โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา


Update: 18 Febuary 2007
Copyleft2007
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of this license
document, but changing it is not allowed.
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๑๖๓ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๐ (January, 18,02.2007)
R

ขบวนการภาคประชาชนชายขอบในลาตินอเมริกา
เมื่อซาปาติสตาตั้งคำถาม: โลกใบนี้ใหญ่แค่ไหน?
สมเกียรติ ตั้งนโม และ ภัควดี วีระภาสพงษ์
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนรวบรวม

บทความวิชาการนี้ ประกอบด้วยบทความ 3 ชิ้นคือ
1. กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติซาปาติสตา - สมเกียรติ ตั้งนโม
2. Zapatista Army of National Liberation - wikipedia
3. โลกใบนี้ใหญ่แค่ไหน? - ภัควดี วีระภาสพงษ์
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำความรู้จักขบวนการซาปาติสตาโดยสังเขป
เริ่มต้นด้วยการแนะนำความเป็นมาเกี่ยวกับขบวนการดังกล่าว ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ในส่วนถัดมาเป็นข้อเขียนของรองผู้บัญชาการมากอส อันเป็นกระบอกเสียงของ
ขบวนการซาปาติสตา ซึ่งได้ถูกตั้งคำถามว่า "โลกใบนี้ใหญ่แค่ไหน?"
ซึ่งเขาได้เพียรหาคำตอบจากชนพื้นเมืองชาวมายัน และจากสำนึกของเขาเอง
ต่อคำถามข้างต้นเอาไว้อย่างน่าสนใจ
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๖๓
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

เมื่อซาปาติสตาตั้งคำถาม: โลกใบนี้ใหญ่แค่ไหน?

1. กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติซาปาติสตา
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง

กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติซาปาติสตา (Zapatista Army of National Liberation (Ejrcito Zapatista de Liberacin Nacional)(EZLN) คือกลุ่มกองกำลังติดอาวุธซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ในเชียปาส หนึ่งในรัฐที่ยากจนมากสุดของเม็กซิโก พื้นฐานทางสังคมส่วนใหญ่ของผู้คนในรัฐนี้เป็นคนพื้นเมือง แต่พวกเขามีผู้คนซึ่งให้การสนับสนุนอยู่ในเขตเมืองเช่นเดียวกับเครือข่ายการสนับสนุนจากนานาชาติ สุ้มเสียงที่ปรากฏออกมาส่วนใหญ่ของพวกเขา ผ่านออกมาจากปากของรองผู้บัญชาการมากอส (Subcomandante Marcos) (currently a.k.a. Delegate Zero in relation to the "Other Campaign") ซึ่งไม่ใช่ผู้นำของพวกเขา. เชื้อสายของรองผู้บัญชาการมากอสไม่เหมือนกับบรรดาผู้บัญชาการกองกำลังซาปาติสตา นั่นคือ เขาไม่ใช่ชาวมายันพื้นเมือง

กลุ่มกองกำลังดังกล่าวได้ชื่อของตนมาจากนักปฏิวัติชาวเม็กซิกัน Emiliano Zapata; พวกเขามองตัวเองในฐานะผู้สืบทอดอุดมการณ์การปฏิวัติ และทายาทแห่งการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมของท้องถิ่นที่สืบทอดกันมากว่า 500 ปี. บางคนมองขบวนการเคลื่อนไหวซาปาติสตาว่าเป็น"การปฏิวัติหลังสมัยใหม่เป็นครั้งแรก"(the first "post-modern" revolution): ขบวนการติดอาวุธ กระนั้นก็เป็นกลุ่มปฏิวัติที่หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง (แม้กระทั่งการกบฎในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990s) ซึ่งได้รวมเทคโนโลยีสมัยใหม่และอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้เป็นช่องทางการได้รับความสนับสนุนต่างๆ จากภายในและภายนอกประเทศ. พวกเขาพิจารณาตนเองเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงโลกาภิวัตน์ที่กว้างขวาง, ขบวนการสังคมที่ต่อต้านแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่

แนวคิดและอุดมการณ์ (Ideology)
กองทัพซาปาติสตาเพื่อการปลดปล่อยประชาชาติ (The EZLN) ต่อต้านและแสดงการคัดค้านบรรษัทโลกาภิวัตน์ หรือลัทธิเสรีนิยมใหม่ ระบบเศรษฐกิจที่ได้รับการส่งเสริมโดยประธานาธิบดีเม็กซิกันหลายต่อหลายคนนับจากปี ค.ศ.1982 เป็นต้นมา

ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ The North American Free Trade Agreement (NAFTA) นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของนโยบายเสรีนิยมใหม่. การปฏิวัติซาปาติสตาเริ่มต้นขึ้นในปี 1994 พร้อมๆ กันกับการผ่านข้อตกลงดังกล่าว เพราะ the EZLN หรือกองกำลังซาปาติสตาเชื่อว่า มันจะมาทำลายสิทธิของชุมชนพื้นเมืองต่างๆ ในเม็กซิโกให้ยากจนลง

กองกำลังซาปาติสตาเพื่อการปลดปล่อยประชาชาติประกาศที่จะต่อสู้เพื่อความเป็นอิสระของชนพื้นเมืองในฐานะที่เป็นหนทางของการแก้ปัญหาอันหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น รองผู้บัญชาการมากอสเชื่อว่า การต่อสู้นั้นเป็นไปเพื่อสิทธิและความเป็นอิสระต่างๆ ของผู้คนชาวมายัน เช่นเดียวกับความโปร่งใสของรัฐบาลโดยทั่วๆไป ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการถกเถียงกันถึงเรื่องการอพยพที่ผิดกฎหมายในสหรัฐอเมริกา โดยการกระตุ้นและสนับสนุนพลเมืองเม็กซิกันให้หางานต่างๆ ทำได้ในประเทศของตน มากกว่าที่จะส่งออกแรงงานอันเนื่องมาจากการคอรัปชั่นของรัฐบาล และการรังควาญจากกฎหมาย

