษ จ. ลพบุรีและกองกำลังรถหุ้มเกราะตอบโต้เร็วและกรมทหารราบที่ 9 จังหวัด กาญจนบุรี นั้นล้วนมุ่งมาที่กรุงเทพฯ โดยที่จังหวัดทั้งสอง (กาญจนบุรี และลพบุรี) ล้วนห่างจะกรุงเทพฯ เป็นเวลาเพียง 2 ชั่วโมง

ในเวลาเดียวกันนั้น มีข่าวเล็ดลอดออกมาว่า ที่ปรึกษาอันดับหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กำลังเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้นักวิเคราะห์ล้วนคิดว่า พล.อ. เปรมฯ ผู้ซึ่งมีฉายาว่า "เพชรฆาตแม่น้ำเจ้าพระยา" คือผู้ค้นคิดบงการการรัฐประหารอย่างลับๆ

ในการสนทนาของทักษิณครั้งหนึ่งเมื่อปลายเดือนมิถุนายน ทักษิณเคยบอกว่า มีกระแสอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ (unconstitutional power) กำลังพยายามขับไล่เขาออกจากตำแหน่ง ซึ่งคนต้นคิดและบงการกระแสนี้เป็นบุคคลที่มีบารมีเป็นอย่างมาก (charismatic person) โดยมีหลายคนเชื่อว่าเป็น พล. อ. เปรมฯ. ถึงขนาดที่ว่า ภายหลังเหตุการณ์ระเบิดรถยนต์ในเดือนสิงหาคมที่หมายลอบสังหารทักษิณไม่กี่วัน มีบุคคลที่สนับสนุนทักษิณนับสิบคนได้เดินทางไปพบกับ พล. อ. เปรมฯ ที่บ้านพัก ขอร้องให้ พล. อ. เปรมฯ ที่ซึ่งกำลังฉลองวันคล้ายวันเกิดปีที่ 86 อย่างสนุกสนานว่า "ขอให้แสดงความเมตตา ไว้ชีวิต นรม.ทักษิณด้วย" แม้ว่า พล. อ. เปรมฯ จะไม่ได้ออกมาพบกลุ่มคนเหล่านี้ แต่ก็ได้ส่งตัวแทนออกมารับหนังสือขอร้องจากคนกลุ่มนี้

ตามคำบอกเล่าของคนสนิทของ พล. อ. เปรมฯ ในช่วงเวลานั้น เปรมฯ "หน้าดำคร่ำเครียด ไม่ค่อยยอมพูดจากับใคร" นอกจากนั้น ยังมีข่าวลืออีกว่า ทักษิณที่ตอนนั้นอยู่นิวยอร์ก เมื่อได้ทราบข่าวว่าจะมีการทำรัฐประหาร เคยคิดว่าจะชิงลงมือก่อน โดยทำการควบคุม พล. อ. เปรมฯไว้ เพื่อยับยั้งการเกิดขึ้นของรัฐประหาร ทั้งนี้ การที่กองกำลังตำรวจประสบกับการพ่ายแพ้ในการดำเนินการเข้าควบคุมตัว พล.อ. เปรมฯ นั้นไม่แน่ชัดว่าเป็นเพราะสาเหตุใด แต่เป็นที่รู้กันว่า ในคืนที่มีการทำรัฐประหารดังกล่าว ผู้ที่เป็นคนพา พล.อ. สนธิ บุญยรัตนกลิน เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัวคือ พล.อ.เปรมฯ นั่นเอง

ณ บัดนั้น สารวัตรทหารที่ตรึงกำลังอยู่ทั่วกรุงเทพฯ ก็ได้รับคำสั่งตรงจาก ผบ. ทบ. สนธิฯว่า กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลไทย "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" จะมีการจัดการชุมนุมประท้วง "โค่นทักษิณ" ครั้งยิ่งใหญ่ในวันที่ 20 ก.ย. 50 เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ ขอให้ทุกหน่วยเตรียมพร้อมเป็นเวลา 24 ชม. นี่ก็เป็นการดำเนินการที่เป็นไปอย่างธรรมชาติ เพราะการที่ตำรวจต้องถือกระบอง ใส่เครื่องแบบรัดๆ ในอากาศที่ร้อนจัดเดินตามผู้ประท้วง ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้น ทำให้ตำรวจกว่า 2 หมื่นนายของกรุงเทพฯ ไม่เคยได้หยุดพักเลย เพราะหลายเดือนที่ผ่านมามีการประท้วงโค่นล้มทักษิณ และการเดินขบวนสนับสนุนทักษิณเกิดขึ้นโดยตลอดอย่างไม่มีการว่างเว้น อย่างเช่น มีครั้งหนึ่งที่ผู้ชุมนุมประท้วงจำนวน 1 แสนคนเดินทางมาทำเนียบรัฐบาลเพื่อทำการประท้วง ซึ่งในโอกาสนั้นกรมตำรวจได้จัดสรรเจ้าหน้าที่ตำรวจ 6 พันนายมาควบคุมสถานการณ์

สำหรับการประท้วงในวันที่ 20 ก.ย. 50 ก็คาดว่าจะมีผู้ร่วมประท้วงกว่า 1 แสนคนเช่นกัน โดยผู้ประท้วงจะมารวมตัวที่ถนนที่ใหญ่อันดับ 5 ของกรุงเทพฯ และทำการนั่งขวางจราจรเพื่อขอร้องให้ทักษิณลงจากตำแหน่ง เพราะฉะนั้น ข่าวการที่มีคำสั่งให้สารวัตรทหารเตรียมพร้อม ก็ไม่ได้ทำให้สื่อมวลชนรู้สึกใดๆ นัก สถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุต่างๆ ก็ยังถ่ายทอดรายการของตนต่อไปตามปรกติ โดยไม่มีใครรู้สึกได้ถึงพายุฝนที่กำลังจะมาเยือน

18.55 น. สำนักข่าวไทยได้ทำการประกาศว่า "นรม. ทักษิณ ชินวัตรจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ เร็วกว่ากำหนด 1 วัน โดยจะเดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 ก.ย. 49" สำหรับสาเหตุของการเปลี่ยนกำหนดการเดินทางนั้น ไม่ได้มีการกล่าวถึงหรือให้คำอธิบาย ถ้าหากมองจากจุดนี้ ขณะที่ทักษิณอยู่ที่นิวยอร์ก ตัวทักษิณเองก็ทราบแล้วถึงข่าวที่ว่าฝ่ายทหารจะกระทำการรัฐประหาร การที่ทักษิณให้สำนักข่าวไทยออกประกาศนี้เป็นการบอกผู้ที่จะกระทำการรัฐประหารว่า "ผมรู้แล้วถึงแผนอันชั่วร้ายของพวกคุณ ผมกำลังจะกลับไปจัดการกับเรื่องนี้เอง หากจะกลับตัวกลับใจซะตอนนี้ก็ยังไม่สาย!" หรือไม่ก็อาจจะเป็นการบอกกลุ่มคนที่ยังสนับสนุนเขาอยู่ว่า "ไม่ต้องกังวลใดๆ ทั้งสิ้น จงเดินหน้าหยุดยั้งและบดขยี้การทำรัฐประหาร สำหรับที่เหลือผมจะจัดการเอง"

แต่ว่า ณ เวลานี้เขาไม่สามารถเดินทางกลับมาได้เพราะเหตุการณ์นั้น อันตรายเกินไป ดังนั้น เขามีความจำเป็นที่จะต้องสังเกตุการณ์ความเป็นไปของเหตุการณ์นี้อยู่ห่างๆ รอดูว่าจะแก้ไขวิกฤตนี้อย่างไร เพราะว่าหากการทำรัฐประหารประสบความสำเร็จ การที่เขาจะกลับไปตอนนี้ก็เหมือนกับแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ ในภาวะปัจจุบันเขาทราบเพียงแต่ว่า เสียงสนับสนุนหรือเสียงไม่สนับสนุนเขาในกองทัพ จะเป็นสิ่งที่ตัดสินผลลัพธ์ของรัฐประหารในครั้งนี้ เขาไม่มีวันที่จะคาดคิดได้ว่า ในที่สุดแล้วเหตุการณ์นี้จะเป็นสงครามแย่งชิงของสื่อมวลชน ใครสามารถควบคุมสื่อมวลชนได้ ก็จะสามารถควบคุมสถานการณ์ทั้งหมดไว้ได้

ระเบียบปฏิบัติในการปฏิวัติ-รัฐประหารในประเทศไทย
ฝ่ายทหารชิงลงมือเพื่อแย่งชิงโอกาส เมื่อประมาณ 19.00 น. มีนายทหารแต่งชุดเต็มยศเดินทางเข้าไปที่สถานีโทรทัศน์ ททบ. ช่อง 5 และได้ทำการเตรียมพร้อม "ข่าวพิเศษ" ไว้ 1 ชุด แม้ว่าสาเหตุของการทำรัฐประหารจะซับซ้อน แต่ขั้นตอนการกระทำนั้นดำเนินไปอย่างมีระเบียบแบบแผน ไร้ซึ่งความแปลกใหม่ ประสบการณ์การทำรัฐประหารกว่า 17 ครั้งในประวัติศาสตร์ไทยบอกเราว่า …

1. ก่อนฝ่ายทหารจะทำการรัฐประหารจะต้องทำการส่งกองกำลังทหารพิเศษเข้าไปควบคุมสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร ขอให้สถานีต่างๆ ยุติการถ่ายทอดรายการของตนและเปลี่ยนเรายการป็นรูปของพระราชวงศ์ เปิดเพลงปลุกใจ รักชาติ และถ่ายทอดสารคดีพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2. ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็จะมีการส่งกองกำลังรบพิเศษไปพระราชวังสวนจิตรลดา รักษาความปลอดภัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งการกระทำทั้งสองนั้นก็เพื่อที่จะแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของผู้กระทำรัฐประหาร เพราะหากว่าพระมหากษัตริย์ออกมาไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร อนาคตของผู้นำรัฐประหารก็มีเพียงการเนรเทศตัวเองทางเดียว

3. หลังจากนั้น รถถังก็จะออกมาวิ่งบนถนนในกรุงเทพมหานคร ทหารถือปืนกลก็จะมายึดทำเนียบนายกรัฐมนตรี ยึดอำนาจในการบริหารประเทศ แล้วก็จะมีการประกาศปลดนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และการนำมาซึ่งการบริหารประเทศภายใต้ระบบการปกครองใหม่

ตอนที่ 2
คณะผู้ติดตามนายกทักษิณฯ ที่นิวยอร์ค พร้อมกันที่ห้อง Presidential Suite
เวลา 07.30 น. ท้องฟ้าสว่างแล้ว ณ นครนิวยอร์ก เสียงของมหานครก็เริ่มดังขึ้น มหานครที่มีชีวิตชีวาที่สุดในโลกก็กลับเข้าสู่ท่ามกลางเสียงเซ็งแซ่ที่คุ้นเคย. ขณะนั้น นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ที่พักอยู่ ณ โรงแรมไฮแอท บนถนน 42 (avenue) กำลังจะเดินลงมารับประทานอาหารเช้า ก็ได้ยินเสียงโทรศัพท์ดัง ซึ่งเมื่อรับ ผู้ที่พูดคือนายกรัฐมนตรี "คุณมาที่ห้องผมหน่อย"