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป (Brief history)
ในส่วนนี้จะเน้นถึงเหตุการณ์ที่สำคัญมากสุดบางอย่างในประวัติศาสตร์ของขบวนการซาปาติสตา. ขบวนการซาปาติสตาได้เป็นที่รู้จักของสาธารณชนในวันที่ 1 มกราคม ปี ค.ศ.1994 อันเป็นวันที่ข้อตกลงนาฟตา(NAFTA)มีผลบังคับใช้. เป้าหมายของกองทัพซาปาติสตาเพื่อการปลดปล่อยแห่งชาติ(the EZLN) ไม่จำเป็นต้องเอาชนะรัฐบาลเม็กซิกัน แต่เพื่อเรียกร้องความสนใจจากโลกให้หันมามองเรื่องของการกระจายความมั่งคั่งอันลักลั่นส่วนใหญ่ของเชียปาส และเพื่อประท้วงการเซ็นสัญญาข้อตกลงนาฟตา ซึ่งกองกำลังซาปาติสตารู้สึกว่าได้ไปช่วยทำให้ช่องว่างระหว่างความรวย-ความจนถ่างกว้างมากยิ่งขึ้นในเชียปาส

ขบวนการซาปาติสตาไม่ได้เรียกร้องความเป็นอิสระจากเม็กซิโก แต่ค่อนข้างต้องการที่จะปกครองตนเองมากกว่า โดยการเรียกร้อง(ท่ามกลางสิ่งอื่นๆ)ว่า ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกดึงเอาไปจากเชียปาส ต้องเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้คนของเชียปาส ยกตัวอย่างเช่น กว่า 90 เปอร์เซนต์ของน้ำที่เหมาะสำหรับดื่มกินมาจากเชียปาส กระนั้นก็ตาม ชุมชนจำนวนมากในเชียปาสกลับต้องทนทุกข์ เพราะพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาดได้ ด้วยความอยุติธรรมเหล่านี้ คือสิ่งที่กองกำลังซาปาติสตาต้องการที่จะกล่าวถึง

การปะทะกันด้วยอาวุธชั่วระยะเวลาสั้นๆ ในเชียปาส สิ้นสุดลงในวันที่ 12 มกราคม 1994 ด้วยการประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียวโดยกองกำลังซาปาติสตา และมันก็ไม่เคยมีการเผชิญหน้ากันอย่างเต็มรูปแบบอีกเลยนับจากนั้นเป็นต้นมา. รัฐบาลเม็กซิกันได้ดำเนินนโยบายสงครามแบบไม่รุนแรงแทน ด้วยการใช้กองกำลังพลเรือน(para-military)เป็นกลุ่มๆ ในความพยายามที่จะควบคุมการกบฎ ขณะที่ซาปาติสตาได้พัฒนาการเคลื่อนไหวของตนและการรณรงค์ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ comunicados อยู่ตลอด เกี่ยวกับคำประกาศฉบับที่หกจากป่าลาคานดอน (Six Declarations of the Lacandon Jungle) ว่า จะไม่มีปฏิบัติการทางทหารอีกต่อไปในฝ่ายของพวกเขา. การปรากฏขึ้นมาของอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง ได้กระตุ้นการเป็นภาคีกับขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มฝ่ายซ้ายระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก

การพบปะกันระหว่างทวีปเพื่อมนุษยชาติและต่อต้านลัทธิเสรีนิยมใหม่ หรือที่เรียกว่า The Intercontinental Encounters for Humanity and against Neoliberalism ถือเป็นการประชุมนานาชาติในเชียปาสซึ่งเป็นเจ้าภาพโดยขบวนการซาปาติสตาในปี 1994 ซึ่งยังผลให้เกิดขบวนการกลุ่มซาปาติสตาอื่นๆ ขึ้นมานอกเม็กซิโก รวมไปถึงซาปาติสตาเอสเส็กส์ตะวันตกในลอนดอนตะวันออกด้วย (the West Essex Zapatista in East London)

รัฐบาลได้มีการเจรจากับกองทัพซาปาติสตา และได้บรรลุข้อตกลงในบันทึกซาน แอนเดรส(the San Andr?s Accords)(1996) โดยยินยอมให้มีการปกครองตนเองและสิทธิพิเศษแก่ประชากรพื้นเมือง. แต่อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดี Zedillo และพรรคปฏิวัติ (the Institutional Revolutionary Party) (PRI), กลับเพิกเฉยต่อข้อตกลงดังกล่าว และยังได้เพิ่มกองกำลังทหารเข้าไปในท้องที่ด้วย. รัฐบาลใหม่โดยการนำของประธานาธิบดี Fox ในปี 2001 กองกำลังซาปาติสตาได้เดินแถวเข้าไปยังเมือง Mexico City เพื่อเสนอเรื่องราวกรณีของพวกเขาต่อรัฐสภาเม็กซิกัน. ข้อตกลง Watered-down agreements ได้ถูกปฏิเสธโดยฝ่ายกบฎต่างๆ ซึ่งได้มีการสร้างเขตปกครองอิสระขึ้นมา 32 แห่งในเชียปาส, ด้วยเหตุดังนั้น บางส่วนของข้อตกลงจึงไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่ก็ได้ทุนมาสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ

ในเดือนกรกฎาคม ขบวนการซาปาติสตาได้นำเสนอประกาศฉบับที่หกของป่าลงคานดอน ในประกาศฉบับใหม่นี้ ซาปาติสตาเรียกร้องการรณรงค์ทางเลือกแห่งชาติ(หรือที่เรียกว่า "การรณรงค์บนเส้นทางอื่น" - the Other Campaign) ซึ่งตรงกันข้ามกันกับการรณรงค์ของประธานาธิบดีที่แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับทั่วไป

บรรดาซาปาติสตาทั้งหลายได้เชื้อเชิญองค์กรฝ่ายซ้ายแห่งชาติต่างๆ จำนวน 600 องค์กรมายังพื้นที่อันเป็นเขตแดนของพวกเขา, ซึ่งมีทั้งกลุ่มคนพื้นเมืองและองค์กรเอกชนนอกภาครัฐต่างๆ (NGOs) เพื่อที่จะมาฟังแถลงการณ์ของพวกเขาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ในชุดของการประชุมรายปักษ์(สองสัปดาห์ต่อหนึ่งครั้ง) ซึ่งการประชุมได้สิ้นสุดลงในวันที่ 16 กันยายน อันเป็นวันที่เม็กซิโกมีการเฉลิมฉลองความเป็นอิสระจากสเปน

ในการพบปะกันนี้ รองผู้บัญชาการมากอส เรียกร้ององค์กรต่างๆ เข้าร่วมกันเป็นภาคีอย่างเป็นทางการต่อประกาศฉบับที่หก(the Six Declaration), และรายละเอียดของการเดินทางเป็นเวลา 6 เดือนของซาปาติสตาไปยัง 31 รัฐของเม็กซิกัน ซึ่งได้บังเกิดขึ้นพร้อมๆ กันกับการรณรงค์เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่เริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคม 2006

"ทุกๆ สิ่งเพื่อคนทุกคน และไม่มีอะไรเพื่อตัวของเราเอง" หนึ่งในซาปาติสตากล่าว
"Everything for everyone, and nothing for ourselves." A Zapatista saying.

2. Zapatista Army of National Liberation
(ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก สารานุกรมวิกกีพีเดีย)

The Zapatista Army of National Liberation (Ejrcito Zapatista de Liberacin Nacional, EZLN) is an armed revolutionary group based in Chiapas, one of the poorest states of Mexico. Their social base is mostly indigenous but they have supporters in urban areas as well as an international web of support. Their most visible voice, although not their leader, is Subcomandante Marcos (currently a.k.a. Delegate Zero in relation to the "Other Campaign"). Unlike the Zapatista comandantes, Subcomandante Marcos is not an indigenous Mayan.

The group takes its name from the Mexican revolutionary Emiliano Zapata; they see themselves as his ideological heirs, and heirs to five hundred years of indigenous resistance against imperialism.
Some consider the Zapatista movement the first "post-modern" revolution: an armed, yet non-violent (despite an uprising in the early 1990s) revolutionary group that incorporates modern technologies like satellite telephones and the internet as a way to obtain domestic and foreign support. They consider themselves part of the wider alter-globalization, anti-neoliberalism social movement.

Ideology
The EZLN opposes corporate globalization, or neoliberalism, the economic system advocated by the Mexican presidents from 1982 onwards.

The North American Free Trade Agreement (NAFTA) is an example of neoliberal policy. The start of the 1994 Zapatista revolution coincided with the passage of the agreement because the EZLN believed that it would destroy the rights of Mexico's impoverished indigenous communities.
The EZLN claims to be fighting for autonomy of the indigenous population as a solution to poverty. In addition, Subcommandante Marcos believes that fighting for the Mayan people's autonomous rights, as well as government transparency in general, will help to solve the illegal immigration debate in the United States by encouraging Mexican nationals to find jobs in their own country, rather than export labor due to government corruption and harassment from the law enforcement establishment.

Brief history
This section highlights some of the most important events in the Zapatistas' history.
The Zapatistas went public on January 1, 1994, the day that the NAFTA agreement went into effect. The goal of the EZLN was not necessarily to overthrow the Mexican Government, but to call the world's attention to the large wealth distribution disparity of Chiapas and to protest the signing of NAFTA, which the EZLN felt would only intensify the gap between the rich and the poor in Chiapas. EZLN did not demand independence from Mexico, but rather greater autonomy, asking (among other things) that the natural resources that are extracted from Chiapas benefit more directly the people of Chiapas. For example, over 90% of Mexico's potable water supply comes from Chiapas, yet many communities in Chiapas suffer because they have no access to a fresh water supply. It was these kinds of injustices that the EZLN intended to address.

Short armed clashes in Chiapas ended on January 12 of 1994, with the declaration of a unilateral ceasefire by the EZLN, and there have been no full-scale confrontations since. The Mexican government instead pursued a policy of low-intensity warfare with para-military groups in an attempt to control the rebellion, while the Zapatistas developed a mobilization and media campaign through numerous newspaper comunicados and over time a set of Six Declarations of the Lacandon Jungle with no further military actions on their part. A strong international internet presence has prompted the adherence to the movement of numerous leftist international groups.

The Intercontinental Encounters for Humanity and against Neoliberalism, an international conference in the Chiapas hosted by the Zapatistas in 1994, resulted in various other Zapatista groups emerging outside of Mexico, including the West Essex Zapatista in East London.

Government talks with the EZLN culminated in the San Andr?s Accords (1996) that granted autonomy and special rights to the indigenous population. President Zedillo and the Institutional Revolutionary Party (PRI) however, ignored the agreements and instead increased military presence in the region. With the new government of President Fox in 2001, the Zapatistas marched towards Mexico City to present their case to the Mexican Congress. Watered-down agreements were rejected by the rebels who proceeded to create 32 autonomous municipalities in Chiapas, thus partially implementing the agreements without government support but with some funding from international organizations.

In July 2005 the Zapatistas presented the Sixth Declaration of the Lacandon Jungle. In this new Declaration, the EZLN called for an alternative national campaign (the "Other Campaign") in opposition to the current presidential campaign. In preparation for this alternative campaign, the Zapatistas invited to their territory over 600 national leftist organizations, indigenous groups and non-governmental organizations in order to listen to their claims for human rights in a series of biweekly meetings that culminated in a plenary meeting in September 16, the day Mexico celebrates its independence from Spain. In this meeting, Subcomandante Marcos requested official adherence of the organizations to the Sixth Declaration, and detailed a 6 month tour of the Zapatistas through all 31 Mexican states that took place concurrently with the electoral campaign starting January 2006.