เมื่อเขาเดินเข้าไปในห้อง presidential suite ในห้องมี ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี, นายพันธุ์ศักดิ์ วิญญรัตน์, ที่ปรึกษาด้านนโยบาย. นายทอม เครือโสภณ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี .... รวมทั้งคนอื่นๆ นั่งอยู่แล้ว 10 กว่าคน ซึ่งทุกคนที่เป็นบุคคลสำคัญในการเดินทางมาร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติล้วนมาครบแล้ว โดยที่ในระหว่างนั้นก็มีคนเคาะประตูและเดินทางเข้ามาอยู่เรื่อยๆ นายแพทย์สุรพงษ์ฯ รู้สึกว่าบรรยากาศในห้องไม่ค่อยที่จะสู้ดีนัก มีหลายคนที่หน้าตาเต็มไปด้วยความกังวล. สำหรับหน้าตาของท่านนายกรัฐมนตรีนั้นกลับดูธรรมดา ไม่เหมือนกับว่ามีความกังวลใจใดๆ ทว่าประโยคที่ท่านกล่าวออกมาจากปากนั้นทำให้ทุกคนตกใจ

"ที่กรุงเทพฯ คืนนี้อาจมีการทำรัฐประหาร พลเอกสนธิฯ กำลังทำการเคลื่อนกำลังพล"
"เจอเรื่องแบบนี้อีกแล้ว" พันธุ์ศักดิ์พูดไปสั่นหัวไป ในกลุ่มคนกลุ่มนี้เขาเป็นเพียงผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงคนเดียว ที่เคยประสบกับเหตุการณ์ฝ่ายทหารทำรัฐประหาร นั่นก็คือเมื่อ 15 ปีก่อน เขาเคยอยู่ในรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ ตอนที่รัฐบาลชาติชายถูกฝ่ายทหารทำรัฐประหาร

"พวกมันกล้าที่จะทำจริงๆ หรือ?"
นั่นคือปฏิกริยาแรกของแทบจะทุกๆ คน ทุกคนไม่เชื่อว่าหลังจากที่การทำรัฐประหารโดยฝ่ายทหารได้เงียบหายไปเป็นเวลา 15 ปี ทหารไทยในปี 2550 ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยโดยฝ่ายทหารจะทำการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ปัจจุบันการใช้กำลังทหารไปล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นถูกประชาคมโลกประณาม ยิ่งไปกว่านั้น วิธีการแก้ไขปัญหาทางการเมืองอย่างประชาธิปไตยก็ใช่ว่าจะไม่มีอยู่เลย เพราะการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งใหม่ก็กำลังจะมาถึงในเร็ววัน แต่คนพวกนั้นกลับกล้าทำสิ่งนี้ในช่วงเวลานี้!
"พวกมันไม่มีทางประสบความสำเร็จ"
"ใช่ พวกมันไม่มีวันประสบความสำเร็จ"

ในขณะที่สถานะทางการเมืองของนักการเมืองสูงศักดิ์และสูงเกียรติกลุ่มนี้ไม่มั่นคงนั่งถกกันถึงผู้บงการการทำรัฐประหาร พัฒนาการของสถานการณ์ จุดจบของเหตุการณ์ ใครเป็นพวกใคร ใครแย่งอะไรกับใคร ควรจะรับมือกับสถานการณ์อย่างไร... อยู่ในห้องโรงแรมในนิวยอร์ก สิ่งที่แปลกที่สุดคือ แม้ว่าวาระแห่งความวินาศจะมาถึง แต่ว่าน่าประหลาดใจที่คนกลุ่มนี้โดยทั่วไปยังคงมีความเชื่อมั่นอย่างสูงว่า รัฐประหารจะต้องถูก "บดขยี้" ปรปักษ์ของรัฐบาลจะไม่ประสบความสำเร็จ! เพราะว่าทหารที่จงรักภักดีต่อนายกรัฐมนตรี ประชาชนที่รักและเทิดทูนนายกรัฐมนตรี ปัญญาชนที่เข้าใจว่าประชาธิปไตยคืออะไร คนเหล่านี้จะยอมและไม่แยแสปล่อยให้ทหารใช้กำลังกระชากนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งลงมาจากเก้าอี้เช่นนั้นฤา

ยิ่งกว่านั้นทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย ไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่อยู่ในตำแหน่งครบ 4 ปี เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งติดต่อกัน 2 สมัย เป็นผู้นำไทยคนแรกที่สามารถก่อตั้งรัฐบาลที่คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยพรรคการเมืองเดียว นอกจากนั้นยังเป็นดาวเด่นทางการเมืองของเอเชียที่นานาประเทศจับตามอง เป็นนักการทูตที่สามารถสานสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับอเมริกา อังกฤษ รัสเซีย จีนและประเทศมหาอำนาจอื่นๆ กล่าวได้ว่าเป็นบุคคลที่สามารถดึงดูดมวลชนหมู่มากในชนบท พร้อมกันนั้นยังได้รับการเทิดทูนยกย่องจากประชาชนเหล่านั้นโดยเรียกท่านว่าเป็น "นายกฯรากหญ้า" เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรที่ประชาชนจะไม่แยแสและยอมให้เกียรตินิยมของทักษิณแปดเปื้อน ผลงานถูกทำลาย และชีวิตการเมืองของเขาจะต้องถูกรัฐประหารทำให้จบสิ้นลง?

ตลอดระยะเวลา 1 ปีของวิกฤตทางการเมือง แม้ว่าคนที่คัดค้าน ด่าทอและโจมตีทักษิณอยู่ไม่น้อย แต่ว่าผู้เห็นด้วยและสนับสนุนทักษิณนั้นก็เข้มแข็งไม่น้อยไปกว่ากัน ---นี่คือสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ทักษิณสามารถอยู่รอดทางการเมืองมาได้จนปัจจุบัน ท่ามกลางเสียงคัดค้านรัฐบาลของประชาชน

ตอนที่นายกรัฐมนตรีถูกกระแส "โค่นทักษิณ" รุมโจมตีและประสบกับภาวะวิกฤต ประชาชนไทยโดยเฉพาะชนชั้นเกษตรกรก็ได้ยืดอกเดินก้าวออกมาปกป้องนายกรัฐมนตรี เกษตรกรจำนวนหลายหมื่นคนเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับทักษิณ ซึ่งสิ่งนี้ในประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้นพวกที่คิดจะล้มล้างเขาจะกล้าทำสิ่งที่เขาคิดโดยไม่คำนึงถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของมวลชน

ตอนที่ 3
คาราวานคนจนจากชายขอบ เดินทางสู่ศูนย์กลางมหานคร
คนเหล่านี้คิดถึงเหตุการณ์หนึ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ไม่นาน...
ใต้แสงแดดเดือนมีนาคม 2549 ของภาคกลางของประเทศไทย ลมพัดหอบใหญ่ทำให้บนถนนใหญ่เกิดเป็นม่านฝุ่นที่ดูเหมือนมังกรดินตัวหนึ่ง มังกรดินตัวนี้คดๆ งอๆ ทอดตัวตามแกนเหนือ-ใต้ยาวหลายกิโลเมตร มีเกษตรกรกว่า 3 หมื่นคนที่มาจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังโดยสารยานพาหนะนานาชนิดเดินทางมุ่งหน้าเข้าสู่สู่กรุงเทพมหานคร. พวกเขากลางวันเดินทาง กลางคืนพักเอาแรงโดยทำการปูเสื่อบนข้างทางแล้วก็นอนตัวลงอย่างง่ายๆ ซึ่งก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่นอนหลับเอาแรงใต้พาหนะของเขา

มีเกษตรกรคนหนึ่งสวมหมวกสาน ผิวคล้ำกรำแดด มือหนึ่งพยายามเช็ดเหงื่อของเขา ขณะที่เขาให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า "จากเชียงรายถึงกรุงเทพฯ ไกลซะจริงๆ ตั้ง 700 กว่า กม. เนี่ยผมขับรถมา 14 วันแล้ว ระหว่างขับรถผมก็เสียไปตั้ง 7 -8 หน" ซึ่งสิ่งที่เกษตรกรคนนี้เรียกว่ารถนั้น คือรถแทรกเตอร์ที่กำลังจอดควันขโมงอยู่ข้างๆ เขานี่เอง รอบๆ รถคันนี้ ยังมีแทรกเตอร์ รถตัดหญ้า รถอีแต๋น รถปิ๊คอัพ ฯลฯ ที่สภาพพอๆ กันอีก 600 กว่าคัน ซึ่งบนรถทุกคันมีชาวชนบท บ้างนั่ง บ้างยืน อยู่เต็มพิกัด จุดประสงค์การเดินทางของคนพวกนี้ง่ายมาก คือจัดตั้งเวทีของพวกเขาในกรุงเทพฯ เพื่อตอบโต้กลุ่มคนที่ต่อต้านรัฐบาล และช่วยเหลือนายกรัฐมนตรีทักษิณที่ตกอยู่ท่ามกลางการรุมล้อมของชาวกรุง

นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่เกษตรกรเพื่อสนับสนุนนายกรัฐมนตรี รวมตัวกันได้เป็นกลุ่มก้อนใหญ่ขนาดนี้และเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง แม้ว่าคนที่มาจากชนบทเหล่านี้จะสวมใส่เสื้อผ้าที่ดูไม่ค่อยจะดีนัก อากัปกิริยาอาจจะไม่ค่อยสุภาพ เหนื่อยล้า สีหน้าซีดเซียว - พวกเขาก็เดินทางกันมากว่า 10 วัน โดยได้นำเอาอุปกรณ์ในการหุงหาอาหารมาด้วย เพื่อทำการปรุงอาหารระหว่างทาง แต่ว่ารอยยิ้มบนใบหน้าคนเหล่านี้นั้นเปี่ยมไปด้วยความจริงใจ สำหรับสิ่งที่คนเหล่านี้พูดก็ทำให้ผู้ฟังอดไม่ได้ที่จะรู้สึกหายใจไม่สะดวก มีเกษตรกรคนหนึ่งกล่าวว่า "อุปสรรค และความยากลำบากต่างๆ นานาที่เราพบบนท้องถนน ก็เช่นเดียวกับความยากลำบากที่ท่านนายกรัฐมนตรี พวกเราทำได้ นายกก็ต้องทำได้เช่นกัน"

สนธิ ลิ้มทองกุล และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ตั้งแต่สิ้นเดือนมกราคมที่คดีขายหุ้นเกิดขึ้น ทักษิณก็อยู่ภายใต้ความกดดันอันยิ่งใหญ่ กลุ่มผู้คัดค้าน "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ได้ทำการตั้งเวทีที่สวนลุมพินี สวนสาธารณะใจกลางกรุงเทพฯ เป็นแหล่งเคลื่อนไหว ทั้งวันทั้งคืนทำการปราศัยและทำการชุมนุม ซึ่งคำปราศัยของแกนนำขบวนการ"โค่นทักษิณ" เจ้าพ่อสื่อ สนธิ ลิ้มทองกุลสามารถปลุกระดมผู้คนได้มากที่สุด ทุกประโยคที่เขาพูดจะต้องขึ้นด้วย "พ่อแม่พี่น้อง..." แล้วตามด้วยข้อความยืดยาวที่กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันไร้ซึ่งความเมตตา ไร้ซึ่งคุณธรรม ไม่ซื่อสัตย์ เชื่อถือไม่ได้ ไม่จงรักภักดี ไม่กตัญญูรู้คุณคน คอร์รัปชั่นโกงกิน ...

สนธิ ลิ้มทองกุลบอกนักข่าวว่า "ช่วงกลางวันมีผู้เข้าร่วมกว่า 1 แสนคน สำหรับช่วงกลางคืน ในช่วงที่มีคนมาร่วมสูงสุดถึง 5 หมื่นคน" ตัวเลขเหล่านี้แม้จะค่อนข้างเกินจริงไปบ้าง แต่ว่าการประท้วงบนท้องถนนกรุงเทพฯ นั้น ยิ่งนานวันยิ่งรุนแรงขึ้น โดยมีการชุมนุมประท้วง 5 ครั้งที่มีผู้คนร่วมด้วยเกิน 1 แสนคน. ผู้มาร่วมประท้วงรวมตัวกันเป็นแถวยาวเคลื่อนตัวไปตามท้องถนน ทำให้การจราจรเป็นอัมพาตในที่ที่กลุ่มผู้ประท้วงไปถึง นอกจากนี้ยังมีการนำเอาผ้าสีเหลือง-สัญลักษณ์ความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาผูกไว้บนหัวและที่แขน พร้อมกับชูธงชาติ และป้ายต่างๆ นานาที่ต่อต้านรัฐบาลและทำให้ทักษิณดูไม่ดี ภายใต้การบรรยายของฝ่ายต่อต้านทักษิณ ทักษิณมีเขี้ยวโง้งราวหมูป่า และในปากมีลิ้น 2 แฉกของอสรพิษแลบออกมา หรือไม่ก็มีการใส่ผ้าปิดตาโจรสลัดกัปตันฮุค มีมือข้างหนึ่งเป็นตะขอ หรือไม่ก็มีภาพล้อเลียนอีกภาพหนึ่งที่เอาหน้าทักษิณไปแปะไว้บนตัวจระเข้ โดยจระเข้ตัวนั้นใส่บิกีนี่และทำท่ายั่วยวน ผู้ประท้วงยังมีการคลี่คำขวัญ "ทักษิณ นายกฯ ไทยที่ห่วยที่สุด" และตะโกน "ทักษิณ ออกไป!"

ข่าวลือกระจายไปทุกหัวระแหง คำตำหนิด่าทอทักษิณดั่งน้ำครำ ถังแล้วถังเล่าถูกสาดลงไปบนหัวทักษิณ ถึงขั้นที่ว่ามีการใช้เวทมนตร์เข้าช่วย มีบางคนที่ยืนอยู่บนเวทีต่อต้านทักษิณ ทำการสั่งสอนให้ผู้หญิงที่มาฟังอยู่ด้านล่างของเวทีสาปแช่งนายกฯ-การเอารูปภาพทักษิณลอดหว่างขา 3 ครั้งจะทำให้ทักษิณมีอันต้องออกจากประเทศไทยไปสิงคโปร์ นักวิจารณ์สังคมที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากเช่น ส. ศิวรักษ์ ประกาศว่า "แม้ว่าผมไม่มีหลักฐานที่ชัดแจ้ง แต่ก็มีข่าวลือหลายกระแสที่กล่าวว่า ทักษิณและบุคคลในคณะรัฐมนตรีมีพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย-ไม่ซื่อสัตย์ต่อภรรยา ขอเพียงเขาลงจากตำแหน่งเรื่องราวอันฉาวโฉ่ด้านเพศก็จะได้รับการเปิดเผยออกมา ดังเช่นสฤษดิ์ ธนรัชต์ (1) ณ บัดนี้ แม้กระทั่งพระสงฆ์ที่ไม่ข้องแวะกับการเมือง ก็เริ่มเดินออกจากวัดมาเคลื่อนไหว ลูกศิษย์ "สันติอโศก" (2) ภายใต้การนำของท่านโพธิรักษ์ ได้ทำการประกาศตำหนิรัฐบาลทักษิณว่า ชั่วร้ายเลวทราม โกงกิน เน่าถึงราก หลงใหลในอำนาจ

(1) จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ในยุคปี ค.ศ. 1950 ได้ทำรัฐประหารทำให้เขาสามารถกุมอำนาจบริหารประเทศ ซึ่งนักวิชาการในเวลาต่อมาได้บรรยายภาพเขาไว้ว่า เป็นเผด็จการที่ไม่น่าเอาเป็นเยี่ยงอย่างถึงขั้นมีการเปรียบเทียบเขากับฮิตเลอร์ เขาเป็นคนออกกฎหมายห้ามการขายบริการ และจัดระเบียบสถานที่เต้นรำ แต่ว่าพอเขาลงจากตำแหน่งแล้วประชาชนก็ค้นพบว่า แท้จริงแล้วเขานั้นมีอนุภรรยาอยู่หลายคน

(2) เป็นลัทธิหนึ่งของพุทธศาสนาไทยที่เรียกร้องให้พระสงฆ์เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อสังคม ซึ่งความคิดนี้ทำให้เกิดการแตกแยกพอสมควรในแวดวงชาวพุทธไทย

ปลุกกระแสคนรักทักษิณ
เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 49 นายกฯผู้ที่ถูกคลื่นเสียงคัดค้านถาโถมเข้ามาจนไม่สามารถทนได้อีกแล้ว ออกมายืนต่อหน้าบรรดานักข่าว แล้วยกป้ายอันหนึ่งขึ้นมาด้วยหน้าตาเหลืออดว่า "หากว่ายังมีคนเหล่านี้ ก็ขอให้ส่งเสียงสนับสนุนเหล่านั้นมา ณ ที่อยู่นี้-ทำเนียบรัฐบาลไทย" แล้วเขาจะนำเสียงสนับสนุนเหล่านั้นมาแปะไว้บนกำแพงของทำเนียบฯ จะได้ทำให้พวกคนที่ไม่เห็นด้วยกับเขาหมดกำลังใจ หลังจากนั้น 2 วันได้มีการจัดการชุมนุมเพื่อสนับสนุนทักษิณอย่างยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยมีมาก่อนที่สนามหลวง การชุนนุมครั้งนี้มีข่าวว่าเป็นการจัดการของพรรคไทยรักไทย โดยที่พรรคต้องการให้ ส.ส. ทุกคนระดมผู้สนับสนุนมาร่วมงานอย่างน้อย 500 คน

สื่อในกรุงเทพฯ รายงานว่ามีผู้สนับสนุนมาร่วมงาน 2 แสนคนในขณะที่นักข่าวต่างชาติคาดเดาว่ามี 1 แสน 5 หมื่นคน ทักษิณกล่าวว่า ในอดีตเขาได้แต่อดทนและอดกลั้นต่อการกระทำของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเขา ที่เขาไม่เคยสนับสนุนให้มีการชุมนุมเพื่อสนับสนุนเขานั้น เป็นเพราะเขาพยายามที่จะรักษาความสงบในภาพรวมเอาไว้ แต่บัดนี้เขาต้องการให้คนกลุ่มนั้นที่ไม่ชอบเขาเห็นพลังของประชาชน ผู้ที่มานั้นมีการเขียน ตะโกนคำขวัญ นอกจากนั้นทุกคนยังใส่ที่คาดหัวที่พิมพ์ว่า "พวกเรารักนายก"

ในคืนเดียวกันนั้น ท่ามกลางทะเลของเสียงโห่ร้องสนับสนุนทักษิณเดินออกมาที่ใจกลางสนามหลวง แสดงความเคารพผู้ที่มาสนับสนุนเขา พร้อมกับยื่นกิ่งมะกอกให้กับกลุ่มผู้คัดค้านเขา "พวกเราเคยเป็นเพื่อนกัน ผมยอมที่จะลืมสิ่งที่พวกคุณทำในอดีต หากมีความไม่พอใจอะไรเราควรจะนั่งลงคุยกัน ไม่ใช่มาปุกปั่นให้ประเทศชาติแตกแยก" พร้อมกันนั้นทักษิณก็ได้เสนอความคิด "รัฐบาลประชาชน" ยินยอมที่จะปล่อยวางการเป็นรัฐบาลพรรคเดียว และหวังที่จะจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยดึงเอาพรรคการเมืองอื่นมาร่วมในการจัดตั้งรัฐบาลที่จะมีขึ้นหลังการเลือกตั้ง

กลุ่มค้านทักษิณ เคลื่อนขบวนไปที่หน้าทำเนียบฯ
ทว่าการออมชอมทางการเมืองมักจะมาสายเกินไป กลุ่มคนที่คัดค้านทักษิณไม่ได้รู้สึกยินดียินร้ายอะไรทั้งสิ้น พวกเขายังวุ่นอยู่กับการจัดการชุมนนุมเดินประท้วงครั้งต่อไป เช้ามืดวันที่ 14 มี.ค. มีผู้คนที่ตื่นเช้ากว่า 3 -4 แสนคนมารวมตัวกันที่ลานหน้าพระบรมมหาราชวัง(สนามหลวง) คนกลุ่มนี้มีทั้งนักศึกษา กรรมกร ปัญญาชน ผู้ต่อต้านโลกาภิวัฒน์ และแม่บ้าน ในตอนแรก ทุกคนตั้งใจฟังปราศัยโจมตีรัฐบาล หลังจากนั้นการแสดงก็เริ่มขึ้น มีบางคนเริ่มเต้น บางคนร้องเพลง บางคนแสดงละครเสียดสีการเมืองระบอบทักษิณ-ชนิดของการแสดงนั้นหลากหลายมาก เมื่อทุกการแสดงจบลงก็จะได้ยินเสียงหัวเราะเยาะ เสียงก่นด่า เสียงผิวปาก... และ"ทักษิณ…ออกไป" เมื่อผู้คนในลานมารวมตัวกันมากขึ้น ขบวนเดินประท้วงที่ประกอบด้วยคน 1 แสนคน (บ้างก็บอกว่า 7 หมื่นคน แต่ว่า Associated Press รายงานว่ามี 1 แสนคน) ก็เริ่มเคลื่อนขบวนไปที่ทำเนียบรัฐบาลที่อยู่ห่างออกไป 2 กิโลเมตร ซึ่งเมื่อพวกเขาเดินทางมาถึงหน้าทำเนียบฯ พวกเขาต้องการที่จะสร้างกำแพงมนุษย์ปิดล้อมไม่ให้ทักษิณสามารถเดินทางไปมาจากทำเนียบรัฐบาลได้

ผู้บัญชาการการเคลื่อนไหวครั้งนี้ก็คือ พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้เมื่อ 15 ปีก่อนเคยนำประชาชนออกมาต่อต้านรัฐบาลทหาร จากประสบการณ์ครั้งที่แล้ว ก่อนที่เขาจะเคลื่อนขบวน เขาตะโกนบอกกลุ่มชนว่า "ต้องอดทนรอให้ทักษิณออกจากตำแหน่ง ต้องใช้วิธีการที่ไม่รุนแรง ต้องยึดมั่นในเส้นทางสันติภาพ จนกระทั่งเราจะได้ชัยชนะ" ซึ่งในวันนั้น ขบวนผู้ประท้วงก็ปฏิบัติตัวอย่างมีเหตุมีผลและทำการประท้วงอย่างสงบ เห็นได้จากตลอดเส้นทางนอกจากบรรยากาศที่เคียดแค้นและเสียงตะโกนก่นด่าแล้ว ไม่ได้มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นเลย โดยที่สองข้างทางผู้คนก็มองผู้ประท้วงเดินผ่านไปอย่างเงียบเงียบ เมื่อกลุ่มผู้ประท้วงเดินทางถึงทำเนียบรัฐบาล ก็เริ่มทำการนั่งสมาธิบนท้องถนน การนั่งสมาธิประท้วงครั้งนี้ดำเนินไปเป็นเวลา 20 กว่าวัน--จนกระทั่งทักษิณลาออกจึงยุติลง ซึ่งระหว่างการนั่งสมาธิประท้วงนั้น มีบางคนเกิดเป็นลมเพราะว่าทนอากาศร้อนไม่ไหว