"Everything for everyone, and nothing for ourselves." A Zapatista saying.

3. โลกใบนี้ใหญ่แค่ไหน?
โดย : รองผู้บัญชาการมาร์กอส (แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย irlandesa)
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลเป็นภาษาไทย


หลังจากวันประชุมเตรียมการ "การรณรงค์บนเส้นทางอื่น" (The Other Campaign) (ตอนนั้นเป็นเดือนกันยายน เวลารุ่งเช้า ฝนพรำจากเมฆไกล) เรากำลังเดิมดุ่มไปที่กระท่อมที่เก็บของไว้ ก็พอดีเจอเข้ากับพลเรือนคนหนึ่งที่โพล่งถามขึ้นมาว่า "เดี๋ยวก่อน เอล ซุป! ซาปาติสตากำลังเสนออะไรกันแน่?" ผมตอบโดยไม่หยุดเดินว่า "เปลี่ยนแปลงโลก" เรามาถึงกระท่อมและเริ่มเก็บข้าวของเพื่อออกเดินทาง นักรบกบฏหญิงเอริการอจนเหลือผมอยู่คนเดียว เธอเดินเข้ามาหาและพูดว่า "ฟังก่อน เอล ซุป โลกใบนี้ใหญ่มากนะ" ราวกับเธอพยายามเตือนให้ผมรู้ตัวว่ากำลังเสนออะไรที่ไร้สาระแค่ไหน และผมคงไม่รู้ตัวว่าพูดอะไรออกไปเมื่อตอนที่พูดแบบนั้น ตามธรรมเนียมปฏิบัติของการตอบคำถามด้วยอีกคำถามหนึ่ง ผมจึงย้อนถามว่า:

"ใหญ่แค่ไหนล่ะ?"
เธอจ้องหน้าผมและตอบด้วยน้ำเสียงคล้ายเอ็นดูว่า "ใหญ่มาก"
ผมยืนกรานคำถาม "ใช่ แต่ใหญ่แค่ไหน?"
เธอหยุดคิดชั่วอึดใจหนึ่งและพูดว่า "ใหญ่กว่าเชียปาสมากก็แล้วกัน"

มีคนเข้ามาบอกว่า เราต้องออกเดินทางแล้ว เมื่อเรากลับมาถึงค่ายและหลังจากดูแลจนเพนกวิน(1) สบายตัว เอริกาก็เข้ามาหาผม หิ้วลูกโลกมาด้วยใบหนึ่ง ลูกโลกแบบที่ใช้สอนกันในโรงเรียนประถม เธอตั้งมันลงที่พื้นและบอกผมว่า: "นี่ เอล ซุป ดูนี่ ตรงจุดเล็ก ๆ นี้ นี่คือเชียปาส แล้วที่เหลือทั้งหมดนี้คือโลก" พูดพลางเธอก็ทำท่าเหมือนลูบไล้ลูกโลกด้วยมือผิวสีคล้ำ

"อืม" ผมพูดพลางจุดกล้องยาสูบเพื่อถ่วงเวลา
เอริการุกต่อ "คราวนี้เห็นแล้วใช่ไหมว่า โลกมันใหญ่มาก?"

"ก็จริง แต่เราไม่ได้เปลี่ยนแปลงทั้งโลกด้วยตัวเราเอง เราจะเปลี่ยนแปลงโลกด้วยกอมปันเญอโรและกอมปันเญอรา (2) จากทุกหนแห่ง" พอดีมีเสียงเรียกทหารรักษาการ เมื่อเห็นว่าผมเรียนรู้อะไรบ้างแล้ว เธอจึงหันมายิงคำถามใส่ก่อนออกไปว่า "ต้องใช้กอมปันเญอโรและกอมปันเญอรามากแค่ไหนล่ะ?"

โลกใบนี้ใหญ่แค่ไหน?
ในหมู่บ้านเตฮัวกัน ในเซียราเนกรา ในเซียรานอร์เต ในย่านชานเมืองของปวยบลา จากซอกมุมที่ถูกหลงลืมมากที่สุดของรัฐปวยบลาที่คนไม่ค่อยรู้จัก มีคำตอบพยายามเล็ดลอดออกมา:

ในอัลเตเปกซี หญิงสาวคนหนึ่งตอบว่า: ชั่วโมงทำงานกว่า 12 ชั่วโมงในโรงงานเพื่อการส่งออกของทุนต่างชาติ ทำงานในวันหยุด, ไม่มีเงินล่วงเวลา, ไม่มีประกันสังคม, ไม่มีเงินโบนัสวันคริสต์มาส, ไม่มีส่วนแบ่งกำไร, มีการใช้อำนาจบาตรใหญ่ และการปฏิบัติอย่างเลวร้ายของผู้จัดการหรือหัวหน้าคนงาน มีการลงโทษโดยตัดค่าแรงเมื่อฉันเจ็บไข้ได้ป่วย เห็นชื่อฉันขึ้นบัญชีดำที่ทำให้ฉันหางานในโรงงานไหนไม่ได้อีก ถ้าเรารวมตัวกัน เจ้าของจะปิดโรงงานและย้ายไปที่อื่น การเดินทางก็ลำบาก กว่าจะกลับถึงบ้านก็มืดค่ำ พอดูบิลค่าไฟ, ค่าน้ำ, ภาษี, บวกลบดูแล้วชักหน้าไม่ถึงหลัง แม้แต่น้ำจะดื่มก็ยังไม่มี เพราะประปาไม่ทำงานและท่อน้ำตามถนนส่งกลิ่นคลุ้ง วันรุ่งขึ้น ทั้ง ๆ ที่อดนอนและกินไม่อิ่มท้อง ก็ต้องกลับไปทำงานอีก โลกใบนี้ใหญ่เท่ากับความคับแค้นใจที่สุมอยู่ในอกฉัน

หญิงสาวชาวพื้นเมืองมิกซ์เทค: พ่อไปทำงานที่สหรัฐอเมริกากว่า 12 ปีแล้ว แม่ทำงานเป็นช่างเย็บลูกบอล พวกเขาจ่ายเงินให้แม่ 10 เปโซต่อลูกบอลหนึ่งลูก แต่ถ้าลูกไหนเย็บไม่ดี จะถูกปรับ 40 เปโซ เงินจะจ่ายให้ต้องรอผู้รับเหมาสินค้ามาที่หมู่บ้านก่อน พี่ชายของฉันกำลังเตรียมตัวจะไปทำงานที่อื่นเหมือนกัน พวกเราผู้หญิงต้องอยู่กันตามลำพังที่นี่ ดูแลครอบครัวกันไป ทำไร่ทำนา ทำงาน พวกเราจึงต้องรับภาระในการต่อสู้. โลกใบนี้ใหญ่เท่ากับความอยุติธรรมที่ทำให้ฉันกล้าสู้ ใหญ่จนทำให้เลือดในตัวฉันพลุ่งพล่าน

- ในซานมิเกวล ซีนาคาปัน ผัวเมียเฒ่ามองดูกันและกันและตอบเกือบเป็นเสียงเดียวกันว่า: โลกใบนี้ใหญ่เท่ากับความพยายามที่เราจะเปลี่ยนแปลงมัน

- ชาวนาพื้นเมืองคนหนึ่งจากเซียราเนกรา ผู้พลัดถิ่นมาอย่างโชกโชน เหลือแต่ยังไม่พลัดตกประวัติศาสตร์ ตอบว่า: โลกใบนี้ต้องใหญ่มาก เราถึงต้องขยายการจัดตั้งให้ใหญ่กว่าเดิม

- ในอิกซ์เตเปก เซียรานอร์เต: โลกใบนี้ใหญ่เท่ากับความทุเรศของรัฐบาลชั่ว ๆ และองค์การอันตอร์คาคัมเปซินา ที่สร้างอคติต่อชาวนาและวางยาพิษต่อโลก

- ในอุยซิลเตเปค สถานีโทรทัศน์กบฏกำลังออกอากาศจากโรงเรียนเล็ก ๆ ในเขตปกครองตนเอง: โลกใบนี้ใหญ่จนมีพื้นที่เพียงพอสำหรับประวัติศาสตร์ของชุมชน, ใหญ่พอที่จะให้ชุมชนมีความปรารถนาและต่อสู้เพื่อมองออกไปในจักรวาลด้วยศักดิ์ศรี

- ช่างฝีมือหญิงชาวพื้นเมืองคนหนึ่ง ดูละม้ายผู้บัญชาการราโมนาผู้ล่วงลับ พูดต่อหลังไมค์ว่า: "โลกใบนี้ใหญ่เท่ากับความอยุติธรรมที่เรารู้สึก เพราะพวกเขาจ่ายค่าจ้างน้อยนิดให้แก่งานที่เราทำ เราได้แต่มองสิ่งของจำเป็นผ่านหน้าเราไป เพราะเราไม่เคยมีเพียงพอ"

- ในชุมชนกรันยา: โลกใบนี้ไม่น่าจะใหญ่มากนัก เพราะดูเหมือนไม่มีที่ทางให้เด็กยากจน พวกเขาด่าว่าเรา กลั่นแกล้งและทุบตีเรา ทั้ง ๆ ที่เราแค่อยากมีพอกินเท่านั้น

- ในโกโรนันโก: ถึงโลกใบนี้ใหญ่สักแค่ไหน มันก็กำลังจะตายจากมลพิษเสรีนิยมใหม่ที่ทำลายดิน น้ำ อากาศ โลกากำลังวินาศ เพราะอย่างที่ปู่ย่าตายายของเราว่าไว้ เมื่อไรที่ชุมชนพินาศ โลกาก็วินาศ

- ในซานมาตียัส โกโกโยตลา: โลกใบนี้ใหญ่เท่ากับความหน้าด้านของรัฐบาล รัฐบาลที่กำลังทำลายสิ่งที่พวกเราแรงงานสร้างขึ้นมา เราต้องรวมตัวกันเพื่อป้องกันตัวเองจากรัฐบาล ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลน่าจะรับใช้เรา รัฐบาลนั้นไร้ยางอาย

- ในปวยบลา แต่เป็นปวยบลาที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก: โลกใบนี้ไม่ใหญ่นัก เพราะคนรวยมีมากเท่าไรก็ยังไม่พอ คนรวยยังต้องการเอาสิ่งที่พวกเราคนจนมีน้อยอยู่แล้วไปอีก

- ในปวยบลาที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักอีกเช่นกัน หญิงสาวคนหนึ่งบอกว่า: โลกใบนี้ใหญ่มาก ดังนั้น พวกเราน้อยคนจึงเปลี่ยนแปลงมันไม่ได้ เราทั้งหมดต้องจับมือกันเพื่อเปลี่ยนแปลง เพราะถ้าเราไม่ร่วมมือกัน เราก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แล้วคุณก็จะเหนื่อยหน่าย

- ศิลปินหนุ่มคนหนึ่ง: โลกใบนี้ใหญ่ แต่เน่าเฟะ พวกนั้นรีดเงินไปจากเราเพราะเราเป็นคนหนุ่มสาว ในโลกใบนี้ การเป็นคนหนุ่มสาวคืออาชญากรรม

- เพื่อนบ้านคนหนึ่ง: โลกใบนี้จะใหญ่แค่ไหน ก็ยังเล็กไปสำหรับคนรวย เพราะพวกคนรวยกำลังรุกรานที่ดินของส่วนรวม เอฮิโด (3) ละแวกบ้านของชุมชน ราวกับโลกนี้ไม่มีที่อื่นให้สร้างศูนย์การค้าและร้านขายของฟุ่มเฟือยอีก พวกเขาก็เลยจะเข้ามาสร้างในที่ดินของเรา ฉันเชื่อว่าเพราะเหตุนี้เอง จึงไม่มีที่ทางเหลือให้เราผู้อยู่เบื้องล่าง