สื่อไทยรายงานว่า "ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ.2535) ประเทศไทยไม่เคยมีการประท้วงที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้มาก่อน" นอกจากนั้นแล้ว ขนาดของการประท้วงต่อต้านรัฐบาลก็ยิ่งใหญ่ชนิดไม่เคยมีมาก่อน เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ประท้วงที่หวังจะช่วยนายกฯ ที่ยังเดินทางอยู่บนถนนมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพฯ ในหลายสิบปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีนักการเมืองไทยคนไหนที่ตกอยู่ท่ามกลางความแตกแยกที่ยิ่งใหญ่บานปลายเท่านี้. ในบ้านความเห็นที่ไม่ตรงกันทำให้สมาชิกในครอบครัวมองกันดั่งศัตรู พนักงานขับรถแท๊กซี่ไล่ผู้โดยสารลงจากรถเพราะว่าความเห็นไม่ตรงกัน ประชาคมโลกไซเบอร์ก็ตอบโต้กันอย่างรุนแรงตาม web board ต่างๆ แม้กระทั่งนักเรียนประถมที่ "รักทักษิณ" กับ "โค่นทักษิณ" ก็ไม่ยอมมองหน้ากัน ประเทศทั้งประเทศตกอยู่ในภาวะที่สับสนและขัดแย้ง เผชิญหน้า ซึ่งความขัดแย้งนี้เป็นสิ่งซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทยเช่นกัน

คาราวานคนจนถึงสวนจตุจักร กรุงเทพฯ
วันที่ 18 มี.ค. บรรดาคนรากหญ้าซึ่งเป็นมิตรของนายกฯ เดินทางถึงเมืองหลวง พวกเขาจอดพาหนะต่างๆ ของเขาทิ้งไว้ในทุ่งที่ห่างจากกรุงเทพฯ 40 กิโลเมตร แล้วก็เดินเท้ากันเข้ากรุงเทพฯ ในช่วงเวลานั้น ก็มีผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ และผู้ขับรถแท็กซี่ กว่า 400 คนร่วมขบวน คนเหล่านี้กล่าวว่า นายกฯปราบปรามอาชญากรรมอย่างหนัก ทำให้ตำรวจที่คดโกงและกลุ่มอันธพาลไม่กล้าแบมือเรียกร้องค่าคุ้มครองจากเขา เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงต้องไปร่วมสนับสนุนนายกฯ ยามที่ทุกคนผ่านเลนส์ของนักข่าว พวกเขาก็จะชูสองนิ้ว (เมื่อปลายเดือน ก.พ. ที่ทักษิณประกาศเลือกตั้ง เบอร์ที่เขาจับได้ให้กับพรรคไทยรักไทยก็คือเบอร์ 2 ดังนั้นการชู 2 นิ้วก็เท่ากับเป็นการสนับสนุนพรรคไทยรักไทย, ซึ่งการชูนิ้ว 2 ยังหมายถึงชัยชนะ[victory]เช่นกัน) หลังจากเดินทางถึงกรุงเทพฯแล้ว กลุ่มคนเหล่านี้ก็ได้ตั้งชื่อกลุ่มตัวเองว่า "คาราวานคนจน" (ซึ่งสื่อก็เรียกคนเหล่านี้ว่ากระจัดกระจายดั่งทรายในกระบะ) ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ก็ได้ยึดเอาสวนจตุจักรเป็นที่ตั้งมั่น

วันที่สองที่กลุ่มคนนี้เข้ามา ก็ได้ทำการเผาหุ่นของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร และตัวแทนของชาวเมือง สาเหตุมาจากการที่คนกลุ่มนี้กล่าวหาว่า รัฐบาลกรุงเทพมหานคร พยายามขับไล่พวกเขาออกจากสวนจตุจักร โดยไม่มีการจัดหาน้ำกินมาให้ และจัดหาห้องน้ำเคลื่อนที่เพียง 2 ห้องมาให้พวกเขาใช้ สำหรับคนในเมืองแล้ว พวกเขามองว่าผู้สนับสนุนทักษิณไร้วัฒนธรรม "มีเงินจ่ายก็ทำ"(เป็นผู้รับจ้างมาประท้วง) นอกจากนั้นแล้ว"เศษเหล็ก"(รถเกษตรกรทุกประเภท)ของพวกเขาที่จอดอยู่ก็ขัดกับกฎจราจร ซึ่งสำหรับเรื่องเหล่านี้ เกษตรกรไม่ได้มีปฏิกริยาใดๆ พวกเขาก็ทำการก่อสร้างเวทีง่ายๆ แล้วเริ่มตอบโต้กลุ่มผู้คัดค้านรัฐบาลทักษิณ มีเกษตรกรรายหนึ่งที่ได้ฟังปราศัยของสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวอย่างโมโหว่า "ที่เขาพูดปาวปาวว่า พ่อแม่พี่น้อง พวกเรานี่แหละพ่อแม่พี่น้องตัวจริง"

กลุ่มผู้สนับสนุนชาวเกษตรกรนั้นไม่มีเครื่องแบบที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และไม่ค่อยถนัดในการปราศัย ยิ่งกว่านั้นพวกเขาไม่มีลวดลายเหมือนกับผู้ประท้วงที่ต้องการโค่นทักษิณ พวกเขาชอบจัดคอนเสิร์ต"เรารักทักษิณ" มีทั้งฝ่ายชายร้องเดี่ยว ชายหญิงร้องคู่ ใต้แสงไฟนีออน ทุกครั้งที่ร้องจบหนึ่งเพลงเหล่านักแสดงก็จะพนมมือแล้วก็ขอบคุณผู้ชมที่อยู่ในความมืดใต้เวที นอกจากนั้น ในบางโอกาสก็มีคนที่มีอารมณ์ร่วมถึงขั้นลุกขึ้นมาเต้นรำตามดนตรี เมื่อถึงยามดึกคนพวกนี้ก็ล้มตัวลงนอนบนพื้นหญ้าของสวนสาธารณะ

เมื่อถึงเวลาอรุณรุ่ง พวกเขาก็จะใช้น้ำจากก๊อกน้ำที่ใช้รดน้ำต้นไม้ล้างหน้า สีฟัน อย่างง่ายๆ แล้วก็นั่งใต้แสงแดดที่ร้อนแผดเผาไปตลอดวัน-พวกที่ประท้วงคัดค้านทักษิณเช่นกันก็นั่งอยู่ตาม 2 ข้างถนนเส้นที่ทอดผ่านข้างทำเนียบฯ ช่วงกลางวัน และตอนค่ำ คนที่รับผิดชอบด้านอาหารการกินก็จะทำการแจกจ่ายอาหาร. ชาวเกษตรกรไม่เหมือนชาวเมืองที่ไม่ว่าอะไรนิดอะไรหน่อยก็ออกมาเดินขบวนประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรม นอกจากนั้นพวกเขาก็ไม่ได้ไปเผชิญหน้ากับผู้คัดค้านทักษิณฯ ที่สวนลุมพินี หรือที่สนามหลวง. เกษตรกรส่วนมากใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในสวนจตุจักร โดยที่ผู้โดยสารรถยนต์ชาวกรุงในบางโอกาสก็จะมองลงมาจากสะพานต่างระดับ ผู้ชุมนุมชาวเกษตรกรยืนยันว่า พวกเขาจะอยู่ในกรุงเทพฯ จนกระทั่งวันเลือกตั้ง วันที่ 2 เม.ย. โดยกล่าวว่า "เกษตรกรที่ตกทุกข์ได้ยากจะสนับสนุนนายกฯ ตลอดไป โดยพวกเราพร้อมรับบัญชาจากนายกฯ"

วันเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549
วันที่ 2 เมษายน วันเลือกตั้ง ผู้สื่อข่าวต่างชาติกว่า 100 คนได้พบกับฉากที่ชวนให้ตื้นตันใจในโรงเรียนประถมที่ตั้งอยู่บนด้านซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะว่า ณ โรงเรียนประถมแห่งนี้ ทักษิณผู้ที่ถูกการประท้วงเคี่ยวกรำมาอย่างยาวนาน จะมาทำการลงคะแนนเสียงในฐานะประชาชนธรรมดาคนหนึ่งที่หน่วยเลือกตั้งดังกล่าว ซึ่งตั้งแต่เช้ามืดนักข่าวที่มาจากนานาชาติก็ได้เดินทางมาล้อมโรงเรียนประถมแห่งนี้เพื่อเตรียมทำข่าว พอถึงเวลา 9.25 น. ทักษิณก็ได้พาลูกชาย, รปภ. และลูกน้องของเขามาลงคะแนนเสียง ทักษิณใส่เสื้อสีฟ้า ไม่ได้กลัดกระดุมบน 2 เม็ดอย่างที่เขาทำมาโดยตลอด ท่ามกลางห่าคำถามของนักข่าว ทักษิณเพียงพูด 1 ประโยค "ขอให้ประชาชนเป็นคนตัดสินใจ...เวลาของการทำตามขบวนการทางกฎหมายมาถึงแล้ว" แล้วเขาก็ยกนิ้วชี้ขึ้นมาแล้วก็ทำท่า "จุ๊จุ๊" หลังลงคะแนนเสียงแล้วทักษิณก็ขึ้นรถเบนซ์ S600 แล้วก็บึ่งออกไป

คำพูดและการกระทำของทักษิณทำให้เหล่านักข่าวผิดหวัง แต่เหล่านักข่าวก็ผิดหวังได้ไม่นาน เพราะว่ามีผู้หญิงกลางคนคนหนึ่ง หลังจากลงคะแนนเสียงแล้วก็หยิบสมุดเนื้อเพลงออกมา 1 เล่ม แล้วก็เริ่มร้องเพลงอย่างไม่สนใจ เพลงที่ผู้หญิงคนนี้ร้องเป็นเพลงประกอบละครทีวีดังในช่วงเวลานั้น "แดจังกึม" โดยเพลงชื่อว่า "ความหวัง" โดยเนื้อเพลงมีอยู่ว่า

มองว่าวล่องลอยไปไกลแสนไกล แต่เส้นด้ายก็ยังไม่ขาดสะบั้นลง
มองชีวิตเสมือนถนนยาวหมื่นลี้ที่คดเคี้ยว และทอดยาวสุดลูกหูลูกตา
มองการก้าวเดินของความเสียสละที่ทำให้อบอุ่น
ความรักที่อบอุ่นคอยเฝ้าระลึกถึงรอยยิ้ม...