- คนงานคนหนึ่ง: โลกใบนี้ใหญ่เท่ากับความสับปลับของผู้นำที่ฉ้อฉล พวกนั้นยังมีหน้ามาพูดอีกว่า จะปกป้องคุ้มครองแรงงาน แต่บนนั้นพวกเขาสุมหัวรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของโรงงาน, ข้าราชการ, ผู้นำสหภาพที่เข้าข้างฝ่ายบริหาร, ไม่ว่าจะพลิกลิ้นพูดอะไรแปลกใหม่ ที่แท้แล้วก็ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมารวมกันจนเป็นภูเขาขยะ อย่าดีกว่า เพราะพวกนั้นคงทำให้ขยะยิ่งกว่าเน่า ถ้าเราจะจับพวกนั้นไปขังคุก นักโทษก็คงก่อจลาจลเพราะไม่อยากอยู่ใกล้พวกสารเลวเหล่านี้

ตอนนี้เป็นเวลารุ่งแจ้งในปวยบลาที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก เราพบแต่ความประหลาดใจไม่สิ้นสุดในทุกย่างก้าวที่เหยียบบนผืนดินแห่งนี้ เราเพิ่งกินอาหารเสร็จ และผมกำลังคิดว่าจะตอบคำถามอย่างไรดี ทันใดนั้นเอง กระเป๋าเดินทางใบเล็กจิ๋วแหย่ลอดใต้ประตูเข้ามา แล้วติดขลุกขลักอยู่ตรงรอยแตกที่ประตูทันที หูแว่วได้ยินเสียงหอบหายใจหนัก ๆ แผ่ว ๆ เหมือนมีใครคนหนึ่งกำลังผลักอยู่นอกประตู สุดท้าย กระเป๋าเดินทางเล็กจิ๋วใบนั้นก็หลุดผลุบเข้ามาจนได้ และที่ตามหลังเข้ามา ล้มลุกคลุกคลาน คือตัวอะไรสักอย่างที่ดูคล้ายแมลงเต่าทอง ถ้าไม่ใช่เพราะผมอยู่ในปวยบลา แม้จะเป็นปวยบลาที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักก็ตาม และไม่ได้อยู่ในเทือกเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ของเม็กซิโก ผมคงสาบานแล้วว่านั่นคือดูริโต เพื่อสลัดความคิดเลวร้ายนั้นไปให้พ้น ผมจึงหันไปหาสมุดบันทึกที่จดคำถามอันเป็นข้อสอบข้อใหญ่ พยายามเขียนต่อ แต่ไม่มีอะไรเข้าท่าผุดขึ้นมาในหัวเลย ผมกำลังทำให้ตัวเองเป็นตัวตลก ตอนที่รู้สึกเหมือนมีตัวอะไรอยู่บนบ่า พอตั้งท่าจะสลัดมันทิ้ง ก็ได้ยินเสียงพูดว่า

"นายมียาสูบบ้างไหม?"
"เสียงเล็ก ๆ นั่น เสียงเล็ก ๆ นั่นมาอีกแล้ว" ผมนึกในใจ
"เสียงเล็ก ๆ อะไร? ฉันรู้นะว่านายอิจฉาสุ้มเสียงมีเสน่ห์สมชายชาตรีของฉัน" ดูริโตโวย

ไม่มีอะไรเหลือให้สงสัยอีกแล้ว ผมอุทานด้วยอาการปลงตกยิ่งกว่ากระตือรือร้นว่า:
"ดูริโต...!"

"ไม่ใช่แค่ 'ดูริโต' สิ! ฉันเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในการแก้ไขสิ่งที่ผิดให้ถูก, นักบุญของผู้สิ้นหวัง, อัศวินของผู้ไร้ทางสู้, ความหวังของผู้อ่อนแอ, ความฝันเกินไขว่คว้าของสาวๆ, พระเอกบนโปสเตอร์ใบโปรดของเด็กๆ, เป้าอิจฉาจนตาร้อนผ่าวของผู้ชาย และ..."

"พอที พอที! นายพูดเหมือนผู้สมัครรับเลือกตั้งเลย" ผมพยายามขัดคอดูริโต แต่เห็นชัดว่าไม่มีประโยชน์ เพราะเขายังพูดต่อไปว่า:

"...วีรกรรมที่อาจหาญที่สุดในบรรดาผู้กล้าที่อ้าแขนรับภารกิจอัศวินพเนจร: ดอนดูริโตแห่งป่าลากันดอน สอ. แห่ง ซว. แห่ง รล. ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นทางการจากรัฐบาลกบฏที่ดี"

พูดพลางดูริโตอวดให้ผมดูตราสลักบนกระดองที่เขียนไว้ว่า: "ได้รับการแต่งตั้งจากเขตปกครองตนเองชาร์ลี ปาร์กเกอร์แห่งกบฏซาปาติสตา"

"ชาร์ลี ปาร์กเกอร์? ฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า เรามีเขตปกครองตนเองในชื่อนี้ด้วย อย่างน้อยก็ไม่มีแน่ตอนที่ออกเดินทางมา" ผมพูดอย่างงุนงง

"แน่นอน ฉันเพิ่งก่อตั้งเขตนี้ขึ้นมา ก่อนมาที่นี่เพื่อช่วยนาย" ดูริโตบอก
"พิลึก ฉันขอให้ทางโน้นส่งยาสูบมาให้ ไม่ใช่แมลงเต่าทอง" ผมทั้งเถียงทั้งประท้วง
"ฉันไม่ใช่แมลงเต่าทอง ฉันคืออัศวินพเนจรที่รอนแรมมาช่วยนายให้รอดพ้นจากความอับจน"
"ช่วยฉัน? จากความอับจน?"

"ใช่สิ อย่าทำท่าเหมือน "พระเอกคนเก่ง" ของมาริโอ มารีน เวลาเจอเทปบันทึกเสียงที่เปิดโปงระดับทางจริยธรรมที่แท้จริงของตัวเองเลย นายกำลังเข้าตาจนหรือเปล่าล่ะ?"