ผู้หญิงคนนั้นพูดว่า "พวกคนไม่สังเกตหรือ แค่ไม่กี่เดือนนายกฯ แก่ไปเยอะ คงเป็นเพราะถูกความขัดแย้งทางการเมืองเล่นงานเอา ฉันอยากจะบอกให้ท่านยึดมั่นและแน่นหนักโดยไม่ลดละ เหมือนกับตัวแสดงหลักในเพลง "ความหวัง" ความมานะเท่านั้นที่จะนำมาซึ่งชัยชนะ ฉันลงคะแนนให้เขา 1 คะแนนและส่งความหวังอีก 1 ความหวัง"

แม้ว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย. จะมีผู้คนไม่ไปใช้สิทธิ์สูงถึง 10 ล้านคน แต่ว่าทักษิณและพรรคไทยรักไทยของเขาก็ยังมีผู้ที่สนับสนุนถึง 16 ล้านเสียง และได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนร้อยละ 57 นอกจากจังหวัดทางภาคใต้แล้ว พรรคไทยรักไทยได้เสียงสนับสนุนร้อยละ 70 จากประชาชนในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้จากการเลือกตั้งในครั้งนั้น ส.ส. สังกัดพรรคไทยรักไทยกว่า 200 คนได้รับเลือกตั้ง แม้แต่ในกรุงเทพฯ ที่มีการประท้วงขับไล่ทักษิณอย่างต่อเนื่อง กว่าร้อยละ 40 ของคนกรุงเทพฯ ก็ลงคะแนนเสียงให้พรรคไทยรักไทย

นี่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำไมทักษิณกล้าที่จะออกมาต่อต้านผู้ที่ขับไล่เขาและรัฐบาลของเขา และสาเหตุที่เขาไม่ยอมที่จะลาออกจากตำแหน่ง และนี่ก็คือสาเหตุที่ทำไมแม้ว่าเขาจะลาออกแล้วหลังการเลือกตั้งเขากลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีและทำการบริหารประเทศอีกครั้ง นอกจากนั้นแล้ว ความเชื่อมั่นที่เขามี ทำให้ภายหลังการเลือกตั้งทักษิณสามารถมีเวลาคิดว่าจะยอมรับตำแหน่งนายกฯ หรือไม่ และสาเหตุที่ทำให้เขาและคนสนิทของเขาเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ว่าการรัฐประหารจะไม่มีวันประสบความสำเร็จ แม้ว่าพวกเขาจะทราบข่าวว่าการทำรัฐประหารของทหารได้เริ่มขึ้นแล้ว

ตอนที่ 4
นโยบายทางเศรษฐกิจที่ให้ผลประโยชน์ต่อคนจน
ทักษิณ ชินวัตร นับว่าเป็นนายกฯที่ได้รับการยกย่องจากกลุ่ม"รากหญ้า" (คนจนพูดว่าเขาเป็น"นายกฯ คนเดียวที่มาพูดคุยกับเราในกระต๊อบของเรา") เขาเป็นนายกฯ ที่นำเอาการ "ช่วยเหลือเกษตรกร"เป็นอุดมการณ์ของตนในการเป็น"นายกฯนักปฏิรูป" นอกจากนั้น เขายังเป็นนายกฯ ที่นำเอกการ"ขจัดความยากจน"มาเป็นนโยบายในการบริหารประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงเป็น"นายกฯในฝัน" ภายหลังที่เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง เขาได้ผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจที่ให้ผลประโยชน์ต่อเกษตรกรและคนจน ซึ่งนี่เป็นเพียงเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย แม้แต่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ก็ยากที่มีอะไรเช่นนี้เกิดขึ้น

ทักษิณเคยพูดไว้ในปี ค.ศ. 1998 (พ.ศ.2541) ตอนที่ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยว่า "ปัญหาใหญ่ที่สุดของประเทศไทยคือความจนทั่วหน้า" นี่คือข้อสรุปทีเขาได้จากการลงพื้นที่ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วประเทศ ปีแล้วปีเล่า การแก้ปัญหาความยากจนเป็นเหมือนกับฝีหนองที่คอยทรมานประเทศ. ในประชากร 63 ล้านคน มีอยู่เกือบ 10 ล้านคนที่อยู่ในเกณฑ์ยากจน ประชากรกว่าร้อยละ 80 ใช้ชีวิตอยู่ในชนบท ความแตกต่างทางรายได้ระหว่างเมืองและชนบทอยู่ที่ 4 เท่า ซึ่งทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความแตกต่างทางรายได้มากที่สุดในโลก

ในหมู่บ้านบางหมู่บ้านในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีเกษตรกรบางคนที่มีรายได้ไม่ถึง 30 เหรียญสหรัฐต่อปี (ประมาณ 240 หยวนจีน - 1200 บาท) มีบางคนที่มีรายได้ไม่ถึง 30 บาทต่อวัน (ประมาณ 6 หยวนจีน) หรือเทียบเท่ากับค่าก๋วยเตี๋ยว 1 ชาม ทักษิณกล่าวว่า "ความยากจนเปรียบเสมือนสภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของคนบกพร่อง หากสภาวะความเป็นอยู่ของผู้ยากไร้ไม่ดีขึ้นแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันของสังคมก็จะเกิดปัญหา โรคร้ายหรือสิ่งร้ายต่างๆ ก็จะบุกรุกเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติด การโกงกิน การศึกษาไม่ทั่วถึง ฯลฯ" (3)
(3) หลิวจื่อเจี๋ย "ชีวประวัติทักษิณนายกรัฐมนตรีไทย" ซื่อเจี้ยจือชื่อชูป่านเซ่อ (สำนักพิมพ์ความรู้ของโลก) ปี ค.ศ. 2005 หน้า 108

ซึ่งสาเหตุของความยากจน ทักษิณเชื่อว่าเป็นปัญหาด้านการบริหารของรัฐบาล "ปัญหาคนจนแก้เท่าไหร่ก็แก้ไม่สำเร็จ เพราะการเมืองเป็นกิจการที่ต้องใช้เงิน เมื่อนักการเมืองได้รับเลือกตั้งเขาก็มีภาระอันหนักอึ้ง 2 อย่าง

- อย่างแรก คือต้องหาวิธีให้ทำอย่างไรก็ได้ให้เขาสามารถเรียกคืนเงินทุนที่เขาใช้ไปในการเลือกตั้ง
- อย่างที่สอง คือเตรียมเงินทุนสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป

เพียงแค่นี้นักการเมืองก็ยุ่งพอแล้ว มีเวลาที่ไหนคิดถึงพวกคนจน?" (4) โดยเหตุนี้ ในการบริหารประเทศ ทักษิณเชื่อว่าต้องเริ่มที่การแก้ปัญหา"ความยากจน" เพราะว่า "หากเราไม่ทำการเปลี่ยนวิธีการคิด ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเป็นอย่างเดิม ตื่นเช้าขึ้นมาเราก็ทำงานเหมือนกับที่เราทำเมื่อวาน หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ก่อนที่ปัญหาเก่าจะได้รับการแก้ไข ปัญหาใหม่ก็จะเกิดขึ้น" (5)
(4) เล่มเดียวกัน หน้า 120
(5) เล่มเดียวกัน หน้า 109


คำบอกเล่าของทักษิณ
การที่เราทำสิ่งนี้ให้กับประชาชนนั้นไม่พอ เพราะว่ามีเรื่องอีกหลายอย่างที่เราทำสายเกินไปแล้ว พวกเราต้องทำมากกว่านี้ เราต้องปรับโครงสร้างหนี้ของคนเหล่านี้ ทำให้คนเหล่านี้สามารถมีเงินไปสร้างบ้าน หางานการทำ นอกจากนั้น เรายังจำเป็นต้องช่วยเหลือปรับปรุงโครงสร้างผลิตภัณฑ์ของเขา มีมาตรการทางการตลาดรองรับและช่วยเหลือพวกเขา ทางด้านนี้เราจำเป็นที่จะต้องทำในมิติมหภาค หากประชาชนมีความมั่นคง ประเทศชาติก็จะเข้มแข็ง เปรียบได้กับการที่เรายืนอยู่บนโต๊ะ หากเรายกโต๊ะขึ้นเราก็จะสูงขึ้นด้วย เพราะว่าพวกเราทุกคน ไม่ว่าหน่วยงานรัฐบาล พ่อค้านักธุรกิจ รวมถึงประเทศไทยล้วนยืนอยู่บนพื้นฐานซึ่งก็คือประชาชนคนธรรมดา ดังนั้นหากเราสามารถยกระดับประชาชนให้สูงขึ้นได้ ทุกคนก็จะสูงขึ้นด้วย นี่คือปรัชญา นี่คือแนวทางความคิดพื้นฐานของผม

ทักษิณได้ตั้งเข็มทิศทางการเมืองของพรรคไทยรักไทยว่า "ขจัดความจน เป็นตัวแทนของรากหญ้า" หลังจากนั้น 2 ปี เขาก็นำพรรคไทยรักไทยลงสมัครเลือกตั้ง คำขวัญของพรรคที่ใช้ในการเลือกตั้งคือ "คิดใหม่ ทำใหม่" เขาสัญญาว่า หากพรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้งให้เป็นพรรครัฐบาล แนวทางในการบริหารประเทศคือ "ยึดเอาเกษตรกรรมพื้นฐาน" คืนประโยชน์ให้กับประชาชน นโยบายจะมุ่งเน้นไปในการแก้ปัญหาให้กับผู้คนในชนบท และผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในเมืองใหญ่. นโยบายพรรคไทยรักไทยได้รับความตอบรับอย่างดีจากคนยากคนจนในชนบท ทำให้พรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งครั้งนั้น ได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยในการเลือกตั้ง ทำให้ทักษิณที่อายุเพียง 52 ปีเดินขึ้นส่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

"การขจัดความยากจน"กลายเป็นภาระกิจแรกของรัฐบาลใหม่ ทักษิณได้ประกาศว่าในระยะเวลา 2 สมัย หรือ 8 ปี จะแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศให้อย่างสิ้นซาก สำหรับวิธีการนั้น สิ่งแรกคือจะต้องเตรียมพร้อมทุนและโอกาสให้กับคนจนพลิกฟื้นโชคชะตาของตน "ขอเพียงให้โอกาสพวกเขา ปลดปล่อยศักยภาพของพวกเขา ก็สามารถแก้ไขรากฐานปัญหาความยากจน ส่งผลให้มวลชนสามารถพึ่งพาตัวเองในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของตัวเองได้" หน้าที่ของรัฐบาลคือ คอยให้โอกาสที่เหมาะสมและเงินทุนเริ่มต้นก็เพียงพอแล้ว

คำบอกเล่าของทักษิณ
ผมคิดว่าปัญหาพื้นฐานของประเทศไทยคือความยากจน แต่ว่าทำไมคนเหล่านี้ถึงยากจน หรือว่าเป็นเพราะการศึกษาไม่พอ? ไม่มีโอกาส? เข้าไม่ถึงข่าวสารหรือขาดแคลนเงินทุน? ต่อมาผมพบว่า เงินทุนนั้นเป็นปัญหาสำคัญ ผมมีเพื่อนสมัยประถมที่ขับรถแท๊กซี่ที่บ้านเดิมของผม แต่ว่าเมื่อตอนผมและเขายังเป็นเด็กนักเรียนอยู่ ไม่ว่าจะคิดอย่างไรก็คิดไม่ถึงว่าเขาในอนาคตจะกลายเป็นคนขับรถแท๊กซี่ นี่เป็นเพราะเขาไม่มีเงินทุน และไม่ได้รับการศึกษาทีดีนัก ทำให้ลูกต้องตามรอยเท้าของพ่อ และยากที่จะหลุดพ้นจากชะตาของคนรุ่นพ่อ เพราะฉะนั้นผมเลยพยายามทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้คนจนยากจน ผมคิดว่าหากพวกเขามีโอกาสที่พอเพียง สามารถเข้าถึงข่าวสารข้อมูลสำคัญ มีหนทางเข้าถึงเงินทุน และได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น พวกเขาก็จะสามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้