"เอ้อ เข้าตาจน อะไรคือเข้าตาจน อ๋อ...ใช่ ฉันกำลังเข้าตาจน"
"เห็นไหม? นายคงไม่ได้กำลังนึกถึงฉัน อัศวินพเนจรผู้เยี่ยมยุทธ์ ให้มาช่วยนายหรอกนะ?"

ผมหยุดคิดไม่ถึงอึดใจก่อนตอบว่า:
"เอ่อ พูดตามความจริงแล้ว เปล่าเลย"

"เอาน่า อย่าซุกซ่อนความยินดีเอิบอาบ ความปลื้มปีติล้นพ้นและความพลุ่งพล่านจนล้นทะลักที่ผุดขึ้นในหัวอกของนายเลยเมื่อได้เห็นหน้าฉันอีกครั้ง"
"ฉันอยากซ่อนมันไว้มากกว่า" ผมพูดอย่างยอมแพ้

"ดี ดี เอาล่ะ จุดประทัดและดอกไม้ไฟต้อนรับกันพอแล้ว บอกมาสิ อ้ายวายร้ายอยู่ไหน? ฉันจะจัดการกำราบมันด้วยอาวุธที่อยู่เบื้องล่างและเอียงซ้าย ไหนล่ะอ้ายคาเมล นาซิฟ, ซุคคาร์ คูรี ฯลฯ รวมทั้งพวกวายร้ายชั้นต่ำก๊กเดียวกับมัน?"

"ไม่มีผู้ร้ายและไม่มีวายร้ายชั้นต่ำหรอก ฉันแค่ต้องตอบคำถามข้อหนึ่ง"
"ว่ามา" ดูริโตเค้นต่อ
"โลกใบนี้ใหญ่แค่ไหน?" ผมถาม
"อ๋อ คำตอบก็มีทั้งแบบสั้นแบบยาว นายอยากได้แบบไหนล่ะ?"

ผมดูนาฬิกาข้อมือ ตีสาม ทั้งหนังตาและหมวกแก๊ปเริ่มห้อยหลุบลงมาปิดตาแล้ว ผมจึงตอบไปอย่างไม่ลังเลว่า:
"เอาแบบสั้น ๆ "

"นายหมายความว่ายังไง เอาแบบสั้น ๆ! นี่นายคิดว่าฉันอุตส่าห์ลากสังขารตามนายมาตลอดแปดรัฐในสาธารณรัฐเม็กซิโกเพื่อมานำเสนอคำตอบแบบสั้น ๆ หรือ? Naranjas podridas, ni mais palomas ยากส์, ไม่เด็ดขาด, ไม่มีทาง, โนเวย์, ขอปฏิเสธ, ขอบอกปัด, ไม่ได้"

"เอาล่ะ ๆ" ผมพูด ยอมแพ้ "แบบยาวก็ได้"
"ใช่แล้ว เจ้าคนจรจมูกโต! เอาปากกามาจดสิ"
ผมหยิบปากกาและสมุดบันทึก ดูริโตสั่งให้จดดังนี้:

โลกใบนี้ใหญ่แค่ไหน ในทัศนะของดูริโต
"ถ้ามองลงมาจากเบื้องบน โลกใบนี้เล็กนิดเดียวและสีเขียวเหมือนเงินดอลลาร์ มีขนาดพอเหมาะที่จะจับใส่ลงในดัชนีราคาสินค้าและมูลค่าของตลาดหุ้น ในกำไรของบรรษัทข้ามชาติ ในคะแนนเลือกตั้งของประเทศที่ถูกปล้นศักดิ์ศรีไปแล้ว ในเครื่องคิดเลขนานาชาติที่บวกด้วยทุนและลบด้วยชีวิต, ภูเขา, แม่น้ำ, มหาสมุทร, น้ำพุ, ประวัติศาสตร์, อารยธรรมทั้งหมด ในสมองเล็กกะจิ๋วหลิวของจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในความสายตาสั้นของทุนนิยมป่าเถื่อนที่แต่งตัวไร้รสนิยมด้วยชุดของเสรีนิยมใหม่ เมื่อมองจากเบื้องบน โลกใบนี้เล็กมาก เพราะมันไม่แยแสคน มันมองเห็นแต่ตัวเลขในบัญชีธนาคารที่ไม่มีความเคลื่อนไหวอื่นใดนอกจากเงินฝากเข้า

"แต่ถ้ามองขึ้นมาจากเบื้องล่าง โลกใบนี้กว้างใหญ่จนกวาดมองครั้งเดียวไม่ทั่ว หากจะมองให้ถ้วนทั่วก็ต้องมองมากมายหลายครั้ง เมื่อมองจากเบื้องล่าง โลกใบนี้มีอยู่มากมายหลายใบ ในโลกเกือบทุกใบระบายด้วยสีสันของการพลัดถิ่น, ความยากจน, ความสิ้นหวัง, ความตาย, โลกจากเบื้องล่างขยายออกไปด้านข้าง โดยเฉพาะไปทางซ้าย และมีหลายสีสัน หลากหลายเท่า ๆ กับผู้คนและประวัติศาสตร์ โลกยังขยายไปข้างหลัง ไปสู่ประวัติศาสตร์ที่โลกเบื้องล่างสร้างขึ้น และโลกยังขยายเข้าหาตัวเองด้วยการต่อสู้ที่จุดให้มันสว่างเรืองรอง แม้เมื่อแสงไฟจากเบื้องบนดับไปแล้วก็ตาม โลกยังส่งสำเนียง แม้เมื่อความเงียบจากเบื้องบนกดทับบดขยี้ และโลกยังขยายไปข้างหน้า กระจ่างขึ้นกลางใจทุกดวงของผู้อยู่เบื้องล่างที่จะสร้างสรรค์วันรุ่งขึ้น เมื่อมองจากเบื้องล่าง โลกใบนี้ใหญ่จนบรรจุโลกได้หลายใบ และแม้กระนั้นก็ยังมีที่ว่างเหลืออยู่ เช่น ยังมีที่ว่างสำหรับคุก เป็นต้น