ตอนที่ 5
จากนโยบายแก้ปัญหาความยากจน สู่การปฏิบัติ
"โครงการกองทุนหมู่บ้านละล้าน" เป็นโครงการแรกของรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลกลางได้เทเม็ดเงิน 7-8 หมื่นล้านบาท เข้าไปในหมู่บ้าน 7-8 หมื่นหมู่บ้าน ทำให้โดยเฉลี่ยแล้วทุกหมู่บ้านจะได้รับเงิน 1ล้านบาท เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลกลาง ซึ่งเป็นเงินที่ชาวบ้านสามารถนำมาใช้ได้ในยามจำเป็น เกษตรกรสามารถไปกู้เงินออกมาจากกองทุนเพื่อนำไปใช้ในการแปรรูปผลผลิต หรือนำเงินไปใช้เป็นเงินทุนในการทำการค้าเล็กน้อยระหว่างที่ว่างเว้นจากการทำนาทำสวน หรือไม่ก็นำเงินไปซื้อวัตถุดิบ แล้วใช้ความสามารถของตนในการผลิตหัตถกรรมเพื่อนำไปขาย เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง

ในช่วงเวลาหนึ่ง หน้าประตูของคณะกรรมการบริหารหมู่บ้านมีชาวบ้านยืนยิ้มปริ่มต่อแถวกันยาวเหยียด เพื่อกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน ในอดีตเมื่อเกษตรกรไม่มีเงิน หากญาติสนิทมิตรสหายไม่ยื่นมือเข้ามาช่วย พวกเขาก็ต้องหันหน้าไปพึ่ง "เงินกู้นอกระบบ" ทำให้ธุรกิจ "เงินกู้นอกระบบ"เจริญรุ่งเรืองตามหมู่บ้านยากจนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งดอกเบี้ยของเงินกู้นอกระบบนั้นก็สูงอย่างน่าตกใจ มีตั้งแต่ 20 - 200 เปอร์เซนต์ แต่ว่าทำอย่างไรได้ นอกจากโดนเขาเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่มีทางสู้ เพราะว่าประตูธนาคารนั้นเปิดให้กับคนมีเงินเท่านั้น การกู้จำเป็นต้องมีสินทรัพย์มาจำนอง หากไม่มีทรัพย์สินและสินทรัพย์ หรือว่ามีเพียงกระต๊อบที่มีค่าไม่กี่บาท การกู้เงินก็เป็นสิ่งที่แม้เห็นอยู่ตรงหน้าแต่ก็ไกลเกินเอื้อม

ความยากจน เท่ากับ ความไม่ซื่อสัตย์ ?
คำสรรเสริญนายกฯคนใหม่ก็เริ่มดังขึ้นอย่างรวดเร็วตามชนบทของประเทศไทย เหล่าเกษตรกรคิดว่าทักษิณ "เป็นคนดีมาก" สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "เขาเชื่อมั่นในตัวพวกเรา" ในการอภิปรายนโยบายนี้ในรัฐสภา พรรคฝ่ายค้านประณามโครงการนี้ว่าจะส่งเสริม "พฤติกรรมสร้างหนี้ของคนจน" พอถึงเวลาคืนเงิน "เอาเงินนั้นไม่มี ถ้าเอามีแต่ชีวิตคืนให้" ซึ่งจะทำให้หนี้เสียในประเทศนั้นเพิ่มมากขึ้น. แต่ในทางกลับกันทักษิณเชื่อว่า แม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาหนี้เสีย ก็ต้องจัดหา"แหล่งเงินทุนที่สุจริตและเป็นธรรม"ให้กับผู้ยากไร้เหล่านี้ มองโดยรวมแล้ว นโยบายนี้มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย. 2 ปีให้หลัง สถิติก็เป็นตัวพิสูจน์ให้เห็นว่า พวกนักการเมืองที่เหมาเอาว่าความยากจนเท่ากับความไม่ซื่อสัตย์ เหมาเอาว่าคนจนเป็นคนหลอกลวงนั้นผิดอย่างสิ้นเชิง! เพราะว่ามีผลงานวิจัยทางสถิติชิ้นหนึ่งของหน่วยงานสถิติแห่งหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ในจำนวนเงินกู้กว่า 1หมื่นล้านมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่เป็นหนี้เสีย โดยที่เหลืออีกร้อยละ 97 มีการชำระเงินตามกำหนด

คำบอกเล่าของทักษิณ
ผมจัดสรรให้ทุกหมู่บ้านเงินทุนจำนวนหนึ่ง แม้ว่าจำนวนตัวเงินจะไม่มาก แต่ว่าเงินจำนวนนี้สามารถเป็นขุมทรัพย์น้อยๆ ของพวกเขา ที่พวกเขาสามารถนำไปใช้ตามที่พวกเขาเห็นสมควร ในการนำไปใช้เป็นเงินทุนเริ่มต้นสำหรับการพยายามดิ้นให้หลุดพ้นออกจากภาวะความจน ในอดีตเกษตรกรไม่รู้จักการไปขอเงินกู้จากธนาคาร ดังนั้นพวกเขาจึงต้องหันไปพึ่งเงินกู้นอกระบบ สิ่งที่ผมทำคืออัดฉีดเงินทุนให้หมู่บ้านเพื่อนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยชาวบ้านเป็นผู้บริหารเอง ซึ่งทุกหมู่บ้านจะต้องทำการคัดเลือกคณะกรรมการหมู่บ้าน 9 - 15 คน และคณะกรรมการนี้จะเป็นผู้บริหารการปล่อยกู้การนำเงินกู้ไปใช้ สาเหตุเพราะพวกเขาทราบดีว่า ใครทำอะไร ทำให้คนเหล่านี้ระมัดระวังในการปล่อยเงินกู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมากที่จะทำได้สำหรับธนาคารทั่วไป ดังนั้นคณะกรรมการหมู่บ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพียงแค่สำหรับการบริหารเงิน แต่ยังมีเรื่องอีกหลายอย่างที่พวกเขาต้องไปทำด้วย เช่นป้องกันการแพร่ระบาดเข้ามาในชุมชนของยาเสพติดเป็นต้น เมื่อหมู่บ้านเข้มแข็ง การบริหารประเทศก็จะเป็นเรื่องง่าย

มีอยู่ครั้งหนึ่งผมเดินทางไปดูตลาดสดของหมู่บ้าน มีชายคนหนึ่งเดินตรงเข้ามาหาผมแล้วพูดว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับประโยชน์จาก"โครงการกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้าน" ในอดีตเขาเป็นคนที่ยากจน ต้องพึ่งพาทำสวนทำนาหาเลี้ยงชีพ เขาต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา แต่เขาไม่เคยมีเงินทุนเริ่มต้นที่จะทำสิ่งนี้ หลังจากที่เขาได้รับเงินกู้ เขาก็เอาเงินไปซื้อเตาปิ้ง เนื้อแกะ เครื่องปรุง และเปิดร้านขายเนื้อย่างในตลาดสด เงินที่ได้จากการขายเนื้อย่างทุกวัน รวมแล้วมากกว่าเงินที่ได้จากการปลูกข้าวในอดีต เขาบอกว่าเขาต้องขอขอบคุณผมเป็นอย่างมาก ตัวอย่างแบบนี้ผมพบเห็นมานักต่อนักตามหมู่บ้านในชนบท

นโยบายพักชำระหนี้ให้เกษตรกร
ทักษิณยังเข็นนโยบาย "พักชำระหนี้ชั่วคราว 3 ปีและลดระดับหนี้" ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหายากจน เขาสั่งการให้กระทรวงมหาดไทยไปสำรวจทุกท้องที่ของประเทศ และจัดให้ผู้ยากไร้มาทำการขึ้นทะเบียน พร้อมอธิบายถึงสภาพหนี้สินของตน เพื่อดูว่าพวกเขาเป็นหนี้อยู่เท่าใด แหล่งหนี้มีอะไรบ้าง หลังจากนั้น จากความสามารถในการใช้หนี้ ขอให้หน่วยราชการท้องถิ่นยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือในการ ลด พัก หรือยกเลิกภาระหนี้สินของพวกเขา

1 เม.ย. 2544 หลังทักษิณเข้ารับตำแหน่งได้เพียง 2 เดือน เขาก็ประกาศว่าจากวันนี้ถึงวันที่ 31 มี.ค. 2547 ภายในระยะเวลาสามปี เกษตรกรที่มีภาระหนี้สินกับ ธกส. ไม่เกิน 1 แสนบาท ไม่จำเป็นต้องทำการจ่ายเงินชำระหนี้เป็นเวลา 3 ปี สิ่งนี้จะทำให้คนเหล่านี้มีเวลาเพียงพอในการสะสมเงินทุน ทำให้พวกเขาสามารถนำเงินทุนที่สะสมได้ไปใช้ในการฟื้นฟูและขยายการผลิต โดยที่เมื่อคนเหล่านี้มีรายได้แล้วค่อยเอาเงินมาคืนธนาคารก็ไม่สาย หลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลก็ได้ทำการปัดฝุ่นโครงการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหมู่บ้าน และการฝึกอบรมเทคโนโลยีใหม่ให้แก่ประชาชนที่หยุดไปหลายปี โดยมุ่งหวังว่าจะช่วยยกระดับความสามารถในการผลิต จากข้อมูลสถิติของธนาคารกสิกรไทย มีเกษตรกร 2 ล้าน 3 พันคน ที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้ โดยจำนวนหนี้ที่ถูกพักการจ่ายคืนอยู่ที่ 1แสนล้านบาท

สำหรับเกษตรกรแล้ว ทักษิณได้คิดหาทางลด และยกเลิกภาระหนี้ให้กับพวกเขา เขาสั่งการให้สหกรณ์การเกษตรเป็นตัวนำในการเจรจากับพวกผู้ประกอบการกิจการเงินกู้นอกระบบ ให้ธนาคารของรัฐซื้อหนี้เน่าทั้งหมด แล้วยกเลิกดอกเบี้ยของยอดเงินนั้นๆ โดยหากลูกหนี้มีสถานะทางเศรษฐกิจที่ยากไร้มาก ถึงขั้นที่ไม่สามารถจ่ายภาระดอกเบี้ยได้ สามารถทำการลดภาระหนี้ของคนเหล่านี้ให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของยอด โดยมีเวลา 20 ปีในการผ่อนชำระ จากสถิติมีผู้ยากไร้ 1,300,000 คน ได้รับการลด ยกเลิกหนี้ โดยคิดเป็นหนี้จำนวน 42,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลทำการรับผิดชอบภาระเงินจำนวนดังกล่าว

คำบอกเล่าของทักษิณ
ทุกครั้งที่ผมคิดว่าเราจะสามารถให้ความช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างไร ผมก็คิดถึงว่ายอดรวมของหนี้พวกเขามีอยู่เท่าใด และประเทศสามารถรับรองภาระดอกเบี้ยได้เท่าไร นอกจากนี้ หากพักการคืนหนี้เกษตรกรจะต้องใช้ระยะเวลานานเท่าใด พวกเขาถึงจะสามารถฟื้นฟูการผลิตของพวกเขาได้ สภาพปัจจุบันของเกษตรกรไทยเหมือนกับคนไข้ที่ถูกทับโดยก้อนหินใหญ่ สิ่งที่พวกเขาต้องทำคือช่วยพวกเขายกก้อนหินออกไป หลังจากนั้นต้องช่วยทำการฟื้นฟูสุขภาพให้กับพวกเขาด้วย หากเปรียบกับจำนวนเงินที่ถูกใช้ไปในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ความจริงแล้วจำนวนเงินที่รัฐบาลนำไปใช้จ่ายกับผู้ยากไร้นั้นไม่มากเลย ในช่วงเวลานั้น เพื่อปกป้องค่าเงินบาท ปกป้องไม่ให้บริษัทล้มละลาย และปกป้องชื่อเสียงของประเทศ พวกเราต้องเสียหายไป 1.3 ล้านล้านบาท แต่ว่าในวันนี้จำนวนเงินที่เราจะใช้ในการช่วยเหลือเกษตรกรส่วนใหญ่ของไทยใช้เงินแค่ 2 แสนล้านบาท หากคิดดูแล้วมันเป็นเงินจำนวนไม่เท่าไหร่เลย

นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค
2 นโยบาย(หมู่บ้านละล้าน และการพักชำระหนี้)ที่ล้วนมุ่งให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุน ทำให้คนจนมีโอกาสก่อร่างสร้างตัว ทว่า "ความยากจนเพราะการเจ็บป่วย" ก็เป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในชนบทของไทย ในหลายๆ โอกาสการเจ็บป่วย ในหลายต่อหลายครั้ง การเจ็บป่วยอย่างกะทันหัน ก็สามารถลากครอบครัวที่มีฐานะดีลงสู่ห้วงเหวแห่งความยากจนได้ ดังนั้นนโยบายที่ 3 ของทักษิณ "30 บาทรักษาทุกโรค" - นโยบายก็ส่งผลให้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสังคม ในประเทศไทย ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจนั้นมีประกันสุขภาพ และประชาชนที่ยากจนก็ได้รับประกันสังคม "โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค" ในความเป็นจริงแล้วเป็นการซื้อประกันสุขภาพให้กับผู้ยากไร้ทั้งหมด รัฐบาลจัดสรรเงิน 1,308 บาทต่อคนให้กับคนไทยทุกคน และประชาชนเพียงจำเป็นต้องจ่ายเงินเพียง 30 บาท (เทียบเท่า 6 หยวนจีน) ก็สามารถมีสิทธิ์รับการรักษาโรคต่าง ๆ รวมทั้งโรคร้ายแรง เช่นโรคหัวใจ ฯลฯ จากโรงพยาบาลของรัฐ โดยที่ค่าใช้จ่ายที่เหลือรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบ

ในการนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติในระยะแรก โรงพยาบาลต่างๆ ของรัฐล้วนประสบปัญหาคนไข้ล้นโรงพยาบาล แผนกคนไข้นอกมีคนไข้มาใช้บริการเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ตารางคิวผ่าตัดของหมอผ่าตัดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาอันสั้น สำหรับคนไข้ที่ไม่สามาถหาเงินมาจ่ายค่าผ่าตัดแล้วจำเป็นต้องเลื่อนการผ่าตัดออกไป ตอนนี้พวกเขาสามารถใช้บริการนี้ด้วยค่าใช้จ่ายที่แสนถูกรักษาโรคของเขา ผลลัพธ์คือมีชีวิตไม่น้อยที่ได้รับการช่วยเหลือจากนโยบายนี้ นอกจากนั้น รัฐบาลยังเข็นนโยบาย "ประกันภัยเอื้ออาทร" ออกมาด้วย โดยกำหนดว่า ผู้ที่มีรายได้ต่ำขอเพียงจ่าย 365 บาทต่อปี (เทียบเท่า 73 หยวนจีน) ก็สามารถซื้อประกันชีวิต และประกันอุบัติเหตุ ซึ่งในกรณีที่ผู้ซื้อประกันเสียชีวิตหรือทุกพลภาพ ก็จะได้รับเบี้ยชดเชย 3 แสนบาท (เทียบเท่า 6 หมื่นหยวน)

ในโลกนี้ไม่มีประเทศใด-แม้แต่ประเทศทุนนิยมที่ร่ำรวยที่สุด หรือประเทศสังคมนิยม-กล้าที่จะนำมาตรการประกันสุขภาพสำหรับประชาชนที่ราคาถูกเท่านี้มาใช้ เพราะการทำเช่นนี้รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายซึ่งใหญ่หลวง แต่ว่าสำหรับทักษิณการที่เขากล้าทำสิ่งนี้ในประเทศที่ไม่ได้ร่ำรวยเช่นประเทศไทย ทำให้สื่อทั่วโลกในเวลานั้นทำการรายงานข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยบ้างเห็นด้วย บ้างไม่เห็นด้วย แต่ว่าปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผู้คนยอมรับความกล้าของทักษิณมากขึ้น

พรรคฝ่ายค้านทำการอภิปรายเกี่ยวกับนโยบายนี้ในรัฐสภาอย่างเผ็ดร้อน ฝ่ายค้านพูดว่านโยบายที่มโหฬารจะดึงประเทศชาติลงไปในโคลนตม อ้างถึงสถิติรัฐบาลไทย ระหว่างปี 2544 - 2546 รัฐบาลใช้เงินไปกับโครงการรักษาพยาบาล 54,100 ล้านบาท และในปี 2547 รัฐบาลใช้เงินไป 60,900 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีช่องว่างทางงบประมาณที่รัฐบาลจะต้องเข้าไปเติมเต็ม เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างทำการแสดงความไม่พอใจ เพราะปริมาณงานที่มากขึ้นของพวกเขานั้น เงินเดือนของพวกเขาแทบจะไม่มีการปรับปรุงขึ้นเลย นอกจากนั้นแล้วการที่รัฐบาลจัดสรรเงินทุนไม่ได้ประสิทธิภาพ ทำให้ในหลายโอกาส โรงพยาบาลก็จำเป็นที่จะต้องควักเนื้อตัวเอง ต่อมาทักษิณก็ยอมรับว่าในช่วงเวลาที่วางแผนนโยบายนี้ซึ่งมีสีสรรความเป็นสังคมนิยมค่อนข้างมาก ยังขาดความเข้าใจในข้อจำกัดของความเป็นจริงและค่อนข้างอุดมการณ์เกินไป แต่ว่าไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า มีคนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ ทำให้พวกเขามีโอกาสเปลี่ยนแปลงชีวิตและโชคชะตาของตนเอง

คำบอกเล่าของทักษิณ
โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคเป็นนโยบายแรกในประวัติการณ์ของประเทศไทย มีประชาชนผู้ยากไร้ 18 ล้านคนได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้ ที่ผ่านมาผู้ยากไร้หลายต่อหลายคน รอเป็นปีก็ไม่สามารถไปโรงพยาบาลได้ เพราะพวกเขาไม่มีเงิน นอกจากนั้นเพราะความจนของเขา พวกเขาต้อง "ขอร้อง" ไม่ใช่ "ไปใช้" บริการการรักษาพยาบาล โครงการนี้ทำให้คนยากคนจนสามารถไปหาหมอ ได้รับความยุติธรรมในการบริการสุขภาพ และการรักษาพยาบาลที่ได้คุณภาพ ทำให้สุขภาพและชีวิตประจำวันของเขาดีขึ้น และศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของพวกเขาได้รับการปกป้อง

ในช่วงเวลาที่มีการประท้วงและโจมตีรัฐบาล มีชายคนหนึ่งวิ่งเข้ามาหาผม เขาแบะเสื้อของเขาออกและให้ผมดูรอยแผลเป็นบนหน้าอกของเขา รอยแผลเป็นใหญ่และยาวมาก เห็นได้ว่าเป็นแผลจากการผ่าตัดหัวใจ เขาพูดว่า " หลังท่านผลักดันนโยบายประกันสุขภาพ ผมถึงมีโอกาสใช้ 30 บาทในการผ่าตัดหัวใจ ซึ่งก่อนการผ่าตัดผมเป็นคนร่างกายอ่อนแอไม่สามารถทำงานได้ แต่หลังการผ่าตัดผมสามารถทำงานเลี้ยงครอบครัวได้ ตอนนี้ลูกสาวผมเรียนจบปริญญาตรีและมีงานทำ ผมมีความสุขมาก ไม่มีสิ่งใดให้ผมห่วงอีกแล้ว ชีวิตผมสำหรับคนอื่นไม่มีค่าแล้ว ผมไม่อยากมีชีวิตแล้ว ผมยอมที่จะทำทุกอย่างเพื่อคุณ ผมเกลียดคนที่ใส่ร้ายคุณ ผมเกลียดมัน

ตอนที่ 7
"OTOP" โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ และนโยบายแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน
โครงการที่โด่งดัง "1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ OTOP" เป็นโครงการที่ทักษิณเลียนแบบมาจากแนวทางปฏิบัติของญี่ปุ่น แผนของโครงการนี้คือสนับสนุนและผลักดันให้ทุกๆ หมู่บ้าน ใช้ความได้ได้เปรียบของแต่ละหมู่บ้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ 1 อย่างหรือมากกว่า 1 อย่างที่มีลักษณะพิเศษของแต่ละท้องถิ่น โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ช่วยเหลือด้านเงินทุน ความรู้ด้านเทคนิค การบริหารจัดการ การตลาด ฯลฯ

ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ทำการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้พวกเขายังสามารถขยายตลาดของตัวเองให้กว้างขึ้นได้ โดยการใช้ประโยชน์จากการค้าทางอินเตอร์เน็ต ในการนี้รัฐบาลได้ทำการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อทำการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ของธุรกิจหมู่บ้าน. จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นสามารถรับการสนับสนุนจากรัฐบาลในด้านการให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ เทคนิค บรรจุภัณฑ์ การตลาด ฯลฯ และสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี มีเอกลักษณ์โดดเด่นก็จะได้รับการคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการสนับสนุน ให้ทำการส่งออกไปขายในตลาดต่างประเทศต่อไป

ตามคำบอกเล่าประเทศไทยมีเหล้าผลไม้อยู่ชนิดหนึ่ง ที่ใช้ผลไม้เขตร้อนนำมาหมัก ซึ่งในอดีตมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ได้รับความนิยม แต่ว่าภายใต้การโจมตีและกระแสนิยมเบียร์และสุราต่างประเทศทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิยม ภายใต้การกระตุ้นของนโยบาย "OTOP" เทคนิคในการหมักและบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับความชมชอบในเทศกาลสุราสากล นับแต่นั้นมา การทำสุราหมักก็ฟื้นขึ้นมา และส่งออกไปขายยังต่างประเทศอีกด้วย

นี่ก็เป็นอีกนโยบายโอบอุ้มคนจนที่ประสบความสำเร็จที่สุด จากข้อมูลทางสถิติในปี 2544 ยอดขาย ผลิตภัณฑ์ OTOP อยู่ที่ 215 ล้านบาท หลังจากนั้น 1 ปียอดขายผลิตภัณฑ์ OTOP เท่ากับ 24,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 100 เท่าตัว ในปี 2546 ยอดเพิ่มขึ้นไปถึง 33,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้มาก