"หรือพูดสั้น ๆ เมื่อมองจากเบื้องบน โลกใบนี้หดเล็กลงจนบรรจุอะไรไว้ไม่ได้นอกจากความอยุติธรรม แต่เมื่อมองจากเบื้องล่าง โลกใบนี้กว้างใหญ่ไพศาลจนมีที่เหลือเฟือให้ความสุข, ดนตรี, บทเพลง, ระบำ, งานที่มีศักดิ์ศรี, ความยุติธรรม, ความคิดและทัศนคติของทุกคน ไม่ว่าจะแตกต่างกันแค่ไหน หากว่าเบื้องล่างนั้นเป็นอย่างที่เป็นอยู่"

ผมจดแทบไม่ทัน เมื่ออ่านทวนคำตอบของดูริโตแล้ว จึงถามต่อว่า:
"แล้วคำตอบแบบสั้นล่ะ?"
"คำตอบแบบสั้นก็คือ: โลกใบนี้ใหญ่เท่ากับหัวใจที่ถูกทำร้ายจนเจ็บปวด แล้วลุกขึ้นต่อสู้เคียงข้างทุกคนจากเบื้องล่างและเอียงซ้าย"

...ดูริโตไปแล้ว ผมยังเขียนต่อไป ขณะที่ดวงจันทร์ค่อย ๆ เลือนหายไปในห้วงนภาด้วยสัมผัสลูบไล้ของความชื้นยามราตรี....ผมอยากลองตอบคำถามดูบ้าง ละเมอเพ้อฝันว่ามือผมสยายมวยผมและความปรารถนาของเธอ ห่อหุ้มโสตประสาทเธอด้วยเสียงถอนใจ และเมื่อริมฝีปากผมเลื่อนขึ้นลงตามเนินเขา ผมหยั่งซึ้งแล้วว่า โลกใบนี้ใหญ่เท่ากับความปรารถนาที่ผมกระหายหาครรภ์ของเธอ

หรือถ้าจะให้ดูเป็นสุภาพชนกว่านี้สักหน่อย ผมพยายามจะบอกว่า โลกใบนี้ใหญ่เท่ากับความเพ้อฝันที่จะทำให้มันเป็น "โลกใบอื่น" ใหญ่เท่ากับหูที่ต้องรับฟังทุกสรรพสำเนียงจากเบื้องล่าง ใหญ่เท่ากับความปรารถนาของคนหมู่มากที่ต้องการทวนกระแส เพื่อผนึกกำลังกบฏจากเบื้องล่าง ขณะที่เบื้องบนนั้น พวกเขาแยกกันอยู่อย่างโดดเดี่ยว

โลกใบนี้ใหญ่เท่ากับพุ่มหนามแห่งความคับแค้นที่เราบ่มเพาะ ด้วยรู้ดีว่าดอกไม้แห่งวันพรุ่งจะผลิบานออกมา และในวันพรุ่งนั้น มหาวิทยาลัยไอเบโรอเมริกันจะเป็นมหาวิทยาลัยของมหาชน เสรีและไม่ถูกครอบงำด้วยศาสนา ตามทางเดินและในห้องเรียนจะมีคนงาน, ชาวนา, ชาวพื้นเมืองและคนอื่นๆ ที่วันนี้ถูกกันอยู่ข้างนอก

นั่นแหละ คำตอบจะนำเสนอในวันที่ 30 กุมภาพันธ์ โดยทำเป็นสำเนาสามฉบับ: ฉบับหนึ่งสำหรับมโนสำนึกของคุณ ฉบับหนึ่งสำหรับการรณรงค์บนเส้นทางอื่น และฉบับสุดท้ายจะมีพาดหัวตัวโตว่า: คำเตือน สำหรับใครก็ตามซึ่งอยู่เบื้องบนที่เชื่องมงายว่า ตนเองจะอยู่ยงคงกะพัน

จากปวยบลาที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก
เอล ซุป มาร์กอส, คณะกรรมการที่หกของ EZLN, เม็กซิโก, 22 กุมภาพันธ์ 2006

+++++++++++++++++++++++++++++++

เชิงอรรถ
(1) เพนกวินคือไก่ เป็นสัญลักษณ์ของการรณรงค์ครั้งใหม่ของซาปาติสตา เรื่องราวของเพนกวินเป็นนิทานอีกเรื่องหนึ่ง
(2) สหายชายและหญิง
(3) ที่ดินที่เป็นสมบัติส่วนรวม

ที่มา: /index.php?file=forum&obj=forum.listing(owner=19)/index.php?file=forum&obj=forum.listing(owner=19)

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

แต่ถ้ามองขึ้นมาจากเบื้องล่าง โลกใบนี้กว้างใหญ่จนกวาดมองครั้งเดียวไม่ทั่ว หากจะมองให้ถ้วนทั่วก็ต้องมองมากมายหลายครั้ง เมื่อมองจากเบื้องล่าง โลกใบนี้มีอยู่มากมายหลายใบ ในโลกเกือบทุกใบระบายด้วยสีสันของการพลัดถิ่น, ความยากจน, ความสิ้นหวัง, ความตาย, โลกจากเบื้องล่างขยายออกไปด้านข้าง โดยเฉพาะไปทางซ้าย และมีหลายสีสัน หลากหลายเท่า ๆ กับผู้คนและประวัติศาสตร์ โลกยังขยายไปข้างหลัง ไปสู่ประวัติศาสตร์ที่โลกเบื้องล่างสร้างขึ้น และโลกยังขยายเข้าหาตัวเองด้วยการต่อสู้ที่จุดให้มันสว่างเรืองรอง (ข้อความบางส่วนจากบทความ)

18-02-2550

New social movement
The Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com