คำบอกเล่าของทักษิณ
มีหมูบ้านที่มีทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์มาก แต่ว่าชาวบ้านไม่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ที่มีอยู่ ทุกครั้งที่ฝนตกพวกเขาก็ต้องปวดหัว เพราะไม้ที่ไหลลงมาพร้อมกับน้ำมาทำให้แม่น้ำของหมู่บ้านอุดตัน หลังจากหน่วยงานของรัฐบาลทราบเรื่อง ก็ได้ทำการส่งเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคเข้าไปทำการสำรวจสภาพของท้องถิ่น และช่วยเหลือออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์และเป็นที่ต้องการของตลาด หลังจากนั้นไม้ที่ลอยลงมาพร้อมกับสายน้ำก็ได้รับการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ไม้ที่สวยงาม ทำให้รายได้ของชาวบ้านเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

ยังมีอีกหมู่บ้านหนึ่งที่ยากจนมาก ซึ่งความยากจนนี้เองที่ผลักดันให้หมู่บ้านนี้หันมาเป็นแหล่งผลิตอาวุธปืนผิดกฎหมาย พวกเราได้ส่งเจ้าหน้าที่เทคนิคเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวและสอนให้ชาวบ้านผลิตมีด ดาบ กรรไกรทำสวน ฯลฯ และด้วยมาตรฐานงานฝีมือที่สูง รัฐบาลจึงช่วยรับผิดชอบในการส่งผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านนี้ไปขายในต่างประเทศ

โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ นำมาซึ่งความหวังสำหรับเกษตรกรและช่วยยกระดับมาตรฐานชีวิตของประชาชน หากมองจากความสำคัญทางสังคม นโยบายนี้มีส่วนช่วยในการป้องกันไม่ให้ชาวชนบททะลักเข้าสู่เมืองใหญ่ เพื่อเสาะหางานทำ. นอกจากนี้รายได้ของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น แรงซื้อท้องถิ่นก็จะสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยฉุดเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นตามไปด้วย และเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการของเศรษฐกิจแบบยั่งยืน. เกษตรกรไทยคือรากฐานสำคัญของประเทศไทย การทำให้คุณภาพของพวกเขาดีขึ้น ก็เท่ากับการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับรากฐานทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ นี่คือสาเหตุว่า ทำไมรัฐบาลต้องการที่จะวางการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรเป็นนโยบายพื้นฐานของประเทศ

Thaksinomics และ นโยบายแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน
นอกจากนั้นแล้ว รัฐบาลทักษิณยังมีนโยบายแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นแนวทางให้ประชาชนสามารกเข้าถึงทุนที่พวกเขาสามารถนำไปใช้สอยทางธุรกิจได้ โครงการเอื้ออาทรต่างๆ เช่น "บ้านเอื้ออาทร", "คอมพิวเตอร์เอื้ออาทร", "รถแท๊กซี่เอื้ออาทร", โดยรัฐบาลจะสนับสนุนผู้ที่มีรายได้ต่ำ วัตถุดิบราคาถูกสำหรับนำไปใช้ในการผลิตเพื่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยการขยายการศึกษาในชนบท ให้เงินสนับสนุนทางการศึกษาสำหรับผู้ยากไร้ จัดหลักสูตรอบรมด้านเทคนิคการเกษตร ฯลฯ ซึ่งนโยบายและโครงการเหล่านี้ได้รับการเรียกว่า "Thaksinomics"

การพัฒนาเศรษฐกิจ สิ่งแรกที่ต้องทำคือเข้าไปจัดการกับสิ่งที่พื้นฐานที่สุดก่อน กล่าวคือ พัฒนาเศรษฐกิจชนบท โดยพึ่งพาการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเกษตรกร ฉุดความต้องการภายในประเทศ และผลักดันพัฒนาการของเศรษฐกิจของประเทศ จากสถิติ ช่วงเวลาที่ทักษิณบริหารประเทศ รายได้รวมของเกษตรกรเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 60 อัตราการว่างงานลดลงร้อยละ 1.5, GDP เติบโตร้อยละ 5 - 6 ต่อปี ซึ่งเป็นรองเพียงจีน และเป็นอันดับสองในเอเชีย

คำบอกเล่าของทักษิณ
ผมยังเคยพยายามนำเอาที่ดินที่รกร้างมาแบ่งให้กับเหล่าคนจน นี่เป็นแผนการปฏิรูปครั้งยิ่งใหญ่ พวกเรานำที่ดินที่รกร้างส่วนหนึ่งมาทำการจัดสรรใหม่ให้กับเจ้าของสวน / ชาวไร่รายย่อย บนที่ดินรกร้างมีต้นไม้อยู่ไม่น้อย แต่พวกเขาก็ไม่โค่นต้นไม้พวกนี้ทิ้ง พวกเขากลับทำการรักษาและบำรุงมัน แสดงให้เห็นว่า พวกเขาเหล่านี้ถือว่าที่ดินผืนนี้เป็นบ้านของพวกเขา ที่พวกเขาจะอยู่บนที่ตรงนี้อย่างสงบสุข ผมยังคิดจะสร้างระบบภาษีขึ้นมาชนิดหนึ่ง สำหรับเจ้าของที่ดินที่ทำการเพาะปลูกบนที่ดินของตนเอง อย่างเช่นว่าคุณมีที่ดินเยอะ ถ้าคุณใช้ที่ดินสำหรับการเพาะปลูก ใช้ที่ดินในการผลิตเพื่อการค้าขาย ไม่มีปัญหา แต่ทว่าหากคุณต้องการเก็งกำไรที่ดิน ขอโทษที ทุกปีคุณต้องจ่ายภาษีหนัก ซึ่งถ้าคุณไม่สามารถรับภาระตรงนี้ได้, ดีเลย ขอให้คุณขายที่ดินให้กับรัฐบาล เพื่อรัฐบาลจะนำที่ดินมาจัดสรรให้กับผู้ยากไร้

แผนการเหล่านี้ของผมมีสีสรรของความเป็นสังคมนิยมที่ค่อนข้างเข้มข้น หลายๆ อย่างจึงไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ผมอยากทำจริงๆ เพราะว่าเมื่อประชาชนเลือกคุณเข้ามาแล้ว คุณก็ต้องตอบแทนประชาชน คุณต้องสำนึกในบุญคุณของพวกเขา ถ้าหากคุณได้รับการแต่งตั้ง คุณก็เพียงต้องสำนึกในบุญคุณของบุคคลที่แต่งตั้งคุณเท่านั้น โดยคุณอาจเมินประโยชน์ของประชาชนและมองเอาว่า คนจนเป็นเพียงคนรับใช้ คนสวน คนขับรถ ฯลฯ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาเป็นประชาชนซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ ดังนั้นประชาชนนั่นแหละที่คนที่ผมจะบริการ

หากคุณเพียงแต่นั่งบนตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไปร่วมงานพิธีบ้าง ไปร่วมงานประชุมบ้าง ให้อาหารแก่ผู้ยากไร้ รับประกันพวกเขาไม่อดตาย แค่นี้ก็คงจะไม่เกิดความยุ่งยากที่จะตามมา. แน่นอนหากเป็นไปตามคำพูดนี้ ประชาชนก็คงจะไม่รักและเทิดทูนคุณ ซึ่งนี่ไม่ใช่ไสตล์ของผม

เศรษฐีร้อยล้านอย่างทักษิณได้รับการสนับสนุน และชื่อเสียงอย่างมากในพื้นที่ชนบท ได้รับการสนับสนุนมากกว่านักการเมืองทุกคนในประวัติศาสตร์ไทย เกษตรกรเรียกเขาอย่างสนิทสนมว่า "นายกฯ ของเรา" ทุกครั้งที่เขาไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ชนบทหรือชุมชนยากจน เขาก็มักจะได้รับการต้อนรับที่อบอุ่น ทุกครั้งที่เขายืนปราศัยในชนบท ใต้เวทีก็จะส่งเสียงสนับสนุนอย่างอื้ออึง เขามักจะกินอยู่กับประชาชน นอกจากนั้นเขายังมักจะควักกระเป๋าตัวเองแล้วเอาเงินเป็นพันยัดใส่มือของผู้ยากไร้ สำหรับเกษตรกรขอเพียงพวกเขาเห็นนายกฯ เดินสำรวจตามถนนของหมู่บ้าน พวกเขาก็จะวิ่งเข้าไปห้อมล้อมเขา มอบดอกไม้ให้เขา เข้าไปโอบกอดเขา แม้กระทั่งวิ่งเข้าไปกอดเขาแล้วร้องไห้ออกมา

นายกฯ ไม่เป็นเพียงบุคคลทางการเมือง เขายังเป็น "ขวัญใจประชาชน" "วีรบุรุษของเกษตรกร" "พ่อพระของผู้ยากไร้" จนทำให้พรรคฝ่ายค้านรู้สึกไม่ค่อยสบายใจเท่าใดนัก พวกเขาบอกว่า นโยบายเอื้ออาทรของทักษิณนั้น short sighted (สายตาสั้น) และทำให้ประเทศชาติเสียผลประโยชน์ ซึ่งจากนโยบายดังกล่าวเขาได้สร้างตัวเขาขึ้นมาเป็น "พ่อพระของผู้ยากไร้" เพื่อเรียกร้องเสียงสนับสนุนของประชาชน ซึ่งสิ่งที่เขาทำนั้นใช้เงินของประเทศชาติมาหาเสียงให้กับตัวเอง

ทักษิณนั้นกล่าวว่า จุดประสงค์ของสิ่งที่เขาทำคือ "ช่วยเหลือคนจน" มันเป็นเพียงสิ่งที่เด็กที่โตขึ้นมาในชนบท เมื่อได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว จากความทรงจำที่ลึกซึ้งของเขาเกี่ยวกับความขมขื่นของประชาชน พยายามเท่าที่เขาจะทำได้เปลี่ยนแปลงโชคชะตาของผู้ยากไร้เท่านั้นเอง ในความปรารถนาที่ไม่มีสิ่งใดแอบแฝงอยู่ และไม่มีความคิดที่จะใช้นโยบาย "ทำทาน" หรือ "หลอกใช้" มันเป็นเพียงสิ่งที่บังเกิดจากมโนธรรมของนักการเมืองที่มีความรับผิดชอบ

คำบอกเล่าของทักษิณ
ผมไม่ใช่นักการเมืองที่ไม่ยอมเข้าใกล้หรือไม่ยอมคลุกคลีกับคนจน ตั้งแต่ชีวิตวัยเด็กของผมในชนบท ผมก็มักมองพ่อผมทำงานเกษตร มองเกษตรกรมาทำงานที่บ้านผม ผมคิดว่าผมกับพวกเขาเหมือนกัน เพียงแต่ว่าผมเพียงแค่ประสบความสำเร็จมากกว่าพวกเขาเพียงนิดหน่อยเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นผมจึงจำเป็นต้องตอบแทนพวกเขา

ตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเกษตรกรชาวไทย พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมมาเป็นเวลานาน ในช่วงเวลาที่ผมบริหารประเทศ ผมได้พยายามช่วยเหลือพวกเขา ยกระดับรายได้พวกเขา ทำให้พวกเขาเห็นความหวัง. แต่ว่าปัจจุบันทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเลวร้ายลง นโยบายหลายอย่างไม่ได้รับความนิยม เพราะรัฐบาลไม่ได้รับการสนับสนุนที่พอเพียง นอกจากนั้น ปัญหาก็เกิดขึ้นอีกเพราะ ยังมีอีกหลายคนที่ไม่เข้าใจนโยบาย

สนใจคลิกไปอ่านต่อบทที่ ๔

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73